การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการ หาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด
(1) พรรคเดโมแครต
(2) พรรครีพับลิกัน
(3) พรรคกรีน
(4) พรรคแรงงาน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์
2 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด
(1) พรรคกรีน
(2) พรรครีพับลิกัน
(3) พรรคคองเกรส
(4) พรรคเดโมแครต
(5) เป็นรัฐบาลผสม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ
3 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่
(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์
(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพเชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ
4 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Levelopment) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค
(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค
(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย
1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด
2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด
3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ
5 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล
(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ
(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ
(4) สงเสริมผลประโยชน์ของชาติ
(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค
ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”
6 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่
(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค
(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ
(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ
(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ
(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้
7 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ
(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ
(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว
(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ
(4) ประธาน กกต. ถูกปลด
(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ
8 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยม
(2) ในรัฐสวัสดิการ
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract)สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด
9 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ
(1) ฟาสซิสต์
(2) อนุรักษนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) ประชาธิปไตย
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ
10 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ
(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า
(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ
1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน
2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต
3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น