LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม สอบซ่อม S/2547

การสอบซ่อมภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2547

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  หน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูปมีอะไรบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ได้กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูปไว้  5  ประการ  คือ

 1       หน้าที่เสียค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา

มาตรา  642  ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี  ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดีย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย

ตามมาตรา  642  ค่าใช้จ่ายต่างๆนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ยืมแต่ฝ่ายเดียว  ทั้งนี้เพราะสัญญายืมใช้คงรูป  ผู้ที่ได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวก็คือผู้ยืม  จึงสมเหตุสมผลดีแล้วที่ผู้ยืมจะต้องเป็นผู้เสียแต่คู่กรณีอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้  เช่น  ให้ผู้ให้ยืมเป็นผู้เสีย  เพราะมาตรา  642  มิใช่บทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด  ยกตัวอย่างประกอบ

2       หน้าที่เกี่ยวกับการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืม

มาตรา  643  ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น  ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น  หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี  เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี  เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี  ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ  ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

ตามมาตราดังกล่าว  ได้กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมโดยชอบไว้  4  ประการ 

 1)    ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมตามสภาพแห่งทรัพย์  เช่น  ยืมใบมีดโกน  ก็ต้องเอาไปโกนหนวดโกนเครา  มิใช่เอาไปหั่นเนื้อหมู ฯลฯ

2)    ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมตามสัญญาที่ตกลงกัน  เช่น  ทำสัญญายืมรถยนต์ไปเพชรบุรี  ก็ต้องไปเพชรบุรีจะขับไปเชียงใหม่ไม่ได้ ฯลฯ

3)    ต้องไม่เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย

4)    เมื่อใช้สอยเสร็จแล้วต้องรีบคืนให้แก่ผู้ให้ยืมไม่ควรเก็บเอาไว้นาน

หากผู้ยืมไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าวแล้ว  เป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย  ผู้ยืมต้องรับผิดแม้เหตุนั้นจะเกิดเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม  (ยกตัวอย่างประกอบ)

3       หน้าที่เกี่ยวกับการสงวนทรัพย์สินที่ยืม

มาตรา  644  ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

เนื่องจากผู้ยืมเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญายืมแต่ฝ่ายเดียว  จึงต้องรับผิดชอบในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชนคือ  บุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถในระดับปานกลางในสังคม  หากผู้ยืมไม่ทำหน้าที่ดังกล่าว  ผู้ให้ยืมย่อมบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าสินไหมทดแทนได้  (ยกตัวอย่างประกอบ)

4       หน้าที่เกี่ยวกับการคืนทรัพย์สินที่ยืม

มาตรา  646  ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้  ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว  ตามการอันปรากฏในสัญญา  แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้  เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว

ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้  ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้  ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไรก็ได้

เรื่องการคืนทรัพย์สินที่ยืมถือว่าเป็นสาระสำคัญอีกประการหนึ่งของสัญญายืมที่ทำให้มีความแตกต่างจากสัญญาให้  หรือสัญญาซื้อขาย  ดังนั้นผู้ยืมจึงต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว  (ยกตัวอย่างประกอบ)

5       หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม

มาตรา  647  ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น  ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย

กล่าวคือ  พิจารณาว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตามปกติหรือไม่  ถ้าเป็นผู้ยืมก็ต้องจ่าย  เช่น  ก  ยืมรถ  ข  มาใช้  ถ้ารถเกิดเสียหายเล็กน้อย  เช่น  ยางแตก  หรือเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง  ฯลฯ  ผู้ยืม  คือ  ก  ต้องจ่ายเอง  แต่ถ้าเป็นกรณีที่เกินกว่าปกติ  เช่น  รถที่  ก  ยืมมาเสื่อมโทรมตามสภาพจำเป็นต้องยกเครื่องใหม่  เพราะขณะที่ยืมก็อยู่ในสภาพไม่ดีอยู่แล้ว  เช่นนี้  ผู้ให้ยืมเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่าย

 

ข้อ  2  นายเอกกู้ยืมเงินนายโท  10,000  บาท  ทำสัญญากู้กันไว้  นายเอกลงลายพิมพ์นิ้วมือในฐานะผู้ยืม  นายตรีอายุ  17  ปีกับนายโทลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนายเอกไว้ในขณะนั้น  แต่นายโทมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ให้ยืม  ต่อมานายเอกไม่ชำระเงินนายโทตามสัญญากู้  นายโทจึงนำสัญญากู้ฉบับนี้มาฟ้องศาล  ขอให้บังคับให้นายเอกชดใช้เงินที่ยืมไป  ดังนี้  นายเอกต้องรับผิดตามสัญญากู้หรือไม่

ธงคำตอบ

มาตรา  9  วรรคหนึ่ง  วรรคสอง  เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ  บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง  แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น

ลายพิมพ์นิ้วมือ  แกงได  ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ  หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อให้ผู้ยืมมาแสดง  หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

วินิจฉัย

นายเอกกู้ยืมเงินนายโท  10,000  บาท  โดยนายเอกลงลายพิมพ์นิ้วมือในฐานะผู้ยืม  การกู้ยืมระหว่างนายเอกกับนายโทที่มีการลงลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้จะต้องมีการรับรองจากบุคคล  2  คนเสมอถึงจะถูกต้องตามมาตรา  9  วรรคสอง  ส่วนนายตรี  อายุ  17  ปี  แม้เป็นผู้เยาว์ก็สามารถที่จะเป็นพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนายเอกได้  เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ  ส่วนนายโทซึ่งลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือร่วมกับนายตรี  แม้จะไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ในสัญญาก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย  เนื่องจากสัญญากู้ยืมทำเป็นหนังสือ  เพียงมีแต่ลายมือชื่อผู้กู้ฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว  หาจำต้องมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ด้วยแต่อย่างไร  ดังนั้นลายมือชื่อของผู้ให้กู้จะมีหรือไม่มีก็ได้  อนึ่งกรณีที่นายโท  ซึ่งเป็นผู้ให้กู้ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือด้วยนั้น  ก็ไม่มีกฎหมายห้ามแต่อย่างใด  (ฎ. 595/2523)  เมื่อสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์ตามกฎหมาย  เพราะฉะนั้นนายเอกต้องรับผิดตามสัญญากู้ตามมาตรา  653  วรรคแรก

สรุป  นายเอกต้องรับผิดตามสัญญากู้

 

ข้อ  3  ธนาคารเอเชียตะวันออก  เป็นธนาคารต่างประเทศที่จะมาขอเปิดดำเนินธุรกิจประเภทธนาคารในประเทศไทย  ในระหว่างดำเนินการขออนุญาตและก่อสร้างอาคารสำนักงานเพื่อเป็นที่ทำการ  ธนาคารได้จ้างสำนักงานกฎหมายเอกสมบัติเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย  ต่อมาธนาคารได้มีข้อหารือมาที่สำนักงานกฎหมายถึงหน้าที่ของธนาคารที่จะต้องปฏิบัติต่อทรัพย์สินเงินทองของลูกค้าที่นำมาฝากว่าตามหลักกฎหมายไทยธนาคารมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือใช้ความระมักระวังอย่างไรบ้างในการสงวนทรัพย์สินที่ลูกค้านำมาฝาก  ถ้าท่านเป็นทนายความที่ปรึกษา  ขอให้ท่านให้คำแนะนำ  โดยอธิบายอย่างละเอียด  พร้อมยกตัวอย่างและหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

มาตรา  659  ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้  ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง

ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก  ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น  ทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย

ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้วิชาชีพเฉพาะกิจการค้าหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น

วินิจฉัย

ธนาคารถือเป็นผู้รับฝากที่มีอาชีพในการรับฝากโดยเฉพาะตามนัยของมาตรา  659  วรรคสาม  ที่วางหลักเกณฑ์ให้บุคคลที่มีอาชีพรับฝากทรัพย์ต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น  หมายความว่า  ธนาคารจะต้องเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ในที่ที่ปลอดภัยที่สุดตามวิถีทางแห่งกิจการค้าของตน  คือเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มั่นคงให้ปลอดภัยจากอัคคีภัยและโจรผู้ร้าย  เป็นต้น  (ยกตัวอย่างประกอบ)

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม S/2547

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2547

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  นายใหญ่ให้นายเล็กยืมใช้รถยนต์มีกำหนด  1  ปี  เมื่อนายเล็กใช้รถไปได้หกเดือน  ปรากฏว่ารถชำรุดทรุดโทรมมาก  เพราะนายเล็กปล่อยปละละเลยไม่ดูแลรักษารถยนต์เหมือนคนทั่วไป  นายใหญ่เห็นว่า  ถ้าขืนปล่อยให้นายเล็กใช้ต่อไปจนครบกำหนด  1  ปี  รถยนต์อาจจะเสียหายมาก  นายใหญ่จึงมาปรึกษาท่าน  ให้ท่านแนะนำนายใหญ่ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร  จงอธิบายพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบคำตอบ

ธงคำตอบ

มาตรา  644  ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

มาตรา  645  ในกรณีทั้งหลายดังกล่าวไว้ในมาตรา  643  นั้นก็ดี  หรือถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความในมาตรา  644  ก็ดี  ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

วินิจฉัย

นายใหญ่ให้นายเล็กยืมรถยนต์ใช้มีกำหนด  1  ปี  เมื่อนายเล็กใช้รถได้หกเดือน  ปรากฏว่ารถชำรุดทรุดโทรมมาก  เพราะนายเล็กปล่อยปละละเลยไม่ดูแลรักษารถยนต์เหมือนคนทั่วไป  ดังนี้  นายเล็กทำผิดหน้าที่ผู้ยืมในการสงวนรักษาทรัพย์สิน  เนื่องจากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลรักษารถยนต์เหมือนวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง  ตามที่บัญญัติในมาตรา  644  ดังนั้น  ข้าพเจ้าจะแนะนำนายใหญ่ให้เลือกวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้

 1       บอกเลิกสัญญา  และเรียกเอาทรัพย์สินนั้นคืนมา  โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาในสัญญายืมตามมาตรา  645

 2       ให้นายเล็กทำการดูแลรักษารถยนต์ตามหน้าที่ที่บัญญัติในมาตรา  644  และหากการละเลยของนายเล็กก่อให้เกิดความเสียหายต่อรถยนต์ที่ยืมมาก็ไม่ตัดสิทธินายใหญ่ที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา  213  วรรคท้าย

 

ข้อ  2  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  653  วรรคสอง  บัญญัติว่า  ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง  คำว่า  การใช้เงิน  ในที่นี่หมายความว่าอย่างไร

นายเอกยืมเงินนายโทมา  10,000  บาท  ต่อมาโทฟ้องเอกขอเรียกเงินยืมคืน  ดังนี้  เอกจะต่อสู้ว่าได้โอนรถจักรยานยนต์ชำระหนี้แทนเงินไปแล้ว  โดยขอนำสืบพยานบุคคลคือนายตรี  ผู้อยู่ด้วยขณะที่นำรถจักรยานยนต์มามอบให้  จะได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

คำว่า  การใช้เงิน  ตามมาตรา  653  วรรคสอง  จะเกิดขึ้นต่อเมื่อการกู้ยืมเงินนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือตามบทบังคับของกฎหมายการใช้เงินจึงต้องมีหลักฐานการใช้เงิน  จึงจะนำสืบต่อศาลว่าได้มีการใช้เงินกันแล้ว

ฉะนั้น  การใช้เงินตามนัยมาตรา  653  วรรคสอง  หมายความถึง  การใช้เงินต้นเท่านั้นไม่รวมถึงดอกเบี้ย  กล่าวคือ  เป็นการนำเงินสดที่สามารถชำระหนี้ตามกฎหมายมาชำระหนี้เงินต้นเท่านั้น  หากเป็นการใช้เงินต้นด้วยวิธีอื่น  เช่น  ชำระหนี้ด้วยบัตรเครดิต  เช็ค  หรือชำระหนี้ด้วยสร้อยเพชร  ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานการใช้เงิน  สามารถนำสืบพยานบุคคลว่าได้มีการใช้เงินต้นกันแล้วได้  เช่นเดียวกันหากการกู้ยืมเงินกันมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่การใช้เงินต้นคืนไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  ซึ่งผู้กู้ก็ได้ชำระคืนไปแล้ว  เช่นนี้  ผู้กู้จำต้องชำระเงินคืนให้ผู้ให้กู้ อีกครั้งหนึ่ง  จะนำพยานบุคคลมานำสืบการใช้เงินไม่ได้

อนึ่งการใช้ดอกเบี้ยคืน  ก็หามีบทบัญญัติให้ต้องมีหลักฐานการใช้คืนดอกเบี้ยแต่อย่างใด  สามารถนำพยานบุคคลมาสืบการใช้คืนดอกเบี้ยได้  (ฎ. 243/2503,  1051/2503)

วินิจฉัย

นายเอกยืมเงินนายโท  10,000  บาท  และถูกนายโทฟ้องเรียกเงินคืน  นายเอกต่อสู้ว่าได้โอนรถจักรยานยนต์ชำระหนี้แทนเงิน  โดยขอนำสืบพยานบุคคลผู้อยู่ด้วยขณะชำระหนี้คือนายตรี  กรณีนี้เอกสามารถขอนำสืบพยานบุคคลได้  เพราะเอกมิได้นำสืบการใช้เงินต้นจึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงต่อศาลตามมาตรา  653  วรรคสอง  แต่อย่างใด

สรุป  นายเอกนำพยานบุคคลมานำสืบได้

 

ข้อ  3  นายแดงฝากเงินไว้กับนายดำ  จำนวน  1  แสนบาท  มีกำหนดเวลา  2  ปี  ต่อมา  3  เดือน  นายแดงตาย  ดังนี้  เขียวซึ่งเป็นทายาทของนายแดงจะขอเรียกเงินคืนจากดำทันทีไม่รอให้ครบ  2  ปี  ดังนี้  เขียวมีสิทธิทำได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  665  ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก  หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น  หรือผู้รับฝากได้รับคำสั่งโดยชอบให้คืนทรัพย์สินนั้นไปแก่ผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น

แต่หากผู้ฝากทรัพย์ตาย  ท่านให้คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ทายาท

มาตรา  672  ถ้าฝากเงิน  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า  ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก  แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน

อนึ่ง  ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้  แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น  แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม  ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดังว่านั้น

มาตรา  673  เมื่อใดควรรับฝากจำต้องคืนเงินแต่เพียงเท่าจำนวนที่ฝาก  ผู้ฝากจะเรียกถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้  หรือฝ่ายผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงกำหนดเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน

วินิจฉัย

โดยหลักแล้วผู้รับฝากจะต้องคืนทรัพย์สินที่รับฝากไว้ให้แก่ผู้รับฝาก  ผู้รับฝากจะไม่คืนให้แก่ผู้รับฝากโดยตรงก็มีอยู่เพียง  3  กรณีเท่านั้น  คือ

 1       คืนให้แก่บุคคลที่ผู้ฝากได้ฝากทรัพย์สินแทน  เช่น  นาย  ก  เป็นบิดาของนาย  ข  ซึ่งนาย  ก  เอาทรัพย์สินมีค่าของนาย  ข  ไปฝากไว้กับนาย  ค  โดยฝากในนามของนาย  ข  (ฝากแทนนาย  ข)  ดังนี้  นาย  ค  ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่รับฝากไว้คืนให้แก่นาย  ข

2       คืนให้แก่บุคคลที่มีคำสั่งโดยชอบระบุให้คืน  เช่น  ผู้ฝากอาจจะมีคำสั่งมายังผู้รับฝากให้คืนทรัพย์สินแก่บุคคลใด  ผู้รับฝากก็ต้องคืนให้บุคคลที่ระบุในคำสั่งนั้น

3       คืนให้กับทายาทของผู้ฝากในกรณีที่ผู้ฝากตาย

นายดำมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากแก่ทายาทของนายแดงทันที  โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลา  ทั้งนี้ตามนัยมาตรา  665  วรรคท้ายกำหนดว่า  ในกรณีที่ผู้ฝากทรัพย์ตาย  ท่านให้คืนทรัพย์สินที่รับฝากนั้นแก่ทายาทของผู้ฝาก

แม้บทบัญญัติมาตรา  673  จะกำหนดว่า  เมื่อใดรับฝากจำต้องคืนเงินแต่เพียงเท่าจำนวนที่ฝาก  ผู้ฝากจะเรียกถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้  หรือฝ่ายผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน  แต่ก็ไม่สามารถอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมายันทายาทของนายแดงได้  ต้องตีความตามมาตรา  665  วรรคท้าย  โดยเคร่งครัด  (ฎ. 80/2511)

อย่างไรก็ตาม  การคืนเงินที่รับฝาก  ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกับที่ฝากแต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน

สรุป  เขียวทายาทของแดง  มีสิทธิขอคืนเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลา

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม 1/2548

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2548

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง  อนึ่งสัญญาทั้งสองนี้มีลักษณะเหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง

ธงคำตอบ

มาตรา  640  อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม  ให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม  ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

มาตรา  641  การให้ยืมใช้คงรูปนั้นท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม

มาตรา  650  อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น  คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น  เป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม  และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่า  สัญญายืมใช้คงรูปกับยืมใช้สิ้นเปลืองมีลักษณะที่เหมือนกันและต่างกันดังนี้

ลักษณะที่เหมือนกัน

 1       เป็นสัญญาซึ่งประกอบด้วยคู่กรณี  2  ฝ่าย  ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม  อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม  โดยแต่ละฝ่ายไม่จำเป็นต้องมีฝ่ายละคนเสมอไป  อาจจะมากกว่าหนึ่งคนก็ได้  และจะเป็นบุคคลธรรมดา  หรือนิติบุคคลก็ได้  กฎหมายไม่ได้จำกัดไว้  เพียงแต่ต้องมีคู่กรณี  2  ฝ่ายจึงจะเกิดเป็นสัญญาได้

2       ผู้ให้ยืมจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้ยืมได้ใช้สอย  จึงถือได้ว่า  การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเป็นแบบแห่งความสมบูรณ์ของสัญญายืม  หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม  สัญญายืมจึงไม่สมบูรณ์   ไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด  เช่น  นาย  ก.  ยืมแจกันจาก  นาง  ข.  แต่นาง  ข.  ยังไม่ว่างจึงยังไม่หยิบให้  เช่นนี้ถือว่าสัญญายืมยังไม่สมบูรณ์  เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

3       เมื่อผู้ยืมได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืมเสร็จแล้ว  ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินให้กับผู้ให้ยืม  ซึ่งทำให้สัญญายืมมีลักษณะต่างจากสัญญาประเภทอื่น  เช่น  หากเป็นการให้เอาไปใช้สอยได้เปล่าโยไม่ต้องส่งคืนก็หาเป็นสัญญายืม  แต่อาจเป็นสัญญาให้  หรือหากเป็นการให้ใช้สอยทรัพย์สินโดยเสียค่าตอบแทนและไม่ต้องส่งคืนเช่นนี้  ก็อาจเป็นสัญญาซื้อขายได้

ลักษณะที่ต่างกัน

 1       สัญญายืมใช้คงรูปนั้น  เป็นสัญญาที่ผู้ยืมได้ประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว  กล่าวคือ  ได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืมโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน  เมื่อใช้สอยเสร็จแล้วก็ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น  ดังนี้  กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ยืมจึงไม่โอนไปยังผู้ยืม  แต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ยืมโอนไปยังผู้ยืม  ตัวอย่างเช่น  นาย  ก.  ยืมน้ำปลาของนาย  ข.  ไปให้ภรรยาดูราคาข้างขวด  เช่นนี้ถือว่าเป็นสัญญายืมใช้คงรูป  กรรมสิทธิ์ในน้ำปลายังไม่โอนไปยังนาย  ข.  ผู้ยืม  แต่หากนาย  ก.  ยืมน้ำปลา  1  ขวดเพื่อไปใช้ทำอาหาร  เช่นนี้ถือว่า  เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง  กรรมสิทธิ์น้ำปลาขวดที่ยืมจึงโอนไปยังนาย  ข.  ผู้ยืม

2       สัญญายืมใช้คงรูป  ผู้ยืมใช้ทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่า  ไม่เสียค่าตอบแทน  หากเสียค่าตอบแทนก็อาจเป็นสัญญาอื่น  เช่น  สัญญาเช่าทรัพย์ไป  แต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองผู้ยืมอาจได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืมไปโดยเสียค่าตอบแทนด้วยหรือไม่ก็ได้  เช่น  สัญญากู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยและหรือค่าธรรมเนียม

3       สัญญายืมใช้คงรูป  ผู้ยืมต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมมานั้น  จะส่งคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกับทรัพย์สินที่ยืมมานั้นไม่ได้  แต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง  ผู้ยืมไม่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น  แต่ต้องส่งคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกันกับทรัพย์สินที่ยืมมานั้น  เนื่องจากวัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง  เป็นทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปหรือหมดสภาพไปเพราะการใช้  จึงเป็นไปไม่ได้เองที่จะต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้นเหมือนกับสัญญายืมใช้คงรูป

 

ข้อ  2  นายอินมีอาชีพปล่อยเงินกู้  บวชเป็นพระได้  3  เดือน  พระภิกษุอินจึงได้ปล่อยเงินให้นางจักรายืมเงินเป็นจำนวน  100,000  บาท ในการนี้พระภิกษุอินได้ให้นางจักราทำหนังสือยืมเงิน  ความว่า  ข้าพเจ้าได้รับเงินจากพระภิกษุอิน  เป็นจำนวนเงิน  100,000  บาท  และข้าพเจ้าจะคืนเงินดังกล่าว  พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ  16  ต่อปี  ในวันที่  15  ตุลาคม  2549  นางจักราได้ลงนามโดยใช้ชื่อเล่นของตนลงในหนังสือยืมเงินว่า  ทุซซี่  ส่วนพระภิกษุอินได้ลงแกงไดในส่วนผู้ให้ยืมเงิน  โดยไม่มีผู้ใดเป็นพยาน  ดังนี้  สัญญายืมเงินดังกล่าว  มีผลตามกฎหมายหรือไม่  เพียงใด

ธงคำตอบ

มาตรา  9  วรรคหนึ่ง  วรรคสอง  เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ  บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง  แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น

ลายพิมพ์นิ้วมือ  แกงได  ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ  หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อให้ผู้ยืมมาแสดง  หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

มาตรา  654  ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี  ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น  ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

1       พระภิกษุอินสามารถปล่อยเงินให้ชาวบ้านกู้ยืมเงินได้โดยไม่ผิดกฎหมายใดๆ  เนื่องจากไม่มีกฎหมายห้ามพระภิกษุนำเงินส่วนตัวของตนออกให้บุคคลอื่นกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย  พระภิกษุก็เป็นบุคคลธรรมดาตามกฎหมาย  จึงมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายเท่าเทียมกันกับบุคคลธรรมดาทั่วไป  (ฎ. 3773/2538)

2       การที่พระภิกษุอินให้นางจักราเขียนหนังสือรับว่าตนเป็นผู้กู้ยืมเงินนั้น  หนังสือดังกล่าวถือว่าใช้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินได้ตามมาตรา  653  เพราะมีลายมือชื่อผู้รับผิดคือผู้กู้เอง  แม้จะลงลายมือชื่อเล่นก็ตาม  กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องลงชื่อจริงเท่านั้น  จะลงชื่อเล่นหรือลงชื่อเป็นภาษาต่างประเทศก็ได้

3       การที่พระภิกษุลงแกงไดมีผลเป็นโมฆะเฉพาะในส่วนที่ตนไม่มีพยานรับรองตามมาตรา  9  วรรคสอง  แต่ก็ไม่ทำให้หลักฐานการทำเป็นหนังสือกู้ยืมเสียไป  เพราะกฎหมายต้องการเพียงลายมือชื่อผู้ยืม (นางจักราหรือทุซซี่)  เท่านั้น

4       แต่ข้อความในหนังสือที่ให้ยืมพร้อมดอกเบี้ยนั้นทำให้ภิกษุอินฟ้องคืนดอกเบี้ยไม่ได้เลย  เนื่องจากเป็นการขัดต่อกฎหมายมาตรา  654  ที่กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ  15  และยังขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  จึงทำให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด  ขอคืนได้เพียงเงินต้นเท่านั้น

สรุป  สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมีผลสมบูรณ์เฉพาะเงินต้น  ส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ

 

ข้อ  3  นายดำฝากเงินจำนวนหนึ่งแสนบาทไว้กับนายแดง  โดยทุกๆวันสิ้นเดือนจะขอรับคืนเดือนละสองหมื่นบาท  แต่จะให้นายเขียวลูกจ้างมาเป็นคนรับแทนทั้งสองปฏิบัติตามที่ตกลงกันมาได้สองเดือน  พอล่วงเข้าต้นเดือนที่สาม  นายแดงนำเงินของนายดำจำนวนห้าหมื่นบาทไปจ่ายค่าสินค้าที่ค้างชำระเงินของนายแดงที่เก็บอยู่จึงเหลืออีกหนึ่งหมื่นบาท  ปรากฏว่า  ตกกลางคืนมีพายุฝนตกหนักและน้ำป่าหลากมาท่วมบ้านเรือน  และพัดพาทรัพย์สินลอยน้ำไป  บ้านของนายแดงได้รับความเสียหายเมื่อน้ำลดมาตรวจดูพบว่าทรัพย์สินหลายอย่างรวมทั้งเงินของนายดำที่ฝากไว้ถูกพัดหายไป  ดังนี้  นายแดงจะต้องคืนเงินที่เหลือแก่นายดำหรือไม่  จำนวนเท่าใด  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  672  ถ้าฝากเงิน  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า  ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก  แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน

อนึ่ง  ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้  แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น  แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม  ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดังว่านั้น

วินิจฉัย

นายดำฝากเงินจำนวนหนึ่งแสนบาทไว้กับนายแดงโดยทุกวันสิ้นเดือนจะขอรับเงินคืนเดือนละสองหมื่นบาท  ปรากฏว่านายดำรับเงินคืนไปเพียงสี่หมื่นบาท  นายแดงได้นำเงินของนายดำจำนวนห้าหมื่นบาทไปจ่ายสินค้าที่ตนค้างชำระ  เช่นนี้  ในเรื่องการฝากเงินมาตรา  672  ให้ผู้รับฝากเงินมีสิทธินำเงินที่ฝากออกใช้สอยได้  แต่ต้องคืนให้ครบจำนวน  นายแดงจึงมีสิทธินำเงินที่ฝากไปจ่ายค่าสินค้า  แต่ต้องรับผิดชอบคืนเงินนี้แก่นายดำผู้ฝาก

ส่วนเงินที่ยังเหลืออีกหนึ่งหมื่นบาทแม้ถูกน้ำท่วมพัดพาหายไป  แต่หลักกฎหมายมาตรา  672  บัญญัติให้ผู้รับฝากเงินต้องรับผิดแม้ความเสียหายจะเกิดจากเหตุสุดวิสัย  ดังนั้น  นายแดงจึงต้องรับผิดคืนเงินที่ถูกน้ำพัดพานี้ไปด้วย

สรุป  นายแดงต้องรับผิดคืนเงินจำนวนหกหมื่นบาทแก่นายดำ

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ภาคซ่อม S/2548

การสอบซ่อมภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2548

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมในกรณีใช้สอยทรัพย์สินไม่ถูกต้อง  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  643  มีอย่างไรบ้าง  ให้อธิบายหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

มาตรา  643  ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น  ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น  หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี  เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี  เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี  ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหาย  หรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ  ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหาย  หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง  คือ  ผู้ให้ยืม  ให้บุคคลอีกคนหนึ่งคือผู้ยืม  ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า  โยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ  และผู้ยืมก็ตกลงว่าเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว  ก็จะนำทรัพย์สินนั้นมาคืนให้  ดังนี้จะเห็นว่าผู้ยืมเป็นผู้ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว  กล่าวคือ  ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ยืมและยังไม่ต้องเสียค่าตอบแทนอีกด้วย  แต่การใช้ทรัพย์สินที่ยืมผู้อื่นเขามามิได้หมายความว่า  จะใช้เอาประโยชน์ของตนตามอำเภอใจโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้ให้ยืมนั้น

จากบทบัญญัติตามมาตรา  643  ดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูปไว้  4  ประการ  คือ  ใช้ทรัพย์สินที่ยืมตามการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น  ไม่เอาไปใช้นอกจากการอันปรากฏในสัญญา  ไม่เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย  หรือไม่เอาไปไว้นายกว่าที่ควรจะเอาไว้  และยังกำหนดอีกว่า  ผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุที่ทรัพย์สินที่ยืมเกิดความสูญหายหรือบุบสลาย  ถึงแม้จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  ก็ต่อเมื่อปรากฏข้อเท็จว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมแล้ว  หากความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการที่ผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืม  ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด

สำหรับกรณีที่จะถือว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืม  ตามมาตรา  643  มีดังนี้คือ

 1       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้อย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น  เช่น  ขอยืมใบมีดโกนเขามาแทนที่จะโกนหนวดโกนเครา  กลับเอาไปเหลาดินสอหรือหั่นเนื้อหั่นหมู  หรือยืมม้าแทนที่จะเอาไปขี่กลับเอาไปลากรถ  ลากซุง  เป็นต้น

2       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้อย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญา  เช่น  ขอยืมรถไปทำงานในกรุงเทพฯ  แต่กลับขัยรถออกไปนอกเส้นทางไปเที่ยวชลบุรี  เป็นต้น

3       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยแล้วเกิดความเสียหาย  เช่น  ขอยืมวัวไปไถนา  2  เดือน  ผู้ยืมใช้สอยเสร็จแล้วภายใน  1  เดือน  แต่ไม่ส่งคืน  กลับเอาไปให้บุคคลใช้สอยจนเกิดความเสียหายขึ้น  เช่นนี้ถือว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมแล้ว

4       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้  กล่าวคือ  เป็นการที่ผู้ยืมส่งคืนทรัพย์ที่ยืมล่าช้า  เช่น  ขอยืมรถมาใช้  3  วัน  เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่เอามาคืน  หรือในกรณีที่สัญญามิได้กำหนดเวลาส่งคืน  แต่ไม่ปรากฏว่ายืมเพื่อการใด  หากผู้ยืมใช้สอยเสร็จแล้ว  หรือเวลาล่วงเลยไปพอแก่การใช้ทรัพย์สินนั้นแล้วก็ยังไม่ส่งคืน  เป็นต้น

ดังนั้น  เมื่อผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผู้ยืมก็ต้องรับความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ  แม้ความเสียหายนั้นจะเกิดเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม

อนึ่งคำว่า  เหตุสุดวิสัย  หมายความว่า  เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี  จะให้ผลพิบัติก็ดี  เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้  แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น  จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร  อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น  เช่น  ฟ้าผ่า  แผ่นดินไหว  น้ำท่วม  ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น  นาย  ก.  ยืมรถยนต์นาย  ข.  ไปท่องเที่ยวพัทยา  แต่นาย  ก.  กลับขับรถไปนครสวรรค์เพื่อไปรับเพื่อนก่อน  ในระหว่างทางนั้นมีพายุฝนตกหนัก  ฟ้าผ่ารถคันที่นาย  ก.  ยืมไปเสียหาย  เช่นนี้  ถือว่านาย  ก.  ประพฤติผิดหน้าที่ผู้ยืม  โดยเอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้ในการอย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญาแล้ว  เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม  นาย  ก.  ก็ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่  นาย  ข.  ผู้ให้ยืมด้วย

สรุป  ผู้ยืมใช้คงรูปมีหน้าที่และความรับผิด  ในกรณีการใช้สอยทรัพย์สิน  ตามมาตรา  643  ดังกล่าวข้างต้น 

 

ข้อ  2  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  653  วรรคสอง  บัญญัติว่า  ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง  คำว่า  การใช้เงิน  ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร

นายเอกยืมเงินนายโทมา  10,000  บาท  ต่อมาโทฟ้องเอกขอเรียกเงินยืมคืน  ดังนี้  เอกจะต่อสู้ว่าได้โอนรถจักรยานยนต์ชำระหนี้แทนเงินไปแล้ว  โดยขอนำสืบพยานบุคคลคือนายตรี  ผู้อยู่ด้วยขณะที่นำรถจักรยานยนต์มามอบให้  จะได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

คำว่า  การใช้เงิน  ตามมาตรา  653 วรรคสอง  จะเกิดขึ้นต่อเมื่อการกู้ยืมเงินนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือตามบทบังคับของกฎหมายการใช้เงินจึงต้องมีหลักฐานการใช้เงิน  จึงจะนำสืบต่อศาลว่าได้มีการใช้เงินนั้นแล้ว

ฉะนั้น  การใช้เงินตามนัยมาตรา  653  วรรคสอง  หมายความถึง  การใช้เงินต้นเท่านั้นไม่รวมถึงดอกเบี้ย  กล่าวคือ  เป็นการนำเงินสดที่สามารถชำระหนี้ตามกฎหมายมาชำระหนี้เงินต้นเท่านั้น  หากเป็นการใช้เงินต้นด้วยวิธีอื่น  เช่น  ชำระหนี้ด้วยบัตรเครดิต  เช็ค  หรือชำระหนี้ด้วยสร้อยเพชร  ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานการใช้เงิน  สามารถนำสืบพยานบุคคลว่าได้มีการใช้เงินต้นกันแล้วได้  เช่นเดียวกันหากการกู้ยืมเงินกันมีหลักฐานเป็นหนังสือ  แต่การใช้เงินต้นคืนไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  ซึ่งผู้กู้ก็ได้ชำระคืนไปแล้ว  เช่นนี้  ผู้กู้จำต้องชำระเงินคืนให้ผู้ให้กู้อีกครั้งหนึ่ง  จะนำพยานบุคคลมานำสืบการใช้เงินไม่ได้

อนึ่งการใช้ดอกเบี้ยคืน  ก็หามีบทบัญญัติให้ต้องมีหลักฐานการใช้คืนดอกเบี้ยแต่อย่างใด  สามารถนำพยานบุคคลมาสืบการใช้คืนดอกเบี้ยได้  (ฎ.  243/2503,  1051/2503)

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์  นายเอกยืมเงินนายโท  10,000  บาท  และถูกนายโทฟ้องเรียกเงินคืนนายเอกต่อสู้ว่าได้โอนรถจักรยานยนต์ชำระหนี้แทนเงิน โดยขอนำสืบพยานบุคคลผู้อยู่ด้วยขณะชำระหนี้คือนายตรี  กรณีนี้สามารถขอนำสืบพยานบุคคลได้  เพราะเอกมิได้นำสืบการใช้เงินต้นจึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงต่อศาลตามมาตรา  653  วรรคสอง  แต่อย่างใด

สรุป  นายเอกนำพยานบุคคลมานำสืบได้

 

ข้อ  3  นายรุ่งเรืองเอารถยนต์ไปฝากไว้กับนายเอกโดยไม่ได้อนุญาตให้นายเอกใช้รถ  และไม่ได้ตกลงเรื่องบำเหน็จกัน  เมื่อนายเอกรับฝากแล้วกลับนำรถไปใช้รับจ้างเป็นรถโดยสาร  วันหนึ่งผู้โดยสารรายหนึ่งจ้างนายเอกขับรถไปขึ้นศาลที่จังหวัดลพบุรี  และชวนนายเอกให้ไปนั่งในห้องพิจารณาคดีด้วย  นายเอกจึงจอดรถไว้ที่หน้าศาลจังหวัดลพบุรี  เมื่อลงมาพบว่ารถถูกขโมยไป  นายรุ่งเรืองรู้ว่ารถถูกขโมยจึงเรียกให้นายเอกชดใช้ค่าเสียหาย  นายเอกปฏิเสธว่าตนรับฝากรถโดยไม่มีบำเหน็จ  และได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นประพฤติปฏิบัติในกิจการของตนเองแล้วจึงไม่ต้องรับผิด  เช่นนี้  ข้อต่อสู้ของนายเอกฟังขึ้นหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  659  ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้  ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง

ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก  ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น  ทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย

ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้วิชาชีพเฉพาะกิจการค้าหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น

มาตรา  660  ถ้าผู้ฝากมิได้อนุญาต  และผู้รับฝากเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นออกมาใช้สอยเองหรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือให้บุคคลภายนอกเก็บรักษาไซร้  ท่านว่าผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหายหรือบุบสลายอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ  ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ  ข้อต่อสู้ของนายเอกที่ว่าตนรับฝากรถโยไม่มีบำเหน็จ  และได้ใช้ความระมัดระวังสงวนรักษาทรัพย์สินเหมือนเช่นเคยประพฤติปฏิบัติในกิจการของตนเองแล้ว  จึงไม่ต้องรับผิดฟังขึ้นหรือไม่    เห็นว่า  การที่นายเอกรับฝากรถโดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากตามมาตรา  659  วรรคแรก  ได้กำหนดหน้าที่ให้ผู้รับฝากใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่ตนรับฝากไว้นั้นไม่มากหรือน้อยไปกว่าการสงวนรักษาทรัพย์สินของตน  กล่าวคือ  นอกจากผู้รับฝากจะไม่ได้ค่าตอบแทนในการรับฝากทรัพย์สินนั้นแล้ว  ผู้รับฝากยังต้องรับภาระหน้าที่ดูแลระมัดระวังทรัพย์สินที่รับฝากอีกด้วย  กฎหมายกำหนดหน้าที่เท่านั้นก็นับว่าเพียงพอแล้ว  ดังนั้นการที่นายเอกไปนั่งในห้องพิจารณาคดี  โดยจอดรถไว้หน้าศาล  จึงไม่เป็นการประพฤติผิดหน้าที่ตามมาตรา  659  ดังกล่าว  แต่อย่างไรก็ตาม  แม้นายเอกจะไม่ได้ผิดหน้าที่สงวนทรัพย์สิน  แต่นายเอกก็ผิดหน้าที่ตามมาตรา  660  โดยนำรถยนต์ที่รับฝากออกใช้สอยโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ฝากก่อน  เมื่อทรัพย์สินที่ฝากสูญหายโดยไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า  ถึงอย่างไรทรัพย์สินนั้นก็คงต้องสูญหายอยู่นั่นเอง  นายเอกก็ต้องรับผิด  จะเห็นได้ว่าความรับผิดชอบของผู้รับฝากตามมาตรา  660  แม้เป็นกรณีการรับฝากโดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก  ผู้รับฝากก็คงต้องรับผิดจากผลที่ได้ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว  หากนายเอกไม่นำรถยนต์ออกมาใช้สอยก่อนแล้ว  การที่รถยนต์จะถูกขโมยไปอาจจะไม่เกิดมีขึ้น  ดังนั้นแม้จะอ้างว่าได้สงวนทรัพย์สินเช่นที่ได้ปฏิบัติกับทรัพย์สินของตนก็คงไม่ได้  ข้อต่อสู้จึงฟังไม่ขึ้น

สรุป  ข้อต่อสู้ของนายเอกฟังไม่ขึ้น

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม S/2548

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2548

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  653  วรรคสอง  บัญญัติว่า  ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้  ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง…  คำว่า  การใช้เงิน  ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร

ธงคำตอบ

คำว่า  การใช้เงิน  ตามมาตรา  653  วรรคสอง  จะเกิดขึ้นต่อเมื่อการกู้ยืมเงินนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือตามบทบังคับของกฎหมายการใช้เงินจึงต้องมีหลักฐานการใช้เงิน  จึงจะนำสืบต่อศาลว่าได้มีการใช้เงินกันแล้ว

ฉะนั้น  การใช้เงินตามนัยมาตรา  653  วรรคสอง  หมายความถึง  การใช้เงินต้นเท่านั้นไม่รวมถึงดอกเบี้ย  กล่าวคือ  เป็นการนำเงินสดที่สามารถชำระหนี้ตามกฎหมายมาชำระหนี้เงินต้นเท่านั้น  หากเป็นการใช้เงินต้นด้วยวิธีอื่น  เช่น  ชำระหนี้ด้วยบัตรเครดิต  เช็ค  หรือชำระหนี้ด้วยสร้อยเพชร  ก็ไม่จำต้องมีหลักฐานการใช้เงิน  สามารถนำสืบพยานบุคคลว่าได้มีการใช้เงินต้นกันแล้วได้  เช่นเดียวกันหากการกู้ยืมเงินกันมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่การใช้เงินต้นคืนไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  ซึ่งผู้กู้ก็ได้ชำระคืนไปแล้ว  เช่นนี้  ผู้กู้จำต้องชำระเงินคืนให้ผู้ให้กู้ อีกครั้งหนึ่ง  จะนำพยานบุคคลมานำสืบการใช้เงินไม่ได้

อนึ่งการใช้ดอกเบี้ยคืน  ก็หามีบทบัญญัติให้ต้องมีหลักฐานการใช้คืนดอกเบี้ยแต่อย่างใด  สามารถนำพยานบุคคลมาสืบการใช้คืนดอกเบี้ยได้  (ฎ. 243/2503,  1051/2503)

 

ข้อ  2  แดงกู้เงินดำจำนวนห้าหมื่นบาท  โดยทำหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นสัญญาระบุรายละเอียดว่า  สัญญานี้ทำขึ้นระหว่างนายดำผู้ให้กู้และนายแดงผู้กู้  โดยนายดำให้นายแดงกู้ยืมเงินจำนวนห้าหมื่นบาทและไม่ต้องการคิดดอกเบี้ย  หากผิดสัญญาจะนำหลักฐานฉบับนี้ไปฟ้องศาล  นายดำได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ให้กู้  ส่วนนายแดงบ่ายเบี่ยงไม่ยอมลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้  โดยอ้างว่ากำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็นทองแดง  หากดำเนินการเปลี่ยนชื่อใหม่เรียบร้อยแล้วจะมาลงชื่อในสัญญากู้ภายหลัง  

นายดำเกรงว่านายแดงจะบิดพลิ้ว  ผิดคำพูด  จึงขอให้นายแดงประทับลายพิมพ์นิ้วมือลงไว้ในช่องผู้กู้  นายแดงปฏิเสธไม่ได้  จึงประทับลายพิมพ์นิ้วมือไว้ในสัญญาในฐานะเป็นผู้กู้  ต่อมานายแดงไม่ยอมชำระหนี้เงินกู้  นายดำจึงนำหลักฐานดังกล่าวมาฟ้องศาล  ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะมีคำวินิจฉัยคดีเงินกู้รายนี้อย่างไร

ธงคำตอบ

มาตรา  9  วรรคหนึ่ง  วรรคสอง  เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ  บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง  แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น

ลายพิมพ์นิ้วมือ  แกงได  ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ  หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อให้ผู้ยืมมาแสดง  หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

วินิจฉัย

หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามมาตรา  653  วรรคแรก  ต้องลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญจึงจะนำมาฟ้องร้องบังคับคดีได้  จากกรณีตามปัญหา  ข้อความในสัญญาแสดงถึงการกู้ยืมเงินระหว่างนายแดงและนายดำจำนวนห้าหมื่นบาทโดยไม่ต้องการคิดดอกเบี้ย  นายดำผู้ให้กู้ได้ลงลายมือชื่อไส้  ส่วนนายแดงได้ประทับลายพิมพ์นิ้วมือลงไว้ในช่องผู้กู้  แต่การลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ในสัญญากู้ตามมาตรา  9  วรรคสอง มีหลักกฎหมายว่าต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออย่างน้อยสองคน  แต่ในสัญญาฉบับนี้ไม่ปรากฏว่ามีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ  จึงทำให้สัญญานี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา  653  วรรคแรก  ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย  นายแดงจึงไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้แก่นายดำ

สรุป  ศาลจะไม่สามารถพิพากษาให้นายแดงชำระหนี้เงินกู้รายนี้ได้

 

ข้อ  3  นายเอกได้เดินทางไปพักแรมยังโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น  โดยมีนายโทเป็นผู้จัดการโรงแรมนายเอกได้จอดรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้าสีน้ำเงิน  หมายเลขทะเบียน  พย  2465  ไว้ที่ลานจอดรถหน้าโรงแรม  ส่วนสิ่งของที่นำติดตัวมาด้วยนอกจากกระเป๋าเดินทาง เงินสดอีกจำนวนหนึ่งแล้วยังมีปืนพกอีกหนึ่งกระบอกราคา  4,000  บาท  เมื่อพักแรมได้  1  คืน  ปรากฏว่าปืนพกที่เก็บไว้ใต้หมอนถูกขโมยไปและรถยนต์ถูกขโมยกระจกมองข้างและไฟสปอร์ตไลท์หน้ารถอีก  1  ดวง  รวมค่าเสียหาย  3,000  บาท  นายเอกไม่ได้แจ้งรายการสิ่งของที่ตนนำมาด้วยต่อทางโรงแรม  แต่เมื่อพบว่าของหายได้รีบแจ้งให้นายโทผู้จัดการโรงแรมทราบทันที  ดังนี้  โรงแรมต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายต่อนายเอกอย่างไรบ้าง  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

มาตรา  675  วรรคแรก  เจ้าสำนักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างใดๆ  แม้ถึงว่าความสูญหาย  หรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก  ณ  โรงแรม  โฮเต็ล  หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

วินิจฉัย

นายเอกได้พักแรมยังโรงแรม  โดยมีนายโทเป็นผู้จัดการโรงแรม  นายเอกได้จอดรถยนต์ของตนไว้ที่ลานจอดรถหน้าโรงแรม  ส่วนสิ่งของที่นำติดตัวเข้ามาพักนอกจากกระเป๋าเดินทางและเงินสด  ยังมีปืนพกหนึ่งกระบอกราคา  4,000  บาท  เมื่อพักแรมได้  1  คืน  ปรากฏว่าปืนพกถูกขโมยและรถยนต์ถูกขโมยชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เป็นค่าเสียหาย   3,000  บาท  ดังนี้  ปืนพกราคา  4,000  บาท  และค่าเสียหายจำนวน  3,000  บาท  ที่มีคนถอดอะไหล่ชิ้นส่วนรถยนต์ไป  ถือว่าเป็นทรัพย์ตามมาตรา  675  วรรคแรก  ที่โรงแรมต้องชดใช้เต็มจำนวน  หากมีการสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างเข้าพักในโรงแรม  โดยสิ่งของตามมาตรา  675  วรรคแรก  นี้  ผู้เดินทางไม่ต้องแจ้งให้โรงแรมทราบว่าตนนำมาด้วยแต่อย่างใด

สรุป  โรงแรมต้องชดใช้ต่อเอกในราคาปืนพก  4,000  บาท  และค่าเสียหายที่รถถูกขโมยอะไหล่อีก  3,000  บาท  รวมเป็น  7,000  บาท

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ภาคซ่อม 1/2549

การสอบซ่อมภาค  1  ปีการศึกษา  2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป  ในกรณีการใช้สอยทรัพย์สินไว้อย่างไรบ้าง  ให้อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมายด้วย

ธงคำตอบ

หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป  เกี่ยวกับการใช้สอยทรัพย์สิน  เป็นไปตามหลักกฎหมาย

มาตรา  643  ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น  ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น  หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี  เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี  เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี  ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหาย  หรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ  ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหาย  หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง  คือ  ผู้ให้ยืม  ให้บุคคลอีกคนหนึ่งคือผู้ยืม  ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า  โยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ  และผู้ยืมก็ตกลงว่าเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว  ก็จะนำทรัพย์สินนั้นมาคืนให้  ดังนี้จะเห็นว่าผู้ยืมเป็นผู้ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว  กล่าวคือ  ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ยืมและยังไม่ต้องเสียค่าตอบแทนอีกด้วย  แต่การใช้ทรัพย์สินที่ยืมผู้อื่นเขามามิได้หมายความว่า  จะใช้เอาประโยชน์ของตนตามอำเภอใจโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้ให้ยืมนั้น

จากบทบัญญัติตามมาตรา  643  ดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูปไว้  4  ประการ  คือ  ใช้ทรัพย์สินที่ยืมตามการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น  ไม่เอาไปใช้นอกจากการอันปรากฏในสัญญา  ไม่เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย  หรือไม่เอาไปไว้นายกว่าที่ควรจะเอาไว้  และยังกำหนดอีกว่า  ผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุที่ทรัพย์สินที่ยืมเกิดความสูญหายหรือบุบสลาย  ถึงแม้จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  ก็ต่อเมื่อปรากฏข้อเท็จว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมแล้ว  หากความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการที่ผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืม  ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด

สำหรับกรณีที่จะถือว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืม  ตามมาตรา  643  มีดังนี้คือ

 1       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้อย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น  เช่น  ขอยืมใบมีดโกนเขามาแทนที่จะโกนหนวดโกนเครา  กลับเอาไปเหลาดินสอหรือหั่นเนื้อหั่นหมู  หรือยืมม้าแทนที่จะเอาไปขี่กลับเอาไปลากรถ  ลากซุง  เป็นต้น

2       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้อย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญา  เช่น  ขอยืมรถไปทำงานในกรุงเทพฯ  แต่กลับขัยรถออกไปนอกเส้นทางไปเที่ยวชลบุรี  เป็นต้น

3       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยแล้วเกิดความเสียหาย  เช่น  ขอยืมวัวไปไถนา  2  เดือน  ผู้ยืมใช้สอยเสร็จแล้วภายใน  1  เดือน  แต่ไม่ส่งคืน  กลับเอาไปให้บุคคลใช้สอยจนเกิดความเสียหายขึ้น  เช่นนี้ถือว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมแล้ว

4       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้  กล่าวคือ  เป็นการที่ผู้ยืมส่งคืนทรัพย์ที่ยืมล่าช้า  เช่น  ขอยืมรถมาใช้  3  วัน  เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่เอามาคืน  หรือในกรณีที่สัญญามิได้กำหนดเวลาส่งคืน  แต่ไม่ปรากฏว่ายืมเพื่อการใด  หากผู้ยืมใช้สอยเสร็จแล้ว  หรือเวลาล่วงเลยไปพอแก่การใช้ทรัพย์สินนั้นแล้วก็ยังไม่ส่งคืน  เป็นต้น

ดังนั้น  เมื่อผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผู้ยืมก็ต้องรับความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ  แม้ความเสียหายนั้นจะเกิดเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม

อนึ่งคำว่า  เหตุสุดวิสัย  หมายความว่า  เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี  จะให้ผลพิบัติก็ดี  เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้  แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น  จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร  อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น  เช่น  ฟ้าผ่า  แผ่นดินไหว  น้ำท่วม  ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น  นาย  ก.  ยืมรถยนต์นาย  ข.  ไปท่องเที่ยวพัทยา  แต่นาย  ก.  กลับขับรถไปนครสวรรค์เพื่อไปรับเพื่อนก่อน  ในระหว่างทางนั้นมีพายุฝนตกหนัก  ฟ้าผ่ารถคันที่นาย  ก.  ยืมไปเสียหาย  เช่นนี้  ถือว่านาย  ก.  ประพฤติผิดหน้าที่ผู้ยืม  โดยเอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้ในการอย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญาแล้ว  เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม  นาย  ก.  ก็ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่  นาย  ข.  ผู้ให้ยืมด้วย

สรุป  ผู้ยืมใช้คงรูปมีหน้าที่และความรับผิด  ในกรณีการใช้สอยทรัพย์สิน  ตามมาตรา  643  ดังกล่าวข้างต้น 

 

ข้อ  2  นายเอ็กซ์ยืมเงินนายวายเป็นเงิน  2,000  บาท  โดยทำเป็นหนังสือความว่า  ข้าพเจ้าได้รับเงินยืมมาจากนายวายเป็นเงิน  2,000 บาท  และข้าพเจ้าจะใช้ดอกเบี้ยให้เดือนละ  26  บาท  ลงชื่อ  นาย  EX”  โดยไม่มีผู้ใดรับรองการลงรายมือชื่อ  ดังนี้  นายเอ็กซ์จะต้องรับผิดในการกู้ยืมเงินครั้งนี้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  650  อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น  คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น  เป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม  และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อให้ผู้ยืมมาแสดง  หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

มาตรา  654  ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี  ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น  ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่งตามมาตรา  650  และตามมาตรา  653  ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินไว้ดังนี้

1       ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้  กล่าวคือ  หากเป็นกรณีการกู้ยืมเงิน  2,000  บาทหรือน้อยกว่านั้น  หากไม่มีการทำเป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็สามารถฟ้องร้องคดีกันได้  แต่หากเป็นจำนวนเงินมากกว่า  2,000  บาท  ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้  และ

2       ต้องลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  หากมีการทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ  แต่ไม่มีการลงลายมือชื่อผู้ยืม  จะฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้เลย

จากอุทาหรณ์ดังกล่าว  ผู้กู้และผู้ให้กู้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและผู้ลงลายมือชื่อท้ายสัญญานั้น  ถือว่ามีความชัดเจนว่าเป็นสัญญาเงินกู้แล้ว  ที่จริงแล้วหนังสือดังกล่าวที่ทำขึ้นเป็นการกู้ยืมเงินไม่เกิน  2,000  บาท  จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกฎหมาย  ศาลก็ต้องรับฟ้อง  แต่ดอกเบี้ยตามอุทาหรณ์นั้น  เป็นดอกเบี้ยซึ่งเกินกว่าร้อยละ  15  ต่อปี  จึงไม่สามารถที่จะเรียกร้องได้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยถือเป็นโมฆะทั้งหมด  เพราะนอกจากบทบัญญัติที่บัญญัติเอาไว้ตามาตรา  654  แล้ว  ยังมี  พ.ร.บ.  ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  ซึ่งมีผลให้ผู้เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นอาชญากร  เพราะมีบทบัญญัติโทษจำคุกและปรับไว้มาตรา  654  จึงไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งหมด ดอกเบี้ยที่เกินจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมดจึงต้องคืนแต่เงินต้นจำนวน  2.000  บาทเท่านั้น

สรุป  นายเอ็กซ์จะต้องรับผิดเฉพาะเงินต้นจำนวน  2,000  เท่านั้น

 

ข้อ  3  นายเอกเป็นข้าราชการหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง  ถูกราชการมีคำสั่งให้ไปประจำที่ชายแดนภาคอีสานเกรงว่ารถที่ตนใช้อยู่เป็นประจำจะเสียหายไม่มีคนดูแล  จึงนำไปฝากให้นายโทช่วยดูแล  โดยขอฝากไว้มีกำหนดหกเดือน  แต่เพื่อไม่ให้รถเสียและเพื่อตอบแทนที่นายโทช่วยดูแลรถ  นายเอกจึงอนุญาตให้นายโทยืมรถออกขับขี่ใช้งานได้ตามที่นายโทมีความจำเป็น  ปรากฏว่าผ่านไป  3  เดือน  นายเอกได้รับคำสั่งให้ย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม  จึงมาเรียกรถคืนจากนายโท  ดังนี้  หากนายโทอ้างว่านายเอกตกลงให้ตนยืมใช้เป็นเวลาถึงหกเดือน  และตนก็ยังมีความจำเป็นที่จะใช้รถอยู่จะขอส่งคืนในตอนที่ครบกำหนดหกเดือนตามที่เคยตกลงไว้  ข้อต่อสู้ของนายโทรับฟังได้หรือไม่  เพราะเหตุใด  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

มาตรา  657  อันว่าฝากทรัพย์นั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า  ผู้ฝาก  ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้

มาตรา  660  ถ้าผู้ฝากมิได้อนุญาต  และผู้รับฝากเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นออกมาใช้สอยเองหรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือให้บุคคลภายนอกเก็บรักษาไซร้  ท่านว่าผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหายหรือบุบสลายอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ  ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

มาตรา  663  ถึงแม้ว่าคู่สัญญาจะกำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไรก็ตามถ้าว่าผู้ฝากจะเรียกคืนในเวลาใดๆ  ผู้รับฝากก็ต้องคืนให้

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์  แม้จะมีการอนุญาตให้นายโทใช้รถยนต์ได้ก็ตาม  ก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่านิติสัมพันธ์ที่ทำกันระหว่างนายเอกกับนายโท  เป็นนิติสัมพันธ์กันในสัญญายืม  เพราะตามอุทาหรณ์  เจตนาของคู่สัญญาส่วนใหญ่ต้องการให้ดูแลอารักขาทรัพย์สินยิ่งกว่าที่จะให้ใช้ทรัพย์สิน เนื่องจากนายเอกเจ้าของทรัพย์สินมีความจำเป็นต้องไปประจำการต่างจังหวัดชายแดน  ไม่อาจดูแลรักษาทรัพย์สินของตนได้  การรับทรัพย์สินไว้ดูแลจึงเป็นการทำไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์  จึงเป็นเรื่องของสัญญาฝากทรัพย์  แม้ผู้ฝากจะอนุญาตให้ผู้รับฝากใช้สอยทรัพย์สินนั้นได้  ก็มิได้หมายความว่า  จะทำให้กลายเป็นสัญญายืมไป  แต่ก็ยังคงเป็นสัญญาฝากทรัพย์ได้อยู่  สังเกตได้จากความในมาตรา  660  ก็ยอมให้ผู้ฝากอนุญาตให้ผู้รับฝากใช้สอยทรัพย์สินที่ฝากได้

เมื่อเรื่องนี้เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์  หรือผู้ที่ส่งมอบทรัพย์  และเป็นการมอบหมายให้อารักขาทรัพย์สินกัน  อันนับได้ว่า  เป็นเรื่องของสัญญาฝากทรัพย์ตามมาตรา  657  ไม่ใช่สัญญายืมอันจะถือว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ทรัพย์หรือผู้ยืม  ดังนั้นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้นั้น  จึงเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้สำหรับผู้ฝากทรัพย์  ซึ่งชอบที่จะสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นได้  ทั้งนี้เป็นตามมาตรา  663  ที่กำหนดว่า  ถึงแม้ว่าคู่สัญญาจะได้กำหนดเวลาไว้ว่าพึงจะคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไรก็ตาม  ถ้าว่าผู้ฝากจะเรียกคืนในเวลาใดๆผู้รับฝากก็ต้องคืนให้

เพราะฉะนั้น  ตามอุทาหรณ์  แม้นายเอกจะทำสัญญาฝากรถยนต์ไว้กับนายโท  เป็นเวลา  6  เดือน  โดยนายโทใช้สอยรถยนต์นั้นได้ก็ตาม เมื่อนายเอกมาเรียกคืนก่อนกำหนด  6  เดือน  กล่าวคือ  เรียกคืนเมื่อได้ฝากกันไว้เพียง  3  เดือนเท่านั้น  นายโทผู้รับฝากก็ต้องคืนให้ตามมาตรา  663  จะอ้างว่าขาดประโยชน์ในการที่จะใช้รถนั้นต่อไปอีก  3  เดือนไม่ได้  เพราะนายโทไม่ใช่ผู้ยืม  หากแต่เป็นผู้รับฝากดังกล่าวแล้ว  นายโทจึงไม่อาจอ้างเอาเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้นั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้  ข้อต่อสู้ของนายโทจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป  ข้อต่อสู้ของนายโทรับฟังไม่ขึ้น  เพราะเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์  ผู้ฝากเรียกทรัพย์คืนก่อนกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ 

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม 1/2549

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  สัญญายืมใช้คงรูป  และยืมใช้สิ้นเปลืองนั้นเหมือนกันและต่างกันอย่างไร  อธิบายโดยอ้างอิงหลักกฎหมายประกอบด้วย

ธงคำตอบ

มาตรา  640  อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม  ให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม  ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

มาตรา  641  การให้ยืมใช้คงรูปนั้นท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม

มาตรา  650  อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น  คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น  เป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม  และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่า  สัญญายืมใช้คงรูปกับยืมใช้สิ้นเปลืองมีลักษณะที่เหมือนกันและต่างกันดังนี้

ลักษณะที่เหมือนกัน

1       เป็นสัญญาซึ่งประกอบด้วยคู่กรณี  2  ฝ่าย  ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม  อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม  โดยแต่ละฝ่ายไม่จำเป็นต้องมีฝ่ายละคนเสมอไป  อาจจะมากกว่าหนึ่งคนก็ได้  และจะเป็นบุคคลธรรมดา  หรือนิติบุคคลก็ได้  กฎหมายไม่ได้จำกัดไว้  เพียงแต่ต้องมีคู่กรณี  2  ฝ่ายจึงจะเกิดเป็นสัญญาได้

2       ผู้ให้ยืมจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้ยืมได้ใช้สอย  จึงถือได้ว่า  การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเป็นแบบแห่งความสมบูรณ์ของสัญญายืม  หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม  สัญญายืมจึงไม่สมบูรณ์   ไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด  เช่น  นาย  ก.  ยืมแจกันจาก  นาง  ข.  แต่นาง  ข.  ยังไม่ว่างจึงยังไม่หยิบให้  เช่นนี้ถือว่าสัญญายืมยังไม่สมบูรณ์  เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

3       เมื่อผู้ยืมได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืมเสร็จแล้ว  ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินให้กับผู้ให้ยืม  ซึ่งทำให้สัญญายืมมีลักษณะต่างจากสัญญาประเภทอื่น  เช่น  หากเป็นการให้เอาไปใช้สอยได้เปล่าโยไม่ต้องส่งคืนก็หาเป็นสัญญายืม  แต่อาจเป็นสัญญาให้  หรือหากเป็นการให้ใช้สอยทรัพย์สินโดยเสียค่าตอบแทนและไม่ต้องส่งคืนเช่นนี้  ก็อาจเป็นสัญญาซื้อขายได้

ลักษณะที่ต่างกัน

1       สัญญายืมใช้คงรูปนั้น  เป็นสัญญาที่ผู้ยืมได้ประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว  กล่าวคือ  ได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืมโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน  เมื่อใช้สอยเสร็จแล้วก็ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น  ดังนี้  กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ยืมจึงไม่โอนไปยังผู้ยืม  แต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ยืมโอนไปยังผู้ยืม  ตัวอย่างเช่น  นาย  ก.  ยืมน้ำปลาของนาย  ข.  ไปให้ภรรยาดูราคาข้างขวด  เช่นนี้ถือว่าเป็นสัญญายืมใช้คงรูป  กรรมสิทธิ์ในน้ำปลายังไม่โอนไปยังนาย  ข.  ผู้ยืม  แต่หากนาย  ก.  ยืมน้ำปลา  1  ขวดเพื่อไปใช้ทำอาหาร  เช่นนี้ถือว่า  เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง  กรรมสิทธิ์น้ำปลาขวดที่ยืมจึงโอนไปยังนาย  ข.  ผู้ยืม

2       สัญญายืมใช้คงรูป  ผู้ยืมใช้ทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่า  ไม่เสียค่าตอบแทน  หากเสียค่าตอบแทนก็อาจเป็นสัญญาอื่น  เช่น  สัญญาเช่าทรัพย์ไป  แต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองผู้ยืมอาจได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืมไปโดยเสียค่าตอบแทนด้วยหรือไม่ก็ได้  เช่น  สัญญากู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยและหรือค่าธรรมเนียม

3       สัญญายืมใช้คงรูป  ผู้ยืมต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมมานั้น  จะส่งคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกับทรัพย์สินที่ยืมมานั้นไม่ได้  แต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง  ผู้ยืมไม่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น  แต่ต้องส่งคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกันกับทรัพย์สินที่ยืมมานั้น  เนื่องจากวัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง  เป็นทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปหรือหมดสภาพไปเพราะการใช้  จึงเป็นไปไม่ได้เองที่จะต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้นเหมือนกับสัญญายืมใช้คงรูป

 

ข้อ  2  นางอินศรีแม่เลี้ยงนางเอิบสุรีย์ได้ให้เงินนางเอิบสุรีย์ยืมไปกินเหล้าดับความทุกข์ที่สามีนางเอิบสุรีย์จากไปแต่งงานใหม่กับหญิงอื่น  โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ  1.25  บาทต่อเดือน  และได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือถูกต้องตามกฎหมาย  ต่อมานางเอิบสุรีย์ได้ชำระดอกเบี้ยเป็นเงินสดทุกเดือนเป็นเวลา  1  ปี  และชำระดอกเบี้ยเป็นเช็คเงินสดทุกเดือนอีกในระยะ  1  ปีหลัง  โดยไม่มีหลักฐานการคืนเงินใดๆ  ดังนี้ หากนางอินศรีเจ้าหนี้ต้องการบังคับให้นางเอิบสุรีย์ใช้เงินดอกเบี้ยอีกครั้ง  พร้อมทั้งเงินต้นได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น  ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  ลงลายมือชื่อให้ผู้ยืมมาแสดง  หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

วินิจฉัย

นางอินศรีได้ให้นางเอิบสุรีย์กู้ยืมเงิน  คิดดอกเบี้ยร้อยละ  1.25  บาทต่อเดือน  โยทำหลักฐานเป็นหนังสือถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง  กรณีนี้ไม่ถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆะ  ตามมาตรา  150  เพราะยังไม่ถือว่าการกู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อสุราผิดกฎหมายแต่อย่างใด  จึงถือว่าสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์ตามกฎหมาย  ต่อมานางเอิบสุรีย์ก็ได้ชำระดอกเบี้ยเป็นเงินสด  และเช็คเงินสดในทุกๆเดือน  แต่ไม่ได้มีหลักฐานในการคืนเงินใดๆ  ดังนี้  หากนางอินศรีต้องการให้นางเอิบสุรีย์ใช้เงินดอกเบี้ยอีก  นางเอิบสุรีย์ก็ปฏิเสธไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งได้ เพราะการที่จะมีหลักฐานการคืนเงินที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ตามมาตรา  653  วรรคสอง  นั้น  จะต้องเป็นการคืนเงินต้นเท่านั้น  ไม่มีบทบัญญัติให้การคืนดอกเยต้องมีหลักฐานการคืนเงินเป็นหนังสือแต่อย่างใด  ฉะนั้นจึงสามารถนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้เห็นถึงการคืนเงินดอกเบี้ยได้ ไม่ต้องมีหลักฐานการคืนเงินในกรณีนี้  ส่วนเงินต้นเมื่อนางเอิบสุรีย์ยังมิได้ชำระนางเอิบสุรีย์ก็ต้องชำระแก่นางอินศรีตามกฎหมาย

สรุป  นางเอิบสุรีย์ไม่ต้องใช้เงินดอกเบี้ยแก่นางอินศรีอีกครั้ง  จำต้องชำระแต่เพียงเงินต้นเท่านั้น

 

ข้อ  3  นายกล้ารับราชดารเป็นทหาร  ได้รับคำสั่งให้ไปประจำการที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลา  1  ปี  ตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  2548  เป็นต้นไป  นายกล้าได้จัดการนำรถยนต์ของตนไปฝากจอดไว้ที่บ้านนายเก่งที่อยู่ติดกัน  และให้นายเก่งดูแลรักษาโดยตกลงจะให้ค่าบำเหน็จเดือนละ  500  บาท  ต่อมาเมื่อครบกำหนด  1  ปี  นายกล้ากลับมาประจำการที่กรุงเทพมหานครตามเดิม  จึงมาขอรับรถยนต์คืน  โดยไม่เอ่ยถึงค่าบำเหน็จจำนวน  6,000  บาทเลย  เท่าค่าบำเหน็จที่นายกล้าต้องจ่ายให้นายเก่ง  นอกจากนั้นนายเก่งยังอ้างถึงสิทธิของตนในฐานะที่เป็นผู้รับฝากทรัพย์  ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์ที่ฝากไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินค่าบำเหน็จ  แต่ตนเห็นว่าหากจะยึดรถยนต์ที่ฝากไว้ก็จะมีราคาสูงกว่าค่าบำเหน็จ  จึงได้เพียงแค่ถอดโทรทัศน์ในรถยนต์ออกเก็บไว้  เพราะมีราคาใกล้เคียงกับค่าบำเหน็จที่ค้างชำระ  ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า  นายเก่งมีสิทธิหน่วงทรัพย์ดังกล่าวจนกว่าจะได้รับค่าบำเหน็จหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  670  ผู้รับฝากชอบที่จะยึดหน่วงเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาที่ค้างชำระแก่ตนเกี่ยวด้วยการฝากทรัพย์นั้น

วินิจฉัย 

จากบทบัญญัติดังกล่าว  เป็นการให้สิทธิแก่ผู้รับฝากในการยึดหน่วงทรัพย์สินที่ฝากได้ในกรณีที่ผู้ฝากยังคงเป็นหนี้ผู้รับฝากเกี่ยวด้วยการฝากทรัพย์นั้นอยู่  กล่าวคือ  มีสิทธิยึดหน่วงจนกว่าผู้ฝากจะชำระหนี้  กรณีตามอุทาหรณ์  นายกล้าได้ทำสัญญาฝากรถยนต์ของตนกับนายเก่ง  โดยตกลงให้ค่าบำเหน็จเดือนละ  500  บาท  จนกระทั่งผ่านไป  1  ปี    นายกล้าได้ขอรับรถยนต์คืนแต่มิได้เอ่ยถึงค่าบำเหน็จจำนวน  6,000  บาท  ที่นายกล้าต้องชำระแก่นายเก่ง  นายเก่งจึงคืนรถยนต์ไปแต่ได้ถอดเครื่องรับโทรทัศน์ที่ติดกับรถยนต์ของนายกล้าออกไว้  โดยอ้างว่าโทรทัศน์มีราคา  6,000  บาท  เท่ากับค่าบำเหน็จที่นายกล้าต้องจ่ายให้นายเก่ง  ทั้งยังอ้างสิทธิยึดหน่วงของผู้รับฝากทรัพย์ตามมาตรา  670  อีกด้วย  กรณีเช่นนี้นายเก่งไม่สามารถอ้างได้  เพราะการใช้สิทธิขิงผู้รับฝากเพื่อยึดหน่วงทรัพย์ที่รับฝากจนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระเกี่ยวด้วยการฝากทรัพย์ตามมาตรา  670  นั้น  ต้องเป็นการใช้สิทธิยึดตัวทรัพย์ที่นำมาฝาก  แต่โทรทัศน์ติดรถยนต์ไม่ใช่ตัวทรัพย์ที่รับฝาก  เป็นเพียงสิ่งที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้ที่นั่งในรถยนต์ที่นำมาติดไว้ในรถยนต์  ทั้งยังมิใช่ส่วนควบของรถยนต์อีกด้วย  การใช้สิทธิยึดหน่วงทรัพย์ต่างๆ  ที่ติดมาในรถยนต์  จึงไม่อยู่ในอำนาจของผู้รับฝากทรัพย์ตามมาตรา  670  แต่อย่างใด

สรุป  นายเก่งจึงไม่มีสิทธิยึดโทรทัศน์ที่ติดอยู่ในรถยนต์เพื่อเรียกร้องค่าบำเหน็จด้วยเหตุผลข้างต้น

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม 2/2549

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  สัญญายืมใช้คงรูปนั้น  ผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินที่ยืมเกิดความสูญหายหรือบุบสลายเพราะเหตุสุดวิสัยหรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

มาตรา  643  ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น  ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น  หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี  เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี  เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี  ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหาย  หรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ  ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหาย  หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง  คือ  ผู้ให้ยืม  ให้บุคคลอีกคนหนึ่งคือผู้ยืม  ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า  โยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ  และผู้ยืมก็ตกลงว่าเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว  ก็จะนำทรัพย์สินนั้นมาคืนให้  ดังนี้จะเห็นว่าผู้ยืมเป็นผู้ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว  กล่าวคือ  ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ยืมและยังไม่ต้องเสียค่าตอบแทนอีกด้วย  แต่การใช้ทรัพย์สินที่ยืมผู้อื่นเขามามิได้หมายความว่า  จะใช้เอาประโยชน์ของตนตามอำเภอใจโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้ให้ยืมนั้น

จากบทบัญญัติตามมาตรา  643  ดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูปไว้  4  ประการ  คือ  ใช้ทรัพย์สินที่ยืมตามการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น  ไม่เอาไปใช้นอกจากการอันปรากฏในสัญญา  ไม่เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย  หรือไม่เอาไปไว้นายกว่าที่ควรจะเอาไว้  และยังกำหนดอีกว่า  ผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุที่ทรัพย์สินที่ยืมเกิดความสูญหายหรือบุบสลาย  ถึงแม้จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  ก็ต่อเมื่อปรากฏข้อเท็จว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมแล้ว  หากความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการที่ผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืม  ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด

สำหรับกรณีที่จะถือว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืม  ตามมาตรา  643  มีดังนี้คือ

 1       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้อย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น  เช่น  ขอยืมใบมีดโกนเขามาแทนที่จะโกนหนวดโกนเครา  กลับเอาไปเหลาดินสอหรือหั่นเนื้อหั่นหมู  หรือยืมม้าแทนที่จะเอาไปขี่กลับเอาไปลากรถ  ลากซุง  เป็นต้น

2       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้อย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญา  เช่น  ขอยืมรถไปทำงานในกรุงเทพฯ  แต่กลับขัยรถออกไปนอกเส้นทางไปเที่ยวชลบุรี  เป็นต้น

3       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยแล้วเกิดความเสียหาย  เช่น  ขอยืมวัวไปไถนา  2  เดือน  ผู้ยืมใช้สอยเสร็จแล้วภายใน  1  เดือน  แต่ไม่ส่งคืน  กลับเอาไปให้บุคคลใช้สอยจนเกิดความเสียหายขึ้น  เช่นนี้ถือว่าผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมแล้ว

4       เอาทรัพย์สินที่ยืมไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้  กล่าวคือ  เป็นการที่ผู้ยืมส่งคืนทรัพย์ที่ยืมล่าช้า  เช่น  ขอยืมรถมาใช้  3  วัน  เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่เอามาคืน  หรือในกรณีที่สัญญามิได้กำหนดเวลาส่งคืน  แต่ไม่ปรากฏว่ายืมเพื่อการใด  หากผู้ยืมใช้สอยเสร็จแล้ว  หรือเวลาล่วงเลยไปพอแก่การใช้ทรัพย์สินนั้นแล้วก็ยังไม่ส่งคืน  เป็นต้น

ดังนั้น  เมื่อผู้ยืมประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผู้ยืมก็ต้องรับความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ  แม้ความเสียหายนั้นจะเกิดเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม

อนึ่งคำว่า  เหตุสุดวิสัย  หมายความว่า  เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี  จะให้ผลพิบัติก็ดี  เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้  แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น  จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร  อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น  เช่น  ฟ้าผ่า  แผ่นดินไหว  น้ำท่วม  ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น  นาย  ก.  ยืมรถยนต์นาย  ข.  ไปท่องเที่ยวพัทยา  แต่นาย  ก.  กลับขับรถไปนครสวรรค์เพื่อไปรับเพื่อนก่อน  ในระหว่างทางนั้นมีพายุฝนตกหนัก  ฟ้าผ่ารถคันที่นาย  ก.  ยืมไปเสียหาย  เช่นนี้  ถือว่านาย  ก.  ประพฤติผิดหน้าที่ผู้ยืม  โดยเอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้ในการอย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญาแล้ว  เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม  นาย  ก.  ก็ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่  นาย  ข.  ผู้ให้ยืมด้วย

สรุป  ผู้ยืมใช้คงรูปมีหน้าที่และความรับผิด  ในกรณีการใช้สอยทรัพย์สิน  ตามมาตรา  643  ดังกล่าวข้างต้น 

 

ข้อ  2  นายเจริญให้นายสุขยืมเงินเป็นจำนวน  1,000  บาท  โดยทำเป็นหนังสือ  นายสุขใช้ลายมือของตนเขียนสัญญากู้ความว่า  ข้าพเจ้านายสุขได้รับเงินยืมจากนายเจริญเป็นจำนวนเงิน  2,000  บาท  และจะให้ดอกเบี้ยร้อยละ  1.50  บาทต่อเดือน  กับนายเจริญด้วย  ข้าพเจ้าจะส่งเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยภายในวันที่  1  ธันวาคม  2550”  หนังสือดังกล่าวไม่ได้ลงลายมือชื่อนายสุขในบรรทัดสุดท้ายของสัญญา  ดังนี้ หากนายสุขคืนเงินในวันที่  1  ธันวาคม  2550  นายสุขจะต้องคืนเงินต้นและดอกเบี้ยและจะต้องมีหลักฐานการคืนเงินหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  150  การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย  เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  การนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา  654  ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี  ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น  ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่งตามมาตรา  650  และตามมาตรา  653  ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินไว้ดังนี้

 1       ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะฟ้องร้องคดีกันได้  กล่าวคือ  หากเป็นกรณีการกู้ยืมเงิน  2,000  บาทหรือน้อยกว่านั้นหากไม่มีการทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถฟ้องร้องคดีกันได้  แต่หากเป็นจำนวนเงินมากกว่า  2,000 บาท  ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้  และ

2       ต้องลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  หากมีการทำหลักฐานกู้ยืมเป็นหนังสือ  แต่ไม่มีการลงลายมือชื่อผู้ยืม  จะฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้เลย

จากข้อเท็จจริงตามตัวอย่างข้างต้น  การที่นายสุขทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน  1,000  บาท  จากนายเจริญ  แต่เขียนข้อความในสัญญาด้วยลายมือของตนว่า ได้รับเงินยืมจากนายเจริญเป็นจำนวนเงิน  2,000  บาท  และจะให้ดอกเบี้ยร้อยละ  1.50  บาทต่อเดือน  กับนายเจริญด้วย  ข้าพเจ้าจะส่งเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยภายในวันที่  1  ธันวาคม  2550  จากข้อความดังกล่าวจะเห็นว่า  แม้นายสุขจะทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ  ซึ่งมีความชัดเจนว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริง  อีกทั้งในหนังสือกู้ยืมเงินก็มีชื่อของนายสุขว่าเป็นผู้ยืมด้วย  แต่เมื่อนายสุขไม่มีการลงลายมือชื่อท้ายสัญญา  เช่นนี้ถือว่าไม่มีการลงลายมือชื่อ  สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่สมบูรณ์  ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้  อนึ่งการเขียนสัญญากู้ยืมเงินด้วยลายมือตัวเอง  ก็มิใช่การลงลายมือชื่อตามนัยมาตรา  653  แต่อย่างใด  ซึ่งโดยปกติแล้วเงินต้น  2,000  บาท  แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากเงินที่นายสุขได้รับนั้นเป็นเงินเพียง  1,000  บาท  ซึ่งไม่ตรงกับข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว  สัญญาการกู้ยืมเงินระหว่างนายสุขและนายเจริญจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด  เพราะมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย  อีกทั้งยังเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกด้วย  ถือว่า  เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง  เมื่อสัญญากู้ยืมเงินตกเป็นโมฆะ  ในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป  แม้จะมีการคิดดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ  15  ต่อปี  ตามมาตรา  654  และพ.ร.บ.  ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมายก็ตาม

เมื่อสัญญากู้ยืมเงินตกเป็นโมฆะ  ก็เสมือนว่าไม่มีการกู้ยืมเงินกัน  นายสุขจึงไม่มีหนี้ใดที่จะต้องชำระคืนแก่นายเจริญ  ดังนั้นนายสุขจึงไม่ต้องคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่นายเจริญ  และเมื่อไม่ต้องคืนเงินจึงไม่ต้องมีหลักฐานการคืนเงินแต่อย่างใด

สรุป  นายสุขไม่ต้องคืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่นายเจริญตามสัญญากู้ยืมเงินแต่อย่างใด

 

ข้อ  3  นายอาทิตย์รับฝากรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าสีแดงคันหนึ่งของนายจันทร์ไว้เป็นเวลา  1  เดือน  โดยจะมารับกลับวันที่  17 มีนาคม  2550  ต่อมาวันที่  1  มีนาคม  2550  นายอังคารมาหานายอาทิตย์ที่บ้านและอ้างว่าเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว  พร้อมทั้งได้นำรถกลับไปด้วย  นายอาทิตย์ไม่ได้แจ้งให้นายจันทร์ทราบ  จนกระทั่งวันที่  17  มีนาคม  2550  เมื่อนายจันทร์มารับรถจักรยานยนต์จึงทราบว่ามีผู้มาแอบอ้างว่าเป็นเจ้าของและนำจักรยานยนต์ไปแล้ว  ปรากฏว่ารถคันดังกล่าวถูกส่งไปขายต่อยังชายแดนไทย  พม่า  ไม่สามารถติดตมกลับมาได้  ดังนี้  นายอาทิตย์จะต้องรับผิดต่อนายจันทร์ตามสัญญาฝากทรัพย์อย่างไรหรือไม่  และหากนายจันทร์จะฟ้องนายอาทิตย์จะต้องฟ้องภายในอายุความเท่าใด  จงอธิบาย 

ธงคำตอบ

มาตรา  661  ถ้าบุคคลภายนอกอ้างว่ามีสิทธิเหนือทรัพย์สินซึ่งฝากและยื่นฟ้องผู้รับฝากก็ดี  หรือยึดทรัพย์สินนั้นก็ดี  ผู้รับฝากต้องรีบบอกกล่าวแก่ผู้ฝากโดยพลัน

มาตรา  671  มนข้อความรับผิดเพื่อใช้เงินบำเหน็จค่าฝากทรัพย์ก็ดี  ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายก็ดี  ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ก็ดี  ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา

วินิจฉัย

การที่นายอาทิตย์ละเลยไม่บอกกล่าวโดยพลันต่อนายจันทร์ผู้ฝากว่ามีบุคคลภายนอกมายึดทรัพย์ที่ฝากไป  เป็นการทำผิดหน้าที่ของผู้รับตามมาตรา  661  ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ผู้รับฝากต้องรีบแจ้งให้ผู้ฝากทราบ  เมื่อมีบุคคลภายนอกอ้างว่ามีสิทธิเหนือทรัพย์ซึ่งฝากนั้น  เช่นนี้  ก็เพราะว่าผู้ฝากซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นย่อมจะรู้ถึงความเป็นมาแห่งทรัพย์สินนั้นได้ดีกว่าผู้ฝาก  ซึ่งเขาอาจหาทางต่อสู้กับบุคคลภายนอกดังกล่าวได้ดีกว่าผู้รับฝาก  ดังนั้น  เมื่อปรากฏว่ารถจักรยานยนต์ที่นำมาฝากถูกส่งไปขายต่อชายแดนไม่สามารถติดตามกลับมาได้ นายอาทิตย์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจันทร์  เนื่องจากการที่ตนไม่รีบแจ้งผู้ฝากโดยพลัน  จึงทำให้เหตุการณ์ล่วงเลยไปจนเกิดความเสียหายขึ้น  และหากตนแจ้งต่อนายจันทร์เมื่อมีคนมาแอบอ้างเอาทรัพย์ที่ฝากไป  นายจันทร์อาจรีบติดตามกลับคืนมาได้ไม่ได้รับความเสียหายถึงขั้นนี้  ดังนั้น  อาทิตย์จึงต้องรับผิดต่อนายจันทร์

ส่วนอายุความนั้นยู่ภายใต้บังคับมาตรา  671  คือ  เมื่อกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวด้วยการฝากทรัพย์  จึงต้องฟ้องภายใน  6  เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา  คือฟ้องภายใน  6  เดือน  นับจากวันที่  17  มีนาคม  2550  นั่นเอง

สรุป  นายอาทิตย์ต้องรับผิดต่อนายจันทร์  ตามสัญญาฝากทรัพย์  และต้องฟ้องร้องภายในอายุความ  6  เดือน  นับแต่วันสิ้นสัญญา

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม S/2549

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  นายแดง  อายุ  50  ปี  เกษียณอายุราชการแล้วมีเงินที่เก็บหอมรอมริบไว้เหลืออยู่  500,000  บาท  ต่อมานายหนึ่งหลานชายได้มาขอยืมเงินนายแดงไป  100,000  บาท  เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมร้านอาหารโดยไม่ได้ทำหลักฐานหรือสัญญาใดต่อกันเลย  มีแต่นางสองหลานอีกคนหนึ่งเท่านั้น  ที่อยู่ด้วยในตนส่งมอบเงิน  ต่อมานายแดงและนายหนึ่งทะเลาะเบาะแว้งมีปากเสียงกันอย่างรุนแรงจนถึงขั้นจะลงมือทำร้ายกันเพื่อนบ้านจึงไปแจ้งความ  เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาระงับเหตุการณ์และนำตัวทั้งสองไปสถานีตำรวจ  

หลังจากสอบสวนแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงบันทึกประจำวันว่า  นายแดงได้พูดทวงเงินที่ให้นายหนึ่งยืมไปจำนวน  100,000  บาท  เมื่อวันที่  1  มกราคม  2550  แต่นายหนึ่งพูดท้าทายว่า  อยากได้ก็ให้ไปฟ้องเอา  นายแดงโกรธจึงตั้งท่าจะทำร้ายร่างกายนายหนึ่งแต่ยังไม่ทันลงมือ  หากนายหนึ่งสัญญาว่าจะทยอยใช้หนี้  นายแดงก็จะไม่คิดทำร้ายนายหนึ่งอีก  และให้นายแดงลงชื่อในบันทึกประจำวันนั้น  จากข้อเท็จจริงข้างต้น  หากว่าต่อมานายแดงได้มาปรึกษาทนายความขอให้ฟ้องเรียกเงินกู้  100,000  บาทจากนายหนึ่ง  สมมุติว่านักศึกษาเป็นทนายความจงให้คำปรึกษาแก่นายแดง

ธงคำตอบ

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

การที่นายแดงให้นายหนึ่งกู้ยืมเงินโดยมิได้มีหลักฐานใดๆ  แม้จะมีคนรู้เห็นขณะให้กู้ยืม (นางสอง)  แต่เรื่องการกู้ยืมเงินเกินกว่า  2,000 บาทนั้น  มาตรา  653  มีหลักกฎหมายว่าต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้  ทำให้นายแดงไม่สามารถนำนางสองซึ่งเป็นพยานบุคคลเข้านำสืบแทนหลักฐานการกู้ยืมที่ทำเป็นหนังสือได้

การที่ข้อเท็จจริงได้มีการลงบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนมีใจความว่า  นายหนึ่งกู้เงินนายแดงจำนวน  100,000  บาท  และนายหนึ่งไม่ได้ปฏิเสธกลับท้าทายให้นายแดงไปฟ้องหากอยากได้คืน  ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นหนี้จากการกู้ยืมจำนวน  100,000  บาทจริง  แต่เฉพาะนายแดงผู้ให้กู้คนเดียวที่ลงลายมือชื่อในบันทึกประจำวัน  จึงไม่เป็นไปตามที่มาตรา  653  บัญญัติไว้  กล่าวคือ  ขาดการลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมนั่นเอง

ถ้านักศึกษาเป็นทนายความต้องให้คำปรึกษานายแดงว่า  ไม่สามารถฟ้องคดีเรียกเงินกู้รายนี้ได้  เพราะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม

สรุป  นายแดงไม่สามารถฟ้องเรียกเงินกู้จากนายหนึ่งได้

 

ข้อ  2  นายเด่นกู้เงินนายดอกรัก  500,000  บาท  โดยทำสัญญากู้ยืมเงินลงลายมือชื่อของผู้กู้และผู้ให้กู้และต่างเก็บสัญญาไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ  โดยในสัญญาระบุว่าถ้านายเด่นไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา  นายเด่นจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งให้นายดอกรักแทน  เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้  นายเด่นไม่มีเงินมาชำระ  นายดอกรักจึงทวงสัญญาที่นายเด่นจะโอนที่ดินแก่ตน  แต่เนื่องจากในวันชำระหนี้ที่ดินแปลงที่ตกลงกันมีราคาสูงถึง  1,000,000  บาท  นายดอกรักไม่สนใจราคาที่ดินว่าจะขึ้นไปเป็นราคาเท่าใด  เร่งบอกให้นายเด่นโอนที่ดินเป็นการชำระหนี้โดยอ้างว่าเป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้  ตั้งแต่วันทำสัญญากู้แล้วต้องปฏิบัติตาม  ดังนี้  นายเด่นจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  656  ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน  และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้  ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ  ณ  สถานที่ส่งมอบ

ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้  หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น  ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ  สถานที่ส่งมอบ

ความตกลงกันอย่างใดๆ  ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้  ท่านว่าเป็นโมฆะ

วินิจฉัย

การที่นายเด่นกู้ยืมเงิน  500,000  บาท  จากนายดอกรัก  โดยทำสัญญากู้ยืมเงินและลงลายมือชื่อผู้กู้และผู้ให้กู้ด้วย  จึงถือได้ว่าเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินที่สมบูรณ์ตามมาตรา  653  วรรคแรกแล้ว  แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้มีการทำข้อตกลงล่วงหน้าว่า  ถ้านายเด่นไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา  จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งให้นายดอกรักแทนหนี้เงินกู้  500,000  บาท  กรณีจึงเป็นไปตามมาตรา  656  วรรคสอง  กล่าวคือ  ถ้าผู้ให้ยืมยอมตกลงรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ยืม  กฎหมายให้ถือว่า  การชำระหนี้เป็นจำนวนเท่าราคาสิ่งของหรือทรัพย์สินอื่นนั้น  โดยคิดราคาตามราคาท้องตลาดในวันเวลาและสถานที่ที่ชำระหนี้เป็นเกณฑ์  ซึ่งหากมีการตกลงกันผิดจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว  ข้อตกลงนั้นให้ตกเป็นโมฆะ  ตามมาตรา  656  วรรคท้าย

ดังนั้นจากข้อเท็จจริงข้างต้น  ที่ดินแปลงที่ตกลงกันในวันชำระหนี้มีราคาสูงถึง  1,000,000  บาท  หากจะบังคับให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้ก็ต้องถือตามราคาตลาด  คือ  1,000,000  บาท  ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าเงินกู้มาก  ข้อตกลงระหว่างนายเด่นและนายดอกรักที่ให้ถือว่าที่ดินแปลงนี้เท่ากับเงินกู้  500,000  บาท  โดยมิได้คำนึงถึงราคาตามท้องตลาดในเวลาชำระหนี้  จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา  656  วรรคสอง และตกเป็นโมฆะตามมาตรา  656  วรรคท้าย  นายดอกรักผู้ให้กู้จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้บังคับนายเด่นผู้กู้โอนที่ดินให้แก่ตนตามข้อตกลงได้  เพราะหากมีการนำที่ดินแปลดังกล่าวชำระหนี้แทนแล้ว  ก็นับว่านายดอกรักได้รับประโยชน์จากที่ดินส่วนที่เกินไปจากจำนวนที่กู้ยืมเงินกันจริงถึง  500,000  บาท  นายเด่นจึงเป็นผู้เสียประโยชน์ต้องชำระหนี้มากกว่าที่เป็นหนี้ตามสัญญา  กฎหมายจึงให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นโมฆะ  นายเด่นไม่ต้องโอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แต่ยังถือว่าสัญญากู้ยืมเงินยังคงสมบูรณ์มีผลบังคับใช้อยู่เพราะยังไม่มีการชำระหนี้  หนี้ยังไม่ระงับ  นายเด่นจึงต้องผูกพันตามสัญญากู้ยืมเงินต่อไปจนกว่าจะชำระหนี้  (เทียบฎีกา 1683/2493)

สรุป  นายเด่นไม่ต้องโอนที่ดินเป็นการชำระหนี้  แต่ต้องชำระหนี้เงินกู้  500,000  บาท

 

ข้อ  3  เอกได้ฝากทองรูปพรรณหนัก  10  บาท  ไว้กับโท  โดยให้โทมอบทองคำนี้แก่บุตรของเอกเมื่อเอกตายและขอให้โทอุปการะบุตรของเอก  ดูแลอบรมสั่งสอนให้การศึกษาโดยฝากให้อาศัยอยู่กับโทที่บ้านของโท  โทรับฝากทองรูปพรรณของเอกไว้และอุปการะบุตรของเอกมารวม  4  ปี  จึงเรียนจบการศึกษาและขออนุญาตแต่งงานมีเหย้ามีเรือน  ในวันแต่งงานโทบอกเอกว่าตนจะมอบทองรูปพรรณหนัก  10 บาท  ให้บุตรของเอกไปและเอกก็มิได้คัดค้าน  ต่อมาบุตรของเอกแต่งงานไปแล้วไม่เคยกลับมาเยี่ยมเอกและโทอีกเลย  เอกจึงโทษว่าเป็นเพราะโทมอบทองคำที่ตนฝากไว้ไปก่อนเวลาอันสมควรไม่ปฏิบัติตามที่สั่งไว้คือให้มอบแก่บุตรเมื่อตนถึงแก่ความตาย  ขอให้โทนำทองคำมาคืนแก่เอก  ดังนี้  ถ้าท่านเป็นโทท่านจะมีข้อต่อสู้ทางกฎหมายย่างไร  เพื่อไม่ต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา  ขอให้ท่านอธิบาย

ธงคำตอบ

มาตรา  660  ถ้าผู้ฝากมิได้อนุญาต  และผู้รับฝากเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นออกมาใช้สอยเองหรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือให้บุคคลภายนอกเก็บรักษาไซร้  ท่านว่าผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหายหรือบุบสลายอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ  ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นมีปัญหาว่า  นายเอกผู้ฝากอนุญาตให้นายโทผู้รับฝากเอาทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นให้บุตรของนายเอกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเก็บรักษาไว้หรือไม่  ถ้าอนุญาตแล้วโดยผลแห่งบทบัญญัติดังกล่าว  นายโทหาต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายแห่งทรัพย์สินซึ่งฝากไว้อย่างใดไม่

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า  เมื่อบุตรของนายเอกเรียนจบการศึกษาและแต่งงานมีเหย้ามีเรือน  ในวันแต่งงานโทได้มอบทองรูปพรรณแก้บุตรของเอก  นายเอกรู้เห็นดีมิได้คัดค้านประการใด  แสดงว่านายเอกอนุญาตโดยปริยายให้นายโทเอาทองรูปพรรณหนัก  10  บาท  ซึ่งฝากนั้นให้บุตรของนายเอกเก็บรักษาไว้  ซึ่งตามมาตรา  660  นี้  ก็มิได้ระบุว่าการอนุญาตนั้นจะต้องอนุญาตโดยชัดแจ้งอย่างใด  ย่อมหมายความว่าอนุญาตกันโดยปริยายก็ได้  และเมื่อผู้ฝากอนุญาตแล้ว  นายโทผู้รับฝากจึงไม่ต้องรับผิดนำทรัพย์มาคืนนายเอก  นายโทสามารถยกเป็นข้อต่อสู้นายเอกได้

สรุป  นายโทไม่ต้องรับผิดนำทรัพย์มาคืนนายเอก  เพราะถือว่านายเอกอนุญาตแล้ว

LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม 2/2550

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2009 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความการพนันขันต่อ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ  1  นายดำให้นายแดงยืมรถยนต์ทีกำหนดหนึ่งปี  เมื่อนายแดงใช้รถยนต์ไปได้สามเดือน  นายดำพบว่านายแดงไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์เช่นคนโดยทั่วไป  ปล่อยให้รถยนต์ชำรุดทรุดโทรม  นายดำเห็นว่าถ้าให้นายแดงใช้รถยนต์ต่อไปคงจะเกิดความเสียหายมากขึ้น  ถ้านายดำต้องการบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเอาค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นจะทำได้หรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

มาตรา  640  อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม  ให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม  ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

มาตรา  644  ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

มาตรา  645  ในกรณีทั้งหลายดังกล่าวไว้ในมาตรา  643  นั้นก็ดี  หรือถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความในมาตรา  644  ก็ดี  ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้

มาตรา  213  วรรคท้าย  อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้  หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่

วินิจฉัย

นายดำให้นายแดงยืมรถยนต์มีกำหนดหนึ่งปี  เป็นการที่ผู้ให้ยืมใช้สอยรถยนต์ได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนรถยนต์เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว  จึงเป็นสัญญายืมใช้คงรูป  ตามมาตรา  640

กรณีสัญญายืมใช้คงรูปที่ปรากฏว่าผู้ยืมไม่สงวนทรัพย์ที่ยืมอย่างเช่นวิญญูชน  กล่าวคือ  ไม่ดูแลรักษาทรัพย์สินที่ยืมไปอย่างเช่นบุคคลธรรมดาสามัญทั่วๆไป  ทำให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมสภาพหรือเสียหายไปอย่างใดอย่างหนึ่งเร็วเกินไป  ตามมาตรา  644  ซึ่งผลทางกฎหมายตามมาตรา  645  ให้ผู้ให้ยืมมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

1       บอกเลิกสัญญา  และเรียกคืนทรัพย์สินที่ยืมได้ทันที  โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาในสัญญา  หรือ

2       เรียกให้ผู้ยืมดูแลรักษาทรัพย์สินตามหน้าที่ที่บัญญัติในมาตรา  644

อย่างไรก็ดีแม้ผู้ให้ยืมจะใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวแล้ว  หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะการไม่สงวนทรัพย์สินของผู้ยืมนั้น  ผู้ให้ยืมมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน  ตามมาตรา  213  วรรคท้าย  แม้ว่ามาตรา  644  จะมิได้กำหนดความรับผิดไว้ก็ตาม

กรณีตามอุทาหรณ์  เป็นกรณีที่นายแดงไม่สงวนรถยนต์ที่ยืมอย่างเช่นวิญญูชนตามมาตรา  644  เป็นผลให้รถยนต์ชำรุดทรุดโทรม  ย่อมทำให้นายดำผู้ให้ยืมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้  ตามมาตรา  645  และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนความเสียหายได้ตามมาตรา  213  วรรคท้าย

สรุป  นายดำมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้อกเอาค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

ข้อ  2  นาย  ก.  ยืมเงินนาย  ข.  2,000  บาท  โดยมีข้อตกลงว่าถ้าหากนาย  ก.  คืนเงินไม่ได้ภายใน  10  วัน  นาย  ข.  จะยึดเอาสายสร้อยคอทองคำของนาย  ก.  มาชำระหนี้

ดังนี้เมื่อพ้น  10  วันแล้ว  นาย  ข.  เจ้าหนี้จะยึดเอาสร้อยคอทองคำดังกล่าว  เพื่อการชำระหนี้ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  650  อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น  คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น  เป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม  และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท  ชนิด  และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

มาตรา  653  วรรคแรก  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา  656  ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน  และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้  ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ  ณ  สถานที่ส่งมอบ

ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้  หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น  ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ  สถานที่ส่งมอบ

ความตกลงกันอย่างใดๆ  ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้  ท่านว่าเป็นโมฆะ

วินิจฉัย

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่งตามมาตรา  650  และตามมาตรา  653  ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินไว้ดังนี้

1       ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะฟ้องร้องคดีกันได้  กล่าวคือ  หากเป็นกรณีการกู้ยืมเงิน  2,000  บาทหรือน้อยกว่านั้นหากไม่มีการทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถฟ้องร้องคดีกันได้  แต่หากเป็นจำนวนเงินมากกว่า  2,000 บาท  ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง  จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้  และ

2       ต้องลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ  หากมีการทำหลักฐานกู้ยืมเป็นหนังสือ  แต่ไม่มีการลงลายมือชื่อผู้ยืม  จะฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้เลย

กรณีตามอุทาหรณ์  นาย  ก.  กู้ยืมเงินนาย  ข.  2,000  บาท  ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่เกิน  2,000  บาท  จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม  ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้  ตามมาตรา  653  วรรคแรก

สำหรับการชำระหนี้เงินกู้นั้น  โดยหลักแล้วเมื่อกู้ยืมเงิน  การชำระหนี้ก็ต้องชำระด้วยเงินเท่านั้น  จะชำระหนี้เป็นอย่างอื่นไม่ได้  เว้นแต่จะมีข้อตกลงให้ชำระหนี้เป็นอย่างอื่นได้  ซึ่งตามมาตรา  656  วรรคสองได้วางหลักในเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า  ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้  คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดของทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบ  หนี้ก็เป็นอันระงับไป  และหากมีข้อตกลงที่แตกต่างไปจากนี้  ข้อตกลงนั้นก็จะตกเป็นโมฆะตามมาตรา  656  วรรคสาม

ข้อตกลงที่ว่าถ้าหากนาย  ก.  คืนเงินไม่ได้ภายใน  10  วัน  นาย  ข.  จะยึดเอาสร้อยคอทองคำมาใช้หนี้นั้น  ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้เป็นอย่างอื่นแทนเงินได้  ตามมาตรา  656  วรรคสอง  แต่นาย  ข.  จะยึดเอาสร้อยคอทองคำทันทีไม่ได้  เพราะตามหลักกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ตีราคาสร้อยคอทองคำตามราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบก่อน  ดังนั้นเมื่อไม่มีการตีราคาทรัพย์สินก่อนชำระหนี้  ผู้ให้กู้ยืมจะยึดทรัพย์สินตามที่ตกลงกันทันที่ไม่ได้

สรุป  นาย  ข.  จะยึดสร้อยคอทองคำเพื่อชำระหนี้เงินกูทันทีไม่ได้

 

ข้อ  3  นางสมศรีเป็นเจ้าสำนักโรงแรมแห่งหนึ่งได้ต้อนรับนายเข้มเข้าพักในโรงแรมของตน  ในระหว่างพักอยู่ในโรงแรมของนางสมศรี นายเข้มได้ชวนนางสุดสวยมานอนเป็นเพื่อนเพื่อคลายความเหงา  เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้านางสุดสวยกลับออกไปโดยขโมยเงินสดไปด้วยห้าพันบาท  นายเข้มจึงรีบลงไปแจ้งให้นางสมศรีทราบ  แต่ระหว่างลงไปได้แวะเข้าห้องน้ำชั้นล่างในโรงแรมและถอดนาฬิกาข้อมือราคา  2,500  บาท  ลืมทิ้งไว้ที่อ่างล้างหน้า  ปรากฏว่านาฬิกาหายไป

ดังนี้  นางสมศรีจะต้องรับผิดต่อทรัพย์สินของนายเข้มอย่างไรบ้าง  หรือไม่  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

มาตรา  675  วรรคสาม  แต่เจ้าสำนักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย  หรือแต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง  หรือบริวารของเขา  หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ

วินิจฉัย

นางสมศรีไม่ต้องรับผิดชอบเงิน  5,000  บาท  ของนายเข้มเพราะความเสียหายเกิดจากคนที่แขกต้อนรับเข้ามาในห้องพักเอง  ซึ่งเป็นข้อยกเว้นในความผิดของโรงแรม  ตามมาตรา  675  วรรคสาม

ส่วนนาฬิกาข้อมือราคา  2,500  บาท  หายไปขณะเข้าห้องน้ำชั้นล่างของโรงแรม  ก็เกิดจากความผิดของนายเข้มเองที่ประมาทเลินเล่อลืมทิ้งไว้  จึงเป็นข้อยกเว้นที่โรงแรมไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

สรุป  นางสมศรีไม่ต้องรับผิดต่อทรัพย์สินของนายเข้มทั้งสองกรณี

WordPress Ads
error: Content is protected !!