การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3106 (LAW 3006) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคําสั่งศาล โดยเป็น ผู้พิทักษ์ของนางแฉล้มศรีคนเสมือนไร้ความสามารถและได้รับอนุญาตจากศาลให้ทํานิติกรรมของนางแฉล้มศรีแทนนางแฉล้มศรีให้แก่ผู้มีชื่อตามเอกสาร จําเลยครอบครองเงินสดของนางแฉล้มศรีซึ่งได้มาจากการขายที่ดินแล้วเบียดบังยักยอกเอาเงินขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นของจําเลย ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 และให้จําเลยคืนเงินแก่กองมรดกของนางแฉล้มศรี จําเลยให้การปฏิเสธ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าขณะที่จําเลยขายที่ดินของนางแฉล้มศรี ที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และได้ยักยอกเงินไปนั้น นางแฉล้มศรียังมีชีวิตอยู่ แต่เป็นอัมพาตเดินไม่ได้และยังไม่ได้ดําเนินคดีแก่จําเลย ต่อมานางแฉล้มศรีถึงแก่ความตาย ศาลมี คําสั่งตั้งนายพิษณุโลกบุตรของนางแฉล้มศรีเป็นผู้จัดการมรดก นายพิษณุโลกตรวจสอบทรัพย์สินของนางแฉล้มศรีทราบว่าจําเลยเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินของนางแฉล้มศรีไปเป็นประโยชน์ ส่วนตัว จึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่จําเลย พนักงานสอบสวนได้ ทําการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้

Advertisement

จงวินิจฉัยว่า นายพิษณุโลกมีอํานาจร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวน และพนักงาน อัยการมีอํานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงยกหลักกฎหมายประกอบมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(1) ร้องทุกข์”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

โดยหลักการแล้วพนักงานอัยการเป็นบุคคลผู้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อาญามาตรา 28 (1) แต่ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน (ป.วิ.อาญา มาตรา 120) และถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะได้มีคําร้องทุกข์ ตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ตามคําสั่งศาล โดยเป็นผู้พิทักษ์ของนางแฉล้มศรีคนเสมือนไร้ความสามารถและได้รับอนุญาตจากศาลให้ทํานิติกรรม
ของนางแฉล้มศรีแทนนางแฉล้มศรีให้แก่ผู้มีชื่อตามเอกสาร จําเลยครอบครองเงินสดของนางแฉล้มศรีซึ่งได้มา จากการขายที่ดินแล้วเบียดบังยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของจําเลย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 และให้จําเลยคืนเงินแก่กองมรดกของนางแฉล้มศรีนั้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยคือพนักงานอัยการ มีอํานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่

คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า ขณะที่จําเลยขายที่ดินของนางแฉล้มศรีตามที่ ได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลางแล้วยักยอกเงินไปนั้น นางแฉล้มศรียังมีชีวิตอยู่เพียงแต่เป็น อัมพาตเดินไม่ได้และยังไม่ได้ดําเนินคดีแก่จําเลย ต่อมานางแฉล้มศรีถึงแก่ความตาย ศาลมีคําสั่งตั้งนายพิษณุโลก บุตรของนางแฉล้มศรีเป็นผู้จัดการมรดก และเมื่อนายพิษณุโลกตรวจสอบทรัพย์สินของนางแฉล้มศรีจึงทราบว่าจําเลยเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินของนางแฉล้มศรีไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่จําเลย เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนแล้วพนักงานอัยการจึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้นั้น เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า การที่จําเลยได้ทําการเบียดบังยักยอกเอาเงินจากการขายที่ดินของนางแฉล้มศรีไปนั้น ผู้เสียหายซึ่งมีอํานาจร้องทุกข์ในคดีนี้คือนางแฉล้มศรีมิใช่นายพิษณุโลก เพราะความผิดเกิดขึ้นในขณะที่นางแฉล้มศรียังมีชีวิตอยู่ และแม้ว่านางแฉล้มศรีจะเป็นอัมพาตแต่ก็มิใช่กรณีที่นางแฉล้มศรีซึ่งเป็นผู้เสียหายถูกทําร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) อันจะทําให้นายพิษณุโลกสามารถจัดการแทนผู้เสียหายได้ ดังนั้น นายพิษณุโลกจึงไม่มีอํานาจ ร้องทุกข์แทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) และ (7) ประกอบมาตรา 5 (2)

เมื่อข้อเท็จจริงของคดีนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัว และผู้เสียหายคือนางแฉล้มศรีมิได้ร้องทุกข์ไว้ ย่อมมีผลทําให้พนักงานสอบสวนไม่มีอํานาจสอบสวน และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอํานาจฟ้องคดีนี้เช่นเดียวกัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ประกอบมาตรา 120

สรุป นายพิษณุโลกไม่มีอํานาจร้องทุกข์ พนักสอบสวนไม่มีอํานาจสอบสวน และพนักงานอัยการ ไม่มีอํานาจจะฟ้องคดีนี้

 

ข้อ 2. นายขาฉ้อโกงเงินจากนางซึ่งเป็นจํานวนห้าแสนบาท นางขิงจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
ให้ดําเนินคดีกับนายว่า หลังจากพนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนเสร็จจึงสรุปสํานวนพร้อม ความเห็นส่งให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายว่าเป็นจําเลยในข้อหาฉ้อโกง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกสองปี จําเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ นางจึงยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์

ให้วินิจฉัยว่า นางยิ่งมีสิทธิยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์หรือไม่ เพราะเหตุใด และศาลอุทธรณ์
ต้องดําเนินการอย่างไรต่อไป

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย”

มาตรา 126 วรรคหนึ่ง “ผู้ร้องทุกข์จะแก้คําร้องทุกข์ระยะใดหรือจะถอนคําร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้”

วินิจฉัย

ในคดีอาญานั้น เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว ผู้เสียหายจะถอนคําร้องทุกข์นั้นเสียเมื่อใดก็ได้ ก่อนคดีถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้มีการ ถอนคําร้องทุกข์แล้ว สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางจึงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับนายข่าในความผิด ฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว หลังจากพนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนเสร็จจึงสรุปสํานวนพร้อม ความเห็นส่งให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายว่าเป็นจําเลยในข้อหาฉ้อโกงนั้น ถือเป็นอํานาจฟ้องของพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (2) มาตรา 120 และมาตรา 121

ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 2 ปี จําเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง และในระหว่างพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ นางจึงได้ยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์นั้น ถือเป็น กรณีที่ผู้เสียหายได้ขอถอนคําร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นางขิงจึงมีสิทธิยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์ได้ และเมื่อได้มีการถอนคําร้องทุกข์แล้วย่อมมีผล ทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) และมีผลทําให้คําพิพากษาของศาลชั้นต้น ระงับไปด้วยในตัว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดีโดยไม่ต้องมีคําสั่งยกคําพิพากษาของศาลชั้นต้นอีก

สรุป นางจึงมีสิทธิยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์ได้ และศาลอุทธรณ์ต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดี โดยไม่ต้องมีคําสั่งยกคําพิพากษาของศาลชั้นต้นอีก

 

ข้อ 3. หลังจากที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม นําหมายจับของศาลอาญาไปจับนายตะขบที่ถนนสาธารณะ ระหว่างที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม นํานายตะขบไปที่ทําการของพนักงานสอบสวนเพื่อส่งมอบตัวนายตะขบให้ พนักงานสอบสวน นายตะขบได้หลบหนีไปจากรถยนต์ที่ใช้ในการควบคุมตัว หลังจากนายตะขบ ได้หลบหนีการควบคุมไปสองวัน ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ซึ่งกําลังติดตามจับกุม ได้พบนายตะขบกําลังรอ ขึ้นเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม จึงเดินเข้าไปหานายตะขบและแจ้งว่าต้องถูกจับ ทั้งแจ้งข้อหากับแจ้งสิทธิตามกฎหมาย จากนั้นได้จับนายตะขบนําส่งพนักงานสอบสวน ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงค้าตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 65 “ถ้าบุคคลที่ถูกจับตามหมายหลบหนีหรือมีผู้ช่วยให้หลบหนีไปได้ เจ้าพนักงานผู้จับ มีอํานาจติดตามจับกุมผู้นั้นโดยไม่ต้องมีหมายอีก”

มาตรา 68 “หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือศาลที่ออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าหมายจับที่ศาลออกเพื่อให้จับนายตะขบนั้นจะใช้ไม่ได้แล้วเนื่องจาก ได้มีการจับนายตะขบตามหมายจับได้แล้ว ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า “หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่า จะจับได้….” แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม เป็นเจ้าพนักงานผู้จับ เนื่องจากเป็นผู้นําหมายจับไปจับนายตะขบ และเมื่อนายตะขบซึ่งถูกจับตามหมายจับได้หลบหนีไป ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจในการติดตามจับกุมนายตะขบ ได้โดยไม่ต้องมีหมายอีก ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 65 ดังนั้น การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ซึ่งกําลังติดตามจับกุม ได้พบ นายตะขบและได้จับนายตะขบในขณะกําลังรอขึ้นเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ การจับของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม จึงชอบด้วยกฎหมาย ตามป.วิ.อาญา มาตรา 65 และมาตรา 68

สรุป การจับของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายเทากับพวกมีเรื่องวิวาทที่แทงทําร้ายนายหน่อไม้กับพวกในร้านอาหาร นายหน่อไม้ถูกแทง ด้วยมีดปลายแหลมได้รับอันตรายสาหัส ต่อมานายเทาถูกจับตามหมายจับ พนักงานสอบสวน ได้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่กล่าวหาว่านายเทากระทําผิด หลังจากนั้นจึงแจ้งข้อหาแก่นายเทา ว่าทําร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส และถามคําให้การนายเทาแล้วได้ทําการสอบสวน (โดยก่อนเริ่มถามคําให้การพนักงานสอบสวนได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 – 134/4 ครบถ้วนทุกประการ) ครั้นพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนแล้ว ทางสอบสวนได้ความว่า นายเทาเป็นคนใช้มีดปลายแหลมแทง นายหน่อไม้โดยมีเจตนาฆ่า จึงสรุปสํานวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นและพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น

ดังนี้ พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั่นก่อน”

มาตรา 134 “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียกหรือส่งตัวมาหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่า ผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทําผิด แล้วจึง
แจ้งข้อหาให้ทราบ…”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นการสอบสวนถือเป็นเพียงการรวบรวมหลักฐานและ ดําเนินการทั้งหลายตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะ ราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อเอาตัวผู้กระทําผิดมาฟ้องลงโทษ และการแจ้งข้อกล่าวหาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134 ก็ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าจะถูกสอบสวน ในคดีอาญาเรื่องใด แม้เดิมเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อการสอบสวน ปรากฏว่าการกระทําของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นมาแล้วแต่แรก

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ แม้ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาแก่นายเทาว่า ทําร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น แต่เมื่อพนักสอบสวน ได้ทําการสอบสวนแล้วได้ความว่า การกระทําของนายเทาเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ก็เรียกได้ว่า มีการสอบสวนในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว ดังนั้น พนักงานอัยการจึงมีอํานาจฟ้องนายเทาในความผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่นได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2548)

สรุป พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น

Advertisement