การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. (ก) นายแดงรับราชการในหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ไม่ได้มาทํางานตามปกติเนื่องจากเดินทางไปร่วมงานอุปสมบทของน้องชายยังต่างจังหวัด 5 วัน ต่อมานายแดงจึงได้ทําการลาเนื่องจาก ติดภารกิจย้อนหลังซึ่งนายดําผู้บังคับบัญชามีคําสั่งไม่อนุญาตให้นายแดงทําการลาย้อนหลัง ดังกล่าว และเป็นเหตุให้นายแดงถูกตั้งกรรมการสอบสวนและถูกปลดออกจากราชการ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่าการไม่อนุญาตดังกล่าวของนายดําเป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ
(ข) นายขาวเป็นสมาชิกสภาเทศบาลแห่งหนึ่ง ต่อมากระทรวงมหาดไทยต้องการรับบุคคลเข้ารับราชการตําแหน่งปลัดอําเภอ นายขาวจึงมายื่นใบสมัครเข้าสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการ ดังกล่าว ขอให้ท่านวินิจฉัยว่านายขาวจะมีสิทธิสมัครสอบแข่งขันดังกล่าวได้หรือไม่ และถ้า นายขาวสอบแข่งขันได้ กระทรวงมหาดไทยจะบรรจุนายขาวให้ดํารงตําแหน่งปลัดอําเภอได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ
ธงคําตอบ
(ก) หลักกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”
วินิจฉัย
กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ
1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่
2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย
3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงซึ่งรับราชการในหน่วยงานของรัฐ ไม่ได้มาทํางานตามปกติ เนื่องจากเดินทางไปร่วมงานอุปสมบทของน้องชายยังต่างจังหวัด 5 วัน และต่อมานายแดงได้ทําการลาเนื่องจาก ติดภารกิจย้อนหลัง แต่นายดําผู้บังคับบัญชามีคําสั่งไม่อนุญาตให้นายแดงทําการลาย้อนหลังและเป็นเหตุให้นายแดง ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและถูกปลดออกจากราชการนั้น คําสั่งของนายดําที่ไม่อนุญาตให้นายแดงทําการลากิจ ย้อนหลังดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง เนื่องจากการไม่อนุญาตดังกล่าวเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย ของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ ของบุคคล ตามนัยของคําว่าคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รายงานสรุป การไม่อนุญาตดังกล่าวของนายดําเป็นคําสั่งทางปกครอง
(ข) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
มาตรา 36 ข. (1) “ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และ ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ข. ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง”
มาตรา 54 “ผู้สมัครสอบแข่งขันในตําแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 36 และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตําแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62
สําหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิ ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองแล้ว”
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวเป็นสมาชิกสภาเทศบาลแห่งหนึ่งนั้น ถือว่านายขาวเป็น ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ซึ่งเข้าลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 36 ข. (1) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อกระทรวงมหาดไทยต้องการรับบุคคลเข้ารับราชการตําแหน่งปลัดอําเภอ นายขาว มีสิทธิที่จะสมัครสอบแข่งขันเป็นปลัดอําเภอได้ แต่ถ้านายขาวสอบแข่งขันได้ กระทรวงมหาดไทยจะบรรจุนายขาว ให้ดํารงตําแหน่งปลัดอําเภอได้ก็ต่อเมื่อนายขาวต้องพ้นจากการเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง คือ ต้องลาออก จากตําแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลแล้ว (ตามมาตรา 54 วรรคสอง)
สรุป นายขาวมีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเป็นปลัดอําเภอได้ และถ้านายขาวสอบแข่งขันได้ กระทรวงมหาดไทยจะบรรจุนายขาวให้ดํารงตําแหน่งปลัดอําเภอได้ก็ต่อเมื่อนายขาวได้ลาออกจากตําแหน่ง สมาชิกสภาเทศบาลแล้ว