การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 (ก) การโอนตั๋วแลกเงินต้องทําอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมาย

(ข) จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้บุญมีจ่ายเงินจํานวน 500,000 บาท ระบุชื่อทองไทยเป็นผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคําว่า “ หรือผู้ถือ” ออก เพื่อเป็นการมัดจําในการสั่งซื้อสินค้า ทองไทย สลักหลังขายลดตัวแลกเงินโดยระบุชื่อพุธเป็นผู้รับโอนและซื้อลดตัวแลกเงินนั้น ต่อมาพุธได้ ส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นชําระหนี้เงินกู้ให้แก่พฤหัส ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้น ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

(ก) ในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น การโอนจะชอบด้วยกฎหมายตั๋วเงิน ผู้โอนจะต้องทําให้ถูกต้องตาม วิธีการที่กฎหมายลักษณะตั๋วเงินได้กําหนดไว้ ดังนี้คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ การโอนสามารถกระทําได้โดยการสลักหลังและส่งมอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อ เขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”

หมายความว่าตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะมีการโอนต่อไปให้แก่ บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและส่งมอบตัวแลกเงินนั้น ให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย” ก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 919)

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตัวก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตัวเงินเท่านั้น (ป.พ.พ. มาตรา 919 วรรคสอง)

อนึ่ง ในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีที่เป็นการสลักหลังเฉพาะ (สลักหลังระบุชื่อ) ถ้าผู้ทรงจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้แต่จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น โดยอาจจะ สลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้ จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

แต่ถ้าในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น เป็นการสลักหลังลอย ดังนี้ผู้ทรงซึ่งได้ตั๋วแลกเงิน นั้นมาจากการสลักหลังลอย ย่อมสามารถโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอน ตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 920)

2 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนตั๋วเงินชนิดนี้ย่อมสามารถกระทําได้โดยการ ส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีการสลักหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 ซึ่งบัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงิน แก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การที่จันทร์ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้บุญมีจ่ายเงิน 500,000 บาท โดยระบุชื่อทองไทยเป็น ผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออกนั้น ย่อมถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น ในการ โอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตัวนั้นให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าหากมีการสลักหลังในตัวนั้นด้วย กฎหมายให้ถือว่าเป็นเพียงการประกันหรือรับอาวัลผู้สั่งจ่าย (มาตรา 918 และ 921)

และเมื่อตามอุทาหรณ์ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ทองไทยได้โอนตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวให้แก่พุธ โดยการสลักหลังและส่งมอบ และต่อมาพุธได้ส่งมอบตัวนั้นให้แก่พฤหัส จะเห็นได้ว่าการโอนตั๋วนั้นมีการส่งมอบตัว ให้แก่กันทุกครั้ง ดังนั้นการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวจึงถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการสลักหลังของทองไทยนั้น ให้ถือว่าเป็นเพียงการประกันหรือรับอาวัลจันทร์ผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

สรุป

การโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวนั้นถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. (ก) ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กําหนดเวลาให้ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คให้ธนาคารผู้จ่ายใช้ เงินไว้อย่างไรบ้าง

(ข) ข้อเท็จจริงได้ความว่า ห้วยยอดผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเช็คธนาคารอันดามัน ระบุชื่อสิเกาเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก แล้วระบุจํานวนเงินลงไว้ในเช็ค 500,000 บาท ลงวันที่ 10 กันยายน 2555 มอบให้กับสิเกาเพื่อชําระหนี้ ต่อมาสิเกาสลักหลังและส่งมอบเช็คใบนั้นชําระหนี้ให้แก่บินหลา หลังจากนั้นบินหลานําเช็คนั้นไปสลักหลังและส่งมอบเพื่อชําระหนี้ให้แก่กันตัง กันตังนําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอันดามันเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2556 แต่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากกันตังยื่นเช็คช้าเกินหกเดือนนับแต่วันที่ลงในเช็ค ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า บุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดต่อกันตั้งผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย

ธงคําตอบ

(ก) อธิบาย

ตามกฎหมาย การนําเช็คไปยื่นให้ธนาคารผู้จ่ายใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คจะต้องนําไปยื่น ในวันที่เช็คถึงกําหนดซึ่งก็คือ วันออกเช็คอันเป็นวันที่ผู้สั่งจ่ายระบุลงไว้ในเช็คนั่นเอง หรืออย่างช้าต้องนําไปยื่นภายใน กําหนดเวลาตามหลักเกณฑ์ที่ ป.พ.พ. มาตรา 990 ได้กําหนดไว้ ดังนี้คือ

1 ถ้าเป็นเช็คที่ออกให้ใช้เงินในเมือง (จังหวัด) เดียวกับที่ออกเช็ค ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อ ธนาคารตามเช็คเพื่อให้ใช้เงินภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ออกเช็ค

2 ถ้าเป็นเช็คที่ออกให้ใช้เงินที่อื่น (ในจังหวัดอื่น) ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารตามเช็ค เพื่อให้ใช้เงินภายในกําหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ออกเช็ค

ในกรณีที่ผู้ทรงเช็คไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ผู้ทรงย่อม ได้รับผลเสียดังนี้ คือ

1 ผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลังทั้งปวง (โดยไม่ต้องคํานึงว่าผู้สลักหลัง เหล่านั้นจะได้รับความเสียหายหรือไม่)

2 ผู้ทรงย่อมเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเท่าที่ผู้สั่งจ่ายได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะการที่ผู้ทรงละเลยไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกําหนดเวลานั้น

และตาม ป.พ.พ. มาตรา 991(2) ยังได้วางหลักไว้อีกว่า ผู้ทรงจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารจ่ายเงิน ภายใน 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค (วันที่ลงในเช็ค) ด้วย หากยื่นเช็คเกินกว่านั้น ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคแรก “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตัวนั้นได้นํายื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตั๋วนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 917 วรรคแรก “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”

มาตรา 989 วรรคแรก “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็กเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923, 925, 926, 938 ถึง 940, 945, 946, 959, 967, 971”

มาตรา 990 วรรคแรก “ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงิน ในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้นท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ บุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดหรือไม่ต้องรับผิดต่อกันตังผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมายนั้น เห็นว่า การที่ห้วยยอดได้สั่งจ่ายเช็คของธนาคารอันดามัน ระบุชื่อสิเกาเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก ลงวันที่ 10 กันยายน 2555 แล้วมอบให้กับสิเกาเพื่อชําระหนี้นั้น เช็คฉบับนี้ย่อมถือเป็นเช็คชนิด สั่งจ่ายระบุชื่อการโอนเซ็คต่อไปจึงต้องทําตามมาตรา 917 ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก คือ ต้องสลักหลังและ ส่งมอบ

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการสลักหลังโอนเช็คดังกล่าวเปลี่ยนมือกันจนถึงกันตัง กันตังจึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และการที่กันตั้งผู้ทรงนําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอันดามันเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2556 ย่อมเป็นการที่กันตังยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินเมื่อเกินกําหนดเวลาหนึ่งเดือนหรือสามเดือนนับแต่ วันออกเช็ค (วันที่ 10 กันยายน 2555) แล้วแต่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคแรก ดังนั้น เมื่อธนาคาร ปฏิเสธการใช้เงิน กันดังย่อมหมดสิทธิที่จะไล่เบี้ยผู้สลักหลังทั้งหลาย คือ สิเกากับบินหลา

ส่วนกรณีของห้วยยอดผู้สั่งจ่ายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าห้วยยอดได้เสียหายเพราะเหตุที่กันตั้งยื่นเช็คเกินกําหนดแต่อย่างใด กันตังจึงมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยให้ห้วยยอดผู้สั่งจ่ายรับผิดได้ตามมาตรา 900 วรรคแรก และ มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก สําหรับกรณีของธนาคารอันดามันนั้นเมื่อปรากฏว่าธนาคารอันดามัน ไม่ได้ลงลายมือชื่อบนเช็ค จึงไม่ต้องรับผิดต่อกันตัง (ตามมาตรา 900 วรรคแรก)

สรุป

สิเกา บินหลา และธนาคารอันดามัน ไม่ต้องรับผิดต่อกันตั้ง ส่วนห้วยยอดต้องรับผิด ต่อกันตัง

 

ข้อ 3. (ก) เช็คที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความสําคัญเช่น วันที่ลง จํานวนเงินอันจะพึงใช้เป็นต้น แต่เป็นการแก้ไขที่ประจักษ์ จะเกิดผลตามกฎหมายอย่างไรกับเช็คและผู้ทรงเช็คนั้น

(ข) มกราเป็นผู้รับสลักหลังเช็คจากกุมภาโดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้อเท็จจริงได้ความว่า เช็คพิพาทดังกล่าวเป็นเช็คธนาคารอ่าวไทยที่เมษาเป็นผู้สั่งจ่ายระบุมีนาเป็นผู้รับเงิน และได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก ระบุจํานวนเงินลงไว้ในเช็คดังกล่าว 500,000 บาท มอบให้แก่ มีนา แต่มีนาแก้ไขเปลี่ยนแปลงจํานวนเงินเป็น 5,000,000 บาท แล้วลงลายมือชื่อกํากับการแก้ไข จากนั้นนําเช็คไปสลักหลังเพื่อชําระหนี้ให้แก่กุมภา ต่อมากุมภาสลักหลังลอยชําระหนี้มกรา ครั้นถึงวันที่ลงในเช็ค มกรานําเช็คยื่นที่ธนาคารอ่าวไทยเพื่อขอรับเงิน ธนาคารจ่ายเงินให้มกราไป 5,000,000 บาท ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า ธนาคารจะหักเงินจากบัญชีของเมษาผู้สั่งจ่ายได้หรือไม่

ธงคําตอบ

(ก) เช็คที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความสําคัญ เช่น วันที่ลง จํานวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน หรือสถานที่ใช้เงิน เป็นต้น จะเกิดผลตามกฎหมายกับเช็คและผู้ทรงเช็ค ดังนี้คือ

1 ถ้าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นได้ประจักษ์ หมายถึง การแก้ไขนั้น แก้ไขได้ไม่แนบเนียน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่าว่ามีการแก้ไข จะมีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคแรก คือ ให้ถือว่า เช็คนั้นเสียไป ไม่มีผลบังคับในฐานะเป็นเช็ค แต่เพื่อคุ้มครองผู้ทรงเช็คที่ได้รับเช็คไว้โดยสุจริต กฎหมายจึงได้บัญญัติ เป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ผู้ทรงเช็คยังคงใช้เช็คนั้นบังคับกับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ผู้ที่ได้ยินยอมด้วย กับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น และผู้ที่ได้สลักหลังเช็คในภายหลังที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น

2 ถ้าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นไม่ประจักษ์ หมายถึง การแก้ไขนั้นทําได้อย่างแนบเนียน ไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่าว่ามีการแก้ไข จะมีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคสอง คือ ให้ถือว่า เช็คนั้นไม่เสีย ยังบังคับกันได้ในฐานะเป็นเช็ค กล่าวคือ ถ้าเช็คนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ทรง โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถที่จะถือเอาประโยชน์จากเช็คนั้นเสมือนว่าเช็คนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เลยก็ได้และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้นก็ได้

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1007 “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคํารับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ในข้อสําคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตัวนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในข้อสําคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ ยินยอมด้วย”

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อเช็คที่เมษาออกให้ธนาคารอ่าวไทยจ่ายเงินแก่มีนานั้น มีจํานวน 500,000 บาท แต่มีนาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็น 5,000,000 บาท พร้อมทั้งลงลายมือชื่อกํากับการแก้ไขไว้ ย่อมถือว่าการแก้ไขจํานวนเงินดังกล่าวเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญตามมาตรา 1007 วรรคสาม และความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นประจักษ์และคู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามเช็คได้ยินยอมด้วยหมดทุกคน ดังนั้น กรณีจึงมีผล ตามมาตรา 1007 วรรคแรก คือ ให้ถือว่าเช็คนั้นเป็นอันเสียไปใช้บังคับไม่ได้ แต่ยังคงใช้ได้ตามข้อความใหม่ต่อมีนา คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น กับทั้งกุมภาผู้สลักหลังในภายหลังการแก้ไขนั้นด้วย

ดังนั้น เมื่อเช็คดังกล่าวเสียไปไม่อาจบังคับเอากับคู่สัญญาที่อยู่ก่อนการแก้ไข และมิได้รู้เห็น ยินยอมด้วยกับการแก้ไขตามมาตรา 1007 แล้ว คําสั่งของเมษาผู้สั่งจ่ายที่สั่งให้ธนาคารอ่าวไทยจ่ายเงินจึงต้องเสียไปด้วย ดังนั้นการที่ธนาคารอ่าวไทยได้จ่ายเงินให้มกราไป 5,000,000 บาท ย่อมถือได้ว่าธนาคารอ่าวไทยได้จ่ายเงิน ตามเช็คไปโดยไม่สุจริตหรือโดยประมาทเลินเล่อ ธนาคารอ่าวไทยจะหักเงินจากบัญชีของเมษาผู้สั่งจ่ายไม่ได้

สรุป

ธนาคารอ่าวไทยจะหักเงินจากบัญชีของเมษาผู้สั่งจ่ายไม่ได้

 

 

Advertisement