การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2012 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายกรุงไทย นำรถยนต์ที่เช่าซื้อกับบริษัท กรุงเก่า ไปทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทมั่นคงประกันภัย จำกัด โดยนายกรุงไทยเป็นผู้เอาประกันภัย และระบุให้บริษัท กรุงเก่า เป็นผู้รับประโยชน์

Advertisement

หลังจากทำสัญญาประกันภัยได้สามเดือน นายกรุงไทยได้ค้างชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทกรุงเก่า ทำให้บริษัทกรุงเก่า ฟ้องเรียกให้นายกรุงไทยชำระค่าเช่าชื้อที่ค้างชำระ นายกรุงไทยจึงเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาประกันภัยกับบริษัทมั่นคงประกันภัย จำกัด

โดยระบุให้นายกรุงไทยเป็นผู้รับประโยชน์ หลังจากนั้นรถยนต์คันดังกล่าวได้สูญหายไป นายกรุงไทยจึงเรียกให้บริษัทมั่นคงประกันภัย จำกัด ใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่บริษัทมั่นคงประกันภัย จำกัด ปฏิเสธใช้ค่าสินไหมทดแทน

Advertisement

โดยอ้างว่า นายกรุงไทยยังค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่ ไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ ข้ออ้างของบริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด ฟังขึ้นหรือไม และนายกรุงไทยจะฟ้องให้บริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

Advertisement

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 374 “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่า บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้

Advertisement

ในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น

มาดรา 375 “เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นตามบทบัญญัติแหงมาตราก่อนแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่

มาตรา 376 “ข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาดังกล่าวมาในมาตรา 374 นั้น ลูกหนี้อาจจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้จะได้รับประโยชน์จากสัญญานั้นได้

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้

คำว่า ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจํานวนหนึ่งให้

คำว่า ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

คำว่า ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้

อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่ายอมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 877 “ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังจะกล่าวต่อไบ่นี้ คือ

(1) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกรุงไทยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทมั่นคงประกันภัย จำกัด โดยระบุให้บริษัท กรุงเก่า เป็นผู้รับประโยชน์นั้น ย่อมถือว่านายกรุง ไทยเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในเหตุที่จะเอาประกันภัยตามมาตรา 863 สัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา

อย่างไรก็ตาม การที่นายกรุงไทยระบุในสัญญาให้บริษัท กรุงเก่า ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อเป็น ผู้รับประโยชน์จึงเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยระบุให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์ ดังนัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก

จึงต้องปรับเข้ากับมาตรา 374375 และ 376 นั่นคือ ผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นจะต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยเสียก่อน สิทธิของผู้รับประโยชน์จึงจะเกิดขึ้น และเมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของผู้รับประโยชน์ในภายหลังไม่ได้

กรณีตามข้อเท็จจริง การที่บริษัท กรุงเก่า ฟ้องเรียกให้นายกรุงไทยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนั้น ย่อมแสดงว่า บริษัท กรุงเก่า ได้สละเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยแล้ว นายกรุงไทยผู้เอาประกันภัย จึงมีสิทธิเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาเข้าเป็นผู้รับประโยชน์เองได้ (มาตรา 862) นายกรุงไทยผู้เอาประกันภัย และบริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด จึงเป็นคู่สัญญาที่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยซึ่งกันและกัน ตามหลักทั่วไป

และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า รถยนต์ที่นายกรุงไทยได้เอาประกันภัยไว้สูญหายไป บริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด ผู้รับประกันภัยจึงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับนายกรุงไทยตามมาตรา 877 ถึงแม้ว่า นายกรุงไทยจะค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่ก็ตาม (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1950/2543) ดังนั้น ข้ออ้างของบริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด ที่ว่านายกรุงไทยยังค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่ ไมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจึงฟังไม่ขึ้น และนายกรุงไทยสามารถฟ้องให้บริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้

สรุป ข้ออ้างของบริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด พังไม่ขึ้น และนายกรุงไทยสามารถฟ้องให้ บริษัท มั่นคงประกันภัย จำกัด ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้

 

ข้อ 2. นายเอกเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในโรงงานมูลค่า 3,000 ล้านบาท ได้เอาประกันอัคคีภัยโรงงานและเครื่องจักร ไว้กับบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งจำนวนเงินเอาประกันภัย 2,000 ล้านบาท โดยจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติมภัยจากน้ำท่วมด้วย

ต่อมาในระหว่างอายุสัญญาฝนตกหนักเนื่องจากพายุทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว นายเอกคาดว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ โรงงานของตนต้องถูกน้ำท่วมอย่างแน่นอน และฝนก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก นายเอกผู้เอาประกันภัยจึงชื้อถุงทรายจากร้านค้าวัสดุก่อสร้างมาวางกั้นเพื่อไม่ให้น้ำเข้าโรงงาน

แต่เมื่อนาล้นตลิ่ง จนระดับน้ำภายนอกแนวกั้นกระสอบทรายได้สูงขึ้นและได้มีน้ำซึมผ่านกระสอบทราย นายเอกจึงจ้างนายโทซึ่งมีร้านให้เช่าเครื่องสูบน้ำทำการสูบน้ำออก โรงงานของนายเอกจึงรอดพ้นจากการถูกน้ำท่วม แต่โรงงานอื่นที่ ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันไม่ได้มีการป้องกันเหมือนเช่นนายเอก น้ำจึงเข้าท่วมสูงทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

ครั้นนายเอกเรียกค่าสินไหมทดแทนคือค่ากระสอบทรายและค่าจ้างสูบน้ำรวมเป็นเงิน 2 แสนบาท แต่บริษัทประกันปฏิเสธการจ่ายอ้างว่าบริษัทประกันมีหน้าที่จ่ายเมื่อเกิดวินาศภัย เมื่อน้ำไมท่วมจึงไม่ต้องจ่าย อยากทราบว่าข้ออ้างของบริษัทประกันภัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด จงยกหลักกฎหมายประกอบการอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 877 “ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(1)           เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง

(2)           เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควร เพื่อป้องปัดความวินาศภัย

(3)           เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ

อันจำนวนวินาศจริงนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาซึ่งเหตุวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่ง จำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักประมาณอันถูกต้องในการตีราคาเช่นว่านั้น ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้

วินิจฉัย

ในเรื่องการประกันวินาศภัยนั้น นอกจากผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งผู้เอาประกันภัยได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศด้วย (มาตรา 877(3))

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกผู้เอาประกันภัยซื้อกระสอบทรายมากั้นเพื่อไมให้น้ำเข้าโรงงาน และเมื่อมีน้ำซึมผ่านกระสอบทราย นายเอกก็ได้จ้างนายโทซึ่งมีร้านให้เช่าเครื่องสูบน้ำทำการสูบน้ำออกนั้น ค่าใช้จ่ายของนายเอกดังกล่าวจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายอันสมควรเพื่อป้องกันโรงงานของนายเอกที่เอาประกันภัยไว้มิให้วินาศ

เพราะถ้านายเอกไมทำเช่นนี้น้ำย่อมท่วมโรงงานของนายเอกอย่างแน่นอน เห็นได้จากโรงงานบริเวณใกล้เคียงที่ ถูกน้ำท่วมเสียหาย

ดังนั้นเมื่อนายเอกได้เรียกค่าสินไหมทดแทน คือ ค่ากระสอบทรายและค่าจ้างสูบน้ำ รวมเป็นเงิน 2 แสนบาท จากบริษัทประกันภัย บริษัทประกันภัยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แกนายเอกตามมาตรา 877(3) เพราะค่าใช้จ่ายที่นายเอกเสียไปดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งผู้เอาประกันภัยได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ

ดังนั้น การที่บริษัทประกันภัยปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดย อ้างว่าบริษัทประกันภัยมีหน้าที่จ่ายเมื่อเกิดวินาศภัย เมื่อน้ำไม่ท่วมจึงไม่ต้องจ่าย จึงเป็นข้ออ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของบริษัทประกันภัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. นางสวยเอาประกันชีวิตนายสนิทสามีซึ่งจดทะเบียนสมรส วงเงิน 200,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปี กรมธรรม์ฯ ระบุให้นางสวยกับนายเสนาะบุตรชายเป็นผู้รับประโยชน์คนละครึ่ง อีก 2 ปี

ต่อมา นางสวยหย่าขาดจากนายสนิท หลังจากนั้นอีก 1 ปี นายเสนาะทำปืนลั่นถูกนายสนิทตาย ศาลพิพากษาจำคุกนายเสนาะ 2 ปี ฐานทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาท

ต่อมานางสวยกับนายเสนาะ ได้ยื่นขอรับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต แต่บริษัทผู้รับประกันภัยปฏิเสธการจ่าย อ้างว่านางสวย หย่าขาดจากนายสนิทไปแล้ว ไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของนายสนิท จึงไม่มีสิทธิรับเงินตามสัญญา

ส่วนนายเสนาะก็ไม่มีสิทธิรับเงินเพราะเป็นผู้ทำให้นายสนิทตาย ดังนี้ ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่าข้ออ้าง ของบริษัทผู้รับประกันภัยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำต

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 895 “เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่

(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อได้ความว่าในขณะที่นางสวยได้เอาประกันชีวิตนายสนิทผู้เป็นสามี โดยอาศัยเหตุมรณะไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นนางสวยและนายสนิทยังมิได้หย่าขาดจากกัน และมีความสัมพันธ์ในฐานะคู่สมรส

ดังนี้ เมื่อนางสวยผู้เอาประกันชีวิตมีส่วนได้เสียกับนายสนิทผู้ถูกเอาประกันชีวิต ในขณะทำสัญญา สัญญาจึงมีผลผูกพันสมบูรณ์ตามมาตรา 863 ทั้งนี้ แม้จะฟังได้ความว่าภายหลังทำสัญญาแล้ว นางสวยและนายสนิทจะจดทะเบียนหย่ากันก็ตาม ก็หาท่าให้สิทธิของคู่สัญญาเปลี่ยนแปลงไปไม่

และเมื่อนางสวยมีส่วนได้เสียและกำหนดให้ตนเป็นผู้รับประโยชน์ บริษัทประกันภัยจึงมีหน้าที่ ต้องจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตให้นางสวยตามสัญญา ข้ออ้างของบริษัทประกันภัยที่ว่า นางสวยได้หย่าขาดจากนายสนิทไปแล้ว จึงไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของนายสนิท และไมมีสิทธิได้รับเงินตามสัญญา จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ส่วนกรณีของนายเสนาะนั้น ข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันชีวิตไม่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาประการหนึ่ง ตามมาตรา 895(2) คือ ผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา ซึ่งหมายความว่า จะต้องเป็นเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลเท่านั้น หากมีเพียงเจตนาทำร้าย หรือเป็นเพราะประมาทเลินเล่อ ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว

เมื่อข้อเท็จจริงรับพังได้ว่า การที่นายเสนาะทำปืนลั่นถูกนายสนิทถึงแกความตายนั้น ศาลได้ พิพากษาจำคุกนายเสนาะฐานทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาท จะเห็นได้ว่าจากคำพิพากษานายเสนาะผู้รับประโยชน์ หาได้มีเจตนาฆ่านายสนิทผู้ถูกเอาประกันแต่อย่างใด

กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 895(2) ดังนั้น เมื่อไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่บริษัทประกันภัยจะอ้างได้ บริษัทประกันภัยดังกล่าวจึงต้องจ่ายตามสัญญาประกันชีวิตให้นายเสนาะ เช่นกัน ข้ออ้างของบริษัทประกันภัยที่ว่า นายเสนาะไม่มีสิทธิรับเงินตามสัญญาเพราะทำให้นายสนิทถึงแกความตาย จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน

สรุป ข้ออ้างของบริษัทประกันภัยไมถูกต้องตามกฎหมาย 

Advertisement