การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2011 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ดํามอบอํานาจให้แดงเป็นตัวแทนไปกู้เงินโดยมิได้มอบหมายเป็นหนังสือ แดงไปกู้เงินขาว 5 แสนบาท โดยทําหลักฐานการกู้เป็นหนังสือและเขียนใบสัญญาว่ากู้แทนดํา ต่อมาดําผิดนัดชําระหนี้ ขาวจึง ฟ้องดําให้ชําระหนี้ 5 แสนนั้น ศาลยกคําฟ้องของขาวโดยให้เหตุผลในการยกฟ้องว่า ดํามิใช่เป็น คู่สัญญาของขาว ขาวจึงไม่มีอํานาจฟ้อง

ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด ประเด็นหนึ่ง อีกประเด็นหนึ่งในการกู้เงินในประเด็นแรก ถ้าแดงกู้เงิน 5 แสนแล้วนํามาให้ดําทั้ง 5 แสน

ดังนี้ขาวจะฟ้องให้ดําต้องรับผิดในหลักกฎหมายใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการ กู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 798 “กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทําเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทน เพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทําเป็นหนังสือด้วย

กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมี หลักฐานเป็นหนังสือด้วย”

มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ ตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”

มาตรา 821 “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วย่อมให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน”

มาตรา 823 “ถ้าตัวแทนกระทําการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอํานาจก็ดี หรือทํานอกทําเหนือ ขอบอํานาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการเว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทําการโดยปราศจากอํานาจ หรือทํานอกเหนือขอบอํานาจ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นแรก การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น บทบัญญัติมาตรา 653 วรรคหนึ่ง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีตาม กฎหมายได้ เมื่อกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อไปทําสัญญากู้จึงต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าดํามอบอํานาจให้แดงไปกู้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่นนี้แดงย่อม ไม่มีอํานาจลงชื่อในสัญญากู้เงินนั้น เพราะดําตั้งแดงเป็นตัวแทนไปกู้เงินโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 798 วรรคสอง

ดังนั้นการที่แดงลงชื่อในสัญญากู้เงินกับขาวก็เท่ากับว่าแดงลงชื่อโดยปราศจากอํานาจตามมาตรา 823 วรรคหนึ่ง สัญญากู้ยืมเงินนั้นจึงไม่ผูกพันดําตัวการ แดงตัวแทนจึงต้องรับผิดต่อขาวโดยลําพังตามมาตรา 823 วรรคสอง และเมื่อขาวฟ้องดําให้ชําระหนี้ ศาลได้ยกคําฟ้องของขาวโดยให้เหตุผลในการยกฟ้องว่า ดํามิใช่เป็นคู่สัญญากับขาว ขาวจึงไม่มีอํานาจฟ้องนั้น คําสั่งของศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย เคานาจในการอบรม

ประเด็นที่สอง การที่แดงไปกู้เงินจากขาว 5 แสนบาทแล้วนํามาให้ดําทั้ง 5 แสนบาทนั้น เมื่อดํารับเงินนั้นไว้ก็เท่ากับว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่แดง ลัญญากู้ยืมเงินจึงผูกพันดําตัวการตามมาตรา 823 วรรคหนึ่ง อีกทั้งกรณีดังกล่าวถือได้ว่าดําได้เชิดให้แดงออกแสดงเป็นตัวแทนของดําตามมาตรา 821 ดําจึงต้องรับผิด ต่อขาวบุคคลภายนอกเสมือนว่าแดงเป็นตัวแทนของตนตามมาตรา 821 ประกอบมาตรา 820 ดังนั้น เมื่อดํา ผิดนัดชําระหนี้ ขาวจึงสามารถฟ้องให้ดํารับผิดได้

สรุป

ประเด็นแรก คําสั่งยกฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นที่สอง ขาวฟ้องให้ดํารับผิดชําระหนี้ได้

 

ข้อ 2. นางสุดาเปิดร้านขายเพชร นางสร้อยฟ้ามีแหวนเพชรอยู่หนึ่งวงต้องการขายจึงได้นําไปฝากนางสุดาให้เป็นตัวแทนค้าต่างขายในราคา 50,000 บาท โดยตกลงว่าถ้าขายแหวนเพชรได้จะให้ค่าบําเหน็จแก่ นางสุดา 2,500 บาท ปรากฏว่านางสุดาได้ขายแหวนเพชรวงนั้นให้แก่นางมุกดาในราคา 55,000 บาท และนอกจากนี้เงินที่ขายแหวนเพชรได้ยังไม่ยอมส่งมอบให้แก่นางสร้อยฟ้าโดยนําไปใช้สอยเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวของตนเสีย

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าเงินที่ขายแหวนเพชรได้สูงกว่าที่นางสร้อยฟ้า กําหนด นางสุดาจะถือเอาเงินส่วนที่ขายเกินเป็นของตนได้หรือไม่ และเงินส่วนที่ไม่ยอมส่งมอบให้แก่ นางสร้อยฟ้า นางสุดาจะต้องรับผิดต่อนางสร้อยฟ้าอย่างไร หรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 810 “เงินแถึงทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทน ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น

อนึ่ง สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเองแต่โดยฐานที่ทําการแทนตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิน”

มาตรา 811 “ถ้าตัวแทนเอาเงินซึ่งควรจะได้ส่งแก่ตัวการ หรือซึ่งควรจะใช้ในกิจการของตัวการ นั้นไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนเสีย ท่านราตัวแทนต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้”

มาตรา 833 “อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมทําการซื้อ หรือ ขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ”

มาตรา 835 “บทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยตัวแทนนั้น ท่านให้ใช้ บังคับถึงตัวแทนค้าต่างด้วยเพียงที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในหมวดนี้”

มาตรา 840 “ถ้าตัวแทนค้าต่างได้ทําการขายได้ราคาสูงกว่าที่ตัวการกําหนด หรือทําการซื้อได้ ราคาต่ำกว่าที่ตัวการกําหนดไซร้ ท่านว่าตัวแทนอาจจะถือเอาเป็นประโยชน์ของตนได้ไม่ ต้องคิดให้แก่ตัวการ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสร้อยฟ้าได้นําแหวนเพชรไปฝากนางสุดาซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างขาย ในราคา 50,000 บาท โดยตกลงกันว่าถ้าขายแหวนเพชรดังกล่าวได้จะให้ค่าบําเหน็จแก่นางสุดาจํานวน 2,500 บาท แต่นางสุดาได้ขายให้แก่นางมุกดาในราคา 55,000 บาท ซึ่งเป็นราคาขายที่สูงกว่าที่นางสร้อยฟ้ากําหนดไว้ 5,000 บาทนั้น เงินส่วนที่เกินนี้นางสุดาตัวแทนค้าต่างจะถือเอาเป็นประโยชน์ของตนไม่ได้ ต้องคิดให้แก่ตัวการตาม มาตรา 840 คือต้องส่งมอบเงินส่วนที่เกินนั้นให้แก่นางสร้อยฟ้า

ส่วนเงินจํานวน 55,000 บาท ที่ขายแหวนเพชรได้ นางสุดาตัวแทนค้าต่างต้องส่งมอบให้แก่ นางสร้อยฟ้าตัวการจงสิ้นตามมาตรา 835 ประกอบมาตรา 810 แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางสุดาไม่ยอมส่งมอบ ให้แก่นางสร้อยฟ้า แต่ได้นําเงินจํานวนดังกล่าวไปใช้สอยเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของตน จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย ในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้นําไปใช้ตามมาตรา 835 ประกอบมาตรา 811

สรุป

นางสุดาจะถือเอาเงินส่วนที่ขายเกินเป็นของตนไม่ได้ และเงินส่วนที่ไม่ยอมส่งมอบ ให้แก่นางสร้อยฟ้า นางสุดาจะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้นําไปใช้

 

ข้อ 3. ประสงค์มอบให้ประสิทธิ์นําที่ดินมือเปล่าของตนเนื้อที่หกสิบไร่ไปขาย โดยตั้งราคาไว้ที่ไร่ละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท หากประสิทธิ์ขายได้เป็นราคาที่ตั้งไว้ดังกล่าว ส่วนเกินจะยกให้ประสิทธิ์ เวลาผ่านไปร่วมสองปีเศษเจอกันหลายครั้ง ประสิทธิ์บอกว่าที่ดินยังขายไม่ได้ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ขอให้รอหน่อย ประสงค์อยากดูที่ดินที่ซื้อไว้ เมื่อขับรถไปถึงปรากฏว่ามีบ้านปลูกสร้างในที่ดิน และมีการทําประโยชน์ในที่ดินทั้งแปลง สุรชัยบอกว่าตนซื้อที่ดินแปลงนี้มาจากประสิทธิ์ในราคา หนึ่งล้านสองแสนบาท ซื้อมาปีกว่าแล้ว บ้านหลังนี้ก็เพิ่งสร้างเสร็จ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวท่านคิดว่าประสงค์อาจจะบังคับประสิทธิ์ได้ในทางใดบ้าง ยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 810 “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น

อนึ่ง สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเองแต่โดยฐานที่ทําการแทนตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น”

มาตรา 811 “ถ้าตัวแทนเอาเงินซึ่งควรจะได้ส่งแก่ตัวการ หรือซึ่งควรจะใช้ในกิจการของตัวการ นั้นไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนเสีย ท่านว่าตัวแทนต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้”

มาตรา 812 “ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทนก็ดี เพราะไม่ทําการเป็นตัวแทนก็ดี หรือเพราะทําการโดยปราศจากอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจก็ดี ท่านว่าตัวแทน จะต้องรับผิด”

มาตรา 845 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบําเหน็จแก่นายหน้า เพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทําสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทําสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบําเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทํากันสําเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทํากันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อน บังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบําเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่จนกว่าเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว”

มาตรา 846 วรรคหนึ่ง “ถ้ากิจการอันได้มอบหมายแก่นายหน้านั้น โดยพฤติการณ์เป็นที่คาดหมาย ได้ว่าย่อมทําให้แต่เพื่อจะเอาค่าบําเหน็จไซร้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบําเหน็จนายหน้า”

มาตรา 849 “การรับเงินหรือรับชําระหนี้อันจะพึงชําระตามสัญญานั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อน ว่านายหน้าย่อมไม่มีอํานาจที่จะรับแทนผู้เป็นคู่สัญญา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ประสงค์มอบให้ประสิทธิ์ขายที่ดินนั้น ถือว่าโดยพฤติการณ์เป็นที่ คาดหมายได้ว่าย่อมทําให้แต่เพื่อจะเอาค่าบําเหน็จ (มาตรา 846 วรรคหนึ่ง) โดยมีราคาส่วนที่ขายได้เกินเป็น ค่าบําเหน็จนายหน้า (มาตรา 845 วรรคหนึ่ง)

เมื่อประสิทธิ์ได้ขายที่ดินให้แก่สุรชัยในราคา 1,200,000 บาท ซึ่งตามข้อตกลงจะเป็นของ ประสงค์จํานวน 900,000 บาท (60 x 15,000) ที่ประสิทธิ์จะต้องส่งมอบให้แก่ประสงค์ตามมาตรา 810 วรรคหนึ่ง โดยประสิทธิ์ไม่มีอํานาจรับแทนประสงค์ (มาตรา 849) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อประสิทธิ์ได้รับไว้ย่อมถือว่าได้รับไว้แทน ประสงค์ ซึ่งประสิทธิ์จะต้องส่งมอบให้แก่ประสงค์ เมื่อประสิทธิ์ไม่ยอมส่งมอบแต่กลับนําไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตน ดังนี้ประสิทธิ์จะต้องเสียดอกเบี้ยในจํานวนเงินนั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้ตามมาตรา 811 และถ้ามีความเสียหาย เกิดขึ้นประสิทธิ์ก็จะต้องรับผิดชอบต่อประสงค์ เพราะถือว่าประสิทธิ์ไม่ทําการเป็นตัวแทนตามมาตรา 812

สรุป

ประสงค์สามารถเรียกให้ประสิทธิ์ส่งมอบเงินจากการขายที่ดินจํานวน 900,000 บาท ให้แก่ตนได้ และยังสามารถเรียกเอาดอกเบี้ยในเงินนั้นได้ด้วย และในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ประสงค์สามารถ บังคับให้ประสิทธิ์รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

 

Advertisement