การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2302 (MCS 2260) หลักการสื่อข่าวและการเขียนข่าว
คําแนะนํา – ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ เป็นข้อสอบอัตนัย
– นักศึกษาที่ไม่ได้ส่งงาน/ส่งไม่ครบ ให้ทําข้อสอบทุกข้อ
– นักศึกษาที่ส่งงาน ให้เลือกทําข้อสอบให้ได้คะแนนรวม 70 คะแนน

ข้อ 1. ให้อธิบายวิธีวางแผนการทําข่าวของผู้สื่อข่าว แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Advertisement

ขั้นตอนการวางแผนการทําข่าว มีดังนี้

– กําหนดประเด็นข่าวที่สนใจเบื้องต้น
– ประชุมกองบรรณาธิการเพื่อระดมสมอง และเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
– ทําแผนผังของเรื่องเพื่อให้เห็นภาพการหาประเด็นข่าวที่ชัดเจนขึ้น
– กําหนดแหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นบุคคล เอกสาร ข้อมูล และหลักฐานต่าง ๆ
– ร่างกรอบคําถามในแต่ละประเด็น สําหรับแหล่งข่าวแต่ละคน
– กําหนดกรอบเวลาการทํางานในแต่ละช่วง
– ลงพื้นที่จริง สัมภาษณ์แหล่งข่าว และเก็บข้อมูล
– ประเมินสถานการณ์ในกรณีที่แผนที่กําหนดไว้ไม่เป็นไปตามแผน โดยต้องสามารถ
ปรับเปลี่ยนการทํางานได้เสมอ

สาเหตุที่ต้องวางแผนการทําข่าว มีดังนี้

– เพื่อลดความไม่แน่นอนและปัญหาความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการลงพื้นที่
ทําข่าวจริง
– ต้องวางแผนการทําข่าวเมื่อเกิดประเด็นข่าวใหม่
– เพื่อให้การทําข่าวบรรลุผลตามแผนที่วางไว้
– เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาในการทํางาน เช่น ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความทับซ้อนกัน และลงพื้นที่ ครั้งเดียวสามารถนํามาแตกขยายได้หลายประเด็น
– เพื่อกําหนดกรอบเวลาในการทํางาน
– สามารถช่วยบริหารจัดการด้านการเงินได้

กระบวนการสื่อข่าวและการรายงานข่าว ประกอบด้วย

1. กําหนดประเด็นข่าว
2. ประชุมทีม วางแผน
3. ลงพื้นที่ ได้แก่ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล บันทึกเสียงและภาพของแหล่งข่าว + เหตุการณ์
4. ประเมินความสําคัญของข่าวที่ได้ เช่น ความยาวของข่าว ระยะเวลา ฯลฯ
5. เขียนข่าว/เรียบเรียงข้อมูล
6. ลําดับภาพและเสียง
7. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
8. เผยแพร่ผ่านช่องทางหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ข้อ 2. ขั้นตอนการรายงานข่าวผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอน
อย่างไรบ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผู้รับสารสามารถมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการรายงานข่าวผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ดังนี้

– รูปภาพหรือคลิปวิดีโอของผู้รับสาร ซึ่งเป็นสิ่งบอกเล่าเหตุการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ หรือเป็น พยานจากเหตุการณ์ เช่น ไฟไหม้ ภัยพิบัติ ฯลฯ หรือภาพกราฟิก ภาพตัดต่อที่ประกอบ สร้างโดยผู้ใช้สื่อออนไลน์ สามารถนํามาประกอบการรายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้ หรือนําไปใช้ต่อยอดประเด็นเพื่อหามุมมอง รายละเอียดของเหตุการณ์ได้มากขึ้น
และทํารายงานข่าวที่อธิบายบริบทหรือ

– การแสดงความคิดเห็นของผู้รับสารบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการเปิดประเด็นพื้นที่การ ถกเถียง แสดงออกทางความคิด หรือให้ข้อมูล ให้มุมมองหลักต่อมิติข่าว จะเป็นเบาะแส ให้นักข่าวเลือกประเด็นต่อยอดสําหรับบางข่าวที่ต้องการความคิดเห็นของประชาชน
หรือใช้สําหรับข่าวที่อยู่ในกระแสสังคมได้

– นักข่าวอาจหยิบเนื้อหาจากสื่อออนไลน์ที่มีผู้ใช้สื่อเล่าเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ หรืออาจเป็นข่าวฝาก เรื่องราวที่ต้องการความช่วยเหลือที่มีการส่งต่อกัน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การแสดงความคิดเห็น การช่วยเหลือ หรือการ ระดมข้อมูล เป็นต้น

– ผู้รับสารสามารถสื่อข่าวในฐานะนักข่าวพลเมือง เพื่อนําเสนอมุมมองเกี่ยวกับประเด็น ท้องถิ่น หรือจากมุมมองของประชาชนในสิ่งที่สื่อหลักไม่ได้นําเสนอ เช่น การรายงาน ข่าวแบบไลฟ์สด ณ จุดเกิดเหตุที่ห่างไกล เป็นต้น

– ผู้รับสารในฐานะผู้อ่านข่าวสามารถมีส่วนร่วมในการรายงานข่าวผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยการกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม กดหัวใจ กดโกรธ กดขํา ฯลฯ หรือพิมพ์ข้อความ แสดงความคิดเห็นต่อข่าวที่นําเสนอได้
– การไลฟ์สดสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่นิยมทํากันมากขึ้นในปัจจุบันนั้น บางครั้งผู้สื่อข่าวหรือ ผู้ดําเนินรายการที่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมในการตั้งคําถามกับแหล่งข่าวผ่าน ทางการแสดงความคิดเห็น (Comment) ได้โดยตรง

– ผู้รับสารสามารถมีส่วนร่วมโดยการแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากองค์กรรัฐ ซึ่งนักข่าวก็จะต้องตรวจสอบข่าว ความถูกต้อง และพัฒนาต่อยอดสู่ประเด็นข่าวต่อไป

ข้อ 3. การรายงานเนื้อหาข่าวที่สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการณ์ของข่าวนั้นอย่างครบถ้วน
รอบด้าน ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

องค์ประกอบของการรายงานเนื้อหาข่าวที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการณ์ของข่าว ได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน มีดังนี้

– ค้นหาภูมิหลัง (Background) ของเรื่อง เช่น เรื่องนั้น ๆ มีความเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง และมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของผู้คนมาก/น้อยแค่ไหน

– ตอบคําถามให้ได้ว่า ทําไมมันถึงเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร สะท้อนอะไร หรือมีนัยอะไร อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป และส่งผลสืบเนื่องอย่างไร

– ผู้สื่อข่าวต้องสื่อข่าวให้ผู้อ่านเสมือนว่าได้อยู่ในเหตุการณ์จริง โดยต้องยืนยันข้อเท็จจริง
ของเหตุการณ์หรือประจักษ์พยานได้

– ต้องมี Sidebar (ข่าวหรือข้อมูลสั้น ๆ ที่แทรกอยู่แถบข้าง ๆ ของข่าวหรือข้อความหลัก) เป็นส่วนประกอบปลีกย่อย หรือข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ข่าวมีมิติและรอบด้านมากขึ้น เช่น ข้อกฎหมาย บทลงโทษผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งประวัติของบุคคล/สถานที่/สิ่งของในข่าว หรือความเป็นมาก่อนหน้านี้ เป็นต้น

– ต้องมี Localization (การแปลเนื้อหาจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง) ทําให้ผู้รับสาร สนใจข่าวที่ไกลตัวขึ้นมาได้ โดยทําให้เกิดคําถามว่า เหตุการณ์นั้นจะเกิดผลกระทบ อย่างไรกับเรา (ผู้รับสาร) บ้าง เช่น สงครามส่งผลกับราคาน้ํามัน/สินค้าอย่างไร เป็นต้น

ข้อ 4. ในการรายงานข่าว #8 ปี ประยุทธ์ สื่อมวลชนนําเสนอประเด็นข่าวอะไรบ้าง และใช้แหล่งข่าวอะไร ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MCS 2260 หน้า 15 – 18, (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงานในข่าว #8 ปี ประยุทธ์ มีดังนี้

– ลําดับเหตุการณ์ที่มาของ 8 ปี ประยุทธ์ โดยอาจให้ภูมิหลังว่าเกิดขึ้นจากคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญรับคําร้องเพื่อวินิจฉัย “คดีนายกฯ 8 ปี” จากใคร มีจุดเริ่มต้นของการ ยื่นคําร้องอย่างไร และศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคําร้องหรือไม่

– การรับคําร้องของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลต่อพลเอกประยุทธ์อย่างไร ต้องหยุดการปฏิบัติ หน้าที่หรือไม่ และใครทําหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน

– ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญกําลังพิจารณา “คดีนายกฯ 8 ปี” นั้น มีความเคลื่อนไหวทางแวดวงการเมือง ความคิดเห็นของฝ่ายค้านและนักวิชาการอย่างไร และมีการวิเคราะห์ แนวทางการตีความวาระการดํารงตําแหน่งนายกฯ ไว้แนวทาง รวมทั้งวิเคราะห์ เหตุการณ์ทางการเมืองหากพลเอกประยุทธ์ พ้นจากตําแหน่งนายกฯ ไว้อย่างไรบ้าง

– ขั้นตอนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร มีการนัดลงมติและอ่านคําวินิจฉัย
วันไหน เวลาใด

– บรรยากาศบริเวณรอบศาลรัฐธรรมนูญในวันที่จะมีการอ่านคําวินิจฉัยการดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอย่างไร มีมาตรการคุมเข้มอะไรบ้าง

– ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคําวินิจฉัยตัดสินว่าอย่างไร มีคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมติ จํานวนกี่คน ประกอบด้วยใครบ้าง ลงมติเห็นด้วยกี่เสียง ไม่เห็นด้วยกี่เสียง ให้เหตุผลว่า อย่างไร อ้างอิงมาตราในรัฐธรรมนูญอะไรบ้าง มีรายละเอียดทางกฎหมายอย่างไร

– บรรยากาศหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเป็นอย่างไร มีความชุลมุนหรือไม่ ความคิดเห็น ของพลเอกประยุทธ์ หลังศาลตัดสิน ความคิดเห็นของฝ่ายค้านและนักวิชาการต่าง ๆ

– ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ เมื่อไหร่ มีอายุในการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกกี่วาระ เคยมีคดียื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนอกจากนี้อีกหรือไม่ และมีผลงานเด่นอะไรบ้าง

แหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว

– คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
– พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้อง)
– ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ส่งคําร้อง)
– ทีมกฎหมายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
– ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน นักกฎหมาย และนักวิชาการที่ให้ความคิดเห็น
– กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ
– กระแสความคิดเห็นของประชาชนทางโซเชียลมีเดีย
– ศาลรัฐธรรมนูญ ณ ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561
– เอกสารคําร้องของ ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน
– เอกสารคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
– คลิปวิดีโอถ่ายทอดสดการอ่านคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
– เพจเฟซบุ๊กที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
– กราฟิกภาพไทม์ไลน์ระบุวัน เวลา บอกลําดับเหตุการณ์ในข่าว

ข้อ 5. เหตุใดสื่อมวลชนจึงรายงานข่าวอาชญากรรม ให้นักศึกษายกตัวอย่างข่าวอาชญากรรม 1 เรื่อง และ อธิบายว่า ผู้สื่อข่าวสามารถรายงานข่าวดังกล่าวให้มีลักษณะสร้างสรรค์ (ทั้งในด้านวิธีการและ เนื้อหา) ได้อย่างไรบ้าง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

สาเหตุที่สื่อมวลชนรายงานข่าวอาชญากรรม มีดังนี้

– ข่าวอาชญากรรม เป็นข่าวที่สะท้อนความผิดปกติของสังคม ดังนั้นการรายงานข่าว อาชญากรรมจึงมีบทบาทเป็นยามรักษาการณ์เตือนภัยให้ผู้อ่านได้ระมัดระวังตัว และ รู้จักเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันตัวจากภัยหลากหลายรูปแบบที่อาจเข้ามาในชีวิตของตนเองโดยไม่รู้ตัว

– การรายงานข่าวอาชญากรรมช่วยประณามการกระทําอันชั่วร้ายของผู้ต้องหาที่ก่อคดี
หรือกระทําความผิดที่สร้างความเสียหาย รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติได้

– การรายงานข่าวอาชญากรรมย่อมส่งผลให้ผู้อ่านข่าวสารเกิดความรับรู้ร่วมกันในด้านผลเสียของการกระทําดังกล่าว จนหยุดความคิดที่จะปฏิบัติตนตามแบบอย่างของ ผู้ต้องหา ตกเป็นข่าว

– การรายงานข่าวอาชญากรรมเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนในด้านการให้ความรู้และป้องกันอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

– การรายงานข่าวอาชญากรรมเป็นกระจกสะท้อนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่พึงจะได้รับจากเจ้าหน้าที่กฎหมายบ้านเมืองว่า มีมากน้อยเพียงไร เพราะถ้าหากเมื่อใดมีการนําเสนอข่าวอาชญากรรมเป็นจํานวนมาก และเต็มไปด้วยความรุนแรง นั่นหมายความว่า ความหย่อนยานของกฎหมายที่ไม่รุนแรงพอที่จะเป็นบทลงโทษให้คนทําผิดไม่เกรงกลัวต่อผลของการกระทําที่เขาพึงจะได้รับ

ตัวอย่างข่าวอาชญากรรม : ไล่ยิงใส่รถเมล์ 9 ขวบดับ สังเวยศึกช่างกล จากข่าวนี้ผู้สื่อข่าว สามารถรายงานข่าวให้มีลักษณะสร้างสรรค์ (ทั้งในด้านวิธีการและเนื้อหา) ดังนี้

– ผู้สื่อข่าวควรระมัดระวังในการใช้ถ้อยคําสํานวนในการนําเสนอข่าวอาชญากรรม ควรใช้ ถ้อยคําสํานวนที่บ่งบอกถึงรสนิยมที่ดี (Good Taste) ใช้คําสุภาพไม่หยาบคาย และใช้ กลวิธีในการเขียนอย่างสร้างสรรค์ โดยควรใช้คําที่ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและ โอกาส ไม่ใช้คําที่เน้นความรุนแรง หรือไม่ใช้ภาษาเน้นย้ํา ซึ่งจะเพิ่มระดับคําให้เกิด ความสยดสยองมากยิ่งขึ้น

– ผู้สื่อข่าวอาชญากรรมควรเล่าเรื่องในลักษณะที่ทําให้มองเห็นภาพได้ ซึ่งเรียกกลวิธีนี้ว่า การแต่งเรื่องให้มีสีสัน หรือวาดให้เห็นภาพ (Illustration) รวมทั้งยังต้องใช้ภาษาที่ ผู้อ่านสามารถมองเห็นถึงเหตุการณ์ เห็นตัวบุคคล และเห็นสถานที่ได้อย่างชัดเจนใน
มโนภาพอีกด้วย

– ผู้สื่อข่าวอาชญากรรมควรระมัดระวังเรื่องการเสนอภาพประกอบข่าว และการเสนอคําอธิบายภาพ ไม่ควรเสนอภาพหรือบรรยายภาพที่มีลักษณะเร้าอารมณ์ของผู้อ่าน จนเกินไป ไม่แสดงภาพที่อุจาดบาดตาน่าขยะแขยง หรือทําให้ผู้อ่านทั่วไปรู้สึกอนาถใจหรือสร้างอารมณ์เกลียดชังจนเกินขอบเขต

– ผู้สื่อข่าวควรเสนอข่าวอาชญากรรมในลักษณะกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต่อการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเกิดความรู้สึกซื่อสัตย์และเคารพต่อหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติงานในความรับผิดชอบอย่างเข้มแข็ง

– ผู้สื่อข่าวควรเสนอรายละเอียดการประกอบอาชญากรรมเพียงแค่พอให้ผู้อ่านเข้าใจใน
เหตุการณ์ เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ควรบรรยายเน้นรายละเอียดให้ผู้อ่านได้รับรู้ทุกขั้นตอน ของการประกอบอาชญากรรม และไม่ควรเล่าเรื่องโดยให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับแผนประกอบคํารับสารภาพเกี่ยวกับการลงมือก่อเหตุ เพราะย่อมส่งผลให้ผู้อ่านทราบถึงวิธีการจนเกิดการเลียนแบบ แล้วนําไปปฏิบัติตามต่อ

– ผู้สื่อข่าวจะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้ต้องสงสัย โดยไม่ควรทําตนเป็นผู้พิพากษาคดีเสียเอง และในกรณีที่มีการเสนอข่าวคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงควรชี้แจงให้ผู้อ่านได้เข้าใจข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้

– ในข่าวอาชญากรรมที่นําเสนอแต่ละข่าว ผู้สื่อข่าวต้องช่วยกันสร้างทัศนคติในการ ต่อต้านการก่ออาชญากรรมที่เป็นผลร้ายต่อสังคมส่วนรวม โดยเน้นให้เห็นถึงผลที่ผู้ก่อ อาชญากรรมจะได้รับการลงโทษตามกฎหมาย

– ผู้สื่อข่าวควรระมัดระวังการเสนอรายละเอียดในข่าวที่จะทําให้ผู้อ่านรู้สึกว่าอาชญากร ผู้นั้นเป็นวีรบุรุษ ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงบุคคลนั้นเป็นผู้ทําลายความสงบสุขของสังคม นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังต้องระมัดระวังเรื่องการเสนอข่าวเกี่ยวกับการวางแผนปราบปราม ไม่นําเสนอรายละเอียดเสียจนเป็นการเปิดช่องทางการหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตํารวจให้แก่คนร้าย

– ผู้สื่อข่าวควรระมัดระวังการเสนอข้อมูลข่าวเกี่ยวกับชื่อและที่อยู่ของพยาน เนื่องจาก การระบุรายละเอียดดังกล่าวอาจนํามาซึ่งภยันตรายแก่พยานได้

ข้อ 6. การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับออนไลน์เกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในระดับโลก ควรนําเสนอเนื้อหาใดบ้าง ควรใช้มัลติมีเดียประเภทใดบ้าง เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย รวดเร็ว ยกตัวอย่างประเด็นข่าว พร้อมระบุมัลติมีเดียที่จะใช้ ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MCS 2260 หน้า 15 – 18, (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงาน มีดังนี้

– แนวโน้มสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกเป็นอย่างไร จํานวนผู้ติดเชื้อ รายใหม่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งรายงานตัวเลขของผู้เสียชีวิต

– ตัวเลขของการติดเชื้อใหม่ในแต่ละทวีปเป็นอย่างไร ทวีปใดยังมีการติดเชื้อสูงที่สุด และประเทศที่มีรายงานการติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ ประเทศใดบ้าง มีอัตราการตายกี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศที่มีการติดเชื้อลดลงน้อยที่สุด ได้แก่ ประเทศใดบ้าง

– การติดเชื้อโควิด-19 ของจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกนั้น มาจากการแพร่กระจาย ของไวรัสสายพันธุ์ใดบ้าง มีความรุนแรงและต้องเฝ้าระวังอย่างไร พร้อมทั้งระบุอาการ เบิ้องต้นของผู้ติดเชื้อจากสายพันธุ์ดังกล่าว

– ความคิดเห็นขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด-19 ทั่วโลกเป็นอย่างไร เช่น การแพร่ระบาดของไวรัสใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้วหรือยัง คําแนะนําในการควบคุมโรคจากองค์การอนามัยโลก และมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่

– รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมโรคของแต่ละ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ

– สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นอย่างไร จํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือลดลง มีระบบดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อเพียงพอหรือไม่ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเพียงใด คําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข และมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคอะไรบ้าง

– ข้อมูลเสริมการระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีใด แพร่ระบาดไปทั่วโลกมาแล้ว กี่ปี มีสาเหตุมาจากอะไร พบครั้งแรกที่ไหน

มัลติมีเดียที่จะใช้ในการายงานข่าวดังกล่าว

– ตารางตัวเลขสถิติจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิตในแต่ละประเทศ

– แผนที่แสดงจํานวนผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศ

– กราฟอัตราแนวโน้มการระบาดของโรคที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

– ภาพจําลองไวรัสที่ทําให้เกิดโรคโควิด-19

– อินโฟกราฟิกแสดงการสรุปข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก

– ภาพถ่ายแสดงบรรยากาศผู้ที่มารับการฉีดวัคซีน

– อินโฟกราฟิกแสดงวิธีป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อไวรัส

– กราฟิกข้อความแสดงคําแนะนําของผู้อํานวยการองค์การอนามัยโลก

– ภาพนิ่งผู้อํานวยการองค์การอนามัยโลกกําลังแถลงข่าว

– คลิปวิดีโอภาพเคลื่อนไหวการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข

– อินโฟกราฟิกแสดงไทม์ไลน์โรคโควิด-19 ตั้งแต่พบครั้งแรก

ข้อ 7. การรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ําท่วมในกรุงเทพมหานครควรนําเสนอประเด็นใดบ้าง และ ควรมีแหล่งข่าวใดบ้าง เพื่อให้ข่าวนั้นมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้อง ควรเสนอภูมิหลังด้านใดบ้าง ไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว

แนวคําตอบ (เอกสารประกอบการสอน MCS 2260 หน้า 15 – 18, (คําบรรยาย)

ประเด็นข่าวที่ควรรายงาน มีดังนี้

– ฝนตกหนักทําให้มีพื้นที่ถูกน้ําท่วมขังจํานวนกี่จุด บนถนนสายใดบ้าง น้ำขังท่วมสูงถึง ระดับไหน เขตใดมีปริมาณน้ำฝนสูงสุด กี่มิลลิเมตร ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำแต่ละจุด เป็นอย่างไร และเกิดอุบัติเหตุจากฝนตกน้ำท่วมที่ไหน ระบุพิกัดมาให้ชัดเจน

– สาเหตุที่ทําให้เกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร เกิดจากผลกระทบของพายุที่เข้ามาประเทศไทยกี่ลูก และสถานการณ์ฝนตกหนักเช่นนี้จะดีขึ้นเมื่อไร

– การระบายน้ำของกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไร จุดไหนบ้างที่มีน้ำท่วมสูง และแถวไหน ที่มีน้ำแห้งแล้วบ้าง อุโมงค์ระบายน้ำของ กทม. ทํางานได้ดีแค่ไหน มีอุปสรรคและการแก้ปัญหาอย่างไร

– สภาพการจราจรเป็นอย่างไร การระบายรถของตํารวจและการช่วยเหลือรถที่ติดขัด ถนนสายไหนที่มีรถจอดเสีย/น้ำท่วมสูง และควรเตือนให้ประชาชนวางแผนการเดินทางหรือหลีกเลี่ยงเส้นทางใดบ้าง

– สัมภาษณ์ผู้ว่ากรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการทํางานลงพื้นที่ดูแลเรื่องการระบายน้ำ และมาตรการช่วยเหลือประชาชนเบื้องต้น รวมทั้งมาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในอนาคต

– ความรู้สึกของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ ความลําบากในการเดินทาง และความเสียหายของรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ที่ใช้เส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง รวมทั้งสภาพ ความเสียหายของอาคารบ้านเรือนที่โดนน้ำท่วม

– รายงานเรื่องการพยากรณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และการเตือนภัยเกี่ยวกับ พายุที่อาจส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยในวันข้างหน้า

แหล่งข่าวที่จําเป็นสําหรับข่าวดังกล่าว

– ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
– สํานักการระบายน้ํากรุงเทพมหานคร
– ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กทม.
– เจ้าหน้าที่ กทม. ที่ทําหน้าที่ระบายน้ำและเก็บขยะ
– เจ้าหน้าที่ตํารวจจราจร อาสาสมัครกู้ภัย
– ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนที่ได้รับผลกระทบ
– กรมอุตุนิยมวิทยา
– กองอํานวยการน้ำแห่งชาติ
– สถานีวิทยุที่รายงานการจราจร
– เว็บไซต์หรือ Facebook ของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้
– เพจชื่อดัง/ทวิตเตอร์ของผู้ใช้สื่อออนไลน์ที่แจ้งปัญหาน้ำท่วม พร้อมรูปภาพประกอบ

ภูมิหลัง (Background) ของเรื่องที่ควรนําเสนอ

– ความเป็นมาของเหตุการณ์ที่ว่า จากกรณีเกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ช่วงเวลาใด ต่อเนื่องถึงช่วงเวลาไหน ของวันที่เท่าไหร่ สร้างความปั่นป่วนโกลาหล ในการเดินทางอย่างไร ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินของประชาชนมากน้อยเพียงใด และ ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

– แนวโน้มปีนี้จะมีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครซ้ํารอยกับปี 2554 หรือไม่เทียบสถิติปริมาณฝนสะสมย้อนหลัง จํานวนพายุและมรสุมหรือร่องมรสุมที่พัดผ่านเข้ามายังประเทศไทย

Advertisement