การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1450 (MCS 1400) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 กสทช. หมายถึงอะไร
(1) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(2) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(3) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(4) คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ
ตอบ 3 ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญ” ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรอิสระของ รัฐองค์กรหนึ่งที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการสรรหา องค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสทช.” จํานวน 11 คน

Advertisement

2 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีรายได้ในการดําเนินกิจการจากข้อใด
(1) ค่าเช่าเวลาโฆษณาจากเจ้าของสินค้า
(2) ภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดิน
(3) ค่าเช่าเวลาจากบริษัทผู้ผลิตรายการ
(4) ภาษีค่าธรรมเนียมเครื่องรับโทรทัศน์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีรายได้ในการดําเนินกิจการ ด้วยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจาก สุราและยาสูบ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท จึงถือเป็นการ จัดเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ที่จําหน่ายสุราและยาสูบมาเป็นเงินบํารุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

3. รัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์
คือข้อใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2545
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือวิทยุและโทรทัศน์ไทยไม่จําเป็นต้องเป็นของรัฐทั้งหมด แต่จะเปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีและ เป็นธรรม ซึ่งเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อนี้ก็ยังใช้ต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 มาตรา 47

4. แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยในรัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) State System
(2) Free Market System
(3) Public Service System
(4) Mixed System

ตอบ 4 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยปัจจุบันตาม รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่าง ปี การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับการสื่อสารในตลาดเสรี) ทั้งนี้เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและ โทรทัศน์ไทยมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

5. กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 (3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ที่ออกมาฉบับล่าสุดและบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

6 การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพากันและกันทั่วทั้งโลก ตรงกับความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ระดับใด
(1) ระดับบุคคล
(2) ระดับสังคม
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับโลก
ตอบ 4 หน้า 7, 13 – 14 ความสําคัญของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ระดับโลก มีดังนี้ 1. การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก 2. การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความบันเทิง 3. การใช้เป็นสื่อที่ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันทั่วทั้งโลก

7 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย คือ
(1) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
(2) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง
(3) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท
(4) สถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 หน้า 34 – 36, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยทางราชการได้ทําพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการและถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7) ซึ่งถือเป็น จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย จากนั้นในปี พ.ศ. 2481 สถานีวิทยุแห่งนี้ก็ได้โอน กิจการมาสังกัดสํานักงานโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย”

8 ราดิโอ โทรเลข เป็นคําเรียกชื่อสื่อใด
(1) วิทยุโทรเลข
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุแบบแร่
ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคําเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่จะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก และภายหลัง ราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คําเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง

9 Wireless หมายถึงข้อใด
(1) โทรศัพท์
(2) โทรเลข
(3) วิทยุ
(4) โทรทัศน์

ตอบ 3 หน้า 2 คําว่า “วิทยุกระจายเสียง” มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “วิทยุ” ในขณะที่ชาวอังกฤษนิยม ใช้คําดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ Radio

10. Broadcasting หมายถึงข้อใด
(1) การแพร่ภาพ
(2) การกระจายเสียง
(3) การออกอากาศรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ไปสู่สาธารณชน
(4) การแสดงทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณชน
ตอบ 3 หน้า 1 คําว่า “Broadcasting” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ในขณะที่สารานุกรมบริแทนนิกาได้ให้ความหมายไว้ว่า “Broadcasting” คือ การออกอากาศ รายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ผู้รับซึ่งเป็นสาธารณชนทั่วไป

11. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(2) 10 ธันวาคม 2475
(3) 24 มิถุนายน 2498
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

12. จุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) 10 ธันวาคม 2475
(2) 24 มิถุนายน 2498
(3) 25 กุมภาพันธ์ 2473
(4) 20 สิงหาคม 2500
ตอบ 2 หน้า 42, 44 – 45 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) ในสังกัดของสํานักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย ดังนั้น กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) จึงมีอายุ 61 ปี

13. การส่งวิทยุกระจายเสียงที่ไม่ต้องใช้คลื่นความถี่เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงทั่วไป
หมายถึงข้อใด
(1) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์นัล
(2) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินฟราเรด
(3) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินทราเน็ต
ตอบ 3 หน้า 82 – 83 การส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการแปลง (Convert) ระบบกระจายเสียงจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital โดยไม่ต้องใช้คลื่นความถี่ เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งเมื่อคนต้องการฟัง และชมก็สามารถ Click เข้าไปที่ Website นั้น ๆ ได้ เรียกว่า Web-Radio และ Web-TV

14. องค์กรแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมและกํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย คือข้อใด
(1) กกช.
(2) กบว.
(3) กทช.
(4) กสทช.
ตอบ 2 หน้า 118 – 121, (คําบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทยได้ออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” (กบว.) ขึ้นเป็นองค์กรแรก เพื่อควบคุมและกํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่ต่อมาองค์กรนี้ก็ได้ถูกยุบเลิกไป และเกิดองค์กรอิสระต่าง ๆ ขึ้นมาตามลําดับ ได้แก่ กกช. กทช. กสช. และ กสทช. ในปัจจุบัน

15. เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ออกประกาศ คําแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐ ที่มีอํานาจในขณะนั้น สื่อได้ทําบทบาทนี้เพื่ออะไร
(1) เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ
(2) เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ
(3) เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
(4) เพื่อผลประโยชน์ขององค์กรสื่อ
ตอบ 2 เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยมักถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการนําเสนอประกาศ คําสั่ง และ คําแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐที่มีอํานาจในขณะนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากที่สุด

16. สื่อใดต่อไปนี้ที่มีผลต่อการครอบงําอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยมากที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของวิทยุโทรทัศน์ที่ทําให้เกิดประสิทธิภาพจูงใจมากกว่าสื่ออื่น คือ สามารถแสดงภาพให้เห็นจริงและประทับใจ เพราะการเห็นพร้อมการฟังจะมีประสิทธิภาพสูง จึงสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้วิทยุโทรทัศน์ยังสามารถส่งเสริมประสบการณ์ ได้ดีที่สุดเมื่อได้เสนอสาระอันเป็นรูปธรรม จึงทําให้กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุด และสามารถครอบงําอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยได้มากที่สุดในปัจจุบัน

17. การนําเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสํานักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก ตรงกับ
ผลกระทบข้อใด
(1) การไหลของข้อมูลข่าวสารทางเดียว
(2) การไหลของข้อมูลข่าวสารสองทาง
(3) การสื่อสารไร้พรมแดน
(4) การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
ตอบ 3(คําบรรยาย) การสื่อสารไร้พรมแดน (Globalization) มีผลกระทบในด้านลบประการหนึ่ง คือ การสื่อสารไร้พรมแดนจะทําให้ประเทศด้อยพัฒนาสูญเสียเอกราชทางวัฒนธรรมของตนเองหรือเกิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ทําให้ประเทศอภิมหาอํานาจโลกกลายเป็นศูนย์กลางในการไหลของข้อมูลข่าวสารที่สามารถครอบงําอุดมการณ์ความคิดของคนทั้งโลกได้ เช่น การนําเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสํานักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก

18. การควบคุมภายนอกของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด
(1) กลุ่มผลักดันทางสังคม
(2) กฎหมายทางอ้อม
(3) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์
(4) สมาคมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 125 – 127 โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. การควบคุมของรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช., การออกกฎหมาย ที่บังคับใช้โดยตรงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ที่ออกมา ในรูปของหนังสือเรียนและคําสั่งอื่น ๆ ฯลฯ
2. การควบคุมกันเอง ได้แก่ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้ง การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ฯลฯ
3. การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชม ผู้ฟัง, ผู้อุปถัมภ์รายการ และกลุ่มผลักดันทางสังคม

19. สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยหน่วยงานใด
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(2) บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน)
(3) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(4) กรมประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

20. สถานีโทรทัศน์ใดที่ได้รับสัมปทานในการดําเนินงานจากหน่วยงานรัฐในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือ (1) โมเดิร์นไนน์ทีวี
(2) ช่อง 7
(3) NBT
(4) ช่อง 5
ตอบ 2 หน้า 47, 136 – 137 สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์สี กองทัพบกช่อง 7 จัดเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด) ได้รับสัมปทานในการดําเนินงานจากหน่วยงานของรัฐ (กองทัพบก) ในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ ซึ่งเริ่มแพร่ภาพออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

21. สถานีโทรทัศน์ใดที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
(1) NBT
(2) ITV
(3) TITV
(4) Thai PBS
ตอบ 2 หน้า 52, 54 — 56, (คําบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เกิดกระแสการเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งต่อมาก็ได้มีการ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ITV : Independent Television หรือทีวีเสรี ปัจจุบันคือ ไทยพีบีเอส) ขึ้นมา เพื่อเสนอข่าวสารอย่างเป็นกลางโดยปราศจากอํานาจของรัฐและนายทุนจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการเสนอรายการข่าวครั้งใหญ่ในประเทศไทย

22. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550
(2) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
(3) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
(4) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
ตอบ 2 (ข่าว) ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมี สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส (TPBS)หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรก ของประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานัก นายกรัฐมนตรี (สปน.)

23. สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน ได้แก่
(1) สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และระบบ UHF
(2) สถานีที่ออกอากาศทางเคเบิล
(3) สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม
(4) สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 หน้า 82 สถานีวิทยุโทรทัศน์ในโลกปัจจุบันนี้มีวิธีการแพร่ภาพโดยอาศัยเทคโนโลยี ดังนี้
1. สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางคลื่นภาคพื้นดิน (Terrestrial Television หรือ Over-the air) ได้แก่ สถานีที่ออกอากาศในระบบ VHF และระบบ UHF
2. สถานีที่ออกอากาศทางสายเคเบิล (Cable Television)
3. สถานีที่ออกอากาศทางดาวเทียม ได้แก่ สถานีที่ใช้ดาวเทียมเชื่อมสัญญาณ หรือสถานีที่ออกอากาศด้วยสัญญาณดาวเทียม (Direct Broadcast Satellite : DBS)
4. สถานีที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต (Web Television)

24. ผลเสียที่ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 88, 94 – 95 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามแนวความคิดของไรท์ มีผลเสียดังนี้
1. ไม่สามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชนได้เท่าละครเวทีและวรรณกรรมคลาสสิก
2. ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป
3. ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า
4. เป็นการทําลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา

25 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
(1) บุคคล กลุ่ม สังคม
(2) บุคคล สังคม สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
(3) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร นักสื่อสารมวลชน
(4) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
ตอบ 4 หน้า 95 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการ ให้สื่อมวลชนทําอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทําหน้าที่อะไรให้แก่ตนและสังคม ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่
1. สังคม (Society)
2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate)
3. สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media/Mass Communicators)
4. มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

26. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร ตรงกับข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 2 หน้า 102 – 104, (คําบรรยาย) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร และมองว่าผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชา จึงถูกกระทํา จากข้อมูลข่าวสาร โดยพิจารณาจาก
1. ความสามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมากได้ โดยตรง และการเปิดรับของผู้รับสาร คือ สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่ และผู้รับสารก็จะต้องเปิดรับสื่อด้วย
2. มีอิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม และแนวคิดยกย่องผู้นํา ฯลฯ
3. มีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจํานวนมากใน ลักษณะคล้ายคลึงกัน ทําให้วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็น “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคมเกือบทั้งหมด

27. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง ตรงกับข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 1 หน้า 105 นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์หลายท่าน เช่น แคลปเปอร์ (Klapper) เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง เนื่องจากผู้รับสาร จะมีความฉลาด มีควากระตือรือร้น และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจาก สื่อมวลชน ซึ่งผู้รับสารที่เปิดรับสื่อสามารถคิดและวิเคราะห์ ไม่ใช่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิด ของบุคคลมากมาย โดยอิทธิพลของสื่อมวลชนจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการทํางานร่วมกับ ปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน บรรยากาศทางสังคม ฯลฯ

ข้อ 28 – 36. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร

28. อิทธิพลของสื่อมวลชนขึ้นกับการทํางานร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน ฯลฯ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. ผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชา ถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

30. ผู้รับสารมีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

31. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
ตอบ 3 หน้า 106 – 107 แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร ทางอ้อม โดยอาศัยปัจจัยเสริมต่าง ๆ ได้แก่
1. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
2. กระบวนการเลือกรับสาร
3. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
4. ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสาร

32. กระบวนการเลือกรับสาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

34. “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

35. อิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

36. สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

37. ผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐอเมริกา ตรงกับข้อใด
(1) เออร์ลี เอ็ม. เทอร์รี่
(2) ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์
(3) เดวิด ซาร์นอฟ
(4) แฟรงค์ คอนราด
ตอบ 2 หน้า 155 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกกิจการ วิทยุกระจายเสียงของโลก โดยมีสถานีวิทยุอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นสถานีในยุคแรก ได้แก่ สถานี KCBS ถือเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยมีศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์ (Charles David Herrold) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง คนแรกของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุ WHA, WWJ และ KDKA

38. BBC World หมายถึงข้อใด
(1) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
(2) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหราชอาณาจักร
(3) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
(4) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของญี่ปุ่น
ตอบ 2 หน้า 163 – 165 การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร คือ สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาต่างประเทศ (BBC External Broadcasting Service) ซึ่งได้เริ่มส่ง กระจายเสียงคลื่นสั้นไปยังต่างประเทศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เรียกว่า Empire Service ทั้งนี้เพราะในช่วงระยะ 6 ปีแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก ต่อมาจึงขยายวงกว้างขึ้นจนเป็นบริการระดับโลก เรียกว่า BBC World Service (บีบีซี ภาคบริการโลก) เมื่อปี ค.ศ. 1988

ข้อ 39 – 41. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ
(2) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อบรรษัทสาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3

39. สหรัฐอเมริกา
ตอบ 1
หน้า 167, (คําบรรยาย) ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะ จัดตั้งขึ้นเพื่อการค้า (มีถึง 90%) และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อสาธารณะ (มีเพียง 10%) ก็ให้ถือว่า เป็นกิจการของเอกชน และดําเนินงานโดยระบบธุรกิจการค้าเอกชน (Private Ownership and Operation) ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะมิได้มีการจัดสรรคลื่นเอาไว้ให้แต่หน่วยราชการ ดังนั้น เอกชน นิติบุคคล องค์กรสาธารณะต่าง ๆ ก็มีสิทธิจัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้

40. อังกฤษ
ตอบ 5
หน้า 113, 165 – 166, 169, 172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ประเทศญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ
1. ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรและไม่มี โฆษณาธุรกิจการค้า แต่จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) ซึ่งมีลักษณะเหมือนบรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK)
2. ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) เป็นระบบการกระจายเสียงเพื่อการค้า ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

41. ญี่ปุ่น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

42. แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประกอบด้วยมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม

ตอบ 2 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Service System) ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจากสังคมประชาธิปไตยที่เน้นความเชื่อ สังคมนิยมในการที่รัฐจะเข้ามาจัดระบบบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การคมนาคม ไฟฟ้า ประปา ตลอดจนระบบการสื่อสารโทรคมนาคม

43. แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี ประกอบด้วยมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 1 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี (Free Market System) ประกอบด้วยมิติทางการเมือง และเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจากสังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม

44 แนวคิดการสื่อสารแบบผสมผสาน (Mixed System) ตรงกับข้อใด
(1) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารในตลาดเสรี
(2) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(3) การสื่อสารในตลาดเสรีผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(4) การสื่อสารระบบพหุนิยมผสมผสานกับการสื่อสารระบบข้ามชาติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

45. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ AM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 2 หน้า 67 – 69 การแพร่คลื่นทางวิทยุกระจายเสียงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การแพร่คลื่นตรง ใช้กับการส่งคลื่นวิทยุของระบบเอฟเอ็ม (FM) ซึ่งส่งในแถบความถี่สูงมาก (VHF)
2. การแพร่คลื่นพื้นดิน ใช้กับการส่งคลื่นวิทยุของระบบเอเอ็ม (AM) ซึ่งส่งในแถบความถี่ ปานกลาง (MF) บางส่วน คือ ระหว่างความถี่ 550 – 1,600 kHz
3. การแพร่คลื่นฟ้า ใช้กับการส่งคลื่นวิทยุของระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นสั้น ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ ในการส่งได้เป็นระยะทางไกลกว่าการส่งวิทยุกระจายเสียงอื่น

46. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้น นิยมใช้การแพร่คลื่นแบบใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48. รัฐธรรมนูญฉบับใดที่นําไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 2 หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 วรรคสอง ได้กําหนดให้ มีองค์กรอิสระของรัฐจํานวนสององค์กรที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการ ตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสช.” และมาตรา 46 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กทช.”

49. การจัดตั้งองค์กรอิสระที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ณ เวลานี้มาจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใด
(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

50. เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด
(1) การออกกําลังกาย
(2) การสอนทําอาหารไทย
(3) การบรรยายธรรม
(4) การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์
ตอบ 3(คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคํานึงหรือจินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ
1. ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
2. แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ
3. ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ
4. การจูงใจให้คิดหรือทํา (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

51. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจมากกว่าสื่อมวลชน เป็นแนวคิดของใคร
(1) วิลเบอร์ แซรมม์
(2) พอล ลาซาร์สเฟลด์
(3) ออกูส กงเต้ เฟอร์ดินันท์
(4) นักทฤษฎีสังคมมวลชน
ตอบ 2 หน้า 107, (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ) พอล ลาซาร์สเฟลด์ (Paul Lazarsfeld) เป็นนักวิชาการ ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดการไหลของข่าวสาร 2 ระดับ (Two-step Flow) และพบว่าอิทธิพลของบุคคล (Personal Influence) และผู้นําความคิด (Opinion Leader) หรือคนใกล้ตัว เป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนมากกว่าสื่อมวลชน

52. ผู้รับสารมีความฉลาด และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ตามแนวคิดนี้
ตรงกับข้อใด
(1) วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) วิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง
(3) วิทยุและโทรทัศน์ทําให้เกิดผลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อทุกคนในลักษณะคล้ายคลึงกัน
(4) วิทยุและโทรทัศน์จะสนับสนุนทัศนคติ ค่านิยม และแนวโน้มด้านพฤติกรรมของประชาชนให้มี
ความเข้มแข็งขึ้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

53. ปัจจัยเสริมที่ทําให้วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม หมายถึงข้อใด
(1) ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารจําเป็นต้องพึ่งพามาก
(2) การสามารถเข้าถึงประชาชนจํานวนมาก
(3) การนําเสนอเรื่องราว กิจกรรมซ้ำ ๆ บ่อย ๆ
(4) ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

54. สัญญาณเรียกขานประเทศไทยที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศกําหนดให้ คือ
(1) AS
(2) HS
(3) JS
(4) SS
ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้กําหนดคํานําหน้า สัญญาณเรียกขาน (Prefix) สําหรับสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อตกลง ระหว่างประเทศที่จะเข้าใจได้อย่างตรงกัน โดยแต่ละประเทศจะมีคํานําหน้าสัญญาณเรียกขาน ที่กําหนดให้สําหรับประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศไทยมีคํานําหน้าสัญญาณเรียกขาน คือ HS และ E2 เป็นต้น

55. วิทยุเอฟเอ็ม ส่งในย่านความถี่ใด
(1) LF
(2) MF
(3) HF
(4) VHF
ตอบ 4 หน้า 59 การจําแนกแถบคลื่นความถี่วิทยุตามลักษณะการใช้งานด้านการกระจายเสียง ตามข้อบังคับวิทยุของ ITU เมื่อ พ.ศ. 2490 มีดังนี้
1. ความถี่ต่ำ (LF) ได้แก่ 30 – 300 kHz ใช้ส่งได้ในระยะใกล้ ๆ
2. ความถี่ปานกลาง (MF) ได้แก่ 300 – 3,000 kHz ใช้ส่งวิทยุเอเอ็ม (AM)
3. ความถี่สูง (HF) ได้แก่ 3 – 30 MHz ใช้ส่งวิทยุคลื่นสั้นและวิทยุตํารวจ
4. ความถี่สูงมาก (VHF) ได้แก่ 30 – 300 MHz ใช้ส่งวิทยุเอฟเอ็ม (FM) และส่งโทรทัศน์
ระบบ VHF
5. ความถี่เหนือสูง (UHF) ได้แก่ 300 – 3,000 MHz ใช้ส่งโทรทัศน์ระบบ UHF วิทยุของ
หน่วยราชการ และโทรศัพท์มือถือ
6. ความถี่สูงพิเศษ (SF) ได้แก่ 3,000 – 30,000 MHz ใช้ส่งโทรทัศน์ระบบไมโครเวฟ ดาวเทียมสื่อสาร เรดาห์ตรวจพายุ และสงวนไว้สําหรับกิจการทหาร

56. ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์ระบบ 525 เส้น จะมีจํานวนภาพเท่าใดต่อวินาที
(1) 24 ภาพ/วินาที
(2) 25 ภาพ/วินาที
(3) 30 ภาพ/วินาที
(4) 35 ภาพ/วินาที
ตอบ 3 หน้า 70 วิทยุโทรทัศน์ระบบ 525 เส้น จะมีภาพนิ่งปรากฏบนจอโทรทัศน์จํานวน 30 ภาพ/วินาที แต่ถ้าเป็นวิทยุโทรทัศน์ระบบ 625 เส้น จะมีภาพนิ่งปรากฏบนจอโทรทัศน์จํานวน 25 ภาพ/วินาที

57. ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์ระบบ 625 เส้น จะมีจํานวนภาพเท่าใดต่อวินาที
(1) 24 ภาพ/วินาที
(2) 25 ภาพ/วินาที
(3) 30 ภาพ/วินาที
(4) 35 ภาพ/วินาที
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. ระบบส่งโทรทัศน์ทางสายเคเบิลโดยตรง จัดเป็นเคเบิลทีวีประเภท
(1) CATV
(2) CTV
(3) RSTV
(4) DBS
ตอบ 1 หน้า 77 เคเบิลทีวีแบ่งตามลักษณะการส่งสัญญาณได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบการส่งวิทยุโทรทัศน์ทางสายเคเบิลโดยตรง (Community Antenna Television : CATV)
2. ระบบการส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ (Radiated Subscription Television : RSTV) เป็นระบบส่งสัญญาณแบบไมโครเวฟ และใช้ความถี่แบบ MMSD
3. เคเบิลทีวีระบบดาวเทียม จะใช้คลื่นไมโครเวฟเหมือนกัน แต่ในย่านความถี่สูงกว่าไมโครเวฟ ที่ส่งด้วย RSTV เรียกว่า ย่านความถี่ C-BAND หรือ KU-BAND

59. นักวิทยาศาสตร์คํานวณให้ดาวเทียมโคจรรอบโลกให้สูงจากพื้นโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรกี่กิโลเมตร
(1) 36,000 กม.
(2) 38,000 กม.
(3) 40,000 กม.
(4) 42,000 กม.
ตอบ 1 หน้า 79 จากการคํานวณของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ตําแหน่งเหมาะสมที่จะให้ดาวเทียม โคจรรอบโลก โดยให้ลอยสูงจากพื้นโลกเหนือเส้นศูนย์สูตร คือ ประมาณ 36,000 กิโลเมตร

60. ผู้เสนอแนวคิดดาวเทียมค้างฟ้า คือ
(1) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(2) อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก
(3) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน
ตอบ 2 หน้า 79 ในปัจจุบันเราเรียกดาวเทียมที่ดูเหมือนว่าลอยอยู่นิ่ง เมื่อเทียบกับโลกหมุนรอบ ตัวเองว่า “ดาวเทียมค้างฟ้า” (Geostationalry Satellite) และแถบบริเวณที่ดาวเทียมค้างฟ้า ลอยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรรอบโลกเราจะเรียกว่า “เข็มขัดของคลาร์ก” (Clarke ‘s Belt) ตามชื่อของผู้เสนอแนวความคิดนี้ คือ อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. Clarke)

61.Intelsat ถือเป็นดาวเทียมระดับใด
(1) ระดับโลก
(2) ระดับภูมิภาค
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับท้องถิ่น
ตอบ 1หน้า 80 – 81 ดาวเทียมในระดับโลก ซึ่งอยู่ในวงโคจรโลกขณะนี้มีอยู่ 2 ดวง ได้แก่
1. ดาวเทียม Intelsat เป็นองค์กรดาวเทียมโทรคมนาคมระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1964 ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 49 ใช้บริการดาวเทียมดวงนี้ผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทย
2. ดาวเทียม Intersputnik เป็นองค์กรดาวเทียมโทรคมนาคมระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1971 โดยกลุ่มประเทศที่ปกครองแบบสังคมนิยม

62. ระบบการทําข่าวผ่านดาวเทียม หมายถึงข้อใด
(1) DTH
(2) SNG
(3) MMSD
(4) RSTV
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบการทําข่าวผ่านดาวเทียม (Satellite News Gathering : SNG) เป็นการ พัฒนาการทําข่าว ณ จุดเกิดเหตุ และส่งสัญญาณภาพกลับไปยังสถานีแม่เพื่อแพร่ภาพ ผ่านดาวเทียม โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดเล็กกะทัดรัดที่สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น

63.“Carrier Wave” หมายถึงข้อใด
(1) คลื่นยาว
(2) คลื่นวิทยุ
(3) คลื่นเสียง
(4) คลื่นสั้น
ตอบ 2 หน้า 62 คลื่นวิทยุมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คลื่นพาหะ (Carrier Wave) หรือคลื่นพาห์” ซึ่งการเรียกคลื่นวิทยุที่เครื่องส่งผลิตขึ้นว่าคลื่นพาห์ เนื่องจากคลื่นวิทยุทําหน้าที่เป็นพาหนะของคลื่นเสียง หรือเป็นตัวพาเสียงไปสู่ผู้ฟังที่อยู่ห่างไกลให้รับได้นั่นเอง

64. การส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบไมโครเวฟ ใช้คลื่นความถี่ประเภทใด
(1) HF
(2) SHF
(3) UHF
(4) VHF
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

65. ความเหมาะสมของสารที่ส่งในการกระจายเสียงระบบเอเอ็ม รายการประเภทใดต่อไปนี้ที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด
(1) รายการข่าว
(2) รายการเพลง
(3) รายการสนทนา
(4) รายการสารคดี

ตอบ 2 หน้า 67 – 68 ในเรื่องความเหมาะสมของสารที่จะส่งนั้น การกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) เหมาะกับการกระจายเสียงพูด เช่น รายการข่าว รายการอภิปรายหรือสนทนา รายการสารคดี ฯลฯ ส่วนการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) จะเหมาะกับรายการดนตรีหรือเพลง เช่น รายการดนตรี จากแผ่นเสียงและจากการแสดงสด ซึ่งจะให้ความไพเราะและสุนทรียรสกับผู้ฟังมากกว่า

66. การส่งกระจายเสียงในระบบ FM เป็นการผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุอย่างไร
(1) ทางด้านความกว้างของรูปคลื่น (Amplitude)
(2) ทางด้านความยาวของคลื่น (Wave Length)
(3) ทางด้านความถี่ (Frequency)
(4) ทางด้านความเร็ว (Speed Rate)
ตอบ 3 หน้า 63, 65, 67 ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่ 2 ระบบ ได้แก่
1. ระบบเอเอ็ม (AM) หมายถึง การผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุทางด้านความกว้างของรูปคลื่น (Amplitude) ทําให้ความกว้างของคลื่นสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามลักษณะเสียงที่เข้าไปผสม
2. ระบบเอฟเอ็ม (FM) หมายถึง การผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุทางด้านความถี่ (Frequency) ซึ่งเมื่อผสมกันแล้วคลื่นเสียงจะควบคุมให้ความถี่เปลี่ยนไปบ้างห่างบ้าง

67. การครอบคลุมพื้นที่ในการแพร่ของคลื่นวิทยุประเภทใดที่สามารถส่งได้เป็นระยะทางไกล
(1) คลื่นพื้นดิน
(2) คลื่นฟ้า
(3) คลื่นตรง
(4) คลื่นอ้อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

68. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เสรี หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ทีวีไทย
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

69. สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ทีวีไทย
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT
ตอบ 4 หน้า 50 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท. ในปัจจุบัน) จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทําหน้าที่ให้ความรู้ ให้การศึกษา เผยแพร่ข่าวสารการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐ และให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แม่ข่ายเพื่อถ่ายทอดไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนภูมิภาคในลักษณะเครือข่าย โดยเชื่อมโยงสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือระบบดาวเทียมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

70. ผลเสียต่อบุคคล การทําให้ประชาชนมึนเมา ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 89, 91 ไรท์ (Wright) อธิบายถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนว่า ก่อให้เกิดผลเสียต่อบุคคล ดังนี้
1. ข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายสามารถเพิ่มความวิตกกังวลให้แก่บุคคลได้
2. การได้รับข่าวสารมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสันโดษแก่บุคคลได้
3. การเข้าถึงข่าวสารจากสื่อมวลชนอาจทําให้บุคคลเกิดความเฉยเมย เฉื่อยชา และไม่สนใจทํางาน ซึ่งเป็นผลเสียที่เรียกว่า “การทําให้ประชาชนมึนเมา” (Narcotization)

71. ผลเสียต่อวัฒนธรรม ทําให้เกิดการรุกรานทางวัฒนธรรม ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 89, 92 ไรท์ (Wright) อธิบายถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนว่า ก่อให้เกิดผลเสียต่อวัฒนธรรม คือ การเผยแพร่ข่าวสารโดยไม่มีการควบคุมจะทําให้เกิดการรุกราน ทางวัฒนธรรมและทําลายวัฒนธรรมที่ดีงามของเราเอง เช่น กิริยามารยาทของไทย การแต่งกาย ความเสื่อมเสียทางศีลธรรม การมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงาน การสําส่อนทางเพศ การอยู่แบบสามีภรรยาเป็นเวลานานก่อนแต่งงาน ฯลฯ

72. ผู้บัญญัติศัพท์คําว่า วิทยุกระจายเสียง หมายถึงข้อใด
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) ราชบัณฑิตยสถาน
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

73 กระบวนการสรรหา กสทช. มาจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543
(2) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

74. ในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. ผู้ที่ทําหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่าจะมี กสทช. หมายถึงข้อใด
(1) กสช.
(2) กกช.
(3) กทช.
(4) กสท.
ตอบ 3 พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 78 ระบุว่า ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรอิสระของรัฐที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ (ในที่นี้คือกสทช.) ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการ ตาม พ.ร.บ. นี้เป็นการชั่วคราว (ในที่นี้คือ กทช. เป็นผู้ทําหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่าจะมี กสทช. เกิดขึ้น)

75. การกําหนดแผนแม่บทเพื่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่กิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) กสทช.
(4) คสช.
ตอบ 3 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 27 ระบุให้ กสทช. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมแผนความถี่วิทยุ และแผนเลขหมายโทรคมนาคม
2. กําหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ

76. กฎหมายได้กําหนดให้กิจการวิทยุและโทรทัศน์มีใบอนุญาตประเภทใดบ้าง
(1) บริการสาธารณะ และบริการธุรกิจ
(2) บริการระดับชาติ ท้องถิ่น และระดับจังหวัด
(3) บริการสาธารณะ บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
(4) บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
ตอบ 3 พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 10 ระบุว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่มี 3 ประเภท ดังนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ
2. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน
3. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการธุรกิจ

77. กรณีพิพาทของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกับหน่วยงานคู่สัญญาใดที่นําไปสู่การลงโทษปิดสถานี
(1) กองทัพบก
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) อ.ส.ม.ท.
(4) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (ข่าว) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทยที่ถูกมาตรการลงโทษให้ปิดสถานี ตามคําตัดสิน ของศาลปกครองสูงสุด คือ ไอทีวี เนื่องจากไอทีวีเกิดกรณีพิพาทกับหน่วยงานคู่สัญญา คือ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในกรณีที่ไอทีวีผิดสัญญาการจ่ายค่าสัมปทาน และการเสนอรายการในช่วง Prime Time ไม่เป็นไปตามสัญญาการประมูลข้อ 2 แต่ต่อมา ศาลปกครองสูงสุดก็มีคําสั่งคุ้มครองให้ออกอากาศต่อไปได้ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า TITV โดยมีเงื่อนไขว่า ทันทีที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สถานีวิทยุโทรทัศน์ TITV ต้องเปลี่ยนเป็นทีวีสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ

78. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ตรงกับข้อใด
(1) สนับสนุนผู้ที่อยู่ในอํานาจที่ถูกต้อง
(2) การเผยแพร่ความรู้ ความคิด บรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับกันของสังคม
(3) ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
(4) การให้สถานภาพทางสังคม รายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 95, 99 เดนิส เมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนในการ สร้างเอกลักษณ์ของบุคคล (Personal Identity) ตามแนวความคิดของมวลชนผู้รับสาร ได้แก่
1. สนับสนุนค่านิยมส่วนตัวของบุคคล
2. ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
3. ทําให้บุคคลเข้าใจตนเองมากขึ้น

79. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) คือข้อใด
(1) การรณรงค์เป้าหมายหลักของสังคม เช่น การเมือง
(2) การจัดลําดับความสําคัญ และสร้างความสอดคล้องกันในสังคม
(3) การแสดงถึงความสัมพันธ์ของอํานาจต่าง ๆ ในสังคม
(4) การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม
ตอบ 4 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนในการ สร้างความต่อเนื่อง (Continuity) ตามแนวความคิดของสังคม ได้แก่
1. การแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมย่อย และการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ ๆ
2. การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม

80. The advocate on media functions หมายถึงข้อใด
(1) นักสื่อสารมวลชน
(2) นักประชาสัมพันธ์
(3) มวลชนผู้รับสาร
(4) นักวิจารณ์

ตอบ 2 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ (The perspective of the “advocate on media functions) ได้แก่ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักสื่อสารการเมืองและธุรกิจ (Political and Business Communicators) นักรณรงค์ ฯลฯ ซึ่งทํางานให้หน่วยงานต่าง ๆ

81. บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อ สถานีวิทยุแห่งนี้ว่า “ทีเจ” ซึ่งย่อมาจากคําว่า “บูรฉัตรไชยากร

82. บุคคลที่บัญญัติคําว่า วิทยุโทรทัศน์ หมายถึงใคร
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 1 หน้า 3, 81 คําว่า “Television” นี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์และได้ บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า “วิทยุโทรทัศน์” (มักเรียกสั้น ๆ ว่า โทรทัศน์) ซึ่งหมายถึง การส่งและรับสัญญาณภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

83. บุคคลใดที่ได้นําเครื่องรับวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในไทย
(1) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
ตอบ 1 หน้า 32 ใน พ.ศ. 2450 กรมทหารเรือที่มีจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เป็นผู้บัญชาการ ได้นําเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้ในราชการทหาร เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีเดียวกันนี้กองทัพบกที่มีเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์เป็นเสนาธิการก็ได้สั่งเครื่องวิทยุสนามแบบมาร์โคนีมาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

84. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค เป็นความคิดริเริ่มของใคร
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, 149 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคนั้น เป็นความคิดริเริ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยท่านเล็งเห็นว่า วิทยุโทรทัศน์มีข้อจํากัดที่ไม่สามารถจะแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ จึงบัญชาให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยให้ทําหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่าย ในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2503

85. สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) ช่อง 3
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

86. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

87. ข้อใดเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
(1) ช่อง 3, ช่อง 3 HD
(2) ช่อง NBT, ช่อง MCOT
(3) ช่อง 7, ช่อง 7 HD
(4) ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องโมโน 29
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ใน พ.ศ. 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยแพร่ภาพคู่ขนานทั้ง 2 ระบบ ดังนี้
1. ระบบอนาล็อก คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติของไทย หรือฟรีทีวี (Free TV)
ที่ออกอากาศผ่านระบบเดิม มี 6 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3, 5, 7, 9 (MCOT หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี) 11 (NBT หรือ สทท.) และ TPBS (ทีวีไทย)
2. ระบบดิจิตอล คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่เกิดขึ้นมาภายหลัง หรือฟรีทีวี (Free TV) ที่ออกอากาศ ผ่านระบบดิจิตอล ได้แก่ ช่อง 3 HD, BBTV CH7, MCOT HD, PPTV, TNN 24, ไทยรัฐทีวี, โมโน 29, Spring News, New TV ฯลฯ

88. การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุเพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของไทยนั้น
ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ คือ
(1) คสช.
(2) กสทช.
(3) กรมประชาสัมพันธ์
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

89. องค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาล
ของแต่ละประเทศ คือองค์กรใด
(1) ABU
(2) EBU
(3) ITU
(4) RTU
ตอบ 3 หน้า 58, 115, 124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) มีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ

90. “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก” คือ
(1) ลี เดอ ฟอเรสต์
(2) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(3) เฮนริช เฮิรตซ์
(4) ถูกลิเอลโม มาร์โคนี
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 ใน พ.ศ. 2438 ถูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (Wireless Telegraph) สําเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้นําเอา การทดลองนี้ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

91. บุคคลแรกที่เป็นผู้นําเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จ คือ
(1) เฮนริช เฮิรตซ์
(2) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(3) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92.NHK (Nippon Hoso Kyokai)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

93.CBS (Columbia Broadcasting System)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 113, 168 ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดําเนินกิจการ ในรูปแบบของธุรกิจและมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณานั้น ในปัจจุบันจะมีเครือข่าย ระดับชาติที่สําคัญ ได้แก่ CBS (Columbia Broadcasting System), ABC (American Broadcasting Company) และ NBC (National Broadcasting Company)

94.PBS (Public Broadcasting Service)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 113, 168, (คําบรรยาย) PBS (Public Broadcasting Service) คือ ระบบวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร และมีรายได้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางของ สหรัฐอเมริกาที่ได้จัดตั้งขึ้นมาในภายหลัง เพื่อผลิตรายการที่ส่งเสริมคุณค่าทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการสาธารณะ เช่น รายการสําหรับเด็ก รายการสําหรับการศึกษา เป็นต้น

95.“ABU” หมายถึงอะไร
(1) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป
(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก
ตอบ 4 หน้า 115, 124 สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก (The Asian Pacific Broadcasting Union : ABU) มีสํานักงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่บริหารงานด้านการกระจายเสียงและให้ความร่วมมือกับประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศไทยก็มีความสัมพันธ์ด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสารรายการโดยผ่านสถาบันนี้

96. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ
1. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ
3. เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผู้ผลิตรายการ) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

97. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทําให้เกิดระบบแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 3 หน้า 111, 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของ ระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทําให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

98. ระบบนี้มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภค จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี) หรือระบบที่ธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ คือ ดําเนินการในรูป ตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกันอย่างเต็มที่ (Competition) โดยเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่ สมบูรณ์แล้วจะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด

99. ระบบนี้มีความเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันและ ในราคาที่เหมาะสม รัฐจึงมีความชอบธรรมในการดําเนินการแบบผูกขาด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) ประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) หรือระบบที่รัฐเป็น ผู้ให้บริการ โดยเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่าง เท่าเทียมกันและในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะดําเนินการผูกขาดในการ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์

100. ข้อใดหมายถึง สื่อทางเลือกของประชาชน
(1) การถ่ายทอดรายการของสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
(2) การถ่ายทอดรายการ คสช. คืนความสุขให้ประชาชน
(3) การดูรายการต่าง ๆ ทางสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น ยูทูป
(4) การฟังรายการข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สื่อทางเลือกหรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสารให้แก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับรู้ข่าวสาร ที่แตกต่างออกไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งมักจะถูกกําหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน เช่น สถานีวิทยุชุมชน, สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต, โทรทัศน์ดาวเทียม, เคเบิลทีวี ฯลฯ

Advertisement