การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเอมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือ นายบีและนายซี นายเอให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปี และทําสัญญาจะขายที่ดินกับนายสอง ต่อมานายหนึ่งและนายเอเดินทางไปต่างจังหวัด และประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ดังนี้นายปีและนายซีจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่ง และต้องขายที่ดินให้แก่นายสองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดก ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีนายเอให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปี

สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทรัพยสิทธิที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินให้สิทธิแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสิทธิ์เป็นเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น โดยจะเสียค่าเช่าหรือไม่ก็ได้ ซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินนั้น ถ้าไม่ได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ย่อมสามารถโอนกันได้และรับมรดกกันได้ ดังนั้น ไม่ว่าผู้ให้สิทธิหรือผู้รับสิทธิตาย สิทธิเหนือพื้นดินไม่ระงับและจะตกทอดแก่ทายาท

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเอได้ให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหนึ่งเป็นเวลา 10 ปีนั้น เมื่อ สิทธิเหนือพื้นดินตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้น เมื่อนายเอผู้ให้สิทธิและนายหนึ่ง ผู้รับสิทธิถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินต่อไปนั้น ย่อมไม่ระงับแต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท นายบีและนายซีทายาทของนายเอจึงไม่สามารถเรียกที่ดินคืนจาก ทายาทของนายหนึ่ง จะต้องให้ทายาทของนายหนึ่งใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินนั้นต่อไปจนครบ 10 ปี

2 กรณีนายเอทําสัญญาจะขายที่ดินกับนายสอง

การที่นายเอทําสัญญาจะขายที่ดินกับนายสองก่อนที่นายเอจะถึงแก่ความตายนั้น สัญญาจะขายที่ดิน ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

เมื่อนายเอถึงแก่ความตาย หน้าที่และความรับผิดตามสัญญาจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นมรดกและ ตกทอดไปยังทายาทตามมาตรา 1600 นายบีและนายซีจึงต้องขายที่ดินให้แก่นายสอง

สรุป

นายบีและนายซีจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่งไม่ได้ และนายบีและนายซี จะต้องขายที่ดินให้แก่นายสอง

 

ข้อ 2 นายดินจดทะเบียนสมรสกับนางเดือนมีบุตรคือ นายดํา นายเดชและนายดล ในส่วนของนายเดชได้จดทะเบียนสมรสกับนางแดง ส่วนนายดลได้จดทะเบียนรับนายชายมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบ ด้วยกฎหมาย นายดินและนางเดือนได้ถึงแก่ความตายแล้วด้วยโรคชรา ต่อมานางแดงได้ตั้งครรภ์ขึ้น ในขณะที่นางแดงตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน นายเดชประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายพร้อมกับนายดล หลังจากนายเดชและนายดลตายได้ 1 เดือน นายดํากลับป่วยและถึงแก่ความตาย ต่อมาหลังจาก นายดําตายได้ 2 เดือน นางแดงได้คลอดบุตรคือ ด.ช.ลีออง

ดังนี้จงพิจารณาการตกทอดมรดก ของนายดําที่มีเงินสดในธนาคารจํานวน 1,200,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคย เป็นสามี แล้วแต่กรณี”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ …

(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่

ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

มาตรา 1644 “ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายดําเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายดํามีทรัพย์มรดกคือเงินสดใน ธนาคารจํานวน 1,200,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายดําจะตกทอดแก่บุคคลใดนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 นายดินและนางเดือน ซึ่งเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายดําในฐานะ ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) นั้น ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนนายดําแล้วจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดํา เพราะทั้งสองไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

2 นายเดชและนายดล ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกและเป็นทายาท โดยธรรมตามมาตรา 1629 (3) นั้น เมื่อปรากฏว่านายดําเจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) และ (2) โดยหลักแล้วมรดกของนายดําย่อมตกได้แก่นายเดชและนายดล แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายเดชและนายดล ได้ถึงแก่ความตายก่อนนายดํา นายเดชและนายดลจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดํา เพราะทั้งสองไม่มีสภาพบุคคล ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง ส่วนกรณีที่นายเดชและนายดลมีบุตรคือ ด.ช.คืออง และนายชายนั้น ด.ช.ลีอองและนายชายจะเข้ามารับมรดกแทนที่นายเดชและนายดลได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของ ด.ช.ลีออง ในขณะที่นายเดชถึงแก่ความตายนั้น นายเดชมีบุตรซึ่งเป็น 1997 ในครรภ์มารดาอยู่ และเมื่อนางแดงภริยาของนายเดชได้คลอด ด.ช.ลีอองภายใน 310 วันนับแต่วันที่นายเดช “แก่ความตาย ด.ช.สีอองจึงเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่นายดําเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เมื่อคลอด ออกมาแล้วรอดอยู่จึงถือว่ามีสภาพบุคคลและเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเดชตามมาตรา 1536 วรรคหนึ่ง จึงมีความสามารถในการรับมรดกแทนที่นายเดชตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 เพราะเป็นผู้มีสิทธิบริบูรณ์ ในการรับมรดกตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่งและมาตรา 1644

กรณีของนายชาย การที่นายชายเป็นบุตรบุญธรรมของนายดล แม้จะถือว่านายชาย เป็นผู้สืบสันดานของนายดลตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ก็ตาม แต่เมื่อนายชายไม่ใช่ผู้สืบสันดาน โดยตรงของนายดล ดังนั้น นายชายจึงไม่สามารถเข้ารับมรดกของนายดําแทนที่นายดลได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643 และเมื่อมีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่เพียงคนเดียวคือ ด.ช.ลืออง ดังนั้นมรดกทั้งหมด แบ5 จํานวน 1,200,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ช.สีอองเพียงคนเดียวตามมาตรา 1634 (3)

สรุป

มรดกทั้งหมด ของนายดําจํานวน 1,200,000 บาท ตกได้แก่ ด.ช.ลีอองแต่เพียงคนเดียว

 

ข้อ 3 นายใหญ่จดทะเบียนสมรสกับนางน้อยแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน นายใหญ่จึงจดทะเบียนรับนางพิมเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย นางพิมอยู่กินฉันสามีภริยากับนายเลิศมีบุตรชื่อนายจิ๋ว ต่อมานายใหญ่ได้นางสวยเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง มีบุตรชื่อเด็กหญิงงาม นายใหญ่รับเด็กหญิงงาม มาอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียเล่าเรียนและให้ใช้นามสกุล นางพิมโกรธที่บิดาบุญธรรมของตนไปมีภริยาใหม่ และมีบุตรด้วยกันจึงใช้อาวุธปืนยิงนายใหญ่โดยเจตนาฆ่า แต่กระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสําคัญ นายใหญ่ ไม่ถึงแก่ความตาย ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจําคุกนางพิมฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ส่วนนางน้อยทําหนังสือให้ไว้แก่นายใหญ่ว่าตนเลี้ยงดูนางพิมไม่ดี หากนายใหญ่ถึงแก่ความตาย ตนขอสละสิทธิไม่รับทรัพย์มรดกของนายใหญ่ทั้งสิ้น หลังจากนั้น 1 ปี นายใหญ่ประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย โดยมีทรัพย์มรดกเป็นเงินสด 300,000 บาท บิดามารดานายใหญ่ถึงแก่ความตาย ไปก่อนแล้ว

ให้วินิจฉัยว่า ทรัพย์มรดกของนายใหญ่ตกได้แก่ผู้ใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้ เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย ลูกกาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการี หามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายใหญ่ถึงแก่ความตาย มรดกของนายใหญ่คือเงินสดจํานวน 300,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิรับมรดกและไม่มีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ ได้แก่

1 นางน้อย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายใหญ่จึงเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะ คู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

ส่วนกรณีที่นางน้อยได้ทําหนังสือให้ไว้กับนายใหญ่โดยระบุว่าหากนายใหญ่ถึงแก่ความตาย ตนขอสละสิทธิไม่รับทรัพย์มรดกของนายใหญ่ทั้งสิ้นนั้น ถือเป็นการสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึง ไม่มีผลเป็นการสละมรดกที่ชอบด้วยมาตรา 1619 ดังนั้น นางน้อยจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ตามส่วนของตน

2 นางพิม ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายใหญ่และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของนายใหญ่ เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโดยหลักแล้วนางพิมย่อมมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ในฐานะผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อปรากฏว่า นางพิมใช้อาวุธปืนยิงนายใหญ่โดยเจตนาฆ่า แต่ กระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสําคัญ นายใหญ่จึงไม่ถึงแก่ความตาย ละศาลได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจําคุกนางพิม ฐานพยายามฆ่านายใหญ่เจ้ามรดกโดยเจตนา นางพิมจึงถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายใหญ่ฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตามมาตรา 1606 (1)

แต่เมื่อนางพิมซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ได้ถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดก ตาย และนางพิมมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายจิ๋ว ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนางพิม ดังนั้น นายจิ๋วจึงมีสิทธิ เข้ารับมรดกของนายใหญ่แทนที่นางพิมได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

3 เด็กหญิงงาม ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายใหญ่เพราะเกิดจากนางสวยซึ่งมิได้ จดทะเบียนสมรสกับนายใหญ่ แต่เมื่อนายใหญ่รับเด็กหญิงงามมาอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียเล่าเรียนและให้ใช้นามสกุล จึงถือว่าเด็กหญิงงามเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ดังนั้น เด็กหญิงงามจึงมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627

ส่วนนางสวยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายใหญ่ นางสวยจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 วรรคสอง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่

เมื่อบุคคลซึ่งมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่มี 3 คน คือ นางน้อย นายจิ๋วในฐานะผู้รับมรดก แทนที่นางพิม และเด็กหญิงงาม ดังนั้นทั้ง 3 คน จึงมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนแบ่งเท่า ๆ กันตามมาตรา 1633 คือ จะได้รับส่วนแบ่งคนละ 100,000 บาท

สรุป ทรัพย์มรดกของนายใหญ่จํานวน 300,000 บาท จะตกได้แก่นางน้อย นายจิ๋ว และ เด็กหญิงงามคนละ 100,000 บาท

 

 

ข้อ 4 นายเงินและนางเพชรเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตร 2 คน คือ นายใหญ่และนายเล็ก นายใหญ่จดทะเบียนสมรสกับนางหญิงแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ทั้งสองจึงไปจดทะเบียนรับนายยอด มาเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต่อมานายเงินทําพินัยกรรมยกบ้าน 1 หลัง ราคา 900,000 บาท ให้กับนายเล็ก หลังจากนั้นนายเงินถึงแก่ความตาย นายเงินมีมรดกคือบ้าน 1 หลัง ตามที่ได้ระบุไว้ใน พินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท ซึ่งนายเงินไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้กับใคร นายเล็กได้เอา เงินมรดกจํานวน 400,000 บาท ไปเป็นของตนโดยทุจริต นายใหญ่ไม่อยากทะเลาะกับนายเล็ก เกี่ยวกับมรดกของนายเงิน นายใหญ่จึงทําหนังสือสละมรดกของนายเงินมอบไว้แก่ผู้อํานวยการ เขตบางรัก ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายเงิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มีให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง เฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเงินเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายเงินมีมรดกคือ บ้าน 1 หลัง ตามที่ ระบุไว้ในพินัยกรรม และเงินสด 600,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายเงินจะตกได้แก่ใครบ้าง แยกพิจารณาได้ดังนี้คือ

กรณีเงินสด 600,000 บาท ที่นายเงินมีได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ของนายเงิน ซึ่งได้แก่

1 นายใหญ่และนายเล็ก ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

2 นางเพชร ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้นนายใหญ่ นายเล็ก และ นางเพชร จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน คือคนละ 200,000 บาท ตามมาตรา 1633

สําหรับนายเล็กนั้น เมื่อเจ้ามรดกตายได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนโดยทุจริตจํานวน 400,000 บาท ถือเป็นการยกย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้นนายเล็กจึงต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายเงิน ในฐานะทายาทโดยธรรมเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง และเงินมรดกที่นายเล็กถูกกําจัดมิให้ได้รับจํานวน 200,000 บาทนั้น จะต้องนําคืนกองมรดาแล้วนําไปแบ่งให้แก่นายใหญ่และนางเพชรคนละ 100,000 บาท ดังนั้น นายใหญ่และนางเพชรจะได้รับมรดกของนายเงินคนละ 300,000 บาท

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายใหญ่ได้ทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายเงินมอบไว้แก่ ผู้อํานวยการเขตบางรัก ซึ่งเป็นการสละมรดกที่ได้ทําถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น นายยอดซึ่งเป็น บุตรบุญธรรม และมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิสืบมรดก ได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนที่นายใหญ่ผู้สละมรดกจะได้รับคือ 300,000 บาท ตามมาตรา 15155 วรรคสอง

สําหรับบ้าน 1 หลังราคา 900,000 บาท ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นายเงิน ทําพินัยกรรมยกให้กับนายเล็กโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคสอง คือ บ้านจะตกได้แก่นายเล็ก ในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยนายเล็กจะไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกในส่วนนี้

สรุป

มรดกของนายเงินที่เป็นเงินสด 600,000 บาท ตกได้แก่นางเพชรและนายยอดคนละ 300,000 บาท ส่วนบ้าน 1 หลัง ราคา 900,000 บาท ตกได้แก่นายเล็กตามพินัยกรรม

Advertisement