การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา THA1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. ข้อใดมีคำที่บอกอาการหรือลักษณะของคน
1. ว่องไว้ ซุบซิบ กระแทก
2. เตลิด กระเตื้อง ขวักไขว่
3. แช่มช้อย ล่ำสัน คล่องแคล่ว
4. อ่อนหวาน ทรหด พลุกพล่าน

Advertisement

ตอบ 3 หน้า 44, 47 (52067), 62 – 63 (H) ความหมายแฝง คือ ความ หมายย่อยที่แฝงอยู่ในความหมายใหญ่ ซึ่งจะแนะรายละเอียดบางอย่างไว้ในความหมายนั้น ๆ เช่น ความหมายแฝงที่บอกอาการหรือลักษณะของคนบางจำพวก ได้แก่
1. ลักษณะของผู้หญิง เช่น อ้อนแอ้น, แช่มช้อย,อ่อนหวาน, นิ่มนวล ฯลฯ
2. ลักษณะของผู้ชาย เช่น บึกบึน,ล่ำสัน,ทรหด ฯลฯ
3. ลักษณะของเด็ก เช่น งอแง,โยเย,จ้ำม่ำ ฯลฯ
4. ลักษณะของคนแก่ เช่น งกเงิ่น,หง่อม,ง่องแง่ง ฯลฯ
5. ลักษณะของคนที่แข็งแรงและขยันขันแข็ง เช่น ว่องไว,คล่องแคล่ว,กระฉับกระเฉง ฯลฯ

2. ข้อใดไม่ใช่คำที่แยกเสียงแยกความหมาย
1. กวด – ขวด
2. กว้าง – ขว้าง
3. กริบ – ขลิบ
4. กำจัด – ขจัด

ตอบ 4 หน้า 51 – 58 (52067), 65 – 66 (H) การ แยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคำบางคำที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสันสนว่าคำนั้นมีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อมและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ คำว่า กวด – ขวด, กว้าง –ขว้าง, กริบ – ขลิบ เป็นต้น (ส่วนคำว่า กำจัด – ขจัด เป็นคำที่ไม่แยกความหมาย หรือมีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ขับไล่ ปราบ หรือทำให้สิ้นไป)

3. ข้อใดมีคำซ้อนเพื่อความหมาย
1. เขาเป็นคนหนักแน่
2. เขาเป็นคนโลเล
3. เขาเป็นแม่งาน
4. เขาเป็นทหารผ่านศึก

ตอบ 1 หน้า 62 – 63, 67 – 73 (52067), 67 – 74 (H) คำซ้อน คือ คำ เดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คำ ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดคำใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. คำ ซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสำคัญ) ซึ่งอาจเป็นคำไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น หน้าตา,เล็กน้อย, หนักแน่น ฯลฯ หรืออาจเป็นคำไทยซ้อนกับคำภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขรม),ทรัพย์สิน (สันสกฤต + ไทย) ฯลฯ
2. คำซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสำคัญ) เช่น โลเล (สระโอ + เอ), เอะอะ (สระเอะ + อะ) ฯลฯ

4. ข้อใดใช้คำซ้อนเพื่อเสียง
1. เธอไม่ชอบกู้หนี้ยืมสิน
2. เธอเป็นแม่ครัวมือหนึ่ง
3. เธอมีทรัพย์สินมากมาย
4. เธอชอบเอะอะโวยวาย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5. ข้อใดใช้ไม้ยมก (ๆ) ถูกต้อง
1. มีของนา ๆ ชนิด
2. มีเด็กชายตัวดำ ๆ ใส่เสื้อสีแดง ๆ
3. มีผ้าลาย ๆ เรขาคณิต
4. มีเจ้าหน้าที่ ๆ รับผิดชอบเรื่องนี้

ตอบ 2 หน้า 76 – 77 (52067), 76 (H) คำซ้ำ คือ คำ คำเดียวกันที่นำมากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายต่างจากคำเดี่ยว ซึ่งวิธีการสร้างคำซ้ำก็เหมือนกับการสร้างคำซ้อน แต่ใช้คำคำเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมกกำกับ เช่น คำซ้ำที่ซ้ำคำขยาย ได้แก่ ตัวดำ ๆ (ตัวไม่ดำเสียทีเดียว แต่มีลักษณะไปทางดำ),เสื้อสีแดง ๆ (เสื้อไม่แดงทั้งตัว แต่มีสีแดงมากและเห็นชัดกว่าสีอื่น) เป็นต้น

6. ประโยคใดเป็นคำประสม
1. น้ำแข็งแล้ว
2. น้ำ / แข็ง / แล้ว
3. น้ำ / แข็งหมดแล้ว
4. น้ำแข็ง / หมดแล้ว

ตอบ 4 หน้า 80 – 81 (52067), 78 – 81 (H) คำประสม คือ คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คำใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่ง ความหมายสำคัญจะอยู่ที่คำต้น (คำตัวตั้ง)ส่วนที่ตามมาเป็นคำขยาย ซึ่งไม่ใช่คำที่ขยายคำต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คำทั้งคำมีความหมายจำกัดเป็นนับเดียว เช่น คำประสมที่ใช้เป็นคำนาม โดยมีคำตัวตั้งเป็นนามและคำขยายเป็นวิเศษณ์ ได้แก่ น้ำแข็ง หมายถึง น้ำชนิดหนึ่งที่แข็งเป็นก้อนด้วยความเย็นจัดตามธรรมชาติหรือทำขึ้น เป็นต้น หรืออาจเป็นคำประสมที่นำคำไทยมาประสมกับคำอังกฤษ ได้แก่ รถเมล์ ตู้โชว์ เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคำเดี่ยวเรียงกัน)

7. ข้อใดมีคำประสมทุกคำ
1. ในตู้โชว์มีเสื้อลายสีสวย
2. เขาขึ้นรถเมล์ไปซื้อน้ำแข็ง
3. เขาอยู่กินกับภรรยามาหลายปี
4. มีคนอยู่ในบ้านพักอย่างหนาแน่น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

8. ข้อใดใช้คำว่า “ผลัด” ไม่ถูกต้อง
1. ผลัดเวร
2. ผลัดเสื้อ
3. ผลัดเปลี่ยน
4. ผัดวันประกันพรุ่ง

ตอบ 4 คำว่า “ผลัด” หมายถึง เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร หรือ เป็นลักษณนามเรียกการผลัดเปลี่ยนเวรยาม เช่น เปลี่ยนเวรวันละ 3 ผลัด (ส่วนคำว่า “ผัด” หมายถึง ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้ หรือขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น ดวันประกันพรุ่ง)

9. “น้องปันกำลังปั่นจักรยาน ส่วนน้องปั๋นกำลังปั้นดิน” ข้อความนี้แสดงลักษณะใดของภาษาไทย
1. มีระบบเสียงสูงต่ำ
2. มีการใช้คำสุภาพตามฐานะของบุคคล
3. คำเดียวกันใช้ได้หลายหน้าที่
4. มีลักษณนามกับคำขยายบอกจำนวนนับ

ตอบ 1 หน้า 2, 33 – 37 (52067), 10, 55 , 59 (H) ระบบเสียงสูงต่ำ (เสียง วรรณยุกต์) ในภาษาไทย คือ การกำหนดเสียงสูงต่ำไว้ตายตัวในคำแต่ละคำ เพื่อต้องการแยกความหมาย โดยให้เสียงหนึ่งมีความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียงความหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เช่น ปัน (เสียงสามัญ) = แบ่ง แต่ในที่นี้ใช้เป็นเชื่อคน,ปั่น (เสียงเอก) = ทำให้หมุน,ปั้น (เสียงโท) = เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่น ขี้ผึ้ง ดินเหนียว มาปั้นให้เป็นรูปตามที่ต้องการ เป็นต้น

10. ประโยคใดแสดงกาล
1. เขากำลังกินข้าว
2. เขากินข้าวหรือยัง
3. เขายังไม่ได้กินข้าว
4. เขากินข้าวกับอะไร

ตอบ 1 หน้า 121 – 123 (52067) การแสดงกาล คือ การแสดงให้รู้ว่ากริยากระทำเมื่อไรซึ่งต้องอาศัยกริยาช่วยเพื่อบอกกาลเวลาที่ต่างกันดังนี้

1. บอกปัจจุบัน ได้แก่ อยู่, กำลัง, กำลัง..อยู่, กำลัง….อยู่แล้ว
2. บอกอนาคต ได้แก่ จะ, กำลังจะ, กำลังจะ..อยู่,กำลังจะ..อยู่แล้ว
3. บอกอดีต ได้แก่ ได้, ได้..แล้ว, ได้..อยู่แล้ว , เพิ่ง,มา

11. ข้อใดใช้สระเดี่ยวเสียงสั้น
1. ใจ
2. จด
3. จิ๋ว
4. จ้อง

ตอบ 2 หน้า 8 -14 (52067), 17 , 25 (H) เสียงสระในภาษาไทย ถ้านับทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวจะมีอยู่ 28 เสียง คือ
1. สระเดี่ยว 18 เสียง ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ (เสียงสั้น) อา อี อื อู เอ แอ เออ โอ ออ (เสียงยาว)
2. สระผสม 10 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ (เสียงสั้น) เอีย เอือ อัว อาว อาย (เสียงยาว)
(ส่วน “จิ๋ว” ถึงแม้จะมีสระเดี่ยว อิ แต่ลงท้ายด้วย ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระจึงถือเป็นสระผสม 2 เสียง คือ อิ + ว (อิ + อุ) = จิ๋ว)

12. คำใดสะกดด้วยสระ อื + อา + อี
1. มวย
2. ไม้
3. แมว
4. เมื่อย

ตอบ 4 หน้า 14 (52067), 24, 28 (H) คำ ว่า “เมื่อย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระจึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น เอือ + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้ เช่น อื + อา +อี =เมื่อย

13. ข้อใดใช้สระเดี่ยวเสียงยาวทุกคำ
1. เจ้า
2. แจว
3. เจือ
4. เจี๊ยบ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

14. คำใดใช้สระผสมเสียงสั้น
1. ไล่
2. ลุก
3. ลาย
4. เลือน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

15. คำใดใช้สระผสมเสียงยาว
1. โลภ
2. เลข
3. ลึก
4. ลวด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 11.ประกอบ

16. คำว่า “เที่ยว”มีเสียงสระใด
1. อี +อา + อุ
2. อู + อา + อี
3. อี + อา +อู
4. อื + อา + อี

ตอบ 3 หน้า 14 (52067), 24, 26 (H) คำว่า “เที่ยว” ลงท้ายด้วย ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระจึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ว เช่น เอีย + ว หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้ เช่น อี + อา + อู = เที่ยว

17. คำว่า “น้ำ” ข้อใดออกเสียงยาวกว่าคำอื่น
1. น้ำตาตกใน
2. แม่น้ำเจ้าพระยา
3. น้ำดื่มน้ำใช้
4. น้ำใจคนไทย

ตอบ 2 หน้า 15 – 16, 40 – 42, 90 – 91 (52067), 33 – 34, 60 – 61, 80 – 81 (H) อัตรา การออกเสียงสั้นยาวตามภาษาพุดมาตรฐานจะใช้มาตราในการวัดความยาวของเสียง คือ สระเสียงสั้นออกเสียง 1 มาตร สระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา นอกจากนี้ถ้าเป็นคำหลายพยางค์หรือคำประสม มักจะลงเสียงเน้นที่พยางค์หรือคำท้าย (ออกเสียงยาว 2 มาตรา) ส่วนคำพยางค์หน้าที่ไม่ได้ลงเสียงเน้นก็มักจะสั้นลง (ออกเสียงสั้นเพียง 1 มาตรา) เช่น คำว่า “น้ำ” ใน น้ำตา น้ำดื่มน้ำใช้ น้ำใจ ซึ่งเป็นคำประสมจะออกเสียงพยางค์หน้าสั้นราว 1 มาตรา ส่วนคำว่า “น้ำ” ใน แม่น้ำ จะออกเสียงพยางค์หรือคำท้ายยาวราว 2 มาตรา เป็นต้น

18. ข้อใดกระจายคำว่า “สรรค์” ไม่ถูกต้อง
1. พยัญชนะต้น = สร
2. สระ = สระอะ
3. ตัวสะกด = แม่กน
4. วรรณยุกต์ = เสียงจัตวา ไม่มีรูปวรรณยุกต์

ตอบ 1 หน้า 28 – 29 (52067) คำว่า “สรรค์” (ออกเสียงว่า สัน) เป็นคำยืมมาจากภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า สร้างให้มีให้เป็นขึ้น โดยมี “ส” เป็นพยัญชนะต้น ใช้สระอะ ใช้วรรณยุกต์เสียงจัตวา (ไม่มีรูปวรรณยุกต์) และใช้ตัวสะกดแม่กน (น ณ ร ล ฬ ญ ) ซึ่งในที่นี้คือ สรรค์ (ส่วนเสียงที่ไม่ต้องการออกเสียงจะใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตฆ่าเสียงเสีย)

19. พยัญชนะต้นข้อใดเป็นเสียงเสียดแทรก
1. เคว้งคว้าง
2. เก้งก้าง
3. ฟุ่มเฟือย
4. ขวนขวาย

ตอบ 3 หน้า 19 (52067), 40 – 41 (H) พยัญชนะเสียงเสียดแทรก คือ พยัญชนะที่เสียงถูกขัดขวางบางส่วน เพราะเมื่อลมหายใจผ่านช่องอวัยวะที่เบียดชิดกันมาก แล้วถูกกักไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของปาก แต่ก็ยังมีทางเสียดแทรกออกมาได้ เป็นเสียงที่ออกติดต่อกันได้นานกว่าเสียงระเบิด ได้แก่ พยัญชนะต้น ส (ซ ศ ษ ) และ ฟ (ฝ)

20. ข้อใดมีพยัญชนะที่เป็นอักษรควบแท้
1. จริงจัง
2. ขวักไขว่
3. สร้างสรรค์
4. ทรวดทรง

ตอบ 2 หน้า 22 – 26 (52067), 44 – 49 (H) การออกเสียงควบกล้ำในภาษาไทยมีอยู่ 2 ลักษณะดังนี้
1. เสียงกล้ำ กันสนิท (อักษรควบแท้) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงสองเสียงควบกล้ำไปพร้อมกันโดยเสียงทั้งสองจะร่วมเสียง สระและเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ซึ่งมีเพียงประเภทเดียวคือเมื่อพยัญชนะระเบิดนำแล้วตามด้วยพยัญชนะเหลวหรือ กึ่งสระ (ร ล ว) เช่น กวาง, ขวักไขว่, ขวาน, ผลุด ฯลฯ
2. เสียงกล้ำ กันไม่สนิท (อักษรควบไม่แท้) คือ พยัญชนะคู่ที่มาด้วยกันแต่ไม่ได้ออกเสียงทั้งสองเสียงกล้ำไปพร้อมกัน และไม่ได้ร่วมเสียงสระและเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน เช่น จริง (จิง), สร้าง (ส้าง),ทรวดทรง (ชวดซง), แทรก (แซก) ฯลฯ

21. ข้อใดเขียนตัวควบกล้ำ ไม่ถูกต้อง
1. เธอรูปร่างกะทัดรัด
2. เธอรีบไปกะทันหัน
3. เธอเป็นคนกะป้ำกะเป๋อ
4. เธอชอบกินหมูกะทะ

ตอบ 4 ข้อความในตัวเลือกข้างต้นเขียนตัวควบกล้ำไม่ถูกต้อง จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น เธอชอบกินหมูกระทะ

22. ข้อใดใช้ตัวสะกดเดียวกับคำว่า “มารค”
1. ราก
2. ราด
3. ราง
4. ราน

ตอบ 1 หน้า 27 – 29 (52067), 50 – 53 (H) พยัญชนะ ท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดในภาษาไทยจะมีได้เพียงเสียงเดียว แม้ในคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นจะมีพยัญชนะท้ายคำเรียงกันมามากกว่าเสียงเดียวก็ ตามโดยพยัญชนะตัวสะกดของไทยจะมีทั้งหมดเพียง 8 เสียงเท่านั้น ดังนั้น
1. แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3.แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ
5. แม่กง ได้แก่ ง
6. แม่กม ได้แก่ ม
7. แม่เกย ได้แก่ ย
8. แม่เกอว ได้แก่ ว

23. คำว่า “แทรก” อ่านออกเสียงแบบใด
1. อ่านแบบอักษรนำ
2. อ่านแบบเรียงพยางค์
3. อ่านแบบควบกล้ำแท้
4. อ่านแบบควบกล้ำไม่แท้

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

24. ข้อใดเขียนรูปวรรณยุกต์ถูกต้อง
1. ขนมคุ้กกี้ของฉัน
2. โน้ตบุ๊คของเธอ
3. เสื้อเชิ้ตของเขา
4. ขนมเค๊กของน้อง

ตอบ 2 หน้า 33 – 37 (56067), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ), เสียงเอก ( ก่ ),เสียงโท ( ก้ ),เสียงตรี( ก๊ ),และเสียงจัตวา ( ก๋ )ซึ่งในคำบางคำ รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง เช่น โน้ตบุ๊คของเธอ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้รูปวรรณยุกต์ผิดจึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ขนมคุกกี้ของฉัน, เสื้อเชิ้ตของเขา,ขนมเค้กของน้อง)

25. ข้อใดออกเสียงแบบเคียงกันมา
1. สมุด สนอง สนิท
2. เสม็ด แสลง สยอง
3. สดับ สบาย เสบียง
4. สลวย สยาม สนาม

ตอบ 3 หน้า 22 (52067), 44 (H) การ ออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ การออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียงทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่น สดับ ( สะ – ดับ), สบาย ( สะ – บาย), เสบียง (สะ – เบียง) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นออกเสียงแบบนำกันมา หรืออักษรนำ (เสียง ห นำ) ได้แก่ สะ – หมดุ, สะ – หนอง, สะ – หนิด, สะ – เหม็ด,สะ – แหลง, สะ – หยอง, สะ – หลวย, สะ – หยาม, สะ – หนาม)

26. ข้อใดออกเสียงแบบนำกันมา (อักษรนำ)

1. สระว่ายน้ำ
2. ชุดรุดทรุดโทรม
3. ซากปรักหักพัง
4. ปลักวัวปลักควาย

ตอบ 3 หน้า 22 (52067), 44 (H) การ ออกเสียงแบบนำกันมา (อักษรนำ) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้ามีอำนาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี ห นำ เช่น ปรัก (ปะ – หรัก) ในคำว่า “ซากปรักหักพัง” เป็นต้น

27. ข้อใดมีคำเป็นมากว่าคำตาย
1. นัด แนะ นึก นับ
2. นอน ใน นาฎ แนบ
3. นัก เน่า นาก นอน
4. น้ำ หนาว นก น้อย

ตอบ 4 หน้า 28 (52067), 51 – 53 (H) คำเป็น คือ คำที่สะกดด้วยแม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย และแม่เกอว ส่วนคำตาย คือ คำที่สะกดด้วยแม่กก แม่กด และแม่กบ (ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ)

28. ข้อใดมีคำตายทุกคำ
1. กัก เกิด เก็บ เกลียด
2. กอด กับ เก้า กิน
3. ไก่ กบ กัด กราย
4. เกรียบ แก้ม ก้อง แก้ว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. ข้อใดใช้คำถูกต้อง
1. เขาเลิกราจากกันไป
2. รักจึงได้แรมรา
3. จะมัวร่ำลากันทำไม่
4. รักแท้ไม่มีวันแรมลา

ตอบ 2 คำว่า “แรมรา) หมายถึง ค่าย ๆ เหินห่างและทอดทิ้งไปในที่สุด (ส่วนตัวเลือกอื่นใช้คำไม่ถูกต้องจึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น เขาเลิกราจากกันไป,จะมัวล่ำลากันทำไม่,รักแท้ไม่มีวันแรมรา)

30. ข้อใดคำอุปมาสื่อความหมาย
1. แม่ซื้อตุ๊กตาให้น้อง
2. น้องสาวฉันชื่อตุ๊กตา
3. ตุ๊กตาตัวนี้น่ารักจัง
4. ไม่อยากเป็นตุ๊กตาหน้ารถใคร

ตอบ 4 หน้า 48 – 49 (52067), 64 (H) คำอุปมา คือ คำ ที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. คำอุปมาที่ได้มาจากคำที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา ( นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), ปลิง (เกาะไม่ยอมปล่อยเพื่อถือประโยชน์จากคนอื่น โดยที่ตัวเองไม่ต้องทำอะไร) ฯลฯ
2. คำอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น กลับเนื้อกลับตัว (เลิกทำชั่วหันมาทำดี),แมวนอนหวด(ซื่อจนเซ่อ),แมวขโมย (คอยจ้องฉกฉวยลูกเมียงเขาเวลาเขาเผลอ) ฯลฯ

31. ข้อใดเป็นอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียงทั้ง 2 คำ
1. ตอม่อ อนึ่ง
2. ระรื่น ลูกกระดุม
3. ฉะฉาน กระเฉด
4. ยะยิบยะยับ ตกกะใจ

ตอบ 1 หน้า 93 – 95 (52067), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นการกร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นำหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช้ไม้ผล และหน้าคำบอกกำหนดวัน เช่น หมากแว้ง มะแว้ง,หมากขาม มะขาม,หมากค่า มะค่า, เมื่อรืน มะรืน
2. “ตะ” นำหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคำที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ ตะขาบ, ตัวโขง ตะโขง,ตัวเข็บ ตะเข็บ,ตัวปลิง ตะปลิง,ตอม่อ ตะม่อ
3. “สะ” เช่น สายดือ สะดือ,สาวใภ้ สะใภ้,สายดึง สะดึง
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น ฉะนั้น,ฉาน ๆ ฉะฉาน,เฉื่อย ๆ ฉะเฉื่อย
5. “ยะ” / ระ / ละ เช่น รื่น ๆ ระรื่น,ยิบ ๆ ยับ ๆ ยะยิบยะยับ,เลาะ ๆ ละเลาะ
6. “อะ” เช่น อันไร / อันใด อะไร,อันหนึ่ง อนึ่ง ส่วนคำอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ได้แก่ ช้าพลู ชะพลู,เฌอเอม ชะเอม,ชีผ้าขาว ชีปะขาว เป็นต้น

32. ข้อใดเป็นอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันทั้ง 2 คำ
1. กระดุกกระดิก กระฟัดกระเฟียด
2. กระชากกระชั้น กระออดกระแอด
3. กระเสือกกระสน กระแอมกระไร
4. กระโตกกระตาก กระจุกกระจิก

ตอบ 4 หน้า 95 (52067), 85 (H) อุปสรรค เทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”)เข้าไปในคำซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้นและหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและสะกดด้วย “กะ” เหมือนกัน เช่น
โตกตาก กระโตกกระตาก,จุกจิก กระจุกกระจิก, ดุกดิก กระดุกกระดิก, ชากชั้น กระชากกระชั้น, เสือกสน กระเสือกกระสน , อักอ่วน กระอักกระอ่วน ฯลฯ

33. ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด
1. กระสับการส่าย
2. กระอักกระอ่วน
3. กระปอดกระแปด
4. กระเสาะกระแสะ

ตอบ 2 หน้า 94 – 96 (52067), 85 – 86 (H) อุปสรรค เทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิดเป็นการเพิ่มเสียง “กะ” (หรือ “กระ”)เข้าไปในคำซ้อนเพื่อเสียงที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “กะ” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนว เทียบแต่เป็นการเทียมแนวเทียบผิด สับส่าย กระสับกระส่าย,ปอดแปด กระปอดกระแปด,เสาะแสะ กระเสาะกระแสะ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆที่ไม่ได้กำหนดอุปสรรคเทียมไว้แน่นอน แล้วแต่คำที่มาข้างหน้า เช่น ขโมยโจร ขโมยขโจร, จมูกปาก จมูกจะปาก ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ)

34. คำอุปสรรคเทียมคำใดที่ไม่ได้เป็นชื่อสัตว์
1. ตะโขง
2. ตะเข็บ
3. ตะปลิง
4. ตะขาบ

ตอบ 3 หน้า 93 (52067), (ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ) คำว่า “ตะ” เป็นคำอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียงมาจากคำว่า “ตัว” ส่วนใหญ่มักใช้นำหน้าชื่อสัตว์ เช่น ตะโขง ตะเข็บ ตะขาบ ฯลฯ แต่ที่นำมาใช้เรียกของอื่นโดยอนุโลมก็มี เช่น ตะปลิง หมายถึง เหล็กที่ใช้เกาะวัตถุที่แยกให้ติดกัน โดยมากเรียกคำเต็มว่า ตัวปลิง

ตั้งแต่ข้อ 35. – 37. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
1. ทำอะไรอยู่
2. ทำอะไรเกินตัว
3. ทำอะไรสักอย่าง
4. ทำอะไรให้หน่อย

35. ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า
ตอบ 2 หน้า 103 (52067), 90 (H) ประโยคบอกเล่า หมายถึง ประโยคที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ไปในทางตอบรับ หรือตอบปฏิเสธก็ได้

36. ข้อใดเป็นประโยคคำถาม
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 (52067), 93 (H) ประโยคคำถาม หมายถึง ประโยคที่มีคำวิเศษณ์แสดงคำถามอยู่ด้วย เช่น ใคร อะไร ที่ไหน ทำไม เมื่อไร อย่างไร หรือ หรือเปล่า หรือไม่ ไหม ฯลฯ ซึ่งตำแหน่งของคำแสดงคำถามนี้อาจอยู่ต้นหรือท้ายประโยคก็ได้

37. ข้อใดเป็นประโยคคำสั่ง
ตอบ 3 หน้า 102 (52067), 91 – 92 (H) ประโยคคำสั่ง หมายถึง ประโยค ที่ต้องการให้ผู้ฟังทำตามความประสงค์ของผู้พูดอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง มักเป็นประโยคที่ละประธานหรือผู้ทำไว้ในฐานที่เข้าใจและขึ้นต้นด้วยคำกริยา บางครั้งอาจจะมีกริยาช่วย “ อย่า ห้าม จง ต้อง” มา นำหน้ากริยาแท้เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทำหรือให้ทำก็ได้ แต่ถ้ามีประธานก็จะเป็นการระบุชื่อหรือเน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ ตัว

ตั้งแต่ข้อ 38. – 40. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

1. แม่ทำขนม 2. แม่ชอบทำขนม 3. แม่ทำขนมหม้อแกง 4. แม่ทำขนมหม้อแกงเก่ง

38. ข้อใดไม่มีภาคขยาย
ตอบ 1 หน้า 94 (H) ประโยค ที่สมบูรณ์ในภาษาไทยจะมีการเรียงลำดับคำ ประกอบไปด้วย ภารประธาน + ภาคแสดง (กริยา และกรรม) ซึ่งทั้ง 2 ภาคอาจมีคำขยายเข้ามาเสริมความให้สมบูรณ์ด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น แม่ทำขนม (ประธาน + กริยา + กรรม)

39. ข้อใดมีทั้งภาคขยายกริยาและกรรม
ตอบ 4 หน้า 105 (52067), 95 – 96 (H) ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทำ และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทำ ซึ่งเรียกว่าคุณศัพท์ เช่น แม่ของฉันทำขนม (ขยายประธาน),แม่ทำขนมหม้อแกงเก่ง (ขยายกรรม)
2. ส่วนขยายกริยา ซึ่งเรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตำแหน่งอยู่หน้าคำกริยา เช่น แม่ชอบทำขนม (ขยายกริยา “ทำ”) หรือมีตำแหน่งอยู่หลังคำกริยาก็ได้ เช่น แม่ทำขนมหม้อแกงเก่ง (ขยายกริยา “ทำ”)

40. ภาคขยายกริยาในข้อใดอยู่หน้าคำกริยา
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. ประโยคในข้อใดไม่มีประธาน
1. น้องถูกดุ
2. น้องร้องไห้
3. น้องเล่นซุกซน
4. พี่แกล้งน้อง

ตอบ 1 หน้า 110 (52067), (คำบรรยาย) การ แสดงการก หมายถึง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างคำในประโยค ซึ่งสามารถดูได้จากตำแหน่งของคำที่เรียงกันในประโยค แต่บางกรณีคำนามที่เป็นประธานหรือกรรมอาจเปลี่ยนที่ไปได้ คือ ประธานไปอยู่หลังกรรม กรรมมาอยู่หน้ากริยาได้ถ้าต้องการเน้น เช่น ประโยค “น้องถูกดุ” ย้ายกรรมมาไว้ที่ต้นประโยคหน้าคำกริยา แล้วละประธานของประโยคไว้ เพราะจริง ๆ แล้วต้องมีผู้ที่ดุน้อง เพียงแต่ว่าคนนั้นไม่ปรากฏในประโยค

42. ข้อใดไม่มีคำนามที่ทำหน้าที่กรรมของประโยค
1. พ่อตื่นนอน
2. พ่อชงกาแฟ
3. พ่อแปรงฟัน
4. พ่อกินข้าว

ตอบ 1 หน้า 108 (52067), 97 (H) คำนามทำหน้าที่ต่าง ๆ ในประโยคได้ดังนี้
1. เป็นประธาน เช่น พ่อตื่นนอน
2. เป็นกรรม เช่น พ่อชงกาแฟ พ่อแปรงฟัน พ่อกินข้าว
3. ขยายประธาน เช่น ครูใหญ่ญาติเธอลาออก
4. ขยายกรรม เช่น ฉันเห็นเด็กชุ่มคนใช้เธอ
5. เสริมความให้สมบูรณ์ เช่น เขายังเป็นเด็ก
6. เป็นลักษณนามทั้งที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ กับที่ใช้ตามนามที่มาข้างหน้าเพราะไม่มีลักษณนามสำหรับคำนั้น ๆ เช่น ห้องหลายห้อง ปากปากเดียว ฯลฯ

43. คำนามในข้อใดแสดงเพศไม่ชัดเจน
1. พระสวดมนต์
2. ยายช้อยชอบกินหมาก
3. ป้าแช่มไปซื้อของ
4. น้ามีไปตลาด

ตอบ 2 หน้า 2, 109 – 110 (52067), 6 – 7, 97 – 98 (H) คำ นามในภาษาไทยบางคำก็ระบุเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คำที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย ตา ฯลฯ และคำที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ ชี สะใภ้ หญิง สาว ป้า ยาย ฯลฯ แต่คำบางคำที่เป็นคำรวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า ฯลฯ เมื่อตองการแสดงเพศให้ชัดเจนจะต้องใช้คำบ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือประสมกันตามแบบคำประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องชาย เด็กหนุ่ม เด็กสาว น้าสาว ฯลฯ

44. คำสรรพนามใดแสดงความเฉพาะเจาะจงมากที่สุด
1. นั่นของเธอ
2. นั้นของฉัน
3. นี่ของเธอ
4. นี้ของเธอ

ตอบ 4 หน้า 111, 115 – 116 (52067), 99 (H) คำ สรรพนามที่บอกความจำเพาะเจาะจง ได้แก่ นี้,นั้น,โน้น,นี่,นั่น,โน่น, นั่นแน่,นั่นแน่ะ,นั่นซิ,นั่นไง,นั่นเป็นไร,นั่นแหละ ฯลฯ ซึ่งตามธรรมดาจะใช้ “นั่น / นี่”แทนของอะไรก็ได้สุดแต่ใกล้ตัวหรือไกลตัว แต่ถ้าใช้ “นั้น / นี้” จะต้องเจาะจงลงไปว่าของนั้นคืออะไร เช่น นี่ของเธอ (ของอาจมีมากกว่าหนึ่ง) แต่ถ้าต้องการเจาะจงลงไปให้มากที่สุดก็ใช้ว่า นี้ของเธอ (ของอาจมีเพียงหนึ่ง)

ตั้งแต่ข้อ 45. – 46. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
1. นิดชอบพี่เป้ค่ะ
2. พี่เป้เป็นนักร้องรูปหล่อนะ
3. นิดไปดูคอนเสิร์ตกับพี่ไหม
4. นิดขอไปด้วยคนค่ะ

45. ข้อใดมีเฉพาะสรรพนามบุรุษที่ 3

ตอบ 2 หน้า 112 – 113 (52067), 99 (H) สรรพนาม บุรุษที่ 3 คือ คำที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง ได้แก่ เขา มัน ท่าน แก นอกจากนั้นมักใช้เอ่ยชื่อเสียงส่วนมาก ถ้าอยู่ในที่ที่จำเป็นต้องกล่าวคำดีงาม เช่น ต่อหน้าผู้ใหญ่ มักมีคำว่า คุณ พ่อ แม่ นาย นาง นางสาว นำหน้าชื่อให้เหมาะสมกับโอกาสด้วย

46. ประโยคในข้อใดมีสรรพนามกำกวม อาจเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ 2 หรือ 3

ตอบ 1 หน้า 112 – 113 (52067), 99 (H) สรรพนาม บุรุษที่ 2 คือ คำที่ใช้แทนตัวผู้ที่พูด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน เรา เจ้า แก ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คำนามอื่น ๆ แทนตัวผู้ที่พูดด้วยเพื่อแสดงความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่
1. ใช้ตำแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ฯลฯ
2. ใช้ตำแหน่งหน้าที่แทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ
3. ใช้เรียกบรรดาศักดิ์แทน เช่น ท่านขุน คุณหลวง เจ้าคุณ คุณหญิง ฯลฯ
4. ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นชื่อจริงแทน เช่น คุณน้อย ติ๋ว ต๋อย นุช แดง เป้ ฯลฯ(คำว่า “พี่เป้” ในตัวเลือกข้อ 1 อาจเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ 2 หรือ 3 ก็ได้)(ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ)

47. ข้อใดมีกริยาช่วยแสดงกาล
1. เขามาหาเธอ
2. เขาไปเที่ยวมา
3. เขามาทำงานสาย
4. เขาไม่มาสอบ

ตอบ 2 (ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ) โดยประโยค “เขาไปเที่ยวมา” ย่อมแสดงอดีตว่า ได้กลับจากที่อื่นมาถึงที่พัก

48. ข้อใดมีกริยาช่วยแสดงภาวะของอารมณ์
ตอบ 3 หน้า 123 – 126 (52067), 101 (H) คำที่แสดงมาลา (แสดงภาวะหรืออารมณ์) อาจใช้กริยาช่วยได้แก่ คง พึง จง ต้อง อาจ โปรด ย่อม เห็นจะ ฯลฯ หรือใช้คำอื่น ๆ ได้แก่ น่า นา เถอะ เถิด ซิ ซี ซินะ นะ น่ะ ละ ล่ะ เล่า หรอก ดอก ฯลฯ มาช่วยแสดง เช่น เขาต้องไปหาเธอเป็นการแสดงความแน่ใจมั่นใจของผู้พูด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีกริยาช่วยแสดงกาล) (ดูคำอธิบายข้อ 10.ประกอบ)

49. ข้อใดไม่มีกริยาช่วย
1. จอยร้องเพลงเพราะมาก
2. เจี๊ยบกำลังเต้น
3. เชอรี่จะไปดูหนัง
4. แอนนาอยากไปวัด

ตอบ 1 หน้า 120 (52067), 100 – 101 (H) คำ กริยาช่วย คือ คำที่ช่วยบอกเนื้อความของกริยาให้แจ่มแจ้งชัดเจน โดยจะบอกให้รู้เกี่ยวกับกาล (เวลา) มาลา (ภาวะหรืออารมณ์) และวาจก(ความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยากับคำอื่นในประโยค)ซึ่งแต่ละคำจะมีความ หมายต่างกันไป ได้แก่ คง อาจ น่าจะ กำลัง ควร ต้อง ได้ จะ แล้ว อยู่ อยาก ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 50. – 51. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

1. สมชายเป็นคนโสด
2. มากหมอมากความ
3. บ้านนี้ส่งเสียงดัง
4. บางคืนมืด บางคืนสว่าง

50. ข้อใดมีคำคุณศัพท์บอกจำนวนนับ

ตอบ 1 หน้า 130 – 131 (52067), 102 (H) คำคุณศัพท์บอกจำนวนนับ ได้แก่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ฯลฯ นอก จากนี้ยังมีคำคุณศัพท์บอกจำนวนนับที่เป็น “หนึ่ง” กับ “สอง” อีกหลายคำแต่ก็มีความต่างกัน ซึ่งจะนำมาใช้แทนกันไม่ได้ เช่น เดียว เดี่ยว คี่ โสด คู่ ฯลฯ (ส่วนคำว่า “มาก”ในตัวเลือกข้อ 2 เป็นคำคุณศัพท์บอกจำนวนนับไม่ได้)

51. ข้อใดมีคำคุณศัพท์บอกความแบ่งแยก

ตอบ 4 หน้า 133 (52067), 102 (H) คำคุณศัพท์บอกจำนวนแบ่งแยก ได้แก่ ต่าง ต่าง ๆ ละ ทุก บ้าง บาง ฯลฯ เช่น บางคืนมืด บางคืนสว่าง (ไม่ได้หมายความว่าทุกคืนหรือตลอดไป)

52. ข้อใดมีคำคุณศัพท์บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
1. เธออยากไปวัดไหน
2. คนไหนคนรักเธอ
3. คนอะไรไม่รักดี
4. เธอบอกรักเขาวิธีใด

ตอบ 3 หน้า 137 (52067), 102 (H) คำ คุณศัพท์บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ใด ไหน อะไร ซึ่งเป็นคำกลุ่มเดียวกันกับคำคุณศัพท์บอกคำถาม แต่คำคุณศัพท์บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่เจาะจงว่าเป็นใคร อะไรหรือที่ไหนและไม่ได้เป็นการถาม เช่น อย่างใดอย่างหนึ่ง คนอะไรไม่รักดี คนไหนก็เหมือนกัน ฯลฯ

53. ข้อใดไม่สามารถละบุรพบทได้
1. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
2. กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง
3. วัวของใครเข้าคอกคนนั้น
4. ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว

ตอบ 2 หน้า 143 – 144 (52067), 104 – 105 (H) คำ บุรพบทไม่สำคัญมาเท่ากับคำนาม คำกริยาและคำวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้แล้วความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ เช่น วัวของใครเข้าคอกคนนั้น(วัวใครเข้าคอกคนนั้น), ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว (ให้ทุกข์ท่านทุกข์นั้นถึงตัว) ฯลฯ แต่บุรพบทบางคำก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง เช่น กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง จะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม (ส่วนตัวเลือกข้อ 1 ไม่มีคำบุรพบท)

54. ข้อใดใช้คำบุรพบทตามแทนได้
1. ของ ๆ ใครของใครก็ห่วง
2. สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
3. รักเธอด้วยหัวใจบริสุทธิ์
4. ฉันกับเธอคือสุขนิรันดร์

ตอบ 2 หน้า 144 – 145 (52067) คำว่า “ตาม” เป็น คำบุรพบทที่นำหน้าคำวิเศษณ์ คำนามหรือคำบุรพบทเองเพื่อขยายความให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะใช้ในความว่า “แล้วแต่ / สุดแต่ / ตามใจ” คือ สุดแต่ใจ แล้วแต่ใจ เช่น สุดแต่ใจจะไขว่คว้า / ตามใจจะไขว่คว้า เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 55. – 57. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

1. ฝนตกรถจึงติด2. ถ้าฝนไม่ตกรถคงไม่ติด
3. ฝนตกราวกับฟ้ารั่ว
4. ฉันจะไปหาเธอแม้รถจะติด

55. คำสันธานใดเชื่อมความขัดแย้งกัน
ตอบ 4 หน้า 155 – 156 (52067), 106 (H) คำ สันธานที่เชื่อมความที่ขัดแย้งกันไปคนละทาง ได้แก่ แต่,แต่ว่า,แต่ทว่า,จริงอยู่…แต่,ถึง…ก็, กว่า…ก็ (ประโยค “ฉันจะไปหาเธอแม้รถจะติด” มีความหมายเหมือนกับสันธานที่เชื่อมความแบ่งรับแบ่งสู้หรือคาดคะเน แต่คำว่า “แม้” มีความหมายขัดแย้งกันมากกว่า)

56. คำสันธานใดเชื่อมความแบ่งรับแบ่งสู้
ตอบ 2 หน้า 156 – 157(52067), 107 (H) คำสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, ถ้า…ก็,ถ้า…จึง, ถ้าหากว่า, แม้…แต่, แม้ว่า,เว้นแต่,นอกจาก

57. คำสันธานใดเชื่อมความคล้อยตามกัน
ตอบ 3 หน้าที่ 153 – 154 (52067), 106 (H) คำ สันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน ทำนองเดียวกันไม่ขัดแย้งกัน โดยทำหน้าที่เชื่อมความที่เกี่ยวกับเวลา ได้แก่ ก็, แล้ว…ก็, แล้ว….จึง, ครั้น….ก็, เมื่อ…ก็,ครั้น….จึง,เมื่อ….จึง,พอ….ก็ ส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมความให้รวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ทั้ง,ทั้ง..ก็, ทั้ง..และ, ก็ได้, ก็ดี,กับ,และ

58. ข้อใดไม่ใช่คำอุทาน
ตอบ 2 หน้า 159 (52067), 109 (H) คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาด้วยอารมณ์สะเทือนใจ ได้แก่
1. อารมณ์ตกใจ เช่น อ๊ะ,โอ๊ะ,อุ๊ย,ว้าย,ตายเชียว,ตายแล้ว,ตายจริง (อาจอุทานแสดงความตกใจหรือแปลกใจก็ได้)ฯลฯ
2. อารมณ์ดีใจ เช่น โอ้โฮ,เอ้อเฮอ,อุ๋ย,แหม ฯลฯ
3. อารมณ์แปลกใจ เช่น เอ๋อ,เอ๋,เอ๊ะ,อุ๊,อื้อฮือ ฯลฯ
4. อารมณ์เสียใจ เช่น โธ่,โถ,โธ่เอ๋ย,พุทโธ่ ฯลฯ
5. อารมณ์โกรธ เช่น ฮึ,เฮอะ,เชอะ.เอออุเหม่ ฯลฯ

59. ข้อใดคือลักษณนามของไม้ไต่คู้
1. ไม้
2. ต้น
3. ตัว
4. เครื่องหมาย

ตอบ 3 หน้า 160 – 167 (52067), 109 – 110 (H) คำลักษณนาม คือ คำ ที่ตามหลังคำบอกจำนวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดของคำนามที่อยู่ข้างหน้าคำ บอกจำนวนนับ มักจะเป็นคำพยางค์เดียวแต่เป็นคำที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบ เทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ และการเทียบแนวเทียบ เช่น พันธบัตร พินัยกรรม บริคณห์สนธิ ปริญญาบัตร (ฉบับ), ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวาไม้ไต่คู้ ไม้ทัณฑฆาต ไม้หันอากาศ (ตัว) ฯลฯ

60. ข้อใดคือลักษณนามของพันธบัตร
1. ใบ
2. แผ่น
3. ฉบับ
4. พันธบัตร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 61. – 70. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความที่ให้อ่าน

เราคงจะสังเกตได้นะครับว่า ทุกวันนี้คนไทยให้ความสำคัญกับประเด็นด้าน “ความเป็นไทย” มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า
ความเป็นไทยคืออะไร ? หรือ ความเป็นไทยเป็นอย่างไร ?

สิ่งที่ได้รับกลับคืนมาคือเสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คำตอบประมาณว่าธงชาติไทยหรือศิลปวัฒนธรรมไทย
ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นดั่งทุกวันนี้
การที่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์ได้ผู้ศึกษามีความจำเป็นต้องมีทักษะในการเรียนรู้ และที่สำคัญก็คือเข้าใจการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

คือ อ่านออกเขียนได้ แต่เท่านี้ยังไม่พ่อ ผมขอเพิ่มเติมไว้ด้วยว่าต้องสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน
เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมี
คำศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ เดี๋ยวนี้ได้รับ เอสเอ็มเอสแปลก ๆ ประมาณว่าใช้ภาษาไทยแบบ
วัยรุ่น อาทิ จิ่งดิ แปลว่า จริงเหรอ มาแว้ว แปลว่า มาแล้ว หรือ ชิมิ ชิมิ ซึ่งตีความหมายออกมาเป็นใช่ไหมใช่ไหม
บางทีคุยกับเด็กรุ่นใหม่เวลาเห็นผู้หญิงสวยก็พูดออกมาว่า “ โอ้โฮแหล่มจริง ๆ เธอคนนั้นห่านมาก ๆ ”แปลว่าเธอคนนั้นสุดยอด สวยจริง ๆ

แต่ที่ฮิตล่าสุดคือพูดแบบเหวงเหวง ซึ่งไม่รู้ว่าอ้างอิงจากใคร แต่มีความหมายสะท้อนถึงความไม่ชัดเจนไม่ตรงประเด็น โหวงเหวง นั่นแหละครับ

ทั้ง หมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยในสังคมยุคปัจจุบันแต่จะว่าไปแล้ว แทบจะทุกสังคมและทุกวัฒนธรรมย่อมมีความผิดเพี้ยนทางด้านภาษาอยู่แล้ว
เพียงแต่จะมากหรือน้อยก็เท่านั้นเอง

เพราะภาษามีความเป็นพลวัตของตัวเอง ต้องทันตามบริบทของสังคม และปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้คนในสังคม

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ภาษาไทยจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ประเด็นที่ผมต้องการนำเสนอคือแก่นของความเป็นภาษาไทยจะถูกทำลายและละเลยไปมากกว่านี้หรือไม่

สุด ท้ายเราคงได้แต่หวังว่าภาษาไทยที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการควรที่จะได้รับการ ดำรงรักษาให้ลูกหลานในอนาคตได้สืบทอดต่อไป มิใช่ค่อย ๆ ถูกกลืนด้วยแนวทางและการใช้ศัพท์ใหม่ ๆ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปี เพื่อ ระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “ เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียงคือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยคนับเป็นปัญหาที่สำคัญ

ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติได้แลเห็นว่าเป็นวันที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตะหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

สังคมไทยในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม และไม่ใช่วัฒนธรรมของประเทศไทยเราอย่างเดียว แต่เป็นวัฒนธรรมต่างแดน เราคงบอกไม่ได้ว่าห้ามให้คนรุ่นใหม่บริโภควัฒนธรรมของเขา

แต่คำถามสำคัญก็คือ เราจะสามารถทำให้คนรุ่นใหม่และเห็นถึงความสำคัญของความเป็นไทยได้อย่างไร
เพราะบางทีมันเป็นเรื่องยาก ในการดำรงรักษาภาษาไทยให้ดี มันเป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน กับสิ่งที่เราควรระลึกถึง ซึ่ง เป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลระหว่างโลกที่เปลี่ยนแปลงกับความสวยงามใน อดีต เอาแคนักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหมือเกิน

แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียนซึ่งบางทีมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะขนาดบทความของผมชิ้นนี้ก็ยังมีการใช้ภาษาที่แตกต่างและอาจจะไม่มีในพจนานุกรรมก็ได้ แต่อย่างน้อยสิ่งสำคัญอยู่ที่การเข้าใจ ความสำคัญของภาษาไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกวิธี ถูกกาลเทศะ

ซึ่งเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรให้ความสำคัญมากกว่านี้

(จากคอลัมน์ “วัยทวีนส์” โดยเอกลักษณ์ ยิ้มวิไล หนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หน้า ๒๐)

61. ความที่ให้อ่านเป็นวรรณกรรมประเภทใด
1. ข่าว
2. บทความ
3. ความเรียง
4. ปาฐกถา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ความเรียง คือ งาน เขียนที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตหรือประสงการณ์ซึ่งอาจจะเป็น ข้อเท็จจริง ทัศนคติ ข้อคิดเห็น หรือข้อความที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกจากนั้นจึงสรุปให้เห็นความสำคัญของ เรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนำไปพิจารณา

62. จุดประสงค์ที่ผู้เขียนนำเสนอคืออะไร
1. ให้ความรู้
2. ให้ความรู้และความรู้สึก
3. ให้ข้อมูลและความคิด
4. วิเคราะห์และวิจารณ์

ตอบ 3 ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการนำเสนอ คือ ให้ข้อมูลและแสดงความคิดของตนเองเกี่ยวกับปัญหาเรื่องการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน พร้อมทั้งทิ้งประเด็นเพื่อให้ผู้อ่านนำไปคิดพิจารณา

63. โวหารการเขียนเป็นแบบใด
1. บรรยาย
2. อธิบาย
3. อภิปราย
4. พรรณนา

ตอบ 3 หน้า 74 (46134), (คำบรรยาย) โวหารเชิงอภิปราย คือ โวหารที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ เพื่อ นำไปสู่ข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง และเพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดเห็นนั้น ๆ โดยผู้เขียนจะแสดงทัศนะรอบด้านทั้งในด้านบอกและลบเพื่อทิ้งท้ายให้ผู้อ่าน เก็บไปคิด แต่แท้จริงแล้วผู้เขียนมีประเด็นไว้ในใจแล้ว มักใช้ในการสั่งสอนชักจูงใจ และการตอบโต้กันทางหน้าหนังสือพิมพ์

64. ทำนองเขียนเป็นแบบใด
1. ภาษาเขียน
2. ภาษาพูด
3. ภาษาปาก
4. ทั้ง 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 58 (46134) ผู้เขียนใช้ท่วงทำนองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วง ทำนองเขียนที่ใช้คำ ง่าย ๆ ชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทำให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาขบคิดมากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดหรือภาษาปากเป็นส่วนใหญ่

65. สารัตถะสำคัญของเรื่องคืออะไร
1. ภาษาไทยสำคัญกว่าธงชาติไทย
2. ภาษาไทยสำคัญกว่าศิลปวัฒนธรรมไทย
3. การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคำนึง
4. ความสำคัญของความเป็นไทยท่ามกลางอิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติเป็นเรื่องสำคัญ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียดทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสำคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคำนึง

66. คำใดใช้ผิดจากความหมายเดิม
1. ซึ่งเป็นสิ่งดี
2. ตระหนักถึง
3. และเห็นว่า
4. ประมาณว่า

ตอบ 4 คำว่า “ประมาณ” หมายถึง กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจำนวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่นประมาณราคาไม่ถูก,ราว ๆ เช่น ประมาณ 3 – 4 เดือน แต่ปัจจุบันได้มีการนำคำว่า “ประมาณว่า”มาใช้ผิดจากความหมายเดิม และกลายเป็นคำฟุ่มเฟือยไป

67. ข้อความที่ให้อ่านเป็นผลงานของผู้ใด
1. เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล
2. บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน
3. เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล และอาจารย์ผู้บรรยาย
4. เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล และผู้ออกข้อสอบ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ข้อความในวงเล็บท้ายสุดมีคำว่า “จาก…” หมายถึง ข้อความที่ให้อ่านเป็นผลงานของผู้เขียนเดิมทั้งหมด คือ เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล โดยผู้ออกข้อสอบไม่ได้มีส่วนร่วม ใด ๆ ในข้อความที่นำมาให้อ่าน

68. คำตอบของผู้รับฟังคำบรรยาย เรื่องเอกลักษณ์ไทยเป็นอย่างไร
1. ถูกต้อง 50%
2. ถูกต้องเกินครึ่ง
3. แตกต่างจากทัศนะของผู้บรรยาย
4. แตกต่างจากความเชื่อที่สือต่อกันมา

ตอบ 3 จากข้อความ….ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า ความเป็นไทยคืออะไร ? หรือ ความเป็นไทยเป็นอย่างไร ? สิ่งที่ได้รับกลับคืนมาคือเสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คำตอบ ประมาณว่าธงชาติไทยหรือศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์กล่าวคือ เข้าใจที่มาและที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะ สามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นดั่งทุกวันนี้

69. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
1. ทุกภาษาย่อมมีความผิดเพี้ยน
2. ภาษาต้องเปลี่ยนตามบริบทของสังคม
3. วันภาษาไทยแห่งชาติคือวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
4. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทย

ตอบ 3 จากข้อความ….วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ ใน วันที่ 29 กรกฎคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

70. ภาษาไทยในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องใดบ้าง
1. ความหมายและการออกเสียง
2. โครงสร้างของประโยค
3. การสะกดการันต์
4. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 จากข้อความ…เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดย เฉพาะมีคำศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด… อาทิ จิ่งดิ แปลว่า จริงเหรอ มาแว้ว แปลว่า มาแล้ว หรือ ชิมิ ชิมิ ซึ่งตีความหมายออกมาเป็นใช่ไหมใช่ไหม…ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างการ ใช้ภาษาไทยในสังคมยุคปัจจุบัน

ตั้งแต่ข้อ 71. – 80. เลือกคำที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด เพื่อเติมลงในช่องว่าระหว่างข้อความต่อไปนี้

ใน 71. เดือน 72. ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเผยแพร่ความรู้และความงดงามของผ้าชาวเขาทั้ง 6 เผ่า ที่ทอโดยสมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ร้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงได้จัดนิทรรศการ 73. โดยมีท่านผู้หญิงจรุงจิตทีขะระ และท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร 74. ในพิธีเปิด ที่มาของผลิตภัณฑ์ของชาวเขา เริ่มจากการ 75. เยี่ยมราษฎรในภาคเหนือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้งสอง 76. 77. ที่จะให้มูลนิธิฯ 78. อาชีพเพื่อเป็น 79. สำหรับชาวไทยภูเขาเพื่อให้ชาวเขา 80.

71. 1. โอกาส
2. พระโอกาส
3. วโรกาส
4. พระวโรกาส

ตอบ 1 คำว่า “โอกาส” และ “วโรกาส” เป็น คำที่มีความหมายไปในทางเดียวกัน แต่ “วโรกาส” จะใช้เฉพาะเมื่อขอโอกาสจากพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ และเมื่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ให้โอกาสเท่านั้น ส่วน กรณีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากนี้แล้วไม่ว่าจะเป็นโอกาสพิเศษหรือโอกาสอันยิ่งใหญ่ของพระมหา กษัตริย์หรือเจ้านายพระองค์ใด ให้ใช้คำว่า “โอกาส”ทั้งหมด

72. 1. สิงหาคม
2. ประสูติ
3. พระราชสมภพ
4. พระบรมราชสมภพ

ตอบ 3 พระราชสมภพ หมายถึง เกิด ใช้กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมโอรสาธิราชและพระบรมราชกุมารี (ส่วนคำว่า “พระบรมราชสมภพ” ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ”ประสูติ” ใช้กับสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า

73. 1. ผ้าไหมไทย
2. ผ้าไหมนานาชาติ
3. ผ้าชาวเขา
4. ผ้าสวยงาม

ตอบ 3 ข้อ ความดังกล่าวควรเติมคำว่า “ผ้าชาวเขา” เนื่องจากข้อความก่อนหน้ามีว่า…เพื่อเผยแพร่ความรู้และความงดงามของผ้าชาว เขาทั้ง 6 เผ่า… ร้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงได้จัดนิทรรศการผ้าชาวเขา

74. เป็นประธาน
2. ทรงเป็นประธาน
3. เป็นองค์ประธาน
4. ทรงเป็นองค์ประธาน

ตอบ 1 หน้า 111 – 112 (H) คำว่า “ท่านผู้หญิง” ปัจจุบัน เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้ว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุล จอมเกล้าวิเศษขึ้นไปจึงไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ เพราะราชาศัพท์เป็นถ้อยคำที่ใช้กับบุคคลต่อไปนี้
1. พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในระดับหม่อมเจ้า
2. เจ้านายในราชวงศ์ต่างประเทศ
3. ตัวละครที่สมมุติว่าเป็นเจ้านาย
4. สมเด็จพระสังฆราช

75. 1. ทรงพระดำเนิน
2. เสด็จพระดำเนิน
3. เสด็จพระราชดำเนิน
4. ทรงเสด็จพระราชดำเนิน

ตอบ 3 หน้า 113 (H) เสด็จพระราชดำเนิน / เสด็จฯ หมายถึง เดินทางไปโดยยานพาหนะ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลำดับ 2 โดยห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว จะเติม “ทรง” เฉพาะหน้าคำกริยาสามัญเพื่อทำให้คำนั้นเป็นราชาศัพท์เท่านั้น

76. 1. ท่าน
2. องค์
3. พระองค์
4. พระองค์ท่าน

ตอบ 3 หน้า 174 (52067) คำสรรพนามราชาศัพท์ที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3 )ได้แก่
1. พระองค์ ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าและเหนือขึ้นไป (จะไม่ใช้คำว่า พระองค์ท่าน)
2. ทูลกระหม่อม ใช้แทนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสี
3. เสด็จ ใช้แทนเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอ ซึ่งมีพระอัยการเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
4. ท่าน ใช้แทนเจ้านายทั่วไป ขุนนาง พระสงฆ์ ฯลฯ

77. 1. มีพระราชดำรัส
2. ทรงมีพระราชดำรัส
3. มีพระราชดำริ
4. ทรงมีพระราชดำริ

ตอบ 3 หน้า 117 (H) คำกริยา มี / เป็น เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์มีข้อสังเกตดังนี้
1. หากคำที่ตามหลัง มี / เป็น เป็น นามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคำกริยา มี / เป็น อีก เช่น มีพระราชดำริ (มีคำพูด), มีพระราชดำริ (มีความคิด), เป็นพระราชธิดา เป็นลูกสาว) ฯลฯ
2. หากคำที่ตามหลัง มี / เป็น เป็นคำสามัญ ให้เติม “ทรง” หน้าคำกริยา มี / เป็น เพื่อทำให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงมีลูกสุนัข, ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ ฯลฯ

78. 1. อนุรักษ์
2. ส่งเสริม
3. เผยแพร่
4. รักษา

ตอบ 2 คำว่า “ส่งเสริม” หมายถึง ช่วย เหลือสนับสนุนให้ดีขึ้น (ส่วน “อนุรักษ์” หมายถึง ให้คงเดิม, “เผยแพร่” หมายถึง โฆษณาให้แพร่หลาย, รักษา” หมายถึง ระวัง ดูแล ป้องกัน สงวนไว้)

79. 1. คุณค่า
2. ศิลปะ
3. รายได้เสริม
4. ผลประโยชน์

ตอบ 3 คำ ว่า “รายได้เสริม” หมายถึง เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากเดิม (ส่วน “คุณค่า” หมายถึงสิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง, “ศิลปะ” หมายถึง ฝีมือทางการช่าง การทำให้วิจิตรพิสดดาร, “ผลประโยชน์” หมายถึง ประโยชน์ที่ได้รับ)

80. 1. กินอิ่มนอนอุ่น
2. กินดีอยู่ดี
3. มีภูมิปัญญา
4. รักษาวัฒนธรรม
ตอบ 2 คำว่า “กินดีอยู่ดี” หมายถึง มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย ไม่ขัดสนฝืดเคือง

ตั้งแต่ข้อ 81. – 85. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

1. พูดเป็นไฟ พูดเป็นต่อยหอย พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ
2. ได้แกงเทน้ำพริก ได้ทีขี่แพะไล่ ได้คืบจะเอาศอก
3. ได้สติ ได้ฤกษ์ ได้หน้าลืมหวัง
4. ได้ดิบได้ดี เด็ดปลีไม่มีใย เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด

81. ข้อใดเป็นสำนวนทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสำนวน คำพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้
1. สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คำน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น พูดเป็นไฟ (พูดคล่องเหลือเกิน), พูดเป็นต่อยหอย (พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก), พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ (พูดห้วน ๆ), ได้ดับได้ดี (ได้ดี)
2. คำ พังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เขากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้นำไปปฏิบัติหรือไม่ให้นำไปปฏิบัติ เช่น ได้แกงเทน้ำพริก (ได้ใหม่ลืมเก่า), ได้ทีขี่แพะไล่(ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี๋ยงพล้ำลง), ได้คืบจะเอาศอก (ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว),เด็ดปลีไม่มีใย (ตัดขาด ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด)
3. สุภาษิต หมาย ถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติงคำจูงใจ หรือคำห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด (ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย)

82. ข้อใดเป็นคำพังเพยทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

83. ข้อใดเรียบลำดับถูกต้องตั้งแต่สำนวน คำพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

84. ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสำนวน คำพังเพย หรือสุภาษิตเลย

ตอบ 3 ข้อ ความในตัวเลือกข้อ 3 เป็นคำกริยาทั้งหมด ได้แก่ ได้สติ (ได้คิด กลับระลึกขึ้นได้),ได้กฤษ์ (ถึงเวลาอันเป็นมลคล),ได้หน้าลืมหลัง (หลง ๆ ลืม ๆ)

85. ข้อใดมีความหมายที่เหมือนกันปรากฏอยู่มากที่สุด

ตอบ 1 ดูคำอธิบาย 81. ประกอบ

86. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ

1. แค็ตตาล็อก เคาน์เตอร์ เครดิท
2. เคลิบเคลื้อม เครื่องกล เคียบฟัน
3. คำกริยา คำวิเศษณ์ ลักษณะนาม
4. เดียรดาษ เดียรัจฉาน ไดโนเสาร์
ตอบ 4 คำที่สะกดผิด ได้แก่ เครดิท เคลิบเคลื้อม เคือบฟัน ลักษณะนาม ซึ่งที่ถูกต้องคือ เครดิต เคลิบเคลิ้ม เคลือบฟัน ลักษณะนาม

87. คำทับศัพท์ต่อไปนี้ข้อใดสะกดผิดทุกคำ
1. เฮลิคอปเตอร์ อินเตอร์เน็ต ฮอร์โมน
2. โหวด มอเตรอร์ไซด์ แฮนบอล
3. อะตอม อะลูมิเนียม ฝรั่งเศส
4. สเปน ชาวสวิส เมืองสวิต

ตอบ 2 คำที่สะกดผิด ได้แก่ โหวต มอเตอร์ไซต์ แฮนบอล ซึ่งที่ถูกต้องคือ โหวด มอเตอร์ไซต์ แฮนต์บอล

88. ข้อใดมีคำที่สะกดถูกขนาบคำที่สะกดผิด
1. ใบโหระพา ใบแมงรัก ใบกระเพรา
2. แมลงสาบ แมงดา หอยแมลงภู่
3. ถั่วลิสง ถั่วพู ถามไถ่
4. เถลือกถลน เถลไถล แถลงการณ์
ตอบ 1 คำที่สะกดผิด ได้แก่ ใบแมงรัก ซึ่งที่ถูกต้องคือ ใบแมงลัก

89. ข้อใดมีคำที่สะกดถูกสลับด้วยคำที่สะกดผิด
1. ลูกกระพราวน พลุกพล่าน พาลรีพาลขวาง พึมพำ
2. พระภูมิ พระหทัย พระหฤทัย พระทับ
3. พรวดพราด พร้อมมูน บกพร่อง ไหมพรหม
4. พบพาน พานหยากไย่ พานจะเป็นลม พานทอง

ตอบ 3 คำที่สะกดผิด ได้แก่ พร้อมมูน ไหมพรหม ซึ่งที่ถูกต้องคือ พร้อมมูล ไหมพรม

90. ข้อใดสะกดผิดทุกคำ
1. ลิขสิทธิ์ ลิงโลด ลำเลิก
2. ลิปสติก ลิฟต์ โลดลิ่ว
3. ไล่เลียง ไล่เลี่ย ไม้ไล่
4. ริดรอน ลำไย รำไพ่

ตอบ 4 คำที่สะกดผิด ได้แก่ ริดรอน ลำไย รำไพ่ ซึ่งที่ถูกต้องคือ ลิดรอน ลำไย ลำไพ่

91. การใช้ภาษาคือการใช้สิ่งใด
1. ภาพ
2. เสียงพูด
3. ตัวอักษร
4. ระบบสัญลักษณ์

ตอบ 4 หน้า 1 (46134), (คำบรรยาย) การ ใช้ภาษา หมายถึง การสื่อสารทำความเข้าใจกันโดยใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน อันเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ถึงกัน ดังนั้นการใช้ภาษาจึงหมายถึงการใช้ระบบสัญลักษณ์ ซึ่งก็คือ หลักภาษาลักษณะภาษา หรือไวยกรณ์ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ

92. การสื่อความหมายทางภาษาหมายถึงการกระทำอย่างไร
1. อ่านและเขียน
2. พูดและเขียน
3. อ่านและฟัง
4. พูดและอ่าน

ตอบ 2 หน้า 2, 81 (46134) การ พูดและการเขียนเป็นการสื่อความหมายทางภาษาเพื่อนำความรู้ ความคิด หรือความต้องการของเราถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ ส่วนการอ่านและการฟังเป็นการใช้ภาษาในการรับรู้เรื่องราวเพื่อจะได้เกิดความ จำ ความเข้าใจ ความรู้ ความคิด และความบันเทิง

93. การใช้ภาษาอย่างใดที่ทำให้เกิดความรู้ความคิด
1. เขียนและฟัง
2. เขียนและอ่าน
3. ฟังและพูด
4. อ่านและฟัง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. การใช้ภาษาให้ถูกระดับเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
1. กาละ
2. เทศะ
3. บุคคล
4. ทุกข้อที่กล่าวแล้ว

ตอบ 4 หน้า 6 – 10, 15 – 16 (46134) คำ ในภาษาไทยมีระดับต่างกัน นั่นคือ มีการกำหนดคำให้ใช้แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมแก่บุคคลและกาลเทศะ ซึ่งจะต้องรู้ว่าในโอกาสใด สถานที่เช่นไร และกับบุคคลใดจะใช้คำหรือข้อความใดจึงจะเหมาะสม ดังนั้นจึงมีการแบ่งคำเพื่อนำไปใช้ในที่สูงต่ำต่างกันตามความเหมาะสมหรือตามการยอมรับของสังคมเป็น 2 ระดับ คือ

1. คำที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คำราชศัพท์ คำสุภาพ และคำเฉพาะวิชาหรือศัพท์บัญญัติ
2. คำ ที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ สามารถใช้คำได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคำปากหรือคำตลาด คำสแลง คำเฉพาะอาชีพ คำโฆษณา ฯลฯ และคำที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ

95. การใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการกระทำอย่างไร
1. การฝึกฝน
2. การสังเกต
3. การเรียนรู้
4. การเอาใจใส่

ตอบ 1 หน้า 1, 81 (46134) การจะใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ประการ แรกจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องส่วนประกอบหรือระบบของภาษาเสียก่อน จากนั้นจึงต้องรู้จักใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม และทดลองฝึกฝนจนกระทั่งใช้ภาษาได้ผลตามความมุ่งหมาย เพราะการที่จะใช้ภาษาได้ดีหรือไม่เพียงไรนั้น จะขึ้นอยู่กับการฝึกฝนเป็นสิ่งสำคัญ

96. หน้าที่ของคำในประโยคเกี่ยวข้องกับเรืองใดมากที่สุด
1. ระดับ
2. น้ำหนัก
3. ความหมาย
4. ภาพพจน์

ตอบ 3 หน้า 5 (46134) หน้าที่ ของคำในประโยคจะเกี่ยวข้องกับความหมายของคำ เพราะตามปกติคำจะมีความหมายอย่างไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือหน้าที่ ของคำในข้อความที่เรียบเรียงขึ้นนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจหรือการ แปลความหมายของผู้ใช้อีกด้วย

97. การศึกษาลักษณะภาษาไทย เพื่อประโยชน์อย่างไร
1. สอบได้คะแนนดี
2. ใช้ภาษาได้ถูกต้อง
3. ความรู้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
4. เพิ่มประสบการณ์ให้มากขึ้น

ตอบ 2 หน้า 1 (46134) ความ สำคัญของการศึกษาลักษณะภาษาไทยอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้ภาษได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คือ สามารถพูด เขียน ฟัง และอ่านอย่างได้ผลสมความมุ่งหมาย

98. ข้อใดคือลักษณะของคำสแลงที่เกี่ยวกับระดับของคำ
1. ภาษาไม่สุภาพ
2. ภาษาที่มีความหมายแคบ
3. ภาษาที่เกิดง่ายตายเร็ว
4. ภาษาที่มีความหมายกว้าง

ตอบ 1 หนา 8 – 9 (46134), (คำบรรยาย) คำสแลง คือ คำที่ใช้กันในหมู่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งความหมายของคำจะไม่ชัดเจนและไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เพราะ เป็นความหายที่กลุ่มกำหนดขึ้นใช้กันเองภายในกลุ่ม โดยมักจะได้รับความนิยมเป็นครั้งคราวแล้วก็เลิกใช้กันไปจึงถือเป็นคำภาษาปาก ที่ไม่สุภาพ ซึ่งไม่ควรนำมาใช้ในการพูดหรือเขียนอย่างเป็นทางการและกึ่งทางการเด็ดขาด เช่น กิ๊ก แอ๊บแบ๊ว วีน ชิวชิว เด็กแว้น งานเข้า ฯลน

99. “ปาดหน้า ฉุน ยิงดับ” เป็นภาษาประเภทใด
1. ภาษาเขียน
2. ภาษาโฆษณา
3.ภาษาพูด
4. ภาษาหนังสือพิมพ์

ตอบ 4 หน้า 9 (46134) ภาษาหนังสือพิมพ์ เป็นคำที่ใช้กันในวงการหนังสือพิมพ์ มักจะเป็นคำแปลก ๆ ที่สะดุดตาและเร้าความสนใจ ซึ่งผู้อ่านจะเข้าใจได้ด้วยความเคยชิน เช่น เทกระจาด สาดกระสุน สังหารโหด บินด่วน ปาดหน้า ฉุน ยิงดับ ฯลฯ

100. “นายมงคลขับรถชนช้างตาย” เป็นภาษาประเภทใด
1. ภาษาฟุ่มเฟือย
2. ภาษากำกวม
3. ภาษาสแลง
4. ภาษาที่ใช้สำนวนต่างประเทศ

ตอบ 2 หน้า 11 (46134) การ ใช้คำที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคำนึงถึงถ้อยคำแวดล้อม เพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กำกวม เพราะคำชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคำซึ่งแวดล้อมอยู่เป็นเครื่องช่วยกำหนดความหมาย เช่น นายมงคลขับรถชนช้างตาย (คำว่า “ช้าง” อาจหมายถึงสัตว์หรือชื่อคนก็ได้)ดังนั้นจึงควรแก้ไขให้มีความหมายแจ่มชัดลงไปเป็น นายมงคลขับรถชนช้างตัวนั้นตาย

101. ข้อใดเป็นภาษาไม่เป็นทางการ
1. ราคาเท่าใด
2. ราคาเท่าไร
3. ราคาเท่าไหร่
4. ราคาเป็นอย่างไร

ตอบ 3 หน้า 15 (46134) คำ บางคำจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะ กล่าวคือ ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการก็ควรใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ เช่น ราคาเท่าไหร่ ฯลฯ แต่ถ้าในโอกาสที่เป็นทางการก็ควรใช้คำให้เหมาะสม จะใช้คำระดับอื่นไม่ได้เป็นอันขาด เช่น ราคาเท่าใด ราคาเท่าไร ราคาเป็นอย่างไร ฯลฯ ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

102. คำว่า “เพลารถ เพลาเช้า” เป็นคำประเภทใด
1. คำพ้องรูป
2. คำพ้องเสียง
3. คำพ้องพยางค์
4. คำพ้องความหมาย

ตอบ 1 หน้า 14 (46134) คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียงจะต่างกัน ดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น “เพลา”อาจจะอ่านว่า “เพ – ลา” (กาล คราว) หรือ “เพลา” (แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน) ฯลฯ

103. คำว่า “สัน สรร สรรค์ สัณฑ์” เป็นคำประเภทใด
1. คำพ้องรูป
2. คำพ้องเสียง
3. คำพ้องความหมาย
4. คำพ้องพยางค์

ตอบ 2 หน้า 14 (46134) คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน (รูป) ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าเขียนผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น สัน (สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว),สรร (เลือก คัด),สรรค์ (สร้างให้มีให้เป็นขึ้น), สัณฑ์ (ชัฏ ดง ที่รก) ฯลฯ

104. การใช้คำเปรียบเทียบมุ่งให้เกิดผลอย่างไร
1. มีน้ำหนัก
2. มีความเหมาะสม
3. มีความถูกต้อง
4. มีความชัดเจน

ตอบ 1 หน้า 19 (46134) การใช้คำเปรียบเทียบ คำพังเพย และสุภาษิต จะ ช่วยให้ข้อความกะทัดรัดและมีน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากคำประเภทนี้เป็นคำหรือข้อความที่มีความหมายหนักแน่นและเป็นที่เข้า ใจกันดีอยู่แล้ว แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับข้อความนั้น ๆ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้จักและเข้าใจความหมายของคำเหล่านั้นให้ดีเสียก่อน

105. หนังสือของราชบัณฑิตยสถานเล่มใดที่ใช้ค้นคำ
1. พจนานุกรม พ.ศ. 2525
2. พจนานุกรม พ.ศ. 2542
3. พจนานุกรม พ.ศ. 2550
4. พจนานุกรม พ.ศ. 2553

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ราช บัณฑิตยสถาน เป็นหน่วยงานที่จัดทำพจนานุกรม ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมคำที่มีใช้อยู่ในภาษาไทย โดยจะให้ความรู้และกำหนดในเรื่องอักขรวิธี (บอกคำเขียน) การออกเสียงคำอ่าน (บอกคำอ่าน) และนิยามความหมาย (บอกความหมาย) ตลอดจนบอกประวัติของคำเท่าที่จำเป็น ซึ่งพจนานุกรรมฉบับทางการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

106. ประโยคใดใช้คำฟุ่มเฟือย
1. เขาถูกเลือกเป็นหัวหน้าชั้น
2. เขาเป็นคนดีจึงได้เป็นหัวหน้าชั้น
3. มันเป็นอะไรที่ดีมากที่เขาได้เป็นหัวหน้าชั้น
4. เขาพึ่งได้รับคัดเลือกมาเป็นหัวหน้าชั้นคนใหม่

ตอบ 3 หน้า 18 – 19 (46134) การ ใช้คำฟุ่มเฟือยหรือการใช้คำที่ไม่จำเป็น จะทำให้คำโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น เพราะเป็นคำที่ไม่มีความหมายอะไร แม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทำให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น มันเป็นอะไรที่ดีมากที่เขาได้เป็นหัวหน้าชั้น, แพทย์ทำการตรวจรักษาคนไข้ ฯลฯ

107. การใช้คำที่ไม่จำเป็นทำให้บกพร่องเรื่องใด
1. ชัดเจน
2. น้ำหนัก
3. ถูกต้อง
4. เหมาะสม
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 106. ประกอบ

108. การใช้ภาษาเพื่อตกลงทางธุรกิจ ควรเพ่งเล็งแง่ใดมากที่สุด
1. ภาษากระชับรัดกุม
2. ภาษามีน้ำหนัก
3. ภาษาที่ใช้ถูกต้องชัดเจน
4. ภาษาที่ใช้ความเหมาะสม

ตอบ 3 หน้า 35 – 36, 44 (46134) สิ่ง ที่ควรเพ่งเล็งและคำนึงถึงมากที่สุดในการใช้ประโยคทั้งในภาษาพูดและภาษา เขียน คือ ความถูกต้อง เพราะถ้าหากใช้คำหรือประโยคไม่ถูกต้องจะทำให้ไม่สามารถสื่อความหมายตามที่ ต้องการได้ รวมทั้งยังทำให้ผู้ฟังและผู้อ่านไปเข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงกันกับผู้พูดและ ผู้เขียนอีกด้วย

109. การลำดับความทำให้ประโยคมีลักษณะ
1. ถูกต้อง
2. รัดกุม
3. ชัดเจน
4. เหมาะสม

ตอบ 2 หน้า 39 – 40, 47 (46134) การผูกประโยคให้กระชับรัดกุมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ
1. การรวบความให้กระชับ 2. การลำดับความให้รัดกุม 3. การจำกัดความ

110. การเว้นวรรคทำให้ประโยคมีลักษณะอย่างไร
1. รัดกุม
2. มีน้ำหนัก
3. ชัดเจน
4. มีภาพพจน์

ตอบ 3 หน้า 37 – 38, 47 (46134) การผูกประโยคให้ถูกต้องชัดเจนขึ้นอยู่กับการกระทำดังนี้คือ
1. การเรียงคำให้ถูกที่
2. การขยายความให้ถูกที่
3. การใช้คำหรือประโยคตามแบบภาษาไทย
4. การใช้คำให้สิ้นกระแสความ
5. การเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง

111. “แพทย์ทำการตรวจรักษาคนไข้” เป็นการใช้คำในลักษณะใด
1. ใช้คำกำกวม
2. ใช้คำผิดความหมาย
3. ใช้คำฟุ่มเฟือย
4. ใช้ภาษาหนังสือพิมพ์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 106. ประกอบ

112. การทำประโยคให้รัดกุมทำได้ด้วยวิธีใด
1. ตัดคำ
2. ถ่วงคำ
3. ถ่วงความ
4. รวบความ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 109. ประกอบ

113. การใช้คำ “รุมกันเป็นห่วง” เป็นการใช้คำไม่เหมาะแก่สิ่งใด
1. กาละ
2. บุคคล
3. เทศะ
4. ข้อความ

ตอบ 4 หน้า 16 – 17 (46134) การใช้คำให้เหมาะกับข้อความ คือ คำ บางคำจะเหมาะกับข้อความอย่างหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะกับข้อความอีกอย่างหนึ่งก็ได้ ทั้ง ๆ ที่ความหมายก็ไม่ต่างกันดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น ควรใช้ว่า พากันเป็นห่วง, รุมกันเข้าไปซื้อของ, ชนะอย่างท่วมท้น, แพ้อย่างยับเยิน เป็นต้น

114. “มีคนล้มตาย บาดเจ็บ เป็นจำนวนมาก” เป็นประโยคไม่เหมาะสมด้วยเหตุใด
1. เรียงลำดับคำ
2. ใช้คำฟุ่มเฟือย
3. ใช้คำกำกวม
4. ใช้คำผิดความหมาย

ตอบ 1 หน้า 37 (46134) การ เรียงลำดับคำให้ถูกที่ คือ ต้องวางประธาน กริยา หรือกรรมให้ตรงตามตำแหน่ง เพื่อให้ข้อความถูกต้องชัดเจน เช่น มีคนล้มตาย บาดเจ็บ เป็นจำนวนมาก เป็นประโยค ที่เรียบลำดับคำไม่ชัดเจน จึงควรแก้ไขโดยเรียงลำดับคำให้ถูกที่เป็นมีคนบาดเจ็บ ล้มตายเป็นจำนวนมาก

115. หน่วยงานใดที่กำหนดเรื่องคำเขียนคำอ่าน
1. มหาวิทยาลัย
2. ราชบัณฑิตยสถาน
3. สำนักนายกฯ
4. กรมประชาสัมพันธ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 105. ประกอบ

116. เดือนใดเป็นเดือนสำคัญสำหรับภาษาไท
1. กรกฎาคม
2. มิถุนายน
3. กันยายน
4. สิงหาคม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

117. “พระสงฆ์บิณฑบาตรตอนเช้าตรู่ทุกวัน” ประโยคนี้บกพร่องด้วยเหตุใด
1. เขียนคำผิด
2. ใช้คำผิดความหมาย
3. ใช้คำฟุ่มเฟือย
4. วางส่วนขยายผิดที่

ตอบ 1 ประโยคดังกล่าวเขียนคำผิด จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น พระสงฆ์บิณฑบาตตอนเช้าตรู่ทุกวัน(คำว่า “บิณฑบาต” หมายถึง กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร)

118. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการภาษาไทยอย่างไร
1. ทรงประดิษฐ์อักษรไทย
2. ทรงก่อให้เกิดวันภาษาไทยแห่งชาติ
3. ทรงก่อตั้งหน่วยงานบัญญัติคำภาษาไทย
4. ทรงคิดคำศัพท์ภาษาไทยและให้ใช้อย่างเป็นทางการ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

119. ภาษาไทยและตัวอักษรไทยสะท้อนให้เห็นสิ่งใดมากที่สุด
1. ประเพณีของชาติไทย
2. วัฒนธรรมทางภาษาของชาติไทย
3. พัฒนาการทางภาษาของชาติไทย
4. ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติไทย

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ภาษา ไทยและตัวอักษรไทยสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางภาษาของชนชาติไทยซึ่งมีภาษา ที่เป็นของเราเองมาตั้งแต่พ่อขุนรวมคำแหงทรงเริ่มประดิษฐ์ตัวอักษรและตัวเลข ไทยขึ้นเมื่อพ.ศ. 1826 จากนั้นก็พัฒนามาเป็นภาษาที่สวยงาม มีศิลปะในการนิพนธ์ จนกลายเป็นหนังสือที่เรียกว่า “วรรณคดี” เช่น ร้อยแก้วเรื่องสามก๊ก ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

120. “ภาษาไทยเป็นภาษาที่สวยงาม” สอดคล้องกับข้อใด
1. ภาษาหนังสือพิมพ์
2. ร้อยแก้วเรื่องสามก๊ก
3. อักษรพ่อขุนรามคำแหง
4. การคัดอักษรไทยตัวบรรจง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 119. ประกอบ

Advertisement