การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 (RU 100) ความรู้คู่คุณธรรม
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)

1. ข้อใดเป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับความพอเพียง อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) ความไม่ประมาท
(4) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ตอบ 2 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับ ความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ

Advertisement

2. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการ ประกอบอาชีพตามที่ถนัด และมีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่ น่าอยู่ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน เป็นการประยุกต์ใช้
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับประเทศ
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1หน้า 70 ความพอเพียงระดับประเทศ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามที่ถนัด และ มีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่น่าอยู่ และมีการ รวมกลุ่มของชุมชนให้เป็นเครือข่ายที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน

3. ข้อใดที่ไม่ใช่การประพฤติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง
(2) ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม
(3) ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(4) ประพฤติตนไม่อยู่ในร่องในรอย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยมีแนวทางการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
1. แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล รับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดี
2. ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก
3. ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
4. ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมอันดีงาม
5. ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง ฯลฯ

4.ใครมีหน้าที่ในการออกข้อบังคับระเบียบทางการแพทย์
(1) คุรุสภา
(2) แพทยสภา
(3) คณะครูผู้อาวุโส
(4) สภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แพทยสภา เป็นองค์กรวิชาชีพแพทย์ของไทยในปัจจุบันที่ทําหน้าที่ดูแลควบคุม
ความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม และออกข้อบังคับระเบียบทางการแพทย์ ตลอดจนช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ ให้การศึกษาแก่ ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข

5.เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัยรามคําแหง* (ตราประจํามหาวิทยาลัย) คือ
(1) พระรูปองค์พ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(2) ตรา มร.
(3) แท่นจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 18, (ความรู้ทั่วไป) ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 148 วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2536 (ฉบับพิเศษ หน้า 1 – 3) ระบุว่า เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัย รามคําแหง* (ตราประจํามหาวิทยาลัย) คือ พระรูปพ่อขุนรามคําแหงมหาราช และศิลาจารึก พ่อขุนรามคําแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1)

6. การที่นักศึกษาลดใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 2 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ
การรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด โดยทําลายสิ่งแวดล้อมให้ น้อยที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูเพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ถูกทําลายไป จึงจะสามารถรักษาสมดุลระหว่าง วัตถุกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น

7. หลักสูตรของ 4 คณะแรกที่เปิดสอนในปี พ.ศ. 2514
(1) นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
(2) นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศึกษาศาสตร์
(3) นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์
(4) นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 12, 25 – 27 ในวาระเริ่มแรก (พ.ศ. 2514) มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้จัดตั้งคณะวิชา 4 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ต่อมามหาวิทยาลัยได้ขอจัดตั้งเพิ่มอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และ คณะเศรษฐศาสตร์ แต่สภาการศึกษาแห่งชาติไม่ให้จัดตั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามโครงการจัดตั้งคณะใหม่ ทําให้ในปีการศึกษา พ.ศ. 2516 มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 7 คณะ

8.จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ละคร
(2) พันธุกรรม
(3) การทําวิจัย
(4) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
ตอบ 4 หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม

9. ข้อใดหมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) Course Online on Demand
(2) Course on Classroom
(3) Course on Demand
(4) Online on Demand
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Course or Demand หมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัย รามคําแหง หรือวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังจากห้องเรียน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอน ชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง และถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) คือ การเรียนแบบต่างเวลา (Anytime) ต่างสถานที่ (Anywhere) โดยผู้เรียนจะเรียนเมื่อใดและที่ไหนก็ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

10. ปัจจัยภายนอกใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
(2) การฝึกอบรม
(3) การตระหนักถึงส่วนรวม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 2 หน้า 85 – 86 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม ซึ่งเป็นภาวะที่ลึกซึ้งกว่าภาวะทางกายภาพเพียงประการเดียว เป็นภาวะที่ได้รับการฝึกอบรม กล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละน้อย
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและ ความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ

11. การปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินการ
ไปในทางสายกลาง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) เงื่อนไขพื้นฐาน
(2) หลักการ
(3) แนวคิดหลัก
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 3 หน้า 63, 67 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายความว่า แนวทางการดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

12. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(2) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(3) เอกลักษณ์แห่งตน
(4) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
ตอบ 3 หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

13. วันสถาปนามหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปี คือ
(1) 25 พฤศจิกายน
(2) 24 พฤศจิกายน
(3) 26 พฤศจิกายน
(4) 27 พฤศจิกายน
ตอบ 3 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

14. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด

(1) อนุญาตให้ใช้แต่ต้องไม่ดัดแปลง
(2) ใช้เพื่อการค้า
(3) แสดงที่มา อ้างอิงที่มา
(4) อนุญาตแบบเดียวกัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึง ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works – ND) คือ อนุญาตให้ผู้อื่นทําซ้ํา แจกจ่าย หรือแสดงและนําเสนอชิ้นงานดังกล่าวได้ ในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น

15. การที่บุคคลมีความรับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต บริหารรายรับและรายจ่ายให้เกิด ความสมดุล รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างมีคุณค่า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับชุมชน
(2) ความพอเพียงระดับประเทศ
(3) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
ตอบ 3 หน้า 68 ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ สังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสง่างาม เหมาะสมกับที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้เลียนแบบ และปฏิบัติตาม โดยหัวหน้าครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
8. อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

16. หลักอัตตาธิปไตย คือ
(1) การถือตนเป็นใหญ่
(2) การถือเอาฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่
(3) การถือเอาความปรารถนาของตนเป็นใหญ่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คนที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี ต้องมีหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ และกระทําการด้วยการปรารถนาตนในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพตน
2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพเสียงหมู่ชน
3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือเอาความถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล ชอบธรรม ซึ่งเป็น หลักการปกครองที่ดีที่สุด เพราะจะทําให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างแท้จริง

17. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความรู้
(2) ความเป็นธรรมชาติ
(3) ความรัก
(4) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตอบ 4 หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของ การสร้างประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยง เป็นเครือข่าย ซึ่งอาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ความรัก
2. ความรู้
3. ความเป็นธรรมชาติ

18. หลักคุณธรรมที่ทุกคนต้องมีในเบื้องต้น คือ “หลักธรรมาธิปไตย” หมายถึงข้อใด
(1) การถือศีลเป็นใหญ่
(2) การถือตนเป็นใหญ่
(3) การถือธรรมเป็นใหญ่
(4) การถือใจเป็นใหญ่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

19. การเสริมสร้างระบบคุณธรรมจริยธรรม คือ
(1) บ่งบอกถึงคุณภาพด้านจิตใจและพฤติกรรมของผู้คนที่แสดงออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม
(2) เป็นดัชนีชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ
(3) เป็นรากฐานของความเข้มแข็งของประชาชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 38 การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นรากฐานของความเข้มแข็งของประชาชน และเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติที่บ่งบอกถึงคุณภาพทางด้านจิตใจและพฤติกรรมของผู้คนที่แสดงออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม

20. การมีจิตใจเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้าต่อปัญหาและปฏิเสธการรับผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง มีจิตสํานึกที่ใฝ่ดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 4 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านจิตใจ คือ มีจิตใจเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้า ต่อปัญหาและปฏิเสธการรับผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง มีจิตสํานึกที่ใฝ่ดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีคุณธรรมในการดํารงอยู่ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ตลอดจน ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทําด้วยความใจกว้างและมีเหตุผล

21. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะ และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านจิตใจ
(2) ด้านเศรษฐกิจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้าง งบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

22. การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตนให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ รู้รักสามัคคี ไม่โลภ และรู้จักแบ่งปัน
ให้ผู้อื่น เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เป้าประสงค์
(2) เงื่อนไขชีวิต
(3) เงื่อนไขคุณธรรม
(4) เงื่อนไขหลักวิชา
ตอบ 3 หน้า 66 เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตน ให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น เช่น การที่นักศึกษาแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ตนเองได้รับ เป็นต้น

23. บทเรียนออนไลน์ คือแหล่งเรียนรู้ลักษณะใด
(1) แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
(2) แหล่งเรียนรู้ออฟไลน์
(3) แหล่งเรียนรู้แบบเปิด
(4) แหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
ตอบ 4(คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เช่น สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมต่าง ๆ

24. การเป็นผู้มีมารยาทมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นที่รักใคร่และยอมรับของสังคม
(2) ก่อให้เกิดความเรียบร้อยในการสื่อสาร
(3) ก่อให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเป็นผู้มีมารยาท มีดังนี้
1. ทําให้เป็นที่รักใคร่และยอมรับของสังคม
2. ก่อให้เกิดความเรียบร้อยในการสื่อสาร
3. ทําให้ส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพให้งดงามน่าเลื่อมใสได้
4. ก่อให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม ฯลฯ

25. ในฐานะครูอาจารย์ จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(3) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(4) การใช้น้ําอย่างประหยัด
ตอบ 2 หน้า 92 ในฐานะครูอาจารย์ สามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวัน คือ การจัดกิจกรรมให้นักเรียน/นักศึกษาได้ทํางานร่วมกัน การฝึกวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างโครงการจิตสาธารณะหรือกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน โดยการแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจิตสาธารณะลงไปในบทเรียน ฯลฯ

26.ข้อใดคือความหมายของจรรยาบรรณ
(1) ความประพฤติที่พึงปฏิบัติ กิริยาที่ควรปฏิบัติ หรือสิ่งที่ควรปฏิบัติ
(2) ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริม
เกียรติคุณชื่อเสียง
(3) ความมีจิตสํานึกในสิ่งที่ดีงามและเหตุผล รวมทั้งความรู้ทางทฤษฎีและแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ส่งผลต่อความมีเหตุผลในการทําหน้าที่
(4) หนังสือหรือเอกสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่างได้กําหนดขึ้นมา เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

27. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Tacit Knowledge
(1) นายเอเป็นครูสอนหนังสือ
(2) นายปีเป็นนักเขียนนวนิยาย
(3) นายซีชอบเขียนบทความลงเว็บไซต์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1(คําบรรยาย) ความรู้ 2 ประเภท มีดังนี้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่าง ยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้ง ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด เช่น เชฟทําอาหาร, นักกีฬา ฟุตบอลทีมชาติ, ครูสอนหนังสือ ฯลฯ

2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถ สัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะถ่ายทอดออกมาในรูปของตํารา หนังสือพิมพ์ นวนิยาย ภาพวาด รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

28. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Explicit Knowledge
(1) นายที่เป็นนักวาดภาพ
(2) นายซีเป็นนักเขียนข่าว
(3) นายเอเป็นนักเขียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการเกิดคุณธรรมจริยธรรมของมนุษย์
(1) เกิดจากการศึกษาค้นคว้า
(2) เกิดจากการเลียนแบบ
(3) เกิดจากการสร้างตนเอง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. การเลียนแบบ
2. การสร้างในตนเอง
3. การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)

30. ข้อใดถูกต้องที่สุดในความหมายของหลักคุณธรรมประจําใจ
(1) จริยศาสตร์ 4
(2) อิทธิบาท 4
(3) พรหมวิหาร 4
(4) อริยสัจ 4
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลักคุณธรรม ประจําใจ เพื่อให้ตนดํารงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่น “พรหม” ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม

31. การปฏิบัติตามหลักความพอเพียง ควรเริ่มจากที่ใด
(1) เพื่อน
(2) ครอบครัว
(3) ตนเอง
(4) ประเทศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนหรือดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจากตนเองก่อน เป็นลําดับแรก เมื่อตนเองสามารถยืนหยัดอยู่ได้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นนําไป ประพฤติปฏิบัติตาม จากนั้นจึงเป็นครอบครัว ชุมชน รัฐหรือประเทศชาติ

32. ข้อใดกล่าวถึง Massive Open Online Courseware ได้ถูกต้องที่สุด
(1) บทเรียน E-learning
(2) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่าย
(3) รายวิชาออนไลน์ที่เรียนได้ฟรี
(4) แหล่งเรียนรู้รายบุคคล
ตอบ 3(คําบรรยาย) Massive Open Online Courseware (MOOC) คือ หลักสูตร (Course) หรือรายวิชาที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิดให้ใช้งานฟรี (Open) และรองรับ ผู้เรียนจํานวนมาก (Massive) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความชอบ โดยการเชื่อมต่อ เข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทําแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือร่วมสนทนา กับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้แบบไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

33. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของจิตสาธารณะ
(1) จิตสาธารณะจะช่วยลดปัญหาทางสังคม
(2) จิตสาธารณะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(3) จิตสาธารณะจะช่วยทําให้ครอบครัวประหยัด
(4) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ สังคมจะชื่นชม
ตอบ 1 หน้า 77, 81 จิตสาธารณะมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เมื่อบุคคลมีจิตสาธารณะ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

34. เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
(2) เป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา
(3) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
(4) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด
ตอบ 2 หน้าคํานํา, (คําบรรยาย) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นมหาวิทยาลัยแบบ
ตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัด จํานวน

35.การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในการทํางาน
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(4) การฝึกอบรม
ตอบ 2หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง โดยพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวจะเป็นตัวแบบ ในการดําเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม เพราะหากเด็ก ๆ ได้รับรู้ตั้งแต่ต้นจะได้แบบพิมพ์ที่ดีและ ยั่งยืน ส่วนผู้นําในสังคมเองก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบคนดี

36. อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) เป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา
(2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
(3) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด
(4) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ตอบ 2 หน้าคํานํา วัตถุประสงค์ของการเปิดสอนและการศึกษาวิชา RAM 1000 ความรู้คู่คุณธรรม ก็เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่ทําให้สังคมยอมรับ

37. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 73 – 74 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนด้านการลงทุนและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

38. ถ้านักศึกษาต้องการสั่งซื้อตําราเรียนของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ข้อใดให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.ru.ac.th
(2) www.lib.ru.ac.th
(3) www.rupress.ru.ac.th
(4) www.edu.ru.ac.th
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) การสั่งซื้อตําราเรียนของมหาวิทยาลัยรามคําแหง สามารถซื้อได้โดยตรงที่ อาคารสํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) หรือสั่งซื้อตําราแบบออนไลน์ได้ ที่www.rupress.ru.ac.th

39. นักกฎหมายหรือผู้ปกครองบ้านเมืองควรต้องมี “ทศพิธราชธรรม” หมายถึงข้อใด
(1) คุณธรรมของพระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง
(2) คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง
(3) คุณธรรมของพระมหากษัตริย์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทศพิธราชธรรม คือ คุณธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ หรือ ผู้ปกครองบ้านเมือง มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1. ทานัง (ทาน)
2. สีลัง (ศีล)
3. ปริจจาคัง (ปริจจาคะ)
4. อาชชะวัง (อาชชวะ)
5. มัททะวัง (มัททวะ)
6. ตะปัง (ตปะ)
7. อักโกธัง (อักโกธะ)
8. อวิหิงสัง (อวิหิงสา)
9. ขันติ คือ ความอดทน
10. อะวิโรธนะ คือ มีปฏิบัติคลาดจากธรรม

40.ส.ส. จังหวัดชุมพร พรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) คือใคร
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายประมวล กุลมาตย์
(3) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
(4) นายแคล้ว นรปติ
ตอบ 2หน้า 2 – 3 ในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทุกภาคของประเทศ ที่สังกัดพรรคสหประชาไทยได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่
(มหาวิทยาลัยรามคําแหง) ได้แก่
1. นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส. จังหวัดชุมพร เป็นผู้เริ่มจัดทําร่างพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัย……….พศ………
2. นายสวัสดิ์ คําประกอบ ส.ส. จังหวัดนครสวรรค์
3. นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส. จังหวัดอุดรธานี
4. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา
5. นายสุรินทร์ เทพกาญจนา ส.ส. จังหวัดสมุทรสาคร
6. นายประสิทธิ์ ชูพินิจ ส.ส. จังหวัดกําแพงเพชร
7. นายชื่น ระวิวรรณ ส.ส. จังหวัดหนองคาย และมี ส.ส. ร่วมลงชื่อรับรองอีก 43 คน

41. คุณธรรมสําหรับครู คือข้อใด
(1) มีพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม
(2) คุณงามความดีของคนที่เป็นครู
(3) มีความเสียสละ มีความยุติธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณธรรมสําหรับครู คือ คุณงามความดีของบุคคลที่เป็นครู ซึ่งได้กระทําไปด้วย ความสํานึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทําความดี เป็นพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับ ของสังคม เช่น ครูที่รักเด็กและรักเพื่อนมนุษย์ มีความเสียสละ มีความยุติธรรม มีความเกรงใจ มีน้ําใจงาม มีความเห็นอกเห็นใจลูกศิษย์ และมีมารยาทที่งดงาม ก็ถือเป็นครูที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น

42. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี คือข้อใด
(1) การขาดระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
(2) การเห็นแก่ประโยชน์ของเครือญาติ
(3) การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3
(คําบรรยาย) คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี มีดังนี้
1. ความเอื้อเฟื้อ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
3. รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
5. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทําชั่ว
6. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
7. ความสามัคคี
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจ ฯลฯ

43. คําว่า “พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย” หมายถึง
(1) เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
(3) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะสําคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการ ดํารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

44. ผลดีของการมีสติ หมายถึงข้อใด
(1) รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
(2) รู้ว่าใครจะทําอะไร
(3) รู้อดีตชาติของตนเอง
(4) รู้ว่าตนเองกําลังทําอะไร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สติสัมปชัญญะ หมายถึง การระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอว่ากําลังทํา พูด คิด หรือ มีพฤติกรรมใดอยู่ สามารถฝึกตนให้เป็นคนรู้จักคิดและรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าสิ่งใดควรกระทําและ ไม่ควรกระทํา ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท จึงถือเป็นหลักธรรมที่ตรงข้ามกับความประมาท เลินเล่อ เมื่อจะคิด ทํา หรือพูดสิ่งใดก็ไม่ผิดพลาด

45. การที่นักศึกษามีการวางแผนทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และต้องมีการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะในข้อใด
(1) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(2) ความพอประมาณ
(3) ความมีเหตุผล
(4) ความไม่ประมาท
ตอบ 1 หน้า 65, 82, (คําบรรยาย) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับ ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้น โดยต้องคํานึงถึงความเป็นไปได้และ ประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อให้สามารถ ปรับตัวและพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพด้วยเวลาที่เหมาะสม เช่น นักศึกษาวางแผนการทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เป็นต้น

46. สนธยาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มาเรียนแต่เช้าและเข้าเรียนตรงเวลา แสดงว่าสนธยามีคุณสมบัติตามข้อใด
(1) มีมารยาท
(2) มีความเป็นสุภาพชน
(3) มีวินัย
(4) มีบุคลิกดี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
4. มีวินัย
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
8. มีน้ำใจ
(มีวินัย เป็นหนึ่งในคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ซึ่งหมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ โดยต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม)

47. การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สื่อมวลชน
(2) สถาบันศาสนา
(3) สถาบันการศึกษา
(4) สถาบันครอบครัว
ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) สถาบันการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม โดยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสํานึกความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก ภายใน อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งเน้นไปที่การพัฒนา จริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ มากกว่าการพัฒนาเพื่อความสําเร็จในวิชาชีพโดยปราศจากพื้นฐานทางด้านจริยธรรม

48. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(2) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(3) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
(4) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคมมีลักษณะดังนี้

1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6.การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย

49. ต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ฝ้ายคราม
(2) สุพรรณคํา
(3) สุพรรณิการ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542

50. ความรู้ในลักษณะ Soft Skill คือข้อใด
(1) สมหมายเก๋งขับรถยนต์
(2) สมคิดมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้นํา
(3) สมควรเรียนหนังสือเก่งมาก
(4) สมหวังเก่งการถ่ายภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเภทของความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบของสื่อหรือเอกสาร (Hard Skills) ที่เราถ่ายทอด ปฏิบัติ หรือได้รับ การฝึกฝนมา เช่น การเขียนหนังสือหรือตํารา, การขับรถยนต์เก่ง, การถ่ายภาพสวย ฯลฯ
2. ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา (Soft Skills) หรือเรียกว่า “พรสวรรค์” รวมทั้งทักษะในด้าน ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยุคปัจจุบัน เช่น ทักษะด้านการถ่ายทอดสื่อสารข้อมูล, ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นํา, การจัดการแก้ปัญหา, การมีคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ

51. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงข้อใด
(1) มีความพร้อมที่จะเผชิญต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
(2) กล้าเสี่ยงในการลงทุน
(3) ยอมรับสภาพสังคมได้ทั้งสภาพดีและไม่ดี
(4) ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

52. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสมดุลในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม
สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(1) หลักการ
(2) เป้าประสงค์
(3) แนวคิดหลัก
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 64 เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองต้องสามารถสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เช่น เมื่อนักศึกษามีความสามารถในการหารายได้ด้วยตนเองจากงานพิเศษก็ต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล

53. พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ
(2) แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
(3) แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
(4) แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นชุมชนหรือสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บ้าน วัด แปลงเกษตร ศาสนสถาน ศูนย์ราชการ ศาล พรรคการเมือง รัฐสภา สถานีตํารวจ ศูนย์ฝึกอาชีพ ฯลฯ

54. ข้อใดกล่าวถึง ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
(1) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
(2) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(3) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(4) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้ มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต

3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ

55. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง หมายถึง
(1) การตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พึ่งตนเองให้มากขึ้นในทุกระดับ
(2) พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
(3) ทําทุกอย่างแบบกลาง ๆ ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
(4) ความพอดีพอเหมาะ มีความหลากหลาย และกลมกลืน
ตอบ 1 หน้า 62 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญเด่นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เพราะเป็นแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยสามารถเลี้ยงชีพด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ ในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่ง “ทางสายกลาง และความไม่ประมาท”

56. ในฐานะสมาชิกของสังคม จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร

(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การใช้น้ําอย่างประหยัด
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
ตอบ 2 หน้า 92 ในฐานะสมาชิกของสังคมไทย สามารถนําเอาจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ โดยเริ่มจากตนเองในกิจกรรมเล็ก ๆ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ํา น้ำมัน หรือไฟฟ้าอย่างประหยัด และคุ้มค่า ฯลฯ จนไปถึงกิจกรรมใหญ่ ๆ ในระดับชุมชน ได้แก่ การพัฒนาชุมชน, การรักษา สิ่งแวดล้อมในชุมชน (เช่น การไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลําคลอง) ฯลฯ หรือจนถึงระดับประเทศชาติ เช่น การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ต่าง ๆ ฯลฯ

57. ข้อใดถูกที่สุดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม
(1) ปรัชญา ศาสนา วรรณคดี สังคม การเมือง
(2) พี่น้อง ญาติ เพื่อน ครู
(3) ทางโลก ทางธรรม ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ
(4) กิ๊ก คนรัก คู่หมั้น ชู้รัก
ตอบ 1 หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และสุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง

58.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ การเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(2) การถ่ายทอดการบรรยายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(3) บทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(4) การสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจากห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน

59.ความหมายของคําว่า “พลเมือง” ที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน
(1) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
(2) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(3) ประชาชนคนไทยที่ไร้สัญชาติ
(4) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมือง” ในประเทศไทย น่าจะถูกนํามาใช้ในสมัยหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมาย ของคําว่า “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน

60. หลักอัตตาธิปไตย คือ
(1) การถือว่าตนตัวใหญ่
(2) การมีตัวตน
(3) การถือเอาฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่
(4) การรู้จักวางตน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

61. ผู้ริเริ่มให้มีข่าวรามคําแหง
(1) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
(2) รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล
(3) ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ : 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ข่าวรามคําแหงฉบับแรกได้ถือกําเนิดขึ้น โดยมี ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ซึ่งดํารงตําแหน่งรักษาการอธิการบดีในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่มให้มีการ จัดทําขึ้นมา ทั้งนี้ข่าวรามคําแหงฉบับแรกเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ มีจํานวนหน้าเพียง 4 หน้า

62. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจึงมี ซึ่งจะส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีให้กับประเทศชาติ
(1) จรรยาบรรณวิชาชีพมัคคุเทศก์
(2) จรรยาบรรณผู้ประกอบอาชีพธุรกิจ
(3) จรรยาบรรณวิชาชีพครู
(4) จรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์แผนไทย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) มัคคุเทศก์หรือไกด์ เป็นอาชีพสําคัญทางด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่ทําเงินตราให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นมัคคุเทศก์หรือไกด์จึงเป็นเสมือนทูตทางวัฒนธรรมของประเทศที่ต้องคํานึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจึงมี ซึ่งจะส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีให้กับประเทศชาติ (ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ)

63.ข้อใดคือความหมายของจิตสาธารณะ
(1) ความรักชาติ
(2) การคํานึงถึงความต้องการของส่วนรวม
(3) ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม
(4) ความคิดถึงส่วนรวม
ตอบ 3 หน้า 79 – 81, 93 จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือ เป็นการตระหนักรู้ตนที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้นจึงเป็นคําที่ มีความหมายตรงข้ามกับคําว่า “เห็นแก่ตัว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

64. ข้อใดไม่ได้อยู่ในแนวการปฏิบัติที่ถูกต้องของจรรยาบรรณสําหรับนักกฎหมาย
(1) กฎหมายเป็นเครื่องมือของความยุติธรรม
(2) ความยุติธรรมไม่ใช่อยู่เหนืออามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์ใด ๆ
(3) มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณหรือแนวปฏิบัติที่ดีงามของนักกฎหมาย (เช่น ตุลากร อัยการ และ
ทนายความ ฯลฯ) มีดังนี้
1. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน
2. ความยุติธรรมอยู่เหนืออามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์ใด ๆ
3. นักกฎหมายทุกคนเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกคนในด้านความยุติธรรม
4. กฎหมายเป็นเครื่องมือของความยุติธรรม มิใช่มาตรการความยุติธรรม
5. ความยุติธรรมเป็นกลางสําหรับทุกคน ฯลฯ

65. การที่บุคคลมีการช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ และการให้
ความร่วมมือสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับชุมชน
(2) ความพอเพียงระดับประเทศ
(3) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 69 ความพอเพียงระดับชุมชน คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

66. มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นสถาบันการศึกษาแบบ “ตลาดวิชา” จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. ใด
(1) 2512
(2) 2516
(3) 2511
(4) 2514
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ดําเนินการ แบบตลาดวิชา โดยมีการจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514

67. การมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(2) ความพอเพียงระดับประเทศ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1หน้า 69, (คําบรรยาย) ความพอเพียงระดับธุรกิจ คือ ธุรกิจเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่สําคัญ ต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ธุรกิจควรมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
2. แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
3. พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างคุณค่าตราสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือ
4. ต้องรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง
5. ซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

68. ข้อความที่กล่าวถึงระดับโลกุตรธรรมที่ถูกต้อง คือ
(1) เป็นธรรมชั้นสูง
(2) สภาวะที่พ้นโลก
(3) ผู้บรรลุจริยธรรมจัดเป็นอริยบุคคล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 48 การวัดระดับของคุณธรรมจริยธรรมทําได้ 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโลกียธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของมนุษย์โลก สภาวะเนื่องกับโลก จัดเป็นธรรม ขั้นต้น เช่น ศีล 5 มุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่ทําชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
2. ระดับโลกุตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก จัดเป็นธรรมชั้นสูง เช่น มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งผู้ที่บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือ ผู้พ้นจากกิเลส

69. ข้อใดถูกต้องที่สุด สมาธิทําให้เกิด
(1) สมาธิ
(2) สติ
(3) ปัญญา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การบริหารจิตเพื่อให้เกิดสมาธิ จะต้องเริ่มต้นฝึกให้มีสติ (การระลึกได้รู้ได้) ก่อน เป็นลําดับแรก เพราะสติถือเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกสมาธิ และเป็นพลังสําคัญที่ช่วยให้สามารถ คุมจิตไว้ให้ระลึกได้อยู่เสมอ ดังนั้นบุคคลควรฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งเมื่อบุคคลมีสติครองตน ก็จะก่อให้เกิดสมาธิตั้งมั่นแน่วแน่ และเกิดปัญญารู้แจ้งตามลําดับ

70. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) อายุ 7 – 14 ปี
(2) อายุ 3 – 6 ปี
(3) อายุ 2 – 3 ปี
(4) ก่อนอายุ 6 ปี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

71. องค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมด้านใดสําคัญที่สุดในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
(1) ปัญญา
(2) จิตใจ
(3) ความคิด
(4) พฤติกรรม
ตอบ 1 หน้า 49, 51 แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยพัฒนาองค์ประกอบของจริยธรรม ทั้ง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมนั้น จะเห็นได้ว่า “ปัญญา” ถือเป็นองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุด ซึ่งจะชี้นําจิตใจและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้ดําเนินไปได้อย่างถูกต้องตาม
ครรลองครองธรรม

72.การ Reskill หมายถึงข้อใด
(1) การพัฒนาทักษะจากงานเดิม
(2) การสร้างทักษะใหม่ในการทํางาน
(3) การเสริมทักษะจากงานเดิม
(4) การเพิ่มความสามารถในการทํางาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การ Reskill คือ การสร้างทักษะใหม่ในการทํางานที่แตกต่างไปจากงานเดิม ที่ทําอยู่ เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อนําไปใช้กับบริบทอื่นของตําแหน่งงาน และเพื่อให้ สามารถตอบโจทย์กับการทํางานในยุคที่เทคโนโลยีและดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา (ส่วนการ Upskill คือ การเสริมและพัฒนาทักษะจากงานเดิม เพื่อเพิ่มความสามารถในการ ทํางาน และส่วนใหญ่เป็นการนําเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อให้เข้ากับการทํางาน เช่น เรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม เมื่อบริษัทนั้นนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการ ทํางานใหม่ เป็นต้น)

73.“ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร” เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) เป้าประสงค์
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) แนวคิดหลัก
(4) หลักการ
ตอบ 4 หน้า 64 หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมไปถึงความจําเป็นที่เราจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

74. Creative Commons เป็นสัญญาอนุญาตกับสื่อในลักษณะใด
(1) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(2) สื่อเสียง
(3) สื่อโทรทัศน์
(4) สื่อสิ่งพิมพ์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการเผยแพร่สื่อทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ทุกรูปแบบ โดยแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกเพื่อการ แจกจ่ายและใช้ข้อมูลด้วยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

75. แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
(1) ลาภ ยศ สรรเสริญ
(2) ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม
(3) ความกล้าหาญ ความอุตสาหะ ความขยัน
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

76. เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษามารยาททางสังคม
(1) เพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
(2) เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
(3) เพื่อให้เกิดความเจริญในสังคม
(4) เพราะอยู่ในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) มารยาททางสังคม คือ กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติปฏิบัติ หรือควรละเว้นในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และเพื่อให้ทุก ๆ คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข จีงต้องมีกฎกติกา าหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกันเอาไว้

77. Open Educational Resources หมายถึงข้อใด
(1) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด
(2) ระบบการเรียนรู้รายบุคคล
(3) การจัดการศึกษาแบบเปิด
(4) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources : OER) คือ แหล่งการเรียนรู้ด้านการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียมการใช้ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสนับสนุน และ มีเป้าหมายใช้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้า ซึ่งผู้นําไปใช้อาจจะเป็นการเรียนรู้เพื่อตนเอง ใช้เป็น เอกสารอ้างอิง หรือเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เช่น สื่อมัลติมีเดียใหม่ ๆ วิดีโอบรรยาย ตําราเรียน ฯลฯ

78. สถานที่ใช้ในการปฐมนิเทศครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหงวันที่ 15 พฤษภาคม 2514
(1) สนามกีฬาธูปะเตมีย์
(2) ตึกเอดี 1
(3) สนามกีฬาศุภชลาศัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 19 เมื่อเปิดมหาวิทยาลัยรามคําแหงปี พ.ศ. 2514 มีการจัดปฐมนิเทศครั้งแรกในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ณ สนามศุภชลาศัย (สนามกีฬาแห่งชาติ) และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 ณ หน้าตึกเอดี 1 หลังจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนขึ้นทะเบียนนักศึกษาลงทะเบียนเรียนเข้าชั้นเรียนหรือศึกษาด้วยตนเองและสอบไล่ต่อไป

79. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 3 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานองคลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง

80. การบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ชั้นที่หนึ่ง
ตอบ 4 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1. ขุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ําต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

81. ข้อใดเป็นคําขวัญของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
(1) “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ”
(2) “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม”
(3) “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง”
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
1. “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคําขวัญแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะ แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
2. “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527
3. “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดคําขวัญเนื่องใน โอกาส 40 ปี รามคําแหง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ฯลฯ

82. ใครมีหน้าที่ในการออกข้อบังคับ ระเบียบประเพณีของครูว่าด้วยจรรยาบรรณครู 10 ประการ
(1) คณะผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
(2) คุรุสภา
(3) สภาผู้แทนราษฎร
(4) คณะครูผู้อาวุโส
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสําหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครู (คุรุสภา) เป็นผู้กําหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนจะต้องถือปฏิบัติ โดยเคร่งครัด ซึ่งจรรยาบรรณครูฉบับแรก เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยจรรยามารยาทอันดีงาม ตามประเพณีของครู” พ.ศ. 2506 มี 10 ประการ

83. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยทางจิตในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(2) จิตสาธารณะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวบุคคล
(3) ปัจจัยทางจิตมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยด้านสังคมในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 86 จิตสาธารณะเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ที่มีความต่อเนื่องกันระหว่างปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ดังนั้นการพัฒนาจิตสํานึกสาธารณะจึงต้องกระทําควบคู่กันทั้งปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอก เพราะถ้าหากคน ๆ หนึ่งเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คนรอบข้าง มีจิตสาธารณะ แต่ตัวเขาเองขาดปัจจัยภายใน คือ ขาดการคิดวิเคราะห์ที่เหมาะสม เขาก็จะ ไม่นําเอาแบบอย่างที่ดีในสังคมมาปฏิบัติ ในทางตรงกันข้าม หากคน ๆ หนึ่งมีจิตใจที่เสียสละ เพื่อส่วนรวม แต่ปัจจัยภายนอกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสังคมที่เขามักจะถูกเอาเปรียบอยู่เสมอในที่สุดเขาอาจจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัวได้

84. จังหวัดใดไม่ได้สังกัดอยู่ในสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) จังหวัดยะลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส
(2) จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย
(3) จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา
(4) จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สงขลา
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคที่ จัดตั้งตามลําดับอยู่ใน 23 จังหวัด ได้แก่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี อํานาจเจริญ นครพนม แพร่ นครราชสีมา สุโขทัย ขอนแก่น ศรีสะเกษ ตรัง ลพบุรี หนองบัวลําภู ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ อุดรธานี กาญจนบุรี สุรินทร์ เชียงราย สงขลา เชียงใหม่ และพังงา

85.Global Village แสดงถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องในเรื่องใด
(1) การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
(2) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
(3) กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
(4) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
ตอบ. 1 (คําบรรยาย) หมู่บ้านโลก (Global Village) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฉพาะการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ทําให้สังคมโลก
ไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทําอะไรก็สามารถ รับรู้ได้ทั่วโลก หรือสิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้

86. ในฐานะผู้ปกครอง จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(2) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(3) การใช้น้ำอย่างประหยัด
(4) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
ตอบ 4 หน้า 92 ในฐานะพ่อแม่หรือผู้ปกครอง สามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน โดยรักษาวินัยทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ การยกย่องชมเชยหรือให้กําลังใจเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ รวมทั้งแสดงพฤติกรรมที่ เหมาะสมในการทําเพื่อสังคม ซึ่งนับเป็นการกระทําที่ได้ช่วยเหลือสังคมทางอ้อม เพราะเป็นการ สร้างให้คนมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น

87. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) มีประชาคมคอยช่วยเหลือ
(2) มีความพอประมาณ
(3) มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
(4) มีความรักในชาติ
ตอบ 3 หน้า 83 – 84 วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคมภาคประชาชน พบว่า
ผู้ที่มีจิตสํานึกสาธารณะมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้
1. มีความรัก ความเอื้ออาทร
2. มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
3. มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

88. ข้อใดที่ไม่ใช่แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม
(1) วรรณคดี
(2) สภาพแวดล้อม
(3) ปรัชญา
(4) ศาสนา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

89. องค์ประกอบหลักตามหลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 จําแนกได้กี่องค์ประกอบ
(1) 3
(2) 5
(3) 4
(4) 2
ตอบ 3 หน้า 63 – 66 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมวล
หลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 โดยจําแนกออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. แนวคิดหลัก
2. เป้าประสงค์
3. หลักการ
4. เงื่อนไขพื้นฐาน

90. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคล
(1) พฤติกรรมเป็นส่วนที่สําคัญที่สุด
(2) ปัญญาเป็นส่วนที่สําคัญที่สุด
(3) จิตใจเป็นส่วนที่สําคัญที่สุด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

91. สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในกรุงเทพมหานครปัจจุบันมีกี่แห่ง
(1) 3 แห่ง
(2) 1 แห่ง
(3) 23 แห่ง
(4) 2 แห่ง
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในกรุงเทพมหานครปัจจุบันมี 2 แห่ง ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยรามคําแหงที่หัวหมาก
2. มหาวิทยาลัยรามคําแหง วิทยาเขตบางนา

92. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดเป็น
(1) คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(2) คิดไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
(3) คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน
(4) คิดแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของการ “คิดเป็น” มีดังนี้
1. คิดแยกเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
2. คิดแยกเรื่องตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. คิดที่จะไม่นําประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมมาปะปนกัน หรือมาก้าวก่ายกัน
4. คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. คิดที่จะไม่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
6. คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เครือญาติ และพวกพ้อง

93. หลักการปฏิบัติตนตามแนวทางของความพอเพียงของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ประมวล หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้ประชาชนได้เห็นมาโดยตลอดได้ 10 ข้อ ข้อใด ต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ในหลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท
(1) มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
(2) ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
(3) ความอดทน มุ่งมั่น ยึดความเหมาะสมและกาลเทศะ
(4) มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
ตอบ 3
(คําบรรยาย) หลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท มีดังนี้
1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
7. มีความสุจริตและความกตัญญู
8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
9. รักประชาชน
10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

94. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจและปัญหา
ทางสังคมไทยได้ถูกต้องที่สุด
(1) ยึดหลักตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
(2) มุ่งประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสําเร็จของประโยชน์แห่งรายได้
(3) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคี
(4) ให้ความสําคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน
ตอบ 1 หน้า 62, (คําบรรยาย) คําว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” หมายถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งจะมีความเชื่อมโยงกับหลักคําสอนของพระพุทธศาสนาเรื่อง “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” (ตนเป็น ที่พึ่งแห่งตน) โดยมุ่งเน้นให้บุคคลรู้จักพึ่งตนเองในการทํามาหาเลี้ยงชีพ สร้างฐานะ และเป็น ที่พึ่งของบุคคลอื่น นอกจากนี้ยังเน้นให้พัฒนาประเทศชาติแบบไม่อิงเศรษฐกิจโลกจนเกินไปเพื่อแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจและปัญหาของสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

95. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดได้
(1) คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการทุจริต
(2) คิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
(3) คิดก่อนทํา
(4) คิดถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้จากการตัดสินใจทํา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการคิดได้ มีดังนี้
1. คิดก่อนทํา (ก่อนกระทําการทุจริต)
2. คิดถึงผลเสียผลกระทบต่อประเทศชาติ (ความเสียหายต่อส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน)
3. คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการกระทําการทุจริต (เอามาเป็นบทเรียน)
4. คิดถึงผลเสียผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (จะต้องอยู่กับความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียน ถูกลงโทษไล่ออก และติดคุก)

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักแห่งการพึ่งพาตนเอง
(1) หลักด้านกายภาพ
(2) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) หลักด้านจิตใจ
(4) หลักด้านเทคโนโลยี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

97. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
(1) Outside Information
(2) Accepting Benefits
(3) Outside Employment or Moonlighting
(4) Self – dealing or Contracts
ตอบ 1 (คําบรรยาย) John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จําแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ (Accepting Benefits)
2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self – dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts)
3. การทํางานหลังออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post – employment)
4. การทํางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting)
5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information)
6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using your Employer’s property for Private Advantage)
7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork – barreling)

98. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
(4) มี มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวกและ ด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง

99. ข้อใดต่อไปนี้คือระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
(1) การทุจริตส่วนรวม และการทุจริตส่วนบุคคล
(2) การทุจริตในวงราชการ และการทุจริตในภาคเอกชน
(3) การทุจริตในประเทศ และการทุจริตนอกประเทศ
(4) การทุจริตระดับชาติ และการทุจริตในระดับท้องถิ่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. การทุจริตระดับชาติ
2. การทุจริตในระดับท้องถิ่น

100. สาระสําคัญทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)จะเป็นเครื่องมือชี้นําทิศทางการปฏิบัติงานและการบูรณาการด้านต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย
เพื่อเป็นการยกระดับค่า CPI ให้ได้คะแนนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่เท่าใดในปี 2564
(1) 50
(2) 36
(3) 38
(4) 45
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้กําหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” โดยมีการกําหนดยุทธศาสตร์หลักออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ซึ่งสาระสําคัญทั้ง 6 ยุทธศาสตร์นี้จะเป็นเครื่องมือชี้นําทิศทางการปฏิบัติงานและการบูรณาการ ด้านต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย เพื่อเป็นการยกระดับค่า CPI ให้ได้คะแนน 50 คะแนน ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2564

101. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านให้คุณ
(1) มีมาตรฐานเงินเดือนตามเกณฑ์มาตรฐาน
(2) มีค่าตอบแทนพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่ที่ซื่อสัตย์
(3) มีค่าตอบแทนเพิ่มสําหรับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
(4) มีค่าตอบแทนพิเศษในการปฏิบัติงานเป็นผลสําเร็จ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านให้คุณ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีค่าตอบแทนพิเศษในการปฏิบัติงานเป็นผลสําเร็จ
2. มีค่าตอบแทนเพิ่มสําหรับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
3. มีค่าตอบแทนพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่ที่ซื่อสัตย์
4. มีมาตรฐานเงินเดือนสูงพอเพียงกับค่าใช้จ่าย

102. ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่าเมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ ถือเป็น
ความละอายระดับใด
(1) ความละอายระดับสูง
(2) ความละอายระดับภายนอก
(3) ความละอายระดับต่ำ
(4) ความละอายระดับต้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่า เมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนเองจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

103. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริอยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก เพราะครอบคลุม มิติ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต
(2) มิติด้านเศรษฐกิจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านการดําเนินการ
ตอบ 4(คําบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับ เรื่องจิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน

104. การใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ เป็นรูปแบบการทุจริต
ในลักษณะใด
(1) ทุจริตตามผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ทุจริตตามลักษณะรูปธรรม
(3) ทุจริตตามกระบวนการที่ใช้
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทุจริตที่แบ่งตามกระบวนการที่ใช้มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
1. เกิดจากการใช้อํานาจในการกําหนดกฎกติกาพื้นฐาน เช่น การออกกฎหมาย และ กฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออํานวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง
2. เกิดจากการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ทําให้เจ้าหน้าที่สามารถ ใช้ความคิดเห็นของตนในทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้

105. จากหลักการมีส่วนร่วมต่อไปนี้ ข้อใดถือเป็นระดับสูงที่สุด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 4(คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

106. ต่อไปนี้คือองค์ประกอบของสามห่วงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยกเว้นข้อใด
(1) มีภูมิคุ้มกันที่ดี
(2) พอประมาณ
(3) มีเหตุผล
(4) มีความเสียสละ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม

107. การทุจริตโดยนักการเมือง เป็นรูปแบบการทุจริตในลักษณะใด
(1) ทุจริตตามลักษณะรูปธรรม
(2) ทุจริตตามผู้ที่เกี่ยวข้อง
(3) ทุจริตตามกระบวนการที่ใช้
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตที่แบ่งตามผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นรูปแบบการทุจริตในเรื่องของอํานาจและ ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ ระหว่างผู้ที่ให้การอุปถัมภ์ (ผู้ให้การช่วยเหลือ) กับผู้ที่ถูกอุปถัมภ์ (ผู้ได้รับการช่วยเหลือ) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตโดยข้าราชการ
2. การทุจริตโดยนักการเมือง

108. ข้อใดต่อไปนี้ถือเป็นแนวปฏิบัติของความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว ยกเว้นข้อใด
(1) ใฝ่ศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(2) ข่มใจตนเองให้กินอยู่ตามอัตภาพ
(4) ประหยัด ตระหนี่ อดออม
(3) แบ่งปันภายในครอบครัว
หน้า 68, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ) ความพอเพียงระดับบุคคลและ ครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด รู้จักข่มใจตนเอง ให้กินอยู่ตามอัตภาพ เน้นประหยัดแต่ไม่ใช่ตระหนี่ โดยต้องมีการแบ่งปันภายในครอบครัว ชุมชน สังคมรอบข้าง รวมทั้งใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงใน อนาคตและเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด

109. หากเราร่วมกันสร้างสังคมให้เป็นสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตจะส่งผลต่อสังคมตามข้อต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ที่ทําผิดได้รับบทลงโทษทั้งทางสังคมและทางกฎหมาย
(2) คนที่ทําทุจริตก็จะเกิดความละอายไม่กล้าที่จะทําทุจริต
(3) เกิดกระแสการต่อต้านต่อการกระทําทุจริต
(4) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เมื่อประชาชนในประเทศมีความตื่นตัวที่ว่า “ไม่ทนต่อการทุจริต” แล้ว จะทําให้ เกิดกระแสการต่อต้านต่อการกระทําทุจริต และคนที่ทําทุจริตก็จะเกิดความละอายไม่กล้าที่จะ ทําทุจริตต่อไป เช่น หากพบเห็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น อาจมีการบันทึกเหตุการณ์หรือลักษณะ การกระทํา แล้วแจ้งข้อมูลเหล่านั้นไปยังหน่วยงานหรือสื่อมวลชน เพื่อที่จะร่วมกันตรวจสอบ การกระทําที่เกิดขึ้น เป็นต้น

110. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)
ได้มีการกําหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าอย่างไร
(1) ประเทศไทยก้าวไกล สู่ไทย 4.0
(2) ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต
(3) ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
(4) ประเทศไทยพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 100. ประกอบ

111. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักความโปร่งใส (Accountability)
(2) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(3) หลักความรับผิด (Responsibility)
(4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
ตอน 3 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

112. ข้อใดต่อไปนี้คือกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) การก้าวล้ํายุคโลกาภิวัตน์
(2) การดํารงอยู่และการปฏิบัติตนตามความพอใจ
(3) การดํารงอยู่และการปฏิบัติตนตาม ทางสายกลาง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

113. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร N ในหลัก STRONG คือ
(1) Knowless
(2) KNockledge
(3) Knowledge
(4) KNowhow
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้)
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = KNowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)

114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของการทุจริต
(1) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
(2) กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
(3) การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
(4) ความมีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่เข้มแข็ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุของการทุจริต ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในต่าง ๆ มีดังนี้
1. แรงขับเคลื่อนที่ทําให้อยากมีรายได้เป็นจํานวนมาก
2. มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
3. การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
4. กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
5. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง ฯลฯ

115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นมิติ 4 ด้าน ของเศรษฐกิจพอเพียง
(1) มิติด้านเศรษฐกิจ
(2) มิติด้านจิตใจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

116. ความละอายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คืออะไร
(1) ความละอายระดับต่ำ และความละอายระดับที่สูง
(2) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับที่สูง
(3) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับปลาย
(4) ความละอายระดับภายนอก และความละอายระดับภายใน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

117. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง
(1) ยึดทางสายกลางเป็นแนวทางดําเนินชีวิต ทําอะไรสุดโต่ง เต็มที่
(2) ดําเนินชีวิตอย่างพอเพียง พอมีพอกิน ไม่โลภ
(3) ไม่ยึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ไม่หลงตามกระแสนิยม พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
(4) ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ตอบ 1 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่าง ๆ อาจสรุปได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการดําเนินชีวิตบนทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ จะต้อง มีความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และไม่ประหยัดมัธยัสถ์จนขาดแคลน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการประยุกต์ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง)

118. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(2) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(4) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
ตอบ 2 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

119. การคอร์รัปชั่นทวนน้ำ เป็นรูปแบบการทุจริตที่กระทําโดยใคร
(1) พ่อค้า
(2) ข้าราชการ
(3) นักการเมือง
(4) นายทุน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตโดยข้าราชการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การคอร์รัปชั่นตามน้ำ (Corruption without Theft)
2. การคอร์รัปชั่นทวนน้ำ (Corruption with Theft)

120. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(2) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
(3) การทําสมาธิ
(4) ฝึกการเป็นผู้ให้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ

Advertisement