การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM1000 ความรู้คู่คุณธรรม

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

Advertisement

1. ข้อความใดคือความหมายของภูมิปัญญาที่ถูกต้องที่สุด

1. การประกอบกิจการต่าง ๆ ของชุมชน

2. นำความรู้ดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้

3. ความรอบรู้ สติปัญญาที่มีต่อการดำรงชีวิต

4.ความรอบรู้ที่สั่งสมมานาน นำมาปฏิบัติให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต

ตอบ 4 หน้า 431 , 433, (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ความสามารถ ความเชื่อความสามารถทางพฤติกรรม และความสามารถในการแก้ปัญหาของมนุษย์ ซึ่งเป็นความรอบรู้ที่สั่งสมกันมานานตั้งแต่อดีต เพื่อนำมาปฏิบัติให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และยังเป็นองค์กรความรู้ที่พึ่งอนุรักษ์สืบสาน เพราะภูมิปัญญาจะเป็นตัวกำหนดการรับความเจริญทางวิทยาการสมัยใหม่และวัฒนธรรมต่างประเทศ

2. คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ข้อใด

1. พื้นฐานการประกอบอาชีพ

2. เพื่อจรรโลงวิถีชีวิตให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ

3. เพื่อเป็นการพึ่งพาตนเอง และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

4. เอื้อประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคง

ตอบ 3 หน้า 431, (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย หมายถึง องค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่นรวมถึงศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ ซึ่งมีคุณค่าและความสำคัญดังนี้

1. ช่วยธำรงวิถีชีวิตชนบทในแต่ละท้องถิ่นหรือแต่ละชุมชนให้คงอยู่

2. องค์ความรู้ของท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง

3. แสดงถึงการพึ่งพาตนเอง และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคนคนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ฯลฯ

3. ภูมิปัญญาชาวอีสานที่เรียกว่า “หมอ” มีความหมายอย่างไร

1. หมอผู้เชียวชาญด้านการใช้ยาสมุนไพร

2. ผู้เชี่ยวชาญด้วยการใช้สมุนไพร

3. ผู้ที่ชุมชนยกย่องว่ามีภูมิปัญญาในทุกวิชาชีพ

4. ผู้ที่สามารถประกอบการงานได้ผลดี โดยใช้ภูมิปัญญา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาของชาวอีสานได้จัดระบบความสัมพันธ์ในชุมชน โดยให้มีผู้นำชาวบ้าน 2 แบบ ได้แก่

1. ผู้นำโดยอาวุโสของเครือญาติ คือ ผู้อาวุโสสูงสุดของสายตระกูล ซึ่งจะยกย่องให้เป็น “เจ้าโคตร”

2. ผู้ นำทางภูมิปัญญา คือ ผู้ที่ชุมชนยกย่องว่ามีภูมิปัญญาในทุกวิชาชีพ หรือมีความสามารถเฉพาะทาง ซึ่งจะได้รับการยกย่องให้เป็น “หมอ” เช่น หมอแคน หมอยา หมอธรรม หมอผีฟ้า หมอลำ เป็นต้น

4. เหตุใดคนไทยภายใต้จึงจัดให้มี “พิธีลอยเคราะห์”

1. เพื่อให้พ้นจากเคราะห์กรรม

2. ปลูกฝังให้คนในท้องถิ่นเกิดการเรียนรู้

3. เป็นประเพณีเพื่อความสนุกสนามรื่นเริง

4. เชื่อว่าเป็นผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

ตอบ 1 (คำบรรยาย) คนไทยภาคใต้มีความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ว่า คน เราทุกคนมีช่วงเวลาที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุ ยามใดที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุก็จะเกิดโทษกับผู้นั้น คืออาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีเหตุการณ์ร้าย ๆ มากระทบต่อการดำเนินชีวิตของตัวเองและญาติมิตรดังนั้นจึงนิยมจัดให้มีพิธี ลอยเคราะห์เพื่อให้ตนพ้นจากเคราะห์กรรมนั้น ด้วยการนำต้นกล้วยมาทำเป็นแพ แล้วเอาผม เล็บ ขี้ไคล รวมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน ใส่ในแพลอยน้ำไป

5. ข้อความใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับคำว่า “นายฮ้อย” ของภาคอีสาน

1. ชาวบ้านนำสินค้าไปขาย

2. ชาวบ้านนำสินค้าไปขายให้กับพ่อค้า

3. ชาวบ้านทำมาหากินเพียงเพื่อเป็นการยังชีพ

4. การเรียนรู้ของชาวบ้านเป็นระบบแลกเปลี่ยนสินค้า

ตอบ 1 (คำบรรยาย) “นาย ฮ้อย” เป็นภาษาท้องถิ่นของภาคอีสานที่เรียกกลุ่มบุคคลหรือชาวบ้านที่นำสินค้าไปขาย ในที่ต่าง ๆ โดยจะเรียกตามชื่อของประเภทสินค้า ดังนั้นคนที่ค้าขายวันควายจึงถูกเรียกขานว่า นายฮ้อยวัวควาย ซึ่งนับมีบทบาทสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวอีสานมากกว่ากลุ่มพ่อค้า สินค้าชนิดอื่น จนทำให้วีการค้าขายในลักษณะนี้กลายเป็นภูมิปัญญาของชุมชนตลอดมา

6. “นายขนมต้ม” เป็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทยด้านใด

1. สืบทอดวัฒนธรรมไทย

2. ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ

3. วิธีปลูกฝังรักษาความเชื่อและบรรทัดฐานของสังคม

4. ภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย

ตอบ 4 (คำบรรยาย) “นายขนมต้ม” นัก มวยไทยที่มีฝีเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วนของท่าของแม่ไม้มวยไทย และสามารถชกมวยไทยจนชนะพม่าได้ถึง 9 – 10 คนในคราวเดียวกันแม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่าเป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึกและแข่งขันกันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ จึงนับเป็นมรดกทางภูมิปัญญาไทยที่สร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี เกียรติภูมิให้แก่คนไทย

7. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ใช่”การแพทย์แผนไทย”

1. ใช้สมุนไพร หัตถบำบัด

2. อิงความเชื่อทางสังคมและวัฒนธรรม

3. เป็นความรู้ที่มีเกณฑ์แน่นอนตายตัว

4. หมอรักษาวิธีใดได้ผลก็ใช้วิธีนั้นต่อ ๆ กันมา

ตอบ 3 หน้า 436, (คำบรรยาย) ภูมิปัญญา ไทยสาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ภูมิปัญญาไทยในด้านการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ จึงนับเป็นภูมิปัญญาที่อิงความเชื่อทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่ได้มี กฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว หรือไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะอาศัยความรู้ที่ได้ผลหรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา เช่น ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรรักษาโรค การนวดแผนไทย (หัตถบำบัด) เป็นต้น

8. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเรื่องใด

1. สหกรณ์

2. เกษตรวิวัฒน์

3. เกษตรทฤษฎีใหม่

4. เกษตรพัฒนา

ตอบ 3 (บรรยาย) เกษตร ทฤษฎีใหม่ เป็นภูมิปัญญาไทยในสาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการ เกษตรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานแก่พสกนิกรชาว ไทย เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของการแก้ไขปัญหาการเกษตรและเพื่อให้เกษตรกรไทยมีสภาพ ความเป็นอยู่อย่างพอเพียงเลี้ยงตัวเองในขั้นพื้นฐานได้ โดยมีหลักการเบื้องต้น คือ แบ่งพื้นที่ใช้สอย (10 ส่วน) ออกเป็น สระน้ำ 3 ส่วน (30%) นาข้าว 3 ส่วน (30%) พืชไร – สวน 3 ส่วน (30%) และบ้าน สาวนครัว สัตว์เลี้ยง 1 ส่วน (10%)

9. การมีชีวิตเพื่อสร้างสมคุณงามความดี หมายถึงข้อใด

1 หมั่นศึกษาหาความรู้

2. ดำเนินชีวิตด้วยความสงบ

3. ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจบริสุทธิ์

4. ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตว์สุจริต

ตอบ 3 หน้า 202 (คำบรรยาย) การมีชีวิตเพื่อสร้างสมคุณงามความดี หมาย ถึง การทำความดีละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งตรงกับหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของศาสนาพุทธ คือ โอวาทปาติโมกข์ อันเป็นหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในวันมาฆบูชาเพื่อให้พุทธ ศาสนิกชนนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

10. เมื่อมีความสันโดษเป็นคุณธรรมประจำใจ สามารถขจัดเรื่องใดออกไปได้

1. ความโลภ

2. ความเกียจคร้าน

3. ความอาฆาต

4. ความอิจฉาริษยา

ตอบ 1 หน้า 270, 353 , (คำบรรยาย) สันโดษ หมายถึง ความ พอใจในสิ่งที่ตนมี รู้จักความพอเหมาะไม่เกิดความละโมบจนเป็นเหตุให้ต้องทำทุจริตในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ใดมีความสันโดษแล้วก็จะสามารถขจัดความละโมบโลภมากออกไปได้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง” นั้นคือ ความพอใจจะทำให้เรามีความสุข ซึ่งเป็นทรัพย์อันล้ำค่าของมนุษย์

11. ความรู้ในรูปแบบของวิญญาณ เป็นความรู้ในลักษณะใด

1. ความรู้ที่เกี่ยวกับความจำ

2. ความรู้ที่เกี่ยวกับความเข้าใจ

3. ความรู้แจ้งในอารมณ์ที่มากระทบ

4. ความรู้ตามหลักสัจธรรม

ตอบ 3 หน้า 62 (H) (หู จมูก กาย และใจ โดยความรู้ในรูปแบบของวิญญาณนี้ แม้สัตว์เดรัจฉานก็มีความรู้เหมือนกันเพราะว่าสัตว์มีจิตสามารถรับรู้อารมณ์ภายนอกที่เห็นทางตา ได้ยินทางหู เหมือนกับมนุษย์แต่ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่วคำบรรยาย) วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้งในอารมณ์ที่มากระทบทางตา

12. ความรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญาที่สมบูรณ์ เข้าใจถึงแก่นแท้หรือหลักในการดำเนินชีวิต ตรงกับหลักของปัญญาตามข้อใด

1. ลิขิตมยปัญญา

2. สุตมยปัญญา

3. จินตมยปัญญา

4. ภาวนามยปัญญา

ตอบ 4 หน้า 200 – 201 , 77 (H) (คำบรรยาย) ปัญญาเกิดจากความรอบรู้ ซึ่งจะเกิดประกอบกับจิตมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ 1. สุตมยปัญญา คือ ปัญญาความรอบรู้ที่เกิดจากการฟังธรรมฟังครูสอนวิชาการต่าง ๆ หรือศึกษาเล่าเรียนจากการอ่านหนังสือ 2. จินตมยปัญญา คือ ได้เห็น หรือได้ศึกษาเล่าเรียนมา 3. ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญา ที่เกิดจากการเจริญภาวนาหรือฝึกอบรมจิตใจให้มีสติ มีสมาธิ และเกิดปัญญาที่สมบูรณ์ รู้แจ้งเข้าใจถึงแก่นแท้หรือหลักในการดำเนินชีวิต

13. แนวคิดที่สำคัญของโสเครติส (Socrates) เกี่ยวกับคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้

1. การปกครองเป็นศิลปะ

2. ปราชญ์เป็นผู้ที่มีความรู้ จึงเป็นผู้มีคุณธรรม

3. ธาตุแท้ของบุคคลในสังคม

4. อำนาจและความยุติธรรม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับคุณธรรมทางการเมืองของโสเครติส (Socrates) มีดังนี้

1. เป้า หมายแห่งชีวิตมนุษย์ คือ การได้อยู่ในสังคมที่ดีงามเหมาะสม และได้รับความยุติธรรม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์

2. ความรู้เกี่ยวกับความดีที่สังคมพึงกระทำให้กันหรือแสดงออกต่อกัน

3. ปราชญ์เป็นผู้ที่มีความรู้จึงเป็นผู้มีคุณธรรม

14. “ราชาปราชญ์” ตามแนวคิดของเพลโต (Plato) เป็นผู้ทรงคุณธรรมในลักษณะอย่างไร

1. ผู้เสียสละ

2. เป็นผู้มีบารมี

3. เป็นผู้มีอำนาจ

4. เป็นผู้ที่มีทั้งอำนาจและบารมี

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ตามแนวคิดของ เพลโต (Plato) ผู้ที่จะเป็นราชาปราชญ์ได้ ควรเป็นผู้ทรงคุณธรรมในลักษณะดังนี้ 1. เป็นผู้เสียสละ 2. เป็นผู้ที่ไม่ควรมีทรัพย์สินและครอบครัว

15. ข้อใดต่อไปนี้คือหลักธรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับการดำเนินธุรกิจ

1. การให้

2. ความซื่อสัตย์สุจริต

3. การรู้คุณและตอบแทนบุญคุณ

4. การเจรจาหรือการติดต่อสื่อสาร

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หลัก ธรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับการดำเนินธุรกิจ คือ ความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งหมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ทำทุกอย่างตรงไปตรงมามีความซื่อตรงจริงใจทั้งทางความคิด คำ พูด และการกระทำทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จริงในใจสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวงผู้อื่นซึ่งจะส่งผลให้บุคคลได้รับความเชื่อถือ ความร่วมมือ และความไว้วางใจจากผู้อื่น

16. นักศึกษาคิดว่าเพราะเหตุใดจึงจัดความละอายแก่ใจและความเกรงกลัว เป็นธรรมโลกบาลหรือธรรมที่คุ้มครองโลก

1. ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

2. เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

3. เป็นการปกป้องคนดีในสังคม

4. เป็นหลักที่ใช้ในการควบคุมในสังคม

ตอบ 1 (คำบรรยาย) คำว่า “หิริ” แปลว่า ความ ละอายต่อบาปหรือความชั่วทุกชนิด เมื่อคิดจะทำชั่วแล้วไม่กล้าทำ ส่วน “โอตตัปปะ” แปลว่า ความเกรงกลัวต่อผลของบาปหรือความชั่วกลัวว่าเมื่อทำชั่วไปแล้วผลกรกรรมจะมา ถึงตนเองและครอบครัว ดังนั้นหิริ – โอตตัปปะ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธรรมโลกบาล” (ธรรมคุ้มครองโลก) เพราะถ้าโลกมีธรรมะ 2 ประการนี้คุ้มครองป้องกันเอาไว้ มนุษย์ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและมีระเบียบไม่สับสน แต่ถ้าโลกไม่มีธรรมะ 2 ประการนี้คุ่มครองไว้ มนุษย์ก็จะสามารถทำชั่วได้ทุกอย่าง

17. เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน มีความหมายตรงกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

1. ทำให้ตนเองอยู่ได้อย่างสุขสบาย

2. รู้จักควบคุมตนเอง

3. อุ้มชูตนเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง

4. เข้าใจสภาพของตนเอง

ตอบ 3 หน้า 57 (H) “เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน” หมายความว่า อุ้ม ชูตัวเองได้ ให้มีเพียงกับตัวเองซึ่งความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้อง ผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เองอย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไรไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

18. กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานมาจากส่วนใด

1. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในปัจจุบัน

2. แนวโน้มการพัฒนาประเทศในอนาคต

3. การรับแนวคิดการพัฒนาจากประเทศตะวันตก

4. วิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคม

ตอบ 4 หน้า 56 (H) กรอบ แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตที่ดั้งเดิมของสังคมไทยซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นให้รอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

19. คุณลักษณะของกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านความมีเหตุผล สะท้อนถึงคุณลักษณะส่วนใดต่อไปนี้

1. ความไม่ประมาท

2. ความรอบรู้และสติปัญญา

3 ความสมดุล

4. ความเสมอภาค

ตอบ 2 หน้า 58 (H) (คำบรรยาย) ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง “ความมีเหตุมีผล” หมาย ถึง การตัดสินในเกี่ยวกับระดับของความพอดีเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยใช้ความรอบรู้และสติปัญญาพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

20. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียงได้ครอบคลุมมากที่สุด

1. แนวทางในการดำเนินชีวิต

2. ความเข้าใจในการประกอบอาชีพ

3. การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม

4. ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 หน้า 57 – 58 (H) ผลสัมฤทธิ์ส่วนตนและส่วนรวมจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ ชีวิตสมดุล เศรษฐกิจมั่นคง และสังคมยั่งยืน โดยมีแนวทางปฏิบัติหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้องรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทังด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

21. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า “คุณธรรม”

1. มีความดีทั้งกาย วาจา ใจ

2. ประพฤติกรรม ทำดีต่อตนเองและผู้อื่น

3. ประพฤติดีทั้งกาย วาจา และใจอยู่เสมอ

4. ปฏิบัติตนดีทางกาย วาจา และใจจนเคยชิน

ตอบ 4 หน้า 244, (คำบรรยาย) กู๊ด (Good) ให้ความหมายคำว่า “คุณธรรม” ไว้ดังนี้

1. คุณธรรม หมายถึง ความดีงามของลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมที่ได้กระทำจนเคยชินเป็นนิสัยหรือการปฏิบัติตนดีทางกาย วาจา และใจจนเคยชิน 2. คุณธรรม หมายถึง คุณภาพที่บุคคลได้กระทำ ความคิดและมาตรฐานของสังคม ซึ่งเกี่ยวกับความประพฤติและศีลธรรม

22. ผู้มีคุณธรรมทางวาจาพึงระวังการปฏิบัติในข้อใด

1. ใช้ถ้อยคำสุภาพ

2. พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์

3. พูดในสิ่งที่เห็น

4. พูดในสิ่งที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ผู้มีคุณธรรมทางวาจา (การพูดจาดี) ควรปฏิบัติดังนี้

1. ใช้ถ้อยคำสุภาพ 2. พูดในสิ่งที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 3. ไม่พูดให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือนร้อน ไม่พอใจ และพึงระวังการพูดในสิ่งที่เห็นโดยไม่พิจารณาถึงความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง

23. หลักธรรมข้อใดช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจดี (มโนธรรม)

1. พรหมวิหาร 4

2. สังคหวัตถุ 4

3. อิทธิบาท 4

4. อริยสัจ 4

ตอบ 1 หน้า 351 , 525 , 676 – 677 พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมประจำใจสำหรับผู้มีจิตใจประเสริฐหรือผู้ใหญ่ที่ต้องปกครองคนใต้ บังคับบัญชา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันและส่งเสริมให้ผู้ ปฏิบัติมีจิตใจดี (มโนธรรม) มีจิตใจกว้างขวาง ป้องกันใจไม่เป็นสุข ประกอบด้วย

1. เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี ต้องการช่วยให้ผู้อื่นประสบแต่ความสุข

2. กรุณา คือ ความสงสารและปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3. มุทิตา คือ ความเบิกบานพลอยยินดีที่เห็นผู้อื่นมีความสุข มีจิตใจ และพร้อมให้การสนับสนุน

4. อุเบกขา คือ ความ มีน้ำใจเป็นกลางและมองตามสภาพความเป็นจริง มีจิตเรียบเที่ยงธรรมดุจตาชั่งไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง รู้จักวางเฉย สงบใจมองดูเมื่อไม่กิจที่ควรทำด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ใครทำกรรมดีย่อมได้ผลดีตอบสนอง ใครทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลจากการกระทำนั้น

24. พาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นปัญหาวิกฤตทางวัฒนธรรม แสดงถึงการยึดติดวัตถุนิยมบริโภคนิยม ยกเว้น ตัวอย่างในข้อใด

1. จับได้ยกแก๊งลักรถรายใหญ่

2. แก๊งรถตู้อุ้ม ม.1 ขยี้กาม ขังล่ามโซ่

3. จับผงขาว 100 ล้านรายใหญ่ในรอบ 5 ปี

4. ซิวอดีตบุรุษพยายามมอบยารูดทรัพย์เหยื่อ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) สถานการณ์ และปัญหาวิกฤตทางวัฒนธรรมไทยประการหนึ่ง คือ การยึดติดวัตถุนิยม และบริโภคนิยม ซึ่งเป็นการแสวงหาหรือเสพสุขความสุขด้วยการใช้วัตถุเป็นสื่อกลางหรือนิยม บริโภคสิ่งต่าง ๆ ฟุ่มเฟือยเกินความต้องการที่จำเป็นใช้ชีวิต โดยไม่ให้ความสำคัญต่อการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา เช่น การลักทรัพย์ ค้ายาเสพติด ค้าประเวณี ฯลฯ

25. หลักธรรมในข้อใดสอนให้บุคคลปฏิบัติตนเป็นคนดี

1. โอวาท 3

2. ภาวนา 3

3. ไตรลักษณ์ 3

4. ไตรสิกขา

ตอบ 1 (คำบรรยาย) โอวาท 3 คือ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนให้บุคคลปฏิบัติตนเป็นคนที่มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง คือ การไม่ทำความชั่วทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ 2. ทำความดีให้ถึงพร้อม คือ เมื่อเราจะละเว้นจากการทำความชั่ว แล้ว ก็ต้องหมั่นทำความดีควบคู่กันไปด้วย จึงถือว่ามีความดีสมบูรณ์อย่างแท้จริง 3. ทำจิตใจให้ผ่องใส่ คือ กำจัดสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองออกไป เช่น ความโลภ ความโกธร ความหลง ฯลฯ

26. การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์หรือช่วยแก้ปัญหาบุคคลในสังคม เป็นตัวอย่างของผู้มีคุณธรรมในข้อใด

1. ทาน

2. ปิยวาจา

3. อัตถจริยา

4. สมานัตตา

ตอบ 3 หน้า 89 (H) 100 (H) 105 (H) คุณธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่

1. ทาน คือ การให้ปัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2. ปิยวาจา คือ การพุดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ดังโคลงโลกนิติตอนหนึ่งว่า “อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย…”

3. อัตถจริยา คือ การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือช่วยแก้ปัญหาบุคคลในสังคม

4. สมานัตตา คือ การวางตัวสม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้ง เอาตัวเข้าสมาน

27. ผู้ที่จะประสบคามสำเร็จในการเรียน การทำงานหรือการครองชีวิต ควรเริ่มต้นจากการปฏิบัติคุณธรรมในข้อใด

1. วิริยะ

2. อุตสาหะ

3. ฉันทะ

4. จิตตะ

ตอบ 3 หน้า 356, 104 (H), 125 (H) อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมที่เป็นพื้นฐานนำไปสู่ ความสำเร็จในชีวิต การทำงาน และการศึกษา ประกอบด้วย

1. ฉันทะ (มีใจรัก) คือ รักงาน พอใจจะทำ ทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้เสร็จอย่างดี ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจที่ดีอันดับแรกในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้น

2. วิริยะ (มีความเพียร) คือ สู้งาน ขยันหมั่นกระทำด้วยความพยายาม มีความตั้งใจ เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย

3. จิตตะ (มีความฝักใฝ่) คือ ใส่ใจงาน เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำด้วยความอุทิศตัวและใจ

4. วิมังสา (ใช้ปัญญาสอบสวน) คือ ทำงานด้วยปัญญา รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ใคร่ครวญหาเหตุผล ตรวจสอบข้อบกพร่อง รู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

28. ข้อใดเป็นกริยามารยาทในการทำความเคารพที่ไม่ถูกต้อง

1. ประนมมือกลางอก ยกมือที่ประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง

2. ประนมมือกลางอก ยกมือที่ประนมขึ้นให้นิ้วแม่มือจรดหว่างคิ้ว

3. ประนมมือยกขึ้น นิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว ผู้ชายค้อมตัวลง ผู้หญิงย่อตัวลง

4. ประนมมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ชายค้อมตัวลง ผู้หญิงย่อตัวลงพองาม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การไหว้หรือทำความเคารพตามประเพณีไทยมี 4 ลักษณะ ดังนี้

1. การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันหรือรับไหว้ ผู้ไหว้จะประนมมือกลางอก ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบนโดยอาจก้มหน้าลงเล็กน้อย 2. การไหว้บุคคลทั่วไปที่อาวุโสกว่า ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้อยู่ตรงปลายสันจมูก แล้วก้มหน้าลง 3. การไหว้บิดามารกา ครู – อาจารย์ หรือ ผู้เป็นที่เคารพยิ่ง ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ผู้ชายให้ค้อมตัวลง ผู้หญิงก้าวขาขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย ย่อตัวลงพองาม 4. การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผมแนบหน้าผาก ผู้ชายค้อมตัวลง ผู้หญิงย่อตัวลงพองาม

29. เพราะเหตุใดบุคคลจึงควรมีมารยาท

1. แสดงให้รู้ว่าเป็นผู้มีความรู้

2. แสดงว่าเป็นผู้ได้รับการศึกษาชั้นสูง

3. แสดงความเป็นผู้เจริญมีแบบแผนการประพฤติปฏิบัติ

4. เป็นสิ่งแสดงความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์

ตอบ 3 (คำบรรยาย) บุคคล ควรมีมารยาทที่ดีงาม เพราะกิริยามารยาทถือเป็นกติกาเบื้องต้นของสังคมมนุษย์ซึ่งผู้มืออารยธรรม และมีวัฒนธรรมในการประพฤติปฏิบัติควรกระทำต่อกัน เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้เจริญ และมีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติว่าสิ่งใดควรกระทำ และสิ่งใดควรละเว้น

30. การเรียกบุคคลที่ไม่คุ้นเคยควรใช้สรรพนามในข้อใด

1. พี่ – เธอ

2. คุณ – ตำแหน่ง

3. เจ้ – เฮีย

4. เรียกชื่อ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) คำสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ที่เราพูดด้วยมีอยู่หลายคำ แต่คำสุภาพที่ใช้ได้ในทุกโอกาสและกับบุคคลทุกระดับ คือ คำว่า “คุณ” โดย เฉพาะหากโอกาสที่เราพูดเป็นระดับทางการและต้องพูดกับบุคคลที่ไม่คุ้นเคย ควรใช้คำสรรพนามว่า “คุณ” หรือใช้ตำแหน่งหน้าที่ของบุคคลนั้น เช่น อาจารย์ คณบดี อธิการบดี ท่านรอง ฯลฯ จึงจะสุภาพและเหมาะสมที่สุด

31. เพราะเหตุใดจึงต้อง “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”

1. รักษาสุขภาพให้กับตนเอง

2. ป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น

3. เป็นมารยาทในการรับประทานอาหาร

4. ป้องกันโรคมิให้เกิดกับตนเองและผู้อื่น

ตอบ 4 (คำบรรยาย) วิธีป้องกันโรคไม่ให้เกิดขึ้นกับตนเองและแพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น ควรปฏิบัติดังนี้ 1. กินร้อน คือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่ทานอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ 2. ช้อนกลาง เป็นช้อนที่มีไว้เพื่อใช้แบ่งอาหารมาใส่จานของผู้กิน ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคจากน้ำลายของผู้ที่กินอาหารนั้นลงไปปนเปื้อนในอาหาร 3. ล้างมือ ควรล้างมือบ่อย ๆ ให้เป็นนิสัยทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากมือไปสู่อาหาร

32. คุณธรรมในข้อใดที่ทำให้คนในสังคมไว้วางใจซึ่งกันและกัน

1. ความซื่อสัตย์

2. ความเมตตา

3. ความสามัคคี

4. ความเอื้ออาทร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

33. การคิดร้ายต่อผู้อื่นจัดเป็นอกุศลมูล 3 หรือเหตุแห่งความชั่ว 3 ประการในข้อใด

1. โลภะ

2. โทสะ

3. โมหะ

4. ทมะ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือเหตุแห่งความชั่ว มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้

1. โลภะ (ความอยากได้) คือ ความเป็นผู้มีความทะยานอยาก อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน

2. โทสะ (การคิดประทุษร้าย) คือ ความโกรธหรือไม่พอใจอย่างแรง ผูกพยาบาท คิดร้ายต่อผู้อื่น

3. โมหะ (ความหลง) คือ ความประมาท ความหลง ความสงสัย ความโง่งมงาย มัวเมาในอบายมุขอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง

34. คนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มองโลกในแง่ดี และปรารถนาให้คนอื่นเป็นสุข จัดอยู่ในข้อใด

1. กายกรรม

2. วจีกรรม

3. มโนกรรม

4. อกุศลกรรม

ตอบ 3 (คำบรรยาย) มโนกรรม 3 คือ การ ทำความดีทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลมีจิตใจบริสุทธิ์มองโลกในแง่ดี มีความสงสารและปรารถนาให้คนอื่นพันทุกข์ และประสบแต่ความสุขมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. การไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นมาเป็นของตนเอง 2. การไม่อาฆาตพยาบาทหรือจองเวรกับใคร 3. มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและตรงตามความเป็นจริง

35. การที่เรามีจิตใจที่จดจ่อแน่วแน่ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ โดยที่จิตฟุ้งซ่าน จัดอยู่ในข้อใด

1. ศีล

2. สมาธิ

3. ปัญญา

4. บารมี

ตอบ 2 หน้า 233, 257 สมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนดนั้นคือ เมื่อจิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน ๆ จนเกิดความสงบไม่ฟุ้งซ่าน จิตจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังคิด พูด ทำ จนสามารถรวมพลังสติปัญญาและความคิดมาใช้ในสิ่งที่กำลังคิดพูด ทำนั้นได้อย่างเต็มที่และมีสติอยู่เสมอ

36. คนที่ทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต จัดอยู่ในเบญจธรรมข้อใด

1. เมตตา กรุณา

2. สัมมาอาชีวะ

3. สติสัมปชัญญะ

4. กามสังวร

ตอบ 2 หน้า 169, (คำบรรยาย) หลักเบญจธรรม 5 ประการ ประกอบด้วย

1. เมตตากรุณา คือ รักและปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีจิตเมตตารักชีวิตผู้อื่นเหมือนชีวิตตน

2. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพแต่พอดี ทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต ไม่เอาเปรียบผู้อื่น

3. กามสังวร คือ สำรวมในกาม มีความรักใคร่ ซื่อสัตย์ในสามีภรรยาของตน

4. สัจจะ คือ พูดความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมา

5. สติสัมปชัญญะ คือ ระลึกได้หรือมีความรู้ตัวเสมอ

37. ปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เกิดจากการปล่อยก๊าซของเสียจากแหล่งใดมากที่สุด

1. ฟาร์มปศุสัตว์

2. โรงงานอุตสาหกรรม

3. นาข้า

4. ชุมชนแออัด

ตอบ 2 หน้า 467 , 484 (คำบรรยาย) ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เกิด จากสารประกอบของก๊าซต่าง ๆ ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก (โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีมากที่สุด) ดูดซึมแสงอินฟราเรดและเก็บกักรังสีความร้อนเอาไว้มาก จนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ซึ่งการปล่อยก๊าซของเสียเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเผาผลาญพลังงานของ โรงงานอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับหนึ่ง เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงถ่านหินและน้ำมันในการกระบวนการผลิตและการคมนาคมขน ส่ง รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า จนส่งผลกระทบต่อโลกและมนุษย์

38. การกำจัดขยะในข้อใดไม่ควรใช้วิธีเผา เพราะทำให้เกิดแก๊สพิษ

1. ซังข้าวโพด

2. พลาสติก

3. ของเหลือจากเกษตรกรรม

4. เศษอาหารจากภัตตาคาร

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) พลาสติก ที่ใช้แล้วมักถูกทิ้งเป็นขยะพลาสติก ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกนำกลับมาใช้อีกในลักษณะต่าง ๆ กัน แต่อีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปกำจัดทิ้งโดยวิธีการต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาขยะพลาสติก จะก่อให้เกิดแก๊สพิษที่ร้ายแรงออกมาสู่ชั้นบรรยากาศและเป็นอันตรายอย่างมาก ต่อสิ่งมีชีวิต เช่น สารฟอสยีน (Phosgene) มาจาก PVC , ไฮโดรคลอริกแอชิด (Hydrochloric acid) มาจาก PVC และ PE เป็นต้น

39. ทรัพยากรธรรมชาติในข้อใดที่ใช้แล้วหมดสิ้น ไม่สามารถนำมาดัดแปลงใช้ได้

1. ทองคำ

2. ถ่านหิน

3. ทองแดง

4. เหล็ก

ตอบ 2 หน้า 462 – 463 , (คำบรรยาย) ทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถกลับฟื้นตัวใหม่ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ฯลฯ

2. ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เข่น คุณสมบัติทางธรรมชาติของดิน ฯลฯ

3. ประเภทใช้แล้ว หมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เช่น สังกะสี ทองแดง ทองคำ เหล็ก เงิน ฯลฯ

4. ประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป นำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าด น้ำมัน ฯลฯ

40. แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม น่าจะมีเหตุมาจากข้อใดมากที่สุด

1. ผู้คนกินดีอยู่ดี

2. การเพิ่มของประชากร

3. การนำนวัตกรรมจากต่างชาติมาใช้

4. คนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 464 – 466 (คำบรรยาย) ปัญหา แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม มีสาเหตุมาตากหลายประการ เช่น การเพิ่มจำนวนประชากรซึ่งนำไปสู่ปัญหาการขยายตัวของเมืองและกิจกรรมด้าน อุตสาหกรรม รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากร ธรรมชาติ ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขาดจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและถูกทำลายลงไปอย่าง รวดเร็ว

41. การที่เจ้าของโรงงานไม่ปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำ ถือเป็นคุณธรรมของผู้ผลิตในข้อใด

1. คืนกำไรให้สังคม

2. ความซื่อสัตย์

3. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม

4. ความยุติธรรม

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง การ ที่บุคคลมีความรู้สึกเห็นคุณค่าของส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว หรือการมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม โดยการร่วมกันคิดร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม รวมถึงยอมรับหรือรับผิดชอบร่วมกันในผลของกระทำนั้น ๆ เพื่อช่วยพัฒนาสังคมและชาติบ้านเมือง ตลอดจนโลกของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

42. การฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา ตรงกับข้อใดมากที่สุด

1. ฟังแล้วปฏิบัติตาม

2. ฟังแล้วต่อต้าน

3. ฟังแล้วเชื่อตามที่ได้ยินมา

4. ฟังแล้วคิด วิเคราะห์ ใคร่ครวญ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การฟังดีย่อมเกิดปัญญา หมายถึง การ ใส่ใจในสิ่งที่ฟัง เวลาฟังก็ตั้งใจฟังด้วยความสงบ ไม่คิดเรื่องอื่น คิดพิจารณาตามเสียงที่ได้ยิน เอาจิตน้อยยอมรับเหตุผลในการรับฟังโดยใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ ใคร่ครวญพิจารณาไปด้วยว่าจริงหรือไม่จริง ถ้าหากว่าทำได้อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า ฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา หรือที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า “สุสสูสัง ละภะเต ปัญญัง”

43. ท่านจะกำจัดวิชชาโดยใช้ข้อใด

1. วิริยะ

2. ปัญญา

3. ขันติ

4. ตบะ

ตอบ 2 หน้า 38 – 39 (H) เป้าหมายสูงสุดของการเรียนรู้ คือ การสร้างสติปัญญาเพื่อขจัดอวิชชาโดยควรเรียนรู้ในสิ่งที่ควรรู้ พอมีสติปัญญาแล้วก็ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรองด้วยเหตุผล ไม่ตามกระแสสังคมที่ผิด ซึ่งเรียกว่า โยนิโสมนสิการ

44. ข้อใดไม่จัดเป็นประโยชน์ของปะการัง

1. ป้องกันชายฝั่ง

2. ทำเครื่องประดับ

3. สร้างระบบนิเวศวิทยา

4. แหล่งที่อยู่อาศัยของพืช

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประโยชน์ของแนวปะการังมีมากมายดังนี้ 1. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำนานาชนิด เพราะมีลักษณะที่เป็นซอกมีโพรงอยู่ทั่ว ๆ ไป ทำให้เหมาะต่อการหลบภัยและเป็นที่อยู่ 2. ปะการังตามแนวชายฝั่งมีส่วนช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของคลื่นที่ปะทะต่อชายฝั่งได้ 3. ช่วยสร้างระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์ในแง่ของห่วงโซ่อาหารที่มีความซับซ้อน 4. แนวปะกาลังเป็นแหล่งกำเนิดทรายให้กับชายหาด ซึ่งได้มาจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูน ทำให้หินปูนปะการังแตกละเอียดเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาด ฯลฯ

45. ข้อใดมิใช่สาเหตุหลักของความเสื่อมโทรมปะการัง

1. การประมงเกินขนาด

2. มลพิษจากการพัฒนาชายฝั่ง

3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

4. การเป็นอาหารของปลาเล็กและปลาใหญ่

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สาเหตุหลักของความเสื่อมโทรมของปะกาลังมีดังนี้

1. การประมงเกินขนาด เช่น การลักลอบระเบิดปลาในแนวปะกาลัง ซึ่งนอกจากจะทำลายตัวปะการังโดยตรงแล้ว ยังทำลายลูกปลาและสัตว์น้ำวัยอ่อนในบริเวณใกล้เคียงอีกเป็นจำนวนมาก

2. มลพิษจากการพัฒนาชายฝั่ง เช่น การก่อสร้างอาคาร การเปิดหน้าดินเพื่อสร้างถนน ฯลฯ ทำให้ตะกอนของดินไหลลงสู่ทะเลตกทับถมบนแนวปะการัง ทำให้ปะการังตาย

3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หรือภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว ฯลฯ

46. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประโยชน์กับใครมากที่สุด

1. ชาวนา

2. นักธุรกิจ

3. เกษตร

4. คนทุกอาชีพ

ตอบ 4 หน้า 58 (H) ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตน สำหรับคนทุกระดับทุกอาชีพ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ตั้งแต่ข้อ 47. – 48. อ่านโครงข้างล่างนี้แล้วตอบคำถาม

พายเถิดพ่ออย่างรั้ง รอพาย

จวนตะวันจักสาย ส่องฟ้า

ของสดสิ่งควรขาย จักขาด ค่าแฮ

ตลาดเลิกแล้วอ้า บ่นอื้อเอาใคร

47. โครงโลกนิติบทนี้สอนเรื่องใด

1. คุณค่าของเวลา

2. ความไม่ประมาท

3. ความตรงต่อเวลา

4. ความขยัน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) โครงโลกนิติบทนี้สอนให้รู้จักคุณค่าของเวลาและโอกาส อย่าปล่อยให้เวลาผ่านเลยไปซึ่งจะนำไปสู่การเสียผลประโยชน์จนสายเกินแก้ โดยได้บรรยายให้คนปัจจุบันเห็นภาพตลาดน้ำยามเช้าในอดีตที่พ่อค้าแม่ค้าพายเรือบรรทุกสินค้ามาขายในย่านที่มีการเดินเรือพลุกพล่าน

48. โครงบทนี้กำลังบอกให้คนปัจจุบันเห็นภาพอะไรในอดีต

1. การคมนาคม

2. การค้าขาย

3. สภาพความเป็นอยู่

4. ตลาดน้ำ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดเริ่มเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้

1. แผนที่ 6

2. แผนที่ 7

3. แผนที่ 8

4. แผนที่ 9

ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) และยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 79 (1) ความว่าบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ

50. เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานต้องการแก้ปัญหาของใคร

1. เกษตรกร

2. SML

3. บริษัท

4. OTOP

ตอบ 1 (คำบรรยาย) เศรษฐกิจ พอเพียงแบบพื้นฐาน เป็นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวซึ่งอาจเทียบได้กับเกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรเป็นหลัก เพื่อให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และ ใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือ เพื่อให้มีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้

51. ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยชุมชนด้านใด

1. สร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการ

2. ธำรงวิถีชีวิตชนบทในแต่ละท้องถิ่น

3. แสดงความเป็นไทย

4. เป็นจุดเด่น น่าสนใจ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

52. นักธุรกิจที่ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความสำคัญในข้อใด

1. เรื่องธุรกิจอย่างยิ่งใหญ่

2. มุ่งกำไรเป็นเรื่องสำคัญ

3. รับผิดชอบต่อหุ้นส่วน

4. ให้คุณค่ากับพนักงานในฐานะทรัพยากรที่สำคัญ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การส่งเสริมคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้ 1. มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 2. มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และรักษาความลับของลูกค้าอย่างเคร่งครัด 3. มีคุณธรรมกับสังคมรอบข้าง โดยการป้องกันผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและจัดทำโครงการเพื่อสังคม 4. ส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยการปกครองด้วยหลักความเมตตา และให้คุณค่ากับพนักงานในฐานะทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ

53. ธุรกิจที่ยั่งยืนคือธุรกิจแบบใด

1. มีทุนมากมาย

2. ดำรงอยู่ได้ทุกสถานการณ์

3. นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้งาน

4. มุ่งกำไรเป็นเรื่องสำคัญ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ธุรกิจที่ยั่งยืน คือ ธุรกิจ ที่สามารถบูรณาการวิธีแห่งการปฏิบัติให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรจนกลายเป็น วิถีแห่งการดำเนินธุรกิจตามแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสมบูรณ์ซึ่ง องค์กรธุรกิจในระดับนี้จะมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตการณ์และภัยคุกคามต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีซึ่งส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ทุกสถานการณ์อย่าง ยั่งยืน

54. ข้อใดไม่เป็นองค์ประกอบของความพอเพียง

1. ความพอประมาณ

2. การมีเหตุผล

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

4. ความกลัว

ตอบ 4 หน้า 57 – 58 (H), (คำบรรยาย) แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข หมายถึง ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยคำว่า “3 ห่วง” คือ ความพอประมาณความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ส่วน คำว่า “2 เงื่อนไข” คือ การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)

55. เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล หมายถึงอะไร

1. บุคคลที่ดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือนร้อน

2. บุคคลที่พึ่งพาตนเองไม่ได้เป็นภาระผู้อื่น

3. บุคคลที่ฉลาดคิด

4. บุคคลที่มีความรู้

ตอบ 2 (คำบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว หมายถึง การที่บุคคลมีความเป็นอยู่ในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ไม่เป็นภาระของผู้อื่น และสามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ความต้องการในปัจจัยสี่ของตนเองและครอบครัว รวมทั้งมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกลมเกลียว และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิตด้วยการประหยัด และการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ

56. ผู้ที่จะดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเริ่มจากข้อใด

1. ปรับวิธีคิด วิธีทำ และลงมือปฏิบัติ

2. ศึกษาจากผู้ที่เป็นตัวอย่างทางด้านความพอเพียง

3.ลงมือทดลองปฏิบัติตามพอประมาณ

4. เดินทางไปหาผู้รู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) แนว ทางการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตจำเป็นต้องเริ่ม จากจิตใจเป็นพื้นฐาน เมื่อจิตใจมีความพร้อมจึงเริ่มลงมือทำ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำ เพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติดังนี้

1. เริ่มจากความคิดไปสู่การกระทำ 2. เริ่มจากภายในสู่ภายนอก

3. เริ่มจากตนเองไปสู่ผู้อื่น 4. เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวออกไปไกลตัว

5. เริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปหายาก 6. เริ่มจากเรื่องเล็กน้อยไปหาเรื่องใหญ่

57. คำพูดที่ว่า “ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำได้ยาก แต่ทำได้ถ้าใจปรารถนา” หมายความว่าอย่างไร

1. ยกย่องให้เกียรติใจ

2. ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว

3. ถ้าใจสู้ทุกอย่างก็สำเร็จ

4. ความสำเร็จ – ความล้มเหลวเกิดจากใจ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่นำไปสู่การปฏิบัติได้ยาก เพราะโลกทุกวันนี้มีระบบเศรษฐกิจเดียวคือ ทุนนิยม และลัทธิเดียวคือ บริโภคนิยม ซึ่งกระตุ้นความอยากมีอยากได้ อยากเป็นอะไรที่เกินความพอดีอยู่ตลอดเวลา แต่เศรษฐกิจพอเพียงก็เกิดได้ถ้าใจปรารถนา คือ ถ้าใจสู้ทุกอย่างก็สำเร็จ ถ้าใจมาปัญญาก็เกิด ถึงแม้จะยากแต่ก็ทำได้โดยเริ่มต้นที่ตัวเราเอง

58. ข้อใดที่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรอเวลาอันเหมาะสม เพื่อพระราชทานแนวพระราชดำริตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2550 จึงพระราชทานแนวพระราชดำริของเศรษฐกิจพอเพียง

2. ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างพอเพียงมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

3. เมื่อเสด็จฯ ไปงานพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้พระราชทานพระบรม โชวาทตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517

4. ทรงได้รับการอบรมให้เพียงพอจากพระราชมารดา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรอเวลาอันเหมาะสม เพื่อพระราชทานแนวพระราชดำริตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ เมื่อเสด็จฯ ไปงานพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 และทรงมีพระราชดำรัชเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศไทยให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์

59. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง

1. มีเหตุผล

2. มีความรู้

3. มีคุณธรรม

4. มีความมักน้อย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

60. ข้อใดไม่ใช่ภูมิคุ้มกันในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1. คิดอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง

2. หาทางหนีที่ไล่ไว้ล่วงหน้า

3. เก็บทรัพย์ไว้ไม่ใช้จ่าย

4. ทำตามกำลังความสามารถ

ตอบ 3 หน้า 58 (H) (คำบรรยาย) “ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง” หมายถึง การ เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล โดยคิดอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ทำตามกำลังความสามารถของตนไม่ทำอะไรเกินตัว และใช้ปัญญาในการคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงตามต่าง ๆ เพื่อวางแผนรองรับและหาทางหนีทีไล่ไว้ล่วงหน้า

61. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีฐานคิดที่สำคัญเรื่องใดมากที่สุด

1. รักษาวัฒนธรรมพร้อมความมั่นคง

2. พัฒนาความมั่งคั่งเพียงอย่างเดียว

3. พัฒนาเศรษฐกิจพร้อมกับพัฒนาสังคม

4. พัฒนาคนในชุมชนด้วยเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม คุณธรรม

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานคิดที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนในชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและคุณธรรม ให้มีความก้าวหน้า สมดุลมั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ สถานการณ์ เพื่อให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

62. วัตถุประสงค์ที่สำคัญ “ทฤษฎีใหม่” คือข้อใด

1. ปฏิรูปการเกษตรแผนใหม่

2. ให้ประชาชนรู้จักช่วยเหลือกัน

3. ผลิตการค้าและการเลี้ยงชีพ

4. ดำเนินธุรกิจอย่างพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

63. มหาวิทยาลัยรามคำแหงร่วมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของไทยสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯในเรื่องใด

1. การแสดงดนตรี

2. การแสดงหุ่นกระบอก

3. การแสดงโขน

4. การแสดงศิลปะพื้นบ้าน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรมคำแหงได้ก่อตั้งโขนรามขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 และวิชาการแสดงโขนก็ได้ถูกบรรจุให้เป็นวิชาหนึ่งในคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานาฏกรรมไทยเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบทอดโขน และยังเป็นการร่วมมือสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่ตลอดไป

64. ทำดีในข้อใดบ่งชี้ความมีคุณธรรม

1. ทำดีเราเห็น

2. ทำดีเราทราบ

3. ทำดีเราได้

4. ทำดีเราสุขใจ

ตอบ 4 หน้า 244 – 245 , 41 (H) คุณธรรม หมายถึง ความ สามารถแยกแยะได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดดีไม่ดีแล้วทำแต่สิ่งดีไปโดยตลอด จึงเป็นลักษณะที่ดีงามของบุคคลที่มีการยอมรับและเห็นคุณค่าอันเป็นพื้นฐาน การแสดงออกของการกระทำที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม โดยผู้ที่มีคุณธรรมจะถือส่าหน้าที่ที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ต้องกระทำด้วยความ รู้สึกสำนึกว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำและจงใจปฏิบัติด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า “ทำดีเราสุขใจ”

65. รู้รักษาตัวรอด หมายความตามข้อใด

1. กล้าเผชิญปัญหา

2. แก้ไขปัญหาได้

3. การปฏิบัติงานจริง

4. ใช้ความรู้คู่คุณธรรมดำรงชีวิต

ตอบ 4 (คำบรรยาย) รู้รักษาด้วยรอดเป็นยอดดี หมายถึง คน เราควรหมั่นศึกษาหาความรู้ให้มากเพราะเป็นของดีมีประโยชน์ แต่ที่ดีกว่านั้นคือการนำวิชาความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้พึ่งพาตน เองได้ ไม่ใช่มีแต่ความรู้ แต่ความสามารถในการ จัดการปัญหาไม่มีเลย ดังนั้นรู้รักษาตัวรอดจึงต้องใช้ความรู้คู่คุณธรรมในการดำรงชีวิต เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลุลวงไปได้ด้วยตนเอง และสามารถพาตัวเองให้รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น

66. ในสังคมข้อมูลข่าวสาร การศึกษาสำคัญอย่างไร

1. การเตรียมงาน

2. การเตรียมตัว

3. การสร้างฐานความรู้

4. การต่อสู้แข่งขัน

ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารนั้น การศึกษานับว่ามีบทบาทสำคัญในด้านการสร้างฐานความรู้ (Base of Knowledge) เพื่อช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพ สามารถแก้ปัญหาและปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้

67. ข้อใดเป็นการกระทำที่บ่งชี้ความมีคุณธรรมสูงสุด

1. ทำด้วยความเชื่อมั่น

2. ทำอย่างมีเป้าหมายชัดเจน

3. ทำด้วยความพากเพียรเรียนรู้

4. ทำเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

68. รามคำแหงก้าวสู่ปีที่ 40 แสดงถึงข้อใดอย่างชัดเจน

1. รามคำแหงขยายโอกาสทางการศึกษา

2. รามคำแหงเจริญงอกงาม

3. รามคำแหงเป็นสมบัติของชาติ

4. รามคำแหงเป็นบ่อน้ำสำคัญให้ลูกหลานได้กินน้ำจากบ่อนี้

ตอบ 2 หน้า 584 – 585 (คำบรรยาย) รามคำแหงก้าวสู่ปีที่ 40 แสดงให้เห็นว่า รามคำแหงเจริญงอกงามไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการ ด้านชื่อเสียงเกียรติคุณ ซึ่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงก้าวหน้าขึ้นไปมากมายและยังก้าวล้ำหน้ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพของบัณฑิตที่นักวิชาการทั้งในและต่างประเทศต่างประเมินและตรวจสอบคุณภาพแล้ว ได้ผลออกมาตรงกันว่ามีคุณภาพไม่ได้ด้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยปิดของรัฐบาลแต่อย่างใด

69. ข้อใดไม่บ่งชี้คุณธรรม

1. เราเรียนต้องได้ความรู้

2. แบ่งเวลาเป็นปรับตนได้

3. จบมาแล้วสู้การ สู้งาน

4. มีมานะอดทน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

70. ข้อใดเป็นเป้าหมายการเรียนที่มีคุณค่าของสำนึกน้อยที่สุด

1. เรียนเพื่อรู้

2. เรียนเพื่อปริญญา

3. เรียนเพื่อพ่อแม่

4. เรียนเพื่อประกอบอาชีพ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) เป้าหมายการเรียนที่มีคุณค่าของการรู้สำนึกนั้น มิใช้เรียนเพื่อให้ได้ปริญญาหรือวิทยฐานะเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเรียนเพื่อรู้ เพื่อ พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่จะดำรงชีพและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญคือ เรียนเพื่อพ่อแม่ผู้มีอุปกรณ์ที่ได้ส่งเสริมและเลี้ยงดูเรามา อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที

71. การปฏิบัติในข้อใดแสดงความมีคุณธรรม

1. มีอะไรพูดกันตรงๆ

2. สงสัยอะไรก็ตาม

3. ไม่แน่ใจก็ตรวจสอบ

4. ผิดพลาดก็ขอโทษ และแก้ไข

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

72. ในภาวะเศรษฐกิจผิดเคือง นักศึกษาพึงตระหนักในข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. ทำงานไป เรียนไป

2. เรียนรู้สู้ชีวิต

3. รู้จักความทุกข์ ความผิดหวัง

4. รู้คุณค่าของเงิน

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง นักศึกษาพึงตระหนักในการรู้คุณค่าของเงิน รู้จักใช้ออมทรัพย์สินตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งรู้จักดำรงชีวิตให้อยู่อย่างพอเพียง มีความพอประมาณ เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ส่วนตน

73. ข้อใดเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด

1. รู้จักว่าความสุขเป็นอย่างไร

2. รู้จักคำว่าทุกข์เป็นอย่างไร

3. รู้จักว่าความผิดหวังเป็นอย่างไร

4. รู้ร้อน รู้หนาว สัมผัสได้ในชีวิตจริง

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด คือ การ รู้เท่าทันในกฎของธรรมชาติอย่างมีสติสัมปชัญญะ รู้ร้อน รู้หนาว เรียนรู้และสัมผัสได้ในความเป็นจริงของธรรมชาติ เมื่อพบร้อนพบหนาวมากไปน้อยไปก็สงบใจอดทน เปรียบเสมือนกับความทุกข์เมื่อมีเกิดขึ้น ก็ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดาดังนั้นจึงไม่ควรยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ เมื่อไม่ยึดไม่ติดแล้ว ใจก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์

74. นวัตกรรมเกิดได้จากการกระทำในข้อใด

1. ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด

2. อย่าไปมองคนอื่นทำไมไม่ทำ

3. ถ้าเสร็จแล้วต้องคิดต่อยอด

4. ถ้าทำแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายควรหลีกเลี่ยง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) คำว่า “นวัตกรรม” หมายถึง การทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีใหม่ ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การ เปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการคิดพัฒนาต่อยอด โดยกสนมราสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องมีความแปลกใหม่อย่าง เห็นได้ชัด และต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

75. คิดว่าตนเองวิเศษ หมายความตามข้อใด

1. ดีแล้ว เก่งแล้ว ไม่ต้องฟังใคร

2. ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

3. แลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

4. แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวคิด

ตอบ 1 หน้า 37 (H) สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ค่อยให้เกียรติกัน เพราะ คิดว่าตนเองวิเศษ คือ คิดว่าตนเองดีแล้ว เก่งแล้ว ไม่ต้องฟังใคร ไม่รู้เรื่องอะไรทั้งนั้น มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงดังนั้นในการเรียนจึงต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดย เรียนอย่างมีความรู้ ต่างคนต่างแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ต่างเป็นครูกันละอย่าง ถ้ามีอาวุโสสูงดีแล้วก็มาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์แนวความคิดซึ่งกันและ กันได้

76. เป้าหมายสูงสุดการเรียนรู้คือข้อใด

1. มีความรู้แล้วใช้ความรู้ได้

2. มีสติปัญญาได้ด้วยการศึกษา

3. มีคุณธรรมแล้วต้องดำเนินกิจกรรมอย่างมีคุณธรรม

4. สร้างปัญญาขจัดอวิชชา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

77. อวิชชามีความหมายสมบูรณ์ตามข้อใด

1. รู้ไม่ถูกทาง

2. รู้ในสิ่งไม่ควรรู้

3. ไม่รู้ในสิ่งควรรู้

4. ได้ทั้งสองทาง คือ รู้กับไม่รู้

ตอบ 4 หน้า 38 (H) อวิชชา แปลว่า ไม่ รู้ แล้วก็แปลว่ารู้ทั้งสองอย่าง เพราะอวิชชา หมายถึง ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ คือ สิ่งที่ควรรู้กลับไม่รู้ แล้วไปรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ หรือรู้ไม่ถูกทาง สิ่งที่เขาไม่ให้รู้ก็ไปรู้เข้าให้ดังนั้นความหมายที่สมบูรณ์ของคำว่า “อวิชชา” จึงแปลได้ทั้งสองทาง คือ รู้กับไม่รู้

78. บุคคลผู้ขาดสติบัญญัติมักประพฤติตนตามข้อใด

1. ไตร่ตรอง

2. เหตุผล

3. ตามกระแส

4. โยนิโสมนสิการ

ตอบ 3 หน้า 39 (H) บุคคลผู้ขาดสติปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลว่าสิ่งนั้นดีจริงหรือไม่ ที่ว่าดีดีอย่างไร ไม่ดีนั้นไม่ดีอย่างไร โดยสิ่งที่ควรก็ไม่รู้ สิ่งที่ควรไตร่ตรองก็ไม่ได้ไตร่ตรอง จึงมักตามกระแสสังคมที่ผิด แสดงว่าไม่มีโยนิโสมนสิการ หรือไม่มีกระบวนการสร้างสติปัญญานั้นเอง

79. การศึกษาที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือข้อใด

1. รู้

2. จำ

3. คิด

4. ประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 40 (H) หลัก การศึกษาเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงในระดับปริญญาตรีนั้นปรารถนาให้นัก ศึกษาจำได้แล้วรู้จักคิด คือ จำได้ คิดได้ จำได้ ว่าตำราว่าอย่างไร ใครเขาว่าอย่างไรหรือหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร แล้วนำไปคิดว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและสังคมประเทศชาติ

80. การมาเรียนที่รามคำแหงจะได้อะไรเป็นสำคัญที่สุด

1. พบสิ่งที่แปลกใหม่

2. สั่งสมฐานความรู้

3. ได้สอบทานความรู้

4. พบสิ่งที่ควรรู้ควรคิด

ตอบ 2 หน้า 39 (H) การมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยรมคำแหง นอกจากจะได้พบสิ่งที่แปลกใหม่ พบสิ่งที่ควรรู้ควรคิด และได้สอบทานความรู้กับผู้รู้แล้ว นักศึกษายังได้สั่งสมความรู้ให้เป็นฐานความรู้ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นเรื่องของการสั่งสม บางที่เรียกว่าจิตวิญญาณ ซึ่งทุกคนควรที่จะปรับฐานความคิดให้ไปในทางเดียวกัน

81. ข้อใดไม่พึงปฏิบัติตามหลักกาลามสูตร

1. ต้องตรวจสอบพิสูจน์ได้

2. เชื่อตาม ๆ กันมา

3. ทดลองได้

4. เป็นวิทยาศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 (H) หลัก กาลามาสูตรในพุทธศาสนา เป็นหลักการคิดที่มีเหตุผลในตัว เป็นเรื่องที่ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่ทดลองได้ ตรวจสอบพิสูจน์ได้ไม่ใช้ใครมาพูดอะไรก็เชื่อทันที หรือเชื่อตาม ๆ กันมา โดยไม่ใช้เหตุผลว่าเป็นไปได้หรือไม่

82. ข้อใดคือความมุ่งหวังสูงสุดที่มีต่อบัณฑิตรามคำแหง

1. สั่งสมอบรมวิชาการ

2. วิจัยวิชาการ

3. นำวิชาการไปรับใช้สังคมดูแลประเทศชาติ

4. นำวิชาการไปใช้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

ตอบ 3 (คำบรรยาย) บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม นั้นคือนอกจากจะเป็นคนเก่ง มีความรู้ดี เก่งเรียน เก่งงาน เก่ง วิชาการ เฉลียวฉลาด มีเหตุผลแล้วบัณฑิตรามคำแหงยังต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีความกตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริตขยันอดทน และที่สำคัญที่สุดคือ การมีสำนึกนำรับผิดชอบดูแลบ้านเมือง โดยต้องนำวิชาการที่ได้ศึกษามาไปรับใช้สังคมดูแลประเทศชาติ

83. ข้อใดคือความรู้คุณธรรมที่แท้จริง

1. มีความรู้ ไม่มีคุณธรรม

2. มีคุณธรรม ไม่มีความรู้

3. มีความรู้ มีคุณธรรม

4. มีคุณธรรม มีความรู้อย่างมีดุลยภาพกัน

ตอบ 4 หน้า 40 – 41 (H) ในเรื่องความรู้คู่คุณธรรม ถ้าหากมีแต่ความรู้ ไม่มีคุณธรรมก็ใช่ไม่ได้หรือหากมีแต่คุณธรรมไม่มีความรู้ก็ใช้ไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะความรู้คู่คุณธรรมที่แท้จริงจะต้องมีทั้งความรู้และคุณธรรมอย่างมีดุลยภาพกัน จะต้องให้ทั้งสองอย่างมี ทั้งสองอย่างเกิดถึงใช้ได้

84. คิดอย่างมีเหตุผลพิสูจน์ได้ หมายความตามข้อใด

1. คิดต่อยอด

2. คิดเป็นวงจร

3. คิดเป็นวิทยาศาสตร์

4. คิดเป็นนวัตกรรม

ตอบ 3 หน้า 39 (H) คิดอย่างมีเหตุผลพิสูจน์ได้ หมายถึง การ ใช้สติปัญญาไตร่ตรองด้วยเหตุผลและใช้ความรู้พื้นฐานต่าง ๆ มาประกอบประมวลกันแล้วค่อยตัดสิน โดยความคิดนั้นต้องสามารถทดลองและพิสูจน์ได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คิดเป็นวิทยาศาสตร์

85. ทะนงตน มีความหมายตามข้อใด

1. มีชาตินิยม

2. อยู่ในสังคมอย่างสันติสุข

3. ไม่คิดด้อยกว่าใคร

4. ไม่ยกตนข่มท่าน

ตอบ 2 หน้า 41 – 42 (H) การ ทะนงตนในชาติพันธุ์ มิได้หมายความว่าให้หลงชาติหรือปลึกให้มรชาตินิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่รู้ว่าใครผิดใครถูกไม่ใช่ แต่เป็นการอยู่ในสังคมอย่างสันติสุขได้โดยที่ไม่คิดว่าจะด้อยกว่าใคร แล้วก็ไม่ต้องยกตนข่มท่าน เพราะการเป็นครูกันคนละอย่าง

86. ปัญญาชนพึงปฏิบัติตามข้อใดเป็นสำคัญทีสุด

1. คุณธรรมนำชีวิต

2. พัฒนาสังคมให้เข็มแข็งมีคุณภาพ

3. นำชาติบ้านเมืองมาสู่ความเจริญมั่นคงสันติสุข

4. พร้อมอุทิศตน

ตอบ 3 หน้า 43 (H) ผู้เป็นบัณฑิตหรือปัญญาชนควรยึดหลักคุณธรรมนำชีวิต พร้อม อุทิศตนเพื่อประเทศชาติ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาสังคมให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ และที่สำคัญที่สุดคือช่วยกันนำพาชาติบ้านเมืองให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความ เจริญอย่างมั่นคง วัฒนา สถาพร และสันติสุขสืบไป

87. เป็นครูคนละอย่าง มีความหมายที่แท้ตามข้อใด

1. มีความรู้แตกต่างกัน

2. มีความถนัดแตกต่างกัน

3. โอกาสที่ได้รับแตกต่างกัน

4. การไม่ดูถูกกันและกัน

ตอบ 4 หน้า 49 – 52 (H) “ครู คนละอย่าง” หรือ “เราเป็นครูกันคนละอย่าง” หมายถึง คนเรามีความรู้ความถนัดไม่เท่ากัน เราจึงไม่ได้รู้อะไรไปทุกเรื่อง หรือวันนี้อาจรู้ทุกเรื่อง แต่วันพรุ่งนี้ก็เริ่มจะไม่รู้ เพราะโลกเรามีความรู่ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การรู้จักให้เกียรติคนอื่นไม่ดูถูกกันและกัน ไม่ยกตนข่มท่านเพราะการเป็นครูกันคนละอย่าง โดยต่างคนต่างสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และประสบการณ์จากกันและกันได้

88. นักศึกษาจะได้รับการบริหารอย่างดีเยี่ยมตามนโยบายข้อใดของมหาวิทยาลัย

1. Course on Demand

2. Super Service

3. E – learning

4. E – testing

ตอบ 2 (คำบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้นำระบบสุดยอดแห่งการบริการ หรือที่เรียกว่า “Super Service” มาใช้ในการรับสมัครนักศึกษาใหม่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553 เพื่อให้ขั้นตอนการรับสมัครเป็นไปด้วยความเร็ว และให้นักศึกษาได้รับการบริการอย่างดีเยี่ยม โดยระบบ Super Service นี้ได้พัฒนาการมาจากระบบ One stop Service ซึ่งเป็นขั้นตอนการให้บริการแบบครบวงจรเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ที่เคยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (กพร.)

89. นักศึกษาพึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สูงสุดตามข้อใด

1. เรียนรู้วิชาที่สาขากำหนด

2. เรียนจบหลักสูตร ไปประกอบอาชีพ

3. ฝึกฝนตนเองให้ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

4. พัฒนาตนเองด้วยการเพิ่มพูนความรู้

ตอบ 3 หน้า 1, 1 (H) การ เรียนของบุคคลมิได้มุ่งให้ผู้เรียนรู้เฉพาะวิชาที่สาขากำหนด หรือเรียนจบหลักสูตรสำเร็จการศึกษาไปประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจของ แต่ละบุคคลเพราะหากบุคคลใดฝึกฝนตนเองให้ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องก็จะก่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ สามารถพัฒนาตนเองด้วยการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพในการปฏิบัติงานได้เต็มกำลังความสามารถของบุคคล

90. สังคมส่วนรวมได้ประโยชน์มาจากข้อใด

1. สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ

2. สมบูรณ์ด้วยปัญญา

3. สมบูรณ์ด้วยความรู้และคุณธรรม

4. มีวัฒนธรรมการดำรงชีวิต มุ่งผลดีต่อบ้านเมือง

ตอบ 4 หน้า 1, 1 (H) (คำบรรยาย) การ จัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม จริยธรรม และที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ก็คือ การมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต โดยมุ่งผลดีต่อบ้านเมืองเป็นสำคัญเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

91. นักศึกษาควรเรียนอย่างไร

1. รู้กว้าง

2. รู้ลึก

3. รู้จริง

4. เรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

ตอบ 4 หน้า 5, 26 – 27 , 5 (H) , 29 – 30 (H) ใน สังคมแห่งการเรียนรู้ นักศึกษาควรเรียนเพื่อให้รู้กว้างรู้ลึก รู้จริง และที่สำคัญทีสุดคือ เรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นระบบการศึกษาจึงต้องเป็นการศึกษาที่ผสมผสานทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยหรือที่เรียกว่า “การศึกษาตลอดชีวิต” (Lifelong Education)

92. ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์สูงสุดคือข้อใด

1. ใช้เทคโนโลยีร่วมกับหน่วยการเรียน

2. ใช้เทคโนโลยีให้เต็มศักยภาพ

3. ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา

4. พัฒนาให้คนใช้เทคโนโลยีเป็น

ตอบ 2 หน้า 7 , 10 , 7 (H) 10 (H) (คำบรรยาย) การ นำเทคโนโลยีมาใช้นั้นได้มีการพูดกันมากในเรื่องการพัฒนาคนให้ใช้เทคโนโลยี เป็น และการใช้เทคโนโลยีการแก้ปัญหาต่าง ๆ แต่การที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์สูงสุดต้องคิดว่า จะ ใช้เทคโนโลยีให้เต็มศักยภาพหรือมีประสิทธิภาพได้อย่างไร นอกจากนั้นมีการวางแผนการใช้งานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้หรือ ไม่หรือผู้ใช้มีความเข้าใจเทคนิคการใช้เครื่องมือนั้นเพียงพอแค่ไหน

93. ข้อใดเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1. ใช้เงินน้อยลง

2. ใช้ความคิดให้มาก

3. สร้างกำลังใจ

4. ฝึกความอดทน

ตอบ 2 หน้า 8 , 8 (H) (คำบรรยาย) เครื่อง มือสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ คือ การใช้ความคิดให้มากขึ้น ใช้สติปัญญาไตรตรองในการแก้ปัญหาด้วยจิตใจที่เข็มแข็ง ไม่ท้อแท้ ดังปาฐกถาด้านการศึกษาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตอนหนึ่ง ที่ว่า “…มีศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี เงินไม่มี เราก็ใช้เงินให้น้อยลง ใช้ความคิดให้มากขึ้นหน่อยเราก็จะไปได้ไม่อับจน อันนี้ก็เป็นเนื่องของกำลังใจ

94. ข้อใดเป็นพระราชดำรัสที่ควรน้อมนำไปแก้ปัญหากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ได้

1. ต้องเพียรและอดทน

2. ต้องไม่ใจร้อน

3. ต้องไม่พูดมาก ไม่ทะเลาะกัน

4. ต้องทำโดยเข้าใจกัน

ตอบ 4 หน้า 57 (H), (คำบรรยาย) พระ ราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรน้อมนำไปแก้ปัญหากลุ่มการเมืองต่าง ๆ คือ ต้องทำโดยเข้าใจกัน หมายความว่า ไม่ว่าจะคิดทำสิ่งใดต้องทำด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยใช้สติปัญญาพิจารณาถึงเหตุผลและประโยชน์ของชาติเป็นหลักรู้จักเอาใจเขามา ใส่ใจเรา ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ตอนหนึ่งว่า “….ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้..”

95. “รักบ้านเมืองมากกว่ารักบ้าน” หมายความตามข้อใด

1. จิตใจเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้

2. มีจิตสำนึกที่ดี

3. มีความเอื้ออาทร

4. นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม

ตอบ 4 หน้า 58 (H) (คำบรรยาย) เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้กล่าวไว้ในหนังสือธรรมจริยาว่า “ให้รักบ้านเมืองมากกว่ารักบ้าน” หมายความว่า ให้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนรู้จักเห็นคุณค่าของส่วนรวม จนสามารถที่จะสละเวลา ความสุขส่วนตัว หรือแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง เพื่อช่วยพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญขึ้นได้

96. ข้อใดไม่พึงปฏิบัติ

1. ความเจริญที่แสวงหาด้วยความเป็นธรรม

2. ความเจริญที่ได้มาโดยบังเอิญ

3. ความเจริญที่ได้ด้วยการแก่งแย่งเบียดเบียน

4. ความเจริญจากการขวนขวายใฝ่หาความรู้

ตอบ 2, 3 หน้า 59 (H) พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนหนึ่งว่า “…ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดเบียนจากผู้อื่น…”

97. ข้อเบ่งชี้ความมีคุณธรรม

1. เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง

2. เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน

3. ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน

4. ย่อมเสียที่ ที่ตน ได้เกิดมา

ตอบ 1 หน้า 64 (H) คำว่า “มนุษย์” แปลว่า ผู้มีใจสูง ซึ่งใจมนุษย์จะสูงได้ เพราะมีสิ่งเหล่านี้บรรจุอยู่ภายใน ได้แก่ 1. ความรู้ 2. ความสามารถ 3. คุณธรรม 4. อุดมคติ

5. อุดมการณ์ 6. ความสงบสุข

98. ชีวิตต้องเทียมด้วยความสองตัว มรรค 8 เป็นธรรมที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับข้อใด

1. ความตัวต้นเป็นตัวรู้

2. ความตัวปลายเป็นตัวแรง

3. สามารถดับทุกข์ที่เกิดได้

4. ป้องกันความทุกข์ที่ยังไม่เกิดได้

ตอบ 3 หน้า 674 – 675 , 77 – 78 (H) 81 (H) มรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่

1. สัมมาทิฐิ (ความชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)

3. สัมมาวาจา (วาจา) 4. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)

5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ)

7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ)

99. บุคคลที่ต้องการคำอธิบายคือข้อใด

1. อุคฆติตัญญู

2. วิปจิตัญญู

3. เนยยะ

4. ปทปรมะ

ตอบ 2 หน้า 78 – 79 (H) ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงลักษณะของบุคคลไว้ 4 จำพวก ได้แก่

1. อุคฆติตัญญู คือ เฉียบแหลม ฉลาดมาก พอพูดขึ้นมาก็เข้าใจหมด หรือพูดคำเดียวรู้เรื่องรู้แจ้งทันทีโดยไม่ต้องอธิบาย 2. วิปจิตัญญู คือบุคคลที่ต้องการคำอธิบายจึงจะรู้เรื่อง 3. เนยยะ คือ บุคคลที่พอจะนำไปได้ มีปัญหาทึบ แต่พอจะฝึกฝนกันได้ด้วยความยากลำบาก 4. ปทปรมะ คือ บุคคลที่มีความถ่วงอย่างยิ่ง ทั้งโง่และดื้อ จนเหลือที่ใครจะนำได้

100. ค่านิยมมีความหมายที่ตรงข้ามกับข้อใด

1. อุดมคติ

2. อุดมการณ์

3. คุณธรรม

4. ความรู้ ความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 71 (H) (คำบรรยาย) ค่านิยม (Values) จะมีความหมายสอดคล้องกับคำว่าอุดมคติ อุดมการณ์ และคุณธรรม ซึ่งหมายถึง ความ สามารถของบุคคลที่จะแยกแยะว่าอะไรคือสาระและสาระของชีวิต จึงเป็นคุณภาพจิตฝ่ายดีที่จะแยกแยะสิ่งดี – ไม่ดี เพื่อให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ไม่เป็นบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อความได้เปรียบ หรือฉกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ตน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมโดยรวม

101. มนุษย์ควรได้รับการพัฒนาที่ดีที่สุดตามข้อใด

1. การพัฒนามนุษย์ให้มีศีล

2. การพัฒนามนุษย์ให้มีสมาธิ

3. การพัฒนามนุษย์ให้มีปัญญา

4. การพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม

ตอบ 4 หน้า 80 (H) การฝึกฝนและพัฒนามนุษย์นั้น ทางพุทธศาสนาจัดวางเป็นหลักที่เรียกว่า “ไตรสิกขา” คือ การพัฒนามนุษย์ให้มีศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งหากพัฒนาครบทั้ง 3 ด้าน ก็จะทำให้บุคคลพัฒนาการอย่างมีบูรณาการ และถือเป็นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพและดีที่สุด

102. การฝึกวินัยคือสิกขาตามข้อใด

1. ศีลสิกขา – วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ

2. จิตตสิกขา – เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

3. ปัญญาสิกขา – ความเห็นชอบ ดำริชอบ

4. ไตรสิกขา – หลักสำคัญของการพัฒนามนุษย์

ตอบ 1 หน้า 675 , 80 – 81 (H) การปฏิบัติตามมรรคที่มีองค์ 8 สามารถย่อลงได้ในไตรสิกขาดังนี้

1. ศีล (ศีลสิกขา) คือ การฝึกฝนในด้านพฤติกรรม หรือการฝึกวินัย ได้แก่ สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) และสัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) 2. สมาธิ (จิตตสิกขา) คือ การฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่ สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) 3. ปัญญา (ปัญญาสิกขา) คือ การฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง ได้แก่ สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)

103. แปลความคิดเป็นการกระทำ หมายความตามข้อใด

1. ชำนาญในการใช้ภาษา

2. ประพฤติดี รสนิยมดี

3. มีวิจารณญาณใฝ่รู้

4. นำความคิดมาปฏิบัติได้

ตอบ 4 หน้า 83 (H) ผู้ที่สามารถนำความคิดของตนมาสู่การปฏิบัติได้ คือ ผู้ที่สามารถแปลความคิดเป็นการกระทำ เพราะเป็นผู้มีความคิดแน่ชัดเป็นของตนเอง และเป็นความคิดที่ประกอบด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่เป็นความคิดที่ไปคัดลอกหรือเลียนแบบมา โดยขาดพิจารณาหรือความเข้าใจอย่างถูกต้อง

104. ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง ความฉลาดในข้อใดสำคัญที่สุด

1. EQ – ความฉลาดด้านการจัดการอารมณ์

2. AQ – ความฉลาดรู้สู้ปัญญา

3. GQ – ความลาดรู้เท่าทันโลก

4. HQ – ความฉลาดรักษาสุขภาพของตน

ตอบ 3 หน้า 83 – 85 (H) (คำบรรยาย) ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง ความฉลาดที่สำคัญที่สุดได้แก่ ความ ฉลาดรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี วิทยากร และสรรพสิ่งทั้งหลายไม่วิ่งตามกระแสสังคมโดยไม่ได้ใช้สติปัญญาแยกแยะสิ่งถูก – ผิด นอกจากนี้ยังต้องรู้จักบูรณาการความคิดระดับโลกมาปฏิบัติในระดับท้องถิ่นได้ (Global and Local Integration)

105. สติเป็นเครื่องช่วยบรรลุตามข้อใดที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด

1. มองตนออก

2. บอกตนได้

3. ใช้ตนเป็น

4. เห็นตนชัด

ตอบ 4 หน้า 55 (H) 88 (H) (คำบรรยาย) การฝึกพัฒนาตนเองไห้มีสติ คือ ความรู้จักตนเองโดยสติจะเป็นเครื่องช่วยให้บุคคลมองตนออก (รู้จักตัวตนของตนเองว่าเป็นใคร) บอก ตนได้ (บอกตนได้ว่ามีหน้าที่อะไรและต้องทำอะไร) ใช้ตนเป็น (ใช้ความรู้ความสามารถของตนไปในทางที่ถูก) และที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งถือเป็นจุดประสงค์ของการเรียนความรู้คู่คุณธรรมก็คือเห็นตนชัด (ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ เตือนตนได้ว่าสิ่งใดดี – ไม่ดี)

106. ทานัง หมายความตามข้อใด

1. พึงชนะความโกธร ด้วยความไม่โกธรตอบ

2. ชนะความเลว ด้วยความดี

3. ชนะความตระหนี่ ด้วยการให้

4. ชนะคนพูดพล่อย ๆ ด้วยคำพูดจริง

ตอบ 3 หน้า 88 (H), 96-98 (H) ,108-109 (H) หลักทศพิธราชธรรม 10 ประกอบด้วย

1. ทานัง (ทาน) คือ การให้ปันช่วยประชา

2. สีลัง (ศีล) คือ รักษาความสุจริต

3. ปะริจจาคัง (บริจาค) คือ บำเพ็ญกิจด้วยความเสียสละ

4. อาชชะวัง (ความซื่อตรง) คือ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง

5. มัททะวัง (ความอ่อนโยน) คือ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงธรรม

6. ตะปัง (ความพากเพียร) คือ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส

7. อักโกธัง (ไม่โกรธ) คือ ถือเหตุผลไม่โกรธา

8. อวิหิงสา (ไม่เบียดเบียน) คือ มีอหิงสานำร่มเย็น

9. ขันติ (อดทน) คือ ชำนะเข็ญด้วยขันติ

10. อวิโรธนัง (อวิโรธนํ – ไม่มีอะไรพิรุธ ไม่ผิดไปจากคำสอน) คือ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม

107. นักศึกษาพึงปฏิบัติต่อบิดามารดาตามข้อใด

1. ขวนขวายช่วยเหลือกิจธุระ

2. รักษาสมบัติส่วนร่วม

3. อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

4. ไม่นิ่งดูดายในสาธารณะประโยชน์

ตอบ 1 หน้า 260 , 92 (H) นักศึกษาพึงปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อบิดามารดาและครอบครัวดังนี้

1. เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดามารดา

2. ขวนขวายช่วยเหลือกิจธุระของบิดามารดาตามควรแก่โอกาส

3. ไม่นำความเดือนร้อนมาให้ครอบครัว 4. รักษาและเชิดชูชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล

108. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมายความตามข้อใด

1. คิด พูด ทำด้วยความเมตตา

2. มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน

3. ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

4. ประสานงานประสานประโยชน์

ตอบ 3 หน้า 159 , 93 (H) (คำบรรยาย) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมายถึง การแสดงน้ำใจดีต่อผู้อื่นด้วยวาจา และใจ ตลอดจนการให้เป็นวัตถุและสิ่งของแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ ใจแคบเห็นแก่ตัวต่างคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งการเอื้อเฟื้อที่ถูกต้องควรเป็นการอุดหนุนเจือจุนคนที่สมควรอุดหนุนโดย ไม่เป็นที่เดือนร้อนแก่ผู้อื่นและสังคม

109. การปฏิบัติตามข้อใดจะขจัดอุปสรรคของประเทศชาติร่วมกันได้

1. รู้สึกว่าเป็นประเทศของทุกคน

2. ต้องเข้าหากันแก้ปัญหา

3. ปฏิบัติการรุนแรงต่อกันด้วยความลืมตัว

4. ต่างคนต่างแพ้ ที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ

ตอบ 2 หน้า 94 (H) วิธีปฏิบัติที่ช่วยขจัดอุปสรรคของประเทศชาติร่วมกันได้ดีที่สุด คือ ทุกคนต้องเข้าหากัน แก้ปัญหาด้วยความสันติ ดัง พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ตอนหนึ่งว่า “ประเทศของเราไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคน สองคน เป็นประเทศของทุกคนต้องเข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ปัญหาเพราะว่าอันตรายมี อยู่ เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือด ปฏิบัติการรุนแรงต่อกันด้วยความลืมตัว ลงท้ายไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วจะแก้ปัญหาอะไร…”

110. ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของการพัฒนาบ้านเมืองคือข้อใด

1. เมื่อไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต

2. ทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป

3. ถ้าสุจริตขอให้ต่ออายุได้ถึง 100 ปี

4. ประเทศไทยจะรอดพ้นอันตราย เพราะว่าผู้ที่ทำด้วยความตั้งใจในธรรม

ตอบ 1 หน้า 94 (H) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาบ้านเมือง คือ การทุจริตคอร์รัปชั่นดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ตอน หนึ่งว่า “ทำอย่างไรจึงจะปราบทุจริตได้ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพราะว่ามีทุจริต..เพราะว่าผู้ว่าฯ ซีอีโอต้องเป็นคนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้…”

111. ผู้บริหารหรือนักการเมืองพึงมีสำนึกในข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. ทำงานอย่างผู้รู้จริง มีผลงานประจักษ์

2. อดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมมะความถูกต้อง

3. อ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด

4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

ตอบ 4 หน้า 94 (H) (คำบรรยาย) คุณสมบัติ ที่สำคัญที่สุดของผู้บริหารหรือนักการเมืองที่ดี คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ และเหนือสิ่งอื่นใดควรมีสำนึกที่มุ่งประโยชน์ของส่วนใหญ่เป็นหลักหรือเพื่อ ส่วนรวม มิใช่เพื่อตนเองหรือเพื่อคนส่วนน้อย โดยควรคิดถึงประโยชน์ของประเทศและประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

112. ธรรมาภิบาลสำเร็จได้ด้วยสามัคคี หมายความตามข้อใด

1. ความน่าเชื่อถือมีกฎเกณฑ์

2. ความโปร่งใส

3. การมีส่วนร่วม

4. ความสามารถคาดการณ์ได้

ตอบ 3 หน้า 95 (H) (คำบรรยาย) ธรรมาภิบาลสำเร็จได้ด้วนสามัคคี หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองจะสำเร็จได้หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งตรงกับหลักสำคัญของ ธรรมาภิบาล (Good Governance) ประการหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วม (Participation) ของ ประชาชน เช่น การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น

113. ผู้นำต้องยึดหลักข้อใดเป็นสำคัญที่สุด

1. ค่านิยม ซื่อสัตย์ โปร่งใส

2. กฎหมาย เป็นธรรม

3. ประสิทธิภาพ

4. ความจริงใจ

ตอบ 1 หน้า 95 – 96 (H) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แนะว่า การ ใช้จริยธรรมและคุณธรรมในการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้นำจะต้องสำนึกที่จะนำสิ่งที่ดีไปใช้และขจัดสิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป โดยต้องยึดหลักมาตรฐานจริยธรรมที่สำคัญที่สุด คือ ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส และค่านิยม นอกจากนี้ยังต้องยึดหลักกฎหมาย ความมั่นคงของรัฐ ความเป็นธรรม และประสิทธิภาพในการในการบริหารงาน

114. ความซื่อตรง หมายความตามข้อใด

1. ทานัง

2. สีลัง

3. ปะริจจาคัง

4. อาชชะวัง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 106. ประกอบ

115. ข้อใดเป็นคุณธรรมตามคำสอนของศาสนาอิสลาม

1. จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

2. การบริจาคทรัพย์ตามศาสนาบัญญัติ

3. อย่าเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน

4. จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า

ตอบ 2 หน้า 681 – 684 , 101 (H) มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามธรรมนูญชีวิตของศาสนาอิสลามหรือที่เรียกว่ามุขยบัญญัติ 5 ประการ ได้แก่ 1. การกล่าวคำปฏิญาณตน 2. การทำละหมาด (นมัสการ) 5 เวลา คือ เช้า บ่าย เย็น ค่ำ และกลางคืน 3. การบริจาคทรัพย์ตามศาสนาบัญญัติ 4. การถือศีลอดในเดือนรอมดอน 5. การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการไปจาริกแสวงบุญที่เมืองมักกะห์ ประเทศชาอุดิอาระเบีย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคุณธรรมตามคำสอนของศาสนาคริสต์)

116. การเสียสละ เป็นฆราวาสธรรมตามข้อใด

1. สัจจะ

2. ทมะ

3. ขันติ

4. จาคะ

ตอบ 4 หน้า 104 (H) (คำบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย

1. สัจจะ คือ ความจริง ความซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมาทั่งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อวิชาชี 2. ทมะ คือ การฝึกฝนตนเองในเรื่องต่าง ๆ 3. ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น 4. จาคะ คือ การเสียสละแบ่งปัน

117. นักศึกษาจะมีส่วนร่วมสำคัญในการธำรงสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ด้วยคุณธรรมข้อใด

1. ความมีไหวพริบ

2. ความจงรักภักดี

3. ความรู้จักนิสัยคน

4. ความรู้จักผ่อนผัน

ตอบ 2 หน้า 116 (H) ความจงรักภักดี แปลว่า การยอมเสียสละตนเพื่อประโยชน์แห่งท่าน คือ ถึง แม้ว่าตนจะต้องได้รับความเดือนร้อนรำคาญ ตกระกำลำบาก หรือจนถึงต้องสิ้นชีวิตเป็นที่สุด ก็ยอมได้ทั้งสิ้นเพื่อมุ่งประโยชน์อันแท้จริงให้แก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

118. มิตรแท้พึงปฏิบัติตามข้อใด

1. อย่าใฝ่ตนให้เกิน

2. ที่ผิดช่วยเตือนตอบ

3. อย่าคะนึงถึงโทษท่าน

4. เมื่อพาทีพึงตอบ

ตอบ 2 หน้า 662 – 663 , 166 (H) 121 (H) รู้ถึงมิตรแท้ หรือมิตรด้วยใจจริงประการหนึ่ง คือ มิตรแนะนำประโยชน์ ซึ่งมีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ 1. จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้ดังที่สุภาษิตพระร่วงได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “…ที่ผิดช่วยเตือนตอบ” 2. แนะนำสนับสนุนให้ตั้งอยู่ในความดี 3. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง 4. บอกทางสุขทางสวรรค์ให้

119. ร่างกายที่สมบูรณ์ ความมีสติปัญญา เป็นหลักความรุ่งเรืองตามข้อใด

1. เลือกหาถิ่นที่เหมาะสม

2. เลือกคบคนดี

3. ตั้งตนไว้ถูก

4. เตรียมทุนที่ดี

ตอบ 4 หน้า 125 (H) หลักแห่งความเจริญรุ่งเรืองมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1. เลือกหาถิ่นที่เหมาะ คือ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี 2. เลือกคบคนดี คือ รู้จักเลือกคบหาบุคคลผู้รู้ ผู้ทรงคุณที่จะเกื้อกูลความเจริญก้าวหน้างอกงาม 3. ตั้งตนไว้ถูก คือ รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตและการงานให้ดีงามปฏิบัติไปสู่เป้าหมายอย่างมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง 4. เตรียมทุนที่ดี คือ ความมีสติปัญญาร่างกายสมบูรณ์ รู้จักรักษาสุขภาพตนแก้ไขปรับปรุงตนด้วยการศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนความชำนาญ

120. ปัญหาร้ายแรงที่สุดในอนาคตจากภาวะโลกร้อนคือข้อใด

1. ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

2. พายุ อุทกภัย ภัยแล้งรุนแรงขึ้น

3. ผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต ผู้คน

4. ปัญหาต่อแหล่งทรัพยากร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ผล กระทบภาวะโลกร้อน นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาต่อแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเกิดการละลายของน้ำแข็ง ทั่วโลก ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น สภาวะอากาศแปรปรวน เกิดพายุ อุทกภัยและภัยแล้งรุนแรงแล้ว ก็ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงที่สุดในอนาคต หากมนุษย์ยังไม่หยุดเพิ่มความร้อนให้กับโลกและปล่อยให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างที่เป็นอยู่ คือ อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดระดับที่ผู้คนและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะอยู่รอดได้ (ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ)

Advertisement