การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 กฎหมายกําหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยกเว้นข้อใด
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
(4) ผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
(5) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 24 – 25) ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1 บุคคลธรรมดา 2 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3 ผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 4 กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
2 กฎหมายกําหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล ยกเว้นข้อใด
(1) ห้างหุ้นส่วนจํากัด
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
(3) บริษัทมหาชนจํากัด
(4) บริษัทจํากัด
(5) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 24 – 25) ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ 1 บริษัทจํากัด 2 บริษัทมหาชนจํากัด 3 ห้างหุ้นส่วนจํากัด 4 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล) 5มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เป็นต้น
3 ผู้ที่มีอํานาจในการกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการส่งออก คือ
(1) อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(3) อธิบดีกรมสรรพากร
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 8) ผู้ที่มีอํานาจในการกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการส่งออก คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
4 “Ownership” หมายถึง
(1) กระบวนการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากร
(2) คณะบุคคลที่เป็นนิติบุคคล
(3) กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี
(4) การเก็บภาษีล่วงหน้า
(5) การกํากับดูแลผู้เสียภาษีตามกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 27 – 28) กรมสรรพากรได้กําหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีอากรโดยใช้นโยบายการกํากับดูแลผู้เสียภาษีอากรอย่างใกล้ชิดเป็นราย ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีโดยให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในลักษณะเป็น Ownership คือ การกํากับดูแลผู้เสียภาษีอากรตามกลุ่มของการประกอบธุรกิจ (กลุ่ม ผู้ประกอบการธุรกิจ) ตั้งแต่การให้คําแนะนําอย่างใกล้ชิด การติดตามดูแลผู้เสียภาษีอากร โดยไม่เน้นการตรวจสอบย้อนหลัง แต่ให้มีการกํากับดูแลทันทีที่ถึงกําหนดการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษี
5 หลักการจัดเก็บภาษีอากรในประเทศไทย
(1) หลักสัญชาติ
(2) หลักถิ่นที่อยู่
(3) หลักแหล่งเงินได้
(4) หลักถิ่นที่อยู่และหลักแหล่งเงินได้
(5) หลักสัญชาติและหลักแหล่งเงินได้
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 27), (เอกสารหมายเลข 1-3300-3 หน้า 16)หลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ใช้กันในปัจจุบันมี 3 หลักการ ดังนี้ 1 หลักถิ่นที่อยู่ คือ บุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศใดต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้น ซึ่งในกรณีของประเทศไทยบุคคลใดอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย 2 หลักแหล่งเงินได้ คือ ผู้มีเงินได้จากแหล่งประเทศใด ก็ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้น 3 หลักสัญชาติ คือ บุคคลที่ถือสัญชาติใดก็ให้เสียภาษีแก่ประเทศนั้น อนึ่งสําหรับประเทศไทยจะใช้หลักถิ่นที่อยู่เละหลักแหล่งเงินได้เท่านั้น
6 การกําหนดมาตรการลงโทษ คือลักษณะพิเศษของกฎหมายภาษีอากรข้อใด
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความเป็นกลาง
(3) หลักการบังคับใช้ทั่วไป
(4) หลักสะดวก
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 15 – 16) หลักการบังคับใช้เป็นการทั่วไป เป็นการบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรภายใต้เขตแดนภาษี หรือเรียกว่า หลักการใช้อํานาจตามส่วนและต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งระยะเวลา ไม่มีผลย้อนหลัง
7 อัตราภาษีตามสภาพและอัตราภาษีตามราคา คืออัตราภาษีข้อใด
(1) อัตราภาษีแบบสัดส่วน
(2) อัตราภาษีแบบก้าวหน้า
(3) อัตราภาษีแบบถดถอย
(4) อัตราภาษีแบบคงที่
(5) อัตราภาษีแบบถอยหลัง
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3300-3 หน้า 12 – 13) อัตราภาษีคงที่ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1 อัตราตามสภาพ เป็นกรณีที่ฐานภาษีแสดงไว้เป็นปริมาณหรือขนาด เช่น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสุราเป็นลิตร เป็นต้น 2. อัตราตามราคา เป็นกรณีที่ฐานภาษีแสดงไว้เป็นราคาหรืออัตราภาษีที่กําหนดไว้เป็นร้อยละของราคาสินค้า เช่น การจัดเก็บภาษีศุลกากรจากรถยนต์นําเข้าในอัตราร้อยละ 80 ของราคารถยนต์ เป็นต้น
8 ภาษีที่เก็บจากสุรา คือข้อใด
(1) ภาษีศุลกากร
(2) ภาษีการใช้จ่าย
(3) ภาษีการขาย
(4) ภาษีที่ดิน
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 10 – 11, 29) กรมสรรพสามิต มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งเก็บจากสินค้าหรือโภคภัณฑ์บางประเภทที่ผลิตภายในประเทศ เช่น สุรา เครื่องดื่ม ยาสูบ (บุหรี) ไพ่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์นำมัน น้ำหอม รถยนต์ ซีเมนต์ ยานัตถุ ฯลฯ
9 ภาษีทางอ้อม คือข้อใด
(1) ภาษีการใช้จ่าย
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีมรดก
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 29), (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 11), (คําบรรยาย)การจําแนกประเภทภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1 ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้หรือผลักภาระได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการประกันสังคม ภาษีมรดก ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน เป็นต้น
2 ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ ภาษีการขายทั่วไป ภาษีการใช้จ่าย อากรมหรสพ ค่าใบอนุญาต เป็นต้น
10 ข้อใดคือภาษีเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะอย่าง (Earmarked Tax)
(1) ภาษีสรรพสามิต
(2) ภาษีนิติบุคคล
(3) ภาษีการค้า
(4) ภาษีเงินเดือน
(5) ภาษีศุลกากร
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3300-3 หน้า 10 – 11) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะการใช้เงินภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายทั่วไป เป็นภาษีอากรส่วนใหญ่ที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนําเข้า เป็นงบประมาณรายได้ แล้วตั้งจ่ายไปตามงบประมาณรายจ่ายประจําปี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น
2 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะอย่าง เป็นภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บเป็นรายได้สําหรับใช้จ่ายในกิจการหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นการเฉพาะ มิได้นําเข้าเป็นงบประมาณรายได้สําหรับใช้จ่าย เป็นการทั่วไป เช่น การจัดเก็บภาษีเงินเดือนเพื่อนํามาตั้งเป็นกองทุนให้บริการด้านการประกันสังคม เป็นต้น