การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2103 การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 4 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ
ข้อ 1 การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) หมายถึงอะไร มีรูปแบบอะไรบ้าง และมีความสําคัญอย่างไรต่อการปกครองท้องถิ่น จงอธิบายและยกตัวอย่างการเมืองไทย
แนวคําตอบ
ความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) นั้นมีหลายความหมาย ซึ่งสามารถ พิจารณาได้ดังนี้
1 หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลมีจุดประสงค์เพื่อที่จะมีอิทธิพลในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง
2 หมายถึง การให้การสนับสนุนและเรียกร้องต่อผู้นํารัฐบาล
3 หมายถึง กิจกรรมทางการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย
4 หมายถึง การใช้สิทธิเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปใช้อํานาจแทนตนเอง
5 หมายถึง กิจกรรมที่มีความตื่นตัวทางการเมือง
6 หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดที่เป็นการเมือง
รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปรากฏการณ์ของกิจกรรมทางการเมืองหลายอย่าง รวมกันอยู่ จึงมีลักษณะหรือรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยสามารถพิจารณาได้ดังนี้
Verba เห็นว่า รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง มี 4 รูปแบบ คือ
1 การใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นกิจกรรมของบุคคลแต่ละคนที่จะเลือกตัวแทนของตนเข้าไปใช้อํานาจในการปกครอง
2 กิจกรรมการรณรงค์หาเสียง เป็นกิจกรรมในลักษณะเดียวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งแต่เป็นรูปของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง
3 กิจกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กรที่ประชาชนร่วมกันดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง
4 การติดต่อเป็นการเฉพาะ โดยรูปแบบกิจกรรมที่มีการติดต่อปัญหาใดเฉพาะตัวหรือ ของครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายของรัฐบาลน้อยมาก
Huntington & Nelson เห็นว่า รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่
1 กิจกรรมการเลือกตั้ง
2 การล็อบบี้
3 กิจกรรมองค์กร
4 การติดต่อ
5 การใช้กําลังรุนแรง
Almond & Powell เห็นว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 Conventional Forms ได้แก่
1) การออกเสียงเลือกตั้ง
2) การพูดจาปรึกษาเรื่องการเมือง
3) กิจกรรมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
4) การจัดตั้งการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
5) การติดต่อส่วนตัว
2 Unconventional Forms ได้แก่
1) การยื่นข้อเสนอ
2) การเดินขบวน
3) การประจันหน้า
4) การละเมิดกฎของสังคม
5) การใช้ความรุนแรง
6) สงครามกองโจรและการปฏิวัติ
ความสําคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อการปกครองท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองที่รัฐบาลมอบอํานาจให้ประชาชนในท้องถิ่นจัดการ ปกครองและดําเนินกิจการบางอย่างโดยดําเนินการกันเองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจึงเป็นหัวใจสําคัญของการปกครองท้องถิ่น เพราะถ้าประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการดําเนินการต่าง ๆ ของท้องถิ่นจะทําให้การบริการ สาธารณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด นอกจากนี้การเปิดโอกาส ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีผล ให้การดําเนินการต่าง ๆ ของท้องถิ่นเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีความเป็นธรรม ลดการทุจริต และความขัดแย้ง ในการทํางาน รวมทั้งเป็นวิธีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ความเป็นเจ้าของชุมชน และเสริมสร้าง ประชาธิปไตยในท้องถิ่น
ตัวอย่างการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองท้องถิ่นของไทย เช่น การเข้าร่วมออกเสียง เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น การเข้าร่วมเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น การเข้าร่วมถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็นต้น