LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบซ่อมภาค 2 ปีการศึกษา 2548

การสอบซ่อมภาค   ปีการศึกษา 2548

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001  หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. ขอให้นักศึกษาอธิบายความหมายของรัฐ และองค์ประกอบของรัฐ และให้อธิบายความแตกต่างระหว่างรัฐกับรัฐบาลมาโดยละเอียด

แนวคำตอบศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อธิบาย ความหมายของคำว่า รัฐ หมายถึง อำนาจที่ถูกจัดเป็นสถาบัน รัฐ หมายถึง ผู้ถืออำนาจที่เป็นนามธรรมและถาวร โดยมีผู้ปกครองซึ่งเป็นแต่เพืยงเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอันสำคัญที่ผ่านไป เท่านั้นเนื่องจาก รัฐ เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นนามธรรมในแนวทางการอรรถาธิบายองค์ประกอบของรัฐแบบดั้งเดิมนั้น มี 4ประการ คือ ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล 

โดยทั่วไป รัฐจะเป็นสถาบันการเมืองที่มีความสลับซับซ้อน (complex) และจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่าง ๆจำนวนมาก ดังนี้

1. ดินแดน (territory)
2. ประชากร (popuIation)
3. รัฐบาล (government)

4. อำนาจอธิปไตย (sovereignty)

5. ความต่อเนื่อง (continuity)
6. การดำเนินการทางด้านความมั่นคง (security)
7. การรักษาความสงบเรียบร้อย (order)
8. การอำนวยความยุติธรรม (justice)
9. การสวัสดิการสังคม (welfare)

นอกจากนี้ รัฐต้องประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นสารัตถะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ทรัพยากร (resources) การคลัง(flnance) ระบบราชการ(bureaucracy) และการดำรงอยู่ในสังคมแห่งรัฐต่าง ๆ หรือสังคมโลก (existence as part of a society of states)แนวคิดในการสถาปนารัฐขึ้นมานั้น กล่าวได้โดยสรุป คือ ในช่วงปลายยุคกลาง (middle age) สังคมมนุษย์ยังไม่มีสภาพเป็นรัฐ ตามความหมายในปัจจุบันนี้อำนาจในการปกครองจืงเป็นอำนาจของบุคคลซึ่งเป็นผู้ปกครอง เมื่อสังคมวิวัฒนาการขึ้น จึงทำให้เกิดชนชั้นใหม่ ๆ ขึ้นมานอกเหนือไปจากชนชั้นผู้ปกครอง ไพร่ และทาส ตามระบอบศักดินาแบบเดิมสภาพดังกล่าว
รวม ทั้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สังคมมาถึงจุดวิกฤติของ การปกครองระบอบศักดินา จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า อำนาจในการปกครองดังกล่าวไม่ควรจะอยู่กับตัวบุคคล แต่ก็ต้องยอมรับว่าต้องมีอำนาจในการปกครองสังคมมนุษย์จึงต้องประดิษฐ์ เครื่องค้ำจุนอำนาจขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนตัวบุคคลและเครื่องค้ำจุนอำนาจใหม่ นี้ จักต้องเป็นอิสระแยกจากตัวบุคคลด้วย เครื่องค้ำจุนอำนาจดังกล่าวก็คือรัฐนั่นเองทั้งนี้ เพื่อให้ รัฐ เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ ไม่ใช่ให้บุคคลเป็นเจ้าของอำนาจรัฐ

แต่อย่างไรก็ตาม รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้น รัฐจึงเป็นนามธรรม ตามที่ศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อธิบายความหมายของรัฐ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น

ในเมื่อรัฐเป็นนามธรรม แต่จะต้องมีการใช้อำนาจรัฐเพื่อการปกครองรัฐจึงต้องมีบุคคลธรรมดา ซึ่งอาจจะเป็น
บุคคลเพียงคนเดียวหรือคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นแทนรัฐในนามของรัฐ อำนาจรัฐนั้น โดยหลักการแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 สาขา ซึ่งมีองค์กรบริหารหรือใช้อำนาจรัฐที่แยกต่างหากจากกันแล้วแต่บทบาทและอำนาจหน้าที่หลัก กล่าวคืออำนาจนิติบัญญัติ อันมีรัฐสภาเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐส่วนนี้

อำนาจบริหาร องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐส่วนนี้ คือ รัฐบาล และอำนาจตุลาการ องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐส่วนนี้ ก็คือ องค์กรศาลผู้ที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐในนามของรัฐ เรียกว่าองค์กรของรัฐ

รัฐมีลักษณะเป็นสถาบัน ที่มีความต่อเนื่องอยู่ตลอด แต่รัฐบาลนั้นเป็นกลุ่มบุคคลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตัว
บุคคลที่มาทำหน้าที่เป็นรัฐบาลไปตามวาระเมื่อพิเคราะห์แล้วจึงเห็นได้ว่า รัฐบาลก็คือ องค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่กระทำการใช้อำนาจบริหาร ซึ่งเป็นอำนาจรัฐอย่างหนึ่งแทน รัฐ ในนามของรัฐเท่านั้นเอง

 

ข้อ 2. กฎหมายมหาชนปัจจุบัน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง พระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหงฯ พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฯต่างเป็นกฏหมายปกครองและเป็นกฎหมายมหาชน

จงอธิบายว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้อำนาจทางปกครองและศาลปกครองอย่างไร

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวจะใช้อำนาจทางปกครองได้ เท่าที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้

การใช้อำนาจทางปกครอง คือ การใช้อำนาจตามที่กฎหมายกำหนด แล้วทำให้เกิดการ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน
สงวน หรือ ระงับต่อสถานภาพ หรือสิทธิทางปกครองของบุคคลไม่ว่าจะเป็นการออกกฏ คำสั่ง หรือการกระทำหรือหน้าที่และเมื่อหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไปแล้วเกิดกรณีพิพาทเรียกว่า กรณีพิพาทปกครอง.จะต้องนาคดีขึ้นสู่ศาลปกครองเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป

 

ข้อ 3 จงอธิบายบทบาทและความสำคัญของกฎหมายมหาชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับ (พ.ศ.2540) พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้ชัดเจน

ธงคำตอบ

บทบาทที่สำคัญของกฎหมายมหาชน ได้แก่

กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ในการบริหารการปกครองและการบริการสาธารณะแก่รัฐ
แก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
กฎหมายมหาชนช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน
กฎหมายมหาชนช่วยควบคุมการใช้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
กฎหมายมหาชนช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจ

การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ก็มีบทบัญญัติที่ตราไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเด็น การให้ความเป็น
ธรรมกับข้าราชการก็มีศาลปกครอง มีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อาทิเช่น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ..2542 การส่งเสริมการกระจายอำนาจก็มีระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหมวดที่ว่าด้วยการกระจายอำนาจ อาทิเช่น มาตรา 284, 285, 286 เป็นต้น

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2548

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2548

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายเกี่ยวกับรัฐ อำนาจรัฐและการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือเป็น กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรในลักษณะที่รัฐหน่วยงานของรัฐรวมทั้งเจ้า หน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นฝ่ายปกครองมีเอกสิทธิ์หรือมีสถานะเหนือกว่าราษฎรซึ่ง เป็นเอกชน

จึงขอให้นักศึกษาอธิบายให้เข้าใจและตอบคำถามในประเด็นต่อไปนี้

ก. ความหมายของคำว่า รัฐ รัฐคืออะไร องค์ประกอบของรัฐมีอะไรบ้าง
ข. ลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐมีอะไรบ้างให้อธิบายมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ก. ศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อธิบายความหมายของ รัฐ ไว้ว่า รัฐคือ อำนาจที่ถูกจัดเป็นสถาบัน รัฐ คือผู้ถืออำนาจที่ เป็นนามธรรมและถาวร โดยมีผู้ปกครองซึ่งเป็นแต่เพียงเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอันสำคัญที่ ผ่านไปเท่านั้น เนื่องจากรัฐ เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นนามธรรมองค์ประกอบของรัฐที่อธิบายกันมาแบบดั้งเติมนั้นจะ มีอยู่เพียง 4 ประการคือ ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล 

 โดยทั่วไป รัฐจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสลับซับซ้อนและจะประกอบไปด้วยองค์ ประกอบต่าง ๆ มากมาย ได้แก่

1. ดินแดน (territov)
2. ประชากร (population)
3. รัฐบาล (govemment)

4. อำนาจอธิปไตย (sovereignty)
5. ความต่อเนื่อง (continuity)
6. การดำเนินการทางด้านควานมั่นคง (security)
7. การรักษาความสงบเรียบร้อย (order)
8. การอำนวยความยุติธรรม (justice)
9. การสวัสดิการสังคม (welfare)
นอกจากนี้ รัฐยังจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือทรัพยากร (resources) การคลัง
(finances) ระบบราชการ (bureaucracy) และการดำรงอยู่ในสังคมแห่งรัฐต่าง ๆ หรือสังคมโลก (existence as part of a society ofstates )
ข. ลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐอำนาจรัฐ ก็คือ อำนาจมหาชน ซึ่งเป็นอำนาจเพื่อสาธารณประโยชน์ในประเทศประชาธิปไตยแบบตะวันตก อำนาจรัฐจะมีลักษณะเฉพาะคือ การเป็นอำนาจซ้อนและการรวมศูนย์อำนาจ การเป็นอำนาจทางการเมือง การเป็นอำนาจทางพลเรือนและการเป็นอำนาจทางอาณาจักร
1 อำนาจของรัฐเป็นอำนาจซ้อนและการรวมศูนย์ อำนาจลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐในส่วนนี้จะปรากฏเหมือนกันในทุกรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐเดี่ยวหรือรัฐรวม
2 อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางการเมือง ในรัฐทุกรัฐ นอกจากอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึง อำนาจในการควบคุมการผลิต และอำนาจในการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในแต่ละรัฐยังมีอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจที่ไม่ได้สืบเนื่องมาจากอำนาจในการควบคุมปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่เป็นอำนาจที่มีลักษณะทางการเมือง กล่าวคือประการแรก อำนาจรัฐเป็นอำนาจแห่งการตัดสินใจ ชึ่งอธิบายไดัว่าภารกิจและหน้าที่ของรัฐนั้นยิ่งนับวันก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น และทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความต้องการใหม่ๆ และรัฐจะอยู่ในฐานะผู้ตัดสินใจที่จะเลือกดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ประการที่สอง อำนาจรัฐสมัยใหม่จะไม่มีการปะปนกันระหว่างทรัพย์สินของรัฐและทรัพย์สินของผู้ปกครองซึ่งผิดกับสมัยศักดินาที่ไม่สามารถแยกสาธารณสมบัติของแผ่นดินออกจากทรัพย์สินของกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครได้ประการที่สาม สภาพบังคับที่ใช้โดยรัฐนั้น ต้องมีลักษณะทางการเมืองแท้ ๆ กล่าวคือ อำนาจที่ใช้กับผู้คนในสังคมนั้นจะมีอยู่สองแบบคือ อำนาจโดยตรง อันได้แก่ อำนาจที่เป็นคำสั่งต่อตัวบุคคลโดยตรง ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตาม บุคคลนั้นก็ย่อมจะมีโทษกับ อำนาจทางอ้อม อันได้แก่อำนาจในการถือครองสิ่งของที่บุคคลต้องการเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งถ้าไม่เคารพอำนาจนี้
ก็จะมีการเอาทรัพย์สินสิ่งของนั้นไป อำนาจทางอ้อมนี้จึงเรียกว่า อำนาจทางเศรษฐกิจ หรืออาจจะเป็น อำนาจทางเศรษฐกิจการเมือง ส่วนอำนาจรัฐในรัฐเสรีนิยมไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของบุคคล ดังนั้น รัฐเสรีนิยมจึงใช้แต่อำนาจทางการเมืองแท้ ๆ ต่อบุคคลเท่านั้น

 

3 อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางพลเรือน ในรัฐสมัยใหม่การที่อำนาจทางพลเรือนอยู่เหนืออำนาจทางทหารได้เป็นผลมาจากวิวัฒนาการอันยาวนานของระบบการปกครองของ รัฐตะวันตก เพราะรัฐในสมัยก่อน ๆ นั้นมีลักษณะที่เน้นควานสำคัญและความเข้มแข็งทางด้านทหารอย่างมาก แต่ในปัจจุบันอำนาจรัฐในประเทศแถบตะวันตกจะมีลักษณะเป็นอำนาจทางพลเรือน

กล่าวคือ อำนาจรัฐเป็นอำนาจที่มีเพื่อสันติภาพและใช้โดยผู้นำที่เป็นพลเรือน ในขณะเดียวกัน รัฐก็มีอำนาจทางทหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่มีเพื่อการป้องกันประเทศ แต่อยู่ใต้อำนาจทางพลเรือนภายใต้ความสัมพันธ์ เช่นนี้ กองทัพในประเทศตะวันตกจึงเป็นผู้ที่เชื่อฟังและปฏิบัติกองทัพไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ

4. อำนาจรัฐเป็นอำนาจในทางอาณาจักร การแบ่งแยกระหว่างอำนาจในทางอาณาจักรกับอำนาจในทางศาสนา เป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของเสรีภาพ ในยุคกลางโบสถ์ในคริสต์ศาสนามีบทบาททางสังคมสูงมาก เพราะนอกจากคริสตจักรจะเป็นองค์กรผู้นำทางด้านจิตวิญญาณและเป็นศูนย์กลางของ ความศรัทธาเชื่อมั่นในพระเจ้าแล้ว คริสตจักรยังเป็นองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งระบบการบริหารปกครองมาจากโรมัน และยังเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมบรรดาความรู้และวิทยาการในด้านต่าง ๆ 

รวม ทั้งศาสตร์และศิลปะในการปกครองในช่วงยุคกลาง พระหรือนักบวชในคริสต์ศาสนาจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อกษัตริย์และเจ้าผู้ ปกครองเมืองและแว่นแคว้นต่าง ๆ ในยุคดังกล่าวนี้บทบัญญัติและมาตรฐานความยุติธรรมของศาสนจักรได้เข้าไปก้าว ก่ายครอบงำอำนาจทางการเมืองและอำนาจพลเมืองของฝ่ายอาณาจักร ทั้งในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและในด้านการปกครอง ลักษณะเช่นนี้จึงไม่สามารถแยกอำนาจขออาณาจักรออกจากการครอบงำของศาสนจักรได้ ต่อมาเมื่อการค้าโพ้นทะเลและระบบทุนก้าวหน้ามากขึ้น แนวความคิดเสรีนิยมก็พัฒนาแพร่หลาย และเข้มแข็งมากขึ้นรวมทั้งเหตุการณ์การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) ซึ่งนำไปสู่การแยกออกมาเป็นคริสต์ศาสนานิกายต่าง ๆ

ซื่งแอบแฝงการสนับสนุนอยู่เบื้องหลังของฝ่ายอาณาจักรที่ต้องการหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของฝ่ายคริสตจักรโรมันคาธอลิค อำนาจอันมากล้นของศาสนจักรก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลง พวกชนชั้นกลางก็ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้กษัตริย์เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อแยก รัฐ หรืออาณาจักรออกจากอิทธิพลของศาสนจักรให้เด็ดขาดไป

 

ข้อ 2. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง

จงยกตัวอย่างว่า กฎหมายปกครองได้แก่กฎหมายอะไรบ้าง และกฎหมายดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้อำนาจทางปกครองและศาลปกครองอย่างไร

ธงคำตอบ

พระราชบัญญัติสวนใหญ่เป็นกฎหมายปกครอง ถ้าพระราชบัญญัตินั้นบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ทางปกครองแก่หน่วยงานของรัฐหรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น

กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายมหาชนที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯลฯ

กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้อำนาจหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐ ได้แก่หน่วยงานในการบริหารราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้อำนาจที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับต่อสิทธิ สถานภาพของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางปกครองหรือการออกกฎ เมื่อเกิดปัญหาในการใช้อำนาจทางปกครองเรียกว่า กรณีพิพาททางปกครองจะต้องนำคดีไปสู่ศาลปกครอง

ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีปกครอง คือ คดีที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ข้อ 3 การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ โดยการควบคุมแบบป้องกันคืออะไร และมีรูปแบบอย่างไร เหตุใดจึงมีคำกล่าวว่าการควบคุมแบบป้องกันมักไม่ค่อยได้ผลเมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมแบบแก้ไข ท่านเข้าใจคำกล่าวข้างต้นอย่างไร จงอธิบาย

ธงคำตอบ

 การควบคุมแบบป้องกัน คือ การควบคุมในขั้นตอนตระเตรียมการก่อนที่องค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายบริหารจะมีคำสั่งหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

การควบคุมโดยการปรึกษาหารือองค์กรที่ปรึกษา เช่น การขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย หรือนิติกรรมในทางปกครอง หรือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย

การควบคุมโดยการให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยอาจเป็นการโต้แย้งคัดค้านก่อนที่องค์กรของฝ่ายรัฐฝ่ายบริหาร จะมีคำสั่งทางปกครอง การปรึกษาหารือกับองค์กรหรือตัวแทนของกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย การไต่สวน การรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ และการให้เหตุผลในคำสั่งทางปกครอง.

เหตุที่มีการระบุเช่นนั้น เนื่องมาจากรูปแบบของการควบคุมแบบป้องกันนั้นยังขาดหลักประกันในการดำเนินการหรือการเปิดโอกาสให้ประชาชน สามารถที่จะเข้ามามีส่วนในการควบคุมก่อนที่องค์กรของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่รัฐจะมีคำสั่งหรือนิติกรรมในทางปกครองอันส่งผลกระทบถึงประขาชน จึงมักมีการละเลยหรือไม่ปฏิบิตตามของแต่ละหน่วยงาน ในการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งที่โดยทางกฎหมายและจะต้องดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการในทางปกครอง พ.ศ.2539 พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ.2540 ซึ่งต่างจากการควบคุมแบบแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยวิธีการทางศาล (ศาลปกครอง) ที่มีความชัดเจน ทั้งในแง่การดำเนินการวิธีพิจารณา หลักประกันความเป็นอิสระ และสภาพบังคับ อันจะเป็นการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจรัฐดังกล่าวได้

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2548

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2548

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001  หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. กฎหมายมหาชนคืออะไร ลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชนมีลักษณะอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ของกฎหมายรวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชนลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชน มี 6 ลักษณะ ดังนี้

1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ใช้ในการปฏิรูป ความหมายของคำว่า ปฏิรูป (ปะ- ติ- รูป) ตาม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน แปลว่า เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงให้สมควรหรือดีขึ้น เปลี่ยนรูปใหม่ ดัดแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น ไทยใช้เป็นคำกริยาตามความหมายที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูประบบกฎหมายการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การปฏิรูปการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

2. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ใช้กับนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนและบุคคลธรรมดา

3. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่มีเพื่อสาธารณะประโยชน์ สาธารณะประโยชน์ คือ ประโยชน์สำหรับประชาชนส่วนรวม และเป็นผลดีแก่คนทั่วไปการประสานประโยชน์ระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ ส่วนตัวของเอกชนถือเป็นนิติปรัชญาอันสำคัญของกฎหมายมหาชน

4. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค สามารถบังคับเอาได้ จากคำจำกัดความดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคของบุคคล 2 ฝ่าย คือ รัฐหรือหน่วยงานของรัฐฝ่ายหนึ่ง กับอีกฝ่ายหนึ่งคือเอกชนหรือราษฎรซึ่งลักษณะของความไม่เสมอภาคจะปรากฏ ดังนี้

4.1 ความไม่เสมอภาคในที่นี้ปรากฏให้เห็นถึงเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองที่มีอยู่เหนือราษฎร โดยฝ่ายปกครองหรือฝ่ายของรัฐ จะมีสิทธิพิเศษเหนือราษฎรในการบริหารงานต่าง ๆ ของฝ่ายปกครอง เช่น การออกกฎหมายการเก็บภาษีการพิมพ์ธนบัตร การเกณฑ์ทหาร การเวนคืนที่ดิน ฯลฯ เป็นต้น

4.2 นอกจากนี้กฎหมายมหาชนยังเป็นกฎหมายที่มีลักษณะบังคับเพื่อที่จะให้การกระทำทางปกครองหรือคำสั่งทางปกครองของตนบรรลุผลการบังคับการให้เป็นไปตาม นิติกรรมทางปกครองหรือคำสั่งทางปกครองนั้น ฝ่ายปกครองมีเอกสิทธิ์ที่จะบังคับให้เอกชนปฏิบัติตามคำสั่งของตนได้เอง ซึ่งเป็นผลจากการที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจมหาชน จึงทำให้นิติกรรมทางปกครองหรือคำสั่งทางปกครองนั้นมีสภาพบังคับต่อเอกชนโดย ทันที โดยที่ฝ่ายปกครองไม่ต้องไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งบังคับให้เอกชนปฏิบัติตาม การตรวจสอบของศาลว่านิติกรรมทางปกครองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จะทำกันในภาย หลัง กล่าวคือ หลังจากที่คำสั่งทางปกครองนั้นออกมาใช้บังคับแล้วนั่นเอง

4.3 ความไม่เสมอภาคดังกล่าวมาแล้วข้างต้นอาจจะปรากฏให้เห็นในรูปของสัญญาที่มีข้อความให้เอกสิทธิ์
แก่ฝ่ายปกครองในการบอกเลิกสัญญาหรือแก้ไข้สัญญาได้โดยฝ่าย เดียว โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของเอกชนคู่สัญญาสัญญาดังกล่าว ตามหลักกฎหมายปกครองเราเรียกสัญญาลักษณะนี้ว่าเป็น สัญญาทางปกครอง อย่างไรก็ตาม การจะบอกเลิกแก้ไขสัญญาแต่ฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองก็ต้องทำไปโดยคำนึงถึงหลัก ความถูกต้องตามกฎหมายและต้องทำเพื่อสาธารณะประโยชน์ ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจมหาชนไปกลั่นแกล้งเอกชน

5. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมอำนาจรัฐและหน่วยงานของรัฐ ในคติเสรีนิยมประชาธิปไตย ถือว่าแม้รัฐมีอำนาจอธิปไตย แต่รัฐก็ต้องเคารพกฎหมาย ทฤษฎีที่ว่ารัฐต้องเคารพกฎหมายที่ตนเองเป็นผู้ออกทฤษฎีหลักๆ คือ

5.1 ทฤษฎีว่าด้วยการจำกัดอำนาจตนเองด้วยความสมัครใจ

5.2 ทฤษฎีนิติรัฐ

6. ลักษณะพัฒนาการของกฎหมายมหาชน จะไม่มีความต่อเนื่องเหมือนกฎหมายเอกชนซึ่งมีความต่อเนื่องและมีความสมบูรณ์ มีการวิจารณ์อย่างเป็นระบบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ประมวลสมัยโรมัน มีประมวลกฎหมายแพ่งที่เรียกว่าCorpus Juriilis Civilis ซึ่งมีผลต่อประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส ค.ศ. 1804 และประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันค.ศ. 1900

 

ข้อ 2. จงยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนมา 5 ฉบับ และอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นกฎหมายมหาชน

ธงคำตอบ

 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและเมื่อเกิดกรณีพิพาททางกฎหมายมหาชนจะต้องใช้นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองปัจจุบันมีทั้งหมดประมาณ 700 ฉบับ

ตัวอย่างของกฎหมายมหาชน เช่น

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
3. พระราชบัญญัติองค์กรบริหารส่วนจังหวัด
4. พระราชบัญญัติเทศบาล
5. พระราชบัญญัติการไฟฟ้า
6. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง
กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายมหาชน เพราะเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่
รัฐหรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อเกิดกรณีพิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จะต้องใช้นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน หรือใช้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองในการพิจารณาคดี

 

ข้อ 3. คำกล่าวที่ว่า จุดเริ่มต้นของการบริหารราชการแผ่นดินในแบบราชการส่วนภูมิภาคนั้นมีจุดก่อเกิดมาจากในสมัยปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของในหลวงรัชกาลที่ 5 ท่านเข้าใจคำกล่าวนี้อย่างไร และปัจจุบัน จากกระแสการปฏิรูปการเมืองในปัจจุบัน ทั้งจากลไกทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ท่านคิดว่าทิศทางหรือการปรับบทบาทของราชการส่วนภูมิภาคในอนาคตควรเป็นเช่นใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

 คำกล่าวที่ว่า จุดเริ่มต้นของการบริหารราชการแผ่นดิน แบบราชการส่วนภูมิภาคนั้น มีจุดก่อเกิดมาจากในสมัยการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของในหลวงรัฐกาลที่ 5 คำดังกล่าวเป็นความจริง ทั้งนี้ เพราะในสมัยของรัฐกาลที่ 5 ได้ชื่อว่า เป็นยุคแห่งการปฏิรูปทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน และระบบกฎหมายหลายประการ เช่น มีการยกเลิกระบบจัตตุสดมภ์ มาเป็นการจัดตั้งหน่วยราชการเป็นกรม 12 กรม ซึ่งเป็นรากฐานของกระทรวงในปัจจุบัน ยกเลิกระบบให้ราชการกินเมืองมาเป็นการรับเงินเดือนจากรัฐ ปฎิรูประบบการเงินการคลัง โดยมีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ การปฏิรูประบบกฎหมาย มาใช้บังคับ ปฏิรูปศาล ปฏิรูปสังคมมีการยกเลิกศาลและไพร่

สำหรับคำกล่าวที่ว่า รากฐานของราชการส่วนภูมิภาคนั้น มาจากแนวคิดของพระองค์ ก็คือ เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบเทศาภิบาล ในปี พ.ศ.2537 เป็นระบบการบริหารราชการที่ประกอบด้วย ข้าราชการของพระมหากษัตริย์ไปทำหน้าที่แทนรัฐบาลกลางในส่วนภูมิภาคโดยแยกเป็น

มณฑลมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ
เมือง – มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ
อำเภอ – มีนายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ
ตำบล – มีกำนันเป็นผู้รับผิดชอบ
หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ

ซึ่งต่อมา ก็มีการตรากฎหมาย พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457 อันเป็นรากฐานที่สำคัญและเป็นการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคอย่างเป็นระบบ อันเป็นรากฐานมาจนกระทั่งถึงในปัจจุบันนี้สำหรับทิศทางในอนาคตของราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคนั้น

หากพิจารณาจะเห็นได้ว่า กระแสการปฏิรูปการเมืองและการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 283-290) ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการปกครองตนเองของประชาชน (self Government) ได้แก่รูปแบบของ องค์การบิหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)เทศบาล เมืองพัทยา แลกรุงเทพมหานคร

ดังนั้น บทบาทของราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบันจึงต้องลดบทบาทและความสำคัญลง โดยเปลี่ยนจากผู้ควบคุมบังคับบัญชามาเป็นผู้กำกับดูแล คอยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีอิสระทางการคลัง และสามารถดำเนินการบริหารจัดการท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ภายใต้การกำกับดูแล ทั้งของนายอำเภอผู้ว่าราชการจังหวัด และราชการส่วนกลาง โดยไม่ใช้อำนาจที่จะเอาไปควบคุมบังคับบัญชา และในอนาคตอาจจะเน้นไปที่สองส่วนราชการก็เป็นไปได้ นั้นคือ ราชการส่วนกลางกับราชการท้องถิ่น ดังเช่น กรณีของต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2549

การสอบไล่ภาค ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. กฎหมายมหาชนคืออะไร ลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชนมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย เพื่อประโยชน์สาธารณะ ( lnterest genral) หรือ public interest นักศึกษาเข้าใจประโยชน์สาธารณะอย่างไร และองค์กรใดบ้างที่แสดงออกถึงประโยชน์สาธารณะ จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน( Public Law) เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ สถานะและอำนาจ ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือผู้ปกครองกับพลเมือง ผู้อยู่ใต้อาณัติการปกครองในบริบทที่รัฐ หรือผู้ปกครอง (ผู้ใช้อำนาจรัฐ) มีเอกสิทธิ์ (privilgeg) ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน (private) 

หลักประโยชน์สาธารณะ คือ การตอบสนองความต้องกาของมหาชน (คนส่วนใหญ่) มิได้ตอบสนองความต้องการของเอกชนคนใดคนหนึ่ง และตอบสนองความต้องการของผู้ดำเนินการนั้นเอง แล้วสามารถอรรถาธิบายได้ว่าประโยชน์สาธารณะ คือ ความต้องการของแต่ละคนที่เหมือนกันและมีจำนวนมากรวมกัน กลายเป็นมหาชนคนหมู่มากหรือเป็นประโยชน์ของคนส่วนมากในสังคม 

ความต้องการของคนหมู่มากในสังคมจึงถือว่าเป็นประโยชน์สาธารณะ (publicinterest) และมีความผิดแผกแตกต่างกับประโยชน์ส่วนบุคคลของเอกชนแต่ละคน (individual interest)องค์กรที่แสดงถึงประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร องค์การของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร ในส่วนของรัฐบาลต้องมีการวางนโยบายของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนในการบริหารประเทศนโยบายของรัฐบาลต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ นอกจากนั้น 

ประโยชน์สาธารณะเป็นสิ่งที่ฝ่ายปกครองมีพันธกิจต้อง ดำเนินการ หากเป็นกิจกรรมที่รัฐสภาได้ตราเป็นกฎหมายออกมาแล้ว หากฝ่ายปกครองบิดพลิ้วหรือเพิกเฉยหรือละเลยไม่ดำเนินการย่อมเป็นการไม่ชอบ เหตุผลที่ให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจดำเนินการก็เพราะฝ่ายปกครองมีภาระหน้าที่ที่ จะต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของคนหมู่มากในสังคม ฝ่ายปกครองจึงต้องใช้อำนาจนั้นให้ภาระหน้าที่นั้น บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย 

ในส่วนองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้แก่ รัฐสภาทำหน้าที่ตรากฎหมายมาบังคับใช้กับประชาชน และควบคุมตรวจสอบ (review) การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล โดยมุ่งไปที่ประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญสำหรับองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ คือ ศาล อาจจะเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ละศาลมีบทบาทอำนาจหน้าที่แตกต่างกันแต่ก็มีเป้าหมายอันเดียวกันคือ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะด้วย

 

ข้อ จงอธิบายเรื่องต่อไปนี้

– ยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนมา ฉบับ
– หน่วยงานของรัฐได้แก่หน่วยงานใดบ้าง
– เจ้าหน้าที่ของรัฐได้แก่ใครบ้าง
– การใช้อำนาจทางปกครองเป็นอย่างไร
จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชน หน่วยงานของรัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้อำนาจทาง
ปกครอง และศาลปกครอง

ธงคำตอบ

ตัวอย่างกฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติป่าไม้ ประมวลกฎหมายอาญา

(1) หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ

(2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ บุคคล หรือคณะบุคคลที่ได้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองของรัฐได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ฯ

(3) การใช้อำนาจทางปกครอง คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น
ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก็ตาม

กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้า
หน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจในทางปกครองที่ทำให้เกิด การก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวร หรือชั่วคราว ได้นั้นจักด้องมีกฎหมายมหาชนบัญญัติรองรับในการให้อำนาจหน้าที่ไว้ และเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง  ซึ่งเรียกว่า กรณีพิพาททางปกครองจะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง ต่อไป

 

ข้อ 3. ตามที่ท่านได้ศึกษามาแล้วในเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ที่ว่ามีความจำเป็นจะต้องควบคุมการใช้อำนาจรัฐดังกล่าว คือ ควบคุมอะไรและเหตุใดจึงต้องมีการควบคุม วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดีที่สุดคืออะไรเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จงอธิบาย

ธงคำตอบ

การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ คือ การควบคุมการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐหน่วยงานของรัฐ การใช้ดุลพินิจมี รูปแบบดังนี้ คือ

1. ดุลพินิจทั่วไป
2. ดุลพินิจที่เป็นอำนาจผูกพัน
1) ดุลพินิจทั่วไป หรือเรียกว่า อำนาจดุลพินิจอำนาจดุจพินิจ คือ เสรีภาพที่กฎหมายให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะตัดสินใจว่าในกรณีเฉพาะเรื่องกรณีใดกรณีหนึ่ง สมควรเลือกคาสั่งใดในบรรดาคำสั่งหลาย ๆ อย่างที่มีความแตกต่างกันออกไป และดำเนินการออกคำสั่งตามที่ได้ตัดสินใจ เลือก ไว้

อำนาจดุลพินิจ ย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งที่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกระทำการอย่างอิสระโดยที่กฎหมายมิได้บัญญัติกำหนดสิ่งอันตนจักต้องการทำไว้ล่วงหน้าอำนาจดุลพินิจ หากพิเคราะห์โดยถ่องแท้แล้วก็คือ ความสามารถอันกฎหมายให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะเลือกว่าในบรรดาคำสั่งซึ่งตามกฎหมายแล้วล้วนแต่สามารถออกได้ทั้งสิ้น คำสั่งใดที่พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งอำนาจหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด ก็พึงทำการออกคำสั่งนั้น

อำนาจดุลพินิจ คือ อำนาจที่กฎหมายมอบให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองสามาถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอิสระ แต่ต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามกฎหมาย และชอบด้วยเหตุผล ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ

2) ดุลพินิจที่เป็นอำนาจผูกพันอำนาจผูกพันเป็นอำนาจที่กฎหมายมอบให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยบัญญัติ
บังคับไว้ล่วงหน้า เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น องค์กรของรัฐฝ่ายปกครององค์กรนั้น จักต้องออกคำสั่ง และต้องออกคำสั่งที่มีเนื้อหาความตามที่ได้กำหนดไว้นั้น

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าลักษณะของการใช้อำนาจผูกพันนั้น หมายความว่าการจะตัดสินใจในทางกฎหมายได้ต้องมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นมาก่อน ถ้าข้อเท็จจริงอย่างนี้เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ก็ผูกพันที่ว่าต้องตัดสินใจไปในทางนี้เท่านั้น คือตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จะตัดสินใจเป็นอย่างอื่นหาไม่ เช่น การร้องขอจดทะเบียนสมรส ชายและหญิง มีคุณสมบัติและเงื่อนไขครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สมัครใจสมรสกัน ต้องการจดทะเบียนสมรสกัน เจ้าหน้าที่ต้องจดทะเบียนให้ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จะปฏิเสธไม่จดทะเบียนไม่ได้ แต่ถ้าชายและหญิงมีอายุ 15 กับ 14ปี ตามลำดับ ต้องการจดทะเบียนสมรส กรณีข้อเท็จจริงในเรื่องอายุไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้สมรสกันได้ กรณีเช่นนี้ นายทะเบียนครอบครัวสามารถปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสได้ เจ้าหน้าที่ไม่เลือกดุลพินิจเพื่อที่จะรับจดทะเบียนให้ตามความประสงค์ของชาย และหญิง โดยพิจารณาเห็นว่าชายหญิงทั้งสองนี้มีความปรารถนาต้องการใช้ชีวิตร่วมกันฉัน สามีภริยา เช่นนี้ย่อมทำไม่ได้
ความแตกต่างระหว่างอำนาจดุลพินิจ และอำนาจผูกพัน

1. อำนาจดุลพินิจ หมายถึง อำนาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ หรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคำสั่งหรือสั่งการใดๆ ได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายกล่าวอีกอย่างหนึ่ง อำนาจดุลพินิจ ก็คือ อำนาจที่กฎหมายเปิดช่องให้องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจเมื่อ มีเหตุการณ์หรีอมีข้อเท็จจริงใด ๆ กำหนดไว้เกิดขึ้น

2. อำนาจผูกพัน อำนาจผูกพันมีความแตกต่างกับอำนาจดุลพินิจข้างต้น กล่าวคือ อำนาจผูกพันเป็นอำนาจหน้าที่ที่องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฏิบัติเมื่อมี ข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เกิดขึ้นตามที่กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนี้ องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่ง และคำสั่งนั้นต้องมีเนื้อความเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น เรื่องการร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อชายและหญิงผู้ร้องขอมีคุณสมบัติครบถ้วน และปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการสมรสที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แล้ว นายทะเบียนครอบครัวจะต้องทำการจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสมรส เสมอ เป็นต้น

เหตุที่เรียก อำนาจหน้าที่ว่าเป็นอำนาจผูกพันก็เพราะคำวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรฝ่ายปกครองของรัฐ ซึ่งกฎหมายยอมรับว่า การปฏิบัติหน้าที่นั้น มีผลใช้บังคับได้สมบูรณ์นั่นเองทั้งอำนาจดุลพินิจ และอำนาจผูกพันนี้ ส่วนใหญ่แล้วกฎหมายจะกำหนดให้ใจทั้งสองอำนาจนี้ไปด้วยกัน

กล่าวคือ เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดเกิดขึ้นแล้วองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ แต่จะออกคำสั่งอย่างไรนั้นสามารถตัดสินใจได้อย่างมีอิสระตามที่กฎหมายเปิดช่องให้อำนาจดุลพินิจ เช่น กรณีข้าราชการกระทำผิดวินัยร้ายแรง

กฎหมายบังคับไว้อย่างชัดเจนว่าผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งต้องมีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยกับข้าราชการผู้นั้น แต่ผู้บังคับบัญชา ก็มีอิสระในการตัดสินใจว่าจะสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นสถานใด กล่าวคือ จะสั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ เป็นต้น

หตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ เพราะว่าหากปราศจากการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ จะเป็นช่องทางไปสู่การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นข้ามขั้นตอนหรือวิธีการที่มีการกำหนดไว้ ปราศจากอำนาจ ทำผิดแบบนอกกรอบวัตถุประสงค์ของกฎหมาย สร้างภาระให้ประชาชนเกินสมควร สั่งโดยมีอคติหรือไม่สุจริตเป็นต้น

การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้ดุลพินิจที่ไม่มีวิญญูชนคนใดจะวินิจฉัยเช่นนั้น หรือใช้ดุลพินิจเช่นนั้น และเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ในการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมของกฎหมาย และไม่ชอบด้วยเหตุผล

การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาที่อ. 142/ 2547 การที่คณะกรรมการอัยการมีมติไม่รับสมัครผู้ฟ้องคดีในการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ประจำปี 2544 โดยใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีกายที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการ โดยมิได้พิจารณาถืงความสามารถที่แท้จริงในการปฏิบัติงานของผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 33 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521 และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดีตามมาตรา 30 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.254O

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2549

การสอบไล่ภาค ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001  หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. ขอให้นักเรียนอธิบาย ลักษณะทางกฎหมายมหาชนของประโยชน์สาธารณะ มาพอสังเขป

ธงคำตอบ

ประโยชน์สาธารณะเป็นวัตถุประสงค์ของรัฐในการดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ลักษณะของประโยชน์สาธารณะอาจอธิบายเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดำเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมมิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดำเนินการนั้นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่า ประโยชน์สาธารณะเป็นความต้องการของบุคคลแต่ละคนที่ตรงกันและมีจำนวนมากจน เป็นคนหมู่มากหรือเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมจนความต้องการนั้นถูกยกระดับให้ เป็นประโยชน์สาธารณะ 

2. การพิจารนาว่าเรื่องใดเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะหรือไม่ เนื่องจากความต้องการของแต่ละบุคคลนั้นเป็นภาระความรู้สึกด้านจิตใจ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีองค์กรหนึ่งเป็นผู้กำหนดว่าเรื่องใดเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยทั่วไปถือว่าได้แก่ รัฐสภา เนื่องจากเหตุผลว่ารัฐสภาเป็นศูนย์รวมของผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนทั่วประเทศ 

ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเรื่องใดที่รัฐพิจารนาแล้ว ย่อมถือเป็นความต้องการของประชาชนด้วย กล่าวคือ ผู้แทนของประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนในกรณีนั้นๆ แล้ว ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอำนาจดำเนินการใน เรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะนั่นเอง 

3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ดังนั้นฝ่ายปกครองจึงไม่อาจจะเลือกใช้ดุลพินิจได้ว่าจะ ดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะและถ้าเป็นกฎหมาย ที่รัฐสภาได้ตราออกมาให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครองเพื่อดำเนินการแล้วหากฝ่ายปกครอง ไม่ดำเนินการย่อมเป็นการอันมิชอบซึ่งฝ่ายปกครองอาจจะต้องรับผิดเรื่องค่า เสียหายอีกด้วยหากมีเอกชนได้รับความเสียหายจากการไม่ดำเนินการนั้นลักษณะดัง กล่าวเป็นความแตกต่างระหว่าง อำนาจ ในกฎหมายมหาชน กับ สิทธิ ในกฎหมายเอกชน กล่าวคือ สิทธิในกฎหมายเอกชนนั้นเจ้าของสิทธิอาจจะงดเว้นไม่ใช้กฎหมายกำหนดให้ฝ่าย ปกครองมีอำนาจดำเนินการฝ่ายปกครองจึงไม่อาจจะอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของฝ่าย ปกครองที่จะใช้หรือจะไม่ใช้อำนาจนั้น 

 

ข้อ 2. ในกรุงเทพมหานครในเขตรอบนอกได้มีการยกเลิกการมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกดังกล่าว และในอนาคตบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ ควรมีบทบาทอย่างไร จงอธิบายพอสังเขปธงคำตอบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 

ราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรม เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการรวมอำนาจ โดยการปกครองแบบนี้อำนาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลำดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้านเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการแบ่งอำนาจ ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ส่วนกลางมอบอำนาจตัดสินใจบางประการให้แก่เจ้า หน้าที่ของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลางตลอดเวลา

ราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. อบต. เทศบาล พัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการกระจายอำนาจ โดยรัฐจะมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรส่วนกลางหรือ ส่วนภูมิภาคเพื่อจัดทำบริการสาธารณะบางอย่าง โดยจะมีอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของส่วนกลาง เพียงแต่ขึ้นอยู่ในการกำกับดูแลเท่านั้น

การควบคุมบังคับบัญชา เป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใดๆก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสมสามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอน คำสั่งหรือว่าการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ

ส่วนการควบคุมกำกับดูแล ไม่ใช่อำนาจบังคับบัญชา แต่เป็นอำนาจควบคุมกำกับดูแลให้เป็นไปตาม
กฎหมาย ดังนั้นองค์การควบคุมกำกับไม่มีอำนาจไปสั่งการองค์กรภายใต้การควบคุมให้ปฏิบัติตามที่ตนเห็นสมควรทำได้แต่เพียงกำกับดูแลตาม ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น การควบคุมกำกับดูแลนี้เป็นการควบคุมระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นนั่นเอง

ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า กทม. เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นพิเศษ การที่ยกเลิกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคให้หมดไปจาก กทม. จึงถือว่าถูกต้องแล้วที่กระทรวงมหาดไทยดำเนินการที่ผ่านมา เพราะเป็นไปตามหลักการจัดการบริหารราชการแผ่นดินข้างต้น แต่ในอดีต ด้วยเหตุผลหลายประการจึงทำให้มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตรอบนอก แต่เวลาและเงื่อนไขการพัฒนาการทางการเมืองเปลี่ยนแปลงจากในอดีต จึงต้องจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกัน

ดังนั้น ในอนาคตบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะไม่ปรากฏตัวในราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของ
การเป็นองค์ประกอบของกรรมการต่างๆ ใน อบจ. อบต. เทศบาล พัทยา หรือ กทม. ก็ตาม จะต้องปรับบทบาทไปสู่การทำงานอย่างราชการส่วนภูมิภาคร่วมกับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัด

 

ข้อ 3. ปรัชญาของอริสโตเติลที่ว่า การปกครองที่ดีที่สุดจะต้องเป็นการปกครองของกฎหมายไม่ใช่ของ
คน อันเป็นพื้นฐานของแนวคิดนิติรัฐ ในฐานะที่ท่านศึกษาแนวคิดเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ แนวคิดดังกล่าวจะนำไปใช้อย่างไรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย จงอธิบายโดยละเอียด

ธงคำตอบ

 หลักนิติรัฐ หมายถึง รัฐ ยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมาย นั่นคือ ฝ่ายปกครองหรือฝ่ายบริหาร หรือเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องกระทำการในอำนาจหน้าที่ภายในขอบเขตของ กฎหมาย และรัฐธรรมนูญ กิจการของฝ่ายปกครอง จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและถูกควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันสิทธิของผู้อยู่ใต้ปกครองจากการกระทำของรัฐ

1. การควบคุมแบบป้องกัน หมายถึง ก่อนที่ ฝ่ายบริหารจะได้วินิจฉัยสั่งการหรือก่อนจะมีการกระทำในทาง
ปกครอง ที่จะไปกระทบต่อสถานภาพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะมีระบบป้องกันเสียก่อน กล่าวคือ มีกฎหมายกำหนดกระบวนการ หรือขั้นตอนต่างๆ ก่อนที่จะมีคำสั่งออกไป กระบวนการควบคุมดังกล่าวในกฎหมายของต่างประเทศมีตัวอย่างเช่น

– การโต้แย้งคัดค้าน กล่าวคือ ผู้ที่อาจเสียหายจากการกระทำของฝ่ายปกครองจะต้องสามารถแสดงข้อโต้แย้งของตนได้ก่อนมีการกระทำนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปกครองที่ดื้อดึง

– การปรึกษาหารือ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจการให้เหตุผล เพื่อเป็นหลักในการ
ควบคุมการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายปกครอง

หลักการไม่มีส่วนได้เสีย กล่าวคือ ผู้มีอำนาจส่งทางปกครองต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่สั่งการนั้น
การไต่สวนทั่วไปเป็นวิธีการที่กำหนดให้ฝ่ายปกครองต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยทำการรวบรวมความคิด
เห็นของบุคคลที่มีส่วนได้เสีย แล้วทำเป็นรายงานก่อนที่ฝ่ายปกครองจะต้องตัดสินใจกระทำที่จะมีผลกระทบผู้มี ส่วนได้เสียการควบคุมแบบป้องกันของประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540

2. การควบคุมแบบแก้ไข เป็นการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครองหลักการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว ซึ่งกระทำได้หลายวิธี ดังนี้

2.1 การควบคุมองค์กรภายในของฝ่ายบริหารเอง เช่น
– การร้องทุกข์
– การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยทางปกครอง

2.2 การควบคุมโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร เช่น
– การควบคุมทางการเมือง ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
– การควบคุมโดยองค์กรพิเศษ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
– การควบคุมโดยศาลปกครอง

การควบคุมแบบแก้ไขนี้ เป็นการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว และเกิดปัญหาจากการใช้อำนาจการปกครองนั้นขึ้น จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาคซ่อมภาค 2 ปีการศึกษา 2549

การสอบไล่ภาคซ่อมภาค   ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. รัฐคืออะไร องค์ประกอบของรัฐมีอะไรบ้าง และลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐมีอย่างไร จงอธิบาย
 
ธงคำตอบ
ศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อรรถาธิบาย ความหมายของคำว่า รัฐ หมายถึงอำนาจที่ถูกจัดเป็นสถาบัน รัฐ หมายถึง ผู้ถืออำนาจที่เป็นนามธรรมและถาวร โดยมีผู้ปกครองซึ่งเป็นแต่เพียงเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอันสำคัญที่ผ่านไป เท่านั้นเนื่องจาก รัฐ เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นนามธรรม องค์ประกอบของรัฐที่อธิบายกันมาแบบดั้งเดิมนั้นจะมีอยู่เพียง 4 ประการ คือ ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล
โดยทั่วไป รัฐจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสลับซับซ้อน และจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆมากมาย ได้แก่1. ดินแดน (territory)
2. ประชากร (population)
3. รัฐบาล (govereignty)
4. อำนาจอธิปไตย (sovereignty)
5. ความต่อเนื่อง (continurity)
6. การดำเนินการทางด้านความมั่นคง (security)
7. การรักษาความสงบเรียบร้อย (order)
8. การอำนวยความยุติธรรม (justice)
9. การสวัสดิการสังคม (welfare)

นอกจากนี้ รัฐต้องประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ ทรัพยากร (resources) การคลัง (finance)ระบบราชการ (bureaucracy) และการดำรงอยู่ในสังคมแห่งรัฐต่างๆ หรือสังคมโลก (existence as part of a socierty ofstates)

ลักษณะเฉพาะอำนาจของรัฐ1. อำนาจรัฐมีลักษณะเป็นอำนาจแห่งการรวมศูนย์และการซ้อนกันของอำนาจ
2. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจแห่งการตัดสินใจ
3. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางพลเรือน ซึ่งมาจากแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อำนาจทาง
พลเรือนอยู่เหนืออำนาจทางทหาร
4. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางอาณาจักร ไม่ใช่อำนาจทางศาสนจักร

 

ข้อ 2. จงยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนมา ฉบับ พร้อมอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นกฎหมายมหาชน

ธงคำตอบ

 กฎหมายมหาชน ได้แก่

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. กฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองได้แก่ พ.ร.บ. ต่างๆ เช่น พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปก
ครอง พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายที่ดิน ที่เมื่อเกิดกรณีพิพาทจะต้องนำคดีไปขึ้นศาลปกครอง

เหตุผลที่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองเป็นกฎหมายมหาชนเพราะต่างบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและเมื่อเกิดกรณีพิพาทจะเรียกว่า กรณีพิพาททางปกครอง ซึ่งจะต้องนำคดีไปฟ้องศาลปกครอง

 

ข้อ 3. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้วางรากฐานของกฎหมายขึ้น
ในประเทศไทย การวางรากฐานดังกล่าวของกฎหมายมหาชนคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างโดยสังเขป

ธงคำตอบ

 หลักทฤษฎีของกฎหมายมหาชนได้แก่

– หลักบริการสาธารณะ
– หลักความชอบด้วยกฎหมาย
– หลักความไม่เสมอภาคระหว่างราชการกับเอกชน
– นิติวิธีในกฎหมายมหาชน
– นิติรัฐ นิติกรรม ฯลฯ
เรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายมหาชนดังกล่าว ได้แก่ ที่พระองค์ทรงปฏิรูประบบกฎหมาย ปฏิรูป
ระบบศาล ปฏิรูประบบราชการ (จัดตั้งกระทรวงทบวง กรม ขึ้น) ปฏิรูปการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระบบเทศบาลอันเป็นที่มาของราชการส่วนภูมิภาค การเริ่มสุขาภิบาล อันเป็นพื้นฐานของการกระจายอำนาจ ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน วางรากฐานด้านรัฐวิสาหกิจไทย สาธารณูปโภคต่างๆ

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2549

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2549 

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. กฎหมายมหาชนคืออะไร มีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น เช่น รัฐศาสตร์อย่างไร จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชนคือ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถานะและอำนาจ ของรัฐและผู้ปกครองรวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองพลเมือง ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

ส่วนรัฐศาสตร์นั้น คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ อำนาจ และการปกครอง รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ กำเนิด และวิวัฒนาการของรัฐ รัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และยังศึกษาองค์การทางการเมือง สถาบันทางการปกครองตลอดจนในการปกครองรัฐ วิธีการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ รวมทั้งแนวความคิดทางการปกครองและทางการเมืองในรัฐด้วย

กฎหมายมหาชนและรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ 2 ศาสตร์ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะกฎหมายมหาชน
จะศึกษาเรื่องรัฐ อำนาจรัฐ รัฐธรรมนูญและศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐ ซึ่งก็ต้องเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายมหาชนยังต้องศึกษาในด้านนิติศาสตร์อยู่อีกมาก ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ล้วนๆ

 

ข้อ 2. จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้
ก. จงอธิบาย
1) หน่วยงานทางปกครองพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
2) กฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายอะไรบ้าง
3) เจ้าหน้าที่ของรัฐพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชน หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ธงคำตอบ

อธิบาย
1.) หน่วยงานทางปกครอง ได้แก่
– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด และอำเภอ จังหวัดเป็นนิติบุคคลแต่อำเภอไม่
เป็นนิติบุคคล

– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหาร
ส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
– รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ฯลฯ
– หน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจในทางปกครองตามกฎหมาย เช่น สภาทนาย
ความ สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ ฯลฯ

2.) กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครอง แก่รัฐ แก่หน่วยงานทาง
ปกครองหรือหน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

3.) เจ้าหน้าที่รัฐ คือบุคคล หรือคณะบุคคลที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองตาม
กฎหมาย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่

กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจ
หน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการในทางปกครองหรือการ บริหารสาธารณะได้จะต้องมีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้หากปราศจาก กฎหมายมหาชนบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ทั้งหน่วยงานของรัฐ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถจะดำเนินการใดๆ ได้

 

ข้อ 3. ระบบกฎหมาย common law และระบบกฎหมาย civil Law กับ ระบบศาลเดี่ยว และระบบศาลคู่ มีความเกี่ยวข้อสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไรอธิบาย

ธงคำตอบ
– ระบบ common law (ระบบกฎหมายที่มาจากจารีตประเพณี)
– ระบบ civil Law (ระบบประมวลกฎหมาย)
ระบบศาลเดี่ยว หมายถึง ระบบศาลในประเทศที่มีเพียงศาลยุติธรรมประเภทเดียวที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญา คดีประเภทอื่น รวมทั้งคดีปกครองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักกฎหมายที่ศาลนำมาใช้ คือ กฎหมายธรรมดาหรือกฎหมายเอกชน ที่นำมาใช้กับคดีปกครองด้วย
ยกเว้นในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ซึ่งผลของคดีอาจจะกระทบประโยชน์สาธารณะฝ่ายปกครองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้วิธีของศาลระบบ Common Law โดยการนำหลัก naturaljustice มาใช้กับกระบวนการพิจารนาในชั้นของฝ่ายปกครอง กำหนดวิธีพิจารนาที่เหมาะสม และมีการแก้ไขกฎหมายให้การเข้าถึงศาลเป็นที่เข้าใจได้ง่าย และมีสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนั้น ยังใช้วิธีการออกหมายบังคับในกรณีต่างๆ ได้ ประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวก็คือ กลุ่มประเทศแองโกแซกซอน ซึ่งใช้ระบบกฎหมาย Common Law เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกาเป็นต้นระบบศาลคู่ ในประเทศที่เป็นระบบศาลคู่ นอกจากจะมีศาลยุติธรรมพิจารนาคดีระหว่างเอกชนแล้ว ยังมีศาลปกครองเฉพาะพิจารนาคดีปกครอง โดยมีระบบกฎหมายเฉพาะมาใช้คดีปกครอง ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ศาลได้ร่างขึ้นมาเอง และเป็นหลักกฎหมายที่สร้างดุลภาพระหว่างประโยชน์สาธารนะกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้เป็นอย่างดี การที่ศาลปกครองต้องใช้ระบบกฎหมายเฉพาะเป็นผลมาจากการที่คู่ความมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศาลจึงจำเป็นต้องสร้างหลักกฎหมายเฉพาะเป็นผลมาจากการที่คู่ความมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศาลจึงจำเป็นต้องสร้างหลักกฎหมายทั้งวิธีพิจารนา และสาระบัญญัติที่แตกต่างออกไปจากกฎหมายธรรมดา ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ประเทศแรก คือ ฝรั่งเศส ต่อมาได้รีบนำไปใช้กับประเทศยุโรปอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันไทยได้นำระบบนี้มาใช้เช่นเดียวกัน โดย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2442ด้านความสัมพันธ์ กันนั้นมักจะเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย common law ก็มักจะเป็นรูปแบบศาลเดี่ยวคือไม่มีระบบศาลคู่ ( ศาลปกครอง) ส่วนประเทศที่ใช้ระบบศาลปกครอง (ศาลคู่) ก็มักมีระบบกฎหมายเป็นแบบ civili lawแต่ก็ไม่เสมอๆไป ทั้งนี้ เพราะประเทศในอดีต(ก่อนหน้าที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540) ก็ใช้ระบบศาลเดี่ยว ทั้งที่เป็นระบบกฎหมาย civil law มานานแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ปัจจัยในการที่ประเทศใช้ระบบศาลแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับ
1) ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และกฎหมาย
2) ระบบกฎหมายหลักของประเทศที่ใช้อยู่ขณะนั้น
3) ระบบการพิจารนาคดี (แบบไต่สวนและแบบกล่าวหา)
4) แนวคิดกระแสหลักด้านกฎหมายมหาชนที่มีบทบาทต่อประเทศในแต่ละยุคสมัย
5) ความเข้าใจเรื่องคดีปกครองกับคดีทั่วไป
6) แนวคิดเรื่องการวางระบบการควบคุมมิให้การกระทำทางปกครองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
7) อื่นๆ

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาค 1ปีการศึกษา 2550

การสอบไล่ภาค  1 ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ 1. กฎหมายมหาชนคืออะไร มีความสำคัญกับศาสตร์อื่นเช่นรัฐศาสตร์และปรัชญาอย่างไร จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งที่เกี่ยวข้องกับ สถานะและ อำนาจ ของรัฐและผู้ปกครองกับพลเมือง ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

ส่วนรัฐศาสตร์นั้นคือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ อำนาจ และการปกครอง รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับรัฐกำเนิด และวิวัฒนาการของรัฐ รัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและยังศึกษาองค์การทางการเมือง สถาบันทางปกครองตลอดจนในการปกครองรัฐ

วิธีการดำเนินการต่างๆของรัฐ รวมทั้งแนวคิดทางการปกครองและการเมืองในรัฐด้วยกฎหมายมหาชนและรัฐเป็นศาสตร์ ศาสตร์ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะกฎหมายมหาชนจะศึกษาเรื่องรัฐ อำนาจของรัฐ รัฐธรรมนูญ และศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐ ซึ่งก็ต้องเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์

แต่อย่างไรก็ตาม  กฎหมายมหาชนยังต้องศึกษาในด้านนิติศาสตร์อยู่อีกมาก ศึกษาบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการศึกษาทางรัฐศาสตร์ล้วนๆกฎหมายมหาชนสัมพันธ์กับปรัชญา กล่าวคือ กฎหมายแต่ละอย่างจะมีปรัชญาที่แตกต่างกัน ปรัชญาของกฎหมายเอกชน ปรัชญากฎหมายมหาชนเป็นต้น

ดังนั้น ปรัชญาซึ่งเป็นศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ความรู้ยอดสรุปของวิชากฎหมายมหาชน จึงสัมพันธ์กับปรัชญา
สาธารณประโยชน์หรือประโยชน์สาธารณะ และการประสานดุลภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะ กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเอกชน

 

ข้อ 2. จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้

1) ยกตัวอย่างกฎหมายเอกชน ฉบับ
2) หน่วยงานทางปกครองได้แก่หน่วยงานใดบ้าง
3) เจ้าหน้าที่ของรัฐคือใคร
4) การใช้อำนาจทางปกครองมีลักษณะเป็นอย่างไร
และจงอธิบายถึงความหมายสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชน หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้
อำนาจการปกครอง และศาลปกครอง

ธงคำตอบ

1) กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ได้แก่ กฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง เป็น
ต้น

2) หน่วยงานการปกครอง ได้แก่

– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล

– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด และอำเภอ จังหวัดเป็นนิติบุคคลแต่อำเภอไม่เป็นนิติบุคคล

– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ.บ.จ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
– รัฐวิสาหกิจ เช่น ไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ฯลฯ

– หน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองตามกฎหมาย เช่น สภา
ทนายความ สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ ฯลฯ

3) เจ้าหน้าที่ของรัฐคือ บุคคล หรือคณะบุคคลที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจในทางปกครองตาม
กฎหมาย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย

4) การใช้อำนาจทางการปกครอง คือ การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐอันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โอน
สงวน หรือระงับต่อสถานภาพหรือสิทธิของบุคคลรวมทั้งการออกกฎออกคำสั่งด้วย
กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐแก่หน่วยงานทางปกครองและ
แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะดำเนินการใดๆ ได้จะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในการปกครองไว้ทำไม่ได้ และเมื่อดำเนินการใดๆ แล้วเกิดกรณีพิพาทจะเป็นกรณีพิพาททางปกครองจะต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลปกครอง

 

ข้อ 3. ให้นักศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินการควบคุมการใช้อำนาจรัฐโดยละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์กันดังกล่าว

ธงคำตอบ

การบริหารราชการแผ่นดินของไทยเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายมหาชน คือ รัฐธรรมนูญ
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครอง ได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น ส่วน คือ

1, การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

2. การจัดระเบียบบริหารส่วนภุมิภาค ได้แก่ จังหวัดและอำเภอ กฎหมายบัญญัติให้จังหวัดเป็นนิติบุคคล
ส่วนอำเภอไม่เป็นนิติบุคคล

3. การจัดระเบียบบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่
– องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ.บ.จ.)
– เทศบาล
– องค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.)
– เมืองพัทยา
– กรุงเทพมหานคร
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการกระจายอำนาจทางปกครองให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วน
ร่วมในการปกครองตนเองตามความประสงค์ของประชาชนเอง และการเกิดขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้เกิดขึ้นจาก
บทบัญญัติของกฎหมาย และกฎหมายที่ทำให้เกิดองค์กรดังกล่าวเป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่

– พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
– พ.ร.บ. เทศบาล
– พ.ร.บ. สภาตำบล และองค์กรบริหารส่วนตำบล
– พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
– พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
พระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองและบริการสาธารณะแก่
องค์กรดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย

อำนาจบังคับบัญชา กับ อำนาจกำกับการดูแล

อำนาจบังคับบัญชา คือ อำนาจที่ผู้บังคับบัญชาใช้ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น รัฐมนตรี ใช้อำนาจบังคับ
บัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในกระทรวง เป็นต้น เป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใดๆ ก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม สามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอน คำสั่งหรือการกระทำใดๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่นทั้งนี้การใช้อำนาจบังคับบัญชาต้องชอบด้วยกฎหมาย ใช้ในทางที่เหมาะสม จะขัดต่อกฎหมายไม่ได้

ส่วน อำนาจกำกับดูแล นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผุ้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกำกับดูแลกับองค์กรภายใต้กำกับดูแล เป็นอำนาจที่มีเงื่อนไข กล่าวคือ จะใช้ได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจไว้ และต้องเป็นตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด ไม่มีอำนาจสั่งการให้ปฏิบัติการตามที่ตนเห็นสมควร ทำได้แต่เพียงกำกับดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ในบางกรณีองค์กรกำกับดูแลอาจยกเลิก เพิกถอนหรือเข้าสั่งการแทนองค์กรภายใต้กำกับดูแล แต่ก็เฉพาะกรณีที่กฎหมายยกเว้นไว้เท่านั้น เพราะโดยหลักแล้วองค์กรกำกับดูแลไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้น

ความแตกต่างระหว่าง อำนาจบังคับบัญชา กับ อำนาจกำกับดูแล

1) อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายให้อำนาจ เป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจึงสั่งการใดๆก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม คือสามารถปรับแก้ ยกเลิก เพิกถอนคำสั่งของผู้ใต้ บังคับบัญชาได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายไว้เป็นอย่างอื่น แต่ในการใช้อำนาจบังคับบัญชานั้นจะต้องชอบด้วยกฎหมายส่วนอำนาจกำกับดุแลนั้นเป็นอำนาจที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา จะใช้อำนาจได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจและต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น กล่าวคือกฎหมายจะกำหนดรูปแบบไว้ว่าใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจ เช่น การสั่งยุบสภาท้องถิ่นต้องมีรายงานเสนอจากผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นไป

ดังนั้น อำนาจยุบสภาท้องถิ่นจึงอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฉะนั้น ในการควบคุมกำกับดูแลจึงไม่มีการสั่งการตามที่ผู้กำกับดูแลนั้นเห็นสมควร แม้อาจมีบางกรณีที่ผู้กำกับดูแลอาจจะยกเลิก เพิกถอนได้ แต่ก็ต้องมีเรื่องที่กฎหมายได้กำหนดไว้

2) อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจในระบบการการบริหารในนิติบุคคลหนึ่งๆ เช่น ภายในรัฐ หรือภายใน
องค์กระจายอำนาจอื่นๆ เช่น ภายในเทศบาลเองก็มีอำนาจบังคับบัญชา นายกเทศมนตรีสามารถออกคำสั่งหรือสั่งการใดๆที่ตนเห็นว่าเหมาะสมได้ ส่วนการบริหารภายในรัฐก็คือราชการบริหารส่วนกลาง เมื่อบริหารองค์กรที่อยู่ภายใต้อำนาจในราชการบริหารส่วนกลางก็คือ กระทรวง ทบวง กรม นั้น ก็ใช้อำนาจบังคับบัญชาเช่นกัน
อนึ่ง หลักการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ แบ่งได้ ดังนี้กล่าวคือ

– ระหว่างราชการส่วนกลางกับราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการควบคุมบังคับบัญชา
– ระหว่างราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่นใช้หลักการกำกับดูแล
ทั้งนี้ การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ หรือฝ่ายปกครอง แบ่งออกเป็น แบบ ดังนี้
(1) การควบคุมฝ่ายปกครองแบบป้องกัน (แบบก่อน) หมายถึง กฎหมายกำหนดกระบวนการต่างๆก่อนจะมี
การกระทำการปกครอง เพื่อคุ้มครองและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น กระบวนการควบคุมในกฎหมายต่างประเทศ มี


ตัวอย่างเช่น
– การโต้แย้งคัดค้าน ผู้ที่อาจเสียหายจากการกระทำของฝ่ายปกครองจะต้องสามารถแสดงข้อโต้แย้งของตน
ได้ก่อนมีการกระทำนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปกครองที่ดื้อดึง
การปรึกษาหารือ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
การให้เหตุผล เพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุมการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง
หลักการไม่มีส่วนได้เสีย ผู้มีอำนาจสั่งการทางปกครองต้องไม่มีส่วนได้เสีย
การไต่สวนทั่วไป เป็นวิธีการที่กำหนดให้ฝ่ายปกครองต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยทำการรวบรวมความ
คิดเห็นของบุคคลที่มีส่วนได้เสีย แล้วทำเป็นรายงานก่อนที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจกระทำการที่จะมีผลกระทบผู้มีส่วนได้เสีย

ประเทศไทยในปัจจุบันมี พ.ร.บวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดหลักเกณฑ์นี้เป็นกฎหมาย
กลาง แต่ก็มีกฎหมายเฉพาะที่อาจกำหนดหลักเกณฑ์เหล่านี้ไว้ในกฎหมายเฉพาะนั้นด้วยก็ได้ อนึ่งใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีหลักเกณฑ์ที่เป็นลักษณะของการแก้ไขอยู่ด้วยเช่นกัน เช่น การอุทธรณ์ภายใน เป็นต้น
(2) การควบคุมฝ่ายปกครองแบบแก้ไข (แบบหลัง) หมายถึง
การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครอง หลังการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้วเรียกว่า การควบคุม
แบบแก้ไข ซึ่งกระทำได้หลายวิธีดังนี้

2.1 การควบคุมโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหารเอง เช่น

– การร้องทุกข์ การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

2.2 การควบคุมองค์ภายนอกของฝ่ายบริหารเช่น

– การควบคุมโดยทางการเมืองได้แก่การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
– การควบคุมโดยองค์กรพิเศษได้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
– การควบคุมโดยศาลปกครอง
การควบคุมแบบแก้ไขนี้เป็นการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว และเกิดปัญหาจากการใช้อำนาจทางปกครอง
นั้นขึ้น จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้
ระบบการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดี ประกอบด้วย

(1) ต้องครอบคลุมในกิจการของรัฐทุกด้านให้เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
(2) เหมาะสมกับสภาพของกิจกรรมของรัฐที่ควบคุม (มีสมดุล)
(3) องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนั้น ๆ ต้องอิสระ และองค์กรนั้นๆ จะต้องถูกตรวจสอบได้
(4) การเข้าถึงระบบการตรวจสอบควบคุมนี้ต้องเป็นไปโดยกว้างขวาง
สำหรับในด้านความสัมพันธ์ของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกับการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ นั้น
เป็นไปดังนี้ กล่าวคือ โดยเหตุที่หน่วยงานของรัฐมีบรรจุในราชการแผ่นดิน ทั้ง ส่วน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัด อำเภอ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดังนั้น ทุกส่วนราชการจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมการใช้อำนาจรัฐทั้งสิ้นซึ่งก็แล้วแต่กรณีว่าจะตกอยู่ภายใน
การใช้อำนาจ แบบใด ทั้งนี้ก็เป็นไปตามเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2550

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน 

ข้อ 1  กฎหมายมหาชนคืออะไร  มีความสัมพันธ์กับรัฐศาสตร์อย่างไร  และนักศึกษามีความเข้าใจคำว่า  “อำนาจ”  คือธรรม  กับ “ธรรม”  คืออำนาจ  อย่างไร  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายเกี่ยวข้องกับ  สถานะและอำนาจ  ของรัฐและ ผู้ปกครอง  รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและ  ผู้ปกครองกับพลเมือง  ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

ส่วนรัฐศาสตร์นั้น  คือ  ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ  อำนาจ  และการปกครอง  รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ  กำเนิด  และวิวัฒนาการของรัฐ  รัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  และยังศึกษาถึงองค์การทางการเมือง  สถาบันทางการปกครอง  ตลอดจนอำนาจในการปกครองรัฐ  วิธีการดำเนินการต่างๆของรัฐ  รวมทั้งแนงความคิดทางการปกครองและทางการเมืองในรัฐด้วย

กฎหมายมหาชนและรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์  2  ศาสตร์  ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก  เพราะกฎหมายมหาชนจะศึกษาเรื่องรัฐ  อำนาจรัฐ  รัฐธรรมนูญ  และศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐ  ซึ่งก็ต้องเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์  แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายมหาชนยังต้องศึกษาในด้านนิติศาสตร์อยู่อีกมาก  ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็น  การศึกษาทางรัฐศาสตร์ล้วนๆกฎหมายมหาชนสัมพันธ์กับปรัชญา  กล่าวคือ  กฎหมายแต่ละอย่างจะมีปรัชญาที่แตกต่างกัน  ปรัชญาของกฎหมายเอกชน  ปรัชญาของกฎหมายอาญา  ปรัชญากฎหมายมหาชน  เป็นต้น

ดังนั้น   ปรัชญา  ซึ่งเป็น ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ความรู้ยอดสรุปของวิชากฎหมายมหาชน  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐ  อำนาจรัฐ  การปกครองของรัฐ  กฎหมายมหาชน  จึงสัมพันธ์กับปรัชญาสาธารณะประโยชน์  หรือประโยชน์สาธารณะ  และการประสานดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะ  กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเอกชน

ส่วนประเด็น  อำนาจ  คือ  ธรรม  กับ ธรรม คือ  อำนาจ  อธิบายได้ดังนี้คือ

กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายเกี่ยวกับรัฐ  รัฐธรรมนูญ  อำนาจรัฐ  การปกครองของรัฐ  และการควบคุมตรวจสอบภายใน  อำนาจรัฐ  โดยเฉพาะในรัฐเสรีนิยมประชาธิปไตย  ดังนั้น  การใช้อำนาจรัฐจึงเป็นสาระสำคัญของผู้ปกครองประเทศที่จะดำเนินการ ปกครองในการใช้อำนาจเพื่อความถูกต้องเป็นธรรมและเหตุผลเพื่อให้เกิดประโยชน์ สุขกับประชาชน  หากใช้อำนาจตามอำเภอใจหรือตามความต้องการของผู้ปกครองคือให้  อำนาจ  คือ  ธรรม ซึ่งก็คือความต้องการของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ถูกต้องแม้จะไม่ชอบด้วยธรรมะ  และเหตุผล  กฎหมายจะไม่มีความแน่นอน  ซึ่งการใช้อำนาจในลักษณะนี้จะเป็นการใช้อำนาจในระบอบการปกครองแบบเผด็จการนั่นเอง  กฎหมายเป็น  Will  เจตนาของผู้ปกครองที่จะต้องการใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจ

ส่วนที่ว่า  ธรรมคืออำนาจ  หมายถึง  การใช้อำนาจโดยดูจากความถูกต้อง  เหตุและผล  ความเหมาะสม  ใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงความ

เป็นธรรม  กฎหมายต้องเป็นกฎหมายที่ดี  (Good  Law)  ถ้าเป็นกฎหมายที่ไม่ดี  ก็ออกกฎหมายยกเลิกได้  เช่น  ประกาศของคณะปฏิวัติ  หรือประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองฉบับใดที่ไม่มีความเป็นธรรมก็ออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่าซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกในยุคเผด็จการได้

ฉะนั้น  การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นการได้อำนาจรัฐมาจากตัวบทกฎหมาย  คือ  รัฐธรรมนูญ  ดังนั้นรัฐบาลหรือรัฐสภาออกกฎหมายใหม่  หรือแก้ไขกฎหมายที่ไม่ดีจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว

เพราะกฎหมายคือเจตน์จำนงร่วมกันของประชาชนทั้งชาติ  ซึ่งเป็น  General (ไม่ใช่ Will ) แบบกฎหมายในระบอบเผด็จการซึ่งออกตามอำเภอใจ  กฎหมายจะมีความแน่นอนมากกว่าเพราะผ่านการพิจารณาจากตัวแทนของประชาชนบนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะและความต้องการของประชาชนในรัฐ

 

ข้อ  2  จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจนว่า  กฎหมายมหาชนปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับการเมืองการปกครองอย่างไร

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน  ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง

กฎหมายรัฐธรรมนูญ  บัญญัติอำนาจในการปกครองประเทศไว้สามอำนาจ  คือ  อำนาจนิติบัญญัติ  รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจ  และอำนาจตุลาการ  ศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ

กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ  หน่วยงานทางปกครอง  เช่น  หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  ส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  และ  หน่วยงานอื่นๆของรัฐที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง

 

ข้อ  3  ระบบกฎหมายแบบใดที่เน้นหลักในเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  และที่ว่าควบคุมการใช้อำนาจรัฐควบคุมเรื่องใด  อย่างไร  จงอธิบาย

ธงคำตอบ

ระบบกฎหมายที่เน้นลายลักษณ์อักษร  ( Civil  law)  จะเห็นได้ว่า  จากพัฒนาการของการควบคุม

การใช้อำนาจรัฐนั้น  เป็นพื้นฐานที่สำคัญของหลักกฎหมายมหาชน  ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดทำบริการสาธารณะ  การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม  และพัฒนาการเหล่านี้มีการเจริญเติบโตได้ดีในประเทศแถบยุโรป  ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมาย Civil  law

การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  คือ  การควบคุมการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  องค์กรของรัฐ  หน่วยงานของรัฐ  การใช้

ดุลยพินิจ  มี  2  รูปแบบ  ดังนี้ คือ

1         ดุลยพินิจทั่วไป  ( Discretionary  Power)

2         ดุลยพินิจที่เป็นอำนาจผูกพัน  (Mandatory  Power)1         ดุลยพินิจทั่วไป  หรือเรียกว่า  อำนาจดุลยพินิจ

อำนาจดุลยพินิจ  คือ  เสรีภาพที่กฎหมายให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะตัดสินใจว่าในกรณีเฉพาะเรื่องกรณีใดกรณีหนึ่ง  สมควรเลือกคำสั่งใดในบรรดาคำสั่งหลายๆอย่างที่มีความแตกต่างกันออกไป  และดำเนินการออกคำสั่งตามที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้

อำนาจ ดุลยพินิจย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งที่องค์กรของรัฐฝ่าปกครองกระทำการอย่างอิสระ โดยที่กฎหมายมิได้บัญญัติกำหนดสิ่งอันตนจักต้องทำการไว้ล่วงหน้า

อำนาจดุลยพินิจหากพิเคราะห์โดยถ่องแท้แล้วก็คือ  ความสามารถอันกฎหมายให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะเลือกว่าในบรรดาสรรพคำสั่ง  ซึ่งตามกฎหมายแล้วล้วนแต่สามารถออกได้ทั้งสิ้น  คำสั่งที่พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งอำนาจหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด  ก็พึงทำการออกคำสั่งนั้น

อำนาจดุลยพินิจ  คือ  อำนาจที่กฎหมายมอบให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองสามารถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอิสระ  แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามกฎหมาย  และชอบด้วยเหตุผล  ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์มากที่สุดแก่สังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ

2         ดุลยพินิจที่เป็นอำนาจผูกพันหรืออำนาจผูกพันอำนาจผูกพันเป็นอำนาจที่กฎหมายมอบให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง  องค์กรใดองค์กรหนึ่ง  โดยบัญญัติบังคับไว้ล่วงหน้าว่า  เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น  องค์กรของรัฐฝ่ายปกครององค์กรนั้น  จักต้องออกคำสั่ง  และต้องออกคำสั่งที่มีเนื้อความตามที่ได้กำหนดไว้นั้น

ดังนั้น  จึงเห็นได้ว่าลักษณะของการใช้อำนาจผูกพันนั้น  หมายความว่า  การจะตัดสินใจในทางกฎหมายได้  ต้องมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นมาก่อน  ถ้าข้อเท็จจริงอย่างนี้เกิดขึ้น  เจ้าหน้าที่ก็ผูกพันที่ว่าต้องตัดสินใจไปในทางนี้เท่านั้น  คือ  ตามที่กฎหมายกำหนดไว้  จะตัดสินใจเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่  เช่น การร้องขอจดทะเบียนสมรสชายและหญิง  มีคุณสมบัติและเงื่อนไขครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สมัครใจสมรสกัน  ต้องการจดทะเบียนสมรสกัน  เจ้าหน้าที่ต้องรับจดทะเบียนสมรสให้ตาพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว  จะปฏิเสธไม่จดทะเบียนไม่ได้  แต่ถ้าชายและหญิงมีอายุ  15  กับ  14  ปีตามลำดับ  ต้องการจดทะเบียนสมรส  กรณีข้อเท็จจริงในเรื่องอายุไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้สมรสกันได้  กรณีเช่นนี้  นายทะเบียนครอบครัวสามารถปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสได้  เจ้าหน้าที่มาสามารถเลือกใช้ดุลยพินิจเพื่อที่จะรับจดทะเบียนให้ตามความประสงค์ของชายและหญิง  โดยพิจารณาเห็นว่าชายหญิงทั้งสองนี้มีความปรารถนาต้องการใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภรรยา  เช่นนี้ย่อมทำไม่ได้

ความแตกต่างระหว่างอำนาจดุลยพินิจ  และอำนาจผูกพัน

1         อำนาจดุลยพินิจ  หมายถึง  อำนาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ  หรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคำสั่งหรือเลือกสั่งการอย่างใดๆได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้  เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย  หรือตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  อำนาจดุลยพินิจ  ก็คือ  อำนาจที่กฎหมายเปิดช่องให้ องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจเมื่อมีเหตุการณ์หรือมีข้อเท็จจริงใดๆที่กฎหมายกำหนดไว้เกิดขึ้น

2         อำนาจผูกพัน  อำนาจผูกพันมีความแตกต่างกับอำนาจดุลยพินิจข้างต้น  กล่าวคือ  อำนาจผูกพันเป็นอำนาจหน้าที่ ที่องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฏิบัติเมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดๆเกิดขึ้นตามที่กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ  ได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว  ดังนี้  องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่ง  และคำสั่งนั้นต้องมีเนื้อความเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้  เช่น  เรื่องการร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อชายและหญิงผู้ร้องขอมีคุณสมบัติครบถ้วน  และปฏิบัติเงื่อนไขแห่งการสมรสที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว  นายทะเบียนครอบครัวจะต้องทำการจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสมรสเสมอ  เป็นต้นเหตุที่เรียก  อำนาจหน้าที่ว่าเป็นอำนาจผูกพันก็เพราะคำวินิจฉัยสั่งการดังกล่าว  เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรฝ่ายปกครองของรัฐ  ซึ่งกฎหมายยอมรับว่า  การปฏิบัติหน้าที่นั้น  มีผลใช้บังคับได้สมบูรณ์  นั่นเอง

ทั้งอำนาจดุลยพินิจ  และอำนาจผูกพันนี้  ส่วนใหญ่แล้วกฎหมายจะกำหนดให้ใช้ทั้งสองอำนาจนี้ไปด้วยกัน  กล่าวคือ  เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดเกิดขึ้นแล้ว  องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่งในเรื่องนั้นๆ  (อำนาจผูกพัน)  แต่จะออกคำสั่งอย่างไรนั้น  สามารถตัดสินใจได้อย่างมีอิสระตามที่กฎหมายเปิดช่องไว้ (อำนาจดุลยพินิจ)  เช่น  กรณีข้าราชการกระทำผิดวินัยร้ายแรงกฎหมายบังคับใช้ไว้อย่างชัดเจนว่า  ผู้บังคับบัญชา  ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งต้องมีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยกับข้าราชการผู้นั้น  แต่ผู้บังคับบัญชา  ก็มีอิสระในการตัดสินใจว่าจะสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นสถานใด  กล่าวคือ  จะสั่งปลดออก  หรือไล่ออกจากราชการ  เป็นต้น

เหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  เพราะว่าหากปราศจากการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  จะเป็นช่องทางไปสู่การใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เช่น  ข้ามขั้นตอนหรือวิธีการที่มีการกำหนดไว้  ปราศจากอำนาจทำผิดแบบ  นอกกรอบวัตถูประสงค์ของกฎหมาย  สร้างภาระให้ประชาชนเกินสมควร  สั่งโดยมีอคติหรือไม่สุจริต  เป็นต้น

การใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  หมายถึง  การใช้ดุลยพินิจที่ไม่มีวิญญูชนคนใดจะวินิจฉัยเช่นนั้น  หรือใช้ดุลยพินิจเช่นนั้น  และเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ในการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมของกฎหมาย  และไม่ชอบด้วยเหตุผล

วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดีที่สุดคือ  การควบคุมแบบแก้ไข (ภายหลัง)  ที่รียกว่า  ใช้ระบบตุลาการ  (ศาลคู่)

กล่าวคือ  ศาลปกครอง ( AdministrativeCourt)  เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีระบบการพิจารณาที่ใช้ศาล  และมีกฎหมายรองรับทำให้การพิจารณาพิพากษาเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยิ่ง  เช่น  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง  พ.ศ. 2542  พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ. 2539  พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นต้น

วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐในปัจจุบัน  มีอยู่ด้วยกัน  2  ลักษณะ  คือ  การควบคุมแบบป้องกัน  และการควบคุมแบบแก้ไข

1         การควบคุมแบบป้องกัน  หมายความว่า  ก่อนที่ฝ่ายบริหารจะได้วินิจฉัยสั่งการหรือก่อนจะมี  “การกระทำในการปกครอง”  หรือที่บางท่านเรียกว่า “นิติกรรมในทางปกครอง”  ซึ่งหมายถึงการกระทำในทางกฎหมาย  หรือการวินิจฉัยสั่งการทั้งหลายทั้งปวงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานะ ภาพทางกฎหมายของบุคลคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคนก็ตามก่อนที่มีคำสั่งนั้นๆออก ไป  ควรจะมีระบบป้องกันเสียก่อนหรือไม่  เรื่องนี้ในต่างประเทศ  กลุ่มประเทศแองโกลแซกซอน  โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มประเทศยุโรปภาคพื้นทวีป  ได้แก่  ออสเตรีย  เยอรมันนี  ประเทศเหล่านี้จะมีประมวลกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีในทางปกครอง  โดยปกติแล้วศาลย่อมจะมีวิธีพิจารณาคดีประเภทต่างๆ  เช่น  ในคดีอาญาจะมีประมวลกฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติในเรื่องของความผิดและโทษ  ศาลก็จะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสำหรับดำเนินกระบวนพิจารณาอาญา  ส่วนกฎหมายแพ่ง  ศาลก็จะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสำหรับการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีแพ่ง  เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เอง  การควบคุมแบบป้องกันจึงเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมการควบคุมโดยศาลหรือที่เราเรียกว่า  “การควบคุมแบบแก้ไข”  เป็นที่เข้าใจแล้วว่าการควบคุมแบบป้องกันนั้น  คือ  กระบวนการก่อนจะมีคำสั่งวินิจฉัย  ดังนั้นข้อสำคัญก็คือทำอย่างไรจึงจะให้มีการโต้แย้ง  การคัดค้านได้ก่อนที่จะมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย  แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า  จะต้องไปทำตามที่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน  โดยเฉพาะเรื่องที่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นไปกระทบสิทธิของบุคคล  เช่นนี้ก็จะต้องแสดงเหตุผลในคำสั่ง  เช่น  การมีคำสั่งไม่อนุญาตในแบบที่มีผู้ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร  ก็ต้องอธิบายว่า  เหตุที่ไม่อนุญาตนั้นเพราะผิดแบบตรงไหนหรือผิดจากกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดตรงไหน  เช่น  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  หรือเทศบัญญัติกำหนดไว้ว่า  แบบที่ยื่นมานั้นไม่อนุญาตเพราะว่า

1         เว้นระยะห่างไม่พอ

2         ที่บริเวณส่วนนี้ห้ามทำเป็นหน้าต่างดังนั้นจึงไม่อนุญาต  ไม่อนุมัติแบบนั้นๆ เป็นต้น2  การควบคุมแบบแก้ไข  หมายถึง  มีคำสั่งวินิจฉัยสั่งการในเรื่องนั้นไปแล้ว  ฝ่ายประชาชนที่ถูกกระทบสิทธิเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เขาจำเป็นต้องไปหาองค์กรที่มีอำนาจให้มีคำสั่งชี้ขาดลงมาว่า  คำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และต้องถูกยกเลิกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข  โดยองค์กรที่จะควบคุมนี้  มี  3  องค์กร  คือ  องค์กรภายในฝ่ายบริหาร  องค์กรภายนอก  และองค์กรศาล  (องค์กรตุลาการ)

LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2550

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

ข้อ  1  กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐ  อำนาจรัฐ  การปกครองของรัฐ  การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง

ดังนั้น จึงขอให้นักศึกษาอธิบายความหมายของรัฐธรรมนูญ  กฎหมายปกครอง  และขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2550 ว่ามีหลักการ  ขั้นตอนการแก้ไขอย่างไร

ธงคำตอบ

ความหมายของรัฐธรรมนูญคือ  ตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ว่าด้วยระเบียบอำนาจแห่งรัฐ  มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ  เป็นการบัญญัติกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการปกครองประเทศ  หรือเป็นกฎหมายที่รวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศ  เป็นกฎหมายที่กำหนดองค์กรทางการเมืองของรัฐ  หรือ  กลไกของรัฐและให้ประกันสิทธิเสรีภาพพื้นฐานแก่ประชาชน  ซึ่งได้จัดทำด้วยวิธีการที่แตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา

ความหมายของกฎหมายปกครองของไทย  ได้แก่กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการปกครองประเทศ  แต่กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการปกครอง

กฎหมายนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบขององค์กรการปกครอง  เช่น  จัดแบ่งออกเป็น  กระทรวง  ทบวง  กรม  หรือเทศบาล ความเกี่ยวพันระหว่างองค์กรนี้กับรัฐ

ในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550  กำหนดหลักการในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการแก้ไขแบบง่ายโดยมีหลักเกณฑ์ขั้นตอนการแก้ไขกำหนดไว้ในมาตรา  291  ดังนี้

มาตรา  291  การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามกลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

1         ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

ญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ  จะเสนอมิได้

2         ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ3         การออกเสียงลงคะแนน  ในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย  และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนษมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

4         การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา  ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย

การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตราให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

5         เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว  ให้รอไว้สิบห้าวัน  เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป6         การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย  ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบ ด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้ง หมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

7         เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว  ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  150  และมาตรา  151  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

ข้อ  2   ถ้าจะกล่าวว่าการปกครองของไทยทุกระดับ  เกิดจากกฎหมายมหาชนทั้งสิ้น  ท่านเห็นด้วยหรือไม่  พร้อมยกตัวอย่างให้ชัดเจน

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชนปัจจุบันได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง

กฎหมายรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้อำนาจในการปกครองประเทศ  ได้แก่

1         อำนาจนิติบัญญัติโดยมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจ

2         อำนาจบริหาร  โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจ

3         อำนาจตุลาการ  โดยมีศาลเป็นองค์การใช้อำนาจ

กฎหมาย ปกครองเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการในทางปกครองได้จะต้อง มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้มิฉะนั้นไม่สามารถดำเนินการได้  กฎหมายดังกล่าวได้แก่กฎหมายปกครองหรือกฎหมายมหาชน  เช่น  พ.ร.บ.  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯ หรือ พ.ร.บ.อื่นๆ

 

 ข้อ  3  ให้นักศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ของหลักการกฎหมายปกครองที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมาพอให้เข้าใจ  ถึงความสัมพันธ์ของหลักการดังกล่าว

ธงคำตอบ 

นักศึกษาอธิบายความหมายของกฎหมายปกครอง  การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้

นักศึกษาหยิบยกเอาหลักกฎหมายปกครอง  อาทิเช่น

หลักการกำกับดูแล

หลักการควบคุมบังคับบัญชา

หลักการแบ่งอำนาจ

หลักการรวมอำนาจ

หลักการกระจายอำนาจ

มาอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์กันของการแบ่งส่วนราชการที่แบ่งออกเป็น  3  ส่วน

1         ราชการส่วนกลาง  ยึดหลัก  การรวมอำนาจ

2         ราชการส่วนภูมิภาค  ยึดหลัก  การแบ่งอำนาจ

3         ราชการส่วนท้องถิ่น  ยึดหลัก  การกระจายอำนาจ

นักศึกษา ตอบได้ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น  และในระหว่างความสัมพันธ์กันของราชการส่วนกลางกับราชการส่วนภูมิภาค  เป็นแบบควบคุมบังคับบัญชา  ส่วนราชการกลางและราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่น  เป็นแบบกำกับดูแล

WordPress Ads
error: Content is protected !!