การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2548
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน
ข้อ 1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายเกี่ยวกับรัฐ อำนาจรัฐและการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการปกครอง หรือเป็น กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ กล่าวคือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรในลักษณะที่รัฐหน่วยงานของรัฐรวมทั้งเจ้า หน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นฝ่ายปกครองมีเอกสิทธิ์หรือมีสถานะเหนือกว่าราษฎรซึ่ง เป็นเอกชน
จึงขอให้นักศึกษาอธิบายให้เข้าใจและตอบคำถามในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมายของคำว่า รัฐ รัฐคืออะไร องค์ประกอบของรัฐมีอะไรบ้าง
ข. ลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐมีอะไรบ้างให้อธิบายมาโดยละเอียด
ธงคำตอบ
ก. ศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อธิบายความหมายของ รัฐ ไว้ว่า รัฐคือ อำนาจที่ถูกจัดเป็นสถาบัน รัฐ คือผู้ถืออำนาจที่ เป็นนามธรรมและถาวร โดยมีผู้ปกครองซึ่งเป็นแต่เพียงเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอันสำคัญที่ ผ่านไปเท่านั้น เนื่องจากรัฐ เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นนามธรรมองค์ประกอบของรัฐที่อธิบายกันมาแบบดั้งเติมนั้นจะ มีอยู่เพียง 4 ประการคือ ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล
โดยทั่วไป รัฐจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสลับซับซ้อนและจะประกอบไปด้วยองค์ ประกอบต่าง ๆ มากมาย ได้แก่
1. ดินแดน (territov)
2. ประชากร (population)
3. รัฐบาล (govemment)
5. ความต่อเนื่อง (continuity)
6. การดำเนินการทางด้านควานมั่นคง (security)
7. การรักษาความสงบเรียบร้อย (order)
8. การอำนวยความยุติธรรม (justice)
9. การสวัสดิการสังคม (welfare)
นอกจากนี้ รัฐยังจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือทรัพยากร (resources) การคลัง
(finances) ระบบราชการ (bureaucracy) และการดำรงอยู่ในสังคมแห่งรัฐต่าง ๆ หรือสังคมโลก (existence as part of a society ofstates )ข. ลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐอำนาจรัฐ ก็คือ อำนาจมหาชน ซึ่งเป็นอำนาจเพื่อสาธารณประโยชน์ในประเทศประชาธิปไตยแบบตะวันตก อำนาจรัฐจะมีลักษณะเฉพาะคือ การเป็นอำนาจซ้อนและการรวมศูนย์อำนาจ การเป็นอำนาจทางการเมือง การเป็นอำนาจทางพลเรือนและการเป็นอำนาจทางอาณาจักร1. อำนาจของรัฐเป็นอำนาจซ้อนและการรวมศูนย์ อำนาจลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐในส่วนนี้จะปรากฏเหมือนกันในทุกรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐเดี่ยวหรือรัฐรวม2. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางการเมือง ในรัฐทุกรัฐ นอกจากอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึง อำนาจในการควบคุมการผลิต และอำนาจในการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในแต่ละรัฐยังมีอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจที่ไม่ได้สืบเนื่องมาจากอำนาจในการควบคุมปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่เป็นอำนาจที่มีลักษณะทางการเมือง กล่าวคือประการแรก อำนาจรัฐเป็นอำนาจแห่งการตัดสินใจ ชึ่งอธิบายไดัว่าภารกิจและหน้าที่ของรัฐนั้นยิ่งนับวันก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น และทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความต้องการใหม่ๆ และรัฐจะอยู่ในฐานะผู้ตัดสินใจที่จะเลือกดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ประการที่สอง อำนาจรัฐสมัยใหม่จะไม่มีการปะปนกันระหว่างทรัพย์สินของรัฐและทรัพย์สินของผู้ปกครองซึ่งผิดกับสมัยศักดินาที่ไม่สามารถแยกสาธารณสมบัติของแผ่นดินออกจากทรัพย์สินของกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครได้ประการที่สาม สภาพบังคับที่ใช้โดยรัฐนั้น ต้องมีลักษณะทางการเมืองแท้ ๆ กล่าวคือ อำนาจที่ใช้กับผู้คนในสังคมนั้นจะมีอยู่สองแบบคือ อำนาจโดยตรง อันได้แก่ อำนาจที่เป็นคำสั่งต่อตัวบุคคลโดยตรง ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตาม บุคคลนั้นก็ย่อมจะมีโทษกับ อำนาจทางอ้อม อันได้แก่อำนาจในการถือครองสิ่งของที่บุคคลต้องการเพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งถ้าไม่เคารพอำนาจนี้
ก็จะมีการเอาทรัพย์สินสิ่งของนั้นไป อำนาจทางอ้อมนี้จึงเรียกว่า อำนาจทางเศรษฐกิจ หรืออาจจะเป็น อำนาจทางเศรษฐกิจการเมือง ส่วนอำนาจรัฐในรัฐเสรีนิยมไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของบุคคล ดังนั้น รัฐเสรีนิยมจึงใช้แต่อำนาจทางการเมืองแท้ ๆ ต่อบุคคลเท่านั้น
3. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางพลเรือน ในรัฐสมัยใหม่การที่อำนาจทางพลเรือนอยู่เหนืออำนาจทางทหารได้เป็นผลมาจากวิวัฒนาการอันยาวนานของระบบการปกครองของ รัฐตะวันตก เพราะรัฐในสมัยก่อน ๆ นั้นมีลักษณะที่เน้นควานสำคัญและความเข้มแข็งทางด้านทหารอย่างมาก แต่ในปัจจุบันอำนาจรัฐในประเทศแถบตะวันตกจะมีลักษณะเป็นอำนาจทางพลเรือน
กล่าวคือ อำนาจรัฐเป็นอำนาจที่มีเพื่อสันติภาพและใช้โดยผู้นำที่เป็นพลเรือน ในขณะเดียวกัน รัฐก็มีอำนาจทางทหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่มีเพื่อการป้องกันประเทศ แต่อยู่ใต้อำนาจทางพลเรือนภายใต้ความสัมพันธ์ เช่นนี้ กองทัพในประเทศตะวันตกจึงเป็นผู้ที่เชื่อฟังและปฏิบัติกองทัพไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ
4. อำนาจรัฐเป็นอำนาจในทางอาณาจักร การแบ่งแยกระหว่างอำนาจในทางอาณาจักรกับอำนาจในทางศาสนา เป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของเสรีภาพ ในยุคกลางโบสถ์ในคริสต์ศาสนามีบทบาททางสังคมสูงมาก เพราะนอกจากคริสตจักรจะเป็นองค์กรผู้นำทางด้านจิตวิญญาณและเป็นศูนย์กลางของ ความศรัทธาเชื่อมั่นในพระเจ้าแล้ว คริสตจักรยังเป็นองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งระบบการบริหารปกครองมาจากโรมัน และยังเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมบรรดาความรู้และวิทยาการในด้านต่าง ๆ
รวม ทั้งศาสตร์และศิลปะในการปกครองในช่วงยุคกลาง พระหรือนักบวชในคริสต์ศาสนาจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อกษัตริย์และเจ้าผู้ ปกครองเมืองและแว่นแคว้นต่าง ๆ ในยุคดังกล่าวนี้บทบัญญัติและมาตรฐานความยุติธรรมของศาสนจักรได้เข้าไปก้าว ก่ายครอบงำอำนาจทางการเมืองและอำนาจพลเมืองของฝ่ายอาณาจักร ทั้งในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและในด้านการปกครอง ลักษณะเช่นนี้จึงไม่สามารถแยกอำนาจขออาณาจักรออกจากการครอบงำของศาสนจักรได้ ต่อมาเมื่อการค้าโพ้นทะเลและระบบทุนก้าวหน้ามากขึ้น แนวความคิดเสรีนิยมก็พัฒนาแพร่หลาย และเข้มแข็งมากขึ้นรวมทั้งเหตุการณ์การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) ซึ่งนำไปสู่การแยกออกมาเป็นคริสต์ศาสนานิกายต่าง ๆ
ซื่งแอบแฝงการสนับสนุนอยู่เบื้องหลังของฝ่ายอาณาจักรที่ต้องการหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของฝ่ายคริสตจักรโรมันคาธอลิค อำนาจอันมากล้นของศาสนจักรก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลง พวกชนชั้นกลางก็ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้กษัตริย์เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อแยก รัฐ หรืออาณาจักรออกจากอิทธิพลของศาสนจักรให้เด็ดขาดไป