LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 2/2551

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายจันทร์ขายแม่หมูท้องแก่ของตนตัวหนึ่งให้นายอังคารในราคา 15,000 บาท นายอังคารตกลงซื้อและขอให้นายจันทร์นำหมูไปให้ที่บ้านพร้อมกับชำระราคา 
ในวันนัด นายจันทร์ได้นำหมูไปที่บ้านนายอังคารและขอให้นายอังคารชำระค่าหมู แต่นายอังคารกลับไม่ยอมชำระ นายจันทร์จึงไม่ส่งมอบหมูให้นายอังคาร อีก 5 วันต่อมา เกิดโรคระบาดเป็นเหตุให้แม่หมูตัวนี้ตาย นายจันทร์ขอให้นายอังคารชำระราคาค่าหมูอีก นายอังคารก็ไม่ยอมชำระ 

นายจันทร์มาถามท่านว่าแม่หมูที่ตายตกเป็นพับแก่นายจันทร์หรือนายอังคาร และนายจันทร์มีสิทธิเรียกร้องให้นายอังคารชำระราคาค่าหมูได้หรือไม่ ดังนี้ ท่านจะให้คำตอบนายจันทร์อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 370 วรรคแรก ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิใน ทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิ ได้ไซร้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้

มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรค หนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่น บาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

มาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน

วินิจฉัย

โดย หลักแล้ว เมื่อได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้กำหนดไว้แน่นอนแล้วว่าเป็นทรัพย์ชนิดใด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำ สัญญาซื้อขายกัน ตามมาตรา 458 กล่าวคือ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นโอนไปยังผู้ซื้อทันที แม้จะยังไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายหรือยังไม่ได้ชำระราคาก็ตาม เพราะการส่งมอบและการชำระราคานั้นเป็นหนี้ที่คู่สัญญาต้องชำระกันในภายหลัง (ฎ. 1700/2527)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ขายแม่หมูท้องแก่ของตนตัวหนึ่งให้นายอังคารในราคา 15,000 บาท และนายอังคารก็ตกลงซื้อ เช่นนี้สัญญาซื้อขายย่อมเกิดขึ้น เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในทรัพย์เฉพาะสิ่ง กรรมสิทธิ์ในแม่หมูย่อมโอนไปยังนายอังคารผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญา ซื้อขายกัน ตามมาตรา 458 แม้จะมีข้อตกลงให้นายจันทร์ไปส่งมอบหมูให้ที่บ้านพร้อมกับรับชำระราคาในวัน หลัง ก็หาทำให้เป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามมาตรา 459 ที่จะทำให้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อไม่

เมื่อข้อเท็จจริงใน วันนัด นายจันทร์ได้นำหมูไปส่งมอบให้นายอังคาร แต่นายอังคารกลับไม่ยอมชำระราคาค่าหมู เช่นนี้นายอังคารย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา และการที่หมูตายในระหว่างที่นายอังคารผิดสัญญานั้นเกิดจากโรคระบาด มิใช่เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายจันทร์ กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 370 วรรคแรก ที่ว่าสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอน ทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปโดยโทษผู้ขายมิได้ การสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่ผู้ซื้อ กรณีนี้บาปเคราะห์ย่อมตกเป็นพับแก่นายอังคารผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดรแม้นาย อังคารจะไม่ได้รับส่งมอบแม่หมู เพราะการสูญหรือเสียหายตกเป็นพับแก่ตน แต่นายอังคารก็ยังมีหน้าที่ชำระราคาค่าหมูตามสัญญาซื้อขาย เพราะกรรมสิทธิ์ในแม่หมูตกเป็นของนายอังคารแล้ว ทั้งแม่หมูตัวนี้ก็มีราคาเพียง 15,000 บาท แม้การซื้อขายจะมิได้มีหลักฐานในการฟ้องร้องให้บังคับคดี กล่าวคือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด หรือมีการวางมัดจำ หรือชำระหนี้บางส่วน ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 456 วรรคสามประกอบวรรคสองไม่ใช้บังคับกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาต่ำ กว่า 20,000 บาท

สรุป การที่แม่หมูตายย่อมตกเป็นพับแก่นายอังคาร ตามมาตรา 370 วรรคแรก และนายจันทร์มีสิทธิเรียกร้องให้นายอังคารชำระราคาค่าหมูได้

 

ข้อ 2 นายไก่นำที่ดินมีโฉนดของตนไปตกลงขายให้แก่นายไข่ในราคา 2 ล้านบาท โดยมีการส่งมอบที่ดินและชำระเงินกันครึ่งหนึ่งคือ 1 ล้านบาท ส่วนที่เหลือตกลงกันว่าอีก 1 เดือนจะชำระ แต่ครบเดือนแล้วนายไข่ก็ไม่ยอมชำระ นายไก่โมโหจึงนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายให้แก่นาย ห่านในราคา 3 ล้านบาท เมื่อทำสัญญากันแล้วนายห่านจึงมาขับไล่นายไข่ออกจากที่ดินดังกล่าว

สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่ นายไก่และนายห่าน เป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร
นายไข่จะฟ้องนายไก่ว่าตนถูกนายห่านรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดย ปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือ สำเร็จบริบูรณ์ เพราะคู่สัญญาไม่มีเจตนาจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลังโดยทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อหน้าที่ ส่วนการที่คู่สัญญาตกลงจะชำระราคาส่วนที่เหลืออีก 1 ล้านบาทในอีก 1 เดือนข้างหน้า เป็นการตกลงเรื่องการชำระราคา มิใช่การตกลงเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ อันจะทำให้เป็นสัญญาจะซื้อขายไม่

เมื่อ เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในอสังหาริมทรัพย์ แต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก กรรมสิทธิ์ยังเป็นของนายไก่เช่นเดิม นายไก่จึงมีสิทธิที่จะขายต่อไปได้

ส่วนสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง นายไก่และนายห่านก็เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะต้องทำกันต่อไปแล้ว เนื่องจากการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้กระทำเสร็จสิ้นแล้วในขณะทำสัญญาซื้อขายกัน และเป็นสัญญาที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ตามมาตรา 456 วรรคแรก

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นโมฆะ นายไข่ย่อมไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินแปลงนี้เลย แม้นายห่านจะมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันมาก่อการรบกวนขัดสิทธิ ของนายไข่ในอันจะครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข นายไข่ก็ไม่อาจฟ้องให้นายไก่รับผิดในการรอนสิทธิตามมาตรา 475 ได้ เพราะไม่อยู่ในฐานะผู้ซื้อที่ถูกรอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายนั่นเอง

สรุป
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและเป็นโมฆะ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายห่าน เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

นายไข่ฟ้องให้นายไก่รับผิดในการรอนสิทธิไม่ได้

 

ข้อ 3 นายทองนำแหวนทับทิมล้อมเพชรมูลค่า 5 ล้านบาท ไปขายฝากไว้กับเงินในราคาเพียง 1 ล้านบาท มีกำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี โดยกำหนดสินไถ่ไว้คือ 1 ล้านบาทบวกประโยชน์อีก 15% และมีข้อกำหนดไว้ว่าห้ามมิให้นายเงินนำแหวนวงดังกล่าวไปจำหน่ายจ่ายโอนในระหว่างติดสัญญาขายฝาก

หลังจากทำสัญญากันแล้วนายเพชรเห็นแหวนวงดังกล่าวเกิดอยากได้จึงขอซื้อจากนาย เงิน นายเงินเสนอขายราคา 2 ล้านบาท นายเพชรตกลงซื้อโดยมีการชำระราคาและส่งมอบแหวนกันเรียบร้อยแล้ว

หลัง จากนั้นหนึ่งเดือน นายทองเห็นนายเพชรใส่แหวนจึงไปแจ้งให้นายเพชรทราบว่าเป็นแหวนซึ่งตนนำมาขาย ฝากไว้กับนายเงิน และมีข้อห้ามมิให้จำหน่ายด้วย จึงขอไถ่แหวนคือ พร้อมเงิน 1 ล้าน 1 แสน 5 หมื่นบาทถ้วน

แต่นายเพชรปฏิเสธไม่ให้ไถ่ ถ้าอยากได้คืนก็ต้องไถ่คืนในราคา 3 ล้านบาท คำปฏิเสธและคำเสนอของนายเพชรรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 493 ในการขายฝาก คู่สัญญาจะตกลงกันไม่ให้ผู้ซื้อจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งขายฝากก็ได้ ถ้าและผู้ซื้อจำหน่ายทรัพย์สินนั้นฝ่าฝืนสัญญาไซร้ ก็ต้องรับผิดต่อผู้ขายในความเสียหายใดๆ อันเกิดแต่การนั้น

มาตรา 497 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้น จะพึงใช้ได้แต่บุคคลเหล่านี้ คือ
(1) ผู้ขายเดิม หรือทายาทของผู้ขายเดิม หรือ

มาตรา 498 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้น จะพึงใช้ได้เฉพาะบุคคลเหล่านี้ คือ
(2) ผู้รับโอนทรัพย์สิน หรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ใน เวลาโอน ว่าทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน

มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้า ปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้ จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายทองนำแหวนทับทิมล้อมเพชรมูลค่า 5 ล้านบาทไปขายฝากไว้กับนายเงิน โดยมีข้อกำหนดไว้ว่าห้ามมิให้นายเงินนำแหวนวงดังกล่าวไปจำหน่ายจ่ายโอนใน ระหว่างติดสัญญาขายฝาก ดังนี้นายเงินย่อมไม่อาจนำไปขายต่อให้บุคคลใดอีกได้ แต่ถึงแม้นายเงินจะฝ่าฝืนข้อสัญญาห้ามโอนดังกล่าว ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่าง ใด กำหนดแต่เพียงว่าหากผู้รับซื้อฝากฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว ผู้ขายฝากก็อาจเรียกค่าเสียหายได้เท่านั้น ตามมาตรา 493 การซื้อขายแหวนวงดังกล่าวระหว่างนายเงินและนายเพชร จึงมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 453 และกรรมสิทธิ์ในแหวนย่อมโอนไปยังนายเพชรตามมาตรา 458

ดัง นั้นหากนายทองผู้ขายฝากซึ่งเป็นบุคคลผู้มีสิทธิไถ่ ตามมาตรา 497(1) จะใช้สิทธิไถ่แหวนคืนนายทองจะต้องนำเงิน 1 ล้าน 1 แสน 5 หมื่นบาท อันเป็นสินไถ่ที่ตกลงกันไว้ในสัญญามาไถ่กับนายเพชรซึ่งเป็นผู้รับโอนที่มี หน้าที่รับไถ่ทรัพย์คืน ตามมาตรา 498(2) อย่างไรก็ตามถึงแม้นายทองจะนำสินไถ่มาครบตามที่ตกลงกันก็ตาม นายเพชรก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมให้ไถ่คืนได้ โดยอ้างว่าตนไม่รู้ในเวลาซื้อขายว่าแหวนซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมา นั้นตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืนตามสัญญาขายฝาก คำปฏิเสธของนายเพชรที่ไม่ยอมให้ไถ่นั้นรับฟังได้

ส่วนข้อเสนอของนาย เพชรที่ว่า ถ้าอยากได้คืนก็ต้องไถ่คืนในราคา 3 ล้านบาทรับฟังได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อนายเพชรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแหวนดังกล่าว ก็ย่อมมีสิทธิใดๆในทรัพย์ของตน การที่นายเพชรเสนอให้ไถ่คืนในราคา 3 ล้านบาทนั้น เป็นการเสนอขายในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ มิใช่กรณีของการไถ่คืน ตามสัญญาขายฝาก ผู้ขายจึงเสนอราคาขายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องกำหนดราคาหรือสินไถ่ในราคาขายฝากที่แท้จริงรวมผล ประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 499 แต่อย่างใด ข้อเสนอของนายเพชรดังกล่าวจึงรับฟังได้เช่นกันสรุป คำปฏิเสธและคำเสนอของนายเพชรรับฟังได้ทั้งสองกรณี

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ ภาคฤดูร้อน/2551

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

 ข้อ 1 นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ไม่มีเงินก้อนจึงตกลงให้นายไข่ผ่อนได้เดือนละ 1 แสนบาท เมื่อจ่ายครบนายไก่จึงจะไปโอนทางทะเบียนให้ ต่อมาเมื่อนายไข่ผ่อนชำระจนครบ 1 ล้านบาท นายไก่ไม่ยอมไปโอนทางทะเบียน และไม่ยอมส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายไข่

(1) สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน
(2) นายไข่จะฟ้องนายไก่ให้โอนบ้านและที่ดิน และส่งมอบบ้านและที่ดินให้ตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคำมั่นใน การซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่วินิจฉัยจาก บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 456 วรรคแรกแต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ตามมาตรา 456 วรรคสองนั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือวางมัดจำ หรือชำระหนี้บางส่วนจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

หลักเกณฑ์การ พิจารณา ต้องดูว่าคู่กรณีมีเจตนาจะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่กันในภายหลังหรือไม่ ถ้าไม่มีเจตนาดังกล่าวก็เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายก็ตกเป็นโมฆะ คู่สัญญาจะฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้ แต่ถ้าคู่กรณีมีเจตนาจะไปทำหนังสือและจดทะเบียนกันในภายหลังก็เป็นสัญญาจะ ซื้อจะขาย ผู้ซื้อสามารถฟ้องบังคับให้ผู้ขายไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนได้(1) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ไม่มีเงินก้อนจึงตกลงให้นายไข่ผ่อนได้เดือนละ 1 แสนบาท เมื่อจ่ายครบจึงจะไปโอนทางทะเบียนให้ กรณีเช่นนี้ถือว่าสัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็น สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ เพราะคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะให้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินโอนไปในขณะทำ สัญญาซื้อขาย แต่มีเจตนาจะไปทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กันในภายหลัง

(2) ประเด็นที่ว่านายไข่จะฟ้องบังคับให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงนี้ ได้หรือไม่ เห็นว่า กรณีดังกล่าวนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีการชำระหนี้บาง ส่วนแล้ว แม้นายไข่จะผ่อนชำระราคาบ้านและที่ดินครบ 1 ล้านบาท ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนด้วย (ฎ. 4796/2537) จึงใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายจะมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายไก่ซึ่งเป็น ฝ่ายจะต้องรับผิดเป็นสำคัญก็ตาม ดังนั้นเมื่อนายไก่ผิดสัญญาไม่ยอมไปโอนทางทะเบียนและไม่ยอมส่งมอบที่ดินแปลง นั้นให้นายไข่ นายไข่จึงฟ้องร้องให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงนี้ได้ ตามมาตรา 456 วรรคสอง

สรุป สัญญาซื้อขายระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย และนายไข่สามารถฟ้องร้องบังคับให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนขายบ้านและที่ดินแปลง นี้พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ตนได้ ตามมาตรา456 วรรคสอง

ข้อ 2 นายดินตกลงขายรถยนต์ซึ่งตนขโมยมาให้แก่นายน้ำในราคา 5 แสนบาท โดยนายน้ำไม่ทราบว่าเป็นรถยนต์ที่นายดินขโมยมาแต่งและปลอมแปลงขาย ในสัญญาซื้อขายได้ตกลงกันไว้ว่าถ้าเกิดการรอนสิทธิอย่างใดๆขึ้นนายดินผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด หลังจากซื้อและส่งมอบรถไปได้เพียง 1 เดือน เจ้าของที่แท้จริงก็มาติดตามเอารถยนต์คืนไป นายน้ำจะฟ้องให้นายดินผู้ขายรับผิดในเหตุรอนสิทธิที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใดธงคำตอบหลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดย ปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้นมาตรา 483 คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้มาตรา 485 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย

วินิจฉัย

การ รอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกัน อยู่ในเวลาซื้อขาย มาขัดสิทธิให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินโดยปกติสุขได้ ตามมาตรา 475 กำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดเพราะเหตุการณ์รอนสิทธินั้น แต่ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายอาจทำความตกลงกันว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพราะการ รอนสิทธิก็ได้ ตามมาตรา 483

อย่างไรก็ตามข้อสัญญาว่าจะไม่ต้อง รับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มครองผู้ขายได้ หากการรอนสิทธินั้นเกิดขึ้นเพราะการกระทำของผู้ขายเอง หรือผู้ขายรู้ความจริงแหง่การรอนสิทธิแล้วปกปิดเสีย ตามมาตรา 485

กรณี ตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า นายน้ำจะฟ้องนายดินให้รับผิดในเหตุรอนสิทธิที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อเจ้าของที่แท้จริงมาติดตามเอารถยนต์คืนไปจากนายน้ำผู้ซื้อ จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลา ซื้อขาย แล้วมาขัดสิทธิให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินโดยปกติสุขได้ จึงต้องถือว่านายน้ำผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ ตามมาตรา 475 ซึ่งโดยปกติแล้วนายดินผู้ขายไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 475 เนื่องจากนายดินและนายน้ำได้ทำข้อสัญญาว่าไม่ต้องรับผิดในเหตุรอนสิทธิใน สัญญาซื้อขายตามมาตรา 483

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่านายดินผู้ขายทราบว่ารถยนต์ที่ขายนั้นเป็นรถยนต์ ที่ตนได้ขโมยมาขายให้นายน้ำ แล้วปกปิดมิแจ้งให้ผู้ซื้อทราบ แล้วยังมาทำข้อตกลงยกเว้นว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิอีก ถือว่านายดินผู้ขายไม่สุจริต จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ตามมาตรา 485 ทั้งนี้เพราะข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มครองความรับผิดของผู้ขายในผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่ แล้ว และปกปิดเสียนั่นเอง

สรุป นายน้ำฟ้องนายดินผู้ขายให้รับผิดในเหตุรอนสิทธิได้



ข้อ 3 นายลมนำช้างของตนไปขายฝากไว้กับนายไฟในราคา 1 แสนบาท โดยทำสัญญาเป็นหนังสือระหว่างกันเองขึ้นไว้ 2 ฉบับ และเก็บไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ มีกำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี กำหนดราคาไถ่คืน 2 แสนบาท เมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน นายลมมาขอไถ่ช้างคืนพร้อมเงิน 1 แสน 1 หมื่น 5 พันบาทถ้วน นายไฟปฏิเสธโดยอ้างว่าสินไถ่ไม่ครบ และยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลาไถ่คืน

สัญญาขายฝากระหว่างนายลมและนายไฟมีผลในทางกฎหมายอย่างไร และคำปฏิเสธของนายไฟตามกฎหมายรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

มาตรา 494 ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 499 วรรคสอง ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่ แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

สัญญา ขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา491 ประกอบมาตรา 456 วรรคแรก

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า สัญญาขายฝากระหว่างนายลมและนายไฟมีผลในทางกฎหมายอย่างไร เห็นว่า นายลมนำช้างของตนไปขายฝากไว้กับนายไฟในราคา 1 แสนบาท โดยทำสัญญาเป็นหนังสือระหว่างกันเองขึ้นไว้ 2 ฉบับ และเก็บไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คู่สัญญาได้จดทะเบียนการขายฝากต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาขายฝากช้างอันเป็นสัตว์พาหนะซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ย่อมมีผลเป็นโมฆะ ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคแรก
ประเด็นที่ ต้องวินิจฉัยประการต่อมามีว่า คำปฏิเสธของนายไฟที่ว่าสินไถ่ไม่ครบ รับฟังได้หรือไม่ เห็นว่า โดยหลักแล้ว ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่ แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งนี้ตามมาตรา 499 วรรคสอง เมื่อกรณีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่สัญญากำหนดสินไถ่สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 499 วรรคสอง นายลมจึงมีสิทธิไถ่ช้างคืนในราคา 1 แสน 1 หมื่น 5 พันบาทได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาขายฝากย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ประเด็นนี้จึงไม่ต้องพิจารณาคำปฏิเสธของนายไฟในกรณีนี้จึงรับฟังไม่ได้

ประเด็น ที่ต้องวินิจฉัยประการต่อมามีว่า คำปฏิเสธของนายไฟที่ว่ายังไม่ถึงกำหนดระยะเวลาไถ่คืนรับฟังได้หรือไม่ เห็นว่า ถ้าสัญญาขายฝากเกิดขึ้น การไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืน ย่อมเป็นสิทธิของผู้ขายฝาก ซึ่งจะใช้สิทธิของตนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องก่อนครบกำหนดระยะเวลาไถ่คืนตามสัญญาขายฝาก หรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (มาตรา 494(2)) หรือจะไม่ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนเลยก็ย่อมทำได้ ผู้ซื้อฝากไม่อาจบังคับให้ผู้ขายฝากต้องไถ่ทรัพย์สินคืนได้แต่อย่างใด แต่กรณีนี้เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาขายฝากย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ประเด็นนี้จึงไม่ต้องพิจารณา คำปฏิเสธของนายไฟในกรณีนี้จึงรับฟังไม่ได้เช่นเดียวกัน

ดังนี้เมื่อ สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ ผลของการเป็นโมฆะของสัญญา ย่อทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนว่ามิได้ทำนิติกรรมสัญญาใดๆต่อกัน ดังนั้นนายไฟจึงต้องส่งมอบช้างคืนให้แก่นายลมผู้ขายฝาก ส่วนนายลมก็ต้องคืนเงินค่าขายฝากช้าง 1 แสนบาท ให้แก่นายไฟ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้
สรุป สัญญาขายฝากระหว่างนายลมและนายไฟเป็นโมฆะ และคำปฏิเสธของนายไฟรับฟังไม่ได้

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 1/2552

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2552
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายจันทร์ซื้อที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งจากนายอังคารในราคา 5 ล้านบาท นายจันทร์ชำระราคาค่าที่ดินให้นายอังคาร 1 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้นายอังคารในวันที่นายอังคารกลับจากต่างประเทศ และไปจดทะเบียนโอนให้นายจันทร์ นายอังคารได้ส่งมอบที่ดินให้นายจันทร์พร้อมกับรับเงิน 1 ล้านบาทในวันทำสัญญา 
นายจันทร์อยู่ในที่ดินแปลงนี้มาได้ 8 ปี นายอังคารกลับจากต่างประเทศ นายอังคารหาได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคาร หลังจากนั้นอีก 3 ปี ที่ดินแปลงนี้มีราคาท้องตลาดสูงขึ้นมาก นายอังคารได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงนี้ให้นายพุธอีกในราคา 10 ล้านบาท นายพุธซื้อแล้วจะเข้าไปอยู่ในที่แปลงนี้ แต่ถูกนายจันทร์ขัดขวาง นายพุธขอให้นายจันทร์ออกไป

 นายจันทร์ไม่ยอมออก นายพุธฟ้องขอให้ศาลบังคับขับไล่นายจันทร์ออกไปจากที่ดินแปลงนี้ นายจันทร์ต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และนายจันทร์มาถามท่านว่าข้อต่อสู้ของนายจันทร์จะมีทางชนะคดีหรือไม่ดังนี้ ตามข้อเท็จจริงนี้ ท่านจะให้คำตอบนายจันทร์อย่างไร เพราะเหตุใด 

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคำมั่นใน การซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ สัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างนายจันทร์และนายอังคารเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ตามมาตรา 456 วรรคสอง เพราะนายจันทร์และนายอังคารคู่สัญญามีเจตนาจะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันในภายหลัง เมื่อเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แม้นายอังคารจะได้ส่งมอบที่ดินให้นายจันทร์ครอบครองก็ตาม ก็ไม่ทำให้นายจันทร์ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1367 เพราะนายจันทร์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินแปลงนี้ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของนายอังคาร ถือว่านายจันทร์ผู้จะซื้อครอบครองแทนนายอังคาร ผู้จะขายตามมาตรา1368 เท่านั้น มิใช่ยึดถือในฐานะเจ้าของ กรณีเช่นนี้แม้นายจันทร์จะครอบครองติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 (ฎ. 7422 – 7426/2549)

เมื่อนายจันทร์ผู้จะซื้อยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรรมสิทธิ์ยังเป็นของนายอังคาร นายอังคารผู้จะขายจึงมีสิทธิขายที่ดินให้บุคคลอื่นได้ การที่นายพุธซื้อที่ดินแปลงนี้จากนายอังคารเจ้าของที่ดินโดยได้จดทะเบียนการ ซื้อขายถูกต้องตามมาตรา 456 วรรคแรก ที่ดินแปลงนี้ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายพุธทันทีและถือว่านายพุธผู้ซื้อคน หลังนี้ย่อมมีสิทธิดีกว่านายจันทร์

อนึ่งการที่นายจันทร์ยังคงครอบ ครองที่ดินอยู่ภายหลังจากที่นายอังคารขายที่ดินให้นายพุธแล้วนั้น ถือว่านายจันทร์ครอบครองที่ดินแทนนายพุธตามมาตรา 1368 ด้วยเช่นกัน ดังนั้นแม้จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่อาจยกการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต้อสู้เจ้า ของที่ดินได้ กรณีนี้นายพุธสามารถฟ้องขอให้ศาลบังคับขับไล่นายจันทร์ออกไปจากที่ดินดัง กล่าวได้ ส่วนข้อต่อสู้ของนายจันทร์ว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้นไม่มี ทางจะชนะคดีได้

สรุป ข้าพเจ้าจะให้คำตอบแก่นายจันทร์ว่าข้อต่อสู้ของนายจันทร์ไม่มีทางชนะคดีได้

 

ข้อ 2 อาทิตย์เป็นเจ้าของกกรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่ง อาทิตย์ได้ขายฝากที่ดินแปลงนี้ของอาทิตย์ไว้กับจันทร์ ราคาขายฝาก 300,000 บาท และอาทิตย์รับเงินราคาขายฝาก 300,000 บาท แต่ไม่ได้กำหนดสินไถ่และไม่ได้กำหนดเวลาไถ่คืน อาทิตย์ได้ส่งมอบที่ดินให้จันทร์ จันทร์จึงจ่ายเงิน 300,000 บาทให้อาทิตย์

เมื่อขายฝากไปได้สี่เดือน อาทิตย์ตาย พุธบุตรชายซึ่งเป็นผู้รับมรดกคนเดียวของอาทิตย์ได้มาติดต่อจันทร์เพื่อขอไถ่ ที่ดินแปลงนี้คืน จันทร์ปฏิเสธ พุธจะฟ้องเรียกคืนที่ดินแปลงนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

วินิจฉัย

ใน เรื่องแบบของสัญญาขายฝากนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่เมื่อสัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบังคับว่าการซื้อขายต้องทำตามแบบตามมาตรา 456 วรรคแรก การขายฝากทรัพย์สินนั้นต้องทำตามแบบดังนั้นด้วย มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ (ฎ. 3970/2548) ส่วนทรัพย์สินใดจะต้องมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี การขายฝากก็ต้องมีหลักฐานดังนั้นด้วย ทั้งนี้เพราะการขายฝากต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายนั่นเอง

กรณี ตามอุทาหรณ์ พุธจะเรียกที่ดินแปลงนี้คืนจากจันทร์ได้หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า อาทิตย์และจันทร์ทำสัญญาขายฝากที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยทำเป็น หนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด กำหนดเพียงราคาขายฝากและได้ส่งมอบที่ดินให้จันทร์เท่านั้น สัญญาขายฝากดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรกประกอบมาตรา 491 (ฎ. 810/2546)

เมื่อสัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะ คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการทำสัญญากัน ดังนั้นพุธจึงต้องคืนเงินราคาขายฝาก300,000 บาท ให้แก่นายจันทร์โดยนำหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ส่วนพุธเองก็มีสิทธิเรียกที่ดินแปลงดังกล่าวคืนจากจันทร์ได้โดยอาศัยหลัก กฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้และหลักกฎหมายมรดกเช่นเดียวกัน (ฎ. 165/2527)

กรณี มิใช่เรื่องทายาทของผู้ขายฝากเดิมมาใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากตามมาตรา 497(1) เนื่องจากสัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะเสียเปล่าแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยขายฝากมาใช้ปรับแก่ข้อเท็จจริงได้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องกำหนดเวลาไถ่และสินไถ่อีก

สรุป พุธเรียกที่ดินคืนจากจันทร์ได้

 

ข้อ 3 นายทองได้ตกลงจะให้บ้านพร้อมที่ดินแปลงหนึ่ง และรถยนต์คันหนึ่งของนายทองให้นายเงินโดยเสน่หา บ้านพร้อมที่ดินนายทองได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนยกบ้านพร้อมที่ดินให้นาย เงินไปแล้ว แต่กลับไม่ยอมออกจากบ้านหลังนั้น ส่วนรถยนต์นายทองได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบให้นายเงินไว้ แต่ยังไม่ได้ส่งมอบตัวรถยนต์และทะเบียนให้

นายเงินจึงต้องการที่จะให้นายทองออกไปจากบ้านและที่ดินแปลงนั้น และให้ส่งมอบรถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์ให้กับตน ถ้านายเงินมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำกับนายเงินอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 523 การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้

มาตรา 525 การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ ในกรณีเช่นนี้การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ

มาตรา 526 ถ้าการให้ทรัพย์สินหรือให้คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นได้ทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และผู้ให้ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับไซร้ ท่านว่าผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์สินหรือราคาแทนทรัพย์สินนั้น ได้ แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยอีกได้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้คือ

บ้านพร้อมที่ดิน นายทองได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนยกบ้านพร้อมที่ดินแปลงหนึ่งให้นายเงินไป แล้ว แต่กลับไม่ยอมออกจากบ้านหลังนั้น กรณีเช่นนี้เมื่อทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนให้แล้ว การให้เป็นอันสมบูรณ์โดยมิต้องส่งมอบบ้านและที่ดินนั้นให้แก่กันตามมาตรา525

อนึ่งเมื่อการให้บ้านพร้อมที่ดินได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การที่นายทองผู้ให้ไม่ส่งมอบบ้านและที่ดินนั้นให้แก่นายเงินผู้รับ นายเงินผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์ได้ แต่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยไม่ได้ตามมาตรา526

รถยนต์ แม้นายทองจะได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบให้นายเงินไว้ก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา การที่นายทองยังไม่ได้ส่งมอบตัวรถยนต์และทะเบียนให้ การให้ย่อมไม่สมบูรณ์ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของนายทองอยู่ เพราะการให้สังหาริมทรัพย์ธรรมดาย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ตามมาตรา 523

สรุป นายเงินสามารถเรียกให้นายทองส่งมอบบ้านและที่ดินให้กับตนได้เท่านั้น ส่วนรถยนต์ไม่อาจเรียกให้ส่งมอบพร้อมกับทะเบียนได้

หมายเหตุ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น การให้รถยนต์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดาย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ที่ให้ตามมาตรา523 ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการให้ทรัพย์สินดังกล่าวต้องทำตามแบบ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังผู้รับแล้ว หาจำต้องจดทะเบียนโอนกันตามมาตรา 525 เสียก่อนไม่ เพรากฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะ ควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อผู้รับ ผู้รับก็เป็นเจ้าของรถยนต์คันที่ยกให้แล้ว (ฎ. 5212/2537 ฎ. 3104/2536)

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 2/2552

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายจันทร์อยากได้บ้านและที่ดินมีโฉนดของนายอังคาร นายจันทร์ได้ติดต่อขอซื้อบ้านและที่ดินแปลงนี้จากนายอังคารในราคา 10 ล้านบาท นายอังคารขอให้นายจันทร์ไปพบที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนสิทธินิติกรรม ซื้อขายบ้านและที่ดินแปลงนี้

ทั้งคู่ได้มาที่สำนักงานที่ดินและได้ทำหนังสือสัญญาซ้อขายบ้านและที่ดินใน ราคา 10 ล้านบาท พร้อมกับยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่าโฉนดฉบับสำนักงานที่ดินสูญหายขอทั้งคู่มาจด ทะเบียนกันใหม่หลังจากนี้อีก 15 วัน ต่อมาอีก 1 เดือน

นายจันทร์ได้ขอให้นายอังคารไปจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินแปลงนี้ นายอังคารกลับปฏิเสธและไม่ขาย เพราะเห็นว่าบ้านและที่ดินมีราคาท้องตลาดสูงขึ้นมาก นายจันทร์มาถามท่านว่า นายจันทร์จะมีสิทธิเรียกร้องบ้านและที่ดินแปลงนี้จากนายอังคารได้หรือไม่
ดังนี้ ตามข้อเท็จจริงนี้ ท่านจะให้คำตอบแก่นายจันทร์อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

วินิจฉัยกรณี ตามอุทาหรณ์ สัญญาระหว่างนายจันทร์กับนายอังคารเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และคู่สัญญาได้ตกลงซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีเจตนาที่จะไปโอน หรือไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลังแต่อย่างใดและ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายบัญญัติให้คู่สัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคแรก แต่เมื่อได้ความว่านายจันทร์กับนายอังคารทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อบ้านและ ที่ดินเพียงอย่างเดียว โดยยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นสัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินยังไม่ถือว่าทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมาย บังคับไว้ตามมาตรา456 วรรคแรก สัญญานี้ย่อมตกเป็นโมฆะ ถือว่าไม่มีสัญญาซื้อขายที่ดินต่อกัน นายจันทร์จะเรียกร้องบ้านและที่ดินแปลงนี้จากนายอังคารไม่ได้สรุป นายจันทร์จะเรียกร้องบ้านและที่ดินแปลงนี้จากนายอังคารไม่ได้

ข้อ 2 นายสดไปซื้อของใช้สำนักงานจากการขายทอดตลาดของนายใส ได้เครื่องคอมพิวเตอร์มา 5 เครื่อง เครื่องถ่ายเอกสารรุ่นสามารถมหัศจรรย์มา 2 เครื่อง หลังจากนั้นปรากฏว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 ใน 5 เครื่อง ทำงานเชื่องช้าขาดตกบกพร่องไม่เป็นไปตามความสามารถของคอมฯรุ่นนี้พึงจะทำได้ และ 1 ใน 2 ของเครื่องถ่ายเอกสาร นายแสงมาขอคืน โดยมีเอกสารยืนยันว่าเป้นของตนซึ่งถูกขโมยมา นายสดก็คืนให้ไปนายสดจะฟ้องนายใสให้รับผิดในความชำรุดบกพร่อง และการรอนสิทธิที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใดธงคำตอบหลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด

มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดย ปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 ใน 5 เครื่องที่นายสดซื้อมาจะชำรุดบกพร่อง แต่นายสดจะฟ้องร้องให้นายใสผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้ เพราะเป็นการซื้อจากการขายทอดตลาดตามมาตรา 473(3) ประกอบมาตรา 472 ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้ตรวจดูทรัพย์สินก่อนซื้อขาย

ส่วน กรณีการรอนสิทธินั้นตามมาตรา 475 วางหลักไว้ว่า ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาได้โดยปกติสุข เพราะมีบุคคลอื่นที่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ ซึ่งความรับผิดในการรอนสิทธิของผู้ขายนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ไม่ใช่โดยสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายใสได้ขายเครื่องถ่ายเอกสาร 2 เครื่องให้นายสดไปแล้ว แต่นายสดไม่สามารถครอบครองเครื่องถ่ายเอกสารโดยปกติสุข เพราะนายแสงเจ้าของที่แท้จริงมาขอคืนเครื่องถ่ายเอกสาร 1 ใน 2 เครื่องคืน กรณีจึงเป็นการรบกวนขัดสิทธิของนายสดที่จะครอบครองเครื่องถ่ายเอกสารนี้โดย ปกติสุข จึงถือว่านายสดถูกรอนสิทธิ ดังนั้น นายสดจึงฟ้องให้นายใสรับผิดกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้

สรุป นายสดจะฟ้องนายใสให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้ แต่ฟ้องเพราะเหตุที่ถูกรอนสิทธิได้

 

 

ข้อ 3 นายไก่นำลูกช้าง 4 เชือก ไปขายฝากไว้กับนายไข่โดยทำสัญญากันเองในราคาเชือกละ 1 แสนบาท ไถ่คืนภายในกำหนด 3 ปี ในราคาเชือกละ 2 แสนบาท เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี นายไก่ไปขอใช้สิทธิไถ่คืนพร้อมเงิน 5 แสน 8 หมื่นบาทถ้วน นายไข่ปฏิเสธโดยอ้างว่า สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ ตนมีสิทธิครอบครองถึงจะไถ่ก็ไถ่ไม่ได้เพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลา สินไถ่ไม่ครบ คำปฏิเสธของนายไข่รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

มาตรา 494 ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

 

มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้า ปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้ จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ ลูกช้างเป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา การขายฝากจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นคู่กรณีสามารถทำสัญญากันเองได้และมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคแรก

ส่วนการที่นายไก่ไปขอสิทธิไถ่นั้น นายไข่จะปฏิเสธไม่ได้ เพราะเหตุว่านายไก่ได้ขอใช้สิทธิในการไถ่ภายในกำหนดระยะเวลา 3 ปีตามมาตรา 494(2) และในส่วนเงินสินไถ่นั้นตามมาตรา 499 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่ แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี ดังนั้นเมื่อนายไก่นำเงิน 5 แสน 8 หมื่นบาท เป็นสินไถ่นั้นจึงเป็นจำนวนเงินที่ถูกต้อง กล่าวคือ ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี เท่ากับ 5 แสน 8 หมื่นบาทตามมาตรา 499

ดังนั้น เมื่อนายไก่ได้ไปขอใช้สิทธิภายในกำหนดเวลา และเงินสินไถ่ก็ครบตามที่กฎหมายกำหนด คำปฏิเสธของนายไข่จึงรับฟังไม่ได้

สรุป คำปฏิเสธของนายไข่รับฟังไม่ได้

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ ภาคฤดูร้อน/2552

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่มีเงินไม่ครบจึงมีข้อตกลงกันว่าให้นายไข่ผ่อนชำระค่าที่ดินเป็น 5 งวดๆละ 2 แสนบาท เป็นเวลา 5 เดือน เมื่อชำระเงินครบนายไก่ก็จะไปโอนบ้านและที่ดินให้ ต่อมาเมื่อนายไข่ชำระเงินครบ 1 ล้านบาท นายไก่ไม่ยอมไปโอนที่ดินให้เพราะนายนกมาขอซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวในราคา 2 ล้านบาท
(1) สัญญาระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน
(2) นายไข่จะฟ้องให้นายไก่ไปโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
 
ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคำมั่นใน การซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
วินิจฉัยโดย หลัก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิด พิเศษ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็สามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ตามมาตรา 456 วรรคสอง

กรณีตามอุทาหรณ์(1) การที่นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท โดยมีข้อตกลงกันว่าให้นายไข่ผ่อนชำระค่าที่ดินเป็น 5 งวดๆละ 2 แสนบาท เป็นเวลา 5 เดือน เมื่อชำระเงินครบนายไก่ก็จะไปโอนบ้านและที่ดินให้ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะให้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินโอนไปในขณะทำสัญญาซื้อ ขาย แต่มีเจตนาจะไปทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กันในภายหลัง ดังนั้น สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ตามมาตรา 456 วรรคสอง(2) ส่วนประเด็นที่ว่านายไข่จะฟ้องให้นายไก่ไปโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้หรือไม่ นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไข่ได้ชำระเงินให้นายไก่ครบ 1 ล้านบาทแล้ว จึงถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่นั้น มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีคือได้มีการชำระหนี้กันบางส่วนแล้ว ดังนั้นเมื่อนายไก่ผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินให้นายไข่ นายไข่จึงสามารถฟ้องร้องให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้ตาม มาตรา 456 วรรคสอง

สรุป
(1) สัญญาซื้อบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
(2) นายไข่สามารถฟ้องร้องให้นายไก่ไปจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินให้ตนได้

 


ข้อ
 2 นายนกซื้อรถยนต์จากการขายทอดตลาดของนายมา 1 คัน ในราคา 1 แสนบาท ก่อนขายนายหนูทราบดีว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับระบบเบรก หลังซื้อขายและส่งมอบ นายนกจึงพบว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับสาบเบรก นายนกจะฟ้องนายหนูให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้หรือไม่

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด

วินิจฉัย

โดย หลัก ผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่ขายนั้นเสื่อมราคา เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ หรือเสื่อมประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา ไม่ว่าผู้ขายจะรู้หรือไม่รู้ว่าทรัพย์สินที่ขายนั้นมีความชำรุดบกพร่องอยู่ (มาตรา 472)

กรณีตามอุทาหรณ์ นายนกซื้อรถยนต์ของนายหนูมา 1 คัน หลังจากซื้อขายและส่งมอบแล้ว นายนกได้พบว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับสายเบรก ซึ่งโดยหลักแล้ว นายนกสามารถจะฟ้องนายหนูให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ตามมาตรา 472 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นายนกซื้อรถยนต์มาจากนายหนูนั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาดของนาย หนู ซึ่งตามมาตรา 473(3) ถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่อง ดังนั้น กรณีดังกล่าวเมื่อมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นกับรถยนต์ที่ซื้อขาย นายนกจะฟ้องให้นายหนูผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้ตามมาตรา 472 ประกอบมาตรา 473(3) แม้นายหนูผู้ขายจะไม่สุจริตก็ตาม

สรุป นายนกจะฟ้องนายหนูให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

 

ข้อ 3 นายช้างนำความ 2 ตัวไปทำเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายม้า ในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท ไถ่คืนในราคาเดิมบวกประโยชน์15 เปอร์เซ็นต์ หลังรับซื้อฝากไว้แล้วนายม้าก็นำความ 1 ตัวที่รับซื้อฝากไปฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขกในงานขึ้นบ้านใหม่ เมื่อนายช้างมาขอไถ่ความคืน จึงเหลือความเพียง 1 ตัว นายช้างจะฟ้องเรียกราคาความที่ถูกฆ่าตายจากนายม้าเป็นเงิน 4 หมื่นบาท และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการไถ่ความคืนไม่ได้อีก 5 พันบาท ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 501 ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

วินิจฉัย

โดย หลัก ผู้ซื้อฝากจะต้องสงวนรักษาทรัพย์สินที่ซื้อฝากอย่างวิญญูชนทั่วไปจะพึงสงวน รักษาและใช้ทรัพย์สินของตน และต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทำลาย ทำให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝากก็จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน (มาตรา 501)

กรณีตามอุทาหรณ์ นายช้างนำควาย 2 ตัวไปทำเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายม้าในราคาตัวละ 4 หมื่นบาท โดยหลักแล้ว นายม้าซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็มีหน้าที่จะต้องดูแลรักษาควาย 2 ตัวที่รับซื้อฝากอย่างเช่นวิญญูชนทั่วไปจะพึงกระทำ แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังรับซื้อฝากไว้แล้วนายม้าได้นำควาย 1 ตัวที่รับซื้อฝากไปฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขกในงานขึ้นบ้านใหม่ กรณีนี้จึงถือได้ว่าทรัพย์สินที่ขายฝากถูกทำลายไปเพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก เมื่อนายช้างมาขอไถ่ควายคืนแต่เหลือควายเพียงตัวเดียว นายช้างจึงสามารถฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการไถ่ควายคืนไม่ได้เป็นจำนวน 5 พันบาทได้ตามมาตรา 501 แต่จะฟ้องเรียกราคาควายที่ถูกฆ่าตายจากนายม้าเป็นเงิน 4 หมื่นบาทไม่ได้ เพราะราคาควายที่ขายฝากนายช้างได้รับไปแล้วตั้งแต่เวลาขายฝาก

สรุป นายช้างจะฟ้องเรียกราคาควายที่ถูกฆ่าตายจากนายม้าเป็นเงิน 4 หมื่นบาทไม่ได้ แต่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการไถ่ควายคืนไม่ได้จำนวน 5 พันบาทได้ 

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 1/2553

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายจันทร์ได้บอกขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของตนแปลงหนึ่งให้นายอังคารในราคา 5 ล้านบาท นายอังคารตกลงซื้อ 
นายจันทร์ได้ส่งมอบที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารพร้องกับรับชำระราคา นายอังคารอยู่ในที่ดินแปลงนี้มาได้ 6 เดือน นายพุธอยากได้ที่แปลงนี้และได้ติดต่อขอซื้อจากนายจันทร์ในราคา 10 ล้านบาท นายจันทร์ขอให้นายพุธไปพบที่สำนักงานที่ดินทั้งคู่ได้มาที่สำนักงานที่ดิน และทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงนี้ในราคา 10 ล้านบาท 
พร้อมกับยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธินิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดิน นายอังคารทราบข่าวและมายื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าตนได้ซื้อไว้ อยู่ก่อน ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินอย่ารับจดทะเบียน นายพุธขอให้นายจันทร์ไปตกลงกับนายอังคารให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยมาจด ทะเบียนกันให้และทั้งคู่ยื่นคำขอถอนคำขอจดทะเบียนจากเจ้าพนักงานที่ดิน ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้มีราคาท้องตลาดสูงขึ้นมากถึง 20 ล้านบาท 

นายจันทร์อยากได้ที่ดินแปลงนี้คืนจากนายอังคาร และมาขอให้นายอังคารคืนที่แปลงนี้ นายอังคารไม่ยอมคืน นายจันทร์ยื่นฟ้องต่อศาลขอให้บังคับขับไล่นายอังคารให้ออกไปจากที่แปลงนี้ ส่วนนายพุธก็มาขอให้นายจันทร์ไปจดทะเบียนโอนที่แปลงนี้ แต่นายจันทร์ก็ไม่ยอมดังนี้ ถ้านายอังคารมาถามท่านว่า คดีนี้ตนจะมีทางต่อสู้ให้ชนะคดีได้หรือไม่ และนายพุธก็มาถามท่านเช่นเดียวกันว่า นายพุธจะเรียกร้องให้นายจันทร์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้ตนได้หรือไม่ ท่านจะให้คำตอบนายอังคารกับนายพุธอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

วินิจฉัย

โดย หลัก การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายได้บัญญัติให้คู่สัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก

ตามอุทาหรณ์ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายจันทร์กับนายอังคารเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ด ขาดในอสังหาริมทรัพย์ เพราะคู่สัญญาได้ตกลงซื้อขายเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนโอนกันในภายหน้า เมื่อได้ความว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก แต่อย่างไรก็ตามที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) นั้นมีเพียงสิทธิครอบครอง เมื่อนายจันทร์ได้ส่งมอบที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารแล้ว ถือว่านายจันทร์สละสิทธิครอบครองด้วยการส่งมอบตามมาตรา 1377 ประกอบมาตรา 1378 นายอังคารจึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงนี้ ดังนั้น การที่นายจันทร์ยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ขับไล่นายอังคารให้ออกไปจากที่แปลงนี้ นายอังคารย่อมสามารถยกข้อต่อสู้กับนายจันทร์ได้ว่าตนได้ที่ดินแปลงนี้โดยทาง สิทธิครอบครองแล้ว

ส่วนในกรณีสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายจันทร์กับ นายพุธก็เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน เพราะคู่สัญญาได้ตกลงซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วโดยไม่มีเจตนาจะไปจด ทะเบียนโอนกันในภายหน้า เมื่อได้ความว่าคู่สัญญาได้ทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังไม่ได้ รับจดทะเบียนให้ ดังนั้นสัญญาซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก ซึ่งถือว่าไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินกัน ดังนั้น นายพุธจะเรียกร้องให้นายจันทร์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ตนไม่ได้

สรุป ข้าพเจ้าจะให้คำตอบแก่นายอังคารกับนายพุธตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 กันยาได้เช่าซื้อรถยนต์คันหนึ่งมาจากบริษัทค้ารถยนต์ และขายต่อไปให้สิงหา โดยยังไม่ได้โอนทะเบียนรถยนต์คันนั้นให้เป็นชื่อของสิงหา โดยสิงหาไม่ทราบว่ารถยนต์คันนั้นกันยาเช่าซื้อมาและยังจ่ายค่าเช่าซื้อไม่ครบ

ต่อมาสิงหาได้ขายต่อไปให้ตุลา โดยสิงหาบอกกับตุลาว่าทะเบียนยังอยู่กับกันยาขอผลัดวันที่จะนำทะเบียนมาสลัก หลังโอนให้ตุลาภายหลัง

และตกลงในสัญญาซื้อขายว่าสิงหาจะไม่รับผิดในการรอนสิทธิในรถยนต์คันนั้น ตุลาจึงชำระราคาค่ารถยนต์ให้สิงหาเพียงครึ่งเดียวก่อน ถ้านำทะเบียนมาให้เรียบร้อยจึงจะชำระราคาที่เหลือให้ ต่อมากันยาไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัทค้ารถยนต์เกินกว่าสองงวดเป็นการ ผิดสัญญา พนักงานบริษัทจึงได้มายึดรถคันนั้นไปจากตุลา ตุลาจะฟ้องร้องให้สิงหารับผิดในการรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดย ปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

มาตรา 483 คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้

มาตรา 485 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย

วินิจฉัย

การ รอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกัน อยู่ในเวลาซื้อขาย ได้เข้ามาขัดสิทธิให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินโดยปกติสุขได้ตามมาตรา 475 กำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดเพราะเหตุการณ์รอนสิทธินั้น แต่ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายอาจทำความตกลงกันว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพราะการ รอนสิทธิก็ได้ตามมาตรา 483

อย่างไรก็ตามข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิด นั้น ไม่อาจคุ้มครองผู้ขายได้ หากการรอนสิทธินั้นเกิดขึ้นเพราะการกระทำของผู้ขายเอง หรือผู้ขายรู้ความจริงแหง่การรอนสิทธิแล้วปกปิดเสียตามมาตรา 485

ตาม อุทาหรณ์ การที่พนักงานบริษัทได้มายึดรถคันดังกล่าวไปจากตุลานั้น ถือว่าเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกัน อยู่ในเวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิทำให้ผู้ซื้อ คือตุลา ไม่สามารถครองทรัพย์สินโดยปกติสุข จึงเป็นการรอนสิทธิตามมาตรา 475 ซึ่งผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด และตามอุทาหรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในสัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างสิงหากับตุลานั้นได้มี การตกลงกันว่าสิงหาผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิในรถยนต์คันนั้นแล้ว ดังนั้นตกลงจะฟ้องร้องให้สิงหารับผิดในการรอนสิทธิไม่ได้ตามมาตรา 483

ทั้ง กรณีดังกล่าว การรอนสิทธิก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของผู้ขายเอง หรือผู้ขายรู้ความจริงแห่งการรอนสิทธิแล้วปกปิดเสียแต่อย่างใด เพราะสิงหาไม่ทราบว่ารถยนต์คันนั้นกันยาเช่าซื้อมาและยังจ่ายค่าเช่าซื้อไม่ ครบ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตามมาตรา485

สรุป ตุลาจะฟ้องร้องให้สิงหารับผิดในการรอนสิทธิที่เกิดขึ้นไม่ได้

 

ข้อ 3 สุดขายที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้สวย สุดส่งมอบที่ดินให้สวยครอบครอง และสุดจะมาขอซื้อที่ดินแปลงนี้คืนในภายหลังในราคาที่ขายไป สุดและสวยได้ทำสัญญาซื้อขายไว้พร้อมกับส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์และ ที่ดินให้สวยครอบครองอย่างเจ้าของ หลังจากนั้นผ่านมาหกเดือน สดมีเงินแต่ไม่ครบตามราคาที่ขายไป จึงมาขอซื้อที่ดินแปลงนั้นคืนโดยการขอผ่อนชำระเป็นงวด เป็นเวลาสี่งวด แต่สวยปฏิเสธไม่ยอมคืนที่ดินแปลงนี้ให้สุด สุดจะมาฟ้องร้องเรียกที่ดินแปลงนี้คืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

วินิจฉัย

สัญญา ขายฝากนั้นถือเป็นสัญญาซื้อขายประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ ถ้าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องทำตามแบบตามมาตรา 456 วรรคแรก คือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ

ตามอุทาหรณ์ การที่สุดขายที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้สวย โดยตกลงกันว่าสุดผู้ขายจะมาขอซื้อที่ดินแปลงนี้คืนในภายหลังในราคาที่ขายไป จึงถือว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 491

แต่ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า สุดและสวยเพียงทำสัญญาซื้อขายไว้พร้อมกับส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และที่ดินให้สวยครอบครองเท่านั้น เมื่อไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคแรก ประกอบมาตรา 491

เมื่อสัญญา ขายฝากตกเป็นโมฆะ คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการทำสัญญากัน ดังนั้นสุดจึงมาฟ้องเรียกที่ดินแปลงนี้คืนจากสวยได้ในฐานะลาภมิควรได้

สรุป สุดฟ้องเรียกที่ดินแปลงนี้คืนได้ในฐานะลาภมิควรได้

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 2/2553

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้


คำแนะนำ
 ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ

ข้อ 1
(ก) หากท่านต้องการซื้อแม่หมู 1 ตัว จากฟาร์มเลี้ยงหมูของนายแดงและประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในแม่หมูตั้งแต่ขณะทำ สัญญา ท่านมีหลักเกณฑ์อย่างไร

(ข) นายจันทร์ขายรถยนต์ของตนคันหนึ่งให้นายอังคารในราคา 300,000 บาท นายอังคารตอบตกลงซื้อ นายจันทร์ส่งมอบรถยนต์ให้นายอังคารแล้ว แต่นายอังคารไม่ยอมชำระราคา นายจันทร์ขอให้นายอังคารคืนรถยนต์ นายอังคารไม่ยอมคืน นายจันทร์ฟ้องขอให้ศาลบังคับนายอังคารให้นายอังคารคืนรถยนต์ นายอังคารได้รับสำเนาฟ้องแล้ว นายอังคารมาถามท่านว่า คดีนี้นายอังคารจะมีทางชนะคดีหรือไม่

ดังนี้ ท่านจะให้คำตอบแก่นายอังคารอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน


มาตรา 460 ในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอนนั้น ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้ว
ใน การซื้อขายทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องนับ ชั่ง ตวง วัด หรือทำการอย่างอื่นหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินเพื่อให้รู้ กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าการหรือสิ่งนั้นได้ทำแล้วจาก หลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ถ้าข้าพเจ้าต้องการซื้อแม่หมู 1 ตัว จากฟาร์มเลี้ยงหมูของนายแดง และประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในแม่หมูตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 458 นั้น สัญญาซื้อขายแม่หมูซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องได้กระทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 460 ด้วย ได้แก่(1) ทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันจะต้องเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง หรือทรัพย์ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นที่แน่นอนแล้ว และ
(2) มีการกำหนดราคาทรัพย์สินนั้นเป็นที่แน่นอนแล้ว(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายมาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ขายรถยนต์ให้นายอังคารในราคา 300,000 บาท และนายอังคารตอบตกลงซื้อนั้น ถือว่านายจันทร์และนายอังคารได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว และโดยผลของกฎหมายตามมาตรา 458 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายกัน ย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อคือนายอังคารแล้วตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขาย กัน และเมื่อนายจันทร์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้นายอังคารแล้ว แต่นายอังคารไม่ยอมชำระราคาซึ่งเป็นการผิดสัญญานั้น นายจันทร์ก็ชอบที่จะฟ้องให้นายอังคารชำระราคาค่ารถยนต์ได้ตามมาตรา 453 แต่จะฟ้องให้นายอังคารคืนรถยนต์ให้แก่ตนไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นได้ตกเป็นของนายอังคารผู้ซื้อแล้ว หาใช่ของนายจันทร์ไม่ ดังนั้นเมื่อนายจันทร์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้นายอังคารคืนรถยนต์ นายอังคารย่อมมีทางชนะคดีโดยการต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นเป้นของนาย อังคารแล้วตามมาตรา 458

สรุป คดีนี้นายอังคารมีสิทธิชนะคดีโดยการต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นเป็นของนายอังคารแล้ว

ข้อ 2 นายไก่นำรถยนต์โบราณซึ่งตนสะสมไว้ออกขายทอดตลาด ในการขายทอดตลาดครั้งนี้นายไก่ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ถ้าเกิดชำรุดบกพร่องหรือรอนสิทธิอย่างใดๆขึ้น นายไก่จะไม่รับผิดชอบอย่างใดๆทั้งสิ้น ทั้งๆที่นายไก่ทราบดีว่ารยนต์คันไหนชำรุดบกพร่อง คันไหนอาจจะถูกรอนสิทธิเพราะเป็นรถยนต์ที่ขโมยมาขายแก่ตน นายไข่และนายขวดประมูลรถได้คนละคัน หลังส่งมอบรถยนต์ซึ่งนายไข่ได้ไป เครื่องยนต์บกพร่องติดๆดับๆ ส่วนรถยนต์ซึ่งนายขวดซื้อทอดตลาดไปนายดำเจ้าของแท้จริงมาติดตามเอาคืนเพราะ เป็นรถยนต์ของตนที่ถูกขโมยไปนายข่ นายขวด จะฟ้องให้นายไก่รับผิดกรณีชำรุดบกพร่องรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใดธงคำตอบหลักฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิดมาตรา 473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะ ได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน
(2) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน
(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด

มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดย ปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

มาตรา 483 คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้

มาตรา 485 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย

วินิจฉัย

ความ รับผิดในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิดถ้าทรัพย์สินที่ขายชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุ ให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องเกิดขึ้นก่อน ที่กรรมสิทธิ์จะตกเป้นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดี ผู้ขายก็ไม่จำต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตาม อุทาหรณ์ การที่นายไข่ได้รับมอบรถยนต์ซึ่งได้ซื้อจากนายไก่ และปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าว เครื่องยนต์บกพร่องติดๆดับๆ ซึ่งถือว่ารถยนต์ที่ตกลงซื้อขายกันนั้นมีความชำรุดบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักนายไก่ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อนายไข่ผู้ซื้อตามมาตรา 472 แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้นายไข่จะฟ้องให้นายไก่รับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้ เนื่องจากรถยนต์ที่นายไข่ซื้อจากนายไก่นั้นเป็นการซื้อขายจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามมาตรา 473(3)

ส่วนความรับผิดในการรอนสิทธิตามมาตรา 475 นั้น เป็นกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ใน เวลาซื้อขาย ได้เข้ามารบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข ซึ่งโดยหลักแล้วผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ เว้นแต่ผู้ขายและผู้ซื้อจะได้ตกลงกันไว้ว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพราะการรอน สิทธินั้นตามมาตรา 483

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงที่ว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มครองผู้ขายถ้าการรอนสิทธินั้นได้เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ขาย หรือในกรณีที่ผู้ขายได้รู้ถึงการรอนสิทธินั้น แต่ได้ปกปิดไม่บอกให้ผู้ซื้อได้รู้ตามมาตรา 485

ดังนั้นกรณีตาม อุทาหรณ์ การที่นายขวดผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ คือได้ถูกนายดำเจ้าของที่แท้จริงของรถยนต์คันที่นายขวดซื้อมาจากนายไก่ได้ ติดตามเอาคืนไป ดังนี้นายขวดย่อมสามารถฟ้องนายไก่ให้รับผิดกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้ ทั้งนี้เพราะแม้จะมีข้อตกลงกันไว้ว่า นายไก่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดก็ตาม แต่เมื่อนายไก่ผู้ขายได้ทราบดีอยู่แล้วว่ารถยนต์คันที่ขายให้แก่นายขวดนั้น เป็นรถยนต์ที่ถูกขโมยมา แต่ได้ปกปิดไม่แจ้งให้นายขวดทราบ ถือได้ว่านายไก่ไม่สุจริตจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้นนายไก่จึงต้องรับผิดตามมาตรา 475 483 และ485

สรุป
นายไข่ฟ้องให้นายไก่รับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้
นายขวดฟ้องให้นายไก่รับผิดในกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้

 

ข้อ 3 นายจันทร์นำช้าง 2 เชือกไปทำเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากนายอังคารไว้ในราคาเชือกละ 5 แสนบาท มีกำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี กำหนดสินไถ่ในราคา 6 แสนบาทต่อเชือก ก่อนครบ 1 ปี ช้างเชือกหนึ่งตกมันวิ่งออกนอกถนนถูกรถบรรทุกชนตาย เหลือเพียง 1 เชือก

(1) นายจันทร์จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ช้างตาย 1 แสนบาท จากนายอังคารได้หรือไม่ โดยอ้างว่าตนไม่สามารถไถ่ช้างคืนได้
(2) ส่วนอีกเชือกนายจันทร์นำเงิน 5 แสน 7 หมื่น 5 พันบาทถ้วน ไปขอไถ่ช้างคืน นายอังคารปฏิเสธ คำปฏิเสธของนายอังคารรับฟังได้หรือไม่ว่าสินไถ่ไม่ครบ

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้า ปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้ จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี

มาตรา 501 ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่าทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือทำให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

(1) การที่ช้างเชือกหนึ่งตกมันวิ่งออกไปนอกถนนและถูกรถบรรทุกชนตายนั้น เป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งมิใช่ความผิดของนายอังคารผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 501 ดังนั้นนายจันทร์จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ช้างถูกรถบรรทุกชนตายจากนาย อังคารไม่ได้

(2) การที่นายจันทร์ได้นำเงินสินไถ่ 5 แสน 7 หมื่น 5 พันบาทถ้วนไปขอไถ่ช้างอีกเชือกหนึ่งคืน แต่นายอังคารปฏิเสธนั้น คำปฏิเสธของนายอังคารที่ว่าสินไถ่ไม่ครบนั้นรับฟังไม่ได้ ทั้งนี้เพราะตอนที่มีการทำสัญญาขายฝากและได้กำหนดสินไถ่ไว้ในราคา 6 แสนบาทนั้น ถือว่าสินไถ่ที่กำหนดไว้นั้นสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งมาตรา 499 ได้กำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นการที่นายจันทร์ได้นำเงินสินไถ่ 5 แสน 7 หมื่น 5 พันบาทถ้วนไปขอไถ่ ถือว่าสินไถ่นั้นครบถ้วนแล้วสรุป
(1) นายจันทร์จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ช้างตาย 1 แสนบาทจากนายอังคารไม่ได้
(2) คำปฏิเสธของนายอังคารที่ว่าสินไถ่ไม่ครบนั้นรับฟังไม่ได้

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ ภาคฤดูร้อน/2553

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

 
คำแนะนำ
 ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อ
ข้อ 1 นายไก่ตกลงขายบ้านเรือนไทยซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบโบราณ และสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังให้แก่นายไข่ในราคา 5 ล้านบาท โดยตกลงกันว่าจ่ายก่อน 3 ล้านบาท อีก 2 ล้านบาท จะจ่ายให้ในวันที่นายไข่มารื้อเรือนไป เมื่อถึงกำหนดวันรื้อเรือน นายไก่ไม่ยอมให้รื้อเพราะมีคนมาเสนอซื้อในราคา 10 ล้านบาท

1) สัญญาซื้อขายระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายประเภทไหน และมีผลในทางกฎหมายอย่างไร
2) นายไข่จะฟ้องให้นายไก่ปฏิบัติตามสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย


มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคำมั่นใน การซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่น บาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ พิจารณาได้ดังนี้

1) สัญญาซื้อขายบ้านเรือนไทยระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ด ขาดเพราะการซื้อขายโดยการรื้อถอนออกไปนั้น ถือเป็นการซื้อขายอย่างสังหาริมทรัพย์ และสัญญาซื้อขายดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดานั้นไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด (มาตรา 453)

2) นายไข่จะฟ้องให้นายไก่ปฏิบัติตามสัญญาได้หรือไม่นั้น เห็นว่า เมื่อการซื้อขายบ้านดังกล่าวเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีราคา ตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป และมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี คือ การชำระหนี้บางส่วน ซึ่งก็คือเงิน 3 ล้าน ที่นายไข่ได้ชำระให้แก่นายไก่ในวันทำสัญญา ดังนั้น เมื่อถึงกำหนดวันรื้อเรือน นายไก่ไม่ยอมให้รื้อ นายไข่ก็สามารถฟ้องให้นายไก่ปฏิบัติตามสัญญาได้ (มาตรา456 วรรคสองและวรรคสาม)

สรุป
1) สัญญาซื้อขายระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
2) นายไข่ฟ้องให้นายไก่ปฏิบัติตามสัญญาได้

 

ข้อ 2 นายมดซื้อรถยนต์ 1 คัน มาจากการขายทอดตลาดของนายปลวก หลังจากส่งมอบรถยนต์ได้เพียง 1 อาทิตย์ นางมอดก็พาตำรวจมาติดตามเอารถยนต์ของตนคืนโดยอ้างว่ารถยนต์ถูกขโมยมา นายมดตรวจสอบหลักฐานต่างๆแล้วจึงยอมคืนรถยนต์ให้แก่นางมอดไป

1) นายมดจะฟ้องให้นายปลวกรับผิดชอบว่าตนถูกรอนสิทธิได้หรือไม่
2) ถ้าฟ้องได้จะต้องฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 475 หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดย ปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อ ขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น

มาตรา 481 ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับ แต่วันคำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น

วินิจฉัย

การ รอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกัน อยู่ในเวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินโดย ปกติสุขได้ ซึ่งตามมาตรา 475 กำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดเพราะเหตุการรอนสิทธินั้น แต่ถ้าหากผู้ซื้อได้ยอมตามที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือกว่านั้นเรียกร้อง แล้ว ผู้ซื้อจะต้องฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธินั้นภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ยอมความดังกล่าว มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟ้องคดีได้ตามมาตรา 481

กรณีตามอุทาหรณ์ พิจารณาได้ดังนี้

1) นายมดจะฟ้องให้นายปลวกรับผิดชอบว่าตนถูกรอนสิทธิได้หรือไม่นั้น เห็นว่า การที่นางมอดพาตำรวจมาติดตามเอารถยนต์ของตนคืนจากนายมดนั้น ถือเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ใน เวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิทำให้ผู้ซื้อคือ นายมดไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข จึงเป็นการรอนสิทธิตามมาตรา 475 ซึ่งผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ ดังนั้น นายมดจึงฟ้องให้นายปลวกรับผิดชอบว่าตนถูกรอนสิทธิได้

2) เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายมดได้ยอมคืนรถยนต์ให้แก่นางมอดไป จึงถือเป็นกรณีที่ผู้ซื้อซึ่งถูกรอนสิทธิได้ยอมตามที่บุคคลภายนอกซึ่งมี สิทธิเหนือกว่านั้นเรียกร้องแล้ว ดังนั้น นายมดจึงต้องฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธินั้นภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ยอมดังกล่าวตามมาตรา 481

สรุป
1) นายมดฟ้องให้นายปลวกรับผิดชอบว่าตนถูกรอนสิทธิได้
2) นายมดจะต้องฟ้องภายในกำหนดระยะเวลา 3 เดือน

 

ข้อ 3 นายอาทิตย์นำบ้านและที่ดินของตนไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากไว้กับนาง จันทร์ในราคา 1 ล้านบาท มีกำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี และกำหนดสินไถ่ไว้ 2 ล้านบาท ก่อนครบ ปี นายอาทิตย์ไปขอไถ่ทรัพย์คืนพร้อมเงิน 1,150,000 บาท นางจันทร์ปฏิเสธโดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปี และสินไถ่ไม่ครบ คำปฏิเสธของนางจันทร์รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคแรก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

มาตรา 494 ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้า ปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้ จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์นำบ้านและที่ดินของตนไปขายฝากไว้กับนางจันทร์ในราคา 1 ล้านบาท มีกำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปีนั้น เมื่อทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นสัญญาขายฝากที่ ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคแรก)

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ว่า นายอาทิตย์ได้ไปขอไถ่ทรัพย์คืนพร้อมเงิน 1,150,000 บาท ดังนี้ นางจันทร์จะปฏิเสธไม่ได้ เพราะเหตุว่านายอาทิตย์ได้ขอใช้สิทธิในการไถ่ก่อนครอบ 1 ปี และภายในระยะเวลาที่กำหมายกำหนด (มาตรา 494(1)) และในส่วนเงินสินไถ่นั้นตามมาตรา499 วรรคสอง ได้กำหนดไว้ว่า ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่ แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวม ประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี ดังนั้น เมื่อมีการกำหนดสินไถ่ไว้ 2 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี การที่นายอาทิตย์นำเงิน 1,150,000 บาท มาเป็นสินไถ่จึงเป็นจำนวนเงินที่ถูกต้องแล้ว กล่าวคือ ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี เท่ากับ 1,150,000 บาท (มาตรา 499 วรรคสอง) ดังนั้นคำปฏิเสธของนางจันทร์ที่ว่ายังไม่ครบ 1 ปี และสินไถ่ไม่ครบจึงรับฟังไม่ได้

สรุป คำปฏิเสธของนางจันทร์รับฟังไม่ได้

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 1/2554

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2005
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี 3 ข้อข้อ 1 นายจันทร์ขายที่ดินมีโฉนดของตนแปลงหนึ่งให้นายอังคารในราคา 5 ล้านบาท นายอังคารตอบตกลงซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่า นายจันทร์จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารในวันที่ 1 เดือนหน้า 
นายจันทร์ได้ส่งมอบที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารพร้อมกับรับชำระราคา และทั้งคู่ได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือ ถึงวันนัดโอน นายจันทร์ก็หาได้ไปจดทะเบียนที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคาร นายอังคารอยู่ในที่ดินแปลงนี้มาได้ 12 ปี 
ที่ดินแปลงนี้มีราคาท้องตลาดสูงขึ้นมาก นายจันทร์อยากได้ที่ดินคืนและมาขอให้นายอังคารคืนที่ดินแปลงนี้ นายอังคารไม่ยอมคืน นายจันทร์ยื่นฟ้องนายอังคาร ให้ศาลบังคับขับไล่นายอังคารให้ออกไปจากที่ดินแปลงนี้ 
นายอังคารได้รับสำเนาฟ้องแล้วมาถามท่านว่า นายอังคารจะมีทางต่อสู้คดีให้ชนะนายจันทร์ได้หรือไม่ และจะมีทางแก้อย่างไร ดังนี้ ท่านจะให้คำตอบนายอังคารอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี

มาตรา 456 วรรคแรกและวรรคสอง การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคำมั่นใน การซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับ ผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ทำสัญญาขายที่ดินมีโฉนดของตนแปลงหนึ่งให้กับนายอังคาร โดยตกลงกันว่านายจันทร์จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้นายอังคารในวันที่ 1 เดือนหน้านั้น สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะเป็นการซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์และคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่ จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่กันในขณะทำสัญญาซื้อขาย แต่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้า และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ จึงสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามมาตรา 456 วรรคสอง

และจากข้อ เท็จจริง การที่นายจันทร์ได้ส่งมอบที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารครอบครอง และนายอังคารได้อยู่ในที่ดินแปลงนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น จะถือว่านายอังคารเจตนาจะยึดถือที่ดินเพื่อตนไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการยึดถือแทนนายจันทร์ และแม้นายอังคารจะอยู่ในที่ดินมาได้ 12 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (ตามมาตรา 1382) ดังนั้น เมื่อนายจันทร์ผิดนัดไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญา และได้ยื่นฟ้องขับไล่นายอังคารให้ออกจากที่ดิน นายอังคารก็ชอบที่จะต่อสู้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และขอให้ศาลบังคับนายจันทร์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้นายอังคารฐานผิด สัญญาจะซื้อจะขายได้

แต่อย่างไรก็ตาม นายอังคารจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องให้นายจันทร์ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวภายใน อายุความ 10 ปี นับแต่วันที่นายจันทร์ผิดสัญญาตามมาตรา 193/30 หากนายอังคารเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องของนายอังคารย่อมขาดอายุความ ซึ่งจะทำให้นายอังคารแพ้คดีและถูกขับไล่ออกไปจากที่ดินแปลงนี้

สรุป ข้าพเจ้าจะให้คำตอบนายอังคารดังที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 2 อาทิตย์กำลังสร้างโรงแรมที่จังหวัดแห่งหนึ่ง จึงตกลงซื้อผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนเป็นชุดขาวทั้งชุด จำนวน 100 ชุด จากโรงงานของเสาร์ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งหมดราคา 120,000 บาท 

และอาทิตย์ได้ให้เสาร์ส่งไปที่โรงแรมของอาทิตย์ เสาร์จึงได้จัดส่งของให้อาทิตย์ทางรถไฟ แต่เมื่อเสาร์ส่งไปให้อาทิตย์ ปรากฏว่าปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนที่ส่งมาไม่ครบชุด ขาดไป 20 ชุด และมีสีอื่นปะปนมา 10 ชุด บางผืนมีรอยด่างสกปรกบนผืนผ้าอีก 10 ผืน

ถ้าอาทิตย์มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำกับอาทิตย์อย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 465 ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น

(1) หากว่าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ ท่านว่าผู้ซื้อจะปัดเสียไม่รับเอาเลยก็ได้ แต่ถ้าผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้ ผู้ซื้อก็ต้องใช้ราคาตามส่วน

(2) หากว่าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินมากกว่าที่ได้สัญญาไว้ ท่านว่าผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้แต่เพียงตามสัญญาและนอกกว่านั้นปัด เสียก็ได้ หรือจะปัดเสียทั้งหมดไม่รับเอาไว้เลยก็ได้ ถ้าผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินอันเขาส่งมอบเช่นนั้นไว้ทั้งหมด ผู้ซื้อก็ต้องใช้ราคาตามส่วน

(3) หากว่าผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่างอื่นอัน มิได้รวมอยู่ในข้อสัญญาไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะรับเอาทรัพย์สินไว้แต่ตามสัญญา และนอกกว่านั้นปัดเสียก็ได้ หรือจะปัดเสียทั้งหมดก็ได้

มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ถ้าอาทิตย์มาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำกับอาทิตย์ ดังนี้ คือ

จาก ข้อเท็จจริง การที่เสาร์ได้จัดส่งของให้อาทิตย์ และปรากฏว่าของที่ส่งมาคือปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนไม่ครบชุด ขาดไป 20 ชุด และมีสีอื่นปะปนมาอีก 10 ชุดนั้น ถือเป็นกรณีที่เสาร์ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตามสัญญาซื้อขาย กล่าวคือ เป็นการส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าที่ได้สัญญาไว้ อีกทั้งยังเป็นการส่งมอบทรัพย์สินตามที่ได้สัญญาไว้ระคนกับทรัพย์สินอย่าง อื่นอันมิได้รวมอยู่ในสัญญาซื้อขาย ดังนั้นอาทิตย์ผู้ซื้อจึงสามารถบอกปฏิเสธไม่รับมอบปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ทั้งหมดได้ หรือจะรับมอบเท่าที่เสาร์ส่งมอบถูกต้องตามสัญญาก็ได้ แต่อาทิตย์ต้องใช้ราคาในส่วนที่ตนรับมอบมาให้แก่เสาร์ และคืนในส่วนที่ไม่ตรงตามสัญญาให้แก่เสาร์ไปตามมาตรา 465(1) และ (3) อย่างไรก็ตามอาทิตย์ก็ยังสามารถเรียกให้เสาร์ส่งมอบปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ให้ครบตามสัญญา และเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากเสาร์ เนื่องจากการที่เสาร์ส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตามสัญญาซื้อขายได้อีกด้วย

ส่วน กรณีที่ปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนที่เสาร์ส่งมานั้น บางผืนมีรอยด่างสกปรกบนผืนผ้าอีก 10 ผืนนั้น ถือเป็นกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันมีความชำรุดบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติหรือประโยชน์ ที่มุ่งหมายโดยสัญญา ดังนั้นหากอาทิตย์รับมอบปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนในส่วนที่เสาร์ส่งมอบถูกต้องตาม สัญญาไว้ อาทิตย์ผู้ซื้อย่อมสามารถเรียกร้องให้เสาร์ผู้ขายรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายเนื่องมาจากความชำรุดบกพร่องนั้นได้ตามมาตรา 472

สรุป ถ้าอาทิตย์มาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำกับอาทิตย์ดังที่ได้อธิบายข้างต้น

 

 

ข้อ 3 นายไก่นำแหวนพลอยล้อมเพชรมูลค่า 2 ล้านบาทไปขายฝากนายไข่ในราคา 5 แสนบาท ไถ่คืนภายในกำหนด 1 ปี ในราคา 5 แสนบาทบวกประโยชน์ 15% หลังจากรับซื้อฝากนายไข่นำแหวนไปขายให้นายเป็ดในราคา 1 ล้านบาท 

เมื่อนายเป็ดซื้อไปแล้ววันรุ่งขึ้นจึงทราบว่าแหวนซึ่งตนซื้อมานั้นเป็นแหวน ซึ่งนายไก่นำมาขายฝากนายไข่ไว้ในราคาเพียง 5 แสนบาทเท่านั้น เวลาผ่านไป 10 เดือนนายไก่มาขอไถ่แหวนคืนจากนายเป็ด 

นายเป็ดปฏิเสธโดยอ้างว่าตนไม่มีหน้าที่รับไถ่เพราะไม่ใช่คนรับซื้อฝาก และเสนอว่าอยากไถ่คืนก็ได้ในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท 

คำปฏิเสธและคำเสนอของนายเป็ดรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

มาตรา 498 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้น จะพึงใช้ได้เฉพาะบุคคลเหล่านี้ คือ
(2) ผู้รับโอนทรัพย์สิน หรือรับโอนสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แต่ในข้อนี้ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อผู้รับโอนได้รู้ใน เวลาโอน ว่าทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน

มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้า ปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้ จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี

วินิจฉัย

กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่นำแหวนพลอยล้อมเพชรไปขายฝากไว้กับนายไข่นั้น กรรมสิทธิ์ในแหวนดังกล่าวย่อมตกไปยังนายไข่เพียงแต่นายไก่อาจจะไถ่แหวนคืนได้เท่านั้น (ตามมาตรา 491) ดังนั้น นายไข่ผู้รับซื้อฝากจึงสามารถนำแหวนไปขายให้นายเป็ดได้

และตามข้อ เท็จจริง การที่นายเป็ดเป็นผู้รับโอนแหวนดังกล่าวมาจากนายไข่ผู้รับซื้อฝาก นายเป็ดย่อมมีหน้าที่รับไถ่แหวนดังกล่าวด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายแหวน นายเป็ดไม่รู้ว่าแหวนซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน ดังนั้น เมื่อนายไก่มาขอไถ่แหวนคืนจากนายเป็ด นายเป็ดย่อมสามารถปฏิเสธไม่รับไถ่ได้โดยอ้างว่าตนไม่รู้ในเวลาซื้อขายว่า แหวนที่ซื้อมานั้นตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืนตามสัญญาขายฝาก ตามมาตรา 498(2) ดังนั้น การที่นายเป็ดปฏิเสธโดยอ้างว่าตนไม่มีหน้าที่รับไถ่เพราะไม่ใช่คนรับซื้อฝาก คำปฏิเสธของนายเป็ดดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้

ส่วนคำเสนอของนายเป็ด ที่ว่า ถ้านายไก่อยากได้แหวนคืนก็ต้องไถ่คืนในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท รับฟังได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อนายเป็ดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแหวนดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมมีสิทธิใดๆในทรัพย์ของตน การที่นายเป็ดเสนอให้นายไก่ไถ่คืนในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาทนั้น ถือเป็นการเสนอขายในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ มิใช่กรณีของการไถ่คืนตามสัญญาขายฝาก ผู้ขายจึงสามารถเสนอราคาขายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องกำหนดราคาหรือสินไถ่ในราคาขายฝากที่แท้จริงรวมผล ประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา499 แต่อย่างใด ดังนั้น คำเสนอของนายเป็ดดังกล่าวจึงรับฟังได้

สรุป คำปฏิเสธของนายเป็ดรับฟังไม่ได้ ส่วนคำเสนอของนายเป็ดรับฟังได้

LAW2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 2/2554

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2554

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2005 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย  แลกเปลี่ยน  ให้

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  3  ข้อ

ข้อ  1  นายจันทร์ขโมยรถยนต์ของนายอาทิตย์มาขายให้นายอังคาร  นายอังคารซื้อโดยสุจริต  หลังจากนั้น  นายอังคารถูกศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้นายแดง  นายอังคารไม่ปฏิบัติตาม  คำพิพากษาในชั้นบังคับคดี  เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดรถยนต์คันนี้ขายทอดตลาด  นายพุธเป็นผู้ประมูลซื้อได้  นายพุธซื้อมาแล้วรู้ความจริงว่ารถยนต์คันนี้ไม่ใช่ของนายอังคารและไม่อยากได้ไว้  และขายต่อให้นายพฤหัส  ต่อมานายอาทิตย์มาพบรถยนต์คันนี้อยู่กับนายพฤหัส  และขอให้นายพฤหัสคืน  นายพฤหัสไม่คืน  นายอาทิตย์ฟ้องขอให้ศาลบังคับนายพฤหัสคืนรถยนต์ของตนที่ถูกคนร้ายลักไป  นายพฤหัสต่อสู้ว่าตนซื้อมาโดยสุจริต  และเสียค่าตอบแทน  ตนจึงมีสิทธิในรถยนต์คันนี้  ขอให้ศาลยกฟ้อง  ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้ข้อเท็จจริงตามที่นายอาทิตย์ฟ้อง  และนายพฤหัสให้การต่อสู้  และมีคำพิพากษาให้นายพฤหัสเป็นฝ่ายแพ้คดี  ให้คืนรถยนต์คันนี้ให้นายอาทิตย์

ดังนี้  ท่านเห็นว่า  คำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  และนายพฤหัสจะเรียกร้องให้นายพุธรับผิดฐานที่ตนไม่สามารถครอบครองรถยนต์คันนี้ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  453  อันว่าซื้อขายนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง  เรียกว่าผู้ขาย  โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ  และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

มาตรา  475  หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข  เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี  เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี  ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น 

มาตรา  482  ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิเมื่อกรณีเป็นดังกล่าวต่อไปนี้คือ

(2)  ถ้าผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาในคดี  และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่า  ถ้าได้เรียกเข้ามาคดีฝ่ายผู้ซื้อจะชนะ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัย  คือ  คำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เห็นว่า  ตามมาตรา  453  มีหลักอยู่ว่า  ผู้ขายจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายอยู่ในเวลาซื้อขายหรือไม่ก็ตาม  ผู้ขายจะต้องให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ด้วยการชำระราคา  ดังนั้น หากมีบุคคลภายนอกเข้ามารบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ  ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินได้โดยปกติสุข  เพราะบุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าวในเวลาซื้อขาย  หรือที่เรียกว่าการรอนสิทธิตามมาตรา  475  นั้นผู้ซื้อจะต้องต่อสู้ถึงสิทธิของผู้ขายว่ามีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายอย่างไร  เพื่อแสดงถึงสิทธิของตนในฐานะผู้ซื้อ

ตามข้อเท็จจริง  การที่นายอาทิตย์เจ้าของรถยนต์ที่แท้จริง  ฟ้องขอให้ศาลบังคับนายพฤหัสคืนรถยนต์ของตนนั้น  นายพฤหัสจะต้องต่อสู้ถึงสิทธิของนายพุธผู้ขายว่า  นายพุธได้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต  นายพุธจึงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้น  (ตามมาตรา  1330)  และเมื่อตนซื้อรถยนต์มาจากนายพุธ  ตนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นด้วย  แต่เมื่อปรากฏว่า  นายพฤหัสต่อสู้เพียงว่า  ซื้อรถยนต์มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนโดยหาได้ต่อสู้ถึงสิทธิของนายพุธไม่  ดังนั้น  นายพฤหัสจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี  ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้นายพฤหัสเป็นฝ่ายแพ้คดีและให้คืนรถยนต์คันนี้ให้นายอาทิตย์  จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการต่อมามีว่า  นายพฤหัสจะเรียกร้องให้นายพุธรับผิดฐานที่ตนไม่สามารถครอบครองรถยนต์คันนี้ได้หรือไม่  เห็นว่า  โดยหลักแล้ว  หากมีการรอนสิทธิเกิดขึ้น  ผู้ขายจะต้องรับผิดเพราะเหตุแห่งการรอนสิทธินั้นตามมาตรา  475  แต่หากผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาในคดี  และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าถ้าได้เรียกเข้ามา  คดีฝ่ายผู้ซื้อจะชนะ  ดังนี้  ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธินั้นตามมาตรา  482(2)

ตามข้อเท็จจริง  การที่นายอาทิตย์ฟ้องขอให้ศาลบังคับนายพฤหัสคืนรถยนต์ของตนที่ถูกคนร้ายลักไปจนทำให้นายพฤหัสไม่สามารถครอบครองรถยนต์คันนี้ได้นั้น  ย่อมถือเป็นกรณีที่นายพฤหัสผู้ซื้อถูกรอนสิทธิตามมาตรา  475  แต่เมื่อปรากฏว่า  นายพฤหัสไม่ได้เรียกนายพุธเข้ามาในคดี  นายพฤหัสจึงเรียกร้องให้นายพุธรับผิดในการรอนสิทธิไม่ได้  เพราะนายพุธย่อมพิสูจน์ได้ว่า  ถ้านายพฤหัสเรียกตนเข้ามาในคดี  คดีนี้นายพฤหัสจะเป็นฝ่ายชนะคดีตามมาตรา  482(2)

สรุป  คำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว  และนายพฤหัสจะเรียกร้องให้นายพุธรับผิดฐานที่ตนไม่สามารถครอบครองรถยนต์คันนี้ไม่ได้   

 

 

ข้อ  2  นายไก่ไปซื้อรถยนต์จากการขายทอดตลาดของนายไข่  ซึ่งในการขายทอดตลาดครั้งนี้  นายไข่แจ้งให้ผู้เข้าสู้ราคาทราบโดยทั่วกันว่า  ถ้าเกิดความชำรุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิอย่างใดๆขึ้น  นายไข่จะไม่รับผิดชอบทั้งสิ้น  นายไก่ซื้อรถยนต์ไป  2  คัน  หลังจากการรับมอบรถยนต์ไปได้เพียงสองอาทิตย์เท่านั้น  เครื่องยนต์ของรถยนต์คันหนึ่งก็เกิดปัญหาวิ่งไม่ได้  ส่วนอีกคันนายแดงมาอ้างเป็นรถยนต์ของตนซึ่งถูกขโมยไปโดยมีพยานหลักฐานพร้อมมาแสดง  นายไก่จึงจำต้องคืนรถยนต์ให้นายแดง

นายไก่จะฟ้องนายไข่ให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องและการรอนสิทธิที่เกิดกับรถยนต์ซึ่งตนซื้อมาได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา  472  ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี  ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี  ท่านว่า  ผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้  ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473  ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้  คือ

(3)           ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด

มาตรา  475  หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข  เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี  เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี  ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น 

มาตรา  483  คู่สัญญาซื้อขายตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา  472  นั้น  ผู้ขายต้องรับผิดถ้าทรัพย์สินที่ขายชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง  และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดี  ผู้ขายก็ไม่จำต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องนั้น  หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา  473  เช่น  ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่นายไก่ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายไข่  และปรากฏว่ารถยนต์คันหนึ่งเกิดปัญหาวิ่งไม่ได้นั้น  ย่อมถือว่ารถยนต์ที่ตกลงซื้อขายกันนั้นมีความชำรุดบกพร่อง  เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ  ซึ่งโดยหลักนายไข่ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อนายไก่ผู้ซื้อ  ตามมาตรา  472  แต่อย่างไรก็ตาม  กรณีนี้  นายไก่จะฟ้องให้นายไข่รับผิดในความชำรุดบกพร่องไม่ได้  เนื่องจากรถยนต์ที่นายไก่ซื้อมาจากนายไข่นั้น  เป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด  จึงเข้าข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามมาตรา  473(3)

ส่วนความผิดในการรอนสิทธิตามมาตรา  475  นั้น  เป็นกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย  ได้เข้ามารบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ  ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข  ซึ่งโดยหลักแล้วผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ เว้นแต่ผู้ขายและผู้ซื้อจะได้ตกลงกันไว้ว่า  ผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพราะการรอนสิทธินั้นตามมาตรา  483

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่นายไก่ผู้ซื้อได้ถูกรอนสิทธิ  คือได้ถูกนายแดงเจ้าของที่แท้จริงของรถยนต์อีกคันหนึ่งที่นายไก่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดของนายไข่นั้นติดตามเอาคืนไป  ดังนี้โดยหลักแล้วนายไก่ย่อมสามารถฟ้องนายไข่ให้รับผิดในกรณีที่ตนถูกรอนสิทธิได้  แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อมีข้อตกลงกันไว้ว่า  หากเกิดความชำรุดบกพร่องและการรอนสิทธิอย่างใดๆขึ้น  นายไข่ผู้ขายไม่ต้องรับผิด  ดังนั้น  นายไข่จึงไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิดังกล่าว  ตามมาตรา  475  และมาตรา  483

สรุป  นายไก่จะฟ้องนายไข่ให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องและการรอนสิทธิที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่ตนซื้อมาไม่ได้ 

 

 

ข้อ  3  นายจันทร์นำบ้านที่ดิน  และเรือมีระวาง  4  ตันไปขายฝากไว้กับนายอังคาร  บ้านที่ดิน  ขายฝากไว้ในราคา  1  ล้านบาท  ส่วนเรือขายฝากไว้ในราคา  3  แสนบาท  มีกำหนดไถ่คืนภายใน  1  ปี  ในราคาเดิมบวกประโยชน์อีก  15  เปอร์เซ็นต์  โดยมีการส่งมอบบ้านที่ดิน เรือ  และมีการชำระราคาเรียบร้อยแล้ว  เมื่อเวลาผ่านไป  1  ปี  1  วัน  นายจันทร์ไปขอไถ่บ้านที่ดินและเรือคืน  นายอังคารปฏิเสธว่าเลยกำหนดเวลาแล้ว

คำปฏิเสธของนายอังคารรับฟังได้หรือไม่  และนายจันทร์มีโอกาสที่จะได้บ้านที่ดินและเรือคืนตามบทบัญญัติกฎหมายหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456  วรรคแรก  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ  วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป  ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย 

มาตรา  491  อันว่าขายฝากนั้น  คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ  โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

มาตรา  494  ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้

(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์  กำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย

(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์  กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก  เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้  เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย  จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม  ดังนั้น  การขายฝากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ  เช่น  เรือมีระวางตั้งแต่  5  ตันขึ้นไป  แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ  ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา  491  ประกอบมาตรา  456  วรรคแรก 

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่นายจันทร์นำบ้านที่ดินและเรือมีระวาง  4  ตัน  ไปขายฝากไว้กับนายอังคาร  โดยมีกำหนดไถ่คืนภายใน  1  ปีนั้น  เมื่อปรากฏว่า  เรือระวาง  4  ตัน  ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ  ตามมาตรา  456  วรรคแรก  การขายฝากจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ดังนั้น  สัญญาขายฝากเรือจึงมีผลสมบูรณ์  เมื่อนายจันทร์ไปขอไถ่เรือคืนเมื่อเวลาผ่านไป  1  ปี  1  วัน  ซึ่งเกินกำหนดไถ่ไป  1  วันแล้ว  นายอังคารผู้รับซื้อฝากย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่ให้นายจันทร์ไถ่คืนได้  ตามมาตรา  494  และมาตรา  491  ดังนั้น  คำปฏิเสธของนายอังคารในกรณีของเรือจึงรับฟังได้  และนายจันทร์ไม่มีโอกาสที่จะได้เรือคืนตามบทบัญญัติกฎหมาย

ส่วนกรณีของบ้านและที่ดินนั้น  ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เมื่อการขายฝากไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  สัญญาขายฝากจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา  491  ประกอบมาตรา  456  วรรคแรก  คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการทำสัญญากัน  ดังนั้น  กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินจึงยังคงเป็นของนายจันทร์  และต้องนำหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ  กล่าวคือ  นายจันทร์จะต้องคืนเงินราคาขายฝาก  1  ล้านบาท  ให้แก่นายอังคาร  ส่วนนายอังคารก็ต้องคืนบ้านและที่ดินให้แก่นายจันทร์ไปเช่นกัน  ดังนั้น คำปฏิเสธของนายอังคารในกรณีของบ้านและที่ดินจึงรับฟังไม่ได้  และนายจันทร์ย่อมมีสิทธิที่จะได้บ้านและที่ดินคืน

สรุป  คำปฏิเสธของนายอังคารในกรณีของเรือรับฟังได้  และนายจันทร์ไม่มีสิทธิที่จะได้เรือคืน  ส่วนคำปฏิเสธของนายอังคารในกรณีของบ้านและที่ดินนั้นรับฟังไม่ได้  และนายจันทร์มีสิทธิที่จะได้บ้านและที่ดินคืน

WordPress Ads
error: Content is protected !!