การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายธงชัยจบนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้งานเป็นตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลของบริษัท เฮง เฮง จํากัด เจ้าของบริษัท เฮง เฮง จํากัด มาปรึกษานายธงชัยกรณีจะเลิกจ้าง น.ส.ยินดี เพราะกระทําผิดอาญาหมิ่นประมาทนายจ้าง ดังนี้ นายธงชัยจะต้องแนะนํากรณีการบอกเลิก สัญญาจ้าง น.ส.ยินดี ว่าจะต้องกระทําอย่างไร (ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง”

มาตรา 119 “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จําเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มี เหตุอันสมควร

(6) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้ กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะ ยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 ได้กําหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างด้วย เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง เว้นแต่ถ้าเข้าข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 วรรคหนึ่ง นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ น.ส.ยินดี หมิ่นประมาทนายจ้างอันเป็นการกระทําผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้างตามมาตรา 119 (1) นั้น นายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ น.ส.ยินดี ลูกจ้าง

แต่อย่างไรก็ตาม การที่บริษัท เฮง เฮง จํากัด ซึ่งเป็นนายจ้างจะบอกเลิกสัญญาจ้างกับ น.ส.ยินดี ลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 วรรคหนึ่งนั้น หากการบอกเลิกสัญญาจ้างได้ทําเป็นหนังสือ

นายจ้างก็จะต้องระบุข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย หรือถ้า การบอกเลิกสัญญาจ้างได้กระทําด้วยวาจา ก็จะต้องระบุเหตุผลที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างด้วย (มาตรา 119 วรรคท้าย) มิฉะนั้น นายจ้างจะยกเหตุที่เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างขึ้นมากล่าวอ้างใน ภายหลังไม่ได้

สรุป

นายธงชัยจะต้องแนะนํากรณีการบอกเลิกสัญญาจ้าง น.ส.ยินดี แก่เจ้าของบริษัท เฮง เฮง จํากัด ว่าจะต้องกระทําการดังที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 นายอนุชิตเป็นลูกจ้างในตําแหน่งพนักงานขับรถได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ทํางานมาแล้ว 4 ปี นายจ้างได้ทําหนังสือเลิกจ้างนายอนุชิตโดยอ้างระบุเหตุผลว่า “นายอนุชิตได้ฝ่าฝืนข้อบังคับ เกี่ยวกับการทํางานโดยละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาครึ่งวัน และนายจ้างได้ตักเตือนด้วยวาจาแล้วด้วย” นายอนุชิตได้โต้แย้งไม่เห็นด้วย นายจ้างจึงได้อ้างภายหลังอีกว่านายอนุชิตได้เล่นการพนันในเวลา ทํางานซึ่งถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานอีกด้วย เช่นนี้ ท่านเห็นว่า อย่างไร นายอนุชิตจะได้รับค่าชดเชยหรือสิทธิอื่น ๆ อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 67 “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจําปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ ได้รับตามมาตรา 30

ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างหรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณี ตามมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีสะสมที่ลูกจ้าง พึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30”

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(3) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา สุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา 119 “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จําเป็นต้องตักเตือน

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัย ได้แก่

1 นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างได้หรือไม่

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ได้วางหลักไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างนั้น ต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานและนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จําเป็นต้องเตือน และตามมาตรา 119 วรรคท้าย ได้กําหนดไว้อีกว่า การที่นายจ้างจะบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างนั้น ถ้าเป็นการบอกเลิก สัญญาจ้างโดยทําเป็นหนังสือ นายจ้างจะต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย ถ้า หากไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังไม่ได้

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่นายจ้างได้ทําหนังสือเลิกจ้างนายอนุชิตซึ่งเป็นลูกจ้างนั้น แม้นายจ้างจะได้ระบุเหตุผลไว้หนังสือเลิกจ้างแล้วว่า “นายอนุชิตได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานโดยละทิ้ง หน้าที่เป็นเวลาครึ่งวัน และนายจ้างได้ตักเตือนด้วยวาจาแล้วด้วย” นั้น การที่นายจ้างได้ตักเตือนด้วยวาจาโดย ไม่ได้ตักเตือนเป็นหนังสือ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 119 (4) ที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้าง ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายอนุชิตตามมาตรา 118

ส่วนกรณีที่นายจ้างได้อ้างในภายหลังว่า นายอนุชิตได้เล่นการพนันในเวลาทํางานซึ่งถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงนั้น ไม่ใช่เหตุผลที่ระบุเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญา ดังนั้นนายจ้างจะยกเหตุ ดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังไม่ได้ตามมาตรา 119 วรรคท้าย (คําพิพากษาฎีกาที่ 2599 – 2606/2541)

2 นายอนุชิตจะได้รับค่าชดเชยหรือสิทธิอื่น ๆ อีกหรือไม่

ตามอุทาหรณ์ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างนายอนุชิต นายอนุชิตย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชย และสิทธิอื่น ๆ ดังนี้ คือ

(1) ค่าชดเชย นายอนุชิตมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 (3) คือ จะได้รับ ค่าชดเชย 180 วัน (6 เดือน) ตามค่าจ้างอัตราสุดท้าย รวมเป็นเงิน 90,000 บาท

(2) สิทธิอื่น ๆ เมื่อกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ดังนั้นนายอนุชิต จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจําปีที่ลูกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับ และค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 67

สรุป

การบอกเลิกสัญญาจ้างของนายจ้างและการอ้างเหตุ ภายหลังนั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 119 (4) และวรรคท้าย นายอนุชิตมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 (3) และค่าจ้างสําหรับ วันหยุดพักผ่อนประจําปีตามมาตรา 67

 

ข้อ 3. ศักดิ์สิทธิ์ทํางานเป็นลูกจ้างของชูศรี อยู่ในตําแหน่งพนักงานขับรถขนส่งสินค้า ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ๆ ละ 12,000 บาท ศักดิ์สิทธิ์ขับรถชูศรีไปส่งสินค้าตามหน้าที่แต่ประมาทขับรถชนรถของอํานวย รถของอํานวยและรถของชูศรีนายจ้างได้รับความเสียหาย ส่วนศักดิ์สิทธิ์ได้รับบาดเจ็บ เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 1 เดือน ก็กลับมาปฏิบัติงานได้ ชูศรีจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้อํานวย เนื่องจากศักดิ์สิทธิ์ขับรถไปในทางการที่จ้าง และชูศรีต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ของ ตนที่ได้รับความเสียหาย ดังนี้ ศักดิ์สิทธิ์จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนอย่างไรบ้าง และชูศรีจะสามารถ หักเงินทดแทนจากศักดิ์สิทธิ์เพื่อค่าสินไหมทดแทนคู่กรณีและค่าซ่อมแซมรถยนต์ของซูศรีได้หรือไม่ให้อธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

“ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคําสั่งของนายจ้าง”

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง

ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่ชักช้า เมื่อฝ่ายลูกจ้างแจ้งให้ทราบ”

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานของลูกจ้างตามความจําเป็นตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สําหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานติดต่อกันได้ เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทํางานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทํางานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี”

มาตรา 23 “ห้ามมิให้นายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใด ๆ และเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นลูกจ้างของชูศรี ได้รับรถของชูศรีไปส่งสินค้าตามหน้าที่แต่ได้ ประมาทขับรถไปชนรถของอํานวย ทําให้รถของอํานวยและรถของชูศรีนายจ้างได้รับความเสียหายนั้น เมื่อศักดิ์สิทธิ์ ประสบอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว คือได้รับบาดเจ็บเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 1 เดือน ย่อมถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ประสบอันตรายเนื่องจากการทํางานให้แก่นายจ้างตามมาตรา 5 ซึ่งศักดิ์สิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 โดยศักดิ์สิทธิ์จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ดังนี้

(1) ค่ารักษาพยาบาลตามมาตรา 13 โดยนายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่ จ่ายจริงตามความจําเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง

(2) ค่าทดแทนในกรณีไม่สามารถทํางานได้ตามมาตรา 18 (1) กล่าวคือ เมื่อ ศักดิ์สิทธิ์ต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งถือว่าติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่า ทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เมื่อศักดิ์สิทธิ์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท นายจ้างจึงต้อง จ่ายค่าทดแทนให้ศักดิ์สิทธิ์เป็นเงิน 7,200 บาท

ส่วนกรณีค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานตามมาตรา 15 นั้น เมื่อศักดิ์สิทธิ์ได้เข้า รักษาตัวในโรงพยาบาล 1 เดือน ก็กลับมาปฏิบัติงานได้โดยไม่จําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ภายหลังการประสบอันตราย ดังนั้น นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนในกรณีนี้

2 ตามมาตรา 23 ได้กําหนดห้ามมิให้นายจ้างอ้างเหตุแห่งการกระทําอื่นใดของลูกจ้าง เพื่อนํามาหักกับเงินทดแทนที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงแม้ว่าชูศรีต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซมรถยนต์ของตน และจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่คู่กรณีเนื่องจากข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้ว่าศักดิ์สิทธิ์ ได้ขับรถโดยประมาทก็ตาม ชูศรีก็ไม่สามารถจะหักเงินค่าซ่อมแซมรถยนต์และค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายไปกับ เงินทดแทนที่ศักดิ์สิทธิ์จะได้รับได้ตามมาตรา 23

สรุป

ศักดิ์สิทธิ์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลตามมาตรา 13 และค่าทดแทนใน กรณีไม่สามารถทํางานได้ตามมาตรา 18 (1)

ชูศรีไม่สามารถหักเงินทดแทนจากศักดิ์สิทธิ์เพื่อค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้แก่คู่กรณีและค่า ซ่อมแซมรถยนต์ของตน

 

ข้อ 4. อุทัยลูกจ้างบริษัท ชัยชนะอะไหล่ยนต์ จํากัด เป็นแกนนําในการเรียกร้องขอปรับสวัสดิการกับนายจ้าง ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้ว ขั้นตอนอยู่ระหว่างการเจรจา นายจ้างมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างอุทัย โดยที่อุทัยไม่มีความผิด อุทัยจึงมาขอคําปรึกษาว่าจะดําเนินคดีนายจ้างตาม กฎหมายแรงงานสัมพันธ์โดยการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลได้หรือไม่ และหากอุทัยจะยื่นฟ้องคดีต่อศาล ไปพร้อมกับการร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะกระทําได้หรือไม่ ให้อธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 31 วรรคหนึ่ง “เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้าง เลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว”

มาตรา 121 “ห้ามมิให้นายจ้าง

(1) เลิกจ้าง หรือกระทําการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการสหภาพ แรงงาน หรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน ไม่สามารถทนทํางานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานได้นัด ชุมนุม ทําคําร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดําเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน หรือให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือนายทะเบียน พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาด ข้อพิพาทแรงงาน หรือกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อศาลแรงงาน หรือเพราะเหตุที่ ลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานกําลังจะกระทําการดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 อุทัยสามารถฟ้องร้องนายจ้างเป็นคดีต่อศาลได้หรือไม่

ตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องให้มีการกําหนด หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไปแล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างเจรจากัน กฎหมาย ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องโดยไม่สุจริต โดยมีเจตนา เพื่อที่จะกลั่นแกล้งลูกจ้างดังกล่าวให้ออกจากงานไป เพราะถือเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง

จากข้อเท็จจริง การที่อุทัยลูกจ้างบริษัท ชัยชนะอะไหล่ยนต์ จํากัด ได้เป็นแกนนําใน การเรียกร้องขอปรับสวัสดิการกับนายจ้างและได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้ว และขั้นตอนอยู่ระหว่างการเจรจานั้น การที่นายจ้างมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างกับอุทัยโดยที่อุทัยไม่มีความผิด การกระทําของนายจ้างย่อมถือว่าเป็น การกระทําที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ดังนั้น อุทัยสามารถฟ้องนายจ้างเป็นคดีต่อศาลได้

2 อุทัยจะยื่นฟ้องคดีต่อศาลไปพร้อมกับการร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ หรือไม่

ตามบทบัญญัติมาตรา 31 นั้น ไม่ลบล้างหรือทําให้บทบัญญัติมาตรา 121 ไม่มีผลใช้บังคับ แก่กรณีที่ต้องด้วยทั้งมาตรา 31 และมาตรา 121 กล่าวคือ ลูกจ้างมีสิทธินําคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานได้โดยตรงกรณีที่ นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือลูกจ้างมีสิทธิไปยื่นคําร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืน มาตรา 121 โดยลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิดังกล่าวในทางใดทางหนึ่ง เมื่อเลือกใช้สิทธิในทางใดแล้ว ต้องถือว่า สละสิทธิทางอื่นอยู่ในตัว (คําพิพากษาฎีกาที่ 10293/2546)

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ การที่อุทัยจะยื่นฟ้องนายจ้างเป็นคดีต่อศาลไปพร้อมกับการร้องต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อดําเนินการกับนายจ้างตามมาตรา 121 (1) นั้น จึงไม่สามารถกระทําได้

สรุป

อุทัยสามารถฟ้องนายจ้างเป็นคดีต่อศาลได้ แต่จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลไปพร้อมกับการร้อง ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่ได้

Advertisement