การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3102 (LAW 3002) ป.พ.พ.ว่าด้วยหุ้นส่วน บริษัทฯ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญแดงดีไซน์ แดง เหลือง ขาว และเขียว เป็นหุ้นส่วนกัน มีวัตถุประสงค์รับจ้าง ออกแบบสิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัยโดยมีเหลืองและขาวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนนี้ได้ จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล กิจการดําเนินมาได้หลายปีแล้ว มีกําไรบ้าง ขาดทุนบ้าง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 แดงประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม บุตรชายของแดงไม่ประสงค์จะเข้าหุ้นแทนที่บิดา จึงได้ขอบอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญแดงดีไซน์ (นิติบุคคล) แต่หุ้นส่วนคนอื่น ๆ ไม่ประสงค์จะเลิก จึงได้คืนเงินลงหุ้นที่เป็นของแดงให้แก่ทายาทของแดงไป และห้างฯ ก็ได้ดําเนินกิจการต่อไป โดยใช้ชื่อห้างฯ เหมือนเดิม โดยทายาทของแดงไม่เคยคัดค้านในการใช้ชื่อแดงเป็นชื่อห้างฯ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564 ห้างฯ ได้ซื้ออุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ ในสํานักงานของห้างฯ เป็นเงิน 1 แสนบาท และยังไม่ชําระหนี้ นอกจากนี้ยังเป็นหนี้ค่าเช่าสถานที่ ที่ใช้ประกอบกิจการตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2564 (จ่ายค่าเช่าทุกวันต้นเดือน) รวม 12 เดือน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ทําให้ห้างฯ จําต้องหยุดประกอบ กิจการชั่วคราวจึงไม่มีเงินชําระหนี้ทั้งสองรายนี้ เจ้าหนี้จึงได้มาปรึกษาท่านว่า ห้างฯ ยังคงใช้ชื่อแดง เป็นชื่อห้างฯ อยู่ ดังนี้ จะฟ้องทายาทของแดงให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ให้ท่านแนะนําเจ้าหนี้ของห้างฯ พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบด้วย

Advertisement

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1054 วรรคสอง “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงค้า ต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี หรือใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบอยู่ด้วยก็ดี หาทําให้ ความรับผิดมีแก่กองทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใด ๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นภายหลังมรณะนั้นไม่

วินิจฉัย

ตามมาตรา 1054 วรรคสอง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดได้ตายลง แต่ผู้เป็นหุ้นส่วน คนอื่น ๆ ต้องการให้ห้างหุ้นส่วนนั้นดําเนินกิจการต่อไป (โดยการรับซื้อหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตาย) และยังคงใช้ ชื่อของผู้ตายเป็นชื่อห้างหรือใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบเป็นชื่อห้างอยู่ด้วย ย่อมไม่ทําให้กองมรดกของผู้ตาย
จะต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ของห้างหุ้นส่วนที่ได้เกิดขึ้นภายหลังที่หุ้นส่วนผู้นั้นได้ตายลง

ตามอุทาหรณ์ การที่ห้างหุ้นส่วนสามัญแดงดีไซส์ มีแดง เหลือง ขาว และเขียว เป็นหุ้นส่วนกัน โดยมีเหลืองและขาวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2562 แดงประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม บุตรชาย ของแดงไม่ประสงค์จะเข้าหุ้นแทนที่บิดาจึงได้ขอบอกเลิกห้างฯ แต่หุ้นส่วนคนอื่น ๆ ไม่ประสงค์ที่จะเลิกห้างฯ จึงได้คืนเงินลงหุ้นที่เป็นของแดงให้แก่ทายาทของแดงไป และห้างฯ ก็ได้ดําเนินกิจการต่อไปโดยใช้ชื่อห้างฯ เหมือนเดิมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันที่ 5 กันยายน 2564 ห้างฯ ได้ซื้ออุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ มาใช้ในสํานักงานของห้างฯ เป็นเงิน 1 แสนบาท และยังไม่ชําระหนี้ นอกจากนี้ยังเป็นหนี้ค่าเช่าสถานที่ที่ใช้ ประกอบกิจการตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2564 รวม 12 เดือน ดังนี้ เมื่อ
เมื่อหนี้ทั้งสองรายเป็นหนี้ที่ห้างฯ ได้ก่อให้เกิดขึ้นภายหลังที่แดงถึงแก่ความตายไปแล้ว หนี้ทั้งสองรายจึงไม่ผูกพันกองมรดกหรือ ทายาทของแดงตามมาตรา 1054 วรรคสอง ดังนั้น เจ้าหนี้ของห้างฯ จะฟ้องให้ทายาทของแดงรับผิดในหนี้ ทั้งสองรายดังกล่าวไม่ได้

สรุป เจ้าหนี้ของห้างฯ จะฟ้องทายาทของแดงให้รับผิดในหนี้ทั้งสองรายดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ 2. ห้างหุ้นส่วนจํากัด สืบศักดิ์พาณิชย์ มีนายสืบเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด นายศักดิ์เป็น หุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างฯ มีวัตถุประสงค์ผลิตน้ํามัน สกัดเย็นจากเมล็ดกัญชงเพื่อจําหน่ายใช้เป็นยารักษาโรคทุกชนิด ห้างฯ ได้ซื้อเครื่องจักรเพื่อนํามา ผลิตน้ํามันกันซงและยังค้างชําระเงินค่าเครื่องจักรอยู่อีก 3 แสนบาท ส่วนนายสืบได้เรียนรู้วิธีการ ผลิตน้ํามันสกัดเย็นจากเมล็ดกันซึ่งเป็นอย่างดีจากการที่นักวิทยาศาสตร์ของห้างฯ ได้สอนให้ จึงได้ตั้งโรงงานเล็ก ๆ ผลิตน้ํามันสกัดเย็นจากผลกัญชงมาขายให้ลูกค้าของห้างฯ ด้วย เพราะนายสืบ รู้จักลูกค้าของห้างฯ เป็นจํานวนมาก และขายในราคาถูกกว่าของห้างฯ ด้วย ดังนี้ถามว่า

1. ถ้าห้างหุ้นส่วนจํากัดยังไม่ได้เลิกกันและห้างฯ ผิดนัดชําระหนี้ค่าเครื่องจักร เจ้าหนี้ค่าเครื่องจักร จะฟ้องนายสืบให้ชําระหนี้ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

2. การที่นายสืบค้าขายน้ํามันกัญชงสกัดเย็นแข่งขันกับห้างฯ นายศักดิ์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือ เรียกเอาผลกําไรจากนายสืบแทนห้างฯ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1082 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดคนใดยินยอมโดยแสดงออกชัด หรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก เสมือนดังว่าเป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดฉะนั้น”

มาตรา 1090 “ผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดจะประกอบการค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อ ประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกก็ได้ และแม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับ การค้าขายห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม”

มาตรา 1095 วรรคหนึ่ง “ตราบใดห้างหุ้นส่วนจํากัดยังมิได้เลิกกัน ตราบนั้นเจ้าหนี้ของห้าง ย่อมไม่มีสิทธิจะฟ้องร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่ห้างหุ้นส่วนจํากัด สืบศักดิ์พาณิชย์ มีนายสืบเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด นายศักดิ์เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างฯ มีวัตถุประสงค์ผลิตน้ํามันสกัดเย็นจากเมล็ดกัญชงเพื่อจําหน่ายใช้เป็นยารักษาโรคทุกชนิด และห้าง ฯ ได้ซื้อเครื่องจักรเพื่อนํามาผลิตน้ํามันกัญชง และยังค้างชําระเงินค่าเครื่องจักรอยู่อีก 3 แสนบาทนั้น เมื่อปรากฏว่านายสืบซึ่งเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด ได้ยินยอมให้ใช้ชื่อตนระคนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจํากัดสืบศักดิ์ นายสืบจึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างฯ จํานวน ดังกล่าวด้วยเสมือนว่าตนเป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดตามมาตรา 1082 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้ ค่าเครื่องจักรจึงฟ้องให้นายสืบรับผิดชําระหนี้ได้ แม้ว่าห้างฯ ยังไม่ได้เลิกกันก็ตาม เพราะถือเป็นข้อยกเว้นของ มาตรา 1095 วรรคหนึ่ง

2. การที่นายสืบได้ตั้งโรงงานเล็ก ๆ ผลิตน้ํามันสกัดเย็นจากผลกัญชงมาขายให้กับลูกค้าของ ห้างฯ นั้น แม้ว่าการค้าขายนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับการค้าขายของห้างหุ้นส่วน และเป็นการแข่งขัน กับห้างฯ ก็ตาม นายสืบก็สามารถทําได้ตามมาตรา 1090 ดังนั้น นายศักดิ์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือเรียกเอา ผลกําไรจากนายสืบแทนห้างฯ ไม่ได้

สรุป
1. เจ้าหนี้ค่าเครื่องจักรสามารถฟ้องนายสืบให้ชําระหนี้ได้แม้ห้างหุ้นส่วนจํากัดจะยังไม่ได้
เลิกกัน
2. นายศักดิ์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือเรียกเอาผลกําไรจากนายสืบแทนห้างฯ ไม่ได้

 

ข้อ 3. เต้ ต้น และเตย ตกลงกันว่าจะเป็นผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท สามมิตร จํากัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ผลิต รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจําหน่ายโดยมีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้น ทั้งหมด 50 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ก่อนจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ทั้งสามคนตั้งใจว่า จะลงทุนคนละ 10 ล้านหุ้น ส่วนหุ้นที่เหลืออีก 20 ล้านหุ้น ทั้งสามคนตั้งใจว่าจะเสนอขายให้แก่ เพื่อน ๆ ของตนเอง ต่อมาเต้ได้ไปติดต่อขอซื้อโรงงานเก่าซึ่งเคยผลิตรถยนต์โดยใช้น้ํามันเชื้อเพลิง ในการขับเคลื่อนซึ่งปัจจุบันโรงงานดังกล่าวได้ปิดกิจการลงแล้วในราคา 50 ล้านบาท แต่ต้นไม่เห็นด้วย เพราะโรงงานดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินที่เกิดน้ำท่วมขังเมื่อปี พ.ศ. 2554 และรัฐบาลปัจจุบันก็ยังแก้ไขเรื่องน้ำท่วมไม่ได้ และหากซื้อมาแล้วเกิดน้ำท่วมอีกก็จะเสียหายหนักมาก แต่เต้เห็นว่าราคาถูก และจะซื้อโดยไม่ฟังคําท้วงติงของต้น ต้นจึงขอลาออกจากการเป็นผู้เริ่มก่อการและเลิกลงทุนในครั้งนี้ เต้จึงชวนตาลมาลงหุ้นเพื่อให้ครบสามคน และได้ไปจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ โดยมีเต้ ตาล และเคยเป็นผู้เริ่มก่อการ โดยลง หุ้นไว้คนละ 10 ล้านหุ้น หลังจากจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว เต้จึงไปทําสัญญาซื้อโรงงานเก่าข้างต้นเพื่อจะนําไปปรับปรุงใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการผลิต รถยนต์พลังงานไฟฟ้าโดยวางมัดจําไว้ 10 ล้านบาท และได้ทําสัญญากับผู้ขายว่าเมื่อบริษัทได้ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นแล้วจะนําเงินที่ค้างชําระมาชําระให้ทั้งหมด แต่ปรากฏว่าประเทศไทยและทั่วโลก เกิดโรคโควิดระบาด เศรษฐกิจตกต่ํามาก ไม่มีคนมาซื้อหุ้นที่เหลืออีกเลย เป็นเหตุให้จัดตั้งบริษัท ไม่สําเร็จ เจ้าของโรงงานที่เป็นคู่สัญญากับแต้จึงได้ทวงถามเต้ ต้น ตาล และเตยให้รับผิดร่วมกัน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113

ดังนี้ ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า เต้ ต้น ตาล และเตยจะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้รายนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1097 “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่สามคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งบริษัทจํากัดก็ได้ โดยเข้าชื่อกัน ทําหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทําการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1098 “หนังสือบริคณห์สนธินั้น ต้องมีรายการดังต่อไปนี้ คือ

(6) ชื่อ สํานัก อาชีวะ และลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการ ทั้งจํานวนหุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้คนละเท่าใด”

มาตรา 1113 “ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกันและโดยไม่จํากัดในบรรดาหนี้และการจ่ายเงิน ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทมิได้อนุมัติ และแม้จะได้มีอนุมัติก็ยังคงต้องรับผิดอยู่เช่นนั้นไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 1113 นั้น บัญญัติให้ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องร่วมรับผิดร่วมกันโดยไม่จํากัดในบรรดาหนี้ และการจ่ายเงิน ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทมิได้อนุมัติ และแม้ที่ประชุมตั้งบริษัทจะได้อนุมัติแล้ว ผู้เริ่มก่อการก็ยังต้อง รับผิดอยู่จนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท ดังนั้นผู้เริ่มก่อการจะหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของบริษัทก็ต่อเมื่อ ที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติหนี้ดังกล่าวแล้วและบริษัทได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เต้ ต้น และเตย ตกลงกันว่าจะเป็นผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท สามมิตร จํากัด ต่อมาเต้ได้ไปติดต่อขอซื้อโรงงานเก่าซึ่งเคยผลิตรถยนต์ โดยปัจจุบันโรงงานดังกล่าวได้ปิดกิจการลงแล้ว แต่ต้น ไม่เห็นด้วย แต่เต้เห็นว่าราคาถูกและจะซื้อโดยไม่ฟังคําท้วงติงของต้น ต้นจึงขอลาออกจากการเป็นผู้เริ่มก่อการ และเลิกลงทุนในครั้งนี้ เต้จึงชวนตาลมาลงหุ้นเพื่อให้ครบสามคน และได้ไปจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิโดยมี เต้ ตาล และเตย เป็นผู้เริ่มก่อการนั้น ย่อมถือว่าต้นซึ่งได้ลาออกจากการเป็นผู้เริ่มก่อการก่อนที่จะมีการจดทะเบียน หนังสือบริคณห์สนธิ อีกทั้งในหนังสือบริคณห์สนธิก็มิได้มีการระบุซื้อต้นเป็นผู้เริ่มก่อการ ต้นจึงมิใช่ผู้เริ่มก่อการ ตั้งบริษัท สามมิตร จํากัด ตามมาตรา 1097 และมาตรา 1098 (6)

และภายหลังจากการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว เต้จึงไปซื้อโรงงานเก่าข้างต้นเพื่อจะนําไปปรับปรุงใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทโดย การวางมัดจําไว้ 10 ล้านบาท และได้ทําสัญญากับผู้ขายว่าเมื่อได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทขึ้นแล้ว จะนําเงินที่ ค้างชําระมาชําระให้ทั้งหมด แต่ปรากฏว่ามีเหตุทําให้การจัดตั้งบริษัทไม่สําเร็จนั้น หนี้ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในการ ทําสัญญาซื้อขายโรงงานดังกล่าว ผู้ที่ต้องร่วมกันรับผิด คือ เต้ ตาล และเตย ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการ ตามมาตรา 1113 ส่วนต้นไม่ต้องร่วมรับผิดเพราะต้นไม่ใช่ผู้เริ่มก่อการ

สรุป เฉพาะเต้ ตาล และเตย จะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้รายนี้ ส่วนต้นไม่ต้องรับผิด

 

Advertisement