การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2108 (2008) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ฯลฯ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 แดงได้ทําสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้ขาวเช่าที่ดินของแดงมีกําหนดเวลา 10 ปี โดยตกลงชําระค่าเช่าเป็นรายปีเป็นค่าเช่าปีละหนึ่งล้านบาท สัญญาเช่ามีสาระสําคัญดังนี้คือ

ข้อ 3 “ผู้เช่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารพาณิชย์ของผู้เช่าเท่านั้นโดยจะไม่นําที่ดินไปใช้ เป็นการอย่างอื่น”

ข้อ 4 “หากสัญญาเช่าครบกําหนด 10 ปีแล้วผู้ให้เช่าให้คํามั่นจะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดิน ให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีก 10 ปี โดยเรียกค่าเช่าเพิ่มปีละ 100,000 บาท”

(ก) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เช่าได้รับพื้นที่ดินที่ผู้ให้เช่าส่งมอบให้แล้ว แต่ผู้เช่ามิได้ก่อสร้างอาคาร พาณิชย์แต่ผู้เช่าได้นําที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเพื่อวางวัสดุก่อสร้างบ้าง และให้ผู้อื่นเช่าที่ดินที่เช่า เป็นที่จอดรถยนต์ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามาปรึกษาท่านเพื่อบอกเลิกสัญญาเช่า ท่านจะให้คําปรึกษาผู้ให้เช่าว่าอย่างไร

(ข) หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปจากข้อ (ก) คือผู้เช่าได้สร้างอาคารพาณิชย์ตามสัญญาเช่าและได้อยู่ในอาคารพาณิชย์ได้เพียง 5 ปี ผู้ให้เช่าได้ขายที่ดินที่เช่านี้ให้กับดํา ครั้นผู้เช่าได้เช่าที่ดิน มาจนครบ 10 ปีพอดี ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ขาวจึงแจ้งให้ดําไปจดทะเบียนการเช่า ให้ขาวเช่าที่ดินแปลงนี้ต่อไปอีก 10 ปีตามสัญญาข้อ 4 ดําจะต้องปฏิบัติตามความต้องการของขาวหรือไม่ จงวินิจฉัย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 538 “เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกําหนดกว่าสามปีขึ้นไป หรือกําหนด ตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้น จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี”

มาตรา 544 “ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีในทรัพย์สินนั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทําได้ไม่ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า

ถ้าผู้เช่าประพฤติฝ่าฝืนบทบัญญัติอันนี้ ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้”

มาตรา 552 อันผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติ หรือการดังกําหนดไว้ในสัญญานั้น ท่านว่าหาอาจจะทําได้ไม่

มาตรา 554 “ถ้าผู้เช่ากระทําการฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 552 มาตรา 553 หรือฝ่าฝืนข้อสัญญา ผู้ให้เช่าจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายหรือข้อสัญญานั้น ๆ ก็ได้ ถ้าและผู้เข่าละเลยเสีย ไม่ปฏิบัติตาม ท่านว่าผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้”

มาตรา 569 “อันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินผู้รับโอนยอมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เข่านั้นด้วย”

วินิจฉัย

(ก) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แดงทําสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้ขาวเช่าที่ดินของแดงมีกําหนด เวลา 10 ปี โดยตกลงชําระค่าเช่าเป็นรายปีเป็นค่าเช่าปีละหนึ่งล้านบาทนั้น สัญญาเช่าดังกล่าวมีผลสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมาย สามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ตามมาตรา 538

เมื่อสัญญาเช่ามีสาระสําคัญตามข้อ 3 ว่า “ผู้เช่าตกลงเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารพาณิชย์ของผู้เช่าเท่านั้นโดยจะไม่นําที่ดินไปใช้เป็นการอย่างอื่น” แต่เมื่อผู้เช่าได้รับพื้นที่ดินที่ผู้ให้เช่าส่งมอบให้แล้ว ผู้เช่ามิได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์แต่ได้นําที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเพื่อวางวัสดุก่อสร้าง และให้ผู้อื่นเช่าที่ดินที่เช่าเป็นที่จอดรถยนต์นั้น ผู้ให้เช่าย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ 2 กรณี คือ

1 การที่ขาวได้นําที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงอันเป็นการผิดสัญญาเช่าตามข้อ 3 นั้น แดงผู้ให้เช่า ย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนตามมาตรา 544 หรือ

2 การที่ขาวผู้เช่าได้นําทรัพย์สินที่เช่าไปใช้เพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในสัญญา แดงผู้ให้เช่าย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา 552 ประกอบมาตรา 554 โดยแดงจะต้องบอกกล่าวให้ ชาวผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อสัญญาก่อน เมื่อมีการบอกกล่าวแล้วแต่ผู้เช่าละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม แดงผู้ให้เช่า บอกเลิกสัญญาเช่านั้นได้

(ข) การที่ขาวผู้เช่าได้สร้างอาคารพาณิชย์ตามสัญญาเช่าและได้อยู่ในอาคารพาณิชย์ได้ 5 ปี แล้วแดง ให้เช่าได้ขายที่ดินที่เช่านี้ให้กับค่า ดังนี้ ผู้รับโอนย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของแดงผู้โอนซึ่งมีต่อขาว ผู้เช่าด้วยตามมาตรา 569 กล่าวคือ ดําจะต้องให้ขาวเช่าที่ดินแปลงนี้ต่อไปจนครบกําหนด 10 ปีตามสัญญาเช่า ส่วนข้อตกลงในข้อ 4 ที่ว่า “หากสัญญาเช่าครบกําหนด 10 ปีแล้ว ผู้ให้เช่าให้คํามั่นจะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดิน ให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีก 10 ปี โดยเรียกค่าเช่าเพิ่มปีละ 100,000 บาท” นั้น เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่ตามคํามั่นจะให้เช่า ไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า จึงไม่ผูกพันดําผู้รับโอน ดังนั้น เมื่อขาวผู้เช่าได้เช่าที่ดินมาจนครบ 10 ปีแล้ว สัญญาเช่าระหว่างแดงและขาวย่อมระงับลง และเมื่อขาวได้แจ้งให้ดําไปจดทะเบียนการเช่าให้ขาว เช่าที่ดินแปลงนี้ต่อไปอีก 10 ปี โดยอ้างสัญญาข้อ 4 ดําจึงไม่ต้องปฏิบัติตามความต้องการของขาวแต่อย่างใด

สรุป (ก) ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามมาตรา 544 หรืออาจบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 554

(2) เมื่อขาวแจ้งให้ทําไปจดทะเบียนการเช่าให้ขาวเช่าที่ดินต่อไปอีก 10 ปี ไม่ต้องปฏิบัติตามความต้องการของขาว

 

ข้อ 2 (ก) ม่วงทําสัญญาเป็นหนังสือให้เขียวเช่าที่ดินของม่วงมีกําหนดเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป โดยตกลงชําระค่าเช่าทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือน ๆ ละ 25,000 บาท ในวันทําสัญญาเช่าเขียวได้วางเงินมัดจําค่าเช่าไว้เป็นเงิน 75,000 บาท เขียวได้รับส่งมอบที่ดินจากม่วงแล้วเขียวไม่ได้ชําระค่าเช่าให้ม่วงอีกเลยจนถึงปัจจุบันนี้ ดังนั้นในวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ม่วงจึงบอกเลิกสัญญาเช่ากับเขียวทันที และให้เขียวออกจากที่ดินไปภายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่เขียวค้างชําระ ดังนี้การกระทําของม่วงชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) หากข้อเท็จจริงตามข้อ (ก) เป็นสัญญาเช่าซื้อ คําตอบของท่านจะแตกต่างไปหรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 560 “ถ้าผู้เช่าไม่ชําระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่ถ้าค่าเช่านั้นจะพึงส่งเป็นรายเดือน หรือส่งเป็นระยะเวลายาวกว่ารายเดือนขึ้นไป ผู้ให้เช่าต้อง บอกกล่าวแก่ผู้เช่าก่อนว่าให้ชําระค่าเช่าภายในเวลาใด ซึ่งพึงกําหนดอย่าให้น้อยกว่าสิบห้าวัน

วินิจฉัย

ในเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์นั้นตามบทบัญญัติมาตรา 560 ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าการชําระค่าเช่ากําหนด ชําระกันเป็นรายเดือนหรือยาวกว่ารายเดือน เมื่อผู้เช่าไม่ชําระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าทันทีเลยไม่ได้ จะต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าชําระค่าเช่าก่อนไม่น้อยกว่า 15 วัน ถ้าผู้เช่ายังไม่ยอมชําระอีกจึงจะบอกเลิกสัญญาได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ทรงทําสัญญาเป็นหนังสือให้เขียวเช่าที่ดินของม่วงมีกําหนด 3 ปี นับตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป โดยตกลงชําระค่าเช่าทุก ๆ วันที่ 15 ของแต่ละเดือน ๆ ละ 25,000 บาท และในวันทําสัญญาเช่าเขียวได้วางเงินมัดจําค่าเช่าไว้เป็นเงิน 75,000 บาท แต่เขียวไม่ได้ชําระค่าเช่าให้ม่วงอีกเลย จนถึงปัจจุบันนั้น การที่เขียวไม่ได้ชําระค่าเช่า 5 เดือน เมื่อหักค่าเช่า (มัดจํา) ออก 3 เดือน ตามที่เขียวได้ชําระไว้ ย่อมถือว่าเขียวไม่ได้ชําระค่าเช่า 2 เดือนติดต่อกัน คือ เดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ซึ่งมีผลทําให้ม่วงมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสัญญาเช่านั้นมีการกําหนดชําระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน ม่วงจะบอก เลิกสัญญาเช่าทันทีเลยไม่ได้ จะต้องบอกกล่าวให้เขียวนําค่าเช่ามาชําระก่อน โดยต้องให้เวลาแก่เขียวนําค่าเช่า มาชําระอย่างน้อย 15 วัน ซึ่งถ้าเขียวไม่ยอมชําระอีก ม่วงจึงจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามมาตรา 560 วรรคสอง ดังนั้น การที่ม่วงบอกเลิกสัญญาเช่ากับเขียวทันทีในวันที่ 21 ตุลาคม 2562 และให้เขียวออกจากที่ดินที่เช่า ภายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 นั้น การบอกเลิกสัญญาเช่าของม่วงจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ม่วงสามารถเรียกค่าเช่าที่ค้างชําระ 2 เดือนได้

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 574 วรรคหนึ่ง “ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน หรือกระทําผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสําคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน ให้รับเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย”

วินิจฉัย

ถ้าข้อเท็จจริงตามข้อ (ก) เป็นสัญญาเช่าซื้อ การที่เขียวผิดนัดไม่ชําระค่าเช่าในเดือนกันยายนและ ตุลาคม 2562 นั้น ย่อมถือเป็นกรณีที่เขียวผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กันแล้ว ดังนั้น ม่วงผู้ให้เช่าซื้อ จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันทีตามมาตรา 574 วรรคหนึ่ง การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของเขียวจึงชอบด้วยกฎหมาย

แต่อย่างไรก็ตาม ม่วงจะเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่เขียวยังไม่ชําระในเดือนกันยายนและตุลาคม 2562 จํานวน 50,000 บาท ไม่ได้ เพราะตามหลักกฎหมายมาตรา 574 วรรคหนึ่ง หากผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ สองคราวติด ๆ กัน หรือกระทําผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสําคัญ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และรับเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ใช้มาแล้วเท่านั้น จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชําระเพราะผิดนัดหรือผิดสัญญาดังกล่าวไม่ได้

สรุป (ก) การบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์ทันทีของม่วงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ม่วงสามารถเรียก ค่าเช่าที่ค้างชําระ 2 เดือนได้

(ข) การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทันทีของม่วงชอบด้วยกฎหมาย แต่ม่วงจะเรียกค่าเช่าซื้อที่เขียวค้างชําระ 2 เดือนไม่ได้ ดังนั้น คําตอบจึงแตกต่างกัน

ข้อ 3

(ก) นายพิชิตทําสัญญาจ้างนายสมัยเป็นลูกจ้างช่วยงานช่างเครื่อง โดยทําเป็นสัญญาจ้างมีกําหนด ระยะเวลาจ้างอย่างต่ำ1 ปี และไม่เกิน 2 ปี ให้เริ่มสัญญาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 มีข้อสัญญา ให้ชําระสินจ้างเดือนละ 14,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือน ปรากฏว่าในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ฝ่ายนายจ้างได้ประชุมกันและให้ทําการเลิกจ้างนายสมัยและลูกจ้างคนอื่นอีก 8 คน ด้วยเหตุผลเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก นายพิชิตจึงมีหนังสือบอกกล่าวนายสมัยและลูกจ้างทั้งหมดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 และเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 นายสมัยและลูกจ้างคนอื่น อีก 8 คน เห็นว่าไม่ถูกต้อง เช่นนี้ ท่านเห็นว่าอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

(ข) นายสุริยาได้พูดตกลงกับนายธนชาติว่าให้นายธนชาติทําการต่อรถบรรทุกน้ำมันให้ 1 คัน ราคา 2 ล้านบาท โดยตกลงชําระสินจ้างเป็นส่วน ๆ ตามความสําเร็จของงานตามที่ตกลงกัน เมื่อต่อรถบรรทุกน้ํามันเสร็จก็ได้ให้ลูกน้องของนายสุริยามาทําการตรวจสอบความเรียบร้อยเพื่อส่งมอบให้แก่นายสุริยาในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าในคืนนั้นเองได้เกิดฝนฟ้าคะนองฟ้าผ่า รถบรรทุกน้ำมันไฟไหม้หมดทั้งคัน นายธนชาติได้เรียกร้องสินจ้างอีก 1 ล้านบาทที่ยังไม่ได้ รับชําระ (ได้รับไปแล้ว 1 ล้านบาท) เช่นนี้

ก) นายสุริยาต่อสู้ว่า ไม่พูดตกลงกับนายธนชาติโดยไม่ได้ทําสัญญาเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องไม่ได้

และ

ข) นายสุริยาจะต้องชําระสินจ้าง 2 ล้านบาทให้นายธนชาติหรือไม่ เพราะเหตุใดตามมาตราใด

จงอธิบาย

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 575 “อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทํางาน ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทํางานให้

มาตรา 582 “ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กําหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ท่านว่าฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้า ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกําหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง

เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกําหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทําได้ แต่ไม่จําต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน

อนึ่ง ในเมื่อบอกกล่าวดังว่านี้ นายจ้างจะจ่ายสินจ้างแก่ลูกจ้างเสียให้ครบจํานวนที่จะต้องจ่าย จนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกําหนดที่บอกกล่าวนั้นทีเดียวแล้วปล่อยลูกจ้างจากงานเสียในทันทีก็อาจทําได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพิชิตทําสัญญาจ้างนายสมัยเป็นลูกจ้างช่วยงานช่างเครื่อง โดยทําเป็นสัญญาจ้างโดยตกลงชําระสินจ้างเดือนละ 14,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือนนั้น ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามมาตรา 575 และเมื่อมีการทําสัญญาจ้างมีกําหนดระยะเวลาจ้างอย่างต่ํา 1 ปี และไม่เกิน 2 ปี ซึ่งนายจ้าง มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ กําหนดเวลานั้นจึงไม่ใช่กําหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาตามนัยมาตรา 582 (คําพิพากษาฎีกาที่ 1604/2528)

การที่นายจ้างได้ประชุมกันในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 และให้ทําการเลิกจ้างนายสมัยและลูกจ้าง คนอื่นอีก 8 คน ด้วยเหตุผลเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก และนายพิชิตได้มีหนังสือบอกกล่าวนายสมัยและลูกจ้างทั้งหมด ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 นั้น ย่อมถือว่าเป็นการบอกกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2562 อันถือว่าเป็นการบอกกล่าว ล่วงหน้าเพื่อให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างได้ในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 ดังนั้น การที่นายพิชิตได้บอกกล่าว ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 โดยให้ถือว่าเป็นการเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 จึงไม่ถูกต้องตามมาตรา 582

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 567 “อันว่าจ้างทําของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทําการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการที่ทํานั้น”

มาตรา 603 “ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ และการที่จ้างทํานั้นพังทลายหรือบุบสลายลง ก่อนที่ได้ส่งมอบกันถูกต้องไซร้ ท่านว่าความวินาศภัยอันนั้นตกเป็นพับแก่ผู้รับจ้าง หากความวินาศภัยนั้นมิได้ เป็นเพราะการกระทําของผู้ว่าจ้าง

ในกรณีเช่นว่านี้ สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายสุริยาได้พูดตกลงกับนายธนชาติว่าให้นายธนชาติทําการต่อรถบรรทุกน้ำมัน ให้ 1 คัน ราคา 2 ล้านบาท โดยตกลงชําระสินจ้างเป็นส่วน ๆ ตามความสําเร็จของงานตามที่ตกลงกันนั้น ระหว่างนายสุริยากับนายธนชาติถือเป็นสัญญาจ้างทําของตามมาตรา 587 และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อนายธนชาติต่อรถบรรทุกน้ํามันเสร็จก็ได้ให้ลูกน้องของนายสุริยามาตรวจสอบความเรียบร้อยเพื่อส่งมอบให้แก่ นายสุริยาในวันรุ่งขึ้น แต่ปรากฏว่าในคืนนั้นเองได้เกิดฝนฟ้าคะนองฟ้าผ่ารถบรรทุกน้ํามันไฟไหม้หมดทั้งคัน และ นายธนชาติได้เรียกร้องสินจ้างอีก 1 ล้านบาทที่ยังไม่ได้รับชําระ (ได้รับชําระไปแล้ว 1 ล้านบาท) ดังนี้

ก) การที่นายสุริยาต่อสู้ว่าได้พูดตกลงกับนายธนชาติโดยไม่ได้ทําสัญญาเป็นหนังสือจึงฟ้องร้อง ไม่ได้นั้น นายสุริยาไม่สามารถต่อสู้ได้ เนื่องจากสัญญาจ้างทําของตามมาตรา 587 นั้น ไม่มีแบบ ดังนั้นสัญญาจ้าง ทําของจึงอาจทําเป็นหนังสือสัญญาหรืออาจตกลงด้วยวาจาก็ได้

ข) การที่รถบรรทุกน้ำมันได้พังทลายหรือบุบสลายลงทั้งหมดเนื่องจากเหตุดังกล่าวข้างต้น และความวินาศภัยนั้นก็มิได้เกิดขึ้นเพราะการกระทําของนายสุริยาผู้ว่าจ้าง และตามสัญญาจ้างนั้นนายธนชาติก็เป็น ผู้จัดหาสัมภาระเอง อีกทั้งความวินาศภัยได้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการส่งมอบการที่จ้างทํานั้น ดังนั้น ความวินาศภัย ดังกล่าวจึงตกเป็นพับแก่นายธนชาติผู้รับจ้างตามมาตรา 63 นายธนชาติจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับสินจ้างอีก 1 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้รับชําระ และนายธนชาติจะต้องส่งคืนสินจ้างที่ได้รับไปแล้ว 1 ล้านบาทแก่นายสุริยาด้วย

สรุป

(ก) การบอกกล่าวของนายพิชิตในวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 และให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้าง ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ไม่ถูกต้อง

(ข) ก) นายสุริยาจะต่อสู้ว่าได้พูดตกลงกับนายธนชาติโดยไม่ได้ทําสัญญาเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องไม่ได้นั้น ไม่อาจต่อสู้ได้

ข) นายสุริยา ไม่ต้องชําระสินจ้าง 2 ล้านบาทให้แก่นายธนชาติ และนายธนชาติก็ต้อง ส่งคืนสินจ้างที่ได้รับไปแล้วจํานวน 1 ล้านบาทด้วย

Advertisement