การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1106 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ให้นักศึกษาตอบคําถามดังนี้

Advertisement

(ก) กฎหมาย “ตราสามดวง” เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นในยุคใด มีมูลเหตุจากเรื่องใด

(ข) จากการที่ท่านได้ศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย “ศาสนา” มีอิทธิต่อกฎหมายไทยอย่างไรบ้าง

ธงคําตอบ

(ก) กฎหมาย “ตราสามดวง” คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงให้บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้ปกครองบ้านเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2347 (จุลศักราช 1166)

สาเหตุที่มีการประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้น ก็เนื่องมาจากการร้องทุกข์ของนายบุญศรีช่างเหล็กหลวง ความว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลว่านายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ร้องทุกข์กล่าวโทษพระเกษมและนายราชาอรรถ เนื่องจากอําแดงป้อมภรรยานายบุญศรีฟ้องหย่านายบุญศรีนายบุญศรีให้การแก่พระเกษมว่าอําแดงป้อมนอกใจทําด้วยนายราชาอรรถแล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรี ไม่ยอมหย่า พระเกษมหาได้พิจารณาตามคําให้การของนายบุญศรีไม่ พระเกษมพูดจาแทะโลมอําแดงป้อม และพิจารณาไม่เป็นสัจไม่เป็นธรรมเข้าด้วยอําแดงป้อมแล้วคัดข้อความมาให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงปรึกษาว่า เป็นหญิงหย่าชาย ให้อําแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากผัวเมียกันตามกฎหมาย

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาตรัสว่าหญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหาเป็นยุติธรรมไม่ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เจ้าพระยาพระคลังเอา กฎหมาย ณ ศาลหลวงมาสอบกับฉบับหอหลวง ฉบับข้างที่ ได้ความว่า ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็น หญิงหย่าชาย หย่าได้ ถูกต้องตรงกัน ทั้ง 3 ฉบับ จึงทรงเห็นว่าทางฝ่ายศาสนาจักรนั้นพระไตรปิฎกฟันเฟือนวิปริต ก็ยังอาจอาราธนาพระราชาคณะทั้งปวงให้ทําสังคายนาชําระพระไตรปิฎกให้ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติได้ ดังนั้น ทางฝ่ายราชอาณาจักรเมื่อกฎหมายฟั่นเฟือนวิปริต จึงควรที่จะชําระให้ถูกต้อง พระองค์จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง ประกอบด้วย อาลักษณ์ 4 ลูกขุน 3 ราชบัณฑิต 4 จัดการ ชําระบทกฎหมายตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นไป มิให้เนื้อความผิดเพี้ยนซ้ํากัน จัดเป็นหมวดหมู่เข้าไว้ ดัดแปลง บทกฎหมายที่วิปลาสให้ถูกต้องตามความยุติธรรม เมื่อชําระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงให้อาลักษณ์เขียนเป็นฉบับหลวง จํานวน 3 ชุด ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้ว อันเป็นตราประจําตําแหน่งสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ (ซึ่งทําให้เรียกกันในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง) ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความถูกต้องแท้จริงของกฎหมาย และแสดงให้เห็นว่ากฎหมายนั้นมีอํานาจใช้บังคับตลอดทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งมีบทห้ามมิให้ลูกขุนเชื่อฟังกฎหมายอื่นที่มิได้มีตราทั้งสามนี้ประทับอยู่ กฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้เก็บไว้ที่ ห้องเครื่อง 1 ชุด หอหลวง 1 ชุด และที่ศาลหลวง 1 ชุด

กฎหมายตราสามดวงนั้น ถือว่าเป็นรากฐานสําคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย อีกเรื่องหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นกฎหมายก่อนหน้านั้น และบางเรื่องที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงยังมีปรากฏในกฎหมายไทยในระยะหลังอีกด้วย

(ข) กฎหมายกับศาสนามีความเหมือนกันตรงที่มีแบบแผนในการกําหนดความประพฤติปฏิบัติที่แน่นอน เป็นลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นกฎหมายก็จะมีประมวลกฎหมายบัญญัติกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เอาไว้ ส่วนถ้า เป็นหลักศาสนาก็จะมีคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เขียนถึงแนวคิดหรือหลักธรรมคําสอนต่าง ๆ ของศาสดาของแต่ละศาสนา ๆ เอาไว้อย่างชัดเจน ในกฎหมายไทยอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธ ปรากฏเป็นหลักการสําคัญในการนํามาบัญญัติเป็นกฎหมาย เช่น หลักในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ที่มาจากพราหมณ์ที่มีคําสอนเรื่องหลักอินทภาษ หรือในศาสนาพุทธที่มีการนําคติเรื่องนรกภูมิมากําหนดเป็นบทลงโทษเพื่อให้คนเกิดความเกรงกลัว เป็นต้น

 

ข้อ 2. หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญ มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดและอิทธิพลใดในประวัติศาสตร์ของกฎหมาย

ธงคําตอบ

หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญนั้น มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดแบบ “เทวสิทธิ์” หรือ “เทวราชา” (Divine Right of King) ซึ่งเป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

แนวคิดตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดชาติขึ้นมา ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงมีความชอบธรรมที่จะปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เพราะได้รับมอบอํานาจมาจากพระเจ้าโดยตรง

ส่วนแนวคิดตามทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เชื่อว่า อํานาจเด็ดขาดในองค์กรเดียวจะก่อให้เกิด ความมั่นคงและสันติภาพ ซึ่งนักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สําคัญ คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอํานาจเด็ดขาด เป็นแนวอธิบายใหม่ของศักดินานิยมที่ยังคงสนับสนุนให้อํานาจเด็ดขาด อยู่กับพระมหากษัตริย์ แต่เปลี่ยนข้ออ้างจากพระเจ้ามาเป็นความมั่นคงและสันติภาพของชุมชน ซึ่งทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น นอกจากจะให้ความชอบธรรมแก่ระบบกษัตริย์แล้ว ยังเน้นการรวมศูนย์ยิ่งกว่าทฤษฎี เทวสิทธิ์ ซึ่งโทมัส ฮอบส์ ยังได้กล่าวว่า สภาพธรรมชาติที่ปราศจากอํานาจศูนย์กลางที่ทําให้ทุกคนเกรงกลัว เป็น สภาพสงครามที่ทุกคนต้องต่อสู้กันเอง คนทุกคนเป็นศัตรูกัน ไม่มีความมั่นคง มนุษย์จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ทําสัญญาตั้งองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจเด็ดขาดบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา องค์อธิปัตย์จึงทําหน้าที่ตรวจตรา ดูแลและลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสังคม โดยองค์อธิปัตย์จะอยู่เหนือสัญญา ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ ต่อองค์อธิปัตย์ อํานาจขององค์อธิปัตย์จึงเด็ดขาดสูงสุด

แนวคิดและหลักความเชื่อดังกล่าวที่ว่าพระเจ้าทรงมอบอํานาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอํานาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา และเมื่อมีการ ขยายตัวของรัฐอิสระต่าง ๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็ กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา

และความเชื่อดังกล่าวนี้ได้แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์และต้นราชวงศ์ สจ๊วตในบริเตน และคริสต์ศาสนาปรัชญาของกลุ่มนักปรัชญาคาโรไลน์ ผู้มีอิทธิพลและมีตําแหน่งหน้าที่สูงในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระเจ้าชาร์ลที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ

ในยุคสมัยของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจในการบริหารราชการ ทุกประเภทรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ผู้ดํารงฐานะเป็นประมุขของรัฐ จึงทําให้เข้าใจว่ากษัตริย์เป็นแหล่งกําเนิด อํานาจอธิปไตย อํานาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์เป็นผู้ตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายโดยพระองค์เอง อํานาจต่าง ๆ ในทางการปกครองรวมทั้งการชําระคดีความล้วนมีที่มาหรือได้รับมอบหมายมาจากกษัตริย์ทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กษัตริย์จึงไม่อาจมีความรับผิดใด ๆ ได้ เพราะกษัตริย์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้อํานาจอธิปไตย เสียเอง จะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้อํานาจของตนเองได้อย่างไร จึงมีหลักความคุ้มครองไม่ให้ฟ้องร้องดําเนินคดีใด ๆ ต่อกษัตริย์ที่เรียกว่า “The King Car Do No Wrong” เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย Common Law ของอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศในทวีปยุโรป

ภายหลังจากที่หลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย แต่ละประเทศอาจจะเลือกการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็น ประมุขของรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีเป็น
ประมุขโดยตรง ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ประวัติศาสตร์ความผูกพันและทัศนคติหรือมุมมองที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

สําหรับประเทศไทย ได้เลือกระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ได้บัญญัติรับรองหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้ว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตย จึงเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ บริหารราชการแผ่นดิน เพียงแต่พระองค์ทรงทําตามคําแนะนําของรัฐบาลจึงไม่ต้องมีความรับผิดชอบใด ๆ อัน เกิดจากการกระทําของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องนําหลัก “The King Can Do No Wrong” มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับ ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และนอร์เวย์

 

ข้อ 3. แหล่งที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law กับระบบ Socialist Law มีความเหมือนกัน และแตกต่างกันอย่างไร

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ เป็นระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบกฎหมาย ที่ศาลได้นําเอาจารีตประเพณีมาใช้ในการตัดสินคดี โดยมีต้นกําเนิดจากประเทศอังกฤษ เนื่องจากในระยะแรก ได้มีชนเผ่าต่าง ๆ ที่ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ และศาลของท้องถิ่นได้นําเอาจารีตประเพณีของชนเผ่า มาตัดสินคดี ทําให้ผลของคําพิพากษาแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน จนกระทั่งเมื่อชนเผ่าสุดท้าย คือ พวกนอร์แมน พิชิตเกาะอังกฤษ ในสมัยของพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 จึงได้ส่งศาลเคลื่อนที่ออกไปวางหลักเกณฑ์ ทําให้จารีตประเพณี เหมือนกันทุกท้องถิ่นมีลักษณะเป็นสามัญ และใช้บังคับกันได้ทั่วไป ทําให้มีการเรียกชื่อว่า คอนมอนลอว์ และ ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบนี้ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

ส่วนระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law) เป็นระบบกฎหมายที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศรัสเซียหลังจากการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1917 โดยได้นําเอาแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) และเลนิน (Lenin) โดยทั้ง 2 ท่าน มีแนวความคิดว่า กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือ เพื่อใช้ปกครองประเทศโดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชุมชนหรือสังคม ประเทศที่ใช้ระบบ กฎหมายสังคมนิยมนี้ ได้แก่ จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว เป็นต้น

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์กับระบบกฎหมายสังคมนิยมนั้น จะมีแหล่งที่มาเหมือนกัน คือ บ่อเกิดของกฎหมายมาจากจารีตประเพณี โดยประเทศอังกฤษเป็นต้นกําเนิดของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
ส่วนประเทศรัสเซียเป็นต้นกําเนิดของระบบกฎหมายสังคมนิยม

ส่วนที่แตกต่างกัน คือ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น กฎหมายจะมาจากคําพิพากษาของศาล และมาจากความยุติธรรม แต่ระบบกฎหมายสังคมนิยมนั้น กฎหมายมาจากแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน

 

ข้อ 4. อธิบายความแตกต่างหรือความคล้ายคลึงกันระหว่างกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ธงคําตอบ

(ก) Common Law กับ ศาลพระมหากษัตริย์

(ข) Civil Law กับ กฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

(ก) Common Law คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อยู่ในรูปของแนวปฏิบัติที่ เรียกว่า “จารีตประเพณี” ซึ่งต้นกําเนิดหรือแม่แบบของ Common Law คือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศ ที่มีลักษณะเป็นเกาะ โดยระยะแรกนั้นได้มีชนเผ่าต่าง ๆ อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ ก่อนที่ชาวนอร์แมน ซึ่งเป็นชนเผ่าสุดท้ายที่เป็นบรรพบุรุษของคนอังกฤษจะเข้ายึดครองเกาะอังกฤษได้สําเร็จ และตั้งราชวงศ์มีกษัตริย์ปกครองนามว่าพระเจ้าวิลเลียม แต่พระองค์ก็ประสบปัญหาในการปกครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคดีความ

เนื่องจากศาลท้องถิ่นได้ตัดสินคดีโดยใช้จารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่นซึ่งไม่เหมือนกัน ทําให้ผลของคําพิพากษา แตกต่างกันในแต่ละศาล อีกทั้งจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของบางชนเผ่ายังเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย ทําให้ ฝ่ายที่แพ้คดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริงก็ยังใช้วิธีการดั้งเดิม เช่น การพิสูจน์น้ํา พิสูจน์ไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเอง ราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงได้มีการเข้าร้องเรียนต่อพระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้ จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King’s Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) และส่งผู้พิพากษา นั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียนออกไปพิจารณาคดี โดยจะไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างศาล ท้องถิ่น แต่ใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ซึ่งทําให้ประชาชนทั่วไป

เห็นว่าศาลหลวงสามารถให้ความเป็นธรรมแก่ตนได้ จนในที่สุดศาลหลวงก็ได้วางหลักเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็น สามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป ทําให้ระบบกฎหมาย Common Law หรือ “คอมมอนลอว์” ได้เริ่มเกิดขึ้น ในประเทศอังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา

(ข) Civil Law คือ ระบบกฎหมายที่มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร มีต้นกําเนิดจากอาณาจักรโรมัน โดยระบบกฎหมายนี้จะมีการรวบรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่าง ๆ มาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และ
จัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งอยู่ในรูปประมวลกฎหมาย

เหตุที่เรียกชื่อระบบกฎหมายนี้ว่า Civil Law เพราะต้องการที่จะยกย่องและให้เกียรติกฎหมายโรมัน ซึ่งมีคุณค่าสูงกว่ากฎหมายของชนชาติใด ๆ ในสมัยนั้น เนื่องจากคําว่า “Jus Civile” หรือ “Civil Law” หมายถึง กฎหมายที่ใช้กับชาวโรมัน หรือต้นกําเนิดของกฎหมายโรมันแท้ ๆ และคําว่า “Civil Law” นี้ ต่อมาก็ได้กลายเป็น ชื่อระบบกฎหมายซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเมื่อพิจารณากฎหมายโรมันซึ่งได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร จึงมีผู้เรียกระบบกฎหมายนี้อีกชื่อหนึ่งว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือ “Written Law” นั่นเอง

Advertisement