การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1450 (MCS 1400) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. องค์กรอิสระที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยในปัจจุบัน ตรงกับข้อใด
(1) กทช.
(2) กสช.
(3) กสทช.
(4) กสท. และ กทค.
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรอิสระ ของรัฐองค์กรหนึ่งที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการ สรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งตาม มาตรา 6 ได้ระบุไว้ว่า ให้มี “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ” หรือเรียกโดยย่อว่า “กสทช.” เป็นครั้งแรก จํานวน 11 คน

Advertisement

2.การกําหนดให้มีการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลของไทย ตรงกับข้อใด
(1) เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธสัญญาของกลุ่มประเทศอาเซียน
(2) ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 กําหนดให้เริ่มต้นรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบ ดิจิทัลภายในเวลา 4 ปี
(3) ตามกฎหมายระหว่างประเทศการบริหารคลื่นความถี่ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) ตามกฎบัตรของสหภาพการกระจายเสียงเอเชียแปซิฟิก
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ในระบบ ดิจิทัล เกิดขึ้นตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 ซึ่งได้กําหนดให้เริ่มต้นรับส่ง สัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภายในเวลา 4 ปี นับแต่วันที่แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ใช้บังคับเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 และตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ ฉบับที่ 1 ซึ่งมีกรอบการดําเนินงานอยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2559

3. สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(1) สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
(2) สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(4) สถานีโทรทัศน์ NBT
ตอบ 4 หน้า 50 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทําหน้าที่ให้ความรู้ ให้การศึกษา เผยแพร่ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐ และให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แม่ข่ายที่ถ่ายทอดไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนภูมิภาคในลักษณะเครือข่าย โดยการ เชื่อมโยงสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือใช้ระบบดาวเทียมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

4. ผลเสียต่อบุคคล การทําให้ประชาชนมึนเมา ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 89, 91 หน้าที่ในการให้ข่าวสารของชาร์ลส์ อาร์. ไรท์ (Charles R. Wright) ได้ส่งผลเสีย ต่อบุคคลประการหนึ่ง ได้แก่ การเข้าถึงข่าวสารจากสื่อมวลชนอาจทําให้บุคคลเกิดความเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่สนใจในการควบคุมสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ บุคคลอาจใช้เวลามากในการดูดซับข่าว จนกระทั่งตนเองทํางานเพียงเล็กน้อย และอาจเชื่อว่า การเป็นคนที่รู้ข่าวสาร คือ การเป็นคน ที่กระตือรือร้น ซึ่งพอล เอฟ. ลาซาร์สเฟลด์ (Paul F. Lazarsfeld) และโรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้เรียกผลเสียของสื่อมวลชนในด้านนี้ว่า “การทําให้ประชาชนมึนเมา”

5.ผลเสียต่อวัฒนธรรม ทําให้เกิดการรุกรานทางวัฒนธรรม ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 89, 92 หน้าที่ในการให้ข่าวสารของชาร์ลส์ อาร์. ไรท์ (Charles R. Wright) ได้ส่งผลเสีย ต่อวัฒนธรรม คือ การเผยแพร่ข่าวสารโดยไม่มีการควบคุมทําให้เกิดการรุกรานทางวัฒนธรรม และทําลายวัฒนธรรมที่ดีงามของเราเอง เช่น กิริยามารยาท การแต่งกาย ความเสื่อมเสียทาง ศีลธรรม การมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงาน การสําส่อนทางเพศ การอยู่แบบสามีภรรยา เป็นเวลานานก่อนแต่งงาน ฯลฯ

6 Broadcasting หมายถึงข้อใด
(1) การออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง
(2) การออกอากาศทางสื่อออนไลน์
(3) การออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์
(4) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 1 คําว่า “Broadcasting” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ในขณะที่สารานุกรมบริแทนนิกาได้ให้ความหมายไว้ว่า “Broadcasting” คือ การออกอากาศ รายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ผู้รับซึ่งเป็นสาธารณชนทั่วไป

7. ผู้บัญญัติศัพท์คําว่า “วิทยุโทรทัศน์” หมายถึงข้อใด
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) ราชบัณฑิตยสถาน
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 1หน้า 3, 81 คําว่า “Television” นี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ และได้บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า “วิทยุโทรทัศน์” (มักเรียกสั้น ๆ ว่า “โทรทัศน์”) ซึ่งหมายถึง การส่งและรับสัญญาณภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

8.จุดเริ่มต้นของกระบวนการสรรหา กสช. และ กทช. มาจาก กม. ใด
(1) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543
(2) พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
ตอบ 1 หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 วรรคสอง ได้กําหนด
ให้มีองค์กรอิสระของรัฐจํานวน 2 องค์กรที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระดังกล่าว จึงได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรา 6 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คสช.” และมาตรา 46 ระบุว่า ให้มีคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กทช.”

9. ในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. ผู้ที่ทําหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่าจะมี กสทช. หมายถึงข้อใด
(1) กสช.
(2) กกช.
(3) กทช.
(4) กสท.
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 78 ระบุว่า ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรอิสระของรัฐที่มากํากับดูแลกิจการวิทยุและ โทรทัศน์ (ในที่นี้คือ กสทช.) ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตาม พ.ร.บ. นี้เป็นการชั่วคราว (ในที่นี้คือ กทช. เป็นผู้ทําหน้าที่ แทนชั่วคราวจนกว่าจะมี กสทช. เกิดขึ้น)

10. การกําหนดแผนแม่บทเพื่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่กิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) กสทช.
(4) คสช.
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 27 ระบุให้ กสทช. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ให้จัดทําแผนแม่บทในการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุ และแผนเลขหมายโทรคมนาคม
2. กําหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ

11. กฎหมายได้กําหนดให้กิจการวิทยุและโทรทัศน์มีใบอนุญาตใด
(1) บริการสาธารณะ และบริการธุรกิจ
(2) บริการระดับชาติ ท้องถิ่น และระดับจังหวัด
(3) บริการสาธารณะ บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
(4) บริการธุรกิจ และบริการชุมชน
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 10 ได้ระบุว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้ คลื่นความถี่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ
2. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน
3. ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการธุรกิจ

12. กรณีพิพาทของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกับหน่วยงานคู่สัญญาใดที่นําไปสู่การลงโทษปิดสถานี
(1) กองทัพบก
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) อ.ส.ม.ท.
(4) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทยที่ถูกมาตรการลงโทษให้ปิดสถานี ตามคําตัดสินของศาลปกครองสูงสุด คือ ไอทีวี เนื่องจากไอทีวีได้เกิดกรณีพิพาทกับหน่วยงาน คู่สัญญา คือ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในกรณีที่ไอทีวีผิดสัญญาในการจ่าย ค่าสัมปทาน และการเสนอรายการในช่วง Prime Time ไม่เป็นไปตามสัญญาการประมูลข้อ 2 แต่ต่อมาศาลปกครองสูงสุดก็มีคําสั่งคุ้มครองให้ออกอากาศต่อไปได้ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า TITV โดยมีเงื่อนไขว่าทันทีที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สถานีวิทยุโทรทัศน์ TITV ต้องเปลี่ยนเป็นทีวีสาธารณะเต็มรูปแบบ

13. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล ตรงกับข้อใด
(1) สนับสนุนผู้ที่อยู่ในอํานาจที่ถูกต้อง
(2) การเผยแพร่ความรู้ ความคิด บรรทัดฐานที่เป็นที่ยอมรับกันของสังคม
(3) ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
(4) การให้สถานภาพทางสังคม รายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 95, 99 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของมวลชนผู้รับสารประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล
(Personal Identity) ได้แก่
1. สนับสนุนค่านิยมส่วนตัวของบุคคล
2. ให้แบบอย่างของบุคคลที่มีคุณค่า
3. ทําให้บุคคลเข้าใจตนเองมากขึ้น

14. หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) คือ
(1) การรณรงค์เป้าหมายหลักของสังคม เช่น การเมือง
(2) การจัดลําดับความสําคัญ และสร้างความสอดคล้องกันในสังคม
(3) การแสดงถึงความสัมพันธ์ของอํานาจต่าง ๆ ในสังคม
(4) การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม
ตอบ 4 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของสังคมประการหนึ่ง คือ หน้าที่ในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity) ซึ่งประกอบไปด้วยหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
1. การแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมย่อย และการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ ๆ
2. การดํารงและรักษาไว้ซึ่งค่านิยมร่วมของสังคม

15 The “advocate on media functions หมายถึงข้อใด
(1) นักสื่อสารมวลชน
(2) นักประชาสัมพันธ์
(3) มวลชนผู้รับสาร
(4) นักวิจารณ์
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนตาม แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ (The perspective of the “advocate on media functions) ได้แก่ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักสื่อสารการเมืองและธุรกิจ (Political and Business Communicators) นักรณรงค์ ฯลฯ ซึ่งทํางานให้หน่วยงานต่าง ๆ

16. บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อสถานี วิทยุแห่งนี้ว่า “พี่เจ” ซึ่งย่อมาจากคําว่า “บูรฉัตรไชยากร

17. บุคคลที่บัญญัติคําว่า “วิทยุ” หมายถึงใคร
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคําเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่ใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทย มาใช้เป็นครั้งแรก และต่อมาภายหลัง ราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คําเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง

18. บุคคลใดที่ได้นําเครื่องรับวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในไทย
(1) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
ตอบ 1 หน้า 32 เมื่อปี พ.ศ. 2450 กรมทหารเรือที่มีจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ วรพินิต เป็นผู้บัญชาการ ได้นําเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้ในราชการ ทหารเป็นครั้งแรก และในปีเดียวกันนี้กองทัพบกที่มีเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์เป็นเสนาธิการก็ได้สั่งเครื่องวิทยุสนามแบบมาร์โคนีมาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

19. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค เป็นความคิดริเริ่มของใคร
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, 149 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคนั้น เป็นความคิดริเริ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งท่านเห็นว่า วิทยุโทรทัศน์มีข้อจํากัดที่ไม่สามารถแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ จึงให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยให้ทําหน้าที่เป็นสถานี แม่ข่ายในส่วนภูมิภาคทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ. 2503

20. สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) ช่อง 3
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 3 หน้า 47 สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน ได้แก่ บริษัท กรุงเทพ โทรทัศน์และวิทยุ จํากัด เป็นเจ้าของสัมปทานหรือร่วมดําเนินการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510

21. ข้อใดเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
(1) ช่อง 3, ช่อง 3 HD
(2) ช่อง NBT, ช่อง MCOT
(3) ช่อง 7, ช่อง 7 HD
(4) ช่องไทยรัฐทีวี, ช่อง 8
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่เกิดขึ้นมาภายหลัง และกําลังแพร่ภาพ ออกอากาศอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ ช่อง 3 HD, ช่อง 7 HD, ช่อง MCOT HD, ช่อง PPTV HD, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่อง 8, ช่องโมโน 29, ช่อง Workpoint, ช่อง TNN 24, ช่อง True 4U ฯลฯ

22. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 1 หน้า 42, 44 – 45 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด (ปัจจุบันก็คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี) ดําเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) ในสังกัดของสํานักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็น วันแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย ดังนั้นกิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) จึงมีอายุ 67 ปี

23. การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ของไทยนั้น ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ คือ
(1) คสช.
(2) กสทช.
(3) กรมประชาสัมพันธ์
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป), (ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ) เจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ไทยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรของรัฐ ที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทําหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ได้แก่ กสทช.

24.กสทช. หมายถึงอะไร
(1) คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(2) คณะกรรมการกําหนดบทบาทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(3) คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(4) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

25. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย ได้ทําพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อใด
(1) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
(2) วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471
(3) วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
(4) วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
ตอบ 3หน้า 34 – 35, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยทางราชการได้ทําพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการและถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7) ซึ่งถือเป็น จุดกําเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย และทุกวันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปีจะถือเป็น “วันวิทยุกระจายเสียงไทย”

26. กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันมีอายุกี่ปี
(1) 58 ปี
(2) 59 ปี
(3) 66 ปี
(4) 67 ปี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

27. องค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของ
แต่ละประเทศ คือองค์กรใด
(1) ABU
(2) EBU
(3) ITU
(4) RTU
ตอบ 3 หน้า 58, 115, 124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) ซึ่งมีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทาง
รัฐบาลของแต่ละประเทศ

28. “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก” คือ
(1) ลี เดอ ฟอเรสต์
(2) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(3) เฮนริช เฮิรตซ์
(4) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 ในปี พ.ศ. 2438 ถูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า “วิทยุโทรเลข” (Wireless Telegraph) สําเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและได้นําเอาการทดลองนี้ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการ ยกย่องว่าเป็น “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

29.“Television” ได้บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่าอะไร
(1) โทรทัศน์
(2) วิทยุโทรภาพ
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) วิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

30. บุคคลแรกที่เป็นผู้นําเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จ คือ
(1) เฮนริช เฮิรตซ์
(2) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(3) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

31. สื่อมวลชนที่เป็นรากฐานของลัทธิบริโภคนิยมสมัยใหม่ หมายถึง
(1) สื่อออนไลน์
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 3 หน้า 26 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วิทยุโทรทัศน์นับเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทอย่างมาก ในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการใช้สื่อโทรทัศน์ในระยะนั้นประกอบไปด้วย รายการบันเทิง เช่น ละคร ภาพยนตร์ ดนตรี การแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัลหรือเกมโชว์ และรายการโฆษณา อันเป็นรากฐานของลัทธิบริโภคนิยมสมัยใหม่ ดังนั้นวิทยุโทรทัศน์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในการ สื่อสาระของระบบทุนนิยม เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการกระจายและบริโภคสินค้าเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ

32.BBC (British Broadcasting Corporation)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 หน้า 113, 165 – 166, 169, 172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ประเทศญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ
1. ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรและไม่มี โฆษณาธุรกิจการค้า แต่จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) ซึ่งมีลักษณะเหมือนบรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK)
2. ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) เป็นระบบการกระจายเสียงเพื่อการค้า ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

33.FCC หมายถึงข้อใด
(1) คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
(2) คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของอังกฤษ
(3) คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของญี่ปุ่น
(4) คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 24, 114, 168 คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ FCC (Federal Communications Commission) เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแล กิจการวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รวมทั้งคอยจัดสรรคลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ด้วย

34. การบริหารงานของ BBC ประกอบด้วย
(1) Broad of Governors
(2) Broad of Management
(3) Independent Broadcasting Authority
(4) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4หน้า 170 การบริหารงานของ BBC ประกอบด้วย คณะกรรมการ 2 คณะ ได้แก่
1. Broad of Governors เป็นคณะกรรมการที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านนโยบายมีจํานวน 12 คน
2. Broad of Management เป็นคณะกรรมการที่ทําหน้าที่ในระดับปฏิบัติการ

35.PBS (Public Broadcasting Service) หมายถึง
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 113, 168, (คําบรรยาย) PBS (Public Broadcasting Service) คือ ระบบวิทยุและ โทรทัศน์เพื่อสาธารณะ ซึ่งถือเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร และมีรายได้เป็นเงินอุดหนุนจาก รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ PBS ได้จัดตั้งขึ้นมาภายหลัง เพื่อผลิตรายการที่ส่งเสริม คุณค่าทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการสาธารณะต่าง ๆ เช่น รายการสําหรับเด็ก ฯลฯ

36. “ITU” หมายถึงอะไร
(1) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป
(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย – แปซิฟิก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

37. พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
(2) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2560
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
(4) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับปัจจุบัน หมายถึง พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

38. แนวคิดในการจัดระบบวิทยุโทรทัศน์ไทยปัจจุบัน ตรงกับข้อใด
(1) Public Service System
(2) Free Market System
(3) Dual System
(4) Mixed System
ตอบ 4 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยปัจจุบันตาม รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่างการสื่อสารเพื่อ ประโยชน์สาธารณะกับการสื่อสารในตลาดเสรี) เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

39. พัฒนาการวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศใดเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) ญี่ปุ่น
(4) รัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 155 – 156 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิก กิจการวิทยุกระจายเสียงโลก โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นสถานีวิทยุ กระจายเสียงที่เกิดขึ้นในยุคแรก ๆ ได้แก่ สถานีวิทยุ KCBS (ค.ศ. 1909), WHA (ค.ศ. 1917) WW) (ค.ศ. 1920) และ KDKA (ค.ศ. 1920)

40. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ
1. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ
3. เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจจะเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผู้ผลิตรายการ) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

41. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบ พหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทําให้เกิดระบบแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 3 หน้า 111, 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับตัวไปสู่ทิศทาง ของระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี ดังนั้นจึงทําให้เกิดระบบในแบบที่ 3 ซึ่งก็คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดการสื่อสาร ในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

42. ระบบนี้มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภค
จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี) คือ ดําเนินการในรูปตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกันเอง อย่างเต็มที่ (Competition) โดยมีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของ ผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด

43. ระบบนี้มีความเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน และในราคาที่เหมาะสม รัฐจึงมีความชอบธรรมในการดําเนินการแบบผูกขาด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) ประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรถือว่าเป็นแม่แบบของ แนวคิด Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) หรือระบบที่ รัฐเป็นผู้ให้บริการ โดยเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่ม อย่างเท่าเทียมกันและในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะดําเนินการผูกขาด ในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์

44. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550
(2) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
(3) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
(4) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีสถานี วิทยุโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่จัดตั้งขึ้นมาล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับ สัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพมาจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

45. จุดเริ่มต้นกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทยดําเนินการแบบใด
(1) จัดตั้งเป็นบริษัทจํากัด
(2) จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ
(3) จัดตั้งเป็นหน่วยงานราชการ
(4) จัดตั้งเป็นระบบสัมปทาน
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทย มีวิวัฒนาการเริ่มต้นในสมัย รัชกาลที่ 9 โดยเกิดจากความคิดริเริ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2495 แต่ถูกสภาผู้แทนราษฎรและหนังสือพิมพ์โจมตีคัดค้านอย่างมากว่า เป็นการสิ้นเปลือง งบประมาณแผ่นดิน จึงทําให้รัฐบาลเปลี่ยนแผนการจากเดิมที่จะดําเนินการเอง มาเป็นการ จัดตั้งเป็นบริษัทจํากัด (บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด) เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

46. ผลเสียที่ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป ตามความคิดของไรท์ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 88, 94 – 95 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามแนวความคิดของไรท์ มีผลเสียดังนี้
1. ความบันเทิงที่เสนอผ่านสื่อมวลชนไม่สามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชน ได้เท่าละครเวที วรรณกรรมคลาสสิก หรือโอเปร่า
2. ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป
3. ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า
4. เป็นการทําลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา

47. แนวความคิดของเดนิส แมคเควล กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
(1) บุคคล กลุ่ม สังคม
(2) บุคคล สังคม สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
(3) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร นักสื่อสารมวลชน
(4) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
ตอบ 4 หน้า 95 เดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณา จากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการให้สื่อมวลชน ทําอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทําหน้าที่อะไรให้แก่ตนและสังคม ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่
1. สังคม (Society)
2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate)
3. สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media/Mass Communicators)
4. มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

48. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร ตรงกับข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 2หน้า 102 – 104, (คําบรรยาย) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร และยังมองว่า ผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชาจึงมัก ถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร โดยพิจารณาจาก
1. ความสามารถในการเข้าถึงประชาชนจํานวนมากได้โดยตรง และการเปิดรับของผู้รับสาร คือ สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่ และผู้รับสารก็จะต้องเปิดรับฟังหรือเปิดรับชมสื่อด้วย
2. มีอิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม และแนวคิดยกย่องผู้นํา ฯลฯ
3. มีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจํานวนมากในลักษณะคล้ายคลึงกัน ทําให้วิทยุและโทรทัศน์ กลายเป็นลูกพี่ใหญ่ (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคม เกือบทั้งหมด

49. แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง ตรงกับข้อใด
(1) นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์
(2) นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน
(3) นักวิชาการสํานักยุโรปศึกษา
(4) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา
ตอบ 1หน้า 105 นักวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์หลายท่าน เช่น แคลปเปอร์ (Klapper, 1960) เชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง เนื่องจากผู้รับสาร จะมีความฉลาด มีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจาก สื่อมวลชน ซึ่งผู้รับสารที่เปิดรับสื่อสามารถคิดและวิเคราะห์ ไม่ใช่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของ บุคคลมากมาย ทั้งนี้อิทธิพลของสื่อมวลชนจะมีมากหรือน้อยก็มักขึ้นอยู่กับการทํางานร่วมกับ ปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน บรรยากาศทางสังคม ฯลฯ

50. อิทธิพลของสื่อมวลชนขึ้นกับการทํางานร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน ฯลฯ
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51. ผู้รับสารมีลักษณะเฉื่อยชา ถูกกระทําจากข้อมูลข่าวสาร
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

52. ผู้รับสารมีความกระตือรือร้น และมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

53. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 3 หน้า 106 – 107 แนวคิดที่มีความเชื่อว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อ ผู้รับสารทางอ้อม โดยอาศัยปัจจัยเสริมต่าง ๆ ได้แก่
1. ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร
2. กระบวนการเลือกรับสาร
3. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
4. ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหากบุคคลต้องพึ่งพาสื่อมากก็เท่ากับว่าสื่อมีอิทธิพล แต่ถ้าบุคคลพึ่งพาสื่อน้อยหรือไม่ต้องพึ่งพาเลย สื่อย่อมไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อบุคคล

54. กระบวนการเลือกรับสาร
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

55. อิทธิพลของบุคคล และผู้นําความคิดเห็น
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

56. “ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother)
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57. อิทธิพลในการชักจูงใจ เช่น ความเป็นชาตินิยม
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

58. สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่
(1) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(2) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร
(3) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อผู้รับสารทางอ้อม
(4) แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อระดับความต้องการข่าวสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

59. ผู้บุกเบิกจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐอเมริกา ตรงกับข้อใด
(1) เออร์ลี เอ็ม. เทอร์รี่
(2) ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์
(3) เดวิด ซาร์นอฟ
(4) แฟรงค์ คอนราด
ตอบ 2 หน้า 155, (ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ) ในปี ค.ศ. 1909 (หรือ พ.ศ. 2452) ศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์ (Charles David Herrold) ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้บุกเบิกจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงคนแรกของสหรัฐอเมริกา เพราะได้จัดตั้งสถานีวิทยุทดลองที่มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “KCBS” ในแคลิฟอร์เนีย กระจายเสียงรายการข่าวและเพลง จนวิวัฒนาการ มาเป็น “สถานี KCBS” ในซานฟรานซิสโก ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา

60.VOA หมายถึงข้อใด
(1) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
(2) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหราชอาณาจักร
(3) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
(4) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหภาพยุโรป
ตอบ 1 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ สถานีวิทยุคลื่นสั้น VOA (Voice of America) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุภาคภาษาต่างประเทศที่ กระจายเสียงไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 35 ภาษา ออกอากาศสัปดาห์ละ 805 ชั่วโมง และมีผู้รับฟังประมาณ 26 ล้านคน โดยในประเทศไทยได้จัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อส่งกระจายเสียงต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

61. สหรัฐอเมริกา
(1) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ
(2) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อบรรษัทสาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 หน้า 167, (คําบรรยาย) ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการค้า (มีถึง 90%) และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อสาธารณะ (มีเพียง 10%) ก็ให้ ถือเป็นกิจการของเอกชน และดําเนินงานโดยระบบธุรกิจการค้าเอกชน (Private Ownership and Operation) ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะไม่ได้มีการจัดสรรคลื่นเอาไว้ให้แต่หน่วยราชการ ดังนั้น เอกชน นิติบุคคล องค์กรสาธารณะต่าง ๆ ก็มีสิทธิจัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้

62. อังกฤษ
(1) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ
(2) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อบรรษัทสาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

63. ญี่ปุ่น
(1) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อธุรกิจ
(2) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อบรรษัทสาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

64. แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 2 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Service System) หรือ ระบบที่รัฐเป็นผู้ให้บริการ ประกอบไปด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมี พื้นฐานมาจากสังคมประชาธิปไตยที่เน้นความเชื่อสังคมนิยมในการที่รัฐจะเข้ามาจัดระบบ บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การคมนาคม ไฟฟ้า ประปา ตลอดจนระบบการสื่อสารโทรคมนาคม

65. แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี ประกอบด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใด
(1) ประชาธิปไตยและเสรีนิยม
(2) ประชาธิปไตยและสังคมนิยม
(3) สังคมนิยมและทุนนิยม
(4) เสรีนิยมและทุนนิยม
ตอบ 1 หน้า 111 แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี (Free Market System) หรือระบบที่ธุรกิจเอกชน
เป็นผู้ให้บริการ ประกอบไปด้วย มิติทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน โดยมีพื้นฐานมาจาก สังคมประชาธิปไตยที่เน้นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม

66. แนวคิดการสื่อสารแบบผสมผสาน (Mixed System) ตรงกับข้อใด
(1) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารในตลาดเสรี
(2) การสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(3) การสื่อสารในตลาดเสรีผสมผสานกับการสื่อสารระบบพหุนิยม
(4) การสื่อสารระบบพหุนิยมผสมผสานกับการสื่อสารระบบข้ามชาติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38. และ 41. ประกอบ

67. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ AM ใช้การแพร่คลื่นใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 2 หน้า 67 – 69 การแพร่คลื่นทางวิทยุกระจายเสียง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การแพร่คลื่นตรง ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (FM) ซึ่งส่งในแถบความถี่ สูงมาก (VHF) ทําให้การเดินทางของคลื่นจะไปไม่ได้ไกล
2. การแพร่คลื่นพื้นดิน ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นปานกลาง ซึ่งส่งในแถบความถี่ปานกลาง (MF) บางส่วน คือ ระหว่างความถี่ 550 – 1,600 kHz โดยใช้เส้นแรงแม่เหล็กโลกช่วยในการแพร่คลื่น
3. การแพร่คลื่นฟ้า ใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม (AM) คลื่นสั้น ซึ่งจะครอบคลุม พื้นที่ในการส่งได้เป็นระยะทางไกลกว่าการส่งวิทยุกระจายเสียงอื่น

68. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงในระบบ FM ใช้การแพร่คลื่นใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69. ระบบการส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้น นิยมใช้การแพร่คลื่นใด
(1) การแพร่คลื่นตรง
(2) การแพร่คลื่นพื้นดิน
(3) การแพร่คลื่นฟ้า
(4) การแพร่คลื่นอ้อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

70. รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่นําไปสู่การปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทย ตรงกับข้อใด
(1) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540
(3) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550
(4) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2557
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือ วิทยุและ โทรทัศน์ในประเทศไทยไม่จําเป็นต้องเป็นของรัฐทั้งหมด แต่จะเปิดให้มีการแข่งขันกันอย่าง เสรีและเป็นธรรม ซึ่งเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อนี้ก็ยังใช้ต่อมาในรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) มาตรา 47

71. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2535
(2) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550
(3) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540
(4) รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2560
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ตราไว้ ณ วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน

72. ข้อใดหมายถึง สื่อทางเลือกของประชาชน
(1) การถ่ายทอดรายการของสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
(2) การถ่ายทอดรายการ คสช. คืนความสุขให้ประชาชน
(3) การดูรายการต่าง ๆ ทางสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น ยูทูป
(4) การฟังรายการข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สื่อทางเลือกหรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสาร ให้แก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับรู้ข่าวสาร ที่แตกต่างออกไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งมักถูกกําหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน ตัวอย่าง ของสื่อทางเลือก เช่น สถานีวิทยุชุมชน, สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต, เคเบิลทีวี, โทรทัศน์ดาวเทียม ฯลฯ

73. การควบคุมวิทยุและโทรทัศน์จากบุคคลภายนอก หมายถึงข้อใด
(1) กฎหมายอื่น ๆ
(2) กลุ่มผลักดันทางสังคม
(3) สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์
(4) จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
ตอบ 2 หน้า 125 – 127 โครงสร้างในการควบคุมกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้
1. การควบคุมโดยรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช., การออกกฎหมาย ที่บังคับใช้โดยตรง, การออกกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและ หลักเกณฑ์ที่ออกมาในรูปของหนังสือเวียนและคําสั่งอื่น ๆ ฯลฯ
2. การควบคุมกันเอง ได้แก่ การมีจริยธรรม/จรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้ง การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, สมาคม นักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ฯลฯ
3. การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชมและผู้ฟัง, ผู้อุปถัมภ์รายการ (เจ้าของสินค้าและ บริการ) ซึ่งเป็นผู้กําหนดการซื้อเวลาโฆษณา โดยอาศัยการจัดระดับความนิยมของรายการ (Rating) จากบริษัทวิจัย เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ, กลุ่มผลักดันทางสังคม ได้จัดตั้งขึ้นมา เพื่อพัฒนารายการให้ดีและมีประโยชน์ต่อสาธารณชน เช่น โครงการสื่อเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชน ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ฯลฯ

74. การควบคุมวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นการควบคุมกันเอง ตรงกับข้อใด
(1) ผู้ฟังและผู้ชม
(2) โครงการสื่อเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
(3) ผู้อุปถัมภ์รายการและการอาศัย Rating
(4) สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. การควบคุมวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นการควบคุมโดยรัฐ ตรงกับข้อใด
(1) กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
(2) โครงการสื่อสีขาว
(3) เจ้าของสินค้าและบริการ
(4) กรมประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

76. องค์กรแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมและกํากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย คือข้อใด
(1) กกช.
(2) กบว.
(3) กทช.
(4) กสทช.
ตอบ 2 หน้า 118 – 121, (คําบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทย ได้ออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” (กบว.) ขึ้นเป็นองค์กรแรก เพื่อควบคุมและก๋ากับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย ต่อมาองค์กรนี้ก็ได้ถูกยุบเลิกไป และเกิดองค์กรอิสระอื่น ๆ ตามลําดับ ได้แก่ กกช. กทช. กสช. และ กสทช. ในปัจจุบัน

77. เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ออกประกาศ คําสั่ง แถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐที่มีอํานาจในขณะนั้น สื่อได้ทําบทบาทนี้เพื่ออะไร
(1) เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ
(2) เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ
(3) เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
(4) เพื่อผลประโยชน์ขององค์กรสื่อ
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อบ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยมักถูกใช้ เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของรัฐมากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการนําเสนอประกาศ คําสั่ง และ คําแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐที่มีอํานาจในขณะนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะ ปกติ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากที่สุด

78. สื่อใดต่อไปนี้ที่มีผลต่อการครอบงําอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยมากที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) สื่อสังคมออนไลน์
ตอบ 3(คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของวิทยุโทรทัศน์ที่ทําให้เกิดประสิทธิภาพจูงใจมากกว่าสื่ออื่น คือ
สามารถแสดงภาพให้เห็นจริงและประทับใจ เพราะการเห็นพร้อมการฟังจะมีประสิทธิภาพสูง จึงสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้วิทยุโทรทัศน์ยังสามารถส่งเสริมประสบการณ์ ได้ดีที่สุดเมื่อได้เสนอสาระอันเป็นรูปธรรม จึงทําให้กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยม และสามารถ ครอบงําอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยได้มากที่สุด

79. การนําเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสํานักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก ตรงกับ
ผลกระทบข้อใด
(1) การไหลของข้อมูลข่าวสารทางเดียว
(2) การครอบงําทางวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารไร้พรมแดน
(4) การสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสื่อสารไร้พรมแดน (Globalization) มีผลกระทบด้านลบประการหนึ่ง คือ
การสื่อสารไร้พรมแดนจะทําให้ประเทศด้อยพัฒนาสูญเสียเอกราชทางวัฒนธรรมของตนเอง
หรือเกิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ทําให้ประเทศอภิมหาอํานาจโลกกลายเป็นศูนย์กลาง การไหลของข้อมูลข่าวสารที่ครอบงําอุดมการณ์ความคิดของคนทั้งโลกได้ เช่น การนําเสนอ ข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสํานักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก เป็นต้น

80. การส่งวิทยุโทรทัศน์ที่ไม่ต้องใช้คลื่นความถี่เหมือนการออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป หมายถึงข้อใด
(1) วิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์นัล
(2) วิทยุโทรทัศน์ผ่านอินฟราเรด
(3) วิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) วิทยุโทรทัศน์ผ่านอินทราเน็ต
ตอบ 3 หน้า 82 – 83 การส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต จะเป็นการแปลง (Convert) ระบบกระจายเสียงจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital โดยไม่ต้องใช้คลื่นความถี่ เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งเมื่อคนต้องการฟังและ ชมก็สามารถ Click เข้าไปที่ Website นั้น ๆ ได้ เรียกว่า Web – Radio และ Web – TV

81. วันวิทยุกระจายเสียงไทย ตรงกับข้อใด
(1) 10 ธันวาคม
(2) 24 มิถุนายน
(3) 25 กุมภาพันธ์
(4) 20 สิงหาคม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

82. วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับข้อใด
(1) 10 ธันวาคม
(2) 24 มิถุนายน
(3) 4 สิงหาคม
(4) 25 กุมภาพันธ์
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2526 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกําหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันสื่อสารแห่งชาติ” และจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 โดยจัดร่วมกับงาน “ครบรอบ 100 ปี ของการสถาปนากรมไปรษณีย์โทรเลข และการเฉลิมฉลอง “ปีการสื่อสารโลก” ของสหประชาชาติด้วย

83.“Carrier Wave” หมายถึงข้อใด
(1) คลื่นยาว
(2) คลื่นวิทยุ
(3) คลื่นเสียง
(4) คลื่นสั้น
ตอบ 2 หน้า 62 คลื่นวิทยุมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คลื่นพาหะ (Carrier Wave) หรือคลื่นพาห์” ซึ่งการเรียกคลื่นวิทยุที่เครื่องส่งผลิตขึ้นว่าคลื่นพาห์ เนื่องจากคลื่นวิทยุทําหน้าที่เป็นพาหนะของคลื่นเสียง หรือเป็นตัวพาเสียงไปสู่ผู้ฟังที่อยู่ห่างไกลให้รับได้นั่นเ

84. โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลของไทยเริ่มแพร่ภาพเมื่อใด
(1) พ.ศ. 2556
(2) พ.ศ. 2557
(3) พ.ศ. 2558
(4) พ.ศ. 2559
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ในปัจจุบันสถานีวิทยุโทรทัศน์ส่วนใหญ่ของไทยได้แพร่ภาพในระบบดิจิทัล และเริ่มออกอากาศในส่วนกลางตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป หลังจากที่ ได้ทดลองแพร่ภาพระบบดิจิทัลให้ประชาชนรับชมในช่วงวันที่ 1 – 24 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยการแพร่ภาพออกอากาศในระบบดิจิทัลจะต้องครอบคลุมทั้งประเทศภายใน 4 ปี

85. สถานีโทรทัศน์ใดที่ขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลและได้ยุติการออกอากาศแล้ว
(1) ช่อง 8
(2) ช่อง 33
(3) Spring News
(4) ช่องอัมรินทร์ทีวี
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ยื่นขอคืนใบอนุญาตและยุติการออกอากาศ ช่องทีวีดิจิทัล ตามนโยบายเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล มีจํานวน 7 ช่อง ได้แก่
1. ช่อง 3 Family
2. ช่อง MCOT Family
3. ช่อง Spring News
4. ช่อง Bright TV
5. ช่อง Voice TV
6. ช่อง Spring 26
7. ช่อง 3 SD

86. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย คือ
(1) สถานีวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) สถานีวิทยุที่ศาลาแดง
(3) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท
(4) สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

87. Free TV ในกิจการโทรทัศน์ไทยปัจจุบัน ตรงกับข้อใด
(1) ASTV
(2) MCOT
(3) ITV
(4) TITV
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติของไทย หรือฟรีทีวี (Free TV) ที่ออกอากาศ
ผ่านระบบเดิม (ระบบแอนะล็อก) มี 6 ช่อง ได้แก่
1. ช่อง 3
2. ช่อง 5
3. ช่อง 7
4. ช่อง 9 (MCOT/โมเดิร์นไนน์ทีวี)
5. ช่อง 11 (NBT/สทท.)
6. ช่อง TPBS (ทีวีไทย)

88. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีรายได้ในการดําเนินกิจการจากข้อใด
(1) ค่าเช่าเวลาโฆษณาจากเจ้าของสินค้า
(2) ภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดิน
(3) ค่าเช่าเวลาจากบริษัทผู้ผลิตรายการ
(4) ภาษีค่าธรรมเนียมเครื่องรับโทรทัศน์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีรายได้ในการดําเนิน กิจการด้วยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษี ที่เก็บจากสุราและยาสูบ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ดังนั้น จึงถือเป็นการจัดเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ที่จําหน่ายสุราและยาสูบมาเป็นเงินบํารุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

89. แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยในปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
(1) State System
(2) Free Market System
(3) Public Service System
(4) Mixed System
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

90.สถานีโทรทัศน์ช่องใดเป็นสถานีประเภทข่าวสารและสาระ
(1) ช่อง NBT
(2) ช่อง TNN
(3) ช่อง MCOT
(4) ช่องไทยพีบีเอส
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยระบบดิจิทัลช่องข่าวสารและสาระ ซึ่งออกอากาศ อยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) เหลือเพียง 3 ช่อง ได้แก่
1. ช่อง TNN (16)
2. ช่อง JKN (18)
3. ช่อง Nation TV (22)

91. สถานีโทรทัศน์ช่องใดเป็นสถานีประเภทรายการเพื่อสาธารณะ
(1) ช่อง PPTV
(2) ช่อง TNN
(3) ช่อง MCOT
(4) ช่องไทยพีบีเอส
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยระบบดิจิทัลช่องบริการสาธารณะ ซึ่งออกอากาศอยู่ในปัจจุบันมี 7 ช่อง ได้แก่
1. ช่อง NBT 2HD)
2. ช่องไทยพีบีเอส
3. ช่อง ALTV (4)
4. ช่อง 5 (HD)
5. ช่อง T Sport (7)
6. ช่อง TPTV
7. ช่อง NBT (ส่วนภูมิภาค)

92. สถานีโทรทัศน์ช่องใดเป็นสถานีประเภทรายการทั่วไป
(1) ช่อง NBT
(2) ช่อง TNN
(3) ช่อง MCOT
(4) ช่องไทยพีบีเอส
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยระบบดิจิทัลช่องรายการทั่วไป (ภาพคมชัดสูง : HD)
ซึ่งออกอากาศอยู่ในปัจจุบันมี 7 ช่อง ได้แก่
1. ช่อง 9 MCOT (HD)
2. ช่อง ONE (31)
3. ช่องไทยรัฐทีวี (32)
4. ช่อง 3 (HD)
5. ช่อง Amarin TV (34)
6. ช่อง 7 (HD)
7. ช่อง PPTV (36)

93. ระบบการสื่อสารใดที่เจริญเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุด
(1) การพิมพ์
(2) โทรศัพท์
(3) วิทยุและโทรทัศน์
(4) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 หน้า 27. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต นับว่าเป็นระบบการสื่อสารข่าวสารข้อมูลที่เจริญเติบโตและ ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วที่สุดของมนุษยชาติ ทําให้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนต้นแบบของ ระบบทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) และเป็นที่คาดหมายว่าเครือข่าย อินเทอร์เน็ตจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่สําคัญในยุคปี 2000

94. สื่อที่มีรายได้จากการซื้อสื่อโฆษณามากที่สุดในปัจจุบัน
(1) สื่อออนไลน์
(2) วิทยุ
(3) โทรทัศน์
(4) สื่อกลางแจ้ง
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ในปี พ.ศ. 2564 (ม.ค. – พ.ค.) สถิติการใช้จ่ายเงินซื้อสื่อโฆษณาในประเทศ ไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกช่องทาง โดยเฉพาะการซื้อสื่อโฆษณาผ่านโทรทัศน์มีมูลค่ามากที่สุด เป็นอันดับ 1 จํานวนทั้งสิ้น 26,782 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.16% ส่วนอันดับ 2 คือ การซื้อ สื่อโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ต จํานวน 9,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.03% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอันดับที่ 3 คือ การลงทุนโฆษณาในสื่อกลางแจ้งหรือสื่อ เคลื่อนที่ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,175 ล้านบาท หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.02%

95. กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2564
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ให้ไว้ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็น ปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ “สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา” เริ่มดําเนินการจัดให้มีการ สรรหากรรมการ กสทช. จํานวน 7 คน ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ที่ พ.ร.บ. บังคับใช้

96. กฎหมายที่กําหนดกระบวนการสรรหา กสทช. ชุดแรก
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2564
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

97. กฎหมายที่ใช้ในการสรรหา กสทช. ปัจจุบัน
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2564
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98. กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับแรก
(1) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
(2) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553
(3) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2564
(4) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 1 หน้า 117, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ถือเป็น กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับแรก ซึ่งตราขึ้นในปีที่สถานีโทรทัศน์แห่งแรกออกอากาศเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 แต่ใช้ในการควบคุมกิจการด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ควบคู่กัน

99. การก่อตั้งกิจการวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกของไทยเป็นแบบใด
(1) รัฐวิสาหกิจ
(2) หน่วยงานราชการ
(3) บริษัทจํากัด
(4) ระบบสัมปทาน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

100. สถานีทีวีดิจิทัลไทยปัจจุบันไม่มีสถานีประเภทรายการใด
(1) ประเภทรายการทั่วไป
(2) ประเภทรายการข่าวและสาระ
(3) ประเภทรายการบันเทิง
(4) ประเภทรายการเด็กเยาวชนและครอบครัว
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยระบบดิจิทัลในปัจจุบัน แบ่งประเภทรายการออกเป็น
4 ประเภท ได้แก่
1. ประเภทบริการสาธารณะ (ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ)
2. ประเภทรายการข่าวสารและสาระ (ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ)
3. ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดมาตรฐาน (Standard Definition : SD)
4. ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (High Definition : HD) (ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ)

Advertisement