การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. ข้อใดมีคําบอกพจน์ที่มีจํานวนอยู่ในระดับกลางของจํานวน 4 ข้อ
(1) เขาซื้อทุเรียนมาโหลหนึ่ง
(2) นักศึกษา 2 คู่นี้แอบกินขนม
(3) ฝูงลิงกระโดดลงมาจากเขา
(4) ขนมครก 4 ฝานี้เต็มไป
ตอบ 1
การแสดงพจน์ (จํานวน) มีอยู่หลายวิธี แต่ก็ต้องดูความหมายของประโยคด้วย ดังนี้ 1. ใช้คําบอกจํานวนหนึ่ง (เอกพจน์) ได้แก่ โสด เดียว หนึ่ง โทน ฯลฯ
2. ใช้คําบอกจํานวนมากกว่าหนึ่ง (พหูพจน์) ได้แก่ คู่/แฝด (จํานวนสองที่กําหนดไว้เป็นชุด), กลุ่ม/ฝูง/ขบวน/ช่อ (มีจํานวนมากกว่าสองขึ้นไป) ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถใช้คําขยาย ได้แก่ มาก หลาย ฯลฯ, ใช้คําบอกจํานวนนับ ได้แก่ สอง สี โหล ฯลฯ, ใช้คําซ้ํา ได้แก่ เด็ก ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ฯลฯ และใช้คําซ้อน ได้แก่ ลูกเด็กเล็กแดง (เด็กเล็ก ๆ หลายคน) ฯลฯ

Advertisement

(คําบอกพจน์ที่มีจํานวนอยู่ในระดับกลางของจํานวน 4 ข้อ คือ โหล ซึ่งเรียงจํานวนจากมากไปน้อย ได้แก่ ฝูง, โหล = 12, 4 ฝา, 2 คู่ = 4)

2. “ผมเห็นผีจะจะเลย” จากข้อความปรากฏลักษณะของภาษาไทยแบบใด
(1) บอกเพศ
(2) บอกกาล
(3) คําคําเดียวมีหลายความหมาย
(4) มีระบบเสียงสูงต่ำ
ตอบ 1
คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง พลาย (ช้างตัวผู้) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน พัง (ช้างตัวเมีย) ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดดจะต้อง ใช้คําที่บ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือประสมกันตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องชาย เด็กสาว น้าชาย อาหญิง ลูกชาย หลานสาว เพื่อนหญิง เพื่อนชาย ฯลฯ

3. ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่ปรากฏประเภทน้อยที่สุด
(1) ดอกไม้ช่อนี้ขายหน้าบ้านยาย
(2) นายทองนั่งท่องชื่อลูกค้าทั้งคืน
(3) ตาคว้าต้นกล้าไปปลูกบนภูเขา
(4) ชมพู่ผลสีชมพูวางบนลังไม้หลายลูก
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 1. และ 2. ประกอบ) ข้อความที่สะท้อนลักษณะของภาษาไทยเรียงจากน้อยไปมาก มีดังนี้
1. ตาคว้าต้นกล้าไปปลูกบนภูเขา (บอกเพศ = ตา)
2. ดอกไม้ช่อนี้ขายหน้าบ้านยาย (บอกพจน์ = ช่อ, บอกเพศ = ยาย)
3. ชมพู่ผลสีชมพูวางบนลังไม้หลายลูก (มีระบบเสียงสูงต่ำ = พู/พู่, บอกพจน์ = หลาย)
4. นายทองนั่งท่องชื่อลูกค้าทั้งคืน (บอกเพศ = นาย, มีระบบเสียงสูงต่ำ = ทอง/ท่อง, บอกกาล (เวลา) = ทั้งคืน)

4. “ข้าวตังหน้าตั้งวางหน้าตั่งของคุณยาย” จากข้อความปรากฏลักษณะของภาษาไทยแบบใด
(1) คําคําเดียวมีหลายความหมาย
(2) บอกพจน์
(3) บอกมาลา
(4) มีระบบเสียงสูงต่ำ
ตอบ 4 ระบบเสียงสูงต่ำ (เสียงวรรณยุกต์) ในภาษาไทย คือ การกําหนดเสียงสูงต่ำไว้ตายตัวในคําแต่ละคํา เพื่อต้องการแยกความหมาย โดยให้เสียงหนึ่ง มีความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียงความหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เช่น ตัง (เสียงสามัญ) ในคําว่า “ข้าวตัง” = ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมอยู่ก้นหม้อหรือกระทะ, ตั้ง (เสียงโท) ในคําว่า “ หน้าตั้ง” – ของว่างซึ่งทําด้วยหมู กุ้ง และกะทิ สําหรับกินกับข้าวตั้งทอด, ตั่ง (เสียงเอก) = ที่สําหรับนั่ง ไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่มีขาก็ได้

5. ข้อใดเป็นสระเดี่ยว
(1) ค้าง
(2) เคียง
(3) เคือง
(4) ครัว
ตอบ 1
เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้
1. สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุเอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี คือ อู เอ แอ เออ โอ ออ
2. สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอื้อ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะถึงสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

6. “อาหารอีสานรสแซบหลาย” มีสระเดี่ยวที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 3 เสียง
(2) 4 เสียง
(3) 5 เสียง
(4) 6 เสียง
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) จากข้อความมีสระเดี่ยว 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระอา (อาหาร, ลาน)
2. สระอี (อี)
3. สระโอะ (รส)
4. สระแอ (แซบ)

7. ข้อใดมีสระเดี่ยวเสียงยาวมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) บ้านบนดิน
(2) รถสิบล้อ
(3) เห็ดหูหนู
(4) คลองน้ำแคบ
ตอบ 4
(ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) ข้อความ “คลองน้ำแคบ” มีสระเดี่ยวเสียงยาวมากที่สุดคือ 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระออ (คลอง)
2. สระแอ (แคบ)

8. ข้อใดเป็นสระหน้า
(1) ท่าน
(2) เก็บ
(3) ซบ
(4) เสริม
ตอบ 2
สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้
1.สระกลาง ได้แก่ อา อ๋อ เออ อะ อี เออะ
2. สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ
3. สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ
(คําว่า “เก็บ” = สระเอะ, “ท่าน” = สระอา, “ซบ” = สระโอะ, “เสริม” – สระเออ)

9. ข้อใดไม่ประกอบด้วยเสียงสระอา
(1) เที่ยง
(2) เสือ
(3) เร็ว
(4) บวบ
ตอบ 3
คําว่า “เร็ว” ประกอบด้วย เอะ + ว (เอะ + อุ) = เอ็ว (ส่วนคําว่า “เที่ยง” ประกอบด้วย อี + อา = เอีย, “เสือ” ประกอบด้วย คือ + อา = เอื้อ, “บวบ” ประกอบด้วย อู + อา = ตัว)

10. ข้อใดมีคําประกอบด้วยเสียงสระอี
(1) นิ่ว รับ
(2) ปุ๋ย เข้า
(3) โดน เหว
(4) ท้อง หอย
ตอบ 4 คําว่า “หอย” ประกอบด้วย ออ + ย (ออ + อี) = ออย

11. ข้อใดมีคําที่ประกอบด้วยเสียงสระ 2 เสียง
(1) ดํา
(2) แก้ว
(3) เดือย
(4) สวย
ตอบ 2 คําว่า “แก้ว” ประกอบด้วยเสียงสระ 2 เสียง คือ แอ + ว (แอ + อู) = แอว (ส่วนคําว่า “ดํา” = สระอะ, “เดือย” ประกอบด้วย เอื้อ + ย (อ๋อ + อา + อี) = เอื้อย, “สวย” ประกอบด้วย อัวะ + ย (อุ + อะ + อิ) = อ็วย)

12. “ควายเดินเคี้ยวเอื้องอย่างช้า ๆ นาน ๆ จนใคร ๆ พากันขบขัน” จากข้อความมีสระผสมที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 2 เสียง
(2) 3 เสียง
(3) 4 เสียง
(4) 5 เสียง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ)
จากข้อความมีสระผสม 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระอาย (ควาย) 2. สระเอีย (เคี้ยว) 3. สระเอื้อ เอื้อง) 4. สระไอ (ใคร)

13. รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 17 ตรงกับข้อใด
(1) ฑ
(2) ถ
(3) ต
(4) ฌ
ตอบ 1
(คําบรรยาย) รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 17 คือ ฑ ซึ่งเป็นพวกอักษรต่ำ มักใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ษัฑ

14. พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทเสียงหนัก
(1) ร้อง
(2) บอก
(3) เห็น
(4) สูง
ตอบ 3
(คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้
1. พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ กค (ข ฆ) จด(ภู) ต() ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ
2. พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม
3. พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)
4. พยัญชนะถึงเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ณ)
5. พยัญชนะถึงสระ ได้แก่ ย ว
6. พยัญชนะเหลว ได้แก่ ร ล
7. พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้ง พยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

15. พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานริมฝีปาก
(1) ร้อง
(2) บอก
(3) เห็น
(4) สูง
ตอบ 2
พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์ (ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) แบ่งออกได้ดังนี้
1. ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ
2. ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง
3. ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร
4. ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ภู) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)
5. ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) มว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

16. “บางระจันฉายแล้ววันจันทร์” จากข้อความไม่ปรากฎพยัญชนะต้นเกิดที่ฐานใด
(1) เพดานอ่อน
(2) เพดานแข็ง
(3) ริมฝีปาก
(4) ฟัน
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ) จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะต้นเกิดที่ฐานเพดานอ่อนและฐานคอ

17. ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมา
(1) สิ้นฤทธิ์
(2) รูปการณ์
(3) กากบาท
(4)เวทมนตร์
ตอบ 3
การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียงทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่น อัศจรรย์ (อัดสะจัน) ฯลฯ นอกจากนี้คําใดที่มี เสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่ตรงกลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําให้ถือว่าเป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น กากบาท (กากะบาด) ฯลฯ

18. ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา
(1) ละโมบ
(2) สําแดง
(3) แสดง
(4) หมอก
ตอบ 4
การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และ พยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี ห นํา เช่น หมอก,วาสนา (วาดสะหนา), อย่าง (หย่าง) ฯลฯ

19. “วาสนาของนักปราชญ์อย่างเขา ช่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก” จากข้อความปรากฎพยัญชนะคู่ประเภทใดมากที่สุด
(1) นํากันมา
(2) เคียงกันมา
(3) ควบกันมา
(4) เรียงกันมา
ตอบ 1
จากข้อความปรากฎพยัญชนะคู่ ดังนี้
1. นํากันมา 2 คํา ได้แก่ วาสนา, อย่าง (ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ)
2. ควบกันมา 1 คํา ได้แก่ ปราชญ์ (อักษรควบกล้ำแท้)
3. เคียงกันมา 1 คํา ได้แก่ อัศจรรย์ (ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ)

20. ข้อใดเป็นพยัญชนะคู่ประเภทเดียวกัน
(1) จวก กระดูก
(2) อรอย กลอน
(3) ไกล เพลง
(4) เหมือน พริก
ตอบ 3
การออกเสียงแบบควบกันมา (อักษรควบ) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ำไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น
1. อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ำกันสนิท โดยเสียงทั้งสองร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์เดียวกัน เช่น ไกล เพลง ใคร กลับ ฯลฯ
2. อักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้อย (ร้อย) ฯลฯ

21. “หอยหวานเป็นของดีเมืองชล ใคร ๆ ก็ซื้อติดมือกลับมาทั้งนั้น”จากข้อความปรากฎพยัญชนะควบกันมากี่คํา (ไม่นับคําซ้ำ)
(1) 1 คํา
(2) 2 คํา
(3) 3 คํา
(4) 4 คํา
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ) จากข้อความปรากฎพยัญชนะควบกันมา 2 คํา (ไม่นับคําซ้ำ)ได้แก่ 1. ใคร 2. กลับ

22. ข้อใดไม่มีพยัญชนะสะกด
(1) ให้
(2) น้ำ
(3) ทั่ว
(4) โจทก์
ตอบ 3
พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ
1. แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
2. แม่กด ได้แก่ จฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ท ญ
5. แม่กง ได้แก่ ง
6. แม่กม ได้แก่ ม
7. แม่เกย ได้แก่ ย
8. แม่เกอว ได้แก่ ว (คําว่า “ทั่ว” ไม่มีพยัญชนะสะกด, “ให้” (หัย) = แม่เกย, “น้ำ” (นม) = แม่กม, “โจทก์” (โจด) = แม่กด)

23. ข้อใดมีพยัญชนะสะกด 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) จับจด
(2) ซื่อสัตย์
(3) นับถือ
(4) พรรคพวก
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ) คําว่า “จับจด” มีพยัญชนะสะกด 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)ได้แก่
1. แม่กบ (จบ)
2. แม่กด (จุด)

24. “บอกว่าความรักเรานั้นยังมีสิทธิ์จะเดินต่อไหม บอกเถอะบอกกับฉันว่าควรตั้งความหวังไปถึงเมื่อไหร่” จากข้อความมีพยัญชนะสะกดเสียงใดน้อยที่สุด (ไม่นับคําซ้ำ)
(1) -ง
(2) -ย
(3) -น
(4) -ก
ตอบ 4
(ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ) จากข้อความมีพยัญชนะสะกดเสียง ก (แม่กก) 2 คํา(ไม่นับคําซ้ำ) = บอก รัก (ส่วนเสียง ง (แม่กง) มี 4 คํา = ยัง ตั้ง หวัง ถึง, เสียง ย (แม่เกย) มี 3 คํา = ไหม ไป ไหร่, เสียง น (แม่กน) มี 4 คํา = นั้น เดิน ฉัน ควร)

25. “จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ครองราชย์มาเป็นเวลา 10 ปี” จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะสะกดเสียงใด
(1) -ย
(2) -ม
(3) -น
(4) -บ
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ) จากข้อความไม่ปรากฎพยัญชนะสะกดเสียง ม หรือ แม่กม (ส่วนเสียง ย (แม่เกย) = ใหญ่, เสียง น (แม่กน) = เป็น, เสียง บ (แม่กบ) = สิบ)

26. ข้อใดเป็นคําเป็นทุกคํา
(1) หวาดกลัว
(2) กระป๋อง
(3) เข้มงวด
(4) สั่งสอน
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5. และ 22. ประกอบ)ลักษณะของคําเป็นกับคําตาย มีดังนี้
1. คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาวรวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)
2. คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น

27. “เสือครัวเป็นสากกะเบือหรือสากไม้ที่ใช้กับครกดินเผา” จากข้อความมีคําตายเสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 2 เสียง
(2) 3 เสียง
(3) 4 เสียง
(4) 5 เสียง
ตอบ 3
(ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ) จากข้อความมีคําตาย 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่ 1. สาก 2. กะ 3. กับ 4. ครก

28. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท
(1) เล็ก
(2) เผ็ด
(3) เพื่อน
(4) น้า
ตอบ 3
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง เช่น คําว่า “เพื่อน” เป็นพยัญชนะเสียงต่ำคู่ (ค ช ท พ ฟ ซ ฮ) ที่มีตัวสะกดเป็นคําเป็น (แม่กน) และ สระเสียงยาว (สระเอือ) จึงผันได้ 3 เสียง คือ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์), เสียงโท (ใช้ไม้เอก) = เพื่อน และเสียงตรี (ใช้ไม้โท)

29. ข้อใดไม่ใช่เสียงวรรณยุกต์เอก
(1) เท่า
(2) เดือด
(3) อย่าง
(4) จบ
ตอบ 1 (
ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ) คําว่า “เท่า” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์เอกทั้งหมด)

30. “เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย” จากข้อความมีวรรณยุกต์กี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 2 เสียง
(2) 3 เสียง
(3) 4 เสียง
(4) 5 เสียง
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ) จากข้อความมีวรรณยุกต์ 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่ 1. เสียงโท = เข้า 2. เสียงสามัญ = กัน เป็น 3. เสียงเอก = ปี่ ขลุ่ย

31. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์น้อยเสียงที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) เก็บหอมรอมริบ
(2) เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
(3) ก่อแล้วต้องสาน
(4) ไก่แก่แม่ปลาช่อน
ตอบ 4
(ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ) ข้อความ “ไก่แก่แม่ปลาช่อน” มีเสียงวรรณยุกต์น้อยเสียงที่สุดคือ 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. เสียงเอก = ไก่ แก่
2. เสียงโท = แม่ ช่อน
3. เสียงสามัญ = ปลา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง)

32. “น้ำใจของเธอช่างตราตรึงหัวใจผมยิ่งนัก” จากข้อความมีเสียงวรรณยุกต์เอกกี่คํา (ไม่นับคําซ้ำ)
(1) 0 คํา
(2) 1 คํา
(3) 2 คํา
(4) 3 คํา
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ) จากข้อความไม่มีเสียงวรรณยุกต์เอกเลย แต่มีเสียงวรรณยุกต์อื่น 4 เสียง (ไม่นับคําซ้ำ) ได้แก่
1. เสียงตรี = น้ำ นัก
2. เสียงสามัญ = ใจ เธอ ตรา ตรึง
3. เสียงจัตวา = ของ หัว ผม
4. เสียงโท = ช่าง ยิ่ง

33. ข้อใดเป็นความหมายแฝงที่มีเสียงดังน้อยที่สุด
(1) ตะโกน
(2) ตะเบ็ง
(3) คําราม
(4) ตะคอก
ตอบ 3
คําว่า “คําราม” = ทําเสียงขู่ เป็นความหมายแฝงที่มีเสียงดังน้อยที่สุดจากตัวเลือกทั้งหมด (ส่วนความหมายแฝงซึ่งเป็นคํากริยาที่ใช้กับเสียงดัง ได้แก่ คําว่า “ตะโกน” = เรียกด้วยเสียงดังกว่าปกติเพื่อให้ได้ยิน, “ตะเบ็ง” = เบ่งเสียงออกให้ดังเกินสมควร, “ตะคอก” – ขู่ตลาดเสียงดัง)

34. “นายเดียวเดินโดดเดี่ยวท่ามกลางสายฝน” จากข้อความปรากฏความหมายในลักษณะใด
(1) ความหมายแฝง
(2) ความหมายอุปมา
(3) ความหมายสัมพันธ์กับเสียง
(4) การแยกเสียงแยกความหมาย
ตอบ 4 การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ คําว่า “เดียว-เดี่ยว” (เสียงสูงต่ำต่างกัน) ต่างก็แปลว่าหนึ่ง เช่น มาเดี่ยว มาคนเดียว แต่จะใช้แทนกัน ย่อมไม่ได้ เพราะ “เดียว” หมายถึง หนึ่งเท่านั้น แต่ “เดี่ยว” หมายถึง ไม่มีคู่ ไม่ได้นําคู่ของตนมาด้วย เป็นต้น

35. ข้อใดเป็นความหมายเชิงอุปมาไม่ได้
(1) เสือ
(2) ด้วง
(3) ควาย
(4) ชะนี
ตอบ 2
คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น เสือ (ดุและร้าย ฆ่าคนได้ไม่แพ้เสือ), ควาย (โง่ ทึ่ม ให้คนจูงจมูกได้ง่าย), ชะนี (ผู้หญิง), เต่า (ช้า งุ่มง่าม) ฯลฯ
2. คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แก้วตา (เป็นที่รักหวงแหน) ฯลฯ

36. ข้อใดไม่เป็นคําประสม
(1) ยาถ่าย
(2) ยาหมด
(3) ยาสั่ง
(4) ยาสลบ
ตอบ 2
คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมายจํากัด เป็นนัยเดียว ได้แก่ คําประสมที่ใช้เป็นคํานาม โดยมีคําตัวตั้งเป็นคํานาม และคําขยายเป็นกริยา เช่น ยาถ่าย (ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ), ยาสั่ง (ยาพิษจําพวกหนึ่ง), ยาสลบ (สารเคมีที่ใช้ในการแพทย์เพื่อทําให้สลบ) เป็นต้น ส่วนคําว่า “ยา/หมด” เป็นคําเดียวเรียงกัน ไม่ใช่คําประสม)

37. “ชาวนาซื้อผ้าขาวแถวประตูน้ำ” จากข้อความมีคําประสมกี่คํา
(1) 1 คํา
(2) 2 คํา
(3) 3 คํา
(4) 4 คํา
ตอบ 2
(ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ) จากข้อความมีคําประสม 2 คํา ได้แก่
1. ชาวนา (ผู้ที่ประกอบอาชีพทํานา)
2. ประตูน้ำ (ชื่อสถานที่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ)

38. ข้อใดเป็นการสร้างคําประเภทเดียวกันทั้งหมด
(1) ใจคอ ช้านาน เกรงกลัว
(2) สอดแนม เข็ดขยาด แกะดํา
(3) ท้อถอย แม่นยํา บีบคั้น
(4) การค้า การรายงาน ขัดคอ
ตอบ 1
คําซ้อน คือ คําเดียว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ที่มี ความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น ใจคอ ช้านาน เกรงกลัว ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่นก็ได้ เช่น รูปร่าง (บาลีสันสกฤต + ไทย) ฯลฯ
2. คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น จริงจัง (อิ + อะ) ฯลฯ

39. ข้อใดใช้คําซ้ำได้ถูกต้อง
(1) เสื้อลายๆตาผมไปหมด
(2) ชมๆแดงจนเขินอาย
(3) คนเรามักว่าคนอื่นต่างๆนานา
(4) ผึ้งหลายๆ ตัวรุมต่อยเขา
ตอบ 3
คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายต่างจากคําเดียว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ ได้แก่ คําซ้ำที่ซ้ำคําขยาย ความหมายต่างออกไปไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายเดิม โดยมักใช้เป็นคําขยาย เช่น คนเรามักว่าคนอื่นต่าง ๆ นานา (หลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน) เป็นต้น ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่ใช่คําซ้ำ เพราะเป็นคําที่พูดติดต่อเป็นความเดียวกัน จึงไม่ควรใช้ไม้ยมก)

40. “หนุ่ม ๆ หน้าตาดีแถว ๆ นั้นชอบสวมเสื้อสีชมพู ๆ น่าแปลกจัง” จากข้อความไม่ปรากฏคําซ้ำที่มีความหมายในลักษณะใด ๆ
(1) แบบไม่เจาะจง
(2) แบบแยกเป็นส่วน ๆ
(3) แบบพหูพจน์
(4) แบบเน้นน้ำหนักความหมาย
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ) จากข้อความปรากฏลักษณะของคําซ้ำ ดังนี้
1. คําซ้ำที่ซ้ำคํานาม แสดงพหูพจน์บอกว่านามนั้นมีจํานวนมาก เช่น หนุ่ม ๆ
2. คําซ้ำที่ซ้ำคําขยายนามเพื่อเน้นน้ำหนักความหมาย โดยเสียงวรรณยุกต์ของคําต้นจะเปลี่ยนเป็นเสียงตรี เช่น ดีดี
3. คําซ้ำที่ซ้ำคํานาม เช่น แถว ๆ หรือซ้ำคําขยายนาม เช่น ชมพู ๆ เพื่อแสดงความไม่เจาะจง

41. คําใดกร่อนเสียงมาจากคําเดิมว่า “ต้น”
(1) ตะแบก
(2) ตะโขง
(3) ตะปลิง
(4) ตะปู
ตอบ 1
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง มะม่วง,หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว – มะพร้าว, เมื่อรืน – มะรืน
2. “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตาปู – ตะปู, ตัวขาบ – ตะขาบ, ต้นแบก – ตะแบก, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ตัวโขง – ตะโขง, ตัวปลิง- ตะปลิง
3. “สะ” เช่น สายดือ ) สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้, สายดึง – สะดึง
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉ่ำ ๆ – ฉะฉ่ำ
5. “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ – ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, เลาะ ๆ – ละเลาะ
6. “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง
ส่วนคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ + พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น

42. “กระอึกกระอัก” เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) กร่อนเสียง
(2) แบ่งคําผิด
(3) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน
(4) เทียบแนวเทียบผิด
ตอบ 3
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 2 เสียงในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและเป็นคําที่สะกดด้วย “ก” เหมือนกัน เช่น อึกอัก – กระอึกกระอัก, โดกเดก – กระโดกกระเดก, จุกจิก – กระจุกกระจิก, อักอ่วน – กระอักกระอ่วน ฯลฯ

43. คําใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิด
(1) กระโดกกระเดก
(2) กระจุกกระจิก
(3) กระดุกกระดิก
(9) กระชุ่มกระชวย
ตอบ 4
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อนเพื่อเสียงที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้าย ไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ชุ่มชวย – กระชุ่มกระชวย, ดําด่าง – กระดํากระด่าง,ยิ้มย่อง – กระยิ้มกระย่อง, ตุ้งติ้ง – กระตุ้งกระติ้ง, ชดช้อย – กระชดกระช้อย ฯลฯ

44. “สมชายกระอักกระอ่วนใจที่จะไปพบสมบัติในวันมะรืน” ประโยคนี้ประกอบด้วยคําอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและแบ่งคําผิด
(2) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง
(3) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด
(4) เทียบแนวเทียบผิดและกร่อนเสียง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 41. และ 42. ประกอบ)
ประโยคข้างต้นประกอบด้วยคําอุปสรรคเทียมชนิดเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ กระอักกระอ่วน และชนิดกร่อนเสียง คือ มะรืน

45. ประโยคใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงอยู่ 2 คํา
(1) นกกระยางตกกะใจบินสู่ท้องฟ้า
(2) เขาซื้อลูกกระดุมสีกระดํากระด่าง
(3) เขาชอบกินเมี่ยงตะไคร้กับใบชะพลู
(4) เขากระยิ้มกระย่องเมื่อเห็นแสงยะยิบยะยับ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

46. ข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเลียนแบบภาษาเขมรทั้ง 2 คํา
(1) พะรุงพะรัง สะพรั่ง
(2) กระจิบ ตะขาบ (3) กระตุ้งกระติ้ง ปะติดปะต่อ
(4) ชะดีชะร้าย กระชดกระช้อย
ตอบ 1
อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่
1. “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะดีชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ปะติดปะต่อ,ประเดี๋ยว, ประท้วง, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย ฯลฯ
2. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลุก, ปลด, ปละ, ปรุ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ

47. ข้อใดเป็นประโยคคําถาม
(1) ห่วงใยตัวเองบ้างนะ
(2) อาการเขาน่าเป็นห่วง
(3) ใคร ๆ พากันเป็นห่วงเขา
(4) เคยห่วงตัวเองบ้างไหม
ตอบ 4
ประโยคคําถาม คือ ประโยคที่ต้องการคําตอบ อาจมีคําแสดงคําถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทําไม เมื่อไร อย่างไร หรือ หรือเปล่า หรือไม่ ไหม บ้าง ฯลฯ

48. ข้อใดไม่ใช่ประโยคบอกเล่า
(1) พึงรู้รักสามัคคี
(2) รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา
(3) รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
(4) รู้แล้วแสร้งทําเป็นไม่รู้
ตอบ 1
ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่งมักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้ เช่น พึงรู้รักสามัคคี (คําว่า “ฟัง” ในที่นี้ แปลว่า ต้อง)

49. เนื้อเพลงท่อนใดเป็นประโยคขอร้องหรือชักชวน
(1) ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม
(2) แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
(3) เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนา เพราะค่าน้ำนม
(4) โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ตอบ 1
ประโยคขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คําพูดนั้นจะคล้ายกับประโยคคําสั่งแต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคําว่า “โปรด/กรุณา” อยู่หน้าประโยค ส่วนในภาษาพูดนั้นอาจมีคําลงท้ายประโยค ได้แก่ เถอะ เถิด นะ นะ หน่อย ซิ ซี ฯลฯ

50. ประโยคใดไม่มีประธาน
(1) แม่ชอบซื้อขนม
(2) ขนมนี้น่ากิน
(3) แดงชอบกินขนม
(4) เขาซื้อขนมให้แม่
ตอบ 2
การแสดงการก หมายถึง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างคําในประโยค ซึ่งสามารถดูได้จากตําแหน่งของคําที่เรียงกันในประโยค แต่บางกรณีคํานามที่เป็นประธานหรือกรรมอาจเปลี่ยนที่ไปได้ คือ ประธานไปอยู่หลังกรรม กรรมมาอยู่หน้ากริยา ได้ถ้าต้องการเน้น เช่น ประโยค “ขนมนี้น่ากิน” ย้ายกรรม (ในที่นี้คือ ขนม) มาไว้ที่ต้นประโยค หน้าคํากริยา แล้วละภาคประธานของประโยคไว้ เพราะจริง ๆ แล้วต้องมีคนที่อยากกินขนมเพียงแต่ว่าคนนั้นไม่ปรากฏในประโยค

51. ประโยคใดมีส่วนขยายกรรม
(1) กานดาร้องเพลง
(2) กานดาร้องเพลงเพราะ
(3) กานดาร้องเพลงไทยเดิม
(4) กานดาเด็กน้อยชอบร้องเพลง
ตอบ 3
ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทํา และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทํา ซึ่งเรียกว่า คุณศัพท์ เช่น กานดาร้องเพลงไทยเดิม (ขยายกรรม), นักเรียนเกเรไม่ชอบเรียนหนังสือ (ขยายประธาน) เป็นต้น
2. ส่วนขยายกริยา ซึ่งเรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยา หรืออยู่หลังคํากริยาก็ได้ เช่น นักเรียนเกเรไม่ชอบเรียนหนังสือ (ขยายกริยา “เรียน”) เป็นต้น

52. ประโยคใดมีส่วนขยายประธานและส่วนขยายกริยา
(1) ครูทําโทษนักเรียนเกเร
(2) นักเรียนเกเรไม่ชอบเรียนหนังสือ
(3) หนังสือตลกหาซื้อได้ง่าย
(4) นักเรียนชอบอ่านหนังสือตลก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. คํานามในข้อใดแสดงเพศชัดเจนทั้ง 2 คํา
(1) เจ้าบ่าวเป็นลูกลุงชัย
(2) ย่าเล็กเลี้ยงหลานอยู่บ้าน
(3) น้าพรไปเยี่ยมเณรแดง
(4) ลุงมีไปงานวันเกิดเพื่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

54. “คุณแม่” ในข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3
(1) คุณแม่ทําอะไรอยู่
(2) คุณแม่ออกไปทํางานแล้ว
(3) คุณแม่คอยฟังข่าวดีนะ
(4) คุณแม่อยากได้อะไรบ้าง
ตอบ 2
สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่พูดถึง ได้แก่ เขา มัน ท่าน แก นอกจากนั้นมักใช้เอ่ยชื่อเสียส่วนมาก ถ้าอยู่ในที่ที่จําเป็นต้องกล่าวคําดีงามหรือต่อหน้าผู้ใหญ่ มักมีคําว่า คุณ นาย นาง นางสาว นําหน้าชื่อให้สมแก่โอกาสด้วย เช่น คุณแม่ออกไปทํางานแล้ว(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ที่พูดด้วย)

55. ข้อใดไม่ใช่สรรพนามแสดงคําถาม
(1) ใครทําให้เธอทุกข์ใจ
(2) ใครบ้างที่เธอรู้จัก
(3) เธอไปกับใครมา
(4) ใคร ๆ พากันถามถึงเธอ
ตอบ 4
สรรพนามที่บอกคําถาม ได้แก่ ใคร อะไร ใด ไหน ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง แต่สรรพนามที่บอกคําถาม จะใช้สร้างประโยคคําถาม เช่น ใครทําให้เธอทุกข์ใจ/ใครบ้างที่เธอรู้จัก (เป็นประธานหรือผู้ทํา), เธอไปกับใครมา (เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทํา) ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 4 เป็นสรรพนามที่บอก ความไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม)

56. ข้อใดมีเฉพาะกริยาโดยไม่มีกรรม
(1) หิวข้าวจังเลย
(2) นานแค่ไหนก็รอได้
(3) คิดถึงเธอทุกวันนะ
(4) ฝากเพลงนี้ให้เธอ
ตอบ 2
ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ตามธรรมดาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม แต่จะไม่มีกรรมก็ได้ และกริยาอาจมีมากกว่าหนึ่งก็ได้ เช่น นานแค่ไหนก็รอได้ (มีเฉพาะกริยาโดยไม่มีกรรม) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมี กริยา + กรรม ได้แก่ หิวข้าวจังเลย, คิดถึงเธอทุกวันนะ, ฝากเพลงนี้ให้เธอ)

57. “ให้” ในข้อใดเป็นกริยาแท้
(1) ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี
(2) เขามอบหนังสือให้เธอ
(3) เขาให้ความรักแก่สัตว์เลี้ยง
(4) เขาขอร้องให้เธออยู่เป็นเพื่อน
ตอบ 3
คําว่า “ให้” เป็นได้ทั้งกริยาแท้และกริยาช่วยถ้าเป็นกริยาแท้จะหมายถึง มอบสิ่งที่เป็นของตนแก่อีกผู้หนึ่ง เช่น เขาให้ความรักแก่สัตว์เลี้ยง แต่ถ้าเป็นกริยาช่วยจะหมายถึง ทําให้ (การิตวาจก) ซึ่งถ้าหาก “ให้” วางอยู่หน้ากริยาแท้ อาจมีกรรมตามหลังมาด้วยก็ได้ เช่น แม่ให้ลูกกินข้าว แต่ถ้า “ให้” อยู่หลังกริยาแท้อาจใช้ไปในทางดี หรือไม่ดีก็ได้ เช่น ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี, เขามอบหนังสือให้เธอ, เขาขอร้องให้เธออยู่เป็นเพื่อน ฯลฯ

58. คําว่า “มา” ในข้อใดเป็นคําบอกกาล
(1) เขาไปต่างจังหวัดมา
(2) เขามาโรงเรียนสาย
(3) เธอจะมาวันไหน
(4) พวกเขามากันแล้ว
ตอบ 1
คําว่า “มา” เป็นคํากริยาช่วยที่บอกกาลได้ คือ บอกอดีตที่ผ่านไปแล้ว ส่วนใหญ่มักวางอยู่หลังกริยาแท้ เช่น เขาไปต่างจังหวัดมา ฯลฯ (ส่วนคําว่า “มา”ในตัวเลือกข้ออื่นไม่ได้บอกกาล แต่เป็นคํากริยาแท้ หมายถึง เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด)

59. “บ้านโน้นเสียงดัง” ข้อใดตอบถูกต้อง
(1) เป็นคําคุณศัพท์บอกลักษณะ
(2) เป็นคําคุณศัพท์บอกความไม่ชี้เฉพาะ
(3) เป็นคําคุณศัพท์บอกความชี้เฉพาะ
(4) เป็นคําคุณศัพท์บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ
ตอบ 3
คําคุณศัพท์ขยายนามบอกความชี้เฉพาะ ได้แก่ นี้ นั้น โน้น นี่ นั่น โน่น ซึ่งคําเหล่านี้ต้องวางอยู่หลังคํานามจึงจะถือว่าเป็นคําคุณศัพท์ เช่น บ้านโน้นเสียงดัง ฯลฯ (ถ้าไม่มีนามมาด้วย คํานั้นเป็นคําสรรพนาม)

60. ข้อใดมีคําคุณศัพท์บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ
(1) ต่างจิตต่างใจ
(2) ใจจืดใจดํา
(3) ใจเกินร้อย
(4) ดวงใจหนึ่งดวง
ตอบ 1
คําคุณศัพท์บอกจํานวนแบ่งแยก ได้แก่ ต่าง ต่าง ๆ ละ ทุก บ้าง บาง เช่น ต่างจิตต่างใจ (ต่างคนก็ต่างความคิด) ฯลฯ

61. ข้อใดมีคํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ
(1) กินพลางพูดพลาง
(2) กินนิดกินหน่อย
(3) ไปกินอะไรมา
(4) กินไม่ได้นอนไม่หลับ
ตอบ 2
คํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้ต้องวางอยู่หลังคํากริยา เช่น กินนิดกินหน่อย ฯลฯ

62. ข้อใดสามารถละบุรพบทได้
(1) เขาไม่พูดกับฉัน
(2) เขาชอบพูดแต่เรื่องคนอื่น
(3) เขาหัวเราะหลังเธอพูดจบ
(4) เขายืนอยู่หน้าเธอ
ตอบ 2
คําบุรพบทไม่สําคัญมากเท่ากับคํานาม คํากริยาและคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้แล้ว ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง เช่น สมบัติเป็นคนขับรถของเธอ (ไม่สามารถละบุรพบทได้) เป็นต้น หากจะละบุรพบทก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่นเขาชอบพูดแต่เรื่องคนอื่น – เขาชอบพูดเรื่องคนอื่น (ละบุรพบทได้) เป็นต้น

63. ข้อใดไม่สามารถละบุรพบทได้
(1) สมชายเป็นน้องของฉัน
(2) บ้านของเธออยู่ไม่ไกล
(3) รถของเธอสีแดง
(4) สมบัติเป็นคนขับรถของเธอ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64. คําสันธานใดเชื่อมความขัดแย้งกัน
(1) เขาป่วยจึงไปทํางานไม่ได้
(2) เขาไปทํางานทั้งที่ยังป่วยอยู่
(3) เขาคงไม่ไปทํางานถ้ายังมีไข้
(4) พอไปถึงที่ทํางานเขาก็รู้สึกดีขึ้น
ตอบ 2 คําสันธานที่เชื่อมความที่ขัดแย้งกันไปคนละทาง ได้แก่ แต่, แต่ว่า, แต่ทว่า, จริงอยู่…..แต่, ถึง…..ก็, กว่า…..ก็, ทั้งที่, ทั้ง ๆ ที่

65. คําสันธานใดเชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน
(1) รถติดทั้ง ๆ ที่ฝนไม่ตก
(2) พอฝนตกรถก็ติด
(3) รถติดเพราะฝนตกหนัก
(4) รถคงจะไม่ติดถ้าฝนไม่ตก
ตอบ 3
คําสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ เพราะว่า, ด้วย, ด้วยว่า เหตุว่า, อาศัยที่, ค่าที่, เพราะฉะนั้น ดังนั้น จึง, เลย, เหตุฉะนี้

66. คําสันธานใดเชื่อมความคาดคะเน
(1) เขาตื่นสายจึงมาทํางานช้า
(2) เขามาทํางานช้าเพราะรถติด
(3) ถึงรถจะไม่ติดเขาก็ยังมาทํางานช้า
(4) เขาคงถึงที่ทํางานได้เร็วขึ้นถ้ารถไม่ติด
ตอบ 4
คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, ถ้า…..ก็, ถ้า…..จึง, ถ้าหากว่า, แม้… แต่, แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก

67. ประโยคในข้อใดไม่มีคําอุทาน
(1) อุ้ยคําคนแก่ท่าทางใจดี
(2) อุ้ยตายอายเขาบ้างซิพี่
(3) วัยว้ายดูซิซ้ำไปเป็นกอง
(4) ว้าย ๆ นี่มันประเทืองนี่หว่า
ตอบ 1
คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียงและ สถานการณ์ เช่น คําว่า “อุ้ยตาย/อุ้ย” แสดงอาการตกใจ, “อุ้ย” แสดงอาการตกใจ เก้อเขิน และไม่พอใจ, “ว้าย” แสดงอาการตกใจหรือดีใจ เป็นต้น ส่วนคําว่า “อุ้ยคํา” ไม่ใช่คําอุทานแต่เป็นภาษาเหนือ แปลว่า คนแก่)

68. ข้อใดคือคําลักษณนามของ “ทางม้าลาย”
(1) อัน
(2) ที่
(3) แห่ง
(4) ทางม้าลาย
ตอบ 3
คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดของคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหมโดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (ในกรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น ทางม้าลาย (แห่ง), ไฟ (ใบ, สํารับ), ศาล/ศาลเจ้า/ศาลเทพารักษ์ (ศาล) ฯลฯ

69. ข้อใดคือคําลักษณนามของ “ไพ่”
(1) ไพ่
(2) สํารับ
(3) ชุด
(4) กล่อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. ข้อใดคือคําลักษณนามของ “ศาลเทพารักษ์”
(1) ที่
(2) แห่ง
(3) ศาล
(4) ศาลเทพารักษ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

ข้อ 71. – 80. ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์เติมในช่องว่างที่เว้นไว้นี้

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ (71.)….. (72.) ……(73.)…… ไป ทอดพระเนตรการทํางานของหน่วยงานแพทย์เคลื่อนที่ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ โรงเรียนบางดีวิทยาคม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โอกาสนี้ (74.)…… เกี่ยวกับ (75.)…… ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า ตอนนี้เป็นที่น่ายินดีสําหรับ ประชาชนคนไทย พระอาการทรงดีขึ้นมากทั้งสองพระองค์ การ (76.).…. ไปยัง (77.)…… หัวหิน เป็นที่ที่ทั้งสองพระองค์โปรดพักผ่อนหย่อนพระทัยมานานแสนนานแล้ว (78.) …… ของทั้งสองพระองค์ อยู่ในเกณฑ์ดี ปลอดภัย เชื่อว่าที่พูดวันนี้จะทําให้คนไทยหลายคนสบายใจว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (79.)….. และ (80.) …… ราษฎรทุกคนเหมือนเดิม ไม่ผิดเพี้ยนเลย

71.
(1) เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
(2) เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
(3) เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
(4) เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์
ตอบ 2 พระนามที่ถูกต้อง คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (Her Royal Highness Princess Chulabhorn)

72.
(1) อัครกุมารี
(2) อัครราชกุมารี
(3) อัครมหากุมารี
(4) อัครมหาราชกุมารี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

73.
(1) เสด็จ
(2) เสด็จฯ
(3) ทรงเสด็จ
(4) ทรงเสด็จฯ
ตอบ 1
การเติม “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์ตามหลักเกณฑ์จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงห่วงใย ทรงช่วยเหลือ ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสําราญดี (สบายดี) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น เสด็จ (เดินทางไปโดยยานพาหนะ ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าลงมา), เสด็จพระราชดําเนินเสด็จฯ (ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2) ฯลฯ

74.
(1) มีพระดํารัส
(2) ทรงมีพระดํารัส
(3) มีพระราชดํารัส
(4) ทรงมีพระราชดํารัส
ตอบ 1
คํากริยา มี/เป็น เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์มีข้อสังเกตดังนี้
1. หากคําที่ตามหลัง มี/เป็น เป็นนามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น อีก เช่น มีพระดํารัส (คําพูด ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าลงมา), มีพระราชดํารัส (ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2) ฯลฯ
2. หากคําที่ตามหลัง มี/เป็น เป็นคําสามัญ ให้เติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น เพื่อทําให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงมีลูกสุนัข, ทรงเป็นประธาน ฯลฯ

75.
(1) สุขภาพ
(2) พระสุขภาพ
(3) พลานามัย
(4) พระพลานามัย
ตอบ 4 พระพลานามัย = สุขภาพ

76.
(1) เสด็จไปพํานัก
(2) เสด็จฯ ไปพํานัก
(3) เสด็จแปรพระราชฐาน
(4) เสด็จฯ แปรพระราชฐาน
ตอบ 4
(ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ) เสด็จฯ แปรพระราชฐาน = เดินทางไปโดยยานพาหนะเพื่อเปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว

77.
(1) วังไกลกังวล
(2) มหาราชวังไกลกังวล
(3) พระราชวังไกลกังวล
(4) พระมหาราชวังไกลกังวล
ตอบ 1 วังไกลกังวล สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2469 โดยทรงออกพระนามเรียกวังแห่งนี้ว่า “สวนไกลกังวล” และในตราสัญลักษณ์ของวังเมื่อ พ.ศ. 2472 ได้ออกนามว่า “พระราชวังไกลกังวล” แต่เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระบรมราชโองการประกาศยกเป็นพระราชวัง ดังนั้นจึงยังคงเรียกว่า “วังไกลกังวล”

78.
(1) สุขภาพ
(2) พระสุขภาพ
(3) พลานามัย
(4) พระพลานามัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

79.
(1) สําราญดี
(2) พระสําราญดี
(3) ทรงสําราญดี
(4) ทรงพระสําราญดี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

80.
(1) ห่วงใย
(2) พระห่วงใย
(3) ทรงห่วงใย
(4) ทรงพระห่วงใย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

ข้อ 81 – 90, อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
เพลง น้ำเหนือบ่า ประพันธ์เพลง ไพบูลย์ บุตรขัน
ขับร้อง ทูล ทองใจ

บทเพลงแห่งฤดูน้ำหลาก เปลี่ยนความลําบากเป็นเสียงเพลง บรรเลงอารมณ์สุนทรีย์ไปกับสายน้ำ ในยามหลากหลั่งประเดประดัง ทั้งน้ำเหนือหลากมา น้ำทะเลหนุนดัน และน้ำฝนดีเปรสชั่นโชก กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่เกือบปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงถึงเวลาได้เล่นเพลงเรือบนทางด่วน…ยังไม่ถึงขนาดนั้นหรอกน่า

สมัยยังไม่มีเขื่อน ฤดูน้ำหลากเป็นฤดูหนึ่งเมื่อถึงเวลากลางหรือปลายฤดูฝน น้ำหลากต้องมา ท่วมท้น คนก็ถือเป็นปกติ เป็นปกติคือมีการปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้ไม่เดือดร้อนกับน้ำท่วม เช่น เตรียมโคก หรือดินดอนไว้เป็นที่อพยพหมูหมาวัวควายไก่กาไปไว้ หมู่บ้านของผมที่ปทุมธานีอันเป็นที่ราบลุ่มตอนล่าง พื้นที่จะต่ำกว่าที่ราบลุ่มตอนบน กลางหมู่บ้านเขาจะขุดดินมาถมเป็นโคกสูงกว้าง พอน้ำท่วมมาทุกครัวเรือน ก็สามารถไปใช้บริการโคกเนินนี้ได้

ยังไม่นับการเป็นอยู่ที่สอดคล้องกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ปลูกบ้านใต้ถุนสูง-สูงมาก ในฤดูอื่น ก็ใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่อาศัยอยู่สบาย อากาศเย็น ราวกับติดแอร์ด้วยความเย็นจากพื้นดินและไอน้ำในคลอง เดินทางไปไหนมาไหนก็ใช้เรือพายหรือเรือหางยาวอยู่แล้ว น้ำจะท่วมไม่ท่วมก็ไม่เดือดร้อนเรื่องเดินทาง ตรงกันข้ามในฤดูน้ำหลาก การเดินทางทางเรือยิ่งสะดวก เพราะไปได้ถึงไหน ๆ ไม่ติดกั้นคันคูคลอง

ฤดูน้ำหลากยังมีผักหญ้าปลาปูอุดมสมบูรณ์ ชดเชยกับผักหญ้าที่ถูกท่วมไป เช่น มีบัวสายนานาชนิด ดอกสันตะวาที่แก่งส้มแสนอร่อย มีดอกโสน ผักบุ้ง กระจับ ฯลฯ ส่วนปลานั้นหายห่วง มีชุกชุมชนิดแทบ จะเอื้อมหยิบเอาตรงข้างสํารับได้เลย เพราะน้ำท่วม ปลาก็จะว่ายเวียนมาเลาะหากินอยู่แถวข้างครัว ปลาสร้อย ว่ายมาเป็นฝูง ๆ เป็นพันเป็นหมื่นตัวให้ยกยอเอามาหมักทําน้ำปลา เด็ดกว่าอื่นใดคือ มีกุ้งก้ามกรามตัวโต ๆ ก้ามสีคราม ๆ ม่วง ๆ ว่ายมาตามแม่น้ำให้คนจับกินจับขาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ว่าน้ำท่วมบางปีถึงขั้นนาล่ม พืชผักเสียหาย แต่ขณะเดียวกันธรรมชาติก็ ชดเชยให้ด้วยผักปลาที่มีมากับน้ำหลาก ใช้ชีวิตพออยู่ได้ไม่อับจน

และหากน้ำท่วมนานเป็นเดือน คนเราก็คิดหาวิธีปลูกพริกผักสวนครัว โดยเอาผักตบชวามา ถมทับกันเป็นแพหนา ๆ แล้วงมดินเลนมาโปะทับอีกที กลายเป็นแปลงดินลอยน้ำอยู่ได้เป็น 2 – 3 เดือน พอจะปลูกพืชผักสวนครัว หรือกระทั่งปลูกอ้อยก็ยังได้ ผักตบชวาที่เน่าเปื่อยก็เป็นปุ๋ยไปในตัว ฉลาดดีไหม ภูมิปัญญาชาวบ้านยุคไม่มีเขื่อน

ไม่ว่าปทุมธานี หรือกรุงเทพฯ ผู้คนยุคก่อนก็ตั้งหลักปักฐานบนพื้นฐานความคิดว่า เราเป็นเมืองลุ่ม ถึงฤดูน้ำต้องหลากท่วม ยิ่งเป็นเมืองลุ่มต่ำเท่าไรน้ำยิ่งท่วมสูง

แต่เมื่อเปลี่ยนจากเดินทางด้วยเรือมาใช้รถใช้ถนน จากไม่มีเพื่อนมามีเพื่อนที่บางปีน้ำก็ไม่หลาก หากฝนไม่ตกมากพอ ครั้นปีใดน้ำหลากท่วมมันจึงเป็นเรื่องผิดปกติ เดือดร้อนลําเค็ญแล้วจะเป็นเช่นใด

กลายเป็นความอีหลักอีเหลื่อของคนร่วมยุคสมัย บ้างก็เสนอให้สร้างเขื่อน ถ้าสร้างอีกสักสิบเขื่อน น้ำจะยังท่วมอีกไหม…ก็ยังท่วมอยู่ดีแหละถ้าฝนตกหนัก ๆ อีกฝ่ายก็บอกสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง ป่าเขาก็จมน้ำ เป็นแถบ ๆ สายชีวิตสัตว์น้ำก็ถูกทําลาย ฯลฯ
อีหลักอีเหลื่ออย่างนี้ยังจะมีอารมณ์ร้องเพลง น้ำเหนือบ่า ตามทูล ทองใจ อีกไหมนี่ (จากคอลัมน์ คมเคียวคมปากกา โดยไผ่เสี้ยว นาน้ำใส หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก)

81. ในเรื่องน้ำหลากประเด็นใดที่แตกต่างกันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน
(1) ฤดูกาล
(2) ความรู้
(3) ความรู้สึก
(4) ความคิด
ตอบ 4 จากข้อความไม่ว่าปทุมธานี หรือกรุงเทพฯ ผู้คนยุคก่อนก็ตั้งหลักปักฐานบนพื้นฐานความคิดว่าเราเป็นเมืองลุ่ม ถึงฤดูน้ำต้องหลากท่วม ยิ่งเป็นเมืองลุ่มต่ำเท่าไรน้ำยิ่งท่วมสูง แต่เมื่อเปลี่ยนจากเดินทางด้วยเรือมาใช้รถใช้ถนน จากไม่มีเพื่อนมามีเพื่อนที่บางปีน้ำก็ไม่หลากหากฝนไม่ตกมากพอ
ครั้นปีใดน้ำหลากท่วมมันจึงเป็นเรื่องผิดปกติ เดือดร้อนลําเค็ญแล้วจะเป็นเช่นใด

82. ข้อใดสรุปพฤติกรรมของคนในอดีตเมื่อถึงฤดูน้ำหลากได้อย่างถูกต้อง
(1) เป็นฤดูที่อากาศดีที่สุด
(2) เป็นฤดูที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด
(3) เป็นช่วงที่สามารถปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสได้
(4) เป็นโอกาสเดียวที่ชาวบ้านจะได้แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอบ 3 จากข้อความฤดูน้ำหลากยังมีผักหญ้าปลาปอุดมสมบูรณ์ ชดเชยกับผักหญ้าที่ถูกท่วมไป เช่น มีบัวสายนานาชนิด ดอกสันตะวาที่แกงส้มแสนอร่อย มีดอกโสน ผักบุ้ง กระจับ ฯลฯ ส่วนปลานั้น หายห่วง มีชุกชุม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ว่าน้ำท่วมบางปีถึงขั้นนาล่ม พืชผักเสียหาย แต่ขณะเดียวกัน ธรรมชาติก็ชดเชยให้ด้วยผักปลาที่มีมากับน้ำหลาก ใช้ชีวิตพออยู่ได้ไม่อับจน

83. ผู้เขียนมีทัศนะต่อ “บ้านใต้ถุนสูง” อย่างไร
(1) เป็นที่นิยมแต่ในต่างจังหวัด
(2) ล้าสมัยเหมาะสมเฉพาะในอดีต
(3) ปรับให้เป็นประโยชน์ได้ทุกฤดู
(4) สิ้นเปลืองทั้งค่าวัสดุและแรงงานก่อสร้าง
ตอบ 3 จากข้อความ..ปลูกบ้านใต้ถุนสูง สูงมาก ในฤดูอื่นก็ใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่อาศัยอยู่สบาย อากาศเย็นราวกับติดแอร์ด้วยความเย็นจากพื้นดินและไอน้ำในคลอง เดินทางไปไหนมาไหนก็ใช้เรือพาย หรือเรือหางยาวอยู่แล้ว น้ำจะท่วมไม่ท่วมก็ไม่เดือดร้อนเรื่องเดินทาง ตรงกันข้ามในฤดูน้ำหลากการเดินทางทางเรือยิ่งสะดวก เพราะไปได้ถึงไหน ๆ ไม่ติดกั้นคันคูคลอง

84. น้ำหลากมีผลอย่างไรต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร
(1) ฤดูน้ำท่วมเสียหาย
(2) ได้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้น้ำ
(3) มีทั้งที่งอกงามและเสียหาย
(4) ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาปลูกพืชลอยน้ำ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85. สิ่งใดในโลกปัจจุบันที่มีใช้ต่างจากอดีตและได้รับผลกระทบจากฤดูน้ำหลากมากที่สุด
(1) อาหาร
(2) อากาศ
(3) พาหนะ
(4) พาหะนําโรค
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. และ 83. ประกอบ

86. ผู้เขียนมีทัศนะอย่างไรต่อเขื่อน
(1) ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม
(2) ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ
(3) ธรรมชาติยังมีอิทธิพลมากกว่าเพื่อน
(4) เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณเขื่อน
ตอบ 3
จากข้อความ…กลายเป็นความอีหลักอีเหลื่อของคนร่วมยุคสมัย บ้างก็เสนอให้สร้างเขื่อน ถ้าสร้างอีกสักสิบเขื่อน น้ำจะยังท่วมอีกไหม ก็ยังท่วมอยู่ดีแหละถ้าฝนตกหนัก ๆ อีกฝ่าย ก็บอกสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง ป่าเขาก็จมน้ำเป็นแถบ ๆ สายชีวิตสัตว์น้ำก็ถูกทําลาย ฯลฯ

87. แนวคิดหลักของข้อความที่ให้อ่านคืออะไร
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างเพลงกับฤดูกาล
(2) ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์
(3) ความเข้าใจธรรมชาติย่อมเป็นการปรับตัวที่ให้ผลดี
(4) ธรรมชาติก็คือธรรมชาติหาความแน่นอนใด ๆ มิได้
ตอบ 3
(คําบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสําคัญของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียด ทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสําคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ ความเข้าใจธรรมชาติย่อมเป็นการปรับตัวที่ให้ผลดี

88. วรรณกรรมที่ให้อ่านจัดเป็นประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทวิจารณ์
(3) ปาฐกถา
(4) ความเรียง
ตอบ 4
(คําบรรยาย) ความเรียง คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตหรือประสบการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อเท็จจริง ทัศนคติ ข้อคิดเห็น หรือข้อความที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก จากนั้นจึงสรุปให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา

89. โวหารการเขียนส่วนใหญ่เป็นแบบใด
(1) บรรยาย
(2) อธิบาย
(3) อภิปราย
(4) พรรณนา
ตอบ 2
โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลเพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบการเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายกฎเกณฑ์ ทฤษฎี และวิธีการต่าง ๆ

90. ท่วงทํานองเขียนจัดเป็นแบบใด
(1) สละสลวย
(2) เรียบง่าย
(3) กระชับรัดกุม
(4) เป็นภาษาพูด ใช้คํามีภาพพจน์
ตอบ 4
ผู้เขียนมีท่วงทํานองเขียนแบบที่ใช้ภาษาพูดหรือภาษาปากเป็นส่วนใหญ่ และมีการใช้คําที่มีภาพพจน์ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกนึกเห็นเป็นภาพขึ้นในใจส่งผลให้ท่วงทํานองเขียนมีน้ำหนัก สามารถเร้าให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสนใจและประทับใจ

91. ข้อใดสะกดถูกทุกคํา
(1) จัตุรัส อนุญาต ปิกนิก
(2) เซ็นต์ชื่อ สังเกตุ ลําใย
(3) สีสัน ถนนราดยาง ผัดเวร
(4) สาบแช่ง บังสกุล โลกาภิวัฒน์
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เซ็นต์ชื่อ สังเกตุ – ลําใย ถนนลาดยาง ผัดเวร สาบแช่ง บังสกุล โลกาภิวัฒน์ ซึ่งที่ถูกต้องคือ เซ็นชื่อ สังเกต ลําไย ถนนลาดยาง ผลัดเวร สาปแช่ง บังสุกุล โลกาภิวัตน์

92. ข้อใดสะกดผิดทุกคํา
(1) กังวาน ไข่มุก คลินิก
(2) โชว์ห่วย ทูลหัว นัยตา
(3) โควตา เจตนารมณ์ บอระเพ็ด
(4) เกษียณอายุ เกร็ดความรู้ กะหรี่ปั๊บ
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โชว์ห่วย ทูลหัว นัยตา ซึ่งที่ถูกต้องคือ การโชห่วย ทูนหัว นัยน์ตา

93. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด
(1) เค้ก หงษ์ กะเพรา
(2) โครงการณ์ คุ้กกี้ บังสกุล
(3) บิณฑบาตร กระทะ ผัดเปลี่ยน
(4) ถั่วพู กะโหลก ตกล่องปล่องชิ้น
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ หงษ์ โครงการณ์ คุ้กกี้ บังสกุล บิณฑบาตร ผลัดเปลี่ยน ซึ่งที่ถูกต้องคือ หงส์ โครงการ คุกกี้ บังสุกุล บิณฑบาต ผลัดเปลี่ยน

94. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย
(1) เบรก บิณฑบาต รื่นรมย์
(2) ผาสุก ผุดลุกผุดนั่ง เบญจเพส
(3) ผลัดวันประกันพรุ่ง บิดพลิ้ว กะทัดรัด
(4) เครื่องรางของขลัง อานิสงส์ บาดทะยัก
ตอบ 3
คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผัดวันประกันพรุ่ง ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผัดวันประกันพรุ่ง

95. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก
(1) คุกกี้ เกล็ดปลา มืดมน ร่ำลือ
(2) พรรณนา พังทลาย พิสดาร ลิดรอน
(3) โน๊ตดนตรี รื่นรมย์ ปราณีต ไล่เลี่ย
(4) บรรทุก แบ่งสันปันส่วน เผ่าพันธุ์ พังทลาย
ตอบ 3
คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน้ตดนตรี ปราณีต ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตดนตรี ประณีต

96 – 98, ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) เบี้ยล่าง ถ่านไฟเก่า เป็นหน้าเป็นตา
(2) นกพิราบขาว ขี่ช้างจับตั๊กแตน เกลือจิ้มเกลือ
(3) โยนหินถามทาง พุ่งหอกเข้ารก พายเรือทวนน้ำ
(4) หนอนหนังสือ ไปไหนมาสามวาสองศอก พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง

96. ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด
ตอบ 3
ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้

1. สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมาก และเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น เบี้ยล่าง (คนที่ตกอยู่ใต้อํานาจของคนอื่น), ถ่านไฟเก่า (ชายหญิงที่เคยรักกันแต่เลิกร้างไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่กันได้ง่ายขึ้น), เป็นหน้าเป็นตา (เป็นที่เชิดหน้าชูตา), นกพิราบขาว (การมีสันติภาพหรือความสงบสุข), หนอนหนังสือ (คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ) เป็นต้น

2. คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจ ให้นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น ขี่ช้างจับตักแตน (ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย),เกลือจิ้มเกลือ (ไม่ยอมเสียเปรียบกัน), โยนหินถามทาง (ปล่อยข่าวเพื่อหยั่งปฏิกิริยาของ คนรอบข้าง), พุ่งหอกเข้ารก (ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมาย), พายเรือทวนน้ำ (ทําด้วยความยากลําบาก), ไปไหนมาสามวาสองศอก (ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง) เป็นต้น

3. สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจ หรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง (พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า) เป็นต้น

97. ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ
98. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

99. “เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ” มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) น้ำลดตอผุด
(2) น้ำนิ่งไหลลึก
(3) น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
(4) น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
ตอบ 1
น้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ (ส่วนน้ำนิ่งไหลลึก = คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง, น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก = แม้จะไม่พอใจก็ควรแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม, น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา = ทีใครทีมัน)

100. “หมาในรางหญ้า” มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) คนที่ลอบทําร้ายผู้อื่น
(2) คนที่ทําตัวเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย
(3) คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง
(4) คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้
ตอบ 4
หมาในรางหญ้า = คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้

101. เด็กวัยรุ่นที่ทําความผิดควรส่งตัวไป……ที่ศูนย์ควบคุมความประพฤติ
(1) กัก
(2) กักกัน
(3) กักขัง
(4) จําคุก
ตอบ 3
คําว่า “กักขัง” = โทษทางอาญาสถานหนึ่งที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษไว้ในสถานที่ซึ่งกําหนดไว้อันมิใช่เรือนจํา (ส่วนคําว่า “กัก” = ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กําหนดไว้,
“กักกัน” = วิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทําความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทําความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ,
“จําคุก” = โทษทางอาญาสถานหนึ่งที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขังไว้ในเรือนจํา)

102. แม่โมโหจึงแสดงอาการ…….ใส่ลูกชายที่กลับบ้านดึก
(1) เกลี้ยวกลาด
(2) เกี้ยวกลาด
(3) เกี้ยวกราด
(4) เกรี้ยวกราด
ตอบ 4
คําว่า “เกรี้ยวกราด” = แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวอย่างรุนแรงด้วยความโกรธหรือใช้ว่า “กราดเกรี้ยว” ก็ได้ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

103. เด็กวัยรุ่นลั่น…….ปืนใส่คู่อริ
(1) ไก
(2) ไกร
(3) ไกล
(4) ไกล่
ตอบ 1 คําว่า “ไก” = ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนลั่นออกไป เช่น ไกปืน ไกหน้าไม้ (ส่วนคําว่า “ไกร” = ยิ่ง มาก ใหญ่ เก่ง, “ไกล” = ห่าง ยึดยาว นาน, “ไกล” = ทา ไล้)

104. การเตรียมงานไม่ดีจะทําให้เกิดความ……..ขึ้นมาได้
(1) ขุขะ
(2) ขุกขัก
(3) ขลุกขลัก
(4) ขรุกขรัก
ตอบ 3
คําว่า “ขลุกขลัก” = ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ ติดขัด ไม่สะดวก เสียงดังอย่างก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

105. เขาถูกต่อยจนเลือด…………….ปาก
(1) กบ
(2) กด
(3) กรบ
(4) กลบ
ตอบ 1
คําว่า “กบ” = เต็มมาก เต็มแน่น เช่น ข้าวกบหม้อ เลือดกบปาก (ส่วนคําว่า “กด” = ข่มบังคับลง ใช้กําลังดันให้ลง, “กรบ” = เครื่องแทงปลา ทําด้วยไม้ 3 อัน มัดติดกัน, “กลบ” =กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง)

106. วันนี้ฝนตก……ข้าว……สดชื่นขึ้นมาได้
(1) ปอย ๆ นาปลัง
(2) ปอย ๆ นาปรัง
(3) ปรอย ๆ นาปรัง
(4) ปรอย ๆ นาปลัง
ตอบ 3
คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง”= นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107. คุณขอ…….เงินมาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้ผมไม่ยอมให้……..อีกแล้ว
(1) ผัด ผัด
(2) ผัด ผลัด
(3) ผลัด ผัด
(4) ผลัด ผลัด
ตอบ 1
คําว่า “ผัด” – ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้ ผัดเงิน (ส่วนคําว่า “ผลัด” = เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน)

108. เด็กวัยรุ่นมักจะ…….และ…….ดาราเกาหลี
(1) ครั่งไคล้ หลงไหล
(2) คลั่งไคล้ หลงไหล
(3) ครั่งไคร้ หลงใหล
(4) คลั่งไคล้ หลงใหล
ตอบ 4 คําว่า “คลั่งไคล้” = หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และ “หลงใหล” = คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้อง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

ข้อ 109. – 111. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําผิดความหมาย
(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

109. “ประชากรผึ้งมีเป็นจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 2
การใช้คําในการพูดและเขียนจะต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ จะต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น ประชากรผึ้งมีเป็นจํานวนมาก (ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ฝูงผึ้งมีเป็นจํานวนมาก (คําว่า “ฝูง” = พวก หมู่ ซึ่งสามารถใช้กับสัตว์ได้ (ยกเว้นช้าง) เช่น ฝูงมด ฝูงผึ้ง ฝูงควาย ฯลฯส่วนคําว่า “ประชากร” = หมู่คน หมู่พลเมือง)

110. “แม่ค้าขายปลาตายในตลาด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 1
การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยเพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําซึ่งแวดล้อมอยู่เป็นเครื่องช่วย กําหนดความหมาย เช่น แม่ค้าขายปลาตายในตลาด (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไขให้มีความหมาย แน่ชัดลงไปเป็น แม่ค้าขายปลาถูกคนร้ายฆ่าตายในตลาด

111. “เขามีความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 3 การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็น จะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย อะไร แม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น เขามีความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น เขาเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก

112. “เพลงนี้ถูกขอมามากในรายการ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําขยายไม่ถูกต้อง
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําต่างศักดิ์กัน
ตอบ 3
การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และไม่เคอะเขิน เช่น เพลงนี้ถูกขอมามากในรายการ (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขให้ ถูกต้องเป็น เพลงนี้มีผู้ขอมามากในรายการ (คําว่า “ถูก” ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายที่ไม่น่ายินดี เช่น เขาถูกด่า เธอถูกไล่ออก)

113. “พ่อแม่ย่อมรักบุตรทุกคน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําขยายไม่ถูกต้อง
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําต่างศักดิ์กัน
ตอบ 4
คําในภาษาไทยมีระดับไม่เท่ากัน หรือเรียกว่ามีศักดิ์ต่างกัน หมายถึง มีการแบ่งคําออกไปใช้ในที่สูงต่ำต่างกันตามความเหมาะสม เช่น พ่อแม่ย่อมรักบุตรทุกคน (ใช้คำต่างศักดิ์กัน) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น บิดามารดาย่อมรักบุตรทุกคน/พ่อแม่ย่อมรักลูกทุกคน

114. “ฉันไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาลซึ่งบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําขยายไม่ถูกต้อง
(2) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(3) วางส่วนขยายผิดที่
(4) ใช้คําต่างศักดิ์กัน
ตอบ 3
การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือมีความหมาย ไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น ฉันไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาลซึ่งบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (เรียงลําดับประโยคไม่ถูก หรือวางส่วนขยายผิดที่) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ฉันไปเยี่ยมผู้ป่วยซึ่งบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่โรงพยาบาล

115. “ฉันไม่รู้จะตอบแทนเธออย่างไรดี” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผล
(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(4) ใช้คําขยายความผิดที่
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 110. ประกอบ)
ข้อความที่ว่า ฉันไม่รู้จะตอบแทนเธออย่างไรดี (ใช้คํากํากวม)จึงควรแก้ไขให้มีความหมายแน่ชัดลงไป เช่น ฉันไม่รู้จะตอบคําถามแทนเธออย่างไรดี/ฉันไม่รู้จะตอบแทนบุญคุณเธออย่างไรดี

116. “ฉันรายงานในห้องประชุมเรื่องการเรียนการสอน” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร (1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) เรียงลําดับประโยคไม่ถูก
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ)
ข้อความที่ว่า ฉันรายงานในห้องประชุมเรื่องการเรียนการสอน (เรียงลําดับประโยคไม่ถูก) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ฉันรายงานเรื่องการเรียนการสอนในห้องประชุม

117. “วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครมาเป็นเพื่อน” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําขยายความผิดที่
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 111. ประกอบ)
ข้อความที่ว่า วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครมาเป็นเพื่อน (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น วันนี้ฉันมาคนเดียว

118. “เขาทําการปิดประตูใส่กุญแจอย่างรอบคอบ” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร (1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) เรียงลําดับประโยคไม่ถูก
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 111. ประกอบ)
ข้อความที่ว่า เขาทําการปิดประตูใส่กุญแจอย่างรอบคอบ(ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น เขาปิดประตูใส่กุญแจอย่างรอบคอบ

119. คําว่า “ทัศนวิสัย วิสัยทัศน์ ทัศนียภาพ” เป็นคําประเภทใด
(1) คําไวพจน์
(2) คําภาษาต่างประเทศ
(3) คําศัพท์บัญญัติ
(4) คําทับศัพท์
ตอบ 3
(คําบรรยาย) คําศัพท์บัญญัติ หรือคําเฉพาะวิชา คือ คําศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติจากภาษาต่างประเทศ เพื่อกําหนดใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารทางราชการและการเรียนการสอนสําหรับสาขาวิชาแขนงหนึ่งแขนงใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่าง ๆ เช่น ทัศนวิสัย (Visibility), วิสัยทัศน์ (Vision), ทัศนียภาพ (Vista), โลกทัศน์ (World View), วีดิทัศน์ (Video), โลกาภิวัตน์ (Globalization) เป็นต้น

120. ข้อใดใช้ภาษาเขียน
(1) เมื่อไหร่จะมาซะที
(2) มะม่วงโลละเท่าไหร่
(3) ฉันเรียนอยู่ที่คณะวิศวะ
(4) ธนาคารปิดทําการแล้ว
ตอบ 4
ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ
1. คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของทางราชการ เช่น ธนาคารปิดทําการแล้ว ฯลฯ
2. คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัวถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน ซึ่งในบางครั้งก็มักจะตัดคําให้สั้นลง เช่น เมื่อไหร่จะมาซะที, มะม่วงโลละเท่าไหร่, ฉันเรียนอยู่ที่คณะวิศวะ ฯลฯ

Advertisement