การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552
ข้อสอบกระบวนวิชา SOC1003 สังคมวิทยาและมนุษยวิทยาเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1 เพราะเหตุใด ผู้ที่เรียนแพทย์แผนไทยของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงต้องเรียน วิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น (SO 103)
1 เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
2 เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนและสังคม
3 เพื่อเป็นไปตามแผนการศึกษาทั่วไป
4 เพื่อสร้างดุลยภาพแก่สังคม
5 ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ถูกทั้งหมด
เหตุผลสำคัญที่กำหนดให้กระบวนวิชา “สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น” หรือ SO 103 เป็นวิชาบังคับพื้นฐานของนักศึกษาคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็คือ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งเป็นไปตามแผนการศึกษาทั่วไป และเพื่อสร้างดุลภาพให้แก่สังคมในการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนและสังคมได้เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไป
2 ออกัส ค้องท์ (Auguste Comte) และเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เป็นผู้บุกเบิกในการแสวงหาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมอย่างเป็นระบบจนทำให้ความรู้ด้านนี้ เรียกว่าอะไร
1 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 3 วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
4 วิทยาศาสตร์ทางสังคม 5 วิทยาศาสตร์เฉพาะ
ตอบ 4 วิทยาศาสตร์ทางสังคม
ออกัส ค้องท์ (Auguste Comte) และเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เป็นนักคิดนักวิชาการกลุ่มแรกที่ได้พยายามทำให้ความรู้เกี่ยวกับคนและสังคมให้กลายเป็น “วิทยาศาสตร์ทางสังคม” ขึ้นมา โดยพยายามใช้วิธีการศึกษาทุกขั้นตอนเหมือนกับการทดลองวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมมนุษย์อย่างเป็นระบบ
3 นักปราชญ์ท่านใดกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม
1 เพลโต (Plato) 2 อริสโตเติล (Aristotle) 3 ดาร์วิน (Darwin)
4 ค้องท์ (Comte) 5 เดอร์ไคม์ (Durkheim)
ตอบ 2 อริสโตเติล (Aristotle)
อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ได้กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (Social Animal) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันในหมู่สมาชิก มีความจำเป็นต้องติดต่อและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอยู่เสมอ
4 เอ็ดมันด์ ลีช (Edmund Leach) นำเสนอแนวคิดใดที่ได้จากการศึกษาสังคมชาวกะฉิ่นในประเทศพม่า
1 สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพเสมอไป 2 สังคมจะต้องมีความสมดุล
3 การขัดแย้งจะเกิดขึ้นพร้อมกับการประนีประนอม 4 สังคมอยู่รอดเพราะการประนีประนอม
5 การขัดแย้งก่อให้เกิดความสมดุล
ตอบ 1 สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพเสมอไป
เอ็ดมันด์ ลีช (Edmund Leach) กล่าวว่า สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพเสมอไป ทั้งนี้เพราะสังคมอาจเกิดความไม่สงบและเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งแล้วอาจเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นลักษณะเดิมอีก เช่น สังคมชาวกะฉิ่นในประเทศพม่า ซึ่งเขาได้ใช้เวลาในการศึกษาอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานหลายปี
5 แนวคิดของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลก มีอิทธิพลต่อนักวิชาการทางสังคมวิทยาท่านใด
1 เพลโต (Plato) 2 ค้องท์ (Comte) 3 สเปนเซอร์ (Spencer)
4 มาร์กซ์ (Marx) 5 ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 ข้อ 2 และ 3
ค้องท์ (Comte) และสเปนเซอร์ (Spencer) เป็นนักสังคมวิทยารุ่นแรกที่สนใจศึกษาถึงการกำเนิดของสังคม วิวัฒนาการของสังคม และความน่าจะเป็นของสังคมในอนาคต ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลกของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ
6 ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะของ “ศาสตร์ทางสังคม”
1 มีการสังเกต ตรวจสอบ ทดลอง
2 อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์
3 ใช้สามัญสำนึก
4 มีหลักการสามารถอธิบายบนพื้นฐานของทฤษฎี
5 มีความรู้สนับสนุน
ตอบ 3 ใช้สามัญสำนึก
ลักษณะของ “ศาสตร์ทางสังคม” มีดังนี้
1 มีการสังเกต ยืนยันข้อเท็จจริง อธิบาย ตรวจสอบ ทดลอง และอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์
2 มีหลักการ มีวิทยาการ โดยอาศัยพื้นฐานของทฤษฎีที่มีระบบระเบียบ
3 ต้องมาจากการศึกษาและค้นคว้า
4 มีความรู้สนับสนุน
7 ข้อใดเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
1 ฟิสิกส์ 2 รัฐศาสตร์ 3 สังคมวิทยา 4 เคมี 5 ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ถูกทั้งหมด วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ได้แก่ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา ฯลฯ (ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ การบัญชี เภสัชกรรม การแพทย์ การเมือง กฎหมาย บริหารธุรกิจ การสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ)
8 คำว่า Socius ในภาษาละตินหมายถึง
1 สังคม 2 เพื่อน 3 วัฒนธรรม 4 ถ้อยคำ 5 ชาติพันธุ์
ตอบ 2 เพื่อน
คำว่า Sociology (สังคมวิทยา) มาจากศัพท์ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งเป็นภาษาละตินมีความหมายว่า “เพื่อน”” (Companion) และคำว่า Logos ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า “ถ้อยคำ” (Word) เมื่อรวมคำทั้ง 2 นี้เข้าด้วยกันก็จะแปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม
9 เพลโตเขียนหนังสือชื่ออะไรที่บรรยายสภาพสังคมที่เลอเลิศที่สุด
1 อุตมรัฐ 2 กลไกของสังคม 3 ประชาธิปไตยของปวงชน
4 รัฏฐาธิปัตย์ 5 เสนาสมาคม
ตอบ 1 อุตมรัฐ
ผลงานของเพลโต (Plato) ในหนังสือชื่อ The Republic (อุตมรัฐ) ได้บรรยายถึงสภาพสังคมที่เลอเลิศที่สุด เป็นสังคมที่มีแต่ความผาสุก เพราะผู้ปกครองเป็นราชาปราชญ์ (Philosopher King) คือ เป็นทั้งราชาที่มีอำนาจและเป็นปราชญ์ (ทรงไว้ซึ่งความรู้)
10 นักสังคมวิทยาชื่อ แม็กซ์ เวเบอร์ เป็นคนชนชาติใด
1 ฝรั่งเศส 2 อังกฤษ 3 เยอรมัน 4 สหรัฐอเมริกา 5 สเปน
ตอบ 3 เยอรมัน
แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันที่สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen) แปลว่า Understanding (ความเข้าใจ) ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นความเข้าใจรวมๆกันมากกว่าในรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางสังคม