การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมภายใน
(1) กอดลูกด้วยความเอ็นดู
(2) ส่งข้อความทางไลน์กับคนรัก
(3) คาดหวังให้น้องได้เรียนต่อสูง ๆ
(4) ขับรถอย่างถูกต้องตามวินัยจราจร
(5) อ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมตัวสอบ
ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) พฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ
2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อมโดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ
2 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา
(1) บรรยายพฤติกรรม
(2) ล่วงรู้ความคิดของผู้อื่นได้แม้ไม่ต้องพูด
(3) ควบคุมพฤติกรรม
(4) ประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจําวัน
(5) ทําความเข้าใจการเกิดขึ้นของพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ดังนี้
1 หาคําอธิบาย เช่น บรรยายพฤติกรรมว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุฉุกเฉินบนถนน ฯลฯ
2 ทําความเข้าใจ เช่น ให้เหตุผลว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเกิดพฤติกรรมเช่นนั้นขึ้นมา ฯลฯ
3 ทํานาย (พยากรณ์) เช่น สามารถคาดการณ์หรือล่วงรู้ความคิดของผู้อื่นได้แม้ไม่ต้องพูด ฯลฯ
4 ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีคนถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ
3 “องค์ประกอบของจิตสํานึก ประกอบด้วย การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ” เป็นแนวคิดของ จิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่ม จิตวิเคราะห์
ตอบ 3 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึกประกอบด้วย การรับสัมผัส (Sensation) ความรู้สึก (Feeling) และมโนภาพ (Image) ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเอง หรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั่นเอง
4 “การทํางานของจิตสํานึกที่เน้นการปรับตัว” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) สนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทํางานของจิตสํานึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องศึกษาให้รู้ว่าการคิด การรับรู้ นิสัย และอารมณ์ ช่วยในการปรับตัวของมนุษย์อย่างไร โดยเห็นว่าจิตของบุคคลจะต้องทําหน้าที่ ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป
5 “การรับรู้บ้านทั้งหลัง แตกต่างจากการรับรู้วัสดุที่ประกอบเป็นบ้าน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย” เป็นแนวคิด ของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มมนุษยนิยม
ตอบ 4 หน้า 11 กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) เกิดจากแนวความคิดของนักจิตวิทยา ชาวเยอรมันคือ เวิร์ธไทเมอร์ (Wertheimer) ซึ่งกล่าวว่า การแยกแยะประสบการณ์ทางจิตออก เป็นส่วน ๆ ตามองค์ประกอบการรับรู้และการสัมผัส หรือการวิเคราะห์พฤติกรรมออกเป็นสิ่งเร้า และการตอบสนองเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องในการศึกษาทางจิตวิทยา โดยพฤติกรรมและประสบการณ์ ทางจิตจะต้องพิจารณาเป็นส่วนรวมแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะการแยกออกเป็นส่วนย่อยจะทําให้ได้ความหมายไม่สมบูรณ์ เช่น การรับรู้บ้านทั้งหลัง จะมีความหมายมากกว่าและแตกต่างจากการรับรู้วัสดุที่ประกอบเป็นบ้าน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย ฯลฯ
6 “เน้นจิตใต้สํานึกที่เป็นแหล่งสะสมแรงขับ แรงปรารถนาที่ซ่อนเร้น” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
ตอบ 2 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกตในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นแหล่งสะสมของความคิด แรงขับ แรงกระตุ้น และความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น
7 “เน้นกระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความคิด ภาษา การแก้ปัญหา” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสามารถทางปัญญาโดยเน้นกระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความรู้ ความคิด การใช้ ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิตอื่น ๆ
8 “ผสมผสานหลายแนวความคิดทางจิตวิทยาเพื่ออธิบายพฤติกรรม” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มมนุษยนิยม
(3) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology)
ตอบ 5 หน้า 12 ปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไป และมีการรวมความคิดเข้าด้วยกันกลายมาเป็นกลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology) คือ ผสมผสานหลายแนวความคิดทางจิตวิทยาเข้าด้วยกันเพื่ออธิบายพฤติกรรมมนุษย์
9 ศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อ คือสมองส่วนใด
(1) ไฮโปธาลามัส
(2) ธาลามัส
(3) ซีรีบรัม
(4) ก้านสมอง
(5) ไขสันหลัง
ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็กแต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและ ระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการหลับ การยืน ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ และอุณหภูมิในร่างกาย ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย