การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
ตั้งแต่ข้อ 1 – 20 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก
(2) ข้อ 1 ถูก ข้อ 2 ผิด
(3) ข้อ 1 ผิด ข้อ 2 ถูก
(4) ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด
(5) ไม่สามารถตัดสินใจได้
1 (1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Nagel
(2) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่
1 เควด (E.S. Quade)
2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)
3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)
4 โทมัส อาร์, ดาย (Thomas R. Dye)
5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ
ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่
1 กรอส (Gross)
2 ไจแอคควินทา (Giacquinta)
3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)
4 กรีนวูด (Greenwood)
5 แมน (Mann)
6 แมคลัฟลิน (McLaughlin)
7 เบอร์แมน (Berman)
8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)
9 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine)
10 เพรสแมน (Pressman)
11 วิลดัฟสกี (Wildavsky)
12 มองจอย (Montjoy)
13 โอทูเล (O’Toole)
14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ
2 (1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย
(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 48 – 58, 73), (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้
1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน
2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย
3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง
4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือการมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5 ทรัพยากรที่พอเพียง
6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ
ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะ ปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว
ส่วนอีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อให้ผลการประเมิน ถูกต้อง และเพื่อตรวจสอบว่านโยบายนั้นจําเป็นและควรใช้หรือไม่ หรือจะดําเนินการต่อไป ตามที่วางไว้ได้หรือไม่ และช่วยแก้ปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่
3 (1) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
(2) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) เป็นวิธีการที่มีความ เคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุดด้วย โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)
2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว
3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม
4 (1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง
(2) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง
ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะเหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ
1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ
2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์
3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล
4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ
5 (1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน
(2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 84 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือชนชั้นนํา (Elite Model/Theory) อธิบายว่า
1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบาย สาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย
2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้
3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า
4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ
6 (1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจคนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม
(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ
7 (1) สังคมถูกแบ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการหรือค่านิยมของตน คือ ทฤษฎีผู้นํา
(2) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีสถาบันนิยม(Institutional Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะอยู่ในฐานะเป็นผลผลิตของสถาบัน โดยที่สถาบันหรือหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม มีความเป็นสากล และมีการผูกขาดอํานาจบังคับ นั่นคือ เป็นการพยายามเชื่อมโยงโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันรัฐบาลกับการกําหนดนโยบายสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่า สถาบันรัฐบาลเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเพราะเป็นอํานาจหน้าที่อันชอบธรรม ซึ่งทฤษฎีนี้จะสะท้อน ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะก็คือนโยบายของรัฐบาลนั่นเอง
8 (1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม
(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ
ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ
1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)
2 กระบวนการ (Process)
3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)
4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)
5 สิ่งแวดล้อม (Environment)
9 (1) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ
(2) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา
ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 86, 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ
1 ตัวแบบเหตุผลนิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล
2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม
3 ตัวแบบผสมผสาน
ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม
10 (1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ
(2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม
ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision Centred Planning Theory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน (ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)