การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ข้อ 1 การที่พุทธศาสนาสามารถสถาปนาขึ้นเป็นศาสนาใหม่และได้รับการศรัทธาอย่างแพร่หลายในชมพูทวีปตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นพุทธกาลนั้น มีเงื่อนไขบริบททั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมสนับสนุนอย่างไร

แนวคําตอบ

พุทธศาสนา เกิดขึ้นในชมพูทวีป ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์เกิดขึ้นก่อนพุทธศาสนาหลายร้อยปี และครอบงําความเชื่อของชาวชมพูทวีปอย่างแน่นแฟ้น จนถึงกับสามารถสร้างความยอมรับในเรื่องวรรณะอย่างฝังใจ

ศาสดาของพุทธศาสนาคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติในชมพูทวีป มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ปกครองแคว้นสักกะ เมื่อพระชนมายุได้ 35 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ก็ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระองค์เอง แล้วจึงได้เสด็จออกเผยแผ่พุทธศาสนา

ทั้งนี้ในการที่พุทธศาสนาสามารถสถาปนาขึ้นเป็นศาสนาใหม่และได้รับการศรัทธาอย่างแพร่หลาย ในชมพูทวีปตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นพุทธกาลนั้น มีเงื่อนไขบริบททั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่สนับสนุน ดังนี้

เงื่อนไขบริบททางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่สนับสนุนพุทธศาสนาด้านการเมือง

พระพุทธเจ้าทรงมีพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครองเป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้จาก ในกฎหมาย กําหนดให้ชายชาวศากยะที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ทุกคน ต้องเป็นสมาชิกของสภามนตรีที่เรียกว่า “ศากยะสังฆะ” ซึ่ง จะประชุมกันเป็นประจําเพื่อพิจารณาหาหนทางส่งเสริมรักษาผลประโยชน์ของชาวศากยะ ดังนั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงบรรลุนิติภาวะจึงทรงสมัครเป็นสมาชิกของศากยะสังฆะ และทรงปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่งติดต่อกันนานถึง 9 ปี ก่อนที่จะออกผนวช

พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่ศาสนาพุทธให้ลงหลักฐานอย่างมั่นคงในชมพูทวีปได้ส่วนหนึ่งมาจากการที่ พระองค์ทรงประสูติมาเป็นโอรสกษัตริย์ มีวรรณะกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวรรณะที่มีอํานาจ เกียรติยศและ ศักดิ์ศรีที่สูงสุดในหมู่ชน การสั่งสอนธรรมของพระองค์จึงได้รับการเชื่อถือ และศรัทธามากจากหมู่ชนทุกวรรณะ ทําให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทําได้ดีและได้ง่ายกว่าศาสดาองค์อื่น ๆ

นอกจากนี้แล้วพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชา ตลอดจนพระราชวงศ์เป็นจํานวนมากและสูงสุด จนยอมปฏิญาณเป็นพุทธมามกะที่จะนับถือเชื่อฟังและปฏิบัติตาม หลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ซึ่งการที่พระมหากษัตริย์ที่มีอํานาจทางการเมืองสูงสุด ยอมรับนับถือพุทธศาสนาและให้การอุปการะเกื้อหนุนส่งเสริมเต็มที่นั้น ก็ทําให้การเผยแผ่พุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล ประสบความสําเร็จอย่างดียิ่ง

ด้านเศรษฐกิจและสังคม

ในช่วง 200 ปีก่อนพุทธกาล ตอนเหนือของชมพูทวีป โดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกของแม่น้ําคงคา ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องและเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและหลากหลาย เกิดการพัฒนาความเป็นเมืองมากขึ้น ความเป็นเมืองดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาทาง การค้าและเกษตรที่ก้าวหน้า ส่งผลให้ประชาชนแต่ละคน (ปัจเจกชน) มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ และประสบความสําเร็จมั่งคั่งและเป็นเจ้าของกิจการมากมาย และด้วยความก้าวหน้าและมั่งคั่ง ทําให้บุคคลเหล่านี้ ยึดติดกับระบบวรรณะน้อยลง และยังส่งผลให้วรรณะอื่นที่มีความร่ํารวยน้อยกว่า ต้องหันมาพึ่งพิงวรรณะแพทย์ มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วงนั้นก่อให้เกิดพัฒนาการทางวัตถุอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มั่นทอนสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และส่งผลกระทบในด้านการเมืองที่สําคัญ คือ วรรณะกษัตริย์กับ วรรณะพราหมณ์เริ่มมีความโน้มเอียงที่จะต่อต้านวรรณะแพทย์กับศูทร แม้แต่วรรณะแพทย์กับศูทรที่อยู่ในเมือง ก็เริ่มรู้สึกห่างเหินกับวรรณะเดียวกันที่อยู่ในชนบทมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้โครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างวรรณะเริ่มไม่เป็นเอกภาพ อัตลักษณ์เดิมที่มีมาแต่โบราณเริ่มสูญหายก่อให้เกิดความอ้างว้างปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยว ประเพณีเดิมแทบล่มสลาย ไปหมด ส่งผลต่อชีวิตคนในเมือง ทําให้รู้สึกเป็นทุกข์ ชีวิตในชมพูทวีปในช่วงนั้นจึงดําเนินไปแบบอยู่ไปวัน ๆ แม้ชีวิต ในเมืองจะคึกคัก อีกทึก แต่ต่างก็เป็นชนชั้นใหม่ที่มากด้วยอํานาจ พลังกดดันและทะเยอทะยาน ขณะที่นอกเวลางาน ก็ใช้ชีวิตด้วยการพนัน ดูมหรสพ ร้องรําทําเพลง เคล้าคลอและหลับนอนกับนางโลม หรือทะเลาะวิวาทต่อยตีกัน ในร้านเหล้า ชีวิตของชาวชมพูทวีปจึงดูก้าวร้าว ในสาธารณรัฐก็มีความขัดแย้งจนใช้กําลัง

ชมพูทวีปในช่วงพุทธกาลเป็นสังคมที่ปรากฏความขัดแย้งสองด้านใหญ่ ๆ คือ ด้านหนึ่งเป็น ความขัดแย้งของระบบวรรณะที่เริ่มถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง อีกด้านหนึ่งเป็นความขัดแย้งอันเนื่องมาจากขนบจารีต ตามคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ที่ถูกปฏิเสธมากขึ้น ซึ่งทั้งระบบวรรณะและคัมภีร์พระเวทต่างไม่เป็นคําตอบ ให้กับยุคสมัยได้อีกต่อไป

บริบทดังกล่าวย่อมเป็นที่รับรู้ของเจ้าชายสิทธัตถะผู้ซึ่งเป็นสมาชิกศากยะสังฆะ เมื่อทรงได้พบกับ “เทวทูตสี่” อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ในช่วงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาข้างตน เจ้าชาย สิทธัตถะย่อมตั้งคําถามต่อยุคสมัยและเกิดการวิเคราะห์ขมวดแคบลงจนตั้งคําถามของการมีชีวิตอยู่ของแต่ละชีวิต และพบว่า การบรรพชาเป็นหนทางเดียวที่จะหลุดพ้นจาก “ชีวิตที่เป็นทุกข์”

ดังนั้นจากบริบททางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมข้างต้น ทําให้พุทธศาสนาสามารถสถาปนา ขึ้นเป็นศาสนาใหม่และได้รับการศรัทธาอย่างแพร่หลายในชมพูทวีป

 

ข้อ 2 แนวคิดการปกครองที่ยึดหลักของพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร และการส่งผ่านแนวคิดดังกล่าวสู่การปกครองไทยได้อย่างไร

แนวคําตอบ

แนวคิดการปกครองที่ยึดหลักของพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในอดีตกาล กษัตริย์จํานวนมากได้ใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาสร้างสันติสุข ทํานุบํารุงบ้านเมือง และอาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข ลดความรุนแรง การประทุษร้าย การฆ่าฟัน และสงครามลงได้มาก จนได้รับ การยกย่องว่าเป็นธรรมราชา ซึ่งธรรมราชาที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช

พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมพระเจ้าอโศกมหาราช มิได้ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงมีพระทัยดุร้ายมาก แต่เมื่อทรงหันมานับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแปลง พระองค์เป็นธรรมราชาที่ทรงขยายพระราชอํานาจโดยธรรม เช่น ใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้ แล้วหันมา ปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์ กษัตริย์ที่เป็นเมืองขึ้นก็ต้องปกครองแผ่นดินโดยธรรมเหมือนพระองค์ ต้อง อบรมสั่งสอนธรรมแก่ราษฎรอย่างจริงจังเหมือนพระองค์

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองโดยเน้นคุณสมบัติที่ดีของพุทธศาสนา เช่น – ทรงมีใจกว้างต่อศาสนาอื่น มิได้ทําลายล้างศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นความเชื่อของคนอินเดียทั่วไปทรงสอนให้ประชาชนมีใจกว้างเช่นเดียวกับพระองค์ด้วยเช่นกัน ไม่ทรงสนับสนุนให้ยกย่องนักบวชของตัวแล้วกล่าวร้ายนักบวชที่คนอื่นนับถือ

– ทรงสั่งสอนธรรมะที่เกี่ยวข้องให้ทั้งประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร

– ทรงมีความเมตตาต่อสัตว์ ทรงยกเลิกการล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ

– ทรงห้ามประชาชนล่าสัตว์ ห้ามฆ่าสัตว์บางชนิด บางเวลา การสร้างโรงพยาบาลสัตว์

– การตั้งธรรมมหาอํามาตย์ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพระองค์ในการบําเพ็ญธรรม ดูแลพระราชวงศ์ให้บําเพ็ญธรรม สั่งสอนประชาชน และทํางานด้านสังคมสงเคราะห์

– ทรงปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทรงห่วงใยและเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างยิ่ง เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แนวคิดการปกครองที่ยึดหลักของพุทธศาสนาเกิดขึ้นเห็นได้ชัดในสมัยของ พระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงเลื่อมใสนับถือพุทธศาสนาอย่างสูงสุด จนเปลี่ยนพระองค์จากเคยที่เป็นจักรพรรดิที่แสวงหา อํานาจด้วยการใช้กําลังมาเป็นธรรมราชา โดยเมื่อนับถือเลื่อมใสในพุทธศาสนาแล้วกลับทรงนําเอาหลักธรรมคําสอน เช่น ศีล ทศพิธราชธรรม จักกวัตติวัตร และธรรมะพื้นฐาน เช่น พรหมวิหาร 4 เป็นต้น มาปรับใช้ในการปกครอง บ้านเมือง พระองค์จึงเป็นธรรมราชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานไปแล้วประมาณ 250 ปี

การส่งผ่านแนวคิดดังกล่าวสู่การปกครองไทยได้อย่างไร

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตออกเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ โดย คณะทูตคณะหนึ่งที่นําโดยพระโสณะและพระอุตตระเถระเดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา ซึ่งส่งผลทําให้ปัจจุบันพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งของสังคมและความคิดทางการปกครองไทยมาทุกยุค ทุกสมัย โดยเฉพาะในยุคสมัยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ นับถือและบํารุงพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ซึ่งในที่นี้ จะขอกล่าวโดยสรุป ดังนี้

 

สมัยสุโขทัย

พ่อขุนรามคําแหง มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา และทรงให้มีการจารึกเรื่องราวสําคัญของแผ่นดินลงบนศิลาจารึก เหมือนพระเจ้าอโศกมหาราช ทําให้เราทราบ ความเป็นธรรมราชาของพระองค์ และทรงโปรดให้นิมนต์คณะสงฆ์ลังกาขึ้นมาตั้งลัทธิลังกาวงศ์ขึ้นที่สุโขทัย เป็นต้น

– พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นธรรมราชายิ่งกว่ากษัตริย์ องค์อื่น ๆ ของกรุงสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จออกบรรพชาในขณะที่ครองราชย์อยู่ รวมทั้งทรงศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉานและแต่งหนังสือชื่อ เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง ขึ้นใช้สําหรับ สังสอนธรรมแก่ประชาชน เป็นต้น

สมัยกรุงศรีอยุธยา

– สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยของพระองค์พุทธศาสนารุ่งเรืองมากที่สุดยุคหนึ่ง ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจํานวนมาก ทรงถวายวังเป็นวัด เสด็จออกผนวช และทรงนิพนธ์วรรณคดีพุทธศาสนา เช่นเดียวกับพระมหาธรรมราชาลิไท โดยทรงนิพนธ์มหาชาติคําหลวง สําหรับใช้เทศน์มหาชาติ สั่งสอนแก่ประชาชน เป็นต้น

– สมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับเป็นช่วงอันตรายที่สุดของพุทธศาสนาในประเทศไทย ก็ว่าได้ เพราะประเทศแถบยุโรปหลายประเทศกําลังขยายอาณาจักรล่าเมืองขึ้น โดยพ่วงเอาศาสนาคริสต์มาเผยแผ่ด้วย แต่พระองค์ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างไม่แปรเปลี่ยน และความเฉลียวฉลาดในการตอบปฏิเสธ ไม่ให้ฝรั่งเศสเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาและบังคับให้เปลี่ยนศาสนา เป็นต้น

สมัยกรุงธนบุรี

– พระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงฝักใฝ่บําเพ็ญธรรมกรรมฐาน ทั้งด้านสมถะและ วิปัสสนาและทรงบํารุงพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง รวมทั้งทรงให้รวบรวมพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่พม่า เผาทําลายเกือบหมด ทรงเสด็จไปเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อขอยืมพระไตรปิฎกมาคัดลอก เป็นต้น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

– พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดให้รวบรวมไว้จากทั่วประเทศ เพื่อให้เอกสารสําคัญที่สุดของพุทธศาสนามีความสมบูรณ์ ถูกต้องตามพุทธโอวาทและต้นฉบับเดิมมากที่สุด รวมทั้งพระองค์ทรงยึดมั่นในคําสอนของพระพุทธเจ้า ทรงมีพระทัย ตั้งมั่นให้ประชาชนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักธรรมในพุทธศาสนา เป็นต้น

– พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรพชาเป็นพระภิกษุเมื่อพระชนมายุ 20 พรรษา นับเป็นการออกบวชในระหว่างการครองราชย์ และโปรดให้ตั้งมหามงกุฏราชวิทยาลัยขึ้นเป็นศูนย์กลาง ในการศึกษาปริยัติธรรม ซึ่งต่อมาได้เป็นวิทยาลัยสงฆ์ เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จากการส่งผ่านแนวคิดการปกครองที่ยึดหลักของพุทธศาสนาของพระเจ้า อโศกมหาราช มาสู่การปกครองไทยผ่านทางการเผยแผ่พุทธศาสนา ได้ทําให้พระมหากษัตริย์ที่มีอํานาจ เลื่อมใสศรัทธา นับถือและทํานุบํารุงพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ และพระมหากษัตริย์เหล่านี้ก็ได้อาศัยหลักธรรมเป็นอํานาจ ดูแล ปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็น เป็นสุข

 

ข้อ 3 จงอธิบายหลักการและวิพากษ์ข้อดีและข้อเสียของหัวข้อต่อไปนี้มาโดยละเอียด (เลือกทํา 3 หัวข้อ)

1) ประชาธิปไตยสมัยโบราณ

2) ประชาธิปไตยสมัยโรมัน

3) ประชาธิปไตยสมัยใหม่

4) ธรรมราชา

5 ) ทศพิธราชธรรม

6) ธรรมวิชัย

แนวคําตอบ (ให้นักศึกษาเลือกอธิบายเฉพาะ 3 หัวข้อเท่านั้น)

1 ประชาธิปไตยสมัยโบราณ

หลักการ

ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการเมืองหนึ่งที่มีกําเนิดและวิวัฒนาการมา ตั้งแต่สมัยนครรัฐของกรีกกว่า 2,000 ปีมาแล้ว คือ นครรัฐเอเธนส์

Democracy มาจากภาษากรีก 2 คํา คือ “Demos” แปลว่า ประชาชน และ “Kratos” แปลว่า การปกครอง โดยเมื่อรวมกันก็หมายถึง การปกครองของประชาชน

ประชาธิปไตยเริ่มแรกในนครรัฐเอเธนส์ขณะนั้นเป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) ซึ่งมีสภาประชาชนที่ทําหน้าที่ออกกฎหมายและเป็นศาลสูง โดยมาจากพลเมืองชายทุกคนที่มีอายุ 14 ปี

ในเอเธนส์มีการแบ่งสถาบันทางการเมือง ออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1 กองทัพบกและกองทัพเรือ

2 สภาห้าร้อย ทําหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร

3 ศาล ซึ่งใช้พลเมืองชาวเอเธนส์เป็นผู้ตัดสิน โดยใช้เสียงข้างมาก

ในเอเธนส์มีการแบ่งคนออกเป็น 3 ชนชั้น คือ

1 ทาส ได้จากการเกณฑ์มาเป็นทาส และขายตัวมาเป็นทาส

2 ต่างด้าว ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนเชื้อสายกรีก ไม่มีสิทธิในการออกเสียงทางการเมืองใด ๆทั้งนี้พวกทาสและต่างด้าวถือว่ามีค่าทางเศรษฐกิจ แต่ไม่มีสิทธิทางการเมืองเลย

3 พลเมือง (Citizen) เป็นชนชั้นที่มีสิทธิทางการเมืองกลุ่มเดียวเท่านั้น เป็นเพศชายอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเพศชายเมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไปจะได้เป็นสมาชิกของสภาประชาชนโดยอัตโนมัติ สามารถเข้าไปโหวต ไปอภิปราย แสดงความคิดเห็นได้

ทั้งนี้จากการที่พลเมืองเพศชายอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถเข้าไปโหวต ไปอภิปรายได้ด้วยตนเอง

ข้อดี

1 การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองแบบทางตรงของพลเมือง

2 สภาห้าร้อยมีอํานาจอธิปไตยในการปกครอง

3 บริการทุกอย่างให้เสียงข้างมาก

4 วิธีการเลือกผู้ปกครองแบบเลือกตั้ง เป็นต้น

ข้อเสีย

1 ยังไม่มีความเสมอภาค เพราะพวกทาส คนต่างด้าว สตรีและเด็ก ไม่มีสิทธิทางการเมือง

2 เมื่อประชากรของนครรัฐมากขึ้น ทําให้ไม่มีที่ประชุม เนื่องจากนครรัฐเอเธนส์มีลักษณะเป็นเกาะและมีอาณาเขตไม่กว้างขว้างจนทําให้ต้องยกเลิกการปกครองลักษณะนี้ไปในที่สุด เป็นต้น

 

2 ประชาธิปไตยสมัยโรมัน

หลักการ

ประชาธิปไตยสมัยโรมันเกิดขึ้นในสมัยสาธารณรัฐ (Republic, 509 – 27 B.C.) ซึ่งคําว่า “Republic” มาจากภาษาละติน 2 คํา คือ res + publica ซึ่งหมายความว่า ประชาชน ดังนั้นการปกครองสาธารณรัฐ – ก็คือ การเอาคนส่วนมากเป็นที่พึ่ง หรือเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง

ในสมัยสาธารณรัฐโรมันประกอบด้วยคน 2 กลุ่ม คือ

1 พวกแพทริเชียน (Patrician) ซึ่งเป็นชนชั้นสูงที่มั่งคั่งและเป็นเจ้าของที่ดิน มีจํานวน 10% ของราษฎรทั้งหมด

2 พวกพลีเบียน (Plebeian) ซึ่งเป็นราษฎรส่วนใหญ่ มีจํานวน 90% ประกอบไปด้วย ชนชั้นกลางมีฐานะ เช่น เจ้าของที่ดิน พ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าของร้านค้า รวมทั้งชาวนารายย่อยและแรงงาน

พวกแพทริเชียนและพวกพลีเบียนเป็นราษฎรโรมัน (Citizen) มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และมีหน้าที่ในการเสียภาษี แต่พวกพลีเบียนไม่สามารถดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ในรัฐบาลได้

ในปี 451 BC มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกเรียกว่า “กฎหมาย 12 โต๊ะ” ซึ่งระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของพวกแพทริเชียนและพวกพลีเบียน กฎหมายฉบับนี้ให้สิทธิแก่พวกพลีเบียนออกกฎหมาย ร่วมกับพวกแพทริเชียน นับเป็นความสําเร็จอันยิ่งใหญ่ในการต่อสู้เพื่อสิทธิทางการเมืองของพวกพลีเบียน และเป็น พื้นฐานของกฎหมายโรมันในสมัยต่อมา ทําให้พวกพลีเบียนดํารงตําแหน่งสําคัญ ๆ ได้

องค์กรปกครองสาธารณรัฐโรมัน ประกอบด้วย

1 กงสุล (Consul) เป็นประมุขฝ่ายบริหาร มีจํานวน 2 คน ซึ่งเป็นพวกแพทริเซียนที่มา จากการเลือกตั้งโดยสภาซีเนต มีอํานาจเท่าเทียมกัน อยู่ในตําแหน่งคราวละ 1 ปี กงสุลทั้ง 2 คนสามารถปรึกษา ซึ่งกันและกัน และสามารถยับยั้ง (Veto) ซึ่งกันและกันได้ ในยามสงครามหรือยามฉุกเฉินจะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการ เพียงคนเดียวเป็นผู้นําในการบริหาร อยู่ในตําแหน่งได้ไม่เกิน 6 เดือน

2 สภาซีเนต (Senate) ประกอบไปด้วยสมาชิก 300 คน โดยเลือกจากพวกแพทริเชียน และดํารงตําแหน่งตลอดชีพ มีหน้าที่ให้คําปรึกษาแก่กงสุล พิจารณานโยบายต่างประเทศ เสนอกฎหมาย และอนุมัติ งบประมาณการก่อสร้างและป้องกันสาธารณรัฐ

3 สภาราษฎร (Assembly of Citizen) ประกอบไปด้วยราษฎรโรมันทั้งแพทริเชียนและ พวกพลีเบียน มีหน้าที่แต่งตั้งกงสุลและผู้บริหารอื่น ๆ รับรองกฎหมายที่เสนอโดยสภาซีเนต และทําหน้าที่ตัดสิน กรณีพิพาทที่สําคัญ ๆ

ทั้งนี้องค์กรทั้ง 3 เป็นองค์กรที่ทรงอํานาจในการปกครอง แต่ละองค์กรต่างระแวดระวังและ คานอํานาจซึ่งกันและกัน ไม่ให้องค์กรใดมีอํานาจสูงสุดแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ก็ทํางานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดี

1 มีการถ่วงดุลอํานาจ (Check and Balance) ระหว่างกงสุล สภาซีเนต และสภาราษฎร

2 การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) โดยให้ราษฎรโรมันเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

3 มีการรวมกลุ่มทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ (Social Interest) เช่น กฎหมาย 12 โต๊ะ

4 มีการปกครองด้วยกฎหมาย (Rule of Law) เป็นต้น

ข้อเสีย

1 อํานาจในการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่สภาชีเนต

2 นโยบายของสภาซีเนตส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของแพทริเชียน เป็นต้น ธรรมวิชัย หลักการ

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นต้นแบบของธรรมราชา ทั้งนี้เมื่อพระองค์ทรงหันมานับถือพุทธศาสนา ทรงเปลี่ยนแนวในทางการบริหารแผ่นดินเสียใหม่จากสงครามวิชัยมาเป็น “ธรรมวิชัย” หรือชัยชนะด้วยธรรม

ธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช มีลักษณะดังนี้คือ

– พระองค์ทรงชนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา

– ทรงขยายพระราชอํานาจโดยธรรม เช่น ใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้ แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์

– ทรงให้กษัตริย์ที่เป็นเมืองขึ้นปกครองแผ่นดินโดยธรรมเหมือนพระองค์ ต้องอบรมสั่งสอนธรรมแก่ราษฎรอย่างจริงจังเหมือนพระองค์

– พระองค์ทรงเผยแผ่หลักธรรมไปสู่ผู้ที่อยู่นอกอาณาเขตของพระองค์และทรงให้ปฏิบัติธรรมตามที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์

– ทรงอุปถัมภ์บํารุงสมณพราหมณ์เข้าไปสนทนาธรรม และแก้ไขความเสื่อมของศาสนา

– ทรงแสดงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม และเผยแผ่ธรรม

– ทรงประสงค์ให้คนที่แตกต่างกันทั้งผู้ดีและสามัญชนหันมานับถือพุทธศาสนาอยู่ภายใต้สังคมพุทธที่มีความเสมอภาคกัน ความแตกต่างระหว่างบุคคลก็จะหมดไป มีแต่ความ สามัคคีธรรม ทรงเปลี่ยนจากเสียงกึกก้องของกลองศึกมาเป็นเสียงกึกก้องของการประกาศธรรม ฯลฯ

ข้อดี

1 ทําให้กษัตริย์ปกครองแผ่นดินโดยธรรม

2 สังคมเกิดความสงบสุข ไม่มีการทําสงคราม

3 ลดความแตกต่างกันระหว่างผู้ดีและสามัญชน

4 ทําให้คนมีความเสมอภาคกันและมีความสามัคคี ข้อเสีย คือ ไม่มีการทํานุบํารุงกองทัพ ทําให้กองทัพออนแอ เพราะกษัตริย์มุ่งใฝ่ธรรม เป็นต้น

 

ข้อ 4 ให้อธิบายถึงความเหมือนหรือความแตกต่างของหลักทฤษฎีประชาธิปไตยตะวันตกกับทฤษฎีประชาธิปไตยในพุทธศาสนามาอย่างละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ (ให้นักศึกษาเลือกอธิบายเฉพาะความเหมือนหรือความแตกต่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง)

หลักทฤษฎีประชาธิปไตยตะวันตกกับหลักทฤษฎีประชาธิปไตยในพุทธศาสนามีความเหมือนกัน ในหลายประเด็น ดังนี้

1 หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) อํานาจสูงสุดใน การปกครองประเทศหรืออํานาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนทุกคนร่วมกัน ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจร่วมกัน ใช้อํานาจนี้จะทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเอง รวมทั้งอํานาจในการถอดถอนในกรณีที่มี การใช้อํานาจโดยมิชอบ

ในพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ

1) อัตตาธิปไตย คือ การถือตน เป็นใหญ่

2) โลกาธิปไตย คือ ถือการถือโลกเป็นใหญ่

3) ธรรมาธิปไตย คือ การถือธรรมเป็นใหญ่ ซึ่งพุทธศาสนา มุ่งเน้นหลักธรรมาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด

2 หลักสิทธิและเสรีภาพ

สิทธิ (Right) หมายถึง อํานาจหรือความสามารถที่จะทําอะไรได้ตราบใดที่ไม่ไปละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น สิทธิบางอย่างเกิดมาตามธรรมชาติ เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกายของตนเอง ตนจึงมีสิทธิที่จะเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองชีวิตของตน สิทธิบางอย่างได้มาตามกฎหมาย เพราะกฎหมายกําหนดไว้ให้มีสิทธินั้น โดยในทาง การเมืองประชาชนก็มีสิทธิที่สําคัญหลายอย่าง เช่น สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง (Election) สิทธิในการออกเสียง ประชามติ (Referendum) สิทธิเสนอร่างกฎหมาย (Initiative) และสิทธิในการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจาก ตําแหน่ง (Recall) เป็นต้น

เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความเป็นอิสระในการกระทําการต่าง ๆ ตราบใดที่ไม่ได้ ทําให้ผู้อื่นเสียหายหรือผิดกฎหมาย โดยในทางการเมืองนั้นเสรีภาพที่สําคัญที่จะบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการพิมพ์ เสรีภาพในการศึกษา และเสรีภาพในการจัดตั้ง สมาคมและพรรคการเมือง เป็นต้น

ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยไม่ทรงบังคับให้ใคร เชื่อถือศรัทธาในศาสนาของพระองค์ แต่ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้เท่านั้น ใครจะทําตามหรือไม่นั้น ย่อมมีสิทธิเลือก นอกจากนั้นพระพุทธเจ้ายังให้เสรีภาพในการคิด เช่น พระองค์ทรงสอนพวกกาลามะ ให้ใช้วิจารญาณการพิจารณา ไตร่ตรองของตนเองให้ดีเสียก่อนจึงจะเชื่อตามหลักกาลามสูตร 10 ประการ รวมทั้งทรงสอนเรื่องศีล 5 คือ ไม่ให้ฆ่าผู้อื่น ไม่ให้ลักทรัพย์ผู้อื่น ไม่ให้ล่วงละเมิดผู้อื่น เป็นต้น นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรองสิทธิส่วนบุคคลที่ผู้อื่นจะละเมิดมิได้

3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง ความเท่าเทียมที่จะทําอะไรได้เหมือนกัน และได้รับการปฏิบัติเหมือนกันภายใต้กฎหมาย โดยในทางการเมืองก็มีความเสมอภาคที่สําคัญหลายอย่าง เช่น ความเสมอภาคในการเป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนรวยหรือคนจน ก็มีค่าแห่งความเป็นคนเหมือนกัน ย่อมมีศักดิ์ศรีเกียรติยศที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน

ความเสมอภาคทางการเมืองมีความสําคัญ คือ บุคคลจะได้รับความคุ้มครองหรือปฏิบัติ จากกฎหมายเสมอเหมือนกัน ความเสมอภาคทางการเมืองเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง คือ คนที่มีภาวะหรือสภาพ เหมือนกัน ย่อมมีสิทธิทางการเมืองเสมอภาคกัน เช่น อายุ 18 ปีบริบูรณ์มีสิทธิเลือกตั้งเหมือนกันหมด เป็นต้น

ในพุทธศาสนา จะเห็นได้ชัดเจน เช่น ผู้หญิงก็สามารถเข้ามาบวชเป็นภิกษุณีได้เช่นเดียว กับผู้ชายที่ขอบวชเป็นภิกษุ, พระพุทธเจ้าทรงคัดค้านการแบ่งชั้นวรรณะตามศาสนาฮินดู โดยทรงให้ทุกวรรณะแม้แต่ จัณฑาลก็เข้าบวชในพุทธศาสนาได้ รวมทั้งพระองค์ทรงสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาคกันหมดต่อกรรมดีและกรรมชั่ว ที่ตนทํา เป็นต้น

4 หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) หมายถึง ผู้ปกครองจะใช้อํานาจใด ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้ อีกทั้งการใช้อํานาจนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่านั้น การจํากัดสิทธิเสรีภาพใด ๆ ของประชาชนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ของกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นหลักการนี้มีขึ้นเพื่อมุ่งจะให้ความคุ้มครองแก่สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นสําคัญ

ในพุทธศาสนา มีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นหลักกฎหมาย ที่เป็นหลักปฏิบัติของสงฆ์ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหมู่คณะมีความสงบสุข เป็นต้น

5 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) หมายถึง ในการตัดสินใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนด ตัวผู้ปกครอง หรือการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินนั้นสะท้อนถึงความต้องการของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงและก็ต้องให้ความเคารพและ คุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย (Minority Right) ทั้งนี้เพื่อประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้มติในลักษณะพวกมากลากไป

ในพุทธศาสนา ในการปกครองคณะสงฆ์ก็ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน ฝ่ายใดได้รับ เสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายข้างน้อยก็ปฏิบัติตาม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย เป็นต้น

ดังนั้นจากหลักการดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยตะวันตกและประชาธิปไตยใน พุทธศาสนามีความเหมือนกันในหลายประเด็น เช่น หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หลักสิทธิและเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักการปกครองโดยกฎหมาย และหลักเสียงข้างมาก เป็นต้น

 

ข้อ 5 จงอธิบายพัฒนาการของประชาธิปไตยจากสมัยโบราณมาจนถึงสมัยใหม่อย่างละเอียด

แนวคําตอบ

พัฒนาการของประชาธิปไตยจากสมัยโบราณมาจนถึงสมัยใหม่ มีลักษณะดังนี้ * ประชาธิปไตยสมัยโบราณ

การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) สมัยเริ่มแรกนั้น เกิดในนครรัฐเอเธนส์ของ กรีกโบราณ เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) กล่าวคือ พลเมืองชาวเอเธนส์ทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเป็นผู้ใช้อํานาจในการปกครองโดยตรงด้วยการประชุมร่วมกัน แต่ทั้งนี้เมื่อประชากรของนครรัฐมากขึ้น ทําให้ไม่มีที่ประชุม เนื่องจากนครรัฐเอเธนส์มีลักษณะเป็นเกาะและมี อาณาเขตไม่กว้างขว้าง จนทําให้ต้องยกเลิกไปในที่สุด

ประชาธิปไตยสมัยใหม่

หลังจากที่ประชาธิปไตยโดยตรงได้ล่มสลายไปจากนครรัฐเอเธนส์ และการปกครองแบบ ประชาธิปไตยหยุดชะงักไปนับพันปี ประชาธิปไตยสมัยใหม่จึงได้เริ่มก่อรูปขึ้นในยุโรปตะวันตก

ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ คือ ประชาธิปไตยเสรีนิยม (Liberal Democracy) ซึ่งได้รับ อิทธิพลจากอุดมการณ์ทางการเมือง ได้แก่ เสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน

ทั้งนี้ประชาธิปไตยสมัยใหม่เกิดขึ้นในยุคแห่งการรู้แจ้งในศตวรรษที่ 17 โดยมีแนวคิดของ นักปราชญ์ทางการเมืองที่สําคัญ และมีลักษณะพื้นฐานของเสรีนิยม ดังนี้

ยุคแห่งการรู้แจ้ง (Age of Enlightenment) เป็นยุคสว่างทางปัญญา โดยมีลักษณะที่สําคัญ คือ

1 ไม่เชื่อถือต่ออํานาจแบบประเพณีนิยมในเรื่องศาสนา และการเมือง โดยให้มนุษย์มีโลกทัศน์ที่เปิดกว้างและเคารพว่าเหตุผลเป็นหลักนําทางและบ่งถึงคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์

2 เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ นักปราชญ์ทางการเมือง จอห์น ล็อก อธิบายว่ามนุษย์ในสภาวะธรรมชาติมีลักษณะที่สําคัญอยู่ 2 ประการ คือ

1 เป็นสภาวะแห่งเสรีภาพโดยสมบูรณ์ หมายถึงว่า ทุกคนมีอิสรเสรีอย่างเต็มเปี่ยมที่จะ กระทําสิ่งใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพย์สินและร่างกายของเขา ตามที่เขาเห็นว่าเหมาะสมภายใต้กฎธรรมชาติ โดยไม่จําเป็นที่จะขออนุญาตหรือขึ้นอยู่กับเจตจํานงของผู้อื่น

2 เป็นสภาวะแห่งความเสมอภาค หมายถึงว่า ในสภาวะธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีความ เท่าเทียมกันในสิทธิและอํานาจ โดยที่อํานาจทั้งหมดอยู่ที่บุคคลแต่ละคน เพราะฉะนั้นในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยกัน จึงไม่มีผู้ใดมีอํานาจหรือสิทธิเหนือผู้อื่น

ลักษณะพื้นฐานของเสรีนิยม อุดมการณ์เสรีนิยมมีลักษณะพื้นฐาน 7 ประการ

1 ปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism) ถือว่า มนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคลมีความสําคัญ ที่สุด เหนือศาสนา เหนือสังคม โดยเป็นการมองที่ตัวเอง ถือว่าตัวเองสําคัญที่สุด เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เพราะมองว่า ถ้าไม่มีความเป็นตัวของตัวเองแล้ว ก็เท่ากับไม่มีตัวตน ดังนั้นทุกสิ่งที่มีอยู่ก็ปราศจากคุณค่าใด ๆ สําหรับตัวเขาแล้ว

2 เสรีภาพนิยม (Liberty/Freedom) หลักเสรีภาพอยู่คู่กับหลักปัจเจกบุคคลนิยม เพราะ เสรีภาพจะทําให้ความเป็นปัจเจกโดดเด่น เป็นตัวของตัวเอง โดยเสรีภาพในความหมายของเสรีนิยม หมายถึง “เสรีภาพภายใต้กฎหมาย” (Freedom under the Law) เพื่อป้องกันไม่ให้การใช้เสรีภาพของบุคคลหนึ่งกลายเป็น การละเมิดเสรีภาพของอีกบุคคลหนึ่ง การวางกรอบของกฎหมายก็เพื่อให้ต่างคนต่างมีโอกาสในการใช้เสรีภาพ มากที่สุด

3 เหตุผล (Reason) นักเสรีนิยมเชื่อมั่นในความสามารถการใช้เหตุผลของมนุษย์ เชื่อว่า ปัจเจกบุคคลแต่ละคนสามารถคิด ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดี สิ่งที่ต้องการให้กับตัวเอง รัฐบาลต้องเคารพการตัดสินใจ ของปัจเจกบุคคลทุกคน

ดังนั้นนักเสรีนิยมจึงส่งเสริมให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันด้วยเหตุผลมากกว่าการ ตัดสินใจด้วยการใช้อํานาจบีบบังคับหรือการทําสงคราม เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดร่วมกัน

4 ความเสมอภาค (Equality) นักเสรีนิยมเชื่อว่ามนุษย์อย่างน้อยก็ “เกิดมาเท่าเทียมกัน” (Born Equal) มีความเสมอภาคเท่ากันตามกฎหมาย (Equality before the Law) ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เดียวกัน และมีความเสมอภาคทางการเมือง เช่น “หนึ่งคนเท่ากับหนึ่งเสียง (One Man One Vote)

5 ขันติธรรม (Toleration) ขันติธรรมหรือความใจกว้างอดทนต่อความคิดเห็น การกระทํา ของผู้อื่นที่แตกต่างไปจากของตน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญที่จะประกันเสรีภาพส่วนบุคคล และเป็นปัจจัยสําคัญใน การสร้างความมั่งคั่งทางด้านสติปัญญาให้เกิดขึ้นในสังคม ผลที่ตามมาคือ สังคมที่เป็นพหุนิยม (Pluralism) ทาง ความคิด วัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการอภิปราย ถกเถียง ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางสติปัญญา เกิดเป็นตลาดเสรีทางความคิด (Free Market of Ideas)

ทั้งนี้นักเสรีนิยมเชื่อว่า เสรีภาพทางความคิดดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบเป็นอันตรายต่อสังคม เพราะความแตกต่างทางความคิดจะดําเนินไปสู่จุดดุลยภาพเองโดยธรรมชาติจากการที่มนุษย์เป็นคนมีเหตุผลนั่นเอง

6 ฉันทานุมัติ (Consent) อุดมการณ์เสรีนิยมจะต้องตั้งอยู่บน “ฉันทานุมัติของผู้อยู่ใต้ กฎหมาย” (Consent of the Governed) ซึ่งหมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับคนในสังคมที่ปรากฏออกมา ในรูปของกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่รัฐใช้บังคับแก่ผู้คนทั้งหลายในสังคมต้องได้รับความเห็นชอบ โดยสมาชิกของสังคม

แนวคิดฉันทานุมัตินี้ สนับสนุนให้ประชาชนจัดตั้งสมาคมหรือองค์กรทางสังคมที่เป็น ตัวแทนหรือสนับสนุนผลประโยชน์ของพวกตน เพราะภายใต้สมาคมหรือองค์กรทางสังคมเหล่านี้ได้กลั่นกลอง รวบรวมคนที่มีความคิดใกล้เคียงหรือตรงกันเข้าอยู่ด้วยกัน เป็นตัวแทนช่วยในการแสดงความคิดเห็น ฉันทานุมัติ จึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

7 รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) รัฐธรรมนูญจะเป็นที่ที่บัญญัติให้ทุกคนในสังคม เข้าใจร่วมกันได้ว่า จะอยู่ในการปกครองร่วมกันได้อย่างไร กติกาการอยู่ร่วมกันนั้นเป็นอย่างไร บทบาทหน้าที่ของ รัฐบาลอยู่ที่ไหน รัฐบาลควรมีนโยบายในภาพกว้างอย่างไร หน้าที่พลเมืองเป็นอย่างไร มีกลไกควบคุมการปกครอง อย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายลัทธิเสรีนิยม

Advertisement