การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ (ข้อละ 33 คะแนน)

ข้อ 1 ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการเมืองมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

Advertisement

แนวคําตอบ

คําว่า “การเมือง” (Politics) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคําว่า “Polis” (นครรัฐ) มีความหมายว่า หน่วยการปกครองที่มีอาณาเขตแน่นอนและมีขอบข่ายอํานาจครอบคลุมกิจกรรมส่วนรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือศาสนา

Advertisement

อริสโตเติล กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal) หมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นหมู่เหล่า มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันในมวลสมาชิก ดังจะเห็นว่าทุกวันเรามีความจําเป็นที่ จะต้องติดต่อและเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ตัวเราที่สุด เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติมิตร คนเหล่านี้มี ความสัมพันธ์กับเราทางตรง และยังมีผู้ที่มีความสัมพันธ์ห่างออกไป เช่น คนขายของ คนขับรถเมล์ และคนใน สังคมอื่น ๆ คนเหล่านี้แม้จะไม่ได้สนทนากับเราโดยตรงแต่พวกเขาก็มีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับเรา

อริสโตเติล ยังกล่าวอีกว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์การเมือง (Political Animal) คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องการให้มีการปกครอง เมื่อในสังคมมีการปกครองมีผลให้มนุษย์ในสังคมถูกแบ่งออกเป็น ชนชั้นระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง การเมืองจึงเกิดขึ้นในท่ามกลางชุมชนทางการเมืองที่ประกอบด้วย กลุ่มหลากหลายซึ่งมีผลประโยชน์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยมที่แตกต่างกันและมาอยู่ร่วมกันภายในอาณาเขต ปกครองเดียวกัน โดยมีกิจกรรมทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการธํารงความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชุมชน การเมืองนั้น จากความจําเป็นทางธรรมชาติของมนุษย์ที่ทําให้เกิดองค์กรทางการเมืองและกิจกรรมการเมือง ดังกล่าวข้างต้น

Advertisement

ทั้งนี้จากคํานิยามของอริสโตเติลจะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการเมือง อาจ ยกตัวอย่างได้เช่น

1 นโยบายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดจนถึง 3 ปี ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนโยบายที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่เกิด ซึ่งมีผลกระทบต่อเด็กโดยตรง ทําให้เด็กสามารถเติบโตเป็น ประชากรที่มีคุณภาพของสังคมและเป็นกําลังในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต และยังมีผลกระทบโดยอ้อม ต่อพ่อแม่ที่เป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก ทําให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มี คุณภาพเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้

Advertisement

2 นโยบายช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยรายละ 3,000 บาท ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนโยบายที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อย โดยตรง ทําให้ประชาชนไม่เป็นหนี้เพิ่ม ช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ทําให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ และยังมีผลกระทบโดยอ้อมต่อรัฐบาล เพราะอาจเป็นการเพิ่มภาระสวัสดิการ สร้างวินัยการรอความช่วยเหลือ จากสังคมได้

3 นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนโยบายที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนชนชั้นล่างในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานโดยตรง ทําให้ผู้ใช้แรงงานได้ค่าจ้าง เพิ่มขึ้น และยังส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อผู้ประกอบการหรือนายทุนที่ต้องแบกรับอัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อก่อน อย่างเช่น เงินลงทุนที่จะต้องเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อจะได้สินค้ามากขึ้น หากผลิตสินค้าออกมาน้อยก็จะไม่คุ้มกับค่าแรงที่ต้องจ่ายไปให้ผู้ใช้แรงงาน

4 นโยบายรถคันแรก ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนโยบายที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนชนชั้นกลางในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อกลุ่มชนชั้นกลางโดยตรง โดยกลุ่มชนชั้นกลางจะได้รับประโยชน์ จากนโยบายรถคันแรกที่สามารถได้ลดคืนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท แต่ในขณะเดียวกันก็ทําให้หนี้สินครัวเรือน ของชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น

5 นโยบายภาษีมรดก ภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนโยบายที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนชนชั้นสูงในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อคนชนชั้นสูงโดยตรง เพราะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า มนุษย์กับการเมืองคือสิ่งที่ผูกพันกันมาตั้งแต่มนุษย์อยู่ในครรภ์มารดา มนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธการเมืองได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพราะการเมืองได้สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจําวันของมนุษย์ และการเมืองมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง การเมืองเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการใช้อํานาจทางการบริหาร และการปกครอง ในเรื่องสาธารณะของรัฐในประเด็นต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งสมาชิกของสังคมควรที่จะให้ความสําคัญและเอาใจใส่ต่อการดําเนินงานของรัฐ ดังนั้นการเมืองจึงมีความสําคัญแก่มนุษย์ในการดํารงชีวิตในทุกด้านตั้งแต่เกิดจนตาย

 

ข้อ 2 ความหมายและลักษณะของรัฐโลกาวิสัยมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

คําว่า “รัฐโลกวิสัย” (Secular State) มาจากการรวมกันของคําในภาษาอังกฤษ 2 คํา คือ “Secular” และ “State” โดยคําว่า “Secular” หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับทางโลกและเป็นเรื่องที่ไม่มีความ เกี่ยวข้องกับกิจการใด ๆ ของศาสนาเลย ส่วนคําว่า “State” หมายถึง รัฐหรือประเทศ

ถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ “Secular State” หมายถึง รัฐที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางศาสนา ต่อประชาชนในรัฐนั้น ๆ ส่วนในภาษาไทยนั้นคําว่า “Secular State” มีการแปลเป็นหลายคํา บางคนก็แปลว่า “รัฐโลกียวสัย” หรือ “รัฐโลกียะ” หรือ “รัฐฆราวาส”

ความหมายของรัฐโลกวิสัย

รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุน หรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมี ความหมายทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชนในรัฐที่นับถือศาสนาอื่น

อีกความหมายหนึ่ง รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐสมัยใหม่ที่ยึดถือการปกครองด้วย หลักเหตุผลของมนุษย์ โดยหัวใจสําคัญของรัฐโลกวิสัย คือ การปกครองแบบทางโลกหรือการปกครองด้วยหลัก เหตุผลของมนุษย์ (เช่น การปกครองในระบอบประชาธิปไตยและสังคมนิยม) และต้องเป็นกลางทางศาสนา หมายถึงโดยมากแล้วรัฐหรือประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยและสังคมนิยมเป็นระบอบการปกครองที่ เคารพการตัดสินใจของสมาชิกของรัฐ โดยการตัดสินใจนี้ยึดเอาหลักการเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสินและ เชื่อว่าการตัดสินใจของเสียงข้างมากใช้หลักเหตุผลและผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลนั้น ๆ ในการตัดสินใจ บทบาทของรัฐในระบอบการปกครองทั้ง 2 ระบอบนี้รัฐจะต้องมีความเป็นกลางต่อประเด็นที่มีอยู่ระหว่างการ ตัดสินใจของสมาชิกในรัฐ

ดังนั้นจึงพอสรุปความหมายได้ว่า รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐหรือประเทศที่ไม่มีการ บัญญัติเรื่องศาสนาไว้ในกฎหมาย หมายความว่ารัฐไม่ควรมีการบัญญัติเกี่ยวกับศาสนาไว้ในกฎหมายใดของรัฐ ทั้งสิ้น คือ รัฐต้องมีความเป็นกลางต่อเรื่องการนับถือศาสนาของประชาชน และยิ่งกว่านั้นรัฐยังต้องให้เสรีภาพ กับประชาชนในการนับถือศาสนาอีกด้วย

ลักษณะของรัฐโลกวิสัย ลักษณะสําคัญของรัฐโลกวิสัยมี 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

1 การไม่บัญญัติศาสนาใดเป็นศาสนาประจําชาติในกฎหมาย คือ การไม่ได้ระบุถึงศาสนา ประจําชาติ ไม่มีการยกศาสนาใดให้มีอภิสิทธิ์เหนือศาสนาอื่นและไม่มีการปกป้องศาสนาใดเป็นพิเศษ

หมายความว่า รัฐไม่ควรใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือต่อการจํากัดเสรีภาพของประชาชน ในการเลือกนับถือศาสนา และในขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงศาสนาอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน

ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอินเดียที่สนับสนุนรัฐโลกวิสัย มีความเป็นเสรีภาพในการ นับถือศาสนาในความเชื่อโดยเสรี ดูแลทุกศาสนา ทําให้ทุกศาสนามีบทบาททางสังคม โดยที่รัฐบาลไม่ไปมีบทบาทมากนัก

2 กฎหมายต้องให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชน คือ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในทางการศาสนาควรได้รับอย่างเต็มที่จากรัฐและกฎหมายของรัฐอีกด้วย

หมายความว่า ประชาชนสามารถใช้สิทธิของตนเองแสดงออกและเสนอทางความคิดเห็น เรื่องศาสนาได้โดยไม่มีกฎหมายหมิ่นศาสนาเข้ามาควบคุมและสิทธิของประชาชนในการแสดงออกทางศาสนา ควรได้รับการคุ้มครองจากรัฐอีกด้วย เพราะว่าศาสนาเป็นสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลหรือเป็นเรื่องส่วนตัว

ยกตัวอย่างเช่น การที่ไม่มีองค์กรกลางที่พยายามควบคุมการตีความคําสอนหรือ พฤติการณ์ทางศาสนาของทุกคนให้เป็นแบบเดียวกัน เพราะศาสนาเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล แต่ละบุคคลมีเสรีภาพ ในการตีความคําสอนหรือพฤติการณ์ทางศาสนา เพื่อที่จะนําไปปฏิบัติได้เอง

3 รัฐไม่มีการสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ คือ รัฐไม่มีการใช้งบประมาณ จากเงินภาษีของประชาชนในรัฐไปสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น พิธีการทางศาสนา เชิงสัญลักษณ์ ประจําศาสนา และกําหนดวันหยุดทางศาสนาในปฏิทินของประเทศ เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น ในปฏิทินของประเทศต้องยกเลิกวันหยุดทางศาสนา หรือหากมีก็ไม่ใช่ วันหยุดภาคบังคับ แต่จะเป็นตัวเลือกของคนในศาสนานั้นเท่านั้น นอกจากนี้ในสถานศึกษาและหลักสูตรการศึกษา ต้องมีความเป็นกลางทางศาสนา ให้ศาสนาเป็นทางเลือก ไม่ใช่เรื่องบังคับ และมีเนื้อหาสําหรับการไม่นับถือศาสนา ไม่มีพิธีทางศาสนาในสถานศึกษา ยกเว้นเป็นโรงเรียนเอกชนที่แสดงชื่อและวัตถุประสงค์ทางศาสนาโดยตรงและ เปิดเผย

4 รัฐต้องไม่ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยเหตุผลทางศาสนา คือ การปฏิบัติของรัฐต่อประชาชน ควรใช้หลักการของเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเหตุผลทางศาสนา ยิ่งกว่านั้นไม่ควรนําเอาศาสนาใด ศาสนาหนึ่งมาเป็นหลักแล้วนําเอาความคิดนั้นไปจัดการคนต่างศาสนา

หมายความว่า การกระทําความผิดของประชาชนใช้หลักกฎหมายในการตัดสิน การกระทํานั้นไม่ใช้หลักการทางศาสนาเป็นการกําหนดโทษ

ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ ถ้าใครคนหนึ่งถูกฟ้องว่าฆ่าคนตาย ศาลก็จะตัดสินลงโทษจําเลยเพราะกระทําความผิดฐานฆ่าคนตายตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่ใช่เพราะจําเลย ทําผิดศีลข้อหนึ่งในเบญจศีลที่ว่าห้ามฆ่าสัตว์

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า ลักษณะของรัฐโลกวิสัย 4 ลักษณะข้างต้นนั้น มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันเพื่อจะเป็นรัฐโลกวิสัย โดยเริ่มจากรัฐต้องไม่มีการบัญญัติเรื่องศาสนาไว้ในกฎหมายและรัฐควรปฏิบัติ ต่อประชาชนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมในเรื่องศาสนา นอกจากนั้นประชาชนยังมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือก นับถือศาสนา

 

ข้อ 3 จงอธิบายความหมายของคําต่อไปนี้ให้เข้าใจ (เลือกทําเพียง 3 ข้อย่อยเท่านั้น)

(1) รัฐโลกวิสัย

(2) ชาตินิยม

(3) สตรีนิยม

(4) ดอกบัวสี่เหล่า

(5) อลัชชี

(6) เดียรถีย์

แนวคําตอบ

(1) รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมาย ทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชนในรัฐที่นับถือศาสนาอื่น

(2) ชาตินิยม (Nationalism) ตามรากศัพท์ภาษาละตินมีอยู่ 2 ความหมาย ได้แก่

1) มาจากคําว่า “Nasci” แปลว่า “การเกิดหรือกําเนิด” และ

2) มาจากคําว่า “Natio” แปลว่า “เป็นของ” หรือ “มาจากสถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยการเกิด”

ในปี ค.ศ. 1789 หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส (The French Revolution) คําว่า “ชาติ” หมายถึง องค์รวมของประชาชน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากองค์รวมอื่น ๆ องค์รวมนี้ถูกมองว่าเป็นดุจบุคคลขนาดใหญ่ คนหนึ่ง ซึ่งมีเจตจํานงเดียว มีเป้าประสงค์ร่วมเพียงหนึ่งเดียว และที่สําคัญคือเป็นที่มาของอํานาจอธิปไตย

ความหมายลึกลงไปในทางการเมืองที่สืบย้อนไปถึง ค.ศ. 1712 – 1778 รุสโซ (Jacques Rousseau) ได้กล่าวถึง “ชาติ” ว่าหมายถึง กลุ่มบุคคลที่ผูกพันอยู่ด้วยกัน โดยถือเกณฑ์การเป็นพลเมือง (Citizenship) ของหน่วยหรือสังคมการเมืองเดียวกัน และในยุโรปได้นํามาใช้จนทําให้บทบาททางการเมืองมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างสูง เช่น การแต่งเพลงประจําชาติ (National Anthems) การมีธงชาติประจําชาติ (National Flag) เป็นต้น วิธีการดังกล่าวเป็นการส่งผ่านหรือกระตุ้นให้คนในประเทศนั้นเกิดความรักชาติของตน

(3) สตรีนิยม (Feminism) ถือกําเนิดในประเทศฝรั่งเศสและเริ่มปรากฏใช้ใน ค.ศ. 1890 แนวคิด ของสตรีนิยมในช่วงนี้อยู่บนฐานของความเชื่อว่าด้วยความเสมอภาคและความเป็นอิสระของเพศหญิง

ส่วนในภาษาอังกฤษคําว่า “สตรีนิยม” คือ “Feminist” ซึ่งอุดมการณ์ของคํานี้ คือ อุดมการณ์ ที่พยายามส่งเสริมและยกระดับสถานภาพและบทบาททางสังคมของผู้หญิงไม่ให้ต่ําต้อยกว่าผู้ชาย

สาระสําคัญของอุดมการณ์สตรีนิยม คือ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคแก่ ผู้หญิงในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทัดเทียมกับผู้ชาย โดยเห็นว่าสังคมมนุษย์นับตั้งแต่อดีตตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลความคิดผู้ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) ทําให้ผู้หญิงถูกกีดกัน ไม่ได้รับความเสมอภาคในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การแสดงความคิดเห็น ทรัพยากร เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น

สตรีนิยมจึงเห็นว่าความแตกต่างระหว่างเพศหญิงกับเพศชายของบุคคลมิได้เป็นเพียงความ แตกต่างทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติเท่านั้น หากเป็นความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งมนุษย์ เป็นผู้สร้าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าสรีรวิทยาตามธรรมชาติทางเพศนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคในสังคมทั่วไป

(4) ดอกบัวสี่เหล่า เป็นการแยกบุคคลของพระพุทธเจ้าในการเข้าถึงหลักธรรมของพระองค์ ออกเป็น 4 พวก ผ่านการเปรียบเทียบกับดอกบัว 4 เหล่า ดังนี้

1) บัวใต้โคลน คือ พวกที่ไร้สติปัญญา แม้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ไม่มีความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่โคลนตม และอาจจะตกเป็นอาหารของเต่า ปลา อีกด้วย ไม่มีโอกาส โผล่ขึ้นพ้นน้ําเพื่อเบ่งบาน

2) บัวใต้น้ำ คือ “พวกที่มีสติปัญญาน้อย เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรม ฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อ มีสติมั่น ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อย ๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

3) บัวเสมอน้ำ คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เพื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับ การอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม ก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวัน ถัดไป

4) บัวเหนือน้ำ คือ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจ ในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ํา เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ก็จะเบ่งบานทันที

(5) อลัชชี เป็นคําศัพท์ที่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาผู้ไม่ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคําสอนของ พระศาสดา เป็นผู้นอกรีตที่ทําให้ศาสนาเสื่อมเสียและไม่มีความละอายต่อสิ่งที่กระทํานั้น เช่น อลัชชีในพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ที่ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยและทําให้พระธรรมวินัยขาด เช่น พระสงฆ์ที่เสพเมถุน ดื่มสุราเมรัย เป็นต้น

(6) เดียรถีย์ หมายถึง นักบวชนอกศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาลอีกความหมายหนึ่ง เดียรถีย์ หมายถึง พวกที่มีลัทธิความเชื่อถืออย่างอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา

ในพระวินัยปิฎกมีว่า ถ้าเดียรถีย์คนใดต้องการจะบวชในพระพุทธศาสนา ต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อทดสอบดูว่าผู้นั้นมีความเลื่อมใสจริงเสียก่อนจึงอนุญาตให้บวชได้

 

ข้อ 4 จงอธิบายความแตกต่างของ “การปกครองคณะสงฆ์ในช่วงพุทธกาล” (สมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพ) กับ “การปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน” มาโดยละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

การปกครองคณะสงฆ์ในช่วงพุทธกาล มีดังนี้

1 พิจารณาเป็นรายกรณี คือ พระองค์จะใช้วิธีประชุมสงฆ์ในการพูดคุยตัดสินเป็นรายกรณี โดยใช้วิธีการปกครองด้วยรูปแบบสามัคคีธรรม ซึ่งเนื้อหาในการปกครองไม่มีเนื้อหาทางโลกย์ แต่มีเนื้อหาทางธรรม ที่ใครก็สามารถเข้าร่วมได้ และไม่มีการแบ่งชนชั้นกันเองภายในคณะสงฆ์

2 พรรษาที่ 12 พระพุทธเจ้าได้เริ่มบัญญัติพระวินัยเรื่องแรก คือ เรื่องการปาราชิก สิกขาบทที่ 1 ซึ่งถือเป็นการเกิดพระวินัยครั้งแรก

3 การบัญญัติพระวินัยอาจเกิดเป็นทางการเมืองหรือตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่การตัดสิน ตามพระวินัยพระพุทธเจ้าจะดําเนินการด้วยความยืดหยุ่นและตามความเป็นจริง

4 ใช้พื้นฐานการปกครองแบบสามัคคีธรรมที่มีคณะสังฆะหรือคณะสงฆ์ มาใช้ในการ ปกครอง ได้แก่

-ให้คณะสงฆ์เป็นผู้แทนของพระพุทธองค์ในการเผยแผ่ธรรมเท่านั้น

– ทรงเปิดกว้างทางทัศนะที่แตกต่างออกไป และพร้อมแลกเปลี่ยน โดยไม่ชื่นชมหรือติเตียน (การวางตนในทางสายกลาง)

– ใช้การอธิบายและปฏิบัติเป็นสิ่งที่พิสูจน์หลักธรรมของพระองค์ กล่าวคือ หลักธรรมหรือการปฏิบัติตนของพระองค์สามารถพิสูจน์ได้ผ่านการพูดคุยหรือการปฏิบัติให้เห็น แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในคณะสงฆ์ด้วยหลักขันติธรรม ทรงใช้การตักเตือน หรือชี้ให้เห็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ แต่ถ้าไม่เป็นผลในบางกรณีพระองค์ทรงใช้การนิ่งเฉยไม่อยู่ร่วมสังฆกรรม

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปกครองคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล เป็นการปกครองภายในศาสนาเอง โดยใช้การปกครองรูปแบบสามัคคีธรรมที่มีเนื้อหาในการปกครองทางธรรมที่ใครก็สามารถเข้าร่วมได้ และถึงแม้ จะมีพระวินัย แต่ในทางปฏิบัติพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ปฏิบัติอย่างมีความยืดหยุ่นและพิจารณาจากความเป็นจริง เป็นต้น ทั้งนี้การปกครองคณะสงฆ์ในช่วงพุทธกาลมีความแตกต่างจากการปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันในประเด็น ต่อไปนี้

ความแตกต่างจากการปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน มีดังนี้

1 มีการแบ่งชนชั้นการปกครองในคณะสงฆ์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุข และมี มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรบริหารในสมัยพุทธกาล ไม่มีการแบ่งชนชั้นกันเองภายในคณะสงฆ์ โดยพระพุทธเจ้าได้ใช้รูปแบบ คณะสงฆ์มาใช้ในการปกครองหมู่ภิกษุและภิกษุณีในพุทธศาสนา

2 มีการใช้หลักพระธรรมวินัยในการปกครอง และมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการ ปกครองด้วย โดยกฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการจัดรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

ในสมัยพุทธกาล มีพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นกฎหมายสูงสุดเพียงฉบับเดียว

3 มีฝ่ายสอบสวนพิจารณาโทษ โดยมีพระวินัยธรทําหน้าที่สอบสวนพิจารณาโทษพระสงฆ์ ที่ทําผิดพระธรรมวินัยในสมัยพุทธกาล ถึงแม้จะมีพระวินัย แต่การตัดสินตามพระวินัยจะดําเนินการด้วย ความยืดหยุ่นและตามความเป็นจริง โดยพระองค์จะยึดบริบทแวดล้อมและดูเจตนาเป็นหลัก ทําให้มีความยืดหยุ่น ค่อนข้างสูง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า “การปกครองคณะสงฆ์ในช่วงพุทธกาล” กับ “การปกครองคณะสงฆ์ไทย ปัจจุบัน” มีความแตกต่างในประเด็นดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไป ทําให้การปกครองคณะสงฆ์มีความแตกต่างกันไปตามยุคสมัย

 

ข้อ 5 โปรดอธิบาย “หลักการปกครอง” ที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วงให้เข้าใจ และให้มีเนื้อหาของแต่ละเรื่องด้วย

แนวคําตอบ

ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย โดยพญาลิไททรงศรัทธาในความเป็นจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชา โดยทรงเห็นว่า พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็น ต้นแบบของธรรมราชาและทรงประสงค์จะยึดถือปฏิบัติธรรมตามแบบนั้นเพราะทรงต้องการที่จะเป็นธรรมราชา เช่นเดียวกัน

การที่พญาลิไททรงประพันธ์ไตรภูมิพระร่วงนั้น ทรงเป็นความพยายามที่จะใช้พุทธศาสนา เป็นเครื่องมือทางการเมือง และกล่าวได้ว่า ไตรภูมิพระร่วงจัดว่าเป็นแนวคิดทางการเมืองไทยที่เป็นระบบและ ชัดเจนที่สุด มีความต่อเนื่องและได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามากที่สุด

ทั้งนี้ “หลักการปกครอง” ที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง มีดังนี้

(1) ทศพิธราชธรรม ประกอบด้วย

1 ทาน (ทาน) คือ การให้

2 ศีล (สีล) คือ การตั้งสังวรรักษากาย วาจา ให้สะอาดปราศจากโทษ

3 การบริจาค (ปริจจาค์) คือ การบริจาคสละ

4 ความซื่อตรง (อาชชว์) คือ การมีความซื่อตรง

5 ความอ่อนโยน (มททว) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน

6 ความเพียร (ตป) คือ การกําจัดความคร้านและความชั่ว

7 ความไม่โกรธ (อกโกธ์) คือ การไม่โกรธ

8 ความไม่เบียดเบียน (อวิห์สญจ) คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดจนสัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก

9 ความอดทน (ขนุติญจ) คือ ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทนเป็นเบื้องหน้า 10 ความไม่พิโรธ (อวิโรธน์) คือ การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรงและดํารงอาการคงที่ไม่ให้วิการด้วยอํานาจยินดียินร้าย

ทศพิธราชธรรมเป็นธรรมที่กล่าวถึงคุณลักษณะส่วนตัวของผู้ปกครอง ถือเป็นเครื่องมือยึดเหนี่ยว ไม่ให้ผู้ปกครองทําร้ายหรือรังแกผู้ใต้ปกครอง

(2) จักรวรรดิวัตร 12 ประการ มีดังนี้

1 ควรพระราชทานโอวาทและอนุเคราะห์คนภายในราชสํานักและคนภายนอกจนถึงราษฎร

2 ควรทรงผูกพระราชไมตรีสมานราชสัมพันธ์กับกษัตริย์

3 ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยศ

4 ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คฤหัสถ์ และคฤหบดีชน

5 ควรทรงอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป

6 ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบด้วยพระราชทานไทยธรรมบริขารเกื้อกูลแก่ธรรมปฏิบัติ

7 ควรทรงจัดรักษาฝูงเนื้อ และนกด้วยพระราชทานอภัยไม่ให้ใครเบียดเบียนทําอันตรายจนเสื่อมสูญพืชพันธุ์

8 ควรทรงห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ทํากิจการที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ชักนําให้ตั้งอยู่ในกุศลสุจริตส่วนชอบ ประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม

9 ชนใดขัดสนไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงชีพโดยสัมมาอาชีวะได้ ควรพระราชทานพระราชทรัพย์เจือจานให้เลี้ยงด้วยวิธีอันเหมาะสม ไม่ให้แสวงหาด้วยทุจริต 10 ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญ บาป กุศล อกุศลให้กระจ่างชัด

11 ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอาคมนิยสถาน

12 ควรทรงประหารวิสมโลภเจตนา ห้ามจิตไม่ให้ปรารถนาลาภที่มิควรได้จักรวรรดิวัตร 12 ประการ จะครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการปกครอง และมีความคล้ายคลึงกับ จารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชมาก

(3) ธรรมที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งสอนกษัตริย์ทั้งหลาย

นอกจากทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร 12 ประการแล้ว ยังมีหลักธรรมที่พระเจ้าอโศก มหาราชได้สั่งสอนกษัตริย์ตามหัวเมืองที่ทรงสวามิภักดิ์ ซึ่งกว้างขวางกว่าทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร 12 ประการ ซึ่งปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ดังนี้

1 ให้รักประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองอย่างเสมอหน้ากัน

2 ให้ผู้ปกครองยึดมั่นในหิริโอตัปปะ และดําเนินการปกครองตัดสินข้อพิพาทของประชาชนอย่างเที่ยงธรรม

3 ไม่ให้ขูดรีดเอาเปรียบประชาชน

4 ให้เลี้ยงดูไพรที่ใช้งานและทหารอย่างพอควร ไม่ควรเกณฑ์แรงงานผู้เฒ่า

5 ควรเก็บภาษีเงินส่วนจากราษฎรตามอัตราเดิมไม่ควรเก็บส่วยเพิ่ม

6 ควรสนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลพ่อค้าประชาชน ไม่ให้คิดดอกเบี้ย

7 ควรชุบเลี้ยงข้าราชสํานักให้สุขสบายโดยไม่คิดเสียดาย

8 ควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและไม่ลืมตน

9 ควรเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้รู้ธรรมและปรึกษาผู้รู้อยู่เสมอ

10 ผู้ปกครองควรให้สิ่งตอบแทนบําเหน็จรางวัลแก่ผู้ทําความดีมากน้อยตามประโยชน์ที่เขานํามาให้

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า “ธรรม” ที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วงข้างต้น ซึ่งได้แก่ ทศพิธราชธรรม ส่วนจักรวรรดิวัตร 12 ประการ และธรรมที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งสอนกษัตริย์ทั้งหลาย ถือเป็น “หลักการ ปกครอง” ในสมัยพญาลิไท

Advertisement