การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ แทนได้ คือ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
2) .ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. วิสามัญ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12) ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อ ทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
2 ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยขั้นร้ายแรง ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1,2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัย มี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น
1 โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2 โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)
3 หนังสือราชการ ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 4 ชนิด
(2) 5 ชนิด
(3) 6 ชนิด
(4) 7 ชนิด
(5) 8 ชนิด
ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) แบ่งหนังสือราชการออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้ 1 หนังสือภายนอก 2 หนังสือภายใน 3 หนังสือประทับตรา 4 หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ 5 หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว 6 หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรองรายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น
4 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลใดต่อไปนี้ อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหาร นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(1) ก.พ.
(2) อ.ก.พ. กระทรวง
(3) อ.ก.พ. กรม
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) อ.ก.พ. วิสามัญ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 44) นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวง อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย
5 ก.พ.ค. คือ
(1) คณะกรรมการวิชาการพลเรือน
(2) คณะกรรมการพัฒนาระบบคุณธรรม
(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามระบบคุณธรรม
(4) คณะกรรมการทักษะพิเศษตามระบบคุณธรรม
(5) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ประกอบด้วย กรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกําหนดให้กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่
6 ปัจจุบันข้าราชการพลเรือน ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็นประเภท
(1) 5 ประเภท
(2) 4 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 2 ประเภท
(5) ประเภทเดียว
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของ ก.พ. มี 2 ประเภท คือ
1 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็นข้าราชการที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
2 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
7 ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรมโดยตําแหน่ง
(1) รองปลัดกระทรวง
(2) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(3) อธิบดี
(4) ปลัดกระทรวง
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1 อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2 อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล – ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3 อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน
4 ให้ อ.ก.พ. กรม ตั้งเลขานุการ 1 คน
8 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ใช้บังคับโดยตรงกับหน่วยงานราชการใด
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับโดยตรง กับหน่วยงานดังต่อไปนี้
1 ส่วนราชการ ซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สํานักงาน หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ
2 คณะกรรมการของส่วนราชการตามข้อ 1.
3 รัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในการกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐ
9 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้อง
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือ ผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว
10 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความรู้ความสามารถ
(3) หลักความมั่นคง
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ มี 4 ประการ คือ
1 หลักความเสมอภาค (Equality)
2 หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3 หลักความมั่นคง (Security)
4 หลักความเป็นกลางในทางการเมือง (Political Neutrality)