การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเป็นผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งกรณีใด
(1) กรณีสอบแข่งขันได้
(2) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนดก็ได้
(3) กรณีบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชํานาญสูง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 53 มาตรา 55 และมาตรา 56), (คําบรรยาย) ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น อาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ
1 กรณีบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีทั่วไป
2 กรณีบรรจุและแต่งตั้งจากผู้ที่มิใช่เป็นผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณียกเว้น ได้แก่
– การบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด,
– การบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญงานสูงในตําแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชํานาญการ หรือผู้มีทักษะพิเศษ เป็นต้น
2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีจํานวนกี่คน
(1) ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
(2) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
(3) 3 คน
(4) 5 คน
(5) 7 คน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรกลาง ในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
1 กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
2 กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยแต่งตั้งให้อยู่ในตําแหน่งได้คราวละ 3 ปี
3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้อง
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือ ผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว
4 เกี่ยวกับบัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญปัจจุบัน
(1) กําหนดเป็นระดับและขั้น
(2) กําหนดเป็นอันดับและขั้น
(3) กําหนดเป็นระดับ
(4) กําหนดเป็นขั้น
(5) กําหนดเป็นขั้นต่ำและขั้นสูงของตําแหน่งในแต่ละระดับ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตําแหน่ง ในแต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ท้าย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะกําหนดเป็นขั้นต่ําและขั้นสูงของ แต่ละระดับของแต่ละประเภทตําแหน่ง โดยไม่มีอันดับและขั้นเป็นอัตรา ดังนั้นจึงไม่เรียกว่า “บัญชีอัตราเงินเดือน” แต่เรียกว่า “บัญชีเงินเดือน”
5 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่กําหนดให้มีเงินประจําตําแหน่ง
(1) บริหารระดับสูง
(2) อํานวยการระดับสูง
(3) ทักษะพิเศษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทที่ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ได้แก่
1 ตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง
2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้นและระดับสูง
3 ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ
4 ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
6 ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(2) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน
(3) ตีค่าคุณวุฒิ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (4) รับเรื่องราวร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1 ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนรวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา
2 กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น (ตีค่าคุณวุฒิ) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
3 ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
4 พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ
7 การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งดําเนินการได้โดยวิธี
(1) คัดเลือก
(2) สอบคัดเลือก
(3) คัดเลือกหรือสอบคัดเลือก
(4) วิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม
(5) อาจใช้วิธีเดียวกันกับการสอบแข่งขันก็ได้
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น
1 กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด
2 กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศหรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น
8 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
(1) หลักความรู้ความสามารถ
(2) หลักความมั่นคง
(3) หลักความเสมอภาค
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐม 4 ประการ คือ
1 หลักความเสมอภาค (Equality)
2 หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3 หลักความมั่นคง (Security)
4 หลักความเป็นกลางในทางการเมือง (Political Neutrality)
9 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ประเภท
(1) 5 ประเภท
(2) 4 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 2 ประเภท
(5) ประเภทเดียว
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย)ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1 ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร
2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรมและตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นต้น
3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น
4 ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3
ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด
10 ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้แก่ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(3) นายกเทศมนตรี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานัก ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น ส่วนตําแหน่งนายกเทศมนตรี และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น