POL3313 การบริหารการพัฒนา S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงความเป็นมาของกระแสแนวคิดการบริหารการพัฒนาในอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมนําเสนอถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดหลักในการศึกษาการบริหารการพัฒนา ได้แก่ สํานักคิดดังเดิม สํานักคิดระบบ และสํานักคิดนิเวศวิทยา มาพอสังเขป

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 5 – 11, 27 – 40)

ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนา

1 ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรม

ช่วงทศวรรษ 1930 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก (The Great Depression) ทําให้ประธานาธิบดีโรสเวลท์ (Roosevelt) ของสหรัฐอเมริกา ต้องหันมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในประเทศ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงปรัชญาและการปฏิบัติงาน โดยรัฐบาลกลางได้ใช้ความริเริ่มใน การพัฒนาโครงการพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งมีการออกกฎหมายเพื่อปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ทั้งในด้านการเงิน ระบบ ภาษี และสวัสดิการทางสังคม

1 การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมจึงเกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าเป็นการวางรากฐานของการบริหารการพัฒนา และนับว่าเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่น ๆ ในเรื่องการ กําหนดหน้าที่ทั้งหลายขององค์การในการบริหารให้บรรลุผลสําเร็จ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือประเทศในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสภาพของสงคราม โดยช่วยเหลือผ่านแผนการมาร์แชล (Marshall Plan) ในปี ค.ศ. 1947 จุดมุ่งหมายหลัก คือให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งนําโดย สหภาพโซเวียต ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสําเร็จทําให้ยุโรปฟื้นตัว และมีความเจริญก้าวหน้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในเวลาต่อมา

องค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ได้มี บทบาทอย่างสําคัญในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการแก่ประเทศด้อยพัฒนาและกําลัง พัฒนา โดยมิได้คํานึงถึงอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นหลัก ดังเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ขณะเดียวกันประเทศตะวันตกที่เจริญแล้วก็ได้เข้าไปช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชีย แอฟริกา และ อเมริกาใต้ด้วย

นอกจากนี้ องค์การเอกชนก็ได้เข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนา เช่น มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ เป็นต้น ซึ่งเหตุผลก็เพราะว่าระบบภาษีของสหรัฐอเมริกาส่งเสริมทําให้เกิดมูลนิธิเอกชนเพื่อทําประโยชน์แก่สังคม

2 ความเป็นมาของการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์

ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 กลุ่มนักวิชาการชาวอเมริกันที่สนใจการบริหารเปรียบเทียบ ได้ ร่วมกันจัดตั้งสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์อเมริกัน (American Society for Public Administration : ASPA ขึ้น และภายในสมาคมนี้ก็ได้จัดตั้งกลุ่มย่อยขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า กลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAS) ซึ่งหมายความว่าในระยะเวลานี้สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ แยกตัวออกจากสาขาวิชารัฐศาสตร์แล้ว

ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 และ 1965 กลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAG) ได้รับเงินอุดหนุน จากมูลนิธิฟอร์ดรวมกันเป็นเงิน 500,000 ดอลลาร์ มาใช้ในการวิจัย และเขียนตําราในด้านการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ โดยในระยะแรกของกิจกรรมการวิจัยมีจุดเน้นหนักที่การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ แต่ต่อมาเงินทุน การวิจัยได้เปลี่ยนจุดเน้นมาที่สาขาย่อยคือ สาขาการบริหารการพัฒนา

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า รากฐานความรู้ของการบริหารการพัฒนา (Development Administration : DA) ก็คือ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) นั่นเอง แต่วิชา DA จะมีจุดเน้นที่แตกต่างไปจากวิชา CPA ก็คือ DA นั้นจะให้ความสําคัญเกี่ยวกับการประยุกต์ มากกว่า CPA

เพราะฉะนั้นวิชา DA ในฐานะที่เป็นสาขาย่อยของ CPA จึงได้แยกตัวออกมาจากวิชา CPA และ DA ก็ได้มีความเจริญก้าวหน้า มีผลงานการวิจัยและตําราเกิดขึ้นมากมายจนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่ง ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือการบริหารรัฐกิจในช่วงกลางทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา

สําหรับนักวิชาการกลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAS) นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการชาว อเมริกันที่เคยไปเป็นที่ปรึกษาแก่ประเทศกําลังพัฒนาในด้านการบริหารรัฐกิจ และได้พบว่าความรู้ส่วนหนึ่งของ วิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่เกิดจากการศึกษาในประเทศที่พัฒนานั้น ส่วนหนึ่งสามารถนํามาใช้ได้ แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็ไม่สามารถนํามาใช้ได้ในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะสภาพการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ กําลังพัฒนานั้นมีความแตกต่างไปจากประเทศที่พัฒนาแล้วโดยสิ้นเชิง

กล่าวโดยสรุป วิชาการบริหารการพัฒนา (DA) เป็นวิชาที่มีรากฐานมาจากวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ (CPA) และเป็นผลมาจากการศึกษาของนักวิชาการกลุ่มการบริหารเปรียบเทียบ (CAG) นั่นเอง

แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

1 แนวการศึกษาแบบเก่าหรือดั่งเดิม (Traditional Administration)

การศึกษาแบบเก่า จะเน้นศึกษาด้านโครงสร้าง หลักเกณฑ์ ตลอดจนกระบวนการในการ บริหารงานขององค์การที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการศึกษาในแนวนี้จึงเน้นถึงสมรรถนะในการบริหาร ขององค์การของรัฐบาล พยายามที่จะขจัดปัญหาและอุปสรรคในการบริหาร เพื่อที่จะแก้ไขและปรับปรุงกลไก ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อที่จะได้สนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น การศึกษาการบริหารการพัฒนาในแนวความคิดนี้จึงเกี่ยวพันอยู่กับการ วางแผน การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ การบริหารงานบุคคล ตลอดจนระบบการศึกษาอัน เป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจ

2 แนวการศึกษาแบบระบบ (System Approach)

การศึกษาแบบระบบ จะมองการพัฒนาว่าเป็นระบบ (เปิด) ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น เป้าหมายของการพัฒนาจึงขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน

Saul M. Katz เป็นผู้ที่นําเอาแนวการศึกษาแบบระบบมาใช้ในการศึกษาการบริหารการพัฒนา โดยมองว่า การพัฒนาเป็นระบบ ซึ่งมีกระบวนการที่มีทิศทาง และมุ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ และในสังคมระบบราชการจะเป็นตัวแทนที่สําคัญในการที่จะดําเนินการให้ กระบวนการพัฒนาประเทศบรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้

ดังนั้น ระบบการพัฒนาจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน เงิน วัสดุอุปกรณ์ พฤติกรรม และการ จัดสรรเงิน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในด้านกลวิธีการและเทคนิคในการที่จะทํางานให้บรรลุผลสําเร็จ ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ หรืออาจกล่าวได้ว่าระบบการพัฒนาเป็นระบบที่สนองตอบต่อความต้องการในด้าน เทคนิคและวิธีการในการดําเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

3 แนวการศึกษาแบบภาวะนิเวศ (Ecological Approach)

การศึกษาภาวะนิเวศ หมายถึง การบริหารงานแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่าง ระบบบริหารกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและสังคม ตัวอย่างเช่น

แนวความคิดในการบริหารการพัฒนาแบบภาวะนิเวศของ Edward W. Weidner เห็นว่า การบริหารการพัฒนา จะมีลักษณะที่สําคัญ 4 ประการ คือ

1 การเจริญเติบโตที่มีทิศทาง (Directional Growth)

2 การเปลี่ยนแปลงระบบ (System Change)

3 การวางแผนหรือจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลง (Planning or Intended Change)

4 การเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า (Planned Change)

จากลักษณะของการบริหารการพัฒนาทั้ง 4 ประการ ได้นํามาเป็นหลักในการจัดแบ่ง ประเภทของการบริหารการพัฒนาออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การบริหารการพัฒนาแบบอุดมการณ์ (The Ideal Planned) เป็นกระบวนการวางแผน เพื่อความเจริญเติบโตในทิศทางของการสร้างชาติ ความทันสมัยและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบ และมีการกําหนดโครงการพัฒนาต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อนําไปปฏิบัติให้บังเกิดผล เช่น การบริหารการพัฒนาโครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ, การจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติของไทย เป็นต้น

2 การบริหารการพัฒนาที่ให้ผลระยะสั้น (The Short-run Payoff : Planned Directional Growth with no System Change) เป็นกระบวนการวางแผนเพื่อความเจริญเติบโตในทิศทางที่ต้องการ แต่จะ ไม่สนใจเปลี่ยนแปลงระบบสังคม โดยการบริหารการพัฒนาในลักษณะนี้ จะเห็นผลได้รวดเร็ว และสามารถขอ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทําให้รัฐบาลเกิดเสถียรภาพ เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบสังคมนั่นเอง เช่น การอนุมัติเงินกู้จากเจบิคในการลงทุนสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เป็นต้น

3 การบริหารการพัฒนาที่ให้ผลในระยะยาว (The Long-run Payoff : Planned System Change with no Directional Growth) เป็นกระบวนการวางแผนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ แต่จะ ไม่มีทิศทางของการเจริญเติบโต ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น การปฏิรูปกฎหมาย ภาษีและที่ดิน, การแบ่งส่วนแบ่งรายได้จากภาษีธุรกิจสุราเพื่อช่วยเหลือผู้พิการมากขึ้น, การปรับปรุงระบบ จําแนกตําแหน่งของข้าราชการไทยจากระบบซีเป็นระบบแท่ง เป็นต้น

4 การบริหารการพัฒนาที่สนองตอบต่อสภาพแวดล้อม (Environmental Stimulus : Unplanned Directional Growth with System Change) ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาวเอาไว้ ทั้งนี้เพราะว่า กลุ่มที่มีอํานาจคัดค้านหรือสนับสนุนเพื่อต้องการสนองตอบต่อสภาพแวดล้อมบางอย่าง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลง ระบบอาจเกิดขึ้นได้ในระบบราชการโดยมีลักษณะเป็นการชั่วคราว ถ้าระบบราชการนั้นเห็นว่ามีเงื่อนไขที่สามารถ ทําได้

5 การบริหารการพัฒนาในทางปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ (Pragmatism : Unplanned Directional Growth with no System Change) ส่วนใหญ่แล้วประเทศที่กําลังพัฒนาจะมีความเจริญเติบโต ไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดการพัฒนาได้ โดยที่ไม่ต้องมีการวางแผนและการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเปลี่ยนแปลง เพียงเล็กน้อย เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

6 การบริหารการพัฒนาแบบวิกฤตการณ์ (Crisis : Unplanned System Change with no Directional Growth) เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบและเกิดการเจริญเติบโตแบบไม่มีการวางแผนและกําหนด ทิศทางเอาไว้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงมักเป็นการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ซึ่งคล้ายกับเป็น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น สงคราม ความอดอยาก โรคระบาด ปัญหาคนอพยพเข้าประเทศ ปัญหาช้างเร่ร่อน น้ําท่วม ฝนแล้ง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น

7 การบริหารการพัฒนาที่ล้มเหลว (Failure : Planning with no Growth or System Change) เป็นการวางแผนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ และไม่มีการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงถือว่าล้มเหลว

8 การไม่มีการบริหารการพัฒนา (Static Society : No Plans, No Change) อาจพบได้ ในสังคมบางส่วนของประเทศที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องการพัฒนา

กล่าวโดยสรุปแล้ว ในการบริหารการพัฒนานั้น จะขึ้นอยู่กับกลุ่มชนชั้นผู้นําและผู้ที่มีอํานาจ ในการกําหนดนโยบายที่จะเลือกวิถีทางออกของการพัฒนาประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นรูปผสมของ การบริหารการพัฒนาชนิดที่ 1 – 6 ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลลัพธ์ในระยะเวลาที่สั้น และแนวโน้มที่เป็น ที่น่าสังเกตคือในการมุ่งพัฒนาประเทศนั้น หน่วยงานราชการต้องการวิธีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีแผน หรือ การเปลี่ยนแปลงที่มีแผนแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงความแตกต่างของความหมายของ DA และ AD พร้อมวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในการนําไปสู่การบริหารการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

การบริหารการพัฒนา (Development Administration : DA)

การบริหารการพัฒนา เป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goal Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred W. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัฒนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

การพัฒนาการบริหาร (Administrative Development : AD or Development of Administration 😀 of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การ การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 3 จงวิเคราะห์ถึงพัฒนาการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีประเด็นความแตกต่างอย่างไรบ้าง และสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ของการบริหารการพัฒนาของไทยอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาพอสังเขป

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 162 – 300), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 72 – 89)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย

ประเทศไทยขอให้ธนาคารโลกส่งคณะผู้แทนเข้ามาสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สรุปว่า คณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลกเดิน ทางเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2501 และได้ จัดทํารายงานขึ้นมาฉบับหนึ่งเรียกว่า A Public Development Program for Thailand แม้จะไม่ได้เป็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริงที่รัฐบาลไทยรับรองเป็นทางการก็ตาม แต่เป็นการศึกษาปัญหาและแนวทางการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างละเอียด

คณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลก ได้คํานวณปริมาณเงินที่รัฐบาลอาจจัดหามาได้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2501 – 2506 และแนะวิธีการจัดสรรเงิน ตลอดจนกําหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้รายจ่ายนั้นได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด รายงานฉบับนี้จึงอาจใช้เป็นหลักใน การดําเนินงานวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของชาติได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอของคณะสํารวจสภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลกที่นับว่ามีความสําคัญเป็นอย่าง มากต่อการจัดเตรียมงานวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ ข้อเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงาน วางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจระดับชาติขึ้นเป็นการถาวร โดยมอบหมายให้ทําหน้าที่ศึกษา ติดตาม วิจัยสภาวะ เศรษฐกิจ และให้มีหน้าที่จัดทําแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศ การดําเนินงานของหน่วยงานวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจระดับชาตินี้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของเลขาธิการ และให้จัดตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ แห่งชาติ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 โดยเป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับเดียวที่มีระยะเวลาใช้งาน 6 ปี ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุนสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Facilities) เช่น ถนน รถไฟ เขื่อน ไฟฟ้า ประปา ระบบชลประทาน ระบบโทรคมนาคม และสาธารณูปการอื่น ๆ เป็นต้น แต่มิได้กล่าวถึงแผนงาน ด้านการพัฒนาสังคมเลย (ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่มีคําว่า “และสังคม” ต่อท้ายชื่อแผน เหมือนแผนพัฒนาฯ ฉบับ อื่น ๆ) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวได้ทําให้เกิดปัญหาช่องว่างของการกระจายรายได้ และ ปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514) แนวทางการพัฒนา ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักเหมือนกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 แต่ได้เริ่มพูดถึงความสําคัญของการ กระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ – และเริ่มพูดถึงเรื่องการพัฒนาสังคมบ้างเล็กน้อย

ข้อสังเกต แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 จะมุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้านการลงทุนและกระจายการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน รถไฟ เขื่อน ไฟฟ้า ประปา ระบบชลประทาน ระบบโทรคมนาคม และ สาธารณูปการอื่น ๆ เป็นต้น แต่การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ทําให้เกิดปัญหาซ่องว่างของการกระจายรายได้ และปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) ยังคงมุ่งเน้นการ พัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ให้ความสําคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น และให้ความสําคัญกับการ พัฒนาสังคม การลดอัตราการเพิ่มประชากร และการกระจายรายได้ควบคู่กันไปด้วย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) เกิดวิกฤตการณ์ ทางการเงินระหว่างประเทศ วิกฤตการณ์น้ํามัน ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งปัญหาฝนแล้งและน้ําท่วม ทําให้รัฐบาลต้อง หันมาให้ความสําคัญต่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จึงเป็นเพียงการเร่งบูรณะและ ปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ อย่างไรก็ตามพบว่า การพัฒนามักตกอยู่กับคนรวยมากกว่าคนจน โดยมีคนจนมาก ๆ อยู่ในชนบทห่างไกลเป็นจํานวนถึง 11.5 ล้านคน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) ได้ปรับเปลี่ยน ปรัชญาและทิศทางการพัฒนาใหม่ โดยมุ่งพัฒนาในพื้นที่ยากจนหรือด้อยพัฒนาเป็นอันดับแรก นอกจากนั้นยัง เริ่มเปลี่ยนวิธีการวางแผนจากรายโครงการมาเป็นการจัดทําแผนงาน (Programming) โดยเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและการพัฒนาชายฝั่งทะเล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) เศรษฐกิจไทยมี การขยายตัวในระดับสูง เน้นวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เริ่มให้ความสําคัญมาก ขึ้นต่อการสนับสนุนการวางแผนจากระดับล่างขึ้นมาข้างบน และให้ความสําคัญต่อการปรับปรุงการบริหารและ ทบทวนบทบาทของรัฐในการบริหารประเทศ สังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่ความเป็นสังคมเมือง มากขึ้น ทําให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบไทยดั้งเดิมต้องปรับเปลี่ยน เน้นการดําเนินชีวิตในรูปแบบสมัยใหม่ เน้นการบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) เนื่องจากการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวมากขึ้น รัฐบาลจึงปรับแนวคิดไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยมุ่งรักษาระดับความเจริญเติบโตในระดับที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ทําให้ประเทศไทย พ้นจากการถูกจัดให้เป็นประเทศยากจน เข้าสู่ประเทศที่กําลังพัฒนา แต่การเติบโตดังกล่าวยังอยู่บนพื้น ฐานความไม่สมดุลของการพัฒนา เพราะมีปัญหาความเหลื่อมล้ําของการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ ระหว่างภาคระหว่างชนบทกับเมืองและระหว่างกลุ่มคนในสังคม ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจะขยายตัวแต่สังคมยังมีปัญหา การพัฒนาจึงไม่ยั่งยืน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) เป็นจุดเปลี่ยน สําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศและเป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมไทยที่ให้ความสําคัญ กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และกําหนดให้เศรษฐกิจ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนา แบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ในปีแรกของแผนพัฒนาฯ ประเทศไทยต้องประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทําให้ต้องมีการปรับแผน โดยเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบต่อการพัฒนาคนและ สังคม และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) ได้อันเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นปรัชญา นําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจาก วิกฤต สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยังยืน ภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ประเทศไทย ยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจํากัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้น โดยยังคงอันเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 และให้ ความสําคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดําเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้ง สร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการ ดําเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2558) มีแนวคิดที่ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 – 10 โดยยังคงยึดหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ ขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งใน ระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ขณะเดียวกันให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วนในสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความ เสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้จัดทําขึ้นใน ช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกัน มากขึ้น โดยได้น้อมนําหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาประเทศ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 – 11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้ อย่างมั่นคงเกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความ สมดุลและยั่งยืน

ในการจัดทําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ครั้งนี้ได้จัดทําบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็น การปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นได้ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อร่วมกัน กําหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทํารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

หลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปี ที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา ระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีหลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ดังนี้

1 ยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการ บริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี

2 ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสําหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบ ต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม

3 ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

4 ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579” ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาเป็นกรอบในการกําหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรก และเป้าหมายในระดับย่อยลงมา โดยที่เป้าหมายและ ตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน

5 ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ําและขับเคลื่อนการเจริญเติบโต จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนพื้นฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม”

6 ยึด “หลักการนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปี ที่ต่อยอดไปสู่ ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว” จากการที่แผนพัฒนาฯ เป็นกลไกเชื่อมต่อในลําดับแรกที่จะกํากับและส่งต่อ แนวทางการพัฒนาและเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้เกิดการปฏิบัติในทุกระดับและในแต่ละด้านอย่าง สอดคล้องกัน

POL3313 การบริหารการพัฒนา 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายถึงสํานักคิดที่นําเสนอแนวคิดการบริหารการพัฒนา ว่ามีแนวทางการพัฒนาอย่างไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 4 – 6, 11 – 12)

Edward w. Weidner ได้พูดถึง การบริหารการพัฒนาว่าเป็นโครงการเปลี่ยนแปลงโดยมี การวางแผนไว้แล้ว (Programs of Planned Change) จึงควรทําความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง (Change) มีอยู่ 3 ชนิด คือ

1 การเจริญเติบโต (Growth) เป็นการเปลี่ยนแปลงความสามารถของคุณสมบัติในตัวของผู้กระทําเอง หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับของการกระทําการ (Growth Involves Changes in Performance Level)

2 การพัฒนา (Development) เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวกระทําการใหม่ หรือเป็นการ เปลี่ยนระบบที่กระทําการ (Change in the System Which Performs)

3 การแปลงรูป (Transformation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของตัวกระทําการ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ (Change in Environmental Factors)

Edward w. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการที่ให้ความหมายของการ พัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม

2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศที่ ลังพัฒนา เป็นต้น

3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goal Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย

4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้อง มีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัย

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่การพัฒนามีขอบเขต กว้างกว่าการทําให้ทันสมัย การพัฒนาเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทาง วัตถุ เนื่องจากชาวตะวันตกเชื่อกันว่าการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) และเป็น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บางครั้งมนุษย์สามารถกําหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงโดยตรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐทุนนิยมพึ่งพาใช้เป็นเครื่องมือที่ทําให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ปรารถนา ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หมายถึงความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อให้ทัดเทียมกับ อารยประเทศ ดังนั้นนโยบายและแนวคิดของนักวิชาการในสังคมตะวันตกทําให้เกิดแรงผลักดัน

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาระหว่างประเทศตะวันตก และเป็นประเทศที่กําลังพัฒนา การ พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับบุคคล สังคม วัฒนธรรม และระยะเวลา เช่น

1 การพัฒนามีลักษณะแบบวิวัฒนการ (Evolution) มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทีละเล็ก ทีละน้อย นักสังคมศาสตร์และนักสังคมวิทยาในศตวรรษที่ 19 ใช้คําว่า การพัฒนาในความหมายนี้อธิบายถึงที่มา ของมนุษย์ เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากที่แห่งหนึ่งไปสู่ที่อีกแห่งหนึ่งในทิศทางเดียวกัน การ เคลื่อนย้ายถิ่นฐานนี้จะทําให้ชีวิตมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความแตกต่างกันทั้งวัตถุ และวัฒนธรรม การพัฒนาในลักษณะนี้จึงอาจหมายถึงความก้าวหน้า

2 การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change) นักสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 มองการพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะการพัฒนามีลักษณะเป็นกลางมากกว่าความก้าวหน้า และสนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์

3 การพัฒนาเป็นแนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์ให้ความ สนใจเรื่องการพัฒนาเพราะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้รายได้ประชาชาติ แนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์มองการพัฒนาว่า มีความหมายเกี่ยวกับความเป็นอุตสาหกรรม ความทันสมัย และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

4 การพัฒนาเป็นการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) เป็นเรื่องที่ภาครัฐเข้ามาเกี่ยว ข้องในการรับผิดชอบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างคุณภาพ เป็นต้น

5 การพัฒนาเป็นแนวความคิดขัดแย้งทางสังคม (Social Conflict) เมื่อมีการพัฒนา ย่อมจะมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผลที่ตามมาความขัดแย้งย่อมจะเกิดขึ้นการพัฒนาประเทศแบบสังคมนิยมใช้ ทฤษฎีความขัดแย้งมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบ สั่งคมไทยมีความเชื่อว่า การพัฒนาเป็นกระบวนการ วิวัฒนาการตามธรรมชาติ

การพัฒนามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น คน วัสดุ การจัดการ แต่ปัญหาการพัฒนาในทุกด้านจะสําเร็จได้ ถ้าการพัฒนาคนได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยมนุษย์เป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่สุดของการพัฒนา

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างการบริหารการพัฒนากับการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred w. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัตนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงสาเหตุของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 43 – 45)

สาเหตุการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

Goodwin Watson จําแนกสาเหตุของการต่อต้านไว้ 2 ลักษณะ คือ การต่อต้านเกี่ยวกับ บุคลิกภาพส่วนบุคคล และการต่อต้านเกี่ยวกับระบบสังคม

การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคม มีสาเหตุสําคัญ 5 ประการ คือ

1 การยินยอมโอนอ่อนผ่อนตามปทัสถาน หรือกฎเกณฑ์ของระบบ

2 ความผูกพันของระบบแกะวัฒนธรรมที่มองเห็นว่ามีลักษณะส่วนรวมพิเศษที่เกิดจาก ความสัมพันธ์ของระบบรอง ๆ ผลพลอยได้จากทัศนะนี้ก็คือ ความคิดที่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบใด ก็ ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อระบบอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงใดก็ตามย่อมมีทั้งแง่ดีและแง่เสีย

3 เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่ ผลประโยชน์ใด ๆ ก็ตามถ้าทําให้คนรู้สึกว่าถูก คุกคาม จะเกิดความรู้สึกต่อต้านขึ้น

4 ส่วนที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในระบบ เช่น สถาบันที่ยอมรับนับถือมานาน หรือการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับ ศีลธรรม และจริยธรรมย่อมจะเกิดการต่อต้านขึ้น

5 ความรู้สึกต่อต้านบุคคลภายนอก การรู้สึกไม่เป็นมิตรกับบุคคลแปลกหน้า พฤติกรรมนี้ จะเห็นได้จากระบบสังคมแบบจารีตประเพณี

Goodwin Watson ได้เสนอข้อสรุป 12 ประการในประเด็นใหญ่ ๆ 3 เรื่อง คือ ประเด็นที่ 1 ใครเป็นตัวนําในการเปลี่ยนแปลง

1 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าสมาชิกคนสําคัญของระบบรู้สึกว่าโครงการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นผลงานของตน ไม่ใช้โครงการที่ก่อตั้งและดําเนินโดยบุคคลภายนอก

2 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่และชัดเจนจาก เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของระบบ

ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงประเภทใด

3 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผลเป็นการลด มากกว่าจะเพิ่มภาระในปัจจุบัน

4 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้นสอดคล้องกับค่านิยมและอุดมคติซึ่งผู้อยู่ในวงการ ยอมรับนับถือมาช้านาน

5 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้น ๆ เสนอประสบการณ์ใหม่ที่ดึงดูดความสนใจ บรรดาผู้อยู่ในวงการ

6 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการรู้สึกว่ามีอํานาจอิสระและสวัสดิภาพ หรือความ มั่นคงของตนไม่ถูกคุกคาม

ประเด็นที่ 3 เปลี่ยนแปลงอย่างไร

7 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการได้มีโอกาสเข้าร่วมใช้วิจารณญาณขั้นต้น ซึ่ง นําไปสู่ขั้นตกลงเห็นพ้องว่าปัญหาเบื้องต้นคืออะไร และรู้สึกว่ามีความสําคัญเพียงใด

8 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้นเป็นที่ยอมรับโดยฉันทานุมัติของกลุ่ม

9 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าฝ่ายสนับสนุนโครงการสามารถเข้าใจฝ่ายคัดค้าน ยอมรับข้อ คัดค้านที่มีน้ําหนัก และลงมือผ่อนคลายความหวาดหวั่นที่ไม่มีผล

10 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าเปิดโอกาสให้มีการสะท้อนทัศนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ และการให้ความกระจ่างเพิ่มเติม มีการตระหนักว่ามีความเข้าใจผิดหรือการแปลเจตนารมณ์ผิดเกี่ยวกับการริเริ่ม การสร้างสรรค์ใด ๆ เกิดขึ้น

11 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการมีการยอมรับความสนับสนุน ความศรัทธา และ ความเชื่อมั่นในความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

12 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้ามีการปรับปรุงและตรวจสอบโครงการอยู่เสมอ ถ้ามีหลักฐาน ว่าการกระทําเช่นนั้นเหมาะสม

POL3313 การบริหารการพัฒนา 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่าง แนวคิดและหลักการของการบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนา เป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนําการบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred w. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัฒนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 2 การบริหารการพัฒนาหมายถึงอะไร มีคุณลักษณะร่วม 4 ประการ อะไรบ้าง และมีความแตกต่างกับการบริหารรัฐวิสาหกิจอย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 22)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และ มีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ซึ่งการบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะ ร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่าการบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ ในประเทศกําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือการพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจ ที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์จะ เจริญรอยตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่างการบริหารการพัฒนากับการบริหารรัฐกิจ

1 Edward w. Weidner เห็นว่า การบริหารการพัฒนา จะเน้นการพัฒนามากกว่าการ บริหาร

2 George Gant เห็นว่า การบริหารรัฐกิจ จะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็น ภารกิจแรกของรัฐบาล และเป็นพื้นฐานของการบริหารการพัฒนา

3 Fred w. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนาแตกต่างจากการบริหารรัฐกิจและการ บริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ เพราะองค์ความรู้จากสองวิชาหลังยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ เกิดขึ้นในประเทศที่กําลังพัฒนาได้

นอกจากนี้ Riggs ยังเห็นอีกว่า การบริหารการพัฒนามีวัตถุประสงค์ ขอบเขต และ ความสลับซับซ้อนมากกว่าการบริหารรัฐกิจและการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ยิ่งไปกว่านั้น การบริหารการพัฒนา ยังต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่ทางด้านโครงสร้าง และภารกิจที่สลับซับซ้อน ซึ่งจะต้องอาศัยการประสานงานเป็นอย่าง มากด้วย

4 Hahn Beer Lee เห็นว่า นักบริหารการพัฒนาแตกต่างจากนักบริหาร กล่าวคือ นัก บริหารการพัฒนาจะต้องแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่นักบริหารทั่วไปจะต้องคอยแก้ปัญหาพื้น ๆ หรืองาน ประจํา และนักบริหารการพัฒนาจะมีค่านิยมของการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ ในขณะที่ นักบริหารทั่วไปจะไม่คํานึงถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้

5 อนันต์ เกตุวงศ์ เห็นว่า การบริหารรัฐกิจ เป็นการบริหารงานประจําในองค์การที่มี ลักษณะเป็นการรักษาสิ่งที่มีอยู่ให้ดําเนินต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการบริหารการพัฒนาต้องอาศัยทั้งความคิดริเริ่ม การ ประดิษฐ์คิดค้น และการสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่งานบริหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่กําลังเปลี่ยนแปลงด้วย

กล่าวโดยสรุป การบริหารการพัฒนา ซึ่งประกอบไปด้วย การพัฒนาการบริหาร และการ บริหารเพื่อพัฒนานั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงและสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจในแง่บ่อเกิดแห่งความรู้ และการ นําเอาองค์ความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อลดความทุกข์ยากของคนที่อยู่ในองค์การและนอกองค์การ

 

ข้อ 3 จงอธิบายองค์ประกอบของ “การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) ด้านโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 51 – 58, 94 – 99)

องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) มีดังนี้

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรม การทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่ แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิ์ผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อย แต่จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกัน มากนัก แต่ระบบการทํางานหรือกระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้ จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสือข้อความ นอกจากนั้นในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่การบริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการ ทํางานของคนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมาย แต่เพียงอย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็น การเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ ซับซ้อนกว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน (โดยเฉพาะตัวแปร เชิงจิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพ ส่วนตัว ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและ สังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบการลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์ แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลง ในด้านอื่น ๆ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่แผนการ ปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ก็มีน้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนทาง การเมืองอย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้อํานาจ อย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูป ระบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่ง ภายใต้นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้า เนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาที่เนิ่นนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของ นโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการ ปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อย ในแผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับ และนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้

มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้หรือ วิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบสารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบายไปปฏิบัติให้ บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของผู้ปฏิบัติงาน ก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วยการเสนอให้มี การประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับพฤติกรรมของ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงที่จะผลักดัน นโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึง อาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับ การยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทําการ ปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการวางแผน ปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง มากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จตาม วัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการทั้งใน ด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้งได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก แต่หากได้รับการยอมรับ แล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูปใน เชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการปฏิรูป การทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทําจะทําให้ โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูปไปปฏิบัติ มีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูก ทดลองหรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติ ให้บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

 

ข้อ 4 Edward W. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการที่ให้ความหมายของการพัฒนาอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่ม อะไรบ้าง และการพัฒนามีความแตกต่างจากการทําให้ทันสมัยอย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 5 – 6, 11 – 12)

ความหมายของการพัฒนา Edward w. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการ ที่ให้ความหมายของการพัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม

2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศที่ กําลังพัฒนา เป็นต้น

3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goal Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย

4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้อง มีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัย

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่การพัฒนามีขอบเขต กว้างกว่าการทําให้ทันสมัย การพัฒนาเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทาง วัตถุ เนื่องจากชาวตะวันตกเชื่อกันว่าการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) และเป็น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บางครั้งมนุษย์สามารถกําหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงโดยตรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐทุนนิยมพึ่งพาใช้เป็นเครื่องมือที่ทําให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ปรารถนา ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หมายถึงความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อให้ทัดเทียมกับ อารยประเทศ ดังนั้นนโยบายและแนวคิดของนักวิชาการในสังคมตะวันตกทําให้เกิดแรงผลักดัน

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาระหว่างประเทศตะวันตก และเป็นประเทศที่กําลังพัฒนา การ พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับบุคคล สังคม วัฒนธรรม และระยะเวลา เช่น

1 การพัฒนามีลักษณะแบบวิวัฒนการ (Evolution) มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทีละเล็ก ทีละน้อย นักสังคมศาสตร์และนักสังคมวิทยาในศตวรรษที่ 19 ใช้คําว่า การพัฒนาในความหมายนี้อธิบายถึงที่มา ของมนุษย์ เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากที่แห่งหนึ่งไปสู่ที่อีกแห่งหนึ่งในทิศทางเดียวกัน การ เคลื่อนย้ายถิ่นฐานนี้จะทําให้ชีวิตมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความแตกต่างกันทั้งวัตถุ และวัฒนธรรม การ พัฒนาในลักษณะนี้จึงอาจหมายถึงความก้าวหน้า

2 การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change) นักสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 มองการพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะการพัฒนามีลักษณะเป็นกลางมากกว่าความก้าวหน้า และ สนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์

3 การพัฒนาเป็นแนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์ให้ความ สนใจเรื่องการพัฒนาเพราะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้รายได้ประชาชาติ แนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์มองการพัฒนาว่า มีความหมายเกี่ยวกับความเป็นอุตสาหกรรม ความทันสมัย และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

4 การพัฒนาเป็นการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) เป็นเรื่องที่ภาครัฐเข้ามาเกี่ยว ข้องในการรับผิดชอบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างคุณภาพ เป็นต้น

5 การพัฒนาเป็นแนวความคิดขัดแย้งทางสังคม (Social Conflict) เมื่อมีการพัฒนา ย่อมจะมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผลที่ตามมาความขัดแย้งย่อมจะเกิดขึ้นการพัฒนาประเทศแบบสังคมนิยมใช้ ทฤษฎีความขัดแย้งมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบ สังคมไทยมีความเชื่อว่า การพัฒนาเป็นกระบวนการ วิวัฒนาการตามธรรมชาติ

การพัฒนามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น คน วัสดุ การจัดการ แต่ปัญหา การพัฒนาในทุกด้านจะสําเร็จได้ ถ้าการพัฒนาคนได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยมนุษย์เป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่สุดของการพัฒนา

 

POL3313 การบริหารการพัฒนา S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายความหมายและลักษณะ ข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.4

1.1 การพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 5 – 6),

ความหมายของการพัฒนา Edward w. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการ ที่ให้ความหมายของการพัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม

2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศที่ กําลังพัฒนา เป็นต้น

3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goat Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย

4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้อง มีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ

1.2 การบริหารการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนา เป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

1.3 ภาวะความทันสมัย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 7)

Eisenstaedt เห็นว่า ความทันสมัย หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบ การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ

Wilbert E. Moore เห็นว่า ความทันสมัย หมายถึง การแปลงรูประดับส่วนรวมของสังคมโบราณ หรือสังคมที่ยังไม่เจริญไปสู่การยอมรับเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ และการขยายตัวขององค์กรสังคมในรูปสมาคม อันเป็นลักษณะเด่นชัดของบรรดาชาติทั้งหลายในโลกตะวันตก ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจรุ่งเรือง และมีระบบการเมือง ที่มีเสถียรภาพ

Fred W. Riggs เห็นว่า ความทันสมัย หมายถึง การที่คนหรือสังคมใดก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้อง กับการลอกเลียนแบบยืมเอาไป หรือนําไปปรับใช้ ไม่ว่าต้นแบบ สถาบัน หรือการปฏิบัติของต่างประเทศ เพื่อให้สังคม ของตนมีฐานะดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก ทั้งนี้โดยรักษาและคงไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงามเป็นเอกลักษณ์ ของตัวเอง

กล่าวโดยสรุป ความทันสมัย เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องอาศัยแบบอย่างจาก ต่างประเทศหรืออาจจะได้มาโดยวิธีการต่าง ๆ

1.4 คุณลักษณะร่วม 4 ประการของการบริหารการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20)

การบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่า การบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ในประเทศ กําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจที่ เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์จะเจริญรอย ตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

 

ข้อ 2 การบริหารเพื่อการพัฒนามีความแตกต่างกับการพัฒนาการบริหารอย่างไร จงอธิบายมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31), (คําบรรยาย) การบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมีความแตกต่างกัน คือ

ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญคือ การมีนโยบายและโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การมีนโยบายและโครงการพัฒนา ขึ้นมานั้น รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะต้องมีการจัดองค์การขึ้นมาเพื่อที่จะให้ดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย ในการพัฒนา การจัดองค์การขึ้นเพื่อทําหน้าที่นี้จึงเป็นเรื่องของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

เมื่อองค์การได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เรื่องที่สําคัญก็คือความสามารถในการบริหารงานให้ สําเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านคน เงิน วัสดุ และการจัดการ หรืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องของ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

ข้อ 3 การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) หมายถึงอะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้างการที่จะพัฒนาองค์ประกอบดังกล่าวต้องทําอย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 51 – 58)

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้สามารถ ดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) มีดังนี้

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรม การทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อย แต่จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกัน มากนัก แต่ระบบการทํางานหรือกระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้ จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสื่อข้อความ นอกจากนั้นในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่การบริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการ ทํางานของคนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมาย แต่เพียงอย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็น การเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ ซับซ้อนกว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน โดยเฉพาะตัวแปรเชิงจิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพ

ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและ สังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบการลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์ แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลง ในด้านอื่น ๆ

 

ข้อ 4 จงอธิบายทฤษฎีการพัฒนาการบริหาร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร 10 ประการ มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 31, 34 – 37, 51 – 58, 94 – 99),

(เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57 – 63), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration)

ระบบบริหารมีหน้าที่ที่สําคัญ คือ การนํากฎระเบียบของสังคมที่ได้บัญญัติไว้แล้วนั้นไป ดําเนินการให้เป็นจริงหรือเป็นรูปธรรม หรือการนํานโยบายไปปฏิบัติ การพัฒนาการบริหารในลักษณะเช่นนี้ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้องนํานโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุ เป้าหมายและวัตถุประสงค์

นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารไว้เป็น 2 มิติ คือ มิติความ สมดุลของการพัฒนา (Balanced Administration Growth) กับความไม่สมดุลของการพัฒนา (Unbalanced Administration Growth) และมิติการพัฒนาระบบบริหารแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) หรือแบบรวบยอด กับค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบสะสมทีละน้อย (Incremental) ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวทางทั้ง 2 มิติ อาจกล่าว ได้ว่าการพัฒนาการบริหารมี 4 แนวทาง ได้แก่

1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ (Balanced and Comprehensive) คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการบริหารไปพร้อม ๆ กัน ระดมทรัพยากรจากทุกด้าน ปฏิรูป องค์ประกอบของระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันภายในระยะเวลาอันสั้น และเป็นการวางแผนให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานวางแผนกลาง

2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Balanced and Incremental) เป็นการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ทุกกิจกรรมสามารถสนับสนุนซึ่งกัน และกันอย่างมีเหตุผล และลดแรงกดดันจากพลังต่อต้านเนื่องจากบางส่วนได้รับทรัพยากรในการพัฒนาแต่บางส่วน ไม่ได้รับ และต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้โดยไม่คํานึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลง จึงใช้แนวทางการพัฒนาแบบให้ มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ มีการพัฒนาในทุกส่วนพร้อม ๆ กันหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่ให้ส่วนใดเปลี่ยนแปลงไปมากจนส่วนอื่นตามไม่ทัน

3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด (Unbalanced and Comprehensive) เป็นการพัฒนาที่มีแนวคิดว่า ระบบราชการเป็นกลไกที่สําคัญที่สุดของการพัฒนา โดยจะให้ ความสําคัญกับองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น รวมทั้ง เป็นการวางแผนหรือกําหนดนโยบายจากส่วนกลาง ซึ่งปกติมักเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุ่มงบประมาณหรือการ ให้เงินจํานวนมากไปพัฒนา

4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Unbalanced and Incremental) เป็นการพัฒนาโดยให้ความสําคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการไม่เร่งรัดการเปลี่ยนแปลง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสะสมทีละเล็กทีละน้อย เป็นการวางแผนระยะยาว

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูบจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่แผนการ ปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ก็มีน้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนทาง การเมืองอย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้อํานาจ อย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูป ระบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่ง ภายใต้นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้า เนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาเนิ่นนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของ นโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการ ปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อยใน แผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับ และนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้

มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้หรือ วิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบสารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบายไปปฏิบัติให้ บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของผู้ปฏิบัติงาน ก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วยการเสนอให้มี การประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับพฤติกรรมของ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงที่จะผลักดัน นโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป : จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึง อาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับ การยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทําการ ปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการวางแผน ปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง มากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จตาม วัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการทั้งใน ด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้งได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก. แต่หากได้รับการยอมรับ แล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูปใน เชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการปฏิรูป การทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทํา จะทําให้โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูป ไปปฏิบัติมีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูก ทดลองหรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติ ให้บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

POL3313 การบริหารการพัฒนา 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมยกตัวอย่างโครงการพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) มา 1 โครงการ

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 103 – 107), (คําบรรยาย)

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคํานึงถึงความพอเพียง ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจน ใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทํา ทั้งนี้ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ สมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการ ต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และ ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

เศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้

1 กรอบแนวคิด คือ เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดํารงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวะตั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

2 คุณลักษณะ คือ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ใน ทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

3 คํานิยาม คือ ความพอเพียงที่ประกอบกันขึ้นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะต้อง ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1) ความพอประมาณ หมายถึง ความเหมาะสมของการดําเนินงาน ทั้งในแง่ของ ขนาดที่ไม่เล็กเกินไปหรือไม่ใหญ่จนเกินตัว แต่เป็นไปตามอัตภาพและสภาพแวดล้อม และในแง่ของจังหวะเวลาที่ ไม่เร็วเกินไปหรือไม่ช้าจนเกินไป แต่รู้จักทําเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดําเนินงานมีความก้าวหน้า โดยไม่ทําให้ตัวเอง และผู้อื่นเดือดร้อน เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ เป็นต้น

2) ความมีเหตุผล หมายถึง การพิจารณาที่จะดําเนินงานใด ๆ ด้วยความถี่ถ้วน รอบคอบ ไม่ย่อท้อ ได้อคติ คํานึงถึงเหตุและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ดีงาม เกิดประสิทธิผล เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ดังนั้นความมีเหตุผล จึงเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การจัดองค์ประกอบของการดําเนินงานให้มี สภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกได้เป็นอย่างดี การ เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4 เงื่อนไข คือ การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1) เงื่อนไขความรู้ หมายถึง องค์ประกอบของการดําเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่าง ถูกต้อง ประกอบด้วยความรอบรู้ ความระลึกรู้ (สติ) และความรู้ชัด (ปัญญา)

2) เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง องค์ประกอบของการดําเนินงานเพื่อให้เป็นไปอย่าง ดีงาม ประกอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน/ความเพียร และความรอบคอบระมัดระวัง

5 แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ จากการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

เศรษฐกิจพอเพียง จําแนกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1 เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่ 1 เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียง ในระดับบุคคลและครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ความต้องการในปัจจัย 4 ของตนเองและครอบครัวได้ มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกลมเกลียวและมีความพอเพียงในการดําเนินชีวิตด้วยการประหยัด และการลด ค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น จนสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ

2 เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่ 2 เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียง ในระดับกลุ่มหรือองค์การ คือ เมื่อบุคคลหรือครอบครัวมีความพอเพียงในระดับที่หนึ่งแล้ว ก็จะรวมพลังกันในรูป กลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมกันดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน

3 เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่ 3 เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียง ในระดับเครือข่าย คือ เมื่อกลุ่มหรือองค์การมีความพอเพียงในระดับที่สองแล้ว ก็จะร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อการสร้างเครือข่าย มีการติดต่อร่วมมือกับธนาคาร และบริษัทต่าง ๆ ทั้งในด้านการลงทุน การผลิต การตลาด การจําหน่าย และการบริหารจัดการ เพื่อขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านสวัสดิการ การศึกษาสังคมและศาสนา ให้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

จะเห็นได้ว่าการจําแนกเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ระดับข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่เริ่มต้น จากหลักของพึ่งตนเอง โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาตนเองไม่ได้หรือต้องคอยอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา (Dependent) เป็นการพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็ง เป็นอิสระ (Independent) แล้วจึงค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มช่วยเหลือกันจนนําไปสู่การพึ่งพิงกัน (Inter-Dependent) สงเคราะห์เกื้อกูล ร่วมมือกัน และประสาน กับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของการบริหารการพัฒนาและลักษณะสําคัญของการบริหารการพัฒนาประเทศไทย ตามหัวข้อต่อไปนี้

2.1 การบริหารงานภาครัฐ

แนวคําตอบ : (คําบรรยาย)

การบริหารรัฐกิจ (Public Administration) คือ การบริหารงานในภาครัฐ

การบริหารรัฐกิจ เป็นการดําเนินงานของทางราชการ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่วางไว้ เป็นกิจกรรมทั้งหลายของฝ่ายบริหารที่จะทําให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผล โดยไม่รวมเอาการใช้อํานาจนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย

2.2 การบริหารเพื่อการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95), (คําบรรยาย)

ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้อง มีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

2.3 การพัฒนาการบริหาร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 31), (คําบรรยาย)

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

 

2.4 การมีวัตถุประสงค์หรือมีจุดหมายปลายทางเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศ

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (คําบรรยาย)

การบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมีความแตกต่างกัน คือ ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญคือ การมีนโยบายและโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การมีนโยบายและโครงการพัฒนา ขึ้นมานั้น รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะต้องมีการจัดองค์การขึ้นมาเพื่อที่จะให้ดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย ในการพัฒนา การจัดองค์การขึ้นเพื่อทําหน้าที่นี้จึงเป็นเรื่องของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) โดยมีวัตถุประสงค์หรือมีจุดหมายปลายทางเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศ

เมื่อองค์การได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เรื่องที่สําคัญก็คือความสามารถในการบริหารงานให้ สําเร็จตามเป้าเหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านคน เงิน วัสดุ และการจัดการ หรืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องของ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

 

ข้อ 3 จงอธิบายองค์ประกอบของ “การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration)” ด้านโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 51 – 58)

องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) มีดังนี้

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรม การทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่ แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อย แต่จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ เป็นต้น

การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกัน มากนัก แต่ระบบการทํางานหรือกระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้ จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสื่อข้อความ นอกจากนั้นในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่ การบริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการทํางาน ของคนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมายแต่เพียง อย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ซับซ้อน กว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน โดยเฉพาะตัวแปรเชิง จิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพ ส่วนตัว ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและ สังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบการลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์ แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลง ในด้านอื่น ๆ

 

ข้อ 4 จงอธิบายทฤษฎีการพัฒนาการบริหาร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร 10 ประการมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 31, 34 – 37, 51 – 58, 94 – 99),

(เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57 – 63), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration)

ระบบบริหารมีหน้าที่ที่สําคัญ คือ การนํากฎระเบียบของสังคมที่ได้บัญญัติไว้แล้วนั้นไป ดําเนินการให้เป็นจริงหรือเป็นรูปธรรม หรือการนํานโยบายไปปฏิบัติ การพัฒนาการบริหารในลักษณะเช่นนี้เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้องนํานโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์

นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารไว้เป็น 2 มิติ คือ มิติ ความสมดุลของการพัฒนา (Balanced Administration Growth) กับความไม่สมดุลของการพัฒนา (Unbalanced Administration Growth) และมิติการพัฒนาระบบบริหารแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) หรือแบบรวบยอด กับค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบสะสมทีละน้อย (Incremental) ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวทางทั้ง 2 มิติ อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาการบริหารมี 4 แนวทาง ได้แก่

1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ (Balanced and Comprehensive) คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการบริหารไปพร้อม ๆ กัน ระดมทรัพยากรจากทุกด้าน ปฏิรูป องค์ประกอบของระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันภายในระยะเวลาอันสั้น และเป็นการวางแผนให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานวางแผนกลาง

2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Balanced and Incremental) เป็นการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ทุกกิจกรรมสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่างมีเหตุผล และลดแรงกดดันจากพลังต่อต้านเนื่องจากบางส่วนได้รับทรัพยากรในการพัฒนาแต่บางส่วนไม่ได้รับ และต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้โดยไม่คํานึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลง จึงใช้แนวทางการพัฒนาแบบให้มีการ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ มีการพัฒนาในทุกส่วนพร้อม ๆ กันหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่ให้ส่วนใด เปลี่ยนแปลงไปมากจนส่วนอื่นตามไม่ทัน

3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด (Unbalanced and Comprehensive) เป็นการพัฒนาที่มีแนวคิดว่า ระบบราชการเป็นกลไกที่สําคัญที่สุดของการพัฒนา โดยจะให้ ความสําคัญกับองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น รวมทั้ง เป็นการวางแผนหรือกําหนดนโยบายจากส่วนกลาง ซึ่งปกติมักเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุ่มงบประมาณหรือการ ให้เงินจํานวนมากไปพัฒนา

4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Unbalanced and Incremental) เป็นการพัฒนาโดยให้ความสําคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการไม่เร่งรัดการเปลี่ยนแปลง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสะสมทีละเล็กทีละน้อย เป็นการวางแผนระยะยาว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่ แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุ เป้าหมายก็มีน้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุน ทางการเมืองอย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้ อํานาจอย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูป ระบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่ง ภายใต้นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ –

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้า เนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาที่เนิ่นนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของ นโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด

คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการ ปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อยใน แผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับ และนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้ หรือวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบ สารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของ ผู้ปฏิบัติงานก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วย การเสนอให้มีการประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับ พฤติกรรมของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหารระดับสูง ที่จะผลักดันนโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึง อาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับ การยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทําการ ปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการวางแผน ปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง มากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการ ปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้ง ได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก แต่หากได้รับการ ยอมรับแล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูป ในเชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการ ปฏิรูปการทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทํา จะทําให้โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูป ไปปฏิบัติมีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูกทดลอง หรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติให้ บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

POL3313 การบริหารการพัฒนา 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบาย

1.1 ความหมายของการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 5 – 6)

ความหมายของการพัฒนา

Edward W. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการที่ให้ความหมายของการพัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม

2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศ ที่กําลังพัฒนา เป็นต้น

3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goal Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย

4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้น จะต้องมีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ

1.2 ความหมายของการบริหารการพัฒนา และคุณลักษณะร่วม 4 ประการ

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goal Oriented) และ มีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ซึ่งการบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะ ร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่า การบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ ในประเทศกําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเซีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจ ที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์จะ เจริญรอยตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

1.3 ความหมายและความแตกต่างของการบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31),

(คําบรรยาย) ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้อง มีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมีความแตกต่างกัน คือ

ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญคือ การมีนโยบายและโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การมีนโยบายและโครงการพัฒนา ขึ้นมานั้น รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะต้องมีการจัดองค์การขึ้นมาเพื่อที่จะให้ดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย ในการพัฒนา การจัดองค์การขึ้นเพื่อทําหน้าที่นี้จึงเป็นเรื่องของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

เมื่อองค์การได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เรื่องที่สําคัญก็คือความสามารถในการบริหารงานให้ สําเร็จตามเป้าเหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านคน เงิน วัสดุ และการจัดการ หรืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องของ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

 

ข้อ 2 จงอธิบายขั้นตอนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงและองค์ประกอบของ “การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration)” ด้านโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 51 – 58)

ขั้นตอนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงและองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) มีดังนี้

1 ขั้นการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาความไร้ประสิทธิภาพของระบบบริหาร เช่น ปัญหาและอุปสรรคความล้มเหลวของประเทศกําลังพัฒนา เกิดจากอุปสรรคในการระดมเงินออมทั้งภายในและ ภายนอกประเทศเพื่อที่จะนํามาลงทุนเพื่อก่อให้เกิดการผลิตตามแบบการพัฒนาของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปตะวันตก แต่เป็นไปไม่ได้เพราะขาดเงินออม

2 ขั้นการสร้างการยอมรับให้มีการเปลี่ยนแปลง การโน้มน้าวใจบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลง ตลอดจนการวางแผนให้มีการเปลี่ยนแปลง กําหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ดําเนินการพร้อมทั้งศึกษา ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลง กรณีที่สถานการณ์ไม่แน่นอนอาจใช้การทดลองหรือสาธิต คือ การทําให้เป็น โครงการนําร่อง ให้มีการทดลองนําแนวคิดนั้นมาปฏิบัติเพื่อให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาก่อนก็ได้

3 ขั้นการนําแผนไปปฏิบัติ คือ ขั้นตอนของการนํายุทธศาสตร์การพัฒนาไปกําหนดเป็นกิจกรรม ดําเนินงาน นโยบายแห่งรัฐตามที่รัฐธรรมนูญกําหนดนโยบายรัฐบาลและความต้องการของประชาชนเป็นกรอบสําคัญ ในการกําหนดยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ ที่เรียกว่า การบริหารที่ยึดวาระแห่งชาติ (Agenda-Based) รัฐบาล จัดรูปแบบองค์การแนวใหม่

4 ขั้นการประเมินผล และการนําผลการประเมินมาปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาเสียใหม่ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่กิจกรรมการพัฒนาการบริหารได้ดําเนินการไปแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงควรจัดให้มีการ ทบทวนประเมินผลว่าแต่ละกิจกรรมนั้นมุ่งไปสู่เป้าหมายใหญ่ร่วมกันหรือไม่ หากพบว่าได้มีการเบี่ยงเบนไปจาก เป้าหมายใหญ่หรือไม่สอดคล้องกัน ก็ต้องมีการปรับกิจกรรมให้มุ่งสู่เป้าหมายได้ทันท่วงที ส่วนใหญ่ผู้บริหารมักจะ ตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินขึ้นตรงต่อผู้บริหารเอง เช่น การมีผู้ตรวจราชการประจํากระทรวง ผู้ตรวจราชการ ประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

ขั้นตอนต่าง ๆ ทั้ง 4 ขั้นตอนเป็นรายละเอียดในการพัฒนาแต่ละองค์ประกอบของระบบบริหาร แต่มีสิ่งที่ควรแก้ไข ได้แก่

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรม การทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อย จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ เป็นต้น

การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ระบบการทํางานหรือกระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้ จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสื่อข้อความ นอกจากนั้นในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่ การบริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการทํางาน ของคนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมายแต่เพียง อย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็น การเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ ซับซ้อนกว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน (โดยเฉพาะตัวแปร เชิงจิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพ ส่วนตัว ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและ สังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบการลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์ แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลง ในด้านอื่น ๆ

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายถึงบรรทัดฐานของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการพัฒนาองค์กรมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลน :46 หน้า 3)

บรรทัดฐานของเกะนฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ มี 7 ประการ ดังนี้

1 ภาวะความเป็นผู้นํา เป็นการศึกษาว่าผู้บริหารอาวุโสขององค์กรนําพาองค์กรไปใน ทิศทางใดและบริษัทได้กล่าวถึงภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และความเป็นพลเมืองที่ดีไว้อย่างไรบ้าง

2 การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการศึกษาทิศทางกลยุทธ์ที่บริษัทวางแผนไว้ และวิธีการหรือ แผนการดําเนินงานเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล

3 การให้ความสําคัญที่ลูกค้าและตลาด ศึกษาว่าบริษัทกําหนดวิธีดําเนินงานเพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าและตลาดอย่างไร

4 การวิเคราะห์และเตรียมข้อมูล เป็นการศึกษาวิธีการจัดการการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนรายละเอียดเพื่อสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการดําเนินงานที่สําคัญ ๆ ของบริษัท รวมถึงระบบการจัดการด้านการดําเนินงานของบริษัท

5 การให้ความสําคัญแก่ทรัพยากรมนุษย์ เป็นการศึกษาดูว่าบริษัทสามารถนํากําลังคน มาใช้พัฒนาศักยภาพของบริษัทได้อย่างเต็มกําลังความสามารถหรือไม่ และแรงงานที่มีได้รับการมอบหมายการ ดําเนินงานให้ตอบสนองต่อเป้าหมายของบริษัทหรือไม่

6 การจัดการกระบวนการ เป็นการศึกษาแง่มุมการดําเนินงานต่าง ๆ เช่น การผลิต การส่งสินค้า กระบวนการสนับสนุนว่า ได้รับการออกแบบหรือการจัดการ และได้รับการปรับปรุงพัฒนาวิธีการอย่างไร

7 ผลการดําเนินงานทางธุรกิจ เป็นการศึกษาผลการดําเนินงาน และการปรับปรุงบริษัท ในแง่มุมดังนี้ ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า ผลการดําเนินงานด้านการเงิน การตลาด และทรัพยากรบุคคล ผลการ ดําเนินงานของบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบ (Supplier) และหุ้นส่วนธุรกิจ ผลการดําเนินงานในระดับปฏิบัติการโดยเป็น การศึกษาเปรียบเทียบกับวิธีการของคู่แข่ง

 

ข้อ 4 ให้นักศึกษาอธิบายเปรียบเทียบสถานภาพขององค์ความรู้ทางการบริหารรัฐกิจในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

แนวคําตอบ เอกสารหมายเลข 7 หน้า 1 – 2)

สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ

จากปฏิทินการบริหารรัฐกิจที่เสนอในหนังสือ Classic of Public Administration, 2005 จะพบว่า สถานภาพของการบริหารรัฐกิจได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ําเสมอ เริ่มจากปี ค.ศ. 1776 ประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศเอกราชจนกระทั่งก่อนปี ค.ศ. 1887 การบริหารรัฐกิจของอเมริกายังอยู่ในขั้นของการ วางรากฐานของกระบวนทัศน์เท่านั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 เป็นต้นมา การบริหารรัฐกิจของอเมริกาเริ่มปรับตัวเข้าสู่ กระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแบบเฉพาะที่แตกต่างจากประเทศในยุโรป การบริหารรัฐกิจ จึงค่อย ๆ แยกตัวออกจากรัฐศาสตร์หรือการเมือง สถานภาพของการบริหารรัฐกิจในช่วงนี้อยู่ระหว่างการสร้าง

เอกลักษณ์กระบวนทัศน์ แนวคิดและทฤษฎีของตน ต่อมาได้มีการพบว่า ยิ่งการบริหารรัฐกิจแสวงหาความเป็นเอกลักษณ์ของตนเท่าใดก็ยิ่งถอยห่างออกจากความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น เพราะการบริหารรัฐกิจมีลักษณะเป็น วิชาชีพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐศาสตร์

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 – 1968 การบริหารรัฐกิจได้พัฒนาวิชาชีพของตน เพื่อรับใช้ระบบราชการ ได้อย่างกว้างขวาง ขอบข่ายของการบริหารรัฐกิจได้พัฒนาและขยายตัวออกจากขอบข่ายดั้งเดิมที่เป็นการบริหารงาน บุคคล งานคลังและงานองค์การ โดยขยายเป็นการบริหารนโยบายการบริหารพัฒนา การบริหารงบประมาณ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารแรงงานสัมพันธ์ การบริหารงานองค์การปกครองท้องถิ่น การบริหารงาน ตุลาการ การบริหารรัฐสภา การบริหารงานรัฐบาล และการบริหารความมั่นคงสาธารณะ

และในปี ค.ศ. 1968 ได้เกิดคลื่นลูกใหม่ในวงวิชาการบริหารรัฐกิจ หรือเกิดปรากฏการณ์ที่ เรียกว่า การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ (New Public Administration) โดยนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้มุ่งเน้นความสนใจ ไปที่ความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากการเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา สถานภาพของการบริหารรัฐกิจก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก ครั้งหนึ่ง เพราะได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการหลังนวยุค (Postmodern) ซึ่งคําว่า หลังนวยุคหรือหลังสมัยใหม่นี้ หมายความว่า ความจริงย่อมแตกต่างไปตามกาลเทศะ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีชุดความเป็นจริงของตนเอง ด้วยกันทั้งนั้น และไม่มีระบบความเชื่อชุดใดชุดหนึ่งที่สามารถอธิบายความจริงได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ว่าเรา จะทําอะไรก็แล้วแต่เราต้องอาศัยความหลากหลายจากหลายฝ่าย การมีส่วนร่วม การเสริมพลังอํานาจ และการยอม ให้มีทางเลือกต่าง ๆ ในการพิจารณาความเชื่อต่าง ๆ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผูกขาดวิธีคิด การใช้ระบบเหตุผล และการสร้างมาตรฐานสากล โดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่สามารถเข้าถึงความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรยึดวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทุกเรื่อง แต่ต้องทําความเข้าใจร่วมกันในวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมตลอดถึงไม่ควรมีการจัดรูปแบบความคิดหรือสร้างกฎเกณฑ์สากลมาครอบงํา แต่ควรจะยอมรับความแตกต่างและ ความขัดแย้งตามข้อเท็จจริง

แม้ว่าการบริหารรัฐกิจจะได้รับผลกระทบจากแนวคิดหลังนวยุค แต่สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงทิศทางหรือมุมมองของตนแต่อย่างใด ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาความรู้ทางการจัดการผลิตภาพและ คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้มีการดึงการจัดการ (Management) ให้เข้าสู่สถานภาพการจัดการภาครัฐ (Public Management) เพื่อเสริมสร้างหลักการบริหารพัฒนาของวิชาการบริหารรัฐกิจซึ่งเห็นเด่นชัดขึ้นนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะที่โดดเด่นมากก็คือ ผลงาน Reinventing (Government ของ Osborne และ Gaebler ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 และผลงาน Productivity and Quality Management ของ Holzer ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1995

 

 

 

POL3313 การบริหารการพัฒนา S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) และการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A) หมายถึงอะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31),

(คําบรรยาย) ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้อง มีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมีความแตกต่างกัน คือ ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญคือ การมีนโยบายและโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การมีนโยบายและโครงการ พัฒนาขึ้นมานั้น รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะต้องมีการจัดองค์การขึ้นมาเพื่อที่จะให้ดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จ ตามเป้าหมายในการพัฒนา การจัดองค์การขึ้นเพื่อทําหน้าที่นี้จึงเป็นเรื่องของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

เมื่อองค์การได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เรื่องที่สําคัญก็คือความสามารถในการบริหารงานให้ สําเร็จตามเป้าเหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านคน เงิน วัสดุ และการจัดการ หรืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องของ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration 😀 of A)

 

ข้อ 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหารมีอะไรบ้าง มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริหารการพัฒนาในประเทศไทย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 94 – 99), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57 – 63) .

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่แผนการ ปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็มี น้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนทางการเมือง อย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้อํานาจอย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูประบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่งภายใต้นโยบายด้าน การบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้า เนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาที่เนินนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของนโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อยใน แผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับ และนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้ หรือวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบ สารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของ ผู้ปฏิบัติงานก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วย การเสนอให้มีการประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับ พฤติกรรมของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหารระดับสูง ที่จะผลักดันนโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึง อาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับ การยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทําการ ปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการวางแผน ปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงมากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการ ปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้งได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก แต่หากได้รับการยอมรับ แล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูปใน เชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการปฏิรูป การทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทํา จะทําให้โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูป ไปปฏิบัติมีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูก ทดลองหรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติ ให้บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายถึงแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ แล้วอธิบายว่าแนวคิดเหล่านี้ สามารถนํามาใช้ในการบริหารพัฒนาประเทศไทยได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 4 – 9)

แนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการดําเนินงานขององค์กร เป็นสําคัญ โดยแนวคิดนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการปรับปรุงวิธีการดําเนินงาน ความสามารถและผลลัพธ์ขององค์การ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแบ่งปันสารสนเทศ ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างองค์กรต่าง ๆ อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนํามาใช้ในการจัดการดําเนินการขององค์กร รวมถึงใช้เป็นแนวทางในการวางแผน และเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ พอสรุปได้ดังนี้

1 การนําองค์กร เป็นวิธีการบริหารที่ผู้นําระดับสูงนํามาใช้อย่างเป็นทางการ และอย่าง ไม่เป็นทางการทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานและวิธีการใช้ในการตัดสินใจเรื่องที่สําคัญ การสื่อสารและการนําไปปฏิบัติ รวมถึงโครงสร้างและกลไกในการตัดสินใจ การเลือกสรรและการพัฒนาผู้นํา รวมทั้งกระแส โครงสร้างค่านิยม พฤติกรรมที่มีจริยธรรม ทิศทางและความคาดหวังด้านผลการดําเนินการ

2 การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร เป็นการปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจร การประเมินผลและการปรับปรุง มีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทางโดยใช้ นวัตกรรม การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมกับหน่วยงาน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง ภายในองค์กร

การเรียนรู้เน้นความรู้หรือทักษะใหม่ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษาประสบการณ์ และนวัตกรรม ซึ่งประกอบกับการเรียนรู้ขององค์กรที่ได้มาจากการวิจัยและการพัฒนาวงจรการประเมิน และ การปรับปรุง ความคิดและปัจจัยนําเข้าอื่น ๆ จากบุคลากรและลูกค้าขององค์กร การแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการจัดระดับเทียบเคียง ส่วนการเรียนรู้ของบุคลากรจะได้มาจากการศึกษา การฝึกอบรม และโอกาสในการ พัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของแต่ละบุคคล

การที่องค์กรจะบรรลุผลการดําเนินการที่เป็นเลิศได้ องค์กรจะต้องมีแนวทางที่ปฏิบัติ ได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของแนวทางที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่นําไปสู่เป้าหมายและแนวทางใหม่ ๆ โดยการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรใน องค์กรจะต้องถูกปลูกฝังลงไปในทุกแนวทางที่องค์กรปฏิบัติการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

3 การมุ่งเน้นผลลัพธ์ หมายถึง การใช้ผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อสนองคุณค่าและรักษา ความสมดุลของคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย การสร้างคุณค่าให้สมดุลนี้จึงเกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้น ลูกค้า/ประชาชน การให้ความสําคัญกับบุคลากร การมุ่งเน้นอนาคตและความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

การมุ่งเน้นลูกค้าประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้ตัดสินคุณภาพและผลดําเนินการ ขององค์กร เพราะฉะนั้นองค์กรจึงต้องคํานึงถึงรูปแบบ และคุณลักษณะทั้งหมดของผลิตภัณฑ์และบริการ

การให้ความสําคัญกับบุคลากร/พนักงานภายในองค์กร เป็นแนวทางการดําเนินการ ที่มุ่งสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานหรือบุคลากรมีความพึงพอใจในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพ ของงานและความสําเร็จขององค์กร

การมุ่งเน้นอนาคต เป็นแนวทางการดําเนินการที่มีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร โดย องค์กรจะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ การตลาด การเป็นผู้นําในตลาด และการมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคม การบําเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เกี่ยวข้องกับการนําองค์กร และการสนับสนุนจุดประสงค์ที่สําคัญด้านสาธารณะ รวมถึงการปรับปรุงด้านการศึกษาและสุขอนามัยของชุมชน การทําให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี การอนุรักษ์ทรัพยากร การให้บริการชุมชน การปรับปรุงวิธีปฏิบัติขององค์กรและ อุตสาหกรรม และการแบ่งปันสารสนเทศที่ไม่เป็นความลับทางองค์กร

4 การจัดการองค์กร การจัดองค์กร เป็นการจัดการกระบวนการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งมีนัยยะสําคัญต่อองค์การในด้านการสร้างคุณค่าต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ การจัดการองค์กรยังเป็นกระบวนการสนับสนุนที่สําคัญในการวางแผนดําเนินงาน โดยจะคํานึงถึงการจัดการด้าน การเงินและการวางแผนให้สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามหลักการแล้ว การจัดการองค์กรจะเน้น การวิเคราะห์ไปที่ส่วนสําคัญ 3 ประการ คือ ความคล่องตัว นวัตกรรม และการใช้ข้อมูลจริง

5 การจัดการเชิงระบบ แนวคิดนี้แสดงให้เห็นในกรอบการบริหารจัดการตามแนวทาง รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นมุมมองเชิงระบบที่ครอบคลุมถึงการที่ผู้นําระดับสูงมุ่งเน้นทิศทางเชิงกลยุทธ์และ มุ่งเน้นลูกค้า โดยผู้นําระดับสูงจะทําการตรวจ ติดตาม ปรับปรุงแก้ไข และจัดการผลการดําเนินการโดยระดับผลลัพธ์ ทางธุรกิจหรืองานบริการ นอกจากนี้การจัดการระบบยังรวมถึงการใช้ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัด และความรู้ขององค์การ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่สําคัญและเชื่อมโยงกลยุทธ์ต่าง ๆ เข้ากับกระบวนการที่สําคัญและการจัดสรรทรัพยากรให้มี ความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อปรับปรุงผลการดําเนินการโดยรวมและทําให้ลูกค้าพึงพอใจ

 

ข้อ 4 ให้นักศึกษาอธิบายมินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาว่าสามารถนํามาช่วยปรับปรุงสมรรถนะของการบริหารองค์การให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 244 หน้า 10 – 11)

มินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

นับตั้งแต่รัฐบาลอเมริกันได้จัดทําโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี โดยมีการบริหารงานแบบ ภายนอกที่มุ่งเน้นการติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ให้มาสนับสนุนโครงการพัฒนาของหน่วยงานนั้น ได้รับความสําเร็จ เป็นอย่างมาก การบริหารงานแบบภายนอกนี้ได้รับการศึกษาเรื่อยมา

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1962 Weidner ได้เรียกการศึกษานี้ว่า “การบริหารการพัฒนา” หลังจากนั้น ศัพท์ใหม่นี้ก็ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นมินิพาราไดม์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

ในทศวรรษ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหาร เพื่อให้ องค์การบริหารสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ประชาชนได้ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด ไม่สิ้นเปลือง และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษและความเสื่อมโทรม เน้นการพัฒนาประเทศร่วมกันระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน โดยส่งเสริมการประกอบการแบบเสรีและสนับสนุนการบริหารแบบประชาธิปไตย และเน้น การเมืองของการปฏิบัติตามนโยบายพัฒนาโดยใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ทางการบริหารร่วมกับการต่อรองทางการเมือง

การบริหารการพัฒนามีจุดเน้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในทศวรรษที่ 1960 การบริหาร การพัฒนาเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์

ในทศวรรษที่ 1970 การบริหารการพัฒนาจะมุ่งเน้นความสนใจไปที่ความเสมอภาคทางสังคม การกระจายอํานาจ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของชาวชนบท

ในทศวรรษที่ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหารหรือ เรพัฒนาการบริหาร โดยการจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม การบริหารให้มีสมรรถนะหรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมสําหรับ การพัฒนาประเทศ

ในทศวรรษที่ 1990 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการบริหารเพื่อการพัฒนา โดยการนําสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบการบริหารมาปฏิรูปตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

และในปัจจุบันนี้ต่างก็ทราบกันดีว่าการพัฒนาประเทศจะต้องอาศัยการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ในเบื้องต้นจะต้องมีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารงานภายในองค์การราชการ ให้มี สมรรถนะสูงจนสามารถตอบสนองภารกิจของการบริหารเพื่อพัฒนา (Administration of Development) และ เมื่อองค์การราชการมีสมรรถนะในการบริหาร รัฐบาลย่อมสามารถบริหารโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาชุมชนเมือง ชนบท รัฐวิสาหกิจ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การศึกษา ประชากร สาธารณสุขและอื่น ๆ

โดยหลักการสําคัญทางบริหารการพัฒนาอยู่ตรงที่ว่า ระบบราชการสามารถแปลงนโยบาย การพัฒนาออกมาเป็นแผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการและกิจกรรมการพัฒนาที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบันนิยมใช้หลายมินิพาราไดม์มาศึกษา ระบบราชการเป็นส่วน ๆ แล้วเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบราชการอย่างเป็นส่วน ซึ่งก่อให้เกิดผลดีคือ ไม่ต้องรอให้มีการปฏิรูประบบราชการพร้อมกัน หน่วยราชการใดก็สามารถปฏิรูปก่อนได้ ทําให้ระบบราชการ มีความทันสมัยขึ้นเป็นอันมาก

POL3313 การบริหารการพัฒนา 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายเปรียบเทียบสถานภาพขององค์ความรู้ทางการบริหารรัฐกิจในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข หน้า 1 – 2)

สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ

จากปฏิทินการบริหารรัฐกิจที่เสนอในหนังสือ Classic of Public Administration, 2005 จะพบว่า สถานภาพของการบริหารรัฐกิจได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ําเสมอ เริ่มจากปี ค.ศ. 1776 ประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศเอกราชจนกระทั่งก่อนปี ค.ศ. 1887 การบริหารรัฐกิจของอเมริกายังอยู่ในขั้นของการ วางรากฐานของกระบวนทัศน์เท่านั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 เป็นต้นมา การบริหารรัฐกิจของอเมริกาเริ่มปรับตัวเข้าสู่ กระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแบบเฉพาะที่แตกต่างจากประเทศในยุโรป การบริหารรัฐกิจ จึงค่อย ๆ แยกตัวออกจากรัฐศาสตร์หรือการเมือง สถานภาพของการบริหารรัฐกิจในช่วงนี้อยู่ระหว่างการสร้าง เอกลักษณ์กระบวนทัศน์ แนวคิดและทฤษฎีของตน ต่อมาได้มีการพบว่า ยิ่งการบริหารรัฐกิจแสวงหาความเป็น เอกลักษณ์ของตนเท่าใดก็ยิ่งถอยห่างออกจากความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น เพราะการบริหารรัฐกิจมีลักษณะ เป็นวิชาชีพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐศาสตร์

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 – 1968 การบริหารรัฐกิจได้พัฒนาวิชาชีพของตน เพื่อรับใช้ระบบราชการ ได้อย่างกว้างขวาง ขอบข่ายของการบริหารรัฐกิจได้พัฒนาและขยายตัวออกจากขอบข่ายดั้งเดิมที่เป็นการบริหารงาน บุคคล งานคลังและงานองค์การ โดยขยายเป็นการบริหารนโยบายการบริหารพัฒนา การบริหารงบประมาณ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารแรงงานสัมพันธ์ การบริหารงานองค์การปกครองท้องถิ่น การบริหารงาน ตุลาการ การบริหารรัฐสภา การบริหารงานรัฐบาล และการบริหารความมั่นคงสาธารณะ

และในปี ค.ศ. 1963 ได้เกิดคลื่นลูกใหม่ในวงวิชาการบริหารรัฐกิจ หรือเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ (New Public Administration) โดยนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้มุ่งเน้นความสนใจ ไปที่ความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากการเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา สถานภาพของการบริหารรัฐกิจก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก ครั้งหนึ่ง เพราะได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการหลังนวยุค (Postmodern) ซึ่งคําว่า หลังนวยุคหรือหลังสมัยใหม่นี้ หมายความว่า ความจริงย่อมแตกต่างไปตามกาลเทศะ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีชุดความเป็นจริงของตนเอง ด้วยกันทั้งนั้น และไม่มีระบบความเชื่อขุดใดชุดหนึ่งที่สามารถอธิบายความจริงได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ว่าเรา จะทําอะไรก็แล้วแต่เราต้องอาศัยความหลากหลายจากหลายฝ่าย การมีส่วนร่วม การเสริมพลังอํานาจ และการยอม ให้มีทางเลือกต่าง ๆ ในการพิจารณาความเชื่อต่าง ๆ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผูกขาดวิธีคิด การใช้ระบบเหตุผล และการสร้างมาตรฐานสากล โดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่สามารถเข้าถึงความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรยึดวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทุกเรื่อง แต่ต้องทําความเข้าใจร่วมกันในวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมตลอด ถึงไม่ควรมีการจัดรูปแบบความคิดหรือสร้างกฎเกณฑ์สากลมาครอบงํา แต่ควรจะยอมรับความแตกต่างและความขัดแย้งตามข้อเท็จจริง

แม้ว่าการบริหารรัฐกิจจะได้รับผลกระทบจากแนวคิดหลังนวยุค แต่สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงทิศทางหรือมุมมองของตนแต่อย่างใด ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาความรู้ทางการจัดการผลิตภาพและ คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้มีการดึงการจัดการ (Management) ให้เข้าสู่สถานภาพการจัดการภาครัฐ (Public Management) เพื่อเสริมสร้างหลักการบริหารพัฒนาของวิชาการบริหารรัฐกิจซึ่งเห็นเด่นชัดขึ้นนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะที่โดดเด่นมากก็คือ ผลงาน Reinventing Government ของ Osborne และ Gaebler ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 และผลงาน Productivity and Quality Management ของ Holzer ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1995

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาอธิบายถึงบรรทัดฐานของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อการบริหารพัฒนาองค์กร 9 แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 3)

บรรทัดฐานของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ มี 7 ประการ ดังนี้

1 ภาวะความเป็นผู้นํา เป็นการศึกษาว่าผู้บริหารอาวุโสขององค์กรนําพาองค์กรไปใน ทิศทางใดและบริษัทได้กล่าวถึงภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และความเป็นพลเมืองที่ดีไว้อย่างไรบ้าง

2 การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการศึกษาทิศทางกลยุทธ์ที่บริษัทวางแผนไว้ และวิธีการหรือ แผนการดําเนินงานเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล

3 การให้ความสําคัญที่ลูกค้าและตลาด ศึกษาว่าบริษัทกําหนดวิธีดําเนินงานเพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าและตลาดอย่างไร

4 การวิเคราะห์และเตรียมข้อมูล เป็นการศึกษาวิธีการจัดการการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนรายละเอียดเพื่อสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการดําเนินงานที่สําคัญ ๆ ของบริษัท รวมถึงระบบการจัดการด้านการดําเนินงานของบริษัท

5 การให้ความสําคัญแก่ทรัพยากรมนุษย์ เป็นการศึกษาดูว่าบริษัทสามารถนํากําลังคน มาใช้พัฒนาศักยภาพของบริษัทได้อย่างเต็มกําลังความสามารถหรือไม่ และแรงงานที่มีได้รับการมอบหมายการ ดําเนินงานให้ตอบสนองต่อเป้าหมายของบริษัทหรือไม่

6 การจัดการกระบวนการ เป็นการศึกษาแง่มุมการดําเนินงานต่าง ๆ เช่น การผลิต การส่งสินค้า กระบวนการสนับสนุนว่า ได้รับการออกแบบหรือการจัดการ และได้รับการปรับปรุงพัฒนาวิธีการ อย่างไร

7 ผลการดําเนินงานทางธุรกิจ เป็นการศึกษาผลการดําเนินงาน และการปรับปรุงบริษัท ในแง่มุมดังนี้ ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า ผลการดําเนินงานด้านการเงิน การตลาด และทรัพยากรบุคคล ผลการ ดําเนินงานของบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบ (Supplier) และหุ้นส่วนธุรกิจ ผลการดําเนินงานในระดับปฏิบัติการโดยเป็น การศึกษาเปรียบเทียบกับวิธีการของคู่แข่ง

 

ข้อ 3 การบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะร่วมกัน 4 ประการอะไรบ้าง การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) และการพัฒนาการบริหาร (Development of

Administration : D of A หมายถึงอะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร 9 แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31)

(คําบรรยาย)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goal oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ซึ่งการบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะ ร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่า การบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ ในประเทศกําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติ ภารกิจที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์ จะเจริญรอยตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้องมี การจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารมีความแตกต่างกัน คือ

ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น สิ่งที่สําคัญคือ การมีนโยบายและโครงการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การมีนโยบายและโครงการ พัฒนาขึ้นมานั้น รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะต้องมีการจัดองค์การขึ้นมาเพื่อที่จะให้ดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จ ตามเป้าหมายในการพัฒนา การจัดองค์การขึ้นเพื่อทําหน้าที่นี้จึงเป็นเรื่องของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development: A of D).

เมื่อองค์การได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เรื่องที่สําคัญก็คือความสามารถในการบริหารงานให้สําเร็จตามเป้าเหมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับปัจจัยทางด้านคน เงิน วัสดุ และการจัดการ หรืออื่น ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องของ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

 

ข้อ 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหารมีอะไรบ้าง มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริหารการพัฒนาในประเทศไทย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 94 – 99), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57 – 63)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จในการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป ยิ่งขอบข่ายของการปฏิรูปมีความกว้างเพียงใด โอกาสที่ แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็ยิ่งจะมีน้อยลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ก็มีน้อยลงด้วย เพราะขอบข่ายการปฏิรูปที่กว้างขวางจําเป็นต้องได้รับการยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนทางการเมือง อย่างเต็มที่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นไปได้ยากในประเทศที่กําลังพัฒนา เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นําใช้อํานาจอย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นด้วย เช่น การปฏิรูประบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นนโยบายหนึ่งภายใต้นโยบายด้าน การบริหารราชการแผ่นดินด้วย เป็นต้น

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผล ยิ่งแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผลรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่แผนหรือข้อเสนอนั้นจะได้รับการยอมรับก็จะมีน้อยลง (ยกเว้นในกรณีวิกฤติ) ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเท่าใดก็จะทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น เพราะเวลาที่จะสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็จะน้อยลงด้วย ทําให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงหรือสูญเสียผลประโยชน์ จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว เช่น กรณีการต่อต้าน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดในการนํา กฎหมายฉบับนี้มาใช้จึงขาดการสร้างความเข้าใจกับประชาชน หรือกรณีการนําวิธีตัดแต้มใบขับขี่มาใช้จัดระเบียบ การจราจรของตํารวจ ต้องเร่งการประชาสัมพันธ์ และการแก้ปัญหาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดําเนินการ

แต่ถ้าแผนการปฏิรูปมุ่งจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบช้าเนิ่นนานมากขึ้น โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่จะนําแผนการปฏิรูปไป ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีน้อยลง เพราะเวลาที่เนินนานออกไปจะทําให้ได้รับการมองจากฝ่ายปฏิบัติว่ามี ความสําคัญน้อยไม่เร่งด่วน เว้นเสียแต่ว่ามีผู้นําที่ตั้งใจจริง และสนับสนุนแผนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องก็จะทําให้ โอกาสที่แผนจะบรรลุผลมีมากขึ้นด้วย

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป การขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ของแผน ทําให้เกิดความยากลําบากในการปฏิบัติ ยากต่อการควบคุมตรวจสอบและประเมินความก้าวหน้าของแผน เช่น กรณีของแผนการบริหารเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้เริ่มแผนการปฏิรูป ระบบบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ได้ระบุเป้าหมายไว้กว้าง ๆ ไม่ชัดเจน และที่มาของ นโยบายแผนงาน และโครงการที่ติดตามอีกหลายเรื่อง เช่น นโยบายการจัดตั้งองค์กรการบริหารเหนือระดับจังหวัด คือ ศูนย์อํานวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเหตุที่เป้าหมายในการปฏิรูปไม่ชัดเจนจึง ทําให้ไม่ได้รับการต่อต้าน แต่มีผลทําให้การปฏิบัติยากต่อการบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากขาดการกําหนดตัวชี้วัด ความมีสัมฤทธิผลของแผนที่มีความชัดเจนด้วย

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป ถ้าหากเป้าหมายย่อยในแผนการ ปฏิรูปมีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็มีสูงขึ้นด้วย แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ย่อยใน แผนการปฏิรูปไม่มีความสอดคล้องหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักแล้ว โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและ นําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะลดลงด้วย เช่น แผนการปฏิรูประบบบริหารของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมย่อยมากมาย แต่ละกิจกรรมนั้นต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก และมีทั้งที่ห่างไกลจากเป้าหมายหลัก ฉะนั้นจึงยากต่อการนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หมายถึง การนําเครื่องใช้ หรือวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์การ เช่น การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือการพัฒนาองค์การให้เข้าใจในระบบ สารสนเทศ แต่เครื่องมือที่ซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจทําให้การยอมรับน้อยลง และโอกาสที่จะได้รับการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายยิ่งน้อยลงด้วย และยิ่งเป็นวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมดั้งเดิมของ ผู้ปฏิบัติงานก็ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น แผนการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย ด้วย การเสนอให้มีการประเมินความรู้ความสามารถของอาจารย์เป็นช่วงเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี วิธีการเช่นนี้ขัดแย้งกับ พฤติกรรมของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน จึงไม่ได้รับการยอมรับและความพยายามของผู้บริหาร ระดับสูงที่จะผลักดันนโยบายนี้ก็ยากที่จะสําเร็จลงได้

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป หากต้องใช้ทรัพยากรมากเท่าใด โอกาสที่แผนการปฏิรูป จะได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติก็จะน้อยลงด้วย เพราะการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ จึงอาจเกิดการต่อต้านได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลมีทรัพยากรมากเพียงพอไม่ต้องแย่งชิงกัน โอกาสที่แผนการปฏิรูปจะ ได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย เช่น กรณีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทํา การปฏิรูปการคลังเป็นจุดเริ่มต้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับแผ่นดินจึงมีทรัพยากรที่มากเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการ วางแผนปฏิรูประบบบริหารในส่วนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น

7 กิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิรูป แผนการปฏิรูปที่มีกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามประเมินผลมากเพียงใด โอกาสที่แผนนั้นจะได้รับ การยอมรับและถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะมีมากขึ้น กิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม เช่น จํานวน หลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้ข้าราชการ จํานวนบุคคลที่ถูกสับเปลี่ยนตําแหน่ง จํานวนบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ทํางานใหม่ จํานวนเงินที่ใช้ จํานวนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อใหม่ จํานวนกฎระเบียบที่ถูกยกเลิก

กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนการปฏิรูปสามารถควบคุม และตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนการปฏิรูปได้ และยิ่งมีกิจกรรมนําเข้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง มากเท่าใด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงก็มีมากเท่านั้น เช่น ในองค์กรทหาร บุคคลที่เข้ารับราชการทหารจะต้องผ่าน การฝึกอบรมตั้งแต่ปีแรก และเป็นช่วง ๆ ตามหลักสูตรต่าง ๆ จนใกล้เกษียณอายุ หรือหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร เป็นต้น

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมติดตามและประเมินผลการ ปฏิรูป การพิจารณาแต่กิจกรรมการนําเข้าเพื่อวัดความสําเร็จของแผนนั้นอาจทําให้ผู้ปฏิบัติละเลยความสําเร็จ ตามวัตถุประสงค์หลักของการปฏิรูป ฉะนั้นจําเป็นจะต้องกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของผลลัพธ์การดําเนินการ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และควรเป็นตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น จํานวนคนมารับบริการ เวลาเฉลี่ยที่ประชาชน ต้องใช้ในการติดต่อราชการแต่ละเรื่อง ความพอใจของประชาชนผู้รับบริการ

ตัวชี้วัดผลผลิต Output ของแผนการปฏิรูปนี้เป็นเรื่องที่กําหนดยาก อาจถูกโต้แย้งได้ง่าย ฉะนั้นโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับก็จะน้อยลง เพราะวัดสัมฤทธิผลยาก แต่หากได้รับการยอมรับ แล้วโอกาสที่แผนจะถูกนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลก็จะสูงขึ้น การกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนการปฏิรูปใน เชิงปริมาณเช่นนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความเข้าใจในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เช่น แผนการปฏิรูป การทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

9 การสร้างการมีส่วนร่วม ในแผนการปฏิรูปจําเป็นจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนการยอมรับแผนและในขั้นตอนของการนําไปปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้ช่วยกันคิดกันทํา จะทําให้โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับสูงขึ้น และการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันจะทําให้การนําแผนการปฏิรูป ไปปฏิบัติมีโอกาสบังเกิดผลสําเร็จสูงขึ้นด้วย เช่น กรณีตํารวจตระเวนชายแดนระดมสรรพกําลังหยุดยั้งยาเสพติด เป็นต้น

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป ยิ่งแผนการปฏิรูปได้มีโอกาสถูก ทดลองหรือสาธิตมากเพียงใด โอกาสที่แผนจะได้รับการยอมรับก็จะมีสูงขึ้น และโอกาสที่จะได้มีการนําไปปฏิบัติ ให้บังเกิดผลก็จะมีสูงขึ้นด้วย เพราะการทดลองจะช่วยให้ทราบถึงผลกระทบของแผน ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทั้งในกระบวนการยอมรับและในกระบวนการของการนําไปปฏิบัติให้น้อยลงได้ เช่น กรณีการทดลองใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน กรณีการทดลองจัดตั้งสถานีตํารวจนครบาลจนขยายผลและนํามาใช้เต็มรูปแบบในปัจจุบัน

 

 

POL3313 การบริหารการพัฒนา 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1. จงอธิบายความหมาย และคุณลักษณะร่วม 4 ประการของการบริหารการพัฒนา (Development Administration) พร้อมทั้งอธิบายว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการพัฒนาการเมืองเกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริหารการพัฒนา

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 73 – 76), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ซึ่งการบริหารการพัฒนามีคุณลักษณะ ร่วมกันอยู่ 4 ประการ คือ

1 การบริหารการพัฒนามีความหมายที่บ่งชี้สภาพภูมิศาสตร์ (Geographical) แม้ว่า การบริหารการพัฒนาจะมีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้วคือสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ได้รับการนํามาประยุกต์ ในประเทศกําลังพัฒนาเสียเป็นส่วนใหญ่ และประเทศที่กําลังพัฒนานี้มักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา

2 การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้มาจากสิ่งอื่น ๆ (Derivative) หมายถึง การบริหารการพัฒนาเป็นผลพวงหรือเกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม

3 การบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการของความเคลื่อนไหวจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่ เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นก็คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกําลังพัฒนา และจากสภาพกําลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้าย คือ การพัฒนาประเทศ

4 การบริหารการพัฒนา มีความหมายที่บ่งชี้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจ ที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอะไรบ้าง หากประเทศที่กําลังพัฒนาประสงค์ จะเจริญรอยตามประเทศที่เจริญแล้ว จําเป็นต้องปฏิบัติภารกิจทางการบริหารเพื่อให้มีระบบมากขึ้น

ในการพัฒนาประเทศนั้นเป็นที่ยอมรับว่าองค์ประกอบที่สําคัญประการหนึ่งของการบริหาร การพัฒนา คือ การมุ่งเน้นถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีความเจริญเติบโตเป็นหลัก แต่สําหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมองว่าเศรษฐกิจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่จะต้องบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนา เพราะการพัฒนานั้นจะแบ่งออกเป็น การพัฒนา 4 ส่วน คือ

1 การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยทั่วไปหมายถึง การเพิ่มผลผลิตประชาชาติมวลรวม (Gross National Product) การทําให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว (Per Capital Income) ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น และการทํา ให้มีการกระจายรายได้เท่าเทียมกันมีมากขึ้น

2 การพัฒนาสังคม หมายถึง การทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ซึ่งครอบคลุมทุกอย่าง ตั้งแต่ทําให้สภาพของประเทศมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองไปจนถึงการทําให้ลักษณะครอบครัวขยายในสังคมหมดสิ้นไป

3 การพัฒนาทางการเมือง โดยทั่วไปหมายถึง การเพิ่มความเท่าเทียมกันในระหว่าง ประชาชน ให้โอกาสแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการเลือกผู้นําในการปกครอง ตลอดจนมีบูรณภาพ แห่งชาติ หรือมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติมากขึ้นกว่าเดิม

4 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การนําเอาระบบคุณธรรมหรือคุณวุฒิมาใช้แทน ระบบอุปถัมภ์มากขึ้นในการสรรหาและบรรจุคนเข้าทํางานในราชการ ตลอดจนการจัดระบบงบประมาณของทาง ราชการให้มีความยืดหยุ่น และมีลักษณะรวมเป็นส่วนกลางให้เป็นที่รู้และเข้าใจได้

การพัฒนาทั้ง 4 ส่วนนี้เมื่อรวมเข้าด้วยกันทั้งหมดแล้วเรียกว่าเป็นการพัฒนาชาติ หรือพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมนั่นเอง ซึ่งในการพัฒนาถ้าจะให้เกิดผลดีจะต้องทําพร้อมกันไปทุกด้าน แบ่งแยกกันมิได้ เพราะทุกด้านต่างก็มีความสัมพันธ์กัน เช่น ระบบเศรษฐกิจที่มีหลักเกณฑ์และเหตุผลทางเศรษฐกิจแท้นั้นจะมีขึ้นไม่ได้ ถ้าสังคมนั้นไม่เคารพมนุษยชาติ ถ้าทางฝ่ายการเมืองไม่มีความรับผิดชอบ และฝ่ายบริหารไม่ทําตามกฎหมาย ใน ทํานองเดียวกันสังคมจะมีความเคารพในเกียรติมนุษยชาติไม่ได้ จนกว่าระบบเศรษฐกิจจะพัฒนาแล้ว ฝ่ายการเมือง มีความรับผิดชอบและฝ่ายบริหารทําตามกฎหมาย หรือในแง่ส่วนย่อยก็เช่นกัน สภาพการเป็นพลเมืองจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ายังไม่สามารถประกอบการทางเศรษฐกิจได้อย่างอิสระ ไม่มีอิสรเสรีในการดํารงชีวิตในสังคม และข้าราชการ ไม่ยอมรับใช้บริการประชาชน เป็นต้น นี่คือทุกด้านมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นการพัฒนาเพื่อจะให้ได้ผลดีนั้น จําเป็นจะต้องพัฒนาพร้อมกันไปทุกด้านด้วย

 

ข้อ 2 ให้อธิบายทั้งข้อ 2.1 และข้อ 2.2

2.1 การพัฒนาการบริหารหมายถึงอะไร มีทฤษฎีและองค์ประกอบอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 31, 34 – 37,51 – 58), (คําบรรยาย)

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration 😀 of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

ทฤษฎีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration)

ระบบบริหารมีหน้าที่ที่สําคัญ คือ การนํากฎระเบียบของสังคมที่ได้บัญญัติไว้แล้วนั้นไป ดําเนินการให้เป็นจริงหรือเป็นรูปธรรม หรือการนํานโยบายไปปฏิบัติ การพัฒนาการบริหารในลักษณะเช่นนี้เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้องนํานโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์

นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารไว้เป็น 2 มิติ คือ มิติ ความสมดุลของการพัฒนา (Balanced Administration Growth) กับความไม่สมดุลของการพัฒนา (Unbalanced Administration Growth) และมิติการพัฒนาระบบบริหารแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) หรือแบบรวบยอด กับค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบสะสมที่ละน้อย (Incremental) ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวทางทั้ง 2 มิติ อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาการบริหารมี 4 แนวทาง ได้แก่

1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ (Balanced and Comprehensive) คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการบริหารไปพร้อม ๆ กัน ระดมทรัพยากรจากทุกด้าน ปฏิรูป องค์ประกอบของระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันภายในระยะเวลาอันสั้น และเป็นการวางแผนให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานวางแผนกลาง

2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Balanced and Incremental) เป็นการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ทุกกิจกรรมสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่างมีเหตุผล และลดแรงกดดันจากพลังต่อต้านเนื่องจากบางส่วนได้รับทรัพยากรในการพัฒนาแต่บางส่วนไม่ได้รับ และต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้โดยไม่คํานึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลง จึงใช้แนวทางการพัฒนาแบบให้มีการ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ มีการพัฒนาในทุกส่วนพร้อม ๆ กันหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่ให้ส่วนใด เปลี่ยนแปลงไปมากจนส่วนอื่นตามไม่ทัน

3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด (Unbalanced and Comprehensive) เป็นการพัฒนาที่มีแนวคิดว่า ระบบราชการเป็นกลไกที่สําคัญที่สุดของการพัฒนา โดยจะให้ ความสําคัญกับองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น รวมทั้ง เป็นการวางแผนหรือกําหนดนโยบายจากส่วนกลาง ซึ่งปกติมักเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุ่มงบประมาณหรือการ ให้เงินจํานวนมากไปพัฒนา

4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Unbalanced and Incremental) เป็นการพัฒนาโดยให้ความสําคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการไม่เร่งรัดการเปลี่ยนแปลง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสะสมทีละเล็กทีละน้อย เป็นการวางแผนระยะยาว

องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) ได้แก่การพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบขององค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม โดยมีสาระสําคัญพอสรุปได้ ดังนี้

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรม การทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้งสาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่ แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อย แต่จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ เป็นต้น

การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ระบบการทํางานหรือกระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้ จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสื่อข้อความ นอกจากนั้นในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่ การบริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการทํางาน ของคนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมายแต่เพียง อย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็น การเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ ซับซ้อนกว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน (โดยเฉพาะตัวแปร เชิงจิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพ ส่วนตัว ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและ สังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบการลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์ แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลง ในด้านอื่น ๆ

2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนการพัฒนาการบริหารมีอะไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 94), (เอกสารหมายเลข 47 หน้า 57)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนการพัฒนาการบริหาร

จากการศึกษาของวรเดช จันทรศร พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการปฏิรูป การบริหาร หรือปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสที่แผนการปฏิรูปจะได้รับการยอมรับและได้รับการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลนั้น มีอย่างน้อย 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

1 ขอบข่ายของการปฏิรูป

2 เวลาที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะบรรลุ

3 ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ในการปฏิรูป

4 ความสอดคล้องของเป้าหมายย่อยในแผนการปฏิรูป

5 เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน

6 ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิรูป

7 กิจกรรมนําเข้าที่เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการปฏิรูป

8 ผลผลิตของกิจกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการปฏิรูป

9 การสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิรูป

10 การทดลองหรือสาธิตข้อเสนอในแผนการปฏิรูป

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายถึงแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ แล้วอธิบายว่าแนวคิดเหล่านี้สามารถนํามาใช้ในการบริหารการพัฒนาประเทศไทยได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 4 – 9)

แนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการดําเนินงานขององค์กรเป็นสําคัญ โดยแนวคิดนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการปรับปรุงวิธีการดําเนินงาน ความสามารถและผลลัพธ์ของ องค์การ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแบ่งปันสารสนเทศ ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างองค์กร ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนํามาใช้ในการจัดการดําเนินการขององค์กร รวมถึงใช้เป็นแนวทาง ในการวางแผนและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ พอสรุปได้ดังนี้

1 การนําองค์กร เป็นวิธีการบริหารที่ผู้นําระดับสูงนํามาใช้อย่างเป็นทางการ และอย่าง ไม่เป็นทางการทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานและวิธีการใช้ในการตัดสินใจเรื่องที่สําคัญ การสื่อสารและ การนําไปปฏิบัติ รวมถึงโครงสร้างและกลไกในการตัดสินใจ การเลือกสรรและการพัฒนาผู้นํา รวมทั้งกระแส โครงสร้างค่านิยม พฤติกรรมที่มีจริยธรรม ทิศทางและความคาดหวังด้านผลการดําเนินการ

2 การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร เป็นการปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจร การประเมินผลและการปรับปรุง มีการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทางโดยใช้ นวัตกรรม การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมกับหน่วยงาน และกระบวนการอื่นที่ เกี่ยวข้องภายในองค์กร

การเรียนรู้เน้นความรู้หรือทักษะใหม่ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษาประสบการณ์ และนวัตกรรม ซึ่งประกอบกับการเรียนรู้ขององค์กรที่ได้มาจากการวิจัยและการพัฒนาวงจรการประเมิน และ การปรับปรุง ความคิดและปัจจัยนําเข้าอื่น ๆ จากบุคลากรและลูกค้าขององค์กร การแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการจัดระดับเทียบเคียง ส่วนการเรียนรู้ของบุคลากรจะได้มาจากการศึกษา การฝึกอบรม และโอกาสในการ พัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของแต่ละบุคคล

การที่องค์กรจะบรรลุผลการดําเนินการที่เป็นเลิศได้ องค์กรจะต้องมีแนวทางที่ปฏิบัติ ได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของแนวทางที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่นําไปสู่เป้าหมายและแนวทางใหม่ ๆ โดยการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรใน องค์กรจะต้องถูกปลูกฝังลงไปในทุกแนวทางที่องค์กรปฏิบัติการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

3 การมุ่งเน้นผลลัพธ์ หมายถึง การใช้ผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อสนองคุณค่าและรักษา ความสมดุลของคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย การสร้างคุณค่าให้สมดุลนี้จึงเกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้น ลูกค้า/ประชาชน การให้ความสําคัญกับบุคลากร การมุ่งเน้นอนาคตและความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

การมุ่งเน้นลูกค้าประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้ตัดสินคุณภาพและผลดําเนินการ ขององค์กร เพราะฉะนั้นองค์กรจึงต้องคํานึงถึงรูปแบบ และคุณลักษณะทั้งหมดของผลิตภัณฑ์และบริการ

การให้ความสําคัญกับบุคลากร/พนักงานภายในองค์กร เป็นแนวทางการดําเนินการ ที่มุ่งสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานหรือบุคลากรมีความพึงพอใจในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพ ของงานและความสําเร็จขององค์กร

การมุ่งเน้นอนาคต เป็นแนวทางการดําเนินการที่มีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร โดย องค์กรจะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ การตลาด การเป็นผู้นําในตลาด และการมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคม การบําเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เกี่ยวข้องกับการนําองค์กร และการสนับสนุนจุดประสงค์ที่สําคัญด้านสาธารณะ รวมถึงการปรับปรุงด้านการศึกษาและสุขอนามัยของชุมชน การทําให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี การอนุรักษ์ทรัพยากร การให้บริการชุมชน การปรับปรุงวิธีปฏิบัติขององค์กรและ อุตสาหกรรม และการแบ่งปันสารสนเทศที่ไม่เป็นความลับทางองค์กร

4 การจัดการองค์กร การจัดองค์กร เป็นการจัดการกระบวนการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งมีนัยยะสําคัญต่อองค์การในด้านการสร้างคุณค่าต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ การจัดการองค์กรยังเป็นกระบวนการสนับสนุนที่สําคัญในการวางแผนดําเนินงาน โดยจะคํานึงถึงการจัดการด้าน การเงินและการวางแผนให้สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามหลักการแล้ว การจัดการองค์กรจะเน้น การวิเคราะห์ไปที่ส่วนสําคัญ 3 ประการ คือ ความคล่องตัว นวัตกรรม และการใช้ข้อมูลจริง

5 การจัดการเชิงระบบ แนวคิดนี้แสดงให้เห็นในกรอบการบริหารจัดการตามแนวทาง รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นมุมมองเชิงระบบที่ครอบคลุมถึงการที่ผู้นําระดับสูงมุ่งเน้นทิศทางเชิงกลยุทธ์และ มุ่งเน้นลูกค้า โดยผู้นําระดับสูงจะทําการตรวจ ติดตาม ปรับปรุงแก้ไข และจัดการผลการดําเนินการโดยระดับผลลัพธ์ ทางธุรกิจหรืองานบริการ นอกจากนี้การจัดการระบบยังรวมถึงการใช้ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัด และความรู้ขององค์การ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่สําคัญและเชื่อมโยงกลยุทธ์ต่าง ๆ เข้ากับกระบวนการที่สําคัญและการจัดสรรทรัพยากรให้มี ความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อปรับปรุงผลการดําเนินการโดยรวมและทําให้ลูกค้าพึงพอใจ

 

ข้อ 4 ให้นักศึกษาอธิบายมินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาว่าสามารถนํามาช่วยปรับปรุงสมรรถนะของการบริหารองค์การให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 244 หน้า 10 – 11)

มินิพาราไดม์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

นับตั้งแต่รัฐบาลอเมริกันได้จัดทําโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ โดยมีการบริหารงานแบบ ภายนอกที่มุ่งเน้นการติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ให้มาสนับสนุนโครงการพัฒนาของหน่วยงานนั้น ได้รับความสําเร็จ เป็นอย่างมาก การบริหารงานแบบภายนอกนี้ได้รับการศึกษาเรื่อยมา

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1962 Weidner ได้เรียกการศึกษานี้ว่า “การบริหารการพัฒนา” หลังจากนั้น ศัพท์ใหม่นี้ก็ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นมินิพาราไดม์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

ในทศวรรษ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหาร เพื่อให้ องค์การบริหารสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ประชาชนได้ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด ไม่สิ้นเปลือง และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษและความเสื่อมโทรม เน้นการพัฒนาประเทศร่วมกันระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน โดยส่งเสริมการประกอบการแบบเสรีและสนับสนุนการบริหารแบบประชาธิปไตย และเน้น การเมืองของการปฏิบัติตามนโยบายพัฒนาโดยใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ทางการบริหารร่วมกับการต่อรองทางการเมือง

การบริหารการพัฒนามีจุดเน้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในทศวรรษที่ 1960 การบริหาร การพัฒนาเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์

ในทศวรรษที่ 1970 การบริหารการพัฒนาจะมุ่งเน้นความสนใจไปที่ความเสมอภาคทางสังคม การกระจายอํานาจ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของชาวชนบท

ในทศวรรษที่ 1980 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหารหรือ การพัฒนาการบริหาร โดยการจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม การบริหารให้มีสมรรถนะหรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมสําหรับ การพัฒนาประเทศ

ในทศวรรษที่ 1990 การบริหารการพัฒนาได้เน้นการบริหารเพื่อการพัฒนา โดยการนําสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบการบริหารมาปฏิรูปตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

และในปัจจุบันนี้ต่างก็ทราบกันดีว่าการพัฒนาประเทศจะต้องอาศัยการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ในเบื้องต้นจะต้องมีการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration) โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารงานภายในองค์การราชการ ให้มี สมรรถนะสูงจนสามารถตอบสนองภารกิจของการบริหารเพื่อพัฒนา (Administration of Development) และ เมื่อองค์การราซการมีสมรรถนะในการบริหาร รัฐบาลย่อมสามารถบริหารโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาชุมชนเมือง ชนบท รัฐวิสาหกิจ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การศึกษา ประชากร สาธารณสุขและอื่น ๆ

โดยหลักการสําคัญทางบริหารการพัฒนาอยู่ตรงที่ว่า ระบบราชการสามารถแปลงนโยบาย การพัฒนาออกมาเป็นแผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการและกิจกรรมการพัฒนาที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบันนิยมใช้หลายมินิพาราไดม์มาศึกษา ระบบราชการเป็นส่วน ๆ แล้วเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบราชการอย่างเป็นส่วน ซึ่งก่อให้เกิดผลดีคือ ไม่ต้องรอให้มีการปฏิรูประบบราชการพร้อมกัน หน่วยราชการใดก็สามารถปฏิรูปก่อนได้ ทําให้ระบบราชการ มีความทันสมัยขึ้นเป็นอันมาก

 

POL3313 การบริหารการพัฒนา ซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายถึงการบริหารรัฐกิจในฐานะที่เป็นฐานความรู้ทางการบริหารการพัฒาตามหัวข้อที่กําหนดพอสังเขป ดังนี้

1.1 สถานการณ์ของการบริหารรัฐกิจในปัจจุบัน

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 7 หน้า 1 – 2)

สถานการณ์ของการบริหารรัฐกิจในปัจจุบัน

จากปฏิทินการบริหารรัฐกิจที่เสนอในหนังสือ Classic of Public Administration, 2005 จะพบว่า สถานภาพของการบริหารรัฐกิจได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากปี ค.ศ. 1776 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอกราชจนกระทั่งก่อนปี ค.ศ. 1887 การบริหารรัฐกิจของอเมริกายังอยู่ในขั้นของการวางรากฐานของกระบวนทัศน์เท่านั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 เป็นต้นมา การบริหารรัฐกิจของอเมริกาเริ่มปรับตัวเข้าสู่กระบวนการ ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแบบเฉพาะที่แตกต่างจากประเทศในยุโรป การบริหารรัฐกิจจึงค่อย ๆ แยกตัว ออกจากรัฐศาสตร์หรือการเมือง สถานภาพของการบริหารรัฐกิจในช่วงนี้อยู่ระหว่างการสร้างเอกลักษณ์กระบวนทัศน์ แนวคิดและทฤษฎีของตน ต่อมาได้มีการพบว่า ยิ่งการบริหารรัฐกิจแสวงหาความเป็นเอกลักษณ์ของตนเท่าใด ก็ยิ่งถอยห่างออกจากความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น เพราะการบริหารรัฐกิจมีลักษณะเป็นวิชาพสูงเมื่อ เปรียบเทียบกับรัฐศาสตร์

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 – 1968 การบริหารรัฐกิจได้พัฒนาวิชาชีพของตน เพื่อรับใช้ระบบราชการได้อย่างกว้างขวาง ขอบข่ายของการบริหารรัฐกิจได้พัฒนาและขยายตัวออกจากขอบข่ายดังเดิมที่เป็นการบริหารงานบุคคล งานคลังและงานองค์การ โดยขยายเป็นการบริหารนโยบายการบริหารพัฒนา การบริหารงบประมาณ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารแรงงานสัมพันธ์ การบริหารงานองค์การปกครองท้องถิ่น การบริหารงานตุลาการ การบริหารรัฐสภา การบริหารงานรัฐบาล และการบริหารความมั่นคงสาธารณะ

และในปี ค.ศ. 1968 ได้เกิดคลื่นลูกใหม่ในวงวิชาการบริหารรัฐกิจ หรือเกิดปรากฏการณ์ที่ เรียกว่า การบริหารรัฐกิจแนวใหม่ (New Public Administration) โดยนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้มุ่งเน้นความสนใจไปที่ความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากการเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา สถานภาพของการบริหารรัฐกิจก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งหนึ่ง เพราะได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการหลังนวยุค (Postmodern) ซึ่งคําว่า หลังนวยุคหรือหลังสมัยใหม่นี้ หมายความว่า ความจริงย่อมแตกต่างไปตามกาลเทศะ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีชุดความเป็นจริงของตนเอง ด้วยกันทั้งนั้น และไม่มีระบบความเชื่อชุดใดชุดหนึ่งที่สามารถอธิบายความจริงได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ว่า เราจะทําอะไรก็แล้วแต่เราต้องอาศัยความหลากหลายจากหลายฝ่าย การมีส่วนร่วม การเสริมพลังอํานาจ และการยอมให้มีทางเลือกต่าง ๆ ในการพิจารณาความเชื่อต่าง ๆ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผูกขาดวิธีคิด การใช้ระบบเหตุผล และการสร้างมาตรฐานสากล โดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่สามารถเข้าถึงความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรยึดวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทุกเรื่อง แต่ต้องทําความเข้าใจร่วมกันในวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมตลอดถึงไม่ควรมีการจัดรูปแบบความคิดหรือสร้างกฎเกณฑ์สากลมาครอบงํา แต่ควรจะยอมรับความแตกต่างและความขัดแย้งตามข้อเท็จจริง

แม้ว่าการบริหารรัฐกิจจะได้รับผลกระทบจากแนวคิดหลังนวยุค แต่สถานภาพของการบริหารรัฐกิจ ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงทิศทางหรือมุมมองของตนแต่อย่างใด ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาความรู้ทางการจัดการผลิตภาพและ คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้มีการดึงการจัดการ (Management) ให้เข้าสู่สถานภาพการจัดการภาครัฐ (Public Management) เพื่อเสริมสร้างหลักการบริหารพัฒนาของวิชาการบริหารรัฐกิจซึ่งเห็นเด่นชัดขึ้นนับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะที่โดดเด่นมากก็คือ ผลงาน Reinventing Government ของ Osborne และ Gaebler ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 และผลงาน Productivity and Quality Management ของ Holzer ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1995

1.2 การแปลงความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 7 หน้า 5 – 7)

การแปลงความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

ความรู้ คือ สินทรัพย์ที่สําคัญขององค์การ ที่รัฐบาลจะต้องตระหนักถึงให้มากและสนใจที่จะนําไปใช้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ เมื่อรัฐบาลมีนโยบายเครือข่ายการวิจัยทางการบริหารแล้วก็เท่ากับว่ารัฐบาล ได้ลงทุนทําวิจัย เมื่อลงทุนก็ต้องก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจ ที่ได้ลงทุนไปแล้วจะต้องมีวิธีการที่จะแปลงฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจให้ได้ โดยการประกาศให้หน่วยราชการระดับกระทรวง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็น ฐานความรู้ทางเศรษฐกิจของกระทรวง โดยวิธีการดังนี้

1 การสร้างพฤติกรรมแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหาร ฐานความรู้ทางการ บริหารที่กระทรวงได้รับ จะต้องสามารถกระจายไปทั้งกระทรวง ลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมข้าราชการในกระทรวงให้มีความเต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ทางการบริหาร การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงและกินเวลานานพอสมควรกว่าที่กระทรวงจะเห็นการ เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แต่ที่สําคัญกว่านั้นก็คือว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะต้องทําอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ พฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นกลายเป็นค่านิยมของข้าราชการในกระทรวง ปัจจัยที่สําคัญต่อการอํานวยการในเรื่องนี้มีอยู่ ด้วยกัน 2 ประการ คือ

1) ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นแบบอย่างของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหาร

2) ต้องสร้างสภาพแวดล้อมของกระทรวงให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหาร

โดยแก้ไขระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ปิดกั้นการแลกเปลี่ยนและเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนในรูปแบบต่าง ๆ

2 การสื่อสารภายในกระทรวง การสื่อสารถือเป็นหัวใจสําคัญที่ทําให้ข้าราชการทุกคน ในกระทรวง เข้าใจถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นว่า กระทรวงกําลังจะทําอะไร ทําไปเพื่ออะไร จะทําเมื่อไหร่และจะทําอย่างไร ถ้ากระทรวงสามารถสื่อสารความรู้ทางการบริหารให้ข้าราชการทุกคนรับทราบได้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็จะเป็นก้าวแรก ที่ทําให้ข้าราชการสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง กระทรวงต้องมีการ วางแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบและทําการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตราบใดที่กระทรวงต้องการให้ ฐานความรู้ทางการบริหารสามารถแปลงเป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

3 กระบวนการส่งผ่านความรู้ทางการบริหาร จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและ สะดวกยิ่งขึ้น ก็จะต้องเข้าใจในรูปแบบของการส่งผ่านความรู้ทางการบริหาร รูปแบบที่ว่านี้มี 2 ส่วน คือ

1) ความรู้ส่วนบุคคล (Tacit Knowledge) ความรู้ทางการบริหารที่อยู่ในตัว ข้าราชการจะสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ดีที่สุดก็โดยผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการระดับสูงกับระดับล่าง ด้วยการสัมมนาบ้าง สับเปลี่ยนงานบ้าง หรือการยืมตัวมาช่วยราชการบ้าง

2) ความรู้ขององค์การ (Explicit Knowledge) ความรู้ทางการบริหารขององค์การ ส่วนใหญ่ ได้มีการสรุปเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ คู่มือหรือข้อบังคับ ข้อควรปฏิบัติ ตารางข้อมูลและอื่น ๆ ซึ่งจัดเก็บ อยู่ในเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้าราชการสามารถเรียกมาศึกษาได้ กระทรวงจึงต้องจัดทํา Knowledge Portal ซึ่งเป็นอินทราเน็ตของกระทรวง เพื่อให้สามารถส่งผ่านความรู้ทางการบริหารได้อย่างรวดเร็วทุกคน

4 การฝึกอบรมและการเรียนรู้ กระทรวงจะต้องจัดให้มีการเรียนรู้ทั้งนอกรูปแบบโดย ผ่านทางอินทราเน็ตของกระทรวง และการเรียนรู้ในรูปแบบโดยผ่านทางการฝึกอบรมโดยเฉพาะกระทรวงต้องจัด ให้มีการฝึกอบรมการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจว่าจะทําได้อย่างไร การอบรมนี้ จะช่วยให้ข้าราชการมองเห็นสิ่งที่พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็น ฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ

5 การวัดผลฐานความรู้ทางการบริหาร การวัดผลถือเป็นสิ่งที่สําคัญมากที่จะช่วยบอก ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะช่วย ให้กระทรวงสามารถทบทวนปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ และเชิดชูส่วนที่ได้ผลสําเร็จแล้ว ทั้งนี้ผู้บริหารของกระทรวง ย่อมต้องการที่จะเห็นผลสัมฤทธิ์ของการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจ เพื่อการ ตัดสินใจในการลงทุนสําหรับการแปลงฐานเหล่านี้ให้เหมาะสมกับผลประโยชน์ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี การวัดผลตอบแทน ที่ได้จากการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ละเอียดและซับซ้อนมาก เพราะการทําธุรกิจของกระทรวงส่วนใหญ่เป็นภาพรวมมากกว่าภาพย่อย จึงยากแก่การวัดผลตอบแทนของการบริหาร ในส่วนย่อยได้ แต่การวัดผลตอบแทนอย่างเป็นรูปธรรมก็ทําได้อย่างแน่นอนเพียงแต่ต้องใช้ผู้ชํานาญการเท่านั้น มิใช่คนในกระทรวงวัดผลกันเอง

6 การให้เกียรติยศและรางวัล การสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการแปลงฐานความรู้ทางการบริหารเป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจนั้นจะต้องกระทํา ตั้งแต่ช่วงแรกของการดําเนินการ เพื่อโน้มน้าวข้าราชการ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทางการบริหาร โดยเฉพาะแรงจูงใจที่เป็น “ประโยชน์” จะสามารถโน้มน้าวให้ข้าราชการในกระทรวงสนใจการแปลงฐานความรู้ โดยการแลกเปลี่ยนฐานความรู้ได้ถ้า ข้าราชการสามารถปฏิบัติได้ผลลัพธ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะนําสู่การประกาศเกียรติคุณและการให้รางวัลต่าง ๆ เมื่อชูภาษิต “ใครทําใครได้” จะทําให้ข้าราชการมีกําลังใจที่จะทําเพราะได้ผลตอบแทนที่เด่นชัด นอกจากนั้นควรที่จะบูรณาการ แรงจูงใจนี้เข้ากับระบบประเมินผลและการให้ค่าตอบแทน

การแปลงฐานความรู้ทางการบริหารรัฐกิจให้เป็นฐานความรู้ทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่ยาก ถ้ารัฐบาลต้องการที่จะพัฒนาระบบราชการให้เกิดรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจน คือการที่ระบบราชการสามารถ เป็นเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้ไปสู่เป้าหมายอย่างทันสถานการณ์ ประหยัด และครอบคลุม รอบด้าน

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาอธิบายถึงแนวคิดหลักของการสร้างเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาตามหัวข้อที่กําหนดพอสังเขป ดังนี้

2.1 การนําองค์กร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 4)

การนําองค์กร

เป็นวิธีการบริหารที่ผู้นําระดับสูงนํามาใช้อย่างเป็นทางการ และอย่างไม่เป็นทางการทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานและวิธีการใช้ในการตัดสินใจเรื่องที่สําคัญ การสื่อสารและการนําไปปฏิบัติ รวมถึงโครงสร้าง และกลไกในการตัดสินใจ การเลือกสรรและการพัฒนาผู้นํา รวมทั้งกระแสโครงสร้างค่านิยม พฤติกรรมที่มีจริยธรรม ทิศทางและความคาดหวังด้านผลการดําเนินการ แนวคิดเกี่ยวกับการนําองค์กรนี้ มีลักษณะที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

1 ผู้นําระดับสูงขององค์กรสามารถกําหนดทิศทางและสร้างองค์กรที่มุ่งเน้นลูกค้า ค่านิยมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งกําหนดความคาดหวังขององค์กรให้มีความสมดุล

2 ผู้นําสามารถทําให้มั่นใจว่ามีการจัดทํากลยุทธ์และวิธีการต่าง ๆ ในเรื่องการกระตุ้นให้มีนวัตกรรมสําหรับความรู้และความสามารถ

3 ผู้นําควรสร้างแรงบันดาลใจ จูงใจและกระตุ้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทําให้องค์กรประสบความสําเร็จ มีการพัฒนา มีการเรียนรู้ มีนวัตกรรม และมีความคิดสร้างสรรค์

4 ผู้นําควรมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติการและผลการดําเนินการ

5 ผู้นําและผู้ตามปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี โดยมุ่งเน้นพฤติกรรมที่มีจริยธรรมในการทํางาน

6 ผู้นําสามารถเสริมสร้างจริยธรรม ค่านิยม และความคาดหวังขององค์กรไปพร้อม ๆ กับการสร้างภาวะผู้นํา ความมุ่งมั่นและความคิดริเริ่มให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร

2.2 การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 5)

การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร

เป็นการปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินผลและการปรับปรุง มีการกระตุ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทางโดยใช้นวัตกรรม การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมกับหน่วยงาน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร

การเรียนรู้เน้นความรู้หรือทักษะใหม่ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษาประสบการณ์ และ นวัตกรรม ซึ่งประกอบกับการเรียนรู้ขององค์กรที่ได้มาจากการวิจัยและการพัฒนาวงจรการประเมิน และการปรับปรุง ความคิดและปัจจัยนําเข้าอื่น ๆ จากบุคลากรและลูกค้าขององค์กร การแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศและ การจัดระดับเทียบเคียง ส่วนการเรียนรู้ของบุคลากรจะได้มาจากการศึกษา การฝึกอบรม และโอกาสในการพัฒนา เพื่อความเจริญก้าวหน้าของแต่ละบุคคล

การที่องค์กรจะบรรลุผลการดําเนินการที่เป็นเลิศได้ องค์กรจะต้องมีแนวทางที่ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของแนวทางที่มีอยู่ และ การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่นําไปสู่เป้าหมายและแนวทางใหม่ ๆ โดยการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรในองค์กร จะต้องถูกปลูกฝังลงไปในทุกแนวทางที่องค์กรปฏิบัติการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

2.3 การมุ่งเน้นผลลัพธ์ 9 แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 5 – 7)

การมุ่งเน้นผลลัพธ์

การมุ่งเน้นผลลัพธ์ จะหมายถึง การใช้ผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อสนองคุณค่าและรักษาความ สมดุลของคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย การสร้างคุณค่าให้สมดุลนี้จึงเกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นลูกค้า/ ประชาชน การให้ความสําคัญกับบุคลากร การมุ่งเน้นอนาคตและความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

1 การมุ่งเน้นลูกค้า ประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้ตัดสินคุณภาพและผลดําเนินการขององค์กร เพราะฉะนั้นองค์กรจึงต้องคํานึงถึงรูปแบบ และคุณลักษณะทั้งหมดของผลิตภัณฑ์และบริการ

2 การให้ความสําคัญกับบุคลากร/พนักงานภายในองค์กร เป็นแนวทางการดําเนินการ ที่มุ่งสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานหรือบุคลากรมีความพึงพอใจในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพ ของงานและความสําเร็จขององค์กร

3 การมุ่งเน้นอนาคต เป็นแนวทางการดําเนินการที่มีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร โดย องค์กรจะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ การตลาด การเป็นผู้นําในตลาด และ การมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

4 ความรับผิดชอบต่อสังคม การบําเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เกี่ยวข้องกับการนําองค์กร และการสนับสนุนจุดประสงค์ที่สําคัญด้านสาธารณะ รวมถึงการปรับปรุงด้านการศึกษาและสุขอนามัยของชุมชน การทําให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี การอนุรักษ์ทรัพยากร การให้บริการชุมชน การปรับปรุงวิธีปฏิบัติขององค์กรและ อุตสาหกรรม และการแบ่งปันสารสนเทศที่ไม่เป็นความลับทางธุรกิจ

2.4 การจัดการองค์กร แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 246 หน้า 7)

การจัดการองค์กร

การจัดองค์กร เป็นการจัดการกระบวนการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งมีนัยยะสําคัญต่อองค์การในด้านการสร้างคุณค่าต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้การจัดการองค์กรยังเป็น กระบวนการสนับสนุนที่สําคัญในการวางแผนดําเนินงาน โดยจะคํานึงถึงการจัดการด้านการเงินและการวางแผน ให้สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามหลักการแล้ว การจัดการองค์กรจะเน้นการวิเคราะห์ไปที่ส่วนสําคัญ 3 ประการ คือ ความคล่องตัว นวัตกรรม และการใช้ข้อมูลจริง

 

ข้อ 3 จงอธิบายความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D) และการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A) มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 95, 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31),

(คําบรรยาย) ความหมายของการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

การบริหารเพื่อการพัฒนา คือ การที่รัฐบาลมีนโยบายและโครงการพัฒนาขึ้น และต้องมี การจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนําเอาสมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบ การบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการเจริญเติบโต ทั้งทางการบริหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของประเทศ

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้สามารถ ดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

 

ข้อ 4 จงอธิบายความหมายและองค์ประกอบของ “การพัฒนาการบริหาร (Development of – Administration)” มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 43287 หน้า 101), (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 31, 51 – 58), คําบรรยาย)

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้สามารถ ดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration)

ได้แก่การพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบขององค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรม โดยมีสาระสําคัญพอสรุปได้ ดังนี้

การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร

โครงสร้างจะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อพฤติกรรมการทํางานของคนในองค์การ คือ เป็นทั้ง สาเหตุและผลลัพธ์ของความไม่มีประสิทธิภาพของการบริหาร ซึ่งการที่แต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ทําให้พฤติกรรมของคนในองค์การ ตลอดจนสัมฤทธิผลแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ โดยรูปแบบทั่วไปแล้วองค์การ ส่วนใหญ่จะจัดรูปแบบการบริหารแบบพีระมิด คือ ผู้ที่อยู่บนสุดมีจํานวนน้อยแต่จะมีอํานาจในการตัดสินใจมากที่สุด

สําหรับแนวคิดในการจัดองค์กรยุคใหม่ คือ การจัดในรูปแบบองค์การแนวราบเป็นแบบแมทริกซ์ หรือหากสามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยอาจจะสามารถก้าวเข้าสู่ยุคการจัดองค์กรยุคข้อมูล ข่าวสารแบบ Internal Market เช่น การตั้งผู้ว่า CEO มิใช่เป็นการลดอํานาจหรือก้าวก่ายการทํางานของท้องถิ่น ผู้ว่าฯ จะเป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร

1 การจัดโครงสร้างองค์การใหม่ให้มีความคล่องตัวต่อภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

2 การจัดโครงสร้างองค์การที่มีการประสานงานในแนวนอนหรือแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง โดยอาศัยหลาย ๆ วิธีการ เช่น การประสานความคิดความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันเอง เป็นต้น

3 การจัดโครงสร้างให้มีการกระจายงาน การกระจายภารกิจให้องค์กรระดับท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบด้วย

4 การกําหนดให้มีมาตรฐานของงาน เช่น การกําหนดปริมาณและคุณภาพของการผลิตและการบริการ

5 การกําหนดขอบข่ายของอํานาจหน้าที่ และการกําหนดความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

6 กําหนดสายการบังคับบัญชาและระดับการบังคับบัญชาว่ามีบุคคลใดอยู่ในสายการบังคับบัญชาใด และในหน่วยงานหนึ่ง ๆ มีระดับการบังคับบัญชาที่ระดับ การพัฒนากระบวนการทางการบริหาร

องค์การแต่ละแห่งมักจะมีโครงสร้างที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ระบบการทํางานหรือ กระบวนการทํางานในองค์การจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งกระบวนการในการทํางานนี้จะมีตัวแปรหลายตัวแปร ได้แก่ กระบวนการทํางานของผู้บริหาร คือ การวางแผนงาน วิธีการสั่งงาน การจัดกําลังคน การจัดงบประมาณ การมอบหมายงาน การกํากับควบคุมงาน วิธีการประสานงาน การตัดสินใจ และการสื่อข้อความ นอกจากนั้น ในองค์การยังมีหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ในการบริหารงานด้านบุคคล หน้าที่การ บริหารงานด้านการเงินการคลัง ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการทํางานของ คนในองค์การ เช่น องค์การใดใช้บุคคลเป็นผู้กํากับดูแลตรวจสอบการทํางานมากกว่าที่จะใช้กฎหมายแต่เพียง อย่างเดียว การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายใหญ่จะลดน้อยลง เป็นต้น

แนวทางการพัฒนากระบวนการทางการบริหาร

1 หากมีการวิเคราะห์เส้นทางเดินของงาน (Work Flow) แล้วพบว่ายังมีขั้นตอนที่ไม่จําเป็นก็ให้ลดขั้นตอนนั้นลง เช่น การลดขั้นตอนการให้บริการเป็นแบบ One Stop Service เป็นต้น

2 พยายามทําให้งานง่ายขึ้น (Work Simplification) ด้วยการกําหนดเป้าหมายของการทํางานให้ชัดเจน หรือในเรื่องอื่น ๆ เช่น การสื่อสารหากผู้ปฏิบัติมีช่องทางการสื่อสาร หลายช่องทาง คือมีวิธีการที่จะติดต่อกับผู้สั่งการได้มากขึ้นก็จะช่วยให้การทํางานมีข้อบกพร่องน้อยลง

3 นอกจากการกระจายอํานาจที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทํางานแล้ว ก็จําเป็นต้องมีหลักการรวมอํานาจในการประเมินผลไว้ที่ส่วนกลางด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการประเมินผลกันเอง และเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับทั้งในทางบวกและทางลบด้วยนั่นเอง

4 กําหนดตัวชี้วัดผลการทํางานให้เห็นชัดทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นมาตรฐานของการปฏิบัติงาน การพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยากกว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือกระบวนการทํางาน และต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ซับซ้อนกว่าการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับ ตัวแปรหลายตัวที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน (โดยเฉพาะตัวแปรเชิงจิตวิทยาสังคม) นับตั้งแต่ตัวแปรของปัจเจกชน เช่น ทัศนคติ การรับรู้ แรงจูงใจ ภูมิหลังของครอบครัว บุคลิกภาพส่วนตัว ตัวแปรกลุ่ม เช่น ผู้นําค่านิยมกลุ่ม ความขัดแย้ง การสื่อสารภายในกลุ่ม จนถึงตัวแปรขององค์การและสังคมภายนอกองค์การ เช่น ระบบการให้รางวัลและระบบ การลงโทษขององค์การ ความคาดหวังที่องค์การมีต่อบุคคล บรรยากาศการทํางาน ตลอดจนสถานการณ์ภายนอก ต่างก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมการทํางานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลง ตัวแปรแต่ละตัวจึงต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่น ๆ

แนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในระบบบริหาร

1 การเสริมความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ได้แก่ การจัดให้มีแหล่งข้อมูลแหล่งข่าวสารให้กับผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียกข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจได้ทันการณ์

2 การเสริมทักษะให้กับผู้บริหาร ได้แก่ การจัดให้มีการฝึกอบรมระดับผู้บริหาร โดยเน้นการอบรมความรู้ทั่ว ๆ ไป ไม่เน้นความรู้เฉพาะด้าน

3 การส่งเสริมการประสานงานให้กับผู้บริหาร โดยเน้นที่การประสานงานกับองค์การภายนอก

4 การกําหนดคุณลักษณะของผู้ทําหน้าที่เป็นตัวกลางการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือผู้ที่ทําหน้าที่เป็นนักบริหารการพัฒนา ได้แก่

1) ต้องเป็นคนกระตือรือร้นและมองโลกในแง่ดี (Active and Optimist)

2) ต้องเป็นนักการสื่อสารที่ดี พูดเข้าใจง่าย พร้อมที่จะรับฟังข่าวสารจากภายนอก 3) ต้องเป็นนักโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ดี สามารถระดมความร่วมมือได้ จูงใจคนได้ 4) ต้องมีบุคลิกภาพการเป็นผู้นํา

5) ต้องเป็นผู้ที่สนใจใฝ่หาข้อเท็จจริงและข่าวสารข้อมูล

6) ต้องเป็นนักประสานงานที่ดี

7) ควรเป็นผู้ที่มีค่านิยมหรือมีจิตมุ่งมั่นในการพัฒนา

WordPress Ads
error: Content is protected !!