PHI1001 วัฒนธรรมและศาสนา 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1001 วัฒนธรรมและศาสนา

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 วัฒนธรรม คือ

(1) สิ่งที่มนุษย์คิด เชื่อ สร้าง และสังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์

(2) วิถีชีวิตของมนุษย์และสังคมที่สืบเนื่องกันมา

(3) ความเจริญทางจิตใจ วัตถุ และสังคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 7 – 10, (คําบรรยาย) ความหมายของ “วัฒนธรรม” มีดังนี้

1 คือ สิ่งที่มนุษย์คิด เชื่อ สร้าง และสังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์ เช่น การสวดมนต์ข้ามปี การนอนอาบแดด การสร้างเรือหาปลา กระท่อมชาวเล ฯลฯ แต่วัฒนธรรมจะไม่รวมถึง สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี รวมทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาติญาณหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติ (สัตว์และพืช) เช่น หาดทราย-สายลม แสงแดด ปลา ฯลฯ

2 คือ วิถีชีวิตของมนุษย์และสังคมที่สืบเนื่องกันมา เป็นมรดกของสังคม

3 คือ ความเจริญทางจิตใจ วัตถุ และสังคม ทั้งนี้ในวัฒนธรรมทุกชนชาตินั้นย่อมแสดงถึงสัญลักษณ์ความเจริญ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ นวัตกรรม และภูมิปัญญาของคนในชาตินั้นเป็นต้น

2 ข้อใดเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม

(1) ภูมิปัญญา

(2) เอกลักษณ์

(3) นวัตกรรม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 ข้อใดไม่เป็นวัฒนธรรม

(1) หาดทราย-สายลม

(2) นอนอาบแดด

(3) เรือหาปลา

(4) กระท่อมชาวเล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

4 วัฒนธรรมสําคัญมากเพราะ

(1) ดํารงเชื้อชาติ

(2) ทําให้เป็นมนุษย์

(3) แสดงถึงความเจริญ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 5, 12, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมมีความสําคัญ ดังนี้

1 ดํารงเชื้อชาติ โดยจะเป็นกระจกเงาที่ส่องความเป็นมาของชนชาตินั้น ๆ เช่น ชาวอิสราเอล รักษาวัฒนธรรมมากกว่า 3,000 ปี, ชาวมอญสืบต่อวัฒนธรรมมาเกือบพันปี, ชาวเขาดํารงพิธีกรรมความเชื่อมาหลายร้อยปี

2 ทําให้คนเป็นมนุษย์ เพื่อปกปิดสัญชาตญาณธรรมชาติ อันเป็นสัญชาตญาณดิบ เช่น ไม่กินทันทีแม้กระหายอยากจะกิน แต่ต้องรอให้ถึงเวลากิน และกินอย่างมีระเบียบตามรูปแบบแห่งวัฒนธรรม

3 แสดงถึงความเจริญของชาติ สัญลักษณ์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของคนในชาติ เป็นต้น

5 ข้อใดเป็นอารยธรรม

(1) ฟุตบอล

(2) เลขอารบิค

(3) โทรศัพท์มือถือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมกับอารยธรรมมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วขยายตัวขึ้นหรือเจริญแพร่หลายไปเป็นอารยธรรม หรืออารยธรรม เป็นความเจริญงอกงามที่เกิดจากการรวมตัวของวัฒนธรรม ดังนั้นอารยธรรมจึงมีลักษณะของ ความเป็นสากล หรือเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับนําไปใช้จนเป็นสากล เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย, กีฬาโอลิมปิก, กีตาร์, เปียโน, ไวโอลิน, โทรศัพท์มือถือ, เลขอารบิค, รถยนต์, เครื่องบิน, การประกวดนางงามจักรวาล, การแข่งขันชิงแชมป์ฟุตบอลโลก, เครื่องหมายกาชาดสีแดง, 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่, วันวาเลนไทน์, วันแรงงาน, เพลง Happy Birthday, เสื้อครุยปริญญา, ชุดสูท, การจัดงาน World Expo ฯลฯ

6 ภูมิปัญญาไทย ได้แก่

(1) กังหันน้ำชัยพัฒนา

(2) ต้มยํากุ้ง

(3) นวดแผนไทย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภูมิปัญญาไทย คือ การใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวความคิดทางสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติ ความเป็นสังคม อันมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคม และทําให้ได้รู้หรือเข้าใจความเป็นมาของ ชนชาติไทยในอดีตมากขึ้น โดยภูมิปัญญาไทยนั้นจะมีอยู่ในทุกวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมหลวง และเอกลักษณ์ เช่น เรือนไทย วัดไทย ผ้าไทย (การใช้พืชย้อมผ้า ผ้าขาวม้า ผ้าไหม) คําไทย (พ่อ แม่ พี่ น้อง) อาหารไทย (ต้มยํากุ้ง) ยาไทย (ยาหอมแก้ลม) ดนตรีไทย นวดแผนไทย กังหันน้ำชัยพัฒนา รถตุ๊ก ๆ ฯลฯ

7 เอกลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) รักในหลวง

(2) ไม่เป็นไร-ให้อภัย

(3) ไหว้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 63 – 64, 67 – 68, (คําบรรยาย) ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ได้แก่ เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ รักพระเจ้าอยู่หัว (รักในหลวง) สุภาพอ่อนน้อม ลักษณะการไหว้ ยิ้มแย้มเป็นมิตร ยิ้มสู้-ยิ้มได้เมื่อภัยมา มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจบุญ เมตตากรุณา โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือ ผู้ทุกข์ยาก สนุกสนาน ลืมง่าย มักให้อภัยเสมอ โกรธไม่นาน ซึ่งคนไทยให้อภัยจนชอบพูดติดปากเสมอว่า “ไม่เป็นไร”

8 สัญลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) ธงไตรรงค์

(2) ตราครุฑ

(3) พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญลักษณ์ของประเทศไทย ได้แก่

1 ธงไตรรงค์ (ธงชาติไทย)

2 ตราครุฑ

3 พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9

4 เรือสุพรรณหงส์

5 ศาลาไทย

6 ช้างไทย

7 อักษรไทย เป็นต้น

9 วัฒนธรรมพื้นบ้านภาคอีสาน ข้อใดไม่ใช่

(1) แห่ผีตาโขน

(2) แห่นางแมวขอฝน

(3) ประเพณีชิงเปรต

(4) พิธีบายศรีสู่ขวัญ

ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมราษฎร์หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้านแต่ละภาค มีดังนี้

1 ภาคเหนือ เช่น การแอ่วสาว การไหว้ผี การผูกข้อมือ การจุดโคมลอย การฟ้อนเล็บ สะล้อ ซอ ซึง เปิงมาง ฯลฯ

2 ภาคกลาง เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงอีแซว เพลงลูกทุ่ง เพลงรําวง นิทานพื้นบ้าน ลิเก ลําตัด

รํากลองยาว การรําถวาย การทําบุญตักบาตรวันสงกรานต์ที่สนามหลวง ฯลฯ 3 ภาคอีสาน เช่น การผิดผี การไหว้ผีปู่ย่า การรําผีฟ้า การไล่ผีปอบ การแห่ผีตาโขน การแห่นางแมวขอฝน การแห่บั้งไฟ พิธีบายศรีสู่ขวัญ รําซิ่ง การตีโปงลาง ฯลฯ

4 ภาคใต้ เช่น ประเพณีชิงเปรต ประเพณีเพลงบอก การสวดโอ้เอ้วิหารราย หนังตะลุง ลิเกป่า ลิเกตันหยง รํามโนราห์ ฯลฯ

10 วัฒนธรรมหลวง ข้อใดไม่ใช่

(1) พิธีแรกนาขวัญ

(2) พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

(3) พิธีบายศรีสู่ขวัญ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 180 – 182, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมหลวง ได้แก่ พิธีแรกนาขวัญ (พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ) พิธีโล้ชิงช้า การแสดงโขนหน้าพระเมรุ การขับร้องเห่เรือสุพรรณหงส์ เพลงสรรเสริญ พระบารมี การอภัยโทษ พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พิธีสมรสพระราชทาน เป็นต้น(ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)

11 ประชาชนจํานวนมากตั้งใจว่า “จะทําความดีตามรอยพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 9” จัดเป็นวัฒนธรรม

(1) สหธรรม

(2) วัตถุธรรม

(3) เนติธรรม

(4) คติธรรม

ตอบ 4 หน้า 99 – 102, 104 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมคติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาบรรณ อันเป็นหลักหรือแนวทางดําเนินชีวิตที่ดีที่ควรยึดถือและควรปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของความเชื่อและคตินิยมทางศาสนา เช่น ประชาชนจํานวนมาก ตั้งใจว่า “จะทําความดีตามรอยพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 9” หรือ “เดินตามรอยพ่อ” ของรัชกาลที่ 9, คนไทยรักในหลวง, พุทธสุภาษิต (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กฎแห่งกรรม) คนดีผีคุ้ม), สุภาษิตคติเตือนใจเกี่ยวกับการงาน (หนักเอาเบาสู้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง), สุภาษิตคติเตือนใจในการคบมิตร (เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก), สุภาษิตคติเตือนใจ ในการประพฤติ (ไม่เป็นไร, น้ำร้อนปลาเป็น-น้ำเย็นปลาตาย บวชก่อนเบียด) และคติธรรมสอนหญิง (รักนวลสงวนตัว)

12 ข้อใดเป็นโครงการในพระราชดําริของรัชกาลที่ 9

(1) แก้มลิง

(2) แกล้งดิน

(3) ชั่งหัวมัน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โครงการในพระราชดําริของรัชกาลที่ 9 ได้แก่ แก้มลิง แกล้งดิน ชั่งหัวมัน ฝนหลวง ฝายชะลอน้ำ หญ้าแฝก ฯลฯ

13 รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เพลงจํานวนมาก ข้อใดไม่ใช่

(1) ชะตาชีวิต

(2) ชะตาฟ้า

(3) แสงเทียน

(4) ใกล้รุ่ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 ได้แก่ ชะตาชีวิต แสงเทียน ใกล้รุ่ง อาทิตย์อับแสง ยามเย็น ยามค่ำ สายฝน สายลม ลมหนาว ฝัน รัก แผ่นดินของเรา เราสู้ พรปีใหม่ ฯลฯ

14 รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดแห่งชาติในปี 2560

(1) 28 กรกฎาคม

(2) 26 ตุลาคม

(3) 5 ธันวาคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ 26 ตุลาคม 2560 เป็นวันหยุดราชการ เนื่องด้วยเป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในงานพระราชพิธี

15 วัฒนธรรมเนติธรรมไทย ถ้าเมาแล้วขับจะถูกลงโทษ ข้อใดไม่ใช่

(1) ยึดใบขับขี่

(2) ยึดบัตรประจําตัวประชาชน

(3) คุมประพฤติ

(4) ปรับ

ตอบ 2 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางเนติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายกฎมณเฑียรบาล สิทธิหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ จารีตประเพณี ข้อห้าม ทางศาสนา และหมายความรวมถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษ กระบวนการลงโทษ และกระบวนการพิจารณาความลงโทษด้วย เช่น วัฒนธรรมเนติธรรมของไทย ได้แก่ เมาไม่ขับ ถ้าเมาแล้วขับจะถูกยึดใบขับขี่ จับปรับและคุมประพฤติ, การที่รัฐบาลประกาศขยายเวลาใช้ พระราชกําหนดแรงงานที่มีบทลงโทษแรงงานผิดกฎหมาย ไปถึงสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2560 และเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป เป็นต้น

16 วัฒนธรรมเนติธรรมไทย รัฐประกาศขยายเวลาใช้ พระราชกําหนดแรงงานที่มีบทลงโทษแรงงานผิดกฎหมาย ไปถึง

(1) 1 พฤศจิกายน 2560

(2) 1 ธันวาคม 2560

(3) 1 มกราคม 2561

(4) 1 กุมภาพันธ์ 2561

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

17 พิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยวัฒนธรรม

(1) คติธรรม

(2) สหธรรม

(3) วัตถุธรรม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ตามราชพงศาวดารเรียกว่า“งานพระเมรุ” ซึ่งมีที่มาจาก พระเมรุมาศหรือพระเมรุ อันเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้าง ขึ้นเนื่องในพระราชพิธีสําคัญ ทั้งนี้พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยวัฒนธรรมคติธรรม สหธรรม และวัตถุธรรม

18 พิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูง ณ ท้องสนามหลวงจะมีการแสดงทุกครั้ง

(1) รําอวยพร

(2) ละครชาตรี

(3) โขน

(4) ลิเก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) โขน เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อยมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้โขนในสมัย โบราณนั้นถือเป็นการละเล่นของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ใช้สําหรับแสดงในงานพระราชพิธีเท่านั้น (เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูง) ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากรมีหน้าที่ในการจัดแสดง

19 วัฒนธรรมคติธรรม ได้แก่

(1) กฎแห่งกรรม

(2) น้ำร้อนปลาเป็น-น้ำเย็นปลาตาย

(3) บวชก่อนเบียด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

20 วัฒนธรรมคติธรรม ข้อใดไม่ใช่

(1) สําเนียงส่อภาษา-กิริยาส่อสกุล

(2) คนไทยรักในหลวง

(3) ไม่เป็นไร

(4) เดินตามรอยพ่อ

ตอบ 1 หน้า 125, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมสหธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ครอบครัวสาธารณชนและประเทศชาติ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่นท้องถิ่น การแข่งขันกีฬา และจรรยามารยาทหรือกิริยามารยาทต่าง ๆ ในสังคม เช่น การที่ประชาชนจํานวนมาก มีจิตอาสาเก็บคัดแยกขยะในช่วงเวลาถวายบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ที่สนามหลวง, การรู้จักกาลเทศะดังคําพังเพยที่กล่าวว่า “สําเนียงส่อภาษา-กิริยาส่อสกุล”, การลุกให้เด็ก คนชรา หญิงมีครรภ์นั่งในรถเมล์, การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก, เทศกาลสงกรานต์, วันสตรีสากล, เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ การ Countdown การจุดพลุ) เป็นต้น(ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ)

21 วัฒนธรรมสหธรรม ได้แก่

(1) การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

(2) เทศกาลสงกรานต์

(3) วันสตรีสากล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ข้อใดไม่เป็นวัฒนธรรมสหธรรม

(1) Countdown

(2) จุดพลุ

(3) ซื้อหวยเลขท้ายปี พ.ศ.

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 วัฒนธรรมไทย ข้อใดจัดเป็นความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา

(1) ผีปอป-ผีฟ้า

(2) พระสยามเทวาธิราช

(3) เจ้าป่าเจ้าเขา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมของชาวไทยนั้น แต่เดิมมีความเชื่อมาจากการนับถือผีสาง-เทวดาตามลัทธิวิญญาณนิยม (เช่น ผีปอป-ผีฟ้า เจ้าป่าเจ้าเขา พระสยามเทวาธิราช ฯลฯ) ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียก็รับเอาคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มานับถือ (เช่น เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ แม่พระธรณีบีบมวยผมที่ท้องสนามหลวง พระเมรุมาศ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ฯลฯ) และเมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ชาวไทยก็ศรัทธาเลื่อมใสพุทธศาสนามากจนยอมรับเป็นศาสนาประจําชาติ แต่ชาวไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ละทิ้งความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาและคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

24 วัฒนธรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

(1) เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์

(2) แม่พระธรณีบีบมวยผมที่ท้องสนามหลวง

(3) พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ข้อใดมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรศรีวิชัย

(1) จตุคามรามเทพ

(2) พระพุทธสิหิงค์

(3) พระปฐมเจดีย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 69 – 71, (คําบรรยาย) อาณาจักรศรีวิชัย เป็นอาณาจักรใหญ่ที่เจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมและวัฒนธรรมอย่างสูง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของดินแดนสุวรรณภูมิ โดยศิลปวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง และเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ โบราณสถานวัดพระมหาธาตุ นอกจากนี้ยังมีศิลปะการแสดงที่ได้รับ อิทธิพลมาจากอินเดีย เช่น หนังใหญ่ หนังตะลุง อิทธิพลความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เช่น จตุคามรามเทพ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ เช่น ประเพณีกินเจ ประเพณีชิงเปรต ฯลฯ

26 ข้อใดมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรทวาราวดี

(1) จตุคามรามเทพ

(2) พระพุทธสิหิงค์

(3) พระปฐมเจดีย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 72 – 73 อาณาจักรทวาราวดี เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมและวัฒนธรรมอย่างสูงในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้แก่ บริเวณจังหวัดนครปฐม (พระปฐมเจดีย์) ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ไทรโยค แควใหญ่ และแควน้อย โดยชนชาติมอญครอบครองอาณาจักรนี้มาช้านาน ต่อมาเมื่ออาณาจักรทวาราวดีอ่อนแอลงจึง ได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทยและมีการผสมกลมกลืนของวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่ แล้ววัฒนธรรมของอาณาจักรทวาราวดีนั้นได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งที่สําคัญคือการรับคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธ

27 ข้อใดมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย

(1) จตุคามรามเทพ

(2) พระพุทธสิหิงค์

(3) พระปฐมเจดีย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 82 83 ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคําแหง อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญสูงสุด และได้ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ออกไปมาก มีการทําสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรทางเหนือของ พญามังรายและพญางําเมือง จนถึงกับทําสัญญาเป็นพระสหายร่วมสาบาน นอกจากนี้ พ่อขุนรามคําแหงยังได้เจริญพระราชไมตรีกับศรีลังกาจนได้รับมอบพระพุทธรูปที่งดงามล้ำค่ามากองค์หนึ่งให้แก่ประเทศไทย คือ “พระพุทธสิหิงค์”

28 ข้อใดไม่อยู่ในปัญญาสชาดก

(1) สังข์ทอง

(2) พระรถ-เมรี

(3) อิเหนา

(4) มโนราห์

ตอบ 3 หน้า 78 – 81 ปัญญาสชาดก ชาดก 50 เรื่อง) คือ วรรณกรรมพุทธศาสนานอกพระไตรปิฎกในสมัยอาณาจักรล้านนา ซึ่งถือเป็นต้นกําเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สุธนชาดก (พระสุธน-มโนราห์), รถเสนชาดก (พระรถเสน-เมรี-นางสิบสอง) และสุวัณณสังขชาดก(สังข์ทอง-รจนา) เป็นต้น ส่วนอิเหนาและพระอภัยมณี เป็นวรรณกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

29 วัฒนธรรมความเชื่อของฮินดูมีเทพเจ้าสูงสุด 3 องค์ รวมเรียกว่า

(1) ตรีเทพ

(2) ตรีเอกานุภาพ

(3) ตรีมูรติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 24, 273 – 275 ชาวอินเดียมีวัฒนธรรมความเชื่อว่าเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูมี 3 องค์ รวมเรียกว่า “ตรีมูรติ” ได้แก่

1 พระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งในจักรวาล พระพรหมมี 4 หน้า (4 พักตร์) โดยมีพระสุรัสวดีเป็นพระมเหสี

2 พระวิษณุ (พระนารายณ์) ผู้รักษาทุกสิ่งในจักรวาล พระวิษณุมี 4 มือ (4 กร)โดยมีพระลักษมีเป็นพระมเหสี

3 พระอิศวร (พระศิวะ) ผู้ทําลายทุกสิ่งในจักรวาล พระอิศวรมี 3 ตา (3 เนตร) ซึ่งตาที่สามอยู่ที่หน้าผาก โดยมีพระอุมาเทวี (เจ้าแม่ทุรคา เจ้าแม่กาลี) เป็นพระมเหสี และมีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ และพระขันทกุมาร

30 วัฒนธรรมอินเดียแบ่งชนชั้นอย่างเคร่งครัดโดยใช้เป็นตัวกําหนด

(1) สัญชาติ

(2) ชาติกําเนิด

(3) ฐานะทางเศรษฐกิจ

(4) ระดับการศึกษา

ตอบ 2 หน้า 24 – 25 วัฒนธรรมอินเดียแบ่งชนชั้นอย่างเคร่งครัดโดยใช้ชาติกําเนิดเป็นตัวกําหนดโดยชาวฮินดูเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้แบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต้องยอมรับต่อฐานะ แห่งชาติกําเนิดของตนที่พระพรหมกําหนดให้ โดยปฏิบัติตนดํารงชีวิตไปตามฐานะวรรณะของ ตนในสังคม เช่น คนในวรรณะสูงก็จะแบ่งแยกไม่คบหาสมาคม มั่วสุมกับคนวรรณะต่ำ,อาชีพการงานก็ต้องทําจํากัดเฉพาะที่คนวรรณะต่ำควรทํา เป็นต้น

31 วรรณะจัณฑาลถูกจํากัดโดยศาสนาในเรื่องใด

(1) อาชีพการงาน

(2) การแต่งงาน

(3) ฐานะทางสังคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24 – 25, 267, (คําบรรยาย) คนในวรรณะจัณฑาลในสังคมและวัฒนธรรมอินเดียมีสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ทุกข์ยาก ลําบาก ทํางานหนัก รายได้น้อย โดยวรรณะจัณฑาล ถูกจํากัดโดยศาสนาในหลายเรื่อง เช่น อาชีพการงาน มักเป็นอาชีพที่ต่ำ ลําบาก และคนทั่วไป ไม่อยากจะทํากัน ได้แก่ กวาดถนน เก็บขยะ ล้างส้วม สัปเหร่อ ฯลฯ, การแต่งงาน, ฐานะทาง สังคมต่ำสุด และรัฐบาลก็พยายามแยกคนพวกนี้ออกจากสิทธิเสรีภาพอันพึงมีทางกฎหมายไม่ให้ทัดเทียมกับคนวรรณะอื่น ๆ ในสังคม

32 มารดาของมหาตมะ คานธี สอนว่าเมื่อคานธีถูกตัวจัณฑาลให้ล้างมลทินโดยเอามือเช็ดที่

(1) พื้นดิน

(2) ต้นไม้ใหญ่

(3) ผ้าเช็ดเท้า

(4) ผู้นับถือศาสนาอื่น

ตอบ 4 หน้า 26, (คําบรรยาย) ท่านมหาตมะ คานธี ในวัยเด็กมักจะไปถูกต้องตัวเด็กวรรณะจัณฑาลอยู่บ่อย ๆ ขณะไปโรงเรียน มารดาของท่านจึงสอนวิธีชําระล้างมลทินแบบย่อโดยให้ท่านเอามือ ไปเช็ดคนนอกศาสนาหรือคนนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น พวกมุสลิม ฯลฯ ก็จะถือว่าทําให้มลทินหมดไปจากตัวแล้ว

33 อาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคาทําวันใดได้ผลมากที่สุด

(1) ศิวาราตรี

(2) วันที่เกิดสุริยคราส

(3) วันที่เกิดจันทรคราส

(4) วันเกิดตนเอง

ตอบ 1 หน้า 26, 284 วันศิวาราตรี เป็นวันที่ชาวฮินดูทําพิธีบวงสรวงบูชาและทําพลีกรรมแก่พระศิวะซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ของพุทธศาสนา และนอกจากนี้ชาวฮินดูยังมี ความเชื่อว่า การอาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคาจะศักดิ์สิทธิ์และได้ผลมากที่สุดถ้าหากได้อาบในวันศิวาราตรีนี้

34 ประเทศใดได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย

(1) มาเลเซีย

(2) อินโดนีเซีย

(3) เนปาล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23, 51, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลครอบคลุมและเป็นแม่แบบวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มอญ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย (เกาะบาหลี) มาเลเซีย จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เนปาล เป็นต้น โดยวัฒนธรรมอินเดียนั้นจะเข้ามามี อิทธิพลต่อวัฒนธรรมชาติต่าง ๆ โดยผ่านทางศาสนามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรมการบูชาเทพเจ้า และอื่น ๆ

35 “วันศิวาราตรี” ตรงกับวัน

(1) วิสาขบูชา

(2) อาสาฬหบูชา

(3) มาฆบูชา

(4) วันลอยกระทง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

36 ชาวอินดูจะไม่…..ในแม่น้ำคงคา

(1) ทิ้งศพเด็ก

(2) ทิ้งเถ้ากระดูก

(3) อาบน้ำ-ซักผ้า

(4) ทิ้งขยะ

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 31, 287 ศรัทธาของชาวฮินดูที่มีต่อแม่น้ำคงคานั้น ได้ฝังลึกอยู่ในสายเลือดตั้งแต่บรรพบุรุษสืบทอดนับถือมาจนถึงปัจจุบัน โดยพวกเขาถือว่า แม่น้ำคงคานั้นเปรียบเสมือน มารดาผู้ให้ชีวิตและความอุดมสมบูรณ์หล่อเลี้ยงชาวอินเดียทั้งประเทศตลอดมาหลายพันปี ดังนั้นชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูทุกคนจึงใช้แม่น้ำคงคานี้สําหรับทําพิธีล้างบาป อาบน้ำ ซักผ้า ทิ้งศพเด็ก ทิ้งเถ้ากระดูก (ของมนุษย์เท่านั้น) นําไปผสมทําพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ใช้น้ำทําเป็นน้ำมนต์ดื่มกินเพื่อเป็นสิริมงคลและรักษาโรค

37 วัฒนธรรมอินเดียกินหมากเป็นของว่างและแจกหมากในการสิ้นสุด

(1) งานเลี้ยงฉลอง

(2) งานเผาศพ

(3) งานแข่งขันกีฬา

(4) งานพิธีบูชาเทพเจ้า

ตอบ 1 หน้า 34 – 35 วัฒนธรรมอินเดียเรื่องอาหารการบริโภคนั้น ชาวอินเดียถือเป็นแหล่งต้นตํารับของวัฒนธรรมการกินหมาก โดยธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารในครอบครัวอินเดีย จะรับประทานพร้อมกันทั้งครอบครัว เมื่อรับประทานเสร็จล้างมือแล้วมักจะเคี้ยวหมากล้างปาก ซึ่งในการเลี้ยงอาหารต่าง ๆ เมื่อมีการนําถาดใส่หมากพลูมาเสิร์ฟ ก็แสดงว่าการรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงฉลองสิ้นสุดลงแล้ว

38 วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่

(1) ศาสนา

(2) สถาบันกษัตริย์

(3) เทศกาลประเพณี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59, 163, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่ ศาสนา (พราหมณ์-ฮินดู) สถาบันกษัตริย์ สัญลักษณ์ราชวงศ์จักรี) เทศกาลประเพณี (เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง) วรรณกรรม (รามเกียรติ์) พิธีกรรม เทพเจ้า ภาษา อาหาร เป็นต้น

39 ประเทศอินเดียให้วัน…เป็นวันหยุดราชการ

(1) วันบูชาเจ้าแม่กาลี

(2) วันบูชาเจ้าแม่ทุรคา

(3) วันบูชาพระแม่อุมา

(4) วันบูชาพระแม่คงคา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เจ้าแม่ทุรคา เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ซึ่งเป็นที่นับถือของคนอินเดียมากจนให้วันบูชาเจ้าแม่ทุรคาเป็นวันหยุดราชการเพื่อทําพิธีเฉลิมฉลองให้เจ้าแม่ทุรคา เรียกว่า เทศกาลนวราตรีคุเซราห์ ส่วนในประเทศไทยงานฉลองนี้จะมีขึ้นประจําทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขกสีลม) โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและสิ่งบูชาต่าง ๆ

40 สตรีอินเดียได้ดํารงตําแหน่งสําคัญหลายตําแหน่ง… ข้อใดไม่ใช่

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) หัวหน้าพรรคการเมือง

(3) ประธานสภาผู้แทน ๆ

(4) นางงามโลก

ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสังคมอินเดียได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นตามลําดับโดยสตรีได้รับการศึกษาและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมบุรุษหลายประการตามกฎหมาย ทําให้ สตรีมีสิทธิได้เป็นผู้นําทางการเมือง ธุรกิจ และสังคมต่าง ๆ ได้ดํารงตําแหน่งสําคัญหลายตําแหน่ง เช่น นางอินทิรา คานธี เป็นสตรีฮินดูที่เคยดํารงตําแหน่งสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย, เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง เป็นนางงามโลก เป็นต้น

41 ชนชาติใดไม่เคยปกครองอาณาจักรจีน

(1) มองโกล

(2) แมนจู

(3) ทิเบต

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) ประเทศจีนในสมัยโบราณมีชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย เช่น เผ่าไทย มองโกล ทิเบต จีน แมนจู แม้ว เติร์ก เป็นต้น ต่อมาชนชาติมองโกลได้พยายามรวบรวม ดินแดนและชนเผ่าต่าง ๆ ไว้เป็นอาณาจักรเดียวกันได้ แต่ก็ยังยึดครองชนเผ่าจีนได้ไม่หมด ต่อมาชนชาติแมนจูเรืองอํานาจยกทัพมาตีได้ชนชาติจีนและรวบรวมอาณาจักรจีนเป็น อาณาจักรเดียวในพื้นแผ่นดินอันกว้างใหญ่นี้ จวบจนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าแมนจูเป็นชนชาติที่เคยปกครองอาณาจักรยาวนานที่สุด

42 วัฒนธรรมทางจิตใจของจีน ข้อใดไม่ใช่

(1) ขยัน อดทน

(2) แก้แค้น พยาบาท

(3) ชอบการค้า

(4) เชื่อผี-เทวดา

ตอบ 2 หน้า 38 วัฒนธรรมทางจิตใจของชาวจีนนั้น ชาวจีนมีนิสัยกตัญญ ชอบทําการค้า ขยันมานะอดทน และมีอัธยาศัยอ่อนน้อมต่อลูกค้า นอกจากนี้ชาวจีนยังมีคตินิยมในการดํารงชีวิต เป็นลักษณะเฉพาะของตน มีปรัชญาและความเชื่อของตนเอง นับถือผีสางเทวดา วิญญาณ บรรพบุรุษ วีรชนและสัตว์ต่าง ๆ มีระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆมานานหลายพันปี

43 วัฒนธรรมจีนที่แสดงถึงความกตัญญ ได้แก่

(1) เทศกาลเชงเม้ง

(2) เทศกาลกินเจ-แห่เจ้า

(3) เทศกาลไหว้พระจันทร์

(4) ล้างป่าช้า

ตอบ 1 หน้า 41, 44, คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางจิตใจของจีนที่แสดงถึงความกตัญญ ได้แก่

1 สร้างฮวงซุ้ย (สุสาน) ฝังศพอย่างดี โดยชาวจีนเชื่อว่าหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ เป็นที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวงศ์ตระกูล

2 เทศกาลเชงเม้ง คือ ไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

3 เซ่นไหว้วันตรุษจีน โดยชาวจีนจะเตรียมอาหารอย่างดีไว้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ และเทพเจ้าต่าง ๆ

4 ทําพิธีกงเต๊กงานศพ ซึ่งเป็นการทําบุญให้แก่ผู้ตายหรือบรรพบุรุษ โดยมีการสวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน มีคนรับใช้ เป็นต้น

44 วรรณกรรมอมตะจีนที่มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนา คือ

(1) คัมภีร์อี้จิง

(2) สามก๊ก

(3) ไซอิ๋ว

(4) ซุนหวู่

ตอบ 3 หน้า 39 เมื่อพุทธศาสนานิกายมหายานเผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน ความเชื่อในเรื่องพระโพธิสัตว์ก็เข้ามามีอิทธิพลต่อความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นความเชื่อเรื่อง ปีศาจ ผีสาง เทวดา เซียนเพิ่มขึ้นมา ทําให้เกิดตํานานเทพนิยาย และนิทานพื้นเมืองเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวมากมายซึ่งที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ ตํานานเรื่อง “ไซอิ๋ว”

45 เมื่อชาวจีนตั้งถิ่นฐานชุมชนเจริญแล้วก็จะสร้าง… ข้อใดก่อน

(1) โรงรับจํานํา

(2) โรงเจ

(3) โรงน้ำชา

(4) ศาลเจ้า

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) เมื่อชาวจีนตั้งถิ่นฐานชุมชนเจริญแล้ว ชาวจีนไม่ว่าจะอยู่ในดินแดนใดในโลก สิ่งแรกที่ชาวจีนจะสร้าง คือ ศาลเจ้า เพื่อทําพิธีตามความเชื่อหลักของวัฒนธรรม ของชนชาติจีน นอกจากนี้แล้วก็จะมีสุสานแห่งบรรพบุรุษ โรงเจ (โรงทาน) โรงรับจํานํา โรงงิ้ว และโรงน้ำชา เป็นต้น

46 วัฒนธรรมจีนเมื่อพบกันจะทักกันว่า

(1) รวยหรือยัง

(2) กินข้าวหรือยัง

(3) ค้าขายดีไหม

(4) มีลูกกี่คนแล้ว

ตอบ 2 หน้า 47 ตามวัฒนธรรมจีนนั้นคนจีนเมื่อพบปะกันในสมัยก่อนจะทักทายกันว่า “เจี๊ยะฮ้อ”คือ กินข้าวหรือยัง ทั้งนี้เพราะเขาถือว่า ปากท้องเป็นเรื่องสําคัญ สติปัญญาอยู่ที่ท้องถ้าท้องอิ่มก็เกิดสติปัญญา และกองทัพเดินด้วยท้อง

47 ธงชาติของประเทศจีนมีดาวดวง

(1) 3

(2) 5

(3) 7

(4) 9

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ธงชาติจีนเป็นพื้นสีแดง มีดาวสีเหลืองจํานวน 5 ดวง (เป็นดาวดวงใหญ่ 1 ดวง และดวงเล็ก 4 ดวง) ซึ่งเรียงกันคล้ายกับลักษณะแผนที่จีน โดยมีความหมายว่า มีความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของจีนทั้งประเทศ ภายใต้การนําของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนดาวที่เป็นสีเหลือง จะหมายถึงชาวจีนเป็นกลุ่มคนผิวเหลืองนั่นเอง

48 ประเทศจีนปกครองแบบ 1 ประเทศ…ระบบ

(1) 1 ระบบมีประเทศเดียว

(2) 2 ระบบ (จีน + เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) (3) 3 ระบบ (จีน + เขตบริหารพิเศษฮ่องกงฯ + เขตบริหารพิเศษมาเก๊าฯ) (4) 2 ระบบ (จีน + ไต้หวัน)

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเทศจีนปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ (One Country, Two Systems) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มโดย เติ้ง เสี่ยวผิง เพื่อการรวมประเทศจีนระหว่างต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเขาเสนอว่าจะมีเพียงจีนเดียว แต่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน สามารถมีระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบทุนนิยมได้

49 วัฒนธรรมอาหารของชาติที่ได้รับวัฒนธรรมจีน แต่ไม่กินเนื้อสุนัข

(1) เกาหลี

(2) ญี่ปุ่น

(3) เวียดนาม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอาหารของจีนนั้น ชาวจีนนิยมกินเนื้อสุนัขมานานแล้ว เพราะเชื่อว่าเนื้อสุนัขจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นและทนต่ออากาศหนาวได้ และยังพบว่ามีวัฒนธรรมอาหารของชาติอื่น ๆ ที่กินเนื้อสุนัขอย่างชาวจีน ได้แก่ เกาหลี เวียดนาม ทั้งนี้ยกเว้น ญี่ปุ่น ที่ไม่กินเนื้อสุนัข

50 วัฒนธรรมเนติธรรมของจีนปัจจุบันผู้กระทําผิดฆ่าหมีแพนด้ามีโทษสูงสุด คือ

(1) ประหารชีวิต

(2) จําคุกตลอดชีวิต

(3) จําคุก 50 ปี

(4) จําคุก 20 ปี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมเนติธรรมของจีนนั้น ในปัจจุบันกฎหมายในประเทศจีนมีความรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ที่กระทําผิดด้วยการฆ่าคน ฆ่าหมีแพนด้า และตั้งซ่องโสเภณีจะมีโทษสูงสุด คือ ประหารชีวิต

51 ประเทศญี่ปุ่นมี….น้อยมาก

(1) อาหารจากทะเล

(2) พื้นที่เพาะปลูก

(3) ประชากรสูงอายุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 48 ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะพื้นที่เป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่มากมาย ตั้งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง มีประชากรรวมมากกว่า ร้อยล้านคน แต่มีพื้นที่เพาะปลูกน้อยเพียงประมาณ 17% ของพื้นที่ทั้งหมด

52 ชาวญี่ปุ่นมี….สูงมาก

(1) ชาตินิยม

(2) เจริญทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์

(3) ประชากรสูงอายุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 48, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีความเป็นชาตินิยมสูงมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก ซึ่งนับเป็นวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติ

2 มีความเจริญทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์สูงมากในโลก

3 มีประชากรสูงอายุสูงมาก ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 82 ปี ถือว่ามีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลก

53 วัฒนธรรมความเชื่อชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกสืบเชื้อสายจาก

(1) สุริยเทพ

(2) สุริยเทพี

(3) เทพนกกระเรียน

(4) เทพีแห่งดวงจันทร์

ตอบ 2 หน้า 49, 235 วัฒนธรรมความเชื่อของชาวญี่ปุ่นนั้น ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น ก็คือ สมเด็จพระจักรพรรดิยิมมูหรือยิมมูเทนโน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพอะมะเตระสุ โดยจุติที่เกาะคิวชูพร้อมกับเพชร 1 เม็ด (หรือดวงแก้ว) ดาบ และกระจก เป็นของวิเศษสําคัญประจําตัวติดตัวมาจากสวรรค์ด้วย

54 วัฒนธรรมความเชื่อญี่ปุ่นเกี่ยวกับเทพเจ้า วิญญาณ พลังในธรรมชาติ ได้แก่

(1) ศาลเจ้า

(2) โทริ

(3) กามิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 50 วัฒนธรรมทางคติธรรมความเชื่อของชาวญี่ปุ่น บรรพบุรุษชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า ผีสาง-เทวดา วิญญาณทั้งหลาย ซึ่งเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ในธรรมชาติ เช่น วิญญาณภูเขา วิญญาณต้นไม้ วิญญาณแม่น้ำลําธาร โดยวิญญาณต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า“กามิ” (KAMI) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในญี่ปุ่น และตั้งศาลเจ้ามีรูป “โทริ” (TDRI) อันถือว่าเป็นประตูวิญญาณ

55 ข้อใดเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบูชิโด

(1) ฮาราคีรี

(2) ซามูไร

(3) มิกาเซ่

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51, (คําบรรยาย) อิทธิพลของลัทธิบูชิโดที่มีต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้แก่

1 วิถีทางแห่งนักรบซามูไร คือ “ยอมตายอย่างมีเกียรติดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ”

2 พิธีกรรมฆ่าตัวตายที่เรียกว่า “ฮาราคีรี”

3 การสละชีวิตตนเองของนักบินโดยการ ขับเครื่องบินพุ่งชนฝ่ายตรงข้ามให้ระเบิดไปพร้อมกันที่เรียกว่า “กามิกาเซ่”

4 ซามูไรไร้สังกัดหรือโรนิน ได้พัฒนาการมาเป็น “ยากูซ่า” ในปัจจุบัน เป็นต้น

56 ญี่ปุ่นได้รับวัฒนธรรมจากชนชาติ

(1) จีน

(2) อินเดีย

(3) เกาหลี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51 วัฒนธรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ มากมายหลายชาติ เช่น จีน อินเดีย เกาหลี ฮอลันดา โปรตุเกส ฯลฯ

57 วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ชาวโลกยอมรับและรู้จักกันทั่วมีมาก แต่ข้อใดไม่ใช่

(1) ชาเขียว

(2) อาหารญี่ปุ่น

(3) ยากูซ่า

(4) โดเรมอน

ตอบ 3 หน้า 53 – 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ชาวโลกยอมรับและรู้จักกันทั่วโลก ได้แก่ การเขียนหนังสือการ์ตูนและการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน (เช่น โดเรมอน) ชาเขียว อาหารญี่ปุ่น การทําดาบซามูไร การจัดสวนญี่ปุ่น ฯลฯ

58 วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่น ไม่กิน…

(1) ไข่ดิบ

(2) เลือดดิบ

(3) ปลาดิบ

(4) เนื้อวัวดิบ

ตอบ 2 หน้า 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมในการบริโภคนั้น ชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตแบบเรียบง่าย กินอาหารตามสภาพธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อย นิยมกินผักดิบ เนื้อดิบ (เช่น เนื้อวัวดิบ เนื้อวาฬดิบ) ปลาดิบ ไข่ดิบ (ไม่กินเลือดดิบ เนื้อหมาดิบ) กินข้าวปั้นก้อน ๆใช้จานไม้และไม้ไผ่ และบริโภคอาหารด้วยมือ

59 สุภาษิตญี่ปุ่น “ใช้กุ้งตก ”

(1) ปลากะพง

(2) ปลาทูน่า

(3) ปลาไหล

(4) ปลาหมึก

ตอบ 1 หน้า 55 – 56 ชาวญี่ปุ่นนิยมกินปลาซีบรีม ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากะพงแดงมากโดยปลานี้จะมีสีสดใส มีรสเป็นเลิศ ชาวญี่ปุ่นจึงยกให้เป็นราชาแห่งปลา และมีความเชื่อว่าเป็น ปลามงคลล้ำค่า ขาดไม่ได้ในงานมงคลต่าง ๆ เป็นปลาที่นิยมกินกันมากที่สุดตั้งแต่สมัยโบราณ จนมีคติธรรมหรือคําพังเพยเปรียบเทียบเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ว่า “ถึงเน่าก็เน่าอย่างปลากะพง” คือ ถึงอดโซก็โซอย่างเสือ และ “ใช้กุ้งตกปลากะพง” คือ ยอมเสียกําเพื่อเอากอบ

60 ปี 2560 จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงประกาศว่าจะ….

(1) บริจาคราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ประเทศ

(2) สละราชสมบัติ

(3) ทรงออกบวช

(4) เสด็จประพาสภูเขาไฟฟูจิ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 รัฐบาลญี่ปุ่นให้การรับรองกฎหมายที่จะเปิดทางให้สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชสมบัติ ซึ่งจะถือเป็นการสละราชสมบัติ ของจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปี ทั้งนี้สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ อาจทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยมกุฎราชกุมารนารุฮิโตะ จะทรงขึ้นครองราชย์ต่อในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562

61 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้ปฏิบัติโยคะมีความสัมพันธ์กับข้อใด

(1) โอม

(2) พระอิศวร

(3) พระศิวะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 265 การปฏิบัติตามหลักปรัชญาโยคะ คือ การเพ่งจิตเพื่อไม่ให้จิตมีอารมณ์หวั่นไหวฝึกจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกาย โดยการเพ่งจิตให้แน่วแน่อยู่กับพระอิศวร (พระศิวะ) ทําให้ จิตสะอาดบริสุทธิ์ ควบคุมจิตได้ไม่ให้มีความหวั่นไหวสั่นคลอนแม้จะต้องพบกับอารมณ์แปรปรวน ทั้งนี้เพราะตั้งจิตมั่นอยู่กับพระอิศวรผู้ทรงพระนามว่าปรณพหรือโอม ดังนั้นเมื่อภาวนาว่า “โอม”ก็จะสามารถป้องกันอุปสรรคในการปฏิบัติโยคะได้

62 มีความเชื่อทางศาสนาว่า พราหมณ์เกิดจาก…ของพระพรหม

(1) ดวงตา

(2) จมูก

(3) ปาก

(4) หัวใจ

ตอบ 3 หน้า 266 267 ระบบชนชั้นวรรณะของศาสนาฮินดู แบ่งคนออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 วรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากปากหรือศีรษะของพระพรหม

2 วรรณะกษัตริย์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากอกและแขนของพระพรหม

3 วรรณะแพศย์ เป็นวรรณะกลางที่เกิดจากตะโพกและขาของพระพรหม

4 วรรณะศูทร เป็นวรรณะต่ําที่เกิดจากเท้าของพระพรหม

63 พระวิษณุนารายณ์ไม่ได้ประทับที่

(1) เกษียรสมุทร

(2) ทะเลน้ำนม

(3) วิมานฉิมพลี

(4) สะดือทะเล

ตอบ 3 หน้า 274 พระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู โดยชาวฮินดูเชื่อว่าพระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการรักษา มี 4 กร ทรงประทับอยู่ในเกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) ณ สะดือทะเล ทรงบรรทมหลับอยู่นิรันดรบนขดของพญานาคนามว่า อนันตนาคราช เรียกว่า“นารายณ์บรรทมสินธุ์”

64 ผู้เผากามเทพไหม้เป็นจุลไป คือ

(1) พระพิฆเนศ

(2) พระศิวะ

(3) พระนารายณ์

(4) พระพรหม

ตอบ 2 หน้า 275 พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู ซึ่งจะบําเพ็ญตบะนั่งสมาธิ บนยอดเขาไกรลาส โดยชาวฮินดูเชื่อว่าพระศิวะเป็นเทพเจ้าแห่งการทําลาย พระองค์มีตาที่สาม อยู่ที่หน้าผากและตานี้จะหลับปิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากตาที่สามนี้เปิดลืมขึ้นเมื่อใดก็จะเกิด ไฟไหม้สิ่งที่อยู่ตรงหน้าพระองค์เป็นจุลไป ทั้งนี้มีตํานานฮินดูเล่าว่าพระองค์ถูกกามเทพแผลงศรจึงลืมตาที่สามขึ้น ทําให้กามเทพไหม้เป็นจุลไปและตายลง

65 นารายณ์ 10 ปาง พระนารายณ์อวตารเป็นครึ่งคนครึ่ง

(1) เสือ

(2) สิงห์

(3) นาค

(4) นก

ตอบ 2 หน้า 278 – 280, (คําบรรยาย) ชาวฮินดผู้นับถือนิกายไวษณวะ มีความเชื่อว่า พระนารายณ์(พระวิษณุ) ลงมาจุติยังโลก เพื่อปราบอธรรมและช่วยเหลือมนุษย์ 10 ครั้ง เรียกว่า พระนารายณ์อวตาร 10 ปาง ได้แก่

1 บ่างมัตสยา (ปลา)

2 ปางกูรมะ (เต่า)

3 ปางวราหะ (หมูป่า)

4 ปางนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงโต)

5 ปางวามนะ (คนค่อม)

6 ปางภาราสูราม (พราหมณ์)

7 ปางทศราชาราม (พระราม)

8 ปางกฤษณะ (พระกฤษณะ)

9 ปางพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า/เจ้าชายสิทธัตถะ)

10 ปางกัลกี (พระกัสก/พระศรีอริยเมตไตรย)

66 พาหนะของพญามัจจุราช คือ

(1) กระบือ

(2) โค

(3) ม้า

(4) เสือ

ตอบ 1 หน้า 288 289, (คําบรรยาย) สัตว์ที่เป็นพาหนะของเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้แก่ วัว (โค) เป็นพาหนะของพระศิวะ, พญาครุฑและพญานาคเป็นพาหนะของพระวิษณุ (พระนารายณ์), หงส์เป็นพาหนะของพระพรหม, นกยูงเป็นพาหนะของพระสุรัสวดี, หนูเป็นพาหนะของพระพิฆเนศ, สิงโตเป็นพาหนะของพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี, ควาย (กระบือ) เป็นพาหนะของพญายม (พญามัจจุราช) และข้างเอราวัณ (ช้าง 3 เศียร) เป็นพาหนะของพระอินทร์ ซึ่งสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู

67 ฆ่าพราหมณ์บาปเท่ากับฆ่า

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) โค

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 288 ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าวัว (โค) และพราหมณ์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมในวันเดียวกันจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากัน ดังนั้นการฆ่าวัวจึงบาปเท่า ๆ กับการฆ่าพราหมณ์ และการรับประทานเนื้อวัวนั้นชาวฮินดูถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายยิ่งกว่าการรับประทานเนื้อมนุษย์ วัวจึงเป็น สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวฮินดู และทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากวัวล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

68 ศาสนาเชนถือว่าการตายที่บริสุทธิ์ คือ ตายเพราะ

(1) เผาตัวตาย

(2) ทรมานร่างกายจนตาย

(3) กลั้นใจตายในน้ำ

(4) กระโดดจากที่สูงตาย

ตอบ 2 หน้า 338, (คําบรรยาย) ชาวเชนเชื่อว่าความตายโดยการทรมานร่างกายจนตายด้วยการอดอาหารเป็นความตายที่บริสุทธิ์ และถือเป็นการบําเพ็ญเพียรเพื่อตัดกิเลสและสะสมบุญ

69 ศาสนาใดไม่มีชั้นวรรณะ

(1) พุทธ

(2) เชน

(3) ซิกข์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 312 313, (คําบรรยาย) พุทธศาสนา เป็นศาสนาแรกที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันจะต่างกันก็ตรงกรรมที่สั่งสมมา ดังนั้นจึงปฏิเสธเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น คุณภาพของคนอยู่ที่ความดี มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเพศใด อายุเท่าใด เกิดในชาติตระกูลใด มีฐานะยากดีมีจนต่างกันอย่างไร ก็สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้

70 ผู้นับถือศาสนาซิกข์คนแรกมีความสัมพันธ์เป็นของศาสดา

(1) มารดา

(2) พี่สาว

(3) ภรรยา

(4) ธิดา 2 วัน

ตอบ 2 หน้า 342 คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ (ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อนานกี (แปลว่า หลานตา) ซึ่งรักท่านคุรุนานักมากจึงได้เอาชื่อของตนไปตั้งชื่อให้แก่น้องชายว่า “นานัก” และคงเป็นเพราะว่ารักน้องชายมากนี้เอง ต่อมานางนานกีจึงได้สมัครเป็นชาวซิกข์คนแรกด้วย

71 ผู้นับถือศาสนาซิกข์จะไม่ใช้เสื้อผ้าสี …..

(1) ขาว

(2) เขียว

(3) แดง

(4) ดํา

ตอบ 3 หน้า 348 349 ครูโควินทสิงห์ (ศาสดาองค์ที่ 10 ของศาสนาซิกข์) ได้ให้ศีล 21 ข้อ ซึ่งเป็นศีลประจําชีวิตที่ศิษย์ของท่านทุกคนถือปฏิบัติ เช่น

1 มี “ก 5 ประการ” ไว้กับตน คือ เกศ กังฆา กฉา กรา และกฤปาน

2 ห้ามใช้สีแดง เพราะเป็นสีที่หมายถึงความรัก ความเมตตา ซึ่งขัดต่อนิสัยนักรบ

3 ให้ใช้คําว่า “สิงห์” ต่อท้ายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

4 ห้ามเปลือยศีรษะ นอกจากเวลาอาบน้ำ

5 ห้ามตัดหรือโกนผม หนวด และเครา

6 ให้ถือว่าการขี่ม้า ฟันดาบ และมวยปล้ำ เป็นกิจที่ต้องทําอยู่เป็นนิจ ฯลฯ

72 พระพุทธเจ้าไม่ปฏิเสธเรื่องใด

(1) พรหมลิขิต

(2) ชั้นวรรณะ

(3) อาบน้ำล้างบาป

(4) ผีสางเทวดา

ตอบ 4 หน้า 290, 294, 310 – 313 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม มีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 ไม่นับถือบูชาผีสาง-เทวดา หรือเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด (แต่ก็มิได้ปฏิเสธในเรื่องผีสาง-เทวดาหรือเทพเจ้า เพียงแต่สอนว่าไม่ใช่ทางนําไปสู่การหลุดพ้น)

2 เชื่อเรื่องกรรมลิขิต โดยปฏิเสธเรื่อง “พรหมลิขิต” ของศาสนาฮินดู

3 เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน โดยปฏิเสธเรื่อง “การแบ่งชั้นวรรณะ” ของศาสนาฮินดู

4 เชื่อเรื่องบุญ-บาป โดยปฏิเสธเรื่อง “การอาบน้ําล้างบาป” ของศาสนาฮินดู เป็นต้น

73 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) คิดวิทยายุทธกําลังภายใน คือ

(1) กังฟู

(2) ไท้เก็ก

(3) หมัดเมา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 308 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ได้นําวิธีการฝึกสมาธิจิตไปดัดแปลงเป็นการฝึกวิทยายุทธกําลังภายในของจีน ซึ่งเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เรียกว่า “กังฟู” โดยเชื่อว่า การฝึกกังฟูจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงสมบูรณ์ มีพละกําลังเข้มแข็งเกินกว่าธรรมดาและด้วยเหตุนี้เองที่ทําให้พระมหายานในจีนนิยมฝึกวิทยายุทธกําลังภายในสืบต่อมา

74 ผู้สามารถบรรลุธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา ได้แก่

(1) เด็ก

(2) ผู้หญิง

(3) คนชรา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

75 สังเวชนียสถาน 4 แห่งที่ชาวพุทธควรไปแสวงบุญ ข้อใดไม่ใช่

(1) สถานที่ตรัสรู้

(2) สถานที่ปฐมเทศนา

(3) สถานที่ปรินิพพาน

(4) สถานที่ถวายพระเพลิง

ตอบ 4 หน้า 320 – 325 สังเวชนียสถาน 4 แห่ง ที่พุทธศาสนิกชนผู้เปี่ยมด้วยศรัทธาควรจะไปแสวงบุญทําการบูชาสักการะด้วยความเคารพเลื่อมใส คือ

1 ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติ

2 พุทธคยา เป็นสถานที่ตรัสรู้

3 สารนาถ (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน) เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา

4 กุสินารา (กุสินคร) เป็นสถานที่ปรินิพพาน

76 “กวนอิม” แปลว่า

(1) ผู้มีเมตตา

(2) ผู้ได้ยินเสียง

(3) ผู้เห็นทั่วหล้า

(4) ผู้มีพันกร

ตอบ 2 หน้า 307 พุทธศาสนานิกายมหายานในจีนจะนับถือศรัทธาพระโพธิสัตว์เด่นกว่าพระพุทธเจ้าโดยเรียกชื่อพระโพธิสัตว์ว่า “พระอวโลกิเตศวร” ซึ่งมี 6 ปาง โดยปางสําคัญที่ชาวพุทธมหายาน นับถือมากที่สุด คือ ปางที่เป็นพระกวนอิม ซึ่ง “กวนอิม” แปลว่า “ผู้ได้ยินเสียง” อันหมายถึงผู้ได้ยินเสียงสวดอ้อนวอนจากสัตว์โลก

77 “ดาโต๊ะยุติธรรม” มีหน้าที่พิจารณาคดี 4 จังหวัดภาคใต้ที่ใช้กฎหมายอิสลาม อายุตั้งแต่ ….

(1) 25 ปี

(2) 30 ปี

(3) 35 ปี

(4) 40 ปี

ตอบ 1 หน้า 410 411, (คําบรรยาย) ดาโต๊ะยุติธรรม เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยและชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามในคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของศาลชั้นต้นใน 4 จังหวัดภาคใต้ โดยตําแหน่งดาโต๊ะยุติธรรมนั้น คัดเลือกจากอิสลามศาสนิกชนผู้มีคุณสมบัติ

1 มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

2 มีภูมิรู้ในศาสนาอิสลามพอที่จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

3 มีความรู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้

78 ศาสนายูดาห์ (ยิว) มีอายุยาวนานร่วมสมัยกับศาสนาใด

(1) พราหมณ์-ฮินดู

(2) กรีกโบราณ

(3) อียิปต์โบราณ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 359, (คําบรรยาย) ศาสนาที่มีอายุยาวนานร่วมสมัยกัน ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนายูดาห์ (ยิว) ศาสนากรีกโบราณ ศาสนาอียิปต์โบราณ ศาสนาอินคาโบราณ เป็นต้น

79 “บัญญัติ 10 ประการ” เป็นโองการของพระเจ้า ผู้นํามาประกาศแก่ชาวอิสราเอล คือ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 2 หน้า 364 365 โมเสสมีบทบาทสําคัญต่อประชาชนชาวอิสราเอล คือ

1 ช่วยให้ชาวอิสราเอลพ้นจากความเป็นทาสของอียิปต์

2 เป็นผู้รับโองการจากพระเจ้าเรียกว่า “บัญญัติ 10 ประการ” แล้วนํามาประกาศแก่ ชาวอิสราเอล โดยโมเสสได้สลักลงในแผ่นศิลา 2 แผ่น ให้ชาวอิสราเอลถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้วจะพบดินแดนแห่งสัญญา แต่ถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้วพระเจ้าก็จะลงโทษ

80 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์คือเชิงเทียนมี…..ก้าน

(1) 7 ก้าน

(2) 5 ก้าน

(3) 3 ก้าน

(4) 2 ก้าน

ตอบ 1 หน้า 371 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ เชิงเทียน ซึ่งมีที่ตั้งเทียน 7 ก้าน เรียงกัน

81 เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าศาสดาอับราฮัมจะยอมฆ่าของตน (1) ภรรยา

(2) บุตร

(3) พี่น้อง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 361 ศาสดาอับราฮัม เป็นผู้มีความเคารพนับถือศรัทธาต่อพระเจ้าองค์เดียวสูงสุดโดยอับราฮัมได้พิสูจน์ในความจงรักภักดีและศรัทธาต่อพระเจ้าสูงสุดด้วยการยอมฆ่าบุตรของตน ซึ่งตนรอคอยอยากได้มานานเมื่อพระเจ้าสั่งให้ทํา ดังนั้นพระเจ้าจึงเห็นใจอับราฮัมไม่ให้ฆ่าบุตรและยังประทานพรให้แก่อับราฮัมและลูกหลานชนชาติอิสราเอลทั้งปวง

82 พรที่พระเจ้าประทานให้ชาวอิสราเอล ได้แก่

(1) ให้กล้าหาญที่สุด

(2) ให้ฉลาดกว่า

(3) ให้ปกครองโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 361 พระเจ้าประทานพรให้แก่อับราฮัมและลูกหลานชนชาติอิสราเอลทั้งปวงว่าชาวอิสราเอลทั้งหลายจะอยู่ทั่วไปในโลกดุจดวงดาวบนท้องฟ้า ลูกหลานอิสราเอลจะมีมากมาย ดุจเม็ดทรายในทะเลทราย ชาวอิสราเอลจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่า และที่สําคัญจะประทาน “ดินแดนแห่งสัญญา” (The Promised Land) ให้ชาวอิสราเอลได้อยู่อาศัยสร้างบ้านเมืองที่ถาวรและอุดมสมบูรณ์

83 ชาวอิสราเอลติดต่อกับพระเจ้าได้ โดย

(1) ผ่านนักบวช

(2) สวดมนต์

(3) บูชายัญ

(4) ไปแสวงบุญ

ตอบ 2 หน้า 360, (คําบรรยาย) ชาวอิสราเอล เชื่อว่าพระเจ้าทรงติดต่อกับมนุษย์โดยทรงแสดงอภินิหารให้เห็น ส่วนมนุษย์จะติดต่อกับพระเจ้าได้ด้วยการสวดมนต์และการบําเพ็ญภาวนา โดยพระเจ้าทรงประทานโองการโดยผ่านทางศาสดา ได้แก่ อับราฮัม โมเสส และพระเมสสิอาห์ (Messiah หรือผู้ช่วยให้รอด) ซึ่งพระเจ้าจะส่งมาโปรดช่วยเหลือชาวอิสราเอลเมื่อมีความทุกข์ อย่างหนัก โดยเดินทางมายังโลกในรูปร่างของมนุษย์

84 “The Chosen People” คือ

(1) ชาวฮิบรู

(2) ชาวอิสราเอล

(3) ชาวยิว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 368 369, (คําบรรยาย) ศาสดาอับราฮัมของศาสนายูดาห์ เป็นผู้ประกาศให้ชายผู้นับถือพระเจ้าองค์เดียว (ชาวอิสราเอลหรือชาวยิวหรือชาวฮิบรู) ทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันว่าชนชาติอิสราเอลเป็นชนชาติแรกที่พระเจ้าทรงเลือก (The Chosen People) และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญากับพระเจ้า โดยอับราฮัมถือเป็นผู้ที่ขริบปลายอวัยวะเพศคนแรก

85 ชาวอิสราเอลผู้เคร่งศาสนาจะเขียนคําสอนของไว้ที่เสาประตูเข้าบ้าน

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 369 370 ชาวอิสราเอลผู้เคร่งศาสนาจะเขียนคําสอนของโมเสสไว้ที่เสาประตูบ้านและบนประตูบ้าน โดยทุกครั้งที่เข้ามาข้างในหรือออกไปภายนอก ชาวอิสราเอลจะใช้ปลายนิ้วมือ 2 นิ้ว แตะที่เมซูซ่าห์ (หีบเล็ก ๆ ซึ่งบรรจุข้อความสําคัญ 2 ข้อ จากคัมภีร์ดิวตีโรโนมีข้อหนึ่ง และจากคําพูดของโมเสสข้อหนึ่ง) แล้วก็จูบ วิธีนี้จะทําให้ชาวอิสราเอลมีสติระลึกถึงพระเจ้าได้ทันทีทั้งเวลาออกไปและเข้ามา

86 อับราฮัมสอนไม่ให้ชาวอิสราเอลกินอาหารข้อใด

(1) เกาเหลาต้มเลือดหมู

(2) ลาบไข่มดแดง

(3) ยําไข่เต่า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 370, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์ มีข้อห้ามในเรื่องการรับประทานอาหาร คืออาหารที่รับประทานได้ประเภทเนื้อสัตว์ต้องเป็นสัตว์ประเภทเคี้ยวอาหาร เคี้ยวเอื้อง ถ้าเป็นปลาต้องเป็นปลาที่มีครีบและหาง (เช่น ปลาแซมอน ปลาช่อน) ถ้าเป็นสัตว์ปีกต้องฆ่าตามวิธีที่กําหนดไว้ และเนื้อสัตว์ที่ฆ่าต้องเอาเลือดออกให้หมด นอกจากนี้อับราฮัมยังห้ามชาวอิสราเอลไม่ให้กินเนื้อหมู เนื้อหมา ปลาหมึก ปลาไหล และกุ้ง เพราะเป็นสัตว์ที่กินของสกปรก

87 พระเยซูถูกทหารโรมันลงโทษตรึงกางเขนเพราะพระองค์ประกาศว่าเป็น (1) Messiah

(2) Son of God

(3) King of the kings

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 372, 375 – 379 385 พระเยซูทรงประกาศว่า พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้า (Son of God) เป็นผู้มาไถ่บาปช่วยเหลือชาวยิวและมวลมนุษย์หรือพระคริสต์ (Christ) หรือพระเมสสิอาห์ (Messiah หรือพระผู้ช่วยให้รอด) และพระองค์คือกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวงในโลก (King of the kings) ซึ่งคําประกาศดังกล่าวไม่ตรงกับที่ชาวยิวหวังไว้ เพราะพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญไม่ใช่กษัตริย์ จริง ๆ ไม่มีกองทัพอันเกรียงไกรแล้วจะปลดปล่อยช่วยเหลือชาวยิวได้อย่างไร ทําให้ชาวยิว บางส่วนไม่เชื่อและไม่พอใจในพระองค์ จึงได้วางแผนใส่ร้ายและยุยงให้ผู้สําเร็จราชการโรมันจับพระองค์มาลงโทษด้วยการตรึงกางเขน

88 Pope องค์ปัจจุบัน พระนามว่า

(1) เดวิด

(2) จอห์น

(3) ฟรานซิส

(4) โจเซฟ

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พระสันตะปาปา (Pope) องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Francis) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว ซึ่งนับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากทวีปอเมริกาและคณะเยสุอิต

89 พระเยซูบอกว่าพระองค์มาโปรด “คนบาป” ซึ่งเปรียบเหมือน

(1) คนป่วย

(2) คนมีปมด้อย

(3) คนที่เป็นบริวารซาตาน

(4) คนหนักแผ่นดิน

ตอบ 1 หน้า 376 พระเยซูเสด็จไปในท่ามกลางคนจนและคนต่ำต้อย โดยรักษาคนเจ็บป่วย ปลอบโยน ผู้โศกเศร้า และนําความหวังมาสู่จิตใจของคนผู้สํานึกผิด และเมื่อพระเยซูถูกต่อว่าที่มาคลุกคลี กับคนบาป พระเยซูกล่าวว่า “บุคคลผู้สบายดีก็ไม่ต้องการหมอ แต่หมอจําเป็นสําหรับผู้เจ็บป่วย ข้าพเจ้ามาไม่ใช่เพื่อคนบุญ แต่มาเพื่อคนบาป เพื่อจะได้สํานึกผิด”

90 ศาสนาโซโรอัสเตอร์ถือว่าการกระทําใดบาปที่สุด

(1) ลักขโมย

(2) ปล้น

(3) พูดเท็จโกหก

(4) โกง

ตอบ 3 หน้า 423 – 424 ศาสดาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้สั่งสอนไม่ให้คนโกหก กล่าวเท็จเป็นพยานเท็จ และประณามผู้โกหก กล่าวเท็จอย่างมากว่าบาปที่สุด จนเป็นกฎบัญญัติให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของศาสนานี้

91 ชาวโซโรอัสเตอร์ทําพิธีศพ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ ….

(1) นกอินทรี

(2) นกแร้ง

(3) นกเหยี่ยว

(4) นกอีกา

ตอบ 2 หน้า 421, 425 – 426 คติความเชื่อของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ได้แก่

1 การบูชาไฟ และเซ่นสังเวยพระเจ้าด้วยเหล้าศักดิ์สิทธิ์

2 การทําพิธีศพโดยนําศพไปวางทิ้งบนหอสูง เรียกว่า “หอคอยแห่งความสงบ” แล้วปล่อยให้นกแร้งมาจิกกินเป็นอาหาร

3 การมี “สะพานแห่งการแก้แค้น” เพื่อนําวิญญาณที่ดีไปสู่สวรรค์ และนําวิญญาณเลวลงนรก เป็นต้น

92 ปัจจุบันผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์อาศัยอยู่ในประเทศ…

(1) อินเดีย

(2) อินโดนีเซีย

(3) อิรัก

(4) อียิปต์

ตอบ 1 หน้า 419, 428 429 ในสมัยโบราณศาสนาโซโรอัสเตอร์เดิมเป็นศาสนาประจําชาติของชาวเปอร์เซีย แต่ปัจจุบันอาณาจักรเปอร์เซียกลายเป็นประเทศอิหร่านและนับถือศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจําชาติ ทําให้ชาวเปอร์เซียที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาอยู่ในประเทศของตนไม่ได้ ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ในดินแดนต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง และส่วนใหญ่อพยพไปตั้งถิ่นฐานรวมกลุ่มกัน อยู่มากเป็นชนกลุ่มน้อยและเรียกตัวเองว่า ชาวปาร์ซี (Parsee หรือ Parsi) ซึ่งในปัจจุบันผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ส่วนใหญ่นั้นตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในนครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย

93 วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องแพะรับบาปเป็นของ

(1) ชาวอิสราเอล

(2) ชาวคริสต์

(3) ชาวมุสลิม

(4) ชาวซิกข์

ตอบ 1 หน้า 367 368 เทศกาลยมคัปปูร์ (Yom-Kippur) เป็นเทศกาลที่ชาวอิสราเอลทําพิธีสํานึกบาปหรือเรียกว่า 10 วันแห่งการล้างบาป โดยชาวอิสราเอลจะปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดทําการอดอาหาร ในตอนกลางวัน ทําจิตใจให้สงบระงับ ไม่ทําบาปใดเลย และในการทําพิธีสํานึกบาปนี้ ชาวอิสราเอล จะทําพิธีเป็นว่าได้ยกบาปไปไว้ที่แพะ (ตัวผู้) ให้แพะรับบาปแล้วไล่แพะเข้าป่าพาเอาบาปของชาวอิสราเอลไปเสีย

94 ศาสนาใดไม่มีนักบวช

(1) อิสลาม

(2) ซิกข์

(3) โปรเตสแตนต์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศาสนาที่ไม่มีนักบวช ได้แก่

1 ศาสนาอิสลาม

2 ศาสนาซิกข์

3 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

95 ศาสนาใดมีนักบวชเปลือยกาย

(1) ฮินดู

(2) เชน

(3) ซิกข์

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 338, 340, (คําบรรยาย) พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชนไม่ให้มีนักบวชหญิงและปฏิเสธการปฏิบัติธรรมของสตรี โดยเห็นว่า “สตรีเพศเป็นเหตุแห่งบาป” และเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลาย ซึ่งนิกายทิคัมพรในศาสนาเชนนั้นเชื่อว่าสตรีไม่สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้ อีกทั้งนักบวชในนิกายนี้ต้องเปลือยกาย ดังนั้นหากสตรีเพศต้องเปลือยกายอาจจะทําให้นักบวชชายเกิดกิเลสได้

96 ผู้ประกาศให้ชายผู้นับถือพระเจ้าองค์เดียวต้องขริบปลายอวัยวะเพศ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

97 “หอคอยแห่งความสงบ” คือ สถานที่ของศาสนาที่บูชาไฟ

(1) สวดมนต์

(2) บูชาพระเจ้า

(3) ทําศพ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

98 “สตรีเป็นเหตุแห่งบาป” เป็นคําสอนของศาสดา

(1) อับราฮัม

(2) คุรุนานัก

(3) มหาวีระ

(4) โมเสส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

99 ผู้นับถือศาสนาใดกินมังสวิรัติ

(1) ฮินดู

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 3 หน้า 337 จากการที่ผู้นับถือศาสนาเชน (รวมทั้งศาสดาและนักบวช) ต้องรักษาศีลข้อแรก(ไม่ฆ่าและไม่ทําร้ายสิ่งมีชีวิตใด ๆ ด้วยคําพูด ความคิด หรือการกระทําแม้ในการป้องกันตนเอง) และมีความเชื่อในอหิงสาอย่างแนบแน่นอยู่ในจิตใจนั้น จึงทําให้ชาวเชนสมถะพอเพียงและกลายเป็นนักมังสวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์และไม่ดื่มนมจากสัตว์ตลอดชีวิต แม้ในเวลาที่เป็นปัญหาแห่งสุขภาพเพื่อมีชีวิตอยู่รอดก็ตาม

100 “สุวรรณวิหาร” เป็นศาสนสถานที่สําคัญของศาสนาใด

(1) ฮินดู

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 346 คุรุอรชุน (ศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์) เป็นผู้สร้าง “สุวรรณวิหาร” หรือ“หริมณเฑียร” ขึ้นกลางสระอมฤต ซึ่งเป็นวิหารหรือวัดที่สวยงามมาก มีประตูสี่ด้าน ไม่มีรูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นสีทองอร่ามไปทั่วทั้งวิหารทั้งภายนอกและภายใน ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และ ถือเป็นศาสนสถานที่สําคัญที่สุดของศาสนาซิกข์

PHI1003 ปรัชญาเบื้องต้น S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ทําไม “ปรัชญา” จึงเกี่ยวข้องกับมนุษย์

(1) เพราะมนุษย์มีปัญหา

(2) เพราะมนุษย์มีปัญญา

(3) เพราะมนุษย์มีปรัชญา

(4) เพราะมนุษย์รู้ปรัชญา

ตอบ 2 หน้า 1 ปรัชญาเป็นเรื่องราวของการใช้ปัญญาเพื่อไตร่ตรองในสิ่งที่ตนยังสงสัยหรือคิดว่าเป็นปัญหาอยู่ และเป็นการพยายามใช้ปัญญาไตร่ตรองถึงคําตอบที่เป็นไปได้สําหรับปัญหา ที่ตนยังติดใจสงสัย ดังนั้นปรัชญาจึงเป็นเรื่องของผู้ใช้ปัญญา หรือผู้มีความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้ ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญา

2 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

(1) คําว่า “ปรัชญา” บัญญัติแทน “Philosophy” และมีความหมายตรงกัน

(2) คําว่า “ปรัชญา” บัญญัติแทน “Philosophy” แต่มีความหมายไม่ตรงกัน

(3) คําว่า “ปรัชญา” ไม่ได้บัญญัติแทน “Philosophy” แต่มีความหมายตรงกัน

(4) คําว่า “ปรัชญา” ไม่ได้บัญญัติแทน “Philosophy” จึงมีความหมายไม่ตรงกัน

ตอบ 1 หน้า 1 คําว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งใช้แปลคําว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นคําว่าปรัชญาจึงมีความหมายที่สอดคล้อง หรือเหมือนกันทุกประการกับ Philosophy ซึ่งหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนาจะเป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้น

3 ข้อใดคือท่าทีของ “ปรัชญา” ตามความหมายในวิชา PHI 1003

(1) การศึกษาเรื่องความรู้อันประเสริฐ

(2) การสงสัยและหาคําตอบ

(3) การหาหลักการให้กับองค์กร

(4) การศึกษาเพื่อการพ้นทุกข์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

4 สิ่งที่ “ปรัชญา” ไม่สามารถช่วยได้คือข้อใด

(1) ความสามารถคิดอย่างมีเหตุผล

(2) การมีทัศนะกว้างขึ้น

(3) การมีใจกว้างขึ้น

(4) การหางานทําได้ง่ายขึ้น

ตอบ 4 หน้า 1 – 2, (คําบรรยาย) ปรัชญาเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์สามารถคิดอย่างมีเหตุผล ไม่ยอมรับสิ่งใดโดยง่ายดาย แต่ก็มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงทําให้มีทัศนะกว้างขวางขึ้นและพยายามแสวงหาคําตอบสําหรับปัญหาของตนตลอดเวลา แต่ไม่ได้ทําให้หางานทําได้ง่ายขึ้น

5 ข้อใดสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) เทพประจําธรรมชาติ – ปฐมธาตุ

(2) เทพประจําธรรมชาติ – ระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

(3) ปฐมธาตุ – ความไร้ระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

(4) ปฐมธาตุ – ระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ตอบ 2 หน้า 2 ปรัชญายุคดึกดําบรรพ์ เชื่อว่า จักรวาลหรือเอกภพมีกฎเกณฑ์ที่ไม่แน่นอนตายตัวดังนั้นปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลายจึงเกิดขึ้นตามน้ําพระทัยของเทพเจ้า หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เทพเจ้าเป็นผู้กําหนดระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาตินั่นเอง

6 ข้อใดสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) โซฟิสต์ – ความรู้เชิงปรนัย

(2) โซเครตีส – ความรู้เชิงอัตนัย

(3) โซฟิสต์ ปัญญา

(4) โซเครตีส – ปัญญา

ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) โซเครตีส เพลโต และอริสโตเติล เชื่อว่า มนุษย์มีสมรรถภาพพอที่จะรู้ความเป็นจริงได้ (ความรู้เชิงปรนัย) ถ้ามนุษย์ใช้ปัญญาหรือเหตุผลที่เป็นสมรรถภาพเหนือผัสสะ ส่วนโซฟิสต์ เห็นว่า มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะรู้ว่าอะไรคือสารเบื้องต้นของธรรมชาติที่แท้จริงนักปรัชญาแต่ละคนจึงได้ตอบไปตามความเห็นของตนเท่านั้น

7 ที่ว่าสสารนิยมเป็น “เอกนิยม” (Monism) มีความหมายอย่างไร

(1) โลกเป็นปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้น

(2) โลกเป็นปรากฏการณ์ของสสารชนิดเดียว

(3) โลกมีเพียงโลกเดียว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 31 สสารนิยมเป็นเอกนิยม (Monism) ถือว่าปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นความจริงประเภทเดียว และเป็นปรากฏการณ์ของสสารชนิดเดียว โดยสสารจะเป็นสิ่งที่ครองที่ คือ แผ่ไปในที่ว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่และเกิดขึ้นในที่ว่าง ถ้าวัตถุชิ้นหนึ่งครองที่อยู่ ณ ที่หนึ่งแล้ว วัตถุชิ้นอื่นจะครองที่นั้นในเวลาเดียวกันนั้นไม่ได้

8 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้รับฉายาว่า สาวใช้ของศาสนา

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 3 หน้า 8, 249 ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง เป็นช่วงสมัยที่ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับนับถือกันทั่วไป ดังนั้นปรัชญาตะวันตกยุคกลางจึงได้รับฉายาว่า “สาวใช้ของศาสนา” เนื่องจากปรัชญา ถูกดึงไปเป็นเครื่องมือสําหรับอธิบายและส่งเสริมคําสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุมีผลยิ่งขึ้นถือเป็นการประนีประนอมระหว่างปรัชญากรีกกับคริสต์ศาสนา

9 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ได้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 4 หน้า 8, 251 – 255, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนี้ จะได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้แก่ เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซ่า (Spinoza), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke), เดวิด ฮูม (David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น

10 “ปรัชญาบริสุทธิ์” คืออะไร

(1) ความเป็นจริง

(2) การรู้ความเป็นจริง

(3) การปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11 – 17 ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) หมายถึง ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับข้อสรุปของวิชาอื่น ๆ ที่แยกตัวออกไปจาก วิชาปรัชญาแล้ว ซึ่งปรัชญาบริสุทธิ์จะศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงใน 3 ประเด็น คือ

1 ความเป็นจริงคืออะไร

2 เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร

3 เราพึงปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง

11 นักปรัชญาใช้วิธีการใดในการตอบข้อสงสัยของตนเอง

(1) การไตร่ตรองด้วยเหตุผลเป็นหลัก

(2) การเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ และสรุปเป็นทฤษฎีด้วยการทดลอง

(3) การศึกษาจากคัมภีร์ของศาสนาต่าง ๆ

(4) การหยั่งรู้โดยตรง

ตอบ 1 ดูคําบรรยายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

12 ข้อใดคือลักษณะของการตอบคําถามของนักปรัชญา

(1) ปัญหาเดียวกัน หลายคนช่วยกันคิดให้มีคําตอบเดียว

(2) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาคนเดียวกันมีหลายคําตอบ

(3) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาหลายคนมีคําตอบต่างกัน

(4) ปัญหาเดียวกัน มีหลายคําตอบ แต่เป็นไปได้คําตอบเดียว

ตอบ 3 หน้า 9 ลักษณะสําคัญประการหนึ่งของปรัชญา ก็คือ แม้แต่คําตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้นนักปรัชญาหลายคนก็อาจมีคําตอบที่แตกต่างกัน และอาจมีคําตอบที่เป็นไปได้หลายคําตอบโดยยังไม่มีการกําหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคําตอบใดเป็นคําตอบที่ถูกต้องที่สุด

13 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับคานท์

(1) ประนีประนอมเหตุผลนิยมกับประสบการณ์นิยม

(2) ประนีประนอมสุขนิยมกับอสุขนิยม

(3) ประนีประนอมสสารนิยมกับจิตนิยม

(4) ประนีประนอมสัมพัทธ์นิยมกับสัมบูรณ์นิยม

ตอบ 1 หน้า 8 – 9, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 15 จนมาสิ้นสุดที่คานท์ (Kant) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเหตุผลนิยม และกลุ่มประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม) โดยคานท์เป็นผู้ประนีประนอมความคิด/ความเชื่อของทั้ง 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน

14 ข้อใดคือท่าทีของนักปรัชญาตะวันตกสมัยกลางต่อเพลโต

(1) ปรัชญาของเพลโตเป็นปฏิปักษ์กับคําสอนของศาสนาคริสต์

(2) ปรัชญาของเพลโตเข้ากันได้กับคําสอนของศาสนาคริสต์

(3) เพลโตเป็นศิษย์คนหนึ่งของพระเยซู

(4) เพลโตเป็นนักปรัชญาที่เชื่อเรื่องพระเจ้า

ตอบ 2 หน้า 28, (คําบรรยาย) ปรัชญาของเพลโตเป็นจิตนิยม ซึ่งถือว่า ค่าทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกของวัตถุและโลกของมนุษย์มีต้นตออยู่ที่อสสารด้วย เช่น ความดี ความงาม ความยุติธรรม เป็นค่า หรือคุณธรรมที่มีอยู่ในโลก ดังนั้นจึงสอดคล้องกับทัศนะของนักปรัชญาตะวันตกสมัยกลางที่เห็นว่าคุณค่าต่าง ๆ ในโลกเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น มิใช่สิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นหรือตั้งขึ้นมา

15 ข้อใดคือท่าทีของนักเหตุผลนิยมเกี่ยวกับประสบการณ์

(1) มนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้บางเรื่อง

(2) มนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้ทุกเรื่อง

(3) มนุษย์ไม่สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้เลย

(4) มนุษย์ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูลสําหรับคิด

ตอบ 1 หน้า 106 107, (คําบรรยาย) พวกเหตุผลนิยม เห็นว่า ความรู้ที่แท้จริงแน่นอนไม่อาจจะได้รับจากประสาทสัมผัส แต่ได้จากความคิดหรือเหตุผล แต่ยอมรับว่าประสบการณ์ทางผัสสะ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้ หรือเป็นสิ่งที่มาจุดประกายให้สติปัญญาเริ่มทํางานเท่านั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่ามนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้ในบางเรื่องเท่านั้น

16 ปัญหาเรื่องปฐมธาตุของนักปรัชญากรีกโบราณจัดเป็นปัญหาปรัชญาสาขาใด

(1) อภิปรัชญา

(2) ญาณวิทยา

(3) จริยศาสตร์

(4) ปรัชญาประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 17, 21 – 23 อภิปรัชญา เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “ความเป็นจริงคืออะไร” โดยมุ่งที่จะสืบค้นไปถึงสิ่งที่จริงที่สุด ซึ่งอาจซ่อนอยู่เบื้องหลัง ปรากฏการณ์ของโลกที่ปรากฏต่อผัสสะของมนุษย์ หรือสิ่งที่อยู่ล่วงเลยขอบเขตของสสาร (อสสาร) ซึ่งแยกออกได้เป็น 3 ปัญหา คือ

1 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลก เช่น ปฐมธาตุหรือแก่นแท้ของจักรวาลคืออะไร

2 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของจิต เช่น จิตหรือวิญญาณของมนุษย์มีจริงหรือไม่

3 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของพระเจ้า เช่น พระเจ้ามีอยู่และเกี่ยวข้องกับโลกอย่างไร

17 ความหมายตามศัพท์ของ “Metaphysics” ตรงกับศัพท์ใดมากที่สุด (1) อภิปรัชญา

(2) ปรมัตถ์

(3) อตินทรีย์วิทยา

(4) ปรัชญา

ตอบ 3 หน้า 21 – 22 Metaphysics แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังวัตถุ หรือวิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส จะมีความหมายตรงกับคําว่า “อตินทรีย์วิทยา” ซึ่งแปลว่า ล่วงเลยอินทรีย์หรือประสาทสัมผัส แต่คําว่าอตินทรีย์วิทยานี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันโดยคําที่นิยมใช้ก็คือ “อภิปรัชญา” ซึ่งแปลว่า ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่

18 ข้อใดจัดเป็นปัญหาอภิปรัชญา

(1) โลกเป็นปรากฏการณ์ของอะไร

(2) มนุษย์มีวิญญาณหรือไม่

(3) พระเจ้าเกี่ยวข้องกับโลกอย่างไร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

19 ในฐานะเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญา “จิตนิยม” (Idealism) มีความหมายอย่างไร

(1) คนชอบคิดถึงสิ่งเหนือจริง

(2) คนเชื่อว่าสสารเป็นจริงที่สุด

(3) คนเชื่อว่าอสสารจริงกว่าสสาร

(4) คนเชื่อว่าสสารเป็นสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 25 – 27 จิตนิยม เห็นว่า สสาร วัตถุ หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริงแต่ยังมีสิ่งที่จริงถว่าวัตถุและสสาร กล่าวคือ ยังมี “ของจริง” อีกอย่างหนึ่งที่จับต้องหรือ สัมผัสไม่ได้ มองเห็นไม่ได้ ไม่มีตัวตน (ไร้รูปร่าง) มีอยู่เป็นนิรันดรหรือมีสภาวะเป็นอมตะ (ไร้อายุขัย) และไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลา ซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial) สิ่งนั้นคือ “จิต” เช่น แบบ วิญญาณ และพระเจ้า ฯลฯ อันเป็นต้นกําเนิดหรือต้นแบบของวัตถุดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มองเห็นอยู่บนโลกนี้ จึงเป็นเพียงสภาพที่ปรากฏของสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น

20 ในฐานะเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญา “สสารนิยม” มีความหมายอย่างไร

(1) คนชอบคิดถึงสิ่งเหนือจริง

(2) คนเชื่อว่าสสารเป็นจริงที่สุด

(3) คนเชื่อว่าอสสารจริงกว่าสสาร

(4) คนเชื่อว่าสสารเป็นสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่ง

ตอบ 2 หน้า 25, 31 – 32 ลัทธิสสารนิยม เห็นว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง ซึ่งแนวความคิด ทั่วไปของลัทธินี้ได้แก่

1 สสารนิยมเป็นเอกนิยม

2 สสารนิยมยอมรับทฤษฎีหน่วยย่อย

3 สสารนิยมยอมรับแนวความคิดเรื่องการทอนลง

4 สสารนิยมเห็นว่าค่าเป็นสิ่งสมมุติ

5 สสารนิยมถือว่าจักรวาลอยู่ในระบบจักรกล

21 ในฐานะเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญา “ธรรมชาตินิยม” มีความหมายอย่างไร

(1) คนชอบคิดถึงสิ่งเหนือจริง

(2) คนเชื่อว่าสสารเป็นจริงที่สุด

(3) คนเชื่อว่าอสสารจริงกว่าสสาร

(4) คนเชื่อว่าสสารเป็นสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่ง

ตอบ 4 หน้า 33 – 34 ธรรมชาตินิยม เห็นว่า สสารเป็นสิ่งธรรมชาติที่มีลักษณะ 2 ประการ คือ

1 เป็นสิ่งที่ดํารงอยู่ในระบบของอวกาศ

2 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับลงด้วยสาเหตุธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเห็นว่า สิ่งธรรมชาติมีความจริงอยู่ในตัวมันเอง ไม่สามารถตัดทอนลงเป็นอะตอมได้

22 นักจิตนิยม มีความเห็นเกี่ยวกับโลกมนุษย์อย่างไร

(1) โลกเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

(2) โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตเป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังการตายที่ประเสริฐกว่า

(3) โลกเป็นมายา

(4) โลกมีแต่สิ่งชั่วร้าย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักจิตวิยม เห็นว่า โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวสําหรับมนุษย์ที่ใช้เป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังความตายที่ประเสริฐกว่า ซึ่งเป็นโลกที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสหรือโลกของแบบที่แท้จริง

23 นักธรรมชาตินิยม มีความเห็นเกี่ยวกับโลกมนุษย์อย่างไร

(1) โลกเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

(2) โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตเป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังการตายที่ประเสริฐกว่า

(3) โลกเป็นมายา

(4) โลกมีแต่สิ่งชั่วร้าย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พวกธรรมชาตินิยมหรือสัจนิยมนั้น มีทัศนะว่า โลกหรือวัตถุทั้งหลายมีความแท้จริงตามสภาพของมันโดยไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าจะมีมนุษย์รับรู้มันหรือไม่ และมีอยู่ก่อนที่จะมีผู้ใดมารับรู้มัน ดังนั้นโลกจึงเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

24 อสสารมีลักษณะอย่างไร

(1) มีรูปร่าง จับต้องได้ แต่ไร้อายุขัย

(2) มีรูปร่าง จับต้องได้ มีอายุขัย

(3) ไร้รูปร่าง จับต้องไม่ได้ แต่มีอายุขัย

(4) ไร้รูปร่าง จับต้องไม่ได้ ไร้อายุขัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

25 ลัทธิจิตนิยม มีทัศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร

(1) ปัจจุบันเป็นผลของอดีต

(2) ปัจจุบันเป็นผลของอนาคต

(3) ปัจจุบันเป็นผลของการก้าวกระโดดของอดีต

(4) ปัจจุบันคือสิ่งใหม่ที่เกิดโดยบังเอิญ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิจิตนิยมมีความเชื่อในเรื่องของพระเจ้า หรือในเรื่องของอํานาจบุญและบาปดังนั้นจึงมีทัศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกว่า ปัจจุบันเป็นผลของอดีต นั่นคือ การกระทําใด ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต จะต้องส่งผลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นในปัจจุบันหรือในอนาคตอย่างแน่นอน

  1. ลัทธิธรรมชาตินิยม มีทัศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร

(1) ปัจจุบันเป็นผลของอดีต

(2) ปัจจุบันเป็นผลของอนาคต

(3) ปัจจุบันเป็นผลของการก้าวกระโดดของอดีต

(4) ปัจจุบันคือสิ่งใหม่ที่เกิดโดยบังเอิญ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลัทธิธรรมชาตินิยมมีทัศนะบางอย่างคล้ายกับลัทธิสสารนิยมเป็นอย่างมากตัวอย่างเช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงแบบ “ก้าวกระโดด” ที่เห็นว่า เป็นการเรียงตัวของหน่วย ย่อยในรูปแบบใหม่ ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรสูญ สามารถเข้าใจได้ และเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่ไปสู่จุดมุ่งหมายเร็วขึ้น

27 นักจิตนิยม มีทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกายของมนุษย์อย่างไร

(1) จิตคือกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(2) จิตไม่ใช่กาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

(3) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(4) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

ตอบ 2 หน้า 34 – 35 จิตนิยม เชื่อว่า วิถีชีวิตของแต่ละคนนั้น ย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิตแต่ละคน ร่างกายเป็นเพียงการตอบสนองต่อเจตจํานงของจิตเท่านั้น ดังนั้นจิตจึงมีธรรมชาติ ที่ต่างไปจากร่างกายและมีสภาวะเป็นนิรันดร์ ไม่สูญสลายไปตามร่างกาย ซึ่งตรงกับสุภาษิตที่ว่า“ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”

28 นักธรรมชาตินิยม มีทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกายของมนุษย์อย่างไร

(1) จิตคือกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(2) จิตไม่ใช่กาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

(3) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(4) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า ร่างกายเป็นผลิตผลเชิงวิวัฒนาการของการจัดระบบของสสารขั้นที่หนึ่ง ส่วนจิตจะถือกําเนิดจากร่างกายในอีกขั้นหนึ่ง ดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าจิตเป็นคุณภาพของร่างกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

29 คนที่ยอมทํางานหนักเพื่อแลกกับเงินเดือนที่สามารถช่วยให้ชีวิตสุขสบาย เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) มีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) มีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) มีจิตภาคตัณหาและน้ำใจเด่น

(4) มีจิตภาคเหตุผลเด่น

ตอบ 1 หน้า 35 – 36, 245 246 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งเป็น 3 ภาค คือ

1 ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทําทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมาสนองความสุขแบบโลก ๆ จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกยสุข

2 ภาคน้ำใจ คือ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยึดถือเกียรติและสัจจะเป็นสําคัญ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ

3 ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะโดยจะทุ่มเทชีวิตเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงาม และคุณธรรม

30 คนที่ยอมทิ้งความสุขสบายทางกาย มุ่งแสวงหาความเข้าใจเรื่องความจริง ความดี ความงาม เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) มีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) มีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) มีจิตภาคตัณหาและน้ำใจเด่น

(4) มีจิตภาคเหตุผลเด่น

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 คนที่สามารถหักห้ามใจไม่รับสินบนก้อนโตจากพ่อค้า ถึงแม้ว่าเงินนั้นจะทําให้ชีวิตของตนสบายขึ้นเป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) มีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) มีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) มีจิตภาคตัณหาและน้ำใจเด่น

(4) มีจิตภาคเหตุผลเด่น

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

32 “พระเจ้าคือสิ่งทั้งปวง” คือ ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับโลก ตามลัทธิใด

(1) Deism

(2) Theism

(3) Pantheism

(4) Panentheism

ตอบ 3 หน้า 45 ลัทธิสกลเทพนิยม (Pantheism) เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าอยู่ในโลกและในวิญญาณของมนุษย์ พระผู้เป็นเจ้าจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับโลก โดยอาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ“พระผู้เป็นเจ้าคือสิ่งทั้งปวง และสิ่งทั้งปวงคือพระผู้เป็นเจ้า”

33 “โลกคือการแสดงออกของพระเจ้าบางส่วน แต่พระองค์ก็แตกต่างจากโลกนี้” คือ แนวคิดของลัทธิใด

(1) Deism

(2) Theism

(3) Pantheism

(4) Panentheism

ตอบ 2 หน้า 45, (คําบรรยาย) ลัทธิสรรพเทวนิยม (Theism) เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นสภาวะทั้งที่อยู่เหนือโลกและอยู่ในโลก แต่อยู่เหนือวิญญาณมนุษย์โดยประการทั้งปวง ดังนั้นโลกจึงเป็นการแสดงออกบางส่วนของพระเจ้า แต่พระองค์ก็แตกต่างจากโลกนี้

34 ทฤษฎีพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าทฤษฎีใดที่เริ่มจากการสังเกตความสอดคล้องกลมกลืนของโลกจนเชื่อว่า น่าจะเกิดจากการออกแบบของพระเจ้า

(1) ทฤษฎีเชิงเอกภพ

(2) ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์

(3) ทฤษฎีเชิงภววิทยา

(4) ทฤษฎีเชิงจริยธรรม

ตอบ 2 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์ ถือว่า โลกนี้มีเอกภาพ มีระเบียบ มีความกลมกลืนกัน เช่น มีที่ราบ ภูเขา ทะเล พืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งต่างก็ปรับตัวให้เข้ากับระเบียบที่กําหนดไว้แล้ว ในธรรมชาติ ซึ่งแสดงว่าโลกนี้ต้องมีผู้ออกแบบที่ชาญฉลาดสร้างขึ้นมา และมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นเช่นนั้น โดยผู้ออกแบบสร้างโลกนี้ก็คือพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่

35 ทฤษฎีพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าทฤษฎีใดที่เริ่มจากความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าของมนุษย์ว่าน่าจะมาจากพระเจ้า

(1) ทฤษฎีเชิงเอกภพ

(2) ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์

(3) ทฤษฎีเชิงภววิทยา

(4) ทฤษฎีเชิงจริยธรรม

ตอบ 3 หน้า 43 ทฤษฎีเซงาววิทยา ถือว่า พระเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์ ส่วนมนุษย์เป็นสิ่งสัมพัทธ์ แต่การที่มนุษย์มีความคิดในเรื่องพระเจ้าได้นั้น เกิดจากพระเจ้าเป็นต้นเหตุให้มนุษย์คิดถึงสิ่งที่ไร้ขอบเขตนี้ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่

36 “แบบ” ของเพลโตกับ “พระเจ้า” ของศาสนาคริสต์ มีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

(1) เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถพูดคุยได้เหมือนกัน

(2) มีสถานภาพเป็นอสสารเหมือนกัน

(3) เป็นแหล่งกําเนิดของโลกเหมือนกัน

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

37 “เทวสิทธิ์” (Divine Right) หมายถึงอะไร

(1) การอ้างว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของชีวิตมนุษย์ทุกคน

(2) การอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อสนับสนุนอํานาจในการปกครอง

(3) การอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อการควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติ

(4) การอ้างอํานาจพระเจ้าในพิธีบูชาพระเจ้า

ตอบ 2 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการอ้างเทวสิทธิ์ (Divine Right) หมายถึง การที่ผู้ปกครองอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อสนับสนุนอํานาจในการปกครองของตน โดยอ้างว่าตนเป็นสมมติเทพหรือเป็น เทพผู้ยิ่งใหญ่ที่เทพบดีคัดเลือกส่งมาปกครอง ถือตนว่าเป็นบุตรแห่งสวรรค์หรือเป็นผู้สืบเชื้อส มาจากเทพ จึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะปกครอง

38 ข้อใดเป็นลักษณะของปรมาณูของไวเศษิกะ

(1) ปรมาณู แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(2) ปรมาณู เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(3) ปรมาณู แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น

(4) ปรมาณู แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 57 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า ปรมาณูแต่ละชนิดแตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ส่วนปรัชญากรีก ถือว่า ปรมาณูมีความแตกต่างกันเฉพาะปริมาณเท่านั้น แต่ในด้านคุณภาพมีลักษณะเหมือนกัน

39 การเคลื่อนไหวของปรมาณู ตามทัศนะของไวเศษกะเป็นอย่างไร

(1) หยุดนิ่งตลอดเวลา

(2) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวโดยอาศัยพระเจ้ากําหนด

(3) เคลื่อนไหวด้วยตัวเองตลอดเวลา

(4) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองเมื่อถึงเวลา

ตอบ 2 หน้า 58 – 59 ลัทธิเวเศษกะ ถือว่า ปรมาณูเป็นสิ่งที่ไร้กัมมันตภาพและจลนภาพ จึงอยู่ในภาวะที่หยุดนิ่ง การเคลื่อนไหวของปรมาณูจะต้องอาศัยพลังแห่งอํานาจที่มองไม่เห็นและเจตจํานงของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งผลักดันและชักจูง

40 การเคลื่อนไหวของปรมาณูหรืออะตอม ตามทัศนะของปรัชญากรีกเป็นอย่างไร

(1) หยุดนิ่งตลอดเวลา

(2) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวโดยอาศัยพระเจ้ากําหนด

(3) เคลื่อนไหวด้วยตัวเองตลอดเวลา

(4) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองเมื่อถึงเวลา

ตอบ 3 หน้า 58 ปรัชญากรีก ถือว่า ปรมาณูมีทั้งกัมมันตภาพและจลนภาพอยู่ในตัวโดยธรรมชาตินั่นคือ แต่ละปรมาณูไม่มีการหยุดนิ่ง หากแต่มีการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอยู่ตลอดเวลา

41 ตามทัศนะของไวเศษกะ วัตถุจะเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูอย่างน้อยกี่ปรมาณู

(1) 2 ปรมาณู

(2) 3 ปรมาณู

(3) 4 ปรมาณู

(4) 5 ปรมาณู

ตอบ 1 หน้า 59 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า วัตถุจะต้องเกิดจากการรวมตัวกันของปรมาณูอย่างน้อย 2 ปรมาณู ส่วนวัตถุที่เราพอจะรู้ตัวยประสาทสัมผัสนั้น จะต้องเกิดขึ้นจากการรวมตัวของปรมาณูตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป

42 ตามทัศนะของไวเศษกะ วัตถุที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูอย่างน้อยกี่ปรมาณู

(1) 2 ปรมาณู

(2) 3 ปรมาณู

(3) 4 ปรมาณู

(4) 5 ปรมาณู

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ

41 ประกอบ “ปรพรหม” คืออะไร

(1) พระเจ้าที่มีรูปร่างอย่างมนุษย์

(2) สภาวะที่ไม่มีรูปร่าง

(3) สภาวะที่มีรูปร่าง

(4) พระเจ้าที่มีรูปร่างแตกต่างจากมนุษย์

ตอบ 2 หน้า 62 63 พรหมัน ในฐานะที่เป็นปรพรหมนั้น หมายถึง อันติมะสัจจะที่ไม่มีรูปร่าง หรือสภาวะที่ไม่มีรูปร่าง หากเป็นเพียงภาวะอันหนึ่งซึ่งเป็นพืชของสรรพสิ่ง ส่วนพรหมันในฐานะที่เป็นอปรพรหม-หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดหรือพระผู้เป็นเจ้าที่มีตัวตน มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์

44 “อปรพรหม” คืออะไร

(1) พระเจ้าที่มีรูปร่างอย่างมนุษย์

(2) สภาวะที่ไม่มีรูปร่าง

(3) สภาวะที่มีรูปร่าง

(4) พระเจ้าที่มีรูปร่างแตกต่างจากมนุษย์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 “ไม่ว่าโลกนี้จะมีจุดจบหรือไร้จุดจบ ไม่ว่าโลกนี้จะมีขอบเขตหรือไร้ขอบเขต เรื่องการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม” คําพูดนี้แสดงทัศนะของพระพุทธเจ้าในเรื่องใด

(1) ปัญหาทางอภิปรัชญา แก้ไขเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

(2) ปัญหาญาณวิทยา แก้ไขเรื่องการพันทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

(3) ปัญหาจริยศาสตร์ แก้ไขเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

(4) ปรัชญาตะวันออก แก้ไขเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

ตอบ 1 หน้า 75 – 76 พระพุทธเจ้า ทรงเห็นว่า การแสวงหาความจริงทางอภิปรัชญาไม่สามารถนําบุคคลไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนั้น พระพุทธองค์จะไม่ทรงตอบปัญหาในทางอภิปรัชญาและปัญหาที่ไร้ประโยชน์ในทาง จริยศาสตร์ เช่น จักรวาลมีขอบเขตจํากัดหรือไม่, ผู้รู้สัจจะตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ฯลฯ โดยพระองค์จะทรงพยายามให้บุคคลหันมาเผชิญกับปัญหาอันเป็นสัจภาวะที่แท้จริง เช่นความดับทุกข์ หรือการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ฯลฯ

46 ข้อใดจัดเป็น “สภาวะทุกข์” ตามคําสอนของอริยสัจ 4

(1) ความแก่

(2) ความเศร้าใจจากความแก่

(3) ความพลัดพรากจากของรักเพราะความแก่

(4) ความคับแค้นใจเพราะความแก่

ตอบ 1 หน้า 82 สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์โดยสภาพหรือทุกข์ประจํา ได้แก่ ความเกิด ความแก่และความตาย (ส่วนทุกข์จรนั้น เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเพียงบางครั้งบางคราว เช่น ความเศร้าใจ ความระทมใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก เป็นต้น

47 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 สิ่งที่คนฉลาดควรกลัวเป็นอย่างยิ่ง คืออะไร

(1) การเกิด

(2) การแก่

(3) การตาย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 83 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 นั้น ถือว่า ความเกิดเป็นประตูแห่งความทุกข์ทั้งปวง ดังนั้นคนฉลาดจึงกลัวความเกิดไม่ใช่กลัวความตาย เพราะความเกิดนั้นเองเป็นเหตุให้ต้องตาย ถ้าไม่เกิดเสียอย่างเดียวก็ไม่ต้องตาย และไม่ต้องลําบากจนกว่าตัวเองจะแก่ตาย

48 “อัชญัตติกญาณ” (Intuition) เป็นวิธีมีความรู้แบบใด

(1) การพิสูจน์โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

(2) การพิสูจน์โดยอาศัยความรู้ติดตัวเป็นข้อมูล

(3) การหยั่งรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น

(4) การเปิดเผยของพระเจ้าให้มนุษย์รู้โดยตรง

ตอบ 3 หน้า 104, 115 116 อัชฌัตติกญาณ (Intuition) ตามทัศนะของพวกเหตุผลนิยม หมายถึง การหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจ หรือแสงสว่างแห่งเหตุผล/แสงสว่างแห่งปัญญา และตามทัศนะของพวกประจักษนิยม หมายถึง การมีความรู้และเข้าใจโดยตรงในความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ของประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส

49 “นิรนัย” (Deduction) เป็นวิธีมีความรู้แบบใด

(1) การพิสูจน์โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

(2) การพิสูจน์โดยอาศัยความรู้ติดตัวเป็นข้อมูล

(3) การหยั่งรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น

(4) การเปิดเผยของพระเจ้าให้มนุษย์รู้โดยตรง

ตอบ 2 หน้า 105 – 106 วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อใดๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสวน จากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยที่ข้อสรุปต้องได้มาจากข้ออ้าง ถ้าหากข้ออ้างเป็นจริงข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และพีชคณิตก็ใช้วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยนี้ในการแสวงหาความจริงโดยไม่อาศัยการพิสูจน์หรือยืนยันจากประสบการณ์ด้วย

50 “Necessary Truth” หมายถึงความรู้ประเภทใด

(1) ความรู้ที่ถูกต้องตลอดกาล

(2) ความรู้ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด

(3) ความรู้ที่มนุษย์สามารถหยั่งรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยหลักฐาน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 104 105, 115 116 นักปรัชญาเหตุผลนิยมที่สําคัญ เช่น เดส์การ์ต (Descartes) สปิโนซา (Spinoza) และไลบ์นิตซ์ (Leibnitz) เชื่อว่า ความรู้ก่อนประสบการณ์เป็นความจริงที่ จําต้องเป็น (Necessary Truth) คือ ต้องจริงในทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องมีสิ่งใดมายืนยัน และจิตของมนุษย์ก็สามารถรู้ความจริงชนิดนี้ได้โดยอัชญัตติกญาณ (หยั่งรู้ด้วยจิตใจหรือแสงสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด) เช่น ข้อความว่า “เส้นตรงที่ขนานกันจะไม่มีวันมาบรรจบกันได้” ฯลฯ

51 วิธีแสวงหาความรู้ที่เดส์การ์ต (Descartes) ใช้เป็นแม่แบบในการพิสูจน์ความจริงของโลกและพระเจ้า คืออะไร

(1) คณิตศาสตร์

(2) พีชคณิต

(3) เรขาคณิต

(4) วิทยาศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 8, 107, (คําบรรยาย) เดส์การ์ต (Descartes) ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ โดยเขาเป็นผู้ที่ฟื้นฟูแนวคิดเหตุผลนิยมขึ้นมาอย่างจริงจังในศตวรรษที่ 17 และได้นําวิธีการของเรขาคณิตมาใช้ในความคิดทางปรัชญาด้วย

52 การสงสัยในความรู้ทุกอย่างของเดส์การ์ต นําไปสู่ข้อสรุปใด

(1) ไม่มีความรู้ใดที่สงสัยไม่ได้

(2) ไม่มีความรู้ใดที่สงสัยได้

(3) สิ่งที่สงสัยไม่ได้ คือตัวตนของเขาเอง

(4) สิ่งที่สงสัยได้ มีอย่างเดียว คือตัวตนของเขาเอง

ตอบ 3 หน้า 108 เดส์การ์ต เห็นว่า การสงสัยเป็นการคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งการคิดนั้นก็จะต้องมีผู้คิด ดังนั้น เราจึงไม่อาจสงสัยการมีอยู่ของตัวเองในฐานะที่เป็นผู้คิดได้ จากเหตุผลดังกล่าวทําให้เดส์การ์ตพบว่าสิ่งที่เป็นความจริงอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง ก็คือ “ฉันคิด ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่”

53 เดส์การ์ตมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องพระเจ้า

(1) เนื่องจากมนุษย์ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า พระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง

(2) พระเจ้าต้องมีจริง เพราะกล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิล

(3) เพราะเรื่องพระเจ้าแจ่มแจ้งชัดเจนมาก จึงต้องมีจริง

(4) เนื่องจากมนุษย์สามารถมีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าได้ แสดงว่าพระเจ้านั้นเองเป็นผู้ทําให้ความคิดนั้นเกิดขึ้น

ตอบ 4 หน้า 110 เดส์การ์ต เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์ตรงกันข้ามกับธรรมชาติของพระเจ้าซึ่งการที่มนุษย์สามารถมีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าได้ก็มิได้เกิดขึ้นเอง แต่พระเจ้าทรงเป็นผู้ประทานความคิดเกี่ยวกับพระองค์เองให้มนุษย์ ดังนั้นจึงแสดงว่าต้องมีพระเจ้าอยู่จริง

54 ข้อมูลที่จิตใช้ไตร่ตรองมีแหล่งที่มาจากอะไรในทัศนะของลัทธิเหตุผลนิยม

(1) จากประสบการณ์ที่มีสาเหตุจากวัตถุภายนอก

(2) จากประสบการณ์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ว่ามีสาเหตุมาจากวัตถุภายนอก

(3) จากภาพเหมือนของประสบการณ์ที่ผ่านไปแล้ว

(4) จากข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

ตอบ 4 หน้า 108 – 109 เดส์การ์ต เป็นนักปรัชญาคนสําคัญของกลุ่มเหตุผลนิยม ที่เชื่อว่า คนเรามี“ความคิดที่มีมาแต่กําเนิด” (Innate Ideas) ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ได้มาจากประสบการณ์หรือ จินตนาการของคน หากแต่เป็นความคิดที่มีอยู่เองโดยธรรมชาติที่เกิดจากการทําหน้าที่ของจิต หรือวิญญาณของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าจิตหรือวิญญาณมีศักยภาพในการคิดหรือสร้างความรู้มาโดยกําเนิด

55 ตามทัศนะของล็อค “ความคิด” ในจิตมนุษย์หมายถึงอะไร

(1) ข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิตของจิต

(2) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ แต่ตรงกับวัตถุภายนอก

(3) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ แต่ไม่อาจสรุปว่ามีสาเหตุมาจากวัตถุภายนอก

(4) ภาพลางเลือนของประสบการณ์

ตอบ 3 หน้า 117, 121 ล็อค เห็นว่า ความรู้ของมนุษย์ไม่ได้มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่มีบ่อเกิดหรือเริ่มต้นจากประสบการณ์ ความรู้ทุกอย่างและข้อมูลทั้งหลายเกี่ยวกับโลกภายนอกจึงมาจากประสบการณ์ วัตถุจริง ๆ กับวัตถุที่เป็นสิ่งรู้ของคนเราจะไม่เหมือนกัน การที่เรารู้จักตัวแทนของวัตถุจึงไม่ได้รู้จักวัตถุตัวจริง

  1. ตามทัศนะของฮูม “ความคิด” ในจิตมนุษย์หมายถึงอะไร

(1) ข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของจิต

(2) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์โดยทั่วไป

(3) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ที่ชัดเจนจึงชัดเจนเท่าประสบการณ์

(4) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ที่ชัดเจนแต่ลางเลือนแล้ว

ตอบ 4 หน้า 122 123 ซูม เห็นว่า ความรู้ของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ความประทับใจ (Impression) ซึ่งเป็นการรับรู้ในผัสสะ กับความคิด (Idea) ซึ่งเป็นการรับรู้ในสิ่งที่เกิดจากจินตนาการหรือความจํา เช่น เมื่อเอามือไปแตะน้ำแข็ง จะเกิดสัมผัสของความเย็น ผัสสะนี้มีความแจ่มชัดในทันทีทันใด ซึ่งเรียกว่า “ความประทับใจ” พอเหตุการณ์นี้ผ่านไปแล้ว แต่เรายังจดจําภาพของความเย็นได้อย่างลาง ๆ นั้น เราเรียกว่า “ความคิด” หรือ “จิตภาพ”

57 ตามทัศนะของฮูม “ความประทับใจ” (Impression) หมายถึงอะไร

(1) ข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของจิต

(2) ข้อมูลขณะมีประสบการณ์โดยทั่วไป

(3) ข้อมูลขณะมีประสบการณ์ที่ชัดเจน

(4) ภาพลางเลือนของประสบการณ์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับนักประสบการณ์นิยม

(1) บางคนยังเชื่อเรื่องพระเจ้า

(2) ทุกคนเชื่อเรื่องพระเจ้า

(3) ไม่มีใครเลยเชื่อเรื่องพระเจ้า

(4) ทุกคนเชื่อเรื่องพระเจ้า แต่ไม่ให้ความสําคัญ

ตอบ 1 หน้า 121, 124 ล็อค เป็นนักประสบการณ์นิยมที่ยอมรับในเรื่องพระเจ้า โดยเขาเห็นว่าความรู้บางอย่างอาจมิได้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ เช่น ความเชื่อเรื่องวิญญาณและพระเจ้า แต่อาจเกิดจากบางสิ่งที่ไม่ถูกจํากัดด้วยเวลาอันเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาล คือ พระเจ้าเป็นผู้สร้าง

59 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับนักประสบการณ์นิยม

(1) บางคนสนับสนุนวิชาวิทยาศาสตร์

(2) บางคนทําลายวิชาวิทยาศาสตร์

(3) บางคนใช้พระเจ้าสนับสนุนวิชาวิทยาศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประสบการณ์นิยม เชื่อว่า ประสบการณ์เป็นบ่อเกิดหรือที่มาของความรู้ซึ่งสอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เห็นว่า “วิทยาศาสตร์ต้องอาศัยประสบการณ์” (Science Resorts to Experience) โดยเดวิด ฮูม เป็นผู้ที่เชื่อมั่นในหลักการนี้อย่างสุดโต่ง ในขณะที่ล็อคกลับไม่ยืนยันว่าความรู้ทุกอย่างต้องพบในประสบการณ์เท่านั้น โดยเขาเห็นว่าความรู้บางอย่างอาจเกิดจากเหตุผลก็ได้ (ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ)

60 นักปรัชญาที่เรียกว่านักเหตุผลนิยมจะปฏิเสธวิธีแสวงหาความรู้วิธีใด

(1) คณิตศาสตร์

(2) พีชคณิต

(3) เรขาคณิต

(4) วิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 105 นักเหตุผลนียมจะแสวงหาความรู้โดยวิธีนิรนัย (ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ)

61 “Tabula Rasa” สัมพันธ์กับนักปรัชญาคนใด

(1) Descartes

(2) Locke

(3) Berkley

(4) Hume

ตอบ 2 หน้า 117, (คําบรรยาย) ล็อค (Locke) ถือว่า สภาพจิตของมนุษย์ในตอนเริ่มแรกนั้นมีแต่ความว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดและความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเรียกว่า “Tabula Rasa” ที่หมายถึง สมุดบันทึกที่ว่างเปล่าปราศจากข้อความใด ๆ ทั้งสิ้น

62 ส่วนใดของวัตถุที่ผัสสะของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ในทัศนะของ Locke (1) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(2) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(3) สารรองรับคุณสมบัติของวัตถุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 119 ล็อค เชื่อว่า สารเป็นสิ่งแท้จริงที่อยู่ภายในตัววัตถุ แต่มนุษย์ไม่อาจจะรู้จักสารได้เพราะไม่อาจเป็นประสบการณ์ของใคร จึงเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งต้องมีสาร เพราะสารเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความคิดเชิงเดี่ยว

63 นักปรัชญาคนใดนําพระเจ้ามารับรองวิทยาศาสตร์

(1) เดส์การ์ต

(2) ล็อค

(3) เบอร์คเลย์

(4) ซูม

ตอบ 1 หน้า 107, 110 เดส์การ์ตได้นําวิธีการของเรขาคณิตมาใช้ในความคิดทางปรัชญาของเขาจนทําให้สามารถพิสูจน์ได้ว่า จิต พระเจ้า โลก และสรรพสิ่งทั้งหลายมีอยู่จริง

64 นักปรัชญาคนใดที่ทําลายวิชาวิทยาศาสตร์

(1) เดส์การ์ต

(2) ล็อค

(3) เบอร์คเลย์

(4) ซูม

ตอบ 3 หน้า 128, 130 131 ปรัชญาของเบอร์คเลย์ ถือเป็นทฤษฎีอสสารนิยม (Immaterialism) กล่าวคือ ทุกสิ่งที่เรารับรู้นั้นเป็นเพียงความคิดของจิตอันหนึ่ง โดยความคิดในสิ่งต่าง ๆ นี้ เกิดขึ้นได้เพราะมีจิตสากล หรือจิตแห่งพระเจ้าเป็นผู้สร้างให้กับมนุษย์ ส่วนหลักวิทยาศาสตร์จะยอมรับว่าทุกสิ่งมีจริงและเป็นสิ่งในธรรมชาติ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตมนุษย์

65 “นั่นคือดอกกุหลาบ สีแดง กลิ่นหอม ดอกใหญ” สิ่งใดตรงกับข้อเท็จจริงในทัศนะของล็อค

(1) ขนาดของดอกกุหลาบ

(2) สีของดอกกุหลาบ

(3) กลิ่นของดอกกุหลาบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 118 119 ล็อค มีความคิดว่า คุณสมบัติปฐมภูมิมีอยู่ในตัววัตถุจริง เช่น รูปร่าง ขนาด น้ำหนัก และการเคลื่อนที่ ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมิจะไม่มีอยู่จริง เช่น สี กลิ่น เสียง รส และอุณหภูมิ แต่วัตถุในการรับรู้ของเรามีคุณสมบัติทุติยภูมิด้วย ดังนั้นวัตถุจริงกับวัตถุ ในฐานะที่เรารับรู้นั้นจะเป็นคนละสิ่งกัน วัตถุที่เรารับรู้จึงถือว่าเป็นตัวแทนของวัตถุจริง

66 ทฤษฎีใดถือว่าวัตถุก่อนการรับรู้และหลังการรับรู้ของมนุษย์ไม่ต่างกัน

(1) สัจนิยมแบบผิวเผิน

(2) สัจนิยมแบบสามัญสํานึก

(3) สัจนิยมใหม่

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 135 สัจนิยมแบบสามัญสํานึก เห็นว่า วัตถุในขณะที่ยังไม่ได้ถูกรับรู้กับวัตถุที่ถูกรับรู้แล้วจะไม่มีความแตกต่างกันเลย เพราะการรับรู้ของคนมิได้มีการเพิ่มเติมหรือลดทอนคุณสมบัติ อะไรบางอย่างให้กับวัตถุเลย วัตถุมีธรรมชาติหรือลักษณะที่แท้จริงอย่างไร เมื่อมาปรากฏต่อจิตของคนก็คงจะเป็นอย่างนั้น

67 ทฤษฎีใดถือว่าวัตถุชิ้นเดียวกันมนุษย์สามารถรับรู้ต่างกันได้

(1) สัจนิยมแบบผิวเผิน

(2) สัจนิยมแบบสามัญสํานึก

(3) สัจนิยมใหม่

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 136 137, 141 สัจนิยมใหม่ เห็นว่า ในการรับรู้วัตถุทั้งหลายของคนเรานั้นจะเป็นการรู้จักมันโดยตรง แต่ทั้งนี้ในการรับรู้วัตถุชิ้นเดียวกัน คนแต่ละคนก็อาจจะรับรู้ต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระบบประสาทของคน ๆ นั้น

68 ทฤษฎีใดถือว่าวัตถุก่อนการรับรู้กับหลังการรับรู้ที่ต่างกัน คือ คุณสมบัติทุติยภูมิ

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 2 หน้า 138 – 139 สัจนิยมแบบตัวแทน เห็นว่า วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนเป็นสสารที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ (ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก) และคุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้นที่มีอยู่อย่างแท้จริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมิ (สี กลิ่น รส อุณหภูมิ) ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัววัตถุเพราะมันเป็นสิ่งที่จิต ของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมา ดังนั้นจึงถือได้ว่าวัตถุก่อนการรับรู้กับหลังการรับรู้มีความแตกต่างกันที่คุณสมบัติทุติยภูมิ ซึ่งนักปรัชญาที่สําคัญของทฤษฎีนี้ คือ จอห์น ล็อค

69 จอห์น ล็อค เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 4 หน้า 129, 131 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีทัศนะว่า วัตถุทั้งหลายหรือโลกภายนอกเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิตมนุษย์ โดยสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นหรือรู้นั้นก็คือความคิด ของจิตของเรานั้นเอง เพราะว่าสิ่งที่เรารู้หรือความรู้ของเรา ได้แก่ วัตถุและสิ่งทั้งหลายภายในโลก สิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือการรับรู้ด้วยจิตของมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมันจึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้

71 ทัศนะทางจริยศาสตร์ของนักปรัชญาสัมพันธ์กับทัศนะเรื่องใดของนักปรัชญา

(1) ศาสนา

(2) ประเพณี

(3) อภิปรัชญา

(4) ญาณวิทยา

ตอบ 1 หน้า 147, (คําบรรยาย) จริยศาสตร์ (Ethics) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติโดยจะศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มนุษย์ควรกระทํา ไม่ควรกระทํา สิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิด ความดี ความชั่ว และหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้พื้นฐานอันดีงามของจริยศาสตร์ก็คือ ศาสนา ในขณะที่ศาสนาก็ต้องอาศัยจริยศาสตร์ เพราะจริยศาสตร์ทําให้ศาสนามีความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

  1. ข้อใดจัดเป็นทัศนะทางจริยศาสตร์

(1) จากการสํารวจพบว่าเด็กในวัยเรียนทําแท้งกันมากขึ้น

(2) บางคนเชื่อว่าการทําแท้งในขณะตั้งครรภ์ไม่ถึง 12 สัปดาห์ทําได้

(3) แพทย์ยืนยันว่าการทําแท้งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไม่เป็นอันตรายต่อหญิง

(4) การทําแท้งเป็นเรื่องผิดเพราะเป็นการฆ่าคน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับนักสุขนิยม

(1) นักสุขนิยมทุกคน สนับสนุนให้ใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย

(2) นักสุขนิยมบางคน สนับสนุนชีวิตแบบสมถะ

(3) นักสุขนิยมบางคน ไม่สนับสนุนให้แสวงหาความสุข

(4) นักสุขนิยมทุกคน เชื่อในชีวิตหลังการตาย

ตอบ 1 หน้า 155 สุขนิยม (Hedonism) เป็นแนวความคิดที่ถือว่าอารมณ์แห่งความสุข ความยินดี ความสนุกสนาน และความเพลิดเพลิน เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของชีวิต ซึ่งเป็นทัศนะที่สอนให้บุคคล มุ่งมั่นที่จะแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัส แสวงหาความสะดวกและความสุขสบาย เป็นชีวิตที่มีแต่โลกียสุข และส่งเสริม/สนับสนุนให้ใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย

74 Socrates คิดว่าคุณธรรมจะเกิดกับคนชนิดใด

(1) คนที่มีความสุขทางกาย

(2) คนที่มีความสุขทางใจ

(3) คนที่เข้าใจความดี

(4) คนที่มีชีวิตอย่างสุนัข

ตอบ 3 หน้า 150 โซเครตีส (Socrates) กล่าวว่า “คุณธรรมคือความรู้” โดยความดี/ความมีคุณธรรม จะต้องเกิดจากความรู้ ถ้าบุคคลรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความดีจริง ๆ เขาก็จะไม่กระทําความชั่วหรือความผิด แต่เนื่องจากบุคคลไม่รู้ไม่เข้าใจจึงต้องกระทําความชั่ว

75 นักปรัชญาคนใดถือว่าคนดีไม่จําเป็นต้องมีความสุข

(1) โซฟิสต์

(2) เวสเตอร์มาร์ค

(3) มิลล์

(4) คานท์

ตอบ 4 หน้า 169 คานท์ (Kant) เห็นว่าความสุขไม่ใช่สิ่งดีที่สุดในชีวิต ดังนั้นความสุขจะเป็นเครื่องมือในการตัดสินศีลธรรมไม่ได้ แต่ศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวมันเอง เช่นเดียวกันกับคนดีก็คือ คนทําสิ่งที่ดีโดยไม่หวังผลตอบแทน และคนดีก็ไม่จําเป็นต้องมีความสุขหรือต้องสุขสบายหรือทําให้ผู้อื่นมีความสุข

  1. “การทําแท้งเป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้ ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด” คําพูดนี้แสดงให้เห็นความคิดเกี่ยวกับความดีอย่างไร

(1) ความดี เป็นคุณค่าที่แน่นอนตายตัว

(2) ความดี ขึ้นกับความเห็นของสังคม

(3) ความดี เป็นคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงได้

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การตัดสินคุณค่าตามจารีตประเพณี ถือว่า การตัดสินคุณค่าของการกระทําใด ๆของแต่ละสังคมจะขึ้นอยู่กับจารีตประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมที่สั่งสมมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งคุณค่าความดีของสังคมหนึ่งอาจไม่ใช่คุณค่าความดีของอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ดังนั้นคุณค่า ตามความเห็นของสังคมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสังคมและกาลเวลา

77 “ชั่วเจ็ดที่ ดีเจ็ดหน” เป็นสุภาษิตเตือนใจที่เข้ากับหลักธรรมข้อใด

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) อิทธิบาท 4

ตอบ 1 หน้า 189 – 191 ขันติ หมายถึง ความอดทนซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจสามารถทนทานต่อเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ และสามารถบังคับกายกับวาจาให้อยู่ในอํานาจได้ด้วย เช่น ความอดทนต่อความทุกข์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข, ความอดทนต่อความลําบากเพื่อให้ได้มา ซึ่งความสบาย, ความอดทนต่อความเจ็บใจตัวเองเพื่อให้คนในสังคมมีความสุข, ความอดทนต่อสิ่งที่กวนใจเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นคนดี เป็นต้น

78 “ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา” เป็นคนชนิดใด

(1) มีโสรัจจะ แต่ขาดสัจจะ

(2) มีโสรัจจะ แต่ขาดขันติ

(3) ขาดโสรัจจะและสัจจะ

(4) ขาดโสรัจจะและขันติ

ตอบ 4 หน้า 192 193 โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยมซึ่งมีลักษณะเป็นความมีปกติอันดีของกาย วาจา และใจ ไม่แสดงอาการไม่ดีหรือไม่งามผิดปกติ เมื่อได้รับความตรากตรําลําบากหรือได้รับความเจ็บใจ โดยโสรัจจะเป็นธรรมคู่กับขันติ (ความอดทน)

79 “ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ” เป็นคนชนิดใด

(1) มีโสรัจจะ แต่ขาดสัจจะ

(2) มีโสรัจจะ แต่ขาดขันติ

(3) ขาดโสรัจจะและสัจจะ

(4) ขาดโสรัจจะและขันติ

ตอบ 1 หน้า 194, (ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ) สัจจะ หมายถึง ความจริงใจซึ่งเป็นลักษณะของความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ทั้งต่อบุคคล กาลเวลา และหน้าที่การงาน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

80 หลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของกายและใจ คืออะไร

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) วุฒิธรรม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

81 หลักธรรมที่แสดงถึงความปกติอันดีของกาย วาจา ใจ คืออะไร

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) วุฒิธรรม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78 ประกอบ

82 หลักธรรมที่นําไปสู่ความงอกงามของปัญญา คืออะไร

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) วุฒิธรรม

ตอบ 4 หน้า 207 หลักวุฒิธรรม คือ หลักการสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญา ซึ่งมีข้อพึงปฏิบัติ 4 ประการ คือ

1 หมั่นเสวนาคบหากับท่านผู้รู้ ผู้มีภูมิธรรม

2 เอาใจใส่สดับตรับฟังแสวงหาความรู้จริง

3 ได้รู้ได้เห็นได้ฟังสิ่งใดแล้ว รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเอง

4 นําสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟัง และตริตรองแล้วไปใช้หรือปฏิบัติด้วยตนเอง

83 อํานาจการปกครองมาจากสิ่งใดในทัศนะของเพลโต

(1) ความสูงส่งของสายเลือด

(2) พระเจ้า

(3) ความฉลาดรอบรู้

(4) การยินยอมของบุคคล

ตอบ 3 หน้า 246, 269 เพลโต กล่าวว่า ราชาปราชญ์ หมายถึง กลุ่มบุคคลผู้มีจิตภาคปัญญาเด่นเหนือภาคอื่น ๆ ดังนั้นจึงเป็นบุคคลที่มุ่งแสวงหาสัจจะ คุณค่าของความงาม และคุณธรรม ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดและดีที่สุดสําหรับการเป็นผู้ปกครองประเทศ

84 อํานาจการปกครองมาจากสิ่งใดในทัศนะของฮอบส์

(1) ความสูงส่งของสายเลือด

(2) พระเจ้า

(3) ความฉลาดรอบรู้

(4) การยินยอมของบุคคล

ตอบ 4 หน้า 253 ฮอบส์ อธิบายว่า มนุษย์ได้ตกลงพร้อมใจกันจัดตั้งรัฐและสังคมขึ้นมาเพื่อปกป้องชีวิตและความปลอดภัย รวมทั้งรักษาเสถียรภาพและขจัดความหวาดกลัวของมนุษย์ให้หมดไป โดยสมาชิกของสังคมต้องมอบอํานาจสูงสุดให้กับองค์รัฏฐาธิปัตย์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบปกครองสังคมนั้น และมนุษย์ก็ต้องเชื่อฟังและภักดีต่อรัฐเพื่อแลกกับความปลอดภัยที่ตนจะได้รับด้วย

85 สิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคืออะไรในทัศนะของเพลโต

(1) ความร่ำรวย

(2) ความปลอดภัย

(3) ความยุติธรรม

(4) การพัฒนาตนให้สมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 247, 270 เพลโต เห็นว่า จิตของมนุษย์มี 3 ประเภท หากสังคมใดสามารถกําหนดให้มนุษย์สามารถทําหน้าที่ที่เหมาะสมกับจิตของตนเองแล้ว เมื่อนั้นความยุติธรรมก็จะปรากฏขึ้น ในสังคม และสังคมดังกล่าวย่อมเป็นสังคมที่ดีที่สุดสําหรับชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์ผู้จําเป็นต้องอยู่ในสังคม ดังนั้นสิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคือความยุติธรรม

86 สิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคืออะไรในทัศนะของ Aristotle

(1) ความร่ำรวย

(2) ความปลอดภัย

(3) ความยุติธรรม

(4) การพัฒนาตนให้สมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 248 249 อริสโตเติล เห็นว่า สังคมและรัฐที่ดี คือสังคมและรัฐที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

1 ช่วยพัฒนาชีวิตให้มีเหตุผล คือ ชีวิตที่สามารถ ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมมีคุณธรรมทางศีลธรรม

2 ช่วยพัฒนาให้ใช้ชีวิต ที่ตริตรองถึงสัจจะได้ คือ การใช้ชีวิตเพื่อแสวงหาสัจจะหรือที่เรียกว่า คุณธรรมทางปัญญา ดังนั้นสิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคือการพัฒนาตนให้สมบูรณ์

87 คุณสมบัติที่สมาชิกของรัฐควรมีคืออะไรในทัศนะของรุสโซ

(1) ความจงรักภักดี

(2) การเชื่อฟัง

(3) การคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

(4) ความใสซื่อตามสัญชาตญาณ

ตอบ 3 หน้า 256 257 ในทัศนะของรุสโซนั้น อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนเพราะสังคมเกิดจากเจตจํานงร่วม (General Wil) ของมนุษย์ ดังนั้นผู้ปกครองกับพลเมืองก็คือ คน ๆ เดียวกัน แต่มองคนละด้านเท่านั้น เมื่อสังคมเกิดเป็นองค์กรร่วมหรือเป็นเอกภาพ เจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของแต่ละคนต้องหมดไป เหลือแต่เจตจํานงทั่วไปอันเป็นเจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเท่านั้น

88 นักปรัชญาคนใดพยายามใช้การศึกษาเพื่อดึงคนห่างจากรัฐ

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) จอห์น ล็อค

(4) อัตถิภาวนิยม

ตอบ 2 หน้า 273 จุดมุ่งหมายของการศึกษาในทัศนะของเซนต์ ออกัสติน คือ การห่างออกจากสังคมและรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายสู่สวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้า แต่นักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ เชื่อว่า จุดหมายของการศึกษาต้องเป็นจุดหมายเพื่อสังคมและรัฐ มิใช่ดึงคนให้ห่างออกจาก สังคมและรัฐ

89 นักปรัชญาคนใดพยายามใช้การศึกษารับใช้บุคคล

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) จอห์น ล็อค

(4) อัตถิภาวนิยม

ตอบ 4 หน้า 279 280 ปรัชญาอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่เชื่อในความสําคัญของปัจเจกบุคคลว่ามีเสรีภาพที่จะเลือกวิถีชีวิตของตนเอง โดยไม่มีใครสามารถกําหนดการเลือกของใครได้ ดังนั้น ปรัชญาการศึกษาของอัตถิภาวนิยมจึงได้แก่ ศูนย์กลางของการศึกษาคือ ผู้เรียนแต่ละคนในฐานะบุคคลที่เป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ และต้องมีโอกาสเลือกจัดแผนการศึกษาของตัวเอง

90 นักปรัชญาคนใดที่ยึดหลักการว่า เป้าหมายของการศึกษาคือคุณธรรม

(1) นักปรัชญายุคก่อนโซฟิสต์

(2) ยุคโซฟิสต์

(3) โซเครตีส

(4) ยุคหลังอริสโตเติล

ตอบ 3 หน้า 268 269 โซเครตีส (Socrates) มีทัศนะว่า การศึกษามิใช่กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์และความสําเร็จเฉพาะตนเท่านั้น แต่การศึกษาจะต้องมี จุดมุ่งหมายเพื่อการค้นพบสัจธรรมหรือความจริงเกี่ยวกับคุณธรรม โดยวิธีการศึกษาที่จะนําไปสู่การค้นพบดังกล่าวได้ก็คือ การสนทนาถกเถียง และการซักถาม

91 ข้อใดเป็นวิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกตามแนวคิดของรุสโซ

(1) การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง

(2) การใช้การสนทนาถกเถียงเพื่อขจัดความสับสนทางความคิด

(3) การมีศรัทธาอย่างสุดจิตใจ

(4) การใช้เหตุผลพิสูจน์ความศรัทธา

ตอบ 1 หน้า 275 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาในชั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กเล็ก ๆ คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์เป็นของตัวเอง หรือเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นหนังสืออย่างเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นถึงประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองของโรบินสัน ครูโซ

92 ข้อใดเป็นวิธีการศึกษาในระดับก้าวหน้าของ ST. Augustine

(1) การใช้ประสบการณ์ตรงทําความรู้จักสิ่งแวดล้อม

(2) การใช้การสนทนาถกเถียงเพื่อขจัดความสับสนทางความคิด

(3) การมีศรัทธาอย่างสุดจิตใจ

(4) การใช้เหตุผลพิสูจน์ความศรัทธา

ตอบ 4 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับเริ่มแรก ซึ่งเป็นการศึกษาที่อ่านจากคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลัก มีลักษณะเข้มงวดและบังคับให้เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล

2 ระดับก้าวหน้า ซึ่งเป็นการศึกษาที่มีลักษณะของการใช้เหตุผลและพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง

93 ข้อใดคือหลักการจัดการศึกษาของเพลโต

(1) จัดให้ลูกคนมีฐานะเท่านั้น

(2) จัดให้เฉพาะลูกผู้ดีมีตระกูล

(3) จัดให้กับลูกกรรมกรเท่านั้น

(4) จัดให้กับคนทุกคนอย่างทั่วถึง

ตอบ 4 หน้า 270, (คําบรรยาย) เพลโต (Plato) เห็นว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมด้วยการปฏิรูปคนและการปฏิรูปรัฐ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาแบบทั่วถึง กล่าวคือ เป็นการศึกษาที่สามารถให้กับทุกคนในสังคมและเป็นการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ เด็กทุกคนมีโอกาสศึกษาเพื่อทดสอบความสามารถของตนเอง ก่อนที่เขาจะไปปฏิบัติหน้าที่ ตามความเหมาะสมของตนให้กับรัฐและสังคม

94 คนที่เป็นผู้ปกครองควรเรียนวิชาใดจนสําเร็จ ในทัศนะของเพลโต

(1) วิชาเศรษฐศาสตร์

(2) วิชาทหาร

(3) วิชาพลศึกษา

(4) วิชาอภิปรัชญา

ตอบ 4 หน้า 246, 270 บุคคลที่เหมาะสมที่สุดและดีที่สุดสําหรับการเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโตคือ ราชาปราชญ์ ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ควรจะเรียนวิชาอภิปรัชญาจนสําเร็จ

95 ข้อใดคือแนวคิดของ “Anarchism” ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตนที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 1 หน้า 320 ลัทธิอนาธิปไตย (Anarchism) สนับสนุนการใช้เสรีภาพอย่างไม่ถูกจํากัดของบุคคลในสังคม โดยลัทธินี้เห็นว่า รัฐควรมอบเสรีภาพที่สมบูรณ์แก่พลเมืองของตนและไม่ควรเข้าไปยุ่งหรือบังคับให้พลเมืองกระทําสิ่งใด ๆ ที่ขัดต่อเสรีภาพที่มีอยู่

96 ข้อใดคือแนวคิดของมิลล์ ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมีเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตนที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 3 หน้า 319 321 มิลล์ สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ และไม่ควรจํากัด เสรีภาพของบุคคลที่กระทําในสิ่งที่ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อบุคคลอื่น เนื่องจากเสรีภาพมีบทบาทสําคัญสําหรับการพัฒนาปัญญาและบุคลิกภาพของบุคคล

97 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด มีความเห็นแตกต่างจากหลักการอื่น ๆ ในเรื่องมนุษย์

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 1 หน้า 332 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์มีความเห็นที่แตกต่างจากหลักการอื่น ๆ เพราะการแบ่งปันผลประโยชน์ประเภทนี้จะแบ่งให้กับมนุษย์ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ อายุ เพศ ความมานะพยายาม หรือความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น

98 คนอ่อนแอและคนพิการจะไม่ได้รับความยุติธรรม ถ้าใช้หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 4 หน้า 337 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความมานะพยายาม เห็นว่า การแบ่งปันและเบาะโยชนะมากหรือน้อยต้องขึ้นอยู่กับความมานะพยายาม โดยผู้ที่มีความขยันขันแข็ง ในการทํางานจะต้องได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์มากกว่าคนขี้เกียจ ซึ่งข้อบกพร่องของ หลักการนี้ก็คือ ไม่ยุติธรรมกับคนที่อ่อนแอและพิการ

99 “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถอธิการบดี” เป็นกฎที่ถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อทุกคน การบังคับใช้กฏดังกล่าวมีความยุติธรรมอย่างไร

(1) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(2) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

(3) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 2 หน้า 330 331 ความไม่ยุติธรรมในเนื้อหาหรือจุดประสงค์ของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่ยุติธรรมนั้น เกิดจากการกําหนดข้อยกเว้นที่ไม่ถูกต้องและมีการบังคับใช้ อย่างไม่เป็นธรรม เช่น กฎหมายจํากัดความเร็วของรถเป็นกฎหมายที่ดี แต่การระบุข้อยกเว้น ในการใช้ความเร็วแก่รถของอธิการบดี ถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ยุติธรรมและมีการบังคับใช้ที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นกฎหมายดังกล่าวก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมด้วย

100 “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถพยาบาล” เป็นกฎที่บังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อทุกคน การบังคับใช้กฏดังกล่าวมีความยุติธรรมอย่างไร

(1) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(2) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

(3) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 3 หน้า 330 331 โดยทั่วไปกฎหมายต้องมีข้อความที่ระบุถึงกลุ่มคนที่กฎหมายนั้นต้องใช้บังคับและระบุถึงกลุ่มคนที่ได้รับข้อยกเว้นจากกฎหมายนั้น เช่น กฎหมายห้ามรถยนต์ใช้ความเร็ว เกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัย ยกเว้นรถพยาบาล ซึ่งการยกเว้นดังกล่าวถือว่ามีความ ยุติธรรม ทั้งนี้เพราะรถพยาบาลมีความแตกต่างจากรถโดยทั่วไปที่จําเป็นต้องเร่งรีบนําคนป่วย หรือผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล

PHI1001 วัฒนธรรมและศาสนา 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1001 วัฒนธรรมและศาสนา

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 วัฒนธรรมสําคัญอย่างไร

(1) ทําให้คนเป็นมนุษย์

(2) ดํารงเชื้อชาติ

(3) แสดงถึงความเจริญ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 5, 12, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมมีความสําคัญ ดังนี้

1 ทําให้คนเป็นมนุษย์ เพื่อปกปิดสัญชาตญาณธรรมชาติ อันเป็นสัญชาตญาณดิบ เช่น ไม่กินทันทีแม้กระหายอยากจะกิน แต่ต้องรอให้ถึงเวลากิน และกินอย่างมีระเบียบตามรูปแบบแห่งวัฒนธรรม

2 ดํารงเชื้อชาติ โดยจะเป็นกระจกเงาที่ส่องความเป็นมาของชนชาตินั้น ๆ เช่น ชาวอิสราเอล รักษาวัฒนธรรมมากกว่า 3,000 ปี, ชาวมอญสืบต่อวัฒนธรรมมาเกือบพันปี, ชาวเขาดํารงพิธีกรรมความเชื่อมาหลายร้อยปี

3 แสดงถึงความเจริญของชาติ สัญลักษณ์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของคนในชาติ เป็นต้น

2 ข้อใดเป็นวัฒนธรรม

(1) แผ่นดินไหว

(2) คลื่นยักษ์ถล่มเมืองชายฝั่งทะเล

(3) ฝูงชนมาช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากภัยธรรมชาติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 8 – 10, (คําบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ที่อยู่รวมกันในรูปขององค์กรทางสังคมสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้ดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ หรือหมายถึง วิถีชีวิตความ เจริญงอกงาม มรดกแห่งสังคม หรือการกระทําใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้ เช่น การที่ฝูงชนมาช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากภัยธรรมชาติ การนับถอยหลังหรือ เคาท์ดาวน์ (Countdown) การสวดมนต์ข้ามปี การปล่อยโคมลอย การผลิตยารักษาโรค (เช่น ชาวเขากินฝันแก้ปวดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ, แพทย์ปัจจุบันใช้มอร์ฟีนระงับอาการปวดของคนไข้) อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฯลฯ ซึ่งในวัฒนธรรมทุกชนชาตินั้นย่อม แสดงถึงสัญลักษณ์ ความเจริญ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาของคนในชาตินั้น แต่วัฒนธรรมจะไม่รวมถึงสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี (เช่น นักวิทยาศาสตร์ผลิตยาบ้าเรืองแสงได้, การเล่นหวย) รวมทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติ (สัตว์และพืช) หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น คนตาย ข้าวเปลือก อินทผลัม อูฐ วัว ควาย คลื่นยักษ์

แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ เกาะ ทะเลทราย แม่น้ำ ถ้ำ ฯลฯ

3 ข้อใดไม่เป็นวัฒนธรรม

(1) ชาวเขากินฝิ่นแก้ปวดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

(2) แพทย์ปัจจุบันใช้มอร์ฟีนระงับอาการปวดของคนไข้

(3) นักวิทยาศาสตร์ผลิตยาบ้าเรืองแสงได้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมพื้นบ้าน

(1) การแสดงโขนหน้าพระเมรุ

(2) การรําถวายพระพรหมที่สี่แยกราชประสงค์

(3) การรําถวายพระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร

(4) การแสดงละครชาตรีที่ศาลหลักเมือง

ตอบ 1 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้านแต่ละภาค มีดังนี้

1 ภาคเหนือ เช่น การแอ่วสาว การไหว้ผี การผูกข้อมือ การจุดโคมลอย การประดับตุง เรือนกาแล ฯลฯ

2 ภาคกลาง เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงลูกทุ่ง เพลงอีแซว เพลงรําวง นิทานพื้นบ้าน ลิเก ลําตัด รํากลองยาว การรําถวาย พระพรหมที่สี่แยกราชประสงค์, พระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร) การแสดงละครชาตรีที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ฯลฯ

3 ภาคอีสาน เช่น การผิดผี การไหว้ผีปู่ตา การรําผีฟ้า รําซิ่ง การไล่ผีปอบ การแห่ผีตาโขน การแห่บั้งไฟ ผ้าไหมแพรวา ฯลฯ

4 ภาคใต้ เช่น ประเพณีเพลงบอก การสวดโอ้เอ้วิหารราย หนังตะลุง ลิเกป่า ลิเกตันหยงรํามโนราห์ ฯลฯ

5 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมหลวง

(1) การขับร้องเห่เรือสุพรรณหงส์

(2) การร้องขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

(3) ประชาชนพร้อมใจจุดเทียนถวายพระพรในหลวงคืนวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 180 – 182, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมหลวง ได้แก่ พิธีแรกนาขวัญ (พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ) พิธีโล้ชิงช้า การแสดงโขนหน้าพระเมรุ การขับร้องเห่เรือสุพรรณหงส์ เพลงสรรเสริญพระบารมี การอภัยโทษ การพระราชทานเพลิงศพ พิธีสมรสพระราชทาน เป็นต้น

6 เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ข้อใดไม่เป็นวัฒนธรรม

(1) Countdown

(2) สวดมนต์ข้ามปี

(3) ปล่อยโคมลอย

(4) ซื้อหวยเลขท้าย ปี พ.ศ.

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

  1. วัฒนธรรมสหธรรม ประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไปคือ

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) อินเดีย

(4) ออสเตรเลีย

ตอบ 2 หน้า 125, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมสหธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ครอบครัวสาธารณชนและประเทศชาติ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่นท้องถิ่น การแข่งขัน กีฬา และจรรยามารยาทหรือกิริยามารยาทต่าง ๆ ในสังคม เช่น การเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ครั้งต่อไปที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020), การเดินทางไปท่องเที่ยว,การประกวดต่าง ๆ, การเป็นประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ฯลฯ

8 วัฒนธรรมสหธรรม ได้แก่

(1) การเดินทางท่องเที่ยว

(2) การแข่งขันกีฬา

(3) การประกวดต่าง ๆ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9 เอกลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) รักในหลวง

(2) ไม่เป็นไร-ให้อภัย

(3) เมตตาอารี-ช่วยเหลือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 63 – 64, 67 – 68, (คําบรรยาย) ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ได้แก่ เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ รักพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวง) สุภาพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มเป็นมิตร ยิ้มสู้ ยิ้มได้เมื่อภัยมา มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจบุญ เมตตากรุณา โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก สนุกสนาน ลืมง่าย มักให้อภัยเสมอ โกรธไม่นาน ซึ่งคนไทยให้อภัยจนชอบพูดติดปากเสมอว่า “ไม่เป็นไร”

  1. สัญลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) ธงไตรรงค์

(2) ตราครุฑ

(3) พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง

4 ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญลักษณ์ของประเทศไทย ได้แก่

1 ธงไตรรงค์ (ธงชาติไทย)

2 ตราครุฑ

3 พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง

4 เรือสุพรรณหงส์

5 ศาลาไทย

6 ช้างไทย

7 อักษรไทย เป็นต้น

11 ข้อใดจัดเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรม

(1) พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท อาคารเป็นตึกปูนหลังคาปราสาท

(2) พระที่นั่งอนันตสมาคม สถาปัตยกรรมยุโรปสร้างด้วยหินอ่อนอิตาลี

(3) อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า

(4) สนามแข่งม้า

ตอบ 1 หน้า 22, (คําบรรยาย) การผสมผสานทางวัฒนธรรม (Acculturation) เป็นวิธีการที่รับเอาวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาปฏิบัติ เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2419 ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรม ยุโรป โดยตัวอาคารเป็นตึกปูนมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาปราสาทเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย จนเป็นที่มาของชื่อ “ฝรั่งสวมชฎา” เป็นต้น

12 วัฒนธรรมพื้นบ้านภาคกลาง

(1) เพลงลูกทุ่ง

(2) เพลงอีแซว

(3) เพลงรําวง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

13 วัฒนธรรมความเชื่อภาคอีสาน ข้อใดไม่ใช่

(1) ผีฟ้า

(2) ผีปอบ

(3) ผีกระสือ

(4) ผีตาโขน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

  1. ดินแดนเดิมของอาณาจักรทวาราวดี ได้แก่จังหวัดใด

(1) ราชบุรี

(2) เพชรบุรี

(3) สระบุรี

(4) จันทบุรี

ตอบ 1 หน้า 72 – 73 อาณาจักรทวาราวดี เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมและวัฒนธรรมอย่างสูงในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้แก่ บริเวณจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ําแม่กลอง ไทรโยค แควใหญ่ และแควน้อย โดยชนชาติมอญครอบครองอาณาจักรนี้มาช้านาน ต่อมาเมื่ออาณาจักรทวาราวดีอ่อนแอลงจึง ได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทยและมีการผสมกลมกลืนของวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่ แล้ววัฒนธรรมของอาณาจักรทวาราวดีนั้นได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งที่สําคัญคือการรับคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ

15 ชนชาติใดครอบครองอาณาจักรทวาราวดีเดิม

(1) ขอม

(2) มอญ

(3) พม่า

(4) ลาว

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

16 เทศกาล “กินเจ-แห่เจ้า” ที่มีชื่อเสียงมากอยู่ที่จังหวัด

(1) ภูเก็ต

(2) เชียงใหม่

(3) นครราชสีมา

(4) นครศรีธรรมราช

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เทศกาล “กินเจและแห่เจ้า” เป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดภูเก็ตซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ ตามปฏิทินจีนของทุก ๆ ปี โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลาทั้งสิ้น 9 วัน เพื่อเป็นการชําระล้างบาปเคราะห์ ละเว้นจากการละเมิดศีลห้า รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์สะอาด

17 วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถูกควบคุมความปลอดภัย ได้แก่

(1) การปล่อยโคมลอย

(2) การยิงบั้งไฟ

(3) การจุดประทัดไฟพะเนียงวันลอยกระทง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถูกควบคุมความปลอดภัย ได้แก่

1 การปล่อยโคมลอยและโคมควัน

2 การยิงบั้งไฟ

3 การจุดพลุ ตะไล ประทัด ไฟพะเนียง หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ฯลฯ

18 วรรณกรรมใดอยู่ในปัญญาสชาดก

(1) สังข์ทอง

(2) อิเหนา

(3) พระอภัยมณี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 78 – 81 ปัญญาสชาดก ชาดก 50 เรื่อง คือ วรรณกรรมพุทธศาสนานอกพระไตรปิฎกในสมัยอาณาจักรล้านนา ซึ่งถือเป็นต้นกําเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สุธนชาดก (พระสุธน-มโนราห์), รถเสนชาดก (พระรถเสน-เมรี-นางสิบสอง) และสุวัณณสังขชาดก(สังข์ทอง-รจนา) เป็นต้น ส่วนอิเหนาและพระอภัยมณี เป็นวรรณกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

19 วรรณกรรมใดที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน ขุนนาง และทหาร

(1) ขุนช้าง-ขุนแผน

(2) อิเหนา

(3) พระอภัยมณี

(4) สามก๊ก

ตอบ 1 หน้า 89, (คําบรรยาย) “ขุนช้างขุนแผน” เป็นวรรณกรรมไทยในสมัยอาณาจักรอยุธยาที่แสดงถึงวัฒนธรรมความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดา (ผีนางตะเคียน, ผีนางตานี, กุมารทอง, เปรต นางวันทอง) ไสยศาสตร์ (เวทมนตร์, คาถา, การทําเสน่ห์, การเปลี่ยนชื่อสะเดาะเคราะห์) คติความเชื่อของศาสนาพุทธและพราหมณ์ เป็นวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดี อมตะที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตระดับสังคมชาวบ้านพื้น ๆ ที่มีฐานะปานกลาง ชีวิตของขุนนาง และทหาร สภาพสังคม การปกครอง วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยในสมัยอยุธยาทุกแง่ทุกมุม

  1. วรรณกรรมใดที่มีเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับผีเวทมนตร์คาถา

(1) ขุนช้าง-ขุนแผน

(2) อิเหนา

(3) พระอภัยมณี

(4) สามก๊ก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

21 วัฒนธรรมมอญเข้ามาในเมืองไทยมากในสมัยรัชกาลที่

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 2

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 92 ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) วัฒนธรรมทางศาสนาของไทยได้รับอิทธิพลจากพระสงฆ์ชาวมอญมาก รวมทั้งวัฒนธรรมด้านขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีหลวง พิธีในราชสํานัก และโหราศาสตร์ก็ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อของชนชาติมอญมาก

22 สัญลักษณ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรมมอญคือ

(1) ครุฑ

(2) นาค

(3) หงส์

(4) สิงโต

ตอบ 3 หน้า 67 ในสมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศาสนานิกายธรรมยุตินิกายของชาวมอญได้เข้ามามีอิทธิพลในเมืองไทยอย่างมาก เช่น มีการสวดมนต์ปัดรังควานในพระบรมมหาราชวังทุก 7 วัน มีพิธี ทําน้ำมนต์ร้อยปี การสร้างหงส์ประดับตกแต่งในเจดีย์และพระราชวัง ราชบัลลังก์ ฯลฯ

  1. การแต่งกายและทรงผมของวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเมืองไทยเริ่มมากขึ้น โดยทรงสนับสนุนส่งเสริม

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 5

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 92 – 93, 186, (คําบรรยาย) รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระปรีชาสามารถอย่างสูงในการนําประเทศให้อยู่รอดปลอดภัยจนได้รับการยกย่องให้เป็นพระปิยะมหาราช ทรงสนับสนุนส่งเสริม ปรับปรุง แก้ไขวัฒนธรรมบางอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยคืออารยประเทศ หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากประพาสประเทศต่าง ๆ ในตะวันตกหรือยุโรปแล้ว โดยพระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงและยกเลิกครั้งสําคัญ คือ การเลิกทาส การแต่งกาย ทรงผม และพิธีการเข้าเฝ้า

  1. ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา นายบารัก โอบามา ชื่นชมวัดของไทยจึงมาเยี่ยมชมวัด….

(1) วัดพระแก้ว

(2) วัดอรุณฯ

(3) วัดโพธิ์

(4) วัดธรรมกาย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้นําคณะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในโอกาสครบรอบ 180 ปี ของมิตรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรไทย ซึ่งในโอกาสดังกล่าวนายบารัก ได้เดินทางไปที่วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ “วัดโพธิ์” เพื่อเยี่ยมชมภายในวัด โดยได้กล่าวชื่นชมว่าวัดโพธิ์เป็นสถานที่ที่เงียบสงบ และเขาโชคดีแล้วที่ได้มาเยี่ยมชมวัดโพธิ์เป็นการส่วนตัว

25 ชาวอินเดียมักถูกคนไทยเรียกว่า

(1) แขก

(2) ชาวฮินดู

(3) ชาวภารตะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) ประเทศอินเดียแต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “ชมพูทวีป” ซึ่งแปลว่า ประเทศหรือดินแดนแห่งต้นหว้า (หรือภารตวรรษหรือดินแดนภารตะ) ซึ่งคําว่า “ชมพู” นั้นได้มาจาก เนื้อในของลูกหว้าที่มีสีชมพู โดยชาวอินเดียมักถูกเรียกว่า “ชาวฮินดูหรือชาวภารตะ” แต่คนไทยมักจะเรียกชาวอินเดียว่า “แขก”

26 ประเทศใดที่ไม่ได้แบ่งแยกดินแดนมาจากดินแดนเดิมของประเทศอินเดีย (1) ทิเบต

(2) ปากีสถาน

(3) อัฟกานิสถาน

(4) บังกลาเทศ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) ประเทศที่แบ่งแยกดินแดนมาจากดินแดนเดิมของประเทศอินเดียได้แก่ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล เป็นต้น

27 ชาวอินเดียมีชนเผ่ามาก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงมีมากที่สุดในโลก

(1) ภาษา

(2) เครื่องดนตรี

(3) พันธุ์ข้าว

(4) รถยนต์หลายยี่ห้อ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) ชาวอินเดียประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ หลายความเชื่อ และมีภาษาหลายร้อยภาษา ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีภาษามากที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้จึงทําให้ วัฒนธรรมอินเดียมีความหลากหลายและมีวัฒนธรรมแยกย่อยไปตามกลุ่มชน เผ่า ภาษาและความเชื่อต่าง ๆ มากมาย

28 ประเทศที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่

(1) สิงคโปร์

(2) มาเลเซีย

(3) อินโดนีเซีย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23, 51, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลครอบคลุมและเป็นแม่แบบวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มอญ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยวัฒนธรรมอินเดียนั้นจะเข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมชาติต่าง ๆ โดยผ่านทางศาสนามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรม การบูชาเทพเจ้า และอื่น ๆ

  1. ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่

(1) ศิลปะ

(2) ประเพณี

(3) อาหาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23 – 24, (คําบรรยาย) รากฐานที่มาแห่งวัฒนธรรมอินเดียส่วนใหญ่มาจากความเชื่อทางลัทธิศาสนาเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ คู่มากับประวัติศาสตร์ชนชาติอินเดีย แม้ว่าในสมัยหลังจะมีอิทธิพลของศาสนาอื่น ๆ และ วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในอินเดีย แต่วัฒนธรรมดั้งเดิมที่มาจากรากฐานแห่งความเชื่อของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก็ยังไม่เสื่อมคลายไปจากสังคมของชนชาตินี้ โดยสามารถเห็นได้จากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการบริโภค ประเพณี ตลอดจนผลงานทางศิลปะต่าง ๆ

30 ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่

(1) ศิลปะ

(2) ประเพณี

(3) อาหาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59, (คําบรรยาย) อิทธิพลความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่ อาหาร ภาษา ที่อยู่อาศัย ความเชื่อ พีธีกรรม การบูชาเทพเจ้า ประเพณี ศิลปะการละเล่นและเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น

31 ชาวฮินดูวรรณะจัณฑาลทํางานใดไม่ได้ในร้านอาหาร

(1) คนเสิร์ฟอาหาร

(2) คนล้างจาน

(3) คนเช็ดโต๊ะอาหาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24, 31, 267, (คําบรรยาย) ชาวฮินดูวรรณะจัณฑาล เกิดจากการแต่งงานกันของคนวรรณะสูงกับคนวรรณะต่ำ เป็นพวกที่ถูกดูถูกเหยียดหยามและรังเกียจของคนทั่วไป ซึ่งอาชีพที่พวกนี้ทํามักเป็นอาชีพที่ต่ำ ลําบาก และคนทั่วไปไม่อยากจะทํากัน เช่น กวาดถนน เก็บขยะ ล้างส้วม สัปเหร่อ ดูแลป่าช้า เก็บศพ แบกศพ ขุดหลุมศพ ฝังศพ เผาศพ เก็บเถ้ากระดูก ขอทาน เป็นต้น (ส่วนอาชีพกรรมกร คนรับใช้ ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง คนเสิร์ฟอาหาร คนล้างจาน คนเช็ดโต๊ะอาหาร ฯลฯ มักเป็นอาชีพของวรรณะศูทร)

32 ชาวฮินดูวรรณะศูทรทํางานใดได้ในร้านอาหาร

(1) คนเสิร์ฟอาหาร

(2) คนล้างจาน

(3) คนเช็ดโต๊ะอาหาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 พิธีทําศพเด็กของชาวฮินดูโดยทั่วไปจะ

(1) เผา

(2) ฝัง

(3) ทิ้งถ่วงน้ำในแม่น้ำ

(4) ให้แร้งกิน

ตอบ 3 หน้า 31 วัฒนธรรมการทําศพเด็กของชาวฮินดูนั้น พ่อแม่จะไม่นิยมเผา แต่จะนําผ้าขาวมาพันหรือห่อศพแล้วใส่เรือไปทิ้งกลางแม่น้ำ โดยใช้หินถ่วงศพให้จมลงสู่ก้นแม่น้ำคงคา ซึ่งวิธีนี้ นอกจากจะใช้กับศพที่เป็นเด็กอายุน้อยแล้วยังใช้กับศพที่ยากจนไม่มีเงินพอที่จะซื้อถ่านหรือพื้นที่มีราคาแพงมาเผาศพได้

34 การเลี้ยงอาหารตามวัฒนธรรมชาวฮินดู ถ้าเสิร์ฟ แสดงว่างานสิ้นสุด

(1) โยเกิร์ต

(2) กาแฟ

(3) หมาก

(4) ผลไม้

ตอบ 3 หน้า 34 – 35 ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานอาหารในครอบครัวอินเดีย จะรับประทานพร้อมกันทั้งครอบครัว เมื่อรับประทานเสร็จล้างมือแล้วมักจะเคี้ยวหมากล้างปาก ซึ่งในการ เลี้ยงอาหารต่าง ๆ ของอินเดีย เมื่อมีการนําถาดใส่หมากพลูมาเสิร์ฟ ก็แสดงว่าการรับประทาน อาหารสิ้นสุดลงแล้ว

35 ประธานาธิบดีของจีนคนปัจจุบันคือ การประกอบอาหาร

(1) หลี ผิง

(2) สี จิ้นผิง

(3) หู จิ่นเทา

(4) เจียง เจ๋อหมิง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีของจีนคนปัจจุบัน คือ นายสี จิ้นผิง (Xi Jinping) ซึ่งปัจจุบันเขายังดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน, ประธานคณะกรรมาธิการกลางการทหาร, อธิการบดีโรงเรียนพรรคกลาง และดํารงตําแหน่งเป็นสมาชิกระดับสูงสุดของสํานักงานเลขาธิการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

36 บรรพบุรุษจีนมีลักษณะนิสัยเป็นอัตลักษณ์ ข้อใดไม่ใช่

(1) ขยัน

(2) รักการค้า

(3) ให้อภัยศัตรู

(4) กตัญญู

ตอบ 3 หน้า 38 บรรพบุรุษของชาวจีนมีลักษณะนิสัยเป็นอัตลักษณ์ของชนชาติ ได้แก่ มีนิสัยกตัญญูชอบทําการค้า ขยันขันแข็ง มานะอดทน เป็นนักการค้าที่เก่งและมีวัฒนธรรมในการค้าขาย คือ สุภาพอ่อนน้อมต่อลูกค้า นอกจากนี้ยังมีคตินิยมในการดํารงชีวิตเป็นลักษณะเฉพาะของตน มีปรัชญาและความเชื่อของตนเอง มีระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆมานานหลายพันปี

37 “น้ำชา” เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวจีนในเรื่องใด

(1) เซ่นไหว้

(2) แต่งงาน

(3) อวยพร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 45, 172, (คําบรรยาย) ในประเทศจีน “น้ำชา” ถือเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจําวัน และมีความสําคัญต่อวิถีชีวิตของชาวจีน โดยในวัฒนธรรมจีนนั้นจะใช้น้ำชา ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน การอวยพรของผู้ใหญ่ การเซ่นไหว้เจ้าในวันตรุษจีน เทศกาลเชงเม้ง เป็นต้น

38 ข้อใดแสดงถึงความกตัญญของชาวจีน

(1) ตรุษจีน

(2) เชงเม้ง

(3) สารทจีน

(4 ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 44, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางจิตใจที่แสดงถึงความกตัญญของชาวจีน เช่น เทศกาลตรุษจีน เชงเม้ง สารทจีน พิธีกงเต็ก เป็นต้น

39 ข้อใดแสดงถึงความเชื่อเรื่องผีสาง-เทวดาของชาวจีน

(1) เชงเม้ง

(2) พิธีล้างป่าช้า

(3) ศาลเจ้าพ่อเสือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 38 – 40, (คําบรรยาย) ชาวจีนมีความเชื่อแบบวิญญาณนิยม (Animism) นับถือผีสางเทวดาวิญญาณบรรพบุรุษ วิญญาณวีรชนหรือวีรบุรุษและสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ การเซ่นไหว้วันตรุษจีน สารทจีน เชงเม้ง พิธีล้างป่าช้า การสร้างศาลเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าพ่อกวนอู ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวศาลเจ้าแม่ทับทิม ซำปอกง ฯลฯ

40 ชาวจีนตั้งรกรากได้มั่นคง มั่งคั่ง ณ ที่ใดก็จะสร้างในชุมชนชาวจีน

(1) โรงจำนำ

(2) โรงน้ำชา

(3) โรงเจ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) เมื่อชาวจีนตั้งถิ่นฐานได้มั่นคง มั่งคั่งเป็นชุมชนชาวจีนขึ้นมาไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในโลก สิ่งแรกที่ชาวจีนจะสร้าง คือ ศาลเจ้า จากนั้นก็จะมีสุสานบรรพบุรุษ โรงเจ(โรงทาน) โรงรับจํานํา โรงงิ้ว และโรงน้ำชา เป็นต้น

41 วรรณกรรมอมตะเรื่อง “ไซอิ๋ว” เกี่ยวข้องกับศาสนา

(1) เต่า

(2) ขงจื้อ

(3) พุทธ

(4) ชินโต

ตอบ 3 หน้า 39 เมื่อพุทธศาสนานิกายมหายานเผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน ความเชื่อในเรื่องพระโพธิสัตว์ก็เข้ามามีอิทธิพลต่อความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นความเชื่อเรื่อง ปีศาจ ผีสาง เทวดา เซียนเพิ่มขึ้นมา ทําให้เกิดตํานานเทพนิยาย และนิทานพื้นเมืองเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวมากมายซึ่งที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ ตํานานเรื่อง “ไซอิ๋ว”

42 ชาวจีนจะเชิดสิงโตในงานต่าง ๆ ยกเว้น

(1) แต่งงาน

(2) เปิดร้าน กิจการค้า

(3) พิธีกงเต็ก

(4) วันคล้ายวันเกิดแซยิด

ตอบ 3 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) ชาวจีนมีประเพณีการเชิดสิงโตในงานฉลองรื่นเริงมงคลต่าง ๆเช่น เทศกาลตรุษจีน สารทจีน งานวันเกิด งานวันแซยิด (ครบรอบอายุ 60 ปี) งานแต่งงาน งานเปิด ร้านค้ากิจการใหม่ เป็นต้น (ส่วนเทศกาลเชงเม้ง พิธีล้างป่าช้า พิธีกงเต็ก และงานทิ้งกระจาดจะไม่มีการเชิดสิงโต)

43 ข้อใดเป็นการแสดงถึงความนับถือวีรบุรุษผู้เป็นบรรพชน

(1) ศาลเจ้าพ่อกวนอู

(2) ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

(3) ซําปอกง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

44 “มังกร” เกี่ยวข้องกับ…ในวัฒนธรรมจีน

(1) ฮ่องเต้

(2) เจ้าแม่กวนอิม

(3) แม่น้ำฮวงโห

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 40 ชาวจีนมีความเชื่อว่า มังกรเป็นเทพเจ้า เป็นพาหนะของเจ้าแม่กวนอิม และยังเชื่อว่าการที่น้ำในแม่น้ำฮวงโหไหลบ่าท่วมท้นเป็นเพราะมังกรพิโรธ นอกจากนี้ชาวจีนยังนํามังกรมาเป็นสัญลักษณ์แห่งฮ่องเต้ เช่น ประเพณีสําคัญที่ยิ่งเต้ต้องสวมเสื้อคลุมปักเป็นรูปมังกร เรียกว่า“เสื้อลายมังกร” ในวันที่ทําพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ และประทับนั่งบนบัลลังก์มังกรด้วย

45 กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ต่อต้านการล่าวาฬของชาว

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เวียดนาม

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์นานาชาติที่ดําเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ โดยมีสํานักงานประจําประเทศและภูมิภาคอยู่ใน 41 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันพบว่าประเด็นที่กลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กําลังดําเนิน การรณรงค์ต่อต้าน ได้แก่ การต่อต้านการล่าวาฬของชาวญี่ปุ่น, การต่อต้านการล่าปลาฉลามและการกินอุ้งตีนหมีของชาวจีน, การต่อต้านการกินเนื้อสุนัขของชาวเวียดนาม ฯลฯ

46 กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ต่อต้านการล่าปลาฉลามของชาว

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เวียดนาม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ต่อต้านการกินอุ้งตีนหมีของชาว

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เวียดนาม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

48 กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ต่อต้านการกินเนื้อสุนัขของชาว

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เวียดนาม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

49 ประเทศที่มีประชากรสูงอายุมากที่สุดคือ

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เวียดนาม

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ในกลุ่มอาเซียน (อาเซียน +3) ประเทศที่มีประชากรอายุยืนมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่นจะมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 82 ปี ซึ่งถือว่ามีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลก และนับเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกอีกด้วย

50 ประเทศที่มีประชากรเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศมากที่สุดคือ

(1) จีน

(2) ญี่ปุ่น

(3) เกาหลี

(4) เวียดนาม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีน เป็นประเทศที่มีประชากรเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศมากที่สุดปีละกว่า 200 ล้านคน ส่วนประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศมากที่สุดคือ ฝรั่งเศส ซึ่งมีจํานวนมากถึง 83.7 ล้านคนต่อปี

51 ลักษณะเฉพาะเป็นอัตลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น ข้อใดไม่ใช่

(1) ชาตินิยมมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก

(2) มีภัยธรรมชาติมากจนชาวญี่ปุ่นท้อแท้

(3) มีความสามารถทําการประมงเก่งมาก

(4) เจริญทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์สูงมาก

ตอบ 2 หน้า 48, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น ได้แก่

1 มีความเป็นชาตินิยมสูงมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก

2 มีความสามารถทําการประมงเก่งมาก

3 มีความเจริญทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์สูงมาก

4 ประสบภัยธรรมชาติมากจนทําให้ชาวญี่ปุ่นเป็นคนทรหดอดทน ต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ อย่างจริงจัง เป็นต้น

52 ชาวญี่ปุ่นมีตํานานความเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกมาจุติโดยนําของวิเศษมาด้วย ข้อใดไม่ใช่

(1) ดวงแก้ว

(2) ดาบ

(3) หน้ากากทองคํา

(4) กระจก

ตอบ 3 หน้า 49, 235 ชาวญี่ปุ่นมีตํานานเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น ก็คือ สมเด็จพระจักรพรรดิยิมมูหรือยิมมูเทนโน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพอะมะเตระสุ โดยจุติที่เกาะคิวชูพร้อมกับเพชร 1 เม็ด (หรือดวงแก้ว) ดาบ และกระจกเป็นของวิเศษสําคัญประจําตัวติดตัวมาจากสวรรค์ด้วย

53 ศาลเจ้าญี่ปุ่นที่ทางเข้าจะมีประตูเสาไม้ทาสีแดงอยู่ 2 ข้าง เรียกว่า โทริ คือ

(1) ประตูสวรรค์

(2) ประตูวิญญาณ

(3) ประตูเทพ

(4) ประตูโชคลาภ

ตอบ 2 หน้า 240 – 241, (คําบรรยาย) ตามศาสนสถานของศาสนาชินโตนั้น ก่อนจะถึงบริเวณของศาลเจ้าญี่ปุ่นที่ทางเข้าจะมีการสร้างประตูขึ้นเป็นสัญลักษณ์ เรียกว่า “โทริ” (TORI) อันถือว่าเป็น ประตูวิญญาณ โดยประตูนี้สร้างขึ้นเป็นรูปประตูประกอบจากเสาไม้ 2 ข้าง และมีไม้ 2 อันวางขวางอยู่ข้างบน และมักจะทาสีแดง

54 วัฒนธรรมคติธรรมญี่ปุ่น ข้อใดไม่ใช่

(1) ถึงอดโซก็โซอย่างเสือ

(2) น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย

(3) ถึงเน่าก็เน่าอย่างปลากะพง

(4) ใช้กุ้งตกปลากะพง

ตอบ 2 หน้า 55 – 56 ชาวญี่ปุ่นนิยมกินปลาซีบรีม ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากะพงแดงมากโดยปลานี้จะมีสีสดใส มีรสเป็นเลิศ ชาวญี่ปุ่นจึงยกให้เป็นราชาแห่งปลา และมีความเชื่อว่าเป็นปลามงคลล้ำค่า ขาดไม่ได้ในงานมงคลต่าง ๆ เป็นปลาที่นิยมกินกันมากที่สุดตั้งแต่สมัยโบราณ จนมีคติธรรมหรือคําพังเพยเปรียบเทียบเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ว่า “ถึงเน่าก็เน่าอย่างปลากะพง” คือ ถึงอดโซกโซอย่างเสือ และ “ใช้กุ้งตกปลากะพง” คือ ยอมเสียกําเพื่อเอากอบ

55 ลัทธิบูชิโดมีอิทธิพลต่อข้อใดน้อยที่สุด

(1) ฮาราคีรี

(2) นินจา

(3) ยากูซ่า

(4) กามิกาเซ่

ตอบ 2 หน้า 51, (คําบรรยาย) อิทธิพลของลัทธิบูชิโดที่มีต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้แก่

1 วิถีทางแห่งนักรบซามูไร คือ “ยอมตายอย่างมีเกียรติดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ”

2 พิธีกรรมฆ่าตัวตายที่เรียกว่า “ฮาราคีรี”

3 การสละชีวิตตนเองของนักบินโดยการ ขับเครื่องบินพุ่งชนฝ่ายตรงข้ามให้ระเบิดไปพร้อมกันที่เรียกว่า “กามิกาเซ่”

4 ซามูไรไร้สังกัด หรือโรนิน ได้พัฒนาการมาเป็น “ยากูซ่า” ในปัจจุบัน เป็นต้น ส่วน “นินจา” นั้นถือกําเนิดมาจากจีน ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าถังไท้จงแห่งราชวงศ์ถังของจีน)

56 ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาชินโต

(1) พระโพธิสัตว์

(2) จักรพรรดิ

(3 เซียน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 52 วัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยทางอ้อม โดยผ่านทางพุทธศาสนามหายานที่จีนและเกาหลีเผยแผ่มาสู่ชาวญี่ปุ่น ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีลักษณะไม่บังคับและยังปรับตัวให้เข้ากับลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น พระในพุทธศาสนาก็ไปร่วมพิธีทางลัทธิชินโต จนต่อมาชาวญี่ปุ่นจํานวนมากนับถือว่าพระโพธิสัตว์เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาชินโต

57 ศิลปะของญี่ปุ่นที่ได้รับการยกย่องไปทั่วโลก ได้แก่

(1) หุ่นยนต์ (Robot)

(2) ทําดาบซามูไร

(3) จัดสวน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 53 – 55, (คําบรรยาย) ศิลปะของญี่ปุ่นที่ได้รับยกย่องและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ได้แก่ การแกะสลักไม้ การทําหุ่นยนต์ (Robot) การทําดาบซามูไร การจัดสวน การจัดดอกไม้การชงน้ำชา การแสดงละครสวมหน้ากาก “โน” ฯลฯ

58 วัฒนธรรมอาหารของญี่ปุ่น ได้แก่ การรับประทาน

(1) เนื้อดิบ

(2) ปลาดิบ

(3) ไข่ดิบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมในการบริโภคนั้น ชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตแบบเรียบง่าย กินอาหารตามสภาพธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อย นิยมกินผักดิบ เนื้อดิบ ปลาดิบ ไข่ดิบ กินข้าวปั้นก้อน ๆ ใช้จานไม้และไม้ไผ่ และบริโภคอาหารด้วยมือ

59 “ชาเขียว” ชาวญี่ปุ่นใช้เป็นส่วนผสมของ

(1) เครื่องสําอาง

(2) ขนม

(3) เครื่องดื่ม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 54, (คําบรรยาย) ชาเขียวถือเป็นวัฒนธรรมอาหารของญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงรู้จักไปทั่วโลกซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมใช้ชาเขียวในพิธีชงชาต้อนรับแขก นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในหลาย ๆ ชนิด เช่น เครื่องสําอาง ขนม เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

60 ปลาอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น

(1) ปลานิล

(2) ปลาทับทิม

(3) ปลามังกร

(4) ปลาคาร์พ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปลาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น ได้แก่

1 ปลานิล เป็นปลาที่ญี่ปุ่นส่งพันธุ์มาให้ไทยนําไปเพาะเลี้ยง

2 ปลาทับทิม เป็นปลาที่ได้จากการผสมพันธุ์ของปลานิลญี่ปุ่น

3 ปลาคาร์พเป็นปลาสวยงาม มีราคาแพง นิยมเลี้ยงไว้ที่สวนและสระน้ำ โดยจะไม่นํามารับประทาน

61 ข้อใดไม่ถูกต้องกับความหมายของ “หยิน-หยาง”

(1) ฟ้า-ดิน

(2) หญิง-ชาย

(3) อ่อน-แข็ง

(4) ดํา-ขาว

ตอบ 1 หน้า 241, (คําบรรยาย) ในสมัยโบราณชาวจีนมีความเชื่ออันเป็นความภาคภูมิของประเทศ คือเชื่อว่า ประเทศจีนอยู่ใจกลางของโลก จึงทําให้เกิดความเชื่อว่าโลกมีวิญญาณสถิตอยู่ มีเพศเป็นหญิง เรียกว่า “หยิน” ซึ่งเป็นวิญญาณแห่งดิน ความมืด กลางคืน ดวงจันทร์ ฯลฯ และเนื่องจากการที่มนุษย์อาศัยอยู่บนโลก ชาวจีนจึงยกย่อง “หยิน” ว่ามีอํานาจเหนือกว่า “หยาง” ซึ่งเป็นเพศชายอันเป็นวิญญาณแห่งฟ้า ความสว่าง กลางวัน ดวงอาทิตย์ ฯลฯ ดังนั้นจึงกล่าว ได้ว่า “หยิน-หยาง” หมายถึง หญิง-ชาย, ดิน-ฟ้า, ความมืด-ความสว่าง, กลางคืน-กลางวัน,ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์, อ่อน-แข็ง, ดํา-ขาว ฯลฯ

62 ขงจื๊อสอนเรื่องผีสางเทวดาไว้ว่า “จงเคารพบูชาผีและเทพเจ้า แต่ควร ”

(1) ประจบใกล้ชิดสม่ำเสมอ

(2) ขอโชคลาภเสมอ ๆ

(3) อยู่ให้ห่าง ๆ

(4) อยู่ใกล้ ๆ ศาลเจ้า

ตอบ 3 หน้า 248 249, (คําบรรยาย) ปรัชญาและหลักคําสอนที่สําคัญของขงจื้อ ได้แก่

1 สอนให้ประชาชนทําพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และให้ถือว่าการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษเป็นหน้าที่ของลูกหลานผู้สืบสกุล ต้องทําเป็นประจําทุกปี และทุกเทศกาล

2 สอนให้ชาวจีนทําพิธีบวงสรวงเทพเจ้าตามจารีตประเพณีของชาวจีนในสมัยโบราณ แต่สอนว่า “จงเคารพบูชาผีและเทพเจ้า แต่ควรอยู่ให้ห่าง ๆ”

3 สอนหลักการปกครอง โดยมีความเห็นว่า การปกครองโดยนิติธรรมเนียม ควรนํามาใช้มากกว่าการปกครองแบบอํานาจและอาชญา เป็นต้น

63 ชาวจีนเชื่อตามลัทธิเต๋าว่า…สําคัญที่สุด

(1) สถานที่เกิด

(2) สถานที่ตาย

(3) สถานที่ฝังศพ

(4) สถานที่เผาศพ

ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) ชาวจีนมีความเชื่อตามลัทธิเต๋าว่า สุสานหรือสถานที่ฝังศพของบรรพบุรุษนั้นถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสําคัญที่สุด เพราะเชื่อว่าเป็นที่สถิตแห่งดวงวิญญาณและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของวงศ์ตระกูล ดังนั้นถ้าหากฝังศพไว้ในที่ดินที่ถูกโฉลกและเซ่นไหว้บวงสรวงอย่างดีแล้วก็จะทําให้ลูกหลานร่ำรวย เจริญรุ่งเรือง และมีความสุข

64 ข้อใดไม่ใช่ความรู้ความสามารถของนักบวชเต๋า

(1) ทําหลุมศพ

(2) ทําคลอด

(3) ทํากงเต็ก

(4) ทํายาอายุวัฒนะ

ตอบ 2 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) ศาสนาเต๋าในระยะหลัง ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องไสยศาสตร์มากขึ้น ทําให้นักบวชในศาสนาเต๋ากลายเป็นผู้มีความชํานาญพิเศษในการประกอบพิธีกรรม เกี่ยวกับไสยศาสตร์ สามารถทํานายดวงชะตาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ มีญาณติดต่อเทพเจ้าและ เซียนได้ มีพลังจิตสะกดวิญญาณและปราบผีปีศาจได้ ทําคุณไสย ทําหลุมศพ ทํากงเต็ก และมีความสามารถในการทํายาอายุวัฒนะ

65 ข้อใดไม่ใช่พรสวรรค์พิเศษของนักบวชเต๋า

(1) มีญาณติดต่อเทพ-เซียนได้

(2) มีพลังจิตสะกดวิญญาณได้

(3) ทํานายดวงชะตา

(4) ช่วยคนตายใหม่ ๆ ให้ฟื้นได้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 ข้อใดมีความหมายตรงกับ “ฮวงจุ้ย”

(1) ลม-น้ำ

(2) ดิน-ฟ้า

(3) รุ่งเรือง-ร่ำรวย

(4) อายุ-ยืนนาน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คําว่า “ฮวงจุ้ย” มีความหมายตรงกับคําว่า ลม (ฮวง) และน้ำ (จุ้ย) เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งถือเป็นศาสตร์แห่งการพยากรณ์ของชาวจีนในการเลือกสรรทําเลที่ตั้งของสถานที่ทั้งสําหรับคนเป็นและคนตาย โดยยึดหลักแห่งความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้มีความกลมกลืนกันเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่คนในครอบครัวและลูกหลาน

67 การทําศพของผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์เกี่ยวข้องกับ

(1) นกพิราบ

(2) นกแร้ง

(3) นกเหยี่ยว

(4) นกอินทรี

ตอบ 2 หน้า 425 คติความเชื่อเกี่ยวกับความตายของศาสนาโซโรอัสเตอร์ คือ การห้ามไม่ให้เผาศพห้ามนําศพไปทิ้งน้ำ และห้ามนําศพไปฝังดิน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าศพนั้นเป็นสิ่งสกปรกซึ่งจะทําให้ ไฟ น้ำ และดินที่พวกเขานับถือต้องสกปรก แต่ให้ทําพิธีศพโดยการนําศพไปวางทิ้งไว้บนหอสูงเรียกว่า “หอคอยแห่งความสงบสุข” แล้วปล่อยให้นกแร้งมาจิกกินเป็นอาหาร

68 ความเชื่อเรื่องบูชาพระเจ้าของชาวโซโรอัสเตอร์เกี่ยวข้องกับ..

(1) ดิน

(2) น้ำ

(3) ลม

(4) ไฟ

ตอบ 4 หน้า 421 ศาสนาโซโรอัสเตอร์ เป็นศาสนาที่มีพิธีบูชาพระเจ้าด้วยไฟ เซ่นสังเวยพระเจ้าด้วยเหล้าศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพระเจ้าของศาสนาโซโรอัสเตอร์มีพระนามว่า เทพเจ้าอนุรา มาสดา (Ahura Mazda)

69 ศาสนาโซโรอัสเตอร์มีอายุร่วมสมัยกับศาสนาใด

(1) กรีกโบราณ

(2) อียิปต์โบราณ

(3) ยูดาห์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศาสนาที่เกิดร่วมสมัยกับศาสนาโซโรอัสเตอร์ ได้แก่ กรีกโบราณ อียิปต์โบราณ ยูดาห์ ฮินดู อินคา เป็นต้น

  1. 70. ศาสนาโซโรอัสเตอร์ถือว่าบาปที่สุดคือ

(1) เล่นการพนัน

(2) ลักขโมย

(3) พูดเท็จ

(4) เมาสุรา

ตอบ 3 หน้า 423 424 ศาสดาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้สั่งสอนไม่ให้คนโกหก กล่าวเท็จเป็นพยานเท็จ และประณามผู้โกหก กล่าวเท็จอย่างมากว่าบาปที่สุด จนเป็นกฎบัญญัติให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของศาสนานี้

71 ศาสดามหาวีระของศาสนาเชนอยู่ร่วมสมัยกับศาสดาของศาสนาใด

(1) ฮินดู

(2) พุทธ

(3) ซิกข์

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 291, 329 ศาสดามหาวีระของศาสนาเชนเกิดในยุคสมัยเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของศาสนาพุทธ โดยทั้งสองศาสนาจะมีความคล้ายกันหลายประการ เช่น เป็นศาสนาแห่งเหตุผล สั่งสอนไม่ให้คนหลงงมงาย ชาติกําเนิดและชีวประวัติของศาสดา (มีชื่อพระชายา ยโสธรา เหมือนกัน) รวมทั้งหลักธรรมคําสอนก็คล้ายคลึงกันมากจนมีนักวิชาการหลายท่านคิดว่าเป็นศาสนาเดียวกัน

72 ชื่อศาสดา “มหาวีระ” มีความหมายว่า

(1) ฉลาดมาก

(2) ปัญญามาก

(3) กล้าหาญมาก

(4) บารมีมาก

ตอบ 3 หน้า 330, (คําบรรยาย) พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชนมีพระนามเดิมว่าเจ้าชายวรรธมานะหรือวัธมานะ เกิดในวรรณะกษัตริย์ พระนาม “มหาวีระ” แปลว่า มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่กล้าหาญ ซึ่งเหตุที่ได้รับขนานนามว่า พระมหาวีระผู้กล้าหาญมาก เพราะในขณะเมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น พระองค์เคยปราบช้างตกมันที่วิ่งพลัดเข้ามาในอุทยาน โดยสามารถขึ้นขี่ช้างพลายนั้นและบังคับไปสู่โรงช้างได้อย่างเรียบร้อย โดยมิได้แสดงพระอาการเกรงกลัวแต่อย่างใด

73 ชาวเชนมีความเชื่อว่าเป็นการตัดกิเลสและจะได้บุญมาก

(1) เดินทางแสวงบุญจนตาย

(2) ทรมานทําร้ายร่างกายจนตาย

(3) อดอาหารจนตาย

(4) สวดสรรเสริญจนตาย

ตอบ 3 หน้า 338, (คําบรรยาย) ชาวเชนมีความเชื่อว่า ความตายที่บริสุทธิ์คือการอดอาหารตายและถือเป็นการบําเพ็ญเพียรเพื่อตัดกิเลสและจะได้บุญมาก

74 ผู้นับถือศาสนาเชนผู้หญิง จะทําข้อใด

(1) กินมังสวิรัติ

(2) เป็นนักบวช

(3) บรรลุธรรมสูงสุด

(4) ตัดกิเลสด้วยการเปลือยกาย

ตอบ 1 หน้า 337 338, 340, (คําบรรยาย) ศาสดามหาวีระของศาสนาเชนไม่ให้มีนักบวชหญิงและปฏิเสธการปฏิบัติธรรมของสตรี โดยเห็นว่า “สตรีเพศเป็นเหตุแห่งบาป” และเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส ทั้งหลาย ซึ่งนิกายทิคัมพรในศาสนาเชนนั้นเชื่อว่าสตรีไม่สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้ อีกทั้ง นักบวชในนิกายนี้ต้องเปลือยกาย ดังนั้นหากสตรีเพศต้องเปลือยกายอาจจะทําให้นักบวชชายเกิดกิเลสได้ ส่วนการกินมังสวิรัตินั้นผู้ที่นับถือศาสนาเชนทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงสามารถทําได้

75 ศาสดามหาวีระเกิดในวรรณะใด

(1) พราหมณ์

(2) กษัตริย์

(3) แพศย์

(4) ศูทร

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

76 ผู้นับถือศาสนาซิกข์คนแรกมีความสัมพันธ์เป็น….ของศาสดาซิกข์

(1) มารดา

(2) พี่สาว

(3) น้องสาว

(4) ภรรยา

ตอบ 2 หน้า 342 คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ (ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อนานกี (แปลว่า หลานตา) ซึ่งรักท่านครูนานักมากจึงได้เอาชื่อของตนไปตั้งชื่อให้แก่น้องชายว่า “นานัก” และคงเป็นเพราะว่ารักน้องชายมากนี้เอง ต่อมานางนานกีจึงได้สมัครเป็นชาวซิกข์คนแรกด้วย

77 ชาวซิกข์จะไม่ใส่เสื้อผ้าชุดสี

(1) ดํา

(2) ขาว

(3) แดง

(4) เหลือง

ตอบ 3 หน้า 348 349 คุรุโควินทสิงห์ เป็นศาสดาของศาสนาซิกข์ที่ให้ศีล 21 ข้อ ซึ่งเป็นศีลประจําชีวิตที่ศิษย์ของท่านทุกคนถือปฏิบัติ เช่น

1 มี “ก 5 ประการ” ไว้กับตน คือ เกศ กังฆา กฉา กรา และกฤปาน

2 ห้ามใช้สีแดง เพราะเป็นสีที่หมายถึงความรัก ความเมตตา ซึ่งขัดต่อนิสัยนักรบ

3 ให้ใช้คําว่า “สิงห์” ต่อท้ายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

4 ห้ามเปลือยศีรษะ นอกจากเวลาอาบน้ำ

5 ห้ามตัดหรือโกนผม หนวด และเครา

6 ให้ถือว่าการขี่ม้า ฟันดาบ และมวยปล้ำ เป็นกิจที่ต้องทําอยู่เป็นนิจ ฯลฯ

78 ชาวซิกข์ในประเทศอินเดียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแคว้น

(1) โอริสสา

(2) แคชเมียร์

(3) ปัญจาบ

(4) มคธ

ตอบ 3 หน้า 341 ในปัจจุบันผู้นับถือศาสนาซิกข์มีอยู่กระจัดกระจายทั่วโลก ในประเทศอินเดียผู้นับถือศาสนาซิกข์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแคว้นปัญจาบ ทั้งนี้เพราะแคว้นปัญจาบเป็นแหล่ง ที่เกิดของศาสนา และที่สําคัญก็คืออักษรและภาษาของแคว้นปัญจาบที่เป็นภาษาประจําถิ่น ก็มาจากศาสนาซิกข์ นอกจากนี้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาซิกข์ที่สําคัญส่วนใหญ่สร้างขึ้นในแคว้นปัญจาบแทบทั้งสิ้น

79 การดํารงชีวิตของชาวซิกข์ ได้แก่

(1) กล้าหาญ

(2) มีการรยาคนเดียว

(3) สตรีไม่ต้องคลุมหน้า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 340, 345, 353, (คําบรรยาย) หลักการดํารงชีวิตของชาวซิกข์ ได้แก่

1 เป็นผู้กล้าหาญและผู้เสียสละ

2 ชายมีภรรยาได้แค่คนเดียว

3 สตรีไม่ต้องคลุมหน้าเมื่อออกนอกบ้าน

4 สามี-ภรรยามีสิทธิเท่าเทียมกัน

5 หญิงไม่ต้องจ่ายค่าสินสอดสู่ขอชาย ฯลฯ

80 ศาสดาของศาสนาซิกข์ชื่อ ท่าน

(1) รพิณทรนาถ

(2) นานัก

(3) วรรธมานะ

(4) โควินทะ

ตอบ 2 หน้า 342, 345 – 347 ศาสนาซิกข์มี “คุรุ” หรือศาสดาทั้งหมด 10 ท่าน ได้แก่

1 นานัก 2 อังคัพ 3 อมรทาส 4 รามทาส 5 อรชุน  6 หริโควินท์ 7 หริไร 8 หรึกฤษัน 9 เฒฆพหฑูร์ 10 โควินทสิงห์

81 ศาสนายูดาห์เป็นศาสนาของชนชาติ

(1) อิสราเอล

(2) ยิว

(3) ฮิบรู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 359, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์ เป็นศาสนาของชนชาติอิสราเอลหรือยิวหรือฮิบรูมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นลึกซึ้งต่อประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติอิสราเอล จนอาจกล่าวได้ว่าศาสนายูดาห์เกิดขึ้นเพื่อชนชาติอิสราเอลโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังถือเป็น ศาสนาที่สําคัญศาสนาหนึ่งของโลก เพราะมีอายุยืนนานกว่า 4,000 ปี และยังคงมีผู้คนนับถือสืบต่อมาอย่างไม่ขาดสายจนถึงปัจจุบัน

82 ศาสดาองค์ใดนําบัญญัติ 10 ประการ มาสู่มนุษย์

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 2 หน้า 364 365 บทบาทสําคัญของโมเสสที่มีต่อประชาชนชาวอิสราเอล คือ ช่วยให้ชาวอิสราเอลพ้นจากความเป็นทาสของอียิปต์ รวมทั้งโมเสสยังเป็นผู้รับโองการจากพระเจ้า เรียกว่า บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งพระเจ้าประทานแก่ชาวอิสราเอล โดยโมเสสได้สลักลงใน แผ่นศิลา 2 แผ่น ให้ขาวอิสราเอลถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้วจะพบดินแดนแห่งสัญญาแต่ถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้วพระเจ้าก็จะลงโทษ

83 ศาสดาองค์ใดที่กําหนดไม่ให้กินเนื้อหมูเป็นคนแรก

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 หน้า 370, (คําบรรยาย) ศาสดาอับราฮัมของศาสนายูดาห์ เป็นคนแรกที่สอนมนุษย์ไม่ให้กินเนื้อหมู เนื้อหมา เนื้อหนู เนื้องู ปลาหมึก ปลาไหล และกุ้ง ทั้งนี้เพราะเป็นสัตว์ที่กินของสกปรก

84 วันพระของศาสนายูดาห์คือ วัน

(1) ศุกร์

(2) เสาร์

(3) อาทิตย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 364, 367, (คําบรรยาย) วันเสาร์ถือเป็นวันพระของศาสนายูดาห์ เรียกว่า วันแซบบาธหรือวันซะบาโต คือวันที่พระเจ้าทรงสร้างโลกและจักรวาลเสร็จ และทรงหยุดพักผ่อนในวันที่ 7 โดยวันแซบบาธเป็นวันที่ชาวอิสราเอลทั้งหลายจะหยุดทํางาน และการทํากิจการต่าง ๆ ทุกชนิด แม้แต่การก่อไฟในเตาก็งดเว้น เพื่อบูชาพระเจ้าตามที่ปรากฏในบัญญัติ 10 ประการ คือห้ามทําการสิ่งใดในวันที่ 7 และให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ด้วย

85 วันพระของศาสนายูดาห์ ชาวอิสราเอลจะไม่ทําข้อใด

(1) ทําความสะอาดบ้าน

(2) ปรุงอาหารเลี้ยง

(3) จัดงานแต่งงาน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

86 จังหวัดใดไม่ได้ใช้กฎหมายอิสลาม

(1) ระนอง

(2) สตูล

(3) นราธิวาส

(4) ปัตตานี

ตอบ 1 หน้า 391 ประเทศไทยมีชาวมุสลิมผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่ทั่วทุกจังหวัด และมีมากที่สุดใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้ใช้กฎหมายอิสลามใน 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าวนี้

87 ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมอาหรับ

(1) อิฐ

(2) พรม

(3) ภาษา

(4) นิทานอาหรับราตรี

ตอบ 1 หน้า 392 393 วัฒนธรรมของชาวอาหรับ ได้แก่ การทําพรม ภาษาอาหรับ ความรู้เรื่องดาราศาสตร์ นิทานอาหรับราตรี อาลาดินกับตะเกียงวิเศษ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ)

88 มุสลิมคนแรกคือ….ของนบีมูฮัมหมัด

(1) มารดา

(2) พี่สาว

(3) ภรรยา

(4) ลูกสาว

ตอบ 3 (คําบรรยาย) มุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) คนแรกของโลก คือ นางคาดียะฮ์ (Khadiah) ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกของท่านนบีมูฮัมหมัด โดยท่านนบีรักและเคารพภรรยาผู้นี้มาก และได้ กล่าวถึงว่า “เมื่อข้าพเจ้ายากจน เธอทําให้ข้าพเจ้าร่ํารวยขึ้น เมื่อคนอื่นกล่าวว่าข้าพเจ้าพูดเท็จเธอเท่านั้นที่เชื่อในข้าพเจ้า”

89 “ดาโต๊ะยุติธรรม” ต้องมีอายุตั้งแต่ ปีขึ้นไป

(1) 25 ปี

(2) 30 ปี

(3) 35 ปี

(4) 40 ปี

ตอบ 1 หน้า 410 411, (คําบรรยาย) ตําแหน่งดาโต๊ะยุติธรรมนั้น คัดเลือกจากอิสลามศาสนิกชนผู้มีคุณสมบัติดังนี้

1 มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

2 มีภูมิรู้ในศาสนาอิสลามพอที่จะ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

3 มีความรู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้

90 นบีมูฮัมหมัดได้รับยกย่องตั้งแต่วัยเยาว์ว่าเป็น

(1) ผู้ชาญฉลาด

(2) ผู้กล้าหาญ

(3) ผู้ไว้ใจได้

(4) ผู้มีรูปงาม

ตอบ 3 หน้า 394 395 ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลาม คือท่านศาสดา “นบีมูฮัมหมัด” ซึ่งคําว่า “นบี”แปลว่า ผู้ประกาศข่าว อันหมายถึง บุคคลผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม โดยในช่วงวัยเยาว์นั้น ท่านนบีได้ขยันช่วยงานอาชีพของลุงท่านเป็นอย่างดี อีกทั้งยังสุขุม เยือกเย็น สุภาพอ่อนโยน และรักความยุติธรรมผิดกับเด็กอื่น ๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน จนคนทั่วไปนิยมเชื่อถือท่านว่ามีความซื่อสัตย์และได้ขนานนามท่านว่า “อัล-อามิน” ซึ่งแปลว่า ผู้ไว้ใจได้ตั้งแต่วัยเยาว์

91 “ใช้ชีวิตแบบคนป่วย” เป็นหลักการดํารงชีวิตของศาสนาใด

(1) ฮินดู

(2) เชน

(3) ซิกข์

(4) โซโรอัสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 338, (คําบรรยาย) พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน กล่าวว่า “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบายเท่ากับความเจ็บป่วย” นั่นคือ ทรงสอนให้ใช้ชีวิตแบบคนป่วย หรือให้สมถะพอเพียงไม่อยากได้สิ่งที่ไม่จําเป็น คนไม่ว่าจะร่ํารวยเพียงใดก็ตามต้องไม่หมกมุ่นกับตัณหาของตน

92 ศาสนาใดมีอายุน้อยที่สุด

(1) เชน

(2) ซิกข์

(3) อิสลาม

(4) คริสต์

ตอบ 2 หน้า 340 341 ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่มีอายุน้อยที่สุดในบรรดาศาสนาทั้งหลายในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาที่เกิดจากการถูกบีบบังคับทางการเมืองและถูกคนในศาสนาอื่นบังคับ ขู่เข็ญ อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ผู้นับถือชายเกือบทุกคนเป็นนักรบในสมัยที่ตั้งศาสนาตอนแรก ๆจึงกลายเป็นศาสนาของผู้กล้าหาญ ผู้เสียสละ และเป็นศาสนาของทหารหรือนักรบ โดยทหารซิกข์ นับเป็นทหารชั้นหนึ่งของอินเดียจนกระทั่งได้รับสมญาว่า “แขนคือดาบ”

93 “นกมีหู-หนูมีปีก” หมายถึงศาสนาใด

(1) เชน

(2) ซิกข์

(3) อิสลาม

(4) คริสต์

ตอบ 2 หน้า 341, 344, (คําบรรยาย) คุรุนานัก เดิมนั้นนับถือศาสนาฮินดู แต่ท่านได้หาวิธีที่จะทําให้ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นพวกเดียวกัน เลิกรบราฆ่าฟันและเป็นศัตรูกัน โดยได้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ขึ้นมา ซึ่งท่านนําหลักการของทั้งฮินดูและ อิสลามมาประยุกต์ปรับปรุงให้เข้ากันแล้วเพิ่มหลักธรรมของท่านลงไป ซึ่งทําให้จักรพรรดิโอรังเซป กษัตริย์มุสลิมทรงประณามศาสนาซิกข์ว่าเป็นเหมือนค้างคาว หรือพวก “นกมีหู หนูมีปีก” คือ เป็นฮินดูก็ไม่ใช่ เป็นอิสลามก็ไม่ใช่

94 “สุวรรณวิหาร” เป็นศาสนสถานที่สําคัญที่สุดของศาสนาใด

(1) ฮินดู

(2) เชน

(3) ซิกข์

(4) พุทธ

ตอบ 3 หน้า 346 คุรุอรชุน เป็นผู้สร้าง “สุวรรณวิหาร” หรือหริมณเฑียรขึ้นกลางสระอมฤต ซึ่งเป็นวิหารหรือวัดที่สวยงามมาก มีประตูสี่ด้าน ไม่มีรูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นสีทองอร่ามไปทั่วทั้ง วิหารทั้งภายนอกและภายใน ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และถือเป็นศาสนสถานที่สําคัญที่สุดของศาสนาซิกข์

95 สามี-ภรรยาเท่าเทียมกัน คือ หลักการดํารงชีวิตของชาว

(1) ชาวยิว

(2) ชาวซิกข์

(3) ชาวพุทธ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

96 วัดที่จะรับกฐินได้ต้องมีพระจําพรรษาอยู่ไม่น้อยกว่ารูป

(1) 3 รูป

(2) 5 รูป

(3) 7 รูป

(4) 9 รูป

ตอบ 2 หน้า 151 – 152, 155 การทําบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า “ทอดกฐิน”นับเป็นการทําบุญที่ยิ่งใหญ่และทําเพียงปีละครั้ง โดยวัดที่จะรับผ้ากฐินได้ต้องมีพระสงฆ์จําพรรษา อยู่ไม่น้อยกว่า 5 รูป จึงจะรับผ้ากฐินได้ ทั้งนี้กฐินทานเป็นทานพิเศษประเภทหนึ่งที่ถวายได้เฉพาะกาล คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12

97 “สตรีเป็นเหตุแห่งบาป” เป็นคําสอนของศาสดา

(1) มหาวีระ

(2) นานัก

(3) เยซู

(4) โมเสส

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

98 ศาสดาองค์ใดเป็นชาวอิสราเอล

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 360 361, 372 อับราฮัม และโมเสส เป็นชาวอิสราเอลและถือเป็นศาสดาของศาสนายูดาห์รวมทั้งพระเยซู ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ ก็เป็นชาวอิสราเอลและนับถือศาสนายูดาห์มาตั้งแต่เกิดจนตาย

99 ศาสดาองค์แรกที่ประกาศว่าพระเจ้าให้ชายขริบอวัยวะเพศ

(1) นบีมูฮัมหมัด

(2) อับราฮัม

(3) โมเสส

(4) เยซู

ตอบ 2 หน้า 368 369, (คําบรรยาย) ศาสดาอับราฮัมของศาสนายูดาห์ ได้ให้คํามั่นสัญญากับพระเจ้าว่า ลูกชายชาวอิสราเอล (ชาวยิวหรือชาวฮิบรู) ทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ เพื่อเป็น สัญลักษณ์ที่ยืนยันว่าชนชาติอิสราเอลเป็นชนชาติแรกที่พระเจ้าทรงเลือก (The Chosen People) และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญากับพระเจ้า

100 ปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้กฐินพระราชทานไปถวายกฐินที่จังหวัด…

(1) เพชรบุรี

(2) ราชบุรี

(3) สุพรรณบุรี

(4) กาญจนบุรี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคําแหง ถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจําปี 2559 ณ วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา 10.00 น. โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและศิษย์เก่า รวมทั้งประชาชนเข้ารวมในพิธี

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คําสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อเท่านั้น

ข้อ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตราที่ 1 บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้” ให้อธิบายประเด็นดังกล่าวพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตราที่ 1 บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้” หมายความว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นแบบ “รัฐเดี่ยว” (Unitary State) ทั้งนี้นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2561 ประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญสายลักษณ์อักษรมาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับกําหนดให้ใช้รูปแบบของรัฐ เป็นแบบรัฐเดี่ยว ยกเว้นพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ที่มิได้กําหนดเรื่องรูปแบบของรัฐไว้ และรัฐธรรมนูญ ทุกฉบับยังกําหนดห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขรูปแบบของรัฐโดยเด็ดขาด

ลักษณะสําคัญของรัฐเดี่ยว มีดังนี้

1 เป็นรัฐที่มีการรวมศูนย์อํานาจทางการเมืองการปกครองอยู่ที่ส่วนกลางหรือเมืองหลวง หรือรัฐบาลของประเทศเพียงแห่งเดียว โดยมีการรวมเอาคําสั่ง คําบังคับบัญชา และคําวินิจฉัยไว้ที่ส่วนกลาง หรืออํานาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของหน่วยงานที่สําคัญ (เช่น กระทรวงต่าง ๆ) กําลังทหารและตํารวจจะอยู่ที่ส่วนกลาง

2 พระราชบัญญัติที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาจะเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้กับพลเมืองหรือประชาชนทั้งประเทศ กล่าวคือ ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะใช้กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาเหมือนกันหมด เพราะการออกกฎหมายโดยผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งไม่ใช่กฎหมายที่นํามาใช้บังคับแต่ในจังหวัดของผู้แทนนั้น ๆ แต่ถือว่าร่วมกันเสนอกฎหมาย และมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

3 การปกครองส่วนภูมิภาคอันหมายถึงจังหวัดต่าง ๆ นั้น อํานาจยังขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ดังจะเห็นได้จากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย

4 การปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน อาจได้รับการกระจายอํานาจจากส่วนกลางมากขึ้น แต่ก็ยังขึ้นต่อส่วนกลาง กล่าวคือ ในรัฐเดี่ยวอาจมีการกระจายอํานาจ แต่การกระจายอํานาจจะไม่มาก จนทําให้ท้องถิ่นเป็นอิสระ

ตัวอย่างประเทศที่ใช้รูปแบบรัฐเดี่ยวในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ตุรกี อียิปต์ เป็นต้น

 

ข้อ 2 ให้อธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

2.1 Amendment

แนวคําตอบ

Amendment (การแก้ไขรัฐธรรมนูญ) หมายถึง เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้ใช้บังคับไปในระยะเวลานานพอสมควรแล้ว ก็ควรจะมีการแก้ไข หมายความว่า อาจจะยกเลิกบางมาตรา หรือใส่เพิ่มเติมเข้าไป ในมาตราที่ไม่เคยมีก็ได้ โดยหลักการทั่วไปมีอยู่ว่าอาจแก้ไขบางส่วน หรือแก้ไขทั้งฉบับก็ย่อมทําได้ นั่นคือ สามารถแก้ไขกี่มาตราก็ได้ ภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่กําหนด ทั้งนี้เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของบ้านเมือง หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศและของโลกในเวลานั้น

การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณีไม่แตกต่างจากการแก้ไขกฎหมายธรรมดา คือ กฏข้อบังคับต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของรัฐธรรมนูญ หากสภาออกกฎหมายยกเลิกก็เท่ากับเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรจะแก้ไขได้ยากกว่า เพราะต้องมีกระบวนการ มีขั้นตอน เริ่มจากองค์กรที่มีอํานาจในการเสนอญัตติขอแก้ไข องค์กรที่มีอํานาจในการพิจารณาในแต่ละวาระ และต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากด้วย

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญของไทยจะมีการจํากัดอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังจะเห็น ได้จากรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับที่ห้ามแก้ไขในเรื่องรูปแบบรัฐซึ่งเป็นแบบรัฐเดี่ยว (Unitary State) และรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยเด็ดขาด

สําหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของไทยในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็น 3 วาระ ดังนี้

– วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

– ในวาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลําดับมาตรา การออกเสียงในวาระนี้ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่ เข้าชื่อกันได้เสนอความคิดเห็นด้วย

– ในวาระที่ 3 ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

เมื่อมีการลงมติเห็นชอบแล้วให้รอไว้ 15 วัน เล้วให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย

สําหรับกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม ของผู้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออํานาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทําให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออํานาจได้ ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติก่อน ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจึงนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

 

2.2 Public Hearing

แนวคําตอบ

Public Hearing (ประชาพิจารณ์) หมายถึง การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในเรื่องที่จะออกกฎหมายก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งจะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด หรือพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ไม่ว่าผลประชาพิจารณ์จะออกมาอย่างไร หน่วยงานของรัฐ ก็ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามผลหรือข้อสรุปนั้นเสมอไป เพราะไม่มีผลทางนิตินัย

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กําหนดให้มีการทําประชาพิจารณ์ในเรื่องดังต่อไปนี้

1 การตรากฎหมายทุกฉบับ

2 การดําเนินกิจการของรัฐหรือที่รัฐอนุญาตให้ดําเนินการ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

3 การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ

4 การทําหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การค้า หรือการลงทุนของประเทศ ได้แก่ หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือทําให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ

 

2.3 Uprising

แนวคําตอบ

Uprising (การจลาจลทางการเมือง) หมายถึง การที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้าน (Standing up against) ผู้ปกครอง/ผู้ใช้อํานาจรัฐ หรือรัฐธรรมนูญในเวลานั้น โดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามา เกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของอุดมการณ์เท่านั้น ซึ่งจะนําโดยกลุ่มปัญญาชน นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ จากนั้นประชาชนบางกลุ่มก็จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในอุดมการณ์นั้น และเมื่อรัฐบาลยอมทําตามอุดมการณ์ที่กลุ่มต้องการแล้ว ก็จะยุติการจลาจลลง

ตัวอย่างเหตุการณ์การจลาจลทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมี 2 ครั้ง คือ

– เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเรียกว่า “วันมหาวิปโยค”

– เหตุการณ์วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในสมัยพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “ พฤษภาทมิฬ”

 

2.4 Coup d’e’tat

แนวคําตอบ

Coup d’etat (การรัฐประหาร) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปราศจากการมีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้อํานาจรัฐหรือผู้ใช้อํานาจปกครองหรือเปลี่ยนตัวบุคคลเท่านั้น แต่ระบบเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าขาดหลักความชอบธรรม (Legitimacy)

จะเห็นได้ว่าประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยและประเทศด้อยพัฒนา ผู้นําของประเทศ นิยมแย่งชิงอํานาจกันเองด้วยวิธีการทํารัฐประหาร โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ผู้ยึดอํานาจ มักเป็นทหาร และภายหลังยึดอํานาจเสร็จแล้ว ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ใช้อํานาจรัฐเท่านั้น

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า มีการยึดอํานาจรัฐด้วยกําลังบ่อยครั้ง ซึ่งมีทั้งกระทําสําเร็จและไม่สําเร็จ การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จของไทยเกือบ ทุกครั้งเรียกว่า “รัฐประหาร” เพราะเป็นการแย่งชิงอํานาจกันเองในหมู่ผู้ปกครอง แต่ผู้ยึดอํานาจจะเรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ”

อนึ่ง ประเทศไทยมีการทํารัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยการทํารัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนําของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอํานาจรัฐบาลรักษาการของนายนิวัตน์ธํารง บุญทรงไพศาล และประกาศ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550

 

2.5 Sovereignty

แนวคําตอบ

Sovereignty (อํานาจอธิปไตย หรืออํานาจรัฏฐาธิปัตย์) หมายถึง อํานาจปกครองบังคับบัญชา สูงสุดภายใต้รัฐนั้น ไม่ว่าจะมีวิธีการได้มาโดยความชอบธรรมด้วยการเลือกตั้ง หรือได้มาโดยใช้กําลังในการยึดอํานาจรัฐ ได้สําเร็จด้วยการปฏิวัติหรือการทํารัฐประหารก็ตาม เพราะผู้ที่ใช้อํานาจรัฐคือกลุ่มผู้ที่แข็งแรงที่สุด เพียงแต่ต่างกัน ในเรื่องที่มาของอํานาจ

อํานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ โดยอํานาจอธิปไตยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง เช่น ถ้าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อํานาจอธิปไตย จะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยผ่านตัวแทนคือสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจอธิปไตยจะเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และเป็นผู้เดียวที่ใช้อํานาจดังกล่าว

ลักษณะสําคัญของอํานาจอธิปไตย มี 4 ประการ คือ

1 มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) หมายถึง มีอํานาจครอบคลุมทั่วทั้งรัฐ และอยู่เหนือทุก ๆ อํานาจ

2 มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) หมายถึง อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดภายในรัฐ จะไม่มีอํานาจอื่นใดภายในรัฐที่อยู่เหนือกว่าอํานาจอธิปไตย

3 มีความถาวร (Permanence) หมายถึง อํานาจอธิปไตยจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงอยู่

4 แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) หมายถึง ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอํานาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว จะมีการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตยไปให้ส่วนต่าง ๆ ภายในรัฐมิได้

อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ

2 ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ทําหน้าที่ในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย

3 ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของทุก ๆ คนภายในรัฐ รวมทั้งทําหน้าที่ในการควบคุมทุก ๆ อํานาจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

 

ข้อ 3 “ความเป็นสถาบัน” ของสถาบันทางการเมืองเป็นปัจจัยสําคัญของเสถียรภาพและการพัฒนาทางการเมือง จากข้อความดังกล่าวให้วิเคราะห์สาเหตุของความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของไทย และอภิปรายถึงผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย โดยให้ยกตัวอย่างสถาบันทาง การเมืองสถาบันใดสถาบันหนึ่งขึ้นมาอธิบายเป็นตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

สาเหตุของความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของไทย

สถาบันทางการเมืองของไทยยังขาดความเป็นสถาบัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือสถาบันทางการเมืองที่สร้างขึ้นมายังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง คือ ยังไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ความต้องการ ตลอดจนการประนีประนอมอํานาจและผลประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมไทยได้ทั้งในระดับของชนชั้นนําและระดับของประชาชนโดยทั่วไป สถาบันทางการเมืองไทยจึงถูกล้มลงและสร้างขึ้นใหม่บ่อยครั้ง ในระบบการเมืองไทย

ตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองไทย มักมีปัญหาในเรื่องความเป็นสถาบัน หรือก็คือความสามารถของพรรคการเมืองในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป มีความคงทน การมีโครงสร้างที่ สลับซับซ้อน การแยกตัวบุคคลออกจากการครองอํานาจของใครคนใดคนหนึ่งภายในพรรค เป็นต้น

บูฆอรี ยีหมะ เห็นว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดของความอ่อนแอในเชิงสถาบันของพรรคการเมือง ในประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น เกิดขึ้นจากต้นเหตุสําคัญคือการยึดติดกับตัวบุคคลมากเกินไป หรือก็คือการที่พรรคถูกครอบงําจากผู้นําภายในพรรคนั่นเอง จนทําให้พรรคดํารงอยู่ได้ด้วยอํานาจของบุคคล ไม่ใช่เพราะความเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง และง่ายต่อการล่มสลายหากผู้นําพรรคหลุดพ้นจากอํานาจทางการเมือง

นอกจากนี้ ความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยยังมีสาเหตุมาจาก

1 ความขัดแย้งทางอุดมคติเกี่ยวกับแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมือง ปัญหานี้เกิดขึ้น เนื่องจากแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมืองไปขัดแย้งกับอุดมคติดั้งเดิมซึ่งเน้นความเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน จึงปฏิเสธการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ภายในรัฐ ดังนั้นอุดมคตินี้จึงมักถูกใช้เป็นข้ออ้างของฝ่ายอํานาจใน การปราบปรามฝ่ายตรงข้ามมาโดยตลอด

2 ลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูง ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการทํางานร่วมกัน และเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

3 ระบบอาวุโสทําให้สมาชิกมีความผูกพันต่อพรรคในระดับต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากผู้อาวุโสในพรรคมีบทบาทอํานาจในพรรคมาก ทําให้ผู้น้อยไม่อาจเข้าไปมีบทบาทในพรรคได้มากนัก จึงทําให้สมาชิกส่วนใหญ่ ของพรรคไม่รู้สึกถึงความผูกพันต่อพรรคการเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

4 โครงสร้างทางสังคมของไทยเป็นโครงสร้างแบบหลวม ๆ ส่งผลให้การรวมกลุ่มต่าง ๆ ไม่มีความเข้มแข็ง รวมถึงการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง

5 ความคิดเจ้าผู้ปกครองเป็นเจ้าเหนือแผ่นดินและทรัพย์สินทั้งปวง ทําให้ประชาชนไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของประเทศ ส่งผลให้การรวมกลุ่มทางการเมืองขาดความเข้มแข็ง

6 การตั้งพรรคการเมืองของไทยเริ่มต้นมาจากฐานความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ คือ การตั้งพรรคการเมืองเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้มีอํานาจตั้งพรรคการเมืองขึ้นเพื่อให้เป็นฐานอํานาจทางการเมืองของกลุ่มตน แต่เมื่อผู้นําพรรคหมดอํานาจ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็มักสลายตามไปด้วย ซึ่งก็เป็นปัญหาเดียวกัน กับกรณีพรรคการเมืองของไทยมักยึดติดกับตัวผู้นําหรือหัวหน้าพรรคมากเกินไป จึงทําให้พรรคการเมืองของไทย ขาดความเป็นสถาบัน

ผลกระทบของความไม่เป็นสถาบันของพรรคการเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

1 พรรคการเมืองไม่สามารถแสดงบทบาทและทําหน้าที่ที่ควรจะเป็นตามการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

2 พรรคการเมืองมิได้เป็นสถาบันของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นพรรคการเมืองของกลุ่มผู้มีอํานาจหรือชนชั้นนําซึ่งต้องการที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองโดยใช้ชื่อประชาชนมากล่าวอ้าง เพื่อความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย

3 การจัดตั้งพรรคการเมืองมิได้อยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมืองหรือการเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์และตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนจึงไม่ตระหนักในการเป็นสมาชิก และมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง การบริหารและนโยบายของพรรคการเมืองจึงไม่สะท้อนผลประโยชน์ที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชน

4 การรวมศูนย์อํานาจการตัดสินใจภายในพรรคการเมืองไว้ที่ผู้นําหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพรรคการเมือง ทําให้สมาชิกพรรคไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจในการดําเนินการต่าง ๆ ของพรรคการเมืองได้ เช่น การคัดสรรบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและดํารงตําแหน่งสําคัญทางการเมือง เป็นต้น

5 การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เท่านั้น มิได้ให้ความสําคัญกับการตั้งสาขาพรรคให้กระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เพื่อให้สาขาพรรคเป็นกลไกในการเชื่อมโยงพรรคกับประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายถึงการเมืองระบบรัฐสภาในขั้นตอน หลักการ วิธีการ รวมถึงการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมืองในระบบรัฐสภา โดยยกตัวอย่างประกอบคําอธิบาย

แนวคำตอบ

การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary System) หรือ การเมืองการปกครองระบบแบ่งแยกอํานาจผ่อนคลาย เป็นรูปแบบของการเมืองการปกครองที่อังกฤษเป็นแม่แบบ ที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภาคลาสสิก” ซึ่งในการเมืองการปกครองระบบนี้จะถือว่ารัฐสภาเป็นองค์กรการเมืองการปกครอง ที่มีความสําคัญกว่าองค์กรอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าเป็นองค์กรที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ฉะนั้นโดยหลักการแล้ว รัฐบาลที่ปกครองและบริหารประเทศจะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา หรือเป็นรัฐบาลที่บริหารงาน ด้วยความรับผิดชอบต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรผู้แทนจากประชาชนนั่นเอง

ขั้นตอน/กระบวนการของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีดังนี้

1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

2 สภาผู้แทนราษฎรประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี

3 นายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะรัฐมนตรี

4 คณะรัฐมนตรีเสนอนโยบายรัฐบาลให้รัฐสภาเห็นชอบ

5 ครบวาระเลือกตั้งใหม่ หรือยุบสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้งใหม่

หลักการสําคัญของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีดังนี้

1 อํานาจอธิปไตยแยกตามหน้าที่ กล่าวคือ อํานาจรัฐไม่ได้รวมไว้ในองค์กรเดียว แต่มีการแยกให้แต่ละองค์กรเป็นผู้ใช้อํานาจ ได้แก่ อํานาจบริหารใช้โดยรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี อํานาจนิติบัญญัติใช้โดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา และอํานาจตุลาการใช้โดยผู้พิพากษาในศาล

2 การแยกอํานาจไม่แยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ อํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐจะถูกแจกจ่ายให้องค์กรต่าง ๆ กัน โดยองค์กรเหล่านี้ไม่แยกกันโดยเด็ดขาด

3 อํานาจที่แบ่งแยกนี้จะมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ องค์กรที่ใช้อํานาจรัฐเหล่านี้มีลักษณะควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ หรือนายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ เป็นต้น

วิธีการของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีดังนี้

1 ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะแยกกัน เช่น ประมุขของรัฐเรียกว่าพระมหากษัตริย์ อย่างเช่น อังกฤษ ไทย หรือเรียกว่าพระจักรพรรดิ อย่างเช่น ญี่ปุ่น หรือเรียกว่าประธานาธิบดี อย่างเช่น อินเดีย สิงคโปร์ เยอรมนี ส่วนตําแหน่งประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาลจะเรียกว่า นายกรัฐมนตรี เป็นต้น

2 ประมุขของรัฐมีลักษณะสําคัญคือ มีสถานะเป็นกลางทางการเมือง หรือไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง (The King can do no wrong) ซึ่งแสดงออกโดยการที่ประมุขของรัฐ ไม่อาจถูกถอดถอนออกจากตําแหน่ง จากการที่ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองนี้เอง ที่ทําให้กิจกรรมใด ๆ ของประมุขของรัฐต้องมีการลงนามกํากับหรือลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการของทุกกิจกรรมเสมอ เพื่อให้ผู้ลงนามรับรองเป็นผู้รับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆ ต่อสภาผู้แทนราษฎร

3 ฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) หรือรัฐบาลก่อนจะเข้าบริหารงานปกครองประเทศนั้นจะต้องเสนอนโยบายเพื่อขอความไว้วางใจหรือขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จึงจะบริหารงานได้

4 รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจทําให้ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลต้องออกจากตําแหน่งได้โดยการเปิดอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ หรืออภิปรายไม่ไว้วางใจเฉพาะนายกรัฐมนตรีก็ได้

5 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิตั้งกระทู้ถามเพื่อควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล

6 ฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจอนุมัติเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล

7 ฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบการกระทําของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล

8 ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีอํานาจยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ ซึ่งเป็นมาตรการในการถ่วงดุลกับฝ่ายนิติบัญญัติ

9 ฝ่ายบริหารมีอํานาจเสนอกฎหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติได้เช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

10 ฝ่ายบริหารมีอํานาจเข้าร่วมประชุมกับฝ่ายนิติบัญญัติ

11 ศาลและผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี

 

การแก้ปัญหาหรือทางออกของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา กรณีเกิดวิกฤติการณ์

การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภานั้น ถือว่าประชาชนคือเจ้าของอํานาจอธิปไตย ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง รัฐบาลซึ่งเป็นตัวแทนที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนให้ทําหน้าที่บริหารประเทศ จึงต้องแก้ปัญหาการเมืองด้วยวิธีการทางการเมือง มีดังนี้

1 การลาออกจากตําแหน่งรัฐมนตรี เช่น กรณีเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เป็นต้น

2 การเปลี่ยนตําแหน่งรัฐมนตรี กรณีนี้มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกําลังพัฒนา ซึ่งนักการเมืองมักจะยึดติดกับตําแหน่งเมื่อบริหารงานผิดพลาดมักจะไม่รับผิดชอบ ด้วยการลาออกจากตําแหน่ง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเปลี่ยนตําแหน่งรัฐมนตรี

3 การลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีนี้มักจะเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ครั้งเมื่อรัฐบาลบริหารงานผิดพลาด นายกรัฐมนตรีมักจะรับผิดชอบด้วยการลาออกเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

4 การปรับเปลี่ยนพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล กรณีนี้มักเกิดขึ้นกับการเมืองการปกครองระบบรัฐสภาที่มีรัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม เมื่อบริหารงานไปแล้วผลงานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นที่พึงพอใจของประชาชน ก็ต้องใช้วิธีการเปลี่ยนพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลเข้มแข็งขึ้น

5 การยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคืนอํานาจให้ประชาชนเลือกตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ

ตัวอย่างประเทศที่ใช้การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ได้แก่ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี สเปน กรีซ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย กัมพูชา ไทย เป็นต้น

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาอธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ต่อไปนี้ โดยยกตัวอย่างประกอบ

2.1 Amendment

แนวคําตอบ

Amendment (การแก้ไขรัฐธรรมนูญ) หมายถึง เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้ใช้บังคับไปในระยะเวลานานพอสมควรแล้ว ก็ควรจะมีการแก้ไข หมายความว่า อาจจะยกเลิกบางมาตรา หรือใส่เพิ่มเติมเข้าไปในมาตราที่ไม่เคยมีก็ได้ โดยหลักการทั่วไปมีอยู่ว่าอาจแก้ไขบางส่วน หรือแก้ไขทั้งฉบับก็ย่อมทําได้ นั่นคือ สามารถแก้ไขกี่มาตราก็ได้ ภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่กําหนด ทั้งนี้เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของบ้านเมือง หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศและของโลกในเวลานั้น

การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณีไม่แตกต่างจากการแก้ไขกฎหมายธรรมดา คือ กฎข้อบังคับต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของรัฐธรรมนูญ หากสภาออกกฎหมายยกเลิกก็เท่ากับเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรจะแก้ไขได้ยากกว่า เพราะต้องมีกระบวนการ มีขั้นตอน เริ่มจากองค์กร ที่มีอํานาจการเสนอญัตติขอแก้ไข องค์กรที่มีอํานาจในการพิจารณาในแต่ละวาระ และต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากด้วย

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญของไทยจะมีการจํากัดอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับที่ห้ามแก้ไขในเรื่องรูปแบบรัฐซึ่งเป็นแบบรัฐเดียว (Unitary State) และรูปแบบ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยเด็ดขาด

สําหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของไทยในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็น 3 วาระ ดังนี้

วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

วาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลําดับมาตรา การออกเสียงในวาระนี้ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้เสนอความคิดเห็นด้วย

วาระที่ 3 ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

เมื่อมีการลงมติเห็นชอบแล้วให้รอไว้ 15 วัน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย

สําหรับกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม ของผู้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออํานาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทําให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออํานาจได้ ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติก่อน ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจึงนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

 

2.2 Coup d’e’tat

แนวคําตอบ

Coup d’e’tat (การรัฐประหาร) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปราศจากการมีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้อํานาจรัฐหรือผู้ใช้อํานาจปกครองหรือเปลี่ยนตัวบุคคลเท่านั้น แต่ระบบเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าขาดหลักความชอบธรรม (Legitimacy)

จะเห็นได้ว่าประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยและประเทศด้อยพัฒนา ผู้นําของประเทศ นิยมแย่งชิงอํานาจกันเองด้วยวิธีการทํารัฐประหาร โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ผู้ยึดอํานาจมักเป็นทหาร และภายหลังยึดอํานาจเสร็จแล้ว ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ใช้อํานาจรัฐเท่านั้น

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า มีการยึดอํานาจรัฐด้วยกําลังบ่อยครั้ง ซึ่งมีทั้งกระทําสําเร็จและไม่สําเร็จ การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จของไทยเกือบทุกครั้งเรียกว่า “รัฐประหาร” เพราะเป็นการแย่งชิงอํานาจกันเองในหมู่ผู้ปกครอง แต่ผู้ยึดอํานาจจะเรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ”

อนึ่ง ประเทศไทยมีการทํารัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยการทํารัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนําของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอํานาจรัฐบาลรักษาการของนายนิวัตน์ธํารง บุญทรงไพศาล และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550

 

2.3 Kingdom

แนวคําตอบ

Kingdom (ราชอาณาจักร) หมายถึง ประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นพระราชินี หรือเป็นพระจักรพรรดิ เช่น ไทย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวีเดน เป็นต้น ซึ่งในอดีตการเกิดเป็นประเทศที่เรียกว่า ราชอาณาจักร เกิดจากแม่ทัพในขณะนั้นปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ คือ แม่ทัพไปรบกับรัฐอื่น ๆ จนได้รับชัยชนะแล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า ปราบดาภิเษก ต่อมาเมื่อกษัตริย์พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ พระโอรสก็จะต้องขึ้นครองราชย์แทน การที่พระโอรสขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แทนพระบิดาที่สิ้นพระชนม์ เรียกว่า ราชาภิเษก

 

2.4 Sovereignty

แนวคําตอบ

Sovereignty (อํานาจอธิปไตย หรืออํานาจรัฏฐาธิปัตย์) หมายถึง อํานาจปกครองบังคับบัญชา สูงสุดภายใต้รัฐนั้น ไม่ว่าจะมีวิธีการได้มาโดยความชอบธรรมด้วยการเลือกตั้ง หรือได้มาโดยใช้กําลังในการยึดอํานาจรัฐ ได้สําเร็จด้วยการปฏิวัติหรือการทํารัฐประหารก็ตาม เพราะผู้ที่ใช้อํานาจรัฐคือกลุ่มผู้ที่แข็งแรงที่สุด เพียงแต่ต่างกัน ในเรื่องที่มาของอํานาจ

อํานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ โดยอํานาจอธิปไตยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง เช่น ถ้าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อํานาจอธิปไตย จะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยผ่านตัวแทนคือสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจอธิปไตยจะเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และเป็นผู้เดียวที่ใช้อํานาจดังกล่าว

ลักษณะสําคัญของอํานาจอธิปไตย มี 4 ประการ คือ

1 มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) หมายถึง มีอํานาจครอบคลุมทั่วทั้งรัฐ และอยู่เหนือทุก ๆ อํานาจ

2 มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) หมายถึง อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดภายในรัฐ จะไม่มีอํานาจอื่นใดภายในรัฐที่อยู่เหนือกว่าอํานาจอธิปไตย

  1. มีความถาวร (Permanence) หมายถึง อํานาจอธิปไตยจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงอยู่

4 แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) หมายถึง ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอํานาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว จะมีการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตยไปให้ส่วนต่าง ๆ ภายในรัฐมิได้

 

อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ

2 ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ทําหน้าที่ในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย

3 ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของทุก ๆ คนภายในรัฐ รวมทั้งทําหน้าที่ในการควบคุมทุก ๆ อํานาจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

 

2.5 Revolution

แนวคําตอบ

Revolution (การปฏิวัติ) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมแบบใหม่ สร้างกฎหมายใหม่ และเพื่อสนองอุดมการณ์แบบใหม่ ซึ่งมีหลักการที่สั้นที่สุดก็คือ “สิ่งที่เคยถูกต้องและดีงามในอดีตหรือสิ่งที่ถูกต้องในวันนี้ไม่จําเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นหลักสัจธรรมสําหรับปัจจุบันหรืออนาคต” แต่การปฏิวัติที่จะเกิดความชอบธรรม (Legitimacy) จะต้องมีประชาชนเข้าร่วมอยู่ด้วยพร้อมกับผู้นํา

ตัวอย่างของการปฏิวัติใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกที่อาจกล่าวได้ว่ามีความชอบธรรม ได้แก่

– การปฏิวัติในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789

– การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ. 1917

– การปฏิวัติในจีน ค.ศ. 1949

 

กรณีประเทศไทย การยึดอํานาจรัฐที่พอจะอนุโลมให้เรียกว่า “การปฏิวัติ” นั้นมีเพียงครั้งเดียว คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพราะเป็นเหตุการณ์ที่คณะราษฎรได้ทําการ ยึดอํานาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใหม่จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ในระบบรัฐสภา แบบอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วย

สําหรับเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นี้ ไม่ใช่การทํารัฐประหาร และก็ไม่ใช่การปฏิวัติ โดยสิ้นเชิง แต่ที่ถูกต้องทางรัฐศาสตร์ควรเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475” ซึ่ง 1 ในคณะราษฎร หรือผู้ก่อการคือ นายปรีดี พนมยงค์ เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การอภิวัฒน์การปกครอง พ.ศ. 2475”

 

ข้อ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 1 บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้…” ให้อธิบายลักษณะสําคัญของรูปแบบรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว และข้อแตกต่างระหว่างราชอาณาจักรและสาธารณรัฐ โดยยกตัวอย่างประกอบคําอธิบาย

แนวคําตอบ

หลักเกณฑ์หรือลักษณะสําคัญของรัฐเดี่ยว มีดังนี้

1 อํานาจบริหาร รัฐเดี่ยวจะมีการรวมศูนย์อํานาจ (Centralization) ทางการเมืองการปกครอง อยู่ที่ส่วนกลางหรือเมืองหลวงหรือรัฐบาลของประเทศเพียงแห่งเดียว โดยมีการรวมเอาคําสั่ง คําบังคับบัญชา และคําวินิจฉัยไว้ที่ส่วนกลาง หรืออํานาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของหน่วยงานที่สําคัญ (เช่น กระทรวงต่าง ๆ) กําลังทหาร และตํารวจจะอยู่ที่ส่วนกลาง

2 อํานาจนิติบัญญัติ รัฐเดี่ยวในการบัญญัติกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาจะมีผลบังคับใช้กับพลเมืองหรือประชาชนทั้งประเทศ กล่าวคือ ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะใช้กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาเหมือนกันหมด เพราะการออกกฎหมายโดยผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งไม่ใช่กฎหมายที่นํามาใช้บังคับแต่ในจังหวัดของผู้แทนนั้น ๆ แต่ถือว่าร่วมกันเสนอกฎหมาย และมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

3 การปกครองส่วนภูมิภาคอันหมายถึงจังหวัดต่าง ๆ นั้น อํานาจยังขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ดังจะเห็นได้จากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย

4 การปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน อาจได้รับการกระจายอํานาจจากส่วนกลางมากขึ้น แต่ก็ยังขึ้นต่อส่วนกลาง กล่าวคือ ในรัฐเดี่ยวอาจมีการกระจายอํานาจ แต่การกระจายอํานาจจะไม่มาก จนทําให้ท้องถิ่นเป็นอิสระ

ตัวอย่างประเทศที่ใช้รูปแบบรัฐเดี่ยวในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ตุรกี อียิปต์ เป็นต้น

ข้อแตกต่างระหว่างราชอาณาจักรและสาธารณรัฐ

ราชอาณาจักร (Kingdom) เป็นคําที่ใช้เรียกชื่อประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น ราชอาณาจักรไทย ราชอาณาจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรสวีเดน เป็นต้น

สาธารณรัฐ (Republic) เป็นคําที่ใช้เรียกชื่อประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐตุรกี สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ เป็นต้น

 

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 3 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 2 ข้อ

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของ “ประชาธิปไตย” (Democracy) และหลักการสําคัญของประชาธิปไตยอย่างน้อย 4 ประการ พร้อมยกตัวอย่างประกอบคําอธิบาย

แนวคําตอบ

คําว่า “ประชาธิปไตย” (Democracy) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Demos” แปลว่า ประชาชน (People) ราษฎร หรือพลเมือง กับคําว่า “Kratos, Kratien” แปลว่า ปกครอง (to Rule) หรืออํานาจ ดังนั้นความหมายของประชาธิปไตยจึงหมายถึง การปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจรัฐหรือ อํานาจอธิปไตย โดยผ่านการเลือกตั้ง (Election) แบบอิสรเสรี เสมอภาค และลงคะแนนลับ

หลักการสําคัญพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้

1 หลักอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตย (อํานาจสูงสุด) เป็นของประชาชน

การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยจะต้องตั้งอยู่บนหลักการหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่ถือว่า อํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตย เป็นของประชาชน โดยผ่านการเลือกตั้ง (Election) ลักษณะดังกล่าวนี้จะมีวิธีการปกครองที่แสดงออกให้เห็นว่า ประชาชนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ สามารถควบคุมและตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้ ตลอดจนสามารถ เปลี่ยนแปลงและถอดถอนรัฐบาลได้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ประชาชนสามารถเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือเปลี่ยนแปลงประธานาธิบดีได้ทุก 4 ปี หรือประชาชนญี่ปุ่นที่สามารถเลือกผู้แทนราษฎรเพื่อไปจัดตั้งรัฐบาลใน เวลาไม่เกิน 4 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าในหลักการอํานาจสูงสุดเป็นของประชาชนนี้ประชาชนต้องมี “อํานาจการตัดสินใจ ขั้นสุดท้าย” คือ ประชาชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางนิติบัญญัติและบริหารของรัฐ และการตัดสินใจของ ประชาชนถือว่าเป็นที่สิ้นสุดเด็ดขาด

2 หลักสิทธิ (Right) หน้าที่ (Duty) เสรีภาพ (Liberty) และความเสมอภาค (Equality) ของประชาชน เป็นหลักการที่ถือว่ามนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพมาตั้งแต่เกิด และต่อมาถูกจํากัดโดยกฎหมายหรือ กฎเกณฑ์ของสังคมภายหลัง ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ยึดถือการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงได้มีกฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ เช่น การบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่าจะเป็น ด้านความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์โฆษณา การรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และการใช้สิทธิ ทางการเมือง ซึ่งในกรณีของสิทธิเสรีภาพนี้มีข้อสังเกตก็คือ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยนั้นมิใช่เป็นเสรีภาพ ที่จะทําอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีขอบเขต แต่เป็นเสรีภาพที่มีขอบเขตภายใต้กฎหมายที่บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพ ของตนนั้นจะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นการจลาจล ซึ่งในหลักประกัน สิทธิเสรีภาพต่าง ๆ นี้จะรวมทั้งความเสมอภาคทางการเมือง เพราะเสรีภาพที่ประชาชนมีเท่า ๆ กันก็จะก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการเมือง คือ การที่แต่ละคนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเท่า ๆ กัน โดยในระบอบประชาธิปไตยถือว่าแต่ละคนมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้ปกครอง หรือผู้แทนประชาชน เท่ากันตามหลัก One Man One Vote และสําหรับหลักการนี้ยังจะต้องประกอบด้วย การที่ประชาชนจะต้องรู้จักหน้าที่ของพลเมืองในการดําเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยด้วย เช่น การมีหน้าที่ในการ เสียภาษีในอัตราที่เท่าเทียมกับคนอื่นซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้และสถานภาพอื่นพอ ๆ กัน

3 หลักกฎหมายสูงสุด หรือหลักการปกครองโดยกฎหมาย หรือหลักนิติรัฐ หรือหลัก นิติธรรม (Rule of law) การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองที่ไม่ยึดตัวบุคคล แต่ยึดหลักการ เป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งหลักการอย่างหนึ่งของการปกครองระบอบนี้ก็คือ การยึดถือกฎหมายเป็นหลักสูงสุดในการปกครอง ที่ถือว่าประชาชนเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน หรือเรียกว่าเป็นการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติรัฐหรือ หลักนิติธรรมที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ ซึ่งหลักการสูงสุดของกฎหมายนี้ ยังรวมไปถึงการที่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรมมีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีต่าง ๆ อันแสดงให้เห็นถึงว่า ศาลสามารถจะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับประชาชน หรือเป็นที่พึ่งของประชาชนภายในประเทศได้ นั่นคือ ในการตัดสินลงโทษจะใช้กระบวนการยุติธรรม มิใช่ตัดสินโดยบุคคลใดหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ตลอดจนรวมถึงการ มีหลักกฎหมายที่มีการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วย โดยองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัด ต่อรัฐธรรมนูญนี้อาจจะเป็นองค์กรการเมือง ศาลยุติธรรมธรรมดาหรือศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้สุดแล้วแต่แนวความคิดเห็นและประเพณีนิยมทางการเมืองของแต่ละประเทศ เพื่อให้ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญซึ่งวางหลักแห่งกฎหมายและหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้รับการปฏิบัติและเกิดผลอย่างจริงจัง

4 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) โดยคํานึงถึงเสียงข้างน้อย (Minority Right) หมายความว่า พรรคเสียงข้างมากทําหน้าที่เป็นผู้ปกครองหรือรัฐบาล และพรรคเสียงข้างน้อยทําหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ในระบอบประชาธิปไตยถือว่าฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านมีความสําคัญเท่ากัน เพราะต่างก็เป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนเช่นเดียวกัน และกลุ่มฝ่ายค้านก็สามารถเป็นรัฐบาลได้ในวันข้างหน้า นอกจากนี้คําว่าหลักเสียงข้างมาก ยังเป็นข้อยุติในปัญหาต่างๆ สําหรับระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย ดังนั้นการตัดสินใจทั้งหลายของรัฐบาลในระบอบ ประชาธิปไตยจึงต้องใช้หลักการเสียงข้างมาก เพราะถือว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลอยู่ในตัว และเสียงการตัดสินใจ โดยคนหมู่มากนั้นย่อมถูกต้องกว่าการตัดสินใจโดยคนๆ เดียว แต่ในขณะเดียวกันการใช้เสียงข้างมากก็จะคํานึงถึง เสียงข้างน้อยด้วย โดยการเคารพและไม่ละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย รวมทั้งยังยอมรับให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยได้มีโอกาส แสดงความคิดเห็นและแสดงความต้องการของตนด้วย

5 หลักสันติวิธี เป็นหลักการที่เชื่อว่าพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยรู้จักใช้เหตุผล ไม่ทําอะไรตามอารมณ์และความรู้สึก และไม่ทําอะไรเอาแต่ใจตนเองโดยไม่คํานึงถึงคนอื่น นอกจากนี้ยังยอมรับว่าคนเรา จะเหมือนกันไม่ได้ อาจมีการขัดแย้ง ต้องมีการเจรจา และประนีประนอม ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ยึดถือการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยจึงดําเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ โดยสันติวิธีด้วยการไม่ใช้กําลังความรุนแรง เช่น การเจรจา การประนีประนอม การใช้กลไกการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทุก ๆ กลุ่ม ป้องกันการสูญเสียเลือดเนื้อและบาดเจ็บล้มตาย

โดยสรุปแล้ว การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองที่ถือหลักการว่าประชาชน เป็นเจ้าของอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตยในการดําเนินการปกครองประเทศ โดยตั้งอยู่บนหลักการสําคัญพื้นฐาน 5 ประการดังกล่าว

 

ข้อ 2 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กําหนดการเมืองการปกครองของประเทศนั้น ให้นักศึกษาอธิบายขั้นตอน หลักการ และวิธีการการเมืองการปกครอง “ระบบประธานาธิบดี” (Presidential System) พร้อมยกตัวอย่างประกอบคําอธิบาย

แนวคําตอบ

การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี (Presidential System) หรือการเมืองการปกครองระบบแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาด เป็นรูปแบบของการเมืองการปกครองที่สหรัฐอเมริกา เป็นแม่แบบที่เรียกว่า “ระบบประธานาธิบดีคลาสสิก” ซึ่งเกิดมาจากความคิดของผู้เริ่มก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการจะกําหนดรูปแบบการปกครองของประเทศให้เหมาะสมกับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญในสมัยแรกเริ่มก่อตั้งประเทศ

ขั้นตอน/กระบวนการของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1 การเลือกตั้งประธานาธิบดี

2 การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา

3 ครบวาระเลือกตั้งใหม่

หลักการสําคัญของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1 อํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐถูกมอบหมายให้แต่ละองค์กรนําไปปฏิบัติโดยไม่รวมอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง กล่าวคือ อํานาจบริหารจะใช้โดยฝ่ายบริหารที่เรียกว่าประธานาธิบดี หรือคณะรัฐบาล อํานาจนิติบัญญัติจะใช้โดยฝ่ายรัฐสภา และอํานาจตุลาการจะใช้โดยฝ่ายศาล

2 การแยกอํานาจแยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ องค์กรต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอํานาจหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติจะเป็นอิสระต่อกันโดยเด็ดขาด แต่ละองค์กรจะทําหน้าที่ของแต่ละฝ่าย โดยไม่ก้าวก่าย ตรวจสอบหรือควบคุมซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจในการยุบสภา ขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่มีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายบริหาร เป็นต้น และแต่ละฝ่ายก็จะมีที่มาเป็นอิสระต่อกัน เช่น ประธานาธิบดีหรือสมาชิกรัฐสภาก็จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนแยกแต่ละฝ่ายกัน

3 ฝ่ายต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่จะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระ เช่น ประธานาธิบดีมีวาระ 4 ปี ก็จะอยู่จนครบ 4 ปี หรือฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็จะอยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

วิธีการของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1 ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะเป็นบุคคลเดียวกัน และมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมก็ได้ โดยไม่ผ่านทางรัฐสภา ซึ่งตําแหน่งดังกล่าวนี้เรียกว่า ประธานาธิบดี

2 ประมุขฝ่ายบริหารสามารถตั้งรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ ประธานาธิบดีสามารถเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร แต่กรณีของสหรัฐอเมริกาต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน

2 ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอํานาจในเรื่องการไม่ให้ความไว้วางใจแก่ฝ่ายบริหาร กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีและรัฐมนตรีไม่ได้

4 ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจรเริ่มเสนอกฎหมาย การเสนอกฎหมายเป็นอํานาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

5 ฝ่ายบริหารหรือประธานาธิบดีไม่มีอํานาจยุบสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติ

6 ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจเรียกประชุมรัฐสภา กล่าวคือ ประธานาธิบดีไม่มีอํานาจเรียกประชุมสภา การประชุมสภาเป็นอํานาจหรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสภา

7 ประธานาธิบดีสามารถเสนอนโยบาย โดยสภาผู้แทนราษฎรทําหน้าที่อนุมัติงบประมาณ

8 ประธานาธิบดีเป็นผู้แทนประเทศในการทําสนธิสัญญากับต่างชาติ โดยวุฒิสภาทําหน้าที่ให้สัตยาบัน

9 ทุกฝ่ายจะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ประธานาธิบดีมีวาระ 4 ปี ก็อยู่จนครบ 4 ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็อยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

10 ฝ่ายตุลาการมีหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา เพื่อมิต้องตกอยู่ภายใต้อํานาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมีกฎหมายเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม แม้ในหลักการของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี จะไม่ก้าวก่ายและตรวจสอบควบคุมซึ่งกันและกัน แต่ในทางปฏิบัติก็อาจมีการผ่อนคลายบ้างในกรณีที่เกิดปัญหา วิกฤติในการเมืองการปกครอง เช่น การให้ประธานาธิบดีมีอํานาจยับยั้งกฎหมายที่ผ่านรัฐสภาตามกลไกทางการเมืองที่ เรียกว่า Veto หรือการให้อํานาจฝ่ายนิติบัญญัติทําหน้าที่กล่าวหาประธานาธิบดีในกรณีที่มีการกระทําที่ไม่เหมาะสม ที่จะนําไปสู่ความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของประเทศหรือเสื่อมเสียกับตําแหน่งตามกลไกทางการเมืองที่เรียกว่า Impeachment

การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดีจะมีเสถียรภาพหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับระบบพรรคการเมืองที่ไม่เคร่งครัดในระเบียบวินัยของพรรค เพราะถ้าประธานาธิบดีอยู่ตรงกันข้ามกับเสียงข้างมากในสภาจะได้ไม่มีปัญหา และการมีนักการเมืองที่มีวุฒิภาวะที่เห็นแก่ประโยชน์ประเทศชาติเป็น ส่วนรวมด้วย จึงจะทําให้การปกครองระบบประธานาธิบดีนี้ดําเนินไปได้ด้วยดี

ตัวอย่างประเทศที่ใช้การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา ชิลี อุรุกวัย เอกวาดอร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบคําอธิบาย

3.1 Sovereignty

แนวคําตอบ

Sovereignty (อํานาจอธิปไตย หรืออํานาจรัฏฐาธิปัตย์) หมายถึง อํานาจปกครองบังคับบัญชาสูงสุดภายใต้รัฐนั้น ไม่ว่าจะมีวิธีการได้มาโดยความชอบธรรมด้วยการเลือกตั้ง หรือได้มาโดยใช้กําลังในการยึดอํานาจรัฐ ได้สําเร็จด้วยการปฏิวัติหรือการทํารัฐประหารก็ตาม เพราะผู้ที่ใช้อํานาจรัฐคือกลุ่มผู้ที่แข็งแรงที่สุด เพียงแต่ต่างกัน ในเรื่องที่มาของอํานาจ

อํานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ โดยอํานาจอธิปไตยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง เช่น ถ้าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อํานาจ อธิปไตยจะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยผ่านตัวแทน คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจอธิปไตยจะเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และเป็นผู้เดียวที่ใช้อํานาจดังกล่าว

ลักษณะสําคัญของอํานาจอธิปไตย มี 4 ประการ คือ

1 มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) หมายถึง มีอํานาจครอบคลุมทั่วทั้งรัฐ และอยู่เหนือทุก ๆ อํานาจ

2 มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) หมายถึง อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดภายในรัฐจะไม่มีอํานาจอื่นใดภายในรัฐที่อยู่เหนือกว่าอํานาจอธิปไตย

  1. มีความถาวร (Permanence) หมายถึง อํานาจอธิปไตยจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงอยู่

4 แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) หมายถึง ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอํานาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียวจะมีการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตยไปให้ส่วนต่าง ๆ ภายในรัฐมิได้

อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ

2 ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ทําหน้าที่ในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย

3 ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของทุก ๆ คนภายในรัฐ รวมทั้งทําหน้าที่ในการควบคุมทุก ๆ อํานาจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

3.2 Uprising

แนวคําตอบ

Uprising (การจลาจลทางการเมือง) หมายถึง การที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้าน (Standing up against) ผู้ปกครอง/ผู้ใช้อํานาจรัฐ หรือรัฐธรรมนูญในเวลานั้น โดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามา เกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของอุดมการณ์เท่านั้น ซึ่งจะนําโดยกลุ่มปัญญาชน นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ จากนั้น ประชาชนบางกลุ่มก็จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในอุดมการณ์นั้น และเมื่อรัฐบาลยอมทําตามอุดมการณ์ที่กลุ่มต้องการแล้ว ก็จะยุติการจลาจลลง

ตัวอย่างเหตุการณ์การจลาจลทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมี 2 ครั้ง คือ

เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “วันมหาวิปโยค”

เหตุการณ์วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในสมัยพลเอกสุจินดา คราประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “ พฤษภาทมิฬ”

3.3 Revolution

แนวคําตอบ

Revolution (การปฏิวัติ) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมแบบใหม่ สร้างกฎหมายใหม่ และเพื่อสนองอุดมการณ์แบบใหม่ ซึ่งมีหลักการที่สั้นที่สุดก็คือ “สิ่งที่เคยถูกต้องและดีงามในอดีตหรือสิ่งที่ถูกต้องในวันนี้ ไม่จําเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นหลักสัจธรรมสําหรับปัจจุบันหรืออนาคต” แต่การปฏิวัติที่จะเกิดความชอบธรรม (Legitimacy) จะต้องมีประชาชนเข้าร่วมอยู่ด้วยพร้อมกับผู้นํา

ตัวอย่างของการปฏิวัติใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกที่อาจกล่าวได้ว่ามีความชอบธรรม ได้แก่

– การปฏิวัติในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789

– การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ. 1917

– การปฏิวัติในจีน ค.ศ. 1949

กรณีประเทศไทย การยึดอํานาจรัฐที่พอจะอนุโลมให้เรียกว่า “การปฏิวัติ” นั้นมีเพียงครั้งเดียว คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพราะเป็นเหตุการณ์ที่คณะราษฎรได้ทําการ ยึดอํานาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใหม่จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ในระบบรัฐสภา แบบอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วย

สําหรับเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นี้ไม่ใช่การทํารัฐประหาร และก็ไม่ใช่การปฏิวัติ โดยสิ้นเชิง แต่ที่ถูกต้องทางรัฐศาสตร์ควรเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475” ซึ่ง 1 ในคณะราษฎร หรือผู้ก่อการคือ นายปรีดี พนมยงค์ เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การอภิวัฒน์การปกครอง พ.ศ. 2475”

3.4 Coup d’e’tat

แนวคําตอบ

Coup d’etat (การรัฐประหาร) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปราศจากการมีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้อํานาจรัฐหรือผู้ใช้อํานาจปกครองหรือเปลี่ยนตัวบุคคลเท่านั้น แต่ระบบเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าขาดหลักความชอบธรรม (Legitimacy)

จะเห็นได้ว่าประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยและประเทศด้อยพัฒนาผู้นําของประเทศ นิยมแย่งชิงอํานาจกันเองด้วยวิธีการทํารัฐประหาร โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ผู้ยึดอํานาจ มักเป็นทหาร และภายหลังยึดอํานาจเสร็จแล้ว ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ใช้อํานาจรัฐเท่านั้น

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า มีการยึดอํานาจรัฐด้วยกําลังบ่อยครั้ง ซึ่งมีทั้งกระทําสําเร็จและไม่สําเร็จ การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จของไทยเกือบ ทุกครั้งเรียกว่า “รัฐประหาร” เพราะเป็นการแย่งชิงอํานาจกันเองในหมู่ผู้ปกครอง แต่ผู้ยึดอํานาจจะเรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ”

สําหรับการทํารัฐประหารครั้งล่าสุดของไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนําของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอํานาจ รัฐบาลรักษาการของนายนิวัตน์ธํารง บุญทรงไพศาล และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550

 

3.5 Election

แนวคําตอบ

Election (การเลือกตั้ง) เป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตยที่จะมอบความไว้วางใจ ในตัวแทนของปวงชนให้มาใช้อํานาจแทนตน ดังนั้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยผู้ปกครองหรือผู้บริหาร ประเทศจึงต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และการเลือกตั้งนั้นจะต้องเป็นไปอย่างอิสรเสรี เสมอภาค และลงคะแนนลับ โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการออกเสียงเลือกตั้งจะเป็นผู้เข้ามาใช้อํานาจรัฐแทนประชาชน ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาผู้ที่จะเข้ามาใช้อํานาจรัฐก็คือ นายกรัฐมนตรี ส่วนในระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีผู้ที่จะเข้ามาใช้อํานาจรัฐก็คือ ประธานาธิบดี

กรณีประเทศไทย การเลือกตั้งของไทยนั้นมีทั้งการเลือกตั้งในระดับชาติ คือ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2559 มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 25 ครั้ง โดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็น “การเลือกตั้งทางอ้อม ครั้งแรกและครั้งเดียวของประเทศไทย” คือ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนตําบลก่อน แล้วผู้แทนตําบลเป็นผู้เลือก ผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง ส่วนการเลือกตั้งในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เป็นการเลือกตั้งทางตรง คือ การให้ราษฎรผู้มีสิทธิ เลือกตั้งได้ทําการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงไม่ผ่านตัวแทนอื่นใด

ส่วนสมาชิกวุฒิสภานั้น นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า พฤฒสภา เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม คือ ให้ประชาชนเลือกตั้งตัวแทนเข้ามาทําหน้าที่เลือกสมาชิกวุฒิสภา สําหรับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และอีกส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา

สําหรับองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามความบริสุทธิ์ และยุติธรรม หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” นั้น มีครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกจนกระทั่งก่อนการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การควบคุมและบริหารจัดการการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย

WordPress Ads
error: Content is protected !!