LIS1003 การใช้ห้องสมุด 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)

1 ข้อใดกล่าวถึงการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด

(1) เอ็มเลิกคบเพื่อนสนิทเพียงเพราะคํายุยงของแฟน

(2) แอ็ดซื้อหวย 500 บาท ตามคุณย่าที่มาเข้าฝันก่อนวันหวยออก

(3) โอมขับรถถูกต้องตามกฎจราจรเพื่อไม่ให้รถติด

(4) รัฐมนตรีสั่งให้ชาวนาเลิกปลูกข้าวนาปรังตามคําทํานายของหมอดู ตอบ 3 หน้า 3, 5, (คําบรรยาย) คําว่า “สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคําว่า “ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน

(1) สุเมเรียนกับอักษรคิวนิฟอร์ม

(2) อียิปต์และไฮโรกลิฟิก

(3) กรีกและโคเด็กซ์

(4) อียิปต์และคิวนิฟอร์ม

ตอบ 4 หน้า 6 – 8, (คําบรรยาย) พัฒนาการของห้องสมุดและวัสดุที่ใช้บันทึกความรู้ มีดังนี้

1 ชาวสุเมเรียนคิดค้นอักษรรูปลิม “คิวนิฟอร์ม บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียว

2 ชาวบาบิโลเนียนมี “ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี” จารึกบนแผ่นหินสีดํา

3 ชาวอียิปต์มีตัวอักษรภาพ “ไฮโรกลิฟิก” บันทึกลงบนกระดาษปาไปรัส

4 ชาวกรีกมีแผ่นหนังสัตว์ฟอกที่เย็บรวมเป็นเล่มที่เรียกว่า “โคเด็กซ์” ฯลฯ

3 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด

(1) หอไตรได้สร้างครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา

(2) หอหลวงสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงสุโขทัย

(3) หอพุทธสาสนสังคหะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

(4) หอพระมณเฑียรธรรมสร้างขึ้นในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตอบ 3 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลําดับยุคสมัย ดังนี้

1 สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัดวาอารามต่าง ๆ

2 สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการ

3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจํารัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชน แห่งแรกของไทย, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร) และหอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามลําดับ

4 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ “จิ” ในหัวใจนักปราชญ์โดยตรง

(1) ลุงมาวิเคราะห์ข่าวที่รับฟังจากวิทยุชุมชน

(2) ป้าแดงตัดสินใจเลิกปลูกข้าวตามเพื่อนบ้าน

(3) แดงอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกเช้า

(4) เมย์ชอบถามวิทยากรในงานประชุมวิชาการ

ตอบ 1 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุจิ ปุ ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึก

5 ข้อใดคือการอ่านของนักวิชาการเพื่อเตรียมเขียนตําราหรืองานสร้างสรรค์

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างเจาะจง

(3) การอ่านเพื่อศึกษารายละเอียด

(4) การอ่านอย่างวิเคราะห์

ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) การอ่านอย่างวิเคราะห์ (Critical Reading) เป็นทักษะการอ่านในระดับสูงสุด ถือว่าเป็นสุดยอดของกระบวนการอ่านเอาความ ซึ่งผู้อ่านมักเป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการ ที่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะอ่านมาก่อน เพราะเป็นการอ่านที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมาก สามารถแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งประเมินค่าหรือวิจารณ์สิ่งที่อ่านได้อย่างมีเหตุผลและ มีหลักเกณฑ์ เช่น การอ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลมาประกอบการทํารายงาน ทําวิจัย การอ่านเพื่อเตรียมเขียนตําราหรืองานสร้างสรรค์ เป็นต้น

6 ห้องสมุดในข้อใดที่ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือกลับไปอ่านข้างนอก

(1) ห้องสมุดโรงเรียน

(2) ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์

(3) หอสมุดแห่งชาติ

(4) ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี

ตอบ 3 หน้า 27 หอสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งค้นคว้าที่สําคัญระดับชาติ โดยให้บริการความรู้แก่ประชาชนทั่วไปไม่จํากัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ซึ่งจะให้บริการเช่นเดียวกับ ห้องสมุดประชาชน แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุออกนอกห้องสมุด

7 ข้อใดกล่าวถึงแหล่งสารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด

(1) หอจดหมายเหตุรวบรวมศิลปะโบราณที่มีราคาแพง

(2) พิพิธภัณฑ์รวบรวมสิ่งของโบราณที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์

(3) ศูนย์สารสนเทศดําเนินการโดยภาคเอกชน

(4) ห้องสมุดเฉพาะดําเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ

ตอบ 2 หน้า 37 พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งของโบราณที่มีคุณค่าหรือมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อเป็นประโยชน์

ต่อการศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป

8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มร. ที่ให้บริการจุลสาร “ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร”

(1) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

(2) ฝ่ายบริการสารสนเทศ

(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(4) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณค่าวารสาร จัดทําดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทําบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสารสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทํากฤตภาค ให้บริการ

9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) ฐานข้อมูลออนไลน์ซึ่งบรรณารักษ์สืบค้นสารสนเทศฟรี

(2) ฐานข้อมูลออนไลน์ซึ่งบรรณารักษ์กําลังดําเนินการสั่งซื้อ

(3) ฐานข้อมูลออนไลน์ซึ่งบรรณารักษ์ทดลองใช้สืบค้นสารสนเทศฟรี (4) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ

ตอบ 4 หน้า 55, 76, 133 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10 โฮมเพจของเว็บไซต์มีความคล้ายกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุดในแง่ของเว็บเพจแรก

(1) หน้าปกหนังสือ

(2) หน้าสารบัญ

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าคํานํา

ตอบ 1 หน้า 58, 62 – 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้

1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ

2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆ เพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ

11 ข้อใดคือความหมายของอภิธานศัพท์

(1) เปรียบเสมือนพจนานุกรมของหนังสือเล่มนั้น

(2) เปรียบเสมือนพจนานุกรมทั่ว ๆ ไป

(3) เปรียบเสมือนพจนานุกรมหลายภาษา

(4) เปรียบเสมือนพจนานุกรมสองภาษา

ตอบ 1 หน้า 64 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังสือ มักมีในหนังสือที่ใช้ศัพท์มาก และมีลักษณะคล้ายเป็นพจนานุกรม ของหนังสือเล่มนั้น เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของศัพท์เฉพาะในหนังสือเล่มนั้น โดยที่ผู้อ่านไม่ต้องเสียเวลาเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม

12 พาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับรายวันมีความคล้ายกับส่วนใดของหนังสือพิมพ์ออนไลน์มากที่สุด

(1) พาดหัวข่าว

(2) เนื้อหา

(3) ภาพถ่าย

(4) โฮมเพจ

ตอบ 4 หน้า 65 – 66, (คําบรรยาย) พาดหัวข่าว (Headline) ของหนังสือพิมพ์ฉบับรายวันเป็นอักษรตัวดําหนาขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สรุปสาระสําคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว จึงถือเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่านและจูงใจให้อยากรู้รายละเอียดของข่าวสารมากที่สุด โดยพาดหัวข่าวมักอยู่ในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์กระดาษ ซึ่งคล้ายกับโฮมเพจหรือหน้าแรก ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่จะประกอบไปด้วยหัวข่าวที่สําคัญในวันนั้น ๆ

13 รัฐบาลตีพิมพ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับซิงเกิลเกตเวย์ (Single Gateway) เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และอยู่ในความสนใจของสังคมออนไลน์ จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทางวิชาการ ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ หรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์เป็นตอน ๆ โดยรูปเล่ม ทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 วิดีโอคําบรรยายย้อนหลังกระบวนวิชา LIS 1003 จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) สื่อโสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียง ซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ไมโครฟิล์มเป็นสื่อการบันทึกสารสนเทศเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บและอนุรักษ์คุณค่าของสารสนเทศจัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) วัสดุตีพิมพ์

(2) วัสดุย่อส่วน

(3) วัสดุไม่ตีพิมพ์

(4) วัสดุอิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 2 หน้า 54, 73 – 74, 77 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการถ่ายย่อส่วนลงบน แผ่นฟิล์มขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทําลาย แบ่งออก ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์

2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์

16 บริษัทผู้ผลิตฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์นิยมบันทึกสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทใด

(1) Hard Disk

(2) CD-ROM

(3) Floppy Disk

(4) USB Flash Drive

ตอบ 2 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป

2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวก ในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ส่วนใดของหนังสืออ้างอิงที่ระบุเลขหน้าของเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการ

(1) ส่วนโยง

(2) ดรรชนี

(3) ดรรชนีริมหน้ากระดาษ

(4) อักษรนําเล่ม

ตอบ 2 หน้า 84 ดรรชนี (Index) คือ การลําดับคําหรือข้อความเรียงไว้ตามลําดับตัวอักษรพร้อมทั้งมีเลขหน้ากํากับไว้ เพื่อแสดงว่าคําหรือข้อความนั้นมีรายละเอียด ปรากฏอยู่ในหน้าใดบ้างของ หนังสือเล่มนั้น ส่วนใหญ่ดรรชนี้จะอยู่ตอนท้ายของหนังสือแต่ละเล่ม แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด เช่น สารานุกรม ดรรชนีจะอยู่ในเล่มสุดท้าย

18 พจนานุกรมในข้อใดให้ความหมายคําศัพท์ทางจิตวิทยาได้ชัดเจนและครอบคลุมที่สุด

(1) พจนานุกรมภาษาเดียว

(2) พจนานุกรมหลายภาษา

(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา

(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา ซึ่งจะให้ศัพท์ทั้งทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และปรัชญา เป็นต้น

19 ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากสารานุกรมได้ชัดเจนที่สุด

(1) ความหมายและประวัติของคํา “พลังงาน”

(2) ความหมาย ประเภท ประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับ “พลังงาน”

(3) รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ “พลังงาน”

(4) รายชื่อและที่มาของบทความเกี่ยวกับ “พลังงาน”

ตอบ 2 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความโดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับ ไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมี เล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบและมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20 ต้องการประวัติการศึกษาและผลงานของหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) อักขรานุกรมชีวประวัติ

(2) สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน

(3) สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย

(4) สมพัตสร

ตอบ 1 หน้า 97 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญ โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิดหรือตาย ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง

21 นามานุกรมให้สารสนเทศด้านใด

(1) ให้ข่าวสาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจําวัน

(2) ให้ความรู้ ข่าวสารอย่างคร่าว ๆ

(3) รวบรวมรายชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลสําหรับการติดต่อ

(4) รวบรวมผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง

ตอบ 3 หน้า 102 103 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออก ได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์

2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียนห้องสมุด ฯลฯ

4 นามานุกรมสาขาอาชีพ

5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ

22 หนังสืออ้างอิงในข้อใดที่ใช้ค้นหาเหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

(1) พจนานุกรม

(2) สารานุกรม

(3) สมพัตสร

(4) บรรณานุกรม

ตอบ 3 หน้า 112 ปฏิทินเหตุการณ์รายปีหรือสมพัตสร (Almanac) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ดหลายด้านและสถิติทั่วไปในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาจนถึงปีปัจจุบันของทุกประเทศ ในโลก โดยจะให้ข้อมูลอย่างสังเขปที่ครอบคลุมเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ปฏิทินลําดับเหตุการณ์ สําคัญ ข้อมูลทางดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ วันสําคัญทางศาสนา สถิติเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและทรัพยากรของโลก เป็นต้น

23 หนังสือที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ คือข้อใด

(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

(2) พจนานุกรม

(3) หนังสือแผนที่

(4) หนังสือนําเที่ยว

ตอบ 1 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น

24 หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้แหล่งที่มาและเนื้อหาที่สําคัญของบทความ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนไปอ่านจากต้นฉบับจริง

(1) บรรณานุกรม

(2) ดรรชนี

(3) สาระสังเขป

(4) นามานุกรม

ตอบ 3 หน้า 84, 119 120 สาระสังเขป เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ โดยมีลักษณะเป็นการสรุปหรือย่อสาระสําคัญของเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวสําคัญ ๆ ของบทความในวารสาร หนังสือ และเอกสารประเภทอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระสําคัญก่อนที่จะไปอ่านจากต้นฉบับจริงที่สมบูรณ์

25 ข้อใดคือหนังสือบรรณานุกรมที่จัดทําโดยหอสมุดแห่งชาติ

(1) บรรณานุกรมสากล

(2) บรรณานุกรมเฉพาะวิชา

(3) บรรณานุกรมแห่งชาติ

(4) บรรณานุกรมร้านค้า

ตอบ 3 หน้า 29, 129 บรรณานุกรมแห่งชาติ เป็นหนังสือที่จัดทําขึ้นโดยหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ของไทยโดยเฉพาะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสําคัญและเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า

26 ข้อใดกล่าวถึง “เลขหมู่หนังสือ” ถูกต้องที่สุด

(1) สัญลักษณ์แสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม

(2) สัญลักษณ์ที่บอกลําดับที่ของหนังสือแต่ละเล่ม

(3) สัญลักษณ์ของหนังสือที่ประกอบด้วย เลขหมู่ เลขผู้แต่ง และสัญลักษณ์อื่น ๆ

(4) รหัสประจําหนังสือเพื่อการจัดหมวดหมู่หนังสือ

ตอบ 1 หน้า 157 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) เป็นสัญลักษณ์ที่กําหนดขึ้นเพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือแต่ละเล่ม ทั้งนี้อาจแตกต่างกัน ตามระบบการจัดหมู่หนังสือ

27 ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด

(1) ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งความรู้ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ ใช้เลขอารบิก 3 หลักเป็นสัญลักษณ์ เหมาะสําหรับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก

(2) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกันแบ่งความรู้ออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้อักษรโรมันเป็นสัญลักษณ์

(3) ระบบทศนิยมสากลใช้เลขอารบิก 1 หลักเป็นสัญลักษณ์ และแบ่งความรู้ออกเป็น 10 หมวดใหญ่

(4) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันแบ่งความรู้ออกเป็น 20 หมวดใหญ่ โดยใช้อักษรโรมันและเครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์

ตอบ 1 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification : DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มี หนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการในโลก ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น

28 ข้อใดคือ “สัญลักษณ์ของหนังสือที่ประกอบด้วย เลขหมู่ เลขผู้แต่ง และสัญลักษณ์อื่น ๆ”

(1) เลขหมู่หนังสือ

(2) เลขประจําหนังสือสากล

(3) เลขเรียกหนังสือ

(4) รหัสประจําหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 157, 191, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือ ที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือ ของห้องสมุด ทั้งนี้เลขเรียกหนังสือประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ

1 เลขหมู่หนังสือ

2 เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

3 สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ

29 ระบบการจัดหมู่หนังสือข้อใดใช้สัญลักษณ์ที่เป็นตัวเลขอารบิก และเครื่องหมายวรรคตอนในการจัดหมู่หนังสือ

(1) ระบบทศนิยมดิวอี้

(2) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน

(3) ระบบทศนิยมสากล

(4) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

ตอบ 3 หน้า 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล (Universal Decimal Classification : UDC) เป็นระบบที่นิยมใช้ในทวีปยุโรป โดยจะแบ่งวิทยาการออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับระบบทศนิยมดิวอี้ แต่ต่างกันตรงที่ระบบทศนิยมสากลจะใช้ ตัวเลขอารบิกเพียงหลักเดียว และใช้เครื่องหมายวรรคตอนประกอบเป็นสัญลักษณ์แสดงเนื้อหา ซึ่งห้องสมุดไทยที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้ เช่น ห้องสมุดสํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ห้องสมุดและศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น

30 ข้อใดคือระบบที่ใช้ในการจัดหมู่หนังสือที่ห้องสมุดของโรงพยาบาล (1) DC

(2) NLM

(3) UDC

(4) LC

ตอบ 2 หน้า 155 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน W และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการจําแนก ซึ่งระบบนี้จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ,ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

31 การจัดเรียงหนังสือของห้องสมุดที่ถูกต้องตรงกับข้อใด

428.003

P453

293.593

D543F

006.120

K453F

390.593

T364

006.963

T543D

 

(1) จ ก ข ค ง

(2) จ ค ฆ ง ก

(3) ค จ ข ง ก

(4) ง ก ข ค จ

ตอบ 3 หน้า 159 – 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ

(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ค จ ข ง ก)

32 ข้อใดไม่ใช่วิธีที่ห้องสมุดนิยมใช้ในการจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาล

(1) จัดรวมไว้กับหนังสือ กําหนดเลขหมู่ตามระบบการจัดหมู่หนังสือ (2) จัดแยกไว้เป็นชั้นปิด เพราะสิ่งพิมพ์รัฐบาลเป็นเอกสารหายาก

(3) จัดแยกจากหนังสือทั่วไปออกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ

(4) กําหนดอักษร GP เป็นสัญลักษณ์สิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 166 167 การจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลของห้องสมุดโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ

1 จัดรวมกับหนังสือทั่วไปและกําหนดเลขหมู่ให้ตามระบบการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดนั้น ๆ

2 จัดแยกออกจากหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ เป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนดระบบการจัดหมู่สําหรับสิ่งพิมพ์รัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งห้องสมุดบางแห่งอาจกําหนดสัญลักษณ์พิเศษ คือ GP (Government Publication) ให้เป็นสัญลักษณ์สิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ

33 ข้อใดคือสัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกําหนดให้กับพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน

(1) Ref

(2) FIC

(3) JUV

(4) GP

ตอบ 1 หน้า 81, 83 84 หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่จัดทําขึ้นเป็นพิเศษเพื่อใช้ค้นคว้าหาสารสนเทศหรือข้อเท็จจริงบางประการ หรือหาคําตอบเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าที่จะใช้อ่านตลอด ทั้งเล่ม และเป็นหนังสือที่ไม่สามารถยืมออกนอกห้องสมุดได้ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรมชีวประวัติ ฯลฯ โดยห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงเอาไว้ต่างหากไม่รวมกับ หนังสือทั่วไป และมีการกําหนดสัญลักษณ์พิเศษเป็น “ตัวอักษร อ, R หรือ Ref” กํากับเอาไว้ที่สันของหนังสือ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าและเพื่อให้แตกต่างจากหนังสือทั่วไป

34 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บวารสารฉบับย้อนหลัง สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ถูกต้องที่สุด

(1) เย็บเล่มเมื่อครบปีแล้วจัดเก็บขึ้นชั้นเรียงตามหน่วยงานผู้ผลิต

(2) เย็บเล่มเมื่อครบปีแล้วจัดเก็บขึ้นชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรชื่อวารสาร

(3) ตัดเก็บเฉพาะข่าวสารที่สําคัญ ๆ โดยให้หัวเรื่องและจัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสาร

(4) คัดเลือกฉบับสําคัญ ๆ แล้วถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม

ตอบ 2 หน้า 168 วิธีจัดเก็บวารสารของห้องสมุด มีดังนี้

1 วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ที่ชั้นตรงกับตําแหน่งของวารสาร

2 วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด ซึ่งห้องสมุดจะนําไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้วจัดเก็บไว้บนชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสาร และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ตรงตามตําแหน่งของวารสารนั้น ๆ

35 สื่อในข้อใดที่มีวิธีการจัดเก็บเหมือนกัน

(1) แผ่นเสียง-ไมโครฟิล์ม

(2) กฤตภาค-รูปภาพ

(3) จุลสาร หนังสือพิมพ์

(4) หุ่นจําลอง-แผ่นเสียง

ตอบ 2 หน้า 173 ห้องสมุดจัดเก็บวัสดุกราฟิกและรูปภาพคล้ายกับกฤตภาค โดยนําภาพผนึกติดกับแผ่นกระดาษแข็ง ให้หัวเรื่องกํากับแล้วเก็บเข้าแฟ้ม จัดเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องไว้ในตู้เก็บเอกสาร และที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่ารูปภาพที่ต้องการอยู่ในลิ้นชักใด

36 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

(1) จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง

(2) จัดเก็บไว้ในกล่องหรือตลับตามลําดับขนาด

(3) จัดเก็บในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน

(4) จัดเรียงไว้บนชั้นรวมไปกับหนังสือตามลําดับเลขหมู่

ตอบ 3 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

37 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้ใช้ทราบถึงตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(1) เลขเรียกหนังสือ

(2) เลขหมู่หนังสือ

(3) เลขผู้แต่ง

(4) เลขทะเบียนหนังสือ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

38 จากรายละเอียดต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

v, 120 p. : ill. (some cot.) ; 21 cm.

(1) หนังสือมีทั้งหมด 120 หน้า

(2) หนังสือมีทั้งหมด 5 เล่ม

(3) หนังสือมีภาพประกอบสีบางส่วน

(4) หนังสือมีน้ำหนัก 21 กรัม

ตอบ 1, 3 หน้า 191, 193 ลักษณะวัสดุ (Physical Description) เป็นรายการที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ

ลักษณะรูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ประกอบด้วย จํานวนหน้าหรือจํานวนเล่ม ภาพประกอบ และส่วนสูงของหนังสือ เช่น V, 120 p. : ill. (Some col.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (y = volume), มี 120 หน้า (120 p.), มีภาพประกอบ (ill. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)

39 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

(1) หัวเรื่องในส่วนของแนวสืบค้น

(2) ชื่อผู้แปลจากการแจ้งความรับผิดชอบ

(3) ชื่อเรื่องจากแนวสืบค้น

(4) ชื่อผู้แต่งที่ปรากฏบนรายการหลัก

ตอบ 1 หน้า 193, 195, 214 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดได้ทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง แนวสืบค้นมี 2 ส่วน ได้แก่

1 ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (Subject Headings) ได้แก่ บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

2 รายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น

40 รายละเอียดของหนังสือในข้อใดที่ไม่ปรากฏในบัตรรายการช่วยค้น

(1) บรรณานุกรม

(2) ผู้ทําบัตรรายการ

(3) ดรรชนี

(4) เลขเรียกหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 191 – 193 รายละเอียดของหนังสือที่บันทึกในบัตรรายการช่วยค้น ได้แก่

1 เลขเรียกหนังสือ

2 ชื่อผู้แต่งหรือรายการหลัก

3 ชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ

4 ครั้งที่พิมพ์หรือฉบับพิมพ์

5 การพิมพ์และการจัดจําหน่าย ประกอบด้วย สถานที่พิมพ์ สํานักพิมพ์ และปีที่พิมพ์

6 ลักษณะวัสดุหรือลักษณะรูปร่าง

7 ชื่อชุด

8 หมายเหตุ ประกอบด้วย บรรณานุกรม ดรรชนี อภิธานศัพท์ ภาคผนวก เป็นต้น

9 เลขมาตรฐานสากล

10 แนวสืบค้น

41 ข้อใดคือรายการโยงที่ใช้โยงไปยังหัวเรื่องที่เกี่ยวข้อง

(1) “ดูเพิ่มที่”

(2) “ไปที่”

(3) “ดูเพิ่มเติมที่”

(4) “ดูที่”

ตอบ 3 หน้า 199, 225 รายการโยง (Cross Reference) คือ การกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าคําหรือวลีที่ตามมาใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยมีตัวอย่างสัญลักษณ์ ดังนี้

1 sa (see also) หรือ “ดูเพิ่มเติมที่” ใช้โยงไปสู่หัวเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหาแคบกว่า

2 X ใช้หน้าคําหรือวลีที่เลิกใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

3 See หรือ “ดูที่” ใช้โยงหน้าคําหรือวลีที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังคําที่ใช้เป็นหัวเรื่อง

4 XX ใช้หน้าคําหรือวลีที่มีความหมายสัมพันธ์กับหัวเรื่องใหญ่ แต่มีเนื้อหากว้างกว่ามาก

42 ก. สิทธิมนุษยชน ข. สถิติพื้นฐาน ค. สนุกกับภาษา ง. สํามะโนการเกษตร จ. สกุลกา

จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง (1) จ ง ค ก ข

(2) ง ค จ ข ก

(3) จ ข ค ง ก

(4) ก จ ค ง ข

ตอบ 3 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก-ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน

2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

3 ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ จ ข คง ก)

43 ก Language death

ข Laws

ค Language in society

ง Las Vegas

จ Language for daily use

จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง (1) ง ค ข ก

(2) จ ข กง ค

(3) จ ข ค ง ก

(4) ก จ ค ง ข

ตอบ 4 หน้า 210 – 213 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาอังกฤษ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร A – Z โดยเรียงแบบคําต่อคําโดยไม่คํานึงถึงเครื่องหมายใด ๆ

2 ถ้ามีคํานําหน้านาม เช่น a, an, the, de, dela, les ฯลฯ ขึ้นต้นประโยค เวลาเรียงบัตรไม่ต้องคํานึงถึงคําเหล่านี้ แต่ให้เรียงลําดับอักษรของคําที่อยู่ถัดไป ยกเว้นถ้าคํานําหน้านามเป็นส่วนหนึ่งของประโยค จะต้องเรียงลําดับอักษรของคํานําหน้านามนั้นด้วย

3 คําย่อที่เป็นคํานําหน้าชื่อบุคคลและยศให้เรียงลําดับเหมือนเป็นคําที่สะกดเต็ม เช่น Mr. เรียงตามคําสะกดเต็มคือ Mister เป็นต้น (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ก จ ค ง ข)

44 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) LCSH คือ บัญชีคําที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

(2) หัวเรื่อง คือ ศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด

(3) LCSH คือ บัญชีหัวเรื่องภาษาอังกฤษ

(4) คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่นํามาใช้ในระบบการสืบค้นออนไลน์ ตอบ 1 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 251, 262) ความแตกต่างระหว่างหัวเรื่องกับคําสําคัญ มีดังนี้

1 หัวเรื่อง คือ คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งถือเป็นศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด เพราะบรรณารักษ์จะเลือกคําหรือวลีจากบัญชี หัวเรื่องมาตรฐานชื่อใดชื่อหนึ่ง เช่น บัญชีหัวเรื่อง LCSH สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดขนาดใหญ่, บัญชีหัวเรื่อง Sear’s List สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดขนาดเล็ก ฯลฯ

2 คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่ผู้ใช้คิดขึ้นเอง เพื่อใช้ในระบบการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์

45 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทของหัวเรื่อง

(1) หัวเรื่องคํานามคําโดด

(2) หัวเรื่องคําผสมที่สัมพันธ์กัน

(3) หัวเรื่องคําผสมที่ค้านกัน

(4) หัวเรื่องประโยคสมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 223 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา ฯลฯ และที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and Evil ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายดีขึ้น เช่น เคมี, วัตถุ ดอกไม้, การจัด Education, higher ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

46 สัญลักษณ์ขีดสองขีด (-) มีความหมายหรือเกี่ยวข้องกับหัวเรื่องอย่างไร

(1) การแบ่งหัวเรื่องย่อย

(2) การแยกหัวเรื่องคําโดด

(3) การแยกหัวเรื่องคําผสม

(4) การแยกหัวเรื่องวลีหรือกลุ่มคํา

ตอบ 1 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็น หัวเรื่อง ดังนี้

1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่แคบกว่า

3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้

4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว

5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้

6 — คือ หัวเรื่องย่อย

47 สัญลักษณ์ “x” ที่ปรากฎหน้าคําในบัญชีหัวเรื่องมีความหมายอย่างไร

(1) คําไม่ได้ใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

(2) คําที่มีความหมายกว้างกว่า

(3) คําที่มีความหมายแคบกว่า

(4) คําที่มีความสัมพันธ์กัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

48 งานสร้างสรรค์ในข้อใดเป็นผลงานของนักศึกษาในระดับปริญญาเอก

(1) ดุษฎีนิพนธ์

(2) วิทยานิพนธ์

(3) ปริญญานิพนธ์

(4) การศึกษาอิสระ

ตอบ 1 หน้า 237 วิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นรายงานการวิจัยหรือการค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใช้เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทางวิชาการให้สูงขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) จะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ปริญญานิพนธ์” (Thesis) ระดับปริญญาเอกเรียกว่า “ดุษฎีนิพนธ์” (Dissertation) ส่วนสารนิพนธ์ (Thematic Paper) จะเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระที่กําหนดสําหรับผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทแผน ข

49 ในการทํารายงาน ขั้นตอนใดที่ทําต่อจากการเลือกเรื่องหรือหัวข้อรายงาน

(1) การรวบรวมบรรณานุกรม

(2) การบันทึกข้อมูล

(3) การสํารวจข้อมูล

(4) การเรียบเรียงรายงาน

ตอบ 3 หน้า 238 – 263 ขั้นตอนของการทํารายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดชื่อเรื่องหรือเลือกหัวข้อที่จะทํารายงาน

2 การสํารวจข้อมูล

3 การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง

4 การบันทึกข้อมูล หรือทําบัตรบันทึกข้อมูล

5 การวางโครงเรื่อง

6 การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง

50 “พระบรมราโชวาท” จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด

(1) ปฐมภูมิ

(2) ทุติยภูมิ

(3) ตติยภูมิ

(4) เบญจภูมิ

ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาทต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

51 การเตรียมข้อมูลเพื่อทํารายงานในข้อใดควรบันทึกข้อมูลแบบลอกความ

(1) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์

(2) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

(3) บทความวิจัย

(4) บทวิจารณ์หนังสือ

ตอบ 1 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมดให้ คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ ( “_ _ _” ) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมาย จุด 3 จุด (…) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ

1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

52 ข้อใดกล่าวถึงการเรียบเรียงรายงานได้อย่างถูกต้องที่สุด

(1) การใช้คําย่อหรืออักษรย่อให้มากที่สุดเพื่อให้เนื้อหาสั้นกระชับ

(2) การเขียนอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน (3) การเขียนรายงานวิชาการควรใช้ภาษาพรรณนาความ

(4) การดัดแปลงเนื้อหาให้แตกต่างจากต้นฉบับมากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 263, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้

1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องที่วางไว้ โดยเนื้อหา ไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2 ใช้ภาษาที่ถูกต้อง กะทัดรัด สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

3 ไม่ใช้อักษรย่อและคําย่อ

4 เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของ สถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

5 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ฯลฯ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ

53 ตัวอย่างแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ควรใส่ไว้ในส่วนใดของรายงาน

(1) ภาคผนวก

(2) เชิงอรรถอ้างอิง

(3) บทนํา

(4) อภิธานศัพท์

ตอบ 1 หน้า 64, 275 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนท้ายของรายงานที่นําเสนอข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เนื่องจากรายการนั้นไม่เหมาะที่จะเสนอแทรกไว้ในส่วน ของเนื้อหา แต่มีความสัมพันธ์และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่น แบบสอบถาม ตัวเลขสถิติ ตารางลําดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภาพประกอบเนื้อเรื่อง เป็นต้น

54 ข้อใดเขียนบรรณานุกรมได้ถูกต้อง

(1) ศาสตราจารย์ ดร.ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.

(2) ดร.ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.

(3) ศาสตราจารย์ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.

(4) ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.

ตอบ 4 หน้า 254 – 255, 276 277 จากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์ ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทางวิชาการหรือวิชาชีพ เช่น ศรีเรือนแก้ว แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์มหาวิทยาสัยธรรมศาสตร์, 2545.

55 ข้อใดเขียนอ้างอิงในเนื้อหาได้ถูกต้อง

(1) (Sallnow, John, 1982, 5)

(2) J. Sallnow, 1982, 5)

(3) (John Seallnow, 1982, 5)

(4) (SallnoW, 1982, 5)

ตอบ 4 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) หลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งจากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบ การอ้างอิงในเนื้อหาตามคู่มือ APA คือ (ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name)

ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Sallnow, 1982, 5)

56 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสมัยแรก ๆ มีวัตถุประสงค์ทางด้านใด

(1) ด้านการเรียนการสอนออนไลน์

(2) ด้านการสื่อสารทางการทหาร

(3) ด้านการค้าขายทางออนไลน์

(4) ด้านบริการงานห้องสมุด

ตอบ 2 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 ข้อใดหมายถึงมาตรฐานการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างเว็บบราวเซอร์และเซิร์ฟเวอร์

(1) Hyper Text Transfer Protocol (HTTP)

(2) Hyper Text Markup Language (HTML)

(3) Uniform Resource Locator (URL)

(4) World Wide Web Consortium (W3C)

ตอบ 1 (คําบรรยาย) Hyper Text Transfer Protocol (HTTP) คือ โปรโตคอลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างเว็บบราวเซอร์เเละเว็บเซิร์ฟเวอร์ จึงเป็นโปรโตคอล ในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทํางานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม โดยจะใช้สําหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนําไปสู่การจัดตั้ง World Wide Web (WWW)

58 ข้อใดหมายถึงการทําสําเนา E-mail Address ของผู้รับในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

(1) การใช้ BC

(2) การใช้ CCC

(3) การใช้ CC

(4) การใช้ BBB

ตอบ 3 หน้า 311, (คําบรรยาย) รายละเอียดทั่วไปที่ใช้กรอกเพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Mail : E-mail) มีดังนี้

1 To คือ ชื่อ E-mail Address สําหรับผู้รับ

2 FROM คือ ชื่อ E-mail Address สําหรับผู้ส่ง

3 SUBJECT คือ หัวข้อเนื้อหาของจดหมาย

4 CC คือ การทําสําเนา E-mail Address ของผู้รับไปให้อีกบุคคลหนึ่ง

5 BCC คือ การทําสําเนา E-mail Address ของผู้รับไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แต่ผู้รับจะไม่รู้ว่าเราทําสําเนาให้ใครบ้าง

6 ATTACHMENT คือ การส่งไฟล์ข้อมูลแนบไปพร้อมกับ E-mail

59 Search Engine มีความสัมพันธ์กับข้อใด

(1) การค้นสารสนเทศจากกูเกิล

(2) เครื่องเซิร์ฟเวอร์

(3) เครื่องมือช่วยค้นฐานข้อมูล

(4) เว็บมาสเตอร์

ตอบ 3 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นที่ทําให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศจากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและซ่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น จากนั้น ให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือ รายชื่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่ง Search Engine ที่ได้รับ ความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ www.google.com, www.yahoo.com, www.altavista.com,www.metacrawler.com เป็นต้น

60 ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

(1) Android

(2) Windows XP

(3) Mozilla Firefox

(4) Windows NT

ตอบ 3 (คําบรรยาย) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) จะทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือ การจัดสรรทรัพยากร ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับ ฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจําตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ โดยระบบปฏิบัติการ ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้แก่ Microsoft Windows XP, Windows NT, Unix, Linux ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์มือถือ เช่น IOS, Android ฯลฯ (ส่วนเว็บบราวเซอร์ Mozila Firefox เป็นโปรแกรมประยุกต์)

 

 

PHI1001 วัฒนธรรมและศาสนา s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1001 วัฒนธรรมและศาสนา

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ปลาที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น ได้แก่

(1) ปลานิล

(2) ปลาทับทิม

(3) ปลาคาร์พ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปลาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น ได้แก่

1 ปลานิล เป็นปลาที่ญี่ปุ่นส่งพันธุ์มาให้ไทยนําไปเพาะเลี้ยง

2 ปลาทับทิม เป็นปลาที่ได้จากการผสมพันธุ์ของปลานิลญี่ปุ่น

3 ปลาคาร์พ เป็นปลาสวยงาม มีราคาแพง นิยมเลี้ยงไว้ที่สวนและสระน้ำ โดยจะไม่นํามารับประทาน

2 ศาสนาชินโตมีอิทธิพลต่อชาวญี่ปุ่น ทําให้

(1) รักธรรมชาติ

(2) เชื่อพลังศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ

(3) ภักดีต่อจักรพรรดิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 50, 233 – 237 ศาสนาชินโต เป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชนชาติญี่ปุ่น ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างของชาวญี่ปุ่น ทําให้ชาวญี่ปุ่นมีเอกภาพและเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ได้แก่

1 นับถือบูชาธรรมชาติ และมีจิตใจรักธรรมชาติ

2 เชื่อพลังศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ และ

3 จงรักภักดีต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ

4 มีความเชื่อและนับถือดวงอาทิตย์ เป็นต้น

3 ศาสนาชินโตสอนว่า “บาปทุกอย่างอาจให้อภัยได้ ยกเว้น ”

(1) การโกหก

(2) ขี้ขลาด

(3) ขี้โกง

(4) ขี้เหนียว

ตอบ 2 หน้า 239 – 240 หลักจริยธรรมของศาสนาชินโต มีดังนี้

1 ศาสนาชินโตยกย่องความกล้าหาญในทุกรูปแบบ แต่ติเตียนความขลาดว่าเป็นบาปดังคํากล่าวที่ว่า “บาปทุกอย่างทั้งใหญ่และเล็กอาจจะได้รับอภัยด้วยการสํานึกผิด ยกเว้นความขลาดและการลักขโมย”

2 ศาสนาชินโตเคร่งครัดในเรื่องความสะอาดมาก โดยถือว่าการเป็นคนไม่สะอาดเป็นบาป ซึ่งจากความเชื่อนี้ทําให้ชาวญี่ปุ่นนิยมอาบน้ำก่อนรับประทานอาหารเย็นและก่อนทําพิธีกรรมใด ๆ เป็นต้น

4 ศาสนาชินโตสอนให้….ก่อนทําพิธีกรรม

(1) สวดมนต์

(2) ไหว้เจ้า

(3) อาบน้ำ

(4) ดื่มชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ประเทศจีนเป็นประเทศที่

(1) มีพื้นที่มากที่สุดในโลก

(2) มีประชากรมากที่สุดในโลก

(3) ชาวจีนเป็นนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ประเทศจีน เป็นประเทศที่มีความสําคัญดังนี้

1 มีพื้นที่มากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

2 มีประชากรมากที่สุดในโลก

3 ชาวจีนเป็นนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก

4 มีการผลิตสินค้าจําหน่ายทั่วโลกมาก เป็นต้น

6 วัฒนธรรมจีนเผยแพร่อยู่ในวัฒนธรรมของชาติใด

(1) ญี่ปุ่น

(2) เกาหลี

(3) เวียดนาม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37, 51, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมจีนเผยแพร่ไปยังดินแดนใกล้ไกลต่าง ๆ โดยการติดต่อค้าขาย และการอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในดินแดนเหล่านั้น ซึ่งวัฒนธรรมจีนเผยแพร่อยู่ในวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น

7 วัฒนธรรมทางวัตถุของจีนแสดงถึงความเจริญและเป็นภูมิปัญญา ได้แก่

(1) ทอผ้า

(2) ยาสมุนไพร

(3) เครื่องกระเบื้อง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 – 38, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางวัตถุของจีนที่แสดงถึงความเจริญและเป็นภูมิปัญญาซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน ได้แก่

1 การเลี้ยงไหมเพื่อใช้ทอผ้า และการใช้ฝ่ายทอผ้า

2 การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร

3 การทําเครื่องกระเบื้องเคลือบถ้วยชาม

4.การคิดอักษรจีนขึ้นใช้เป็นภาษาเขียนประจําชาติ ซึ่งเรียกว่า “ภาษาจีน”

5 ฮวงจุ้ย ซึ่งมีความสําคัญต่อทําเลที่ตั้งของสถานที่อยู่อาศัย สถานที่ประกอบอาชีพ และสถานที่ฝังศพ เป็นต้น

8 วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน ได้แก่

(1) ภาษา

(2) อักษร

(3) ฮวงจุ้ย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

9 วัฒนธรรมวัตถุจีนที่มีราคาสูงมากในปัจจุบัน ได้แก่

(1) เครื่องกระเบื้องลายคราม

(2) ผ้าไหม

(3) ภาพวาด

(4) หน้ากากจิ๋ว

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) วัฒนธรรมวัตถุจีนที่มีราคาสูงมากในปัจจุบัน ได้แก่ ภาพวาด ซึ่งชุดภาพวาดจิตรกรรมของ “ฉี ไปสือ” ศิลปินชื่อดังชาวจีน ถูกประมูลไปด้วยราคา 931.5 ล้านหยวน

หรือประมาณ 4,612 ล้านบาท ทําลายสถิติของภาพวาดจีนทั้งหมดในการประมูลที่กรุงปักกิ่ง

10 วัฒนธรรมความเชื่อของจีน “มังกร” สัมพันธ์กับ

(1) ฮ่องเต้

(2) พระโพธิสัตว์กวนอิม

(3) แม่น้ำฮวงโห

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 40 ชาวจีนนับถือและเคารพต่อมังกร ซึ่งเชื่อว่ามังกรเป็นเทพเจ้า เป็นพาหนะของพระโพธิสัตว์กวนอิม และยังเชื่อว่าการที่น้ำในแม่น้ำฮวงโหไหลบ่าท่วมท้นเป็นเพราะมังกรพิโรธ นอกจากนี้ชาวจีนยังนํามังกรมาเป็นสัญลักษณ์แห่งฮ่องเต้ เช่น ประเพณีสําคัญที่ฮ่องเต้ต้อง สวมเสื้อคลุมปักเป็นรูปมังกร เรียกว่า “เสื้อลายมังกร” ในวันที่ทําพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์และประทับนั่งบนบัลลังก์มังกรด้วย

11 ข้อใดไม่เป็นวัฒนธรรม

(1) เสือดํา

(2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้ามล่าสัตว์

(3) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรได้เป็นมรดกโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 8 – 10, (คําบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ที่อยู่รวมกันในรูปขององค์กรทางสังคมสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้ดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ หรือหมายถึง วิถีชีวิตความ เจริญงอกงาม มรดกแห่งสังคม หรือการกระทําใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้ เช่น การสวดมนต์ข้ามปี การปล่อยโคมลอย การผลิตยารักษาโรค อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ฯลฯ แต่วัฒนธรรมจะไม่รวมถึงสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี รวมทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติ (สัตว์และพืช) หรือสิ่ง ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น คนตาย ข้าวเปลือก อินทผลัม เสือดํา อฐ วัว ควาย คลื่นยักษ์แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ เกาะ ทะเลทราย แม่น้ำ ถ้ำ ฯลฯ

12 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมเนติธรรม

(1) เสือดํา

(2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้ามล่าสัตว์

(3) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรได้เป็นมรดกโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางเนติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายกฎมณเฑียรบาล สิทธิหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ จารีตประเพณี ข้อห้ามทางศาสนา และหมายความรวมถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษ กระบวนการลงโทษและกระบวนการพิจารณาความลงโทษด้วย เช่น วัฒนธรรมเนติธรรมของไทย ได้แก่ เมาไม่ขับ ถ้าเมาแล้วขับจะถูกยึดใบขับขี่ จับปรับและคุมประพฤติ, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้ามล่าสัตว์ เป็นต้น

13 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมสหธรรม

(1) เสือดํา

(2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้ามล่าสัตว์

(3) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรได้เป็นมรดกโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 125, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมสหธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ครอบครัวสาธารณชนและประเทศชาติ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่นท้องถิ่น การแข่งขันกีฬา และจรรยามารยาทหรือกิริยามารยาทต่าง ๆ ในสังคม เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ได้เป็นมรดกโลก, การลุกให้เด็ก คนชรา หญิงมีครรภ์นั่งในรถเมล์, การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เทศกาลสงกรานต์, วันสตรีสากล, เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (การ Countdownการจุดพลุ) เป็นต้น

14 ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินในโครงการ (วิ่ง) ก้าวคนละก้าวของตูนบอดี้สแลมเพื่อช่วยโรงพยาบาล เพราะเชื่อว่าเป็นการทําบุญได้กุศลแรง นับเป็นวัฒนธรรม

(1) เนติธรรม

(2) คติธรรม

(3) สหธรรม

(4) วัตถุธรรม

ตอบ 2 หน้า 99 – 102, 104, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมคติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาบรรณ อันเป็นหลักหรือแนวทางดําเนินชีวิตที่ดีที่ควรยึดถือและควรปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของความเชื่อและคตินิยมทางศาสนา เช่น ประชาชนร่วมกันบริจาค เงินในโครงการ (วิ่ง) ก้าวคนละก้าวของตูนบอดี้สแลมเพื่อช่วยโรงพยาบาล เพราะเชื่อว่าเป็น การทําบุญได้กุศลแรง คนไทยรักในหลวง, พุทธสุภาษิต (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม คนดีผีคุ้ม), สุภาษิตคติเตือนใจเกี่ยวกับการงาน (หนักเอาเบาสู้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง), สุภาษิตคติเตือนใจ ในการคบมิตร (เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก), สุภาษิตคติเตือนใจในการประพฤติ (น้ําร้อนปลาเป็น-น้ำเย็นปลาตาย บวชก่อนเบียด) และคติธรรมสอนหญิง (รักนวลสงวนตัว)

15 เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนเกาะที่ใหญ่ที่สุด คือ

(1) ฮอกไกโด

(2) ฮอนชู

(3) ชิโกกุ

(4) คิวชู

ตอบ 2 หน้า 48 ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะพื้นที่เป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่มากมายนับพันเกาะ โดยมีเกาะที่ใหญ่ที่สุดและสําคัญที่สุดอยู่ 4 เกาะ คือ เกาะฮอนชู (เกาะที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่ตั้งของ เมืองหลวงซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมของญี่ปุ่น) เกาะฮอกไกโด เกาะชิโกกุ และเกาะคิวชู โดยประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

16 ข้อใดถูก…..ประเทศญี่ปุ่น

(1) มีผู้สูงอายุมาก

(2) มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย

(3) เจริญทางเทคโนโลยี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 48, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีพื้นที่เพาะปลูกน้อยเพียงประมาณ 17% ของพื้นที่ทั้งหมด

2 มีความเจริญทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์สูงมากในโลก

3 มีประชากรผู้สูงอายุสูงมาก ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะมีอายุขัยเฉลี่ยถึง 82 ปี ถือว่ามีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลก

17 ลัทธิบูชิโดไม่เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ฮาราคีรี

(2) ซามูไร

(3) ยากูซ่า

(4) ชาตินิยม

ตอบ 4 หน้า 51, (คําบรรยาย) อิทธิพลของลัทธิบูชิโดที่มีต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้แก่

1 วิถีทางแห่งนักรบซามูไร คือ “ยอมตายอย่างมีเกียรติดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ”

2 พิธีกรรมฆ่าตัวตายที่เรียกว่า “ฮาราคีรี”

3 การสละชีวิตตนเองของนักบินโดยการขับเครื่องบินพุ่งชนฝ่ายตรงข้ามให้ระเบิดไปพร้อมกันที่เรียกว่า “กามิกาเซ่”

4 ซามูไรไร้สังกัดหรือโรนิน ได้พัฒนาการมาเป็น “ยากูซ่า” ในปัจจุบัน เป็นต้น

18 วัฒนธรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน ได้แก่

(1) สถาปัตยกรรม

(2) อาหารเส้น

(3) ตะเกียบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51 – 52 วัฒนธรรมจีนได้แพร่ขยายเข้ามาในดินแดนญี่ปุ่นมาช้านานและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นหลายอย่าง ได้แก่ การรับเอาตัวหนังสือภาพของจีนและดัดแปลงให้เข้ากับลักษณะ ภาษาดั้งเดิมของญี่ปุ่น จนกลายเป็นภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน, การรับเอาพุทธศาสนานิกาย มหายาน ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม การปกครองแบบอย่างของจีนมาผสมผสาน กับของดั้งเดิมจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น เช่น การสร้างศิลปสถาน การสร้างวัด การสร้างพระราชวังของจักรพรรดิ เครื่องถ้วยชาม การใช้ตะเกียบ การกินบะหมี่ เป็นต้น

19 วัฒนธรรมทางวัตถุญี่ปุ่นเป็นเลิศเรื่องการทําหุ่นยนต์ ได้แก่ หุ่นยนต์ (1) สุนัขหุ่นยนต์

(2) แฟนสาวหุ่นยนต์

(3) คนรับใช้หุ่นยนต์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) วัฒนธรรมทางวัตถุญี่ปุ่นเป็นเลิศเรื่องการทําหุ่นยนต์ ได้แก่

1 สุนัขหุ่นยนต์ชื่อ “ไอโบะ” (Aibo)

2 แฟนสาวหุ่นยนต์ชื่อ “EMA”

3 คนรับใช้หุ่นยนต์

4 บาริสต้าหุ่นยนต์ เป็นต้น

20 วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและรู้จักทั่วโลก ได้แก่

(1) ซูชิ

(2) ข้าวปั้น (Onigiri)

(3) ชาเขียว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและรู้จักทั่วโลก ได้แก่ ซูชิ ซาชิมิ เนื้อดิบ ปลาดิบ ไข่ดิบ ข้าวปั้น (Onigiri) ชาเขียว เป็นต้น

21 ชาวจีนเมื่อตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนได้แล้วจะสร้างเป็นอันดับแรก

(1) ศาลเจ้า

(2) สุสาน

(3) โรงเจ

(4) โรงงิ้ว

ตอบ 1 หน้า 41, (คําบรรยาย) ชาวจีนเมื่อตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นชุมชนได้แล้ว ชาวจีนไม่ว่าจะอยู่ในดินแดนใดในโลก สิ่งแรกที่ชาวจีนจะสร้าง คือ ศาลเจ้า เพื่อทําพิธีตามความเชื่อหลักของวัฒนธรรมของชนชาติจีน นอกจากนี้แล้วก็จะมีสุสานแห่งบรรพบุรุษ โรงเจ (โรงทาน) โรงรับจํานํา โรงงิ้ว และโรงน้ำชา เป็นต้น

22 วันปีใหม่ ในเทศกาลตรุษจีน ชาวอื่นจะไม่ทําข้อใด

(1) ใส่ชุดแดง

(2) แจกเงินลูกหลาน-ลูกจ้าง

(3) ทําความสะอาดบ้าน

(4) ออกไปเที่ยว

ตอบ 3 หน้า 44 – 45, (คําบรรยาย) เทศกาลตรุษจีน เป็นประเพณีของชาวจีนมาแต่ครั้งโบราณกว่า 3,000 ปี ซึ่งเทศกาลตรุษจีนจะมีพิธีอยู่ 2 อย่าง คือ

1 การส่งท้ายปีเก่า คือ การเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นครั้งสุดท้ายของปีเก่า เซ่นไหว้ผีวิญญาณต่าง ๆ เจ้าที่ ผีเร่ร่อน

2 การต้อนรับปีใหม่ คือ การปล่อยตัวเองและลูกจ้างได้หยุดงานออกไปเที่ยว ใส่ชุดแดง ทําอาหารดี ๆ เลี้ยง และแจกเงินลูกหลานและลูกจ้าง เรียกว่า “แต๊ะเอีย”

23 ผลไม้ที่ชาวจีนใช้เซ่นไหว้เพราะเชื่อว่าส่งเสริมให้อายุยืน ได้แก่

(1) ท้อ

(2) พลับ

(3) เก๊กฮวย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 45 – 46, (คําบรรยาย) ผลไม้ ดอกไม้ และขนมที่ชาวจีนมักนิยมนํามาเซ่นไหว้ในเทศกาลตรุษจีนและเทศกาลต่าง ๆ เพราะถือว่าเป็นมงคลและมีความหมายดี เช่น

1 ผลท้อ เป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน และขจัดภูตผีปีศาจได้

2 ผลทับทิม เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญงอกงาม มีบุตรหลานบริวารมาก และช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมนําต้นทับทิมมาปลูกไว้หน้าบ้านเสมอ

3 ผลพลับ เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืน มีความสุขสงบถาวร

4 ผลส้ม (ส้มสีทอง) เป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ทําให้มีโชคลาภ

5 ดอกเก๊กฮวย เป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน อายุยืน สดชื่นในชีวิต เ6 ขนมเข่ง เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองมากขึ้นทุกปี

24 แนวปฏิบัติในการดํารงชีวิตเรื่องจริยธรรมของชาวจีนได้รับอิทธิพลจาก

(1) เล่าจื้อ

(2) ขงจื้อ

(3) ขงเบ้ง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 245 ขงจื้อ เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตจิตใจของชาวจีนทั้งหลายในฐานะครูผู้สั่งสอน กล่อมเกลาจิตใจ คุณธรรม และแนวปฏิบัติในการดํารงชีวิตเรื่องจริยธรรมของชาวจีน ทุกชนชั้น ลัทธิขงจื้อยังถือเป็นต้นตํารับของขนบธรรมเนียมประเพณี กฎหมาย ตลอดจนพิธีการต่าง ๆ ซึ่งทางราชการยกย่องและถือปฏิบัติ

25 เล่าจื๊อสอบจอหงวนได้แล้วรับราชการเป็น

(1) อาจารย์ในราชสํานัก

(2) บรรณารักษ์ของหอสมุดในราชสํานัก

(3) ที่ปรึกษาของขุนนาง

(4) รวบรวมตํารายกให้ราชสํานัก

ตอบ 2 หน้า 251 – 252 เล่าจื้อ (Lao-Tze) เกิดในปีก่อนคริสต์ศักราช 604 ในตอนแรกเล่าจื้อ สอบจอหงวนได้รับราชการแล้วเป็นบรรณารักษ์ของหอสมุดในราชสํานักของราชวงศ์จิว ต่อมา เมื่ออายุครบ 90 ปี เกิดความเบื่อหน่ายในสังคมการเมืองการปกครองที่ไม่ยุติธรรม จึงลาออก จากราชการ ปลีกตัวออกจากสังคมเดินทางท่องเที่ยวไป และได้เขียนบันทึกคําสั่งสอนหลักจริยธรรมเป็นโคลงสั้น ๆ 81 โคลง เรียกว่า “เต๋าเต็กกิง” (TAO TEH KING)

26 ขงจื้อสอบจอหงวนได้รับราชการแล้วลาออกมาทําอาชีพ

(1) ครู

(2) ค้าขาย

(3) วาดภาพขาย

(4) เขียนโคลง-กลอน ขาย

ตอบ 1 หน้า 242 243 ขงจื้อ (King Tzu) เกิดเมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อมีอายุได้ 20 ปี ขงจื้อสอบจอหงวนได้เข้ารับราชการที่รัฐ ต่อมาได้ลาออกจากราชการ และหาเลี้ยงชีพโดยการเป็นครูอบรมสั่งสอนวิชาความรู้ให้แก่คนทั่วไปที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนในสํานักของเขาซึ่งคําสั่งสอนของขงจื้อนั้นเป็นที่นับถือและยึดเป็นแนวทางของชาวจีนทั่วไปในสมัยนั้นด้วย

27 ข้อใดมีความหมายไม่ตรงกับ “หยิน-หยาง”

(1) ดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์

(2) หญิง-ชาย

(3) มืด-สว่าง

(4) อ่อน-แข็ง

ตอบ 1 หน้า 241, (คําบรรยาย) ในสมัยโบราณชาวจีนมีความเชื่ออันเป็นความภาคภูมิของประเทศคือเชื่อว่า ประเทศจีนอยู่ใจกลางของโลก จึงทําให้เกิดความเชื่อว่าโลกมีวิญญาณสถิตอยู่ มีเพศเป็นหญิง เรียกว่า “หยิน” ซึ่งเป็นวิญญาณแห่งดิน ความมืด กลางคืน ดวงจันทร์ ฯลฯ และเนื่องจากการที่มนุษย์อาศัยอยู่บนโลก ชาวจีนจึงยกย่อง “หยิน” ว่ามีอํานาจเหนือกว่า “หยาง” ซึ่งเป็นเพศชายอันเป็นวิญญาณแห่งฟ้า ความสว่าง กลางวัน ดวงอาทิตย์ ฯลฯ ดังนั้นจึงกล่าว ได้ว่า “หยิน-หยาง” หมายถึง หญิง-ชาย, ดิน-ฟ้า, ความมืด-ความสว่าง, กลางคืน-กลางวัน,ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์, อ่อน-แข็ง, ดํา-ขาว ฯลฯ

28 ข้อใดไม่ใช่ความสามารถของนักบวชเต๋า

(1) เวทมนตร์คาถา

(2) ไสยศาสตร์

(3) เทศนาสั่งสอน

(4) ทํายาอายุวัฒนะ

ตอบ 3 หน้า 257 – 258, (คําบรรยาย) ศาสนาเต๋ในระยะหลัง ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องไสยศาสตร์มากขึ้น ทําให้นักบวชในศาสนาเต๋ากลายเป็นผู้มีความชํานาญพิเศษในการประกอบพิธีกรรม เกี่ยวกับไสยศาสตร์ สามารถทํานายดวงชะตาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ มีญาณติดต่อเทพเจ้า และดวงวิญญาณของผู้ตายได้ มีพลังจิตสะกดวิญญาณและปราบผีปีศาจได้ ทําคุณไสย ทําหลุมศพ ทํากงเต็ก เวทมนตร์คาถา และมีความสามารถในการทํายาอายุวัฒนะ

29 ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก คือ

(1) อิหร่าน

(2) อียิปต์

(3) อินโดนีเซีย

(4) ซาอุดิอาระเบีย

ตอบ 3 หน้า 391, (คําบรรยาย) ศาสนาอิสลามเกิดในดินแดนทะเลทรายในทวีปเอเชีย หรือที่เรียกว่าตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นดินแดนถิ่นฐานของชาวอาหรับ และปัจจุบันเป็นศาสนาที่มีจํานวนผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากศาสนาคริสต์ โดยประเทศที่มีประชากรนับถือ ศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก คือ อินโดนีเซีย

30 จังหวัดใดไม่ใช่ 4 จังหวัดภาคใต้ที่ใช้กฎหมายอิสลาม

(1) ยะลา

(2) กระบี่

(3) ปัตตานี

(4) สตูล

ตอบ 2 หน้า 391 ประเทศไทยมีชาวมุสลิมผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่ทั่วทุกจังหวัด และมีมากที่สุดใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้ใช้กฎหมายอิสลามใน 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าวนี้

31 การทําพิธีฮัจญ์เกี่ยวข้องกับ

(1) หินกาบะห์

(2) นครเมกกะ

(3) ประเทศซาอุดิอาระเบีย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 403 การทําพิธีฮัจญ์ คือ การเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อทํานมัสการบูชาหินกาบะห์ ณ วิหาร โดยถือเป็นภารกิจที่ชาวมุสลิมผู้บรรลุนิติภาวะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสามารถและฐานะพร้อมที่จะทําได้ ควรกระทําอย่างยิ่ง ยกเว้นแต่จะอยู่ในสภาพหรือฐานะที่ไม่สามารถไปได้จริง ๆ เช่น ยากจน มีอาชีพต้องหาเลี้ยงครอบครัวทุกวันตลอดปี เป็นต้น

32 ภาษาอาหรับเปล่งออกมาจาก…จึงมีพลังในเสียงมาก

(1) คอ

(2) อก

(3) ท้อง (พุง)

(4) ท้องน้อย

ตอบ 2 หน้า 392 ภาษาอาหรับนับเป็นภาษาที่เป็นที่ยอมรับในบรรดานักภาษาศาสตร์ว่าเป็นภาษาที่ไม่มีภาษาของชนชาติใดจะเทียบได้ในด้านความลึกซึ้งและละเอียดอ่อนแห่งภาษา มีจังหวะเร้าใจ มีความหมายลึกซึ้ง ร่ำรวยคําซึ่งถือเป็นภาษาที่เอื้อต่อการประพันธ์ และสําเนียงเสียงจังหวะของภาษาที่เปล่งออกมาจากอก มีพลังอํานาจต่อผู้ได้ยินได้ฟังอย่างมาก

33 “มุสลิม” แปลว่า

(1) ผู้แสวงสันติ

(2) ผู้เคารพพระเจ้า

(3) ผู้รักภักดีพระเจ้า

(4) ผู้เชื่อฟังพระเจ้า

ตอบ 1 หน้า 391 คําว่า “อิสลาม” เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า สันติ (ศานติ) การยอมรับ การนอบน้อม อส่วนผู้นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า “มุสลิม” แปลว่า ผู้นอบน้อมตน ผู้แสวงสันติ

34 ผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด แต่ต้องมาถือชดเชยภายหลัง ได้แก่ (1) หญิงตั้งครรภ์

(2) ผู้ป่วย

(3) ผู้ต้องโทษ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 402, (คําบรรยาย) การถือศีลอดจะถือเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม (30 วัน) และจะเริ่มทําในวันแรกของเดือนที่ 9 แห่งปฏิทินอิสลาม ซึ่งเรียกว่า เดือนรอมาดอนหรือรอมดอน (Ramadan) โดยผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด ได้แก่ ผู้ป่วย หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้เดินทาง ผู้ที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้วิกลจริตหรือมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ (สําหรับผู้ป่วยและผู้เดินทางจะต้องมาถือศีลอดชดเชยในภายหลังเมื่อพ้นภาวะนั้นแล้ว)

35 ข้อใดเป็นฮาลาล กระเป๋าหนัง

(1) จระเข้

(2) อูฐ

(3) ตะกวด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลิตภัณฑ์และอาหารฮาลาล (HALAL) หมายถึง ผลิตภัณฑ์และอาหารทุกชนิดที่ไม่มีองค์ประกอบของสิ่งที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัตว์นั้นผ่าน การเชือดที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลาม ดังนี้

1 ผู้เชือดเป็นมุสลิมที่เข้าใจและรู้วิธีการเชือดแบบอิสลามอย่างแท้จริง

2 สัตว์ที่จะนํามาเชือดจะต้องไม่เป็นสัตว์ที่ต้องห้าม (ฮารอมหรือหะรอม) เช่น หมู สุนัข เสือดํา เหยี่ยว นกอินทรี งู จระเข้ ตะกวด ฯลฯ ส่วนสัตว์ที่สามารถนํามาเชือดได้ เช่น แพะ แกะ วัว กวาง กระต่าย อฐ ฯลฯ

3 สัตว์ยังมีชีวิตขณะทําการเชือด

4 สัตว์ต้องตายสนิทก่อนที่จะแล่เนื้อ หรือดําเนินการใด ๆ ต่อไป

36 ข้อใดเป็นฮารอม เนื้อ

(1) จระเข้

(2) เสือดํา

(3) หมู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 ศาสดาผู้สอนเน้น “ไม่ให้เป็นชู้ทางใจ” คือ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามคําสอนของพระเยซูเรื่องการดํารงชีวิตคู่นั้น การแต่งงานต้องเป็นชายหนึ่งหญิงเดียวที่ถือว่าต่างเสมอกันและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เมื่อแต่งงานแล้วจะหย่าร้างกันไม่ได้ เป็นอันขาดจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะตายไป การหย่าร้างเป็นความผิดหนัก หรือถ้าคู่ครองตายก็ไม่ควรแต่งงานใหม่ ห้ามมีชู้ หรือแม้แต่จะเป็นชู้ทางใจก็ไม่ได้

38 ตําแหน่งจุฬาราชมนตรี มีขึ้นครั้งแรกในสมัย

(1) สุโขทัย

(2) อยุธยา

(3) ธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 408 จุฬาราชมนตรีเป็นตําแหน่งผู้นําฝ่ายศาสนาอิสลามในประเทศไทยที่ฝ่ายบ้านเมืองสถาปนาขึ้นให้มีหน้าที่เป็นหัวหน้าบริหารศาสนาอิสลาม ซึ่งตําแหน่งนี้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพ่อค้าชาวเปอร์เซียชื่อ “เฉกอะหมัด” เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของประเทศไทย

39 ผู้ดํารงตําแหน่ง “ดาโต๊ะยุติธรรม” ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องใดไม่ได้

(1) คดีแพ่ง

(2) คดีครอบครัว

(3) คดีอาญา

(4) คดีมรดก

ตอบ 3 หน้า 410 ดาโต๊ะยุติธรรม คือ ข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยและชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามในคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องคดีครอบครัวและ คดีมรดก (เช่น สามีฟ้องหย่าภรรยา สามีถูกภรรยาฟ้องเรื่องแบ่งมรดก สามีถูกภรรยาฟ้องเรื่องสิทธิดูแลลูก) ของศาลชั้นต้นใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

40 ศาสนายิว (ยูดาห์) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นมารดาของศาสนาคริสต์ เพราะ

(1) ศาสดาของศาสนาคริสต์เป็นชาวยิว

(2) ศาสดาของศาสนาคริสต์นับถือศาสนายิว

(3) ศาสนาคริสต์ยอมรับคัมภีร์ของศาสนายิว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 359, 372 ศาสนายิว (ยูดาห์) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นมารดาของศาสนาคริสต์เพราะ

1 ศาสดาของศาสนาคริสต์เป็นชาวยิวและนับถือศาสนายิวมาก่อน

2 ศาสดาของศาสนาคริสต์เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในหลักธรรมคําสอนและคัมภีร์ของศาสนายิวอย่างลึกซึ้ง

3 ศาสนาคริสต์ยอมรับนับถือและรับรองคัมภีร์ของศาสนายิว

41 ข้อใดไม่ใช่นิสัยทั่วไปของชาวยิว

(1) เป็นนักสู้-นักรบ

(2) ขยันขันแข็ง

(3) มานะอดทน

(4) อดออม

ตอบ 1 หน้า 360 นิสัยทั่วไปของชาวยิว คือ ขยันขันแข็ง มานะอดทน และอดออม หาได้มากใช้แต่น้อยจึงทําให้มีฐานะดีขึ้นเรื่อย ๆ และมีพลเมืองเพิ่มรวดเร็วมาก

42 “โมเสส” แปลว่า

(1) ผู้รอดตายจากน้ำ

(2) ผู้ว่ายน้ำเก่งเหมือนปลา

(3) ผู้เกิดในน้ำ

(4) ผู้รักษาน้ำ

ตอบ 1 หน้า 362 โมเสสถือกําเนิดจากหญิงชาวยิวที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลนักบวชของศาสนายิวเมื่อคลอดนางเกรงว่าลูกจะถูกฆ่าจึงแอบซ่อนบุตรชายไว้ในตะกร้าสานด้วยหวาย แล้วลอยตะกร้า ไปในแม่น้ำไนล์ ต่อมาพระธิดาของฟาโรห์แห่งอียิปต์พบตะกร้าและได้นําทารกชายนั้นมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและให้ชื่อว่า “โมเสส” ซึ่งแปลว่า ผู้รอดตายจากน้ำ

43 ผู้นําบัญญัติ 10 ประการโองการพระเจ้ามาสู่มนุษย์ คือ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) เทวทูต

ตอบ 2 หน้า 364 365 โมเสสมีบทบาทสําคัญต่อประชาชนชาวยิว คือ

1 ช่วยให้ชาวยิวพ้นจากความเป็นทาสของอียิปต์

2 เป็นผู้รับโองการจากพระเจ้าเรียกว่า “บัญญัติ 10 ประการ” แล้วนํามาประกาศแก่ชาวยิว โดยโมเสสได้สลักลงในแผ่นศิลา 2 แผ่น ให้ชาวยิวถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้วจะพบดินแดนแห่งสัญญา แต่ถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้วพระเจ้าก็จะลงโทษ

44 ในวันแซบบาธ (Sabbath) คือวันพระของศาสนายิว ชาวยิวจะไม่ทําข้อใด

(1) ทําอาหารเลี้ยงสังสรรค์

(2) ไป Shopping

(3) ไปเที่ยวพักผ่อน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 364, 367, (คําบรรยาย) วันแซบบาธ (Sabbath) หรือวันซะบาโต (Sabbatho) คือ วันพระของศาสนายิวคือวันเสาร์ เป็นวันที่พระเจ้าทรงสร้างโลกและจักรวาลเสร็จ และทรงหยุดพักผ่อนในวันที่ 7 โดยวันแซบบาธเป็นวันที่ชาวยิวทั้งหลายจะหยุดทํางาน และหยุดการทํากิจการต่าง ๆ ทุกชนิด (เช่น ทําอาหารเลี้ยงสังสรรค์ ไป Shopping ไปเที่ยวพักผ่อน) แม้แต่การก่อไฟในเตาก็งดเว้น เพื่อบูชาพระเจ้าตามที่ปรากฏในบัญญัติ 10 ประการ

45 เทศกาลยมคัปปูร์ (Yom-Kippur) คือ เทศกาล

(1) ทําบุญ-บริจาคทาน

(2) สะเดาะเคราะห์-ล้างบาป

(3) ถือศีล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 367 368 เทศกาลยมคัปปูร์ (Yom-Kippur) เป็นเทศกาลที่ชาวยิวทําพิธีสํานึกบาปหรือเรียกว่า 10 วันแห่งการล้างบาป โดยชาวยิวจะปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดทําการอดอาหาร ในตอนกลางวัน ทําจิตใจให้สงบระงับ ไม่ทําบาปใดเลย และในการทําพิธีสํานึกบาปนี้ ชาวยิว จะทําพิธีสะเดาะเคราะห์เป็นว่าได้ยกบาปไปไว้ที่แพะ (ตัวผู้) ให้แพะรับบาปแล้วไล่แพะเข้าป่าพาเอาบาปของชาวยิวไปเสีย

46 อับราฮัมกําหนดให้ชาวยิวไม่กินอาหารต้องห้าม เช่น จะไม่กินส่วนใดของไก่

(1) เลือด

(2) ตีน

(3) เครื่องใน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 370, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์ มีข้อห้ามในเรื่องการรับประทานอาหาร คืออาหารที่รับประทานได้ประเภทเนื้อสัตว์ต้องเป็นสัตว์ประเภทเคี้ยวอาหาร เคี้ยวเอื้อง ถ้าเป็นปลาต้อง เป็นปลาที่มีครีบและหาง (เช่น ปลาแซลมอน ปลาช่อน) ถ้าเป็นสัตว์ปีก (เช่น ไก่) ต้องฆ่าตาม วิธีที่กําหนดไว้ และเนื้อสัตว์ที่ฆ่าต้องเอาเลือดออกให้หมด นอกจากนี้อับราฮัมยังห้ามชาวยิว ไม่ให้กินตีนไก่ เครื่องในไก่ เนื้อหมู เนื้อหมา ปลาหมึก ปลาไหล และกุ้ง เพราะเป็นสัตว์ที่กิน ของสกปรก

47 เมื่อพระเยซูประสูติเหล่าโหราจารย์และปุโรหิตทํานายว่าได้บังเกิดแล้ว

(1) บุตรพระเจ้า

(2) กษัตริย์แห่งชนชาติผิว

(3) ผู้ไถ่บาปให้ชาวยิว

(4) ผู้นําโลก

ตอบ หน้า 374 ในคืนวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 543 (วันคริสต์มาส) พระนางมาเรียได้คลอดบุตรชายและให้ชื่อว่า “เยซู” ซึ่งขณะที่พระเยซูประสูติในโรงนานั้นมีแสงสว่างโชติช่วงเป็นอัศจรรย์ และโหราจารย์ได้ทํานายว่า “กษัตริย์แห่งชนชาติผิวได้บังเกิดแล้ว”

48 Pope องค์ปัจจุบันชื่อ

(1) John

(2) David

(3) Francis

(4) Franklin

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พระสันตะปาปา (Pope) องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส(Francis) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว ซึ่งนับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากทวีปอเมริกาและคณะเยสุอิต

49 ศาสนาศริสต์นิกายใดไม่มีนักบวช

(1) คาทอลิก

(2) ออร์ทอดอกซ์

(3) โปรเตสแตนต์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศาสนาที่ไม่มีนักบวช ได้แก่

1 ศาสนาอิสลาม

2 ศาสนาซิกข์

3 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

50 ต้นไม้ที่มีความสัมพันธ์กับชื่อประเทศอินเดียนามว่า ชมพูทวีป คือ (1) ต้นก้ามปู (จามจุรี) มีดอกสีชมพู

(2) ต้นหว้ามีผลเนื้อในสีชมพู

(3) ต้นพวงชมพูขึ้นอยู่ทั่วไป

(4) ต้นชมพูมีดอกสีชมพู

ตอบ 2 หน้า 23, (คําบรรยาย) ประเทศอินเดียแต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “ชมพูทวีป” ซึ่งแปลว่า ประเทศแห่งต้นหว้า หรือภารตวรรษ หรือดินแดนภารตะ ซึ่งคําว่า “ชมพู” นั้นได้มาจากเนื้อในของลูกหว้าที่มีสีชมพู โดยชาวอินเดียมักถูกเรียกว่า “ชาวฮินดูหรือชาวภารตะ” แต่คนไทยมักจะเรียกชาวอินเดียว่า “แขก”

51 ข้อใดไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชมพูทวีป

(1) เนปาล

(2) ศรีลังกา

(3) ปากีสถาน

(4) ทิเบต

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) ประเทศที่แบ่งแยกดินแดนมาจากชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียได้แก่ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล เป็นต้น

52 ประเทศอินเดียมีมาก

(1) เผ่าพันธุ์

(2) ภาษา

(3) ความเชื่อ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) ประเทศอินเดียมีชาวอินเดียที่ประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์หลายความเชื่อ และมีภาษาหลายร้อยภาษา ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีภาษามากที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้จึงทําให้วัฒนธรรมอินเดียมีความหลากหลายมาก และมีวัฒนธรรมแยกย่อยไปตามกลุ่มชน เผ่า ภาษา และความเชื่อต่าง ๆ มากมาย

53 ประเทศใดได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียมานานและยังคงอยู่ (1) มาเลเซีย

(2) จีน

(3) ไทย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23, 51, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลครอบคลุมและเป็นแม่แบบวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มอญ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย (เกาะบาหลี) มาเลเซีย จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เป็นต้น

54 วัฒนธรรมอินเดียมีวรรณะจัณฑาลต่ำสุด ซึ่งถูกจํากัดเรื่องใด

(1) อาชีพ

(2) การแต่งงาน

(3) สถานะทางสังคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24 – 25, 267, (คําบรรยาย) คนในวรรณะจัณฑาลในสังคมและวัฒนธรรมอินเดียมีสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ทุกข์ยาก ลําบาก ทํางานหนัก รายได้น้อย โดยวรรณะจัณฑาล ถูกจํากัดโดยศาสนาในหลายเรื่อง เช่น อาชีพการงาน มักเป็นอาชีพที่ต่ำ ลําบาก และคนทั่วไป ไม่อยากจะทํากัน ได้แก่ กวาดถนน เก็บขยะ ล้างส้วม สัปเหร่อ ฯลฯ, การแต่งงาน, สถานะทาง สังคมต่ำสุด และรัฐบาลก็พยายามแยกคนพวกนี้ออกจากสิทธิเสรีภาพอันพึงมีทางกฎหมายไม่ให้ทัดเทียมกับคนวรรณะอื่น ๆ ในสังคม

55 วัฒนธรรมอินเดียเชื่อว่าอาบน้ำล้างบาปที่ท่าน้ำเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุด (1) พาราณสี

(2) โอริสสา

(3) สาวัตถี

(4) กุสินารา

ตอบ 1 หน้า 26, (คําบรรยาย) ชาวฮินดูเชื่อว่าเมืองพาราณสีเป็นเมืองแห่งพระเจ้า เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ประชาชนจึงนิยมเลื่อมใสไปอาบน้ำล้างบาปที่ท่าอาบน้ำเมืองพาราณสีกันมากมาย ซึ่งชาวฮินดู มีความเชื่ออย่างแนบแน่นว่า การอาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคาจะล้างบาปที่ทํามาได้ โดยเฉพาะถ้าอาบในวันสุริยคราส จันทรคราส และศิวาราตรี จะถือเป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด

56 ในอดีตสตรีอินเดียถูกจํากัดสิทธิ แต่ปัจจุบันสตรีอินเดียดํารงตําแหน่งได้

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) หัวหน้าพรรคการเมือง

(3) นางงามโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 28, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสังคมอินเดียได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้นตามลําดับโดยสตรีได้รับการศึกษาและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมบุรุษหลายประการตามกฎหมาย ทําให้สตรีมีสิทธิได้เป็นผู้นําทางการเมือง ธุรกิจ และสังคมต่าง ๆ ได้ดํารงตําแหน่งสําคัญหลายตําแหน่ง เช่น นางอินทิรา คานรี เป็นสตรีฮินดูที่เคยดํารงตําแหน่งสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย,เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง เป็นนางงามโลก เป็นต้น

57 ในอดีตเมื่อสามีตายภรรยาหม้ายจะต้อง

(1) โกนศีรษะโล้น

(2) แต่งดําไว้ทุกข์ 1 ปี

(3) ถูกเผาทั้งเป็น

(4) ออกบวช

ตอบ 3 หน้า 30, (คําบรรยาย) ประเพณีโบราณของศาสนาฮินดูในอินเดีย เมื่อสามีตายภรรยาหม้าย รายการที่จะต้องถูกเผาทั้งเป็น โดยต้องกระโดดเข้ากองไฟที่เผาศพสามีตายตามสามีไปด้วย เพื่อแสดงถึงความซื่อสัตย์ภักดีต่อสามี ซึ่งประเพณีนี้ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อสมัยที่ประเทศอังกฤษปกครองอินเดียเพราะผู้ปกครองชาวอังกฤษสั่งให้เลิกเด็ดขาดด้วยเห็นว่าเป็นการโหดร้ายแก่ภรรยามากเกินไป

58 การทําศพด้วยการทิ้งถ่วงน้ำใช้กับศพที่ตาย คือ

(1) ถูกฆ่าตาย

(2) เป็นโรคระบาดตาย

(3) ศพเด็ก

(4) ฆ่าตัวตาย

ตอบ 3 หน้า 31 วัฒนธรรมการทําศพเด็กของชาวฮินดูนั้น พ่อแม่จะไม่นิยมเผา แต่จะนําผ้าขาวมาพัน มานา หรือห่อศพแล้วใส่เรือไปทิ้งกลางแม่น้ำ โดยใช้หินถ่วงศพให้จมลงสู่ก้นแม่น้ำคงคา ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะใช้กับศพที่เป็นเด็กอายุน้อยแล้วยังใช้กับศพที่ยากจนไม่มีเงินพอที่จะซื้อถ่านหรือฟื้น ที่มีราคาแพงมาเผาศพได้

59 วัฒนธรรมฮินดูคนวรรณะพราหมณ์ทําอาชีพใดได้

(1) ขอทาน

(2) อาจารย์

(3) นักการเมือง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24 – 25, 267, (คําบรรยาย) คนในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ และศูทร ไม่มีข้อห้ามในการประกอบอาชีพ โดยสามารถทําอาชีพต่าง ๆ ได้หากต้องการที่จะทํา เช่น ขอทาน อาจารย์ นักการเมือง กระเป๋ารถเมล์ คนเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น แต่คนในวรรณะจัณฑาลซึ่งเป็น พวกที่เกิดจากการแต่งงานกันของคนวรรณะสูงกับคนวรรณะต่ำ จะเป็นพวกที่ถูกจํากัดเรื่องอาชีพการงาน (ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ)

60 วัฒนธรรมอินเดียเป็นเลิศเรื่องการทอผ้า แคว้นที่มีชื่อเรื่องทอผ้ามานาน คือ

(1) แคว้นกาสี

(2) แคว้นแคชเมียร์

(3) แคว้นปัญจาบ

(4) แคว้นโอริสสา

ตอบ 1 หน้า 32 ชาวอินเดียรู้จักทอผ้าเลี้ยงไหม ทําผ้าแพร ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน และผ้าอื่น ๆ อีกมากโดยผ้าที่มีชื่อเสียงได้รับยกย่องว่าสวยงามราวกับมิใช้ฝีมือมนุษย์ และเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมาก ส่งออกไปขายยังต่างประเทศจนขึ้นชื่อในโลก คือ ผ้าแห่งแคว้นกาสี ซึ่งในปัจจุบันอินเดียก็ยังได้รับการยกย่องว่าผลิตผ้าได้มากและมีคุณภาพติดอันดับต้น ๆ ของโลก

61 วัฒนธรรมเรื่องอาหารของชาวอินเดีย ได้แก่

(1) เคี้ยวหมากพลู

(2) ดื่มนมวัวประจํา

(3) คนจํานวนมากยังใช้มือกินอาหาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 33 – 35 วัฒนธรรมเรื่องอาหารของชาวอินเดีย ได้แก่

1 มีอาหารว่างที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในโลก คือ การเคี้ยวหมากพลู

2 นิยมดื่มนมวัวเป็นประจํา และมีศิลปะในการนํานมมาดัดแปลงเปลี่ยนรูป เช่น เนยแข็ง – เนยข้น นมเปรี้ยว ฯลฯ

3 คนจํานวนมากยังใช้มือกินอาหาร

4 รับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว และเมื่อรับประทานเสร็จก็ล้างมือ แล้วมักจะเคี้ยวหมากล้างปาก เป็นต้น

62 สตรีฮินดูจะประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับตรงอวัยวะใดบ้าง

(1) จมูก

(2) นิ้วเท้า

(3) สะดือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 35, (คําบรรยาย) ในเวลาเทศกาลรื่นเริง ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ชาวอินเดียจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงาม มีสีฉูดฉาดเป็นจุดเด่น โดยเฉพาะสตรีอินเดียมีเครื่องประดับตกแต่งมากมายกว่าสตรีชาติใดในโลก กล่าวคือ มีเครื่องประดับตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เจาะสะดือใส่แหวนนิ้วเท้า แม้กระทั่งจมูกก็นิยมใส่เครื่องประดับ แต่ทั้งนี้จะไม่เจาะมุมริมฝีปาก

63 “คัมภีร์พระเวท” มีความหมายว่า “คัมภีร์แห่ง ”

(1) ความรัก

(2) ความรู้

(3) ความสําเร็จ

(4) ความสงบจิต

ตอบ 2 หน้า 260, 266 คัมภีร์ของศาสนาฮินดู คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งมีความหมายว่า “คัมภีร์แห่งความรู้” มีเนื้อหาสาระสําคัญเกี่ยวกับวิถีแห่งการดํารงชีวิตของชาวฮินดูตั้งแต่เกิดจนตาย และการจัดระเบียบสังคมและชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ตลอดจนหน้าที่ของแต่ละชนชั้นนั้น ๆ อันเป็นจุดกําเนิดของความเชื่อทางศาสนาในเรื่องระบบชนชั้นวรรณะ ซึ่งมีปรากฏเป็นคําสอนและให้ ถือปฏิบัติสืบต่อมาหลายพันปี โดยเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

64 เทพองค์ใดไม่ได้อยู่ใน “โอม”

(1) พระพิฆเนศ

(2) พระศิวะ

(3) พระพรหม

(4) พระนารายณ์

ตอบ 1 หน้า 265, 273, (คําบรรยาย) “โอม” เกิดจากการเรียกพระนามของเทพเจ้าสูงสุดของ ศาสนาฮินดู 3 องค์ ซึ่งรวมเรียกว่า “ตรีมูรติ” ได้แก่

1 พระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งในจักรวาล

2 พระนารายณ์ (พระวิษณุ) ผู้รักษาทุกสิ่งในจักรวาล

3 พระศิวะ (พระอิศวร) ผู้ทําลายทุกสิ่งในจักรวาล

65 “บทเพลงอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับแล้ว” หมายถึงคัมภีร์

(1) พระเวท

(2) อุปนิษัท

(3) ภควัทคีตา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 271, (คําบรรยาย) “ภควัทคีตา” แปลตามตัวได้ว่า “บทเพลงอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับแล้ว” ซึ่งสาเหตุที่มีชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่าเนื้อหาสารัตถะของคัมภีร์นี้เป็นคําพูดของ พระกฤษณะ และเมื่อพระกฤษณะเป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุบรมเทพ (พระนารายณ์) คัมภีร์นี้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นคัมภีร์ที่บรรจุคําสอนที่บรมเทพเป็นผู้ประทาน เป็นเทววจนะและย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวของมันเอง

66 ข้อใดไม่ได้อยู่ในนารายณ์ 10 ปาง

(1) เต่า

(2) หมูป่า

(3) งู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 278 – 280, (คําบรรยาย) ชาวฮินดูผู้นับถือนิกายไวษณวะ มีความเชื่อว่า พระนารายณ์(พระวิษณุ) ลงมาจุติยังโลก เพื่อปราบอธรรมและช่วยเหลือมนุษย์ 10 ครั้ง เรียกว่า พระนารายณ์อวตาร 10 ปาง ได้แก่

1 ปางมัตสยา (ปลา)

2 ปางกูรมะ (เต่า)

3 ปางวราหะ (หมูป่า)

4 ปางนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงโต)

5 ปางวามนะ (คนค่อม) 6. ปางภาราสูราม (พราหมณ์)

7 ปางทศราชาราม (พระราม)

8 ปางกฤษณะ (พระกฤษณะ)

9 ปางพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า/เจ้าชายสิทธัตถะ)

10 ปางกัลกี (พระกัล/พระศรีอริยเมตไตรย)

67 ประเทศอินเดียให้วัน…เป็นวันหยุดราชการ

(1) เจ้าแม่กาลี

(2) เจ้าแม่อุมาเทวี

(3) เจ้าแม่ทุรคา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เจ้าแม่ทุรคา เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ซึ่งเป็นที่นับถือของคนอินเดียมากจนให้วันบูชาเจ้าแม่ทุรคาเป็นวันหยุดราชการเพื่อทําพิธีเฉลิมฉลองให้เจ้าแม่ทุรคา เรียกว่า เทศกาลนวราตรีคุเซราห์ ส่วนในประเทศไทยงานฉลองนี้จะมีขึ้นประจําทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขกสีลม) โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและสิ่งบูชาต่าง ๆ

68 มหายัญไม่บูชายัญสัตว์ใด

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) ควาย

(4) โค

ตอบ 3 หน้า 283 “มหายัญ” คือ การบูชายัญเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู โดยมีการบูชายัญด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

1 อัศวเมธะ คือ การฆ่าม้าบูชายัญ

2 โคเมธะ คือ การฆ่าโคบูชายัญ

3 ราชสูยะ คือ การฆ่าช้างบูชายัญ

4 นรเมธะ คือ การฆ่าคนบูชายัญ

69 ข้อใดไม่ได้อยู่ในนิกายศักติ

(1) พระพาย

(2) พระเพลิง

(3) พระอินทร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 281 นิกายศักติ คือ นิกายที่นับถือเทพี (เทพเจ้าที่เป็นหญิง) ซึ่งมีลักษณะ 2 แบบ คือ

1 เป็นเทพมารดา (ภาคฝ่ายดี) ให้ความรัก เมตตา อบอุ่น ฯลฯ เช่น พระสุรัสวดี(เทพีแห่งความงาม ความเจริญ ศิลปะและปัญญา), พระลักษมี (เทพีแห่งความสุขในชีวิตสมรส ความเจริญร่ำรวย ความอุดมสมบูรณ์พูนสุข และความงาม), พระอุมาเทวี (เทพีแห่งมารดาแห่งการให้ การช่วยเหลือ) รวมทั้งพระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ ฯลฯ

2 เป็นเทพแห่งการลงโทษผู้ที่ทําชั่ว (ภาคฝ่ายร้าย) ได้แก่ พระแม่ทุรคา และพระแม่กาลี

70 พุทธศาสนาเป็นศาสนา

(1) อเทวนิยม

(2) ไม่นับถือเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด

(3) ไม่ปฏิเสธความมีอยู่ของผี-เทวดา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 290, 294, 310 – 313 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม มีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 ไม่นับถือบูชาผีสางเทวดา หรือเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด (แต่ก็มิได้ปฏิเสธความมีอยู่ของผีสาง-เทวดาหรือเทพเจ้า เพียงแต่สอนว่าไม่ใช่ทางนําไปสู่การหลุดพ้น)

2 เชื่อเรื่องกรรมลิขิต โดยพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธเรื่อง “พรหมลิขิต” ของศาสนาฮินดู

3 เชื่อว่ามนุษย์จะเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏตลอดไปจนกว่าจะหลุดพ้นกิเลสและอวิชชาโดยการเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดนี้ ชาวพุทธจึงเชื่อเรื่องอดีตชาติและชาติหน้า เป็นต้น

71 ข้อใดไม่ใช่เทวทูต 4

(1) ทารก

(2) คนแก่

(3) คนตาย

(4) นักบวช

ตอบ 1 หน้า 292 293 เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อพระชนมายุได้ 29 ชันษา พระองค์ทรงพบเห็น“เทวทูตทั้ง 4” คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ซึ่งทําให้เจ้าชายทรงเห็นสัจธรรม แห่งชีวิตของมนุษย์ว่าไม่พ้นความแก่ ความเจ็บ และความตายไปได้ และหนทางที่จะค้นพบวิธี พ้นทุกข์ตลอดกาลนั้น ก็คือ การสละชีวิตทางโลก ออกบําเพ็ญพรตเป็นนักบวชเพื่อค้นหาวิธี พ้นทุกข์นั้น โดยในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงบรรลุพระสัมมา สัมโพธิญาณ ตรัสรู้สําเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 35 ปี รวมเวลาบําเพ็ญเพียรปฏิบัติค้นหาทางพ้นทุกข์ 6 ปี

72 เจ้าชายสิทธัตถะทรงบําเพ็ญเพียร…ปี จึงสําเร็จเป็นพระพุทธเจ้า

(1) 5

(2) 6

(3) 7

(4) 9

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 ข้อใดไม่เกี่ยวกับ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”

(1) ปฐมเทศนา

(2) ปัญจวัคคีย์

(3) มาฆบูชา

(4) อาสาฬหบูชา

ตอบ 3 หน้า 293 294 พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาสําคัญแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ซึ่งเรียกชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” อันได้แก่ อริยสัจ 4 ประการ โดยทรงแสดงปฐมเทศนานี้ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี หลังจบพระธรรมเทศนาแล้วท่านโกณฑัญญะก็ได้ ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก และขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวกเป็นท่านแรกในพระพุทธศาสนา ทําให้เกิดพระรัตนตรัยครบทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นวันสําคัญทางพุทธศาสนา เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

74 พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ…

(1) กรรมลิขิต

(2) พรหมลิขิต

(3) อดีตชาติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

75 พระธรรมเจ็ดคัมภีร์ไม่เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) พระอภิธรรม

(2) สร้างถวายวัดแทนคุณมารดา

(3) เทศน์โปรดพญามาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 298 ชาวพุทธเชื่อว่าพระอภิธรรมเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสในเวลาขึ้นไปเทศน์โปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังนั้นชาวพุทธจึงถือกันเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้ ด้วยการสร้างหนังสือเทศนาย่อว่าด้วยพระอภิธรรมถวายวัดเพื่อแทนคุณมารดา ซึ่งเรียกกันว่า“พระธรรมเจ็ดคัมภีร์”

76 ธรรมยุตินิกาย มีนับถือในชนชาติมาก

(1) ทิเบต

(2) มอญ

(3) ศรีลังกา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 304, 306 นิกายหินยานหรือเถรวาท มีแตกออกเป็น 2 นิกายสําคัญ ได้แก่

1 ธรรมยุตินิกาย มีนับถือในชนชาติมอญมาก และแพร่หลายเข้ามาสู่เมืองไทยโดยพระเถระฝ่ายมอญที่อพยพมาอยู่เมืองไทยเพราะถูกพม่ารุกรานบ้านเมือง

2 นิกายลังกาวงศ์ มีนับถือในประเทศศรีลังกา และแพร่หลายเข้ามาสู่เมืองไทยในสมัยอาณาจักรสุโขทัย และมีอิทธิพลต่อพุทธศาสนาในประเทศไทยมาโดยตลอด

77 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) เป็นผู้คิดวิทยายุทธ คือ

(1) หมัดเมา

(2) ไท้เก็ก

(3) กังฟู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 308 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ได้นําวิธีการฝึกสมาธิจิตไปดัดแปลงเป็นการฝึกวิทยายุทธกําลังภายในของจีน ซึ่งเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เรียกว่า “กังฟู” โดยเชื่อว่า การฝึกกังฟูจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงสมบูรณ์ มีพละกําลังเข้มแข็งเกินกว่าธรรมดา

และด้วยเหตุนี้เองที่ทําให้พระมหายานในจีนนิยมฝึกวิทยายุทธกําลังภายในสืบต่อมา

78 พระพุทธเจ้าทรงแสดงผลกรรมไว้ว่าผู้มีรูปร่างขี้เหร่ ผิวพรรณทราม เพราะ

(1) ขี้โกรธ

(2) เคียดแค้น

(3) พยาบาท

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 313 314 พระพุทธเจ้าทรงแสดงผลกรรมไว้ว่า ผู้ที่มีรูปร่างขี้เหร่ มีผิวพรรณทรามเพราะเป็นคนขี้โกรธ เคียดแค้น พยาบาท ส่วนผู้ที่มีความงาม มีผิวพรรณดี เพราะเป็นคนไม่โกรธ ไม่เคียดแค้น ไม่พยาบาท

79 พระสังฆราชองค์ปัจจุบันอยู่ในนิกายใด

(1) มหานิกาย

(2) ธรรมยุตินิกาย

(3) มหายาน

(4) ลังกาวงศ์

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่ม ดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สังกัด พุทธศาสนาธรรมยุตินิกาย

80 แนวปฏิบัติของศาสดาและนักบวชของศาสนาเชน คือ

(1) อัตตกิลมถานุโยค

(2) ทรมานตนสุดโต่ง

(3) อหิงสา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 329, 335 แนวปฏิบัติของศาสดาและนักบวชของศาสนาเชน คือ

1 มีแนวปฏิบัติที่เน้นหนักเคร่งครัดแบบอัตตกิลมถานุโยคหรือการปฏิบัติทรมานตนอย่างสุดโต่งเพื่อให้สามารถบรรลุธรรมได้

2 แกนกลางและศูนย์กลางแห่งความเชื่อและคําสั่งสอน คือ “อหิงสา” ซึ่งหมายถึง“การไม่ทําร้าย” แต่หมายถึงความเคารพต่อชีวิตและผู้มีชีวิต เป็นต้น

81 ผู้นับถือศาสนาเชน มีแนวปฏิบัติที่เคร่ง คือ

(1) ไม่ฆ่าสัตว์

(2) ไม่ทําร้ายเบียดเบียนสัตว์

(3) ไม่กินนมสัตว์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 337 จากการที่ผู้นับถือศาสนาเชน (รวมทั้งศาสดาและนักบวช) ต้องรักษาศีลข้อแรก(ไม่ฆ่าและไม่ทําร้ายสิ่งมีชีวิตใด ๆ ด้วยคําพูด ความคิด หรือการกระทํา แม้ในการป้องกันตนเอง) และมีความเชื่อในอหิงสาอย่างแนบแน่นอยู่ในจิตใจนั้น จึงทําให้ชาวเชนสมถะพอเพียงและกลายเป็นนักมังสวิรัติ (ไม่กินเนื้อสัตว์และไม่ดื่มนมจากสัตว์) ตลอดชีวิต และไม่สามารถเป็นคนแล่เนื้อขาย อีกทั้งยังไม่สามารถเป็นกสิกร (ชาวไร่ชาวนา) ชาวประมง ขายผ้าไหม ขายเครื่องหนัง ขายนมสด หรืออาชีพอื่น ๆ ที่มีการทําลายชีวิตได้ ดังนั้นอาชีพที่เลือกทําส่วนใหญ่จึงมักจะเป็น พระ ครูอาจารย์ ศิลปิน พ่อค้า นักธุรกิจ นักบัญชี นายธนาคาร พยาบาล และแพทย์ ฯลฯ

82 ศาสดาศาสนาเชนได้รับยกย่องว่า “มหาวีระ” เพราะปราบได้

(1) ช้างเมามัน

(2) ม้าพยศ

(3) วัวกระทิงดุ

(4) งูจงอาง

ตอบ 1 หน้า 330, (คําบรรยาย) มหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชนมีพระนามเดิมว่าเจ้าชายวรรธมานะหรือวัธมานะ เกิดในวรรณะกษัตริย์ พระนาม “มหาวีระ” แปลว่า มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่กล้าหาญ ซึ่งเหตุที่ได้รับขนานนามว่า พระมหาวีระผู้กล้าหาญมาก เพราะในขณะเมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น พระองค์เคยปราบช้างพลายเมามันที่วิ่งพลัดเข้ามาในอุทยาน โดยสามารถขึ้นขี่ช้างพลายนั้นและบังคับไปสู่โรงช้างได้อย่างเรียบร้อย โดยมิได้แสดงพระอาการเกรงกลัวแต่อย่างใด

83 ชื่อใดหมายถึงศาสดาศาสนาเชน

(1) ตีรถังกร

(2) เดียรถีย์

(3) มหาวีระ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 330 ในคัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงศาสดาองค์ก่อน ๆ และนักบวชของศาสนาเชนซึ่งชาวเชนเรียกว่า “ตรถังกร” ซึ่งแปลว่า ผู้มีสํานักอยู่ริมฝั่ง เป็นผู้ปราศจากเครื่องนึ่งรัด คือกิเลส เป็นผู้หลุดพ้น และมีวิญญาณอมตะ แต่ชาวพุทธในสมัยพุทธกาลนั้นจะเรียกศาสดา

ของศาสนาเชน (มหาวีระ) ว่า “เดียรถีย์” ซึ่งหมายถึง เจ้าลัทธิ

84 “มานะ” ของศาสนาเชน หมายถึง

(1) ความอดทน

(2) ความพยายาม

(3) ความถือตัว

(4) ความขยัน

ตอบ 3 หน้า 333 กิเลสในศาสนาเชน เรียกว่า กษายะ ซึ่งมีอยู่ 4 อย่าง คือ

1 โลภะ คือ ความโลาหรือความอยากได้

2 โกรธะ คือ ความโกรธ

3 มานะ คือ ความถือตัว

4 มายา คือ ความหลง

85 ศาสนาเชนเชื่อว่า “ความตายที่บริสุทธิ์” ได้แก่

(1) อดอาหารจนตาย

(2) เผาตัวตาย

(3) โดดน้ำตาย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 338, (คําบรรยาย) ศาสนาเชนเชื่อว่า “ความตายที่บริสุทธิ์” ได้แก่ ความตายโดยการทรมานร่างกายด้วยการอดอาหารจนตาย และถือเป็นการบําเพ็ญเพียรเพื่อตัดกิเลสและสะสมบุญ

86 ชายผู้นับถือศาสนาซิกข์ผู้มีแนวปฏิบัติตามกําหนดของศาสนาจะ (1) สวมกําไลเหล็ก

(2) โพกศีรษะ

(3) ไม่ใช้เสื้อผ้าสีแดง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 348 349, (คําบรรยาย) คุรุโควินทสิงห์ เป็นศาสดาของศาสนาซิกข์ที่ให้ศีล 21 ข้อ ซึ่งเป็นศีลประจําชีวิตที่ชายผู้นับถือศาสนาซิกข์ทุกคนถือปฏิบัติ เช่น

1 มี “ก 5 ประการ” ไว้กับตน คือ เกศ (ไว้ผมยาว) กังฆา (หวี) กฉา (กางเกงขาสั้น) กรา (สวมกําไลเหล็ก) และกฤปาน (ดาบ)

2 ห้ามใช้สีแดง เพราะเป็นสีที่หมายถึงความรัก ความเมตตา ซึ่งขัดต่อนิสัยนักรบ

3 ให้ใช้คําว่า “สิงห์” ต่อท้ายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

4 ให้โพกศีรษะ ห้ามเปลือยศีรษะ นอกจากเวลาอาบน้ำ

5 ห้ามตัดหรือโกนผม หนวด และเครา ฯลฯ

87 ข้อใดไม่ใช่แนวปฏิบัติที่ศาสนาซิกข์กําหนด

(1) เลิกคลุมศีรษะและปิดหน้าของสตรี

(2) สตรีไม่ต้องจ่ายสินสอดให้ชาย

(3) ชายมีภรรยาได้ไม่เกิน 2 คน

(4) เลิกชั้นวรรณะ

ตอบ 3 หน้า 340, 345, 353, (คําบรรยาย) แนวปฏิบัติหรือหลักการดํารงชีวิตของศาสนาซิกข์ ได้แก่

1 เป็นผู้กล้าหาญและผู้เสียสละ

2 ชายมีภรรยาได้แค่คนเดียว

3 สตรีไม่ต้องคลุมศีรษะและปิดหน้าเมื่อออกนอกบ้าน

4 ไม่มีชั้นวรรณะ

5 สามีภรรยามีสิทธิเท่าเทียมกัน

6 สตรีไม่ต้องจ่ายค่าสินสอดสู่ขอชาย ฯลฯ

88 ผู้นับถือศาสนาซิกข์อาศัยอยู่ในแคว้นมากที่สุดในประเทศอินเดีย

(1) แคชเมียร์

(2) โอริสสา

(3) ปัญจาบ

(4) อัสสัม

ตอบ 3 หน้า 341 ในปัจจุบันผู้นับถือศาสนาซิกข์มีอยู่กระจัดกระจายทั่วโลก ในประเทศอินเดียมีผู้นับถือศาสนาซิกข์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแคว้นปัญจาบมากที่สุด ทั้งนี้เพราะแคว้นปัญจาบเป็น แหล่งที่เกิดของศาสนา และที่สําคัญก็คืออักษรและภาษาของแคว้นปัญจาบที่เป็นภาษาประจําถิ่น ก็มาจากศาสนาซิกข์ นอกจากนี้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาซิกข์ที่สําคัญส่วนใหญ่สร้างขึ้นในแคว้นปัญจาบแทบทั้งสิ้น

89 คัมภีร์ที่ถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากที่สุดคือคัมภีร์

(1) พระเวท

(2) โทรา

(3) ไบเบิล

(4) อัล-กุรอาน

ตอบ 3 หน้า 382 คัมภีร์ไบเบิลถูกแปลออกเป็นหลายร้อยภาษาและครอบคลุมภาษาหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ชาวคริสต์เกือบทุกคนจะรู้เรื่องราวและข้อธรรมต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิล และถือว่า เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด

90 “หากชนะใจตัวเองได้ก็จะชนะทุกสิ่ง” เป็นคําสอนของ

(1) มหาวีระ

(2) คุรุนานัก

(3) โมเสส

(4) ขงจื้อ

ตอบ 1 หน้า 335, 338 คําสอนของมหาวีระศาสดาของศาสนาเชน ได้แก่

1 ทรงสอนเน้นเรื่องการเอาชนะ อันหมายถึงการเอาชนะใจตนเอง โดยกล่าวว่า “มันเป็นการยากที่จะเอาชนะใจตนเอง แต่เมื่อใดเอาชนะได้แล้วทุกอย่างก็ถูกเอาชนะด้วย”

2 ทรงสอน “ให้ใช้ชีวิตอย่างคนป่วย” โดยกล่าวว่า “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบายเท่ากับความเจ็บป่วย”

3 ทรงสอนว่า “สตรีเพศเป็นเหตุแห่งบาป” และปฏิเสธการปฏิบัติธรรมของสตรี เป็นต้น

 

91 “ให้ใช้ชีวิตอย่างคนป่วย” เป็นคําสอนของ

(1) มหาวีระ

(2) คุรุนานัก

(3) โมเสส

(4) ขงจื้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

92 “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นคําสอนของ

(1) มหาวีระ

(2) คุรุนานัก

(3) โมเสส

(4) ขงจื้อ

ตอบ 3 หน้า 376 377 คําสอนของโมเสสศาสดาของศาสนายูดาห์ ได้แก่

1 “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”

2 “เจ้าจะไม่ประพฤติผิดประเวณี”

3 “เจ้าจงรักเพื่อนบ้านและเกลียดศัตรูของเจ้า” เป็นต้น

 

93 “บูชาเซ่นไหว้ผีสางเทวดาตามเทศกาลประเพณีได้แต่ให้อยู่ห่าง ๆ” เป็นคําสอนของ

(1) มหาวีระ

(2) คุรุนานัก

(3) โมเสส

(4) ขงจื้อ

ตอบ 4 หน้า 248 249, (คําบรรยาย) คําสอนของขงจื้อศาสดาของศาสนาขงจื้อ ได้แก่

1 สอนให้ประชาชนทําพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และให้ถือว่าการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษเป็นหน้าที่ของลูกหลานผู้สืบสกุล ต้องทําเป็นประจําทุกปี และทุกเทศกาล

2 สอนให้ชาวจีนทําพิธีบวงสรวงเทพเจ้าตามจารีตประเพณีของชาวจีนในสมัยโบราณแต่สอนว่า “จงเคารพบูชาผีและเทพเจ้า แต่ควรอยู่ให้ห่าง ๆ” (ไม่งมงาย) เป็นต้น

94 ศาสนาที่ถูกตําหนิว่าเป็น “นกมีหู-หนูมีปีก” คือศาสนา

(1) เชน

(2) ซิกข์

(3) ยูดาห์

(4) คริสต์

ตอบ 2 หน้า 341, 344, (คําบรรยาย) คุรุนานัก (ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์) เดิมนั้นนับถือศาสนาฮินดู แต่ท่านได้หาวิธีที่จะทําให้ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นพวกเดียวกัน เลิกรบราฆ่าฟันและเป็นศัตรูกัน โดยได้ก่อตั้ง ศาสนาซิกข์ขึ้นมา ซึ่งท่านนําหลักการของทั้งฮินดูและอิสลามมาประยุกต์ปรับปรุงให้เข้ากัน แล้วเพิ่มหลักธรรมของท่านลงไป ซึ่งทําให้จักรพรรดิโอรังเซป กษัตริย์มุสลิมทรงประณาม ศาสนาซิกข์ว่าเป็นเหมือนค้างคาว หรือพวก “นกมีหู หนูมีปีก” คือ เป็นฮินดูก็ไม่ใช่เป็นอิสลามก็ไม่ใช่

95 “สตรีเป็นเหตุแห่งบาป” เป็นคําสอนของศาสนา

(1) ฮินดู

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) ชินโต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

96 “แขนคือดาบ” เป็นคํายกย่องชายผู้นับถือศาสนา

(1) ฮินดู

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) ชินโต

ตอบ 2 หน้า 340 341 ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาที่มีอายุน้อยที่สุดในบรรดาศาสนาทั้งหลายในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาที่เกิดจากการถูกบีบบังคับทางการเมืองและถูกคนในศาสนาอื่น บังคับขู่เข็ญ อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ผู้นับถือชายเกือบทุกคนเป็นนักรบในสมัยที่ตั้งศาสนา ตอนแรก ๆ จึงกลายเป็นศาสนาของผู้กล้าหาญ ผู้เสียสละ และเป็นศาสนาของทหารหรือนักรบ โดยทหารซิกข์นับเป็นทหารชั้นหนึ่งของอินเดียจนกระทั่งได้รับสมญาว่า “แขนคือดาบ”

97 “สามีภรรยาเท่าเทียมกัน” เป็นแนวปฏิบัติของศาสนา

(1) พุทธ

(2) ซิกข์

(3) ยูดาห์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87 ประกอบ

98 “สุวรรณวิหาร” เป็นศาสนสถานที่สําคัญของศาสนา

(1) ฮินดู

(2) ซิกข์

(3) เชน

(4) พุทธ

ตอบ 2 หน้า 346 คุรุอรชุน (ศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์) เป็นผู้สร้าง “สุวรรณวิหาร” หรือ“หริมณเฑียร” ขึ้นกลางสระอมฤต ซึ่งเป็นวิหารหรือวัดที่สวยงามมาก มีประตูสี่ด้าน ไม่มี รูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นสีทองอร่ามไปทั่วทั้งวิหารทั้งภายนอกและภายใน ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และถือเป็นศาสนสถานที่สําคัญที่สุดของศาสนาซิกข์

99 ศาสนาเชนข้อใดไม่เปลือย

(1) ศาสดา

(2) นักบวช

(3) ผู้นับถือ

(4) รูปเคารพ

ตอบ 3 หน้า 340, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน มีนิกายที่สําคัญอยู่ 2 นิกายใหญ่ ๆ คือ นิกายเศวตัมพร(นิกายนุ่งขาวห่มขาว) และนิกายทิคัมพร (นิกายนุ่งลมห่มฟ้าหรือนักบวชแบบชีเปลือย) โดยมีรูปเคารพในศาสนาเชนเป็นรูปองค์ศาสดามหาวีระเปลือยกาย เป็นสัญลักษณ์

100 ผู้ประกาศให้มนุษย์นับถือพระเจ้าองค์เดียวคนแรก คือ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 หน้า 361, 368 369, (คําบรรยาย) อับราฮัม ศาสดาของศาสนายูดาห์เป็นคนแรกที่ประกาศให้ชาวยิวทําดังนี้

1 ให้ชาวยิวทั้งปวงศรัทธานับถือในพระเจ้าองค์เดียว

2 ให้ชายยิวทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ โดยอับราฮัมถือเป็นผู้ที่ขริบปลายอวัยวะเพศคนแรก

3 ให้ชาวยิวถือศีลอด โดยให้ถือศีลอดเป็นเวลา 10 วัน

PHI1001 วัฒนธรรมและศาสนา s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1001 วัฒนธรรมและศาสนา

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 รัฐบาลประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวัน

(1) วันพ่อแห่งชาติ

(2) วันชาติของไทย

(3) วันหยุดราชการ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรี ได้กําหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ และเป็นวันสําคัญของชาติ คือ เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ 9 เป็นวันชาติของไทย และเป็นวันพ่อแห่งชาติ

2 พระสังฆราชองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่

(1) 19

(2) 20

(3) 21

(4) 22

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สังกัดพุทธศาสนาธรรมยุตินิกาย

3 พระสังฆราชองค์ปัจจุบันอยู่ในนิกาย

(1) มหายาน

(2) มหานิกาย

(3) ธรรมยุติ

(4) ลังกาวงศ์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 ช่วงเวลาถวายบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ที่สนามหลวงมีประชาชนจํานวนมากมีจิตอาสาเก็บคัดแยกขยะ นับเป็นวัฒนธรรม

(1) คติธรรม

(2) สหธรรม

(3) เนติธรรม

(4) วัตถุธรรม

ตอบ 2 หน้า 125, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมสหธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ครอบครัวสาธารณชนและประเทศชาติ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่นท้องถิ่น การแข่งขันกีฬา และจรรยามารยาทหรือกิริยามารยาทต่าง ๆ ในสังคม เช่น การที่ประชาชนจํานวนมาก มีจิตอาสาเก็บคัดแยกขยะในช่วงเวลาถวายบังคมพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ที่สนามหลวง, ประชาชนพร้อมใจกันแต่งชุดดําไว้ทุกข์ถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9, การลุกให้เด็ก คนชรา หญิงมีครรภ์นั่งในรถเมล์

5 การเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไปที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ฯลฯ สภาพของสนามหลวงโดยทั่วไป ข้อใดเป็นวัฒนธรรม

(1) มีนกพิราบมาหาอาหารจํานวนมาก

(2) มีคนจรจัดมานอนกลางคืนจํานวนมาก

(3) มีเสาไฟฟ้าริมทางโดยรอบจํานวนมาก

(4) ถูกทุกข้อ ตอบ 3 หน้า 8 – 10, (คําบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ที่อยู่รวมกันในรูปขององค์กรทางสังคมสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้ดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ หรือหมายถึง วิถีชีวิตความ เจริญงอกงาม มรดกเห่งสังคม หรือการกระทําใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้ เช่น การที่ฝูงชนมาช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากภัยธรรมชาติ การนับถอยหลัง หรือเคาท์ดาวน์ (Countdown) การสวดมนต์ข้ามปี การปล่อยโคมลอย การผลิตยารักษาโรค (เช่น ชาวเขากินผนแก้ปวดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ, แพทย์ปัจจุบันใช้มอร์ฟีนระงับอาการปวดของ คนไข้) อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เสาไฟฟ้าริมทาง ฯลฯ ซึ่งในวัฒนธรรมทุกชนชาตินั้น ย่อมแสดงถึงสัญลักษณ์ ความเจริญ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาของคนในชาตินั้น แต่วัฒนธรรม จะไม่รวมถึงสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี (เช่น นักวิทยาศาสตร์ผลิตยาบ้าเรืองแสง ได้, การเล่นหวย) รวมทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติ (สัตว์และ พืช) หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น นกพิราบ คน อูฐ วัว ควาย ข้าวเปลือก อินทผลัม คลื่นยักษ์ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ เกาะ ทะเลทราย แม่น้ำ ถ้ำ ฯลฯ

6 สนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานที่จัดเป็นวัฒนธรรมราษฏร์ ได้แก่

(1) งานพระเมรุถวายพระเพลิง

(2) พิธีแรกนาขวัญ

(3) ทําบุญตักบาตรวันสงกรานต์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมราษฎร์หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้านแต่ละภาค มีดังนี้

1 ภาคเหนือ เช่น การแอ่วสาว การไหว้ผี การผูกข้อมือ การจุดโคมลอย การฟ้อนเล็บ สะล้อ ซอ ซึง เปิงมาง ฯลฯ

2 ภาคกลาง เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงอีแซว เพลงลูกทุ่ง เพลงรําวง นิทานพื้นบ้าน ลิเก ลําตัด รํากลองยาว การรําถวาย การทําบุญตักบาตรวันสงกรานต์ที่สนามหลวง ฯลฯ

3 ภาคอีสาน เช่น การผิดผี การไหว้ผีปู่ย่า การรําผีฟ้า การไล่ผีปอบ การแห่ผีตาโขน การแห่บั้งไฟ ซึ่ง การตีโปงลาง การเป่าแคน การเซ็ง ฯลฯ

4 ภาคใต้ เช่น ประเพณีเพลงบอก การสวดโอ้เอ้วิหารราย หนังตะลุง ลิเกป่า ลิเกตันหยง รํามโนราห์ ฯลฯ

7 ประชาชนพร้อมใจกันแต่งชุดดําไว้ทุกข์ถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 จัดเป็นวัฒนธรรม

(1) คติธรรม

(2) วัตถุธรรม

(3) สหธรรม

(4) เนติธรรม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

8 ประชาชนจํานวนมากตั้งใจ “จะทําความดีตามรอยพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 9” จัดเป็นวัฒนธรรม

(1) คติธรรม

(2) วัตถุธรรม

(3) สหธรรม

(4) เนติธรรม

ตอบ 1 หน้า 99 – 102, 104, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมคติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาบรรณ อันเป็นหลักหรือแนวทางดําเนินชีวิตที่ดีที่ควรยึดถือและควรปฏิบัติ ซึ่งพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยมากที่สุด ทั้งในด้านความเชื่อและคตินิยมทางศาสนา เช่น ประชาชนจํานวนมากตั้งใจว่า “จะทําความดีตามรอยพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 9” และ “ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป” ของรัชกาลที่ 9, พุทธสุภาษิต (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม คนดีผีคุ้ม คนดีตกน้ําไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้), สุภาษิตคติเตือนใจเกี่ยวกับการงาน (หนักเอาเบาสู้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง), สุภาษิตคติเตือนใจในการคบมิตร (เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก), สุภาษิตคติเตือนใจในการประพฤติ (ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว บวชก่อนเบียด โตไปไม่โกง) และคติธรรมสอนหญิง (รักนวลสงวนตัว)

9 ประชาชนจํานวนมากตั้งจิตว่า “ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป” ของรัชกาลที่ 9 จัดเป็นวัฒนธรรม

(1) คติธรรม

(2) วัตถุธรรม

(3) สหธรรม

(4) เนติธรรม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

10 ข้อใดเป็นโครงการในพระราชดําริของรัชกาลที่ 9

(1) แก้มลิง

(2) แกล้งดิน

(3) ชั่งหัวมัน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โครงการในพระราชดําริของรัชกาลที่ 9 ได้แก่ แก้มลิง แกล้งดิน ชั่งหัวมัน ฝนหลวง ฝายชะลอนํา หญ้าแฝก ฯลฯ

11 รัชกาลที่ 9 ครองราชย์นาน…ปี และมีพระชนมายุชันษา

(1) 70/89

(2) 60/89

(3) 70/90

(4) 60/90

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และนับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก คือ 70 ปี โดยเสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงพยาบาลศิริราช ขณะที่มีพระชนมายุ 89 ชันษา

12 รัชกาลที่ 10 ทรงครองราชย์เมื่อวันที่….. ธันวาคม พ.ศ. 2559

(1) 1

(2) 9

(3) 10

(4) 19

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (วันเฉลิมพระชนมพรรษาตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบันโดยรัฐบาลได้ประกาศให้ “ดอกรวงผึ้ง” เป็นดอกไม้ประจํารัชกาลที่ 10

13 วันเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ 10 ตรงกับวันที่……….พ.ศ. 2495

(1) 8 กรกฎาคม

(2) 18 กรกฎาคม

(3) 28 กรกฎาคม

(4) 29 กรกฎาคม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

14 รัฐบาลประกาศให้เป็นดอกไม้ประจํารัชกาลที่ 10

(1) ดอกรวงผึ้ง

(2) ดอกกรองทอง

(3) ดอกสร้อยทอง

(4) ราชาวดี

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

15 รัชกาลที่ 9 ทรงนิพนธ์เพลงจํานวนมาก ข้อใดไม่ใช่เพลงพระราชนิพนธ์

(1) ชะตาชีวิต

(2) ชะตาฟ้า

(3) แสงเทียน

(4) ใกล้รุ่ง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) บทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 ได้แก่ ชะตาชีวิต แสงเทียน ใกล้รุ่ง อาทิตย์อับแสง ยามเย็น ยามค่ำ สายฝน สายลม ลมหนาว ฝัน รัก แผ่นดินของเรา เราสู้ พรปีใหม่ ฯลฯ

16 เอกลักษณ์ไทยที่รู้กันทั่วไป ได้แก่

(1) รักในหลวง

(2) ยิ้มสยาม

(3) มวยไทย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 63 – 64, 67 – 68, (คําบรรยาย) เอกลักษณ์ไทยที่รู้กันทั่วไป ได้แก่ มวยไทย เคารพสถาบัน พระมหากษัตริย์ รักในหลวง สุภาพอ่อนน้อม ยิ้มง่าย (ยิ้มสยาม) ยิ้มสู้-ยิ้มได้เมื่อภัยมา มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจบุญ เมตตากรุณา โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก สนุกสนาน ลืมง่าย มักให้อภัยเสมอ โกรธไม่นาน ซึ่งคนไทยให้อภัยจนชอบพูดติดปากเสมอว่า “ไม่เป็นไร”

17 ภูมิปัญญาไทย ได้แก่

(1) กังหันน้ำชัยพัฒนา

(2) ต้มยํากุ้ง

(3) ใช้พืชย้อมผ้า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภูมิปัญญาไทย คือ การใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวความคิดทางสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติ ความเป็นสังคม อันมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคม และทําให้ได้รู้หรือเข้าใจความเป็นมาของ ชนชาติไทยในอดีตมากขึ้น โดยภูมิปัญญาไทยนั้นจะมีอยู่ในทุกวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมหลวง และเอกลักษณ์ เช่น เรือนไทย วัดไทย ผ้าไทย (การใช้พืชย้อมผ้า ผ้าขาวม้า ผ้าไหม) คําไทย (พ่อ แม่ พี่ น้อง) อาหารไทย (ต้มยํากุ้ง) ยาไทย (ยาหอมแก้ลม) ดนตรีไทย กังหันน้ำชัยพัฒนา รถตุ๊ก ๆ ฯลฯ

18 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือ

(1) โปงลาง

(2) สะล้อ

(3) กลองยาว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

19 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมภาคอีสาน

(1) โปงลาง

(2) เปิงมาง

(3) กลองยาว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

20 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมภาคกลาง

(1) โปงลาง

(2) เปิงมาง

(3) กลองยาว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

21 ข้อใดเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรม

(1) บะหมี่เกี้ยว

(2) พิซซ่าหน้าปูอัด

(3) แซนวิชปลาทูน่า

(4) ต้มยํากุ้ง

ตอบ 2 หน้า 22, (คําบรรยาย) การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นวิธีการที่รับเอาวัฒนธรรมของสังคมอื่น มาปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่กระทํากันตามปกติสืบต่อกันมา เช่น เพลงไทยสากล, การใส่สายข้อมือ wristband, ดื่มกาแฟกับซาลาเปา, ดื่มกาแฟกับขนมครก, ดื่มกาแฟกับปาท่องโก, ดื่มชากับขนมเปี๊ยะ, ดื่มชากับขนมเค้ก, ดื่มน้ำเต้าหูกับขนมครก, ดื่มโค้กกับแฮมเบอร์เกอร์, บะหมี่ต้มยํา, สปาเกตตี้ราดซอส, พิซซ่าหน้าปูอัด, สปาเกตตี้ผัดขี้เมา,ส้มตําปูอัด, ส้มตําแครอท ฯลฯ

22 ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมที่ตายไปแล้ว

(1) มัดเท้าผู้หญิงให้เท้าเล็ก

(2) แม่สื่อหาคู่

(3) ขายทาส

(4) ทํามัมมี่ศพ

ตอบ 2 หน้า 16, 30, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมที่ตายไปแล้ว คือ วัฒนธรรมที่มนุษย์เลิกร้างและไม่มีการสืบสานนานแล้ว ทั้งนี้วัฒนธรรมอาจพบจุดจบหรือกลายเป็นวัฒนธรรมที่ตายไปแล้วได้ เช่น การมัดหรือรัดเท้าของเด็กหญิงชาวจีน การเผาแม่หม้ายทั้งเป็นเมื่อสามีตายของชาวฮินดู ในอินเดีย การทํามัมมีรักษาศพของชาวอียิปต์โบราณ การเปลือยอกของหญิงบาหลี การห้ามผู้หญิงมีตําแหน่งบริหารราชการในอัฟกานิสถาน การห้ามผู้หญิงขับรถในซาอุดิอาระเบีย รวมถึงอาณาจักรโบราณต่าง ๆ ที่ล่มสลายไปแล้ว ฯลฯ (ส่วนวัฒนธรรมการใช้แม่สื่อหาคู่

แต่งงานของชาวจีนนั้น เป็นวัฒนธรรมที่ยังคงมีอยู่)

23 ข้อใดไม่ใช่อารยธรรม

(1) โทรศัพท์มือถือ

(2) รถยนต์

(3) รถตุ๊ก ๆ

(4) เครื่องบิน

ตอบ 3 หน้า 14, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมกับอารยธรรมมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วขยายตัวขึ้นหรือเจริญแพร่หลายไปเป็นอารยธรรม หรืออารยธรรม เป็นความเจริญงอกงามที่เกิดจากการรวมตัวของวัฒนธรรม ดังนั้นอารยธรรมจึงมีลักษณะของ ความเป็นสากล หรือเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับนําไปใช้จนเป็นสากล เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย, กีฬาโอลิมปิก, กีตาร์, เปียโน, ไวโอลิน, โทรศัพท์มือถือ, รถยนต์, เครื่องบิน, การประกวดนางงามจักรวาล, การแข่งขันชิงแชมป์ฟุตบอลโลก, เครื่องหมาย กาชาดสีแดง, 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่, วันวาเลนไทน์, วันแรงงาน, เพลง Happy Birthday,

เสื้อครุยปริญญา, ชุดสูท, การจัดงาน World Expo ฯลฯ

24 พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อชาวไทยมากที่สุด ในวัฒนธรรม

(1) คติธรรม

(2) สหธรรม

(3) เนติธรรม

(4) วัตถุธรรม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

25 พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อความเชื่อของชาวไทย ข้อใดไม่ใช่

(1) กฎแห่งกรรม

(2) การเวียนว่ายตายเกิด

(3) พรหมลิขิต

(4) กรรมลิขิต

ตอบ 3 หน้า 294, 310 – 313, (คําบรรยาย) อิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อความเชื่อของชาวไทย คือ

1 เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด และการไม่จองเวร

2 เชื่อเรื่องกรรมลิขิต โดยปฏิเสธเรื่อง “พรหมลิขิต” ของศาสนาฮินดู

3 เชื่อเรื่องบุญ-บาป โดยปฏิเสธเรื่อง “การล้างบาป” ของศาสนาฮินดู

4 เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน โดยปฏิเสธเรื่องการแบ่ง “ชั้นวรรณะ” ของศาสนาฮินดู เป็นต้น

26 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่

(1) พิธีกรรม

(2) เทพเจ้า

(3) ประเพณีเทศกาล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59, 163, (คําบรรยาย) อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียและความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่ ภาษา วรรณกรรม อาหาร ที่อยู่อาศัย ความเชื่อ พิธีกรรม เทพเจ้า ศิลปะ ประเพณีเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น

27 วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ได้แก่

(1) ภาษา

(2) วรรณกรรม

(3) อาหาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

28 ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย

(1) พ่อ-แม่

(2) ต้มยํากุ้ง

(3) ผ้าขาวม้า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

29 วัฒนธรรมจีนที่ปรากฏในวิถีชีวิตไทย ได้แก่

(1) เทศกาลตรุษจีน

(2) เทศกาลกินเจ

(3) ก๋วยเตี๋ยว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมจีนที่ปรากฏในวิถีชีวิตไทย ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลกินเจ การกินข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว การใช้ตะเกียบ การใช้ถ้วยชามกระเบื้อง เป็นต้น

30 วัฒนธรรมตะวันตกที่ปรากฏในวิถีชีวิตไทย ข้อใดไม่ใช่

(1) กาแฟ

(2) ชาไข่มุก

(3) ขนมปัง

(4) Coke-Pepsi

ตอบ 2 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมตะวันตกที่ปรากฏในวิถีชีวิตไทย ได้แก่ เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลปีใหม่ การดื่มเบียร์ การดื่ม Coke-Pepsi การกินขนมปัง การใส่สูท การใช้น้ำหอม การเล่นกีฬา (ฟุตบอล บาสเกตบอล กอล์ฟ) การเล่นดนตรี ฯลฯ

31 ความหมายของประเทศอินเดีย ข้อใดไม่ใช่

(1) ประเทศแห่งต้นโพ

(2) ประเทศแห่งต้นหว้า

(3) ภารตวรรษ

(4) ดินแดนภารตะ

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) ประเทศอินเดียแต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “ชมพูทวีป” ซึ่งแปลว่า ประเทศแห่งต้นหว้า หรือภารตวรรษ หรือดินแดนภารตะ ซึ่งคําว่า “ชมพู” นั้นได้มาจากเนื้อในของลูกหว้าที่มีสีชมพู โดยชาวอินเดียมักถูกเรียกว่า “ชาวฮินดูหรือชาวภารตะ” แต่คนไทยมักจะเรียกชาวอินเดียว่า “แขก”

32 ข้อใดมิได้เป็นดินแดนเดิมของประเทศอินเดีย

(1) ทิเบต

(2) บังกลาเทศ

(3) เนปาล

(4) ศรีลังกา

ตอบ 1 หน้า 23, (คําบรรยาย) ประเทศที่แบ่งแยกดินแดนมาจากดินแดนเดิมของประเทศอินเดียได้แก่ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล เป็นต้น

33 วัฒนธรรมอินเดียมีความหลากหลายมาก เพราะ

(1) มีชนหลายเผ่าพันธุ์

(2) มีภาษามากหลาย

(3) มีความเชื่อหลากหลาย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23, (คําบรรยาย) ชาวอินเดียประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ หลายความเชื่อ และมีภาษาหลายร้อยภาษา อีกทั้งยังนับเป็นประเทศที่มีภาษามากที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้จึงทําให้วัฒนธรรมอินเดียมีความหลากหลายมาก และมีวัฒนธรรมแยกย่อยไปตามกลุ่มชน เผ่า ภาษาและความเชื่อต่าง ๆ มากมาย

34 วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อข้อใด

(1) อินโดนีเซีย

(2) บาหลี

(3) มาเลเซีย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 23, 51, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียมีอิทธิพลครอบคลุมและเป็นแม่แบบวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มอญ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย (เกาะบาหลี) มาเลเซีย จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยวัฒนธรรมอินเดียนั้นจะเข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมชาติต่าง ๆ โดยผ่านทางศาสนามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรม การบูชาเทพเจ้า และอื่น ๆ

35 วัฒนธรรมอินเดียแบ่งชนชั้นเป็นวรรณะซึ่งถูกกําหนดโดย

(1) สังคม

(2) ฐานะอาชีพ

(3) ชาติกําเนิด

(4) นักบวช

ตอบ 3 หน้า 24, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ให้เกิดมาต่างกันในชาติกําเนิด โดยพระพรหมเป็นผู้แบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต้องยอมรับต่อฐานะ แห่งชาติกําเนิดของตนที่พระพรหมกําหนดให้ โดยปฏิบัติตนดํารงชีวิตไปตามฐานะวรรณะ ของตนในสังคม เช่น คนในวรรณะสูงก็จะแบ่งแยกไม่คบหาสมาคม มั่วสุมกับคนวรรณะต่ำ อาชีพการงานก็ต้องทําจํากัดเฉพาะที่คนวรรณะต่ำควรทํา เป็นต้น

36 วัฒนธรรมอินเดียเชื่อว่าการอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะล้างบาปหมดสิ้นถ้าทําในวันใด

(1) วันเกิดตัวเอง

(2) วันสงกรานต์

(3) วันที่เกิดสุริยคราส

(4) วันเพ็ญลอยกระทง

ตอบ 3 หน้า 26, 284, (คําบรรยาย) ชาวอินเดียมีความเชื่ออย่างแนบแน่นว่า การอาบน้ำในแม่น้ำคงคาจะล้างบาปที่ทํามาได้ โดยเฉพาะถ้าได้อาบในวันสุริยคราส วันจันทรคราส และวันศิวาราตรี (ซึ่งตรงกับวันสําคัญทางพุทธศาสนาคือ วันมาฆบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) โดยเชื่อว่าบาปกรรมต่าง ๆ ที่ทํามาในอดีตจะหมดสิ้นไป จิตและกายจะบริสุทธิ์ เมื่อตายแล้วจะไปสู่สวรรค์

37 มารดาของมหาตมะ คานธี สอนว่าหากมือถูกจัณฑาลให้เอามือนั้นไปเช็ดที่…..จะหมดมลทิน

(1) แม่วัว

(2) คนวรรณะพราหมณ์

(3) คนนอกศาสนา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 26, (คําบรรยาย) ท่านมหาตมะ คานธี ในวัยเด็กมักจะไปถูกต้องตัวเด็กวรรณะจัณฑาลอยู่บ่อย ๆ ขณะไปโรงเรียน มารดาของท่านจึงสอนวิธีชําระล้างมลทินแบบย่อโดยให้ท่านเอามือ ไปเช็ดคนนอกศาสนาหรือคนนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น พวกมุสลิม ฯลฯ ก็จะถือว่าทําให้มลทินหมดไปจากตัวแล้ว

38 อาชีพที่คนจัณฑาลทําไม่ได้ ได้แก่

(1) คนรับใช้

(2) กระเป๋ารถเมล์

(3) คนขับรถเมล์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24, 267, (คําบรรยาย) อาชีพของคนวรรณะจัณฑาลมักเป็นอาชีพที่ต่ำ ลําบาก และคนทั่วไปไม่อยากจะทํากัน เช่น กวาดถนน เก็บขยะ ล้างส้วม สัปเหร่อ ดูแลป่าช้า เก็บศพ แบกศพ ขุดหลุมศพ ฝังศพ เผาศพ เก็บเถ้ากระดูก ขอทาน ฯลฯ ส่วนคนวรรณะอื่นไม่มีข้อห้ามในการประกอบอาชีพ เช่น คนวรรณะศูทรมีอาชีพเป็นกรรมกร คนรับใช้ ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง กระเป๋ารถเมล์ คนขับรถเมล์ คนเสิร์ฟอาหาร เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันคนวรรณะแพศย์ วรรณะกษัตริย์ หรือแม้แต่วรรณะพราหมณ์ก็สามารถทําอาชีพที่กล่าวมาข้างต้นได้เช่นกันหากต้องการจะทํา

39 วัฒนธรรมอินเดียลูกสาวจะไม่ได้มรดกจากพ่อแม่หรือได้น้อย เพราะ

(1) พ่อแม่ต้องจ่ายค่าสินสอดและค่าจัดงานแต่งงานให้ลูกสาว

(2) ลูกสาวแต่งงานไปแล้วจึงเป็นคนของสกุลสามี

(3) ลูกสาวไม่ได้สืบสกุลของพ่อแม่ตน

(4) ลูกสาวแต่งงานแล้ว ไม่ได้เลี้ยงดูพ่อแม่ตน

ตอบ 1 หน้า 29, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียในเรื่องการให้มรดกของตระกูลแก่ลูกสาวนั้น พบว่าลูกสาวจะไม่ได้มรดกจากพ่อแม่ หรือได้น้อยเพียง 1 ใน 4 ของลูกชาย ทั้งนี้เพราะพ่อแม่ต้อง เก็บสมบัติส่วนหนึ่งเพื่อไว้จ่ายค่าสินสอดและค่าจัดงานแต่งงานให้ลูกสาว ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ถ้าไม่มีถือเป็นเรื่องเสียหายและน่าอายมากในสังคมอินเดีย

40 วัฒนธรรมอินเดีย ผู้ทําหน้าที่เผาศพ ถูกถือว่าเป็น

(1) ผู้ไม่บริสุทธิ์

(2) ผู้รับใช้พระเจ้า

(3) ผู้ได้รับพลังจากพระเพลิง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 31 วัฒนธรรมประเพณีในการทําศพของชาวอินเดียนั้น ส่วนใหญ่นิยมเผาศพและไม่เก็บศพไว้นาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีความกลัวศพ ดังนั้นผู้ทําหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่กับศพจึงถูกถือว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ และจะต้องเก็บตัวจากโลกภายนอก

41 คนวรรณะพราหมณ์ทําอาชีพใดได้

(1) ขอทาน

(2) กวาดถนน

(3) เสิร์ฟอาหาร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

42 ศาสนาฮินดูเชื่อว่าคนวรรณะพราหมณ์เกิดจาก….ของพระพรหม

(1) ปาก

(2) หัวใจ

(3) แขน

ตอบ 1 หน้า 266 267 ระบบชนชั้นวรรณะของศาสนาฮินดู แบ่งคนออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 วรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากปากหรือศีรษะของพระพรหม

2 วรรณะกษัตริย์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากอกและแขนของพระพรหม

3 วรรณะแพศย์ เป็นวรรณะกลางที่เกิดจากตะโพกและขาของพระพรหม

4 วรรณะศูทร เป็นวรรณะตําที่เกิดจากเท้าของพระพรหม

43 ข้อใดเป็นอวตารของพระนารายณ์

(1) พระราม

2) พระกฤษณะ

(3) เจ้าชายสิทธัตถะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 278 – 280, (คําบรรยาย) ชาวฮินดูผู้นับถือนิกายไวษณวะ มีความเชื่อว่า พระนารายณ์(พระวิษณุ) ลงมาจุติยังโลก เพื่อปราบอธรรมและช่วยเหลือมนุษย์ 10 ครั้ง เรียกว่า พระนารายณ์อวตาร 10 ปาง ได้แก่

1 ปางมัตสยา (ปลา)

2 ปางกูรมะ (เต่า)

3 ปางวราหะ (หมูป่า)

4 ปางนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงโต)

5 ปางวามนะ (คนค่อม)

6 ปางภาราสูราม (พราหมณ์)

7 ปางทศราชาราม (พระราม)

8 ปางกฤษณะ (พระกฤษณะ)

9 ปางพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า/เจ้าชายสิทธัตถะ)

10 ปางกัลกี (พระกล/พระศรีอริยเมตไตรย)

44 ข้อใดไม่อยู่ในนิกายศักติ

(1) พระอุมาเทวี

(2) พระลักษมี

(3) พระพิฆเนศ

(4) พระแม่ธรณี

ตอบ 3 หน้า 281 นิกายศักติ คือ นิกายที่นับถือเทพี (เทพเจ้าที่เป็นหญิง) ซึ่งมีลักษณะ 2 แบบ คือ

1 เป็นเทพมารดา (ภาคฝ่ายดี) ให้ความรัก เมตตา อบอุ่น ฯลฯ เช่น พระสุรัสวดี : (เทพีแห่งความงาม ความเจริญ ศิลปะและปัญญา), พระลักษมี (เทพีแห่งความสุขในชีวิตสมรส ความเจริญร่ำรวย ความอุดมสมบูรณ์พูนสุข และความงาม), พระอุมาเทวี (เทพีแห่งมารดาแห่งการให้ การช่วยเหลือ) รวมทั้งพระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ ฯลฯ

2 เป็นเทพแห่งการลงโทษผู้ที่ทําชั่ว (ภาคฝ่ายร้าย) ได้แก่ พระแม่ทุรคา และพระแม่กาลี

45 ข้อใดเกี่ยวข้องกับพระศิวะ

(1) เจ้าแม่ทุรคา

(2) เจ้าแม่กาลี

(3) อุมาเทวี

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24, 273 – 275 ชาวอินเดียมีวัฒนธรรมความเชื่อว่าเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูมี 3 องค์ รวมเรียกว่า “ตรีมูรติ” ได้แก่

1 พระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งในจักรวาล พระพรหมมี 4 หน้า (4 พักตร์) โดยมีพระสุรัสวดี เป็นพระมเหสี

2 พระวิษณุ (พระนารายณ์) ผู้รักษาทุกสิ่งในจักรวาล พระวิษณุมี 4 มือ (4 กร)โดยมีพระลักษมีเป็นพระมเหสี

3 พระอิศวร (พระศิวะ) ผู้ทําลายทุกสิ่งในจักรวาล พระอิศวรมี 3 ตา (3 เนตร) ซึ่งตาที่สามอยู่ที่หน้าผาก โดยมีพระอุมาเทวี (เจ้าแม่ทุรคา เจ้าแม่กาลี) เป็นพระมเหสี และมีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ และพระขันทกุมาร

46 วันศิวาราตรี ตรงกับวันสําคัญของพุทธศาสนา คือ

(1) วิสาขบูชา

(2) มาฆบูชา

(3) อาสาฬหบูชา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

47 นารายณ์ 10 ปาง พระนารายณ์อวตารเป็น

(1) ปลา

(2) เต่า

(3) หมูป่า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

48 วัฒนธรรมอินเดียมีความเชื่อเกี่ยวกับวัว

(1) วัวและพราหมณ์ถูกสร้างขึ้นในวันเดียวกันโดยพระพรหม

(2) การฆ่าวัวจะบาปเท่ากับฆ่าพราหมณ์

(3) การกินเนื้อวัวเป็นสิ่งชั่วร้ายยิ่งกว่ากินเนื้อมนุษย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 288 ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าวัวและพราหมณ์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมในวันเดียวกันจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากัน ดังนั้นการฆ่าวัวจึงบาปเท่า ๆ กับการฆ่าพราหมณ์ และการรับประทาน เนื้อวัวนั้นชาวฮินดูถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายยิ่งกว่าการรับประทานเนื้อมนุษย์ วัวจึงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวฮินดู และทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากวัวล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

49 พาหนะของพระอินทร์ คือ

(1) ช้าง 3 เศียร

(2) ช้างเผือก

(3) ม้าขาว

(4) หงส์

ตอบ 1 หน้า 288 289, (คําบรรยาย) สัตว์ที่เป็นพาหนะของเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้แก่ วัว เป็นพาหนะของพระศิวะ, พญาครุฑและพญานาคเป็นพาหนะของพระวิษณุ, หงส์เป็นพาหนะ ของพระพรหม, นกยูงเป็นพาหนะของพระสุรัสวดี, หนูเป็นพาหนะของพระพิฆเนศ, สิงโต เป็นพาหนะของพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี, ควายเป็นพาหนะของพญายม (พญามัจจุราช) และช้างเอราวัณ (ช้าง 3 เศียร) เป็นพาหนะของพระอินทร์ ซึ่งสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู

50 พาหนะของพญายม คือ

(1) ควาย

(2) โค

(3) เสือโคร่ง

(4) เสือดํา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

51 วัฒนธรรมอินเดียในงานเลี้ยงอาหารจะเสิร์ฟ “หมาก” ตอนใด

(1) เริ่มเสิร์ฟก่อนอาหาร

(2) เสิร์ฟก่อนของหวาน

(3) เสิร์ฟเมื่อเสร็จงานเลี้ยง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 34 – 35 ธรรมเนียมในการรับประทานอาหารในครอบครัวอินเดีย จะรับประทานพร้อมกันทั้งครอบครัว เมื่อรับประทานเสร็จล้างมือแล้วมักจะเคี้ยวหมากล้างปาก ซึ่งในการเลี้ยงอาหาร ต่าง ๆ ของอินเดีย เมื่อมีการนําถาดใส่หมากพลูมาเสิร์ฟ ก็แสดงว่าการรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงสิ้นสุดลงแล้ว

52 วัฒนธรรมอินเดีย สตรีอินเดียจะประดับร่างกายอย่างไร

(1) ประดับตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า

(2) จะประดับร่างกายเฉพาะส่วนบนตั้งแต่เอว

(3) หญิงที่ยังไม่แต่งงานจะไม่ประดับนิ้วด้วยแหวน

(4) หญิงหม้ายจะไม่ใส่สร้อยคอ

ตอบ 1 หน้า 35, (คําบรรยาย) ในเวลาเทศกาลรื่นเริง ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ชาวอินเดียจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงาม มีสีฉูดฉาดเป็นจุดเด่น โดยเฉพาะสตรีอินเดียมีเครื่องประดับตกแต่งใส่แหวนนิ้วเท้า แม้กระทั่งจมูกก็นิยมใส่เครื่องประดับ แต่ทั้งนี้จะไม่เจาะมุมริมฝีปาก

53 ประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วย 4 เกาะใหญ่ เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เกาะ

(1) ฮอนชู

(2) คิวชู

(3) ชิโกกุ

(4) ฮอกไกโด

ตอบ 1 หน้า 48 ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะพื้นที่เป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่มากมายนับพันเกาะ โดยมีเกาะที่ใหญ่ที่สุดและสําคัญที่สุดอยู่ 4 เกาะ คือ เกาะฮอนชู (เกาะที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมของญี่ปุ่น) เกาะฮอกไกโด เกาะชิโกกุ และเกาะคิวชู โดยประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

54 ประเทศญี่ปุ่นมีภัยธรรมชาติร้ายแรงบ่อย ได้แก่

(1) แผ่นดินไหว

(2) พายุไต้ฝุ่น

(3) ภูเขาไฟระเบิด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 48, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นจะสอดคล้องและปรับตัวไปตามภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศบ่อย ๆ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ลมพายุ ไต้ฝุ่น ฯลฯ โดยเฉพาะแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นบ่อยมากจนต้องมีการฝึกสอนวิธีการหลบภัย หรือหนีภัยแผ่นดินไหวแก่เด็กญี่ปุ่นตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นอนุบาล จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น

55 ชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมในการสอนเด็ก ๆ ในโรงเรียนให้รู้วิธีหลบภัยธรรมชาติข้อใด

(1) แผ่นดินไหว

(2) พายุไต้ฝุ่น

(3) ภูเขาไฟระเบิด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

56 ชาวญี่ปุ่นมีคตินิยมเป็นเอกลักษณ์ ข้อใดไม่ใช่

(1) ชาตินิยม

(2) ภักดีจักรพรรดิ

(3) รักธรรมชาติ

(4) อนุรักษ์ไม่กินปลาใหญ่

ตอบ 4 หน้า 48, 237, (คําบรรยาย) คตินิยมและลักษณะนิสัยที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น ได้แก่ ชาตินิยม ภักดีจักรพรรดิ รักธรรมชาติ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา รักความสะอาด กล้าหาญทรหดอดทน ต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ อย่างจริงจัง

57 ชาวญี่ปุ่นมีนิสัยพฤติกรรมเป็นเอกลักษณ์รับรู้ทั่วไป ได้แก่

(1) มีระเบียบวินัย

(2) ตรงต่อเวลา

(3) รักความสะอาด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกเป็นหลานของ

(1) สุริยเทพ

(2) สุริยเทพี

(3) จันทรเทพ

(4) จันทรเทพ

ตอบ 2 หน้า 49, 235 ชาวญี่ปุ่นมีตํานานเชื่อว่าจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น ก็คือ สมเด็จพระจักรพรรดิยิมมูหรือยิมมูเทนโน ซึ่งเป็นหลานของสุริยเทพอะมะเตระสุ โดยจุติที่เกาะคิวชูพร้อมกับเพชร 1 เม็ด (หรือดวงแก้ว) ดาบ และกระจก เป็นของวิเศษสําคัญประจําตัวติดตัวมาจากสวรรค์ด้วย

59 ศาสนาชินโตเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) กามิ

(2) โทริ

(3) ศาลเจ้า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 50, 240 241. (คําบรรยาย) ตามศาสนสถานของศาสนาชินโตนั้น ก่อนจะถึงบริเวณของศาลเจ้าญี่ปุ่นที่ทางเข้าจะมีการสร้างประตูขึ้นเป็นสัญลักษณ์ เรียกว่า “โทริ” (TORI) อันถือว่าเป็นประตูวิญญาณ ซึ่งเกิดจากศรัทธาความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ผีสาง เทวดา และ วิญญาณทั้งหลายสิงสถิตอยู่ในธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ําลําธาร วีรบุรุษ บรรพบุรุษ และสัตว์ โดยเรียกวิญญาณเหล่านี้ว่า “กามิ” (KAMI)

60 ลัทธิบูชิโดเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ซามูไร

(2) ฮาราคีรี

(3) กามิกาเซ่

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51, (คําบรรยาย) อิทธิพลของลัทธิบูชิโดที่มีต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้แก่

1 วิถีทางแห่งนักรบซามูไร คือ “ยอมตายอย่างมีเกียรติดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ”

2 พิธีกรรมฆ่าตัวตายที่เรียกว่า “ฮาราคีรี”

3 การสละชีวิตตนเองของนักบินโดยการ ขับเครื่องบินพุ่งชนฝ่ายตรงข้ามให้ระเบิดไปพร้อมกันที่เรียกว่า “กามิกาเซ่”

4 ซามูไรไร้สังกัดหรือโรนิน ได้พัฒนาการมาเป็น “ยากูซ่า” ในปัจจุบัน เป็นต้น

61 งานศิลปะของญี่ปุ่นที่ได้รับการยกย่องทั่วโลก ได้แก่

(1) ดาบซามูไร

(2) สวนญี่ปุ่น

(3) จัดดอกไม้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 53 – 55, (คําบรรยาย) ศิลปะของญี่ปุ่นที่ได้รับยกย่องและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ได้แก่ การแกะสลักไม้ การทําหุ่นยนต์ (Robot) การทําดาบซามูไร การจัดสวนญี่ปุ่น การจัดดอกไม้ การชงน้ำชา การแสดงละครสวมหน้ากาก “โน” ฯลฯ

62 วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่น ข้อใดไม่ใช่

(1) กินปลาดิบ

(2) กินเนื้อดิบ

(3) กินเลือดดิบ

(4) กินไข่ดิบ

ตอบ 3 หน้า 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมในการบริโภคนั้น ชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตแบบเรียบง่าย กินอาหารตามสภาพธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อย นิยมกินผักดิบ เนื้อดิบ ปลาดิบ ไข่ดิบ กินข้าวปั้นก้อน ๆ ใช้จานไม้และไม้ไผ่ และบริโภคอาหารด้วยมือ

63 ประเทศญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นดินแดน 3 คําสอน (ศาสนา) ข้อใดไม่ใช่ 3 ศาสนานั้น

(1) ขงจื้อ

(2) เล่าจื้อ

(3) ชินโต

(4) พุทธศาสนา

ตอบ 2 หน้า 233 ประเทศญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่ง 3 คําสอน หรือ 3 ลัทธิศาสนา คือ ขงจื้อ พุทธ และชินโต โดยญี่ปุ่นได้รับศาสนาขงจื้อมาจากจีน และรับพุทธศาสนามาจากอินเดีย โดยผ่านมาทางจีน ส่วนศาสนาชินโตนั้นเป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชนชาติญี่ปุ่น

64 ศาสนาชินโตถือว่าเป็นเทพเจ้าในศาสนาชินโต

(1) พระพุทธเจ้า

(2) พระอรหันต์

(3) พระโพธิสัตว์

(4) เซียน

ตอบ 3 หน้า 52 วัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยทางอ้อม โดยผ่านทางพุทธศาสนามหายานที่จีนและเกาหลีเผยแผ่มาสู่ชาวญี่ปุ่น ด้วยเหตุที่พุทธศาสนามีลักษณะไม่บังคับ และยังปรับตัวให้เข้ากับลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น พระในพุทธศาสนาก็ไปร่วมพิธีทางลัทธิชินโต จนต่อมาชาวญี่ปุ่นจํานวนมากนับถือว่าพระโพธิสัตว์เป็นเทพเจ้าในศาสนาชินโต

65 ชาวญี่ปุ่นถือหลักว่า “บาปทุกอย่างอาจให้อภัยได้หากสํานึกผิด ยกเว้น”

(1) ขี้ขโมย

(2) ขี้โกหก

(3) ขี้เหนียว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 239 240 ตามหลักจริยธรรมของศาสนาชินโตนั้น ชาวญี่ปุ่นยกย่องความกล้าหาญในทุกรูปแบบ แต่ติเตียนว่าความขลาดเป็นบาป ดังคํากล่าวที่ว่า “บาปทุกอย่างทั้งใหญ่และเล็ก อาจจะได้รับอภัยด้วยการสํานึกผิด ยกเว้นความขลาดและการลักขโมย” อีกทั้งยังเคร่งครัด ในเรื่องความสะอาด โดยสอนว่าการเป็นคนไม่สะอาดนั้นเป็นบาป เพราะความไม่สะอาด เป็นความผิดต่อเทพเจ้า

66 ศาสนาชินโตสอนว่าเป็นบาป

(1) ไม่สะอาด

(2) ไม่ตรงต่อเวลา

(3) ไม่สุภาพอ่อนน้อม

(4) ไม่ขยัน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

67 ชาวจีนสมัยก่อนมีคตินิยมเรื่องการมีลูก ข้อใดไม่ใช่

(1) มีลูกมากจะยากจน

(2) มีลูกชายไว้สืบสกุล

(3) มีลูกเพื่อช่วยทํามาหากิน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 37, (คําบรรยาย) ประเทศจีนตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย เป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดา) และมีประชากรมากที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะชาวจีนสมัยก่อนมีคตินิยมในการมีลูกหลานมาก ๆ เพื่อมีลูกชายไว้สืบสกุล และช่วยทํามาหากิน

68 ชนชาติใดที่สามารถยกทัพมาตีรวมอาณาจักรจีนและปกครองอาณาจักรจีนได้นานที่สุด

(1) มองโกล

(2) เติร์ก

(3) แมนจู

(4) ทิเบต

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) ชนชาติมองโกลได้พยายามรวบรวมดินแดนและชนเผ่าต่าง ๆ ของชนชาติจีนไว้เป็นอาณาจักรเดียว แต่ยังยึดครองได้ไม่หมด ต่อมาชนชาติแมนจูเรืองอํานาจก็ได้ยกทัพมาตีและรวบรวมอาณาจักรจีนเป็นอาณาจักรเดียวในพื้นแผ่นดินอันกว้างใหญ่นี้ จวบจน เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าแมนจูเป็นชนชาติ ที่เคยปกครองอาณาจักรจีนยาวนานที่สุด อีกทั้งยังรับวัฒนธรรมจีนมากกว่าที่ชาวจีนได้รับวัฒนธรรมแมนจูอีกด้วย

69 ภูมิปัญญาจีนที่รู้จักและยกย่องไปทั่วโลก ข้อใดไม่ใช่

(1) เครื่องเคลือบถ้วยชาม

(2) เครื่องยาจีน

(3) เครื่องเทศ

(4) เครื่องมือฝังเข็ม

ตอบ 3 หน้า 37 – 38, 46 เอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวจีนที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักและยกย่องไปทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีน การเลี้ยงไหมและการใช้ฝ่ายทอผ้า การทําเครื่องเคลือบถ้วยชาม การรักษาโรคด้วยสมุนไพร (เครื่องยาจีน) และเครื่องมือฝังเข็ม การใช้ตะเกียบ การกินน้ำร้อน(ดื่มน้ำชา) การใช้เกี้ยะ เป็นต้น

70 เอกลักษณ์จีน ได้แก่

(1) ใช้ตะเกียบ

(2) อักษร

(3) ดื่มน้ำชา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

71 วัฒนธรรมจีนมีเชิดสิงโตในเทศกาล เพราะเชื่อว่า สิงโตเป็นสัตว์กายสิทธิ์นํา……มาให้

(1) สุขภาพแข็งแรง-อายุยืน

(2) อุดมสมบูรณ์

(3) ชัยชนะ

(4) สิ่งที่ปรารถนา

ตอบ 2 หน้า 40 – 41 ชาวจีนมีความเชื่อว่า สิงโตเป็นสัตว์กายสิทธิ์ที่มาจากสวรรค์ และนําความสุขสงบมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มาสู่บ้านเมือง จนถือเป็นประเพณีการเชิดสิงโตในงานฉลองรื่นเริงมงคลต่าง ๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน สารทจีน งานวันเกิด งานเปิดร้านค้ากิจการใหม่ เป็นต้น

72 ชาวจีนเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เทพเจ้าทั้งหลายด้วย “ส้มสีทอง” เพราะเชื่อว่าจะนํา…..มาให้

(1) โชคลาภ

(2) ชื่อเสียง

(3) ตําแหน่งอันมีเกียรติ

(4) มีลูกหลานมาก

ตอบ 1 หน้า 45 – 46, (คําบรรยาย) ผลไม้ ดอกไม้ และขนมที่ชาวจีนมักนิยมนํามาเซ่นไหว้ในเทศกาลตรุษจีนและเทศกาลต่าง ๆ เพราะถือว่าเป็นมงคลและมีความหมายดี เช่น

1 ผลท้อ เป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน และขจัดภูตผีปีศาจได้

2 ผลทับทิม เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญงอกงาม มีบุตรหลานบริวารมาก และช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมนําต้นทับทิมมาปลูกไว้หน้าบ้านเสมอ

3 ผลพลับ เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืน มีความสุขสงบถาวร

4 ผลส้ม ส้มสีทอง) เป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ทําให้มีโชคลาภ

5 ดอกเก๊กฮวย เป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน อายุยืน สดชื่นในชีวิต

6 ขนมเข่ง เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองมากขึ้นทุกปี

73 ข้อใดไม่ตรงกับความหมาย “หยิน-หยาง”

(1) ดิน-ฟ้า

(2) มีด-สว่าง

(3) ชาย-หญิง

(4) อ่อน-แข็ง

ตอบ 3 หน้า 241, (คําบรรยาย) ในสมัยโบราณชาวจีนมีความเชื่ออันเป็นความภาคภูมิของประเทศคือเชื่อว่า ประเทศจีนอยู่ใจกลางของโลก จึงทําให้เกิดความเชื่อว่าโลกมีวิญญาณสถิตอยู่ มีเพศเป็นหญิง เรียกว่า “หยิน” ซึ่งเป็นวิญญาณแห่งดิน ความมืด กลางคืน ดวงจันทร์ ฯลฯ และเนื่องจากการที่มนุษย์อาศัยอยู่บนโลก ชาวจีนจึงยกย่อง “หยิน” ว่ามีอํานาจเหนือกว่า “หยาง” ซึ่งเป็นเพศชายอันเป็นวิญญาณแห่งฟ้า ความสว่าง กลางวัน ดวงอาทิตย์ ฯลฯ ดังนั้นจึงกล่าว ได้ว่า “หยิน-หยาง” หมายถึง หญิง-ชาย, ดิน-ฟ้า, ความมืด-ความสว่าง, กลางคืน-กลางวัน,ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์, อ่อน-แข็ง, ดํา-ขาว ฯลฯ

  1. “…” สอนว่าเคารพบูชาเซ่นไหว้ผี-เทวดาได้ แต่ให้อยู่ห่าง ๆ (ไม่งมงาย)

(1) ขงจื้อ

(2) เล่าจื้อ

(3) เม่งจื้อ

(4) จวงจื้อ

ตอบ 1 หน้า 248 249, (คําบรรยาย) ปรัชญาและหลักคําสอนที่สําคัญของขงจื้อ ได้แก่

1 สอนให้ประชาชนทําพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และให้ถือว่าการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษเป็นหน้าที่ของลูกหลานผู้สืบสกุล ต้องทําเป็นประจําทุกปี และทุกเทศกาล

2 สอนให้ชาวจีนทําพิธีบวงสรวงเทพเจ้าตามจารีตประเพณีของชาวจีนในสมัยโบราณแต่สอนว่า “จงเคารพบูชาผีและเทพเจ้า แต่ควรอยู่ให้ห่าง ๆ” (ไม่งมงาย)

3 สอนหลักการปกครอง โดยมีความเห็นว่า การปกครองโดยนิติธรรมเนียม ควรนํามาใช้มากกว่าการปกครองแบบอํานาจและอาชญา เป็นต้น

75 ประธานาธิบดีจีนคนปัจจุบันชื่อ

(1) หลี ซื่อหมิง

(2) เติ้ง เสี่ยวผิง

(3) สี จิ้นผิง

(4) สี จิ้นหมิง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีของจีนคนปัจจุบัน คือ นายสี จิ้นผิง ซึ่งปัจจุบันเขายังดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน, ประธานคณะกรรมาธิการกลางการทหาร, อธิการบดีโรงเรียนพรรคกลาง และดํารงตําแหน่งเป็นสมาชิกระดับสูงสุดของสํานักงานเลขาธิการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

76 ผู้นับถือศาสนาซิกข์คนแรกคือ….ของศาสดาซิกข์

(1) มารดา

(2) พี่สาว

(3) น้องสาว

(4) ลูกสาว

ตอบ 2 หน้า 342 คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ (ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อ นานกี (แปลว่า หลานตา) ซึ่งรักท่านครูนานักมากจึงได้เอาชื่อของตนไปตั้งชื่อให้แก่น้องชายว่า “นานัก” และคงเป็นเพราะว่ารักน้องชายมากนี้เอง ต่อมานางนานกีจึงได้สมัครเป็นชาวซิกข์ คนแรกด้วย

77 ศาสนาซิกข์นําข้อดีของศาสนาอิสลามและฮินดูมาบูรณาการเป็นหลักดํารงชีวิต คือ

(1) ไม่มีชั้นวรรณะ

(2) หญิงไม่ต้องคลุมหน้า

(3) หญิงไม่ต้องจ่ายสินสอด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 340, 345, 353, (คําบรรยาย) หลักการดํารงชีวิตของชาวซิกข์ ได้แก่

1 เป็นผู้กล้าหาญและผู้เสียสละ

2 ชายมีภรรยาได้แค่คนเดียว

3 หญิงไม่ต้องคลุมหน้าเมื่อออกนอกบ้าน

4 ไม่มีชั้นวรรณะ

5 สามีภรรยามีสิทธิเท่าเทียมกัน

6 หญิงไม่ต้องจ่ายค่าสินสอดสู่ขอชาย ฯลฯ

78 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) เป็นผู้สอนวิชา…..ให้ชาวจีน

(1) ไท้เก็ก

(2) หมัดเมา

(3) กังฟู

(4) ตัวเบา

ตอบ 3 หน้า 308 พระโพธิธรรมา (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ได้นําวิธีการฝึกสมาธิจิตไปดัดแปลงเป็นการฝึกวิทยายุทธกําลังภายในของจีน ซึ่งเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เรียกว่า “กังฟู” โดยเชื่อว่า การฝึกกังฟูจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงสมบูรณ์ มีพละกําลังเข้มแข็งเกินกว่าธรรมดาและด้วยเหตุนี้เองที่ทําให้พระมหายานในจีนนิยมฝึกวิทยายุทธกําลังภายในสืบต่อมา

79 พุทธศาสนาปฏิรูปความเชื่อของศาสนาฮินดู ข้อใดไม่ใช่

(1) ชั้นวรรณะ

(2) พรหมลิขิต

(3) เวียนว่ายตายเกิด

(4) ล้างบาปในแม่น้ำคงคา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

80 พุทธศาสนาสอนว่า ผู้มีผิวพรรณงามดีเพราะทําดี ข้อใดไม่ใช่

(1) ไม่พยาบาท

(2) ไม่โกรธ

(3) ไม่แค้น

(4) พยาบาท

ตอบ 4 หน้า 314 พุทธศาสนาสอนว่า ผู้ที่มีรูปร่างขี้เหร่ มีผิวพรรณทราม เพราะเป็นคนขี้โกรธ เคียดแค้นพยาบาท ส่วนผู้ที่มีความงาม มีผิวพรรณดี เพราะเป็นคนไม่โกรธ ไม่เคียดแค้น ไม่พยาบาท

81 มหาตมะ คานธี นําหลักธรรมของศาสนาใดมาใช้ต่อต้านอังกฤษเพื่อกู้เอกราช

(1) พุทธ

(2) เชน

(3) ฮินดู

(4) อิสลาม

ตอบ 2 หน้า 335 336, (คําบรรยาย) หลักธรรมคําสอนสูงสุดที่ถือว่าเป็นมงกุฎของศาสนาเชน คือ “อหิงสา” ซึ่งหมายถึง การไม่ทําร้าย การให้ความเคารพต่อชีวิตและผู้มีชีวิต ซึ่งในสมัยของ มหาตมะ คานธี ก็ได้ใช้อหิงสาเอาชนะอํานาจกดขี่และความโหดเหี้ยม จนสามารถกู้เอกราชให้อินเดียจากประเทศอังกฤษได้

82 ชาวเชนเชื่อว่าการตายที่บริสุทธิ์ คือ

(1) โดดน้ำตาย

(2) เผาตัวตาย

(3) อดอาหารตาย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 338, (คําบรรยาย) ชาวเชนเชื่อว่าความตายโดยการอดอาหารเป็นความตายที่บริสุทธิ์และถือเป็นการบําเพ็ญเพียรเพื่อตัดกิเลสและสะสมบุญ

83 ข้อใดที่ไม่ได้กําหนดว่ามุสลิมทุกคนต้องทํา

(1) ละหมาด

(2) ถือศีลอด

(3) พิธีฮัจญ์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 403 การทําพิธีฮัจญ์ คือ การเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียเพื่อทํานมัสการบูชาหินกาบะห์ ณ วิหาร โดยถือเป็นภารกิจที่ชาวมุสลิมผู้บรรลุนิติภาวะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสามารถและฐานะพร้อมที่จะทําได้ ควรกระทําอย่างยิ่ง ยกเว้นแต่จะอยู่ในสภาพหรือฐานะที่ไม่สามารถไปได้จริง ๆ เช่น ยากจน มีอาชีพต้องหาเลี้ยง ครอบครัวทุกวันตลอดปี เป็นต้น

84 คนแรกที่ประกาศให้ชายผู้นับถือพระเจ้าองค์เดียวขริบปลายอวัยวะเพศ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 หน้า 361, 368 369, (คําบรรยาย) อับราฮัม ศาสดาของศาสนายูดาห์เป็นคนแรกที่ประกาศให้ชาวอิสราเอลทําดังนี้

1 ให้ชาวอิสราเอลทั้งปวงศรัทธานับถือในพระเจ้าองค์เดียว

2 ให้ชายอิสราเอลทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ โดยอับราฮัมถือเป็นผู้ที่ขริบปลายอวัยวะเพศคนแรก

3 ให้ชาวอิสราเอลถือศีลอด โดยให้ถือศีลอดเป็นเวลา 10 วัน

85 ข้อใดเป็นฮาลาล (HALAL) กระเป๋าหนัง

(1) จระเข้

(2) อูฐ

(3) งู

(4) ตะกวด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลิตภัณฑ์และอาหารฮาลาล (HALAL) หมายถึง ผลิตภัณฑ์และอาหารทุกชนิดที่ไม่มีองค์ประกอบของสิ่งที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัตว์นั้นผ่าน การเชือดที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลาม ดังนี้

1 ผู้เชือดเป็นมุสลิมที่เข้าใจและรู้วิธีการเชือดแบบอิสลามอย่างแท้จริง

2 สัตว์ที่จะนํามาเชือดจะต้องไม่เป็นสัตว์ที่ต้องห้าม เช่น หมู สุนัข เสือ เหยี่ยว นกอินทรี งู จระเข้ ตะกวด ฯลฯ ส่วนสัตว์ที่สามารถนํามาเชือดได้ เช่น แพะ แกะ วัว กวาง กระต่าย อูฐ ฯลฯ

3 สัตว์ยังมีชีวิตขณะทําการเชือด

4 สัตว์ต้องตายสนิทก่อนที่จะแล่เนื้อ หรือดําเนินการใด ๆ ต่อไป

86 ตําแหน่งจุฬาราชมนตรีมีขึ้นในสมัย

(1) สุโขทัย

(2) อยุธยา

(3) ธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 408 จุฬาราชมนตรีเป็นตําแหน่งผู้นําฝ่ายศาสนาอิสลามในประเทศไทยที่ฝ่ายบ้านเมืองสถาปนาขึ้นให้มีหน้าที่เป็นหัวหน้าบริหารศาสนาอิสลาม ซึ่งตําแหน่งนี้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพ่อค้าชาวเปอร์เซียชื่อ “เฉกอะหมัด” เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของประเทศไทย

87 สุวรรณวิหารเป็นศาสนสถานที่สําคัญของศาสนาในอินเดีย

(1) เชน

(2) ซิกข์

(3) ฮินดู

(4) อิสลาม

ตอบ 2 หน้า 346 คุรุอรชุน เป็นผู้สร้าง “สุวรรณวิหาร” หรือหริมณเฑียรขึ้นกลางสระอมฤต ซึ่งเป็นวิหารหรือวัดที่สวยงามมาก มีประตูสี่ด้าน ไม่มีรูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นสีทองอร่ามไปทั่วทั้ง วิหารทั้งภายนอกและภายใน ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และถือเป็นศาสนสถานที่สําคัญของศาสนาซิกข์ในอินเดีย

88 “แขนคือดาบ” เป็นฉายาที่ยกย่องความกล้าหาญของชายผู้นับถือศาสนา….

(1) เชน

(2) ซิกข์

(3) ฮินดู

(4) อิสลาม

ตอบ 2 หน้า 340 341 ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาที่มีอายุน้อยที่สุดในบรรดาศาสนาทั้งหลายในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาที่เกิดจากการถูกบีบบังคับทางการเมืองและถูกคนในศาสนาอื่น บังคับขู่เข็ญ อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ผู้นับถือชายเกือบทุกคนเป็นนักรบในสมัยที่ตั้งศาสนา ตอนแรก ๆ จึงกลายเป็นศาสนาของผู้กล้าหาญ ผู้เสียสละ และเป็นศาสนาของทหารหรือ นักรบ โดยทหารซิกข์นับเป็นทหารชั้นหนึ่งของอินเดียจนกระทั่งได้รับสมญาว่า “แขนคือดาบ”

89 สามีภรรยาเท่าเทียมกัน คือผู้นับถือศาสนา…..

(1) ชาวพุทธ

(2) ชาวซิกข์

(3) ชาวอิสราเอล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

90 การทําศพของชาวโซโรอัสเตอร์ คือ

(1) ทิ้งให้เสือกินในป่า

(2) ทิ้งให้หมาป่ากินในถ้ำ

(3) ทิ้งให้แร้งกิน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 421, 425 426 คติความเชื่อของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ได้แก่ 1 การบูชาไฟ และเซ่นสังเวยพระเจ้าด้วยเหล้าศักดิ์สิทธิ์

2 การทําพิธีศพโดยนําศพไปวางทิ้งบนหอสูง เรียกว่า “หอคอยแห่งความสงบ” แล้วปล่อยให้นกแร้งมาจิกกินเป็นอาหาร

3 การมี “สะพานแห่งการแก้แค้น” เพื่อนําวิญญาณที่ดีไปสู่สวรรค์ และนําวิญญาณเลวลงนรก เป็นต้น

91 ข้อใดเกี่ยวข้องกับศาสนาโซโรอัสเตอร์

(1) ไฟ

(2) หอคอยแห่งความสงบ

(3) สะพานแห่งความแก้แค้น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

92 ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์เดิมอยู่อาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งปัจจุบันคือประเทศ

(1) อิหร่าน

(2) อิรัก

(3) อียิปต์

(4) อิสราเอล

ตอบ 1 หน้า 419, 428 429 ในสมัยโบราณศาสนาโซโรอัสเตอร์เดิมเป็นศาสนาประจําชาติของชาวเปอร์เซีย แต่ปัจจุบันอาณาจักรเปอร์เซียกลายเป็นประเทศอิหร่านและนับถือศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจําชาติ ทําให้ชาวเปอร์เซียที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาอยู่ในประเทศของตนไม่ได้ ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ในดินแดนต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง และส่วนใหญ่อพยพไปตั้งถิ่นฐานรวมกลุ่มกัน อยู่มากเป็นชนกลุ่มน้อยและเรียกตัวเองว่า ชาวปาร์ซี (Parsee หรือ Parsi) ซึ่งในปัจจุบันศาสนิกชนของศาสนาโซโรอัสเตอร์ส่วนใหญ่นั้นตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในนครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย

93 ศาสดาศาสนาใดสอนว่า “สตรีเป็นเหตุแห่งบาป”

(1) เชน

(2) ฮินดู

(3) อิสลาม

(4) ซิกข์

ตอบ 1 หน้า 337 338, 340, (คําบรรยาย) พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชนไม่ให้มีนักบวชหญิงและปฏิเสธการปฏิบัติธรรมของสตรี โดยเห็นว่า “สตรีเพศเป็นเหตุแห่งบาป” และเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลาย ซึ่งนิกายทิคัมพรในศาสนาเชนนั้นเชื่อว่าสตรีไม่สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้ อีกทั้งนักบวชในนิกายนี้ต้องเปลือยกาย ดังนั้นหากสตรีเพศต้องเปลือยกายอาจจะทําให้นักบวชชายเกิดกิเลสได้ ส่วนการกินมังสวิรัตินั้นผู้ที่นับถือศาสนาเชนทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงสามารถทําได้

94 ศาสดาศาสนาใดสอนว่า “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบายเท่ากับความเจ็บป่วย”

(1) เชน

(2) ฮินดู

(3) อิสลาม

(4) ซิกข์

ตอบ 1 หน้า 338, (คําบรรยาย) พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน กล่าวว่า “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบายเท่ากับความเจ็บป่วย” นั่นคือ ทรงสอนให้ใช้ชีวิตแบบคนป่วย หรือให้สมถะพอเพียง

ไม่อยากได้สิ่งที่ไม่จําเป็น คนไม่ว่าจะร่ำรวยเพียงใดก็ตามต้องไม่หมกมุ่นกับตัณหาของตน

95 อับราฮัมเป็นศาสดาของศาสนาใด

(1) ยูดาห์

(2) คริสต์

(3) อิสลาม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ

96 วันพระของศาสนายูดาห์ คือวัน

(1) ศุกร์

(2) เสาร์

(3) อาทิตย์

(4) เสาร์-อาทิตย์

ตอบ 2 หน้า 364, 367, (คําบรรยาย) วันเสาร์ถือเป็นวันพระของศาสนายูดาห์ เรียกว่า วันแซบบาธหรือวันซะบาโต คือวันที่พระเจ้าทรงสร้างโลกและจักรวาลเสร็จ และทรงหยุดพักผ่อนในวันที่ 7 โดยวันแซบบาธเป็นวันที่ชาวอิสราเอลทั้งหลายจะหยุดทํางาน และการทํากิจการต่าง ๆ ทุกชนิด แม้แต่การก่อไฟในเตาก็งดเว้น เพื่อบูชาพระเจ้าตามที่ปรากฏในบัญญัติ 10 ประการ คือ ห้ามทําการสิ่งใดในวันที่ 7 และให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ด้วย

97 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ

(1) เชิงเทียน 3 เล่ม

(2) เชิงเทียน 5 เล่ม

(3) เชิงเทียน 7 เล่ม

(4) คบไฟ

ตอบ 3 หน้า 371 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ เชิงเทียน ซึ่งมีที่ตั้งเทียน 7 เล่ม เรียงกัน

98 “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นคําสอนของ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 377 พระเยซู ได้รับการยกย่องและศรัทธาจากผู้ฟังมากในการเทศนาบนภูเขาซึ่งพระองค์ได้ทรงแก้ไขบทธรรมคําสอนและหลักการดํารงชีวิตของโมเสสที่ได้สอนชาวยิว ไว้ตอนหนึ่งว่า “ตาแทนตา-ฟันแทนฟัน” โดยทรงแก้ไขว่า “อย่ายอมตามความชั่ว ถ้าผู้ใดตบท่านที่แก้มขวา ก็ให้หันแก้มซ้ายให้เขาอีก และใครก็ตามที่บังคับให้ท่านเดินไป 1 ไมล์ก็จงเดินไปพร้อมกับเขา 2 ไมล์”

99 ดาโต๊ะยุติธรรม ต้องมีอายุตั้งแต่…..ปี

(1) 25

(2) 30)

(3) 35

(4) 40

ตอบ 1 หน้า 410 411, (คําบรรยาย) ตําแหน่งดาโต๊ะยุติธรรมนั้น คัดเลือกจากอิสลามศาสนิกชนผู้มีคุณสมบัติดังนี้

1 มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

2 มีภูมิรู้ในศาสนาอิสลามพอที่จะ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

3 มีความรู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้

100 ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก คือ

(1) ซาอุดิอาระเบีย

(2) อียิปต์

(3) อินโดนีเซีย

(4) อิหร่าน

ตอบ 3 หน้า 391, (คําบรรยาย) ศาสนาอิสลามเกิดในดินแดนทะเลทรายในทวีปเอเชีย หรือที่เรียกว่าตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นดินแดนถิ่นฐานของชาวอาหรับ และปัจจุบันเป็นศาสนาที่มีจํานวน ผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากศาสนาคริสต์ โดยประเทศที่มีประชากรนับถือ ศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก คือ อินโดนีเซีย

PHI1001 วัฒนธรรมและศาสนา s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1001 วัฒนธรรมและศาสนา

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 วัฒนธรรมไทยได้รับวัฒนธรรมอินเดียมา ได้แก่

(1) สงกรานต์

(2) ลอยกระทง

(3) แรกนาขวัญ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 163, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียในหลาย ๆ ด้าน เช่น

1 ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

2 ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ได้แก่ พิธีแรกนาขวัญ พิธีรดน้ำสังข์ พิธีโล้ชิงช้า วันลอยกระทง และวันสงกรานต์

3 วรรณกรรม ได้แก่ รามเกียรติ อิเหนา ศกุนตลา เป็นต้น

2 อิทธิพลความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีอยู่ในเมืองไทย ได้แก่ (1) ปราสาทหินพนมรุ้ง

(2) ตราครุฑของราชการ

(3) ถนนพระราม 9

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียในด้านความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น การสร้างปราสาทหินต่าง ๆ (ปราสาทหินพนมรุ้ง) เสาชิงช้า พิธีโกนจุก การตั้งศาลพระพรหมเอราวัณ สัญลักษณ์ราชวงศ์จักรี สัญลักษณ์ตราครุฑของราชการชื่อถนนต่าง ๆ (ถนนพระราม 9) เป็นต้น

3 อาณาจักรล้านนา “หริภุญชัย” ปัจจุบันคือจังหวัด

(1) ลําพูน

(2) ลําปาง

(3) แพร่

(4) น่าน

ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) ในสมัยอาณาจักรล้านนา ในทางตอนเหนือของประเทศไทยในยุคนั้นระหว่างสุโขทัยกับพะเยา มีอาณาจักรเล็ก ๆ แต่เจริญรุ่งเรืองมาก ชื่อ “หริภุญชัย” ปกครองโดย พระนางจามเทวี ซึ่งพระนางได้ทํานุบํารุงและก่อสร้างบ้านเมืองทําให้เมืองหริภุญชัย (ปัจจุบัน คือ จ.ลําพูน) เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งในสมัยนั้น ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ปัจจุบันคือ จ.ลําปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสําคัญ

4 วัฒนธรรมภาคอีสาน ข้อใดไม่ใช่

(1) ผีกระสือ

(2) ผีตาโขน

(3) ผีฟ้า

(4) ผีปอบ

ตอบ 1 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้านแต่ละภาค มีดังนี้

1 ภาคเหนือ เช่น การแอ่วสาว การไหว้ผี การผูกข้อมือ การจุดโคมลอย การประดับตุง เรือนกาแล ฯลฯ

2 ภาคกลาง เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงอีแซว เพลงรําวง นิทานพื้นบ้าน ลิเก ลําตัด รํากลองยาว ฯลฯ

3 ภาคอีสาน เช่น การผิดผี การไหว้ผีปู่ตา การรําผีฟ้า การไล่ผีปอบ การแห่ผีตาโขน การแห่บั้งไฟ รําซิ่ง ผ้าไหมแพรวา ฯลฯ

4 ภาคใต้ เช่น ประเพณีเพลงบอก การสวดโอ้เอ้วิหารราย หนังตะลุง ลิเกป่า ลิเกตันหยง รํามโนราห์ ฯลฯ

5 อาหารไทยแท้แต่เดิม ข้อใดไม่ใช่

(1) แกงส้ม

(2) แกงเลียง

(3) แกงเขียวหวาน

(4) แกงไตปลา

ตอบ 3 หน้า 63, (คําบรรยาย) อาหารไทยแท้ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยนั้น ถ้าเป็นแกงจะต้องไม่ใส่กะทิ เช่น แกงป่า แกงไตปลา แกงอ่อม แกงส้ม แกงเลียง ต้มยํา (น้ำใส) แกงเหลือง ฯลฯ ส่วนแกงที่ใส่กะทิและเครื่องเทศนั้นจะเป็นแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากแขกและอาหรับ เช่นแกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ ฯลฯ

6 วัฒนธรรมไทยให้ความเคารพนับถือครูผู้ให้วิชา ข้อใดไม่ใช่

(1) ครูพักลักจํา

(2) ขึ้นครู

(3) ครอบครู

(4) ไหว้ครู

ตอบ 1 หน้า 200 201 วัฒนธรรมไทยให้ความเคารพนับถือครูผู้ให้วิชา โดยเฉพาะในศิลปะไทยแขนงต่าง ๆ ที่ช่างศิลปะไทยจะเคร่งครัดในการปฏิบัติกันทุกแขนงวิชา คือ “พิธีไหว้ครู” “การขึ้นครู” และ “การครอบครู” ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ต้องถือปฏิบัติสืบต่อมาจะขาดเสียมิได้ (ส่วน “ครูพักลักจํา” เป็นการเรียนรู้แบบจํามาหรือเลียนแบบมาด้วยตนเอง)

7 ชาวไทยเริ่มใส่รองเท้าและใช้ช้อนส้อมในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 3

(2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 2 หน้า 92 – 93 ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ชาวไทยเริ่มใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร เริ่มใส่รองเท้าและสวมเสื้อออกนอกบ้าน หญิงไทยเริ่มใส่ เสื้อแทนการห่มสไบ และนิยมสวมถุงน่องสีขาวและรองเท้าหุ้มส้น ส่วนชายไทยเริ่มนิยมสวมกางเกงคาดเข็มขัด ถือไม้เท้าและสวมรองเท้าหนังมากขึ้น

8 เอกลักษณ์ของไทย ได้แก่

(1) ยิ้มง่าย

(2) รักในหลวง

(3) มีน้ำใจดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 63 – 64, 67 – 58, (คําบรรยาย) ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ได้แก่ เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ รักพระเจ้าอยู่หัว สุภาพอ่อนน้อม ยิ้มง่าย ยิ้มแย้มเป็นมิตร ยิ้มสู้-ยิ้มได้เมื่อภัยมา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีน้ำใจดีชอบช่วยเหลือผู้อื่นการสนุกสนาน ลืมง่าย มักให้อภัยเสมอ โกรธไม่นาน ฯลฯ

9 วัฒนธรรมจีน ข้อใดไม่ใช่

(1) ประเทศจีนมีพื้นที่ใหญ่ที่สุด

(2) ประเทศจีนมีประชากรมากที่สุด

(3) ประเทศจีนผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ขายทั่วโลก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจุบันประเทศจีนผลิตสินค้าจําหน่ายทั่วโลกมาก จนถือเป็นวัฒนธรรมจีนแต่ทั้งนี้วัฒนธรรมจีนจะไม่รวมถึงการผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ขายทั่วโลก รวมทั้งการที่ ประเทศจีนมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด เพราะวัฒนธรรมจะไม่รวมถึงสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี หรือพฤติกรรมตามธรรมชาติหรือสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ

10 ข้อใดแสดงถึงความกตัญญของชาวจีน

(1) เชงเม้ง

(2) ทิ้งกระจาด

(3) ล้างป่าช้า

(4) ฮวงจุ้ย

ตอบ 1 หน้า 41, 44, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางจิตใจของชาวจีนที่แสดงถึงความกตัญญู ได้แก่

1 สร้างฮวงซุ้ย (สุสาน) ฝังศพอย่างดี โดยชาวจีนเชื่อว่าหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ เป็นที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวงศ์ตระกูล

2 เทศกาลเชงเม้ง คือ ไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

3 เซ่นไหว้วันตรุษจีน โดยชาวจีนจะเตรียมอาหารอย่างดีไว้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ และเทพเจ้าต่าง ๆ

4 ทําพิธีกงเต๊กงานศพ ซึ่งเป็นการทําบุญให้แก่ผู้ตายหรือบรรพบุรุษ โดยมีการสวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน มีคนรับใช้ เป็นต้น

11 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมความเชื่อของจีนเรื่องวิญญาณนิยม

(1) เชงเม้ง

(2) ล้างป่าช้า

(3) ศาลเจ้าพ่อกวนอู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 38 – 40, (คําบรรยาย) ชาวจีนมีความเชื่อแบบวิญญาณนิยม นับถือวิญญาณวีรชนหรือวีรบุรุษ เช่น ศาลเจ้าพ่อกวนอู ศาลเจ้าพ่อเสือ ฯลฯ และนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ เทพเจ้าและผีทั่ว ๆ ไป เช่น การเซ่นไหว้วันตรุษจีน เทศกาลเชงเม้ง วันสารทจีน พิธีล้างป่าช้า ฯลฯ

1 วัฒนธรรมความเชื่อจีนเรื่องสัตว์กายสิทธิ์ ข้อใดไม่ใช่

(1) เสือ

(2) สิงโต

(3) มังกร

(4) พญานาค

ตอบ 4 หน้า 40 41 การนับถือวิญญาณสัตว์ของชาวจีน เนื่องจากมีความเชื่อ ดังนี้

1 เสือเป็นสัตว์กายสิทธิ์ ซึ่งบรรดาทหารเอกขุนศึกแม่ทัพในอดีตล้วนเป็นดาวเสื้อ

2 มังกรเป็นเทพเจ้า เป็นพาหนะของเจ้าแม่กวนอิมหรือพระโพธิสัตว์ และยังถือเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้

3 สิงโตเป็นสัตว์กายสิทธิ์มาจากสวรรค์และนําความสุขสงบมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มาสู่บ้านเมือง

13 วรรณกรรมจีนเรื่องใดที่มีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธมากที่สุด

(1) สามก๊ก

(2) ไซอิ๋ว

(3) อี้จิง

(4) ซุนวู

ตอบ 2 หน้า 39 เมื่อพุทธศาสนานิกายมหายานเผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน ความเชื่อในเรื่องพระโพธิสัตว์ก็เข้ามามีอิทธิพลต่อความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นความเชื่อเรื่อง ปีศาจ ผีสาง เทวดา เซียนเพิ่มขึ้นมา ทําให้เกิดตํานานเทพนิยาย และนิทานพื้นเมืองเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวมากมายซึ่งที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ ตํานานเรื่อง “ไซอิ๋ว”

14 การเชิดสิงโต ชาวจีนจะไม่ทําในข้อใด

(1) เทศกาลตรุษจีน

(2) พิธีกงเต็ก

(3) งานวันแซยิด

(4) พิธีเปิดกิจการใหม่

ตอบ 2 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) ชาวจีนมีประเพณีการเชิดสิงโตในงานฉลองรื่นเริงมงคลต่าง ๆเช่น เทศกาลตรุษจีน สารทจีน งานวันเกิด งานวันแซยิด งานพิธีเปิดร้านค้าเปิดกิจการใหม่ เป็นต้น (ส่วนเทศกาลเชงเม้ง พิธีล้างป่าช้า พิธีกงเต็ก และงานทิ้งกระจาด จะไม่มีการเชิดสิงโต)

15 การเซ่นไหว้เทศกาลตรุษจีน ชาวจีนเชื่อว่าผลไม้ใดเป็นสิ่งมงคลแทนโชคลาภ

(1) ส้ม

(2) กล้วย

(3) พลับ

(4) ท้อ

ตอบ 1 หน้า 45 – 46, (คําบรรยาย) ผลไม้ ดอกไม้ และขนมที่ชาวจีนมักนิยมนํามาเซ่นไหว้ในเทศกาลตรุษจีนและเทศกาลต่าง ๆ เพราะถือว่าเป็นมงคลและมีความหมายดี เช่น

1 ผลท้อ เป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน และขจัดภูตผีปีศาจได้

2 ผลทับทิม เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญงอกงาม มีบุตรหลานบริวารมาก และช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมนําต้นทับทิมมาปลูกไว้หน้าบ้านเสมอ

3 ผลพลับ เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืน มีความสุขสงบถาวร

4 ผลส้ม เป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ทําให้มีโชคลาภ

5 ดอกเก๊กฮวย เป็นสัญลักษณ์แห่งความยั่งยืน อายุยืน สดชื่นในชีวิต

6 ขนมเข่ง เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองมากขึ้นทุกปี

16 วัฒนธรรมจีนได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศเรื่อง

(1) เครื่องประดับ

(2) อาหาร

(3) การจัดสวน

(4) การแต่งกาย

ตอบ 2 หน้า 46, (คําบรรยาย) อาหารจีน ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมจีนที่นิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วโลก โดยชาวจีนได้รับการยกย่องว่ามีวัฒนธรรมในการประกอบอาหารเป็นเลิศ มีอาหารมากมายหลายชนิด ทั้งอาหารเนื้อสัตว์และอาหารเจ มีศิลปะในการปรุงให้มีรสเลิศ และมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม

17 ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจีน ได้แก่

(1) ทอผ้าไหม

(2) ภาษาจีน

(3) ปฏิทินจีน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 – 38 บรรพบุรุษจีนมีวัฒนธรรมทางวัตถุดั้งเดิมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศมาแต่ครั้งโบราณ อันแสดงถึงภูมิปัญญา สัญลักษณ์ และความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ ได้แก่ การคิดอักษรจีนและใช้ภาษาจีนเป็นภาษาเขียนประจําชาติ รู้จักทําปฏิทินจีน รู้จักการเลี้ยงไหม และทอผ้าไหม ทําเครื่องเคลือบถ้วยชาม มีความรู้วิชาการแพทย์ การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและการฝังเข็ม เป็นต้น

18 ประธานาธิบดีจีนคนปัจจุบันคือท่าน……

(1) หลี ผิง

(2) สี จิ้นผิง

(3) เติ้ง เสี่ยวผิง

(4) หู จิ่นเทา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีของจีนคนปัจจุบัน คือ นายสี จิ้นผิง ซึ่งปัจจุบันเขายังดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน, ประธานคณะกรรมาธิการกลางการทหาร, อธิการบดีโรงเรียนพรรคกลาง และดํารงตําแหน่งเป็นสมาชิกระดับสูงสุดของสํานักงานเลขาธิการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

19 ข้อใดมีความหมายตรงกับ “หยิน-หยาง”

(1) ดิน-ฟ้า

(2) ชาย-หญิง

(3) ดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์

(4) สว่าง-มืด

ตอบ 1 หน้า 241, (คําบรรยาย) ในสมัยโบราณชาวจีนมีความเชื่ออันเป็นความภาคภูมิของประเทศคือเชื่อว่า ประเทศจีนอยู่ใจกลางของโลก จึงทําให้เกิดความเชื่อว่าโลกมีวิญญาณสถิตอยู่ มีเพศเป็นหญิง เรียกว่า “หยิน” ซึ่งเป็นวิญญาณแห่งดิน ความมืด กลางคืน ดวงจันทร์ ฯลฯ และเนื่องจากการที่มนุษย์อาศัยอยู่บนโลก ชาวจีนจึงยกย่อง “หยิน” ว่ามีอํานาจเหนือกว่า “หยาง” ซึ่งเป็นเพศชายอันเป็นวิญญาณแห่งฟ้า ความสว่าง กลางวัน ดวงอาทิตย์ ฯลฯ ดังนั้นจึงกล่าว ได้ว่า “หยิน-หยาง” หมายถึง หญิง-ชาย, ดิน-ฟ้า, ความมืด-ความสว่าง, กลางคืน-กลางวัน,ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์, ดํา-ขาว, อ่อน-แข็ง ฯลฯ

20 ขงจื้อเปรียบเล่าจื๊อเทียบกับ

(1) เสือ

(2) สิงโต

(3) มังกร

(4) หงส์

ตอบ 3 หน้า 243 244 ขงจื้อได้ส่งคําขอร้องถึงเล่าจื๊อขอเข้าพบ โดยขงจื๊อเล่าใจความของการไปพบกับเล่าจื้อแก่สาวกทั้งหลายของเขาว่า “ฉันรู้เหตุที่นกบินได้ ปลาว่ายน้ำได้ และสัตว์วิ่งได้ แต่สัตว์ ซึ่งวิ่งได้ก็อาจติดบ่วง ปลาอาจติดเบ็ด และนกอาจถูกยิงตกด้วยลูกศร แต่มีมังกร ฉันไม่สามารถ บอกว่ามังกรขี่ลมและโผล่ขึ้นเหนือเมฆได้อย่างไร ฉันได้เห็นและได้พูดกับเล่าจื้อ และฉันสามารถเพียงเปรียบเทียบเขากับมังกร”

 

21 ก่อนยุคคอมมิวนิสต์ จีนสอบคัดเลือกเข้ารับราชการโดยใช้ตํารา…เป็นหลัก

(1) เล่าจื้อ

(2) ขงจื้อ

(3) ขงเบ้ง

(4) เปาบุ้นจิ้น

ตอบ 2 หน้า 245 คําสอนของขงจื้อได้กลายเป็นคัมภีร์ทางการเมือง การปกครอง ที่นักปกครองทั้งหลายตั้งแต่ฮ่องเต้ ขุนนาง รวมทั้งข้าราชการทั้งหลายต้องศึกษาเล่าเรียน โดยในสมัยราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าฮันหวูตี่ฮ่องเต้ (140-87 ปีก่อน ค.ศ.) ทรงจัดให้มีวิทยาลัยขึ้นในราชสํานัก และ ดําเนินการทดสอบผู้สมัครเข้ารับราชการตามตําราขงจื้อ (ตํารา 5 กิง) และได้มีการยึดถือปฏิบัติ ต่อมากว่า 2 พันปี ซึ่งลัทธิขงจื้อได้รับสถาปนาเป็นลัทธิประจําชาติของจีน และให้อบรมสั่งสอนประชาชนด้วยคําสอนของขงจื้อตลอดมา

22 ขงจื๊อสอนเรื่องการปฏิบัติต่อผีและเทพเจ้าว่า “จงเคารพบูชาผีและเทพเจ้า ”

(1) แต่ควรอยู่ให้ห่าง ๆ

(2) แต่ควรระวังจะถูกลงโทษหากไม่พอใจ

(3) แต่ควรเซ่นไหว้ให้สม่ำเสมอ

(4) แต่ควรขอความช่วยเหลือเฉพาะเรื่องจําเป็น

ตอบ 1 หน้า 248 249, (คําบรรยาย) ปรัชญาและหลักคําสอนที่สําคัญของขงจื้อ ได้แก่

1 สอนให้ประชาชนทําพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และให้ถือว่าการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ เป็นหน้าที่ของลูกหลานผู้สืบสกุล ต้องทําเป็นประจําทุกปี และทุกเทศกาล

2 สอนให้ชาวจีน ทําพิธีบวงสรวงเทพเจ้าตามจารีตประเพณีของชาวจีนในสมัยโบราณ แต่สอนว่า “จงเคารพบูชาผี และเทพเจ้า แต่ควรอยู่ให้ห่าง ๆ”

3 สอนหลักการปกครอง โดยมีความเห็นว่า การปกครองโดยนิติธรรมเนียม ควรนํามาใช้มากกว่าการปกครองแบบอํานาจและอาชญา เป็นต้น

23 เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นอยู่บนเกาะ

(1) ฮอนชู

(2) ฮอกไกโด

(3) ชิโกกุ

(4) คิวชู

ตอบ 1 หน้า 48 ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะพื้นที่เป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่มากมายนับพันเกาะ โดยมีเกาะที่ใหญ่ที่สุดและสําคัญที่สุดอยู่ 4 เกาะ คือ เกาะฮอนชู (เกาะที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมของญี่ปุ่น) เกาะฮอกไกโด เกาะชิโกกุ และเกาะคิวชู โดยประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น มี 4 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

24 วัฒนธรรมความเชื่อญี่ปุ่นเชื่อว่า จักรพรรดิองค์แรกจุติมาเกิดที่เกาะ…

(1) ฮอนชู

(2) ฮอกไกโด

(3) ชิโกกุ

(4) คิวชู

ตอบ 4 หน้า 49, 235 วัฒนธรรมความเชื่อของชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า จักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นก็คือสมเด็จพระจักรพรรดิยมมูหรือยิมมูเทนโน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพอะมะเตระสุ โดยจุติที่ เกาะคิวชูพร้อมกับเพชร 1 เม็ด (หรือดวงแก้ว) ดาบ และกระจก เป็นของวิเศษสําคัญประจําตัวติดตัวมาจากสวรรค์ด้วย

25 ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณของญี่ปุ่นเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ศาลเจ้า

(2) โทริ

(3) กามิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 50, 240 241, (คําบรรยาย) ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณของญี่ปุ่นนั้น ตามศาสนสถานของศาสนาชินโต ก่อนจะถึงบริเวณของศาลเจ้าชิ้นโตที่ทางเข้าจะมีการสร้างประตูขึ้นเป็น สัญลักษณ์ เรียกว่า “โทริ” (TORI) อันถือว่าเป็นประตูวิญญาณ ซึ่งเกิดจากศรัทธาความเชื่อ ในเรื่องเทพเจ้า ผีสาง เทวดา และวิญญาณทั้งหลายสิงสถิตอยู่ในธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำลําธาร วีรบุรุษ บรรพบุรุษ และสัตว์ โดยเรียกวิญญาณเหล่านี้ว่า “กามิ” (KAMI)

26 “ฮาราคีรี” เป็นการฆ่าตัวตายอย่างมีเกียรติ ข้อใดทําได้

(1) ซามูไร

(2) ทหารญี่ปุ่น

(3) ชายญี่ปุ่นทุกคน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51 ลัทธิ “บูชิโด” หรือวิถีทางแห่งนักรบซามูไร คือ “ยอมตายอย่างมีเกียรติดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ” โดยมีการทําพิธีกรรมการฆ่าตัวตายแบบมีเกียรติเรียกว่า “ฮาราคีรี” ของนักรบซามูไร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงคราม ทหารญี่ปุ่น และชายญี่ปุ่นฆ่าตัวตายแบบ “ฮาราคีรี” กันนับหมื่นคน จนเป็นเรื่องที่ทั่วโลกเลื่องลือทั้งนี้ก็เพราะความเชื่อในลัทธิบูชิโด

27 ชาวญี่ปุ่นนับถือว่าเป็นเทพองค์หนึ่งของศาสนาชินโต

(1) เซียน

(2) พระโพธิสัตว์

(3) ขงจื้อ

(4) เล่าจื้อ

ตอบ 2 หน้า 235 เมื่อศาสนาพุทธมหายานเข้ามาเผยแผ่จนเป็นที่นับถือแพร่หลายทั่วไปในเมืองญี่ปุ่น แต่ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาพุทธก็มิได้ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมในศาสนาชินโต และศาสนาพุทธ ก็มิได้บังคับหรือทําลายความเชื่อดั้งเดิมอื่น ๆ ดังนั้นนักบวชในศาสนาชินโตจึงยอมรับศาสนาพุทธ มหายาน และปรับศาสนาชินโตให้เข้ากับศาสนาพุทธมหายาน โดยการทําศาสนาชินโตให้มี 2 แง่ สร้างความเชื่อถือเดิมต่อเติมขึ้นว่า เทพเจ้าต่าง ๆ ในศาสนาชินโตก็ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์มาเกิด

28 ชาวญี่ปุ่นไม่กิน….ดิบ

(1) เนื้อหมาดิบ

(2) ปลาดิบ

(3) ไข่ดิบ

(4) เนื้อวาฬดิบ

ตอบ 1 หน้า 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมในการบริโภคนั้น ชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมในการดํารงชีวิตแบบเรียบง่าย กินอาหารตามสภาพธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อย และนิยมกินปลาดิบ เนื้อดิบ เช่น เนื้อวัวดิบ เนื้อวาฬดิบ เนื้อหมึกยักษ์ดิบ เนื้อปลาปักเป้าดิบ ไข่ดิบ เป็นต้น

29 ชาวญี่ปุ่นถือว่า…ถูกติเตียนว่าเป็นบาปมากสําหรับชาย

(1) ความขี้โกง

(2) ความขี้ขลาด

(3) ความขี้โกหก

(4) ความโลภ

ตอบ 2 หน้า 239 240 ตามหลักจริยธรรมของศาสนาชินโตนั้น ชาวญี่ปุ่นถือว่า ความขี้ขลาด ถูกติเตียนว่าเป็นบาปมากสําหรับผู้ชาย นอกจากนี้การลักขโมย และความไม่สะอาด ยังถือว่าเป็นบาป และยกย่องความกล้าหาญในทุกรูปแบบ

30 ชาวญี่ปุ่นจะทําศพที่วัดของศาสนา

(1) ชินโต

(2) เต๋า

(3) พุทธ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 238 239 ศาสนาชินโต มีความเชื่อว่าศพทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ และห้ามการทําพิธีศพในวัดของชินโต ดังนั้นเมื่อชาวญี่ปุ่นตายจึงต้องไปประกอบพิธีศพในวัดของศาสนาพุทธ

31 ศาสนาเชนมีแนวปฏิบัติเคร่งครัดตัดกิเลส เรียกว่า

(1) กามสุขัลลิกานุโยค

(2) อัตตกิลมถานุโยค

(3) มัชฌิมาปฏิปทา

(4) สัจจะวิถี

ตอบ 2 หน้า 329 ศาสนาเชนของศาสดามหาวีระเกิดในประเทศอินเดียร่วมยุคสมัยเดียวกับพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า และทั้งสองศาสนาก็มีความคล้ายกันหลายประการ เช่น เป็นศาสนาแห่งเหตุผล สั่งสอนไม่ให้คนหลงงมงาย ชาติกําเนิดและชีวประวัติของศาสดา (มีชื่อพระชายา ยโสธราเหมือนกัน) รวมทั้งหลักธรรมคําสอนก็คล้ายคลึงกันมากจนมีนักวิชาการหลายท่านคิดว่าเป็นศาสนาเดียวกัน แต่ที่ต่างกันมาก คือ แนวทางปฏิบัติ เพราะศาสนาพุทธถือทางสายกลางแบบมัชฌิมาปฏิปทา ทั้งพระสงฆ์และศาสนิกชน ส่วนศาสนาเชนจะเน้นหนักเคร่งครัดตัดกิเลสอย่างสุดโต่งแบบ อัตตกิลมถานุโยคทั้งนักบวชและศาสนิกชน

32 “เชน” มีความหมายเดียวกับ

(1) ชิ้น

(2) ชินะ

3) ชนะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 329, (คําบรรยาย) “เชน” มาจากคําว่า ชิน หรือชินะ หรือชนะ ซึ่งเป็นคําที่มีความหมายเดียวกัน โดยคําว่า “เชน” เป็นชื่อที่ศาสดามหาวีระเรียกศาสนาของพระองค์ ซึ่งแปลว่า ศาสนา ของผู้ชนะ โดยผู้ชนะในความหมายศาสนาเชนนี้ คือ ชนะตัวเอง (ชนะใจ) ชนะกิเลส ตัณหา และอวิชชาที่มีอยู่ในตัวเอง เมื่อเอาชนะตัวเองและกิเลสของตัวเองได้ก็จะสามารถไปสู่สภาวะหลุดพ้นแห่งโมกษะ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาได้

33 “มหาวีระ” เป็นฉายาของศาสดาของศาสนาเชน ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญมากเพราะ

(1) ฆ่าเสือดุ

(2) จับจระเข้ได้

(3) ปราบช้างตกมัน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 330, (คําบรรยาย) พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชนมีพระนามเดิมว่าเจ้าชายวรรธมานะหรือวัธมานะ เกิดในวรรณะกษัตริย์ พระนาม “มหาวีระ” แปลว่า มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่กล้าหาญ ซึ่งเหตุที่ได้รับขนานนามว่า พระมหาวีระผู้กล้าหาญมาก เพราะในขณะเมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น พระองค์เคยปราบช้างตกมันที่วิ่งพลัดเข้ามาในอุทยาน โดยสามารถขึ้นขี่ช้างพลายนั้นและบังคับไปสู่โรงช้างได้อย่างเรียบร้อย โดยมิได้แสดงพระอาการเกรงกลัวแต่อย่างใด

34 หลักธรรมของศาสนาเชน “มานะ” มีความหมายว่า……….

(1) อดทน

(2) พยายาม

(3) ถือตัวทิฐิ

(4) มุ่งมั่น

ตอบ 3 หน้า 333 กิเลสในศาสนาเชน เรียกว่า กษายะ ซึ่งมีอยู่ 4 อย่าง คือ

1 โลภะ คือ ความโลาหรือความอยากได้

2 โกรธะ คือ ความโกรธ

3 มานะ คือ ความถือตัวทิฐิ

4 มายา คือ ความหลง

35 “อหิงสา” คือแนวปฏิบัติของศาสนาเชน ได้แก่

(1) ไม่ฆ่า

(2) ไม่ทําร้ายเบียดเบียน

(3) เคารพต่อชีวิตของคนและสัตว์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 335 – 336, (คําบรรยาย) หลักธรรมคําสอนสูงสุดที่เป็นแนวปฏิบัติของศาสนาเชน คือ “อหิงสา” ซึ่งหมายถึง การไม่ฆ่า การไม่ทําร้ายเบียดเบียน และการให้ความเคารพต่อชีวิตของคนและสัตว์และผู้มีชีวิต

36 ผู้นับถือศาสนาเชนมีหลักการดํารงชีวิตเคร่งครัด ได้แก่

(1) ไม่กินเนื้อสัตว์

(2) ไม่ดื่มนมสัตว์

(3) สมถะพอเพียง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 337 จากการที่ผู้นับถือศาสนาเชน (รวมทั้งศาสดาและนักบวช) ต้องรักษาศีลข้อแรก(ไม่ฆ่าและไม่ทําร้ายสิ่งมีชีวิตใด ๆ ด้วยคําพูด ความคิด หรือการกระทํา แม้ในการป้องกันตนเอง) และมีความเชื่อในอหิงสาอย่างแนบแน่นอยู่ในจิตใจนั้น จึงทําให้ชาวเชนสมถะพอเพียงและ กลายเป็นนักมังสวิรัติ (ไม่กินเนื้อสัตว์และไม่ดื่มนมจากสัตว์) ตลอดชีวิต และไม่สามารถเป็นคนแล่เนื้อขาย อีกทั้งยังไม่สามารถเป็นกสิกร (ชาวไร่ชาวนา) ชาวประมง ขายผ้าไหม ขายเครื่องหนัง ขายนมสด หรืออาชีพอื่น ๆ ที่มีการทําลายชีวิตได้ ดังนั้นอาชีพที่เลือกทําส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นพระ ครูอาจารย์ ศิลปิน พ่อค้า นักธุรกิจ นักบัญชี นายธนาคาร พยาบาล และแพทย์ ฯลฯ

37 ศาสนาเชนสอนว่า “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบายเท่ากับ…”

(1) ความเจ็บป่วย

(2) ความทุกข์

(3) ความสุข

(4) ความมั่งคั่งสมบูรณ์

ตอบ 1 หน้า 338 หลักธรรมคําสอนของศาสนาเชนที่สําคัญถัดจากอหิงสาก็คือ ความเชื่อแบบเชนในการห้ามตน ซึ่งพวกเชนเป็นนักพรต คนอาจจะร่ำรวยไม่ว่าเพียงไรก็ตาม เขาจะต้องไม่หมกมุ่นกับตัณหาของตน เพราะถือวินัยควบคุมตนเองเป็นสําคัญ “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบาย เท่ากับความเจ็บป่วย” โดยสูตร-กฤต-อันคะ บอกไว้ว่า “คนใจบุญรับประทานน้อย ดื่มน้อย หลับน้อย” สิ่งเหล่านี้ถือเป็นวินัยในการห้ามตนเอง

38 ข้อใดไม่ใช่หลักการดํารงชีวิตที่ศาสนาเชนสอนว่า “คนใจบุญ ควร…”

(1) มีเพศสัมพันธ์น้อย

(2) กินน้อย

(3) ดื่มน้อย

(4) หลับน้อย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 ชาวเชนมีความเชื่อว่า “การตายที่บริสุทธิ์คือ”

(1) เผาตัวตาย

(2) โดดน้ำตาย

(3) อดอาหารตาย

(4) กลั้นลมหายใจตาย

ตอบ 3 หน้า 338, (คําบรรยาย) ชาวเชนมีความเชื่อว่า ความตายที่บริสุทธิ์คือการอดอาหารตายและถือเป็นการบําเพ็ญเพียรเพื่อตัดกิเลสและสะสมบุญ

40 พระพุทธเจ้า และมหาวีระ มีข้อใดไม่เหมือนกัน

(1) แนวปฏิบัติ

(2) ชาติกําเนิด

(3) ชื่อพระชายา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

 

41 ศาสนสถานที่สําคัญของศาสนาอิสลามอยู่ที่เมือง

(1) เยรูซาเลม

(2) เมกกะ

(3) มาดีนะห์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 412, (คําบรรยาย) ศาสนสถานที่สําคัญของศาสนาอิสลาม ได้แก่

1 นครเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล เป็นที่ตั้งของมัสยิดอัลอักซอ

2 นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นที่ตั้งของวิหารหินกาบะห์ มัสยิดบัยตุลเลาะห์

3 เมืองมาดีนะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นที่ตั้งของมัสยิดมาดีนะห์ มัสยิดอัลนะบะวีย์

42 คดีใดไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่การพิจารณาตัดสินของดาโต๊ะยุติธรรม (1) สามีฟ้องหย่าภรรยา

(2) สามีฆ่าภรรยา

(3) สามีถูกภรรยาฟ้องเรื่องแบ่งมรดก

(4) สามีถูกภรรยาฟ้องเรื่องสิทธิเลี้ยงดูลูก

ตอบ 2 หน้า 410 ดาโต๊ะยุติธรรม คือ ข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยและชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามในคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดก (เช่น สามีฟ้องหย่าภรรยา สามีถูกภรรยาฟ้องเรื่องแบ่งมรดก สามีถูกภรรยาฟ้องเรื่องสิทธิดูแลลูก)ของศาลชั้นต้นใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

43 หลักปฏิบัติที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ ข้อใดไม่ใช่

(1) ละหมาด

(2) ถือศีลอด

(3) พิธีฮัจญ์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 403 การทําพิธีฮัจญ์ คือ การเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อทํานมัสการบูชาหินกาบะห์ ณ วิหาร โดยถือเป็นภารกิจที่ชาวมุสลิมผู้บรรลุนิติภาวะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความสามารถและฐานะพร้อมที่จะทําได้ ควรกระทําอย่างยิ่ง ยกเว้นแต่จะอยู่ในสภาพหรือฐานะที่ไม่สามารถไปได้จริง ๆ เช่น ยากจน มีอาชีพต้องหาเลี้ยง ครอบครัวทุกวันตลอดปี เป็นต้น

44 ผู้ใดไม่ได้ถูกยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด

(1) คนชรามาก

(2) คนป่วย

(3) นักโทษ

(4) สตรีท้องใกล้คลอด

ตอบ 3 หน้า 402, (คําบรรยาย) การถือศีลอดจะถือเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม (30 วัน) และจะเริ่มทําในวันแรกของเดือนที่ 9 แห่งปฏิทินอิสลาม ซึ่งเรียกว่า เดือนรอมาดอนหรือรอมดอน (Ramadan) โดยผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด ได้แก่ ผู้ป่วย หญิงมีครรภ์ คนชรา ผู้เดินทาง ผู้ที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้วิกลจริตหรือมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ (สําหรับผู้ป่วยและผู้เดินทางจะต้องมาถือศีลอดชดเชยในภายหลังเมื่อพ้นภาวะนั้นแล้ว)

45 วันละหมาดสําคัญของชาวมุสลิมที่ควรต้องละหมาดในมัสยิดคือ

(1) วันศุกร์

(2) วันเสาร์

(3) วันอาทิตย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 401, 412 วันละหมาดสําคัญของชาวมุสลิมที่ควรต้องละหมาดในมัสยิด คือ วันศุกร์ ซึ่งถือเป็นวันพระของชาวมุสลิม โดยการทําละหมาดนี้เป็นหน้าที่ที่ชาวมุสลิมทั้งหญิงชายที่มีอายุ เข้าข่ายที่มีความรู้จักผิดชอบชั่วดี และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์พึงกระทํา ยกเว้นในขณะที่กําลังมึนเมา มีประจําเดือน เจ็บป่วย หลังคลอดบุตรใหม่ ๆ ไม่ต้องทําละหมาด

46 ผู้นับถือศาสนาอิสลามคนแรกคือของท่านนบีมูฮัมหมัด

(1) มารดา

(2) พี่สาว

(3) ภรรยา

(4) ลูกสาว

ตอบ 3 (คําบรรยาย) มุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) คนแรกของโลก คือ นางคาดียะฮ์ (Khadijah)ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกของท่านนบีมูฮัมหมัด โดยท่านนบีรักและเคารพภรรยาผู้นี้มาก และ ได้กล่าวถึงว่า “เมื่อข้าพเจ้ายากจน เธอทําให้ข้าพเจ้าร่ำรวยขึ้น เมื่อคนอื่นกล่าวหาว่าข้าพเจ้าพูดเท็จ เธอเท่านั้นที่เชื่อในข้าพเจ้า”

47 การแสวงบุญพิธีฮัจญ์มีข้อห้ามคือ ห้าม…

(1) ต่อสู้ทําร้ายกัน

(2) มีเพศสัมพันธ์

(3) มีจิตคิดร้าย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 403 การแสวงบุญทําพิธีฮัจญ์นั้น ผู้เข้าพิธีต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสะอาด เป็นการแสดงถึงความเสมอภาค ความสามัคคี และความศรัทธาต่อพระเจ้า ของชาวมุสลิมทั่วโลก โดยในระหว่างแสวงบุญนี้ห้ามประพฤติผิดต่าง ๆ ทั้งกาย วาจา ใจ ห้ามมีจิตคิดร้าย ห้ามมีเพศสัมพันธ์ ห้ามตกแต่งประดับร่างกาย ห้ามต่อสู้ทําร้ายกัน ห้ามมิให้ชาวอาหรับทุกเผ่าสู้รบกัน ฯลฯ

48 เอกลักษณ์ที่รู้จักทั่วไปจนเป็นสัญลักษณ์ของชาวอาหรับ ข้อใดเป็นวัฒนธรรม

(1) อูฐ

(2) พรม

(3) อินทผลัม

(4) ทะเลทราย

ตอบ 2 หน้า 392 393, (คําบรรยาย) เอกลักษณ์ของชาวอาหรับที่รู้จักทั่วไปจนเป็นสัญลักษณ์และเป็นวัฒนธรรมก็คือ “พรม” โดยพรมของชาวอาหรับนั้นมักจะทํามาจากขนสัตว์และเป็นงานที่ทําขึ้นจากมือ ทําให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมาหลายพันปี จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวทะเลทราย

49 ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ

(1) อินเดีย

(2) อิหร่าน

(3) อียิปต์

(4) อิสราเอล

ตอบ 1 หน้า 419, 428 429 ในสมัยโบราณศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาประจําชาติของชาวเปอร์เซีย แต่ปัจจุบันประเทศเปอร์เซียกลายเป็นประเทศอิหร่านและนับถือศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจําชาติ ทําให้ชาวเปอร์เซียที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาอยู่ในประเทศของตนไม่ได้ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ในดินแดนต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง และส่วนใหญ่อพยพไปตั้งถิ่นฐานรวมกลุ่มกัน อยู่มากเป็นชนกลุ่มน้อยและเรียกตัวเองว่า ชาวปาร์ซี (Parsee หรือ Parsi) ซึ่งในปัจจุบันศาสนิกชนของศาสนาโซโรอัสเตอร์ส่วนใหญ่นั้นตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในนครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย

50 ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มีความสัมพันธ์กับ…

(1) นกแร้ง

(2) นกอินทรี

(3) นกเหยี่ยว

(4) นกพิราบ

ตอบ 1 หน้า 425 คติความเชื่อเกี่ยวกับความตายของศาสนาโซโรอัสเตอร์ คือ การห้ามไม่ให้เผาศพห้ามนําศพไปทิ้งน้ำ ห้ามนําศพไปฝังดิน เพราะเชื่อว่าศพนั้นเป็นสิ่งสกปรกซึ่งจะทําให้ไฟ น้ำ และดินที่พวกเขานับถือต้องสกปรก แต่ให้ทําพิธีศพโดยการนําศพไปวางทิ้งไว้บนหอสูง เรียกว่า“หอคอยแห่งความสงบสุข” แล้วปล่อยให้นกแร้งมาจิกกินเป็นอาหาร

51 ศาสนาฮินดูจัดเป็นศาสนาประเภท…

(1) พหุเทวนิยม

(2) เอกเทวนิยม

(3) อเทวนิยม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 260, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาพหุเทวนิยม คือ นับถือพระเจ้าหลายองค์รวมทั้งนับถือผีสางเทวดามากมาย เชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่มีพลังอํานาจมาก และมีความเชื่อว่า ธรรมชาติต่าง ๆ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจิตวิญญาณที่มีพลังอํานาจแฝงเร้นอยู่ จึงยกย่องให้เป็นเทพเทพีมากมาย

52 ศาสนาพุทธจัดเป็นศาสนาประเภท………..

(1) พหุเทวนิยม

(2) เอกเทวนิยม

(3) อเทวนิยม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 290, (คําบรรยาย) ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม คือ ไม่นับถือบูชาเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด(แต่ก็มิได้ปฏิเสธในเรื่องเทพเจ้า เพียงแต่สอนว่าไม่ใช่ทางนําไปสู่การหลุดพ้น) เป็นศาสนาแห่ง การคิดหาเหตุผล มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งแล้วจึงเกิดผล ไม่สอนให้ศรัทธาเลื่อมใสอย่างงมงายในเรื่องใด และหลักธรรมคําสอนก็ไม่มีกฏข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติ แต่ให้ผู้นับถือเต็มใจปฏิบัติเองโดยอิสรเสรี

53 ศาสนาฮินดูมีเทพเจ้าสูงสุดที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละองค์ ข้อใดไม่ใช่

(1) 3 เนตร

(2) 3 เศียร

(3) 4 พักตร์

(4) 4 กร

ตอบ 2 หน้า 24, 273 – 275 ชาวอินเดียมีวัฒนธรรมความเชื่อว่าเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูมี 3 องค์รวมเรียกว่า “ตรีมูรติ” ได้แก่

1 พระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งในจักรวาล พระพรหมมี 4 หน้า (4 พักตร์) โดยมีพระสุรัสวดีเป็นพระมเหสี

2 พระวิษณุ (พระนารายณ์) ผู้รักษาทุกสิ่งในจักรวาล พระวิษณุมี 4 มือ (4 กร) โดยมีพระลักษมีเป็นพระมเหสี

3 พระอิศวร (พระศิวะ) ผู้ทําลายทุกสิ่ง ในจักรวาล พระอิศวรมี 3 ตา (3 เนตร) ซึ่งตาที่สามอยู่ที่หน้าผาก โดยมีพระอุมาเป็นพระมเหสีและมีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ และพระขันทกุมาร

54 “โขน” มีความสัมพันธ์กับมหากาพย์…

(1) มหาภารตะยุทธ

(2) อุปนิษัท

(3) รามายณะ

(4) เวทานตะ

ตอบ 3 หน้า 268, (คําบรรยาย) มหากาพย์รามายณะ เป็นเรื่องราวอมตะของวีรบุรุษที่เชื่อว่าเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์อวตารมาปราบมาร มีความยาวมาก และเป็นวรรณกรรมที่มีอิทธิพล ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียส่วนใหญ่ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาของชาติตนและประพันธ์เป็นวรรณคดี ระดับสูง เช่น ประเทศไทยได้รับเอามหากาพย์รามายณะมาแต่งเป็นคํากลอนเรื่องรามเกียรติ์ และนํามาเล่นเป็นโขน ละคร หนัง หุ่นกระบอก ฯลฯ

55 คัมภีร์ของศาสนาฮินดูที่มีความยาวที่สุดในโลกคือคัมภีร์

(1) พระเวท

(2) มหาภารตะ

(3) อุปนิษัท

(4) เวทานตะ

ตอบ 2 หน้า 269, (คําบรรยาย) คัมภีร์มหาภารตะ (มหาภารตะยุทธ) เป็นคัมภีร์มหากาพย์ (Epic Poetry) ที่ยาวที่สุดของอินเดียและมีความยาวที่สุดในโลก (ประมาณ 1 แสนโศลก) โดยคัมภีร์มหาภารตะนี้มีคัมภีร์ภควัทคีตาแทรกอยู่เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ด้วย

56 นารายณ์ 10 ปาง ข้อใดไม่ใช่ปางที่พระนารายณ์อวตาร

(1) เสือ

(2) หมูป่า

(3) เต่า

(4) ปลา

ตอบ 1 หน้า 278 – 280, (คําบรรยาย) ชาวฮินดูผู้นับถือนิกายไวษณวะ มีความเชื่อว่า พระนารายณ์(พระวิษณุ) ลงมาจุติยังโลก เพื่อปราบอธรรมและช่วยเหลือมนุษย์ 10 ครั้ง เรียกว่า พระนารายณ์อวตาร 10 ปาง ได้แก่

1 ปางมัตสยา (ปลา)

2 ปางกูรมะ (เต่า)

3 ปางวราหะ (หมูป่า)

4 ปางนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงโต)

5 ปางวามนะ (คนค่อม)

6 ปางภาราสูราม (พราหมณ์)

7 ปางทศราชาราม (พระราม)

8 ปางกฤษณะ (พระกฤษณะ)

9 ปางพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า)

10 ปางกัลกี (พระกัลกี หรือพระศรีอริยเมตไตรย)

57 ปาง “นรสิงห์” คือ ครึ่งและครึ่ง

(1) นาค-สิงโต

(2) นก-สิงโต

(3) คน-สิงโต

(4) วานร-สิงโต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 ข้อใดไม่อยู่ในนิกายศักติ

(1) พระพิฆเนศ

(2) พระอุมาเทวี

(3) พระลักษมีเทพี

(4) พระแม่คงคา

ตอบ 1 หน้า 281 นิกายศักติ คือ นิกายที่นับถือเทพี (เทพเจ้าที่เป็นหญิง) ซึ่งมีลักษณะ 2 แบบ คือ

1 เป็นเทพมารดา (ภาคฝ่ายดี) ให้ความรัก เมตตา อบอุ่น ฯลฯ เช่น พระสุรัสวดี (เทพแห่งความงาม ความเจริญ ศิลปะและปัญญา), พระลักษมี (เทพีแห่งความสุขในชีวิตสมรส ความเจริญร่ำรวย ความอุดมสมบูรณ์พูนสุข และความงาม), พระอุมาเทวี (เทพีแห่งมารดาแห่งการให้การช่วยเหลือ) รวมทั้งพระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ ฯลฯ

2 เป็นเทพแห่งการลงโทษผู้ที่ทําชั่ว (ภาคฝ่ายร้าย) ได้แก่ พระแม่ทุรคา และพระแม่กาลี

59 ข้อใดไม่อยู่ในมหายัญของศาสนาฮินดู

(1) ควาย

(2) โค

(3) คน

(4) ช้าง

ตอบ 1 หน้า 283 “มหายัญ” คือ การบูชายัญเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู โดยมีการบูชายัญด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

1 อัศวเมธะ คือ การฆ่าม้าบูชายัญ

2 โคเมธะ คือ การฆ่าโคบูชายัญ

3 ราชสูยะ คือ การฆ่าช้างบูชายัญ

4 นรเมธะ คือ การฆ่าคนบูชายัญ

60 ผู้แสวงบุญในวันศิวาราตรีจะปฏิบัติ ได้แก่

(1) อาบน้ำคงคาล้างบาป

(2) กินมังสวิรัติ

(3) สวดมนต์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 26, 284 วันศิวาราตรี เป็นวันที่ชาวฮินดูทําพิธีบวงสรวงบูชาและทําพลีกรรมแก่พระศิวะโดยก่อนจะถึงวันทําพิธีชาวฮินดูจะเริ่มถือศีลกินมังสวิรัติล่วงหน้าก่อน 2 – 3 วัน ทั้งนี้เมื่อถึง คืนบูชาพระศิวะ ชาวฮินดูจะพากันมาที่วิหารเทวาลัยของพระศิวะและนําข้าวตอกดอกไม้ต่าง ๆที่เตรียมมาวางตรงรูปเคารพของพระศิวะและศิวลึงค์ แล้วเริ่มต้นร้องเพลงของศาสนาที่มี เนื้อความสรรเสริญพระศิวะ สวดมนต์ และอ่านคัมภีร์ นอกจากนี้ชาวฮินดูยังไปอาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคา โดยมีความเชื่อว่าจะศักดิ์สิทธิ์ที่สุดถ้าหากได้อาบในวันศิวาราตรีนี้ ไม่มี

 

61 “ปัสสาวะของ…” ทําให้วิญญาณบริสุทธิ์ตามความเชื่อของชาวฮินดู

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) วัว

(4) ควาย

ตอบ 3 หน้า 288 ชาวฮินดูเชื่อว่า วัว (โค) เป็นตัวแทนของเทพเจ้าทั้งปวง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากวัวเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปัสสาวะของวัวทําให้วิญญาณและร่างกายมีความบริสุทธิ์ ตามถนนและในเมือง ต่าง ๆ ชาวฮินดูวรรณะต่ําจะเดินตามวัวเพื่อเอาอุจจาระของวัวด้วยความเคารพ และจะเก็บไปผสมดินฉาบฝาผนังบ้าน นอกจากนี้ยังถือว่าการให้อาหารวัวเป็นคุณธรรมสูง

62 “ฆ่า ” บาปเท่ากับฆ่าพราหมณ์ตามความเชื่อของชาวฮินดู

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) วัว

(4) ควาย

ตอบ 3 หน้า 288 ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าพระพรหมสร้างวัวและพราหมณ์ในวันเดียวกันจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากัน ดังนั้นการฆ่าวัวจึงบาปเท่า ๆ กับการฆ่าพราหมณ์ และการรับประทานเนื้อวัวนั้น ชาวฮินดูถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายยิ่งกว่าการรับประทานเนื้อมนุษย์ วัวจึงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวฮินดู และทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากวัวล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

63 เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูคือ

(1) ตรีมูรติ

(2) พระพรหม

(3) พระศิวะ

(4) พระนารายณ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

64 พาหนะของพระพรหมคือ

(1) หงส์

(2) นกยูง

(3) มังกร

(4) ไก่ฟ้า

ตอบ 1 หน้า 288 289 สัตว์ที่เป็นพาหนะของเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้แก่ วัว ชื่อนนทิเป็นพาหนะของพระศิวะ, พญาครุฑและพญานาคเป็นพาหนะของพระวิษณุ (พระนารายณ์), หงส์เป็นพาหนะของพระพรหม, นกยูงเป็นพาหนะของพระสุรัสวดี, หนูเป็นพาหนะของ พระพิฆเนศ, สิงโตเป็นพาหนะของพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี, ควาย (กระบือ) เป็นพาหนะ ของพญายม (พญามัจจุราช) และช้างเป็นพาหนะของพระอินทร์ ซึ่งสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู

65 พาหนะของพระศิวะคือ

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) วัว

(4) ควาย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 พาหนะของพญามัจจุราชคือ

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) วัว

(4) ควาย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

67 พาหนะของพระนารายณ์ ข้อใดไม่ใช่

(1) พญาครุฑ

(2) พญานาค

(3) พญาวานร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

68 พุทธกิจ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาโปรดเหล่าเทวดา เวลา…..

(1) เย็น (พระอาทิตย์จะตกดิน)

(2) หัวค่ำ (ก่อนเที่ยงคืน)

(3) ตึก (หลังเที่ยงคืน)

(4) เช้ามืด (ใกล้สว่าง)

ตอบ 3 หน้า 294 295, (คําบรรยาย) พุทธกิจประจําวัน 5 เวลาของพระพุทธเจ้า มีดังนี้

1 เวลาเช้า แสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์ซึ่งได้กําหนดรู้ด้วยพระญาณ (เช่น ทรงแสดงธรรมโปรด องคุลีมาล)

2 เวลาเย็น แสดงธรรมโปรดประชาชน

3 เวลาค่ำ (ก่อนเที่ยงคืน) แสดงธรรมโปรดเหล่าภิกษุ

4 เวลาดึก (หลังเที่ยงคืน) แสดงธรรมและตอบปัญหาธรรมโปรดเหล่าเทวดา

5 เวลาจวนสว่าง (ใกล้รุ่ง) ตรวจดูว่าควรเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ใด

69 หัวใจของพุทธศาสนา ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า

(1) ไตรสิกขา

(2) ไตรลักษณ์

(3) ไตรสรณคมณ์

(4) ไตรภูมิ

ตอบ 1 หน้า 300 – 302 อริยมรรค 8 ประการหรือองค์ประกอบทั้ง 8 ของมรรคเมื่อย่อลงแล้วเรียกว่า “ไตรสิกขา” คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนี้ 1 สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ คือ ปัญญา

2 สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ คือ ศีล

3 สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ คือ สมาธิ

70 “กวนอิม” แปลว่า ผู้….. ของสรรพสัตว์

(1) เห็นความทุกข์ยาก

(2) ได้ยินเสียงอ้อนวอน

(3) อวยพรแก่จิตวิญญาณ

(4) เป็นมิ่งขวัญศรัทธา

ตอบ 2 หน้า 307 พุทธศาสนานิกายมหายานในจีนจะนับถือศรัทธาพระโพธิสัตว์เด่นกว่าพระพุทธเจ้าโดยเรียกชื่อพระโพธิสัตว์ว่า “พระอวโลกิเตศวร” ซึ่งมี 6 ปาง โดยปางสําคัญที่ชาวพุทธมหายาน นับถือมากที่สุด คือ ปางที่เป็นพระกวนอิม ซึ่ง “กวนอิม” แปลว่า “ผู้ได้ยินเสียง” อันหมายถึง ผู้ได้ยินเสียงสวดอ้อนวอนจากสัตว์โลก

71 พระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในนิกาย

(1) มหานิกาย

(2) ธรรมยุตินิกาย

(3) มหายาน

(4) ลังกาวงศ์

ตอบ 1 หน้า 304 305, (คําบรรยาย) พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกายที่สําคัญ คือ

1 นิกายหินยาน (เถรวาท) ยึดมั่นแน่นแฟ้นในหลักคําสอนของพระพุทธเจ้าและพระวินัย โดยแบ่งเป็นนิกายย่อย ๆ เช่น มหานิกาย (เป็นนิกายของวัดและพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย) ธรรมยุตินิกาย นิกายลังกาวงศ์ ฯลฯ นับถือกันในศรีลังกา ไทย มอญ พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น

2 นิกายมหายาน (อาจริยวาทหรืออุตรนิกาย) มีการปรับปรุงคําสอนและพระวินัยให้เหมาะกับบุคคลและสภาพแวดล้อม โดยแบ่งเป็นนิกายย่อย ๆ เช่น นิกายเซน นิกายสุขาวดี ฯลฯ

72 สมเด็จพระสังฆราชของไทยองค์ต่อไปเป็นองค์ที่

(1) 20

(2) 22

(3) 9

(4) 19

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระสังฆราชของไทยองค์ต่อไปเป็นองค์ที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดิ์ และเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) สังกัดพุทธศาสนามหานิกาย

73 ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกอยู่ที่ประเทศ

(1) ศรีลังกา

(2) ไทย

(3) พม่า

(4) อินเดีย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนารวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วโลก โดยได้มีการจัดตั้งสํานักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2508 นอกจากนี้ยังมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

74 ชนชาติที่พระเจ้าเลือกให้รู้จักนับถือพระเจ้าเป็นชาติแรกคือ

(1) ชาวอิสราเอล

(2) ชาวยิว

(3) ชาวฮิบรู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 368 369, (คําบรรยาย) อับราฮัมได้ให้คํามั่นสัญญากับพระเจ้าว่า ลูกชายชาวอิสราเอล(ชาวยิวหรือชาวฮิบรู) ทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันว่า ชนชาติอิสราเอลเป็นชนชาติแรกที่พระเจ้าทรงเลือก (The Chosen People) และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญากับพระเจ้า

75 ศาสนายูดาห์มีอายุยาวนานกว่า 4,000 ปี และมีผู้นับถือจนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับ….

(1) อียิปต์โบราณ

(2) กรีกโบราณ

(3) พราหมณ์-ฮินดู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 359 ศาสนายูดาห์ เป็นศาสนาประจําชาติของชนชาติอิสราเอล และถือเป็นศาสนาที่สําคัญศาสนาหนึ่งของโลก เพราะเป็นศาสนาที่มีอายุยืนยาวนานกว่า 4,000 ปี ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และยังมีผู้นับถือสืบต่อมาอย่างไม่ขาดสายจนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ส่วนศาสนาอียิปต์โบราณและกรีกโบราณเป็นศาสนาที่ตายแล้ว)

76 พระเจ้าประทานพรให้ชาวอิสราเอล ว่า…..

(1) ให้มีมานะอดทนดุจมดในทะเลทราย

(2) ให้มีลูกหลานมากมายดุจเม็ดทรายในทะเลทราย

(3) ให้พบขุมทรัพย์มากมายในทะเลทราย

(4) ให้กล้าหาญ

ตอบ 2 หน้า 361 พระเจ้าประทานพรให้แก่อับราฮัมและลูกหลานชนชาติอิสราเอลทั้งปวงว่าชาวอิสราเอลทั้งหลายจะอยู่ทั่วไปในโลกดุจดวงดาวบนท้องฟ้า ลูกหลานอิสราเอลจะมีมากมาย ดุจเม็ดทรายในทะเลทราย ชาวอิสราเอลจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดที่สุด และที่สําคัญจะประทาน “ดินแดนแห่งสัญญา” (The Promised Land) ให้ชาวอิสราเอลได้อยู่อาศัยสร้างบ้านเมืองที่ถาวรและอุดมสมบูรณ์

77 “โมเสส” แปลว่า ผู้รอดตายจาก……

(1) แผ่นดินดูด

(2) แม่น้ำ

(3) ไฟไหม้ป่า

(4) ลมพายุ

ตอบ 2 หน้า 362 โมเสสถือกําเนิดจากหญิงชาวยิวที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลนักบวชของศาสนายูดาห์เมื่อคลอดนางเกรงว่าลูกจะถูกฆ่าจึงแอบซ่อนบุตรชายไว้ในตะกร้าสานด้วยหวาย แล้วลอยตะกร้า ไปในแม่น้ําไนล์ ต่อมาพระธิดาของฟาโรห์แห่งอียิปต์พบเข้าจึงได้นําทารกชายนั้นมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและให้ชื่อว่า “โมเสส” ซึ่งแปลว่า ผู้รอดตายจากน้ำ

78 บัญญัติ 10 ประการ วันที่ 7 พระเจ้าให้ …..

(1) หยุดทํางาน

(2) เที่ยวนอกบ้านหย่อนใจ

(3) ซ่อมและทําความสะอาดบ้าน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 364, 367, (คําบรรยาย) วันเสาร์ถือเป็นวันพระของศาสนายูดาห์ เรียกว่า วันแซบบาธ – หรือวันซะบาโต คือวันที่พระเจ้าทรงสร้างโลกและจักรวาลเสร็จ และทรงหยุดพักผ่อนในวันที่ 7 โดยวันแซบบาธเป็นวันที่ชาวอิสราเอลทั้งหลายจะหยุดทํางาน และการทํากิจการต่าง ๆ ทุกชนิด แม้แต่การก่อไฟในเตาก็งดเว้น เพื่อบูชาพระเจ้าตามที่ปรากฏในบัญญัติ 10 ประการ คือ ห้ามทําการสิ่งใดในวันที่ 7 และให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ด้วย

79 “วันที่ 7” ในบัญญัติ 10 ประการ คือวัน

(1) ศุกร์

(2) เสาร์

(3) อาทิตย์

(4) วันที่ 7 ของเดือน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78 ประกอบ

80 ชาวอิสราเอลที่เคร่งจะไม่กิน

(1) หมูหัน-หมูย่างทั้งตัว

(2) ต้มยํากุ้งมังกร

(3) ต้มเครื่องในหมูและเลือด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 370, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์ มีข้อห้ามในเรื่องการรับประทานอาหาร คืออาหารที่รับประทานได้ประเภทเนื้อสัตว์ต้องเป็นสัตว์ประเภทเคี้ยวอาหาร เคี้ยวเอื้อง ถ้าเป็นปลาต้องเป็น ปลาที่มีครีบและหาง (เช่น ปลาแซลมอน ปลาช่อน) ถ้าเป็นสัตว์ปีกต้องฆ่าตามวิธีที่กําหนดไว้ และเนื้อสัตว์ที่ฆ่าต้องเอาเลือดออกให้หมด นอกจากนี้อับราฮัมยังห้ามชาวอิสราเอลไม่ให้กิน เนื้อหมู เนื้อหมา ปลาหมึก ปลาไหล และกุ้ง เพราะเป็นสัตว์ที่กินของสกปรก

81 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ เชิงเทียน ……

(1) 2 ก้าน

(2) 3 ก้าน

(3) 5 ก้าน

(4) 7 ก้าน

ตอบ 4 หน้า 371 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ เชิงเทียน ซึ่งมีที่ตั้งเทียน 7 ก้าน (เล่ม) เรียงกัน

82 ศาสนาใดยอมรับศรัทธาบัญญัติ 10 ประการ

(1) ยูดาห์

(2) คริสต์

(3) อิสลาม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 364, 366, (คําบรรยาย) บัญญัติ 10 ประการ เป็นหลักธรรมคําสอนสูงสุดที่ชาวอิสราเอลทั้งหมดถือปฏิบัติ ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์โทราห์ของศาสนายูดาห์ นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ และคัมภีร์อัล-กุรอาน ของศาสนาอิสลามด้วย

83 ศาสนายูดาห์มีอิทธิพลต่อการดํารงชีวิตของชาวอิสราเอล เรื่อง ….

(1) อาหารการกิน

(2) ชีวิตคู่-เพศสัมพันธ์

(3) การก่อตั้งประเทศ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 364, 370, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์มีอิทธิพลต่อการดํารงชีวิตของชาวอิสราเอล ได้แก่

1 เรื่องอาหารการกิน ซึ่งเป็นข้อห้ามทางศาสนาที่มีความสําคัญต่อชาวอิสราเอลมาก

2 เรื่องชีวิตคู่-เพศสัมพันธ์ เช่น การห้ามประพฤติผิดประเวณี ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักธรรมคําสอนสูงสุดในบัญญัติ 10 ประการที่พระเจ้าพระทานพรแก่ชาวอิสราเอล

3 เรื่องการก่อตั้งประเทศ ซึ่งชาวอิสราเอลสามารถดํารงรักษาวัฒนธรรมของชนชาติตนไว้ได้จนสามารถก่อตั้งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน 84 พระเยซูกล่าวว่าเป็น….จึงถูกโรมันลงโทษตรึงกางเขน

(1) Son of God

(2) King of the Kings

(3) Messiah

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 372, 375 – 379, 385 พระเยซูทรงประกาศว่า พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้า (Son of God) เป็นผู้มาไถ่บาปช่วยเหลือชาวยิวและมวลมนุษย์หรือพระคริสต์ (Christ) หรือพระเมสสิอาห์ (Messiah หรือพระผู้ช่วยให้รอด) และพระองค์คือกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวงในโลก (King of the Kings) ซึ่งคําประกาศดังกล่าวไม่ตรงกับที่ชาวยิวหวังไว้ เพราะพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญ ไม่ใช่กษัตริย์จริง ๆ ไม่มีกองทัพอันเกรียงไกรแล้วจะปลดปล่อยช่วยเหลือชาวยิวได้อย่างไร ทําให้ชาวยิวบางส่วนไม่เชื่อและไม่พอใจในพระองค์ จึงได้วางแผนใส่ร้ายและยุยงให้ผู้สําเร็จราชการโรมันจับพระองค์มาลงโทษด้วยการตรึงกางเขน

85 พระเยซูกล่าวว่า “คนสบายไม่ต้องการหมอ แต่หมอจําเป็นสําหรับคนป่วย พระเยซูมาเพื่อ…”

(1) คนป่วย

(2) คนสบาย

(3) คนบาป

(4) คนบุญ

ตอบ 3 หน้า 376 พระเยซูเสด็จไปในท่ามกลางคนจนและคนต่ำต้อย โดยรักษาคนเจ็บป่วย ปลอบโยนผู้โศกเศร้า และนําความหวังมาสู่จิตใจของคนผู้สํานึกผิด และเมื่อพระเยซูถูกต่อว่าที่มาคลุกคลี กับคนบาป พระเยซูกล่าวว่า “บุคคลผู้สบายดีก็ไม่ต้องการหมอ แต่หมอจําเป็นสําหรับผู้เจ็บป่วย ข้าพเจ้ามาไม่ใช่เพื่อคนบุญ แต่มาเพื่อคนบาป เพื่อจะได้สํานึกผิด”

86 พระเยซูกล่าวว่า “จงทําดีกับคนที่……….

(1) รักเรา

(2) ช่วยเหลือเรา

(3) เกลียดเรา

(4) ไม่รู้จักเรา

ตอบ 3 หน้า 377 เทศนาของพระเยซู มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ จงรักศัตรูของท่าน จงทําดีแก่คนที่เกลียดท่าน จงอวยพรแก่ผู้ที่ด่าท่าน และขอพรให้ผู้ที่ประทุษร้ายท่าน…”

87 พระเยซูกล่าวว่า “จง…….แก่คนที่ด่าท่าน”

(1) อวยพร

(2) ประณาม

(3) ไม่โต้ตอบ

(4) นิ่งเฉย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

88 ชาวคริสต์จะให้ “ไข่ทาสีแดง” แก่กันในวัน

(1) คริสต์มาส

(2) อีสเตอร์

(3) รับศีลล้างบาป

(4) วันปีใหม่

ตอบ 2 หน้า 379 – 381, (คําบรรยาย) พระเยซูทรงสั่งว่าพระองค์จะสิ้นชีวิตในวันศุกร์ และจะฟื้นคืนชีพในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่สามนับจากวันสิ้นพระชนม์ ทั้งนี้ชาวคริสต์จะมีศาสนพิธี ที่ฉลองกันอย่างใหญ่โต เพื่อระลึกถึงวันที่พระเยซูฟื้นคืนชีพนี้ เรียกว่า วันอีสเตอร์ (Easter)โดยจะมีของขวัญที่นิยมมอบให้กันในวันนี้ คือ ไข่ทาสีแดง อันถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิด

89 สันตะปาปา (Pope) คนปัจจุบันคือ

(1) จอห์น

(2) เจสัน

(3) ฟรานซิส

(4) แฟรงค์

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พระสันตะปาปา (Pope) องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส(Francis) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว ซึ่งนับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากทวีปอเมริกาและคณะเยสุอิต

90 พระเยซูนับถือศาสนา…

(1) ยูดาห์

(2) คริสต์

(3) โซโรอัสเตอร์

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 372 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สืบเนื่องมาจากศาสนายูดาห์ โดยศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู ก็เป็นชาวอิสราเอลและนับถือศาสนายูดาห์มาก่อน

91 ศาสดาของศาสนาใดไม่ใช่นักบวช

(1) ซิกข์

(2) คริสต์

(3) อิสลาม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศาสดาที่ไม่ใช่นักบวช ได้แก่

1 คุรุนานัก แห่งศาสนาซิกข์

2 พระเยซู แห่งศาสนาคริสต์

3 นบีมูฮัมหมัด แห่งศาสนาอิสลาม

4 อับราฮัม แห่งศาสนายูดาห์

92 ศาสนาที่ไม่ปรากฏผู้ก่อตั้งได้แก่ศาสนา

(1) ฮินดู

(2) อียิปต์โบราณ

(3) กรีกโบราณ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 227, 260, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดู อียิปต์โบราณ กรีกโบราณ อินคา และชินโต เป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่มาก ไม่สามารถสืบค้นหาหลักฐานได้ว่าใครเป็นผู้ก่อตั้ง จึงไม่ปรากฏว่า มีศาสดา คงมีแต่องค์ประกอบอื่น ๆ ทางศาสนา เช่น ลัทธิความเชื่อ หลักปฏิบัติ กฎเกณฑ์ พิธีกรรม คําสวด จารีตประเพณีทางศาสนา และสถานสําคัญทางศาสนาที่ใช้ประกอบพิธีเท่านั้น

93 ศาสนาใดกําหนดว่ามนุษย์เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน

(1) ฮินดู

(2) พุทธ

(3) คริสต์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 273 274 ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่กําหนดว่ามนุษย์เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ศาสนาฮินดูมีความเชื่อเรื่องพระพรหมว่าเป็นผู้สร้างจักรวาลและโลก และทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ทรงสร้างมนุษย์จากส่วนต่าง ๆ ทําให้มนุษย์มีชั้นวรรณะ รวมทั้งยังเป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตของมนุษย์ ให้เกิดมามีฐานะรูปร่างหน้าตาต่างกันไป

94 ศาสนาใดนับถือพระเจ้าองค์เดียวซึ่งสร้างโลกและมนุษย์

(1) ศาสนายูดาห์

(2) ศาสนาคริสต์

(3) ศาสนาอิสลาม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 359 360 ศาสนายูดาห์เป็นรากฐานของศาสนาคริสต์และอิสลาม กล่าวคือ ทั้งศาสนาคริสต์และอิสลามยอมรับนับถือและรับรองคัมภีร์ของศาสนายูดาห์ นอกจากนี้ ศาสนาอิสลามยังนับถือว่า “อับราฮัม” บรรพบุรุษของชาวอิสราเอลผู้นับถือพระเจ้าอย่างเคร่งครัด เป็นศาสดาพยากรณ์ของศาสนาอิสลามด้วย ซึ่งทั้งศาสนายูดาห์ คริสต์ และอิสลาม ต่างก็นับถือ พระเจ้าองค์เดียวกันที่เป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษย์ และทุกสิ่งทุกอย่างทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในโลก

95 “แพะรับบาป” เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของชาว

(1) ชาวกรีก

(2) ชาวอิสราเอล

(3) ชาวโรมัน

(4) ชาวอียิปต์

ตอบ 2 หน้า 367 – 368 เทศกาลยมคัปปูร์ (Yom-Kippur) เป็นเทศกาลที่ชาวอิสราเอลทําพิธีสํานึกบาปหรือเรียกว่า 10 วันแห่งการล้างบาป โดยชาวอิสราเอลจะปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดทําการอดอาหาร ในตอนกลางวัน ทําจิตใจให้สงบระงับ ไม่ทําบาปใดเลย และในการทําพิธีสํานึกบาปนี้ ชาวอิสราเอล จะทําพิธีเป็นว่าได้ยกบาปไปไว้ที่แพะ (ตัวผู้) ให้แพะรับบาปแล้วไล่แพะเข้าป่าพาเอาบาปของชาวอิสราเอลไปเสีย

96 คนแรกที่บอกว่าพระเจ้าให้ชายผู้นับถือพระเจ้าขริบปลายอวัยวะเพศคือ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 หน้า 361, 368 369, (คําบรรยาย) อับราฮัมบรรพบุรุษของชาวอิสราเอลเป็นคนแรกที่ประกาศให้ชาวอิสราเอลทําดังนี้

1 ให้ชาวอิสราเอลทั้งปวงศรัทธานับถือในพระเจ้าองค์เดียว

2 ให้ชายอิสราเอลทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ โดยอับราฮัมถือเป็นผู้ที่ขริบปลายอวัยวะเพศคนแรก

3 ให้ชาวอิสราเอลถือศีลอด โดยให้ถือศีลอดเป็นเวลา 10 วัน

97 ศาสนาใดที่สามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้ทุกเพศทุกวัย

(1) ฮินดู

(2) พุทเธ

(3) เชน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 312 313, (คําบรรยาย) พุทธศาสนา เป็นศาสนาแรกที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันจะต่างกันก็ตรงกรรมที่สั่งสมมา ดังนั้นจึงปฏิเสธเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น คุณภาพของคนอยู่ที่ความดี มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเพศใดอายุเท่าใด เกิดในชาติตระกูลใด มีฐานะยากดีมีจนต่างกันอย่างไร ก็สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้

98 รัฐบาลประกาศให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติ

(1) มาฆบูชา

(2) อาสาฬหบูชา

(3) วิสาขบูชา

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” ทั้งนี้ในปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่นการตักบาตร การฟังธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น

99 ผู้นับถือศาสนาใดไม่กินเนื้อหมู

(1) ยูดาห์

(2) อิสลาม

(3) เชน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 404 405 ข้อห้ามในศาสนาอิสลามที่ชาวมุสลิมต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ได้แก่

1 ห้ามกินสัตว์ที่ตายเอง สัตว์ที่มีโรค ห้ามกินหมู และห้ามกินสัตว์ที่ถูกนําไปเซ่นไหว้ สัตว์ที่ถูกรัดคอให้ตายโดยที่มิได้เชือดให้เลือดไหล

2 ห้ามฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งตัวเองและลูกในท้อง

3 ห้ามบริโภคอาหารที่หามาได้โดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ

(ดูคําอธิบายข้อ 36 และข้อ 80 ประกอบ)

100 โทรศัพท์มือถือที่ถูกที่สุดในโลกราคา 130 บาท ประเทศใดผลิตขาย

(1) อิสราเอล

(2) อินเดีย

(3) จีน

(4) เกาหลีเหนือ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อินเดียได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนราคาถูกที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก คือ “ฟรีดอม 251” ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ริงกิง เบลล์ ถูกตั้งราคาจําหน่าย เอาไว้เพียง 251 รูปี หรือ 130 บาท

 

PHI1003 ปรัชญาเบื้องต้น 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 คําตอบจากข้อ 10 สัมพันธ์กับข้อใด

(1) ปรัชญากรีกโบราณ

(2) ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง

(3) ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

(4) ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย

ตอบ 1 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) ทฤษฎีทวินิยมของปรัชญากรีกโบราณ เชื่อว่า สสารและจิต มีอยู่จริง โดยทฤษฎีนี้เห็นว่าสารเบื้องต้นที่มีลักษณะเป็นสสาร (Material) และสารเบื้องต้นที่มี ลักษณะเป็นจิต (Spiritual) นั้นเป็นความเป็นจริงและซ่อนอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทั้งหลายของโลก และยังเป็นสารเบื้องต้นที่คู่กันมาตั้งแต่เริ่มแรก

2 แนวคิดใดตอบคําถามเรื่องความเป็นจริงของโลกและมนุษย์

(1) สสารนิยม, จิตนิยม, ธรรมชาตินิยม

(2) จิตนิยม, มนุษยนิยม, ธรรมชาตินิยม

(3) จิตนิยม, สสารนิยม, มนุษยนิยม

(4) สสารนิยม, จิตนิยม, เหตุผลนิยม

ตอบ 1 หน้า 25, (คําบรรยาย) แนวคิดที่ตอบคําถามเรื่องความเป็นจริงของโลกและมนุษย์ มีอยู่ 3 ทัศนะคือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม

3 แนวคิดที่อ้างว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงคล้ายการทํางานของเครื่องจักรเรียกว่าเป็นแนวคิดของ

(1) จักรกลนิยม / ธรรมชาตินิยม

(2) จักรกลนิยม / สสารนิยม

(3) นวนิยม / ธรรมชาตินิยม

(4) นวนิยม / สสารนิยม

ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) แนวคิดของสสารนิยม เห็นว่า จักรวาลอยู่ในระบบจักรกล โดยเชื่อว่าการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงคล้ายการทํางานของเครื่องจักร หรืออาจเรียกว่า “จักรกลนิยม”

4 ใครน่าจะมีแนวคิดแบบสสารนิยม

(1) แจ๋วเชื่อว่าทําดีย่อมได้ดี เพราะเป็นสัจธรรม

(2) เจ๋งอุทิศตนเพื่อความดี เพราะเป็นการสร้างบารมีให้กับตัวเอง

(3) จืดไม่เชื่อเรื่องการทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 25, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง โดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางกายเท่านั้น และปฏิเสธชีวิตหลังการตาย หรืออาจกล่าวได้ว่าการตายก็คือการสิ้นสุดของมนุษย์นั้นเอง

5 ทฤษฎีทอนลง หมายถึง ซึ่งเป็นแนวคิดของลัทธิ

(1) วัตถุไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งสมมติ / สสารนิยม

(2) คุณค่าไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งสมมติ / สสารนิยม

(3) วัตถุสามารถแยกย่อยเป็นหน่วยย่อยสุดท้าย / ธรรมชาตินิยม

(4) วัตถุสามารถแยกย่อยเป็นหน่วยย่อยสุดท้าย / สสารนิยม

ตอบ 4 หน้า 32, (คําบรรยาย) “ทฤษฎีทอนลง” ของลัทธิสสารนิยม หมายถึง วัตถุหรือสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อยสุดท้ายที่เล็กที่สุด นั่นคือ การทอนสิ่ง ๆ หนึ่งลงเป็นเพียงที่รวมหน่วยย่อย เช่น คน ๆ หนึ่ง (หน่วยรวม) คือกลุ่มของเซลล์ (หน่วยย่อย) เซลล์หนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) ก็คือกลุ่มของโมเลกุล หลายอัน (หน่วยย่อย) โมเลกุลหนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) คือกลุ่มของอะตอมหลายอะตอม (หน่วยย่อย)อะตอมหนึ่ง ๆ (หน่วยรวม) ก็คือกลุ่มของอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน เป็นต้น

6 นักสสารนิยมมีทัศนะเรื่องการดับของจิตอย่างไร

(1) จิตดับเมื่อร่างกายตาย

(2) ไม่มีจิต มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น

(3) จิตไม่ดับแม้ร่างกายตาย

(4) จิตดับเมื่อหมดกิเลส

ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า ไม่มีจิตวิญญาณ มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น ซึ่งสมองนั้นเป็นสสาร คือ เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วก็จะออกมาเป็นโมเลกุล และเมื่อแยกต่อไปก็จะเป็นอะตอม อิเล็กตรอน โปรตอน และอื่น ๆ ต่อไป ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับจะมีก็แต่การรวมตัวและการแยกตัวของสิ่งอันเป็นหน่วยเดิมเท่านั้น

7 ข้อใดกล่าวถูกต้อง ตามทัศนะสสารนิยม

(1) การตายคือ การสิ้นสุดของมนุษย์

(2) การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าคือ แสวงหาสัจธรรม

(3) มนุษย์อยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราว ยังมีดินแดนอันนิรันดร์รอมนุษย์อยู่

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

8 ข้อใดที่แนวคิดจิตนิยมยอมรับว่าเป็นจริงแท้อย่างที่สุด

(1) สสาร

(2) โลก

(4) อสสาร

ตอบ 4 หน้า 25, (คําบรรยาย) จิตนิยม ยอมรับว่าอสสาร (Immaterial) หรือจิตเท่านั้นที่เป็นจริงแท้ที่สุดโดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางใจเท่านั้น และไม่ปฏิเสธชีวิตหลังการตาย

9 โลกมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงนี้จะทําให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเป็นแนวคิดของ

(1) อันตนิยม / จิตนิยม

(2) อันตนิยม / ธรรมชาตินิยม

(3) นวนิยม / ธรรมชาตินิยม

(4) นวนิยม / จิตนิยม

ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ลัทธินวนิยมเป็นแนวคิดของธรรมชาตินิยม ซึ่งมีลักษณะที่สําคัญคือ มีความเชื่อในความเป็น “พหุนิยม” หรือความมากมายหลายหลาก ในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริง มากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่ ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่ และคุณภาพใหม่ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด และการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา

10 ข้อใดสัมพันธ์อยู่กับแนวคิดแบบทวินิยม

(1) เชื่อว่าสสารและจิต มีอยู่จริง

(2) เชื่อว่าวัตถุและสสาร มีอยู่จริง

(3) เชื่อว่าอสสารและจิต มีอยู่จริง

(4) เชื่อว่าโลกและสสาร มีอยู่จริง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

11 ข้อใดกล่าวถูกต้อง

(1) “ปรัชญา” มีความหมายตามศัพท์ตรงกับคําว่า Philosophy

(2) คําตอบในเนื้อหาของวิชาปรัชญายังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนตายตัว

(3) การสงสัยและพยายามหาคําตอบไม่ใช่ลักษณะของ Philosophy

(4) ในวิชาปรัชญาเบื้องต้นเนื้อหาของวิชาเน้นในเรื่อง “ความรู้อันประเสริฐ

ตอบ 1 หน้า 1 คําว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งมีความหมายตามศัพท์ตรงกับคําว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ อันหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนาจะเป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้นหรือความรักในความรู้ อันเป็นความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้หรือมีความสงสัย

12 ข้อใดกําลังกล่าวถึง “ปรัชญา” ในความหมายตามวิชา PHI 1003

(1) ความรู้อันประเสริฐที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตได้

(2) คติสอนใจ คําคม และแง่คิดที่ให้ความหมายและคุณค่าของชีวิต

(3) แนวคิดโดยทั่วไปของมนุษย์ เป็นการตอกย้ำว่ามนุษย์ คือ สิ่งที่รู้คิด

(4) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีระเบียบวิธีในการศึกษาเป็นของตัวเอง

ตอบ 3 หน้า 1, (คําบรรยาย) “ปรัชญา” ในความหมายตามวิชา PHI 1003 นั้นเป็นเรื่องของผู้ใช้ปัญญาผู้ที่ไม่ยอมรับสิ่งใดโดยง่ายดาย และเป็นผู้ที่ใคร่รู้ตลอดเวลา ดังนั้นแนวคิดโดยทั่วไปของมนุษย์จึงเป็นการตอกย้ำว่ามนุษย์ คือ สิ่งที่รู้คิด

13 คําตอบของนักปรัชญาต่อปัญหาต่าง ๆ มีลักษณะอย่างไร

(1) ปัญหาเดียวกันมีได้หลายคําตอบ

(2) สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

(3) คําตอบมีความแน่นอนตายตัว

(4) ความจริงสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 1, 9, (คําบรรยาย) ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญา ซึ่งลักษณะสําคัญประการหนึ่งของปรัชญาก็คือ แม้แต่คําตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้น ก็อาจมีคําตอบที่เป็น ไปได้หลายคําตอบ โดยยังไม่มีการกําหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคําตอบใดเป็นคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุด วิชาปรัชญาถือว่าคําตอบทุกคําตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น ดังนั้นปรัชญาจึงช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ด้วยการใช้ปัญญาแสวงหาคําตอบที่เป็นไปได้

14 ข้อใดแสดงให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์สงสัยก็มักจะพยายามหาคําตอบ ซึ่งลักษณะนี้มีมาตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์แล้ว

(1) ปรากฏการณ์ในธรรมชาติน่าจะมีผู้มีอํานาจมากบันดาลให้เป็นไป

(2) ความเป็นไปในธรรมชาติน่าจะเกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ที่ควบคุมธรรมชาติได้

(3) การไม่ทําให้ผู้ควบคุมธรรมชาติโกรธน่าจะทําให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) ปรัชญาของมนุษย์ในยุคดึกดําบรรพ์ มีปัญหาร่วมกันอย่างหนึ่งคือ ปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติ ว่ามาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร โดยมนุษย์ยุคนี้เชื่อว่าปรากฏการณ์ ธรรมชาติน่าจะเกิดจากเทพผู้มีอํานาจมากบันดาลให้เป็นไป ดังนั้นความเป็นไปในธรรมชาติน่าจะ เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ที่ควบคุมธรรมชาติได้ และการไม่ทําให้ผู้ควบคุมธรรมชาติโกรธน่าจะทําให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น หรือมนุษย์จะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติได้ก็ต้องเอาใจเทพ คือทําให้เทพ พึงพอใจด้วยการถวายของบูชา

15 ความเป็นปรัชญาเริ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากแนวคิดของทาเลส เนื่องจากเหตุผลใด

(1) ใช้เหตุผลมาอธิบายธรรมชาติ โดยไม่อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติ

(2) ผสานแนวความคิดของตัวเองเข้ากับศาสนากรีกโบราณ

(3) สามารถอธิบายเหตุผลของเทพเจ้าในการควบคุมธรรมชาติได้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 7, 22, (คําบรรยาย) ทาเลส (Thales) ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของชาวตะวันตกและเป็นผู้ริเริ่มปรัชญากรีกโบราณไว้ โดยเชื่อว่ามนุษย์สามารถใช้เหตุผลมาอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยไม่ต้อง อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติหรือเทพเจ้า เพราะเอกภพมีกฎเกณฑ์ตายตัวของมันเอง ถ้ามนุษย์สามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถควบคุมธรรมชาติได้เช่นเดียวกัน

16 การถกเถียงกันเรื่องปฐมธาตุ แสดงให้เห็นว่านักปรัชญาสนใจในปรัชญาสาขาใด

(1) อภิปรัชญา

(2) ญาณวิทยา

(3) สุนทรียศาสตร์

(4) จริยศาสตร์

ตอบ 1 หน้า 28 – 29, 47 – 43 นักปรัชญาสสารนิยม มีความสนใจในอภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ และได้มีการโต้เถียงกันเรื่องปฐมธาตุ โดยทาเลสบอกว่าน้ําคือปฐมธาตุของโลก แต่เอ็มพลิโดเคลส กลับเห็นว่า ทาเลสและกลุ่มของเขา อธิบายไว้ไม่ชัดเจน ดังนั้นเขาจึงได้เสนอทฤษฎีปฐมธาตุว่า มิใช่มีเพียงหนึ่งหากมีอยู่ถึง 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ

17 “เราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าไม่มีจริง” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด

(1) เพลโต

(2) เดส์การ์ตส์

(3) ล็อค

(4) ฮุม

ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) ซูม (Hume) นักประจักษนิยม เชื่อว่า ตัวคนเราเป็นเพียงการมารวมกันของผัสสะและความคิด ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ และเมื่อคนเราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง

18 นักสุขนิยมมีความคิดทางอภิปรัชญาแบบใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) เทวนิยม

ตอบ 1 หน้า 155 นักสุขนิยม (Hedonism) มีความคิดทางอภิปรัชญาแบบสสารนิยม เช่น ลัทธิเอพิคิวรัส เป็นนักสุขนิยมที่มีทัศนะว่า ชีวิตเป็นเพียงสสาร เมื่อตายไปก็ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ดังนั้นถ้าเรายังมีชีวิตอยู่เราต้องแสวงหาความสุขและความพึงพอใจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

19 ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง

(1) นักบวชในศาสนาคริสต์ศึกษาปรัชญาจนได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา

(2) ศาสนาคริสต์ใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่ออธิบายความเชื่อของตัวเอง

(3) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 8, 249, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง เป็นช่วงสมัยที่ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับนับถือกันทั่วไป และทําให้ศาสนาคริสต์ใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่ออธิบายความเชื่อของตนเอง ดังนั้น ปรัชญาตะวันตกยุคกลางจึงได้รับฉายาว่าสาวใช้ของศาสนา เนื่องจากปรัชญาถูกดึงไปเป็นเครื่องมือ สําหรับอธิบายและส่งเสริมคําสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุมีผลยิ่งขึ้น โดยนักบวชในศาสนาคริสต์ ส่วนใหญ่ศึกษาปรัชญาดังกล่าวจนได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา เช่น เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) เซนต์ โทมัส อควินัส (St. Thomas Aquinas) เป็นต้น

20 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ได้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 4 หน้า 8, 251 – 255, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนี้จะได้รับ อิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้แก่ เดส์การ์ตส์ (Descartes), สปิโนซา (Spin0Za), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke), เดวิด ฮูม(David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น

21 นักจิตนิยมมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิต-กาย อย่างไร

(1) จิตคือกาย

(2) จิตสําคัญคู่กาย

(3) จิตสําคัญกว่ากาย

(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย

ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกายโดยจิตหรือวิญญาณสําคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และมีสภาพ เป็นอมตะ เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้จึงต้องกระทําความดี เพื่อเป็นสะพานที่จะมุ่งไปสู่ความจริงในโลกหน้า

22 นักจิตนิยมมีทัศนะต่อโลกมนุษย์อย่างไร

(1) มนุษย์ต้องเรียนรู้ให้มากเพื่อใช้ชีวิตในโลกอย่างมีความสุขสบาย

(2) มนุษย์ต้องใช้ชีวิตในโลกอย่างสุขสบาย ก่อนไปใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง

(3) โลกมนุษย์มีความเป็นจริงของมันเอง

(4) การมีชีวิตในโลกเป็นเพียงสะพานไปสู่ความจริง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 สิ่งที่มีขึ้นและดับลง ในทัศนะของธรรมชาตินิยม

(1) สสาร

(2) อสสาร

(3) จิต

(4) สิงธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 33 – 39, (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า สิ่งธรรมชาติ (สสาร) คือ สิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของสาเหตุธรรมชาติ โดยสิ่งธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่งและไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์

24 ข้อใดคือแนวคิดที่สัมพันธ์อยู่กับแนวคิดของธรรมชาตินิยม

(1) พหุนิยม, นวนิยม

(2) อวนิยม, นวนิยม

(3) ทวินิยม, อันตนิยม

(4) พหุนิยม, อันตนิยม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

25 “สสารเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง และไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์” เป็นแนวคิดของนักปรัชญาลัทธิใด

(1) ธรรมชาตินิยม

(2) จักรกลนิยม

(3) สสารนิยม

(4) จิตนิยม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

26 ข้อใดคือความหมายของทฤษฎีวิวัฒนาการตามหลักแนวคิดธรรมชาตินิยม

(1) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว

(2) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ คุณสมบัติใหม่

(3) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่เกิดมาในยุคดึกดําบรรพ์

(4) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

27 ตามทัศนะของไวเศษกะ วิญญาณของมนุษย์คืออะไร

(1) ปรมาณูธรรมดา

(2) ปรมาณูพิเศษ

(3) ชีวาตมัน

(4) มนุษย์ไม่มีวิญญาณ

ตอบ 3 หน้า 58 ปรัชญากรีก ถือว่า วิญญาณของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมตัวของปรมาณู แต่เป็นปรมาณูหรืออะตอมพิเศษ ส่วนปรัชญาไวเศษกะ ถือว่า วิญญาณหรืออาตมันหรือชีวาตมันนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นพิเศษต่างหากจากปรมาณู ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวของปรมาณูของธาตุใด ๆแต่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้นิรันดรควบคู่ไปกับปรมาณู และมีลักษณะพิเศษของตนเองโดยเฉพาะ

28 ลัทธิไวเศษกะ มีความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่างของปรมาณูอย่างไร

(1) ปรมาณูแตกต่างกัน เฉพาะด้านปริมาณ

(2) ปรมาณูแตกต่างกัน เฉพาะด้านคุณภาพ

(3) ปรมาณูแตกต่างกัน ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(4) ปรมาณไม่แตกต่างกัน

ตอบ 3 หน้า 57 ลัทธิไวเศษกะ เชื่อว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ส่วนปรัชญากรีกนั้นเชื่อว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันเฉพาะด้านจํานวนหรือปริมาณเท่านั้น แต่ในด้านคุณภาพมีลักษณะเหมือนกัน

29 ลัทธิไวเศษกะ มีความเชื่อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของปรมาณอย่างไร (1) ปรมาณูเคลื่อนไหวตลอดเวลา

(2) ปรมาณไม่เคลื่อนไหวเลย

(3) ปรมาณเคลื่อนไหวตามกฎเกณฑ์

(4) ปรมาณูเคลื่อนไหวตามการขึ้นําของพระเจ้า

ตอบ 4 หน้า 57 – 58, (คําบรรยาย) คุณสมบัติของปรมาณในทัศนะของลัทธิไวเศษกะ คือ ปรมาณูแต่ละปรมาณูเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้เช่นเดียวกัน โดยธรรมชาติของปรมาณูเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพและไร้จลนภาพ เคลื่อนไหวไม่ได้ด้วยตัวเอง จึงอยู่ในภาวะที่หยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวตามการชี้นําหรือตามเจตจํานง ของพระเจ้าในการรวมตัวกันเป็นโลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลกส่วนปรัชญากรีกหรือแนวคิดแบบสสารนิยม ของตะวันตกนั้นเชื่อว่า ปรมาณูมีทั้งกัมมันตภาพและจลนภาพอยู่ในตัวโดยธรรมชาติ แต่ละปรมาณู จะไม่มีการหยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และมีการรวมตัวกันหนาแน่นกลายเป็นโลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลก

30 ถ้าลัทธิไวเศษกะเป็นแนวคิดแบบสสารนิยมของตะวันตกจริง ไวเศษกะไม่ควรมีแนวคิดเรื่องใด

(1) โลกเกิดจากปรมาณู

(2) ปรมาณสามารถเคลื่อนไหวรวมตัวกัน

(3) พระเจ้ากําหนดการเคลื่อนไหวของปรมาณู

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ลัทธิไวเศษกะเชื่อว่าการรวมตัวกันของปรมาณูจํานวนเท่าใด จึงจะสามารถทําให้มนุษย์สัมผัสได้

(1) 2 ปรมาณู

(2) 3 ปรมาณู

(3) 4 ปรมาณู

(4) 5 ปรมาณู

ตอบ 2 หน้า 59 ปรัชญาไวเศษกะ เชื่อว่า สิ่งที่มนุษย์พอจะรู้ด้วยประสาทสัมผัส จะต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป ส่วนปรมาณูเพียงปรมาณูเดียว หรือ 2 ปรมาณูนั้นเล็กเกินไปที่จะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส

32 สิ่งใดที่คนฉลาดควรกลัวมากที่สุดคือความทุกข์จากสิ่งใด

(1) ทุกข์จากการเกิด

(2) ทุกข์จากการแก่

(3) ทุกข์จากการตาย

(4) ทุกข์จากความเศร้าใจ

ตอบ 1 หน้า 83 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 นั้น ถือว่าความเกิดเป็นประตูแห่งความทุกข์ทั้งปวง เพราะความเกิดนั้นเป็นเหตุให้ต้องตาย ถ้าไม่เกิดเสียอย่างเดียวก็ไม่ต้องตาย และไม่ต้องลําบากจนกว่า ตัวเองจะแก่ตาย ดังนั้นคนฉลาดจึงควรกลัวความเกิด ไม่ใช่กลัวความตาย

33 ข้อใดจัดเป็นสภาวทุกข์

(1) ความแก่

(2) ความไม่สบายกายเพราะความแก่

(3) ความคับแค้นใจเพราะความแก่

(4) ความพลัดพรากจากของรักเพราะความแก่

ตอบ 1 หน้า 82 “สภาวทุกข์” หมายถึง ทุกข์โดยสภาพหรือทุกข์ประจํา เช่น ความเกิด ความแก่และความตาย ส่วน “ทุกข์จร” หมายถึง ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพียงบางครั้งบางคราว เช่น ความเศร้าใจความระทมใจ ความไม่สบายใจ ความไม่สบายกาย ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก เป็นต้น

34 “ฉันไม่อยากตัวดําอย่างนี้เลย” จัดเป็นตัณหาแบบไหน

(1) กามตัณหา

(2) ภวตัณหา

(3) วิภวตัณหา

(4) ไม่จัดว่าเป็นตัณหา

ตอบ 3 หน้า 84 85 ตัณหามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1 กามตัณหา คือ ความอยากเห็น อยากฟัง อยากสูดกลิ่น อยากลิ้มรส อยากสัมผัสสิ่งที่ดีงามถูกอกถูกใจ

2 ภวตัณหา คือ ความอยากเป็นเจ้าของ ความอยากมีหรืออยากเป็นสิ่งอื่น ๆ เช่น กรณีนักศึกษาติดอยู่ในภาวะของการเป็นนิสิตนักศึกษา จนไม่อยากจบการศึกษา หรือการติดอยู่ในการดํารงตําแหน่งการงานใด ๆ เป็นต้น

3 วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่ให้สิ่งที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่เสื่อมสิ้นไป ความอยากไม่มีดังที่ตนมีอยู่หรือไม่อยากเป็นดังที่ตนเป็นอยู่ เช่น กรณีของผู้ที่กล่าวว่า “ฉันไม่อยากตัวดําอย่างนี้เลย” เป็นต้น

35 ข้อปฏิบัติที่จัดว่าเป็นการอบรมกายกับวาจา เรียกว่าอะไร

(1) ศีล

(2) สมาธิ

(3) ปัญญา

(4) ทิฐิ

ตอบ 1 หน้า 86 – 89, (คําบรรยาย) มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ

1 ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล” ประกอบด้วย สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2 ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

3 ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา”ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ

36 ญาณวิทยาศึกษาปัญหาใดของมนุษย์

(1) ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์

(2) ชีวิตหลังการตายของมนุษย์

(3) การปฏิบัติตนของมนุษย์

(4) การมีความรู้ของมนุษย์

ตอบ 4 หน้า 11 – 18 ปรัชญาบริสุทธิ์ มีการศึกษาถึงปัญหาสําคัญ 3 ปัญหา คือ

1 ปัญหาทางอภิปรัชญา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความเป็นจริง เช่น ความเป็นจริงคืออะไร สารเบื้องต้นของจักรวาลคืออะไร ฯลฯ

2 ปัญหาทางญาณวิทยา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความรู้ เช่น เรารู้จักความจริงได้โดยทางใด การมีความรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร ฯลฯ

3 ปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งจะศึกษาเรื่องความดี เช่น เราควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ฯลฯ

37 จริยศาสตร์ศึกษาปัญหาใดของมนุษย์

(1) ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์

(2) ชีวิตหลังการตายของมนุษย์

(3) การปฏิบัติตนของมนุษย์

(4) การมีความรู้ของมนุษย์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 เหตุผลนิยมให้ความสําคัญกับความรู้สาขาใด

(1) วิทยาศาสตร์

(2) เทคโนโลยี

(3) จิตวิทยา

(4) คณิตศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 105 – 106 เหตุผลนิยมจะยอมรับวิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อถือใด ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาวจากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยที่ข้อสรุปต้องได้มาจาก ข้ออ้าง ถ้าหากข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และพีชคณิต ก็ใช้วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยนี้ในการแสวงหาความจริงโดยไม่อาศัยการพิสูจน์หรือยืนยันจาก ประสบการณ์ แต่อาศัยการใช้ความคิดหรือปัญญา ตัวอย่างการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีนิรนัย เช่น คนมีความฝันคือคนมีเป้าหมายของชีวิต แดงเป็นคนช่างฝัน ดังนั้นแดงเป็นคนมีเป้าหมายของชีวิต เป็นต้น

39 ข้อใดเป็นทัศนะของนักเหตุผลนิยม

(1) ความรู้เกิดจากประสบการณ์

(2) ความรู้เกิดจากการท่องเที่ยว

(3) ความรู้เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน

(4) ความรู้เกิดจากการคิด

ตอบ 4 หน้า 106 107 พวกเหตุผลนิยม เห็นว่า ความรู้ที่แท้จริงแน่นอนจะไม่ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัส แต่จะต้องได้มาจากความคิดหรือการใช้เหตุผลไตร่ตรอง โดยยอมรับว่าประสบการณ์ทางผัสสะเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้หรือเป็นสิ่งที่มาจุดประกายให้สติปัญญาเริ่มทํางานเท่านั้น

40 ข้อใดเป็นการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีนิรนัย

(1) คนคือสิ่งมีชีวิต

(2) ฉันเป็นคน

(3) คนเราต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน

(4) คนมีความฝันคือคนมีเป้าหมายของชีวิต แดงเป็นคนช่างฝัน ดังนั้นแดงเป็นคนมีเป้าหมายของชีวิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

41 นักปรัชญาคนใดเชื่อความรู้จําต้องเป็น (Necessary Truth)

(1) เดส์การ์ตส์

(2) ซูม

(3) เบอร์คเลย์

(4) ล็อค

ตอบ 1 หน้า 104 – 105, 11.5 – 116 นักปรัชญาเหตุผลนิยมที่สําคัญ เช่น เดส์การ์ตส์ (Descartes) สปิโนชา (Spinoza) และไลบ์นิตซ์ (Leibnitz) เชื่อว่า ความรู้ก่อนประสบการณ์เป็นความจริงที่ จําต้องเป็น (Necessary Truth) คือ ต้องจริงในทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องมีสิ่งใดมายืนยัน และจิตของมนุษย์ก็สามารถรู้ความจริงชนิดนี้ได้โดยอัชญัตติกญาณ คือการหยั่งรู้ด้วยจิตใจหรือ แสงสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด ความรู้ที่ได้จากอัชญัตติกญาณแบบเหตุผลนิยม เช่น ข้อความที่ว่า“เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ” หรือ “อืม..ฉันรู้แล้ว ! เส้นขนานไม่มีวันพบกัน” ฯลฯ

42 วิธีสงสัยสากลของเดส์การ์ตส์ มีลักษณะอย่างไร

(1) สงสัยทุกเรื่องจนหาข้อสรุปไม่ได้

(2) สงสัยเพราะความอยากรู้อยากเห็น

(3) สงสัยเพราะขาดความเข้าใจ

(4) สงสัยเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจน

ตอบ 4 หน้า 108 เดส์การ์ตส์ (Descartes) เป็นนักปรัชญาแนวเหตุผลนิยมที่เริ่มต้นด้วยการสงสัยในทุก ๆ สิ่ง กล่าวคือ ไม่เชื่อในสิ่งใด เพราะบางสิ่งที่เราเชื่อว่าจริงก็อาจจะไม่จริงก็ได้ บ่อยครั้ง ที่ประสบการณ์หลอกเราทําให้เราเข้าใจผิด ดังนั้นเราจึงควรสงสัยในทุกสิ่งก่อนว่ามันไม่จริง จนกว่าจะพบจุดที่เราไม่อาจสงสัยได้อีก หรือได้รับความรู้ที่ชัดเจน ดังข้อความที่ว่า “ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่” ซึ่งเป็นการยืนยันว่ามีจิตหรือสิ่งแท้จริงที่รู้คิดได้ (Thinking Substance)

43 ในทัศนะของล็อค ส่วนใดของวัตถุที่มนุษย์รับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัส และตรงกับที่วัตถุเป็น

(1) สาร

(2) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(3) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 118 119, (คําบรรยาย) ล็อค แบ่งผัสสะทั้งหลายของมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 คุณสมบัติปฐมภูมิมีอยู่จริงในตัววัตถุ และสามารถรับรู้ได้โดยผ่านประสาทสัมผัส และตรงกับที่วัตถุเป็น เช่น รูปร่าง (มะนาวผลนี้กลม และเบี้ยวเล็กน้อย) ขนาด น้ำหนัก การเคลื่อนที่ ฯลฯ

2 คุณสมบัติทุติยภูมิไม่ได้มีอยู่จริง แต่มนุษย์รับรู้ได้ด้วยจิต และไม่ตรงกับวัตถุที่เป็น ซึ่งคุณสมบัติประเภทนี้จะถูกสร้างขึ้นจากคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ เช่น กลิ่น รส สี เสียง อุณหภูมิ ฯลฯ

44 ในทัศนะของล็อค ส่วนใดของวัตถุที่มนุษย์รับรู้ได้ด้วยจิต และไม่ตรงกับวัตถุที่เป็น

(1) สาร

(2) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(3) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 นักปรัชญาคนใดได้ชื่อว่า เป็นนักประสบการณ์นิยม

(1) ล็อค

(2) เบอร์คเลย์

(3) อูม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 8, 112 – 113, 130 ลัทธิประสบการณ์นิยมหรือประจักษนิยม เป็นลัทธิที่จัดอยู่ในกลุ่มปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ ซึ่งเชื่อว่า วิธีคิดที่ถูกต้องที่สุดคือการยึดมั่นในประสบการณ์ และการใช้ความรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัส โดยแนวคิดนี้จะมีลักษณะคล้ายกับการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตัวอย่างของนักปรัชญากลุ่มนี้ ได้แก่ ล็อค (Locke) ฮูม (Hume) และ เบอร์คเลย์ (Berkeley)

46 ในทัศนะของล็อค จิตของมนุษย์ตอนแรกเกิดมีลักษณะอย่างไร

(1) ว่างเปล่าจากความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น

(2) มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทั่วไปติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

(3) มีความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

(4) มนุษย์ไม่มีจิตวิญญาณแต่อย่างใด

ตอบ 1 หน้า 117 ล็อค เห็นว่า สภาพจิตของมนุษย์ในตอนเริ่มแรกนั้นจะมีแต่ความว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดและความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อจิตของมนุษย์ได้รับประสบการณ์ก็จะกลายเป็นที่บรรจุวัตถุของความรู้และการคิดหาเหตุผลอย่างมากมาย

47 ลัทธิประสบการณ์นิยมเกิดขึ้นในปรัชญาตะวันตกยุคใด

(1) ยุคโบราณ

(2) ยุคกลาง

(3) ยุคใหม่

(4) ยุคปัจจุบัน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

48 ประสบการณ์นิยมให้ความสําคัญกับความรู้ประเภทใด

(1) ความรู้ก่อนมีประสบการณ์

(2) ความรู้หลังมีประสบการณ์

(3) ความรู้ที่เป็นจริงตลอดกาล

(4) ความรู้ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด

ตอบ 2 หน้า 105, 111 – 112, 115 ลัทธิประสบการณ์นิยมหรือประจักษนิยม ยึดถือการแสวงหาความรู้แบบอุปนัย โดยจะอาศัยข้อมูลที่ได้มาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสอันเป็นเรื่อง ของกรณีเฉพาะแล้วจึงสรุปจากข้อเท็จจริงย่อย ๆ ขึ้นเป็นความจริงทั่วไป นอกจากนี้ยังเน้นถึง ความสําคัญของประสบการณ์ว่าเป็นบ่อเกิดหรือที่มาของความรู้ (A Posteriori Knowledge) จนอาจกล่าวได้ว่า “ประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด”

  1. “อุ้ย ! นั่นรางรถไฟ มันไม่บรรจบกันด้วยละ” จัดว่าเป็นความรู้ที่เกิดจากบ่อเกิดความรู้ใด

(1) ความสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด

(2) การเข้าถึงความรู้ทันที ซึ่งเกิดขึ้นขณะกําลังมีประสบการณ์

(3) การสรุปจากความจริงพื้นฐานด้วยการเชื่อมโยงความคิด

(4) การสรุปความรู้โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

ตอบ 2 หน้า 116 ความรู้ที่ได้จากอัชฌัตติกญาณในแบบประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม) หมายถึง การมีความรู้และความเข้าใจโดยตรงในความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่สุดของประสบการณ์ ทางประสาทสัมผัส หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นทันทีขณะกําลังมีประสบการณ์อยู่ เช่น ข้อความที่ว่า “อ๊ย ! นันรางรถไฟ มันไม่บรรจบกันด้วยละ” หรือ “สิ่งที่ฉันมองเห็นในขณะนี้มีสีแดง” เป็นต้น

50 จากข้อ 49 บ่อเกิดความรู้ดังกล่าวเรียกว่าบ่อเกิดความรู้ใด

(1) อัชญัตติกญาณแบบเหตุผลนียม

(2) อัชฌัตติกญาณแบบประสบการณ์นิยม

(3) วิธีนิรนัย

(4) วิธีอุปนัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

51 “อืมฉันรู้แล้ว ! เส้นขนานไม่มีวันพบกัน” จัดว่าเป็นความรู้ที่เกิดจากบ่อเกิดความรู้ใด

(1) ความสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด

(2) การเข้าถึงความรู้ทันที ซึ่งเกิดขึ้นขณะกําลังมีประสบการณ์

(3) การสรุปจากความจริงพื้นฐานด้วยการเชื่อมโยงความคิด

(4) การสรุปความรู้โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

52 จากข้อ 51 บ่อเกิดความรู้ดังกล่าวเรียกว่าบ่อเกิดความรู้ใด

(1) อัชญัตติกญาณแบบเหตุผลนิยม

(2) อัชญัตติกญาณแบบประสบการณ์นิยม

(3) วิธีนิรนัย

(4) วิธีอุปนัย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

53 ในทัศนะของล็อค ความรู้ข้อใดที่เขาเห็นว่าตรงกับความเป็นจริงของวัตถุ

(1) มะนาวผลนี้กลม และเบี้ยวเล็กน้อย

(2) มะนาวผลนี้มีสีเขียวอมเหลือง

(3) มะนาวผลนี้มีรสเปรี้ยวมาก

(4) มะนาวผลนี้มีกลิ่นหอม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

54 ข้อใดไม่เคยเป็นประสบการณ์ของมนุษย์ในทัศนะของล็อค

(1) คุณสมบัติของวัตถุ

(2) สาร

(3) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(4) สสาร

ตอบ 2 หน้า 119 ในทัศนะของล็อค ถือว่า “สาร” ที่รองรับคุณสมบัติของวัตถุเป็นสิ่งแท้จริงที่อยู่ภายในตัววัตถุ ซึ่งคนเราไม่อาจจะรับรู้หรือรู้จักสารนั้นได้โดยผ่านทางประสบการณ์เลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งต้องมีสารเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความคิดเชิงเดี่ยว

55 การมีอยู่ คือ การถูกรับรู้เป็นแนวคิดของ….. เรียกแนวคิดของเขาว่า …..

(1) เบอร์คเลย์ / สัจนิยมโดยอ้อม

(2) ซูม / สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) ล็อค / สัจนิยมโดยตรง

(4) เบอร์คเลย์ / จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 4 หน้า 131, 133, (คําบรรยาย) จิตนิยมแบบอัตนัยของเบอร์คเลย์ (Berkeley) ถือว่า “การมีอยู่”ของวัตถุก็คือ “การถูกรับรู้” อันได้แก่วัตถุและสิ่งทั้งหลายภายในโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือการถูกรับรู้ด้วยจิตมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมันจึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้

56 มนุษย์รู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการรับรู้ผ่านคุณสมบัติของสิ่งนั้น ๆ เป็นแนวคิดของ

(1) ล็อค

(2) เบอร์คเลย์

(3) เดส์การ์ตส์

(4) ซูม

ตอบ 1 หน้า 138 139 ล็อค ยืนยันว่าการรู้จักสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นการรับรู้โดยผ่านความคิดที่เป็นผัสสะ ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของคุณสมบัติแท้จริงที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น โดยจะเรียกแนวคิดนี้ว่า “สัจนิยมแบบตัวแทน”

57 จากข้อ 56 เรียกแนวคิดของเขาว่า

(1) สัจนิยมใหม่

(2) สัจนิยมแบบผิวเผิน

(3) สัจนิยมแบบวิจารณ์

(4) สัจนิยมแบบตัวแทน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 เหตุใดฮมจึงกล่าวว่า ความรู้เป็นจินตนาการ

(1) มนุษย์สรุปความรู้เกินจากกรอบประสบการณ์ของตนเอง

(2) มนุษย์สรุปความรู้โดยการคิดแบบไม่ต้องอาศัยประสบการณ์

(3) มนุษย์ไม่เคยสรุปความรู้ได้อย่างถูกต้องเลย

(4) มนุษย์ชอบสรุปความรู้จากประสบการณ์ ทั้ง ๆ ที่ประสบการณ์ให้ความรู้ที่ไม่แน่นอนตายตัว

ตอบ 4 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) ซูม เห็นว่า ความรู้ทั้งหลายของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ “ความประทับใจ” ซึ่งเป็นการรับรู้ในผัสสะ กับ “ความคิด” ซึ่งเป็นการรับรู้ในสิ่งที่เกิดจาก จินตนาการ (Imagination) หรือความจํา โดยความรู้ที่เป็นจินตนาการนั้น เรามักนําความคิดที่ได้ จากสิ่งสองสิ่งมาเชื่อมโยงกันเองว่ามันเหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่จินตนาการถูกสร้างขึ้นมาเอง ไม่ได้มีจริงดังนั้นมนุษย์จึงขอบสรุปความรู้จากประสบการณ์ ทั้ง ๆ ที่ประสบการณ์ให้ความรู้ที่ไม่แน่นอนตายตัว

59 ข้อใดสัมพันธ์กับแนวคิดของฮูม

(1) วิมัตินิยม

(2) อันตนิยม

(3) เหตุผลนิยม

(4) นวนิยม

ตอบ 1 หน้า 123 124 1 เป็นนักปรัชญาแบบวิมัตินิยมอย่างแท้จริง โดยเขาเชื่อว่าความรู้ทุกอย่างของมนุษย์ถ้าไม่ผ่านประสาทสัมผัสแล้วย่อมไม่จริง ดังนั้นความสัมพันธ์ในเรื่องความเป็นเหตุ เป็นผลกันของแต่ละเหตุการณ์จึงไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเพียงสิ่งที่จิตมนุษย์นํามาเชื่อมโยงเข้าหากันเท่านั้น

60 เบอร์คเลย์ ยอมรับความคิดใด

(1) ความรู้ของมนุษย์ เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง

(2) ความรู้ของมนุษย์ เป็นเพียงตัวแทนของวัตถุ

(3) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความคิดของจิตมนุษย์

(4) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง

ตอบ 3 หน้า 128, 131 เบอร์คเลย์ ยอมรับว่าความรู้ของมนุษย์เป็นเพียงความคิดของจิตมนุษย์เท่านั้นเนื่องจากวัตถุทั้งหลายพร้อมทั้งคุณสมบัติทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นปฐมภูมิและทุติยภูมิล้วนขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตทั้งสิ้น ดังนั้นวัตถุจึงไม่ได้มีความเป็นจริงในตัวเอง

  1. “Summum Bonum” มีความหมายอย่างไร

(1) จุดหมายสูงสุดที่มนุษย์ควรแสวงหา

(2) วิธีดีที่สุดที่นําไปสู่จุดหมายสูงสุด

(3) ความจริงสูงสุดที่มนุษย์ควรแสวงหา

(4) วิธีถูกต้องที่สุดที่นําไปสู่ความจริงสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 147, 155, (คําบรรยาย) Summum Bonum หมายถึง ความดีสูงสุดหรือความมีคุณธรรมอันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิตที่มนุษย์ควรแสวงหา ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับอุดมการณ์หรืออุดมคติของชีวิต หรือสิ่งที่ดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์

62 “มนุษย์คือนักบุญ” ควรจะเป็นความเห็นของลัทธิทางอภิปรัชญาใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) สัจนิยม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “มนุษย์คือนักบุญ” สอดคล้องกับความเห็นของอภิปรัชญาแบบลัทธิสัจนิยมหรือทฤษฎีนิยมสายกลาง ซึ่งเชื่อว่า การรู้จักตัวเองเป็นความดีสูงสุด โดยการรู้จักตัวเองนี้ก็คือ การแสวงหาความสุขทั้งทางกายและทางใจให้แก่ตัวเองอย่างพอเหมาะ รวมทั้งจะต้องเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อผู้อื่นด้วย

63 “มนุษย์คือนักบุญ” มีความหมายอย่างไร

(1) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางกาย

(2) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางใจ

(3) มนุษย์ควรแสวงหาทั้งความสุขทางกายและทางใจ

(4) มนุษย์ควรแสวงหาความจริงเกี่ยวกับวัตถุ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

64 “มนุษย์คือมนุษย์” ควรจะเป็นความเห็นของลัทธิใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) สัจนิยม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิสสารนิยม เห็นว่า มนุษย์คือมนุษย์ มนุษย์ไม่มีตัวตนของจิต สิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมของจิตคือ อารมณ์หรือความคิดต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากสสารส่วนที่เป็นก้อนสมอง เท่านั้น ถ้าก้อนสมองตายสภาพทางจิตก็จะหายไปด้วย ความคิดดังกล่าวทําให้พวกสสารนิยมต้องการแสวงหาความสุขทางกาย

65 “มนุษย์คือมนุษย์” มีความหมายอย่างไร

(1) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางกาย

(2) มนุษย์ควรแสวงหาความสุขทางใจ

(3) มนุษย์ควรแสวงหาทั้งความสุขทางกายและทางใจ

(4) มนุษย์ควรแสวงหาความจริงเกี่ยวกับวัตถุ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 “การทําแท้งเป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้ ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด” คําพูดนี้แสดงให้เห็นความคิดเกี่ยวกับความดีอย่างไร

(1) ความดี เป็นคุณค่าที่แน่นอนตายตัว

(2) ความดี ขึ้นกับความเห็นของสังคม

(3) ความดี เป็นคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงได้

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การตัดสินคุณค่าตามจารีตประเพณี ถือว่าการตัดสินคุณค่าของการกระทําใด ๆของแต่ละสังคมจะขึ้นอยู่กับจารีตประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมที่สั่งสมมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งคุณค่าความดีของสังคมหนึ่งอาจไม่ใช่คุณค่าความดีของอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ดังนั้นคุณค่าตาม ความเห็นของสังคมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสังคมและกาลเวลา เช่น คําพูดที่ว่า “การทํา แท้งเป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้ ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด” เป็นต้น

6 “การทําแท้งคือการฆ่า จึงเป็นการกระทําที่ผิดเสมอไม่ว่าจะเป็นคนในสังคมใด” คําพูดนี้แสดงให้เห็นความคิดเกี่ยวกับความดีอย่างไร

(1) ความดี เป็นคุณค่าที่แน่นอนตายตัว

(2) ความดี ขึ้นกับความเห็นของสังคม

(3) ความดี เป็นคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงได้

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การตัดสินคุณค่าตามแนวคิดของพวกจิตนิยม ถือว่าถ้าการกระทําใด ๆ ถูกตัดสินว่ามีคุณค่าที่ดีแล้ว การกระทํานั้นไม่ว่าจะส่งผลอย่างไรก็ถือว่าเป็นการกระทําที่ดี แต่ถ้าการกระทํา ใด ๆ ถูกตัดสินว่ามีคุณค่าที่ไม่ดีแล้ว การกระทํานั้นไม่ว่าจะส่งผลอย่างไรก็ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด เช่น คําพูดที่ว่า “การทําแท้งคือการฆ่า จึงเป็นการกระทําที่ผิดเสมอไม่ว่าจะเป็นคนในสังคมใด”เป็นต้น

68 ข้อใดหมายถึงแนวคิดของพวก อสุขนิยม

(1) ธรรมชาติของจิต คือ การใช้ปัญญาแสวงหาสัจธรรม

(2) ธรรมชาติของจิต คือ ความสงบ

(3) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(4) ปฏิเสธการมีอยู่ของจิต

ตอบ 3 หน้า 157 – 160 อสุขนิยม มีทัศนะว่า สิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหามากที่สุดคือการทําใจให้สงบพึงพอใจกับสิ่งจําเป็นในชีวิต สิ่งใดที่ไม่จําเป็นกับชีวิตก็ให้ละเว้นเสีย โดยแนวความคิดนี้เห็นว่าธรรมชาติของจิต คือ การใช้ปัญญาแสวงหาสัจธรรม (ปัญญานิยม) และความสงบสุข (วิมุตินิยม)

69 ความรู้สูงสุด คือ การเข้าใจความดี เป็นแนวคิดของ ซึ่งการมีความรู้แบบนี้ต้องใช้วิธี

(1) โซเครติส / เรียนรู้จากอาจารย์

(2) โซฟิสต์ / ถกเถียงด้วยเหตุผล

(3) โซฟิสต์ / เรียนรู้จากอาจารย์

(4) โซเครติส / ถกเถียงด้วยเหตุผล

ตอบ 4 หน้า 150, (คําบรรยาย) โซเครติส (Socrates) เห็นว่า “ความรู้สูงสุด” คือ “การเข้าใจความดี”เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นแสวงหาความดี แต่มักจะไม่รู้ว่าความดีคืออะไร ดังนั้นมนุษย์ จึงมีหน้าที่ที่สําคัญอย่างหนึ่งคือพยายามค้นหาให้รู้ว่าอะไรคือความดี ซึ่งการมีความรู้แบบนี้ต้องใช้วิธีการสนทนาถกเถียงด้วยเหตุผลเท่านั้น

70 ขับรถผ่าไฟแดงจนเกิดอุบัติเหตุเฉียวชนกับรถคันอื่นแต่ไม่ร้ายแรงมากนัก สาเหตุที่รีบเพราะลืมปิดสวิตช์เครื่องจักรที่โรงงาน หากไปถึงโรงงานช้าเกินไปอาจทําให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูง และกิจการของครอบครัว อาจต้องปิดตัวลง การกระทําของที่เป็นเช่นใด

(1) ถูกต้องในทัศนะของมิลล์ เพราะเป็นการป้องกันความเสียหายที่มูลค่าสูง (2) ผิดในทัศนะของคานท์ เพราะขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร

(3) ถูกต้องในทัศนะของคานท์ เพราะเป็นการป้องกันความเสียหายที่มูลค่าสูง

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 165, 169, (คําบรรยาย) มิลล์ (Mill) เป็นนักปรัชญาประโยชน์นิยมที่มีทัศนะว่า สิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหาคือความสุขสูงสุด เพราะความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ การกระทําใดก็ตามที่ก่อให้ เกิดประโยชน์สุขแก่คนจํานวนมากที่สุดเป็นการกระทําที่ดี นั่นคือ การคํานึงถึงผลที่จะได้รับเท่านั้น ส่วนคานท์ (Kant) เป็นนักปรัชญาหน้าที่นิยมที่มีทัศนะว่า ศีลธรรมต้องเป็นเรื่องแน่นอนตายตัว โดยปราศจากข้อแม้ สิ่งใดดีย่อมเป็นลักษณะประจําของสิ่งนั้นเสมอ จากข้อความที่โจทย์ให้มา จะเห็นว่าการกระทําของคู่นั้น ถูกต้องในทัศนะของมิลล์ เพราะเป็นการป้องกันความเสียหายที่ มูลค่าสูง แต่ผิดในทัศนะของคานท์ เพราะขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร

71 “สภาวะธรรมชาติ” (State of Nature) หมายถึงสิ่งใด

(1) สภาพการดําเนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อยู่ภายใต้อํานาจรัฐของมนุษย์ (2) สภาพที่มนุษย์ต้องมีชีวิตในรัฐโดยธรรมชาติ

(3) รัฐที่มีอํานาจโดยธรรมชาติ

(4) สภาวะของรัฐท่ามกลางธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 254 – 255, (คําบรรยาย) “สภาวะธรรมชาติ” (State of Nature) ของล็อค หมายถึง สภาพการดําเนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อยู่ภายใต้อํานาจรัฐของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติ มนุษย์มีสิทธิกําหนดการกระทําของตนเองโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับคํายินยอมของใครทั้งสิ้น และรัฐก็ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมชาติสําหรับมนุษย์ แต่รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดตั้งขึ้นด้วยความจําเป็นเพื่อทําหน้าที่ป้องกันสิทธิและเสรีภาพที่มีตามธรรมชาติแทนมนุษย์ทุกคน

72 “รัฐเป็นสิ่งธรรมชาติ” มีความหมายอย่างไร

(1) สภาพการดําเนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อยู่ภายใต้อํานาจรัฐของมนุษย์ (2) สภาพที่มนุษย์ต้องมีชีวิตในรัฐโดยธรรมชาติ

(3) รัฐที่มีอํานาจโดยธรรมชาติ

(4) สภาวะของรัฐท่ามกลางธรรมชาติ

ตอบ 2 หน้า 247, (คําบรรยาย) รัฐเป็นสิ่งธรรมชาติ หมายถึง สภาพที่มนุษย์ต้องมีชีวิตอยู่ในรัฐโดยธรรมชาติ ทั้งนี้เพลโตและอริสโตเติล เห็นว่ารัฐและสังคมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์จําเป็นต้องอยู่ในสังคมและอยู่ภายใต้รัฐ เนื่องจากสังคมและรัฐจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีที่สุด

73 นักปรัชญาคนใดเชื่อว่า “สภาวะธรรมชาติ” มีจริง

(1) โธมัส ฮอบส์ และ จอห์น ล็อค

(2) โธมัส ฮอบส์ และ เพลโต

(3) เพลโต และ อริสโตเติล

(4) จอห์น ล็อค และ อริสโตเติล

ตอบ 1 หน้า 252 – 255 ฮอบส์ ล็อค และรุสโซ เป็นนักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่ที่เชื่อว่าสภาวะธรรมชาติของมนุษย์มีจริง กล่าวคือ มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วไม่ใช่สัตว์สังคม แต่ที่ต้องรวมตัวกันเป็นรัฐก็เพราะผลประโยชน์หรือความจําเป็นบีบบังคับ

74 นักปรัชญาคนใดเชื่อว่า “รัฐเป็นสิ่งธรรมชาติ”

(1) โธมัส ฮอบส์ และ จอห์น ล็อค

(2) โธมัส ฮอบส์ และ เพลโต

(3) เพลโต และ อริสโตเติล

(4) จอห์น ล็อค และ อริสโตเติล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

75 ข้อใดเป็นทัศนะของรุสโซ เรื่องบ่อเกิดของรัฐ

(1) รัฐโดยทั่วไปไม่ดี รัฐที่ดีเกิดจากคนที่นับถือพระเจ้า

(2) รัฐเกิดจากการตกลงยินยอมของบุคคล

(3) รัฐเกิดจากการแบ่งแยกชนชั้น

(4) รัฐเกิดจากตัณหาของชนชั้นผู้มีน้ำใจ

ตอบ 2 หน้า 255 – 257, (คําบรรยาย) รุสโซ (Rousseau) เห็นว่า รัฐที่ถูกต้องเป็นผลจากการรวมตัวอย่างอิสระของมนุษย์ หรือเป็นสังคมที่ปัจเจกบุคคลได้ตกลงยินยอมจัดตั้งด้วยความปรารถนาและการเลือกที่เป็นอิสระ เมื่อสังคมและรัฐเกิดจากเสรีภาพ สังคมและรัฐที่ดีก็ต้องเคารพในเสรีภาพด้วย ดังนั้นรัฐที่ดีจึงควรปกครองโดยคนที่มีเจตจํานงร่วม (General Will) หรือคนที่มีแรงปรารถนา เพื่อส่วนรวม ซึ่งเป็นเจตจํานงที่มุ่งสู่ความดีเพื่อทุกคนทั้งสังคมหรือเพื่อคนทั้งชาติ

76 ข้อใดเป็นทัศนะของมาร์กซ์ เรื่องบ่อเกิดของรัฐ

(1) รัฐเกิดจากพระเจ้า

(2) รัฐเกิดจากการตกลงยินยอมของบุคคล

(3) รัฐเกิดจากการแบ่งแยกชนชั้นจากการผลิต

(4) รัฐเกิดจากตัณหาของชนชั้นผู้มีน้ำใจ

ตอบ 3 หน้า 259, 262 มาร์กซ์ (Max) เห็นว่า รัฐเป็นสิ่งไม่จําเป็นสําหรับสังคมมนุษย์ เนื่องจากรัฐกําเนิดขึ้นจากการแบ่งแยกชนชั้นจากการผลิต อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการผลิตที่เปิดโอกาสให้ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสร้างอํานาจขึ้นมากดขี่ขูดรีด และรักษาสถานภาพของตนไว้ ดังนั้นถ้าเป็นสังคมที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตแล้วความแตกต่างทางชนชั้นและรัฐก็จะหายไป

77 ข้อใดเป็นทัศนะของเพลโต

(1) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การศึกษา

(2) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ วิธีผลิต

(3) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การกลับใจ

(4) มาตรการกําหนดชนชันของคน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล

ตอบ 1 หน้า 269 – 271 เพลโต (Plato) เห็นว่า รัฐต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาตามจิตของตน โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือตระหนักได้ว่าเขาเป็น บุคคลที่มีจิตภาคใดเด่นที่สุด เพื่อที่จะสามารถบรรจุเขาเข้าสู่ชนชั้นทางสังคมได้ถูกต้องเหมาะสม กับความสามารถ และทําให้เขามีโอกาสที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมกับเขาที่สุด ซึ่งเมื่อนั้นความยุติธรรมก็จะปรากฏขึ้นแก่สังคม

78 ข้อใดเป็นทัศนะของมาร์กซ์

(1) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การศึกษา

(2) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ วิธีผลิต

(3) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การกลับใจ

(4) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

79 ข้อใดเป็นทัศนะของอริสโตเติส

(1) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การศึกษา

(2) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ วิธีผลิต

(3) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การกลับใจ

(4) มาตรการกําหนดชนชั้นของคน คือ การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล

ตอบ 4 หน้า 248 249, (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) เห็นว่า รัฐและสังคมที่ดีคือ รัฐและสังคมที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

1 ช่วยพัฒนาชีวิตให้มีเหตุผล คือชีวิตที่สามารถประพฤติประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมมีคุณธรรมทางศีลธรรม

2 ช่วยพัฒนาให้ใช้ชีวิตที่ตรองถึงสัจจะได้ คือการใช้ชีวิตเพื่อแสวงหาสัจจะหรือที่เรียกว่าคุณธรรมทางปัญญา

80 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของล็อค

(1) ความสุข

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาเสถียรภาพ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

81 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของมิลล์

(1) ความสุข

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาเสถียรภาพ

ตอบ 1 หน้า 258 259 มิลล์ (Mill) เห็นว่า รัฐสามารถเข้าไปควบคุมการกระทําที่มีผลต่อบุคคลอื่น ๆ ได้เพื่อเป็นไปตามหลักประโยชน์นิยม คือ หยุดยั้งการกระทําที่อาจนําไปสู่ความทุกข์แก่คนส่วนใหญ่ และส่งเสริมการกระทําที่สามารถนําไปสู่ความสุขของคนส่วนใหญ่ได้

82 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของอริสโตเติล

(1) ความสุข

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาเสถียรภาพ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

83 สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐคืออะไร ในทัศนะของฮอบส์

(1) ความปลอดภัย

(2) การปกป้องสิทธิ

(3) การพัฒนาตน

(4) การรักษาความยุติธรรม

ตอบ 1 หน้า 252 – 254 ฮอบส์ (Hobbes) เห็นว่า โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์ไม่มีสังคม ไม่มีรัฐ แต่เมื่อเผชิญกับการต่อสู้และความกลัวกับสภาพที่เลวร้าย จึงต้องตกลงกันระหว่างมนุษย์เพื่อจัดตั้งรัฐ และสังคมขึ้นเพื่อผลประโยชน์ คือ เสถียรภาพและขจัดความหวาดกลัวของมนุษย์อย่างได้ผล ดังนั้นรัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐ

84 รัฐที่ดีควรปกครองโดยใครในทัศนะของรุสโซ

(1) คนมีความรู้ดี

(2) คนมีศรัทธาในพระเจ้า

(3) คนมีแรงปรารถนาเพื่อส่วนรวม

(4) คนไม่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

85 รัฐที่ดีควรปกครองโดยใครในทัศนะของเซนต์ ออกัสติน

(1) คนมีความรู้ดี

(2) คนมีศรัทธาในพระเจ้า

(3) คนมีแรงปรารถนาเพื่อส่วนรวม

(4) คนไม่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

ตอบ 2 หน้า 250 เซนต์ ออกัสติน เห็นว่า รัฐมีความสําคัญน้อยกว่าศาสนจักร ทั้งนี้เพราะศาสนจักรเป็นนครแห่งพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกรัฐนอกศาสนาหรือรัฐที่ไม่นับถือศาสนาคริสต์เป็นรัฐที่ ไม่สามารถทําให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้เลย เพราะรัฐที่ดีและมีความยุติธรรมจะเกิดเฉพาะในรัฐและสังคมที่คนศรัทธาและเคารพบูชาในพระเจ้าเท่านั้น

86 ข้อใดคือปัญหาที่ปรัชญาการศึกษาสนใจ

(1) เป้าหมายของการศึกษา

(2) การบริหารการศึกษา

(3) การสร้างหลักสูตร

(4) สิ่งแวดล้อมของแหล่งศึกษา

ตอบ 1 หน้า 266 ปรัชญาการศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาเป้าหมายของการศึกษาของสังคม โดยพยายามตอบปัญหาที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอย่างไร และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่

87 วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของเซนต์ ออกัสติน คือวิธีการใด

(1) อ่านเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

(2) อ่านคัมภีร์ไบเบิล

(3) เรียนพลศึกษา

(4) เรียนอภิปรัชญา

ตอบ 2 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก

2 ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสําคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบใช้ เหตุผลและการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการศึกษาในขั้นสุดท้ายก็คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล/พิสูจน์ ความศรัทธา

88 วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของรุสโซ คือวิธีการใด

(1) เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ไม่จําเป็นต้องอ่านหนังสือ

(2) อ่านคัมภีร์ไบเบิล

(3) เรียนพลศึกษา

(4) เรียนอภิปรัชญา

ตอบ 1 หน้า 275 276 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาที่ถูกต้องควรเน้นให้เด็กเติบโตอย่างเป็นอิสระ ดังนั้นการศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์หรือได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรงของตนเอง มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการศึกษาขั้นสูงสุด คือ การมุ่งสู่ความดีของคนทั้งสังคม หรือความปรารถนาดีต่อคนอื่น ๆ นั่นเอง 89 วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของเพลโต คือวิธีการใด

(1) อ่านเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

(2) อ่านคัมภีร์ไบเบิล

(3) เรียนพลศึกษา

(4) เรียนอภิปรัชญา

ตอบ 3 หน้า 270, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า รูปแบบการศึกษาจะต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนพลศึกษาโดยคัดเลือกเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์มาฝึกกีฬา ต่อมาจึงเรียนการอ่านเขียนและเรียนคณิตศาสตร์ พออายุประมาณ 20 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และจวบจนอายุ 30 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนอภิปรัชญา ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่จะเป็นราชาปราชญ์

90 ข้อใดคือแนวคิดของมิลล์ ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมีเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน ที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 3 หน้า 319 – 321 มิลล์ สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ และไม่ควรจํากัดเสรีภาพส่วนตนที่กระทําในสิ่งที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทั้งนี้เนื่องจากเสรีภาพมีบทบาทสําคัญสําหรับการพัฒนาปัญญาและบุคลิกภาพของบุคคล

91 ข้อใดคือแนวคิดของอนาธิปไตย ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมีเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน ที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 1 หน้า 320 ลัทธิอนาธิปไตย (Anarchism) สนับสนุนการใช้เสรีภาพอย่างไม่ถูกจํากัดของบุคคลในสังคม โดยลัทธินี้เห็นว่า รัฐควรมอบเสรีภาพที่สมบูรณ์แก่พลเมืองของตน และไม่ควรเข้าไปยุ่งหรือบังคับให้พลเมืองกระทําสิ่งใด ๆ ที่ขัดต่อเสรีภาพที่มีอยู่

92 กฎหมายจํากัดความเร็วของรถ เป็นไปตามหลักการใดมากที่สุด

(1) หลักการป้องกันทางศีลธรรม

(2) หลักการป้องกันเหตุร้าย

(3) หลักการป้องกันผลกระทบต่อบุคคลอื่น ๆ

(4) หลักการบังคับให้คนสนับสนุนโครงการสาธารณประโยชน์

ตอบ 2 หน้า 325 326 หลักการควบคุมการใช้เสรีภาพของบุคคลเพื่อป้องกันเหตุร้ายต่อตัวเอง เห็นว่ารัฐมีหน้าที่ต้องเข้าไปควบคุมเสรีภาพของบุคคล เพื่อป้องกันมิให้บุคคลกระทําในสิ่งที่อาจเกิดผลร้าย ต่อตนเอง เช่น การออกฎหมายกําจัดความเร็วของรถยนต์ การออกกฎหมายควบคุมการซื้อและจําหน่ายยา การออกกฎหมายปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น

93 “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถอธิการบดี”เป็นกฎที่บังคับใช้อย่างเข้มงวดกันทุกคน มีความยุติธรรมอย่างไร

(1) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(2) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

(3) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 2 หน้า 330 331 ความไม่ยุติธรรมในเนื้อหาหรือจุดประสงค์ของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่ยุติธรรมนั้น เกิดจากการกําหนดข้อยกเว้นที่ไม่ถูกต้องและมีการบังคับใช้อย่าง ไม่เป็นธรรม เช่น “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถอธิการบดี” ซึ่งการยกเว้นในการใช้ความเร็วแก่รถของอธิการบดี ถือว่าเป็นข้อยกเว้น ที่ไม่ยุติธรรมและมีการบังคับใช้ที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นการบังคับใช้กฏดังกล่าวนี้จึงพบว่า เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรมด้วย

94 “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถพยาบาล”เป็นกฎที่บังคับใช้อย่างเข้มงวดกันทุกคน มีความยุติธรรมอย่างไร

(1) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(2) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

(3) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 3 หน้า 330 331 โดยทั่วไปกฎหมายต้องมีข้อความที่ระบุถึงกลุ่มคนที่กฎหมายนั้นต้องใช้บังคับและระบุถึงกลุ่มคนที่ได้รับข้อยกเว้นจากกฎหมายนั้น เช่น “กฎหมายห้ามรถยนต์ใช้ความเร็ว เกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัย ยกเว้นรถพยาบาล” ซึ่งการยกเว้นดังกล่าวถือว่ามีความ ยุติธรรม ทั้งนี้เพราะรถพยาบาลขณะปฏิบัติหน้าที่ จะมีความแตกต่างจากรถธรรมดาโดยทั่วไป เนื่องจากจําเป็นต้องเร่งรีบนําคนป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ดังนั้นการบังคับใช้กฎดังกล่าวนี้จึงพบว่า เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรมแล้ว

95 ผลประโยชน์ใดควรถูกนํามาแบ่งปันให้เท่า ๆ กันสําหรับสมาชิก ตามหลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(1) เฉพาะปัจจัยพื้นฐานของการดํารงชีวิต

(2) เฉพาะความร่ำรวยที่คนขยันผลิตขึ้น

(3) เฉพาะสิ่งที่ขาดแคลน

(4) ผลประโยชน์ทุกชนิด

ตอบ 1 หน้า 333 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ เห็นว่า มนุษย์ทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้รับการแบ่งปันปัจจัยการดํารงชีพขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน คือ อาหารยารักษาโรค เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัย

96 คนอ่อนแอและคนพิการจะไม่ได้รับความยุติธรรม ถ้าใช้หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 4 หน้า 337 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความมานะพยายาม เห็นว่า การแบ่งปันผลประโยชน์จะมากหรือน้อยต้องขึ้นอยู่กับความมานะพยายาม โดยผู้ที่มีความขยันขันแข็งในการทํางานจะต้องได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์มากกว่าคนขี้เกียจ ซึ่งข้อบกพร่องของหลักการนี้ ก็คือ ไม่ยุติธรรมกับคนที่อ่อนแอและพิการ

97 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด มีความเห็นแตกต่างจากหลักการอื่น ๆ ในเรื่องมนุษย์

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากความสามารถ (3) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากคุณธรรม

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 1 หน้า 332, (คําบรรยาย) หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ แตกต่างจากหลักการอื่น ๆ คือ การแบ่งปันผลประโยชน์ประเภทนี้จะแบ่งให้กับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ อายุ เพศ ความมานะพยายาม หรือความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น

98 โอกาสที่แตกต่างกันของการพัฒนาคน คือ ปัญหาของหลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 2 หน้า 334 – 335 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความเหมาะสม เห็นว่า บุคคลมีความสามารถที่แตกต่างกัน ดังนั้นบุคคลจึงควรได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความสามารถของแต่ละคนซึ่งปัญหาสําคัญที่เป็นจุดอ่อนของหลักการนี้ก็คือ โอกาสที่แตกต่างกันของการพัฒนาคนนั่นเอง

99 นักปรัชญาคนใดพยายามใช้การศึกษาเพื่อดึงคนห่างจากรัฐ

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) จอห์น ล็อค

(4) อัตถิภาวนิยม

ตอบ 2 หน้า 273 จุดมุ่งหมายของการศึกษาในทัศนะของเซนต์ ออกัสติน คือ การห่างออกจากสังคมและรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายสู่สวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้า แต่นักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ เชื่อว่า จุดหมายของการศึกษาต้องเป็นจุดหมายเพื่อสังคมและรัฐ มิใช่ดึงคนให้ห่างออกจากสังคมและรัฐ

100 แนวคิดใดมีเป้าหมายอยากให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง รู้จักตัวเอง

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) จอห์น ล็อค

(4) อัตถิภาวนิยม

ตอบ 4 หน้า 279, 284, (คําบรรยาย) อัตถิภาวนิยม เป็นแนวคิดที่เชื่อในความสําคัญของปัจเจกบุคคล(Individual) โดยมีเป้าหมายของการศึกษา คือ อยากให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง รู้จักตัวเอง มีความ เป็นอิสระ และประสบการณ์ที่แท้จริง

PHI1003 ปรัชญาเบื้องต้น 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ลักษณะของปัญหาในข้อใด มีคําตอบได้หลายคําตอบ

(1) กรสงสัยว่าปัญญาคือสิ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์หรือไม่

(2) ไกรสงสัยว่าฮอร์โมนในสัตว์กับมนุษย์เหมือนกันหรือไม่

(3) เกรียงสงสัยว่ามนุษย์คือสัตว์ที่กลัวการลงโทษใช่หรือไม่

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 1, 9 – 10, (คําบรรยาย) ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญาซึ่งลักษณะสําคัญประการหนึ่งของปรัชญาก็คือ แม้แต่คําตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้นก็อาจ มีคําตอบที่เป็นไปได้หลายคําตอบ โดยยังไม่มีการกําหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคําตอบใด เป็นคําตอบที่ถูกต้องที่สุด วิชาปรัชญาถือว่าคําตอบทุกคําตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น ดังนั้นปรัชญา จึงช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ด้วยการใช้ปัญญาแสวงหาคําตอบที่เป็นไปได้ (ส่วนตัวเลือกข้อ 2 เป็นปัญหาทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคําตอบที่แน่นอนพอสมควร)

2 ความเชื่อในเรื่องบูชาพระราหูเป็นแนวปฏิบัติตนของคนไทยที่สอดคล้องกับแนวคิดของมนุษย์ยุคใดใน ประวัติปรัชญา

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 1 หน้า 2 ปัญหาปรัชญาในยุคดึกดําบรรพ์ คือ ปัญหาที่ว่าภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร โดยมนุษย์ในยุคนั้นเชื่อกันว่า โลกหรือจักรวาลมีกฎเกณฑ์ที่ไม่แน่นอนตายตัว ยุ่งเหยิง และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่มีระเบียบ ภัยธรรมชาติเกิดจากเทพเจ้า หรือเทพเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดภัยธรรมชาติขึ้น ดังนั้นมนุษย์จะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติได้ก็ต้องเอาใจเทพเจ้า คือ ทําให้เทพเจ้าพึงพอใจด้วยการถวายของบูชาเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ

3 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้รับฉายาว่า สาวใช้ของศาสนา

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 3 หน้า 8, 249 ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง เป็นช่วงสมัยที่ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับนับถือกันทั่วไป ดังนั้นปรัชญาตะวันตกยุคกลางจึงได้รับฉายาว่า “สาวใช้ของศาสนา” เนื่องจากปรัชญา ถูกดึงไปเป็นเครื่องมือสําหรับอธิบายและส่งเสริมคําสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุมีผลยิ่งขึ้นถือเป็นการประนีประนอมระหว่างปรัชญากรีกกับคริสต์ศาสนา

4 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ได้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 4 หน้า 8, 251 – 255, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนั้น จะได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้ เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซ่า (Spinoza), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke เดวิด ฮูม (David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น

5 “ปรัชญาบริสุทธิ์” คืออะไร

(1) ความเป็นจริง

(2) การรู้ความเป็นจริง

(3) การปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11 – 17 ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) หมายถึง ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับข้อสรุปของวิชาอื่น ๆ ที่แยกตัวออกไปจาก วิชาปรัชญาแล้ว ซึ่งปรัชญาบริสุทธิ์จะศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงในประเด็นปัญหา 3 ประการ ดังนี้คือ

1 ความเป็นจริงคืออะไร

2 เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร

3 เราพึงปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง

6 นักปรัชญากรีกโบราณคนใดที่สนใจศึกษาเรื่องปฐมธาตุ

(1) ทาเลส

(2) เพลโต

(3) โซฟิสต์

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 7, 28 ทาเลส (Thales) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณสมัยเริ่มต้นที่เชื่อว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลายวิวัฒนาการมาจากสิ่ง ๆ เดียวหรือมาจากสารเบื้องต้นเดียวกันคือ น้ำ ซึ่งเป็นปฐมธาตุ (สรรพสิ่ง) ของโลก และเป็นหน่วยแห่งความจริงขั้นมูลฐานหรือแก่นแท้ของจักรวาล

7 นักปรัชญากรีกโบราณคนใดที่สนใจศึกษาเรื่องสมรรถภาพในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์เป็นพิเศษ

(1) ทาเลส

(2) เพลโต

(3) โซฟิสต์

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 7 – 8 นักปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยรุ่งเรือง สนใจศึกษาปัญหาเรื่องสมรรถภาพหรือความสามารถของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ หรือมนุษย์มีความสามารถพอที่จะรู้ความจริงได้หรือไม่ ซึ่งนักปรัชญาที่สําคัญในยุคสมัยนี้ ได้แก่ โซฟิสต์ โซเครตีส เพลโต และอริสโตเติล

8 ลัทธิใดมีความสัมพันธ์กับปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้มากที่สุด

(1) สัจนิยม

(2) มนุษยนิยม

(3) ประโยชน์นิยม

(4) ประสบการณ์นิยม

ตอบ 4 หน้า 14 – 16, 103, 127 ปัญหาทางญาณวิทยาหรือปัญหาเรื่องทฤษฎีของความรู้ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1 ปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้ มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ลัทธิเหตุผลนิยม และลัทธิประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม)

2 ปัญหาธรรมชาติของความรู้มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ลัทธิสัจนิยม และลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัย

9 ลัทธิเอปิคิวรุส (Epicureanism) จะเสนอวิธีการดําเนินชีวิตอย่างไรในยุคเศรษฐกิจถดถอย

(1) แสวงหาความสุขให้มากก่อนอดตาย

(2) อดทนทํางานทุกอย่างเพื่อรอเวลาเศรษฐกิจฟื้นตัว

(3) ยอมรับสภาพและทําใจจนไม่มีความรู้สึกทุกข์

(4) ปลดปล่อยตัวเองจากหน้าที่ทั้งปวงและใช้ชีวิตอย่างสุนัข

ตอบ 1 หน้า 8 ปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยเสื่อม หมายถึง ปรัชญากรีกยุคหลังอริสโตเติลและเป็นเวลาในช่วงสมัยของการขยายตัวของอาณาจักรโรมัน ซึ่งแนวคิดของนักปรัชญาในยุคนี้ จะสนใจเรื่องการแสวงหาความสุขของชีวิตเป็นพิเศษ (แสวงหาความสุขให้มากก่อนอดตาย)โดยลัทธิปรัชญาที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ ลัทธิเอปิคิวรุส ลัทธิสโตอิก และลัทธิซีนิก เป็นต้น

10 ลัทธิสโตอิก (Stoicism) จะเสนอวิธีการดําเนินชีวิตอย่างไรในยุคเศรษฐกิจถดถอย

(1) แสวงหาความสุขให้มากก่อนอดตาย

(2) อดทนทํางานทุกอย่างเพื่อรอเวลาเศรษฐกิจฟื้นตัว

(3) ยอมรับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเข้าใจจนไม่มีความรู้สึกทุกข์

(4) ปลดปล่อยตัวเองจากหน้าที่ทั้งปวงและใช้ชีวิตอย่างสุนัข

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

11 “Metaphysics” มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาไทยคําใด

(1) จริยศาสตร์

(2) อภิปรัชญา

(3) ญาณวิทยา

(4) อตินทรีย์วิทยา

ตอบ 4 หน้า 21 – 22 Metaphysics แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังวัตถุ หรือวิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส จะมีความหมายตรงกับคําว่า “อตินทรีย์วิทยา” ซึ่งแปลว่า ล่วงเลยอินทรีย์หรือประสาทสัมผัส แต่คําว่าอตินทรีย์วิทยานี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันโดยคําที่นิยมใช้ก็คือ “อภิปรัชญา” ซึ่งแปลว่า ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่

12 ข้อใดเป็นลักษณะของนักสสารนิยม

(1) คนที่เชื่อว่าวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง

(2) คนที่เชื่อว่ามนุษย์แสวงหาความสุขทางกายเท่านั้น

(3) คนที่ปฏิเสธเรื่องชีวิตหลังการตาย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 25, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง โดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางกายเท่านั้น และปฏิเสธชีวิตหลังการตาย (ซึ่งจะตรงข้ามกับจิตนิยม ที่เชื่อว่าอสสารหรือจิตเท่านั้นที่เป็นจริง โดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางใจเท่านั้น และไม่ปฏิเสธชีวิตหลังการตาย)

13 นักจิตนิยมมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิต-กาย อย่างไร

(1) จิตคือกาย

(2) จิตสําคัญคู่กาย

(3) จิตสําคัญกว่ากาย

(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย

ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกาย โดยจิตหรือวิญญาณสําคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และมีสภาวะเป็นอมตะ เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้จึงต้องกระทําความดีเพื่อเป็นสะพานที่จะมุ่งไปสู่ความจริงในโลกหน้า เพราะโลกเป็นเพียงแค่ทางผ่านไปสู่สัจธรรม

14 นักสสารนิยมมีทัศนะเรื่องการดับของจิตอย่างไร

(1) จิตดับเมื่อร่างกายตาย

(2) ไม่มีจิต มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น

(3) จิตไม่ดับแม้ร่างกายตาย

(2) จิตดับเมื่อหมดกิเลส

ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สสารนิยม ถือว่า ไม่มีจิตวิญญาณ มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองและระบบประสาท ซึ่งสมองนั้นเป็นสสาร คือ เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วก็จะออกมา เป็นโมเลกุล และเมื่อแยกต่อไปก็จะเป็นอะตอม อิเล็กตรอน โปรตอน และอื่น ๆ ต่อไป ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ จะมีก็แต่การรวมตัวและการแยกตัวของสิ่งอันเป็นหน่วยเดิมเท่านั้น

15 “สสารเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง และไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ ได้อย่างสมบูรณ์” เป็นแนวคิดของนักปรัชญาลัทธิใด

(1) ธรรมชาตินิยม

(2) จักรกลนิยม

(3) สสารนิยม

(4) จิตนิยม

ตอบ 1 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม ได้ให้คํานิยามไว้ว่า สิ่งธรรมชาติ (สสาร) คือสิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของสาเหตุธรรมชาติ โดยสิ่งธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง และไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์

16 “ถ้าพอมีเงินซื้อรถยนต์ก็ควรซื้อเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะจะช่วยไม่ให้เหนื่อยล้าจากการเดินทาง และลดความเครียดที่เกิดจากปัญหาการจราจรได้” น่าจะเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับปรัชญาลัทธิใด

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) ปัญญานิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

17 “โลกเป็นเพียงแค่ทางผ่านไปสู่สัจธรรม” เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความสําคัญของโลกของนักปรัชญาลัทธิใด

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) จักรกลนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

18 เกียรติยศชื่อเสียงและความเสียสละ เป็นเป้าหมายของบุคคลประเภทใดในทัศนะของเพลโต

(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) คนมีจิตภาคเหตุผลเด่น

(4) คนที่มีจิต 3 ภาคสมดุลกัน

ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 245 246 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้

1 ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทําทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมาสนองความสุขทางโลก จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข

2 ภาคน้ำใจ คือ ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ เกียรติยศชื่อเสียง และการได้รับการยกย่อง โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ

3 ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะโดยอาจยอมเสียสละทั้งเงินและเกียรติเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงามและความยุติธรรม ซึ่งจิตภาคนี้เท่านั้นที่จะทําให้มนุษย์เข้าสู่โลกของแบบได้

19 การได้รับยกย่องเป็นเจ้าสัว น่าจะเป็นเป้าหมายของบุคคลประเภทใดในทัศนะของเพลโต

(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) คนมีจิตภาคเหตุผลเด่น

(4) คนที่มีจิต 3 ภาคสมดุลกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

20 ศาสนาคริสต์เชื่อในพระเจ้าแบบลัทธิใด

(1) Monotheism

(2) Polytheism

(3) Henotheism

(4) Atheism

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแบ่งออกเป็น 4 แบบดังนี้

1 Monotheism เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว และเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งความเชื่อในลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์

2 Polytheism เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งความเชื่อในลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู

3 Henotheism เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ แต่ยกให้องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่

4 Atheism เชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า

21 ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์พิสูจน์การมีอยู่จริงของพระเจ้าจากสิ่งใด

(1) ลักษณะความจํากัดของโลก

(2) ลักษณะความเป็นระเบียบของโลก

(3) ความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับพระเจ้า

(4) มโนธรรมของมนุษย์

ตอบ 2 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์ ถือว่า โลกนี้มีเอกภาพ มีระเบียบ มีความกลมกลืนกัน เช่น มีที่ราบ ภูเขา ทะเล มีพืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งต่างก็ปรับตัวให้เข้ากับระเบียบที่กําหนดไว้แล้ว ในธรรมชาติ ซึ่งแสดงว่าโลกนี้ต้องมีผู้ออกแบบที่ชาญฉลาดสร้างขึ้นมา และมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นเช่นนั้น โดยผู้ออกแบบสร้างโลกนี้ก็คือพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่

22 ทฤษฎีเชิงภววิทยาพิสูจน์การมีอยู่จริงของพระเจ้าจากสิ่งใด

(1) ลักษณะความจํากัดของโลก

(2) ลักษณะความเป็นระเบียบของโลก

(3) ความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับพระเจ้า

(4) มโนธรรมของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงภววิทยา ถือว่า พระเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์และเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจํากัดส่วนมนุษย์เป็นสิ่งสัมพัทธ์และเป็นสิ่งจํากัด ซึ่งการที่มนุษย์มีความคิดในเรื่องพระเจ้าได้นั้น เกิดจากพระเจ้าเป็นต้นเหตุให้มนุษย์คิดถึงสิ่งที่ไร้ขอบเขตนี้ขึ้นมาได้ ดังนั้นพระเจ้าจึงมีอยู่

23 ข้อใดเป็นลักษณะของอะตอมของกรีก

(1) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น

(2) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น

(3) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(4) อะตอมของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

ตอบ 1 หน้า 57 ปรัชญากรีก ถือว่า ปรมาณู (อะตอม) ของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันเฉพาะด้านจํานวนหรือปริมาณเท่านั้น แต่ในด้านคุณภาพมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนลัทธิไวเศษกะถือว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

24 ข้อใดเป็นลักษณะของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ

(1) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น

(2) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น

(3) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(4) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ข้อใดเป็นทัศนะเกี่ยวกับคุณสมบัติของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ

(1) คุณสมบัติของปรมาณูมีความเที่ยงแท้เช่นเดียวกับปรมาณู

(2) ปรมาณูเคลื่อนไหวตามการชี้นําของพระเจ้า

(3) ปรมาณูมีทั้งคุณสมบัติปฐมภูมิและทุติยภูมิ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 57 58 ทัศนะเกี่ยวกับคุณสมบัติของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ ได้แก่ ปรมาณูแต่ละปรมาณูเป็นสิ่งเที่ยงแท้และไม่แตกดับเช่นเดียวกับคุณสมบัติของปรมาณูแต่ละอย่าง ปรมาณูมีทั้งคุณสมบัติปฐมภูมิและคุณสมบัติทุติยภูมิ ปกติปรมาณูจะอยู่ในภาวะที่หยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวตามการชี้นําหรือตามเจตจํานงของพระเจ้า

26 สิ่งที่ผัสสะของมนุษย์สามารถสัมผัสได้นั้น ต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูจํานวนเท่าใดเป็นอย่างน้อย ตามทัศนะของลัทธิไวเศษกะ

(1) จํานวน 1 – 2 ปรมาณู

(2) จํานวน 3 ปรมาณูขึ้นไป

(3) จํานวน 4 ปรมาณูขึ้นไป

(4) จํานวน 5 ปรมาณูขึ้นไป

ตอบ 2 หน้า 59 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า วัตถุจะต้องเกิดจากการรวมตัวกันของปรมาณูอย่างน้อย 2 ปรมาณู ส่วนวัตถุที่เราพอจะรู้ด้วยประสาทสัมผัสหรือสิ่งที่ผัสสะของมนุษย์สามารถสัมผัสได้นั้น จะต้องเกิดขึ้นจากการรวมตัวของปรมาณูจํานวนตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป

27 ตามทัศนะของไวเศจิกะ วิญญาณของมนุษย์คืออะไร

(1) ชีวาตมัน

(2) ปรมาณูพิเศษ

(3) ปรมาณูธรรมดา

(4) มนุษย์ไม่มีวิญญาณ

ตอบ 1 หน้า 58 ปรัชญากรีก ถือว่า วิญญาณของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมตัวของปรมาณู แต่เป็นปรมาณูหรืออะตอมพิเศษ ส่วนปรัชญาไวเศษกะ ถือว่า วิญญาณหรืออาตมันหรือชีวาตมันนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นพิเศษต่างหากจากปรมาณู ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวของปรมาณูของธาตุใด ๆ แต่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้นิรันดรควบคู่ไปกับปรมาณู และมีลักษณะพิเศษของตนเองโดยเฉพาะ

28 พระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาเกี่ยวกับอภิปรัชญาด้วยวิธีการใด

(1) ทรงตอบตรงคําถาม

(2) ทรงตอบโดยวิธีแยกแยะ

(3) ทรงตอบโดยวิธีย้อนถาม

(4) ทรงตอบโดยวิธีสงบนิ่ง

ตอบ 4 หน้า 77 – 78 วิธีการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าจะทรงใช้ทั้ง 4 วิธีตามตัวเลือก แต่ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับอภิปรัชญาพระพุทธองค์จะทรงใช้วิธีสงบนิ่ง (ดุษณีภาพ) ซึ่งสาเหตุสําคัญที่ทรงใช้วิธีการนี้เพราะทรงเห็นว่าถ้าตอบไปก็อาจทําให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้

29 สาเหตุสําคัญที่ทรงใช้วิธีตามข้อ 28 คืออะไร

(1) ทรงเห็นว่าอาจทําให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้

(2) ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องที่แต่ละบุคคลควรสรุปเอง

(3) ทรงเห็นว่าเป็นปัญหาซับซ้อน

(4) ทรงเห็นว่าถ้าตอบไปก็ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

30 คําสอนที่แสดงเหตุในอริยสัจ 4 คืออะไร

(1) ทุกข์และสมุทัย

(2) นิโรธและมรรค

(3) ทุกข์และนิโรธ

(4) สมุทัยและมรรค

ตอบ 4 หน้า 79 คําสอนของพระพุทธองค์ในอริยสัจ 4 แสดงเหตุและผลโดยลําดับ ดังนี้

1 แสดงเหตุ 2 ประการ ได้แก่ สมุทัย (แสดงเหตุแห่งทุกข์) และมรรค (แสดงเหตุคือ

การปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

2 แสดงผล 2 ประการ ได้แก่ ทุกข์ (แสดงผลคือทุกข์) และนิโรธ (แสดงผลคือความดับทุกข์)

31 คําสอนที่แสดงผลในอริยสัจ 4 คืออะไร

(1) ทุกข์และสมุทัย

(2) นิโรธและมรรค

(3) ทุกข์และนิโรธ

(4) สมุทัยและมรรค

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

32 สัตว์ที่ยังสามารถเวียนว่ายตายเกิดได้ คืออะไรตามคําสอนของพุทธศาสนา

(1) มนุษย์

(2) เทดา

(3) พรหม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 83 (คําบรรยาย) สัตว์ที่ยังสามารถเวียนว่ายตายเกิดได้ตามคําสอนของพุทธศาสนา คือ มนุษย์ และสัตว์นรกที่เรียกว่าอุปปาติกะ (ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม) ได้แก่ เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย ดังนั้นสัตว์ที่ยังสามารถเวียนว่ายตายเกิดเหล่านี้จึงไม่ใช่จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา เพราะยังไม่พ้นไปจากทุกข์ได้

33 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นกามตัณหาตามหลักอริยสัจ 4

(1) อยากฟังเสียงนุ่มนวลของนักร้องคนโปรด

(2) อยากเป็นนักร้อง

(3) ไม่อยากพ้นจากตําแหน่งนักร้องยอดนิยม

(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม

ตอบ 1 หน้า 84 85 ตัณหามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1 กามตัณหา คือ ความอยากเห็น อยากฟัง อยากสูดกลิ่น อยากลิ้มรส และอยากสัมผัสในสิ่งที่ตนถูกใจ

2 ภวตัณหา คือ ความอยาก เป็นเจ้าของ ความอยากมีหรืออยากเป็นสิ่งอื่น ๆ

3 วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่ให้สิ่งที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่เสื่อมสิ้นไป ความอยากไม่มีดังที่ตนมีอยู่หรือไม่อยากเป็นดังที่ตนเป็นอยู่

34 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นภวตัณหาตามหลักอริยสัจ 4

(1) อยากฟังเสียงนุ่มนวลของนักร้องคนโปรด

(2) อยากเป็นนักร้อง

(3) ไม่อยากพ้นจากตําแหน่งนักร้องยอดนิยม

(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

35 มรรค 8 คือ วิถีปฏิบัติเพื่ออบรมสิ่งใดตามหลักอริยสัจ 4

(1) อบรมกายกับวาจา

(2) อบรมใจ

(3) อบรมความเห็น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 86 – 89, (คําบรรยาย) มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ 4 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ

1 ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล” มี 3 ข้อ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2 ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” มี 3 ข้อ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

3 ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา” มี 2 ข้อ คือ สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ

36 “เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ” เป็นความรู้แบบใดในทัศนะของพวกเหตุผลนิยม

(1) เป็นความรู้ที่จําต้องเป็น

(2) เป็นความรู้ที่รู้โดยอัชฌัตติกญาณ

(3) เป็นความรู้ก่อนประสบการณ์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 104 105, 115 116 ความรู้ที่แท้จริงในทัศนะของนักปรัชญาลัทธิเหตุผลนิยมที่สําคัญ เช่น เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซา (Spinoza) และไลบ์นิตซ์ (Leibnitz) คือ ความรู้ก่อนประสบการณ์ซึ่งเป็นความจริงที่แน่นอนตายตัวโดยไม่เปลี่ยนแปลง หรือความจริง ชนิดที่จําต้องเป็น (Necessary Truth) คือ ต้องจริงในทุกที่ทุกเวลา เป็นความจริงที่ไม่มีวัน ผิดพลาดได้ เป็นข้อความที่ต้องจริงตลอดไปโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ เป็นสิ่งที่รู้ได้โดยไม่ต้องมี ประสบการณ์มายืนยัน และจิตของมนุษย์ก็สามารถรู้ความจริงชนิดนี้ได้โดย “อัชฌัตติกญาณ” (Intuition) คือ การหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจหรือด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผลหรือแสงสว่างแห่ง ปัญญาแบบทันทีทันใดโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ข้อความที่ว่า “สิ่งหนึ่งไม่อาจจะ อยู่ในสถานที่สองแห่งในเวลาเดียวกันได้”, “เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ”, “เส้นตรงที่ขนานกันจะไม่มีวันมาบรรจบกันได้” ฯลฯ

37 ข้อใดเป็นความรู้ที่ได้จากวิธีนิรนัย

(1) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน

(2) อุ๊ย นั่นเส้นขนานของรางรถไฟ

(3) อ้อ เห็นมามากแล้ว รางรถไฟไม่มีวันพบกันหรอก

(4) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน รางรถไฟเป็นเส้นขนาน ดังนั้น รางรถไฟไม่มีวันพบกัน

ตอบ 4 หน้า 105 การแสวงหาความรู้โดยวิธีนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อใด ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาว จากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยที่ข้อสรุปต้องได้มาจากข้ออ้าง ถ้าหากข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และพีชคณิตก็ใช้วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยนี้ในการแสวงหาความจริงโดยไม่อาศัยการพิสูจน์หรือยืนยันจากประสบการณ์ด้วย

38 ข้อใดเป็นความรู้ที่ได้จากอัชญัตติกญาณแบบประสบการณ์นิยม

(1) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน

(2) อุ้ย!! นั่นรางรถไฟเป็นเส้นขนาน

(3) รางรถไฟมีลักษณะเป็นเส้นขนาน

(4) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน รางรถไฟเป็นเส้นขนาน ดังนั้น รางรถไฟไม่มีวันพบกัน

ตอบ 2 หน้า 116 ความรู้ที่ได้จากอัชฌัตติกญาณในแบบประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม) หมายถึง การมีความรู้และความเข้าใจโดยตรงในความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่สุดของประสบการณ์ ทางประสาทสัมผัส เช่น อุ้ย!! นั่นรางรถไฟเป็นเส้นขนาน, สิ่งที่ฉันมองเห็นในขณะนี้มีสีแดง, มือได้สัมผัสความเย็นของน้ําแข็ง, ลิ้นได้ลิ้มรสหวานของน้ำตาล เป็นต้น

39 “Tabula Rasa” สัมพันธ์กับนักปรัชญาคนใด

(1) Descartes

(2) Locke

(3) Berkley

(4) Hume

ตอบ 2 หน้า 117, (คําบรรยาย) ล็อค (Locke) ถือว่า สภาพจิตของมนุษย์ในตอนเริ่มแรกนั้นมีแต่ความว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดและความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเรียกว่า “Tabula Rasa” ที่หมายถึง สมุดบันทึกที่ว่างเปล่าปราศจากข้อความใด ๆ ทั้งสิ้น

40 ส่วนของวัตถุที่มนุษย์ไม่มีวันสัมผัสได้ด้วยผัสสะ คืออะไรในทัศนะของล็อค

(1) คุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ

(2) คุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุ

(3) สารรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัตถุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 118 – 119, (คําบรรยาย) ในทัศนะของล็อค ถือว่า คุณสมบัติปฐมภูมิเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัววัตถุจริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมินั้นไม่ได้มีอยู่ในโลกภายนอก แต่เป็นอํานาจที่ คุณสมบัติปฐมภูมิสร้างผัสสะให้เกิดกับเรา ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีวันสัมผัสคุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุได้ด้วยผัสสะ

41 “อ๋อ นี่คือดอกมะลิ” เป็นความรู้ที่หมายถึงสิ่งใดในทัศนะของล็อค

(1) ตัวดอกมะลิ

(2) ตัวคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ

(3) ภาพแทนคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ

(4) ภาพรวมของคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ

ตอบ 3 หน้า 119 ทฤษฎีความรู้ของล็อค เรียกว่า “ทฤษฎีตัวแทน” โดยวัตถุจริงกับวัตถุในฐานะเป็นสิ่งที่เรารับรู้นั้นจะเป็นคนละสิ่งกัน วัตถุที่เรารับรู้จึงนับเป็นตัวแทนของวัตถุจริง ดังนั้น สิ่งที่มีอยู่จริงภายนอกตัวเรา ก็คือ ก้อนที่ปราศจากคุณสมบัติทุติยภูมิใด ๆ ที่เรียกว่า “สาร” ซึ่งรองรับคุณสมบัติปฐมภูมิอยู่

42 ส่วนใดของวัตถุที่ผัสสะของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ในทัศนะของล็อค

(1) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(2) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(3) สารรองรับคุณสมบัติของวัตถุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 119 ล็อค เชื่อว่า สารเป็นสิ่งแท้จริงที่อยู่ภายในตัววัตถุ แต่มนุษย์ไม่อาจจะรู้จักสารได้เพราะไม่อาจเป็นประสบการณ์ของใคร จึงเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งต้องมีสาร เพราะสารเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความคิดเชิงเดี่ยว

43 จอห์น ล็อค เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 2 หน้า 138 – 139 สักนิยมแบบตัวแทน เห็นว่า วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนเป็นสสารที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ (ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก) และคุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้นที่มีอยู่อย่างแท้จริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมิ (สี กลิ่น รส อุณหภูมิ) นั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัววัตถุเพราะมันเป็นสิ่งที่จิตของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมา ซึ่งนักปรัชญาที่สําคัญของทฤษฎีนี้ก็คือ จอห์น ล็อค

44 เดส์การ์ตต้องการแสดงอะไรเมื่อสรุปว่า “ฉันคิด ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่”

(1) ต้องการพิสูจน์ว่าตัวเองไม่ได้ฝันไป

(2) ต้องการสรุปความจริงพื้นฐานที่สงสัยไม่ได้

(3) ต้องการสรุปว่าตนเองมีปัญหา

(4) ต้องการพิสูจน์ว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่คิดได้

ตอบ 2 หน้า 108 เดส์การ์ต เห็นว่า การสงสัยเป็นการคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งการคิดนั้นก็จะต้องมีผู้คิด ดังนั้น เราจึงไม่อาจสงสัยการมีอยู่ของตัวเองในฐานะที่เป็นผู้คิดได้ จากเหตุผลดังกล่าวทําให้เดส์การ์ต พบว่าสิ่งที่เป็นความจริงอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง ก็คือ “ฉันคิด ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่”

45 “อัชญัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใดในทัศนะของเดส์การ์ต

(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล

(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะทั้ง 5 ของมนุษย์

(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์

(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

46 “อัชญัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใดในทัศนะของนักประจักษนิยม

(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล

(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะทั้ง 5 ของมนุษย์

(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์

(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

47 “ตึก KTB กับตึก DRB เหมือนกันจังเลย” เป็นความรู้ที่มีบ่อเกิดจากสิ่งใดในทัศนะของเดวิด ฮูม

(1) ผัสสะ

(2) ความจํา

(3) จินตนาการ

(4) การคาดเดา

ตอบ 3 หน้า 122 123 เดวิด ฮูม (David Hume) เห็นว่า มนุษย์มีความสามารถอยู่ 2 ประการคือ ความจํากับจินตนาการ โดยความจําเป็นการที่เราเก็บรวบรวมความคิดทั้งหลายไว้เป็น ลําดับต่อเนื่องกัน ส่วนจินตนาการเป็นการที่เราจัดระเบียบความคิดต่าง ๆ ตามแบบแผนที่ เราต้องการ เช่น การที่เราเห็นว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่งก็เป็นเพียงผลจากจินตนาการของเราเอง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลที่เกิดจากส่วนของจินตนาการของมนุษย์

48 “พระเจ้าต้องมีอยู่ เพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด

(1) เพลโต

(2) เดส์การ์ต

(3) ล็อค

(4) เดวิด ฮูม

ตอบ 2 หน้า 110 เดส์การ์ต (Descartes) เป็นนักปรัชญาเหตุผลนิยมที่เชื่อว่า พระเจ้าต้องมีอยู่จริงเพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า (เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะเป็นผู้ก่อความคิดนี้ขึ้นมาเอง) โดยพระเจ้าเองเป็นผู้ประทานความคิดเกี่ยวกับพระองค์เองให้กับมนุษย์

49 “เราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าไม่มีจริง” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด

(1) เพลโต

(2) เดส์การ์ด

(3) ล็อค

(4) เดวิด ซูม

ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) เดวิด ฮูม (David Hume) เป็นนักประจักษนิยมที่เชื่อว่า ตัวคนเราเป็นเพียงการมารวมกันของผัสสะและความคิด ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ และเมื่อคนเราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง

50 สัจนิยมโดยตรงยอมรับความคิดใด

(1) ความรู้ของมนุษย์เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง

(2) ความรู้ของมนุษย์เป็นความคิดของจิตมนุษย์

(3) ความรู้ของมนุษย์เป็นเพียงตัวแทนของวัตถุ

(4) ความรู้ของมนุษย์เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง

ตอบ 4 หน้า 134 สักนิยมแบบโดยตรง มีทัศนะว่า การรับรู้หรือการประจักษ์เป็นการรู้จักโดยตรงคือ เป็นการเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมากับวัตถุภายนอก ซึ่งการรับรู้ของคนมิได้มีการ เพิ่มเติมหรือลดทอนคุณสมบัติอะไรบางอย่างให้กับวัตถุเลย วัตถุมีธรรมชาติหรือลักษณะที่แท้จริงอย่างไร เมื่อมาปรากฏต่อจิตของคนก็คงเป็นอย่างนั้น

51 จอห์น ล็อค ยอมรับความคิดใด

(1) ความรู้ของมนุษย์เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง

(2) ความรู้ของมนุษย์เป็นการรู้ภาพตัวแทนของวัตถุ

(3) ความรู้ของมนุษย์เป็นความคิดของจิตมนุษย์

(4) ความรู้ของมนุษย์เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

52 ข้อใดเป็นความคิดของเบอร์คเลย์

(1) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกทุกประการ

(2) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกเฉพาะคุณสมบัติปฐมภูมิ

(3) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการสร้างของจิตทั้งหมด

(4) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการเลือกรับรู้ของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 129, 131 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีทัศนะว่า วัตถุทั้งหลายหรือโลกภายนอกเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิตมนุษย์ โดยสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นหรือรู้นั้นก็คือความคิด ของจิตของเรานั่นเอง เพราะว่าสิ่งที่เรารู้หรือความรู้ของเรา ได้แก่ วัตถุและสิ่งทั้งหลายภายในโลก สิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือการรับรู้ด้วยจิตของมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมันจึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้

53 ข้อใดเป็นความคิดของจอห์น ล็อค

(1) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกทุกประการ

(2) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกเฉพาะคุณสมบัติปฐมภูมิ

(3) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการสร้างของจิตทั้งหมด

(4) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการเลือกรับรู้ของมนุษย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40 และ 43 ประกอบ

54 แนวความคิดเรื่องใดของนักปรัชญาที่สืบเนื่องมาจากทัศนะทางอภิปรัชญาของเขา

(1) ศาสนา

(2) ประเพณี

(3) เป้าหมายของชีวิต

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวความคิดของนักปรัชญาที่สืบเนื่องมาจากทัศนะทางอภิปรัชญาของเขา คือ เป้าหมายของชีวิต (จุดหมายหรืออุดมคติของชีวิต) หรือสิ่งที่มีค่าสูงสุดหรือสิ่งที่ดีที่สุด (Highest Good) ของมนุษย์ เช่น นักปรัชญาลัทธิสสารนิยมจะเน้นว่าความสุขทางกายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด ของมนุษย์, นักปรัชญาลัทธิธรรมชาตินิยมจะเน้นว่าความสุขทางกายและความสุขทางใจล้วนเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดสําหรับมนุษย์ เป็นต้น

55 นักปรัชญาลัทธิใดที่เน้นว่าความสุขทางกายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดของมนุษย์

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) ซีนิก (Cynicism)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

56 นักปรัชญาลัทธิใดที่เน้นว่าความสุขทางกายและทางใจล้วนเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดสําหรับมนุษย์

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) ซีนิก (Cynicism)

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

57 ประโยชน์นิยมมีความเห็นอย่างไรกับการพูดโกหก

(1) เป็นการกระทําที่ผิดเสมอ

(2) เป็นการกระทําที่ถูกถ้าให้ผลดีแก่คนส่วนใหญ่

(3) เป็นการกระทําที่อาจถูกหรือผิดแล้วแต่ค่านิยมของสังคม

(4) เป็นการกระทําเพื่อป้องกันตนเองตามธรรมชาติของมนุษย์

ตอบ 2 หน้า 165, 168 มิลล์ (Mill) เป็นนักประโยชน์นิยมที่ถือว่าศีลธรรมกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน ความสุขของมหาชนเป็นสิ่งสําคัญที่สุด การละเมิดหลักศีลธรรม/ประเพณีหรือ กฎหมายย่อมสามารถทําได้ถ้าเราคํานวณแล้วพบว่าการกระทํานั้นก่อให้เกิดประโยชน์สุข มากกว่า เช่น หมออาจโกหกคนไข้ได้ เพื่อไม่ให้คนไข้ตกใจจนหัวใจวายตาย ฯลฯ

58 ผู้ที่เชื่อว่าความดีเป็นปรนัย ถือว่าความดีมีลักษณะอย่างไร

(1) ความดีขึ้นอยู่กับความคิดของคนอื่น

(2) ความดีเป็นความดีในตัวเองไม่ขึ้นกับความคิดของใคร

(3) ความดีขึ้นอยู่กับความคิดของตนเอง

(4) ความดีเป็นความดีในตัวเองที่ตรงกับความคิดของตนเอง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผู้ที่เชื่อว่าความดีเป็นปรนัยถือว่าความดีมีลักษณะเป็นความดีในตัวเองไม่ขึ้นกับความคิดของใคร เช่น การพูดความจริงเป็นสิ่งดี ฯลฯ ส่วนผู้ที่เชื่อว่าความดีเป็นอัตนัยถือว่าความดีขึ้นอยู่กับความคิดของตนเอง เช่น ฉันชอบพูดความจริง ดังนั้นการพูดความจริงจึงเป็นสิ่งดี ฯลฯ

59 “การพูดความจริงเป็นสิ่งดี เพราะฉันชอบพูดความจริง” เป็นลักษณะที่เชื่อว่าความดีมีสถานภาพอย่างไร

(1) ความดีเป็นปรนัย

(2) ความดีเป็นอัตนัย

(3) ความดีเป็นปรนัยและอัตนัย

(4) ความดีต้องไม่สับสนตามกระแส

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

60 นักศึกษาที่เข้าห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ และไม่เคยแสดงกิริยาไม่พอใจ ทั้ง ๆ ที่ห้องเรียนร้อนและแออัด เป็นคนมีหลักธรรมข้อใด

(1) มีขันติ

(2) มีโสรัจจะ

(3) มีสัจจะ

(4) มีขันติและโสรัจจะ

ตอบ 4 หน้า 189 – 192 ขันติ หมายถึง ความอดทนซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจ สามารถทนทานต่อเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ และสามารถบังคับกายกับวาจาให้อยู่ในอํานาจ ได้ด้วย เช่น ความอดทนต่อความทุกข์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข, ความอดทนต่อความลําบาก เพื่อให้ได้มาซึ่งความสบาย, ความอดทนต่อสิ่งที่กวนใจเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นคนดี เป็นต้น ส่วนโสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยมซึ่งมีลักษณะเป็นความมีปกติอันดีของกาย วาจา และใจ ไม่แสดงอาการไม่ดีหรือไม่งามผิดปกติเมื่อได้รับความตรากตรำลําบากหรือได้รับความเจ็บใจ

61 นักศึกษาที่เดินออกจากห้องเรียนก่อนเวลาเลิกเรียนที่กําหนด เพราะเบื่อฟังการบรรยาย เป็นคนขาด หลักธรรมข้อใด

(1) มีขันติแต่ขาดสัจจะ

(2) ขาดขันติ

(3) ขาดสัจจะ

(4) มีขันติแต่ขาดโสรัจจะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ

62 นักศึกษาที่เข้าสอบด้วยท่าทางหงุดหงิดกับอากาศร้อนของห้องสอบ เป็นคนขาดหลักธรรมข้อใด

(1) มีขันติแต่ขาดสัจจะ

(2) มีขันติแต่ขาดโสรัจจะ

(3) ขาดขันติและขาดสัจจะ

(4) ขาดขันติและขาดโสรัจจะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ

63 ภรรยาน้อยที่ถูกภรรยาหลวงต่อว่าก็ไม่ตอบโต้ กลับมีท่าที่สงบเสงี่ยม เรียกว่ามีคุณธรรมข้อใด

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) ขันติและโสรัจจะ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ

64 คนที่มีวิมังสาจะมีลักษณะอย่างไร

(1) พอใจในงานของตน

(2) มีความพยายามที่จะทํางานของตน

(3) ศึกษาจนเข้าใจรายละเอียดของงานของตน

(4) หมั่นพิจารณาข้อบกพร่องในการทํางานของตนเอง

ตอบ 4 หน้า 201 – 203 อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมที่นําไปสู่ความสําเร็จ 4 ประการ ดังนี้

1 ฉันทะ (ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น) ทําให้ไม่เบื่องาน ไม่รู้สึกท้อแท้ในการทํางาน

2 วิริยะ (ความเพียรพยายามในสิ่งนั้น) ทําให้มุ่งมั่นในการทํางานของตนให้สําเร็จ

3 จิตตะ (ความเอาใจใส่ในสิ่งนั้น) ทําให้หมั่นตรวจตราเอาใจจดจ่อในงานที่ตนทํา

4 วิมังสา (ความหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้น) ช่วยให้ทํางานไม่ผิดพลาด

65 คนที่มีฉันทะจะมีลักษณะอย่างไร

(1) พอใจในงานของตน

(2) มีความพยายามที่จะทํางานของตน

(3) ศึกษาจนเข้าใจรายละเอียดของงานของตน

(4) หมั่นพิจารณาข้อบกพร่องในการทํางานของตนเอง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 ต่ายสมัครมาเป็นครูในสามจังหวัดภาคใต้ แม้จะต้องใช้ความเพียรพยายามมากกว่าครูในภูมิภาคอื่น ๆ เพราะต่ายพอใจในอาชีพครู แสดงว่าต่ายมีหลักธรรมข้อใดในหลักอิทธิบาท 4

(1) ฉันทะกับวิริยะ

(2) จิตตะกับวิมังสา

(3) ฉันทะกับจิตตะ

(4) วิริยะกับวิมังสา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

67 ถ้านักศึกษาต้องการพัฒนาปัญญาให้งอกงาม ควรปฏิบัติตามหลักธรรมใด

(1) ขันติ

(2) วุฒิธรรม

(3) อิทธิบาท 4

(4) สมชีวิธรรม

ตอบ 2 หน้า 207 หลักวุฒิธรรม คือ หลักการสร้างหรือพัฒนาความเจริญงอกงามแห่งปัญญาซึ่งมีข้อพึงปฏิบัติอยู่ 4 ประการดังนี้

1 หมั่นเสวนาคบหากับท่านผู้รู้ ผู้มีภูมิธรรม

2 เอาใจใส่สดับตรับฟังแสวงหาความรู้จริง

3 ได้รู้ได้เห็นได้ฟังสิ่งใดแล้ว รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเอง

4 นําสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟัง และตริตรองเห็นชัดแล้วไปใช้หรือปฏิบัติด้วยตนเอง

68 “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

(2) ความเป็นผู้รู้จักผล

(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

(4) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล

ตอบ 3 หน้า 198 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักกําหนดคาดคะเนได้อย่างเหมาะสมพอเหมาะพอควรและพอดีในทุกเรื่อง ซึ่งผู้ที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า“เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” หมายถึง เสียงดังมาก (ดังเกินไป ไม่พอดี)

69 “ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักตน

(2) ความเป็นผู้รู้จักผล

(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

(4) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล

ตอบ 1 หน้า 197 – 198 ความเป็นผู้รู้จักตน หมายถึง ความพิจารณาตนเองให้เข้าใจว่าตนเป็นจุดกําเนิดของทุกข์ สุข ความเสื่อม และความเจริญ ซึ่งการรู้จักตนเองนั้นต้องรู้ถึงชาติตระกูล วัย ฐานะ ตําแหน่ง สมบัติ บริวาร หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเอง

70 “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล

(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล

(4) ความเป็นผู้รู้จักผล

ตอบ 2 หน้า 199 – 200 ความเป็นผู้รู้จักชุมชน หมายถึง การรู้จักปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคมหรือชุมชนต่าง ๆ และวางตนให้เหมาะสมกับสังคมนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะสอดคล้องกับ สุภาษิตที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ส่วนคนที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตาม สุภาษิตที่ว่า “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” หรือ “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง”

71 “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล

(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล

(4) ความเป็นผู้รู้จักผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

72 เพลโตมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐอย่างไร

(1) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐโดยธรรมชาติ

(2) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐต่อเมื่อให้ความยินยอม

(3) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐเพราะมีบาป

(4) มนุษย์จําเป็นต้องมีรัฐเพราะกิจกรรมการผลิต

ตอบ 1 หน้า 244 245 โซ.ครตีสและเพลโตนักปรัชญากรีกโบราณ มีทัศนะว่า รัฐเป็นสิ่งจําเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์ เพราะความยุติธรรมสําหรับมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมเพื่อมีชีวิตที่ดี สามารถรักษาเผ่าพันธุ์และสามารถสร้างงานศิลปะของมนุษยชาติ

73 นักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่มีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐอย่างไร

(1) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐโดยธรรมชาติ

(2) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐต่อเมื่อให้ความยินยอม

(3) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐเพราะมีบาป

(4) มนุษย์จําเป็นต้องมีรัฐเพราะกิจกรรมการผลิต

ตอบ 2 หน้า 251 – 255 ฮอบส์และล็อคนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ มีทัศนะทางการเมืองที่ตรงกันในเรื่องทฤษฎีสัญญาประชาคม โดยทั้ง 2 คน มีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐ เหมือนกันในแง่ที่ว่า รัฐไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมชาติสําหรับมนุษย์ แต่รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดตั้งขึ้นมาด้วยความจําเป็นและตกลงยินยอมร่วมกัน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิก

74 นักปรัชญาคนใดถือว่าการศึกษาเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคม

(1) เพลโต

(2) จอห์น ล็อค

(3) คาร์ล มาร์กซ์

(4) เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 1 หน้า 269 – 271, 283 เพลโต เป็นนักปรัชญาคนแรกที่กล่าวถึงเป้าหมายของการศึกษาที่ชัดเจน โดยเขาได้แบ่งบุคคลในสังคมออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับความรู้ในความจริงขั้นปรมัตถ์ ดังนั้นเขาจึงเป็นนักปรัชญาที่ถือว่าการศึกษาเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคม

75 นักปรัชญาคนใดถือว่าการตัดสินใจรักพระเจ้าหรือไม่เป็นมาตรการแบ่งแยกค่ายของคนในรัฐ

(1) เพลโต

(2) จอห์น ล็อค

(3) คาร์ล มาร์กซ์

(4) เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 4 หน้า 249 – 250 เซนต์ ออกัสติน เป็นนักปรัชญาที่ถือว่าการตัดสินใจรักพระเจ้าหรือไม่เป็นมาตรการแบ่งแยกค่ายของคนในรัฐ โดยเขาได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 ค่าย คือ กลุ่มหรือค่าย ที่ตัดสินใจรักพระเจ้า กับกลุ่มหรือค่ายที่ตัดสินใจปฏิเสธพระเจ้าและรักตัวเองและรักโลกแทนทั้งนี้เขายังมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องเป็นรัฐที่นับถือพระเจ้าและสามารถทําให้มนุษย์พ้นจากบาปได้

76 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐ

(1) รุสโซ

(2) จอห์น ล็อค

(3) โธมัส ฮอบส์

(4) คาร์ล มาร์กซ์

ตอบ 3 หน้า 252 254 โธมัส ฮอบส์ เป็นนักปรัชญาที่มีทัศนะว่า โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์ไม่มีสังคมไม่มีรัฐ แต่เมื่อเผชิญกับการต่อสู้และความกลัวกับสภาพที่เลวร้าย จึงต้องตกลงกันระหว่างมนุษย์ เพื่อจัดตั้งรัฐและสังคมขึ้นเพื่อผลประโยชน์ คือ เสถียรภาพและขจัดความหวาดกลัวของมนุษย์อย่างได้ผล ดังนั้นรัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐ

77 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้มนุษย์สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล

(1) เพลโต

(2) อริสโตเติล

(3) มาเคียเวลลี่

(4) เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 2 หน้า 248 249 อริสโตเติล มีทัศนะว่า สังคมและรัฐที่ดีคือ สังคมและรัฐที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

1 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางศีลธรรม สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล

2 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางปัญญา สามารถดําเนินชีวิตในลักษณะที่ตริตรองถึงสัจจะ

78 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้มนุษย์สามารถพ้นบาป

(1) เพลโต

(2) อริสโตเติล

(3) มาเคียเวลลี่

(4) เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

79 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของรุสโซ

(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง

(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว

(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ

(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ

ตอบ 4 หน้า 256 รุสโซ เห็นว่า วิถีชีวิตมนุษย์สมัยดึกดําบรรพ์แม้จะเป็นชีวิตที่ค่อนข้างลําบากแต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข เพราะเป็นชีวิตที่อิสระ มีความเรียบง่าย และมนุษย์ได้กระทําตาม ความปรารถนาของตน รวมทั้งมนุษย์ยังมีคุณธรรมพื้นฐานง่าย ๆ คือ การไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับเพื่อนมนุษย์หรือการไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน

80 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของฮอบส์

(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง

(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว

(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ

(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

81 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของรุสโซ

(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง

(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว

(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ

(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ

ตอบ 4 หน้า 256 รุสโซ เห็นว่า วิถีชีวิตมนุษย์สมัยดึกดําบรรพ์แม้จะเป็นชีวิตที่ค่อนข้างลําบากแต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข เพราะเป็นชีวิตที่อิสระ มีความเรียบง่าย และมนุษย์ได้กระทําตาม ความปรารถนาของตน รวมทั้งมนุษย์ยังมีคุณธรรมพื้นฐานง่าย ๆ คือ การไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับเพื่อนมนุษย์หรือการไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน

82 สังคมในอุดมคติของคาร์ล มาร์กซ์ มีลักษณะอย่างไร

(1) ปราศจากรัฐ

(2) ปราศจากชนชั้นทางสังคม

(3) ทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

(4) ถูกทุกข้า

ตอบ 4 หน้า 259 สังคมในอุดมคติของคาร์ล มาร์กซ์ คือ สังคมที่ปราศจากรัฐ ปราศจากชนชั้นทางสังคมไม่มีการกดขี่ขูดรีด เพราะพื้นฐานการผลิตเป็นแบบคอมมุน กล่าวคือ ทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัย การผลิตหรือปัจจัยการผลิตเป็นของส่วนรวมเท่านั้น และรัฐเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นเลยสําหรับสังคมเพราะสมาชิกของสังคมสามารถปกครองดูแลตนเองและควบคุมความประพฤติของตนเองได้

83 บุคคลใดมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโต

(1) คนมีพละกําลังมาก

(2) คนมีความกล้าหาญมาก

(3) คนมีศรัทธาในพระเจ้าอย่างยิ่ง

(4) คนมีปัญญาอย่างยิ่ง

ตอบ 4 หน้า 246, 270 บุคคลที่มีความเหมาะสมและดีที่สุดที่จะเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโตคือ ราชาปราชญ์ (คนที่มีปัญญาอย่างยิ่ง) และควรจะเรียนวิชาอภิปรัชญาจนสําเร็จ

84 ในทัศนะของจอห์น สจ๊วต มิลล์ การกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือการกระทําชนิดใด

(1) การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อคนอื่น

(2) การกระทําส่วนตัวแต่มีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ

(3) การกระทําที่มีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 258, 321 จอห์น สจ๊วต มิลล์ สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ โดยการกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือ การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ส่วนการกระทําที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นนั้นรัฐสามารถเข้าไปก้าวก่ายควบคุมได้

85 ข้อใดถูกต้องตามทัศนะของวิลเลียม ก็อดวิน

(1) สังคมที่ดี คือ สังคมที่เกิดจากการรวมตัวด้วยความรักและความเข้าใจ

(2) สังคมที่ดี คือ สังคมที่สมาชิกมอบให้คณะบุคคลทําหน้าที่บริหาร

(3) สังคมที่ดี คือ สังคมที่สมาชิกอุทิศตนเพื่อรัฐ

(4) ไม่ควรมีสังคม

ตอบ 1 หน้า 259 260 วิลเลียม ก๊อดวิน (William Godwin) เป็นนักคิดในกลุ่มอนาธิปไตย (Anarchism) ที่มีทัศนะว่า องค์กรทุกรูปแบบโดยเฉพาะรัฐบาลเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งสิ้น สังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐและไร้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งเป็นสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันหรือร่วมมือกันด้วยความรักและความเข้าใจโดยไม่มีการบังคับ

  1. “General Will” ของรุสโซ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสิ่งใด

(1) ผลประโยชน์ของบุคคล

(2) ผลประโยชน์ของบุคคลและเพื่อนพ้อง

(3) ผลประโยชน์ของคนทั้งสังคม

(4) ผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ

ตอบ 3 หน้า 256 257 ในทัศนะของรุสโซนั้น เจตจํานงร่วม (General Wit) หมายถึง เจตจํานงที่มุ่งสู่ความดีสําหรับทุกคน มิใช่การคํานึงถึงผลประโยชน์เฉพาะตนและเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ดังนั้นเจตจํานงร่วมจึงเป็นเจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งชาติหรือเพื่อคนทั้งสังคม

87 สัทธิประโยชน์นียมของมิลล์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสิ่งใด

(1) ผลประโยชน์ของบุคคล

(2) ผลประโยชน์ของคนจํานวนมากสุด

(3) ผลประโยชน์ของคนทั้งสังคม

(4) ผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

88 ข้อใดเป็นปัญหาหลักของปรัชญาการศึกษา

(1) เป้าหมายที่เหมาะสมของผู้เรียน

(2) บุคคลที่เหมาะสมจะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้

(3) องค์ความรู้ที่ควรนํามาถ่ายทอดแก่ผู้เรียน

(4) ถูกทุกข้อ ตอบ 4 หน้า 265 – 266, 282, (คําบรรยาย) การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้ปัญหาหลักของปรัชญาการศึกษา หลายประการ เช่น เป้าหมายที่เหมาะสมของผู้เรียน องค์ความรู้ที่ควรนํามาถ่ายทอดแก่ผู้เรียนและบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นต้น

89 คําตอบเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาของเพลโตสอดคล้องกับทัศนะใด

(1) ศาสนา

(2) ญาณวิทยา

(3) จริยศาสตร์

(4) การปกครอง

ตอบ 4 หน้า 269 เพลโต) เห็นว่า การศึกษาเป็นวิธีที่จะนําไปสู่ความยุติธรรม คือการที่รัฐสามารถจัดให้คนในรัฐได้ทําหน้าที่ตามความเหมาะสมกับความสามารถของตนเอง ดังนั้นเป้าหมาย การศึกษาของเพลโตจึงสอดคล้องและสัมพันธ์กับทัศนะทางการเมืองการปกครองมากที่สุด

90 นักปรัชญาคนใดเน้นว่า การศึกษาที่ดี คือ ทําให้ผู้เรียนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (1) เพลโต

(2) โซฟิสต์

(3) โซเครตีส

(4) เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 2 หน้า 268 โซฟิสต์ (Sophists) ถือเป็นนักปรัชญากลุ่มแรกที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษามิใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมาย อยู่ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความสําเร็จในชีวิต และสามารถได้รับผลประโยชน์ตอบแทน โดยวิชาที่กลุ่มโซฟิสต์ส่งเสริมให้เรียน ก็คือ ศิลปะการพูดในที่ชุมชนหรือวาทศิลป์

91 ข้อใดเป็นทัศนะของโซเครตีสเกี่ยวกับการศึกษา

(1) มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้ความจริงแท้ได้

(2) มนุษย์ต้องตัดอคติและทัศนคติที่ได้รับจากสังคมเพื่อเข้าถึงความจริงแท้

(3) มนุษย์ควรใช้วิธีสนทนาถกเถียงเพื่อเข้าถึงความจริงสูงสุด

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 268 โซเครตีส (Socrates) มีทัศนะว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้/สัมผัสความจริงแท้ได้และการรู้จักความจริงดังกล่าวสามารถทําได้โดยตัดอคติส่วนตัวและทัศนคติต่อความเชื่อที่ ได้รับจากสังคมออกไปเสียก่อน เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความสับสน และวิธีการที่จะขจัดความสับสนก็คือ การพยายามทําให้ทัศนะต่าง ๆ แจ่มชัดด้วยวิธีการสนทนาถกเถียง

92 เพลโตต้องการให้รัฐจัดการศึกษาแบบใด

(1) จัดเฉพาะคนที่มีความฉลาดได้ศึกษา

(2) จัดเฉพาะลูกหลานของขุนนางได้ศึกษา

(3) จัดเฉพาะคนที่อยากเล่าเรียนได้เรียน

(4) จัดแบบบังคับอย่างทั่วถึงสําหรับทุกคนเรียน

ตอบ 4 หน้า 270, (คําบรรยาย) เพลโต (Plato) เห็นว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมด้วยการปฏิรูปคนและการปฏิรูปรัฐ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง กล่าวคือ เป็นการศึกษาที่สามารถให้กับทุกคนในสังคมและเป็นการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ เด็กทุกคนมีโอกาสศึกษาเพื่อทดสอบความสามารถของตนเอง ก่อนที่เขาจะไปปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสมของตนให้กับรัฐและสังคม ถือเป็นการคัดคนไปทํางานเพื่อรัฐ

93 อะไรคือจุดหมายที่เพลโตต้องการในการจัดการศึกษา

(1) คัดคนที่มีปัญญาเป็นเลิศเท่านั้น

(2) คัดคนไปทํางานเพื่อรัฐ

(3) สร้างนักวิชาการ

(4) จัดแบบบังคับอย่างทั่วถึงสําหรับทุกคนเรียน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 ในระบบการศึกษาของเพลโตนั้น การศึกษาในขั้นเริ่มต้นควรจัดให้ผู้เรียนเรียนเรื่องอะไร

(1) พลศึกษา

(2) อภิปรัชญา

(3) คณิตศาสตร์

(4) การอ่านออกเขียนได้

ตอบ 1 หน้า 270 เพลโต เห็นว่า รูปแบบการศึกษาจะต้องเริ่มต้นด้วยการจัดให้ผู้เรียนเรียนพลศึกษาโดยการคัดเลือกเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์มาฝึกกีฬา ต่อมาก็เรียนการอ่านออกเขียนได้และเรียน คณิตศาสตร์ พออายุประมาณ 20 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และจวบจนอายุ 30 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนอภิปรัชญา ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่จะเป็นราชาปราชญ์

95 ในการจัดการศึกษาในระดับก้าวหน้าของเซนต์ ออกัสติน ต้องจัดการศึกษาแบบใด

(1) บังคับให้ผู้เรียนเชื่อด้วยเหตุผล

(2) ใช้วิธีสอนแบบเข้มงวดและบังคับให้ผู้เรียนเชื่อ

(3) เน้นให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา

(4) เน้นให้ผู้เรียนใช้เหตุผลเพื่อพิสูจน์ศรัทธา

ตอบ 4 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้เชื่อ โดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก

2 ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสําคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบใช้เหตุผลและการพิสูจน์เพื่อให้เห็นจริงว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง

96 ตามทัศนะของรุสโซ การให้การศึกษาแก่เด็กเล็กควรทําอย่างไร

(1) สังคมต้องดูแลอย่างเข้มงวด

(2) ให้เด็กมีโอกาสอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม

(3) ให้เรียนรู้ระบบต่าง ๆ ของสังคม

(4) ให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก

ตอบ 4 หน้า 275 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กเล็ก ๆ คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์เป็นของตัวเอง หรือให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก มิใช่ การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นหนังสืออย่างเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นถึงประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองของโรบินสัน ครูโซ

97 รุสโซปรารถนาจะเห็นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไรในระดับการศึกษาสูงสุด

(1) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง

(2) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง

(3) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา

(4) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม

ตอบ 2 หน้า 275, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า การสอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเองตั้งแต่เริ่มแรกย่อมเป็นผลดี เพราะเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้สึกพอใจในตนเอง ดังนั้นในระดับการศึกษาขั้นสูงสุด รุสโซจึงปรารถนาจะเน้นให้ผู้เรียนมีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตนเอง

98 ลัทธิปฏิบัตินิยมปรารถนาจะเห็นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร

(1) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง

(2) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง

(3) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา

(4) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม

ตอบ 3 หน้า 277, 283 ปรัชญาการศึกษาของลัทธิปฏิบัตินิยม คือ การสร้างให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา ดังนั้นการศึกษาต้องมุ่งให้เกิดผลที่ปฏิบัติได้ ไม่ใช่มุ่งการเรียนรู้แต่ทฤษฎีเท่านั้น

99 สิ่งที่สําคัญที่สุดในระบบการศึกษาของลัทธิปฏิบัตินิยม คืออะไร

(1) ผู้สอน

(2) ผู้เรียน

(3) ผู้บริหาร

(4) องค์ความรู้

ตอบ 2 หน้า 278 ลัทธิปฏิบัตินิยม เชื่อว่า ผู้สอนมิใช่บุคคลสําคัญที่สุดในระบบการศึกษา แต่ผู้เรียนคือศูนย์กลางของการศึกษา โดยผู้เรียนแต่ละคนคือบุคคลสําคัญที่ต้องเรียนรู้และทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเองว่าวิธีใดควรจะเป็นวิธีที่เหมาะสมสําหรับแก้ปัญหา ไม่ใช่คอยฟังแต่คําตอบของผู้สอน

100 นักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม เรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจสิ่งใด

(1) ตัวเอง

(2) สังคม

(3) รัฐ

(4) ศาสนา

ตอบ 1 หน้า 279, 234, (คําบรรยาย) อัตถิภาวนิยมเป็นปรัชญาที่เชื่อในความสําคัญของปัจเจกบุคคลและเชื่อว่าเป้าหมายของการศึกษา คือ การเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นอิสระ และประสบการณ์ ที่แท้จริงของผู้เรียน ทั้งนั้นนักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยมจึงเรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจตัวเอง

 

PHI1003 ปรัชญาเบื้องต้น 1/2559

การสอบไลาไค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 “ความรักความรู้” เป็นความหมายตามศัพท์ของคําใด

(1) ปรัชญา

(2) อภิปรัชญา

(3) Philosophy

(4) Metaphysics

ตอบ 3 หน้า 1 คําว่า “Philosophy” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณที่ประกอบด้วยคําว่า“Philos” ซึ่งหมายถึง ผู้รัก และคําว่า “Sophia” ซึ่งหมายถึง ความปราดเปรื่อง โดยคําทั้งสองนี้ เมื่อรวมกันแล้วจะหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่องหรือผู้รักในความรู้ ผู้ปรารถนาจะเป็นปราชญ์หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้น

2 ปรัชญาเกิดขึ้นเพราะกิจกรรมใดของมนุษย์

(1) ความสงสัยใคร่รู้

(2) ความสอดรู้สอดเห็น

(3) ความต้องการพ้นทุกข์

(4) ความพยายามแก้ปัญหา

ตอบ 1 หน้า 1 – 2, (คําบรรยาย) คุณสมบัติสําคัญที่ทําให้มนุษย์คิดค้นกิจกรรมทางปรัชญา คือ การที่มนุษย์ไม่ยอมรับสิ่งใด ๆ โดยง่ายดาย แต่จะเป็นคนช่างสงสัยใคร่รู้ในปัญหาต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และจะใช้ความสามารถในการไตร่ตรองหรือใช้ปัญญาขบคิด เพื่อแสวงหา คําตอบหรือความเชื่อที่เป็นไปได้ในสิ่งที่ตนยังสงสัย รวมทั้งชอบวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อในสิ่งที่ตนยังคิดว่าเป็นปัญหาอยู่อย่างมีเหตุผลด้วย

3 ลัทธิประสบการณ์นิยม หมายถึงอะไร

(1) นักปรัชญาตะวันตกยุคใหม่

(2) ผู้นิยมวิธีแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์

(3) นักปรัชญา 3 คน คือ Locke, Berkeley, Hume

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 8, 112 – 113, 130 ลัทธิประจักษนิยมหรือลัทธิประสบการณ์นิยม เป็นลัทธิที่จัดอยู่ในกลุ่มปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ ซึ่งเชื่อว่า วิธีคิดที่ถูกต้องที่สุดคือการยึดมั่นในประสบการณ์ และการใช้ความรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัส โดยแนวคิดนี้มีลักษณะคล้ายกับการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างของนักปรัชญากลุ่มนี้ ได้แก่ Locke, Hume และ Berkeley

4 ข้อใดคือปัญหาปรัชญาบริสุทธิ์

(1) อะไรคือความเป็นจริง

(2) เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร

(3) เราจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11 – 18 ปรัชญาบริสุทธิ์ หมายถึง ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีการศึกษาถึงปัญหาสําคัญ 3 ปัญหาคือ

1 ปัญหาทางอภิปรัชญา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความเป็นจริง เช่น ความเป็นจริงคืออะไร ฯลฯ

2 ปัญหาทางญาณวิทยา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความรู้ เช่น เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร ฯลฯ

3 ปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งจะศึก เรื่องความดี เช่น เราควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ฯลฯ

5 ปัญหาที่นักปรัชญากรีกโบราณยุดเริ่มต้นสนใจ สามารถจัดเป็นปัญหาปรัชญาสาขาใด

(1) อภิปรัชญา

(2)

(3) จริยศาสตร์

(4) ปรัชญาประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 7, 11, 21 – 22 ทาเลส (Thales) เป็นนักปรัชญาชาวตะวันตกคนแรกที่ริเริ่มปรัชญากรีกโบราณยุคเริ่มต้นไว้ โดยเขาเชื่อว่า มนุษย์สามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยไม่ต้อง อ้างเทพเจ้า เพราะเอกภพมีกฎเกณฑ์ตายตัว และปรากฏการณ์ธรรมชาติมีความเป็นระเบียบ ถ้ามนุษย์สามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถควบคุมธรรมชาติได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนักปรัชญากรีกในยุคนี้จัดว่าเป็นปัญหาปรัชญาภาคอภิปรัชญา

6 ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชื่อลัทธิกับปัญหาได้ถูกต้อง

(1) สสารนิยม – บ่อเกิดของความรู้

(2) สัจนิยม – บ่อเกิดของความรู้

(3) สุขนิยม – บ่อเกิดของความรู้

(4) ประสบการณ์นิยม – บ่อเกิดของความรู้

ตอบ 4 หน้า 14 – 16, 103, 127 ปัญหาทางญาณวิทยาหรือปัญหาเรื่องทฤษฎีของความรู้ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1 ปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้ มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ทฤษฎีเหตุผลนิยม และทฤษฎีประจักษนิยม (ประสบการณ์นิยม)

2 ปัญหาธรรมชาติของความรู้มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ทฤษฎีสัจนิยม และทฤษฎีจิตนิยมแบบอัตนัย

7 “Metaphysics” มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาไทยคําใด

(1) ปรัชญา

(2) อภิปรัชญา

(3) ญาณวิทยา

(4) อตินทรีย์วิทยา

ตอบ 4 หน้า 21 – 22 Metaphysics แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังวัตถุ หรือวิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส จะมีความหมายตรงกับคําว่า “อตินทรีย์วิทยา” ซึ่งแปลว่า ล่วงเลยอินทรีย์หรือประสาทสัมผัส แต่คําว่าอตินทรีย์วิทยานี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กัน โดยคําที่นิยมใช้ก็คือ “อภิปรัชญา” ซึ่งแปลว่า ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ อันมีความหมายเท่ากับ “ปรมัตถ์” หรือ “ความรู้ขั้นปรมัตถ์” ซึ่งแปลว่า ความรู้ที่มีเนื้อหาลึกซึ้งอย่างยิ่ง

8 อสสารมีลักษณะอย่างไร

(1) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ แต่มีอายุขัย

(2) มีรูปร่าง สัมผัสได้ แต่ไร้อายุขัย

(3) มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัย

(4) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ และไร้อายุขัย

ตอบ 4 หน้า 25 – 27 จิตนิยม เห็นว่า สสาร วัตถุ หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริง แต่ยังมีสิ่งที่จริงกว่าวัตถุและสสาร กล่าวคือ ยังมี “ของจริง” อีกอย่างหนึ่งที่จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้ มองเห็นไม่ได้ ไม่มีตัวตน (ไร้รูปร่าง) มีอยู่เป็นนิรันดรหรือมีสภาวะเป็นอมตะ (ไร้อายุขัย) และ ไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลา ซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial) สิ่งนั้นคือ “จิต” เช่น แบบ วิญญาณ และพระเจ้า ฯลฯ อันเป็นต้นกําเนิดหรือต้นแบบของวัตถุ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มองเห็นอยู่บนโลกนี้ จึงเป็นเพียงสภาพที่ปรากฏของสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น

9 สสารมีลักษณะอย่างไร

(1) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ แต่มีอายุขัย

(2) มีรูปร่าง สัมผัสได้ แต่ไร้อายุขัย

(3) มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัย

(4) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ และไร้อายุขัย

ตอบ 3 หน้า 31 ลัทธิสสารนิยม เชื่อว่า สสารเป็นสิ่งที่ครองเวลา จะต้องมีอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจะมีอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ ซึ่งสสารหรือวัตถุทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่รู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เท่านั้นที่จะรู้จักสสารได้ โดยสสารเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัยเพียงชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น

10 สาเหตุที่ทําให้วัตถุประเภทเดียวกันมีลักษณะอย่างเดียวกัน คืออะไรในทัศนะของเพลโต

(1) วัตถุนั้นจําลองมาจากแม่แบบเดียวกัน

(2) วัตถุนั้นมีโครงสร้างของอะตอมเหมือนกัน

(3) วัตถุนั้นถูกพระเจ้าเนรมิตขึ้นจากแบบเดียวกัน

(4) ความเหมือนเป็นเพียงข้อสังเกตของมนุษย์

ตอบ 1 หน้า 26 – 27 เพลโต อธิบายว่า โลกของแบบเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นสิ่งเที่ยงแท้และเป็นต้นแบบของโลกแห่งประสาทสัมผัส ซึ่งแบบเป็นอสสารที่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ และเป็นหลักสําคัญให้โลกวัตถุมีอยู่ได้ เช่น ทอง ขมิ้น และดอกดาวเรือง ฯลฯ แม้วัตถุทั้งหมดนี้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็จําลองมาจากแบบเดียวกัน คือ “เหลือง”และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล

11 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแบบของเพลโต

(1) มีจริง และมนุษย์รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส

(2) มีจริง และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล

(3) ไม่มีจริง แต่มนุษย์สร้างภาพด้วยประสาทสัมผัส

(4) ไม่มีจริง แต่มนุษย์สร้างภาพด้วยเหตุผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

12 “ทอง ขมิ้น ดอกดาวเรือง” มีความสัมพันธ์กันอย่างไรในทัศนะของเพลโต (1) มีลักษณะร่วมกัน คือ “เหลือง”

(2) มีลักษณะร่วมกัน คือเป็นวัตถุในโลกมนุษย์

(3) มีลักษณะร่วมกัน คือเป็นแบบให้กับวัตถุสีเหลือง

(4) ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

13 นักจิตนิยมมีทัศนะต่อโลกมนุษย์อย่างไร

(1) มนุษย์ต้องเรียนรู้ให้มากเพื่อใช้ชีวิตในโลกอย่างมีความสุขสบาย

(2) มนุษย์ต้องใช้ชีวิตในโลกอย่างสุขสบาย ก่อนไปใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง

(3) การมีชีวิตในโลกเป็นเพียงสะพานไปสู่ความจริง

(4) โลกมนุษย์มีความเป็นจริงของมันเอง

ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกาย โดยจิตหรือวิญญาณสําคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และมีสภาวะ เป็นอมตะ เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้จึงต้องกระทําความดีเพื่อเป็นสะพานที่จะมุ่งไปสู่ความจริงในโลกหน้า

14 จักรกลนิยม สืบเนื่องมาจากอภิปรัชญาลัทธิใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) เทวนิยม

ตอบ 1 หน้า 32 จักรกลนิยมเป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องมาจากลัทธิสสารนิยม ซึ่งเชื่อว่า การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมิได้เป็นไปเพื่อจุดหมายอะไร นอกจากเป็นไปอย่างจักรกล เช่น รถยนต์วิ่งได้เพราะล้อหมุน ล้อหมุนเพราะเพลาของรถยนต์หมุน ฯลฯ

15 ข้อใดเป็นแนวคิดแบบสสารนิยม

(1) มีความคิดเรื่องโลกแบบเอกนิยม

(2) มีความเชื่อในทฤษฎีการทอนลง

(3) มีความเชื่อว่าคุณค่าเป็นสิ่งสมมติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 31 – 32 แนวคิดแบบสสารนิยม มีดังนี้

1 มีความคิดเรื่องโลกแบบเอกนิยม

2 มีความเชื่อในทฤษฎีหน่วยย่อย

3 มีความเชื่อในทฤษฎีการทอนลง

4 มีความเชื่อว่าคุณค่าเป็นสิ่งสมมติ

5 มีความเชื่อว่าจักรวาลอยู่ในระบบจักรกล

16 ข้อใดคือความหมายของ “ทฤษฎีทอนลง”

(1) วัตถุมีอายุสั้นลงทุกปี

(2) ปริมาณของวัตถุจะค่อย ๆ ลดลง

(3) สามารถสืบค้นเวลาถอยหลังจนถึงจุดที่วัตถุกําเนิดขึ้น

(4) วัตถุสามารถแยกย่อยจนถึงหน่วยย่อยสุดท้าย

ตอบ 4 หน้า 32 สสารนิยมยอมรับแนวคิดเรื่องการทอนลง โดยเชื่อว่าสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อยจนถึงอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า อะตอม โดยอะตอมจะไม่มีองค์ประกอบจึงไม่อาจแบ่งย่อยได้ จะสลายก็ไม่ได้ และเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่ได้

17 ข้อใดถูกต้องตามแนวคิดของธรรมชาตินิยม

(1) สสารเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง

(2) สิ่งที่มีอยู่ในระบบอวกาศ-เวลา คือสสารเท่านั้น

(3) สสารไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในระบบอวกาศ-เวลา

(4) สสารบางชนิดอยู่ในระบบอวกาศ-เวลา

ตอบ 1 หน้า 33 – 34 ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า สิ่งธรรมชาติ เช่น หิน พืช สัตว์ มนุษย์ ฯลฯ เป็นสิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของสาเหตุธรรมชาติ มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตามวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน โดยสิ่งธรรมชาติทุกสิ่งจะดํารงอยู่ในระบบของอวกาศ-เวลา แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาจะต้องเป็นสสารเท่านั้น

18 ข้อใดเป็นแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม

(1) มีความคิดเรื่องโลกแบบพหุนิยม

(2) มีความเชื่อในเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ

(3) มีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทําให้เกิดสิ่งใหม่

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 33 – 34 ธรรมชาตินิยมเป็นพหุนิยมที่เชื่อเรื่องความมากมายหลายหลากว่าในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริงมากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลนั้น ได้มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่ และคุณภาพใหม่ที่ไม่สามารถทอนลงเป็นอะตอมกับการเคลื่อนไหวของอะตอมได้เลย

19 นักจิตนิยมมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิต-กาย อย่างไร

(1) จิต คือ กาย

(2) จิตสําคัญคู่กาย

(3) จิตสําคัญกว่ากาย

(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

20 ใครมีความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์แบบลัทธิจิตนิยม

(1) โต้งเชื่อว่าเป็นมนุษย์ได้ต้องใจสูง

(2) เตยเชื่อว่ามนุษย์สามารถเวียนว่ายตายเกิด

(3) ตาเชื่อว่ามนุษย์ต้องสามารถตัดสินใจเลือกการกระทําของตนได้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

21 แพทย์ผู้พยายามอุทิศความสุขส่วนตัวเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นคนค้นพบยารักษาโรคเอดส์เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) คนมีจิตภาคปัญญาเด่น

(4) คนมีจิตภาคน้ำใจและปัญญาเด่นร่วมกัน

ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 245 246 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้

1 ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทําทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมาสนองความสุขทางโลก จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข 2 ภาคน้ำใจ คือ ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การยึดถือเกียรติและสัจจะเป็นสําคัญ โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ

3 ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะ โดยอาจยอมเสียสละทั้งเงินและเกียรติเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงามและความยุติธรรม ซึ่งจิตภาคนี้เท่านั้นที่จะทําให้มนุษย์เข้าสู่โลกของแบบได้

22 คนที่ทํางานเต็มที่ตามกําหนดเวลาทํางาน เมื่อเลิกงานก็ไปดูหนังฟังเพลงเพื่อจะไปทํางานตามกําหนดเวลาจนตลอดชีวิต เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) คนมีจิตภาคตัณหากับน้ำใจเด่นร่วมกัน

(4) คนมีจิตภาคปัญญาเด่นพอสมควร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 ข้อใดตรงกับแนวความคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ของสสารนิยม

(1) ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น

(2) ลูกไม้หล่นใต้ต้น

(3) เข้าฝูงกาก็เป็นกา เข้าฝูงหงส์ก็เป็นหงส์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลัทธิสสารนิยม เห็นว่า มนุษย์ไม่มีตัวตนของจิต สิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมของจิตคือ อารมณ์หรือความคิดต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากสสารส่วนที่เป็นก้อนสมองเท่านั้น ถ้าก้อนสมองตายสภาพทางจิตก็จะหายไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมของจิตนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละช่วงเวลา

24 ทัศนะใดถือว่า จิตเกิดจากกาย และต่างจากกาย

(1) จิต คือ กาย

(2) จิตสําคัญคู่กาย

(3) จิตสําคัญกว่ากาย

(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย

ตอบ 2 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งใหม่ เป็นผลผลิตขั้นสุดยอดของวิวัฒนาการ กล่าวคือ มนุษย์จะประกอบด้วยร่างกายและจิตใจซึ่งมีความสําคัญเท่าเทียมกัน โดยจิตใจของมนุษย์จะแตกต่างจากกายเพราะเกิดจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน จนทําให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ

25 ลัทธิใดเชื่อว่าสิ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งทั้งหลาย คือ จิต

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) จิตนิยมและธรรมชาตินิยม

ตอบ 1 หน้า 25 – 27, 35 พวกจิตนิยม เห็นว่า มนุษย์นั้นมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกายแต่จิตสําคัญกว่า เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริง มีอยู่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ ทําให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสิ่งทั้งหลาย ส่วนร่างกายนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงเกิดดับได้ ดังนั้นวิถีชีวิตของแต่ละคนย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิต โดยร่างกายจะเป็นเพียง การสนองตอบเจตจํานงของจิตเท่านั้น มนุษย์จึงไม่มีอิสระ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตและความทะยานอยาก ถ้าไม่หิวก็อาจจะกินได้ ฯลฯ

26 ลัทธิใดเชื่อว่าการตายเป็นการสิ้นสุดของมนุษย์

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) สสารนิยมและธรรมชาตินิยม

ตอบ 4 หน้า 28 – 31, 33 สสารนิยม เชื่อว่า การเกิดและการดับสลายของสิ่งต่าง ๆ เป็นเพียงการเข้ามารวมตัวและแยกออกจากกันของอะตอมทั้งหลาย และการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเพียงการสับที่ ของอะตอม โดยอะตอมนั้นมิได้เกิดดับหรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ส่วนธรรมชาตินิยมนั้น เชื่อว่าสิ่งธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน มนุษย์ กบ ล้วนเป็นสิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของ สาเหตุธรรมชาติ ดังนั้นทั้งสองแนวคิดนี้จึงเชื่อว่าการตายเป็นการสิ้นสุดของมนุษย์คนนั้น

27 ศาสนาคริสต์เชื่อในพระเจ้าแบบลัทธิใด

(1) Atheism

(2) Monotheism

(3) Polytheism

(4) Henotheism

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแบ่งออกเป็น 4 แบบดังนี้

1 Monotheism เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียวและเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งความเชื่อในลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์

2 Polytheism เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งความเชื่อลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู

3 Henotheism เชื่อว่าพระเจ้ามีหลายองค์ แต่ยกให้องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่

4 Atheism เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า

28 “Atheism” หมายถึงความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแบบใด

(1) พระเจ้ามีองค์เดียว และยิ่งใหญ่ที่สุด

(2) พระเจ้ามีหลายองค์ และทุกองค์ล้วนยิ่งใหญ่

(3) พระเจ้ามีหลายองค์ แต่ยกให้องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่

(4) ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

29 ลัทธิใดเชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลกแล้วก็ทรงอยู่เหนือโลกโดยเด็ดขาด

(1) Deism

(2) Theism

(3) Pantheism

(4) Panentheism

ตอบ 1 หน้า 45 ลัทธิเทวนิยม (Deism) เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นมหาเทพสูงสุดเพียงพระองค์เดียวซึ่งอยู่นอกโลก โดยพระองค์สร้างโลกขึ้นมาจากความว่างเปล่า แล้วทรงมอบพลังต่าง ๆ ให้แก่โลก และให้พลังเหล่านั้นควบคุมโลกให้ดําเนินไป แต่เมื่อโลกมีแนวโน้มเสื่อมลง พระองค์ก็จะอวตารมาช่วยแก้ไขโลกให้ดําเนินไปตามปกติ พระเจ้าจึงทรงอยู่เหนือโลกและเหนือวิญญาณมนุษย์

30 ทฤษฎีพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าที่สังเกตจากความมีระเบียบของโลก คือทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีเชิงเอกภพ

(2) ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์

(3) ทฤษฎีเชิงภววิทยา

(4) ทฤษฎีเชิงจริยธรรม

ตอบ 2 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์ ถือว่า โลกนี้มีเอกภาพ มีระเบียบ มีความกลมกลืนกัน เช่น มีที่ราบ ภูเขา ทะเล มีพืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งต่างก็ปรับตัวให้เข้ากับระเบียบที่กําหนดไว้แล้ว ในธรรมชาติ ซึ่งแสดงว่าโลกนี้ต้องมีผู้ออกแบบที่ชาญฉลาดสร้างขึ้นมา และมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นเช่นนั้น โดยผู้ออกแบบสร้างโลกนี้ก็คือพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่

31 ข้อใดเป็นลักษณะของอะตอมของกรีก

(1) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น

(2) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น

(3) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(4) อะตอมของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

ตอบ 1 หน้า 57 ปรัชญากรีก ถือว่า ปรมาณู (อะตอม) ของ ตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันเฉพาะด้านจํานวนหรือปริมาณเท่านั้น แต่ในด้านคุณภาพมีรษณะเหมือนกัน ส่วนลัทธิไวเศษกะ ถือว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

32 ข้อใดเป็นลักษณะของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ

(1) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น

(2) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น

(3) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

(4) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 สิ่งที่ผัสสะของมนุษย์สามารถสัมผัสได้นั้น ต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูจํานวนเท่าใดเป็นอย่างน้อยตามลัทธิไวเศษกะ

(1) จํานวน 1 – 2 ปรมาณู

(2) จํานวน 3 ปรมาณูขึ้นไป

(3) จํานวน 4 ปรมาณูขึ้นไป

(4) จํานวน 5 ปรมาณูขึ้นไป

ตอบ 2 หน้า 59 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า วัตถุจะต้องเกิดจากการรวมตัวกันของปรมาณูอย่างน้อย 2 ปรมาณู เข้าด้วยกัน ส่วนวัตถุที่ผัสสะของมนุษย์พอจะรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสนั้นจะต้องเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของปรมาณจํานวนตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป

34 พระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาเกี่ยวกับอภิปรัชญาด้วยวิธีการใด

(1) ทรงตอบตรงคําถาม

(2) ทรงตอบโดยวิธีแยกแยะ

(3) ทรงตอบโดยวิธีย้อนถาม

(4) ทรงตอบโดยการนิ่ง

ตอบ 4 หน้า 77 – 78 พระพุทธเจ้า ทรงประสงค์จะหลีกเลี่ยงปัญหาทางอภิปรัชญาต่าง ๆ โดยจะไม่ทรงตอบหรือปฏิเสธ แต่จะใช้วิธีการนึ่ง ซึ่งพระองค์ได้ทรงชี้ให้เห็นว่า การรู้คําตอบปฏิเสธ หรือยืนยันต่อปัญหาทางอภิปรัชญา มิได้นําไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข มิได้ก่อให้เกิดชีวิตที่ประเสริฐรวมทั้งความมีสันติสุขและความรู้แจ้งเห็นประจักษ์ในความจริงของชีวิตแต่อย่างใดเลย

35 คําสอนที่แสดงผลในอริยสัจ 4 คืออะไร

(1) ทุกข์และสมุทัย

(2) นิโรธและมรรค

(3) ทุกข์และนิโรธ

(4) สมุทัยและมรรค

ตอบ 3 หน้า 79 คําสอนของพระพุทธองค์ในอริยสัจ 4 แสดงเหตุและผลโดยลําดับ ดังนี้

1 แสดงเหตุ 2 ประการ ได้แก่ สมุทัย (แสดงเหตุแห่งทุกข์) และมรรค (แสดงเหตุคือ การปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

2 แสดงผล 2 ประการ ได้แก่ ทุกข์ (แสดงผลคือทุกข์) และนิโรธ (แสดงผลคือความดับทุกข์)

36 คําสอนที่แสดงเหตุในอริยสัจ 4 คืออะไร

(1) ทุกข์และสมุทัย

(2) นิโรธและมรรค

(3) ทุกข์และนิโรธ

(4) สมุทัยและมรรค

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นกามตัณหาตามหลักอริยสัจ 4

(1) อยากฟังเสียงที่นุ่มนวลของนักร้องคนโปรด

(2) อยากเป็นนักร้องที่โด่งดัง

(3) ไม่อยากพ้นจากตําแหน่งนักร้องยอดเยี่ยมแห่งปี

(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม

ตอบ 1 หน้า 84 85 ตัณหา (ทุกข์อันเกิดจากความต้องการหรือความอยาก) มี 3 ประเภท ดังนี้

1 กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณ มีรูป รส กลิ่น เสียง

2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากอยู่ในสภาพนั้นจนไม่อยากจากไป

3 วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่มี อยากไม่เป็น ดังที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่นั้นเสื่อมสิ้นไป

38 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นวิภวตัณหาตามหลักอริยสัจ 4

(1) อยากฟังเสียงที่นุ่มนวลของนักร้องคนโปรด

(2) อยากเป็นนักร้องที่โด่งดัง

(3) อยากได้ตําแหน่งนักร้องยอดเยี่ยมแห่งปี

(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 มรรค 8 คือวิถีปฏิบัติเพื่ออบรมสิ่งใดตามหลักอริยสัจ 4

(1) อบรมกายกับวาจา

(2) อบรมใจ

(3) อบรมความเห็น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 86 – 89, (คําบรรยาย) มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ

1 ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล” ประกอบด้วย สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2 ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

3 ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา” ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ

40 “เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ” เป็นความรู้แบบใดในทัศนะของพวกเหตุผลนิยม

(1) เป็นความรู้ที่จําต้องเป็น

(2) เป็นความรู้ที่รู้โดยวิธีอัชฌัตติกญาณ

(3) เป็นความรู้ก่อนประสบการณ์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 104 105 เหตุผลนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้ความจริงทั้งหลายในจักรวาลได้โดยไม่ต้องมีประสบการณ์มายืนยัน หรือที่เรียกว่า “ความรู้ก่อนประสบการณ์” ซึ่งเป็นความจริงที่จําต้องเป็นหรือเป็นหลักการทั่วไป และสามารถรู้ได้โดยใช้ “อัชมัตติกญาณ” คือ การหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจ หรือแสงสว่างแห่งเหตุผล เช่น เส้นขนานย่อมไม่มีวันมาบรรจบกัน เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมมีสาเหตุ ฯลฯ

41 ข้อใดเป็นความรู้ที่ได้จากวิธีนิรนัย

(1) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน

(2) อุ๊ย นั่นเส้นขนานของรางรถไฟ

(3) อ้อ เห็นมามากแล้ว รางรถไฟไม่มีวันพบกันหรอก

(4) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน รางรถไฟเป็นเส้นขนาน ดังนั้นรางรถไฟไม่มีวันพบกัน

ตอบ 4 หน้า 105 วิธีการนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อถือใด ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาวจากความรู้นั้น ไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยข้อสรุปต้องได้จากข้ออ้าง ถ้าข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งข้อสรุปที่ได้นี้จะเป็นข้อสรุปเฉพาะของแต่ละเหตุการณ์ ส่วนใหญ่วิธีคิดแบบนี้มักจะใช้กับหลักการด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต

42 “อ๋อ นี่คือดอกมะลิ” เป็นความรู้ที่หมายถึงสิ่งใดในทัศนะของล็อค

(1) ตัวดอกมะลิ

(2) ตัวคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ

(3) ภาพแทนคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ

(4) ภาพรวมของคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ

ตอบ 3 หน้า 119 ทฤษฎีความรู้ของล็อค เรียกว่า “ทฤษฎีตัวแทน” โดยวัตถุจริงกับวัตถุในฐานะเป็นสิ่งที่เรารับรู้นั้นจะเป็นคนละสิ่งกัน วัตถุที่เรารับรู้จึงนับเป็นตัวแทนของวัตถุจริง ดังนั้น สิ่งที่มีอยู่จริงภายนอกตัวเรา ก็คือ ก้อนที่ปราศจากคุณสมบัติทุติยภูมิใด ๆ ที่เรียกว่า “สาร” ซึ่งรองรับคุณสมบัติปฐมภูมิอยู่

43 ส่วนของวัตถุที่มนุษย์ไม่มีวันสัมผัสได้ด้วยผัสสะ คืออะไรในทัศนะของล็อค

(1) คุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ

(2) คุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุ

(3) สารรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัตถุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 118 – 119, (คําบรรยาย) ในทัศนะของล็อค ถือว่า คุณสมบัติปฐมภูมิเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัววัตถุจริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมินั้นไม่ได้มีอยู่ในโลกภายนอก แต่เป็นอํานาจที่ คุณสมบัติปฐมภูมิสร้างผัสสะให้เกิดกับเรา ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีวันสัมผัสคุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุได้ด้วยผัสสะ

44 “อัตลัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใด ในทัศนะของเดส์การ์ต

(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล

(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะของมนุษย์

(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์

(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า

ตอบ 1 หน้า 104, 116, 120 “อัตลัตติกญาณ” ในทัศนะของเหตุผลนิยม (เช่น เดส์การ์ต ฯลฯ)หมายถึง วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยการหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจหรือด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล ส่วนในทัศนะของประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม) หมายถึง วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยการสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะของมนุษย์

45 “อัตลัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใด ในทัศนะของประสบการณ์นิยม

(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล

(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะของมนุษย์

(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์

(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

46 “พระเจ้าต้องมีอยู่ เพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด

(1) เพลโต

(2) เดส์การ์ต

(3) ล็อค

(4) เดวิด ฮูม

ตอบ 2 หน้า 110 เดส์การ์ต (Descartes) เป็นนักปรัชญาเหตุผลนิยมที่เชื่อว่า พระเจ้าต้องมีอยู่จริงเพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า โดยพระเจ้าเองเป็นผู้ประทานความคิดเกี่ยวกับพระองค์เองให้กับมนุษย์

47 “เราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าไม่มีจริง” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด

(1) เพลโต

(2) เดส์การ์ต

(3) ล็อค

(4) เดวิด ฮูม

ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) เดวิด ฮูม (David Hume) เป็นนักประจักษนิยมที่เชื่อว่า ตัวคนเราเป็นเพียงการมารวมกันของผัสสะและความคิด ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ และเมื่อคนเราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง

48 เบอร์คเลย์ยอมรับความคิดใด

(1) ความรู้ของมนุษย์ เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง

(2) ความรู้ของมนุษย์ เป็นเพียงตัวแทนของวัตถุ

(3) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความคิดของจิตมนุษย์

(4) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง

ตอบ 3 หน้า 128, 131 เบอร์คเลย์เป็นนักปรัชญาจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีแนวความคิดว่า ความรู้ของมนุษย์เป็นเพียงความคิดของจิตมนุษย์เท่านั้น เนื่องจากวัตถุทั้งหลายพร้อมทั้งคุณสมบัติทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปฐมภูมิและทุติยภูมิล้วนขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตทั้งสิ้น ดังนั้นวัตถุจึงไม่ได้มีความ เป็นจริงในตัวเอง

49 ชาวลัทธิปัญญานิยมอย่าง Socrates มีความเห็นอย่างไรกับความสุขทางกาย

(1) เป็นสิ่งที่ดีที่มนุษย์ควรแสวงหา

(2) เป็นสิ่งดีเพราะมันช่วยให้มนุษย์สามารถใช้ปัญญาแสวงหาความจริง

(3) เป็นสิ่งไม่ดีเพราะมันขัดขวางการใช้ปัญญาแสวงหาความจริง

(4) เป็นสิ่งที่ไม่ถึงกับดี แต่ก็ไม่ถึงกับเลวเสียทีเดียว

ตอบ 3 หน้า 158, (คําบรรยาย) โซเครติส (Socrates) เป็นนักปรัชญาในลัทธิปัญญานิยมหรือเหตุผลนิยมที่เชื่อว่า มนุษย์จะมีความแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานก็เพราะมนุษย์รู้จักใช้เหตุผลในการไตร่ตรอง เรื่องราวต่าง ๆ โดยความสุขทางกายของมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะไปขัดขวางการใช้ปัญญาแสวงหาความจริง ดังนั้นมนุษย์จึงไม่ควรยึดติดกับความสุขทางกายมากนัก

50 ชาวลัทธิปัญญานิยมเห็นว่าธรรมชาติที่ทําให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ คืออะไร

(1) การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์

(2) อารมณ์และความรู้สึก

(3) การรู้จักไตร่ตรองด้วยเหตุผล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

51 ลัทธิสุขนิยมมีพื้นฐานจากการเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์แบบลัทธิอภิปรัชญาใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) เทวนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิสุขนิยมมีพื้นฐานความเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกับลัทธิสสารนียมที่เชื่อว่า เมื่อมนุษย์มีชีวิตอยู่ก็ควรแสวงหาความสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แม้จะมีหนี้สินก็ไม่เป็นไร ซึ่งความสุขทางประสาทสัมผัสนี้ถือเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต

52 ลัทธิมนุษยนิยมมีพื้นฐานจากการเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์แบบลัทธิอภิปรัชญาใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) เทวนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) มนุษยนิยม เห็นว่า มนุษย์มีบางอย่างคล้ายสัตว์จึงต้องการความสุขเป็นพื้นฐานทั้งทางกายและจิตใจ เช่น ความสุขจากการได้รับการตอบสนองทางกาย, ความอิ่มเอิบใจที่ได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์, การได้ชื่นชมความงามทั้งในศิลปะและธรรมชาติ เป็นต้น โดย จุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์ ก็คือ การได้รับความสุขจากสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้ลุ่มหลง ไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งพื้นฐานความเชื่อลักษณะนี้จะสอดคล้องกับลัทธิธรรมชาตินิยมที่เห็นว่า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิต โดยจิตเป็นกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ทําให้มนุษย์รู้จักคิดหาเหตุผล

53 ข้อใดถูกต้องตามความคิดของมนุษยนิยม

(1) มนุษย์ไม่ต้องการความสุขทางกายแบบสัตว์

(2) มนุษย์ไม่ต้องการแสวงหาสัจธรรม

(3) มนุษย์ไม่ต้องการความสุขจากงานศิลปะ

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54 ข้อใดถูกต้องตามความคิดของมนุษยนิยม

(1) มนุษย์ไม่ใช่สัตว์

(2) มนุษย์ไม่ใช่นักบุญ

(3) มนุษย์คือมนุษย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 164, (คําบรรยาย) มนุษยนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงควรประนีประนอมระหว่างความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจให้สมดุลหรือให้กลมกลืนกัน ดังนั้น การเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดก็คือ การประนีประนอมผสมผสานระหว่างความสุขความสงบและความรู้สึก

55 ข้อใดคือสิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหาในทัศนะของ Mill

(1) ความสุขสูงสุด

(2) การเข้าถึงสัจธรรม

(3) การปราศจากกิเลส

(4) ความสุขแบบพอเพียง

ตอบ 1 หน้า 165, (คําบรรยาย) มิลล์ (Mill) เป็นนักปรัชญาประโยชน์นิยมที่มีทัศนะว่า สิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหา คือ ความสุขสูงสุด เพราะความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ การกระทําใดก็ตามที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนจํานวนมากที่สุดเป็นการกระทําที่ดี นั่นคือ การคํานึงถึงผลที่จะได้รับ

56 แพทย์พูดความจริงกับคนไข้ คนไข้เสียใจและอาการทรุดลง การพูดความจริงของแพทย์มีคุณค่าทาง จริยธรรมแบบใด

(1) ถูกต้องตามแนวคิดของ Kant

(2) ถูกต้องตามแนวคิดของ Mill

(3) ผิดตามแนวคิดของ Mill

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 169, (ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ) คานท์ (Kant) เป็นนักปรัชญาหน้าที่นิยมที่เห็นว่าศีลธรรมต้องเป็นเรื่องแน่นอนตายตัวโดยปราศจากข้อแม้ สิ่งใดดีย่อมเป็นลักษณะประจําของ สิ่งนั้นเสมอ เช่น การพูดความจริงย่อมเป็นการกระทําที่ถูกต้องเสมอ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการพูดความจริงนี้ไม่ได้ทําให้ความจริงกลายเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมหรือเป็นสิ่งเลว

57 ข้อใดถูกต้องตามแนวคิดของ Kant

(1) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิดเสมอ

(2) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิด ถ้าตนเองเดือดร้อน

(3) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิด ถ้าทําให้คนอื่นเดือดร้อน

(4) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิด ถ้าทําให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 อาจารย์ที่เข้าสอนและเลิกตรงเวลาเป็นคนมีหลักธรรมใด

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) อิทธิบาท 4

ตอบ 3 หน้า 194 195 สัจจะ หมายถึง ความจริงใจซึ่งเป็นลักษณะของความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาทั้งต่อบุคคล ต่อกาลเวลา และต่อหน้าที่การงาน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

59 ใครมีหลักธรรม “ขันติ”

(1) ยุทธ์ อดตาหลับขับตานอน เพื่อทํารายงานที่สมบูรณ์ส่งอาจารย์

(2) กบ ยอมรับการฉีดยาและให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาลเป็นอย่างดี

(3) จํา สามารถรับมือกับวาจาและท่าทีของโบว์ด้วยความสงบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 189 – 191 ขันติ หมายถึง ความอดทนซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจสามารถทนทานต่อเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ และสามารถบังคับกายกับวาจาให้อยู่ในอํานาจได้ด้วย เช่น ความอดทนต่อความทุกข์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข, ความอดทนต่อความลําบากเพื่อให้ได้มาซึ่งความสบาย ความอดทนต่อสิ่งที่กวนใจเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นคนดี เป็นต้น

60 ใครมีหลักธรรม “สัจจะ”

(1) ครูบ้านจริงจังกับการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าภาควิชาปรัชญา

(2) ครูศรีเข้าสอนและเลิกสอนตรงเวลาเสมอ

(3) ครูพิศจริงใจกับเพื่อนเสมอ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

61 คนที่มีลักษณะตรงกับสุภาษิตว่า “ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ” เป็นคนลักษณะใด

(1) มีโสรัจจะ แต่ขาดสัจจะ

(2) มีโสรัจจะ แต่ขาดขันติ

(3) ขาดทั้งโสรัจจะและสัจจะ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 192 193, (ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ) โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยมซึ่งมีลักษณะเป็นความมีปกติอันดีของกาย วาจา และใจ ไม่แสดงอาการไม่ดี หรือไม่งามผิดปกติ เมื่อได้รับความตรากตรําลําบากหรือเมื่อได้รับความเจ็บใจ โดยโสรัจจะเป็นธรรมคู่กับขันติ (ความอดทน) ซึ่งบุคคลที่ยึดธรรมทั้งสองนี้เป็นแนวปฏิบัติจะถือได้ว่าเป็นคนมีมารยาทงาม(ปากปราศรัยใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย)

62 “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

(2) ความเป็นผู้รู้จักผล

(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

(4) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล

ตอบ 3 หน้า 198 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักกําหนดคาดคะเนได้อย่างเหมาะสมพอเหมาะพอควรพอดีในทุกเรื่อง ซึ่งผู้ที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” (เสียงดังมาก)

63 ถ้านักศึกษาต้องการพัฒนาปัญญาให้งอกงาม ควรปฏิบัติตามหลักธรรมใด

(1) ขันติ

(2) อิทธิบาท 4

(3) วุฒิธรรม

(4) สมชีวิธรรม

ตอบ 3 หน้า 207 หลักวุฒิธรรม คือ หลักการสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญา ซึ่งมีข้อพึงปฏิบัติอยู่ 4 ประการดังนี้

1 หมั่นเสวนาคบหากับท่านผู้รู้ ผู้มีภูมิธรรม

2 เอาใจใส่สดับตรับฟัง แสวงหาความรู้จริง

3 ได้รู้ได้เห็นได้ฟังสิ่งใดแล้ว รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเอง

4 นําสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟัง และตริตรองแล้วไปปฏิบัติด้วยตนเอง

64 ชาวกรีกโบราณมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐอย่างไร

(1) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐโดยธรรมชาติ

(2) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐก็ต่อเมื่อให้ความยินยอม

(3) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐเพราะมนุษย์มีบาป

(4) มนุษย์จําเป็นต้องมีรัฐเพราะกิจกรรมการผลิต

ตอบ 1 หน้า 244, 247 นักปรัชญาชาวกรีกโบราณ เห็นว่า รัฐเป็นสิ่งจําเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์เพราะความยุติธรรมสําหรับมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมเพื่อมีชีวิตที่ดีสามารถรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติและสามารถสร้างงานศิลปะของมนุษย์

65 นักปรัชญาคนใดถือว่าระบบเศรษฐกิจเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมของคนในรัฐ

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) คาร์ล มาร์กซ์

(4) จอห์น ล็อค

ตอบ 3 หน้า 259 คาร์ล มาร์กซ์ ถือว่า ระบบเศรษฐกิจเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมของคนในรัฐออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และฝ่ายผู้ใช้แรงงานการผลิตแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

66 นักปรัชญาคนใดถือว่าการตัดสินใจรักพระเจ้าหรือไม่ เป็นมาตรการแบ่งแยกคนในรัฐ

(1) เพลโต

(2) เซนต์ ออกัสติน

(3) คาร์ล มาร์กซ์

(4) จอห์น ล็อค

ตอบ 2 หน้า 250 เซนต์ ออกัสติน ถือว่าการตัดสินใจรักหรือไม่รักพระเจ้าเป็นมาตรการแบ่งแยกคนในรัฐออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รักพระเจ้า และกลุ่มที่ปฏิเสธพระเจ้า โดยกลุ่มที่รักพระเจ้า จะเป็นพลเมืองของนครแห่งพระเจ้า ส่วนรัฐที่ไม่นับถือพระเจ้าก็ไม่ต่างอะไรจากซ่องโจร และ ถือเป็นบาปติดตัวของผู้ที่เกิดในรัฐนั้นมาแต่แรกเกิด ดังนั้นรัฐที่ดีและสามารถให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนได้ต้องเป็นรัฐที่นับถือพระเจ้า และอยู่ในความดูแลควบคุมของศาสนจักร

67 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัย และเสถียรภาพแก่คนในรัฐ

(1) จอห์น ล็อค

(2) โธมัส ฮอบส์

(3) รุสโซ

(4) คาร์ล มาร์กซ์

ตอบ 2 หน้า 253 โธมัส ฮอบส์ มีทัศนะว่า โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์ไม่มีสังคมไม่มีรัฐ แต่เมื่อต้องเผชิญกับการต่อสู้กับสภาพที่เลวร้ายและความหวาดกลัว จึงต้องตกลงกันระหว่างมนุษย์ เพื่อจัดตั้งรัฐและสังคมขึ้นเพื่อผลประโยชน์ คือ เสถียรภาพและไม่ต้องหวาดกลัวอีกต่อไป ดังนั้นรัฐที่ดีจะต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐได้

68 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้มนุษย์สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล

(1) เพลโต

(2) อริสโตเติล

(3) เซนต์ ออกัสติน

(4) มาเคียเวลลี่

ตอบ 2 หน้า 248 249 อริสโตเติล มีทัศนะว่า สังคมและรัฐที่ดี คือ สังคมและรัฐที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

1 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางศีลธรรม สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล

2 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางปัญญา สามารถดําเนินชีวิตในลักษณะที่ตริตรองถึงสัจจะ

69 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้บุคคลทํางานเหมาะสมกับธรรมชาติของตน

(1) เพลโต

(2) อริสโตเติล

(3) เซนต์ ออกัสติน

(4) มาเคียเวลลี่

ตอบ 1 หน้า 246 – 247 เพลโต มีทัศนะว่า มนุษย์ในสังคมมี 3 ประเภท คือ ราชาปราชญ์ ทหารและคนงาน ถ้าคนทั้ง 3 ประเภทของสังคมสามารถทําหน้าที่ที่เหมาะสมที่สุดสําหรับเขา เมื่อนั้น ความยุติธรรมก็จะปรากฏขึ้นในสังคมนั้น และสังคมดังกล่าวย่อมเป็นสังคมที่ดีที่สุดสําหรับชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์ ดังนั้นรัฐที่ดีจะต้องสามารถทําให้บุคคลทํางานเหมาะสมกับธรรมชาติของตน

70 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของรุสโซ

(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง

(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว

(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ

(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ

ตอบ 4 หน้า 256 รุสโซ เห็นว่า วิถีชีวิตมนุษย์สมัยดึกดําบรรพ์แม้จะเป็นชีวิตที่ค่อนข้างลําบากแต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข เพราะเป็นชีวิตที่อิสระ มีความเรียบง่าย และมนุษย์ได้กระทําตาม ความปรารถนาของตน รวมทั้งมนุษย์ยังมีคุณธรรมพื้นฐานง่าย ๆ คือ การไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับเพื่อนมนุษย์หรือการไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน

71 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของฮอบส์

(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง

(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว

(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ

(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

72 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาของเพลโต

(1) ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ

(2) ผู้ใช้แรงงานสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ

(3) ทหารสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ

(4) ผู้ปกครองประเทศสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ

ตอบ 4 หน้า 270 271 ทฤษฎีการศึกษาของเพลโตเป็นแบบจิตนิยม เพราะมุ่งเน้นหนักการรู้ความจริงเชิงนามธรรม คือความจริงในโลกแห่งแบบมากกว่าการรับรู้ในเรื่องวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยบุคคลที่จะเป็นราชาปราชญ์ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองประเทศเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึงความจริงในโลกแห่งแบบได้ เพราะเป็นบุคคลที่มีปัญญาอย่างยิ่ง

73 วิชาใดจัดว่าเป็นวิชาสูงสุดที่สามารถวัดได้ว่าผู้สามารถเรียนได้เป็นคนมีจิตภาคเหตุผลเด่น

(1) พลศึกษา

(2) ดนตรี

(3) คณิตศาสตร์

(4) อภิปรัชญา

ตอบ 4 หน้า 270 เพลโต เห็นว่ารูปแบบการศึกษาจะต้องเริ่มต้นด้วยการคัดเลือกเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์มาฝึกกีฬา ต่อมาจึงเรียนการอ่านเขียนและเรียนคณิตศาสตร์ พออายุประมาณ 20 ปี ผู้ที่เหมาะสม จะได้เรียนคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และจวบจนอายุ 30 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนอภิปรัชญาซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีจิตภาคเหตุผลเด่นและเหมาะสมที่จะเป็นราชาปราชญ์

74 ในตอนเริ่มการศึกษาควรให้เด็กอ่านหนังสือเล่มใดในทัศนะของรุสโซ

(1) หนังสือเกี่ยวกับพลศึกษา

(2) คัมภีร์ไบเบิล

(3) หนังสือปรัชญา

(4) การผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

ตอบ 4 หน้า 275 276 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาที่ถูกต้องควรเน้นให้เด็กเติบโตอย่างเป็นอิสระและปลอดอิทธิพลทางความคิดจากสังคม ดังนั้นการศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กก็คือ การเปิดโอกาส ให้เด็กมีประสบการณ์หรือให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นการอ่านหนังสือเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

75 ในตอนเริ่มการศึกษาควรให้เด็กอ่านหนังสือเล่มใดในทัศนะของ เซนต์ ออกัสติน

(1) หนังสือเกี่ยวกับพลศึกษา

(2) คัมภีร์ไบเบิล

(3) หนังสือปรัชญา

(4) การผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

ตอบ 2 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก

2 ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสําคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบใช้เหตุผลและการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง

76 การจัดการศึกษาควรให้หน่วยงานใดรับผิดชอบ ในทัศนะของเซนต์ ออกัสติน

(1) รัฐ

(2) องค์กรเอกชน

(3) องค์กรการกุศล

(4) วัด

ตอบ 4 หน้า 272 273 เป้าหมายการศึกษาของเซนต์ ออกัสติน นั้นจะสัมพันธ์กับทัศนะทางศาสนาของเขา กล่าวคือ เขาเห็นว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษา ก็คือ การกลับใจ (Conversion) ไปรัก พระเจ้า และการสํานึบาป (Repentance) ของตนเองที่หันเหไปจากพระเจ้า ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ จะทําให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริง ดังนั้นหน่วยงานที่จะช่วยให้มนุษย์บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ก็คือ วัดหรือศาสนจักรนั่นเอง

77 วิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามปรัชญาปฏิบัตินิยม คือวิธีใด

(1) เรียนโดยลงมือปฏิบัติจริง

(2) เรียนโดยใช้เหตุผลพิสูจน์ความเชื่อ

(3) เรียนเพื่อเข้าใจตนเอง

(4) เรียนเพื่อสํานึกถึงสิทธิของตนเอง

ตอบ 1 หน้า 277 – 278 ลัทธิปฏิบัตินิยม เป็นปรัชญาที่ยึดถือในประสิทธิภาพทางการปฏิบัติหรือผลทางการปฏิบัติเป็นมาตรฐานสําหรับวัดความถูกต้อง ซึ่งเป้าหมายของการศึกษา คือ การมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้พร้อมจะแก้ปัญหาของตนด้วยตนเอง ดังนั้นความรู้ที่แท้จริงต้อง เกิดจากการทดลองปฏิบัติหรือการลงมือปฏิบัติจริง มิใช่มุ่งที่การเรียนรู้ทางทฤษฎีเท่านั้น

78 ลัทธิปฏิบัตินิยมปรารถนาจะเห็นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร

(1) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง

(2) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง

(3) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม

(4) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา

ตอบ 4 หน้า 277, 283 ปรัชญาการศึกษาของลัทธิปฏิบัตินิยม คือ การสร้างให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา ดังนั้นการศึกษาต้องมุ่งให้เกิดผลที่ปฏิบัติได้ ไม่ใช่มุ่งการเรียนรู้แต่ทฤษฎีเท่านั้น

79 บุคคลใดมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโต

(1) คนมีพละกําลังมาก

(2) คนมีความกล้าหาญมาก

(3) คนมีความศรัทธาในพระเจ้าอย่างยิ่ง

(4) คนมีปัญญาอย่างยิ่ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

80 ในทัศนะของจอห์น สจ๊วต มิลล์ การกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือการกระทําชนิดใด

(1) การกระทําส่วนตัวแต่มีผลกระทบต่อคนอื่น

(2) การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อคนอื่น

(3) การกระทําที่มีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 หน้า 258, 321 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mil) สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ โดยการกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือ การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ส่วนการกระทําที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นนั้นรัฐสามารถเข้าไปก้าวก่ายควบคุมได้

81 ข้อใดถูกต้องตามทัศนะของ “William Godwin”

(1) สังคมที่ดีคือสังคมที่เกิดจากการรวมตัวด้วยความรักและความเข้าใจ

(2) สังคมที่ดีคือสังคมที่สมาชิกอุทิศตนเพื่อรัฐ

(3) สังคมที่ดีคือสังคมที่สมาชิกมอบให้คณะบุคคลทําหน้าที่บริหาร

(4) ไม่ควรมีสังคม

ตอบ 4 หน้า 259 260 วิลเลียม ก๊อดวิน (William Godwin) เป็นนักคิดในกลุ่มอนาธิปไตย (Anarchism)ที่มีทัศนะว่า องค์กรทุกรูปแบบโดยเฉพาะรัฐบาลเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งสิ้น สังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐและได้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น

82 “General Will” ของรุสโซมีจุดมุ่งหมายเพื่อสิ่งใด

(1) ผลประโยชน์ของบุคคล

(2) ผลประโยชน์ของบุคคลและเพื่อนพ้อง

(3) ผลประโยชน์ของคนทั้งสังคม

(4) ผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ

ตอบ 3 หน้า 256 257 ในทัศนะของรุสโซนั้น อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนเพราะสังคมเกิดจากเจตจํานงร่วม (General Will) ของมนุษย์ ดังนั้นผู้ปกครองกับพลเมืองก็คือ คน ๆ เดียวกัน แต่มองคนละด้านเท่านั้น เมื่อสังคมเกิดเป็นองค์กรร่วมหรือเป็นเอกภาพ เจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและกลุ่มต้องหมดไป เหลือแต่เจตจํานงร่วมอันเป็นเจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งชาติหรือเพื่อคนทั้งสังคม

83 ปัญหาปรัชญาการศึกษาของตะวันตกเริ่มจากนักปรัชญาคนใด

(1) Thales

(2) Sophists

(3) Plato

(4) Epicurus

ตอบ 1 หน้า 267 ปัญหาปรัชญาการศึกษาของตะวันตกเริ่มต้นจากทาเลส (Thales) นักปรัชญาคนแรกของกรีก ถึงแม้จะไม่ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษา แต่ก็ได้ทําหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม

84 จุดหมายของการศึกษาของ Sophists คืออะไร

(1) ผลประโยชน์และความสําเร็จ

(2) การเข้าถึงสัจธรรม

(3) การสํานึกบาป

(4) การแก้ปัญหาเป็น

ตอบ 1 หน้า 268 โซฟิสต์ (Sophists) ถือเป็นนักปรัชญากลุ่มแรกที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึษามิใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความสําเร็จในชีวิต และสามารถได้รับผลประโยชน์ตอบแทน โดยวิชาที่กลุ่มโซฟิสต์ส่งเสริมให้เรียน ก็คือ ศิลปะการพูดในที่ชุมชน

85 จุดหมายของการศึกษาของ Socrates คืออะไร

(1) ผลประโยชน์และความสําเร็จ

(2) การเข้าถึงสัจธรรม

(3) การสํานึกบาป

(4) การแก้ปัญหาเป็น

ตอบ 2 หน้า 268 269 โซเครตีส (Socrates) มีทัศนะว่า การศึกษามิใช่กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์และความสําเร็จเฉพาะตนเท่านั้น แต่การศึกษาจะต้องมี จุดมุ่งหมายเพื่อการค้นพบสัจธรรมหรือความจริงเกี่ยวกับคุณธรรม โดยวิธีการศึกษาที่จะนําไปสู่การค้นพบดังกล่าวได้ก็คือ การสนทนาถกเถียง และการซักถาม

86 ในการจัดการศึกษาในระดับก้าวหน้าของเซนต์ ออกัสติน ต้องจัดการศึกษาแบบใด

(1) ใช้วิธีสอนแบบเข้มงวด และบังคับให้ผู้เรียนเชื่อ

(2) เน้นให้ผู้เรียนใช้เหตุผลเพื่อพิสูจน์ศรัทธา

(3) บังคับให้ผู้เรียนเชื่อด้วยเหตุผล

(4) เน้นให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

87 ตามทัศนะของรุสโซการให้การศึกษาแก่เด็กเล็กควรทําอย่างไร

(1) สังคมต้องดูแลอย่างเข้มงวด

(2) ให้เด็กมีโอกาสอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม

(3) ให้เรียนรู้ระบบต่าง ๆ ของสังคม

(4) ให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

88 รุสโซปรารถนาจะเน้นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไรในระดับการศึกษาสูงสุด

(1) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง

(2) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง

(3) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม

(4) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา

ตอบ 1 หน้า 275, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า การสอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเองตั้งแต่เริ่มแรกย่อมเป็นผลดี เพราะเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้สึกพอใจในตนเอง ดังนั้นในระดับการศึกษาขั้นสูงสุด รุสโซจึงปรารถนาจะเน้นผู้เรียนให้มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตนเอง

89 นักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม เรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจสิ่งใด

(1) ตัวเอง

(2) สังคม

(3) รัฐ

(4) ศาสนา

ตอบ 1 หน้า 279, 284, (คําบรรยาย) ปรัชญาอัตถิภาวนิยมเป็นปรัชญาที่เชื่อในความสําคัญของปัจเจกบุคคล และเชื่อว่าเป้าหมายของการศึกษา คือ การเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นอิสระ และประสบการณ์ที่แท้จริงของผู้เรียน ดังนั้นนักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยมจึงเรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจตัวเอง

90 ข้อใดไม่จัดเป็นปรัชญาสังคม

(1) เสรีภาพมีความหมายอย่างไร

(2) เสรีภาพควรถูกจํากัดหรือไม่

(3) ควรใช้หลักการใดจํากัดเสรีภาพ

(4) สังคมไทยปัจจุบันยอมรับเสรีภาพของบุคคลมากขึ้น

ตอบ 4 หน้า 313 ปรัชญาสังคม สนใจศึกษาปัญหาพื้นฐาน 2 ปัญหา คือ

1 ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความเข้าใจในศัพท์ทางสังคมที่ใช้กันในทฤษฎีทางสังคม เช่น เสรีภาพ ความยุติธรรม ความเสมอภาค ฯลฯ

2 ปัญหาของการสร้างมาตรการหรือการสร้างหลักการทางสังคม เช่น หลักการจํากัดเสรีภาพของบุคคล หลักการแบ่งปันหรือจัดสรรอย่างยุติธรรม ฯลฯ

91 “เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต” เป็นแนวคิดของใคร

(1) John Stuart Mill

(2) Patrick Devlin

(3) John Locke

(4) Anarchists

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

92 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด มีความเห็นแตกต่างจากหลักการอื่น ๆ ในเรื่องความเป็นมนุษย์

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามความพยายาม

(4) หลักการแบ่งปันตามแรงงาน

ตอบ 1 หน้า 332 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์มีความเห็นที่แตกต่างจากหลักการอื่น ๆ เพราะการแบ่งปันผลประโยชน์ประเภทนี้จะแบ่งให้กับมนุษย์ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ อายุ เพศ ความมานะพยายาม หรือความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น

93 “ควรจํากัดเสรีภาพแม้แต่ความประพฤติทางเพศ” เป็นแนวคิดของใคร

(1) John Stuart Mill

(2) Patrick Devlin

(3) John Locke

(4) Anarchists

ตอบ 2 หน้า 324 แพทริค เดฟลิน (Patrick Devlin) เป็นผู้สนับสนุนหลักการควบคุมการประพฤติทางเพศของบุคคล เนื่องจากการประพฤติทางเพศที่ผิดศีลธรรมจัดว่าเป็นสิ่งที่ทําลายสายใยทางศีลธรรม ดังนั้นรัฐจึงต้องมีสิทธิที่จะออกกฎหมายเพื่อควบคุมการประพฤติทางเพศ

94 สาเหตุที่สังคมต้องมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

(1) ปกป้องประชาชนให้พ้นภัยจากสิ่งอันตราย

(2) ปกป้องศีลธรรมของประชาชน

(3) ปกป้องทรัพย์สินของประชาชน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้รัฐต้องออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คือ การป้องกันประชาชนให้รอดพ้นจากภัยอันตรายของยาเสพติด และช่วยปกป้องทรัพย์สินของผู้บริสุทธิ์ให้รอดพ้นจากผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งช่วยส่งเสริมศีลธรรมอันดีของคนในสังคม

95 “ห้ามรถทุกคันขับเร็วในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถพยาบาลขณะปฏิบัติหน้าที่” เป็นกฎที่มีลักษณะอย่างไร

(1) จุดประสงค์ยุติธรรม

(2) จุดประสงค์ยุติธรรมและบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(3) จุดประสงค์ไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) จุดประสงค์ไม่ยุติธรรมและบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 2 หน้า 330 331 โดยทั่วไปกฎหมายต้องมีข้อความที่ระบุถึงกลุ่มคนที่กฎหมายนั้นต้องใช้บังคับและระบุถึงกลุ่มคนที่ได้รับข้อยกเว้นจากกฎหมายนั้น เช่น กฎหมายห้ามรถยนต์ใช้ความเร็ว เกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัย ยกเว้นรถพยาบาลขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการยกเว้นดังกล่าว ถือว่ามีความยุติธรรม ทั้งนี้เพราะรถพยาบาลมีความแตกต่างจากรถโดยทั่วไปที่จําเป็นต้องเร่งรีบนําคนป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล

96 ถ้าการแบ่งปันผลประโยชน์มีลักษณะเท่าเทียมกันเกินไป จะเกิดผลอย่างไร

(1) ทําให้ขาดการแข่งขัน

(2) ทําให้เกิดการเกียจคร้าน

(3) ถูกข้อ 1 และ 2

(4) ทําให้เกิดความยากจนอย่างเท่าเทียมกัน

ตอบ 3 หน้า 333 – 334 ข้อบกพร่องของหลักการของความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ คือ การขาดการแข่งขันและประชาชนในสังคมเกิดความเกียจคร้าน เนื่องจากทุกคนในสังคมไม่มีความปรารถนา ที่จะสร้างความร่ำรวยให้กับสังคม เพราะในที่สุดความร่ำรวยที่เขาสร้างขึ้นมาก็จะถูกฉกฉวยแบ่งปันไปให้ผู้อื่น

97 ปรัชญาประวัติศาสตร์ศึกษาสิ่งใดโดยตรง

(1) ความหมายของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

(3) วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 285 286 ปรัชญาประวัติศาสตร์ให้ความสําคัญกับการศึกษาใน 3 สิ่งต่อไปนี้

1 ความหมายของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

2 แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

3 วิธีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์

98 ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ มุ่งศึกษาปัญหาใด

(1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

(3) ความเป็นปรนัยของวิชาประวัติศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 287 – 289 ปรัชญาประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ หมายถึง ปรัชญาประวัติศาสตร์ที่สืบค้นถึงความหมายและแบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งปัญหาของปรัชญา เชิงวิเคราะห์นี้ แบ่งออกเป็น

1 แบบแผนของอดีต

2 ความหมายของประวัติศาสตร์

3 ความจําเป็นของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

99 ประวัติศาสตร์เชิงวิจารณ์ มุ่งศึกษาปัญหาโด

(1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

(3) ความเป็นปรนัยของวิชาประวัติศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 287, 299 ปรัชญาประวัติศาสตร์เชิงวิจารณ์ หมายถึง ปรัชญาประวัติศาสตร์ที่สืบค้นถึงวิธีการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์เพื่อตัดสินประเภทวิชาของประวัติศาสตร์ว่าสามารถเป็น วิชาประเภทเดียวกับวิทยาศาสตร์หรือไม่ ซึ่งปัญหาของปรัชญาเชิงวิจารณ์นี้ แบ่งออกได้เป็น

1 ปัญหาเรื่องการอธิบายทางประวัติศาสตร์

2 ปัญหาเรื่องปัจเจกบุคคลของประวัติศาสตร์

3 ปัญหาเรื่องความเป็นปรนัยของประวัติศาสตร์

100 การเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมเป็นผลของสาเหตุใดในทัศนะของมาร์กซ์

(1) ผลของการเปลี่ยนแปลงประเพณี

(2) ผลของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

(3) ผลของการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต

(4) ผลของการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ

ตอบ 3 หน้า 293 – 296 มาร์กซ์ เชื่อว่า สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอันเป็นการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมนั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต โดยยุคเริ่มต้นการผลิตของมนุษย์จะเป็นแบบทาส และพัฒนาเรื่อยมาจนไปสู่จุดหมายการผลิต แบบสังคมคอมมิวนิสต์ที่ปราศจากชนชั้นและไม่มีการขูดรีด

 

PHI1003 ปรัชญาเบื้องต้น s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 สิ่งที่ “ปรัชญา” ไม่สามารถช่วยได้คือข้อใด

(1) ความสามารถคิดอย่างมีเหตุผล

(2) การมีทัศนะกว้างขึ้น

(3) การมีใจกว้างขึ้น

(4) การหางานทําได้ง่ายขึ้น

ตอบ 4 หน้า 1 – 2, (คําบรรยาย) ปรัชญาเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์สามารถคิดอย่างมีเหตุผล ไม่ยอมรับสิ่งใดโดยง่ายดาย แต่ก็มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงทําให้มีทัศนะกว้างขวางขึ้นและพยายามแสวงหาคําตอบสําหรับปัญหาของตนตลอดเวลา แต่ไม่ได้ทําให้หางานทําได้ง่ายขึ้น

2 ข้อใดคือท่าทีของ “ปรัชญา” ตามความหมายในวิชา PHI 1003

(1) การศึกษาเรื่องความรู้อันประเสริฐ

(2) การสงสัยและหาคําตอบ

(3) การหาหลักการให้กับองค์กร

(4) การศึกษาเพื่อการพ้นทุกข์

ตอบ 2 หน้า 1, (คําบรรยาย) ปรัชญาเป็นเรื่องราวของการใช้ปัญญาเพื่อไตร่ตรองในสิ่งที่ตนยังสงสัยหรือคิดว่าเป็นปัญหาอยู่ และเป็นการพยายามใช้ปัญญาไตร่ตรองถึงคําตอบที่เป็นไปได้สําหรับปัญหาที่ตนยังติดใจสงสัย และจะทําการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาเหล่านั้นอย่างมีเหตุผล ดังนั้น ปรัชญาจึงเป็นเรื่องของผู้ใช้ปัญญา หรือผู้มีความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้ ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญา

3 นักปรัชญาใช้วิธีการใดในการแสวงหาความรู้

(1) การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผล

(2) การเก็บข้อมูลและทดลองแบบนักวิทยาศาสตร์

(3) การใช้การคํานวณแบบนักคณิตศาสตร์

(4) ศึกษาจากคัมภีร์ของศาสนาต่าง ๆ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 คําตอบของนักปรัชญาต่อปัญหาต่าง ๆ มีลักษณะอย่างไร

(1) ปัญหาเดียวกันมีได้หลายคําตอบ

(2) สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

(3) คําตอบมีความแน่นอนตายตัว

(4) ความจริงสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 1, 9, (คําบรรยาย) ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญาซึ่งลักษณะสําคัญประการหนึ่งของปรัชญาก็คือ แม้แต่คําตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้น ก็อาจมีคําตอบที่เป็นไปได้หลายคําตอบ โดยยังไม่มีการกําหนดหรือยอมรับกันลงไปว่า คําตอบใดเป็นคําตอบที่ถูกต้องที่สุด วิชาปรัชญาถือว่าคําตอบทุกคําตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น ดังนั้นปรัชญาจึงช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ด้วยการใช้ปัญญาแสวงหาคําตอบที่เป็นไปได้

5 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

(1) คําว่า “ปรัชญา” บัญญัติแทน “Philosophy” และมีความหมายตรงกัน

(2) คําว่า “ปรัชญา” บัญญัติแทน “Philosophy” แต่มีความหมายไม่ตรงกัน

(3) คําว่า “ปรัชญา” ไม่ได้บัญญัติแทน “Philosophy” แต่มีความหมายตรงกัน

(4) คําว่า “ปรัชญา” ไม่ได้บัญญัติแทน “Philosophy” จึงมีความหมายไม่ตรงกัน

ตอบ 1 หน้า 1 คําว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งใช้แปลคําว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นคําว่าปรัชญาจึงมีความหมายที่สอดคล้อง หรือเหมือนกันทุกประการกับ Philosophy ซึ่งหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนา

จะเป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้น

6 ทําไม “ปรัชญา” จึงเกี่ยวข้องกับมนุษย์

(1) เพราะมนุษย์มีปัญหา

(2) เพราะมนุษย์มีปัญญา

(3) เพราะมนุษย์มีปรัชญา

(4) เพราะมนุษย์รู้ปรัชญา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2.ประกอบ

7 “ปรัชญาบริสุทธิ์” ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับสิ่งใด

(1) ความเป็นจริง

(2) การรู้ความเป็นจริง

(3) การปฏิบัติให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11 – 17 ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) หมายถึง ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับข้อสรุปของวิชาอื่น ๆ ที่แยกตัว ออกไปจากวิชาปรัชญาแล้ว ซึ่งปรัชญาบริสุทธิ์จะศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริง ในประเด็นปัญหา 3 ประการ ดังนี้คือ

1 ความเป็นจริงคืออะไร

2 เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร

3 เราพึงปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง

8 ปัญหาเรื่องปฐมธาตุของนักปรัชญากรีกโบราณจัดเป็นปัญหาปรัชญาสาขาใด

(1) อภิปรัชญา

(2) ญาณวิทยา

(3) จริยศาสตร์

(4) ปรัชญาประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 17, 21 – 23 อภิปรัชญา เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง“ความเป็นจริงคืออะไร” โดยมุ่งที่จะสืบค้นไปถึงสิ่งที่จริงที่สุด ซึ่งอาจซ่อนอยู่เบื้องหลัง ปรากฏการณ์ของโลกที่ปรากฏต่อผัสสะของมนุษย์ หรือสิ่งที่อยู่ล่วงเลยขอบเขตของสสาร (อสสาร) ซึ่งแยกออกได้เป็น 3 ปัญหา คือ

1 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลก เช่น ปฐมธาตุหรือแก่นแท้ของจักรวาลคืออะไร

2 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของจิต เช่น จิตหรือวิญญาณของมนุษย์มีจริงหรือไม่

3 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของพระเจ้า เช่น พระเจ้ามีอยู่และเกี่ยวข้องกับโลกอย่างไร

9 “Metaphysics” มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาไทยคําใด

(1) ปรัชญา

(2) อภิปรัชญา

(3) ญาณวิทยา

(4) อตินทรีย์วิทยา

ตอบ 4 หน้า 21 – 22 Metaphysics แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังวัตถุ หรือวิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส จะมีความหมายตรงกับคําว่า “อตินทรีย์วิทยา ซึ่งแปลว่า ล่วงเลยอินทรีย์หรือประสาทสัมผัส แต่คําว่าอตินทรีย์วิทยานไม่เป็นที่นิยมใช้กัน โดยคําที่นิยมใช้ก็คือ “อภิปรัชญา” ซึ่งแปลว่า ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ อันมีความหมาย เท่ากับ “ปรมัตถ์” หรือ “ความรู้ขั้นปรมัตถ์” ซึ่งแปลว่า ความรู้ที่มีเนื้อหาลึกซึ้งอย่างยิ่ง

10 ข้อใดสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) โซฟิสต์ – ความรู้เชิงปรนัย

(2) โซเครตีส – ความรู้เชิงอัตนัย

(3) โซฟิสต์ – ปัญญา

(4) โซเครตีส – ปัญญา

ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) โซเครตีส เพลโต และอริสโตเติล เชื่อว่า มนุษย์มีสมรรถภาพพอที่จะรู้ความเป็นจริงได้ (ความรู้เชิงปรนัย) ถ้ามนุษย์ใช้ปัญญาหรือเหตุผลที่เป็นสมรรถภาพเหนือผัสสะ ส่วนโซฟิสต์ เห็นว่า มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะรู้ว่าอะไรคือสารเบื้องต้นของธรรมชาติที่แท้จริงนักปรัชญาแต่ละคนจึงได้ตอบไปตามความเห็นของตนเท่านั้น

11 สาเหตุที่ทําให้วัตถุประเภทเดียวกันมีลักษณะอย่างเดียวกัน คืออะไรในทัศนะของเพลโต

(1) ความเหมือนเป็นเพียงข้อสังเกตของมนุษย์

(2) วัตถุนั้นมีโครงสร้างของอะตอมเหมือนกัน

(3) วัตถุนั้นจําลองมาจากแม่แบบเดียวกัน

(4) วัตถุนั้นถูกพระเจ้าเนรมิตขึ้นจากแบบเดียวกัน

ตอบ 3 หน้า 26 – 27 เพลโต อธิบายว่า โลกของแบบเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นสิ่งเที่ยงแท้ และเป็นต้นแบบของโลกแห่งประสาทสัมผัส ซึ่งแบบเป็นอสสารที่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ และเป็นหลักสําคัญให้โลกวัตถุมีอยู่ได้ เช่น ทอง ขมิ้น และดอกดาวเรือง ฯลฯ แม้วัตถุทั้งหมดนี้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็จําลองมาจากแบบเดียวกัน คือ “เหลือง” และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล

12 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแบบของเพลโต

(1) มีจริง และมนุษย์รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส

(2) มีจริง และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล

(3) ไม่มีจริง แต่มนุษย์สร้างภาพด้วยเหตุผล

(4) ไม่มีจริง แต่มนุษย์สร้างภาพด้วยประสาทสัมผัส

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 “ทอง ขมิ้น ดอกดาวเรือง” มีความสัมพันธ์กันอย่างไรในทัศนะของเพลโต (1) ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย

(2) มีลักษณะร่วมกัน คือเป็นวัตถุในโลกมนุษย์

(3) มีลักษณะร่วมกัน คือ “เหลือง”

(4) มีลักษณะร่วมกัน คือเป็นแบบให้กับวัตถุสีเหลือง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

14 ที่ว่าสสารนิยมเป็น “เอกนิยม” (Monism) มีความหมายอย่างไร

(1) โลกเป็นปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้น

(2) โลกเป็นปรากฏการณ์ของสสารชนิดเดียว

(3) โลกมีเพียงโลกเดียว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 31 สสารนียมเป็นเอกนิยม (Monism) ถือว่าปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นความจริงประเภทเดียว และเป็นปรากฏการณ์ของสสารชนิดเดียว โดยสสารจะเป็นสิ่งที่ครองที่ คือ แผ่ไปในที่ว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่และเกิดขึ้นในที่ว่าง ถ้าวัตถุชิ้นหนึ่งครองที่อยู่ ณ ที่หนึ่งแล้ว วัตถุชิ้นอื่นจะครองที่นั้นในเวลาเดียวกันนั้นไม่ได้

15 สสารมีลักษณะอย่างไร

(1) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ แต่มีอายุขัย

(2) มีรูปร่าง สัมผัสได้ แต่ไร้อายุขัย

(3) มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัย

(4) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ และไร้อายุขัย

ตอบ 3 หน้า 31 ลัทธิสสารนิยม เชื่อว่า สสารเป็นสิ่งที่ครองเวลา จะต้องมีอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจะมีอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ ซึ่งสสารหรือวัตถุทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่รู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และประสาทสัมผัสทั้ง 5 เท่านั้นที่จะรู้จักสสารได้ โดยสสารเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัยเพียงชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น

16 นักจิตนิยมมีทัศนะต่อโลกมนุษย์อย่างไร

(1) มนุษย์ต้องเรียนรู้ให้มากเพื่อใช้ชีวิตในโลกอย่างมีความสุขสบาย

(2) มนุษย์ต้องใช้ชีวิตในโลกอย่างสุขสบาย ก่อนไปใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง

(3) การมีชีวิตในโลกเป็นเพียงสะพานไปสู่ความจริง

(4) โลกมนุษย์มีความเป็นจริงของมันเอง

ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกาย โดยจิตหรือวิญญาณสําคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และมีสภาวะ เป็นอมตะ เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้จึงต้องกระทําความดีเพื่อเป็นสะพานที่จะมุ่งไปสู่ความจริงในโลกหน้า

17 อสสารมีลักษณะอย่างไร

(1) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ แต่มีอายุขัย

(2) มีรูปร่าง สัมผัสได้ แต่ไร้อายุขัย

(3) มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัย

(4) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ และไร้อายุขัย

ตอบ 4 หน้า 25 – 27, 60 จิตนิยม เห็นว่า สสาร วัตถุ หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริงแต่ยังมีสิ่งที่จริงกว่าวัตถุและสสาร กล่าวคือ ยังมีของจริงอีกอย่างหนึ่งที่จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้ มองเห็นไม่ได้ ไม่มีตัวตน (ไร้รูปร่าง) มีอยู่เป็นนิรันดรหรือมีสภาวะเป็นอมตะ (ไร้อายุขัย) และ ไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลา ซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial) สิ่งนั้นคือ “จิต” เช่น โลกแห่งแบบ วิญญาณ พรหมัน และพระเจ้า ฯลฯ อันเป็นต้นกําเนิดหรือต้นแบบของวัตถุ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มองเห็นอยู่บนโลกนี้จึงเป็นเพียงสภาพที่ปรากฏของสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น

18 ข้อใดคือความหมายของ “ทฤษฎีทอนลง”

(1) วัตถุมีอายุสั้นลงทุกปี

(2) ปริมาณของวัตถุจะค่อย ๆ ลดลง

(3) สามารถสืบค้นเวลาถอยหลังจนถึงจุดที่วัตถุกําเนิดขึ้น

(4) วัตถุสามารถแยกย่อยจนถึงหน่วยย่อยสุดท้าย

ตอบ 4 หน้า 32 สสารนิยมยอมรับแนวคิดเรื่องการทอนลง โดยเชื่อว่าสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อยจนถึงอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า อะตอม โดยอะตอมจะไม่มีองค์ประกอบจึงไม่อาจแบ่งย่อยได้ จะสลายก็ไม่ได้ และเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่ได้

19 ข้อใดเป็นแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม

(1) มีความคิดเรื่องโลกแบบพหุนิยม

(2) มีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทําให้เกิดสิ่งใหม่

(3) มีความเชื่อในเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 33 – 34 ธรรมชาตินิยมเป็นพหุนิยมที่เชื่อเรื่องความมากมายหลายหลากว่าในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริงมากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลนั้น ได้มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่ และคุณภาพใหม่ที่ไม่สามารถทอนลงเป็นอะตอมกับการเคลื่อนไหวของอะตอมได้เลย

20 นักจิตนิยมมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิต-กาย อย่างไร

(1) จิต คือ กาย

(2) จิตสําคัญคู่กาย

(3) จิตสําคัญกว่ากาย

(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

21 คนที่ทํางานเต็มที่ตามกําหนดเวลาทํางาน เมื่อเลิกงานก็ไปดูหนังฟังเพลงเพื่อจะไปทํางานตามกําหนดเวลาจนตลอดชีวิต เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) คนมีจิตภาคตัณหากับน้ำใจเด่นร่วมกัน

(4) คนมีจิตภาคปัญญาเด่นพอสมควร

ตอบ 1 หน้า 35 – 36, 245 246 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้

1 ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทําทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมาสนองความสุขทางโลก จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข 2 ภาคน้ำใจ คือ ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การยึดถือเกียรติและสัจจะเป็นสําคัญ โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ

3 ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะโดยอาจยอมเสียสละทั้งเงินและเกียรติเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงามและความยุติธรรม ซึ่งจิตภาคนี้เท่านั้นที่จะทําให้มนุษย์เข้าสู่โลกของแบบได้

22 คนที่ยอมทิ้งความสุขสบายทางกาย มุ่งแสวงหาความเข้าใจเรื่องความจริง ความดี ความงาม เป็นคนมีจิต แบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) มีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) มีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) มีจิตภาคตัณหาและน้ำใจเด่น

(4) มีจิตภาคเหตุผลเด่น

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

23 บุคคลใดต่อไปนี้มีจิตภาคน้ําใจเด่นในทัศนะของเพลโต

(1) แจน มีงานทําสองแห่ง เธอใช้เงินทั้งหมดกับการ กิน ดื่ม เที่ยว ในวันหยุด (2) เจน ยับยั้งชั่งใจที่จะรักษาเกียรติของเธอไว้ โดยไม่ยอมเป็นภรรยาน้อยใคร (3) แจน ใช้ชีวิตสมถะ เพื่อนําเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการเรียนชั้นปริญญาเอก ซึ่งเธอคงได้รับเงินเดือนมากพอที่จะสะดวกสบายไปตลอดชาติ (4) แจง ใช้ชีวิตสมถะ และพยายามไตร่ตรองเพื่อเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 “แบบ” ของเพลโตกับ “พระเจ้า” ของศาสนาคริสต์ มีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

(1) เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถพูดคุยได้เหมือนกัน

(2) มีสถานภาพเป็นอสสารเหมือนกัน

(3) เป็นแหล่งกําเนิดของโลกเหมือนกัน

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 28, (คําบรรยาย) ปรัชญาของเพลโตเป็นจิตนิยม ซึ่งถือว่า ค่าทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกของวัตถุและโลกของมนุษย์มีต้นตออยู่ที่อสสารด้วย เช่น ความดี ความงาม ความยุติธรรม เป็นค่า หรือคุณธรรมที่มีอยู่ในโลก ดังนั้นจึงสอดคล้องกับทัศนะของนักปรัชญาตะวันตกสมัยกลางที่เห็นว่าคุณค่าต่าง ๆ ในโลกเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น มิใช่สิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นหรือตั้งขึ้นมา

25 ข้อใดตรงกับแนวความคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ของสสารนิยม

(1) ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น

(2) ลูกไม้หล่นใต้ต้น

(3) เข้าฝูงกาก็เป็นกา เข้าฝูงหงส์ก็เป็นหงส์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลัทธิสสารนิยม เห็นว่า มนุษย์ไม่มีตัวตนของจิต สิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมของจิตคือ อารมณ์หรือความคิดต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากสสารส่วนที่เป็นก้อนสมองเท่านั้น ถ้าก้อนสมองตายสภาพทางจิตก็จะหายไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมของจิตนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตาม สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละช่วงเวลา

26 ทัศนะใดถือว่า จิตเกิดจากกาย และต่างจากกาย

(1) เทวนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) สสารนิยม

ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งใหม่ เป็นผลผลิตขั้นสุดยอดของวิวัฒนาการ กล่าวคือ มนุษย์จะประกอบด้วยร่างกายและจิตใจซึ่งมีความสําคัญเท่าเทียมกัน โดยจิตใจของมนุษย์จะแตกต่างจากกายเพราะเกิดจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน จนทําให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ

27 ลัทธิใดเชื่อว่าสิ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งทั้งหลาย คือ การมีจิต

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) จิตนิยมและธรรมชาตินิยม

ตอบ 1 หน้า 25 – 27, 35 พวกจิตนิยม เห็นว่า มนุษย์นั้นมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกายแต่จิตสําคัญกว่า เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริง มีอยู่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสิ่งทั้งหลาย ส่วนร่างกายนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงเกิดดับได้ ดังนั้นวิถีชีวิตของแต่ละคนย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิต โดยร่างกายจะเป็นเพียงการสนองตอบเจตจํานงของจิตเท่านั้น มนุษย์จึงไม่มีอิสระตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตและความทะยานอยาก ถ้าไม่หิวก็อาจจะกินได้ ฯลฯ

28 ลัทธิใดเชื่อว่าการตายเป็นการสิ้นสุดของมนุษย์

(1) จิตนิยม

(2) สสารนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) สสารนิยมและธรรมชาตินิยม

ตอบ4 สสารนิยม เชื่อว่า การเกิดและการดับสลายของสิ่งต่างๆเป็นเพียงการเข้ามารวมตัวและแยกออกจากกันของอะตอมทั้งหลาย และการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเพียงการสับที่ของอะตอม โดยอะตอมนั้นมิได้เกิดดับหรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ส่วนธรรมชาตินิยมนั้น เชื่อว่าสิ่งธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน มนุษย์ กบ ล้วนเป็นสิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของสาเหตุธรรมชาติ ดังนั้นทั้งสองแนวคิดนี้จึงเชื่อว่าการตายเป็นการสิ้นสุดของมนุษย์คนนั้น

29 ข้อใดมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) สสารนิยม – จักรกลนิยม

(2) จิตนิยม – อันตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม – นวนิยม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 32, (คําบรรยาย) ลัทธิจักรกลนิยมเป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องมาจากปรัชญาสสารนิยม ซึ่งเชื่อว่า การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมิได้เป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายอะไร นอกจากเป็นไปอย่างจักรกล ส่วนลัทธิอันตนิยมเป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องมาจากปรัชญาจิตนิยม ซึ่งเชื่อว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาลนั้นมีการเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ดับสลาย โดยมีจุดมุ่งหมาย เหมือนกับมนุษย์และสัตว์ และลัทธินวนิยมเป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องมาจากปรัชญาธรรมชาตินิยม ซึ่งเชื่อเรื่องกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาล

30 นักจิตนิยมมีความเห็นเกี่ยวกับโลกมนุษย์อย่างไร

(1) โลกเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

(2) โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตเป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังการตายที่ประเสริฐกว่า

(3) โลกเป็นมายา

(4) โลกมีแต่สิ่งชั่วร้าย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักจิตนิยม เห็นว่า โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวสําหรับมนุษย์ที่ใช้เป็นทางผ่านโลกหลังความตายที่ประเสริฐกว่า ซึ่งเป็นโลกที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสหรือโลกของแบบที่แท้จริง

31 นักธรรมชาตินิยม มีความเห็นเกี่ยวกับโลกมนุษย์อย่างไร

(1) โลกเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

(2) โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตเป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังการตายที่ประเสริฐกว่า

(3) โลกเป็นมายา

(4) โลกมีแต่สิ่งชั่วร้าย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พวกธรรมชาตินิยมหรือสัจนิยมนั้น มีทัศนะว่า โลกหรือวัตถุทั้งหลายมีความแท้จริงตามสภาพของมันโดยไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าจะมีมนุษย์รับรู้มันหรือไม่ และมีอยู่ก่อนที่จะมีผู้ใดมารับรู้มัน ดังนั้นโลกจึงเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

32 สิ่งใดเป็น “อสสาร” (Immaterial)

(1) พระเจ้า

(2) พรหมัน

(3) โลกแห่งแบบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

33 ตามข้อพิสูจน์ของทฤษฎีภววิทยา พระเจ้าต้องมีอยู่ในฐานะอะไร

(1) ผู้สร้างระเบียบให้กับโลก

(2) ผู้ที่โลกต้องพึ่งพา

(3) ผู้กํากับให้คนดีได้ผลดีตอบแทน

(4) ผู้ฝังความคิดความเข้าใจเรื่องพระเจ้าให้มนุษย์

ตอบ 4 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงภววิทยา ถือว่า พระเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์และเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจํากัดส่วนมนุษย์เป็นสิ่งสัมพัทธ์และเป็นสิ่งจํากัด ซึ่งการที่มนุษย์มีความคิดในเรื่องพระเจ้าได้นั้นเกิดจากพระเจ้าเป็นต้นเหตุให้มนุษย์คิดถึงสิ่งที่ไร้ขอบเขตนี้ขึ้นมาได้ ดังนั้นพระเจ้าจึงมีอยู่

34 ตามข้อพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าของทฤษฎีเชิงเอกภพ พระเจ้าต้องมีอยู่ในฐานะอะไร

(1) ผู้สร้างระเบียบให้กับโลก

(2) ผู้ที่โลกต้องพึ่งพา

(3) ผู้กํากับให้คนดีได้ผลดีตอบแทน

(4) ผู้ฝังความคิดความเข้าใจเรื่องพระเจ้าให้มนุษย์

ตอบ 2 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงเอกภพ ถือว่า โลกนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีอิสระ เป็นสิ่งสัมพัทธ์ เป็นสิ่งจํากัดและเป็นสิ่งที่เป็นผล ด้วยเหตุนี้จึงต้องพึ่งพาอาศัยพระเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอิสระ เป็นสิ่งสัมบูรณ์เป็นสิ่งที่ไม่จํากัด และเป็นสิ่งที่เป็นเหตุ เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่

35 “เทวสิทธิ์” (Divine Right) หมายถึงอะไร

(1) การอ้างว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของชีวิตมนุษย์ทุกคน

(2) การอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อสนับสนุนอํานาจในการปกครอง

(3) การอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อการควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติ

(4) การอ้างอํานาจพระเจ้าในพิธีบูชาพระเจ้า

ตอบ 2 หน้า 41 – 45 ทฤษฎีการอ้างเทวสิทธิ์ (Divine Right) หมายถึง การที่ผู้ปกครองอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อสนับสนุนอํานาจในการปกครองของตน โดยอ้างว่าตนเป็นสมมติเทพหรือเป็น เทพผู้ยิ่งใหญ่ที่เทพบดีคัดเลือกส่งมาปกครอง ถือตนว่าเป็นบุตรแห่งสวรรค์หรือเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพ จึงมีสิทธิเดยชอบธรรมที่จะปกครอง

36 การเคลื่อนไหวของปรมาณู ตามทัศนะของไวเศษกะเป็นอย่างไร

(1) หยุดนิ่งตลอดเวลา

(2) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวโดยอาศัยพระเจ้ากําหนด

(3) เคลื่อนไหวด้วยตัวเองตลอดเวลา

(4) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองเมื่อถึงเวลา

ตอบ 2 หน้า 58 59 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า ปรมาณเป็นสิ่งที่ไร้กัมมันตภาพและจลนภาพ จึงอยู่ในภาวะที่หยุดนิ่ง การเคลื่อนไหวของปรมาณูจะต้องอาศัยพลังแห่งอํานาจที่มองไม่เห็น และเจตจํานงของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งผลักดันและชักจูง

37 การเคลื่อนไหวของปรมาณูหรืออะตอม ตามทัศนะของปรัชญากรีกเป็นอย่างไร

(1) หยุดนิ่งตลอดเวลา

(2) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวโดยอาศัยพระเจ้ากําหนด

(3) เคลื่อนไหวด้วยตัวเองตลอดเวลา

(4) ปกติหยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองเมื่อถึงเวลา

ตอบ 3 หน้า 58 ปรัชญากรีก ถือว่า ปรมาณูมีทั้งกัมมันตภาพและแสนภาพอยู่ในตัวโดยธรรมชาตินั่นคือ แต่ละปรมาณูเม่มีการหยุดนิ่ง หากแต่มีการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอยู่ตลอดเวลา

38 ตามทัศนะของไวเศษกะ วัตถุที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูอย่างน้อยก็ปรมาณู

(1) 2 ปรมาณู

(2) 3 ปรมาณู

(3) 4 ปรมาณู

(4) 5 ปรมาณู

ตอบ 2 หน้า 59 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า วัตถุจะต้องเกิดจากการรวมตัวกันของปรมาณูอย่างน้อย 2 ปรมาณู ส่วนวัตถุที่เราพอจะรู้ด้วยประสาทสัมผัสนั้น จะต้องเกิดขึ้นจากการรวมตัวของปรมาณูตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป

39 ตามทัศนะของไวเศษกะ วิญญาณของมนุษย์คืออะไร

(1) ปรมาณูธรรมดา

(2) ปรมาณูพิเศษ

(3) ชีวาตมัน

(4) มนุษย์ไม่มีวิญญาณ

ตอบ 3 หน้า 58 ปรัชญากรีก ถือว่า วิญญาณของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมตัวของปรมาณู แต่เป็นปรมาณูหรืออะตอมพิเศษ ส่วนปรัชญาไวเศษกะ ถือว่า วิญญาณหรืออาตมันหรือชีวาตมันนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นพิเศษต่างหากจากปรมาณู ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวของปรมาณูของธาตุใด ๆแต่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้นิรันดรควบคู่ไปกับปรมาณู และมีลักษณะพิเศษของตนเองโดยเฉพาะ

40 “ไม่ว่าโลกนี้จะมีจุดจบหรือไร้จุดจบ ไม่ว่าโลกนี้จะมีขอบเขตหรือไร้ขอบเขต เรื่องการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม”

คําพูดนี้แสดงทัศนะของพระพุทธเจ้าในเรื่องใด

(1) ปัญหาทางอภิปรัชญา แก้ไขเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

(2) ปัญหาญาณวิทยา แก้ไขเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

(3) ปัญหาจริยศาสตร์ แก้ไขเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

(4) ปรัชญาตะวันออก แก้ไขเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้

ตอบ 1 หน้า 75 – 76 พระพุทธเจ้า ทรงเห็นว่า การแสวงหาความจริงทางอภิปรัชญาไม่สามารถนําบุคคลไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนั้น พระพุทธองค์จะไม่ทรงตอบปัญหาในทางอภิปรัชญาและปัญหาที่ไร้ประโยชน์ในทาง จริยศาสตร์ เช่น จักรวาลมีขอบเขตจํากัดหรือไม่, ผู้รู้สัจจะตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ฯลฯ โดยพระองค์จะทรงพยายามให้บุคคลหันมาเผชิญกับปัญหาอันเป็นสัจภาวะที่แท้จริง เช่น ความดับทุกข์ หรือการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ฯลฯ

41 ข้อใดจัดเป็น “สภาวะทุกข์” ตามคําสอนของอริยสัจ 4

(1) ความแก่

(2) ความเศร้าใจจากความแก่

(3) ความพลัดพรากจากของรักเพราะความแก่

(4) ความคับแค้นใจเพราะความแก่

ตอบ 1 หน้า 82 สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์โดยสภาพหรือทุกข์ประจํา ได้แก่ ความเกิด ความแก่และความตาย (ส่วนทุกข์จรนั้น เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเพียงบางครั้งบางคราว เช่น ความเศร้าใจ ความระทมใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก เป็นต้น

42 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 สิ่งที่คนฉลาดควรกลัวเป็นอย่างยิ่ง คืออะไร

(1) การเกิด

(2) การแก่

(3) การตาย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 83 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 นั้น ถือว่า ความเกิดเป็นประตูแห่งความทุกข์ทั้งปวง ดังนั้นคนฉลาดจึงกลัวความเกิดไม่ใช่กลัวความตาย เพราะความเกิดนั้นเองเป็นเหตุให้ต้องตายถ้าไม่เกิดเสียอย่างเดียวก็ไม่ต้องตาย และไม่ต้องลําบากจนกว่าตัวเองจะแก่ตาย

43 “ฉันไม่อยากตัวดําอย่างนี้เลย” จัดว่าเป็นตัณหาแบบไหน

(1) กามตัณหา

(2) ภวตัณหา

(3) วิภวตัณหา

(4) ไม่จัดว่าเป็นตัณหา

ตอบ 3 หน้า 84 – 85 ตัณหามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1 กามตัณหา คือ ความอยากเห็น อยากฟัง อยากสูดกลิ่น อยากลิ้มรส และอยากสัมผัสในสิ่งที่ตนถูกใจ

2 ภวตัณหา คือ ความอยากเป็น เจ้าของ ความอยากมหรืออยากเป็นสิ่งอื่น ๆ 3 วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่ให้สิ่งที่ตนมีอยู่ หรือเป็นอยู่เสื่อมสิ้นไป ความอยากไม่มีดังที่ตนมีอยู่หรือไม่อยากเป็นดังที่ตนเป็นอยู่

44 ข้อปฏิบัติที่จัดว่าเป็นการอบรมกายกับวาจา เรียกว่าอะไร

(1) ศีล

(2) สมาธิ

(3) ปัญญา

(4) ทิฐิ

ตอบ 1 หน้า 86 – 89, (คําบรรยาย) มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ

1 ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศิล” ประกอบด้วย สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2 ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

3 ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา” ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ

45 คําสอนที่แสดงเหตุในอริยสัจ 4 คืออะไร

(1) ทุกข์และสมุทัย

(2) นิโรธและมรรค

(3) ทุกข์และนิโรธ

(4) สมุทัยและมรรค

ตอบ 4 หน้า 79 คําสอนของพระพุทธองค์ในอริยสัจ 4 แสดงเหตุและผลโดยลําดับ ดังนี้

1 แสดงเหตุ 2 ประการ ได้แก่ สมุทัย (แสดงเหตุแห่งทุกข์) และมรรค (แสดงเหตุคือ การปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

2 แสดงผล 2 ประการ ได้แก่ ทุกข์ (แสดงผลคือทุกข์) และนิโรธ (แสดงผลคือความดับทุกข์)

46 คําสอนที่แสดงผลในอริยสัจ 4 คืออะไร

(1) ทุกข์และสมุทัย

(2) นิโรธและมรรค

(3) ทุกข์และนิโรธ

(4) สมุทัยและมรรค

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 มรรค 8 คือวิถีปฏิบัติเพื่ออบรมสิ่งใดตามหลักอริยสัจ 4

(1) อบรมกายกับวาจา

(2) อบรมใจ

(3) อบรมความเห็น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ

48 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ด้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 4 หน้า 8, 251 – 255, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนี้ จะได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้แก่ เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซ่า (Spinoza), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke), เดวิด ฮูม (David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น

49 นักปรัชญาที่เรียกว่านักเหตุผลนิยมจะปฏิเสธวิธีแสวงหาความรู้วิธีใด

(1) คณิตศาสตร์

(2) พีชคณิต

(3) เรขาคณิต

(4) วิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 105 นักเหตุผลนิยมจะแสวงหาความรู้โดยวิธีนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อใด ๆ โดยอาศัยความจริงในฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาวจากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยที่ข้อสรุปต้องได้มาจากข้ออ้าง ถ้าหากข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และพีชคณิต ก็ใช้วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยนี้ในการแสวงหาความจริงโดยไม่อาศัยการพิสูจน์หรือยืนยันจากประสบการณ์ด้วย

50 “อัชญัตติกญาณ” (Intuition) เป็นวิธีมีความรู้แบบใด

(1) การพิสูจน์โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

(2) การพิสูจน์โดยอาศัยความรู้ติดตัวเป็นข้อมูล

(3) การหยั่งรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น

(4) การเปิดเผยของพระเจ้าให้มนุษย์รู้โดยตรง

ตอบ 3 หน้า 104 105, 115 – 116 ความรู้ที่แท้จริงในทัศนะของนักปรัชญาลัทธิเหตุผลนิยมที่สําคัญ เช่น เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซา (Spinoza) และไลบ์นิตซ์ (Leibnitz) คือ ความรู้ก่อนประสบการณ์ซึ่งเป็นความจริงที่แน่นอนตายตัวโดยไม่เปลี่ยนแปลง หรือความจริง ชนิดที่จําต้องเป็น (Necessary Truth) คือ ต้องจริงในทุกที่ทุกเวลา เป็นความจริงที่ไม่มีวัน ผิดพลาดได้ เป็นข้อความที่ต้องจริงตลอดไปโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ เป็นสิ่งที่รู้ได้โดยไม่ต้องมี ประสบการณ์มายืนยัน และจิตของมนุษย์ก็สามารถรู้ความจริงชนิดนี้ได้โดย “อัชญัตติกญาณ” (Intuition) คือ การหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจหรือด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผลหรือแสงสว่างแห่ง ปัญญาแบบทันทีทันใดโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ข้อความที่ว่า “สิ่งหนึ่งไม่อาจจะอยู่ในสถานที่สองแห่งในเวลาเดียวกันได้” “เส้นตรงที่ขนานกันจะไม่มีวันมาบรรจบกันได้” ฯลฯ

51 “นิรนัย” (Deduction) เป็นวิธีมีความรู้แบบใด

(1) การพิสูจน์โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

(2) การพิสูจน์โดยอาศัยความรู้ติดตัวเป็นข้อมูล

(3) การหยั่งรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น

(4) การเปิดเผยของพระเจ้าให้มนุษย์รู้โดยตรง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

52 “Necessary Truth” หมายถึงความรู้ประเภทใด

(1) ความรู้ที่ถูกต้องตลอดกาล

(2) ความรู้ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด

(3) ความรู้ที่มนุษย์สามารถหยังรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยหลักฐาน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

53 ความรู้เกี่ยวกับหลักการทั่วไปมีบ่อเกิดอย่างไร ในทัศนะของนักเหตุผลนิยม

(1) หยั่งรู้โดยตรงโดยสามัญสํานึก

(2) สรุปจากข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์

(3) สรุปจากข้อมูลที่มีก่อนประสบการณ์

(4) หยั่งรู้โดยตรงโดยแสงสว่างแห่งปัญญาแบบทันทีทันใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

54 วิธีแสวงหาความรู้ที่เดส์การ์ต (Descartes) ใช้เป็นแม่แบบในการพิสูจน์ความจริงของโลกและพระเจ้า คืออะไร

(1) คณิตศาสตร์

(2) พีชคณิต

(3) เรขาคณิต

(4) วิทยาศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 8, 107, (คําบรรยาย) เดส์การ์ต (Descartes) ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ โดยเขาเป็นผู้ที่ฟื้นฟูแนวคิดเหตุผลนิยมขึ้นมาอย่างจริงจังในศตวรรษที่ 17 และได้นําวิธีการของเรขาคณิตมาใช้ในความคิดทางปรัชญาด้วย

55 “Tabula Rasa” สัมพันธ์กับนักปรัชญาคนใด

(1) Descartes

(2) Locke

(3) Berkley

(4) Hume

ตอบ 2 หน้า 117, (คําบรรยาย) ล็อค (Locke) ถือว่า สภาพจิตของมนุษย์ในตอนเริ่มแรกนั้นมีแต่ความว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดและความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเรียกว่า “Tabula Rasa” ที่หมายถึง สมุดบันทึกที่ว่างเปล่าปราศจากข้อความใด ๆ ทั้งสิ้น

56 ส่วนใดของวัตถุที่ผัสสะของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ในทัศนะของ Locke (1) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(2) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(3) สารรองรับคุณสมบัติของวัตถุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 119 ล็อค เชื่อว่า สารเป็นสิ่งแท้จริงที่อยู่ภายในตัววัตถุ แต่มนุษย์ไม่อาจจะรู้จักสารได้เพราะไม่อาจเป็นประสบการณ์ของใคร จึงเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งต้องมีสาร เพราะสารเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความคิดเชิงเดี่ยว

57 ตามทัศนะของฮม “ความคิด” ในจิตมนุษย์หมายถึงอะไร

(1) ข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของจิต

(2) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์โดยทั่วไป

(3) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ที่ชัดเจนจึงชัดเจนเท่าประสบการณ์

(4) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ที่ชัดเจนแต่ลางเลือนแล้ว

ตอบ 4 หน้า 122 123 อูม เห็นว่า ความรู้ของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ความประทับใจ (Impression) ซึ่งเป็นการรับรู้ในผัสสะ กับความคิด (Idea) ซึ่งเป็นการรับรู้ในสิ่งที่เกิดจาก จินตนาการหรือความจํา เช่น เมื่อเอามือไปแตะน้ําแข็ง จะเกิดสัมผัสของความเย็น ผัสสะนี้ มีความแจ่มชัดในทันทีทันใด ซึ่งเรียกว่า “ความประทับใจ” พอเหตุการณ์นี้ผ่านไปแล้ว แต่เรายังจดจําภาพของความเย็นได้อย่างลาง ๆ นั้น เราเรียกว่า “ความคิด” หรือ “จิตภาพ”

58 ตามทัศนะของฮม “ความประทับใจ” (Impression) หมายถึงอะไร

(1) ข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของจิต

(2) ข้อมูลขณะมีประสบการณ์โดยทั่วไป

(3) ข้อมูลขณะมีประสบการณ์ที่ชัดเจน

(4) ภาพลางเลือนของประสบการณ์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

59 จอห์น ล็อค เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 2 หน้า 138 139 สัจนิยมแบบตัวแทน เห็นว่า วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนเป็นสสารที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ (ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก) และคุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้นที่มีอยู่อย่างแท้จริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมิ (สี กลิ่น รส อุณหภูมิ) ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัววัตถุเพราะมันเป็นสิ่งที่จิต ของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมา ดังนั้นจึงถือได้ว่าวัตถุก่อนการรับรู้กับหลังการรับรู้มีความแตกต่างกัน ที่คุณสมบัติทุติยภูมิ ซึ่งนักปรัชญาที่สําคัญของทฤษฎีนี้ คือ จอห์น ล็อค

60 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 4 หน้า 129, 131 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีทัศนะว่า วัตถุทั้งหลายหรือโลกภายนอกเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิตมนุษย์ โดยสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นหรือรู้นั้นก็คือความคิด ของจิตของเรานั่นเอง เพราะว่าสิ่งที่เรารู้หรือความรู้ของเรา ได้แก่ วัตถุและสิ่งทั้งหลายภายในโลกสิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือการรับรู้ด้วยจิตของมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมันจึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้

61 ข้อใดคือท่าทีของนักเหตุผลนิยมเกี่ยวกับประสบการณ์

(1) มนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้บางเรื่อง

(2) มนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้ทุกเรื่อง

(3) มนุษย์ไม่สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้เลย

(4) มนุษย์ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

ตอบ 1 หน้า 106 – 107, (คําบรรยาย) พวกเหตุผลนิยม เห็นว่า ความรู้ที่แท้จริงแน่นอนไม่อาจจะได้รับจากประสาทสัมผัส แต่ได้จากความคิดหรือเหตุผล แต่ยอมรับว่าประสบการณ์ทางผัสสะ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้ หรือเป็นสิ่งที่มาจุดประกายให้สติปัญญาเริ่มทํางานเท่านั้น ดังนั้นจึงถือได้ว่ามนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้ในบางเรื่องเท่านั้น

62 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับคานท์

(1) ประนีประนอมสุขนิยมกับอสุขนิยม

(2) ประนีประนอมเหตุผลนิยมกับประสบการณ์นิยม

(3) ประนีประนอมสสารนิยมกับจิตนิยม

(4) ประนีประนอมสัมพัทธ์นิยมกับสัมบูรณ์นิยม

ตอบ 2 หน้า 8 – 9, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 15 จนมาสิ้นสุดที่คานท์ (Kant) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเหตุผลนิยม และกลุ่มประสบการณ์นิยม(ประจักษนิยม) โดยคานท์เป็นผู้ประนีประนอมความคิด/ความเชื่อของทั้ง 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน

63 ข้อใดจัดเป็นทัศนะทางจริยศาสตร์

(1) จากการสํารวจพบว่าเด็กในวัยเรียนทําแท้งกันมากขึ้น

(2) บางคนเชื่อว่าการทําแท้งในขณะตั้งครรภ์ไม่ถึง 12 สัปดาห์ทําได้

(3) แพทย์ยืนยันว่าการทําแท้งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไม่เป็นอันตรายต่อหญิง

(4) การทําแท้งเป็นเรื่องผิดเพราะเป็นการฆ่าคน

ตอบ 4 หน้า 147, (คําบรรยาย) จริยศาสตร์ (Ethics) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติโดยจะศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มนุษย์ควรกระทํา ไม่ควรกระทํา สิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิด ความดี ความชั่ว และหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้พื้นฐานอันดีงามของจริยศาสตร์ก็คือ ศาสนาในขณะที่ศาสนาก็ต้องอาศัยจริยศาสตร์ เพราะจริยศาสตร์ทําให้ศาสนามีความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

64 นักสุขนิยมมีความคิดทางอภิปรัชญาแบบใด

(1) สสารนิยม

(2) จิตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม

(4) เทวนิยม

ตอบ 1 หน้า 155 นักสุขนิยม (Hedonism) มีความคิดทางอภิปรัชญาแบบสสารนิยม เช่น ลัทธิเอพิคิวรัง เป็นนักสุขนิยมที่มีทัศนะว่า ชีวิตเป็นเพียงสสาร เมื่อตายไปก็ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ดังนั้นถ้าเรายังมีชีวิตอยู่เราต้องแสวงหาความสุขและความพึงพอใจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

65 Socrates คิดว่าคุณธรรมจะเกิดกับคนชนิดใด

(1) คนที่มีความสุขทางกาย

(2) คนที่มีความสุขทางใจ

(3) คนที่เข้าใจความดี

(4) คนที่มีชีวิตอย่างสุนัข

ตอบ 3 หน้า 150 โซเครตีส (Socrates) กล่าวว่า “คุณธรรมคือความรู้” โดยความดี/ความมีคุณธรรมจะต้องเกิดจากความรู้ ถ้าบุคคลรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความดีจริง ๆ เขาก็จะไม่กระทําความชั่วหรือความผิด แต่เนื่องจากบุคคลไม่รู้ไม่เข้าใจจึงต้องกระทําความชั่ว

66 นักปรัชญาคนใดถือว่าศีลธรรมเป็นเรื่องของความถูกใจ

(1) โซฟิสต์

(2) เวสเตอร์มาร์ค

(3) มิลล์

(4) คานท์

ตอบ 1 หน้า 149 โซฟิสต์ (Sophist) ถือว่า การตัดสินสิ่งใดก็ตามขึ้นอยู่กับมนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ตัดสินความดี/ความชั่วก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ความถูกคือสิ่งที่จะพาไปสู่ความสําเร็จ ความผิด คือ สิ่งที่เป็นอุปสรรค ความยุติธรรม/ศีลธรรมเป็นเรื่องของความพอใจ/ถูกใจ ดังนั้นศีลธรรม/ความยุติธรรม/ความดีจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องแสวงหา และต้องเป็นสิ่งที่ได้รับเมื่อกระทําไปแล้ว

67 นักปรัชญาคนใดถือว่าศีลธรรมกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน

(1) โซฟิสต์

(2) เวสเตอร์มาร์ค

(3) มิลล์

(4) คานท์

ตอบ 3 หน้า 165, 168 มิลส์ (MILL) เป็นนักประโยชน์นิยมที่ถือว่าศีลธรรมกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกันความสุขของมหาชนเป็นสิ่งสําคัญที่สุด การละเมิดหลักศีลธรรม/ประเพณีหรือกฎหมายย่อม สามารถทําได้ถ้าเราคํานวณแล้วพบว่าการกระทํานั้นก่อให้เกิดประโยชน์สุขมากกว่า เช่น หมออาจโกหกคนไข้ได้ เพื่อไม่ให้คนไข้ตกใจจนหัวใจวายตาย ฯลฯ

68 นักปรัชญาคนใดถือว่าคนดีไม่จําเป็นต้องมีความสุข

(1) โซฟิสต์

(2) เวสเตอร์มาร์ค

(3) มิลล์

(4) คานท์

ตอบ 4 หน้า 169 คานท์ (Kant) เห็นว่าความสุขไม่ใช่สิ่งดีที่สุดในชีวิต ดังนั้นความสุขจะเป็นเครื่องมือในการตัดสินศีลธรรมไม่ได้ แต่ศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวมันเอง เช่นเดียวกันกับคนดีก็คือ คนทําสิ่งที่ดีโดยไม่หวังผลตอบแทน และคนดีก็ไม่จําเป็นต้องมีความสุขหรือต้องสุขสบายหรือทําให้ผู้อื่นมีความสุข

69 “การทําแท้งเป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้ ถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด” คําพูดนี้แสดงให้เห็นความคิดเกี่ยวกับความดีอย่างไร

(1) ความดี เป็นคุณค่าที่แน่นอนตายตัว

(2) ความดี ขึ้นกับความเห็นของสังคม

(3) ความดี เป็นคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงได้

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การตัดสินคุณค่าตามจารีตประเพณี ถือว่า การตัดสินคุณค่าของการกระทําใดของแต่ละสังคมจะขึ้นอยู่กับจารีตประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมที่สั่งสมมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งคุณค่าความดีของสังคมหนึ่งอาจไม่ใช่คุณค่าความดีของอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ดังนั้นคุณค่าตามความเห็นของสังคมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสังคมและกาลเวลา

70 ทัศนะทางจริยศาสตร์สัมพันธ์กับทัศนะเรื่องใดของนักปรัชญา

(1) ศาสนา

(2) ประเพณี

(3) อภิปรัชญา

(4) ญาณวิทยา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

71 อาจารย์ที่เข้าสอนและเลิกตรงเวลาเป็นคนมีหลักธรรมใด

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(3) สัจจะ

(4) อิทธิบาท 4

ตอบ 3 หน้า 194 195 สัจจะ หมายถึง ความจริงใจซึ่งเป็นลักษณะของความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาทั้งต่อบุคคล ต่อกาลเวลา และต่อหน้าที่การงาน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

72 ใครมีหลักธรรม “ขันติ”

(1) ยุทธ์ อดตาหลับขับตานอน เพื่อทํารายงานที่สมบูรณ์ส่งอาจารย์

(2) กบ ยอมรับการฉีดยาและให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาลเป็นอย่างดี

(3) จ๋า สามารถรับมือกับวาจาและท่าทีของโบว์ด้วยความสงบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 189 – 191 ขันติ หมายถึง ความอดทนซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจสามารถทนทานต่อเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ และสามารถบังคับกายกับวาจาให้อยู่ในอํานาจได้ด้วย เช่น ความอดทนต่อความทุกข์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข, ความอดทนต่อความลําบากเพื่อให้ได้มาซึ่งความสบาย, ความอดทนต่อสิ่งที่กวนใจเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นคนดี เป็นต้น

73 ใครมีหลักธรรม “สัจจะ”

(1) ครูปานจริงจังกับการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าภาควิชาปรัชญา

(2) ครูศรีเข้าสอนและเลิกสอนตรงเวลาเสมอ

(3) ครูพิศจริงใจกับเพื่อนเสมอ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

74 “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

(2) ความเป็นผู้รู้จักผล

(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

(4) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล

ตอบ 3 หน้า 198 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักกําหนดคาดคะเนได้อย่างเหมาะสมพอเหมาะพอควรและพอดีในทุกเรื่อง ซึ่งผู้ที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า“เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” หมายถึง เสียงดังมาก (ดังเกินไป ไม่พอดี)

75 “ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

(2) ความเป็นผู้รู้จักผล

(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

(4) ความเป็นผู้รู้จักตน

ตอบ 4 หน้า 197 198 ความเป็นผู้รู้จักตน หมายถึง ความพิจารณาตนเองให้เข้าใจว่าตนเป็นจุดกําเนิดของทุกข์ สุข ความเสื่อม และความเจริญ ซึ่งการรู้จักตนเองนั้นต้องรู้ถึงชาติตระกูล วัย ฐานะ ตําแหน่ง สมบัติ บริวาร หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเอง

76 “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล

(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล

(4) ความเป็นผู้รู้จักผล

ตอบ 2 หน้า 199 200 ความเป็นผู้รู้จักชุมชน หมายถึง การรู้จักปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคมหรือชุมชนต่าง ๆ และวางตนให้เหมาะสมกับสังคมนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะสอดคล้องกับ สุภาษิตที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ส่วนคนที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” หรือ “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง”

77 “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล

(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล

(4) ความเป็นผู้รู้จักผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 สิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคืออะไรในทัศนะของ Aristotle

(1) ความร่ำรวย

(2) ความปลอดภัย

(3) ความยุติธรรม

(4) การพัฒนาตนให้สมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 248 249 อริสโตเติล เห็นว่า สังคมและรัฐที่ดี คือสังคมและรัฐที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

1 ช่วยพัฒนาชีวิตให้มีเหตุผล คือ ชีวิตที่สามารถ ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมมีคุณธรรมทางศีลธรรม

2 ช่วยพัฒนาให้ใช้ชีวิต ที่ตริตรองถึงสัจจะได้ คือ การใช้ชีวิตเพื่อแสวงหาสัจจะหรือที่เรียกว่า คุณธรรมทางปัญญาดังนั้นสิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคือการพัฒนาตนให้สมบูรณ์

79 สิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคืออะไรในทัศนะของเพลโต

(1) ความร่ำรวย

(2) ความปลอดภัย

(3) ความยุติธรรม

(4) การพัฒนาตนให้สมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 247, 270 เพลโต เห็นว่า จิตของมนุษย์มี 3 ประเภท หากสังคมใดสามารถกําหนดให้มนุษย์สามารถทําหน้าที่ที่เหมาะสมกับจิตของตนเองแล้ว เมื่อนั้นความยุติธรรมก็จะปรากฏขึ้น ในสังคม และสังคมดังกล่าวย่อมเป็นสังคมที่ดีที่สุดสําหรับชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์ผู้จําเป็นต้องอยู่ในสังคม ดังนั้นสิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคือความยุติธรรม

80 คุณสมบัติที่สมาชิกของรัฐควรมีคืออะไรในทัศนะของรุสโซ

(1) ความจงรักภักดี

(2) การเชื่อฟัง

(3) การคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

(4) ความใสซื่อตามสัญชาตญาณ

ตอบ 3 หน้า 256 257 ในทัศนะของรุสโซนั้น อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนเพราะสังคมเกิดจากเจตจํานงร่วมของมนุษย์ ดังนั้นผู้ปกครองกับพลเมืองก็คือ คน ๆ เดียวกัน แต่มองคนละด้านเท่านั้น เมื่อสังคมเกิดเป็นองค์กรร่วมหรือเป็นเอกภาพ เจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของแต่ละคนต้องหมดไป เหลือแต่เจตจํานงทั่วไปอันเป็นเจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเท่านั้น

81 สังคมที่มีคุณค่าในทัศนะของ Godwin มีลักษณะอย่างไร

(1) มีแต่ความรักและความเข้าใจ

(2) ปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

(3) ไม่มีการขูดรีดกดขี่

(4) สามารถให้ความปลอดภัย

ตอบ 1 หน้า 260 ก้อดวิน (Godwin) นักคิดในกลุ่มอนาธิปไตย เห็นว่า สังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐและไร้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น และปล่อยให้แต่ละคนร่วมมือกันจากความรู้สึกเป็นเพื่อนจากความรักและจากความเข้าใจที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ

82 สังคมที่มีคุณค่าในทัศนะของมาร์กซ์ มีลักษณะอย่างไร

(1) มีแต่ความรักและความเข้าใจ

(2) ปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

(3) ไม่มีการขูดรีดกดขี่

(4) สามารถให้ความปลอดภัย

ตอบ 3 หน้า 259 สังคมในอุดมคติของมาร์กซ์ คือ สังคมที่ไม่มีชนชั้น ไม่มีการขูดรีดกดขี่ เพราะพื้นฐานการผลิตเป็นแบบคอมมูน กล่าวคือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หรือปัจจัย การผลิตเป็นของส่วนรวมเท่านั้น และรัฐเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นเลยสําหรับสังคม เพราะสมาชิกของสังคมสามารถปกครองดูแลตนเองและควบคุมความประพฤติของตนเองได้อย่างไร

83 โดยทั่วไปทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาของนักปรัชญา สัมพันธ์กับเรื่องใด

(1) ทัศนะทางอภิปรัชญา

(2) ทัศนะทางญาณวิทยา

(3) ทัศนะทางศาสนา

(4) ทัศนะทางด้านรัฐ

ตอบ 1, 2 หน้า 266 เป้าหมายของการศึกษาหรือผลที่พึงประสงค์ของการศึกษา คือ การพยายามตอบคําถามที่ว่า เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรเป็นอย่างไร และมีความเหมาะสม หรือไม่ โดยคําตอบของคําถามเหล่านี้จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทัศนะความเชื่อของนักปรัชญาทางด้านอภิปรัชญาและญาณวิทยาเป็นอย่างมาก

84 ทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาของเพลโต สัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ทัศนะทางอภิปรัชญา

(2) ทัศนะทางญาณวิทยา

(3) ทัศนะทางศาสนา

(4) ทัศนะทางด้านรัฐ

ตอบ 4 หน้า 269 เพลโตเป็นคนแรกที่กล่าวถึงทฤษฎีการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเขาเห็นว่าการศึกษาเป็นวิธีที่จะนําไปสู่ความยุติธรรม คือการที่รัฐสามารถจัดให้คนในรัฐได้ทําหน้าที่ตาม ความเหมาะสมกับความสามารถของตนเอง ดังนั้นเป้าหมายการศึกษาของเพลโตจึงสอดคล้องและสัมพันธ์กับทัศนะทางการเมืองหรือทัศนะทางด้านรัฐมากที่สุด

85 ทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาของ St. Augustine สัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ทัศนะทางอภิปรัชญา

(2) ทัศนะทางญาณวิทยา

(3) ทัศนะทางศาสนา

(4) ทัศนะทางด้านรัฐ

ตอบ 3 หน้า 272, 283 เป้าหมายการศึกษาของเซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) จะสัมพันธ์กับทัศนะทางศาสนามากที่สุด กล่าวคือ เขาเห็นว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาก็คือ การกลับใจ (Conversion) ไปรักพระเจ้า และการสํานึกในบาป (Repentance) ของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทําให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริงได้

86 นักปรัชญาคนใดที่ยึดหลักการว่า เป้าหมายของการศึกษาคือคุณธรรม

(1) นักปรัชญายุคก่อนโซฟิสต์

(2) ยุคโซฟิสต์

(3) โซเครตีส

(4) ยุคหลังอริสโตเติล

ตอบ 3 หน้า 268 269 โซ.ครตีส (Socrates) มีทัศนะว่า การศึกษามิใช่กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์และความสําเร็จเฉพาะตนเท่านั้น แต่การศึกษาต้องมี จุดมุ่งหมายเพื่อการค้นพบสัจธรรมหรือความจริงเกี่ยวกับคุณธรรม โดยวิธีการศึกษาที่จะนําไปสู่การค้นพบดังกล่าวได้ก็คือ การสนทนาถกเถียง และการซักถาม

87 ข้อใดเป็นวิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกตามแนวคิดของรุสโซ

(1) การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง

(2) การใช้การสนทนาถกเถียงเพื่อขจัดความสับสนทางความคิด

(3) การมีศรัทธาอย่างสุดจิตใจ

(4) การใช้เหตุผลพิสูจน์ความศรัทธา

ตอบ 1 หน้า 275 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาในชั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กเล็ก ๆ คือ การเปิดโอกาสให้เด็กๆได้มีประสบการณ์เป็นของตัวเอง หรือเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นหนังสืออย่างเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นถึงประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองของโรบินสัน ครูโซ

88 ข้อใดเป็นวิธีการศึกษา ในระดับก้าวหน้าของ St. Augustine

(1) การใช้ประสบการณ์ตรงทําความรู้จักสิ่งแวดล้อม

(2) การใช้การสนทนาถกเถียงเพื่อขจัดความสับสนทางความคิด

(3) การมีศรัทธาอย่างสุดจิตใจ

(4) การใช้เหตุผลพิสูจน์ความศรัทธา

ตอบ 4 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก ๆ

2 ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสําคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาที่มีลักษณะของใช้เหตุผลและการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง

89 ข้อใดคือหลักการจัดการศึกษาของเพลโต

(1) จัดให้ลูกคนมีฐานะเท่านั้น

(2) จัดให้เฉพาะลูกผู้ดีมีตระกูล

(3) จัดให้กับลูกกรรมกรเท่านั้น

(4) จัดให้กับคนทุกคนอย่างทั่วถึง

ตอบ 4 หน้า 270, (คําบรรยาย) เพลโต (Plato) เห็นว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมด้วยการปฏิรูปคนและการปฏิรูปรัฐ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาแบบทั่วถึง กล่าวคือ เป็นการศึกษาที่สามารถให้กับทุกคนในสังคมและเป็นการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ เด็กทุกคนมีโอกาสศึกษาเพื่อทดสอบความสามารถของตนเอง ก่อนที่เขาจะไปปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสมของตนให้กับรัฐและสังคม

90 คนที่เป็นผู้ปกครองควรเรียนวิชาใดจนสําเร็จ ในทัศนะของเพลโต

(1) วิชาเศรษฐศาสตร์

(2) วิชาทหาร

(3) วิชาพลศึกษา

(4) วิชาอภิปรัชญา

ตอบ 4 หน้า 246, 270 บุคคลที่เหมาะสมที่สุดและดีที่สุดสําหรับการเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโตคือ ราชาปราชญ์ ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ควรจะเรียนวิชาอภิปรัชญาจนสําเร็จ

91 กฎหมายจํากัดความเร็วของรถ เป็นไปตามหลักการใดมากที่สุด

(1) หลักการป้องกันทางศีลธรรม

(2) หลักการป้องกันเหตุร้าย

(3) หลักการป้องกันผลกระทบต่อบุคคลอื่น ๆ

(4) หลักการบังคับให้คนสนับสนุนโครงการสาธารณประโยชน์

ตอบ 2 หน้า 325 – 326 หลักการควบคุมการใช้เสรีภาพของบุคคลเพื่อป้องกันเหตุร้ายต่อตัวเองเห็นว่า รัฐมีหน้าที่ต้องเข้าไปควบคุมเสรีภาพของบุคคล เพื่อป้องกันมิให้บุคคลกระทําในสิ่งที่ อาจเกิดผลร้ายต่อตนเอง เช่น รัฐต้องออกกฎหมายปราบปรามยาเสพติด รัฐต้องออกกฎหมายควบคุมการซื้อและจําหน่ายยา รัฐต้องออกกฎหมายกําจัดความเร็วของรถยนต์ เป็นต้น

92 ข้อใดคือแนวคิดของ “Anarchism” ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมีเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตนที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 1 หน้า 320 ลัทธิอนาธิปไตย (Anarchism) สนับสนุนการใช้เสรีภาพอย่างไม่ถูกจํากัดของบุคคลในสังคม โดยลัทธินี้เห็นว่า รัฐควรมอบเสรีภาพที่สมบูรณ์แก่พลเมืองของตน และไม่ควรเข้าไปยุ่งหรือบังคับให้พลเมืองกระทําสิ่งใด ๆ ที่ขัดต่อเสรีภาพที่มีอยู่

93 ข้อใดคือแนวคิดของมิลล์ ในเรื่องเสรีภาพ

(1) เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต

(2) ไม่ควรมีเสรีภาพแต่อย่างใด

(3) ไม่ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตนที่ไม่มีผลกระทบคนอื่น ๆ

(4) ควรจํากัดเสรีภาพกิจกรรมส่วนตน เช่น ความประพฤติทางเพศด้วย

ตอบ 3 หน้า 319 – 321 มิลล์ สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ และไม่ควรจํากัดเสรีภาพของบุคคลที่กระทําในสิ่งที่ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อบุคคลอื่น เนื่องจากเสรีภาพมีบทบาทสําคัญสําหรับการพัฒนาปัญญาและบุคลิกภาพของบุคคล

94 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด มีความเห็นแตกต่างจากหลักการอื่น ๆ ในเรื่องมนุษย์

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 1 หน้า 332 – 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์มีความเห็นที่แตกต่างจากหลักการอื่น ๆ เพราะการแบ่งปันผลประโยชน์ประเภทนี้จะแบ่งให้กับมนุษย์ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ อายุ เพศ ความมานะพยายาม หรือความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น

95 คนอ่อนแอและคนพิการจะไม่ได้รับความยุติธรรม ถ้าใช้หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด

(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามส่วนของแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความมานะพยายาม

ตอบ 4 หน้า 337 – 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความมานะพยายาม เห็นว่า การแบ่งปันผลประโยชน์จะมากหรือน้อยต้องขึ้นอยู่กับความมานะพยายาม โดยผู้ที่มีความขยันขันแข็ง ในการทํางานจะต้องได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์มากกว่าคนขี้เกียจ ซึ่งข้อบกพร่องของหลักการนี้ก็คือ ไม่ยุติธรรมกับคนที่อ่อนแอและพิการ

96 “ห้ามรถยนต์ใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถพยาบาล” เป็นกฎที่บังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อทุกคน การบังคับใช้กฎดังกล่าวมีความยุติธรรมอย่างไร

(1) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม

(2) เนื้อหาของกฎหมายไม่ยุติธรรม และบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

(3) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม และบังคับใช้อย่างยุติธรรม

(4) เนื้อหาของกฎหมายยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม

ตอบ 3 หน้า 330 331 โดยทั่วไปกฎหมายต้องมีข้อความที่ระบุถึงกลุ่มคนที่กฎหมายนั้นต้องใช้บังคับและระบุถึงกลุ่มคนที่ได้รับข้อยกเว้นจากกฎหมายนั้น เช่น กฎหมายห้ามรถยนต์ใช้ความ เกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัย ยกเว้นรถพยาบาล ซึ่งการยกเว้นดังกล่าวถือว่ามี ยุติธรรม ทั้งนี้เพราะรถพยาบาลมีความแตกต่างจากรถโดยทั่วไปที่จําเป็นต้องเร่งรีบนําคนหรือผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล

97 ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ มุ่งศึกษาปัญหาใด

(1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

(3) ความเป็นปรนัยของวิชาประวัติศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 287 – 289 ปรัชญาประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ หมายถึง ปรัชญาประวัติศาสตร์ที่สืบค้นถึงความหมายและแบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งปัญหาของปรัชญา เชิงวิเคราะห์นี้ แบ่งออกเป็น

1 แบบแผนของอดีต

2 ความหมายของประวัติศาสตร์

3 ความจําเป็นของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

98 ประวัติศาสตร์เชิงวิจารณ์ มุ่งศึกษาปัญหาใด

(1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

(3) ความเป็นปรนัยของวิชาประวัติศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 287, 299 ปรัชญาประวัติศาสตร์เชิงวิจารณ์ หมายถึง ปรัชญาประวัติศาสตร์ที่สืบค้นถึงวิธีการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์เพื่อตัดสินประเภทวิชาของประวัติศาสตร์ว่าสามารถเป็น วิชาประเภทเดียวกับวิทยาศาสตร์หรือไม่ ซึ่งปัญหาของปรัชญาเชิงวิจารณ์นี้ แบ่งออกได้เป็น

1 ปัญหาเรื่องการอธิบายทางประวัติศาสตร์

2 ปัญหาเรื่องปัจเจกบุคคลของประวัติศาสตร์

3 ปัญหาเรื่องความเป็นปรนัยของประวัติศาสตร์

99 การเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมเป็นผลของสาเหตุใดในทัศนะของมาร์กซ์

(1) ผลของการเปลี่ยนแปลงประเพณี

(2) ผลของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

(3) ผลของการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต

(4) ผลของการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ

ตอบ 3 หน้า 293 296 มาร์กซ์ เชื่อว่า สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอันเป็นการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมนั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต โดยยุคเริ่มต้นการผลิตของมนุษย์จะเป็นแบบทาส และพัฒนาเรื่อยมาจนไปสู่จุดหมายการผลิตแบบสังคมคอมมิวนิสต์ที่ปราศจากชนชั้นและไม่มีการขูดรีด

100 “การสร้างประวัติศาสตร์” ของน้าประวัติศาสตร์มีความหมายอย่างไร

(1) นักประวัติศาสตร์เป็นผู้แต่งเรื่องราวจากความจริงบางส่วนของเหตุการณ์ (2) นักประวัติศาสตร์เลือกเฉพาะสิ่งที่ตนเห็นว่าสําคัญมาบันทึกเป็นประวัติศาสตร์

(3) นักประวัติศาสตร์มักจะเป็นวีรบุรุษที่เป็นผู้นําให้เกิดเหตุการณ์สําคัญ

(4) นักประวัติศาสตร์เป็นคนรื้อฟื้นอดีตที่ถูกลืมแล้ว

ตอบ 2 หน้า 307 308 การสร้างประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาสตร์ มิได้มีความหมายเพียงแค่การบรรยายหรือบันทึกสิ่งที่เขารู้ทั้งหมดเท่านั้น แต่เขาจะต้องเลือกเฉพาะสิ่งสําคัญที่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ที่ศึกษามาบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ

 

PHI1003 ปรัชญาเบื้องต้น 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดคือท่าทีของ “ปรัชญา” ตามความหมายในวิชา PHI 1003

(1) การศึกษาเรื่องความรู้อันประเสริฐ

(2) การสงสัยและหาคําตอบ

(3) การหาหลักการให้กับองค์กร

(4) การศึกษาเพื่อการพ้นทุกข์

ตอบ 2 หน้า 1 ปรัชญาเป็นเรื่องราวของการใช้ปัญญาเพื่อไตร่ตรองในสิ่งที่ตนยังสงสัยหรือคิดว่าเป็นปัญหาอยู่ และเป็นการพยายามใช้ปัญญาไตร่ตรองถึงคําตอบที่เป็นไปได้สําหรับปัญหา ที่ตนยังติดใจสงสัย ดังนั้นปรัชญาจึงเป็นเรื่องของผู้ใช้ปัญญา หรือผู้มีความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้ ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญา

2 สิ่งที่ “ปรัชญา” ไม่สามารถช่วยได้คือข้อใด

(1) ความสามารถคิดอย่างมีเหตุผล

(2) การมีทัศนะกว้างขึ้น

(3) การมีใจกว้างขึ้น

(4) การหางานทําได้ง่ายขึ้น

ตอบ 4 หน้า 1 – 2, (คําบรรยาย) ปรัชญาเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์สามารถคิดอย่างมีเหตุผล ไม่ยอมรับสิ่งใดโดยง่ายดาย แต่ก็มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงทําให้มีทัศนะกว้างขวางขึ้นและพยายามแสวงหาคําตอบสําหรับปัญหาของตนตลอดเวลา แต่ไม่ได้ทําให้หางานได้ง่ายขึ้น

3 ข้อใดสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) เทพประจําธรรมชาติ – ปฐมธาตุ

(2) เทพประจําธรรมชาติ – ระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

(3) ปฐมธาตุ – ความไร้ระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

(4) ปฐบธาตุ – ระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ตอบ 2 หน้า 2 ปรัชญายุคดึกดําบรรพ์ เชื่อว่า จักรวาลหรือเอกภพมีกฎเกณฑ์ที่ไม่แน่นอนตายตัวดังนั้นปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลายจึงเกิดขึ้นตามน้ำพระทัยของเทพเจ้า หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เทพเจ้าเป็นผู้กําหนดระเบียบของปรากฏการณ์ธรรมชาตินั่นเอง

4 ข้อใดสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) โซฟิสต์ – ความรู้เชิงปรนัย

(2) โซเครตีส – ความรู้เชิงอัตนัย

(3) โซฟิสต์ ปัญญา

(4) โซเครตีส – ปัญญา

ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) โซเครตีส เพลโต และอริสโตเติล เชื่อว่า มนุษย์มีสมรรถภาพพอที่จะรู้ความเป็นจริงได้ (ความรู้เชิงปรนัย) ถ้ามนุษย์ใช้ปัญญาหรือเหตุผลที่เป็นสมรรถภาพเหนือผัสสะ ส่วนโซฟิสต์ เห็นว่า มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะรู้ว่าอะไรคือสารเบื้องต้นของธรรมชาติที่แท้จริงนักปรัชญาแต่ละคนจึงได้ตอบไปตามความเห็นของตนเท่านั้น

5 ทําไม “ปรัชญา” จึงเกี่ยวข้องกับมนุษย์

(1) เพราะมนุษย์มีปัญหา

(2) เพราะมนุษย์มีปัญญา

(3) เพราะมนุษย์มีปรัชญา

(4) เพราะมนุษย์รู้ปรัชญา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

6 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

(1) คําว่า “ปรัชญา” บัญญัติแทน “Philosophy” และมีความหมายตรงกัน

(2) คําว่า “ปรัชญา” บัญญัติแทน “Philosophy” แต่มีความหมายไม่ตรงกัน

(3) คําว่า “ปรัชญา” ไม่ได้บัญญัติแทน “Philosophy” แต่มีความหมายตรงกัน

(4) คําว่า “ปรัชญา” ไม่ได้บัญญัติแทน “Philosophy” จึงมีความหมายไม่ตรงกัน

ตอบ 1 หน้า 1 คําว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งใช้แปลคําว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นคําว่าปรัชญาจึงมีความหมายที่สอดคล้อง หรือเหมือนกันทุกประการกับ Philosophy ซึ่งหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนาจะเป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้น

7 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับคานท์

(1) ประนีประนอมเหตุผลนิยมกับประสบการณ์นิยม

(2) ประนีประนอมสุขนิยมกับอสุขนิยม

(3) ประนีประนอมสสารนิยมกับจิตนิยม

(4) ประนีประนอมสัมพัทธ์นิยมกับสัมบูรณ์นิยม

ตอบ 1 หน้า 8 – 9, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 15จนมาสิ้นสุดที่คานท์ (Kant) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเหตุผลนิยม และกลุ่มประสบการณ์นิยม(ประจักษนิยม) โดยคานท์เป็นผู้ประนีประนอมความคิด/ความเชื่อของทั้ง 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน

8 ข้อใดคือท่าทีของนักปรัชญาตะวันตกสมัยกลางต่อเพลโต

(1) ปรัชญาของเพลโตเป็นปฏิปักษ์กับคําสอนของศาสนาคริสต์

(2) ปรัชญาของเพลโตเข้ากันได้กับคําสอนของศาสนาคริสต์

(3) เพลโตเป็นศิษย์คนหนึ่งของพระเยซู

(4) เพลโตเป็นนักปรัชญาที่เชื่อเรื่องพระเจ้า

ตอบ 2 หน้า 28, (คําบรรยาย) ปรัชญาของเพลโตเป็นจิตนิยม ซึ่งถือว่า ค่าทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกของวัตถุและโลกของมนุษย์มีต้นตออยู่ที่อสสารด้วย เช่น ความดี ความงาม ความยุติธรรม หรือคุณธรรมที่มีอยู่ในโลก ดังนั้นจึงสอดคล้องกับทัศนะของนักปรัชญาตะวันตกสมัยกลางที่เห็นว่าคุณค่าต่าง ๆ ในโลกเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น มิใช่สิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นหรือตั้งขึ้นมา

9 ข้อใดคือท่าทีของนักเหตุผลนิยมเกี่ยวกับประสบการณ์

(1) มนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้บางเรื่อง

(2) มนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้ทุกเรื่อง

(3) มนุษย์ไม่สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้เลย

(4) มนุษย์ต้องอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูลสําหรับคิด

ตอบ 1 หน้า 106 107, (คําบรรยาย) พวกเหตุผลนิยม เห็นว่า ความรู้ที่แท้จริงแน่นอนไม่อาจจะได้รับจากประสาทสัมผัส แต่ได้จากความคิดหรือเหตุผล แต่ยอมรับว่าประสบการณ์ทางผัสสะ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้ หรือเป็นสิ่งที่มาจุดประกายให้สติปัญญาเริ่มทํางานเท่านั้น ดังนั้นจึงถือได้ว่ามนุษย์สามารถพึ่งพาประสบการณ์ได้ในบางเรื่องเท่านั้น

10 ที่ว่าสสารนิยมเป็น “เอกนิยม” (Monism) มีความหมายอย่างไร

(1) โลกเป็นปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้น

(2) โลกเป็นปรากฏการณ์ของสสารชนิดเดียว

(3) โลกมีเพียงโลกเดียว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 31 สสารนิยมเป็นเอกนิยม ถือว่าปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นความจริงประเภทเดียว และเป็นปรากฏการณ์ของสสารชนิดเดียว โดยสสารจะเป็นสิ่งที่ครองที่ คือ แผ่ไปในที่ว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่และเกิดขึ้นในที่ว่าง ถ้าวัตถุชิ้นหนึ่งครองที่อยู่ ณ ที่หนึ่งแล้ว วัตถุชิ้นอื่นจะครองที่นั้นในเวลาเดียวกันนั้นไม่ได้

11 ปัญหาเรื่องปฐมธาตุของนักปรัชญากรีกโบราณจัดเป็นปัญหาปรัชญาสาขาใด

(1) อภิปรัชญา

(2) ญาณวิทยา

(3) จริยศาสตร์

(4) ปรัชญาประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 17, 21 – 23 อภิปรัชญา เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง“ความเป็นจริงคืออะไร” โดยมุ่งที่จะสืบค้นไปถึงสิ่งที่จริงที่สุด ซึ่งอาจซ่อนอยู่เบื้องหลัง ปรากฏการณ์ของโลกที่ปรากฏต่อผัสสะของมนุษย์ หรือสิ่งที่อยู่ล่วงเลยขอบเขตของสสาร (อสสาร) ซึ่งแยกออกได้เป็น 3 ปัญหา คือ

1 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลก เช่น ปฐมธาตุหรือแก่นแท้ของจักรวาลคืออะไร

2 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของจิต เช่น จิตหรือวิญญาณของมนุษย์มีจริงหรือไม่

3 ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของพระเจ้า เช่น พระเจ้ามีอยู่และเกี่ยวข้องกับโลกอย่างไร

12 นักปรัชญากรีกโบราณคนใดที่สนใจปัญหาเรื่องจริยศาสตร์เป็นพิเศษ

(1) Thales

(2) Empedocles

(3) Sophists

(4) Epicurus

ตอบ 3 หน้า 7 – 8, 16, 149 – 153 ปัญหาทางจริยศาสตร์ หมายถึง ปัญหาทางปรัชญาที่เกี่ยวกับเรื่องความประพฤติและคุณค่าหรือสิ่งที่สูงสุดที่มนุษย์ควรแสวงหาในชีวิต รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับอุดมการณ์หรืออุดมคติของชีวิตและแนวทางที่มนุษย์พึงปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งนักปรัชญากรีกโบราณที่สนใจปัญหานี้เป็นพิเศษ คือ นักปรัชญากรีกโบราณสมัยรุ่งเรือง ได้แก่โซพิสต์ (Sophists), โซเครตีส (Socrates), เพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ฯลฯ

13 ใคร คือ นักปรัชญาตะวันตกยุคใหม่

(1) Plato

(2) St. Augustine

(3) John Locke

(4) Karl Marx

ตอบ 3 หน้า 8, 251 – 255, คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนี้ จะได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้แก่ เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซ่า (Spinoza), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke),เดวิด ฮูม (David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น

14 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้รับฉายาว่า สาวใช้ของศาสนา

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 3 หน้า 8, 249 ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง เป็นช่วงสมัยที่ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับนับถือกันทั่วไป ดังนั้นปรัชญาตะวันตกยุคกลางจึงได้รับฉายาว่า “สาวใช้ของศาสนา” เนื่องจากปรัชญา ถูกดึงไปเป็นเครื่องมือสําหรับอธิบายและส่งเสริมคําสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุมีผลยิ่งขึ้นถือเป็นการประนีประนอมระหว่างปรัชญากรีกกับคริสต์ศาสนา

15 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ได้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(1) ยุคดึกดําบรรพ์

(2) ยุคโบราณ

(3) ยุคกลาง

(4) ยุคใหม่

ตอบ 4 ดูค่าอธิบายข้อ 13 ประกอบ

16 ข้อใดจัดเป็นปัญหาอภิปรัชญา

(1) โลกเป็นปรากฏการณ์ของอะไร

(2) มนุษย์มีวิญญาณหรือไม่

(3) พระเจ้าเกี่ยวข้องกับโลกอย่างไร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

17 ในฐานะเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญา “จิตนิยม” (Idealism) มีความหมายอย่างไร

(1) คนชอบคิดถึงสิ่งเหนือจริง

(2) คนเชื่อว่าสสารเป็นจริงที่สุด

(3) คนเชื่อว่าอสสารจริงกว่าสสาร

(4) คนเชื่อว่าสสารเป็นสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 25 – 27 จิตนิยม เห็นว่า สสาร วัตถุ หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริงแต่ยังมีสิ่งที่จริงกว่าวัตถุและสสาร กล่าวคือ ยังมี “ของจริง” อีกอย่างหนึ่งที่จับต้องหรือ สัมผัสไม่ได้ มองเห็นไม่ได้ ไม่มีตัวตน (ไร้รูปร่าง) มีอยู่เป็นนิรันดรหรือมีสภาวะเป็นอมตะ (ไร้อายุขัย) และไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลา ซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial) สิ่งนั้นคือ “จิต” เช่น แบบ วิญญาณ และพระเจ้า ฯลฯ อันเป็นต้นกําเนิดหรือต้นแบบของวัตถุดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มองเห็นอยู่บนโลกนี้ จึงเป็นเพียงสภาพที่ปรากฏของสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น

18 ในฐานะเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญา “สสารนิยม” มีความหมายอย่างไร (1) คนชอบคิดถึงสิ่งเหนือจริง

(2) คนเชื่อว่าสสารเป็นจริงที่สุด

(3) คนเชื่อว่าอสสารจริงกว่าสสาร

(4) คนเชื่อว่าสสารเป็นสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่ง

ตอบ 2 หน้า 25, 31 – 32 ล้ทธิสสารนิยม เห็นว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง ซึ่งแนวความคิดทั่วไปของลัทธินี้ได้แก่

1 สสารนิยมเป็นเอกนิยม

2 สสารนิยมยอมรับทฤษฎีหน่วยย่อย

3 สสารนิยมยอมรับแนวความคิดเรื่องการทอนลง

4 สสารนิยมเห็นว่าค่าเป็นสิ่งสมมุติ

5 สสารนิยมถือว่าจักรวาลอยู่ในระบบจักรกล

19 ในฐานะเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญา “ธรรมชาตินิยม” มีความหมายอย่างไร

(1) คนชอบคิดถึงสิ่งเหนือจริง

(2) คนเชื่อว่าสสารเป็นจริงที่สุด

(3) คนเชื่อว่าอสสารจริงกว่าสสาร

(4) คนเชื่อว่าสสารเป็นสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่ง

ตอบ 4 หน้า 33 – 34 ธรรมชาตินิยม เห็นว่า สสารเป็นสิ่งธรรมชาติที่มีลักษณะ 2 ประการ คือ

1 เป็นสิ่งที่ดํารงอยู่ในระบบของอวกาศ

2 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับลงด้วยสาเหตุธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเห็นว่า สิ่งธรรมชาติมีความจรอยู่ในตัวมันเอง ไม่สามารถตัดทอนลงเป็นอะตอมได้

20 นักจิตนิยม มีความเห็นเกี่ยวกับโลกมนุษย์อย่างไร

(1) โลกเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

(2) โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตเป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังการตายที่ประเสริฐกว่า

(3) โลกเป็นมายา

(4) โลกมีแต่สิ่งชั่วร้าย

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักจิตนิยม เห็นว่า โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวสําหรับมนุษย์ที่ใช้เป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังความตายที่ประเสริฐกว่า ซึ่งเป็นโลกที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสหรือโลกของแบบที่แท้จริง

21 นักธรรมชาตินิยม มีความเห็นเกี่ยวกับโลกมนุษย์อย่างไร

(1) โลกเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

(2) โลกเป็นสถานที่ชั่วคราวที่มนุษย์ใช้ชีวิตเป็นทางผ่านไปสู่โลกหลังการตายที่ประเสริฐกว่า

(3) โลกเป็นมายา

(4) โลกมีแต่สิ่งชั่วร้าย

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พวกธรรมชาตินิยมหรือสัจนิยมนั้น มีทัศนะว่า โลกหรือวัตถุทั้งหลายมีความแท้จริงตามสภาพของมันโดยไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าจะมีมนุษย์รับรู้มันหรือไม่ และมีอยู่ก่อนที่จะมีผู้ใด มารับรู้มัน ดังนั้นโลกจึงเป็นสถานที่แห่งเดียวของมนุษย์

22 ก้อนหินและพืชต่างกันอย่างไร ในทัศนะของเพลโต

(1) มีองค์ประกอบต่างกัน

(2) มีปริมาณขององค์ประกอบต่างกัน

(3) มีปริมาณขององค์ประกอบและคุณภาพต่างกัน

(4) มีแบบต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 26 – 27 เพลโต อธิบายว่า โลกของแบบเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นสิ่งเที่ยงแท้ และเป็นต้นแบบของโลกแห่งประสาทสัมผัส เช่น ทอง ขมิ้น และดอกดาวเรือง แม้วัตถุทั้งสามมีความ ต่างกัน แต่ก็จําลองมาจากแบบเดียวกัน คือ “สีเหลือง” กล่าวโดยสรุปแล้ว วัตถุทุกชิ้นในโลกล้วนเป็นสิ่งที่จําลองมาจาก “แบบ” ทั้งสิ้น

23 ข้อใดมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) สสารนิยม – จักรกลนิยม

(2) จิตนิยม – จันตนิยม

(3) ธรรมชาตินิยม – นวนิยม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลัทธิอันตนิยมเป็นลัทธิที่สืบเนื่องมาจากปรัชญาจิตนียม ซึ่งเชื่อว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาลมีการเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ดับสลาย โดยมีจุดมุ่งหมายเหมือนกับมนุษย์และสัตว์ ส่วนลัทธินวนิยมเป็นสัทธิที่สืบเนื่องมาจากปรัชญาธรรมชาตินิยม ซึ่งเชื่อเรื่องกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาล (ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ)

24 ข้อใดมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

(1) สสารนิยม – เอกนิยม

(2) จิตนิยม – ทวินิยม

(3) ธรรมชาตินิยม – พหุนิยม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 34, (คําบรรยาย) สสารนิยมเป็นเอกนิยม เชื่อว่า ทุกสิ่งทอนลงได้เป็นปฐมธาตุประเภทเดียว ส่วนจิตนิยมเป็นทวินิยม เชื่อว่า สารเบื้องต้นมี 2 ประเภท คือ จิตและสสาร และธรรมชาตินิยมเป็นพหุนิยม เชื่อว่า ในจักรวาลมีสิ่งซึ่งเป็นจริงมากมายหลายสิ่ง แต่ละสิ่งเป็นจริงอยู่ในตัวมันเอง และไม่สามารถตัดทอนลงเป็นเพียงปรากฏการณ์ของอีกสิ่งหนึ่งได้

25 อสสารมีลักษณะอย่างไร

(1) มีรูปร่าง จับต้องได้ แต่ไร้อายุขัย

(2) มีรูปร่าง จับต้องได้ มีอายุขัย

(3) ไร้รูปร่าง จับต้องไม่ได้ แต่มีอายุขัย

(4) ไร้รูปร่าง จับต้องไม่ได้ ไร้อายุขัย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

26 ลัทธิจิตนิยม มีทัศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร

(1) ปัจจุบันเป็นผลของอดีต

(2) ปัจจุบันเป็นผลของอนาคต

(3) ปัจจุบันเป็นผลของการก้าวกระโดดของอดีต

(4) ปัจจุบันคือสิ่งใหม่ที่เกิดโดยบังเอิญ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิจิตนิยมมีความเชื่อในเรื่องของพระเจ้า หรือในเรื่องของอํานาจบุญและบาปดังนั้นจึงมีทัศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกว่า ปัจจุบันเป็นผลของอดีต นั่นคือ การกระทําใด ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต จะต้องส่งผลให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นในปัจจุบันหรือในอนาคตอย่างแน่นอน

27 ลัทธิธรรมชาตินิยม มีทัศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร

(1) ปัจจุบันเป็นผลของอดีต

(2) ปัจจุบันเป็นผลของอนาคต

(3) ปัจจุบันเป็นผลของการก้าวกระโดดของอดีต

(4) ปัจจุบันคือสิ่งใหม่ที่เกิดโดยบังเอิญ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลัทธิธรรมชาตินิยมมีทัศนะบางอย่างคล้ายกับลัทธิสสารนิยมเป็นอย่างมากตัวอย่างเช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงแบบ “ก้าวกระโดด” ที่เห็นว่า เป็นการเรียงตัวของหน่วย ย่อยในรูปแบบใหม่ ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรสูญ สามารถเข้าใจได้ และเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่ไปสู่จุดมุ่งหมายเร็วขึ้น

28 นักจิตนิยม มีทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกายของมนุษย์อย่างไร

(1) จิตคือกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(2) จิตไม่ใช่กาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

(3) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(4) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

ตอบ 2 หน้า 34 – 35 จิตนิยม เชื่อว่า วิถีชีวิตของแต่ละคนนั้น ย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิตแต่ละคน ร่างกายเป็นเพียงการตอบสนองต่อเจตจํานงของจิตเท่านั้น ดังนั้นจิตจึงมีธรรมชาติ ที่ต่างไปจากร่างกายและมีสภาวะเป็นนิรันดร์ ไม่สูญสลายไปตามร่างกาย ซึ่งตรงกับสุภาษิตที่ว่า“ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”

29 นักธรรมชาตินิยม มีทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกายของมนุษย์อย่างไร

(1) จิตคือกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(2) จิตไม่ใช่กาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

(3) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

(4) จิตเป็นคุณภาพของร่างกาย จิตไม่สูญสิ้นไปพร้อมกับร่างกาย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า ร่างกายเป็นผลิตผลเชิงวิวัฒนาการของการจัดระบบของสสารขั้นที่หนึ่ง ส่วนจิตจะถือกําเนิดจากร่างกายในอีกขั้นหนึ่ง ดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าจิตเป็นคุณภาพของร่างกาย ร่างกายตายจิตก็สูญสิ้น

30 คนที่ยอมทํางานหนักเพื่อแลกกับเงินเดือนที่สามารถช่วยให้ชีวิตสุขสบาย เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะ ของเพลโต

(1) มีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) มีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) มีจิตภาคตัณหาและน้ำใจเด่น

(4) มีจิตภาคเหตุผลเด่น

ตอบ 1 หน้า 35 – 36, 245 246 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งเป็น 3 ภาค คือ

1 ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทําทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมาสนองความสุขแบบโลก ๆ จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข

2 ภาคน้ำใจ คือ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยึดถือเกียรติและสัจจะเป็นสําคัญ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ

3 ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะโดยจะทุ่มเทชีวิตเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงาม และคุณธรรม

31 คนที่ยอมทิ้งความสุขสบายทางกาย มุ่งแสวงหาความเข้าใจเรื่องความจริง ความดี ความงาม เป็นคนมีจิต แบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) มีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) มีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) มีจิตภาคตัณหาและน้ำใจเด่น

(4) มีจิตภาคเหตุผลเด่น

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

32 คนที่สามารถหักห้ามใจไม่รับสินบนก้อนโตจากพ่อค้า ถึงแม้ว่าเงินนั้นจะทําให้ชีวิตของตนสบายขึ้น เป็นคนมีจิตใจแบบใดในทัศนะของเพลโต

(1) มีจิตภาคตัณหาเด่น

(2) มีจิตภาคน้ำใจเด่น

(3) มีจิตภาคตัณหาและน้ำใจเด่น

(4) มีจิตภาคเหตุผลเด่น

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

33 “ทุกขนิโรธ” มีความหมายอย่างไร ในอริยสัจ 4

(1) การโกรธเป็นทุกข์

(2) การดับความโกรธ คือการพ้นทุกข์

(3) การดับโดยไม่เหลือของความทุกข์

(4) การโกรธทําให้สภาวทุกข์เพิ่มขึ้น

ตอบ 3 หน้า 85 ตามหลักอริยสัจ 4 นั้น คําว่า “นิโรธ” หรือ “ทุกขนิโรธ” หมายถึง ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความดับได้อย่างเด็ดขาดด้วยการกระทําของผู้ปฏิบัติ ซึ่งจัดเป็นผลอันสูงสุดตามที่มุ่งหมายในทางพระพุทธศาสนา

34 ข้อใดจัดเป็น “สภาวทุกข์” ตามคําสอนของอริยสัจ 4

(1) ความแก่

(2) ความเศร้าใจจากความแก่

(3) ความพลัดพรากจากของรักเพราะความแก่

(4) ความคับแค้นใจเพราะความแก่

ตอบ 1 หน้า 82 สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์โดยสภาพหรือทุกข์ประจํา ได้แก่ ความเกิด ความแก่และความตาย (ส่วนทุกข์จรนั้น เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเพียงบางครั้งบางคราว เช่น ความเศร้าใจความระทมใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก เป็นต้น

35 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 สิ่งที่คนฉลาดควรกลัวเป็นอย่างยิ่ง คืออะไร

(1) การเกิด

(2) การแก่

(3) การตาย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 83 ตามคําสอนของอริยสัจ 4 นั้น ถือว่า ความเกิดเป็นประตูแห่งความทุกข์ทั้งปวงดังนั้นคนฉลาดจึงกลัวความเกิดไม่ใช่กลัวความตาย เพราะความเกิดนั้นเองเป็นเหตุให้ต้องตายถ้าไม่เกิดเสียอย่างเดียวก็ไม่ต้องตาย และไม่ต้องลําบากจนกว่าตัวเองจะแก่ตาย

36 คุณสมบัติที่อะตอมของนักปรัชญากรีกยุคโบราณไม่มี คือ คุณสมบัติข้อใด

(1) การหยุดนิ่ง

(2) การเคลื่อนไหว

(3) สี เสียง กลิ่น รส

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 57 – 58 ปรัชญากรีกยุคโบราณ ถือว่า ปรมาณู (อะตอม) เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ไม่แตกดับโดยทุก ๆ ปรมาณูจะมีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น จะไม่มีคุณสมบัติทุติยภูมิ (สี เสียง กลิ่น รส) แต่ละปรมาณูจะมีทั้งกัมมันตภาพและจลนภาพอยู่ในตัวเอง ไม่มีการหยุดนิ่ง หากมีแต่การเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา)

37 คุณสมบัติที่ปรมาณูของลัทธิไวเศษกะไม่มี คือ คุณสมบัติข้อใด

(1) การหยุดนิ่ง

(2) การเคลื่อนไหว

(3) สี เสียง กลิ่น รส

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 หน้า 57 – 58 ปรัชญาไวเศษกะ เชื่อว่า ปรมาณูมีทั้งคุณสมบัติปฐมภูมิ (รูปร่าง ขนาด น้ำหนัก)และคุณสมบัติทุติยภูมิ (สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ซึ่งแต่ละปรมาณูจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ แต่โดยธรรมชาติแล้วปรมาณูเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพและไร้จลนภาพ(เคลื่อนไหวไม่ได้ด้วยตัวเอง) จึงอยู่ในภาวะที่หยุดนิ่งตลอดเวลา

38 ลัทธิไวเศษกะมีความเชื่อในเรื่องความเที่ยงแท้ของปรมาณูอย่างไร

(1) ปรมาณูเที่ยงแท้ แต่คุณสมบัติของมันไม่เที่ยงแท้

(2) ปรมาณูเที่ยงแท้ และคุณสมบัติปฐมภูมิของมันก็เที่ยงแท้

(3) ปรมาณูเที่ยงแท้ และคุณสมบัติทุติยภูมิของมันก็เที่ยงแท้

(4) ปรมาณูเที่ยงแท้ และคุณสมบัติของมันก็เที่ยงแท้

ตอบ 4 หน้า 57 ปรัชญาลัทธิไวเศษกะนั้น นอกจากจะถือว่าปรมาณูแต่ละปรมาณูเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้และไม่แตกดับแล้ว ยังถือว่าคุณสมบัติของปรมาณูแต่ละอย่างก็เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้เช่นเดียวกัน

39 พุทธปรัชญาฝ่ายเถรวาทสนใจปัญหา “อภิปรัชญา” ในความหมายใด

(1) Metaphysics

(2) อตินทรีย์วิทยา

(3) ปรมัตถ์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 21, 79, (คําบรรยาย) ท่าทีของพุทธปรัชญาฝ่ายเถรวาทต่อปัญหาอภิปรัชญาจะสนใจปัญหาอภิปรัชญาในความหมาย “ปรมัตถ์” (ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่) เช่น อริยสัจ 4,ปฏิจจสมุปบาท, สามัญลักษณะ, กฎแห่งกรรม และนิพพาน ฯลฯ

40 บุคคลใดต่อไปนี้มีจิตภาคน้ำใจเด่นในทัศนะของเพลโต

(1) แจน มีงานทําสองแห่ง เธอใช้เงินทั้งหมดกับการ กิน ดื่ม เที่ยว ในวันหยุด (2) เจน ยับยั้งชั่งใจที่จะรักษาเกียรติของเธอไว้ โดยไม่ยอมเป็นภรรยาน้อยใคร

(3) แจ้น ใช้ชีวิตสมถะ เพื่อนําเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการเรียนชั้นปริญญาเอก ซึ่งเธอคงได้รับเงินเดือนมากพอที่จะสะดวกสบายไปตลอดชาติ (4) แจง ใช้ชีวิตสมถะ และพยายามไตร่ตรองเพื่อเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

41 จากคําตอบข้อ 40 บุคคลใดมีจิตภาคเหตุผลเด่นในทัศนะของเพลโต

(1) แจน

(2) เจน

(3) แจน

(4) แจง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

42 “แบบ” ของเพลโตกับ “พระเจ้า” ของศาสนาคริสต์ มีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

(1) เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถพูดคุยได้เหมือนกัน

(2) มีสถานภาพเป็นอสสารเหมือนกัน

(3) เป็นแหล่งกําเนิดของโลกเหมือนกัน

(4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

43 ตามข้อพิสูจน์ของทฤษฎีภววิทยา พระเจ้าต้องมีอยู่ในฐานะอะไร

(1) ผู้สร้างระเบียบให้กับโลก

(2) ผู้ที่โลกต้องพึ่งพา

(3) ผู้กํากับให้คนดีได้ผลดีตอบแทน

(4) ผู้ฝังความคิดความเข้าใจเรื่องพระเจ้าให้มนุษย์

ตอบ 4 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงมววิทยา ถือว่า พระเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์และเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจํากัดส่วนมนุษย์เป็นสิ่งสัมพัทธ์และเป็นสิ่งจํากัด ซึ่งการที่มนุษย์มีความคิดในเรื่องพระเจ้าได้นั้นเกิดจากพระเจ้าเป็นต้นเหตุให้มนุษย์คิดถึงสิ่งที่ไร้ขอบเขตนี้ขึ้นมาได้ ดังนั้นพระเจ้าจึงมีอยู่

44 ตามข้อพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าของทฤษฎีเชิงเอกภพ พระเจ้าต้องมีอยู่ในฐานะอะไร

(1) ผู้สร้างระเบียบให้กับโลก

(2) ผู้ที่โลกต้องพึ่งพา

(3) ผู้กํากับให้คนดีได้ผลดีตอบแทน

(4) ผู้ฝังความคิดความเข้าใจเรื่องพระเจ้าให้มนุษย์

ตอบ 2 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงเอกภพ ถือว่า โลกนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีอิสระ เป็นสิ่งสัมพัทธ์ เป็นสิ่งจํากัดและเป็นสิ่งที่เป็นผล ด้วยเหตุนี้จึงต้องพึ่งพาอาศัยพระเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอิสระ เป็นสิ่งสัมบูณ เป็นสิ่งที่ไม่จํากัด และเป็นสิ่งที่เป็นเหตุ เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่

45 เทวสิทธิ์” (Divine Right) หมายถึงอะไร

(1) การอ้างว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของชีวิตมนุษย์ทุกคน

(2) การอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อสนับสนุนอํานาจในการปกครอง

(3) การอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อการควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติ

(4) การอ้างอํานาจพระเจ้าในพิธีบูชาพระเจ้า

ตอบ 2 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการอ้างเทวสิทธิ์ (Divine Right) หมายถึง การที่ผู้ปกครองอ้างอํานาจของพระเจ้าเพื่อสนับสนุนอํานาจในการปกครองของตน โดยอ้างว่าตนเป็นสมมติเทพหรือเป็น เทพผู้ยิ่งใหญ่ที่เทพบดีคัดเลือกส่งมาปกครอง ถือตนว่าเป็นบุตรแห่งสวรรค์หรือเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพ จึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะปกครอง

46 “อัชญัตติกญาน” (Intuition) เป็นวิธีมีความรู้แบบใด

(1) การพิสูจน์โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

(2) การพิสูจน์โดยอาศัยความรู้ติดตัวเป็นข้อมูล

(3) การหยั่งรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น

(4) การเปิดเผยของพระเจ้าให้มนุษย์รู้โดยตรง

ตอบ 3 หน้า 104, 115 – 115 อัชญัตติกญาณ (Intuition) ตามทัศนะของพวกเหตุผลนิยมหมายถึง การหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจ หรือแสงสว่างแห่งเหตุผล/แสงสว่างแห่งปัญญา ส่วนพวก ประจักษนิยม หมายถึง การมีความรู้และเข้าใจโดยตรงในความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่สุดของประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส

47 “นิรนัย” (Deduction) เป็นวิธีมีความรู้แบบใด

(1) การพิสูจน์โดยอาศัยประสบการณ์เป็นข้อมูล

(2) การพิสูจน์โดยอาศัยความรู้ติดตัวเป็นข้อมูล

(3) การหยังรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น

(4) การเปิดเผยของพระเจ้าให้มนุษย์รู้โดยตรง

ตอบ 2 หน้า 105 106 วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อใด ๆโดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาว จากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยที่ข้อสรุปต้องได้มาจากข้ออ้าง ถ้าหากข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และพีชคณิตก็ใช้วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยนี้ในการแสวงหาความจริงโดยไม่อาศัยการพิสูจน์หรือยืนยันจากประสบการณ์ด้วย

48 “Necessary Truth” หมายถึงความรู้ประเภทใด

(1) ความรู้ที่ถูกต้องตลอดกาล

(2) ความรู้ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด

(3) ความรู้ที่มนุษย์สามารถหยั่งรู้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยหลักฐาน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 104 105, 115 – 116 นักปรัชญาเหตุผลนิยมที่สําคัญ เช่น เดส์การ์ต (Descartes) สิโนซา (Spinoza) เละไลบ์นิตซ์ (Leibnitz) เชื่อว่า ความรู้ก่อนประสบการณ์เป็นความจริงที่ จําต้องเป็น (Necessary Truth) คือ ต้องจริงในทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องมีสิ่งใดมายืนยัน และจิตของมนุษย์ก็สามารถรู้ความจริงชนิดนี้ได้โดยอัชญัตติกญาณ (หยั่งรู้ด้วยจิตใจหรือแสงสว่างด้วยปัญญาทันทีทันใด) เช่น ข้อความว่า “เส้นตรงที่ขนานกันจะไม่มีวันมาบรรจบกันได้” ฯลฯ

49 วิธีแสวงหาความรู้ที่เดส์การ์ต (Descartes) ใช้เป็นแม่แบบในการพิสูจน์ความจริงของโลกและพระเจ้า คืออะไร

(1) คณิตศาสตร์

(2) พีชคณิต

(3) เรขาคณิต

(4) วิทยาศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 8, 107, (คําบรรยาย) เดส์การ์ต (Descartes) ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ โดยเขาเป็นผู้ที่ฟื้นฟูแนวคิดเหตุผลนิยมขึ้นมาอย่างจริงจังในศตวรรษที่ 17 และได้นําวิธีการของเรขาคณิตมาใช้ในความคิดทางปรัชญาด้วย

50 นักปรัชญาที่เรียกว่านักเหตุผลนิยมจะปฏิเสธวิธีแสวงหาความรู้วิธีใด

(1) คณิตศาสตร์

(2) พีชคณิต

(3) เรขาคณิต

(4) วิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 105 นักเหตุผลนิยมจะแสวงหาความรู้โดยวิธีนิรนัย (ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ)

51 “Tabula Rasa” สัมพันธ์กับนักปรัชญาคนใด

(1) Descartes

(2) Locke

(3) Berkley

(4) Hume

ตอบ 2 หน้า 117, (คําบรรยาย) ล็อค (Locke) ถือว่า สภาพจิตของมนุษย์ในตอนเริ่มแรกนั้นมีแต่ความว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดและความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเรียกว่า “Tabula Rata” ที่หมายถึง สมุดบันทึกที่ว่างเปล่าปราศจากข้อความใด ๆ ทั้งสิ้น

52 ส่วนใดของวัตถุที่ผัสสะของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ในทัศนะของ Locke

(1) คุณสมบัติปฐมภูมิ

(2) คุณสมบัติทุติยภูมิ

(3) สารรองรับคุณสมบัติของวัตถุ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 119 ล็อค เชื่อว่า สารเป็นสิ่งแท้จริงที่อยู่ภายในตัววัตถุ แต่มนุษย์ไม่อาจจะรู้จักสารได้เพราะไม่อาจเป็นประสบการณ์ของใคร จึงเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งต้องมีสาร เพราะสารเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความคิดเชิงเดี่ยว

53 ตามทัศนะของชุม “ความคิด” ในจิตมนุษย์หมายถึงอะไร

(1) ข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของจิต

(2) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์โดยทั่วไป

(3) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ที่ชัดเจนจึงชัดเจนเท่าประสบการณ์

(4) ข้อมูลที่จิตรับรู้จากประสบการณ์ที่ชัดเจนแต่ลางเลือนแล้ว

ตอบ 4 หน้า 122 123 ฮูม เห็นว่า ความรู้ของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ความประทับใจ(Impression) ซึ่งเป็นการรับรู้ในผัสสะ กับความคิด (Idea) ซึ่งเป็นการรับรู้ในสิ่งที่เกิดจาก จินตนาการหรือความจํา เช่น เมื่อเอามือไปแตะน้ําแข็ง จะเกิดสัมผัสของความเย็น ผัสสะนี้มี ความแจ่มชัดในทันทีทันใด ซึ่งเรียกว่า “ความประทับใจ” พอเหตุการณ์นี้ผ่านไปแล้ว แต่เรายังจดจําภาพของความเย็นได้อย่างลาง ๆ นั้น เราเรียกว่า “ความคิด” หรือ “จิตภาพ”

54 ตามทัศนะของฮูม “ความประทับใจ” (Impression) หมายถึงอะไร

(1) ข้อมูลที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของจิต

(2) ข้อมูลขณะมีประสบการณ์โดยทั่วไป

(3) ข้อมูลขณะมีประสบการณ์ที่ชัดเจน

(4) ภาพลางเลือนของประสบการณ์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

55 จอห์น ล็อค เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 2 หน้า 138 139 สัจนิยมแบบตัวแทน เห็นว่า วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนเป็นสสารที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ (ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก) และคุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้นที่มีอยู่อย่างแท้จริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมิ (สี กลิ่น รส อุณหภูมิ) นั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัววัตถุเพราะมันเป็นสิ่งที่ จิตของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมา ดังนั้นจึงถือได้ว่าวัตถุก่อนการรับรู้กับหลังการรับรู้มีความต่างกันที่คุณสมบัติทุติยภูมิ ซึ่งนักปรัชญาที่สําคัญของทฤษฎีนี้ คือ จอห์น ล็อค

56 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด

(1) สัจนิยมโดยตรง

(2) สัจนิยมแบบตัวแทน

(3) สัจนิยมวิจารณ์

(4) จิตนิยมแบบอัตนัย

ตอบ 4 หน้า 129, 131 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีทัศนะว่า วัตถุทั้งหลายหรือโลกภายนอกเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิตมนุษย์ โดยสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นหรือรู้นั้นก็คือความคิด ของจิตของเรานั่นเอง เพราะว่าสิ่งที่เรารู้หรือความรู้ของเรา ได้แก่ วัตถุและสิ่งทั้งหลายภายในโลก สิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือการรับรู้ด้วยจิตของมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมันจึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้

57 ข้อใดจัดเป็นทัศนะทางจริยศาสตร์

(1) จากการสํารวจพบว่าเด็กในวัยเรียนทําแท้งกันมากขึ้น

(2) บางคนเชื่อว่าการทําแท้งในขณะตั้งครรภ์ไม่ถึง 12 สัปดาห์ทําได้

(3) แพทย์ยืนยันว่าการทําแท้งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไม่เป็นอันตรายต่อหญิง

(4) การทําแท้งเป็นเรื่องผิดเพราะเป็นการฆ่าคน

ตอบ 4 หน้า 147, (คําบรรยาย) จริยศาสตร์ (Ethics) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติโดยจะศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มนุษย์ควรกระทํา ไม่ควรกระทํา สิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิด ความดี ความชั่ว และหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้พื้นฐานอันดีงามของจริยศาสตร์ ก็คือ ศาสนาในขณะที่ศาสนาก็ต้องอาศัยจริยศาสตร์ เพราะจริยศาสตร์ทําให้ศาสนามีความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

58 Socrates คิดว่าคุณธรรมจะเกิดกับคนชนิดใด

(1) คนที่มีความสุขทางกาย

(2) คนที่มีความสุขทางใจ

(3) คนที่เข้าใจความดี

(4) คนที่มีชีวิตอย่างสุนัข

ตอบ 3 หน้า 150 โซเครตีส (Socrates) กล่าวว่า “คุณธรรมคือความรู้” โดยความดี/ความมีคุณธรรมจะต้องเกิดจากความรู้ ถ้าบุคคลรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความดีจริง ๆ เขาก็จะไม่กระทําความชั่วหรือความผิด แต่เนื่องจากบุคคลไม่รู้/ไม่เข้าใจจึงต้องกระทําชั่ว

59 นักปรัชญาคนใดถือว่าศีลธรรมเป็นเรื่องของความถูกใจ

(1) โซฟิสต์

(2) เวสเตอร์มาร์ค

(3) มิลล์

(4) คานท์

ตอบ 1 หน้า 149 โซฟิสต์ (Sophist) ถือว่า การตัดสินสิ่งใดก็ตามขึ้นอยู่กับมนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ตัดสินความดี/ความชั่วก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ความถูกคือสิ่งที่จะพาไปสู่ความสําเร็จ ความผิด คือ สิ่งที่เป็นอุปสรรค ความยุติธรรม/ศีลธรรมเป็นเรื่องของความพอใจ/ถูกใจ ดังนั้นศีลธรรม/ความยุติธรรม/ความดีจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องแสวงหา และต้องเป็นสิ่งที่ได้รับเมื่อกระทําไปแล้ว

60 นักปรัชญาคนใดถือว่าศีลธรรมกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน

(1) โซฟิสต์

(2) เวสเตอร์มาร์ค

(3) มิลล์

(4) คานท์

ตอบ 3 หน้า 165, 168 มิลล์ (Mitt) เป็นนักประโยชน์นิยมที่ถือว่าศีลธรรมกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกันความสุขของมหาชนเป็นสิ่งสําคัญที่สุด การละเมิดหลักศีลธรรม/ประเพณีหรือกฎหมายย่อม สามารถทําได้ถ้าเราคํานวณแล้วพบว่าการกระทํานั้นก่อให้เกิดประโยชน์สุขมากกว่า เช่น หมออาจโกหกคนไข้ได้ เพื่อไม่ให้คนไข้ตกใจจนหัวใจวายตาย ฯลฯ

61 นักปรัชญาคนใดถือว่าคนดีไม่จําเป็นต้องมีความสุข

(1) โซฟิสต์

(2) เวสเตอร์มาร์ค

(3) มิลล์

(4) คานท์

ตอบ 4 หน้า 169 คานท์ (Kant) เห็นว่าความสุขไม่ใช่สิ่งดีที่สุดในชีวิต ดังนั้นความสุขจะเป็นเครื่องมือในการตัดสินศีลธรรมไม่ได้ แต่ศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวมันเอง เช่นเดียวกันกับคนดีก็คือคนทําสิ่งที่ดีโดยไม่หวังผลตอบแทน และคนดีก็ไม่จําเป็นต้องสุขสบายหรือทําให้ผู้อื่นมีความสุข

62 “ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน” เป็นสุภาษิตเตือนใจที่เข้ากับหลักธรรมข้อใด

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) อิทธิบาท 4

ตอบ 1 หน้า 189 – 191 ขันติ หมายถึง ความอดทนซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจสามารถทนทานต่อเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ และสามารถบังคับกายกับวาจาให้อยู่ในอํานาจได้ด้วย เช่น ความอดทนต่อความทุกข์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข, ความอดทนต่อความลําบากเพื่อให้ได้มา ซึ่งความสบาย ความอดทนต่อความเจ็บใจตัวเองเพื่อให้คนในสังคมมีความสุข, ความอดทนต่อสิ่งที่กวนใจเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นคนดี เป็นต้น

63 “ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา” เป็นคนชนิดใด

(1) มีโสรัจจะ แต่ขาดสัจจะ

(2) มีโสรัจจะ แต่ขาดขันติ

(3) ขาดโสรัจจะและสัจจะ

(4) ขาดโสรัจจะและขันติ

ตอบ 4 หน้า 192 193 โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยมซึ่งมีลักษณะเป็นความมีปกติอันดีของกาย วาจา และใจ ไม่แสดงอาการไม่ดีหรือไม่งามผิดปกติ เมื่อได้รับความตรากตรําลําบากหรือได้รับความเจ็บใจ โดยโสรัจจะเป็นธรรมคู่กับขันติ (ความอดทน)

64 “ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ” เป็นคนชนิดใด

(1) มีโสรัจจะ แต่ขาดสัจจะ

(2) มีโสรัจจะ แต่ขาดขันติ

(3) ขาดโสรัจจะและสัจจะ

(4) ขาดโสรัจจะและขันติ

ตอบ 1 หน้า 194, (ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ) สัจจะ หมายถึง ความจริงใจซึ่งเป็นลักษณะของความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ทั้งต่อบุคคล กาลเวลา และหน้าที่การงาน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

65 หลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของกายและใจ คืออะไร

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) วุฒิธรรม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

66 หลักธรรมที่แสดงถึงความปกติอันดีของกาย วาจา ใจ คืออะไร

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) วุฒิธรรม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

67 หลักธรรมที่นําไปสู่ความงอกงามของปัญญา คืออะไร

(1) ขันติ

(2) โสรัจจะ

(3) สัจจะ

(4) วุฒิธรรม

ตอบ 4 หน้า 207 หลักวุฒิธรรม คือ หลักการสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญา ซึ่งมีข้อพึงปฏิบัติ 4 ประการ คือ

1 หมั่นเสวนาคบหากับท่านผู้รู้ ผู้มีภูมิธรรม

2 เอาใจใส่สดับตรับฟังแสวงหาความรู้จริง

3 ได้รู้ได้เห็นได้ฟังสิ่งใดแล้ว รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเอง

4 นําสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟัง และตริตรองแล้วไปใช้หรือปฏิบัติด้วยตนเอง

68 “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

(2) ความเป็นผู้รู้จักผล

(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

(4) ความเป็นผู้รู้จักตน

ตอบ 3 หน้า 198 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักกําหนดคาดคะเนได้อย่างเหมาะสมพอเหมาะพอควรและพอดีในทุกเรื่อง ซึ่งผู้ที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า“เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” หมายถึง เสียงดังมาก (ดังเกินไป ไม่พอดี)

69 “ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

(2) ความเป็นผู้รู้จักผล

(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

(4) ความเป็นผู้รู้จักตน

ตอบ 4 หน้า 197 198 ความเป็นผู้รู้จักตน หมายถึง ความพิจารณาตนเองให้เข้าใจว่าตนเป็นจุดกําเนิดของทุกข์ สุข ความเสื่อม และความเจริญ ซึ่งการรู้จักตนเองนั้นต้องรู้ถึงชาติตระกูล วัย ฐานะ ตําแหน่ง สมบัติ บริวาร หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเอง

70 “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล

(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล

(4) ความเป็นผู้รู้จักผล

ตอบ 2 หน้า 199 – 200 ความเป็นผู้รู้จักขุมชน หมายถึง การรู้จักปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคมหรือชุมชนต่าง ๆ และวางตนให้เหมาะสมกับสังคมนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะสอดคล้องกับ สุภาษิตที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิว ต้องหลิ่วตาตาม” ส่วนคนที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” หรือ “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง”

71 “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด

(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล

(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล

(4) ความเป็นผู้รู้จักผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

72 “การพยายามทํางานของตน” ตรงกับหลักธรรมข้อใดของอิทธิบาท 4

(1) ฉันทะ

(2) วิริยะ

(3) จิตตะ

(4) วิมังสา

ตอบ 2 หน้า 201 – 203 อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมที่นําไปสู่ความสําเร็จ 4 ประการ ดังนี้

1 ฉันทะ (ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น) ทําให้ไม่เบื่องาน ไม่รู้สึกท้อแท้ในการทํางาน

2 วิริยะ (ความเพียรพยายามในสิ่งนั้น) ทําให้มุ่งมั่นในการทํางานของตนให้สําเร็จ

3 จิตตะ (ความเอาใจใส่ในสิ่งนั้น) ทําให้หมั่นตรวจตราเอาใจจดจ่อในงานที่ตนทํา

4 วิมังสา (ความหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้น) ช่วยให้ทํางานไม่ผิดพลาด

73 “ความรู้สึกไม่เบื่องาน ไม่รู้สึกท้อแท้ในการงาน” มีผลจากหลักธรรมข้อใดของอิทธิบาท 4

(1) ฉันทะ

(2) วิริยะ

(3) จิตตะ

(4) วิมังสา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

74 สิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคืออะไรในทัศนะของเพลโต

(1) ความร่ำรวย

(2) ความปลอดภัย

(3) ความยุติธรรม

(4) การพัฒนาตนให้สมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 247, 270 เพลโต เห็นว่า จิตของมนุษย์มี 3 ประเภท หากสังคมใดสามารถกําหนดให้มนุษย์ทําหน้าที่ที่เหมาะสมกับจิตของตนเองแล้ว เมื่อนั้นความยุติธรรมก็จะปรากฏขึ้น ในสังคม และสังคมดังกล่าวย่อมเป็นสังคมที่ดีที่สุดสําหรับชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์ผู้จําเป็นต้องอยู่ในสังคม ดังนั้นสิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคือความยุติธรรม

75 สิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคืออะไรในทัศนะของ Aristotle

(1) ความร่ำรวย

(2) ความปลอดภัย

(3) ความยุติธรรม

(4) การพัฒนาตนให้สมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 248 249 อริสโตเติล เห็นว่า สังคมและรัฐที่ดี คือสังคมและรัฐที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ

1 ช่วยพัฒนาชีวิตให้มีเหตุผล คือ ชีวิตที่สามารถ ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมมีคุณธรรมทางศีลธรรม

2 ช่วยพัฒนาให้ใช้ชีวิต ที่ตริตรองถึงสัจจะได้ คือ การใช้ชีวิตเพื่อแสวงหาสัจจะหรือที่เรียกว่า คุณธรรมทางปัญญา ดังนั้นสิ่งที่รัฐต้องสนับสนุนให้เกิดกับประชาชนคือการพัฒนาตนให้สมบูรณ์

76 ท่าทีของประชาชนต่อรัฐควรจะเป็นอย่างไรในทัศนะของล็อค

(1) ยอมปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐอย่างเต็มที่

(2) คอยจับตาดูว่ารัฐทําหน้าที่เหมาะสมหรือไม่

(3) ควบคุมให้คนฉลาดได้เป็นผู้ปกครอง

(4) ต้องต่อต้านรัฐที่กดขี่ขูดรีด

ตอบ 2 หน้า 255 ล็อค เห็นว่า อํานาจการปกครองสูงสุดแท้จริงแล้วเป็นของประชาชน ดังนั้นถ้าความไว้วางใจหมดสิ้นไปเนื่องจากรัฐไม่ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประชาชน ย่อมมีสิทธิที่จะโอนอํานาจนั้นให้คนที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ล็อคยังคัดค้านทฤษฎีเทวสิทธิ์ ซึ่งอ้างว่าพระเจ้าได้มอบอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศให้กับกษัตริย์

77 คุณสมบัติที่สมาชิกของรัฐควรมีคืออะไรในทัศนะของรุสโซ

(1) ความจงรักภักดี

(2) การเชื่อฟัง

(3) การคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

(4) ความใสซื่อตามสัญชาตญาณ

ตอบ 3 หน้า 256 257 ในทัศนะของรุสโซนั้น อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนเพราะสังคมเกิดจากเจตจํานงร่วม (General Will) ของมนุษย์ ดังนั้นผู้ปกครองกับพลเมืองก็คือ คน ๆ เดียวกัน แต่มองคนละด้านเท่านั้น เมื่อสังคมเกิดเป็นองค์กรร่วมหรือเป็นเอกภาพ เจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของแต่ละคนต้องหมดไป เหลือแต่เจตจํานงทั่วไปอันเป็นเจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเท่านั้น

78 สังคมที่มีคุณค่าในทัศนะของ Godwin มีลักษณะอย่างไร

(1) มีแต่ความรักและความเข้าใจ

(2) ปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

(3) ไม่มีการขูดรีดกดขี่

(4) สามารถให้ความปลอดภัย

ตอบ 1 หน้า 260 ก๊อดวิน (Godwin) นักคิดในกลุ่มอนาธิปไตย เห็นว่า สังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐและได้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น และปล่อยให้แต่ละคนร่วมมือกันจากความรู้สึกเป็นเพื่อนจากความรักและจากความเข้าใจที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ

79 สังคมที่มีคุณค่าในทัศนะของมาร์กซ์ มีลักษณะอย่างไร

(1) มีแต่ความรักและความเข้าใจ

(2) ปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม

(3) ไม่มีการขูดรีดกดขี่

(4) สามารถให้ความปลอดภัย

ตอบ 3 หน้า 259 สังคมในอุดมคติของมาร์กซ์ คือ สังคมที่ไม่มีชนชั้น ไม่มีการขูดรีดกดขี่ เพราะพื้นฐานการผลิตเป็นแบบคอมมูน กล่าวคือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หรือปัจจัย การผลิตเป็นของส่วนรวมเท่านั้น และรัฐเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นเลยสําหรับสังคม เพราะสมาชิกของสังคมสามารถปกครองดูแลตนเองและควบคุมความประพฤติของตนเองได้

80 โดยทั่วไปทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาของนักปรัชญา สัมพันธ์กับเรื่องใด

(1) ทัศนะทางอภิปรัชญา

(2) ทัศนะทางญาณวิทยา

(3) ทัศนะทางศาสนา

(4) ทัศนะทางด้านรัฐ

ตอบ 1, 2 หน้า 266 เป้าหมายของการศึกษาหรือผลที่พึงประสงค์ของการศึกษา คือ การพยายามตอบคําถามที่ว่า เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรเป็นอย่างไร และมีความเหมาะสม หรือไม่ โดยคําตอบของคําถามเหล่านี้จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทัศนะความเชื่อของนักปรัชญาทางด้านอภิปรัชญาและญาณวิทยาเป็นอย่างมาก

81 ทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาของเพลโต สัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ทัศนะทางอภิปรัชญา

(2) ทัศนะทางญาณวิทยา

(3) ทัศนะทางศาสนา

(4) ทัศนะทางด้านรัฐ

ตอบ 4 หน้า 269 เพลโตเป็นคนแรกที่กล่าวถึงทฤษฎีการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเขาเห็นว่าการศึกษาเป็นวิธีที่จะนําไปสู่ความยุติธรรม คือการที่รัฐสามารถจัดให้คนในรัฐได้ทําหน้าที่ตา ความเหมาะสมกับความสามารถของตนเอง ดังนั้นเป้าหมายการศึกษาของเพลโตจึงสอดคล้อง และสัมพันธ์กับทัศนะทางการเมืองหรือทัศนะทางด้านรัฐมากที่สุด

82 ทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาของ ST. Augustine สัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด

(1) ทัศนะทางอภิปรัชญา

(2) ทัศนะทางญาณวิทยา

(3) ทัศนะทางศาสนา

(4) ทัศนะทางด้านรัฐ

ตอบ 3 หน้า 272, 283 เป้าหมายการศึกษาของเซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) จะสัมพันธ์กับทัศนะทางศาสนามากที่สุด กล่าวคือ เขาเห็นว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาก็คือ การกลับใจ (Conversion) ไปรักพระเจ้า และการสํานึกในบาป (Repentance) ของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทําให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริงได้

83 นักปรัชญาแรก ๆ ที่ทําหน้าที่ทางการศึกษาด้านค้นคว้าองค์ความรู้คือใคร

(1) นักปรัชญายุคก่อนโซฟิสต์

(2) ยุคโซฟิสต์

(3) โซเครตีส

(4) ยุคหลังอริสโตเติล

ตอบ 1 หน้า 267 แม้นักปรัชญายุคก่อนโซฟิสต์จะไม่ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ถือได้ว่านักปรัชญากลุ่มนี้เป็นพวกแรกที่ทําการค้นคว้าเกี่ยวกับ องค์ความรู้นั่นคือ การค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขความเชื่อของมนุษย์ในยุคก่อนให้ดียิ่งขึ้นและมีเหตุผลยิ่งขึ้น

84 นักปรัชญากลุ่มแรกที่จัดว่าเป็นนักปรัชญาการศึกษาคือใคร

(1) นักปรัชญายุคก่อนโซฟิสต์

(2) ยุคโซฟิสต์

(3) โซเครตีส

(4) ยุคหลังอริสโตเติล

ตอบ 2 หน้า 268 โซฟิสต์ (Sophists) เป็นนักปรัชญาการศึกษากลุ่มแรกที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความสําเร็จในชีวิต และสามารถได้รับผลประโยชน์ตอบแทน มิใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้นโดยวิชาที่กลุ่มโซฟิสต์ส่งเสริมให้เรียน ก็คือ ศิลปะการพูดในที่ชุมชนหรือวาทศิลป์

85 นักปรัชญาคนใดที่ไม่ศึกษา การรู้ความจริงเป็นหัวใจของการศึกษา

(1) นักปรัชญายุคก่อนโฟิสต์

(2) ยุคโซฟิสต์

(3) โซเครตีส

(4) ยุคหลังอริสโตเติล

ตอบ 3 หน้า 268 269 โซเครตีส (Socrates) มีทัศนะว่า การศึกษามิใช่กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์และความสําเร็จเฉพาะตนเท่านั้น แต่การศึกษา ต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้นพบสัจธรรมหรือความจริงเกี่ยวกับคุณธรรม โดยวิธีการศึกษาที่จะนำไปสู่การค้นพบดังกล่าวได้ก็คือ การสนทนาถกเถียง และการซักถาม

86 นักปรัชญาคนดที่ยึดหลักการว่า เป้าหมายของการศึกษาคือคุณธรรม

(1) นักปรัชญายุคก่อนโซฟิสต์

(2) ยุคโซฟิสต์

(3) โซเครตีส

(4) ยุคหลังอริสโตเติล

ตอบ 3 ดูค่าอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ข้อใดเป็นวิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกตามแนวคิดของรุสโซ

(1) การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง

(2) การใช้การสนทนาถกเถียงเพื่อขจัดความสับสนทางความคิด

(3) การมีศรัทธาอย่างสุดจิตใจ

(4) การใช้เหตุผลพิสูจน์ความศรัทธา

ตอบ 1 หน้า 275 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กเล็ก ๆ คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์เป็นของตัวเอง หรือเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นหนังสืออย่างเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นถึงประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองของโรบินสัน ครูโซ

88 ข้อใดเป็นวิธีการศึกษา ในระดับก้าวหน้าของ ST. Augustine

(1) การใช้ประสบการณ์ตรงทําความรู้จักสิ่งแวดล้อม

(2) การใช้การสนทนาถกเถียงเพื่อขจัดความสับสนทางความคิด

(3) การมีศรัทธาอย่างสุดจิตใจ

(4) การใช้เหตุผลพิสูจน์ความศรัทธา

ตอบ 4 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับเริ่มแรก ซึ่งเป็นการศึกษาที่อ่านจากคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลัก มีลักษณะเข้มงวดและบังคับให้เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล

2 ระดับก้าวหน้า ซึ่งเป็นการศึกษาที่มีลักษณะของการใช้เหตุผลและพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง

89 ข้อใดคือหลักการจัดการศึกษาของเพลโต

(1) จัดให้ลูกคนมีฐานะเท่านั้น

(2) จัดให้เฉพาะลูกผู้ดีมีตระกูล

(3) จัดให้กับลูกกรรมกรเท่านั้น

(4) จัดให้กับคนทุกคนอย่างทั่วถึง

ตอบ 4 หน้า 270, (คําบรรยาย) เพลโต (Plato) เห็นว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมด้วยการปฏิรูปคนและการปฏิรูปรัฐ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาแบบทั่วถึง กล่าวคือ เป็นการศึกษาที่สามารถให้กับทุกคนในสังคมและเป็นการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ เด็กทุกคนมีโอกาสศึกษาเพื่อทดสอบความสามารถของตนเอง ก่อนที่เขาจะไปปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสมของตนให้กับรัฐและสังคม

90 คนที่เป็นผู้ปกครองควรเรียนวิชาใดจนสําเร็จ ในทัศนะของเพลโต

(1) วิชาเศรษฐศาสตร์

(2) วิชาทหาร

(3) วิชาพลศึกษา

(4) วิชาอภิปรัชญา

ตอบ 4 หน้า 246, 270 บุคคลที่เหมาะสมที่สุดและดีที่สุดสําหรับการเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโตคือ ราชาปราชญ์ ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ควรจะเรียนวิชาอภิปรัชญาจนสําเร็จ

91 หากจําเป็นต้องอ่านหนังสือ ควรอ่านเรื่องอะไรในทัศนะของรุสโซ

(1) อ่านเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ

(2) อ่านคัมภีร์ไบเบิล

(3) เรียนพลศึกษา

(4) เรียนอภิปรัชญา

ตอบ 1 หน้า 275 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์หรือได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นการอ่านหนังสือเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นถึงประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

92 สิ่งที่แสดงความสําเร็จของการศึกษาในทัศนะของรุสโซ คืออะไร

(1) การเป็นตัวของตัวเอง

(2) การรู้จักแก้ปัญหา

(3) การมีคุณธรรมทางสังคม

(4) การเข้าใจอุดมการณ์ของรัฐ

ตอบ 3 หน้า 275 276 การศึกษาในขั้นสุดท้ายหรือระดับก้าวหน้าของรุสโซ คือ การพัฒนาตัวเองของผู้เรียนให้รู้จักหน้าที่ของตนต่อบุคคลอื่น ๆ และจะทิ้งความเป็นปัจเจกบุคคลให้หมดสิ้นไป เหลือแต่สังคมซึ่งเป็นองค์กรรวมหรือเป็นสิ่งทั้งหมด โดยมุ่งเน้นที่การมีคุณธรรมทางสังคม

93 สิ่งที่แสดงความสําเร็จของการศึกษาในทัศนะของลัทธิปฏิบัตินิยม คืออะไร

(1) การเป็นตัวของตัวเอง

(2) การรู้จักแก้ปัญหา

(3) การมีคุณธรรมทางสังคม

(4) การเข้าใจอุดมการณ์ของรัฐ

ตอบ 2 หน้า 277 – 278 ลัทธิปฏิบัตินิยม เป็นปรัชญาที่ยึดถือในประสิทธิภาพทางการปฏิบัติหรือผลทางการปฏิบัติเป็นมาตรฐานสําหรับวัดความถูกต้อง ซึ่งมีเป้าหมายของการศึกษา คือ การสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้พร้อมจะแก้ปัญหาของตนด้วยตนเอง ดังนั้นในการศึกษาจะต้องมีการทดลองปฏิบัติ มิใช่มุ่งที่การเรียนรู้ทางทฤษฎีเท่านั้น

94 ผู้ที่มีความเห็นว่าคนขาพิการ แต่อยากเป็นนักฟุตบอลเป็นคนไม่มีเสรีภาพเพราะเหตุใด

(1) เพราะไม่มีวันสมปรารถนาเนื่องจากไม่มีขา

(2) เพราะเป็นแค่การจินตนาการและความเพ้อเจ้อ

(3) เพราะไม่สามารถเลือกอย่างอื่นได้

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 317 เสรีภาพ หมายถึง การไม่มีอุปสรรคกีดขวางความปรารถนาของบุคคล โดยนักคิดหลายคนเห็นว่าสิ่งสุดวิสัยตามธรรมชาติก็จัดว่าเป็นอุปสรรคของเสรีภาพเช่นเดียวกัน เพราะสิ่งสุดวิสัยเหล่านี้ทําให้บุคคลไม่มีวันสมหวังในสิ่งที่เขาปรารถนาอย่างแน่นอน เช่น บุคคลไม่สามารถบินได้อย่างนกหรือว่ายน้ำได้อย่างปลาเพราะมนุษย์ไม่ใช่นกและปลา เป็นต้น

95 ถ้าไม่มีการควบคุมการใช้เสรีภาพ จะเกิดสิ่งใดขึ้น

(1) คนน้อยคนที่ไม่มีเสรีภาพ

(2) คนน้อยคนที่มีเสรีภาพ

(3) คนทุกคนอาจไม่มีเสรีภาพในที่สุด

(4) คนทุกคนมีเสรีภาพเท่ากัน

ตอบ 2 หน้า 320 321 การใช้เสรีภาพอย่างไร้ขอบเขตจะทําให้เกิดการใช้เสรีภาพรุกรานและทําร้ายซึ่งกันและกัน และเมื่อนั้นเสรีภาพก็จะกลายเป็นเรื่องของผู้ที่แข็งแรงหรือผู้ที่มีอํานาจมากกว่า ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคม ในขณะที่คนอ่อนแอหรือผู้ที่มีอํานาจน้อยกว่าซึ่งเป็นคนส่วนมากในสังคมก็จะกลายเป็นผู้ไร้เสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น

96 เหตุใดจึงสมควรสนับสนุนเสรีภาพ

(1) ความสมปรารถนาทําให้คนมีความสุข

(2) การรู้จักตัดสินใจด้วยตนเองทําให้มีการพัฒนาตน

(3) ทําให้คนกล้าทําจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 316, 319 320 การมีเสรีภาพนั้นจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้เสรีภาพ เช่น ทําให้คนมีโอกาสที่จะสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาซึ่งจะทําให้บุคคลนั้นรู้สึกมีความสุขไปด้วย ทําให้คนรู้จักตัดสินใจด้วยตนเองและมีการพัฒนาตน, ทําให้คนกล้าคิดกล้าทํามากขึ้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น เป็นต้น

97 ตามหลักการควบคุมเสรีภาพด้วยความหวังดี เปรียบรัฐกับบทบาทใด (1) บิดา – มารดา

(2) ครูบาอาจารย์

(3) พระในศาสนา

(4) กรมประชาสงเคราะห์

ตอบ 1 หน้า 325 – 327 หลักการควบคุมการใช้เสรีภาพของบุคคลเพื่อป้องกันผลร้ายต่อตัวเองหรือหลักการควบคุมเสรีภาพด้วยความหวังดีนั้น เปรียบได้กับความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร ซึ่งหลักการนี้จะสนับสนุนให้รัฐทําหน้าที่ดุจบิดามารดา โดยเข้าไปควบคุมการใช้ เสรีภาพของบุคคลในบางกรณีเพื่อป้องกันมิให้บุคคลกระทําในสิ่งที่อาจเกิดผลร้ายต่อตนเอง

98 คุณลักษณะของมนุษย์ตามหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความเหมาะสม คืออะไร

(1) ความรู้กับความดี

(2) ทักษะกับความพยายาม

(3) ความพยายามกับแรงงาน

(4) ความสามารถกับความดี

ตอบ 4 หน้า 334 335 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความเหมาะสมของบุคคลนั้นจะพิจารณาจากลักษณะของบุคคล 2 ประการดังนี้

1 ความสามารถ เป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ตามความสามารถของแต่ละคน ซึ่งความสามารถบางอย่างเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่มีโอกาสที่จะเลือกได้ หรือไม่สามารถที่จะพัฒนาขึ้นมาเองได้

2 คุณธรรม เป็นการเบ่งปันผลประโยชน์ที่ยุติธรรมตามความดีของบุคคล

99 หลักการใดถือว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน

(1) หลักการแบ่งปันแบบเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความพากเพียร

ตอบ 1 หน้า 332 – 334 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ เห็นว่า มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันคือการเป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นการแบ่งปันผลประโยชน์จึงจะต้องแบ่ง ให้กับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องคํานึงถึงความสามารถ อายุ เพศ ความมานะ พยายามหรือความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหลักการนี้ย่อมไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่สร้างความร่ำรวยให้กับสังคม เพราะในที่สุดความร่ำรวยที่เขาสร้างขึ้นก็จะถูกฉกไปแบ่งปันให้กับคนอื่น ๆ

100 หลักการใดไม่ยุติธรรมกับคนขยัน

(1) หลักการแบ่งปันแบบเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์

(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม

(3) หลักการแบ่งปันตามแรงงาน

(4) หลักการแบ่งปันตามความพากเพียร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

PHI1001 วัฒนธรรมและศาสนา 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1001 วัฒนธรรมและศาสนา

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 วัฒนธรรม คือ

(1) สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและสังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์

(2) วิถีชีวิตที่ดําเนินสืบต่อกันมา

(3) เป็นมรดกของสังคมซึ่งแสดงถึงความเจริญ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 8 – 10, (คําบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ที่อยู่รวมกันในรูปขององค์กรทางสังคมสร้างสรรค์ขึ้นและสังคมยอมรับว่าดีมีประโยชน์ หรือหมายถึง วิถีชีวิตที่ดําเนิน สืบต่อกันมา เป็นมรดกของสังคมซึ่งแสดงถึงความเจริญ หรือการกระทําใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้ เช่น การนอนอาบแดด การจัดปาร์ตี้ (Party) การสวดมนต์ข้ามปี การปล่อยโคมลอย การผลิตยารักษาโรค อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ฯลฯ แต่วัฒนธรรมจะ ไม่รวมถึงสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เห็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี รวมทั้งพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณหรือ พฤติกรรมตามธรรมชาติ (สัตว์และพืช) หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น คนตาย ข้าวเปลือก อินทผลัม เสือดํา อูฐ วัว ควาย คลื่นยักษ์ แผ่นดินเหว หาดทราย-สายลม ภูเขา เกาะ ทะเลทราย แม่น้ำ ถ้ำ ฯลฯ

2 ข้อใดเป็นวัฒนธรรม

(1) Full Moon

(2) Party

(3) Free Sex

(4) Take Drug

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 ข้อใดเป็นวัฒนธรรม

(1) หาดทราย สายลม

(2) นอนอาบแดด

(3) คลื่นยักษ์

(4) ภูเขา เกาะ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

4 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรม

(1) สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ได้

(2) ปรับปรุงพัฒนาได้

(3) คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง

(4) เลิกร้างได้

ตอบ 3 หน้า 15 วัฒนธรรม มีลักษณะเฉพาะคือ ไม่อยู่นิ่ง ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เลิกร้างและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ได้ โดยสามารถผสมผสาน เลียนแบบ และถ่ายทอดสืบต่อหรือรับช่วงรวมทั้งมีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนจากแหล่งกําเนิด

5 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญของวัฒนธรรม

(1) แสดงถึงความเจริญของชาติ

(2) ดํารงเชื้อชาติ

(3) รักษาแผ่นดิน

(4) เป็นเอกลักษณ์ประจําชาติ

ตอบ 3 หน้า 12, 14, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการดํารงอยู่ของเชื้อชาติ โดยจะเป็นกระจกเงาที่ส่องความเป็นมาของชนชาตินั้น ๆ อีกทั้งยังแสดงถึงความเจริญของชาติด้วย ซึ่งชาติที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมนั้นจะมีลักษณะประจําชาติแอบแฝงอยู่ อันถือเป็นเอกลักษณ์ ประจําชาติที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ซึ่งบางครั้งพบว่าวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งอาจ ไม่เป็นวัฒนธรรมของสังคมอื่น เช่น การกินเนื้อสุนัข การกินเนื้อวัว การกินหมาก เป็นต้น

 

6 วัฒนธรรมของสังคมหนึ่งแต่อาจไม่เป็นวัฒนธรรมของสังคมอื่น ได้แก่

(1) Free Sex

(2) ทําแท้งเสรี

(3) กินเนื้อสุนัข

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 กรุงเทพมหานครได้รับยกย่องว่าเป็นเมืองที่ดีที่สุดในเรื่องอาหาร คือ

(1) Fusion Food

(2) Clean Food

(3) Street Food

(4) Green Food

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในเมืองที่มีอาหารริมทาง (Street Food) ที่ดีที่สุดหรือเรียกว่าเป็น “สวรรค์แห่งอาหารริมทาง” ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปและได้รับความนิยม จากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยมีอาหารมากมายหลายชนิด เช่น ขนมจีนน้ำยา ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ ข้าวผัดกะเพราหมู ข้าวผัดคะน้า ปลาดุกผัดเผ็ด ข้าวหน้าเป็ด ข้าวมันไก่ ส้มตํา ผัดไทไก่ย่าง ข้าวเหนียวมะม่วง ฯลฯ

8 วัฒนธรรมที่ตายไปแล้ว ได้แก่

(1) มัดเท้าหญิงจีน

(2) เผาแม่หม้ายฮินดู

(3) หญิงบาหลีเปลือยอก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 16, 30, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมที่ตายไปแล้ว คือ วัฒนธรรมที่มนุษย์เลิกร้างและไม่มีการสืบสานนานแล้ว ทั้งนี้วัฒนธรรมอาจพบจุดจบหรือกลายเป็นวัฒนธรรมที่ตายไปแล้วได้ เช่น การมัดหรือรัดเท้าของเด็กหญิงชาวจีน การเผาแม่หม้ายทั้งเป็นเมื่อสามีตายของชาวฮินดูในอินเดีย การเปลือยอกของหญิงบาหลี การทํามัมมีรักษาศพของชาวอียิปต์โบราณ ฯลฯ

9 ข้อใดไม่ใช่การผสมผสานทางวัฒนธรรม

(1) พิซซ่าหน้าปูอัด

(2) ปาท่องโก๋ + น้ำเต้าหู

(3) กาแฟ + ขนมครก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 22, (คําบรรยาย) การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นวิธีการที่รับเอาวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่กระทํากันตามปกติสืบต่อกันมา เช่น เพลงไทย สากล, การใส่สายข้อมือ wristband, กาแฟกับซาลาเปา, กาแฟกับปาท่องโก้, กาแฟกับขนมครก, น้ำเต้าหู้กับขนมครก, น้ำชากับขนมเปี๊ยะ, ดื่มชากับขนมเค้ก, โค้กกับแฮมเบอร์เกอร์, บะหมี่ต้มยํา สปาเกตตี้ราดซอส, สปาเกตตี้ผัดขี้เมา, พิซซ่าหน้าปูอัด, ส้มตําปูอัด, ส้มตําแครอท ฯลฯ

10 ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมหลวง

(1) พิธีแรกนาขวัญ

(2) พิธีเวียนเทียน

(3) สมรสพระราชทาน

(4) พิธีถวายพระเพลิง

ตอบ 2 หน้า 180 – 182, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมหลวง ได้แก่ พิธีแรกนาขวัญ (พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ) พิธีโล้ชิงช้า การแสดงโขนหน้าพระเมรุ การขับร้องเห่เรือสุพรรณหงส์ การอภัยโทษเพลงสรรเสริญพระบารมี พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พิธีสมรสพระราชทาน เป็นต้น

11 ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมพื้นบ้าน

(1) พิธีบายศรีสู่ขวัญ

(2) เพลงกล่อมเด็ก

(3) เพลงสรรเสริญพระบารมี

(4) พิธีบวชลูกแก้ว

ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้านแต่ละภาค มีดังนี้

1 ภาคเหนือ เช่น พิธีบวชลูกแก้ว การแอ่วสาว การไหว้ผี การจุดโคมลอย การประดับตุง การผูกข้อมือ การฟ้อนเล็บ สะล้อ ซอ ซึ่ง กลองสะบัดชัย ประเพณี “วันมะแขน (มะแขว่น) หอมรสดี ชมวิถีชนเผ่า” ของน่าน ฯลฯ

2 ภาคกลาง เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงลูกทุ่ง เพลงอีแซว เพลงรําวง รํากลองยาว ลิเก ลําตัด การตีระนาด การรําถวาย การทําบุญตักบาตรวันสงกรานต์ที่สนามหลวง ฯลฯ

3 ภาคอีสาน เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ การผิดผี การไหว้ผีปู่ย่า การรําผีฟ้า การไล่ผีปอบ การแห่ผีตาโขน การแห่บั้งไฟ รําซิ่ง การตีโปงลาง นิทานพื้นบ้าน “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่”ปราสาทหิน ห่อหมกฮวก ฯลฯ

4 ภาคใต้ เช่น ประเพณีชิงเปรต ประเพณีเพลงบอก การสวดโอ้เอ้วิหารราย หนังตะลุง ลิเกป่าลิเกตันหยง รํามโนราห์ ฯลฯ

12 อัตลักษณ์ของไทยแสดงออกมาใน

(1) การไหว้

(2) มวยไทย

(3) รําไทย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) อัตลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทําให้สิ่งนั้นหรือกลุ่มนั้นเป็นที่รู้จักหรือจําได้ ซึ่งอัตลักษณ์ของไทย ได้แก่การไหว้แบบไทย มวยไทย รําไทย อาหารไทย เรือนไทย วัดไทย ฯลฯ

13 เอกลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) ไม่เป็นไร-ให้อภัย

(2) สุภาพอ่อนน้อม

(3) ยิ้มแย้มเป็นมิตร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 63 – 64, 67 – 63, (คําบรรยาย) ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ได้แก่ เคารพสถาบัน พระมหากษัตริย์ รักพระเจ้าอยู่หัว (รักในหลวง) สุภาพอ่อนน้อม ลักษณะการไหว้ ยิ้มแย้มเป็นมิตร ยิ้มสู้-ยิ้มได้เมื่อภัยมา มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจบุญ เมตตากรุณา โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือ ผู้ทุกข์ยาก สนุกสนาน ลืมง่าย มักให้อภัยเสมอ โกรธไม่นาน ซึ่งคนไทยให้อภัยจนชอบพูดติดปากเสมอว่า “ไม่เป็นไร”

14 อาณาจักรอยุธยาได้รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากที่สุดในสมัย

(1) พระนารายณ์มหาราช

(2) พระนเรศวรมหาราช

(3) พระเอกาทศรถ

(4) พระเจ้าปราสาททอง

ตอบ 1 หน้า 86 – 87, (คําบรรยาย) พระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากที่สุดในการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมไทยในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การปกครอง วัฒนธรรมคติธรรม เนติธรรม เป็นต้น อีกทั้งยังทรงปรับปรุงกฎหมายและตรากฎระเบียบขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองและสังคมไทย

15 อาณาจักรรัตนโกสินทร์รับวัฒนธรรมจีนเข้ามามากที่สุดในสมัย…

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 2 หน้า 91, (คําบรรยาย! ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมของจีนมาดัดแปลงผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยมากที่สุด โดยเฉพาะการสร้างศิลปวัตถุ วัดวาอาราม และ คตินิยมต่าง ๆ เช่น การนําถ้วยชามสังคโลกมาประดับตกแต่งวัน การสร้างวัดที่เป็นศิลปะไทยผสมจีน การสร้างสําเภาจีนไว้ในวัด เป็นต้น

16 อาณาจักรรัตนโกสินทร์รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในสมัย

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 92, (คําบรรยาย) รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานหลายด้านทั้งทางด้านภาษา ศาสนา โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และ เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าของชาวตะวันตก พระองค์ทรงมีนโยบายเปิดประเทศและรับเอา วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาอย่างจริงจัง

17 ข้อใดไม่ใช่นวัตกรรม

(1) ชาวอินเดียผลิตหมวกกันน็อคติดแอร์

(2) นักเคมีผลิตยาบ้าเรืองแสงได้

(3) บริษัทเบนซ์และฟอร์ดร่วมกันผลิต Robot Taxi แท็กซีไม่มีคนขับ) (4) Mr. Elon Musk ให้วิศวกรผลิตเรือดําน้ำจิ๋วส่งมาช่วยทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นวัตกรรม (Innovation) คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆหรือการพัฒนาของเก่าที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งมีคุณค่าและมีประโยชน์ ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม เช่น ชาวอินเดียผลิตหมวกกันน็อคติดแอร์, บริษัทเบนซ์และฟอร์ด ร่วมกันผลิต Robot Taxi แท็กซี่ไม่มีคนขับ), Mr. Elon Musk ให้วิศวกรผลิตเรือดําน้ำจิ๋วส่งมาช่วยทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง เป็นต้น

18 ข้อใดไม่เป็นอารยธรรม

(1) ฟุตบอล

(2) กอล์ฟ

(3) มวยสากล

(4) เตะตะกร้อ

ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมกับอารยธรรมมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วขยายตัวขึ้นหรือเจริญแพร่หลายไปเป็นอารยธรรม หรืออารยธรรม เป็นความเจริญงอกงามที่เกิดจากการรวมตัวของวัฒนธรรม ดังนั้นอารยธรรมจึงมีลักษณะของความเป็นสากล หรือเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับนําไปใช้จนเป็นสากล เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย, กีฬาโอลิมปิก, กีตาร์, เปียโน, ไวโอลิน, โทรศัพท์มือถือ, เลขอารบิค, รถยนต์, เครื่องบิน, การประกวดนางงามจักรวาล, การแข่งขันฟุตบอลโลก, กอล์ฟ มวยสากล, เครื่องหมายกาชาดสีแดง, 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่, วันวาเลนไทน์ ฯลฯ

19 วัฒนธรรมเนติธรรมที่ประเทศไทยมี แต่บางประเทศไม่มี ได้แก่

(1) โทษประหารชีวิต

(2) โทษทําแท้ง

(3) พระราชทานอภัยโทษ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางเนติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายกฎมณเฑียรบาล สิทธิหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ จารีตประเพณี ข้อห้ามทาง ศาสนา และหมายความรวมถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษ กระบวนการลงโทษและ กระบวนการพิจารณา ความลงโทษด้วย เช่น วัฒนธรรมเนติธรรมของไทย ได้แก่ เมาไม่ขับ ถ้าเมาแล้วขับมีโทษจําคุก ปรับ ยึดใบขับขี่ และยึดรถชั่วคราว, การห้ามขายเหล้าและบุหรี่ให้เด็ก, การพระราชทานอภัยโทษ (บางประเทศไม่มี) เป็นต้น

20 “เมาแล้วขับ” จะถูกลงโทษ… ข้อใดไม่ใช่

(1) ยึดใบขับขี่

(2) ยึดรถชั่วคราว

(3) ยึดบัตรประจําตัวประชาชน

(4) ปรับ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

21 สมัยอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนรามคําแหงมหาราชได้รับพระพุทธสิหิงค์จากอาณาจักร

(1) ศรีลังกา

(2) ขอม

(3) ทวาราวดี

(4) ล้านนา

ตอบ 1 หน้า 82 83 ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคําแหง อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญสูงสุด และได้ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ออกไปมาก มีการทําสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรทางเหนือของพญามังราย และพญางําเมือง จนถึงกับทําสัญญาเป็นพระสหายร่วมสาบาน นอกจากนี้พ่อขุนรามคําแหง ยังได้เจริญพระราชไมตรีกับศรีลังกาจนได้รับมอบพระพุทธรูปที่งดงามล้ำค่ามากองค์หนึ่งให้แก่ ประเทศไทย คือ “พระพุทธสิหิงค์”

22 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมอีสาน

(1) ห่อหมกฮวก

(2) ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่

(3) ปราสาทหิน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

23 ข้อใดเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือ

(1) งานมะแขว่น

(2) การจุดโคมลอย

(3) กลองสะบัดชัย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

24 การตีระนาดประชันแข่งขัน (ในภาพยนตร์เรื่องโหมโรง) เป็นวัฒนธรรมภาค

(1) เหนือ

(2) อีสาน

(3) กลาง

(4) ใต้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

25 ข้อใดไม่จัดเป็นวัฒนธรรมคติธรรม

(1) ทําขวัญข้าว

(2) ประกวดน้องนางบ้านนา

(3) บวชก่อนเบียด

(4) บวชต้นไม้

ตอบ 2 หน้า 99 – 102, 104, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมคติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาบรรณ อันเป็นหลักหรือแนวทางดําเนินชีวิตที่ดีที่ควรยึดถือและควรปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของความเชื่อและคตินิยมทางศาสนา เช่น การชอบทําบุญทําทาน, ไถ่ชีวิตวัวควาย, ทําขวัญข้าว, บวชต้นไม้, คนไทยรักในหลวง, พุทธสุภาษิต (สัตว์โลกย่อมเป็นไป ตามกรรม คนดีผีคุ้ม), สุภาษิตคติเตือนใจเกี่ยวกับการงาน (หนักเอาเบาสู้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง), สุภาษิตคติเตือนใจในการคบมิตร (เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก), สุภาษิตคติเตือนใจในการประพฤติ (น้ำร้อนปลาเป็น-น้ำเย็นปลาตาย บวชก่อนเบียด) และคติธรรมสอนหญิง (รักนวลสงวนตัว)

26 สัญลักษณ์ไทย ได้แก่

(1) พระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

(2) ธงไตรรงค์

(3) ตราครุฑ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญลักษณ์ของประเทศไทย ได้แก่

1 ธงไตรรงค์ (ธงชาติไทย)

2 พระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และ

3 ตราครุฑ

4 ศาลาไทย

5 เรือสุพรรณหงส์

6 อักษรไทย

7 ช้างไทย เป็นต้น

27 วัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา คือ

(1) พิธีชิงเปรต

(2) แห่ผีตาโขน

(3) ยิงบั้งไฟ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นความเชื่อเรื่องผีสาง-เทวดา ได้แก่ การไหว้ผี การไล่ผีปอบ การรําผีฟ้า พิธีชิงเปรต การแห่ผีตาโขน การยิงบั้งไฟ เป็นต้น

28 ภูมิปัญญาไทย ได้แก่

(1) กังหันน้ำชัยพัฒนา

(2) หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

(3) ต้มยํากุ้ง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภูมิปัญญาไทย คือ การใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวความคิดทางสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติ ความเป็นสังคม อันมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของ ตนเอง เป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคม และทําให้ได้รู้หรือเข้าใจความเป็นมาของชนชาติไทยในอดีตมากขึ้น โดยภูมิปัญญาไทยนั้นจะมีอยู่ในทุกวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมหลวง และเอกลักษณ์ เช่น เรือนไทย วัดไทย ผ้าไทย (การใช้พืชย้อมผ้า ผ้าขาวม้า ผ้าไหม) คําไทย (พ่อ แม่ พี่ น้อง) อาหารไทย (ต้มยํากุ้ง) ยาไทย (ยาหอมแก้ลม) ดนตรีไทย นวดแผนไทย กังหันน้ำชัยพัฒนา สินค้า OTOP (หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) ฯลฯ

29 วัฒนธรรมความเชื่อของฮินดู ชั้นวรรณะแบ่งตาม

(1) ชาติกําเนิด

(2) อาชีพ

(3) การศึกษาและความสามารถ

(4) ฐานะทางสังคม

ตอบ 1 หน้า 24, (คําบรรยาย) ชาวฮินดูเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้แบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต้องยอมรับต่อฐานะแห่งชาติกําเนิดของตนที่พระพรหมกําหนดให้ โดยปฏิบัติตนดํารงชีวิตไป ตามฐานะวรรณะของตนในสังคม เช่น คนในวรรณะสูงก็จะแบ่งแยกไม่คบหาสมาคม มั่วสุมกับคนวรรณะต่ำ, การงานอาชีพก็ต้องทําจํากัดเฉพาะที่คนวรรณะต่ำควรทํา, การแต่งงานก็ต้องแต่งงานกับคนที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน เป็นต้น

30 วรรณะจัณฑาลถูกจํากัดข้อใด

(1) อาชีพ

(2) การแต่งงาน

(3) ฐานะทางสังคม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24 – 25, 267, คําบรรยาย) คนในวรรณะจัณฑาลในสังคมและวัฒนธรรมอินเดียมีสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ทุกข์ยาก ลําบาก ทํางานหนัก รายได้น้อย โดยวรรณะจัณฑาล ถูกจํากัดโดยศาสนาในหลายเรื่อง เช่น อาชีพ (มักเป็นอาชีพที่ต่ำ ลําบาก และคนทั่วไปไม่อยากจะทํากัน ได้แก่ กวาดถนน เก็บขยะ ล้างส้วม สัปเหร่อ ฯลฯ) การแต่งงาน มีฐานะทางสังคมต่ำสุด และรัฐบาลก็พยายามแยกคนพวกนี้ออกจากสิทธิเสรีภาพอันพึงมีทางกฎหมายไม่ให้ทัดเทียมกับคนวรรณะอื่น ๆ ในสังคม

31 มารดาของ คานธี สอนว่าถ้าไปถูกตัวเด็กจัณฑาลให้เอามือไปเช็ดหรือป้าย…..

(1) วัว

(2) หญ้า

(3) ต้นไม้ใหญ่

(4) คนที่นับถือศาสนาอื่น

ตอบ 4 หน้า 26, (คําบรรยาย) ท่านมหาตมะ คานธี ในวัยเด็กมักจะไปถูกต้องตัวเด็กวรรณะจัณฑาลอยู่บ่อย ๆ ขณะไปโรงเรียน มารดาของท่านจึงสอนวิธีชําระล้างมลทินแบบย่อโดยให้ท่านเอามือ ไปเช็ดหรือป้ายคนนอกศาสนา (คนที่นับถือศาสนาอื่น) เช่น พวกมุสลิม ฯลฯ ก็จะถือว่าทําให้มลทินหมดไปจากตัวแล้ว

32 วันศิวาราตรีตรงกับวันสําคัญของศาสนาพุทธ คือวัน

(1) วิสาขบูชา

(2) มาฆบูชา

(3) อาสาฬหบูชา

(4) วันเข้าพรรษา

ตอบ 2 หน้า 26, 284 วันศิวาราตรี เป็นวันที่ชาวฮินดูทําพิธีบวงสรวงบูชาและทําพลีกรรมแก่พระศิวะซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ของศาสนาพุทธ และนอกจากนี้ชาวฮินดูยังมี ความเชื่อว่า การอาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคาจะศักดิ์สิทธิ์และได้ผลมากที่สุดถ้าหากได้อาบ ในวันศิวารา

33 วัฒนธรรมเนติธรรมของฮินดู ลูกสาวได้มรดกน้อยหรือไม่ได้เลย เพราะ (1) พ่อแม่ต้องจ่ายสินสอดให้ลูกสาวแต่งงาน

(2) ลูกสาวไม่ได้สืบสกุล

(3) ลูกสาวแต่งงานไปแล้วจึงเป็นคนตระกูลสามี

(4) ลูกสาวแต่งงานแล้วไม่ได้เลี้ยงพ่อแม่

ตอบ 1 หน้า 29, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอินเดียในเรื่องการให้มรดกของตระกูลแก่ลูกสาวนั้น พบว่าลูกสาวจะไม่ได้มรดกจากพ่อแม่ หรือได้น้อยเพียง 1 ใน 4 ของลูกชาย ทั้งนี้เพราะพ่อแม่ต้อง เก็บสมบัติส่วนหนึ่งเพื่อไว้จ่ายค่าสินสอดและค่าจัดงานแต่งงานให้ลูกสาว ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ถ้าไม่มีถือเป็นเรื่องเสียหายและน่าอายมากในสังคมอินเดีย

34 วัฒนธรรมฮินดูการทําศพด้วยวิธีถ่วงน้ำใช้กับข้อใด

(1) ศพคนชรา

(2) ศพหญิงหม้าย

(3) ศพหญิงท้อง

(4) ศพเด็ก

ตอบ 4 หน้า 31 วัฒนธรรมการทําศพเด็กของชาวฮินดูนั้น พ่อแม่จะไม่นิยมเผา แต่จะนําผ้าขาวมาพันหรือห่อศพแล้วใส่เรือไปทิ้งกลางแม่น้ำ โดยใช้หินถ่วงศพให้จมลงสู่ก้นแม่น้ำคงคา ซึ่งวิธีนี้ นอกจากจะใช้กับศพที่เป็นเด็กอายุน้อยแล้วยังใช้กับศพที่ยากจนไม่มีเงินพอที่จะซื้อถ่านหรือฟื้นที่มีราคาแพงมาเผาศพได้

35 ประเทศใดที่ประธานาธิบดีจีน “สี จิ้นผิง” ยังไม่ได้ไป

(1) อังกฤษ

(2) อเมริกา

(3) เกาหลีเหนือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศที่ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง เดินทางไปเยือนมาแล้ว ได้แก่ อังกฤษสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ รัสเซีย ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น

36 ประเทศจีนปกครองแบบ…

(1) 1 ประเทศ 2 ระบบ

(2) 1 ประเทศ 3 ระบบ

(3) ระบบเดียวทั้งหมด

(4) ปิดประเทศ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศจีนปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ (One Country, Two Systems)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มโดย เติ้ง เสี่ยวผิง เพื่อการรวมประเทศจีนระหว่างต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเขาเสนอว่าจะมีเพียงจีนเดียว แต่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน สามารถมีระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบทุนนิยมได้

37 ก่อนจะเป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศจีนถูกปกครองโดยชนชาติ

(1) มองโกล

(2) แมนจู

(3) ทิเบต

(4) เติร์ก

ตอบ 2 หน้า 37, (คําบรรยาย) ก่อนที่ประเทศจีนจะเป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศจีนเคยถูกปกครองโดยชนชาติแมนจู โดยแมนจูที่เรืองอํานาจได้รวบรวมอาณาจักรจีนเป็นอาณาจักรเดียวในพื้นแผ่นดินอันกว้างใหญ่นี้ และถือเป็นชนชาติที่เคยปกครองอาณาจักรจีนยาวนานที่สุด

38 ประเทศญี่ปุ่นได้รับยกย่องว่าเป็นดินแดน 3 ศาสนา แต่ศาสนาใดไม่ใช่ (1) เต๋า

(2) ขงจื้อ

(3) ชินโต

(4) พุทธ

ตอบ 1 หน้า 233 ประเทศญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแหง 3 คําสอน หรือ 3 ลัทธิศาสนา คือ ขงจื้อ พุทธ และชินโต โดยญี่ปุ่นได้รับศาสนาขงจื้อมาจากจีน และรับพุทธศาสนามาจากอินเดียโดยผ่านมาทางจีน ส่วนศาสนาชินโตนั้นเป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชนชาติญี่ปุ่น

39 ประเทศญี่ปุ่นมีภัยธรรมชาติบ่อยจนต้องสอนวิธีหลบภัยตั้งแต่เรียนอนุบาล

(1) พายุไต้ฝุ่น

(2) น้ำท่วม

(3) แผ่นดินไหว

(4) ภูเขาไฟระเบิด

ตอบ 3 หน้า 48, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นจะสอดคล้องและปรับตัวไปตามภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศบ่อย ๆ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ลมพายุ ไต้ฝุ่น ฯลฯ โดยเฉพาะแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นบ่อยมากจนต้องมีการฝึกสอนวิธีการหลบภัย หรือหนีภัยแผ่นดินไหวแก่เด็กญี่ปุ่นตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นอนุบาล จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น

40 ปัจจุบันวัยรุ่นญี่ปุ่นนิยมกิน…มาก

(1) ผักชีไทย

(2) ผักชีลาว

(3) ผักชีฝรั่ง

(4) ผักชีล้อม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปัจจุบันวัยรุ่นญี่ปุ่นนิยมกิน “ผักชีไทย” มาก จนถึงขั้นมีการจัดงานเทศกาลผักชีขึ้นที่โตเกียว ซึ่งกระแสความนิยมดังกล่าวนี้ทําให้ร้านอาหารบางร้านต้องมีเมนูผักชีดัดแปลงขึ้นมามากมาย เช่น ไอศกรีมผักชี บิงซูผักชี เค้กผักชี เกี้ยวซ่าผักชี เต้าหูผักชี ผักชีชุบแป้งทอด ฯลฯ

41 ข้อใดเกี่ยวข้องกับลัทธิบูชิโด

(1) ฮาราคีรี

(2) ซามูไร

(3) มิกาเซ่

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 51, (คําบรรยาย) อิทธิพลของลัทธิบูชิโดที่มีต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้แก่

1 วิถีทางแห่งนักรบซามูไร คือ “ยอมตายอย่างมีเกียรติดีกว่าอยู่อย่างไร้เกียรติ”

2 พิธีกรรมฆ่าตัวตายที่เรียกว่า “ฮาราคีรี”

3 การสละชีวิตตนเองของนักบินโดยการขับเครื่องบินพุ่งชนฝ่ายตรงข้ามให้ระเบิดไปพร้อมกันที่เรียกว่า “กามิกาเซ่” เป็นต้น

42 มีความเชื่อในศาสนาชินโตว่า เทพเจ้าของชินโตเป็น

(1) พระโพธิสัตว์

(2) พระอรหันต์

(3) เซียน

(4) มัจจุราช

ตอบ 1 หน้า 52 วัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยทางอ้อม โดยผ่านทางพุทธศาสนามหายานที่จีนและเกาหลีเผยแผ่มาสู่ชาวญี่ปุ่น ด้วยเหตุที่พุทธศาสนามีลักษณะไม่บังคับ และยังปรับตัวให้เข้ากับลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น พระในพุทธศาสนาก็ไปร่วมพิธีทางลัทธิชินโต จนต่อมาชาวญี่ปุ่นจํานวนมากนับถือว่าพระโพธิสัตว์เป็นเทพเจ้าในศาสนาชินโต

43 วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นรับประทาน

(1) เนื้อดิบ

(2) ปลาดิบ

(3) ไข่ดิบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 55, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและรู้จักทั่วโลก ได้แก่ ซูชิ ซาชิมิ เนื้อดิบ ปลาดิบ ไข่ดิบ ข้าวปั้น (Onigiri) ชาเขียว เป็นต้น

44 สุภาษิตญี่ปุ่น “ใช้กุ้งตก…”

(1) ปลาไหล

(2) ปลาคาร์พ

(3) ปลากะพง

(4) แซลมอน

ตอบ 3 หน้า 55 – 56 ชาวญี่ปุ่นนิยมกินปลาซีบรีม ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากะพงแดงมากโดยปลานี้จะมีสีสดใส มีรสเป็นเลิศ ชาวญี่ปุ่นจึงยกให้เป็นราชาแห่งปลา และมีความเชื่อว่าเป็น ปลามงคลล้ำค่า ขาดไม่ได้ในงานมงคลต่าง ๆ เป็นปลาที่นิยมกินกันมากที่สุดตั้งแต่สมัยโบราณ จนมีคติธรรมหรือคําพังเพยเปรียบเทียบเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ว่า “ถึงเน่าก็เน่าอย่างปลากะพง”คือ ถึงอดโซก็โซอย่างเสือ และ “ใช้กุ้งตกปลากะพง” คือ ยอมเสียกําเพื่อเอากอบ

45 ตามวัฒนธรรมความเชื่อของลัทธิชินโต บรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นสืบเชื้อสายจาก

(1) ดวงอาทิตย์

(2) ดวงจันทร์

(3) ดวงดาว

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 235 236, (คําบรรยาย) ชาวญี่ปุ่น เชื่อว่า บรรพบุรุษของพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นเพศหญิง เรียกว่า สุริยเทพ และสมเด็จพระจักรพรรดิยิมมูหรือยิมมูเทนโน ปฐมจักรพรรดิองค์แราหรือ “มิกาโด” ของญี่ปุ่นนั้นก็สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทําให้บรรดาจักรพรรดิของญี่ปุ่นล้วนอยู่ในสายราชวงศ์เดียวกันที่สืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์เลย

46 “โทริ” ประตูเข้าศาลเจ้าชินโต คือประตู

(1) สวรรค์

(2) เทพ

(3) วิญญาณ

(4) แห่งความสําเร็จ

ตอบ 3 หน้า 240 241, (คําบรรยาย) ตามศาสนสถานของศาสนาชินโตนั้น ก่อนจะถึงบริเวณของศาลเจ้าญี่ปุ่นที่ทางเข้าจะมีการสร้างประตูขึ้นเป็นสัญลักษณ์ เรียกว่า “โทริ” (TORI) อันถือว่าเป็น ประตูวิญญาณ โดยประตูนี้สร้างขึ้นเป็นรูปประตูประกอบจากเสาไม้ 2 ข้าง และมีไม้ 2 อัน วางขวางอยู่ข้างบน และมักจะทาสีแดง

47 ความเชื่อของศาสนาชินโต “บาปทุกอย่างให้อภัยได้ยกเว้น…”

(1) ขี้ขโมย

(2) ขี้โกง

(3) ขี้เหนียว

(4) ขี้เกียจ

ตอบ 1 หน้า 239 240 ตามหลักจริยธรรมของศาสนาชินโตนั้น ชาวญี่ปุ่นยกย่องความกล้าหาญในทุกรูปแบบ แต่ติเตียนว่าความขลาดเป็นบาป ดังคํากล่าวที่ว่า “บาปทุกอย่างทั้งใหญ่และเล็ก อาจจะได้รับอภัยด้วยการสํานึกผิด ยกเว้นความขลาดและการลักขโมย” อีกทั้งยังเคร่งครัด ในเรื่องความสะอาด โดยสอนว่าการเป็นคนไม่สะอาดนั้นเป็นบาป เพราะความไม่สะอาดเป็นความผิดต่อเทพเจ้า

48 ศาสนาชินโตถือว่า……เป็นบาป

(1) ไม่ขยัน

(2ไม่สะอาด

(3) ไม่ตรงเวลา

(4) ไม่มีระเบียบ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 ข้อใดตรงกับความหมาย “หยิน-หยาง”

(1) หญิง-ชาย

(2) ตะวัน-จันทรา

(3) ฟ้า-ดิน

(4) แข็ง-อ่อน

ตอบ 1 หน้า 241, (คําบรรยาย) ในสมัยโบราณชาวจีนมีความเชื่ออันเป็นความภาคภูมิของประเทศคือเชื่อว่า ประเทศจีนอยู่ใจกลางของโลก จึงทําให้เกิดความเชื่อว่าโลกมีวิญญาณสถิตอยู่ มีเพศเป็นหญิง เรียกว่า “หยิน” ซึ่งเป็นวิญญาณแห่งดิน ความมืด กลางคืน ดวงจันทร์ ฯลฯ และเนื่องจากการที่มนุษย์อาศัยอยู่บนโลก ชาวจีนจึงยกย่อง “หยิน” ว่ามีอํานาจเหนือกว่า “หยาง” ซึ่งเป็นเพศชายอันเป็นวิญญาณแห่งฟ้า ความสว่าง กลางวัน ดวงอาทิตย์ ฯลฯ ดังนั้นจึงกล่าว ได้ว่า “หยิน-หยาง” หมายถึง หญิง-ชาย, ดิน-ฟ้า, อ่อน-แข็ง, ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์(จันทรา-ตะวัน), ความมืด-ความสว่าง, กลางคืน-กลางวัน, ดํา-ขาว ฯลฯ

50 ขงจื้อลาออกจากราชการ แล้วมาเป็น……

(1) พ่อค้า

(2) ครู

(3) แพทย์

(4) นักบวช

ตอบ 2 หน้า 242 243 ขงจื้อ (King Tzu) เกิดเมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อมีอายุได้ 20 ปี ขงจื้อสอบจอหงวนได้เข้ารับราชการที่รัฐสู้ ต่อมาได้ลาออกจากราชการ และหาเลี้ยงชีพโดยการเป็นครูอบรมสั่งสอนวิชาความรู้ให้แก่คนทั่วไปที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนในสํานักของเขาซึ่งคําสั่งสอนของขงจื้อนั้นเป็นที่นับถือและยึดเป็นแนวทางของชาวจีนทั่วไปในสมัยนั้นด้วย

51 “จงเคารพบูชาผีและเทพเจ้า แต่ให้อยู่ห่าง ๆ” หมายถึง

(1) อย่าสร้างบ้านใกล้ศาลเจ้าหรือสุสาน

(2) ให้ศรัทธานับถือผีและเทพเจ้าได้อย่างมงาย

(3) เมื่อเซ่นไหว้บูชาให้ยืนอยู่ห่างรูปเคารพของเทพเจ้า

(4) ไม่ควรนํารูปเคารพผีและเทพเจ้ามาไว้ในบ้าน

ตอบ 2 หน้า 248, (คําบรรยาย) ขงจื้อทําพิธีบวงสรวงเทพเจ้าตามจารีตประเพณีของชาวจีนในสมัยโบราณ และสอนให้ชาวจีนทําตามประเพณีโบราณนี้ แต่สอนว่า “จงเคารพบูชาผีและเทพเจ้า แต่ควรอยู่ให้ห่าง ๆ” ซึ่งหมายถึง ให้ศรัทธานับถือผีและเทพเจ้าได้ แต่อย่างมงาย

52 เล่าจื๊อรับราชการเป็น

(1) ผู้พิพากษา

(2) นายอําเภอ

(3) อารักษ์เขียนตําราประวัติศาสตร์

(4) บรรณารักษ์

ตอบ 4 หน้า 251 252 เล่าจื้อ (Lao-Tze) เกิดในปีก่อนคริสต์ศักราช 604 ในตอนแรกเล่าจื้อสอบจอหงวนได้รับราชการแล้วเป็นบรรณารักษ์ของหอสมุดในราชสํานักของราชวงศ์จิว ต่อมา เมื่ออายุครบ 90 ปี เกิดความเบื่อหน่ายในสังคม การเมืองการปกครองที่ไม่ยุติธรรม จึงลาออกจากราชการ ปลีกตัวออกจากสังคมเดินทางท่องเที่ยวไป และได้เขียนบันทึกคําสั่งสอนหลักจริยธรรมเป็นโคลงสั้น ๆ 81 โคลง เรียกว่า “เต๋าเต็กกิง” (TAO TEH KING)

53 นักบวชเต๋าชํานาญหลายเรื่อง ข้อใดไม่ใช่

(1) ทํายาอายุวัฒนะ

(2) นําวิญญาณคนตายเข้าร่างให้ฟื้น

(3) มีเวทมนตร์ปราบผีปีศาจ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 257 258, คําบรรยาย) ศาสนาเต๋าในระยะหลัง ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องไสยศาสตร์มากขึ้น ทําให้นักบวชในศาสนาเต๋ากลายเป็นผู้มีความชํานาญพิเศษในการประกอบพิธีกรรม เกี่ยวกับไสยศาสตร์ สามารถทํานายดวงชะตาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ มีญาณติดต่อเทพเจ้า และดวงวิญญาณของผู้ตายได้ มีพลังจิตสะกดวิญญาณและมีเวทมนตร์ปราบผีปีศาจได้ ทําคุณไสยทําหลุมศพ ทํากงเต็ก และมีความสามารถในการทํายาอายุวัฒนะ

54 ผู้ปฏิบัติโยคะสัมพันธ์กับข้อใด

(1) โอม

(2) พระศิวะ

(3) พระอิศวร

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 265 การปฏิบัติตามหลักปรัชญาโยคะ คือ การเพ่งจิตเพื่อไม่ให้จิตมีอารมณ์หวั่นไหวฝึกจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกาย โดยการเพ่งจิตให้แน่วแน่อยู่กับพระอิศวร (พระศิวะ) ทําให้ จิตสะอาดบริสุทธิ์ ควบคุมจิตได้ไม่ให้มีความหวั่นไหวสั่นคลอนแม้จะต้องพบกับอารมณ์แปรปรวน ทั้งนี้เพราะตั้งจิตมั่นอยู่กับพระอิศวรผู้ทรงพระนามว่าปรณพหรือโอม ดังนั้นเมื่อภาวนาว่า “โอม”ก็จะสามารถป้องกันอุปสรรคในการปฏิบัติโยคะได้

55 ศาสนาฮินดูสอนว่าพราหมณ์เกิดจาก….ของพระพรหม

(1) ศีรษะ

(2) อก

(3) แขน

(4) ขา-เท้า

ตอบ 1 หน้า 266 267 ระบบชนชั้นวรรณะของศาสนาฮินดู แบ่งคนออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 วรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากปากหรือศีรษะของพระพรหม

2 วรรณะกษัตริย์ เป็นวรรณะสูงที่เกิดจากอกและแขนของพระพรหม

3 วรรณะแพศย์ เป็นวรรณะกลางที่เกิดจากตะโพกและขาของพระพรหม

4 วรรณะศูทร เป็นวรรณะต่ำที่เกิดจากเท้าของพระพรหม

56 หญิงชาวฮินดูนิยมขอพรพระลักษมี เพราะเชื่อว่าจะประทานคุณวิเศษให้ ข้อใดไม่ใช่คุณวิเศษนั้น

(1) ให้ร่ำรวย เจริญ

(2) ให้อุดมสมบูรณ์

(3) ผ่านพ้นภัยอันตราย

(4) ให้สามีรักมั่นคง

ตอบ 3 หน้า 275, 281, (คําบรรยาย) พระลักษมี พระมเหสีของพระวิษณุหรือพระนารายณ์) ทรงเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ความงาม ร่ำรวยและความเจริญรุ่งเรือง โดยหญิงชาวฮินดูเชื่อ และนับถือพระนางมากว่าเป็นเทพแห่งความสุขในชีวิตสมรส ดังนั้นหญิงที่แต่งงานแล้วถ้าอยากให้สามีรักมั่นคงก็จะทําพิธีบูชาพระนางลักษมีในเทศกาลสําคัญทางศาสนาต่าง ๆ อยู่เสมอ

57 นารายณ์ 10 ปาง พระนารายณ์อวตารเป็น ครึ่งคน-ครึ่ง….

(1) เสือ

(2) สิงโต

(3) อสูร

(4) เทพ

ตอบ 2 หน้า 278 – 280, (คําบรรยาย) ชาวฮินดูผู้นับถือนิกายไวษณวะ มีความเชื่อว่า พระนารายณ์(พระวิษณุ) ลงมาจุติยังโลก เพื่อปราบอธรรมและช่วยเหลือมนุษย์ 10 ครั้ง เรียกว่า พระนารายณ์อวตาร 10 ปาง ได้แก่

1 ปางมัตสยา (ปลา)

2 ปางกูรมะ (เต่า)

3 ปางวราหะ (หมูป่า)

4 ปางนรสิงห์ (ครึ่งคนครึ่งสิงโต)

5 ปางวามนะ (คนค่อม)

6 ปางภาราสูราม (พราหมณ์)

7 ปางทศราชาราม (พระราม)

8 ปางกฤษณะ (พระกฤษณะ)

9 ปางพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า/เจ้าชายสิทธัตถะ)

10 ปางกัลกี (พระกัลกี/พระศรีอริยเมตไตรย)

58 ข้อใดไม่ใช่พลังศักติ

(1) พระพรหม

(2) พระศิวะ

(3) พระนารายณ์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 281 พลังศักติ หมายถึง พลังแห่งนิกายที่นับถือเทพี หรือเทพเจ้าที่เป็นผู้หญิง ซึ่งเทพีในนิกายศักติมีลักษณะ 2 แบบ คือ

1 เป็นเทพมารดา ให้ความรัก เมตตา อบอุ่น ให้ความอุดมสมบูรณ์ และความสงบสุขต่าง ๆ เช่น พระแม่สุรัสวดี พระแม่ลักษมี พระแม่อุมาเทวี พระแม่ธรณี พระแม่คงคา ฯลฯ

2 เป็นเทพแห่งการลงโทษผู้ที่ทําชั่วด้วยความดุร้าย ได้แก่ พระแม่ทุรคา และพระแม่กาลี

59 ฆ่าพราหมณ์บาปเท่ากับฆ่า……….

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) วัว

(4) ควาย

ตอบ 3 หน้า 288 ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าวัวและพราหมณ์ถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหมในวันเดียวกันจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากัน ดังนั้นการฆ่าวัวจึงบาปเท่า ๆ กับการฆ่าพราหมณ์ และการรับประทาน เนื้อวัวนั้นชาวฮินดูถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายยิ่งกว่าการรับประทานเนื้อมนุษย์ วัวจึงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวฮินดู และทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากวัวล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

60 พญามัจจุราช มีพาหนะคือ

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) วัว

(4) ควาย

ตอบ 4 หน้า 288 289, (คําบรรยาย) สัตว์ที่เป็นพาหนะของเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้แก่ วัว (โค) เป็นพาหนะของพระศิวะ, พญาครุฑและพญานาคเป็นพาหนะของพระวิษณุ (พระนารายณ์), หงส์เป็นพาหนะของพระพรหม, นกยูงเป็นพาหนะของพระสุรัสวดี, หนูเป็นพาหนะของพระพิฆเนศ สิงโตเป็นพาหนะของพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี, ควาย (กระบือ) เป็นพาหนะของพญายม (พญามัจจุราช) และช้างเอราวัณ (ช้าง 3 เศียร) เป็นพาหนะของพระอินทร์ ซึ่งสัตว์ต่าง ๆเหล่านี้ถือว่าเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู

61 ศาสนาเชนถือว่าการตายที่บริสุทธิ์คือ

(1) อดอาหารตาย

(2) แขวนคอตาย

(3) กินยาพิษตาย

(4) เผาตัวตาย

ตอบ 1 หน้า 338, (คําบรรยาย) ศาสนาเชนเชื่อว่าความตายโดยการทรมานร่างกายจนตายด้วยการอดอาหารเป็นความตายที่บริสุทธิ์ และถือเป็นการบําเพ็ญเพียรเพื่อตัดกิเลสและสะสมบุญ

62 ศาสนาเชนให้ผู้นับถือต้อง

(1) บําเพ็ญประโยชน์ให้สังคมปีละครั้ง

(2) ทําทานทุกวัน

(3) สวดมนต์ทุกวัน

(4) อาบน้ำล้างบาปปีละครั้ง

ตอบ 2 หน้า 338, (คําบรรยาย) ความเชื่อขั้นพื้นฐานประการหนึ่งของศาสนาเชน คือ การให้ทานซึ่งต้องการให้ผู้นับถือศาสนาเชนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ อย่างน้อยที่สุดต้องให้ทานทุกวันเนื่องจากพวกเขาพิจารณาเห็นว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะมีส่วนช่วยเหลือและดูแลผู้อื่น

63 ศาสนาเชนผู้ใดกินมังสวิรัติ

(1) ศาสดา

(2) นักบวช

(3) ผู้นับถือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 337 จากการที่ผู้นับถือศาสนาเชน (รวมทั้งศาสดาและนักบวช) ต้องรักษาศีลข้อแรก(ไม่ฆ่าและไม่ทําร้ายสิ่งมีชีวิตใด ๆ ด้วยคําพูด ความคิด หรือการกระทํา แม้ในการป้องกันตนเอง) และมีความเชื่อในอหิงสาอย่างแนบแน่นอยู่ในจิตใจนั้น จึงทําให้ชาวเชนสมถะพอเพียงและกลายเป็นนักมังสวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์และไม่ดื่มนมจากสัตว์ตลอดชีวิต แม้ในเวลาที่เป็นปัญหาแห่งสุขภาพเพื่อมีชีวิตอยู่รอดก็ตาม

64 ศาสนาเชนผู้ใดไม่นุ่งลมห่มฟ้า

(1) ศาสดา

(2) นักบวช

(3) ผู้นับถือ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 340, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน มีนิกายที่สําคัญอยู่ 2 นิกายใหญ่ ๆ คือ นิกายเศวตัมพร (นิกายนุ่งขาวห่มขาว) และนิกายทิคัมพร (นิกายนุ่งลม-ห่มฟ้าหรือนักบวชแบบชีเปลือย)โดยมีรูปเคารพในศาสนาเชนเป็นรูปองค์ศาสดามหาวีระเปลือยกาย เป็นสัญลักษณ์

65 ศาสนาซิกข์ได้รับยกย่องว่าเป็นศาสนาของ….

(1) ผู้กล้าหาญ

(2) ผู้เสียสละ

(3) นักรบ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 340 341 ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่มีอายุน้อยที่สุดในบรรดาศาสนาทั้งหลายในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาที่เกิดจากการถูกบีบบังคับทางการเมืองและถูกคนในศาสนาอื่นบังคับขู่เข็ญ อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่ผู้นับถือชายเกือบทุกคนเป็นนักรบในสมัยที่ตั้งศาสนาตอนแรก ๆ จึงกลายเป็น ศาสนาของผู้กล้าหาญ ผู้เสียสละ และเป็นศาสนาของทหารหรือนักรบ โดยทหารซิกข์นับเป็นทหารชั้นหนึ่งของอินเดียจนกระทั่งได้รับสมญาว่า “แขนคือดาบ”

66 ผู้นับถือศาสนาซิกข์คนแรกคือ…ของศาสดาซิกข์

(1) มารดา

(2) พี่สาว

(3) น้องสาว

(4) ภรรยา

ตอบ 2 หน้า 342 คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ (ศาสดาองค์ที่ 1 ของศาสนาซิกข์) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อนานกี (แปลว่า หลานตา) ซึ่งรักท่านคุรุนานักมากจึงได้เอาชื่อของตนไปตั้งชื่อให้แก่น้องชายว่า “นานัก” และคงเป็นเพราะว่ารักน้องชายมากนี้เอง ต่อมานางนานกีจึงได้สมัครเป็นชาวซิกข์คนแรกด้วย

67 ศูนย์กลางของศาสนาซิกข์อยู่ที่แคว้น……ประเทศอินเดีย

(1) แคชเมียร์

(2) มคธ

(3) ปัญจาบ

(4) โอริสา

ตอบ 3 หน้า 341 ในปัจจุบันผู้นับถือศาสนาซิกข์มีอยู่กระจัดกระจายทั่วโลก ในประเทศอินเดียมีผู้นับถือศาสนาซิกข์มากในตอนเหนือของประเทศ คือ แคว้นปัญจาบและรัฐหรายนาและจัมมู-แคชเมียร์ โดยเฉพาะกรุงเดลฮี นับว่าเป็นศูนย์กลางของศาสนาซิกข์

68 “สตรีเป็นเหตุแห่งบาป” เป็นคํากล่าวของ

(1) คุรุนานัก

(2) มหาวีระ

(3) โมเสส

(4) พระเยซู

ตอบ 2 หน้า 335, 338 คําสอนของมหาวีระศาสดาของศาสนาเชน ได้แก่

1 ทรงสอนเน้นเรื่องการเอาชนะ อันหมายถึงการเอาชนะใจตนเอง โดยกล่าวว่า “มันเป็นการยากที่จะเอาชนะใจตนเอง แต่เมื่อใดเอาชนะตัวเองได้แล้ว ทุกอย่างก็ถูกเอาชนะด้วย”

2 ทรงสอนให้ใช้ชีวิตอย่างคนป่วย โดยกล่าวว่า “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบายเท่ากับความเจ็บป่วย”

3 ทรงปฏิเสธการปฏิบัติธรรมของสตรี โดยกล่าวว่า “สตรีเพศเป็นเหตุแห่งบาป” เป็นต้น

69 “คนมีคุณธรรมย่อมถือความสบายเท่ากับความเจ็บป่วย” เป็นคําสอนของ

(1) คุรุนานัก

(2) มหาวีระ

(3) โมเสส

(4) พระเยซู

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 “เมื่อใดเอาชนะตัวเองได้แล้ว ทุกอย่างก็ถูกเอาชนะด้วย” เป็นคําสอนของ

(1) คุรุนานัก

(2) มหาวีระ

(3) โมเสส

(4) พระเยซู

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

71 ศาสดาเชนต่างจากศาสดาพุทธในข้อใด

(1) ชาติกําเนิด วรรณะของศาสดา

(2) ละทิ้งสมบัติและครอบครัว

(3) แนวทางปฏิบัติเพื่อตัดกิเลส

(4) ตัดกิเลสเพื่อหลุดพ้น

ตอบ 3 หน้า 329, (คําบรรยาย) ศาสนาเชนเกิดในประเทศอินเดียร่วมยุคสมัยเดียวกับพุทธศาสนาและทั้งสองศาสนาก็มีความคล้ายกันหลายประการ เช่น เป็นศาสนาแห่งเหตุผล สั่งสอนไม่ให้ คนหลงงมงาย ชีวประวัติของศาสดา (เช่น มีชายาชื่อยโสธราเหมือนกัน มีชาติกําเนิด (วรรณะ) กษัตริย์เหมือนกัน ละทิ้งสมบัติและครอบครัวเพื่อออกบวชเหมือนกัน) รวมทั้งหลักธรรมคําสอน ก็คล้ายคลึงกันมาก แต่ที่ต่างกัน คือ แนวทางปฏิบัติเพื่อตัดกิเลส โดยศาสดามหาวีระจะเน้นหนัก เคร่งครัดตัดกิเลสอย่างสุดโต่งแบบอัตตกิลมถานุโยคทั้งนักบวชและศาสนิกชน ส่วนพระพุทธเจ้าถือทางสายกลางทั้งพระสงฆ์และศาสนิกชน

72 พระเยซูนับถือศาสนา ……

(1) ยูดาห์

(2) คริสต์

(3) โซโรอัสเตอร์

(4) ไม่นับถือศาสนาใด

ตอบ 1 หน้า 372 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สืบเนื่องมาจากศาสนายูดาห์ โดยศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู ก็เป็นชาวอิสราเอลและนับถือศาสนายูดาห์มาก่อน

73 พระเยซูถูกตรึงกางเขน เพราะประกาศว่าพระองค์เป็น

(1) King of the Kings

(2) Messiah

(3) Son of God

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 372, 375 – 379, 385 พระเยซูทรงประกาศว่า พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้า (Son of God) เป็นผู้มาไถ่บาปช่วยเหลือชาวยิวและมวลมนุษย์หรือพระคริสต์ (Christ) หรือพระเมสสีอาห์ (Messiah หรือพระผู้ช่วยให้รอด และพระองค์คือกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวงในโลก (King of the kings) ซึ่งคําประกาศดังกล่าวไม่ตรงกับที่ชาวยิวหวังไว้ เพราะพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญไม่ใช่กษัตริย์ จริง ๆ ไม่มีกองทัพอันเกรียงไกรแล้วจะปลดปล่อยช่วยเหลือชาวยิวได้อย่างไร ทําให้ชาวยิว บางส่วนไม่เชื่อและไม่พอใจในพระองค์ จึงได้วางแผนใส่ร้ายและยุยงให้ผู้สําเร็จราชการโรมัน จับพระองค์มาลงโทษด้วยการตรึงกางเขน

74 พระเยซูประกาศว่าพระองค์มาเพื่อ (ช่วย) ………..

(1) คนดีมีคุณธรรม

(2) คนป่วย

(3) คนบาป

(4) คนที่ศรัทธาพระเจ้า

ตอบ 3 หน้า 376 พระเยซูเสด็จไปในท่ามกลางคนจนและคนต่ำต้อย โดยรักษาคนเจ็บป่วย ปลอบโยนผู้โศกเศร้า และนําความหวังมาสู่จิตใจของคนผู้สํานึกผิด และเมื่อพระเยซูถูกต่อว่าที่มาคลุกคลี กับคนบาป พระเยซูกล่าวว่า “บุคคลผู้สบายดีก็ไม่ต้องการหมอ แต่หมอจําเป็นสําหรับผู้เจ็บป่วยข้าพเจ้ามาไม่ใช่เพื่อคนบุญ แต่มาเพื่อคนบาป เพื่อจะได้สํานึกผิด”

75 คนแรกที่ประกาศให้นับถือพระเจ้าองค์เดียวคือศาสดา

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(3) เยซู

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 หน้า 361, 368 369, (คําบรรยาย) อับราฮัม ศาสดาของศาสนายูดาห์เป็นคนแรกที่ประกาศให้นับถือพระเจ้าองค์เดียว และได้ให้คํามั่นสัญญากับพระเจ้าว่า ลูกชายชาวอิสราเอล (ชาวยิว หรือชาวฮิบรู) ทุกคนต้องทําการขริบปลายอวัยวะเพศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันว่าชนชาติ อิสราเอลเป็นชนชาติแรกที่พระเจ้าทรงเลือก (The Chosen People) และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญากับพระเจ้า

76 คนแรกที่ประกาศให้ชายผู้นับถือพระเจ้าองค์เดียวต้องขริบปลายอวัยวะเพศ

(1) อับราฮัม

(2) โมเสส

(4) นบีมูฮัมหมัด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

77 ชนชาติแรกที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ

(1) ชาวกรีก

(2) ชาวอิสราเอล

(3) ชาวอาหรับ

(4) ชาวอียิปต์โบราณ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ

78 มนุษย์สามารถติดต่อกับพระเจ้า (องค์เดียว) ได้โดยทาง

(1) บูชายัญ

(2) อ่านคัมภีร์

(3) สวดมนต์

(4) ถือศีลอดอาหาร

ตอบ 3 หน้า 360, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์ เชื่อว่าพระเจ้าทรงติดต่อกับมนุษย์โดยทรงแสดงอภินิหารให้เห็น ส่วนมนุษย์จะติดต่อกับพระเจ้า (องค์เดียว) ได้ด้วยการสวดมนต์และการบําเพ็ญภาวนา โดยพระเจ้าทรงประทานโองการโดยผ่านทางศาสดา ได้แก่ อับราฮัม โมเสส และพระเมสสิอาห์ (Messiah หรือผู้ช่วยให้รอด) ซึ่งพระเจ้าจะส่งมาโปรดช่วยเหลือชาวอิสราเอลเมื่อมีความทุกข์อย่างหนัก โดยเดินทางมาในรูปร่างของมนุษย์

79 พระเจ้าประทานให้ชาวอิสราเอลคือ “ให้…ที่สุด”

(1) กล้าหาญ

(2) ฉลาด

(3) ร่ำรวย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 361 พระเจ้าประทานพรให้แก่อับราฮัมและลูกหลานชนชาติอิสราเอลทั้งปวงว่าชาวอิสราเอลทั้งหลายจะอยู่ทั่วไปในโลกดุจดวงดาวบนท้องฟ้า ลูกหลานอิสราเอลจะมีมากมาย ดุจเม็ดทรายในทะเลทราย ชาวอิสราเอลจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดที่สุด และที่สําคัญจะประทาน “ดินแดนแห่งสัญญา” (The Promised Land) ให้ชาวอิสราเอลได้อยู่อาศัยสร้างบ้านเมืองที่ถาวรและอุดมสมบูรณ์

80 ผู้ที่นับถือศาสนายูดาห์ (ยิว) ที่เคร่งจะไม่กินเนื้อสัตว์ข้อใด

(1) วัว

(2) แพะ

(3) แกะ

(4) หมู

ตอบ 4 หน้า 370, (คําบรรยาย) ศาสนายูดาห์ (ยิว) มีข้อห้ามในเรื่องการรับประทานอาหาร คืออาหารที่รับประทานได้ประเภทเนื้อสัตว์ต้องเป็นสัตว์ประเภทเคี้ยวอาหาร เคี้ยวเอื้อง (เช่น วัว แพะ แกะ) ถ้าเป็นปลาต้องเป็นปลาที่มีครีบและหาง ถ้าเป็นสัตว์ปีกต้องฆ่าตามวิธีที่กําหนดไว้และเนื้อสัตว์ที่ฆ่าต้องเอาเลือดออกให้หมด นอกจากนี้ยังพบว่าชาวยิวที่เคร่งนั้นจะไม่กินเนื้อหมูและกุ้ง เพราะถือเป็นสัตว์ที่กินของสกปรก

81 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ

(1) ตะเกียงจุดไฟ

(2) คบเพลิง

(3) เชิงเทียน 7 ก้าน

(4) เชิงเทียน 5 ก้าน

ตอบ 3 หน้า 371 สัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ คือ เชิงเทียน ซึ่งมีที่ตั้งเทียน 7 ก้าน (เล่ม) เรียงกัน

82 ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก คือ

(1) อิหร่าน

(2) อินโดนีเซีย

(3) อียิปต์

(4) ซาอุดิอาระเบีย

ตอบ 2 หน้า 391, (คําบรรยาย) ศาสนาอิสลามเกิดในดินแดนทะเลทรายในทวีปเอเชีย หรือที่เรียกว่าตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นดินแดนถิ่นฐานของชาวอาหรับ และปัจจุบันเป็นศาสนาที่มีจํานวน ผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากศาสนาคริสต์ โดยประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก คือ อินโดนีเซีย

83 ผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นมุสลิมคนแรกที่มีความสัมพันธ์เป็น…..ของท่านนบี

(1) มารดา

(2) ลุง

(3) ภรรยา

(4) บุตรสาว

ตอบ 3 (คําบรรยาย) มุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) คนแรกของโลก คือ นางคาดียะฮ์ (Khadijah) ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกของท่านนบีมูฮัมหมัด โดยท่านนบีรักและเคารพภรรยาผู้นี้มาก และได้กล่าวถึงว่า “เมื่อข้าพเจ้ายากจน เธอทําให้ข้าพเจ้าร่ำรวยขึ้น เมื่อคนอื่นกล่าวว่าข้าพเจ้าพูดเท็จเธอเท่านั้นที่เชื่อในข้าพเจ้า”

84 ข้อเด่นของวัฒนธรรมอาหรับที่เป็นที่รู้กันมาแต่โบราณ ได้แก่

(1) ความรู้เรื่องดาราศาสตร์

(2) การทําพรม

(3) ภาษาอาหรับ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 392 393 วัฒนธรรมของชาวอาหรับ ได้แก่ ความรู้เรื่องดาราศาสตร์ การทําพรมภาษาอาหรับ นิทานอาหรับราตรี อาลาดินกับตะเกียงวิเศษ ฯลฯ

85 คัมภีร์อัล-กุรอานมาจากโกหร่าน แปลว่า

(1) การฟัง

(2) การเขียน

(3) การอ่าน

(4) การจํา

ตอบ 3 หน้า 399 คัมภีร์อัล-กุรอาน มาจากคัมภีร์ “โกหร่าน” แปลว่า “การอ่าน” ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นธรรมะสูงสุดของศาสนาอิสลาม เพื่อยึดเหนี่ยวให้ชาวมุสลิมทั่วโลกใช้เป็นแนวทางและธรรมนูญสูงสุดในการดํารงชีวิต

86 จังหวัดใดไม่ได้ใช้กฎหมายอิสลาม

(1) ระนอง

(2) ยะลา

(3) นราธิวาส

(4) สตูล

ตอบ 1 หน้า 391 ประเทศไทยมีชาวมุสลิมผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่ทั่วทุกจังหวัด และมีมากที่สุดใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้ใช้ กฎหมายอิสลามใน 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าวนี้

87 ผู้ใดไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด

(1) คนป่วย

(2) คนท้อง

(3) คนเดินทางไกล

(4) คนต้องโทษติดคุก

ตอบ 4 หน้า 402, (คําบรรยาย) การถือศีลอดจะถือเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม (30 วัน) และจะเริ่มทําในวันแรกของเดือนที่ 9 แห่งปฏิทินอิสลาม ซึ่งเรียกว่า เดือนรอมาดอนหรือรอมดอน (Ramadan) โดยผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด ได้แก่ ผู้ป่วย หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้เดินทาง ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้วิกลจริตหรือมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ (สําหรับผู้ป่วยและผู้เดินทางที่จะต้องมาถือศีลอดชดเชยในภายหลังเมื่อพ้นภาวะนั้นแล้ว)

88 ตําแหน่งจุฬาราชมนตรีเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) สุโขทัย

(2) อยุธยา

(3) กรุงธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 408 จุฬาราชมนตรีเป็นตําแหน่งผู้นําฝ่ายศาสนาอิสลามในประเทศไทยที่ฝ่ายบ้านเมืองสถาปนาขึ้นให้มีหน้าที่เป็นหัวหน้าบริหารศาสนาอิสลาม ซึ่งตําแหน่งนี้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพ่อค้าชาวเปอร์เซียชื่อ “เฉกอะหมัด” เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของประเทศไทย

89 ข้อใดเป็นฮารอม (Haram)

(1) กระเป๋าหนังเทียม

(2) กระเป๋าหนังวัว

(3) กระเป๋าหนังอูฐ

(4) กระเป๋าหนังจระเข้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลิตภัณฑ์และอาหารฮาลาล (HALAL) หมายถึง ผลิตภัณฑ์และอาหารทุกชนิดที่ไม่มีองค์ประกอบของสิ่งที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัตว์นั้นผ่านการเชือด ที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลาม ดังนี้

1 ผู้เชือดเป็นมุสลิมที่เข้าใจและรู้วิธีการเชือดแบบอิสลามอย่างแท้จริง

2 สัตว์ที่จะนํามาเชือดจะต้องไม่เป็นสัตว์ที่ต้องห้าม หรือที่เรียกว่าฮารอม (Haram) เช่น หมู สุนัข เสือดํา เหยี่ยว นกอินทรี ง จระเข้ ตะกวด ฯลฯ ส่วนสัตว์ที่สามารถนํามาเชือดได้ เช่น แพะ แกะ วัว อูฐ กวาง กระต่าย ฯลฯ

3 สัตว์ยังมีชีวิตขณะทําการเชือด

4 สัตว์ต้องตายสนิทก่อนที่จะแล่เนื้อ หรือดําเนินการใด ๆ ต่อไป

90 “นกอีแร้ง” เกี่ยวข้องกับผู้นับถือศาสนาใด

(1) ฮินดู

(2) อียิปต์โบราณ

(3) โซโรอัสเตอร์

(4) ซิกข์

ตอบ 3 หน้า 425 คติความเชื่อเกี่ยวกับความตายของศาสนาโซโรอัสเตอร์ คือ การห้ามไม่ให้เผาศพห้ามนําศพไปทิ้งน้ำ และห้ามนําศพไปฝังดิน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าศพนั้นเป็นสิ่งสกปรกซึ่งจะทําให้ ไฟ น้ำ และดินที่พวกเขานับถือต้องสกปรก แต่ให้ทําพิธีศพโดยการนําศพไปวางทิ้งไว้บนหอสูงเรียกว่า “หอคอยแห่งความสงบ” แล้วปล่อยให้แร้ง (นกอีแร้ง) มาจิกกินเป็นอาหาร

91 ศาสนาโซโรอัสเตอร์ถือว่าบาปที่สุด คือ

(1) โกง

(2) โกหก

(3) ขโมย

(4) ขี้ขลาด

ตอบ 2 หน้า 423 424 ศาสดาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้สั่งสอนไม่ให้คนโกหก กล่าวเท็จเป็นพยานเท็จ และประณามผู้โกหก กล่าวเท็จอย่างมากว่าบาปที่สุด จนเป็นกฎบัญญัติ ให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของศาสนานี้

92 อาณาจักรเปอร์เซีย ปัจจุบันคือประเทศ…

(1) อิรัก

(2) อิหร่าน

(3) ซีเรีย

(4) ตุรกี

ตอบ 2 หน้า 419, 428 429 ในสมัยโบราณศาสนาโซโรอัสเตอร์เดิมเป็นศาสนาประจําชาติของชาวเปอร์เซีย แต่ปัจจุบันอาณาจักรเปอร์เซียกลายเป็นประเทศอิหร่านและนับถือศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจําชาติ ทําให้ชาวเปอร์เซียที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาอยู่ในประเทศของตนไม่ได้ ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ในดินแดนต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง และส่วนใหญ่อพยพไปตั้งถิ่นฐานรวมกลุ่มกัน อยู่มากเป็นชนกลุ่มน้อยและเรียกตัวเองว่า ชาวปาร์ซี (Parsee หรือ Parsi) ซึ่งในปัจจุบันผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ส่วนใหญ่นั้นตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในนครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย

93 ดาโต๊ะยุติธรรม ต้องมีอายุตั้งแต่ ……. ขึ้นไป

(1) 25 ปี

(2) 30 ปี

(3) 35 ปี

(4) 40 ปี

ตอบ 1 หน้า 410 411, (คําบรรยาย) ดาโต๊ะยุติธรรม เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยและชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามในคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของศาลชั้นต้นใน 4 จังหวัดภาคใต้ โดยตําแหน่งดาโต๊ะยุติธรรมนั้น คัดเลือกจากอิสลามศาสนิกชนผู้มีคุณสมบัติดังนี้

1 มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

2 มีภูมิรู้ในศาสนาอิสลามพอที่จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

3 มีความรู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้

94 คดีที่ดาโต๊ะยุติธรรมพิจารณาไม่ได้

(1) คดีแพ่ง

(2) คดีอาญา

(3) คดีมรดก

(4) คดีครอบครัว

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93 ประกอบ

95 “หอคอยแห่งความสงบ” ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ คือสถานที่

(1) เก็บคัมภีร์

(2) สวดมนต์

(3) เผาศพ

(4) ทิ้งศพให้สัตว์กิน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

96 ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ประเทศอินเดียที่เมือง ….

(1) นิวเดลี

(2) บอมเบย์

(3) แคชเมียร์

(4) โอริสา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

97 ศาสนาที่อายุน้อยที่สุด คือ

(1) เชน

(2) คริสต์

(3) ซิกข์

(4) อิสลาม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

98 “สุวรรณวิหาร” เป็นศาสนสถานที่สําคัญของศาสนา

(1) ฮินดู

(2) เชน

(3) พุทธ

(4) ซิกข์

ตอบ 4 หน้า 346 คุรุอรชุน (ศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์) เป็นผู้สร้าง “สุวรรณวิหาร” หรือ“หริมณเฑียร” ขึ้นกลางสระอมฤต ซึ่งเป็นวิหารหรือวัดที่สวยงามมาก มีประตูสี่ด้าน ไม่มี รูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นสีทองอร่ามไปทั่วทั้งวิหารทั้งภายนอกและภายใน ใช้ประกอบพิธี ทางศาสนา และถือเป็นศาสนสถานที่สําคัญที่สุดของศาสนาซิกข์

99 พระเจ้าพิมพิสารยกที่ดินสวนป่าไผ่ให้เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา คือ (1) เวฬุวันมหาวิหาร

(2) เชตะวันมหาวิหาร

(3) บุปผารามมหาวิหาร

(4) โลหะปราสาท

ตอบ 1 หน้า 325, คําบรรยาย) เวฬุวันมหาวิหาร เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ เดิมเป็นอุทยานสวนไม้ไผ่ซึ่งพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งมคธได้ถวายเป็นพุทธบูชา และเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระอรหันต์จํานวน 1,250 รูป ในวันมาฆบูชา

100 ชายซิกข์ทุกคนต้องสวมกําไลทําด้วย…..

(1) ทองคํา

(2) ทองแดง

(3) เงิน ทอง

(4) เหล็ก

ตอบ 4 หน้า 348 349, (คําบรรยาย) คุรุโควินทสิงห์ เป็นศาสดาของศาสนาซิกข์ที่ให้ศีล 21 ข้อ ซึ่งเป็นศีลประจําชีวิตที่ชายผู้นับถือศาสนาซิกข์ทุกคนถือปฏิบัติ เช่น

1 มี “ก 5 ประการ” ไว้กับตน คือ เกศ (ไว้ผมยาว) กังฆา (หวี) กฉา (กางเกงขาสั้น) กรา (สวมกําไลเหล็ก) และกฤปาน (ดาบ)

2 ห้ามใช้สีแดง เพราะเป็นสีที่หมายถึงความรัก ความเมตตา ซึ่งขัดต่อนิสัยนักรบ

3 ให้ใช้คําว่า “สิงห์” ต่อท้ายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

4 ให้โพกศีรษะ ห้ามเปลือยศีรษะ นอกจากเวลาอาบน้ำ

5 ห้ามตัดหรือโกนผม หนวด และเครา ฯลฯ

 

 

WordPress Ads
error: Content is protected !!