POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น s/2566

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสหลัก
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 83 – 127 แนวทางการวิเคราะห์กระแสหลัก ได้แก่
1. แนวทางระบบ
2. แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
3. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล
4. แนวทางสถาบันนิยมใหม่
5. แนวทางโครงสร้าง

2.แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสวิพากษ์
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางสถาบันนิยมใหม่
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, 107, 134, 140 แนวทางการวิเคราะห์กระแสวิพากษ์ ได้แก่
1. แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
2. แนวทางมาร์กซิสต์
3. แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
4. แนวทางหลังสมัยใหม่หรือแนวทางหลังโครงสร้างนิยม(ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ)

3. นักรัฐศาสตร์คนสําคัญที่นําเอาความคิดเชิงระบบมาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบคือ
(1) อีสตัน
(2) อัลมอนด์
(3) คาร์ล ดอยซ์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ชาร์ล ทิลลี
ตอบ 1 หน้า 89 เดวิด อีสตัน (David Easton) เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่นําเอาความคิดเชิงระบบ มาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบ และเป็นบุคคลแรก ๆ ที่เสนอแบบจําลองของระบบการเมือง อันเป็นผลจากความพยายามในการหาทฤษฎีทั่วไปที่สามารถใช้ในการอธิบายการเมืองทั้งระบบหรือสร้างทฤษฎีมหภาคที่สามารถนําไปใช้อธิบายสังคมอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งโลก

4. ทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) อีสตัน
(2) เมอร์เรียม
(3) อัลมอนด์
(4) ฟูโกต์
(5) พาร์สัน
ตอบ 3 หน้า 92 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) ได้พัฒนาทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โดยได้ดึงแนวคิดเรื่องบทบาทและโครงสร้างของนักสังคมวิทยา เช่น แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ทาลค็อตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) เข้ามาผนวกกับทฤษฎีระบบ เพื่อให้ทฤษฎีระบบเชิง โครงสร้าง-หน้าที่มีความเป็นรูปธรรม สามารถศึกษากลุ่มของการกระทําทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้

5. ในทฤษฎีระบบการเมือง ปัจจัยนําเข้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) รัฐบาลและรัฐสภา
(2) ข้อเรียกร้องความต้องการและการสนับสนุน
(3) นโยบายและการปฏิบัติ
(4) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 89 – 90 ในทฤษฎีระบบการเมืองนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) อธิบายว่า “ระบบการเมือง” (Political System) เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ซึ่งทําหน้าที่อยู่ภายใต้ “สิ่งแวดล้อม” (Environment) โดยจะมี “ปัจจัยนําเข้า” (Inputs) ซึ่งประกอบด้วย ข้อเรียกร้อง ความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) จากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ระบบการเมือง แล้วระบบการเมืองก็จะทําหน้าที่ในการตัดสินใจแปลงปัจจัยนําเข้าดังกล่าวเป็น “ปัจจัยนําออก (Outputs) ในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายต่าง ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และผลจากการทํางานของระบบการเมืองก็จะเกิดเป็น “ผลสะท้อนกลับ” (Feedback) กลับเข้าไปเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

6. ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โครงสร้างใดทําหน้าที่รวบรวมผลประโยชน์
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) รัฐบาล
(4) รัฐสภา
(5) ศาล
ตอบ 2 หน้า 93 – 94 ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่นั้น แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) อธิบายว่า โครงสร้างทางการเมืองแต่ละอย่างสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ แม้ใน ระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วจะมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมาทําหน้าที่เฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะทําแค่หน้าที่เดียว เพราะโครงสร้างในทุกระบบการเมืองจะทําหน้าที่ หลาย ๆ อย่างเสมอ เช่น พรรคการเมืองมีหน้าที่หลักในการรวบรวมผลประโยชน์และเลือกสรร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองก็ทําหน้าที่อื่น ๆ เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับ ประชาชน การให้การศึกษาทางการเมือง เป็นต้น

7.วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
(1) Parochial
(2) Subject
(3) Participant
(4) Civic Culture
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ได้แบ่งวัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ แบบคับแคบ (Parochiat) แบบไพร่ฟ้า (Subject) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) โดยมองว่า วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสม หรือเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่ต้องเป็นวัฒนธรรมทาง การเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 3 แบบอย่างลงตัว ซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม แบบพลเมือง” (Civic Culture) อันเป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมือง แต่ก็ไม่มากจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

8.นักรัฐศาสตร์ท่านใดมีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
(1) Huntington
(2) Bentley
(3) Downs
(4) Powell
(5) Almond
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) เป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) โดยอัลมอนด์เสนอว่า สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย และอีกประเทศหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นก็เพราะว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย ส่วนประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นมีวัฒนธรรมไม่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย

9.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ Subject
(1) เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง
(2) เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
(3) เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ
(4) เป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมืองหรือ แบบไพร่ฟ้า (Subject) เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนสนใจข่าวสาร มีความรู้เกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีอํานาจทางการเมือง เรื่องของ การเมืองเป็นเรื่องของผู้นํา ดังนั้นลักษณะของวัฒนธรรมแบบนี้จึงเป็นความสัมพันธ์แบบ บนลงล่าง การเมืองเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและกฎเกณฑ์ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็น การเมืองแบบใช้เหตุผล

10. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทางของยุคใด
(1) ยุคปรัชญา
(2) ยุคสถาบัน
(3) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(4) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 108 – 109 แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มถูกนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็น ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ดังนั้นแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทาง หรือทฤษฎีในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ในกระแสหลักที่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความเป็นศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ในทางการเมือง

11. แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลคือ
(1) ความเสียสละ
(2) ผลประโยชน์ส่วนบุคคล
(3) ผลประโยชน์ของชาติ
(4) ความหลากหลาย
(5) ความเท่าเทียม
ตอบ 2 หน้า 109 แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลตั้งอยู่บน สมมติฐานหลัก 2 ตัว คือ ความมีเหตุมีผล (Rationality) กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล(Self-Interest)

12. ตามแนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล คําว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผลหมายถึงข้อใด
(1) จะทําการใดต้องมีการคํานวณ
(2) คิดถึงประโยชน์ได้เสีย
(3) แสวงหาประโยชน์สูงสุด
(4) หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 110, (คําบรรยาย) แนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) มีสมมติฐานสําคัญคือ มนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผล ซึ่งคําว่ามีเหตุมีผลหมายถึง มนุษย์ทุกคนเวลา จะทําการใดจะต้องคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์ อย่างไร หรือคํานวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากทางเลือกแต่ละทาง โดยมนุษย์จะตัดสินใจเลือก ทางเลือกที่ได้ประโยชน์สูงสุด และหลีกเลี่ยงทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์มากที่สุดหรือหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์นั่นเอง

13. แนวทางสถาบันดั้งเดิมแตกต่างกับแนวทางสถาบันนิยมใหม่ในข้อใด
(1) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ
(2) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการ
(3) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 115, 118, 120 – 122 แนวทางสถาบันดั้งเดิม เน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการหรือ ศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย ส่วนแนวทางสถาบันนิยมใหม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการควบคู่กันไปกับการศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ รวมถึงขยายขอบเขต ของการศึกษาไปสู่เรื่องของพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง ปัจจัยทั้งหลายที่สามารถ ส่งผลทั้งต่อตัวสถาบันและต่อพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ

14. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นสถาบันของฮันทิงตัน
(1) ความสามารถในการปรับตัว
(2) การแบ่งโครงสร้างทําหน้าที่เฉพาะ
(3) ความรวดเร็วในการทํางาน
(4) ความเป็นอิสระในตนเอง
(5) ความเป็นปึกแผ่น
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้เสนอตัวชี้วัดความเป็น สถาบัน ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
2. การแบ่งโครงสร้างแยกย่อยลงไปและทําหน้าที่เฉพาะ (Complexity)
3. ความเป็นอิสระในตนเอง (Autonomy)
4. ความเป็นปึกแผ่น (Coherence)

15. “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) มาร์กซ์
(2) ทิลลี
(3) ไชยวัฒน์ ค้ำชู
(4) อดอร์โน
(5) เดอร์ไคม์
ตอบ 2 หน้า 128 แนวทางโครงสร้างเชิงประวัติศาสตร์ จะเน้นวิเคราะห์ความเป็นมาของโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น พัฒนาการของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในโลกตะวันตก พัฒนาการของระบบ ทุนนิยม พัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่ พัฒนาการของการเข้าสู่ ระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพใหญ่ของพัฒนาการ ตลอดจน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ศึกษาดังที่ซาร์ล ทิลลี่ (Charles Tilly) เรียกว่า “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” และ “กระบวนการใหญ่”

16. นักวิชาการผู้ใดมีอิทธิพลต่อแนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) ซี. ไรท์ มิลล์
(5) คาร์ล ป๊อปเปอร์
ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) นิคอส พลันต์ซาส (Nicos Poulantzas) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลต่อ แนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ อันเป็นผลมาจากกระแสการนํารัฐกลับมาเป็นแกนกลางในการศึกษาทางการเมือง

17. นักวิชาการคนใดมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) สค็อกโพล
ตอบ 5 หน้า 117, 130, 156 เธดา สค็อกโพล (Theda Skocpol) และปีเตอร์ อีแวน (Peter Evans) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
โดยทั้งสองได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Bringing the State Back In” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนํามาใช้ เป็นกระแสการเรียกร้องให้รัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนกล่องดํา คือเป็นที่รวมของอํานาจที่กลุ่ม ต่าง ๆ ใช้ในการต่อรอง แย่งชิง ผลักดันนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน กลับเข้ามาสู่การเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ทางการเมือง

18. เพราะเหตุใดแนวคิดแบบมาร์กซิสต์จึงไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม
(1) เพราะยากที่สถาบันการเมืองจะมีความเข้มแข็ง
(2) เพราะเอกชนจะเรียกร้องให้รัฐมีบทบาทน้อย
(3) เพราะมีความเจริญทางวัตถุแต่จิตใจผู้คนตกต่ำ
(4) เพราะมีโครงสร้างที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
(5) เพราะผู้คนไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา
ตอบ 4 หน้า 134 – 136, (คําบรรยาย) แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคง จะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม เพราะหัวใจสําคัญของประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกัน แต่ใน ระบบทุนนิยมกลับมีโครงสร้างที่ทําให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมนั้น ชนชั้นที่ออกแรงผลิตคือชนชั้นแรงงาน แต่ชนชั้นนายทุนกลับริบเอามูลค่าที่ชนชั้นแรงงานผลิตได้ ไปเป็นของตน ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวทําให้เกิด “ชนชั้นผู้ได้เปรียบ” กับ “ชนชั้นผู้เสียเปรียบ ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

19. ปัจจัยใดที่คาร์ล มาร์กซ์ ให้ความสําคัญที่สุดเมื่อวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
(1) อํานาจของกฎหมาย
(2) โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
(3) การครอบงําทางความคิดผ่านทางศาสนา
(4) แสนยานุภาพทางทหาร
(5) อํานาจของรัฐในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ตอบ 2 หน้า 134 – 135 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist Theory) กําเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน หรือก็คือ ปฏิเสธระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์ของมาร์กซ์นั้นในทางหนึ่งเป็นการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ แต่หัวใจหลักอยู่ที่การใช้ โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง

20. ข้อใดเป็นความแตกต่างสําคัญที่สุดระหว่างมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมกับมาร์กซิสต์ใหม่
(1) วิเคราะห์ทางชนชั้น
(2) ปฏิเสธระบบทุนนิยม
(3) ปฏิวัติทางชนชั้น
(4) ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 137 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม โดยมีจุดร่วมสําคัญ คือ การมองว่าชนชั้นที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจมักมีแนวโน้มมีอํานาจในทาง การเมืองด้วย แต่มีจุดต่างสําคัญจากมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมคือหันไปให้น้ําหนักกับโครงสร้างส่วนบนมากขึ้นแทนที่จะเน้นวิเคราะห์โครงสร้างส่วนล่างเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นของอํานาจรัฐ

21. แนวคิดสําคัญของอันโตนิโอ กรัม คือแนวคิดใด
(1) การปฏิวัติทางชนชั้น
(2) วาทกรรม
(3) การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์
(4) พหุวัฒนธรรม
(5) การครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรม
ตอบ 3 หน้า 137 – 138 อันโตนิโอ กรัมชี (Antonio Gramsci) ได้เสนอแนวคิด “การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์” (Hegemony) โดยอธิบายว่า โครงสร้างส่วนบนแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ
สังคมการเมืองและสังคมประชา ชนชั้นที่ต้องการมีอํานาจเหนือสังคมอย่างเบ็ดเสร็จต้องสามารถครองอํานาจได้ในทั้งสองพื้นที่ในฐานะผู้ครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์ และกรัมที่ได้ให้น้ําหนัก
ไปที่การครอบงําทางความคิดอย่างมาก เนื่องจากการที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะขั้นเด็ดขาดและ สมบูรณ์เหนือสังคมได้ ชนชั้นนั้นต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม

22.นักวิชาการคนใดเสนอแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม
(1) หลุยส์ อัลธูแซร์
(2) เออร์เนสโต ลาเคลา
(3) ซองทัล มูฟ
(4) ชาร์ค แดร์ริดา
(5) มิเชล ฟูโกต์
ตอบ 5 หน้า 140 – 143 แนวคิดที่สําคัญของนักวิชาการในยุคหลังสมัยใหม่ มีดังนี้
1. แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของมิเซล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
2. แนวคิดการรื้อสร้างของชาร์ค แดร์ริดา (Jacques Derrida)
3. แนวคิดมายาคติของโรลอง บาร์ต (Roland Barthes)
4. แนวคิดการครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรมและแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกของเออร์เนสโต ลาเกลาและซองทัล มูฟ (Ernesto Laclau and Chantal Mouffe) ฯลฯ

23. “รัฐคือองค์การทางการเมืองที่มีอํานาจในการออกคําสั่งหรือระเบียบ รวมถึงควบคุมการใช้ความรุนแรงเพื่อให้คําสั่งหรือกฎระเบียบถูกบังคับใช้” เป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Andrew Heywood
(2) Joel Migdal
(3) Max Weber
(4) Gaetano Mosca
(5) Anthony Giddens
ตอบ 5 หน้า 149 แอนโทนี กิดเดนส์ (Anthony Giddens) ได้ให้นิยามคําว่ารัฐไว้ว่า “รัฐคือองค์การ ทางการเมืองที่มีอํานาจในการออกคําสั่งหรือระเบียบ รวมถึงควบคุมการใช้ความรุนแรงเพื่อให้ คําสั่งหรือกฎระเบียบถูกบังคับใช้”

24. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) Treaty of Ulm 1647 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(2) Treaty of Concordia 1648 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(3) Treaty of Westphalia 1648 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(4) Treaty of Zboriv 1649 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(5) Treaty of Breda 1650 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
ตอบ 3 หน้า 147 สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 นํามาสู่การ เกิดขึ้นของ “รัฐสมัยใหม่” ในยุโรป ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ คือ ดินแดนที่แน่นอน (Territory) ประชากร (Population) รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

25. รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเอง คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 1 หน้า 148 รัฐในความหมายเชิงนามธรรม หมายถึง รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเองแยกออกมาและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งรัฐจะนําพามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ โดยที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังรัฐ

26. รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงองค์การ หมายถึง รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย

27. รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นน่านิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 3 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่ หมายถึง รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อ บทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม

28. รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 2 หน้า 148 – 149 รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม หมายถึง รัฐเป็นแหล่งรวมของ ชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม

29. รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 4 หน้า 151 – 152 รัฐรวม (Composite State) หรือสหพันธรัฐ (Federation) คือ รัฐที่เกิดขึ้น จากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นโดยการมอบ อธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลางเพื่อจัดการในเรื่องสําคัญของส่วนรวมด้วยเหตุผลในเรื่องของ การป้องกันภัยรุกราน ความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ในขณะที่แต่ละรัฐที่มารวมตัวกัน ก็ยังคงมีอธิปไตยของตนเองอยู่บางส่วน ดังนั้นรัฐรวมจึงมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลของท้องถิ่นหรือมลรัฐ ตัวอย่างของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น

30. รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาที่เรียกว่าประธานาธิบดี คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 2 หน้า 151 สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาหรือเป็นผู้นําทางศาสนา รัฐแบบนี้พบได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย (เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี อินเดีย) คอมมิวนิสต์ (เช่น จีน เวียดนาม) และรัฐที่ปกครองโดยหลักศาสนา (เช่น อิหร่าน)

31. รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุดในเขตแดนของรัฐ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State.
(5) Minimal State
ตอบ 3 หน้า 15 รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุด หรืออธิปไตยสมบูรณ์ในเขตแดนของรัฐนั้น ๆ ไม่มีรัฐบาลในระดับที่รองลงมา หน่วยงานของรัฐ ในท้องที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นมือไม้หรือหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจาก รัฐบาลกลางไปดําเนินการ หรือในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นแม้จะได้รับการกระจายอํานาจลงไปให้บ้างแต่ก็ไม่ถือว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง การดําเนินงานยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับควบคุมของรัฐบาลกลาง ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น

32. รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบ ประชาธิปไตยก็ได้ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 1 หน้า 150 – 151 รัฐราชอาณาจักร (Kingdom State) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งรัฐราชอาณาจักรเกือบทั้งหมดในปัจจุบันก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา เบลเยียม ไทย เป็นต้น

33. รัฐมีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1 หน้า 153 รัฐแบบกรรมการ (Minimal State) คือ รัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมที่ให้รัฐ มีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการ ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ รัฐประเภทนี้พบในประเทศที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้น

34. แนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) มีความสัมพันธ์กับประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 3 หน้า 154 รัฐสังคม -ประชาธิปไตย (Social-Democratic State) คือ รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อ ปฏิรูปสังคมให้เกิดความยุติธรรม แก้ปัญหาความยากจน เน้นให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม เป็นรัฐที่เน้นทําเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าจะเน้นทําเพื่อประโยชน์ของนายทุน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐจึงต้องเข้าไปแทรกแซงสังคมในระดับสูงหรืออย่างแข็งขัน เพื่อแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมที่อาจเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตัวอย่างเช่น แนวคิด เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น

35. พบในสหภาพโซเวียตในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงเหนือสังคม ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กระทั่งการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยไม่ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นรัฐที่มีอํานาจ สูงที่สุด ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ รัฐประเภทนี้พบในสหภาพโซเวียต ในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี และเกาหลีเหนือ

36. รัฐเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมคือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 2 หน้า 153 รัฐเพื่อการพัฒนา (Developmental State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐอาจจะประสาน ความร่วมมือกับนายทุนระดับชาติเพื่อการดังกล่าว ทั้งนี้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเอกชนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ มากกว่าการเข้าไปขัดขวางหรือรับเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจมาดําเนินการเอง ตัวอย่างของรัฐ ประเภทนี้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น

37. รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดให้ เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 4 หน้า 154 รัฐรวมศูนย์ (Collectivized State) คือ รัฐที่เข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดถูกวางแผนและจัดการโดยรัฐ จากส่วนกลาง รวมถึงมีการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล คือ ไม่ให้เอกชนสามารถมีทรัพย์สิน ส่วนตัวได้ แต่ให้ทุกอย่างตกเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐประเภทนี้พบได้ในระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาพโซเวียต จีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง เป็นต้น

38. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐนิยม (Statist Model)
(1) มีคําอธิบายรัฐนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordtinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson
(2) เกิดจากการผลักดันของ Theda Skocpol และ Peter Evans
(3) รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจน้อยที่สุด
(4) รัฐในมุมมอง Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
(5) ฐานคิดสําคัญคือรัฐจะมีบทบาทเสมอในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 156 – 158, (คําบรรยาย) อนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้อธิบายรัฐนิยมโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpot กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson ซึ่งจาก 3 กลุ่มนี้ รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจสูงที่สุด รองลงมาคือ รัฐในมุมมองของ Treda Skocpol และรัฐในมุมมองของ Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น

39. ประชาธิปไตยทางตรงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) Roman
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thebes
(5) Corinth
ตอบ 2 หน้า 165, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบของ ระบอบประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าไปใช้อํานาจในทางการเมืองอย่าง เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณ ทั้งนี้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้สามารถทําได้ในกรณีของรัฐที่มีประชากรจํานวนน้อย ดังนั้นในโลกปัจจุบันที่มีประชากรจํานวนมหาศาล ประชาธิปไตยทางตรงจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

40. รัฐบาลเกาหลีเหนือ คือระบอบเผด็จการรูปแบบใด
(1) Totalitarianism
(2) Authoritarianism
(3) Benevolent Dictatorship
(4) Theocracy
(5) Aristocracy
ตอบ 1 หน้า 170 เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เป็นรูปแบบของระบอบเผด็จการที่เข้มข้น คือ รัฐบาลทําการควบคุมการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกด้านทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมตัวอย่างของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ สหภาพโซเวียต รัฐบาลจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง รัฐบาลนาซีเยอรมัน รัฐบาลฟาสซิสต์ของอิตาลี รัฐบาลเกาหลีเหนือ เป็นต้น

41. ข้อใดคือชื่อเรียกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
(1) Parliament
(2) Assembly
(3) Congress
(4) Diet
(5) State Duma
ตอบ 3 หน้า 172 สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นสถาบันที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย โดยสถาบันนิติบัญญัตินี้มีทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ เรียกว่า Parliament
2. ฝรั่งเศส เรียกว่า Assembly
3. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Congress
4. ญี่ปุ่น เรียกว่า Diet
5. ไทย เรียกว่า รัฐสภา

42. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Common
(2) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Representative
(3) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Common
(4) ใช้ระบบ 2 สภา คือ Senate กับ House of Representative
(5) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Representative
ตอบ 3 หน้า 174 ระบบสองสภา (Bicameral System) เป็นระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงและสภาล่าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ไทย เรียกว่า วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Senate กับ House of Representative
3. อังกฤษ เรียกว่า House of Lord กับ House of Common

43. หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีการแยกอํานาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แบบไม่เด็ดขาด การใช้อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันตาม หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power)

44. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System.
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 1 หน้า 178 การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารบนหลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารจึงแยกอิสระจากกันค่อนข้างสูง แต่ก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

45. การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) ฝรั่งเศสในช่วงสาธารณรัฐที่ 5
(2) เยอรมนีในช่วงอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) โปรตุเกสในช่วงหลังการปฏิวัติคาร์เนชั่น
(4) เยอรมนีในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์
(5) รัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
ตอบ 4 หน้า 180 การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เป็นระบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ. 1919 – 1939) แต่เป็นที่รู้จักเมื่อประเทศฝรั่งเศสนําไปใช้

46. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
(3) จัดโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดใหญ่
(4) ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ตอบ 3 หน้า 186 – 187 สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีดังนี้
1. นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
2. ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
3. ปรับโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดเล็ก
4. ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ฯลฯ

47. ระบบการเลือกตั้งที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” คือระบบใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 3 หน้า 204 – 205 ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation : PR/Party List System) เป็นระบบที่มีการกําหนดเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่ ในแต่ละเขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน โดยการลงคะแนนเสียงจะลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกผู้สมัครรายคน แต่พรรคการเมืองจะทําบัญชีรายชื่อของผู้สมัครเรียงตามลําดับลงไป ทําให้เรียกระบบนี้กันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” (Party List System)

48. การเลือกพรรคซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุด ได้ที่นั่งทั้งหมดไป คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเลือกเป็นพรรค หรือระบบบล็อกโหวต พรรคการเมือง (Party Block Vote : PBV) เป็นการเลือกผู้แทนโดยการเลือกพรรคซึ่งส่ง ผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ ที่นั่งทั้งหมดไป ซึ่งระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

49. 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แล้วแต่จํานวนผู้แทนพึงมีในเขตนั้น คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 5 หน้า 200 ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งคน (Multi-Member District/Constituencies : MMD) หรือระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block Voting : BV) เป็น ระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ใน 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนแล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมี ในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน โดยผู้เลือกตั้งสามารถ เลือกผู้สมัครได้ตามจํานวนผู้แทนในแต่ละเขต ซึ่งอาจเลือกจากพรรคเดียวกันเรียงเบอร์ไปเลย หรือจะเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคก็ได้ หรือหากประสงค์เลือกเพียงเบอร์เดียวก็ได้ ผู้ที่ได้คะแนน สูงสุดเรียงตามลําาดับจนครบตามจํานวนผู้แทนจึงมีก็จะได้เป็นผู้แทนในเขตนั้น ๆ

50. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 1 หน้า 200 ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบพหุนิยม (Plurality Electoral System) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งแบบเขต โดยในแต่ละเขตผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินหนึ่งหรือไม่ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก

51. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 2 หน้า 202 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Electoral System) เป็นระบบที่ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่หรือสะท้อนเจตนารมณ์ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ระบบนี้โดยทั่วไปจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน

52. “การเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Arend Lijphart
(2) Giovanni Sartori
(3) Maurice Duverger
(4) Barnard Grofman
(5) Barbara Geddes
ตอบ 3 หน้า 209 – 210 เมารีส ดูแวร์แจร์ (Maurice Duverger) อธิบายว่า การเลือกตั้งระบบ เสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง โดยที่ระบบ 2 พรรคเด่นมักนําไปสู่รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ระบบหลายพรรคก่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ

53. ระบบใดคือระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 3 หน้า 220 ระบบ 2 พรรค (Two-Party System) คือ การมีพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ ที่ต่อสู้แข่งขันและได้รับคะแนนเสียงสลับกันขึ้นเป็นรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

54. ระบบพรรคการเมืองกรณีพรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น และพรรคคองเกรสในอินเดีย คือ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant Party System) เป็นระบบ ที่มีพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรค หรือกฎหมายเปิดให้พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มักได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดและครองอํานาจในการปกครอง ตัวอย่างเช่น พรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น พรรคคองเกรสในอินเดีย เป็นต้น

55. ระบบพรรคการเมืองแบบใดมักนําไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสม
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 5 หน้า 220 ระบบหลายพรรค (Multiparty System) คือ การมีพรรคการเมืองหลายพรรค ต่อสู้แข่งขันกันโดยไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมาก และอาจต้อง จัดตั้งรัฐบาลผสม ระบบเช่นนี้อาจมีข้อดีคือเกิดความหลากหลายในทางอํานาจ แต่มีข้อเสียคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความขัดแย้งและหาข้อตกลงกันไม่ได้

56. พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นไปตามระบบพรรคแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 1 หน้า 219 ระบบพรรคเดียว (One-Party System) คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เท่านั้นในระบบการเมือง พบในประเทศเผด็จการทั้งในรูปแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ ในระบบพรรคเดียวนี้อาจมีการเลือกตั้งด้วย แต่มีผู้สมัครลงแข่งขันจากพรรคการเมืองเดียว เท่านั้น ตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นต้น

57.2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอจัดตั้งรัฐบาล เป็นลักษณะ ของระบบพรรคการเมืองแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) ระบบกึ่ง 2 พรรค (Two-and-a-Half-Party System) คือ การมี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอ จะจัดตั้งรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในโปรตุเกส สเปน กรีซ เยอรมนี ออสเตรีย เป็นต้น

58. พรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิก มากกว่าปริมาณ และเน้นการเลือกตั้ง คือโครงสร้างพรรคการเมืองรูปแบบใด
(1) พรรคแบบคณะกรรมาธิการ
(2) พรรคแบบมีสาขาพรรค
(3) พรรคแบบแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในรูปเซลล์
(4) พรรคแบบพลพรรค
(5) พรรคแบบเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 222 – 223 พรรคแบบคณะกรรมาธิการ เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้น การเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ พรรคแบบนี้ มักตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นนําเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าสู่อํานาจทางการเมือง ไม่ได้ขยายฐานสู่ประชาชน

59. กลุ่มผลประโยชน์ในระบบใด ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระ ของตนเองโดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น
(1) Democratic Corporatist Interest Group System
(2) Controlled Interest Group System
(3) Pluralist Interest Group System
(4) Institutional Group System
(5) Public Interest Group System
ตอบ 3 หน้า 232 ระบบพหุนิยม (Pluralist Interest Group System) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระของตนเอง
โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของกลุ่มตนแต่จะหมุนเวียนกันไปมีบทบาทหลักในประเด็นที่ เมื่อเป็นประเด็นอื่นก็จะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นเข้าไปมีบทบาทหลักแทน ระบบกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวนี้พบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

60. การทําให้เป็นอุตสาหกรรม คือ “ทฤษฎีการพัฒนาในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 2 หน้า 238 – 250 แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาในแต่ละยุค มีดังนี้
1. ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา เน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก
2. การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 เน้นการทําให้เป็น
อุตสาหกรรม
3. การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 เน้นการทําให้ทันสมัย ซึ่งคือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
4. การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เน้นแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน
5. การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องของวิกฤติความชอบธรรมของ แนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน การพัฒนาทางเลือกหรือความหลากหลายของการพัฒนา

61. เสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน เป็นการพัฒนาในช่วงใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

62. การทําให้ทันสมัย คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

63. Beijing Consensus คือ ทฤษฎีการพัฒนาในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 3 หน้า 250 การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือแนวนโยบายของฉันทามติวอชิงตันถูกตั้งคําถามอย่างหนักภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา จนมีนักวิชาการบางคนกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าว
ส่งผลต่อจุดจบของเสรีนิยมใหม่ นําไปสู่การนําเสนอฉันทามติอื่น ๆ เช่น ฉันทามติโคเปนเฮเกน (Copenhagen Cor sensus) ฉันทามติเม็กซิโก (Mexico Consensus) ฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) หรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ (State-Directed Capitalism) เป็นต้น

64. “การพัฒนาทางการเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความ ทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Pye
(2) Lipset
(3) Huntington
(4) Almond
(5) Coleman
ตอบ 3 หน้า 245 – 246 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) อธิบายว่า การพัฒนาทาง การเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

65. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย
(1) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการคนสําคัญ คือ Lipset
(2) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Shedler
(3) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม
(4) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญของ Easton
(5) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Marx
ตอบ 1 หน้า 252 – 253 นักวิชาการที่เสนอเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย สามารถแบ่งออก ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการ คนสําคัญ คือ ลิบเซ็ต (Lipset)
2. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งเป็น เจ้าของผลงานเรื่อง “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations”
3. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) (ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

66. ข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ เป็นคําอธิบาย การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 ดังค์วาร์ด รัสเทาว์ (Dankwart Rustow) ได้อธิบายข้อกําหนดเบื้องต้น สําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ ตัวอย่างเช่น

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพประชาธิปไตยไม่จําเป็นต้องเป็นตัวเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
2. การศึกษาประชาธิปไตยต้องตระหนักว่าสหสัมพันธ์อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม ส่งผลต่อการเมือง
4. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยเชิงแนวคิดวัฒนธรรม ส่งผลต่อการกระทำของตัวแสดงเสมอไป ฯลฯ

67. การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuet Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 1 หน้า 257 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ไว้ในหนังสือเรื่อง “คลื่นลูกที่สาม” ทั้งในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างและในส่วนของปัจจัยของตัวแสดงซึ่งก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนําทั้งที่อยู่ในอํานาจและที่ไม่อยู่ในอํานาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

68. “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมืองที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการ ปกครองนอกจากประชาธิปไตย และไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงาน ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียว ในเมือง (The Only Game in Town)” ข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายของนักวิชาการท่านใด
(1) David Easton
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 ฮวน ลินซ์ (Juan Linz) ได้กําหนดนิยามของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน ให้กับประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมือง ที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตยและไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง (The Only Game in Town)”

69. การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การปฏิวัติในอียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Color Revolutions
(2) Arab Spring
(3) Rose Revolution
(4) Asian Spring
(5) Tulip Revolution
ตอบ 2 หน้า 273, (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เป็นการลุกฮือของ ประชาชนเพื่อต่อต้านอํานาจรัฐและระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทําให้เกิดแรงกระเพื่อม ไปสู่การปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย หรือที่ เรียกกันว่า “การปฏิวัติในฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” หรือ “อาหรับสปริง” (Arab Spring)

70. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
(1) เป็นโลกที่รัฐมีบทบาทมากขึ้น
(2) เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
(3) เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน
(4) มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 281 – 285 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายว่า สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะ สําคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
2. เป็นโลกที่เส้นแบ่งต่าง ๆ ที่เคยมั่นคงชัดเจนเกิดความไม่ชัดเจน นําไปสู่การลากเส้นแบ่งใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
3. เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
4. มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. มีการก่อการร้ายและการทําสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นความจริงชุดใหม่
6. เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน

71. “ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริงไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในคลื่นลูกที่ 4” จากข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedter
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 2 หน้า 293 ลาร์รี่ ไดมอนด์ (Larry Diamond) อธิบายว่า ความตื่นตัวของประชาชนใน ตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่ 4

72. งานเขียนของใครถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
(1) แมคคิอาเวลลี
(2) อริสโตเติ้ล
(3) เพลโต
(4) ล็อค
(5) อีสตัน
ตอบ 2หน้า 3 – 4, (คําบรรยาย) หนังสือปรัชญาการเมืองเรื่อง “Politics” ของอริสโตเติ้ล (Aristotle) สะท้อนให้เห็นการใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางการเมือง ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการได้มาขององค์ความรู้ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการนําเอา กฎหมายปกครองของรัฐต่าง ๆ จํานวนมากถึง 158 รัฐมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าในโลกนี้มีรูปแบบ การปกครอง รูปแบบ และแบ่งว่ารูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่ดีและรูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบ ที่เลว ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ

73. อริสโตเติ้ลเห็นว่าระบอบการปกครองใดที่ถือเป็นการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่ดี
(1) โพลิตี้
(2) คณาธิปไตย
(3) ทรราช
(4) ประชาธิปไตย
(5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 4 อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

74. เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมืองคือข้อใด
(1) หาเกณฑ์เชิงปทัสถาน
(2) สร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
(3) สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมือง เน้นการศึกษาสิ่งที่ควร จะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การค้นหาเกณฑ์เชิงปทัสถานหรือสิ่งที่ พึงประสงค์หรือสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เหมาะสมในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือระบอบ การปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี รัฐที่ดี กฎหมายที่ดี เพื่อเสนอแนะหลักปฏิบัติทางการเมือง ที่ถูกต้องชอบธรรม มีจรรยาบรรณ อุดมคติ หรือค่านิยมคอยกํากับ ทําให้การศึกษาในยุคนี้ เชื่อมโยงอยู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และไม่ได้แยกเรื่องค่านิยมออกจากองค์ความรู้ทางการเมือง

75. การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) การเมืองเปรียบเทียบ
(2) ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
(3) ปรัชญาเปรียบเทียบ
(4) ทฤษฎีเปรียบเทียบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 4 – 5, 8 การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า“การปกครองเปรียบเทียบ”

76. การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันเป็นไปเพื่อเป้าหมายใด
(1) สร้างสถาบันทางการเมืองของรัฐที่ใช้การได้จริง
(2) สร้างรัฐสมัยใหม่
(3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
(4) สร้างความทันสมัย
(5) ข้อ 1 และ 4 ถูก
ตอบ 1 หน้า 6 – 7 การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันมุ่งศึกษารัฐและสถาบันทาง การเมืองที่เป็นทางการ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ รูปแบบรัฐ รัฐสภา รัฐบาล ตลอดจนกลไก และกระบวนการทางการเมืองต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบ ถ่วงดุล การแบ่งแยกอํานาจระหว่าง สถาบันทางการเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสถาบันทางการเมืองของรัฐที่ใช้การได้จริง เป็นไป ตามกรอบของกฎหมาย รองรับค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของคนส่วนใหญ่ โดยมีความเชื่อว่า หากมีการสร้างสถาบันทางการเมืองได้เป็นอย่างดีแล้ว ระบอบการเมืองก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

77. Large-Ns มีความหมายถึงสิ่งใด
(1) จํานวนศึกษาหลายกรณี
(2) การศึกษาเชิงคุณภาพ
(3) มีจุดแข็งในการสร้างสมมติฐาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 46 – 47, 64 Large-Ns หมายถึง จํานวนศึกษาหลายกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ซึ่งข้อดีของการศึกษาหลายกรณี มีดังนี้
1. มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐานให้เข้มแข็งมากขึ้น
2. สามารถนําข้อสรุปจากการศึกษาไปใช้กับกรณีศึกษานอกกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
3. ช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ผลการวิเคราะห์มีลักษณะกลมกลืนกัน ฯลฯ

78. สาขาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในยุคใด
(1) ยุคสถาบัน
(2) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังสมัยใหม่
ตอบ 3 หน้า 11, 22, 33 – 34 วิชาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ ภายหลังจากความพยายามในการแสวงหา เอกลักษณ์ให้กับสาขารัฐศาสตร์และการสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์โดยการผลักดันของประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น โดยเป้าหมายหรือหัวใจหลัก สําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

79. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงการเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการเมืองที่สอดคล้องกับคุณธรรมจริยธรรม
(2) ผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาภายใต้แนวคิดแบบพฤติกรรมศาสตร์
(3) มีเป้าหมายในการสร้างคุณภาพของประชาธิปไตย
(4) เรียกร้องให้เกิดการยอมรับความจริงอันหลากหลาย
(5) ผลักดันโดยสหภาพโซเวียตภายใต้บริบทสงครามเย็น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. เป้าหมายสําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือข้อใด
(1) สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
(2) สร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
(3) สร้างกฎหมายปกครองที่ยอดเยี่ยม
(4) ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย” เป็นคํากล่าวของนักวิชาการคนใด
(1) แกเบรียล อัลมอนด์
(2) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(3) เธดา สค็อกโพล
(4) แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์
(5) โรเบิร์ต ดาห์ล
ตอบ 4 หน้า 72 งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของแบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาน้อยกรณี (Small-NS) ซึ่งงานชิ้นนี้มัวร์ได้สร้างคําอธิบายใหม่ที่แตกต่างจากคําอธิบายเดิมที่มักบอกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยมีการอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น พิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรต้นจํานวนมากขึ้นทั้งในส่วนของชนชั้นทางสังคม โครงสร้างทาง เศรษฐกิจ อํานาจรัฐ ตลอดจนพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์กันเองของตัวแปรต้นต่าง ๆ ควบคู่กันไป กับการพิจารณาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปที่โด่งดังที่ว่า “ไม่มีชนชั้นนายทุนไม่มีประชาธิปไตย”

82. ข้อใดไม่ใช่หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง
(1) ระบบการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) รัฐ
(4) กฎหมาย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง เป็นหน่วยวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับ โครงสร้างต่าง ๆ ในสังคม เช่น ระบบการเมือง รัฐ ชนชั้น สถาบันทางการเมือง กฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับนี้จะมี ความเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นมีอิทธิพลต่อการกระทําของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ ต่าง ๆ ในสังคม พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้มีเสรีภาพมากนัก แต่จะแสดงออกมาภายใต้กรอบ ของโครงสร้างดังกล่าว

83. กรณีศึกษาแบบใดช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
(1) Small-Ns
(2) การศึกษากรณีประเทศเดียว
(3) Large-Ns
(4) กรณีศึกษาเชิงลึก
(5) กรณีศึกษาตามรายประเด็น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

84. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบ
(1) ต้องเปรียบเทียบกรณีมากกว่า 1 ประเทศเท่านั้น
(2) การเปรียบเทียบกรณีศึกษาเดียวทําให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียด
(3) การเปรียบเทียบระดับโลกเป็นการศึกษาที่ได้ข้อมูลกว้างแต่ไม่ลึก
(4) ศึกษาประเทศเดียวก็ได้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 การเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบสามารถเลือกศึกษาประเทศเดียวก็ได้ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ภายในประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเฉพาะสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ๆ เช่น พรรคการเมือง สถาบันทหาร รัฐสภา กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเลือกศึกษาประเทศเดียวนี้จะง่ายต่อ ผู้ศึกษารุ่นใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะมาก

85. นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยม
(1) คาร์ล มาร์กซ์
(2) จอห์น ล็อค
(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(4) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(5) เดวิด อีสตัน
ตอบ 3 หน้า 50 – 57, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ได้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยมไว้ 4 วิธีการ คือ
1. วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement)
2. วิธีการพิจารณาความแตกต่าง (Method of Difference)
3. วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่ (Method of Residues)
4. วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน (Method of Concomitant Variations)

86. วิธีการเปรียบเทียบในวิชาการเมืองเปรียบเทียบถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใด
(1) การแข่งขันระหว่างประเทศ
(2) หาสิ่งที่พึงประสงค์
(3) สร้างความได้เปรียบ
(4) สร้างจริยธรรมทางการปกครอง
(5) สกัดหาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
ตอบ 5 หน้า 50 วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการที่ต้องเลือกมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อสร้างคําอธิบาย ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขหรือปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่ศึกษา หรือ กล่าวอีกนัยคือ วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการสําหรับนํามาใช้เพื่อสกัดหาตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา

87. มองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างในกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 51 วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement) เป็นการมองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ในกรณีศึกษาต่าง ๆที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์

88. ค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือนกัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่า ตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(3) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
(4) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) เป็นการค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือนกัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์

89. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 วิธีการเปรียบเทียบของเชวอร์สกีและเทิร์น (Przeworski and Teune) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) มี 2 วิธี คือ
1. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความแตกต่างของมิลล์
2. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด (Most Different Systems : MDS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความเหมือนของมิลล์

90. วิธีการเปรียบเทียบแบบ MSS และ MDS พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) Przeworski and Teune
(2) John Stuart Mill
(3) Antonio Gramsci
(4) Ragin and Rubinson
(5) Anthony Giddens
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

91. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

92. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงวิชาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบัน
(1) มีวิธีการที่หลากหลาย
(2) เน้นระเบียบวิธีวิจัยที่เคร่งครัด
(3) รวมเรียกว่าการปกครองเปรียบเทียบ
(4) เน้นปัจจัยสร้างประชาธิปไตย
(5) เชื่อมั่นในศาสตร์เชิงประจักษ์เท่านั้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การศึกษาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบันนั้นมีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุม ประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ การเมืองใน ชีวิตประจําวัน ตลอดจนคุณภาพของประชาธิปไตย ดังนั้นการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ ในปัจจุบันจึงไม่ได้ใช้ศาสตร์เชิงประจักษ์เท่านั้น แต่ใช้แนวทางและวิธีการอันหลากหลาย ที่สอดคล้องกับประเด็นการศึกษา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้สําหรับการอธิบายทางการเมือง ตลอดจนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองต่าง ๆ อย่างรอบด้าน

93. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ Small-Ns
(1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
(2) เน้นศึกษาน้อยกรณี
(3) เน้นตีความหรือทําความเข้าใจความหมาย
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 1 หน้า 70 Small-Ns คือ การศึกษาน้อยกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องของ การตีความหรือทําความเข้าใจความหมายอย่างรอบด้านหรือในลักษณะองค์รวม เพื่อทําความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นที่ศึกษาในกรณีนั้น ๆ

94. งานการเมืองเปรียบเทียบเรื่อง “Political Man” เป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) มาร์กซ์
(2) ลิปเซ็ต
(3) เชวอร์สกี
(4) อีสตัน
(5) มัวร์ จูเนียร์
ตอบ 2 หน้า 64, 67 – 68 งานการเมืองเปรียบเทียบเรื่อง “Political Man” ของลิปเซ็ต (Lipset) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเป็นประชาธิปไตยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการศึกษาหลายกรณี (Large-Ns) ซึ่งผลจากการศึกษา พบว่า กลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคง ประชาชนจะมีรายได้สูงกว่าประเทศที่มีประชาธิปไตย ไม่มั่นคงหรือเป็นเผด็จการ จากงานชิ้นนี้ของลิปเซ็ตได้นํามาสู่ข้อสรุปเป็นคําอธิบายทั่วไป อันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”

95. คําอธิบายอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”เป็นของนักวิชาการผู้ใด
(1) ไดมอนด์
(2) กิดเดนส์
(3) ลิปเซ็ต
(4) ลาสเวลล์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ

96. งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” เป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) ลิปเซ็ต
(2) อีสตัน
(3) ฮันทิงตัน
(4) มัวร์ จูเนียร์
(5) ไดมอนด์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

97.งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” เป็นของนักวิชาการท่านใด (1) ลิปเซ็ต
(2) เชวอร์สกี
(3) ลาสเวลล์
(4) มัวร์ จูเนียร์
(5) พุตนัม
ตอบ 5 หน้า 74 งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy ของ โรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) เป็นการศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่ส่งผลต่อ การทํางานของระบอบประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคใต้ของอิตาลี ซึ่งพุตนัมได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้ วิธีการเชิงปริมาณเพื่อสํารวจทัศนคติของพลเมือง และใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นมาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคในอิตาลี

98. “พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา” (Methodological Pluralism) สอดคล้องกับข้อใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคหลังสมัยใหม่
(3) Nest Analysis
(4) Mixed Method
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 74 – 75, 140 พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา (Methodological Pluralism) เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาที่มีความหลากหลาย ทั้งในเชิงระเบียบวิธีวิจัยซึ่งอาจใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) หรือ “การวิเคราะห์ ประสานกันแบบรังนก” (Nest Analysis) และมีการขยายขอบเขตของการศึกษาครอบคลุม ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนการเมืองในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภาคประชาสังคม รวมถึง เรื่องปฏิสัมพันธ์ของการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

99. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ (Approach)
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ระบุความสัมพันธ์เชิงเหตุเชิงผลเป็นรูปธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 80 – 81, 143 แนวทางการศึกษาหรือแนวทางการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบเค้าโครงในการศึกษาที่จะเป็นตัวกําหนดระดับของการอธิบาย วิธีการในการศึกษาตลอดจนทฤษฎีที่จะใช้ในการศึกษา โดยแนวทางการศึกษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรอบเค้าโครง กว้าง ๆ โดยไม่มีการลงลึกในส่วนของตัวแบบในการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และในแต่ละ แนวทางการศึกษาจะประกอบด้วยทฤษฎีย่อย ๆ อยู่ด้วย

100. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 82 ทฤษฎี (Theory) คือ ชุดของคําอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของความสัมพันธ์เชิง เหตุ-ผล (Causal Relations) ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษา หรือเรียกอีกอย่างว่าชุดของคําอธิบายความสัมพันธ์เชิงปัจจยาการ

 

POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย” เป็นคํากล่าวของนักวิชาการคนใด
(1) แกเบรียล อัลมอนด์
(2) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(3) เธดา สค็อกโพล
(4) แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์
(5) โรเบิร์ต ดาห์ล
ตอบ 4 หน้า 72 งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของแบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาน้อยกรณี (Small-NS) ซึ่งงานชิ้นนี้มัวร์ได้สร้างคําอธิบายใหม่ที่แตกต่างจากคําอธิบายเดิมที่มักบอกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยมีการอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น พิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรต้นจํานวนมากขึ้นทั้งในส่วนของชนชั้นทางสังคม โครงสร้างทาง เศรษฐกิจ อํานาจรัฐ ตลอดจนพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์กันเองของตัวแปรต้นต่าง ๆ ควบคู่กันไป กับการพิจารณาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปที่โด่งดังที่ว่า “ไม่มีชนชั้นนายทุนไม่มีประชาธิปไตย”

2.วิธีการเปรียบเทียบแบบ MSS และ MDS พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) Przeworski and Teune
(2) John Stuart Mill
(3) Antonio Gramsci
(4) Ragin and Rubinson
(5) Anthony Giddens
ตอบ 1 หน้า 59 – 60 วิธีการเปรียบเทียบของเชวอร์สกีและเทิร์น (Przeworski and Teune) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) มี 2 วิธี คือ
1. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความแตกต่างของมิลล์
2. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด (Most Different Systems : MDS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความเหมือนของมิลล์

3. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ Small-Ns
(1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
(2) เน้นศึกษาน้อยกรณี
(3) เน้นตีความหรือทําความเข้าใจความหมาย
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 1 หน้า 70 Small-Ns คือ การศึกษาน้อยกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องของ การตีความหรือทําความเข้าใจความหมายอย่างรอบด้านหรือในลักษณะองค์รวม เพื่อทําความ เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นที่ศึกษาในกรณีนั้น ๆ

4.งานของลิปเซ็ตเรื่อง “Political Man” ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Small-Ns
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 64, 67 – 68 งานของลิปเซ็ต (Lipset) เรื่อง “Political Man” เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการศึกษาหลายกรณี (Large-Ns) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคงประชาชนจะมีรายได้สูงกว่าประเทศที่มีประชาธิปไตยไม่มั่นคงหรือเป็นเผด็จการ จากงานชิ้นนี้ของลิปเซ็ตได้นํามาสู่ข้อสรุปเป็นคําอธิบายทั่วไปอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”

5.คําอธิบายอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”เป็นของนักวิชาการผู้ใด
(1) ไดมอนด์
(2) กิดเดนส์
(3) ลิปเซ็ต
(4) ลาสเวลล์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6.งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของมัวร์ จูเนียร์ ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

7. งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของโรเบิร์ต พุตนัม ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 4หน้า 74 งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของ โรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) เป็นการศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่ส่งผลต่อ การทํางานของระบอบประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคใต้ของอิตาลี ซึ่งพุตนัมได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้ วิธีการเชิงปริมาณเพื่อสํารวจทัศนคติของพลเมือง และใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นมาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคในอิตาลี

8.“พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา” (Methodological Pluralism) สอดคล้องกับข้อใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคหลังสมัยใหม่
(3) Nest Analysis
(4) Mixed Method
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 74 – 75, 140 พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา (Methodological Pluralism) เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาที่มีความหลากหลาย ทั้งในเชิงระเบียบวิธีวิจัยซึ่งอาจใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) หรือ “การวิเคราะห์ ประสานกันแบบรังนก” (Nest Analysis) และมีการขยายขอบเขตของการศึกษาครอบคลุม ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนการเมืองในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภาคประชาสังคม รวมถึง เรื่องปฏิสัมพันธ์ของการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

9. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ (Approach)
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ระบุความสัมพันธ์เชิงเหตุเชิงผลเป็นรูปธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 80 – 81, 143 แนวทางการศึกษาหรือแนวทางการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบเค้าโครงในการศึกษาที่จะเป็นตัวกําหนดระดับของการอธิบาย วิธีการในการศึกษาตลอดจนทฤษฎีที่จะใช้ในการศึกษา โดยแนวทางการศึกษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ โดยไม่มีการลงลึกในส่วนของตัวแบบในการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และในแต่ละ แนวทางการศึกษาจะประกอบด้วยทฤษฎีย่อย ๆ อยู่ด้วย

10. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 82 ทฤษฎี (Theory) คือ ชุดของคําอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของความสัมพันธ์เชิง เหตุ-ผล (Causal Relations) ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษา หรือเรียกอีกอย่างว่า ชุดของคําอธิบายความสัมพันธ์เชิงปัจจยาการ

11. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสหลัก
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 83 – 127 แนวทางการวิเคราะห์กระแสหลัก ได้แก่
1. แนวทางระบบ
2. แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
3. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล
4. แนวทางสถาบันนิยมใหม่
5. แนวทางโครงสร้าง

12. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสวิพากษ์
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางสถาบันนิยมใหม่
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, 107, 134, 140 แนวทางการวิเคราะห์กระแสวิพากษ์ ได้แก่
1. แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
2. แนวทางมาร์กซิสต์
3. แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
4. แนวทางหลังสมัยใหม่หรือแนวทางหลังโครงสร้างนิยม (ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ)

13. นักรัฐศาสตร์คนสําคัญที่นําเอาความคิดเชิงระบบมาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบคือ
(1) อีสตัน
(2) อัลมอนด์
(3) คาร์ล ดอยซ์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ชาร์ล ทิลลี่
ตอบ 1 หน้า 89 เดวิด อีสตัน (David Easton) เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่นําเอาความคิดเชิงระบบ มาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบ และเป็นบุคคลแรก ๆ ที่เสนอแบบจําลองของระบบการเมือง อันเป็นผลจากความพยายามในการหาทฤษฎีทั่วไปที่สามารถใช้ในการอธิบายการเมืองทั้งระบบหรือสร้างทฤษฎีมหภาคที่สามารถนําไปใช้อธิบายสังคมอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งโลก

14. ในทฤษฎีระบบการเมือง ปัจจัยนําเข้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ข้อเรียกร้องความต้องการและการสนับสนุน
(2) รัฐบาลและรัฐสภา
(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(4) นโยบายและการปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90 ในทฤษฎีระบบการเมืองนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) อธิบายว่า“ระบบการเมือง” (Political System) เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ซึ่งทําหน้าที่อยู่ภายใต้ “สิ่งแวดล้อม” (Environment) โดยจะมี “ปัจจัยนําเข้า (Inputs) ซึ่งประกอบด้วย ข้อเรียกร้อง
ความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) จากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ระบบการเมือง แล้วระบบการเมืองก็จะทําหน้าที่ในการตัดสินใจแปลงปัจจัยนําเข้าดังกล่าวเป็น “ปัจจัยนําออก (Outputs) ในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายต่าง ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และผลจากการทํางานของระบบการเมืองก็จะเกิดเป็น “ผลสะท้อนกลับ” (Feedback) กลับเข้าไปเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

15. ทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) อีสตัน
(2) เมอร์เรียม
(3) อัลมอนด์
(4) ฟูโกต์
(5) พาร์สัน
ตอบ 3 หน้า 92 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) ได้พัฒนาทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โดยได้ดึงแนวคิดเรื่องบทบาทและโครงสร้างของนักสังคมวิทยา เช่น แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ทาลค็อตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) เข้ามาผนวกกับทฤษฎีระบบ เพื่อให้ทฤษฎีระบบเชิง โครงสร้าง-หน้าที่มีความเป็นรูปธรรม สามารถศึกษากลุ่มของการกระทําทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้

16. ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โครงสร้างใดทําหน้าที่รวบรวมผลประโยชน์
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) รัฐบาล
(4) รัฐสภา
(5) ศาล
ตอบ 2 หน้า 93 – 94 ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่นั้น แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Atmond) อธิบายว่า โครงสร้างทางการเมืองแต่ละอย่างสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ แม้ใน ระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วจะมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมาทําหน้าที่เฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะทําแค่หน้าที่เดียว เพราะโครงสร้างในทุกระบบการเมืองจะทําหน้าที่ หลาย ๆ อย่างเสมอ เช่น พรรคการเมืองมีหน้าที่หลักในการรวบรวมผลประโยชน์และเลือกสรร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองก็ทําหน้าที่อื่น ๆ เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับ ประชาชน การให้การศึกษาทางการเมือง เป็นต้น

17. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
(1) Parochial
(2) Subject
(3) Participant
(4) Civic Culture
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ได้แบ่งวัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ แบบคับแคบ (Parochial) แบบไพร่ฟ้า (Subject) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) โดยมองว่า วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสม หรือเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่ต้องเป็นวัฒนธรรมทาง การเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 3 แบบอย่างลงตัว ซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม แบบพลเมือง” (Civic Culture) อันเป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมือง แต่ก็ไม่มากจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

18. นักรัฐศาสตร์ท่านใดมีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
(1) Huntington
(2) Bentley
(3) Downs
(4) Powell
(5) Atmond
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) เป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) โดยอัลมอนด์เสนอว่า สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย และอีกประเทศหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นก็เพราะว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย ส่วนประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นมีวัฒนธรรมไม่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย

19. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ Subject
(1) เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง
(2) เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
(3) เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ
(4) เป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมืองหรือแบบ ไพร่ฟ้า (Subject) เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนสนใจข่าวสาร มีความรู้เกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เข้าไป มีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีอํานาจทางการเมือง เรื่องของการเมืองเป็น เรื่องของผู้นํา ดังนั้นลักษณะของวัฒนธรรมแบบนี้จึงเป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง การเมือง เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและกฎเกณฑ์ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล

20. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทางของยุคใด
(1) ยุคปรัชญา
(2) ยุคสถาบัน
(3) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(4) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 108 – 109 แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มถูกนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็น ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ดังนั้นแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทาง หรือทฤษฎีในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ในกระแสหลักที่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความเป็นศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ในทางการเมือง

21. แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลคือ
(1) ความเสียสละ
(2) ผลประโยชน์ส่วนบุคคล
(3) ผลประโยชน์ของชาติ
(4) ความหลากหลาย
(5) ความเท่าเทียม
ตอบ 2 หน้า 109 แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลตั้งอยู่บนสมมติฐาน หลัก 2 ตัว คือ ความมีเหตุมีผล (Rationality) กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Self-Interest)

22. ตามแนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล คําว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผลหมายถึงข้อใด
(1) จะทําการใดต้องมีการคํานวณ
(2) คิดถึงประโยชน์ได้เสีย
(3) แสวงหาประโยชน์สูงสุด
(4) หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 110, (คําบรรยาย) แนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) มีสมมติฐานสําคัญคือ มนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผล ซึ่งคําว่ามีเหตุมีผลหมายถึง มนุษย์ทุกคนเวลา จะทําการใดจะต้องคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์ อย่างไร หรือคํานวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากทางเลือกแต่ละทาง โดยมนุษย์จะตัดสินใจเลือก ทางเลือกที่ได้ประโยชน์สูงสุด และหลีกเลี่ยงทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์มากที่สุดหรือหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์นั่นเอง

23. แนวทางสถาบันดั้งเดิมแตกต่างกับแนวทางสถาบันนิยมใหม่ในข้อใด
(1) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ
(2) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการ
(3) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 115, 118, 120 – 122 แนวทางสถาบันดั้งเดิม เน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการหรือ ศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย ส่วนแนวทางสถาบันนิยมใหม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการควบคู่กันไปกับการศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ รวมถึงขยายขอบเขต ของการศึกษาไปสู่เรื่องของพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง ปัจจัยทั้งหลายที่สามารถ ส่งผลทั้งต่อตัวสถาบันและต่อพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ

24. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นสถาบันของฮันทิงตัน
(1) ความสามารถในการปรับตัว
(2) การแบ่งโครงสร้างทําหน้าที่เฉพาะ
(3) ความรวดเร็วในการทํางาน
(4) ความเป็นอิสระในตนเอง
(5) ความเป็นปึกแผ่น
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้เสนอตัวชี้วัดความเป็น สถาบัน ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
2. การแบ่งโครงสร้างแยกย่อยลงไปและทําหน้าที่เฉพาะ (Complexity)
3. ความเป็นอิสระในตนเอง (Autonomy)
4. ความเป็นปึกแผ่น (Coherence)

25. “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) มาร์กซ์
(2) ทิลลี่
(3) ไชยวัฒน์ ค้ําชู
(4) อดอร์โน
(5) เดอร์ไคม์
ตอบ 2 หน้า 128 แนวทางโครงสร้างเชิงประวัติศาสตร์ จะเน้นวิเคราะห์ความเป็นมาของโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น พัฒนาการของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในโลกตะวันตก พัฒนาการของระบบ ทุนนิยม พัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่ พัฒนาการของการเข้าสู่ ระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพใหญ่ของพัฒนาการ ตลอดจน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ศึกษาดังที่ชาร์ล ทิลลี่ (Charles Tilly) เรียกว่า “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” และ “กระบวนการใหญ่”

26. นักวิชาการผู้ใดมีอิทธิพลต่อแนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) ซี. ไรท์ มิลล์
(5) คาร์ล ป๊อปเปอร์
ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) นิคอส พลันต์ซาส (Nicos Poulantzas) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลต่อ แนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ อันเป็นผลมาจากกระแสการนํารัฐกลับมาเป็นแกนกลางในการศึกษาทางการเมือง

27. นักวิชาการคนใดมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) สค็อกโพล
ตอบ 5 หน้า 117, 130, 156 เธดา สค็อกโพล (Theda Skocpol) และปีเตอร์ อีแวน (Peter Evans) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง โดยทั้งสองได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Bringing the State Back In” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนํามาใช้ เป็นกระแสการเรียกร้องให้รัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนกล่องดํา คือเป็นที่รวมของอํานาจที่กลุ่ม ต่าง ๆ ใช้ในการต่อรอง แย่งชิง ผลักดันนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน กลับเข้ามาสู่การเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ทางการเมือง

28. เพราะเหตุใดแนวคิดแบบมาร์กซิสต์จึงไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม
(1) เพราะยากที่สถาบันการเมืองจะมีความเข้มแข็ง
(2) เพราะเอกชนจะเรียกร้องให้รัฐมีบทบาทน้อย
(3) เพราะมีความเจริญทางวัตถุแต่จิตใจผู้คนตกต่ำ
(4) เพราะมีโครงสร้างที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
(5) เพราะผู้คนไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา
ตอบ 4 หน้า 134 – 136, (คําบรรยาย) แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคง จะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม เพราะหัวใจสําคัญของประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกัน แต่ใน ระบบทุนนิยมกลับมีโครงสร้างที่ทําให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมนั้น ชนชั้นที่ออกแรงผลิตคือชนชั้นแรงงาน แต่ชนชั้นนายทุนกลับรีบเอามูลค่าที่ชนชั้นแรงงานผลิตได้ ไปเป็นของตน ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวทําให้เกิด “ชนชั้นผู้ได้เปรียบ” กับ “ชนชั้นผู้เสียเปรียบ” ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

29. ปัจจัยใดที่คาร์ล มาร์กซ์ ให้ความสําคัญที่สุดเมื่อวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
(1) อํานาจของกฎหมาย
(2) โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
(3) การครอบงําทางความคิดผ่านทางศาสนา
(4) แสนยานุภาพทางทหาร
(5) อํานาจของรัฐในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ตอบ 2 หน้า 134 – 135 “ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist Theory) กําเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน หรือก็คือ ปฏิเสธระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์ของมาร์กซ์นั้นในทางหนึ่งเป็นการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ แต่หัวใจหลักอยู่ที่การใช้ โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง

30. ข้อใดเป็นความแตกต่างสําคัญที่สุดระหว่างมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมกับมาร์กซิสต์ใหม่
(1) วิเคราะห์ทางชนชั้น
(2) ปฏิเสธระบบทุนนิยม
(3) ปฏิวัติทางชนชั้น
(4) ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 137 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม โดยมีจุดร่วมสําคัญ คือ การมองว่าชนชั้นที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจมักมีแนวโน้มมีอํานาจในทาง การเมืองด้วย แต่มีจุดต่างสําคัญจากมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมคือหันไปให้น้ําหนักกับโครงสร้างส่วนบนมากขึ้นแทนที่จะเน้นวิเคราะห์โครงสร้างส่วนล่างเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นของอํานาจรัฐ

31. แนวคิดสําคัญของอันโตนิโอ กรัม คือแนวคิดใด
(1) การปฏิวัติทางชนชั้น
(2) วาทกรรม
(3) การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์
(4) พหุวัฒนธรรม
(5) การครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรม
ตอบ 3 หน้า 137 – 138 อันโตนิโอ กรัมซี (Antonio Gramsci) ได้เสนอแนวคิด “การครองความเป็น จ้าวทางอุดมการณ์” (Hegemony) โดยอธิบายว่า โครงสร้างส่วนบนแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ สังคมการเมืองและสังคมประชา ชนชั้นที่ต้องการมีอํานาจเหนือสังคมอย่างเบ็ดเสร็จต้องสามารถครองอํานาจได้ในทั้งสองพื้นที่ในฐานะผู้ครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์ และกรัมที่ได้ให้น้ำหนักไปที่การครอบงําทางความคิดอย่างมาก เนื่องจากการที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะขั้นเด็ดขาดและ สมบูรณ์เหนือสังคมได้ ชนชั้นนั้นต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม

32. นักวิชาการคนใดเสนอแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม
(1) หลุยส์ อัลธูแชร์
(2) เออร์เนสโต ลาเคลา
(3) ของทัล มูฟ
(4) ชาร์ค แดร์ริดา
(5) มิเชล ฟูโกต์
ตอบ 5 หน้า 140 – 143 แนวคิดที่สําคัญของนักวิชาการในยุคหลังสมัยใหม่ มีดังนี้
1. แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
2. แนวคิดการรื้อสร้างของชาร์ค แคร์ริดา (Jacques Derrida)
3. แนวคิดมายาคติของโรลอง บาร์ต (Roland Barthes)
4. แนวคิดการครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรมและแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกของเออร์เนสโต ลาเวลาและของทัล มูฟ (Ernesto Laclau and Chantal Mouffe) ฯลฯ

33. “รัฐคือองค์การทางการเมืองที่มีอํานาจในการออกคําสั่งหรือระเบียบ รวมถึงควบคุมการใช้ความรุนแรงเพื่อให้คําสั่งหรือกฎระเบียบถูกบังคับใช้” เป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Andrew Heywood
(2) Joel Migdal
(3) Max Weber
(4) Gaetano Mosca
(5) Anthony Giddens
ตอบ 5 หน้า 149 แอนโทนี กิดเดนส์ (Anthony Giddens) ได้ให้นิยามคําว่ารัฐไว้ว่า “รัฐคือองค์การ ทางการเมืองที่มีอํานาจในการออกคําสั่งหรือระเบียบ รวมถึงควบคุมการใช้ความรุนแรงเพื่อให้ คําสั่งหรือกฎระเบียบถูกบังคับใช้

34. รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเอง คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 1 หน้า 148 รัฐในความหมายเชิงนามธรรม หมายถึง รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานง และเป้าหมายของตนเองแยกออกมาและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งรัฐจะนําพามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ โดยที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังรัฐ

35. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) Treaty of Ulm 1647 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(2) Treaty of Concordia 1648 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(3) Treaty of Westphalia 1648 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(4) Treaty of Zboriv 1649 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(5) Treaty of Breda 1650 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
ตอบ 3 หน้า 147 สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 นํามาสู่การ เกิดขึ้นของ “รัฐสมัยใหม่” ในยุโรป ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ คือ ดินแดนที่แน่นอน (Territory) ประชากร(Population) รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

36. รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทาง การปกครองทั้งหลาย คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงองค์การ หมายถึง รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย

37. รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 3 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่ หมายถึง รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบ และหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม

38. รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นน่านิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 2 หน้า 148 – 149 รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม หมายถึง รัฐเป็นแหล่งรวมของ ชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม

39. รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State.
(5) Minimal State
ตอบ 4หน้า 151 – 152 รัฐรวม (Composite State) หรือสหพันธรัฐ (Federation) คือ รัฐที่เกิดขึ้น จากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นโดยการมอบ อธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลางเพื่อจัดการในเรื่องสําคัญของส่วนรวมด้วยเหตุผลในเรื่องของ การป้องกันภัยรุกราน ความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ในขณะที่แต่ละรัฐที่มารวมตัวกัน ก็ยังคงมีอธิปไตยของตนเองอยู่บางส่วน ดังนั้นรัฐรวมจึงมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลของท้องถิ่นหรือมลรัฐ ตัวอย่างของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น

40. รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาที่เรียกว่าประธานาธิบดี คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 2 หน้า 151 สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาหรือเป็นผู้นําทางศาสนา รัฐแบบนี้พบได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย (เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี อินเดีย) คอมมิวนิสต์ (เช่น จีน เวียดนาม) และรัฐที่ปกครองโดยหลักศาสนา (เช่น อิหร่าน)

41. รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุดในเขตแดนของรัฐ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary Stateฃ
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 3 หน้า 151 รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุด หรืออธิปไตยสมบูรณ์ในเขตแดนของรัฐนั้น ๆ ไม่มีรัฐบาลในระดับที่รองลงมา หน่วยงานของรัฐ ในท้องที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นมือไม้หรือหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจาก รัฐบาลกลางไปดําเนินการ หรือในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นแม้จะได้รับการกระจายอํานาจลงไปให้บ้างแต่ก็ไม่ถือว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง การดําเนินงานยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับควบคุมของรัฐบาลกลาง ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น

42. รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 1 หน้า 150 – 151 รัฐราชอาณาจักร (Kingdom State) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งรัฐราชอาณาจักรเกือบทั้งหมดในปัจจุบันก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา เบลเยียม ไทย เป็นต้น

43. รัฐมีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการดําเนิน กิจกรรมต่าง ๆ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1 หน้า 153 รัฐแบบกรรมการ (Minimal State) คือ รัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมที่ให้รัฐ มีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการ ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ รัฐประเภทนี้พบในประเทศที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้น

44. รัฐเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมคือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 2 หน้า 153 รัฐเพื่อการพัฒนา (Developmental State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐอาจจะประสาน ความร่วมมือกับนายทุนระดับชาติเพื่อการดังกล่าว ทั้งนี้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเอกชนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ มากกว่าการเข้าไปขัดขวางหรือรับเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจมาดําเนินการเอง ตัวอย่างของรัฐประเภทนี้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น

45. แนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) มีความสัมพันธ์กับประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 3 หน้า 154 รัฐสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democratic State) คือ รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อ ปฏิรูปสังคมให้เกิดความยุติธรรม แก้ปัญหาความยากจน เน้นให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม เป็นรัฐที่เน้นทําเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าจะเน้นทําเพื่อประโยชน์ของนายทุน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐจึงต้องเข้าไปแทรกแซงสังคมในระดับสูงหรืออย่างแข็งขัน เพื่อแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมที่อาจเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตัวอย่างเช่น แนวคิด เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น

46. พบในสหภาพโซเวียตในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงเหนือสังคม ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กระทั่งการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยไม่ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นรัฐที่มีอํานาจ สูงที่สุด ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ รัฐประเภทนี้พบในสหภาพโซเวียต ในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี และเกาหลีเหนือ

47. รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดให้ เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 4หน้า 154 รัฐรวมศูนย์ (Collectivized State) คือ รัฐที่เข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดถูกวางแผนและจัดการโดยรัฐ จากส่วนกลาง รวมถึงมีการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล คือ ไม่ให้เอกชนสามารถมีทรัพย์สิน ส่วนตัวได้ แต่ให้ทุกอย่างตกเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐประเภทนี้พบได้ในระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาพโซเวียต จีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง เป็นต้น

48. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐนิยม (Statist Model)
(1) มีคําอธิบายรัฐนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson
(2) เกิดจากการผลักดันของ Theda Skocpol และ Peter Evans
(3) รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจน้อยที่สุด
(4) รัฐในมุมมอง Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
(5) ฐานคิดสําคัญคือรัฐจะมีบทบาทเสมอในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 156 – 158, (คําบรรยาย) อนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้อธิบายรัฐนิยมโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson ซึ่งจาก 3 กลุ่มนี้ รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจสูงที่สุด รองลงมาคือ รัฐในมุมมองของ Theda Skocpol และรัฐในมุมมองของ Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น

49. ประชาธิปไตยทางตรงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) Roman
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thebes
(5) Corinth
ตอบ 2หน้า 165, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบของ ระบอบประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าไปใช้อํานาจในทางการเมืองอย่าง เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณ ทั้งนี้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้สามารถทําได้ในกรณีของรัฐที่มีประชากรจํานวนน้อย ดังนั้นในโลกปัจจุบันที่มีประชากรจํานวนมหาศาล ประชาธิปไตยทางตรงจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

50. รัฐบาลเกาหลีเหนือ คือระบอบเผด็จการรูปแบบใด
(1) Totalitarianism
(2) Authoritarianism
(3) Benevolent Dictatorship
(4) Theocracy
(5) Aristocracy
ตอบ 1 หน้า 170 เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เป็นรูปแบบของระบอบเผด็จการที่เข้มข้น คือ รัฐบาลทําการควบคุมการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกด้านทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมตัวอย่างของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ สหภาพโซเวียต รัฐบาลจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง รัฐบาลนาซีเยอรมัน รัฐบาลฟาสซิสต์ของอิตาลี รัฐบาลเกาหลีเหนือ เป็นต้น

51. ข้อใดคือชื่อเรียกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
(1) Parliament
(2) Assembly
(3) Congress
(4) Diet
(5) State Duma
ตอบ 3หน้า 172 สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นสถาบันที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย โดยสถาบันนิติบัญญัตินี้มีทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ และมีชื่อเรียก แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ เรียกว่า Parliament
2. ฝรั่งเศส เรียกว่า Assembly
3. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Congress
4. ญี่ปุ่น เรียกว่า Diet
5. ไทย เรียกว่า รัฐสภา

52. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Common
(2) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Representative
(3) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Common
(4) ใช้ระบบ 2 สภา คือ Senate กับ House of Representative
(5) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Representative
ตอบ 3 หน้า 174 ระบบสองสภา (Bicameral System) เป็นระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงและสภาล่าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ไทย เรียกว่า วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Senate กับ House of Representative
3. อังกฤษ เรียกว่า House of Lord กับ House of Common

53. หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย รูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีการแยกอํานาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แบบไม่เด็ดขาด การใช้อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันตาม หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power)

54. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 1 หน้า 178 การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารบนหลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารจึงแยกอิสระจากกันค่อนข้างสูง แต่ก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

55. การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) ฝรั่งเศสในช่วงสาธารณรัฐที่ 5
(2) เยอรมนีในช่วงอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) โปรตุเกสในช่วงหลังการปฏิวัติคาร์เนชัน
(4) เยอรมนีในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์
(5) รัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
ตอบ 4 หน้า 180 การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เป็นระบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ. 1919 – 1939) แต่เป็นที่รู้จักเมื่อประเทศฝรั่งเศสนําไปใช้

56. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
(3) จัดโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดใหญ่
(4) ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ตอบ 3 หน้า 186 – 187 สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีดังนี้
1. นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
2. ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
3. ปรับโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดเล็ก
4. ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ฯลฯ

57. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 1 หน้า 200 ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบพหุนิยม (Plurality Electoral System) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งแบบเขต โดยในแต่ละเขตผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินหนึ่งหรือไม่ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก

58.1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แล้วแต่จํานวนผู้แทนพึงมีในเขตนั้น คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 5 หน้า 200 ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งคน (Multi-Member District/Constituencies : MMD) หรือระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block Voting : BV) เป็น ระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ใน 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนแล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมี ในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน โดยผู้เลือกตั้งสามารถ เลือกผู้สมัครได้ตามจํานวนผู้แทนในแต่ละเขต ซึ่งอาจเลือกจากพรรคเดียวกันเรียงเบอร์ไปเลย หรือจะเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคก็ได้ หรือหากประสงค์เลือกเพียงเบอร์เดียวก็ได้ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลําดับจนครบตามจํานวนผู้แทนจึงมีก็จะได้เป็นผู้แทนในเขตนั้น

59. การเลือกพรรคซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดได้ที่นั่งทั้งหมดไป คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเลือกเป็นพรรค หรือระบบบล็อกโหวต พรรคการเมือง (Party Block Vote : PBV) เป็นการเลือกผู้แทนโดยการเลือกพรรคซึ่งส่ง ผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ ที่นั่งทั้งหมดไป ซึ่งระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

60. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 2 หน้า 202 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Electoral System) เป็นระบบที่ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่หรือสะท้อนเจตนารมณ์ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ระบบนี้โดยทั่วไปจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน

61. ระบบการเลือกตั้งที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” คือระบบใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 3 หน้า 204 – 205 ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation : PR/Party List System) เป็นระบบที่มีการกําหนดเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่ ในแต่ละเขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน โดยการลงคะแนนเสียงจะลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกผู้สมัครรายคน แต่พรรคการเมืองจะทําบัญชีรายชื่อของผู้สมัครเรียงตามลําดับลงไป ทําให้เรียกระบบนี้กันทั่วไป ว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” (Party List System)

62. “การเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Arend Lijphart
(2) Giovanni Sartori
(3) Maurice Duverger
(4) Barnard Grofman
(5) Barbara Geddes
ตอบ 3 หน้า 209 – 210 เมารีส ดูแวร์แจร์ (Maurice Duverger) อธิบายว่า การเลือกตั้งระบบ เสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง โดยที่ระบบ 2 พรรคเด่นมักนําไปสู่รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ระบบหลายพรรคก่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ

63. ระบบใดคือระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 3 หน้า 220 ระบบ 2 พรรค (Two-Party System) คือ การมีพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ ที่ต่อสู้แข่งขันและได้รับคะแนนเสียงสลับกันขึ้นเป็นรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

64. ระบบพรรคการเมืองกรณีพรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น และพรรคคองเกรสในอินเดีย คือ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant-Party System) เป็นระบบ ที่มีพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรค หรือกฎหมายเปิดให้พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มักได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดและครองอํานาจในการปกครอง ตัวอย่างเช่น พรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น พรรคคองเกรสในอินเดีย เป็นต้น

65. ระบบพรรคการเมืองแบบใดมักนําไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสม
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty Systern
ตอบ 5 หน้า 220 ระบบหลายพรรค (Multiparty System) คือ การมีพรรคการเมืองหลายพรรค ต่อสู้แข่งขันกันโดยไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมาก และอาจต้อง จัดตั้งรัฐบาลผสม ระบบเช่นนี้อาจมีข้อดีคือเกิดความหลากหลายในทางอํานาจ แต่มีข้อเสียคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความขัดแย้งและหาข้อตกลงกันไม่ได้

66. พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นไปตามระบบพรรคแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and–a-Half-Party System
(5) Multiparty Systern
ตอบ 1 หน้า 219 ระบบพรรคเดียว (One-Party System) คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เท่านั้นในระบบการเมือง พบในประเทศเผด็จการทั้งในรูปแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ ในระบบพรรคเดียวนี้อาจมีการเลือกตั้งด้วย แต่มีผู้สมัครลงแข่งขันจากพรรคการเมืองเดียว เท่านั้น ตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นต้น

67.2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอจัดตั้งรัฐบาล เป็นลักษณะของระบบพรรคการเมืองแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) ระบบถึง 2 พรรค (Two-and-a-Half-Party System) คือ การมี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอ จะจัดตั้งรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในโปรตุเกส สเปน กรีซ เยอรมนี ออสเตรีย เป็นต้น

68. พรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิก มากกว่าปริมาณ และเน้นการเลือกตั้ง คือโครงสร้างพรรคการเมืองรูปแบบใด
(1) พรรคแบบคณะกรรมาธิการ
(2) พรรคแบบมีสาขาพรรค
(3) พรรคแบบแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในรูปเซลล์
(4) พรรคแบบพลพรรค
(5) พรรคแบบเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 222 – 223 พรรคแบบคณะกรรมาธิการ เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้น การเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ พรรคแบบนี้ มักตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นนําเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าสู่อํานาจทางการเมือง ไม่ได้ขยายฐานสู่ประชาชน

69. กลุ่มผลประโยชน์ในระบบใด ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระ ของตนเองโดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น
(1) Democratic Corporatist Interest Group System
(2) Controlled Interest Group System
(3) Pluralist Interest Group System
(4) Institutional Group System
(5) Public Interest Group System
ตอบ 3 หน้า 232 ระบบพหุนิยม (Pluralist Interest Group System) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น แต่จะหมุนเวียนกันไปมีบทบาทหลักในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน เมื่อเป็นประเด็นอื่นก็จะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นเข้าไป มีบทบาทหลักแทน ระบบกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวนี้พบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

70. การทําให้เป็นอุตสาหกรรม คือ ทฤษฎีการพัฒนาในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 2 หน้า 238 – 250 แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาในแต่ละยุค มีดังนี้
1. ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา เน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก
2. การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 เน้นการทําให้เป็นอุตสาหกรรม
3. การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 เน้นการทําให้ทันสมัย ซึ่งคือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
4. การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เน้นแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน
5. การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องของวิกฤติความชอบธรรมของ แนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน การพัฒนาทางเลือกหรือความหลากหลายของการพัฒนา

71. เสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน เป็นการพัฒนาในช่วงใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72 Beijing Consensus คือ ทฤษฎีการพัฒนาในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 3 หน้า 250 การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือแนวนโยบายของฉันทามติวอชิงตันถูกตั้งคําถามอย่างหนักภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา จนมีนักวิชาการบางคนกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อจุดจบของเสรีนิยมใหม่ นําไปสู่การนําเสนอฉันทามติอื่น ๆ เช่น ฉันทามติโคเปนเฮเกน (Copenhagen Consensus) ฉันทามติเม็กซิโก (Mexico Consensus) ฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) หรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ(State-Directed Capitalism) เป็นต้น

73. การทําให้ทันสมัย คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

74. “การพัฒนาทางการเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความ ทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Pye
(2) Lipset
(3) Huntington
(4) Atmond
(5) Coleman
ตอบ 3 หน้า 245 – 246 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) อธิบายว่า การพัฒนาทาง การเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

75. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย
(1) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการคนสําคัญ คือ Lipset
(2) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Shedler
(3) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม
(4) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญของ Easton
(5) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Marx
ตอบ 1 หน้า 252 – 253 นักวิชาการที่เสนอเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการ คนสําคัญ คือ ลิปเซ็ต (Lipset)
2. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งเป็น เจ้าของผลงานเรื่อง “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations”
3. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) (ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ)

76. ข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ เป็นคําอธิบาย การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 ดังค์วาร์ด รัสเทาว์ (Dankwart Rustow) ได้อธิบายข้อกําหนดเบื้องต้น สําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ ตัวอย่างเช่น
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพประชาธิปไตยไม่จําเป็นต้องเป็นตัวเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
2. การศึกษาประชาธิปไตยต้องตระหนักว่าสหสัมพันธ์อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความสัมพันธ์ เชิงเหตุ-ผล
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคมส่งผลต่อการเมือง
4. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยเชิงแนวคิดวัฒนธรรม ส่งผลต่อการกระทําของตัวแสดงเสมอไป ฯลฯ

77. การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 1 หน้า 257 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ไว้ในหนังสือ
เรื่อง “คลื่นลูกที่สาม” ทั้งในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างและในส่วนของปัจจัยของตัวแสดงซึ่งก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนําทั้งที่อยู่ในอํานาจและที่ไม่อยู่ในอํานาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

78. “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมืองที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการ ปกครองนอกจากประชาธิปไตย และไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงาน ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียว ในเมือง (The Only Game in Town)” ข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายของนักวิชาการท่านใด
(1) David Easton
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 ฮวน ลินซ์ (Juan Linz) ได้กําหนดนิยามของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน ให้กับประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมือง ที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตยและไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง (The Onty Game in Town)”

79. การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การปฏิวัติในอียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบียและซีเรีย มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Color Revolutions
(2) Arab Spring
(3) Rose Revolution
(4) Asian Spring
(5) Tulip Revolution
ตอบ 2 หน้า 273, (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เป็นการลุกฮือของ ประชาชนเพื่อต่อต้านอํานาจรัฐและระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทําให้เกิดแรงกระเพื่อม ไปสู่การปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย หรือที่ เรียกกันว่า “การปฏิวัติในฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” หรือ “อาหรับสปริง” (Arab Spring)

80. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
(1) เป็นโลกที่รัฐมีบทบาทมากขึ้น
(2) เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
(3) เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน
(4) มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 281 – 285 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายว่า สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะ สําคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
2. เป็นโลกที่เส้นแบ่งต่าง ๆ ที่เคยมั่นคงชัดเจนเกิดความไม่ชัดเจน นําไปสู่การลากเส้นแบ่ง ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
3. เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
4. มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. มีการก่อการร้ายและการทําสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นความจริงชุดใหม่
6. เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน

81. “ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริงไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในคลื่นลูกที่ 4” จากข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 2 หน้า 293 ลาร์รี่ ไดมอนด์ (Larry Diamond) อธิบายว่า ความตื่นตัวของประชาชนใน ตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนิเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่ 4

82. งานเขียนของใครถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
(1) แมคคิอาเวลลี
(2) อริสโตเติ้ล
(3) เพลโต
(4) ล็อค
(5) อีสตัน
ตอบ 2หน้า 3 – 4 (คําบรรยาย) หนังสือปรัชญาการเมืองเรื่อง “Politics” ของอริสโตเติ้ล (Aristotle) สะท้อนให้เห็นการใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางการเมือง ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการได้มาขององค์ความรู้ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการนําเอา กฎหมายปกครองของรัฐต่าง ๆ จํานวนมากถึง 158 รัฐมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าในโลกนี้มีรูปแบบ การปกครองกี่รูปแบบ และแบ่งว่ารูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่ดีและรูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบ ที่เลว ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ

83. อริสโตเติ้ลเห็นว่าระบอบการปกครองใดที่ถือเป็นการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่ดี
(1) โพลิตี้
(2) คณาธิปไตย
(3) ทรราช
(4) ประชาธิปไตย
(5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 4 อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

84. เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมืองคือข้อใด
(1) หาเกณฑ์เชิงปทัสถาน
(2) สร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
(3) สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมือง เน้นการศึกษาสิ่งที่ควร จะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การค้นหาเกณฑ์เชิงปทัสถานหรือสิ่งที่ พึงประสงค์หรือสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เหมาะสมในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือระบอบ

การปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี รัฐที่ดี กฎหมายที่ดี เพื่อเสนอแนะหลักปฏิบัติทางการเมือง ที่ถูกต้องชอบธรรม มีจรรยาบรรณ อุดมคติ หรือค่านิยมคอยกํากับ ทําให้การศึกษาในยุคนี้ เชื่อมโยงอยู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และไม่ได้แยกเรื่องค่านิยมออกจากองค์ความรู้ทางการเมือง

85. การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) การเมืองเปรียบเทียบ
(2) ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
(3) ปรัชญาเปรียบเทียบ
(4) ทฤษฎีเปรียบเทียบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 4 – 5, 8 การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า“การปกครองเปรียบเทียบ”

86. การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันเป็นไปเพื่อเป้าหมายใด
(1) สร้างสถาบันทางการเมืองของรัฐที่ใช้การได้จริง
(2) สร้างรัฐสมัยใหม่
(3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
(4) สร้างความทันสมัย
(5) ข้อ 1 และ 4 ถูก
ตอบ 1 หน้า 6 – 7 การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันมุ่งศึกษารัฐและสถาบันทาง การเมืองที่เป็นทางการ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ รูปแบบรัฐ รัฐสภา รัฐบาล ตลอดจนกลไก และกระบวนการทางการเมืองต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบ ถ่วงดุล การแบ่งแยกอํานาจระหว่าง สถาบันทางการเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสถาบันทางการเมืองของรัฐที่ใช้การได้จริง เป็นไป ตามกรอบของกฎหมาย รองรับค้ําประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของคนส่วนใหญ่ โดยมีความเชื่อว่า หากมีการสร้างสถาบันทางการเมืองได้เป็นอย่างดีแล้ว ระบอบการเมืองก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

87. Large-Ns มีความหมายถึงสิ่งใด
(1) จํานวนศึกษาหลายกรณี
(2) การศึกษาเชิงคุณภาพ
(3) มีจุดแข็งในการสร้างสมมติฐาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ
ตอบ 1 หน้า 46 – 47, 64 Large-Ns หมายถึง จํานวนศึกษาหลายกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ซึ่งข้อดีของการศึกษาหลายกรณี มีดังนี้
1. มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐานให้เข้มแข็งมากขึ้น
2. สามารถนําข้อสรุปจากการศึกษาไปใช้กับกรณีศึกษานอกกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
3. ช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ผลการวิเคราะห์มีลักษณะกลมกลืนกัน ฯลฯ

88. สาขาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในยุคใด
(1) ยุคสถาบัน
(2) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังสมัยใหม่
ตอบ 3 หน้า 11, 22, 33 – 34 วิชาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ ภายหลังจากความพยายามในการแสวงหา เอกลักษณ์ให้กับสาขารัฐศาสตร์และการสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์โดยการผลักดันของประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น โดยเป้าหมายหรือหัวใจหลัก สําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

89. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงการเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการเมืองที่สอดคล้องกับคุณธรรมจริยธรรม
(2) ผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาภายใต้แนวคิดแบบพฤติกรรมศาสตร์
(3) มีเป้าหมายในการสร้างคุณภาพของประชาธิปไตย
(4) เรียกร้องให้เกิดการยอมรับความจริงอันหลากหลาย
(5) ผลักดันโดยสหภาพโซเวียตภายใต้บริบทสงครามเย็น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. เป้าหมายสําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือข้อใด
(1) สร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
(2) สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
(3) สร้างกฎหมายปกครองที่ยอดเยี่ยม
(4) ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

91. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงวิชาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบัน
(1) มีวิธีการที่หลากหลาย
(2) เน้นเนื้อหามากกว่าวิธีการ
(3) รวมเรียกว่าการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
(4) เน้นคุณภาพประชาธิปไตย
(5) เชื่อมั่นในศาสตร์เชิงประจักษ์เท่านั้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การศึกษาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบันนั้นมีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุม ประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ การเมืองใน ชีวิตประจําวัน ตลอดจนคุณภาพของประชาธิปไตย ดังนั้นการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ ในปัจจุบันจึงไม่ได้ใช้ศาสตร์เชิงประจักษ์เท่านั้น แต่ใช้แนวทางและวิธีการอันหลากหลาย ที่สอดคล้องกับประเด็นการศึกษา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้สําหรับการอธิบายทางการเมือง ตลอดจนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองต่าง ๆ อย่างรอบด้าน

92. กรณีศึกษาแบบใดช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
(1) Small-Ns
(2) การศึกษากรณีประเทศเดียว
(3) Large-Ns
(4) กรณีศึกษาตามรายประเด็น
(5) กรณีศึกษาเชิงลึก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

93. วิธีการเปรียบเทียบในวิชาการเมืองเปรียบเทียบถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใด
(1) สกัดหาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
(2) การแข่งขันระหว่างประเทศ
(3) หาสิ่งที่พึงประสงค์
(4) สร้างความได้เปรียบ
(5) สร้างจริยธรรมทางการปกครอง
ตอบ 1 หน้า 50 วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการที่ต้องเลือกมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อสร้างคําอธิบาย
ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขหรือปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่ศึกษา หรือ กล่าวอีกนัยคือ วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการสําหรับนํามาใช้เพื่อสกัดหาตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา

94. ข้อใดไม่ใช่หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง
(1) ระบบการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) รัฐ
(4) กฎหมาย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง เป็นหน่วยวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับ โครงสร้างต่าง ๆ ในสังคม เช่น ระบบการเมือง รัฐ ชนชั้น สถาบันทางการเมือง กฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับนี้จะมี ความเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นมีอิทธิพลต่อการกระทําของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้มีเสรีภาพมากนัก แต่จะแสดงออกมาภายใต้กรอบ ของโครงสร้างดังกล่าว

95. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบ
(1) ต้องเปรียบเทียบกรณีมากกว่า 1 ประเทศเท่านั้น
(2) ศึกษาประเทศเดียวก็ได้
(3) การเปรียบเทียบระดับโลกเป็นการศึกษาที่ได้ข้อมูลกว้างแต่ไม่ลึก
(4) การเปรียบเทียบกรณีศึกษาเดียวทําให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 การเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบสามารถเลือกศึกษาประเทศเดียวก็ได้ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ภายในประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเฉพาะสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ๆ เช่น พรรคการเมือง สถาบันทหาร รัฐสภา กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเลือกศึกษาประเทศเดียวนี้จะง่ายต่อ ผู้ศึกษารุ่นใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะมาก

96. นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยม
(1) คาร์ล มาร์กซ์
(2) จอห์น ล็อค
(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(4) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(5) เดวิด อีสตัน
ตอบ 3 หน้า 50 – 57, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ได้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยมไว้ 4 วิธีการ คือ
1. วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement)
2. วิธีการพิจารณาความแตกต่าง (Method of Difference)
3. วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่ (Method of Residues)
4. วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน (Method of Concomitant Variations)

97. มองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างในกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 51 วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement) เป็นการมองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ในกรณีศึกษาต่าง ๆที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์

98. ค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือนกัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่า ตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(3) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
(4) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) เป็นการค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือนกัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์

99. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

100. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.Large-Ns มีความหมายถึงสิ่งใด
(1) จํานวนศึกษาหลายกรณี
(2) การศึกษาเชิงคุณภาพ
(3) มีจุดแข็งในการสร้างสมมติฐาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 46 – 47, 64 Large-Ns หมายถึง จํานวนศึกษาหลายกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ซึ่งข้อดีของการศึกษาหลายกรณี มีดังนี้
1. มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐานให้เข้มแข็งมากขึ้น
2. สามารถนําข้อสรุปจากการศึกษาไปใช้กับกรณีศึกษานอกกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
3. ช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ผลการวิเคราะห์มีลักษณะกลมกลืนกัน ฯลฯ

2.กรณีศึกษาแบบใดช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
(1) Small-Ns
(2) การศึกษากรณีประเทศเดียว
(3) Large-Ns
(4) กรณีศึกษาตามรายประเด็น
(5) กรณีศึกษาเชิงลึก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3. วิธีการเปรียบเทียบในวิชาการเมืองเปรียบเทียบถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใด
(1) สกัดหาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
(2) หาสิ่งที่พึงประสงค์
(3) การแข่งขันระหว่างประเทศ
(4) สร้างความได้เปรียบ
(5) สร้างจริยธรรมทางการปกครอง
ตอบ 1 หน้า 50 วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการที่ต้องเลือกมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อสร้างคําอธิบาย ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขหรือปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่ศึกษา หรือ กล่าวอีกนัยคือ วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการสําหรับนํามาใช้เพื่อสกัดหาตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา

4.นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยม
(1) คาร์ล มาร์กซ์
(2) จอห์น ล็อค
(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(4) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(5) เดวิด อีสตัน
ตอบ 3 หน้า 50 – 57, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ได้เสนอวิธีการหลัก ในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยมไว้ 4 วิธีการ คือ
1. วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement)
2. วิธีการพิจารณาความแตกต่าง (Method of Difference)
3. วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่ (Method of Residues)
4. วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน (Method of Concorpitant Variations)

5. มองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างในกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 51 วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement) เป็นการมองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ในกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์

6. ค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือนกัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่า ตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(3) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
(4) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด
ตอบ 5 หน้า 59, (คําบรรยาย) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) เป็นการค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือนกัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์

7. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 วิธีการเปรียบเทียบของเขวอร์สกีและเทิร์น (Przeworski and Teune) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) มี 2 วิธี คือ
1. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความแตกต่างของมิลล์
2. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด (Most Different Systems : MDS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความเหมือนของมิลล์

8. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9. “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย” เป็นคํากล่าวของนักวิชาการคนใด
(1) แกเบรียล อัลมอนด์
(2) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(3) เธดา สค็อกโพล
(4) แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์
(5) โรเบิร์ต ดาห์ล
ตอบ 4 หน้า 72 งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของแบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาน้อยกรณี
(Small-NS) ซึ่งงานชิ้นนี้มัวร์ได้สร้างคําอธิบายใหม่ที่แตกต่างจากคําอธิบายเดิมที่มักบอกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยมีการอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น พิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรต้นจํานวนมากขึ้นทั้งในส่วนของชนชั้นทางสังคม โครงสร้างทางเศรษฐกิจ อํานาจรัฐ ตลอดจนพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์กันเองของตัวแปรต้นต่าง ๆ ควบคู่กันไป กับการพิจารณาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปที่โด่งดังที่ว่า “ไม่มีชนชั้นนายทุนไม่มีประชาธิปไตย”

10. วิธีการเปรียบเทียบแบบ MSS และ MDS พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) Przeworski and Teune
(2) John Stuart Mill
(3) Antonio Gramsci
(4) Ragin and Rubinson
(5) Anthony Giddens
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

11. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ Small-Ns
(1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
(2) เน้นศึกษาน้อยกรณี
(3) เน้นตีความหรือทําความเข้าใจความหมาย
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 1 หน้า 70 Small-Ns คือ การศึกษาน้อยกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องของ การตีความหรือทําความเข้าใจความหมายอย่างรอบด้านหรือในลักษณะองค์รวม เพื่อทําความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นที่ศึกษาในกรณีนั้น ๆ

12. งานของลิปเซ็ตเรื่อง “Political Man” ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Small-Ns
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 64, 67 – 68 งานของลิปเซ็ต (Lipset) เรื่อง “Political Man” เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการศึกษาหลายกรณี (Large-Ns) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคง ประชาชนจะมีรายได้สูงกว่าประเทศที่มีประชาธิปไตย ไม่มั่นคงหรือเป็นเผด็จการ จากงานชิ้นนี้ของลิปเซ็ตได้นํามาสู่ข้อสรุปเป็นคําอธิบายทั่วไป อันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”

13. คําอธิบายอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”เป็นของนักวิชาการผู้ใด
(1) ไดมอนด์
(2) กิดเดนส์
(3) ลิปเซ็ต
(4) ลาสเวลล์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14. งานเรื่อง “Social Origins of D ctatorship and Democracy” ของมัวร์ จูเนียร์ ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

15. งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของโรเบิร์ต พุตนัม ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 4 หน้า 74 งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของ โรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) เป็นการศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่ส่งผลต่อ การทํางานของระบอบประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคใต้ของอิตาลี ซึ่งพุตนัมได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้ วิธีการเชิงปริมาณเพื่อสํารวจทัศนคติของพลเมือง และใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นมาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคในอิตาลี

16. “พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา” (Methodological Pluralism) สอดคล้องกับข้อใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคหลังสมัยใหม่
(3) Nest Analysis
(4) Mixed Method
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 74 – 75, 140 พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา (Methodological Pluralism) เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาที่มีความหลากหลาย ทั้งในเชิงระเบียบวิธีวิจัยซึ่งอาจใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) หรือ “การวิเคราะห์ ประสานกันแบบรังนก” (Nest Analysis) และมีการขยายขอบเขตของการศึกษาครอบคลุม ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนการเมืองในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภาคประชาสังคม รวมถึง เรื่องปฏิสัมพันธ์ของการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

17. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ (Approach)
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ระบุความสัมพันธ์เชิงเหตุเชิงผลเป็นรูปธรรม
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 80 – 81, 143 แนวทางการศึกษาหรือแนวทางการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบเค้าโครงในการศึกษาที่จะเป็นตัวกําหนดระดับของการอธิบาย วิธีการในการศึกษาตลอดจนทฤษฎีที่จะใช้ในการศึกษา โดยแนวทางการศึกษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรอบเค้าโครง กว้าง ๆ โดยไม่มีการลงลึกในส่วนของตัวแบบในการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และในแต่ละ แนวทางการศึกษาจะประกอบด้วยทฤษฎีย่อย ๆ อยู่ด้วย

18. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 82 ทฤษฎี (Theory) คือ ชุดของคําอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของความสัมพันธ์เชิง เหตุ-ผล (Causal Relations) ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษา หรือเรียกอีกอย่างว่า ชุดของคําอธิบายความสัมพันธ์เชิงปัจจยาการ

19. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสหลัก
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 83 – 127 แนวทางการวิเคราะห์กระแสหลัก ได้แก่
1. แนวทางระบบ
2. แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
3. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล
4. แนวทางสถาบันนิยมใหม่
5. แนวทางโครงสร้าง

20. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสวิพากษ์
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางสถาบันนิยมใหม่
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, 107, 134, 140 แนวทางการวิเคราะห์กระแสวิพากษ์ ได้แก่
1. แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
2. แนวทางมาร์กซิสต์
3. แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
4. แนวทางหลังสมัยใหม่หรือแนวทางหลังโครงสร้างนิยม (ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ)

21. นักรัฐศาสตร์คนสําคัญที่นําเอาความคิดเชิงระบบมาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบคือ
(1) อีสตัน
(2) อัลมอนด์
(3) คาร์ล ดอยซ์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ชาร์ล ทิลลี่
ตอบ 1 หน้า 89 เดวิด อีสตัน (David Easton) เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่นําเอาความคิดเชิงระบบ มาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบ และเป็นบุคคลแรก ๆ ที่เสนอแบบจําลองของระบบการเมือง อันเป็นผลจากความพยายามในการหาทฤษฎีทั่วไปที่สามารถใช้ในการอธิบายการเมืองทั้งระบบหรือสร้างทฤษฎีมหภาคที่สามารถนําไปใช้อธิบายสังคมอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งโลก

22. ในทฤษฎีระบบการเมือง ปัจจัยนําเข้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ข้อเรียกร้องความต้องการและการสนับสนุน
(2) รัฐบาลและรัฐสภา
(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(4) นโยบายและการปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90 ในทฤษฎีระบบการเมืองนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) อธิบายว่า “ระบบการเมือง” (Political System) เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ซึ่งทําหน้าที่อยู่ภายใต้ “สิ่งแวดล้อม” (Environment) โดยจะมี “ปัจจัยนําเข้า” (Inputs) ซึ่งประกอบด้วย ข้อเรียกร้อง ความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) จากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ระบบการเมือง แล้วระบบการเมืองก็จะทําหน้าที่ในการตัดสินใจแปลงปัจจัยนําเข้าดังกล่าวเป็น “ปัจจัยนําออก” (Outputs) ในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายต่าง ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และผลจากการทํางานของระบบการเมืองก็จะเกิดเป็น “ผลสะท้อนกลับ” (Feedback) กลับเข้าไปเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

23. ทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) อีสตัน
(2) เมอร์เรียม
(3) อัลมอนด์
(4) ฟูโกต์
(5) พาร์สัน
ตอบ 3 หน้า 92 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) ได้พัฒนาทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โดยได้ดึงแนวคิดเรื่องบทบาทและโครงสร้างของนักสังคมวิทยา เช่น แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ทาลค็อตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) เข้ามาผนวกกับทฤษฎีระบบ เพื่อให้ทฤษฎีระบบเชิง โครงสร้าง-หน้าที่มีความเป็นรูปธรรม สามารถศึกษากลุ่มของการกระทําทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้

24. ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โครงสร้างใดทําหน้าที่รวบรวมผลประโยชน์
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) รัฐบาล
(4) รัฐสภา
(5) ศาล
ตอบ 2 หน้า 93 – 94 ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่นั้น แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) อธิบายว่า โครงสร้างทางการเมืองแต่ละอย่างสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ แม้ใน ระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วจะมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมาทําหน้าที่เฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะทําแค่หน้าที่เดียว เพราะโครงสร้างในทุกระบบการเมืองจะทําหน้าที่ หลาย ๆ อย่างเสมอ เช่น พรรคการเมืองมีหน้าที่หลักในการรวบรวมผลประโยชน์และเลือกสรร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองก็ทําหน้าที่อื่น ๆ เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับ ประชาชน การให้การศึกษาทางการเมือง เป็นต้น

25. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
(1) Parochial
(2) Subject
(3) Participant
(4) Civic Culture.
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ได้แบ่งวัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ แบบคับแคบ (Parochiat) แบบไพร่ฟ้า (Subject) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) โดยมองว่า วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสม หรือเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่ต้องเป็นวัฒนธรรมทาง การเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 3 แบบอย่างลงตัว ซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม แบบพลเมือง” (Civic Culture) อันเป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมือง แต่ก็ไม่มากจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

26. นักรัฐศาสตร์ท่านใดมีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
(1) Huntington
(2) Bentley
(3) Downs
(4) Powell
(5) Almond
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) เป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) โดยอัลมอนด์เสนอว่า สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย และอีกประเทศหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นก็เพราะว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย ส่วนประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นมีวัฒนธรรมไม่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย

27. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทางของยุคใด
(1) ยุคปรัชญา
(2) ยุคสถาบัน
(3) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(4) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 108 – 109 แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มถูกนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็น ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ดังนั้นแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทาง หรือทฤษฎีในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ในกระแสหลักที่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความเป็นศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ในทางการเมือง

28.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ Subject
(1) เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง
(2) เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
(3) เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ
(4) เป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมืองหรือ แบบไพร่ฟ้า (Subject) เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนสนใจข่าวสาร มีความรู้เกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีอํานาจทางการเมือง เรื่องของ การเมืองเป็นเรื่องของผู้นํา ดังนั้นลักษณะของวัฒนธรรมแบบนี้จึงเป็นความสัมพันธ์แบบ บนลงล่าง การเมืองเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและกฎเกณฑ์ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็น การเมืองแบบใช้เหตุผล

29. แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลคือ
(1) ความเสียสละ
(2) ผลประโยชน์ส่วนบุคคล
(3) ผลประโยชน์ของชาติ
(4) ความหลากหลาย
(5) ความเท่าเทียม
ตอบ 2 หน้า 109 แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลตั้งอยู่บน สมมติฐานหลัก 2 ตัว คือ ความมีเหตุมีผล (Rationality) กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Self-Interest)

30. ตามแนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล คําว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผลหมายถึงข้อใด
(1) จะทําการใดต้องมีการคํานวณ
(2) คิดถึงประโยชน์ได้เสีย
(3) แสวงหาประโยชน์สูงสุด
(4) หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 110, (คําบรรยาย) แนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) มีสมมติฐานสําคัญคือ มนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผล ซึ่งคําว่ามีเหตุมีผลหมายถึง มนุษย์ทุกคนเวลา จะทําการใดจะต้องคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์ อย่างไร หรือคํานวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากทางเลือกแต่ละทาง โดยมนุษย์จะตัดสินใจเลือก ทางเลือกที่ได้ประโยชน์สูงสุด และหลีกเลี่ยงทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์มากที่สุดหรือหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์นั่นเอง

31. แนวทางสถาบันดั้งเดิมแตกต่างกับแนวทางสถาบันนิยมใหม่ในข้อใด
(1) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ
(2) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการ
(3) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 115, 118, 120 – 122 แนวทางสถาบันดั้งเดิม เน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการหรือ ศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย ส่วนแนวทางสถาบันนิยมใหม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการควบคู่กันไปกับการศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ รวมถึงขยายขอบเขต ของการศึกษาไปสู่เรื่องของพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง ปัจจัยทั้งหลายที่สามารถ ส่งผลทั้งต่อตัวสถาบันและต่อพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ

32. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นสถาบันของฮันทิงตัน
(1) ความสามารถในการปรับตัว
(2) การแบ่งโครงสร้างทําหน้าที่เฉพาะ
(3) ความรวดเร็วในการทํางาน
(4) ความเป็นอิสระในตนเอง
(5) ความเป็นปึกแผ่น
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้เสนอตัวชี้วัดความเป็น สถาบัน ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
2. การแบ่งโครงสร้างแยกย่อยลงไปและทําหน้าที่เฉพาะ (Complexity)
3. ความเป็นอิสระในตนเอง (Autonomy)
4. ความเป็นปึกแผ่น (Coherence)

33. “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) มาร์กซ์
(2) ทิลลี่
(3) ไชยวัฒน์ ค้ําชู
(4) อดอร์โน
(5) เดอร์ไคม์
ตอบ 2 หน้า 128 แนวทางโครงสร้างเชิงประวัติศาสตร์ จะเน้นวิเคราะห์ความเป็นมาของโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น พัฒนาการของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในโลกตะวันตก พัฒนาการของระบบ ทุนนิยม พัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่ พัฒนาการของการเข้าสู่ ระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพใหญ่ของพัฒนาการ ตลอดจน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ศึกษาดังที่ชาร์ล ทิลลี่ (Charles Tilly) เรียกว่า “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” และ “กระบวนการใหญ่”

34. นักวิชาการผู้ใดมีอิทธิพลต่อแนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) ซี. ไรท์ มิลล์
(5) คาร์ล ป๊อปเปอร์
ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) นิคอส พลันต์ซาส (Nicos Poulantzas) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลต่อ แนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ อันเป็นผลมาจากกระแสการนํารัฐกลับมาเป็นแกนกลางในการศึกษาทางการเมือง

35. นักวิชาการคนใดมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
(1) พลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) สค็อกโพล
ตอบ 5 หน้า 117, 130, 156 เธดา สค็อกโพล (Theda Skocpol) และปีเตอร์ อีแวน (Peter Evans) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง โดยทั้งสองได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Bringing the State Back In” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนํามาใช้ เป็นกระแสการเรียกร้องให้รัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนกล่องดํา คือเป็นที่รวมของอํานาจที่กลุ่ม ต่าง ๆ ใช้ในการต่อรอง แย่งชิง ผลักดันนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน กลับเข้ามาสู่การเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ทางการเมือง

36. เพราะเหตุใดแนวคิดแบบมาร์กซิสต์จึงไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม
(1) เพราะยากที่สถาบันการเมืองจะมีความเข้มแข็ง
(2) เพราะเอกชนจะเรียกร้องให้รัฐมีบทบาทน้อย
(3) เพราะมีความเจริญทางวัตถุแต่จิตใจผู้คนตกต่ำ
(4) เพราะมีโครงสร้างที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
(5) เพราะผู้คนไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา
ตอบ 4 หน้า 134 – 136, (คําบรรยาย) แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคง จะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม เพราะหัวใจสําคัญของประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกัน แต่ใน ระบบทุนนิยมกลับมีโครงสร้างที่ทําให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมนั้น ชนชั้นที่ออกแรงผลิตคือชนชั้นแรงงาน แต่ชนชั้นนายทุนกลับรีบเอามูลค่าที่ชนชั้นแรงงานผลิตได้ ไปเป็นของตน ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวทําให้เกิด “ชนชั้นผู้ได้เปรียบ” กับ “ชนชั้นผู้เสียเปรียบ” ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

37. ปัจจัยใดที่คาร์ล มาร์กซ์ ให้ความสําคัญที่สุดเมื่อวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
(1) อํานาจของกฎหมาย
(2) โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
(3) การครอบงําทางความคิดผ่านทางศาสนา
(4) แสนยานุภาพทางทหาร
(5) อํานาจของรัฐในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ตอบ 2 หน้า 134 – 135 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist Theory) กําเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน หรือก็คือ ปฏิเสธระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์ของมาร์กซ์นั้นในทางหนึ่งเป็นการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ แต่หัวใจหลักอยู่ที่การใช้ โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง

38. ข้อใดเป็นความแตกต่างสําคัญที่สุดระหว่างมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมกับมาร์กซิสต์ใหม่
(1) วิเคราะห์ทางชนชั้น
(2) ปฏิเสธระบบทุนนิยม
(3) ปฏิวัติทางชนชั้น
(4) ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 137 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม โดยมีจุดร่วมสําคัญ คือ การมองว่าชนชั้นที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจมักมีแนวโน้มมีอํานาจในทาง การเมืองด้วย แต่มีจุดต่างสําคัญจากมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมคือหันไปให้น้ําหนักกับโครงสร้างส่วนบนมากขึ้นแทนที่จะเน้นวิเคราะห์โครงสร้างส่วนล่างเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นของอํานาจรัฐ

39. แนวคิดสําคัญของอันโตนิโอ กรัม คือแนวคิดใด
(1) การปฏิวัติทางชนชั้น
(2) วาทกรรม
(3) การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์
(4) พหุวัฒนธรรม
(5) การครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรม
ตอบ 3 หน้า 137 – 138 อันโตนิโอ กรัม (Antonio Gramsci) ได้เสนอแนวคิด “การครองความเป็น จ้าวทางอุดมการณ์” (Hegemony) โดยอธิบายว่า โครงสร้างส่วนบนแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ สังคมการเมืองและสังคมประชา ชนชั้นที่ต้องการมีอํานาจเหนือสังคมอย่างเบ็ดเสร็จต้องสามารถครองอํานาจได้ในทั้งสองพื้นที่ในฐานะผู้ครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์ และกรมที่ได้ให้น้ำหนักไปที่การครอบงําทางความคิดอย่างมาก เนื่องจากการที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะขั้นเด็ดขาดและ สมบูรณ์เหนือสังคมได้ ชนชั้นนั้นต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม

40. นักวิชาการคนใดเสนอแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม
(1) หลุยส์ อัลธูแซร์
(2) เออร์เนสโต ลาเคลา
(3) ชองทัล มูฟ
(4) ชาร์ค แดร์ริดา
(5) มิเชล ฟูโกต์
ตอบ 5 หน้า 140 – 143 แนวคิดที่สําคัญของนักวิชาการในยุคหลังสมัยใหม่ มีดังนี้
1. แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ (Michet Foucault)
2. แนวคิดการรื้อสร้างของชาร์ค แดร์ริดา (Jacques Derrida)
3. แนวคิดมายาคติของโรลอง บาร์ต (Roland Barthes)
4. แนวคิดการครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรมและแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกของเออร์เนสโต ลาเคลาและของทัล มูฟ (Ernesto Laclau and Chantal Mouffe) ฯลฯ

41. “รัฐคือองค์การทางการเมืองที่มีอํานาจในการออกคําสั่งหรือระเบียบ รวมถึงควบคุมการใช้ความรุนแรงเพื่อให้คําสั่งหรือกฎระเบียบถูกบังคับใช้” เป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Heywood
(2) Migdal
(3) Weber
(4) Mosca
(5) Giddens
ตอบ 5 หน้า 149 แอนโทนี กิดเดนส์ (Anthony Giddens) ได้ให้นิยามคําว่ารัฐไว้ว่า “รัฐคือองค์การ ทางการเมืองที่มีอํานาจในการออกคําสั่งหรือระเบียบ รวมถึงควบคุมการใช้ความรุนแรงเพื่อให้ คําสั่งหรือกฎระเบียบถูกบังคับใช้”

42. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) Treaty of Ulm 1647 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(2) Treaty of Concordia 1648 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(3) Treaty of Westphalia 1648 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(4) Treaty of Zboriv 1649 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
(5) Treaty of Breda 1650 นํามาสู่การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ในยุโรป
ตอบ 3 หน้า 147 สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 นํามาสู่การ เกิดขึ้นของ “รัฐสมัยใหม่” ในยุโรป ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ คือ ดินแดนที่แน่นอน (Territory) ประชากร (Population) รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

43. รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเอง คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 1 หน้า 148 รัฐในความหมายเชิงนามธรรม หมายถึง รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานง และเป้าหมายของตนเองแยกออกมาและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งรัฐจะนําพามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ โดยที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังรัฐ

44. รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทาง การปกครองทั้งหลาย คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงองค์การ หมายถึง รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย

45. รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นน่านิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 3 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่ หมายถึง รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อย
ในสังคม

46. รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 2 หน้า 148 – 149 รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม หมายถึง รัฐเป็นแหล่งรวมของ ชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม

47. รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 4 หน้า 151 – 152 รัฐรวม (Composite State) หรือสหพันธรัฐ (Federation) คือ รัฐที่เกิดขึ้น จากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นโดยการมอบ อธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลางเพื่อจัดการในเรื่องสําคัญของส่วนรวมด้วยเหตุผลในเรื่องของ การป้องกันภัยรุกราน ความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ในขณะที่แต่ละรัฐที่มารวมตัวกัน ก็ยังคงมีอธิปไตยของตนเองอยู่บางส่วน ดังนั้นรัฐรวมจึงมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลของท้องถิ่นหรือมลรัฐ ตัวอย่างของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น

48. รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาที่เรียกว่าประธานาธิบดี คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 2 หน้า 151 สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาหรือเป็นผู้นําทางศาสนา รัฐแบบนี้พบได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย (เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี อินเดีย) คอมมิวนิสต์ (เช่น จีน เวียดนาม) และรัฐที่ปกครองโดยหลักศาสนา (เช่น อิหร่าน)

49. รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบ ประชาธิปไตยก็ได้ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 1 หน้า 150 – 151 รัฐราชอาณาจักร (Kingdom State) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งรัฐราชอาณาจักรเกือบทั้งหมดในปัจจุบันก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา เบลเยียม ไทย เป็นต้น

50. รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุดในเขตแดนของรัฐ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 3 หน้า 151 รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุด หรืออธิปไตยสมบูรณ์ในเขตแดนของรัฐนั้น ๆ ไม่มีรัฐบาลในระดับที่รองลงมา หน่วยงานของรัฐ ในท้องที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นมือไม้หรือหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจาก รัฐบาลกลางไปดําเนินการ หรือในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นแม้จะได้รับการกระจายอํานาจลงไปให้บ้างแต่ก็ไม่ถือว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง การดําเนินงานยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับควบคุมของรัฐบาลกลาง ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น

51. รัฐมีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1หน้า 153 รัฐแบบกรรมการ (Minimal State) คือ รัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมที่ให้รัฐ มีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการ ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ รัฐประเภทนี้พบในประเทศที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้น

52. แนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) มีความสัมพันธ์กับประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 3 หน้า 154 รัฐสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democratic State) คือ รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อ ปฏิรูปสังคมให้เกิดความยุติธรรม แก้ปัญหาความยากจน เน้นให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม เป็นรัฐที่เน้นทําเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าจะเน้นทําเพื่อประโยชน์ของนายทุน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐจึงต้องเข้าไปแทรกแซงสังคมในระดับสูงหรืออย่างแข็งขัน เพื่อแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมที่อาจเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตัวอย่างเช่น แนวคิด เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น

53. พบในสหภาพโซเวียตในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงเหนือสังคม ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กระทั่งการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยไม่ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นรัฐที่มีอํานาจ สูงที่สุด ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ รัฐประเภทนี้พบในสหภาพโซเวียต ในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี และเกาหลีเหนือ

54. รัฐเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมคือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 2 หน้า 153 รัฐเพื่อการพัฒนา (Developmental State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐอาจจะประสาน ความร่วมมือกับนายทุนระดับชาติเพื่อการดังกล่าว ทั้งนี้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเอกชนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ มากกว่าการเข้าไปขัดขวางหรือรับเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจมาดําเนินการเอง ตัวอย่างของรัฐ ประเภทนี้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น

55. รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดให้ เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 4 หน้า 154 รัฐรวมศูนย์ (Collectivized State) คือ รัฐที่เข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดถูกวางแผนและจัดการโดยรัฐ จากส่วนกลาง รวมถึงมีการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล คือ ไม่ให้เอกชนสามารถมีทรัพย์สิน ส่วนตัวได้ แต่ให้ทุกอย่างตกเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐประเภทนี้พบได้ในระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาพโซเวียต จีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง เป็นต้น

56. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐนิยม (Statist Model)
(1) มีคําอธิบายรัฐนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson
(2) เกิดจากการผลักดันของ Theda Skocpol และ Peter Evans
(3) รัฐในมุมมองของ Eric Norclinger มีอิสระในการใช้อํานาจน้อยที่สุด
(4) รัฐในมุมมอง Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
(5) ฐานคิดสําคัญคือรัฐจะมีบทบาทเสมอในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 156 – 158, (คําบรรยาย) อนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้อธิบายรัฐนิยมโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theca Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson ซึ่งจาก 3 กลุ่มนี้ รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจสูงที่สุด รองลงมาคือ รัฐในมุมมองของ Theda Skocpol และรัฐในมุมมองของ Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น

57. ประชาธิปไตยทางตรงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) Roman
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thebes
(5) Corinth
ตอบ 2 หน้า 165, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบของ ระบอบประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าไปใช้อํานาจในทางการเมืองอย่าง เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณ ทั้งนี้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้สามารถทําได้ในกรณีของรัฐที่มีประชากรจํานวนน้อย ดังนั้นในโลกปัจจุบันที่มีประชากรจํานวนมหาศาล ประชาธิปไตยทางตรงจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

58. รัฐบาลเกาหลีเหนือ คือระบอบเผด็จการรูปแบบใด
(1) Totalitarianism
(2) Authoritarianism
(3) Benevolent Dictatorship
(4) Theocracy
(5) Aristocracy
ตอบ 1 หน้า 170 เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เป็นรูปแบบของระบอบเผด็จการที่เข้มข้น คือ รัฐบาลทําการควบคุมการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกด้านทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมตัวอย่างของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ สหภาพโซเวียต รัฐบาลจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง รัฐบาลนาซีเยอรมัน รัฐบาลฟาสซิสต์ของอิตาลี รัฐบาลเกาหลีเหนือ เป็นต้น

59. ข้อใดคือชื่อเรียกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
(1) Parliament
(2) Assembly
(3) Congress
(4) Diet
(5) State Duma
ตอบ 3 หน้า 172 สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นสถาบันที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย โดยสถาบันนิติบัญญัตินี้มีทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ และมีชื่อเรียก แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ เรียกว่า Parliament
2. ฝรั่งเศส เรียกว่า Assembly
3. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Congress
4. ญี่ปุ่น เรียกว่า Diet
5. ไทย เรียกว่า รัฐสภา

60. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Common
(2) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Representative
(3) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Common
(4) ใช้ระบบ 2 สภา คือ Senate กับ House of Representative
(5) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Representative
ตอบ 3 หน้า 174 ระบบสองสภา (Bicameral System) เป็นระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงและสภาล่าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ไทย เรียกว่า วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Senate กับ House of Representative
3. อังกฤษ เรียกว่า House of Lord กับ House of Common

61. หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีการแยกอํานาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แบบไม่เด็ดขาด การใช้อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันตาม หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power)

62. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 1 หน้า 178 การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารบนหลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารจึงแยกอิสระจากกันค่อนข้างสูง แต่ก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

63. การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) ฝรั่งเศสในช่วงสาธารณรัฐที่ 5
(2) เยอรมนีในช่วงอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) โปรตุเกสในช่วงหลังการปฏิวัติคาร์เนชัน
(4) เยอรมนีในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์
(5) รัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
ตอบ 4 หน้า 180 การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เป็นระบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ. 1919 – 1939) แต่เป็นที่รู้จักเมื่อประเทศฝรั่งเศสนําไปใช้

64. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
(3) จัดโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดใหญ่
(4) ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ตอบ 3 หน้า 186 – 187 สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีดังนี้
1. นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
2. ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
3. ปรับโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดเล็ก
4. ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ฯลฯ

65. ระบบการเลือกตั้งที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” คือระบบใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 3 หน้า 204 – 205 ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation : PR/Party List System) เป็นระบบที่มีการกําหนดเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่ ในแต่ละเขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน โดยการลงคะแนนเสียงจะลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกผู้สมัครรายคน แต่พรรคการเมืองจะทําบัญชีรายชื่อของผู้สมัครเรียงตามลําดับลงไป ทําให้เรียกระบบนี้กันทั่วไป ว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” (Party List System)

66. การเลือกพรรคซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุด ได้ที่นั่งทั้งหมดไป คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเลือกเป็นพรรค หรือระบบบล็อกโหวต พรรคการเมือง (Party Block Vote : PBV) เป็นการเลือกผู้แทนโดยการเลือกพรรคซึ่งส่ง ผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ ที่นั่งทั้งหมดไป ซึ่งระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

67.1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แล้วแต่จํานวนผู้แทนพึงมีในเขตนั้น คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 5 หน้า 200 ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งคน (Multi-Member District/Constituencies : MMD) หรือระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block Voting : BV) เป็น ระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ใน 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนแล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมี ในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน โดยผู้เลือกตั้งสามารถ เลือกผู้สมัครได้ตามจํานวนผู้แทนในแต่ละเขต ซึ่งอาจเลือกจากพรรคเดียวกันเรียงเบอร์ไปเลย หรือจะเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคก็ได้ หรือหากประสงค์เลือกเพียงเบอร์เดียวก็ได้ ผู้ที่ได้คะแนน สูงสุดเรียงตามลําดับจนครบตามจํานวนผู้แทนจึงมีก็จะได้เป็นผู้แทนในเขตนั้น ๆ

68. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 1 หน้า 200 ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบพหุนิยม (Plurality Electoral System) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งแบบเขต โดยในแต่ละเขตผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินหนึ่งหรือไม่ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก

69. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 2 หน้า 202 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Electoral System) เป็นระบบที่ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่หรือสะท้อนเจตนารมณ์ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ระบบนี้โดยทั่วไปจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน

70. “การเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Arend Lijphart
(2) Giovanni Sartori
(3) Maurice Duverger
(4) Barnard Grofman
(5) Barbara Geddes
ตอบ 3 หน้า 209 – 210 เมารีส ดูแวร์แจร์ (Maurice Duverger) อธิบายว่า การเลือกตั้งระบบ เสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง โดยที่ระบบ 2 พรรคเด่นมักนําไปสู่รัฐบาล ที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ระบบหลายพรรคก่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ

71. ระบบใดคือระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 3 หน้า 220 ระบบ 2 พรรค (Two-Party System) คือ การมีพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ ที่ต่อสู้แข่งขันและได้รับคะแนนเสียงสลับกันขึ้นเป็นรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมือง ในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

72. ระบบพรรคการเมืองกรณีพรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น และพรรคคองเกรสในอินเดีย คือ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant Party System) เป็นระบบ ที่มีพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรค หรือกฎหมายเปิดให้พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มักได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดและครองอํานาจในการปกครอง ตัวอย่างเช่น พรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น พรรคคองเกรสในอินเดีย เป็นต้น

73. ระบบพรรคการเมืองแบบใดมักนําไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสม
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 5 หน้า 220 ระบบหลายพรรค (Multiparty System) คือ การมีพรรคการเมืองหลายพรรคต่อสู้แข่งขันกันโดยไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมาก และอาจต้อง จัดตั้งรัฐบาลผสม ระบบเช่นนี้อาจมีข้อดีคือเกิดความหลากหลายในทางอํานาจ แต่มีข้อเสียคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความขัดแย้งและหาข้อตกลงกันไม่ได้

74. พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นไปตามระบบพรรคแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 1, หน้า 219 ระบบพรรคเดียว (One-Party System) คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เท่านั้นในระบบการเมือง พบในประเทศเผด็จการทั้งในรูปแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ ในระบบพรรคเดียวนี้อาจมีการเลือกตั้งด้วย แต่มีผู้สมัครลงแข่งขันจากพรรคการเมืองเดียว เท่านั้น ตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นต้น

75. 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอจัดตั้งรัฐบาลเป็นลักษณะของระบบพรรคการเมืองแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) ระบบกึ่ง 2 พรรค (Two-and-a-Half-Party System) คือ การมี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอ จะจัดตั้งรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในโปรตุเกส สเปน กรีซ เยอรมนี ออสเตรีย เป็นต้น

76. พรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิก มากกว่าปริมาณ และเน้นการเลือกตั้ง คือโครงสร้างพรรคการเมืองรูปแบบใด
(1) พรรคแบบคณะกรรมาธิการ
(2) พรรคแบบมีสาขาพรรค
(3) พรรคแบบแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในรูปเซลล์
(4) พรรคแบบพลพรรค
(5) พรรคแบบเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 222 – 223 พรรคแบบคณะกรรมาธิการ เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้น การเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ พรรคแบบนี้ มักตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นนําเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าสู่อํานาจทางการเมือง ไม่ได้ขยายฐานสู่ประชาชน

77. กลุ่มผลประโยชน์ในระบบใด ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระ ของตนเองโดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น
(1) Democratic Corporatist Interest Group System
(2) Controlled Interest Group System
(3) Pluralist Interest Group System
(4) Institutional Group System
(5) Public Interest Group System
ตอบ 3 หน้า 232 ระบบพหุนิยม (Pluralist Interest Group System) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น แต่จะหมุนเวียนกันไปมีบทบาทหลักในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน เมื่อเป็นประเด็นอื่นก็จะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นเข้าไป มีบทบาทหลักแทน ระบบกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวนี้พบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

78. การทําให้เป็นอุตสาหกรรม คือ “ทฤษฎีการพัฒนาในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 2 หน้า 238 – 250 แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาในแต่ละยุค มีดังนี้
1. ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา เน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก
2. การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 เน้นการทําให้เป็นอุตสาหกรรม
3. การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 เน้นการทําให้ทันสมัย ซึ่งคือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
4. การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เน้นแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน
5. การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องของวิกฤติความชอบธรรมของ แนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน การพัฒนาทางเลือกหรือความหลากหลายของการพัฒนา

79. เสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน เป็นการพัฒนาในช่วงใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. Beijing Consensus คือ ทฤษฎีการพัฒนาในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 3 หน้า 250 การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือแนวนโยบายของฉันทามติวอชิงตันถูกตั้งคําถามอย่างหนักภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา จนมีนักวิชาการบางคนกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อจุดจบของเสรีนิยมใหม่ นําไปสู่การนําเสนอฉันทามติอื่น ๆ เช่น ฉันทามติโคเปนเฮเกน (Copenhagen Consensus) ฉันทามติเม็กซิโก (Mexico Consensus) ฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) หรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ(State-Directed Capitalism) เป็นต้น

81. การทําให้ทันสมัย คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

82. “การพัฒนาทางการเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความ ทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจ
ตามเหตุผล” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Pye
(2) Lipset
(3) Huntington
(4) Almond
(5) Coleman
ตอบ 3 หน้า 245 – 246 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) อธิบายว่า การพัฒนาทาง การเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

83. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย
(1) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการคนสําคัญ คือ Lipset
(2) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Shedler
(3) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม
(4) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญของ Easton
(5) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Marx
ตอบ 1 หน้า 252 – 253 นักวิชาการที่เสนอเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย สามารถแบ่งออก ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการ คนสําคัญ คือ ลิปเซ็ต (Lipset)
2. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งเป็น เจ้าของผลงานเรื่อง “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations”
3. กลุ่มที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ)

84. ข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ เป็นคําอธิบาย การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 ดังค์วาร์ด รัสเทาว์ (Dankwart Rustow) ได้อธิบายข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ ตัวอย่างเช่น
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพประชาธิปไตยไม่จําเป็นต้องเป็นตัวเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย

2. การศึกษาประชาธิปไตยต้องตระหนักว่าสหสัมพันธ์อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความสัมพันธ์ เชิงเหตุผล
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคมส่งผลต่อการเมือง
4. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยเชิงแนวคิดวัฒนธรรม ส่งผลต่อการกระทําของตัวแสดงเสมอไป ฯลฯ

85. การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 1 หน้า 257 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ไว้ในหนังสือเรื่อง “คลื่นลูกที่สาม” ทั้งในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างและในส่วนของปัจจัยของตัวแสดงซึ่งก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนําทั้งที่อยู่ในอํานาจและที่ไม่อยู่ในอํานาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

86. “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมืองที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการ ปกครองนอกจากประชาธิปไตย และไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงาน ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียว ในเมือง (The Only Game in Town)” ข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายของนักวิชาการท่านใด
(1) David Easton
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow.
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 ฮวน ลินซ์ (Juan Linz) ได้กําหนดนิยามของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน ให้กับประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมือง ที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตยและไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง (The Only Game in Town)”

87. การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การปฏิวัติในอียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบียและซีเรีย มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Color Revolutions
(2) Arab Spring
(3) Rose Revolution
(4) Asian Spring
(5) Tulip Revolution
ตอบ 2 หน้า 273, (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เป็นการลุกฮือของ ประชาชนเพื่อต่อต้านอํานาจรัฐและระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทําให้เกิดแรงกระเพื่อม ไปสู่การปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย หรือที่ เรียกกันว่า “การปฏิวัติในฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” หรือ “อาหรับสปริง” (Arab Spring)

88. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
(1) เป็นโลกที่รัฐมีบทบาทมากขึ้น
(2) เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
(3) เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน
(4) มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 281 – 285 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายว่า สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะ สําคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
2. เป็นโลกที่เส้นแบ่งต่าง ๆ ที่เคยมั่นคงชัดเจนเกิดความไม่ชัดเจน นําไปสู่การลากเส้นแบ่ง ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
3. เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
4. มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. มีการก่อการร้ายและการทําสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นความจริงชุดใหม่
6. เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน

89. “ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริงไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในคลื่นลูกที่ 4” จากข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 2 หน้า 293 ลาร์รี่ ไดมอนด์ (Larry Diamond) อธิบายว่า ความตื่นตัวของประชาชนใน ตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่ 4

90. งานเขียนของใครถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
(1) แมคคอาเวลลี
(2) อริสโตเติ้ล
(3) เพลโต
(4) ล็อค
(5) อีสตัน
ตอบ 2 หน้า 3 – 4 (คําบรรยาย) หนังสือปรัชญาการเมืองเรื่อง “Politics” ของอริสโตเติ้ล (Aristotle) สะท้อนให้เห็นการใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางการเมือง ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการได้มาขององค์ความรู้ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการนําเอา กฎหมายปกครองของรัฐต่าง ๆ จํานวนมากถึง 158 รัฐมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าในโลกนี้มีรูปแบบ การปกครองกี่รูปแบบ และแบ่งว่ารูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่ดีและรูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบ ที่เลว ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ

91. อริสโตเติ้ลเห็นว่าระบอบการปกครองใดที่ถือเป็นการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่ดี
(1) โพลิตี้
(2) คณาธิปไตย
(3) ทรราช
(4) ประชาธิปไตย
(5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 4 อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

92. เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมืองคือข้อใด
(1) หาเกณฑ์เชิงปทัสถาน
(2) สร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
(3) สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 3 (คําบรรยาย, การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมือง เน้นการศึกษาสิ่งที่ควร จะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การค้นหาเกณฑ์เชิงปทัสถานหรือสิ่งที่ พึงประสงค์หรือสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เหมาะสมในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือระบอบ การปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี รัฐที่ดี กฎหมายที่ดี เพื่อเสนอแนะหลักปฏิบัติทางการเมือง ที่ถูกต้องชอบธรรม มีจรรยาบรรณ อุดมคติ หรือค่านิยมคอยกํากับ ทําให้การศึกษาในยุคนี้ เชื่อมโยงอยู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และไม่ได้แยกเรื่องค่านิยมออกจากองค์ความรู้ทางการเมือง

93. การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) การเมืองเปรียบเทียบ
(2) ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
(3) ปรัชญาเปรียบเทียบ
(4) ทฤษฎีเปรียบเทียบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 4 – 5, 8 การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า“การปกครองเปรียบเทียบ”

94. การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันเป็นไปเพื่อเป้าหมายใด
(1) สร้างสถาบันทางการเมืองของรัฐที่ใช้การได้จริง
(2) สร้างรัฐสมัยใหม่
(3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
(4) สร้างความทันสมัย
(5) ข้อ 1 และ 4 ถูก
ตอบ 1 หน้า 6 – 7 การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันมุ่งศึกษารัฐและสถาบันทาง การเมืองที่เป็นทางการ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ รูปแบบรัฐ รัฐสภา รัฐบาล ตลอดจนกลไก และกระบวนการทางการเมืองต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบ ถ่วงดุล การแบ่งแยกอํานาจระหว่าง สถาบันทางการเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสถาบันทางการเมืองของรัฐที่ใช้การได้จริง เป็นไป ตามกรอบของกฎหมาย รองรับค้ําประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของคนส่วนใหญ่ โดยมีความเชื่อว่า หากมีการสร้างสถาบันทางการเมืองได้เป็นอย่างดีแล้ว ระบอบการเมืองก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

95. สาขาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในยุคใด
(1) ยุคสถาบัน
(2) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังสมัยใหม่
ตอบ 3 หน้า 11, 22, 33 – 34 วิชาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ ภายหลังจากความพยายามในการแสวงหา เอกลักษณ์ให้กับสาขารัฐศาสตร์และการสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์โดยการผลักดันของประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น โดยเป้าหมายหรือหัวใจหลัก สําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม

96. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงการเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการเมืองที่สอดคล้องกับคุณธรรมจริยธรรม
(2) ผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาภายใต้แนวคิดแบบพฤติกรรมศาสตร์
(3) มีเป้าหมายในการสร้างคุณภาพของประชาธิปไตย
(4) เรียกร้องให้เกิดการยอมรับความจริงอันหลากหลาย
(5) ผลักดันโดยสหภาพโซเวียตภายใต้บริบทสงครามเย็น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97. เป้าหมายสําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือข้อใด
(1) สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
(2) สร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
(3) สร้างกฎหมายปกครองที่ยอดเยี่ยม
(4) ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงวิชาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบัน
(1) มีวิธีการที่หลากหลาย
(2) เน้นเนื้อหามากกว่าวิธีการ
(3) รวมเรียกว่าการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
(4) เน้นคุณภาพประชาธิปไตย
(5) เชื่อมั่นในศาสตร์เชิงประจักษ์เท่านั้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การศึกษาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบันนั้นมีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุม ประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ การเมืองใน ชีวิตประจําวัน ตลอดจนคุณภาพของประชาธิปไตย ดังนั้นการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ ในปัจจุบันจึงไม่ได้ใช้ศาสตร์เชิงประจักษ์เท่านั้น แต่ใช้แนวทางและวิธีการอันหลากหลาย ที่สอดคล้องกับประเด็นการศึกษา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้สําหรับการอธิบายทางการเมือง ตลอดจนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองต่าง ๆ อย่างรอบด้าน

99. ข้อใดไม่ใช่หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง
(1) ระบบการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) รัฐ
(4) กฎหมาย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง เป็นหน่วยวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับ โครงสร้างต่าง ๆ ในสังคม เช่น ระบบการเมือง รัฐ ชนชั้น สถาบันทางการเมือง กฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับนี้จะมี ความเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นมีอิทธิพลต่อการกระทําของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ ต่าง ๆ ในสังคม พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้มีเสรีภาพมากนัก แต่จะแสดงออกมาภายใต้กรอบ ของโครงสร้างดังกล่าว

100. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบ
(1) ต้องเปรียบเทียบกรณีมากกว่า 1 ประเทศเท่านั้น
(2) ศึกษาประเทศเดียวก็ได้
(3) การเปรียบเทียบระดับโลกเป็นการศึกษาที่ได้ข้อมูลกว้างแต่ไม่ลึก
(4) การเปรียบเทียบกรณีศึกษาเดียวทําให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 การเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบสามารถเลือกศึกษาประเทศเดียวก็ได้ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ภายในประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเฉพาะสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ๆ เช่น พรรคการเมือง สถาบันทหาร รัฐสภา กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเลือกศึกษาประเทศเดียวนี้จะง่ายต่อ ผู้ศึกษารุ่นใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะมาก

POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดเป็นหน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง
(1) ระบบการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) รัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 38 หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง เป็นหน่วยวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ต่าง ๆ ในสังคม เช่น ระบบการเมือง รัฐ ชนชั้น สถาบันทางการเมือง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับนี้จะมีความเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้น มีอิทธิพลต่อการกระทําของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้มีเสรีภาพมากนัก แต่จะแสดงออกมาภายใต้กรอบของโครงสร้างดังกล่าว

2. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบ
(1) ต้องเปรียบเทียบกรณีมากกว่า 1 ประเทศเท่านั้น
(2) ศึกษาประเทศเดียวก็ได้
(3) การเปรียบเทียบกรณีศึกษาหลายประเทศทําให้ได้ข้อมูลเชิงลึกละเอียดที่สุด
(4) การเปรียบเทียบระดับโลกเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 40 – 41 การเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบสามารถเลือกศึกษาประเทศเดียวก็ได้ ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ภายในประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเฉพาะสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ๆ เช่น พรรคการเมือง สถาบันทหาร รัฐสภา กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเลือกศึกษาประเทศเดียวนี้จะง่ายต่อ ผู้ศึกษารุ่นใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะมาก

3.Large-Ns มีความหมายถึงสิ่งใด
(1) จํานวนศึกษาหลายกรณี
(2) การศึกษาเชิงปริมาณ
(3) มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 46 – 47, 64 Large-Ns หมายถึง จํานวนศึกษาหลายกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ซึ่งข้อดีของการศึกษาหลายกรณี มีดังนี้
1. มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐานให้เข้มแข็งมากขึ้น
2. สามารถนําข้อสรุปจากการศึกษาไปใช้กับกรณีศึกษานอกกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
3. ช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ผลการวิเคราะห์มีลักษณะกลมกลืนกัน ฯลฯ

4.กรณีศึกษาแบบใดช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
(1) Small-Ns
(2) การศึกษากรณีประเทศเดียว
(3) Large-Ns
(4) กรณีศึกษาตามรายประเด็น
(5) กรณีศึกษาเชิงลึก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5. วิธีการเปรียบเทียบในวิชาการเมืองเปรียบเทียบถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใด
(1) สกัดหาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
(2) หาสิ่งที่พึงประสงค์
(3) การแข่งขันระหว่างประเทศ
(4) สร้างความได้เปรียบ
(5) สร้างจริยธรรมทางการปกครอง
ตอบ 1 หน้า 50 วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการที่ต้องเลือกมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อสร้างคําอธิบาย ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขหรือปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่ศึกษา หรือ กล่าวอีกนัยคือ วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการสําหรับนํามาใช้เพื่อสกัดหาตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา

6. นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยม
(1) คาร์ล มาร์กซ์
(2) จอห์น ล็อค
(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(4) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(5) เดวิด อีสตัน
ตอบ 3 หน้า 50 – 57, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Milt) ได้เสนอวิธีการหลัก ในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยมไว้ 4 วิธีการ คือ
1. วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement)
2. วิธีการพิจารณาความแตกต่าง (Method of Difference)
3. วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่ (Method of Residues)
4. วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน (Method of Concomitant Variations)

7. มองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างในกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 51 วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement) เป็นการมองหาคุณลักษณะร่วมท่ามาลางคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ในกรณีศึกษาต่าง ๆที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์

8. ค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(3) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
(4) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) เป็นการค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์

9. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 วิธีการเปรียบเทียบของเซวอร์สกีและเทิร์น (Przeworski and Teune) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) มี 2 วิธี คือ
1. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความแตกต่างของมิลล์
2. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด (Most Different Systems : MDS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความเหมือนของมิลล์

10. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย” เป็นคํากล่าวของนักวิชาการคนใด
(1) แกเบรียล อัลมอนด์
(2) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(3) เธดา สค็อกโพล
(4) แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์
(5) โรเบิร์ต ดาห์ล
ตอบ 4 หน้า 72 งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของแบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาน้อยกรณี (Small-NS) ซึ่งงานชิ้นนี้มัวร์ได้สร้างคําอธิบายใหม่ที่แตกต่างจากคําอธิบายเดิมที่มักบอกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยมีการอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น พิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรต้นจํานวนมากขึ้นทั้งในส่วนของชนชั้นทางสังคม โครงสร้างทาง เศรษฐกิจ อํานาจรัฐ ตลอดจนพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์กันเองของตัวแปรต้นต่าง ๆ ควบคู่กันไป กับการพิจารณาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปที่โด่งดังที่ว่า “ไม่มีชนชั้นนายทุนไม่มีประชาธิปไตย”

12. วิธีการเปรียบเทียบแบบ MSS และ MDS พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) Przeworski and Teune
(2) John Stuart Mill
(3) Antonio Gramsci
(4) Ragin and Rubinson
(5) Anthony Giddens
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

13. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ Small-Ns
(1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
(2) เน้นศึกษาน้อยกรณี
(3) เน้นตีความหรือทําความเข้าใจความหมาย
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 70 Small-Ns คือ การศึกษาน้อยกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องของ การตีความหรือทําความเข้าใจความหมายอย่างรอบด้านหรือในลักษณะองค์รวม เพื่อทําความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นที่ศึกษาในกรณีนั้น ๆ

14. งานของลิปเซ็ตเรื่อง “Political Man” ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Small-Ns
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 64, 67 – 68 งานของลิปเซ็ต (Lipset) เรื่อง “Political Man” เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการศึกษาหลายกรณี (Large-Ns) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคง ประชาชนจะมีรายได้สูงกว่าประเทศที่มีประชาธิปไตย ไม่มั่นคงหรือเป็นเผด็จการ จากงานชิ้นนี้ของลิปเซ็ตได้นํามาสู่ข้อสรุปเป็นคําอธิบายทั่วไป อันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”

15. คําอธิบายอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย” เป็นของนักวิชาการผู้ใด
(1) ไดมอนด์
(2) กิดเด้นส์
(3) ลิปเซ็ต
(4) ลาสเวลล์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16. งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของมัวร์ จูเนียร์ ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

17. งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของโรเบิร์ต พุตนัม ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 4 หน้า 74 งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของ โรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) เป็นการศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่ส่งผลต่อ การทํางานของระบอบประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคใต้ของอิตาลี ซึ่งพุตนัมได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้ วิธีการเชิงปริมาณเพื่อสํารวจทัศนคติของพลเมือง และใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นมาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคในอิตาลี

18. “พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา” (Methodological Pluralism) สอดคล้องกับข้อใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคหลังสมัยใหม่
(3) Nest Analysis
(4) Mixed Method
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 74 – 75, 140 พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา (Methodological Pluralism) เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาที่มีความหลากหลาย ทั้งในเชิงระเบียบวิธีวิจัยซึ่งอาจใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) หรือ “การวิเคราะห์ ประสานกันแบบรังนก” (Nest Analysis) และมีการขยายขอบเขตของการศึกษาครอบคลุม ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนการเมืองในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภาคประชาสังคม รวมถึง เรื่องปฏิสัมพันธ์ของการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

19. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ (Approach)
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 80 – 81, 143 แนวทางการศึกษาหรือแนวทางการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบเค้าโครงในการศึกษาที่จะเป็นตัวกําหนดระดับของการอธิบาย วิธีการในการศึกษาตลอดจนทฤษฎีที่จะใช้ในการศึกษา โดยแนวทางการศึกษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรอบเค้าโครง กว้าง ๆ โดยไม่มีการลงลึกในส่วนของตัวแบบในการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และในแต่ละ แนวทางการศึกษาจะประกอบด้วยทฤษฎีย่อย ๆ อยู่ด้วย

20. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 82 ทฤษฎี (Theory) คือ ชุดของคําอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของความสัมพันธ์เชิง เหตุผล (Causal Relations) ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษา หรือเรียกอีกอย่างว่า ชุดของคําอธิบายความสัมพันธ์เชิงปัจจยาการ

21. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสหลัก
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 83 – 127 แนวทางการวิเคราะห์กระแสหลัก ได้แก่
1. แนวทางระบบ
2. แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
3. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล
4. แนวทางสถาบันนิยมใหม่
5. แนวทางโครงสร้าง

22. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสวิพากษ์
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางสถาบันนิยมใหม่
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, 107, 134, 140 แนวทางการวิเคราะห์กระแสวิพากษ์ ได้แก่
1. แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
2. แนวทางมาร์กซิสต์
3. แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
4. แนวทางหลังสมัยใหม่หรือแนวทางหลังโครงสร้างนิยม
(ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ)

23. นักรัฐศาสตร์คนสําคัญที่นําเอาความคิดเชิงระบบมาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบคือ
(1) อีสตัน
(2) อัลมอนด์
(3) คาร์ล ดอยซ์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ชาร์ล ทิลลี่
ตอบ 1 หน้า 89 เดวิด อีสตัน (David Easton) เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่นําเอาความคิดเชิงระบบ มาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบ และเป็นบุคคลแรก ๆ ที่เสนอแบบจําลองของระบบการเมือง อันเป็นผลจากความพยายามในการหาทฤษฎีทั่วไปที่สามารถใช้ในการอธิบายการเมืองทั้งระบบหรือสร้างทฤษฎีมหภาคที่สามารถนําไปใช้อธิบายสังคมอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งโลก

24. ในทฤษฎีระบบการเมือง ปัจจัยนําเข้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ข้อเรียกร้องความต้องการและการสนับสนุน
(2) รัฐบาลและรัฐสภา
(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(4) นโยบายและการปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90 ในทฤษฎีระบบการเมืองนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) อธิบายว่า “ระบบการเมือง” (Political System) เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ซึ่งทําหน้าที่อยู่ภายใต้ “สิ่งแวดล้อม” (Environment) โดยจะมี “ปัจจัยนําเข้า” (Inputs) ซึ่งประกอบด้วย ข้อเรียกร้อง ความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) จากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ระบบการเมือง แล้วระบบการเมืองก็จะทําหน้าที่ในการตัดสินใจแปลงปัจจัยนําเข้าดังกล่าวเป็น “ปัจจัยนําออก” (Outputs) ในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายต่าง ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และผลจากการทํางานของระบบการเมืองก็จะเกิดเป็น “ผลสะท้อนกลับ” (Feedback) กลับเข้าไปเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

25. ทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) อีสตัน
(2) เมอร์เรียม
(3) อัลมอนด์
(4) ฟูโกต์
(5) พาร์สัน
ตอบ 3 หน้า 92 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) ได้พัฒนาทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โดยได้ดึงแนวคิดเรื่องบทบาทและโครงสร้างของนักสังคมวิทยา เช่น แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ทาลค็อตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) เข้ามาผนวกกับทฤษฎีระบบ เพื่อให้ทฤษฎีระบบเชิง โครงสร้าง-หน้าที่มีความเป็นรูปธรรม สามารถศึกษากลุ่มของการกระทําทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้

26. ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โครงสร้างใดทําหน้าที่รวบรวมผลประโยชน์
(1) รัฐบาล
(2) พรรคการเมือง
(3) กลุ่มผลประโยชน์
(4) ศาล
(5) รัฐสภา
ตอบ 2 หน้า 93 – 94 ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่นั้น แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) อธิบายว่า โครงสร้างทางการเมืองแต่ละอย่างสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ แม้ใน ระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วจะมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมาทําหน้าที่เฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะทําแค่หน้าที่เดียว เพราะโครงสร้างในทุกระบบการเมืองจะทําหน้าที่ หลาย ๆ อย่างเสมอ เช่น พรรคการเมืองมีหน้าที่หลักในการรวบรวมผลประโยชน์และเลือกสรร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองก็ทําหน้าที่อื่น ๆ เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับ ประชาชน การให้การศึกษาทางการเมือง เป็นต้น

27. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
(1) Parochial
(2) Subject
(3) Participant
(4) Civic Culture
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ได้แบ่ง วัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ แบบคับแคบ (Parochial) แบบไพร่ฟ้า (Subject) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) ซึ่งในความคิดเห็นของทั้งสองมองว่า วัฒนธรรมทางการเมือง ที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่ต้องเป็นวัฒนธรรมทาง การเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 3 แบบอย่างลงตัว ซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม แบบพลเมือง” (Civic Culture) อันเป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมือง แต่ก็ไม่มากจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

28. นักรัฐศาสตร์ท่านใดมีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
(1) Huntington
(2) Bentley
(3) Downs
(4) Powell
(5) Almond
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) เป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) โดยอัลมอนด์เสนอว่า สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย และอีกประเทศหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นก็เพราะว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย ส่วนประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นมีวัฒนธรรมไม่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย

29. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ Subject
(1) เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง
(2) เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
(3) เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ
(4) เป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมืองหรือ แบบไพร่ฟ้า (Subject) เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนสนใจข่าวสาร มีความรู้เกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีอํานาจทางการเมือง เรื่องของ การเมืองเป็นเรื่องของผู้นํา ดังนั้นลักษณะของวัฒนธรรมแบบนี้จึงเป็นความสัมพันธ์แบบ บนลงล่าง การเมืองเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและกฎเกณฑ์ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็น การเมืองแบบใช้เหตุผล

30. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทางของยุคใด
(1) ยุคปรัชญา
(2) ยุคสถาบัน
(3) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(4) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 108 – 109 แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มถูกนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็น ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ดังนั้นแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทาง หรือทฤษฎีในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ในกระแสหลักที่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความเป็นศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ในทางการเมือง

31. แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลคือ
(1) ความเสียสละ
(2) ผลประโยชน์ส่วนบุคคล
(3) ผลประโยชน์ของชาติ
(4) ความหลากหลาย
(5) ความเท่าเทียม
ตอบ 2 หน้า 109 แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลตั้งอยู่บน สมมติฐานหลัก 2 ตัว คือ ความมีเหตุมีผล (Rationality) กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล(Self-Interest)

32. ตามแนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล คําว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผลหมายถึงข้อใด
(1) คิดถึงประโยชน์ได้เสีย
(2) จะทําการใดต้องมีการคํานวณ
(3) แสวงหาประโยชน์สูงสุด
(4) หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 110, (คําบรรยาย) แนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) มีสมมติฐานสําคัญคือ มนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผล ซึ่งคําว่ามีเหตุมีผลหมายถึง มนุษย์ทุกคนเวลาจะทําการใดจะต้องคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์
อย่างไร หรือคํานวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากทางเลือกแต่ละทาง โดยมนุษย์จะตัดสินใจเลือก ทางเลือกที่ได้ประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์มากที่สุดหรือหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์นั่นเอง

33. แนวทางสถาบันดั้งเดิมแตกต่างกับแนวทางสถาบันนิยมใหม่ในข้อใด
(1) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ
(2) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการ
(3) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 115, 118, 120 – 122 แนวทางสถาบันดั้งเดิม เน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการหรือ ศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย ส่วนแนวทางสถาบันนิยมใหม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการควบคู่กันไปกับการศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ รวมถึงขยายขอบเขต ของการศึกษาไปสู่เรื่องของพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง ปัจจัยทั้งหลายที่สามารถ ส่งผลทั้งต่อตัวสถาบันและต่อพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ

34. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นสถาบันของฮันทิงตัน
(1) ความสามารถในการปรับตัว
(2) การแบ่งโครงสร้างทําหน้าที่เฉพาะ
(3) ความรวดเร็วในการทํางาน
(4) ความเป็นอิสระในตนเอง
(5) ความเป็นปึกแผ่น
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้เสนอตัวชี้วัดความเป็น สถาบัน ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
2. การแบ่งโครงสร้างแยกย่อยลงไปและทําหน้าที่เฉพาะ (Complexity)
3. ความเป็นอิสระในตนเอง (Autonomy)
4. ความเป็นปึกแผ่น (Coherence)

35. “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) มาร์กซ์
(2) ทิลลี่
(3) ไชยวัฒน์ ค้ำชู
(4) อดอร์โน
(5) เดอร์ไคม์
ตอบ 2 หน้า 128 แนวทางโครงสร้างเชิงประวัติศาสตร์ จะเน้นวิเคราะห์ความเป็นมาของโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น พัฒนาการของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในโลกตะวันตก พัฒนาการของระบบ ทุนนิยม พัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่ พัฒนาการของการเข้าสู่ ระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพใหญ่ของพัฒนาการ ตลอดจน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ศึกษาดังที่ชาร์ล ทิลลี่ (Charles Tilly) เรียกว่า “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” และ “กระบวนการใหญ่”

36. นักวิชาการผู้ใดมีอิทธิพลต่อแนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) ซี. ไรท์ มิลล์
(5) คาร์ล ป๊อปเปอร์
ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) นิคอส พลันต์ซาส (Nicos Poulantzas) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลต่อ แนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ อันเป็นผล
มาจากกระแสการนํารัฐกลับมาเป็นแกนกลางในการศึกษาทางการเมือง

37. นักวิชาการคนใดมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) สค็อกโพล
ตอบ 5 หน้า 117, 130, 156 เธดา สค็อกโพล (Theda Skocpol) และปีเตอร์ อีแวน (Peter Evans) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง โดยทั้งสองได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Bringing the State Back In” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนํามาใช้ เป็นกระแสการเรียกร้องให้รัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนกล่องดํา คือเป็นที่รวมของอํานาจที่กลุ่ม ต่าง ๆ ใช้ในการต่อรอง แย่งชิง ผลักดันนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน กลับเข้ามาสู่การเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ทางการเมือง

38. เพราะเหตุใดแนวคิดแบบมาร์กซิสต์จึงไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม
(1) เพราะยากที่สถาบันการเมืองจะมีความเข้มแข็ง
(2) เพราะเอกชนจะเรียกร้องให้รัฐมีบทบาทน้อย
(3) เพราะมีความเจริญทางวัตถุแต่จิตใจผู้คนตกต่ำ
(4) เพราะมีโครงสร้างที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
(5) เพราะผู้คนไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา
ตอบ 4 หน้า 134 – 136, (คําบรรยาย) แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคง จะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม เพราะหัวใจสําคัญของประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกัน แต่ใน ระบบทุนนิยมกลับมีโครงสร้างที่ทําให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมนั้น ชนชั้นที่ออกแรงผลิตคือชนชั้นแรงงาน แต่ชนชั้นนายทุนกลับรีบเอามูลค่าที่ชนชั้นแรงงานผลิตได้ ไปเป็นของตน ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวทําให้เกิด “ชนชั้นผู้ได้เปรียบ” กับ “ชนชั้นผู้เสียเปรียบ”ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

39. ปัจจัยใดที่คาร์ล มาร์กซ์ ให้ความสําคัญที่สุดเมื่อวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
(1) อํานาจของกฎหมาย
(2) โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
(3) การครอบงําทางความคิดผ่านทางศาสนา
(4) แสนยานุภาพทางทหาร
(5) อํานาจของรัฐในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ตอบ 2 หน้า 134 – 135 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist Theory) กําเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน หรือก็คือ ปฏิเสธระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์ของมาร์กซ์นั้นในทางหนึ่งเป็นการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ แต่หัวใจหลักอยู่ที่การใช้ โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง

40. ข้อใดเป็นความแตกต่างสําคัญที่สุดระหว่างมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมกับมาร์กซิสต์ใหม่
(1) วิเคราะห์ทางชนชั้น
(2) ปฏิเสธระบบทุนนิยม
(3) ปฏิวัติทางชนชั้น
(4) ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 137 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม โดยมีจุดร่วมสําคัญ คือ การมองว่าชนชั้นที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจมักมีแนวโน้มมีอํานาจในทาง การเมืองด้วย แต่มีจุดต่างสําคัญจากมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมคือหันไปให้น้ําหนักกับโครงสร้างส่วนบนมากขึ้นแทนที่จะเน้นวิเคราะห์โครงสร้างส่วนล่างเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นของอํานาจรัฐ

41. แนวคิดสําคัญของอันโตนิโอ กรัม ซี คือแนวคิดใด
(1) การปฏิวัติทางชนชั้น
(2) การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์
(3) วาทกรรม
(4) การครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรม
(5) พหุวัฒนธรรม
ตอบ 2 หน้า 137 – 138 อันโตนิโอ กรัมซี่ (Antonio Gramsci) ได้เสนอแนวคิด “การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์” (Hegemony) โดยอธิบายว่า โครงสร้างส่วนบนแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ
สังคมการเมืองและสังคมประชา ชนชั้นที่ต้องการมีอํานาจเหนือสังคมอย่างเบ็ดเสร็จต้องสามารถครองอํานาจได้ในทั้งสองพื้นที่ในฐานะผู้ครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์ และกรมที่ได้ให้น้ำหนักไปที่การครอบงําทางความคิดอย่างมาก เนื่องจากการที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะขั้นเด็ดขาดและ สมบูรณ์เหนือสังคมได้ ชนชั้นนั้นต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม

42. นักวิชาการคนใดเสนอแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม
(1) หลุยส์ อัลธูแซร์
(2) เออร์เนสโต ลาเคลา
(3) ของทัล มูฟ
(4) มิเชล ฟูโกต์
(5) ชาร์ค แดร์ริดา
ตอบ 4 หน้า 140 – 143 แนวคิดที่สําคัญของนักวิชาการในยุคหลังสมัยใหม่ มีดังนี้
1. แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของมิเซล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
2. แนวคิดการรื้อสร้างของชาร์ค แคร์ริดา (Jacques Derrida)
3. แนวคิดมายาคติของโรลอง บาร์ต (Rotand Barthes)
4. แนวคิดการครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรมและแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกของเออร์เนสโต ลาเวลาและซองทัล มูฟ (Ernesto Laclau and Chantal Mouffe) ฯลฯ

43. “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวมของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Andrew Heywood
(2) Joel Migdal
(3) Max Weber
(4) Gaetano Mosca
(5) Anthony Giddens
ตอบ 3 หน้า 146 แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ได้ให้นิยามคําว่ารัฐไว้ว่า “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวม ของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” (a compulsory association which organizes domination)

44. รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือรัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังการทําสนธิสัญญาฉบับโด
(1) Treaty of Ulm 1647
(2) Treaty of Concordia 1648
(3) Treaty of Westphalia 1648
(4) Treaty of Zboriv 1649
(5) Treaty of Breda 1650
ตอบ 3 หน้า 147 รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ รัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังจากการทําสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปในปี ค.ศ. 1648 ซึ่งก่อให้เกิดรัฐสมัยใหม่ อันประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ดินแดนที่แน่นอน (Territory) ประชากร (Population) รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

45. รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเอง คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 1 หน้า 148 รัฐในความหมายเชิงนามธรรม หมายถึง รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเองแยกออกมาและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งรัฐจะนําพามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ โดยที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังรัฐ

46. รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงองค์การ หมายถึง รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย

47. รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 3 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่ หมายถึง รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาท และหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม

48. รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 2 หน้า 148 – 149 รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม หมายถึง รัฐเป็นแหล่งรวมของ ชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม

49. รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 4 หน้า 151 – 152 รัฐรวม (Composite State) หรือสหพันธรัฐ (Federation) คือ รัฐที่เกิดขึ้น จากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นโดยการมอบ อธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลางเพื่อจัดการในเรื่องสําคัญของส่วนรวมด้วยเหตุผลในเรื่องของ การป้องกันภัยรุกราน ความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ในขณะที่แต่ละรัฐที่มารวมตัวกัน ก็ยังคงมีอธิปไตยของตนเองอยู่บางส่วน ดังนั้นรัฐรวมจึงมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลของท้องถิ่นหรือมลรัฐ ตัวอย่างของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น

50. รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาที่เรียกว่าประธานาธิบดี คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 2 หน้า 151 สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาหรือเป็นผู้นําทางศาสนา รัฐแบบนี้พบได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย (เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี อินเดีย) คอมมิวนิสต์ (เช่น จีน เวียดนาม) และรัฐที่ปกครองโดยหลักศาสนา (เช่น อิหร่าน)

51. รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุดในเขตแดนของรัฐ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 3 หน้า 151 รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุด หรืออธิปไตยสมบูรณ์ในเขตแดนของรัฐนั้น ๆ ไม่มีรัฐบาลในระดับที่รองลงมา หน่วยงานของรัฐ ในท้องที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นมือไม้หรือหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจากรัฐบาลกลางไปดําเนินการ หรือในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นแม้จะได้รับการกระจายอํานาจลงไปให้บ้างแต่ก็ไม่ถือว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง การดําเนินงานยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับควบคุมของรัฐบาลกลาง ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น

52. รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบ ประชาธิปไตยก็ได้ คือรัฐแบบใด
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 1 หน้า 150 – 151 รัฐราชอาณาจักร (Kingdom State) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งรัฐราชอาณาจักรเกือบทั้งหมดในปัจจุบันก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา เบลเยียม ไทย เป็นต้น

53. รัฐมีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการดําเนิน กิจกรรมต่าง ๆ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1หน้า 153 รัฐแบบกรรมการ (Minimal State) คือ รัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมที่ให้รัฐ มีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการ ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ รัฐประเภทนี้พบในประเทศที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้น

54. แนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 3 หน้า 154 รัฐสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democratic State) คือ รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อ ปฏิรูปสังคมให้เกิดความยุติธรรม แก้ปัญหาความยากจน เน้นให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม เป็นรัฐที่เน้นทําเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าจะเน้นทําเพื่อประโยชน์ของนายทุน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐจึงต้องเข้าไปแทรกแซงสังคมในระดับสูงหรืออย่างแข็งขัน เพื่อแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมที่อาจเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตัวอย่างเช่น แนวคิด เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น

55. พบในสหภาพโซเวียตในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงเหนือสังคม ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กระทั่งการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยไม่ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นรัฐที่มีอํานาจ สูงที่สุด ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ รัฐประเภทนี้พบในสหภาพโซเวียต ในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี และเกาหลีเหนือ

56. รัฐเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมคือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 2 หน้า 153 รัฐเพื่อการพัฒนา (Developmental State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐอาจจะประสาน ความร่วมมือกับนายทุนระดับชาติเพื่อการดังกล่าว ทั้งนี้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเอกชนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ มากกว่าการเข้าไปขัดขวางหรือรับเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจมาดําเนินการเอง ตัวอย่างของรัฐ ประเภทนี้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น

57. รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดให้ เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 4 หน้า 154 รัฐรวมศูนย์ (Collectivized State) คือ รัฐที่เข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดถูกวางแผนและจัดการโดยรัฐ จากส่วนกลาง รวมถึงมีการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล คือ ไม่ให้เอกชนสามารถมีทรัพย์สิน ส่วนตัวได้ แต่ให้ทุกอย่างตกเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐประเภทนี้พบได้ในระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาพโซเวียต จีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง เป็นต้น

58. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐนิยม (Statist Model)
(1) มีคําอธิบายรัฐนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson
(2) เกิดจากการผลักดันของ Theda Skocpol และ Peter Evans
(3) รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจน้อยที่สุด
(4) รัฐในมุมมอง Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
(5) ฐานคิดสําคัญคือรัฐจะมีบทบาทเสมอในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 156 – 158, (คําบรรยาย) อนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้อธิบายรัฐนิยมโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson ซึ่งจาก 3 กลุ่มนี้ รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจสูงที่สุด รองลงมาคือ รัฐในมุมมองของ Theda Skocpol และรัฐในมุมมองของ Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น

59. ประชาธิปไตยทางตรงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) Roman
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thebes
(5) Corinth
ตอบ 2 หน้า 165, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบของ ระบอบประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าไปใช้อํานาจในทางการเมืองอย่าง เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณ ทั้งนี้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้สามารถทําได้ในกรณีของรัฐที่มีประชากรจํานวนน้อย ดังนั้นในโลกปัจจุบันที่มีประชากรจํานวนมหาศาล ประชาธิปไตยทางตรงจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

60. รัฐบาลเกาหลีเหนือ คือระบอบเผด็จการรูปแบบใด
(1) Totalitarianism
(2) Authoritarianism
(3) Benevolent Dictatorship
(4) Theocracy
(5) Aristocracy
ตอบ 1 หน้า 170 เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เป็นรูปแบบของระบอบเผด็จการที่เข้มข้น คือ รัฐบาลทําการควบคุมการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกด้านทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตัวอย่างของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ สหภาพโซเวียต รัฐบาลจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง รัฐบาลนาซีเยอรมัน รัฐบาลฟาสซิสต์ของอิตาลี รัฐบาลเกาหลีเหนือ เป็นต้น

61. ข้อใดคือชื่อเรียกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
(1) Parliament
(2) Assembly
(3) Congress
(4) Diet
(5) State Duma
ตอบ 3 หน้า 172 สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นสถาบันที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย โดยสถาบันนิติบัญญัตินี้มีทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ และมีชื่อเรียก แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ เรียกว่า Parliament
2. ฝรั่งเศส เรียกว่า Assembly
3. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Congress
4. ญี่ปุ่น เรียกว่า Diet
5. ไทย เรียกว่า รัฐสภา

62. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Common
(2) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Representative
(3) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Common
(4) ใช้ระบบ 2 สภา คือ Senate กับ House of Representative
(5) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Representative
ตอบ 3 หน้า 174 ระบบสองสภา (Bicameral System) เป็นระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงและสภาล่าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ไทย เรียกว่า วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Senate กับ House of Representative
3. อังกฤษ เรียกว่า House of Lord กับ House of Common

63. หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential Systern
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีการแยกอํานาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติแบบไม่เด็ดขาด การใช้อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันตาม หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power)

64. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย
รูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 1 หน้า 178 การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารบนหลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารจึงแยกอิสระจากกันค่อนข้างสูง แต่ก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

65. การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) ฝรั่งเศสในช่วงสาธารณรัฐที่ 5
(2) เยอรมนีในช่วงอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) โปรตุเกสในช่วงหลังการปฏิวัติคาร์เนชั่น
(4) เยอรมนีในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์
(5) รัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
ตอบ 4 หน้า 180 การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เป็นระบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ. 1919 – 1939) แต่เป็นที่รู้จักเมื่อประเทศฝรั่งเศสนําไปใช้

66. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
(3) จัดโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดใหญ่
(4) ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ตอบ 3 หน้า 186 – 187 สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีดังนี้
1. นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชน มาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
2. ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
3. ปรับโครงสร้างองค์การให้มีขนาดเล็กลงและลดขั้นตอนการทํางาน
4. ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ฯลฯ

67. ระบบการเลือกตั้งที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” คือระบบใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 3 หน้า 204 – 205 ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation : PR/Party List System) เป็นระบบที่มีการกําหนดเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่ ในแต่ละเขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน โดยการลงคะแนนเสียงจะลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกผู้สมัครรายคน แต่พรรคการเมืองจะทําบัญชีรายชื่อของผู้สมัครเรียงตามลําดับลงไป ทําให้เรียกระบบนี้กันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” (Party List System)

68. การเลือกพรรคซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดได้ที่นั่งทั้งหมดไป คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเลือกเป็นพรรค หรือระบบบล็อกโหวต พรรคการเมือง (Party Block Vote : PBV) เป็นการเลือกผู้แทนโดยการเลือกพรรคซึ่งส่ง ผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ ที่นั่งทั้งหมดไป ซึ่งระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

69.1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แล้วแต่จํานวนผู้แทนพึงมีในเขตนั้น คือระบบเลือกตั้งใด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 5 หน้า 200 ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งคน (Multi-Member District/Constituencies : MMD) หรือระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block Voting : BV) เป็น ระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ใน 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนแล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมี ในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน โดยผู้เลือกตั้งสามารถ เลือกผู้สมัครได้ตามจํานวนผู้แทนในแต่ละเขต ซึ่งอาจเลือกจากพรรคเดียวกันเรียงเบอร์ไปเลย หรือจะเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคก็ได้ หรือหากประสงค์เลือกเพียงเบอร์เดียวก็ได้ ผู้ที่ได้คะแนน สูงสุดเรียงตามลําาดับจนครบตามจํานวนผู้แทนจึงมีก็จะได้เป็นผู้แทนในเขตนั้น ๆ

70. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 1 หน้า 200 ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบพหุนิยม (Plurality Electoral System) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งแบบเขต โดยในแต่ละเขตผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ชนะโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินหนึ่งหรือไม่ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก

71. ระบบเลือกตั้งใดที่ผู้ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด
(1) ระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบเขตเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 2 หน้า 202 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Electoral System) เป็นระบบที่ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่หรือสะท้อนเจตนารมณ์ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ระบบนี้โดยทั่วไปจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน

72. “การเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Arend Lijphart
(2) Giovanni Sartori
(3) Maurice Duverger
(4) Barnard Grofman
(5) Barbara Geddes
ตอบ 3 หน้า 209 – 210 เมารีส ดูแวร์แจร์ (Maurice Duverger) อธิบายว่า การเลือกตั้งระบบ เสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง โดยที่ระบบ 2 พรรคเด่นมักนําไปสู่รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ระบบหลายพรรคก่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ

73. ระบบใดคือระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 3 หน้า 220 ระบบ 2 พรรค (Two-Party System) คือ การมีพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ ที่ต่อสู้แข่งขันและได้รับคะแนนเสียงสลับกันขึ้นเป็นรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมือง ในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

74. ระบบพรรคการเมืองกรณีพรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น และพรรคคองเกรสในอินเดีย คือ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant Party System) เป็นระบบ ที่มีพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรค หรือกฎหมายเปิดให้พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มักได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดและครองอํานาจในการปกครอง ตัวอย่างเช่น พรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น พรรคคองเกรสในอินเดีย เป็นต้น

75. ระบบพรรคการเมืองแบบใดมักนําไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสม
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 5 หน้า 220 ระบบหลายพรรค (Multiparty System) คือ การมีพรรคการเมืองหลายพรรค ต่อสู้แข่งขันกันโดยไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมาก และอาจต้อง จัดตั้งรัฐบาลผสม ระบบเช่นนี้อาจมีข้อดีคือเกิดความหลากหลายในทางอํานาจ แต่มีข้อเสียคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความขัดแย้ง
และหาข้อตกลงกันไม่ได้

76. พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นไปตามระบบพรรคแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 1 หน้า 219 ระบบพรรคเดียว (One-Party System) คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เท่านั้นในระบบการเมือง พบในประเทศเผด็จการทั้งในรูปแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ ในระบบพรรคเดียวนี้อาจมีการเลือกตั้งด้วย แต่มีผู้สมัครลงแข่งขันจากพรรคการเมืองเดียว เท่านั้น ตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นต้น

77. 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอจัดตั้งรัฐบาลเป็นลักษณะของระบบพรรคการเมืองแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) ระบบกึ่ง 2 พรรค (Two-and-a-Half-Party System) คือ การมี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอ จะจัดตั้งรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในโปรตุเกส สเปน กรีซ เยอรมนี ออสเตรีย เป็นต้น

78. พรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิก มากกว่าปริมาณ และเน้นการเลือกตั้ง คือโครงสร้างพรรคการเมืองรูปแบบใด
(1) พรรคแบบคณะกรรมาธิการ
(2) พรรคแบบมีสาขาพรรค
(3) พรรคแบบแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในรูปเซลล์
(4) พรรคแบบพลพรรค
(5) พรรคแบบเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 222 – 223 พรรคแบบคณะกรรมาธิการ เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้น การเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ พรรคแบบนี้ มักตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นนําเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าสู่อําานาจทางการเมือง ไม่ได้ขยายฐานสู่ประชาชน

79. กลุ่มผลประโยชน์ในระบบใด ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระ ของตนเองโดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น
(1) Democratic Corporatist Interest Group System
(2) Controlled Interest Group System
(3) Pluralist Interest Group System
(4) Institutional Group System
(5) Public Interest Group System
ตอบ 3 หน้า 232 ระบบพหุนิยม (Pluralist Interest Group System) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น แต่จะหมุนเวียนกันไปมีบทบาทหลักในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน เมื่อเป็นประเด็นอื่นก็จะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นเข้าไป มีบทบาทหลักแทน ระบบกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวนี้พบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และ นิวซีแลนด์ เป็นต้น

80. เสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน เป็นการพัฒนาในช่วงใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) A.M. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 2 หน้า 238 – 250 แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาในแต่ละยุค มีดังนี้
1. ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา เน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก
2. การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 เน้นการทําให้เป็นอุตสาหกรรม
3. การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 เน้นการทําให้ทันสมัย ซึ่งคือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
4. การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เน้นแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน
5. การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องของวิกฤติความชอบธรรมของแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน การพัฒนาทางเลือกหรือความหลากหลายของการพัฒนา

81. ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ เป็นการพัฒนาในช่วงใด
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 3 หน้า 250 การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือแนวนโยบายของฉันทามติวอชิงตันถูกตั้งคําถามอย่างหนักภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา จนมีนักวิชาการบางคนกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อ จุดจบของเสรีนิยมใหม่ นําไปสู่การนําเสนอฉันทามติอื่น ๆ เช่น ฉันทามติโคเปนเฮเกน ฉันทามติ เม็กซิโก ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ เป็นต้น

82. การทําให้ทันสมัย คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) ค.ศ. 1980 – 2000
(3) ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
(4) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี ค.ศ. 1980
(5) ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

83. “การพัฒนาทางการเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความ ทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจ
ตามเหตุผล” เป็นคําอธิบายของผู้ใด
(1) Pye
(2) Lipset
(3) Huntington
(4) Almond
(5) Coleman
ตอบ 3 หน้า 245 – 246 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) อธิบายว่า การพัฒนาทาง การเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

84. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย
(1) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการคนสําคัญ คือ Lipset
(2) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Shedler
(3) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมแบบพลเมือง
(4) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญของ Almond กับ Verba
(5) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Barrington
Moore Jr.
ตอบ 2 หน้า 252 – 253 นักวิชาการคนสําคัญที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือ วัฒนธรรม คือ แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Atmond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations” ว่า “การนําระบอบประชาธิปไตยไปปรับใช้ในประเทศกําลังพัฒนา นอกจากการสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว สิ่งที่สําคัญไม่แพ้กันก็คือการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองที่สอดคล้องกับการทํางานของโครงสร้างเชิงสถาบันในระบอบประชาธิปไตย…”

85. ข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ เป็นคําอธิบาย การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 ดังค์วาร์ด รัสเทาว์ (Dankwart Rustow) ได้อธิบายข้อกําหนดเบื้องต้น สําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ ตัวอย่างเช่น
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพประชาธิปไตยไม่จําเป็นต้องเป็นตัวเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
2. การศึกษาประชาธิปไตยต้องตระหนักว่าสหสัมพันธ์อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความสัมพันธ์ เชิงเหตุ-ผล
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม ส่งผลต่อการเมือง
4. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยเชิงแนวคิดวัฒนธรรม ส่งผลต่อการกระทําของตัวแสดงเสมอไป ฯลฯ

86. การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 1 หน้า 257 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ไว้ในหนังสือเรื่อง “คลื่นลูกที่สาม” ทั้งในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างและในส่วนของปัจจัยของตัวแสดงซึ่งก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนําทั้งที่อยู่ในอํานาจและที่ไม่อยู่ในอํานาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

87. “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมืองที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการ ปกครองนอกจากประชาธิปไตย และไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงาน ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียว ในเมือง (The Only Game in Town)” ข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายของนักวิชาการท่านใด
(1) David Easton
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow

ตอบ 3 หน้า 260 – 261 ฮวน ลินซ์ (Juan Linz) ได้กําหนดนิยามของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน ให้กับประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมือง ที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตยและไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง (The Only Game in Town)”

88. การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การปฏิวัติในอียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Color Revolutions
(2) Arab Spring
(3) Rose Revolution
(4) Asian Spring
(5) Tulip Revolution
ตอบ 2 หน้า 273, (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เป็นการลุกฮือของ ประชาชนเพื่อต่อต้านอํานาจรัฐและระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทําให้เกิดแรงกระเพื่อม ไปสู่การปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย หรือที่ เรียกกันว่า “การปฏิวัติในฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” หรือ “อาหรับสปริง” (Arab Spring)

89. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
(1) เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
(2) เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
(3) เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน
(4) มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 281 – 285 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายว่า สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะ สําคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
2. เป็นโลกที่เส้นแบ่งต่าง ๆ ที่เคยมั่นคงชัดเจนเกิดความไม่ชัดเจน นําไปสู่การลากเส้นแบ่งใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
3. เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
4. มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. มีการก่อการร้ายและการทําสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นความจริงชุดใหม่
6. เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน

90. “ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์ อาหรับสปริงไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในคลื่นลูกที่ 4” จากข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 2 หน้า 293 ลาร์รี่ ไดมอนด์ (Larry Diamond) อธิบายว่า ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่ 4

91. หนังสือปรัชญาการเมืองเล่มใดถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
(1) The Prince
(2) Democracy in America
(3) Politics
(4) The Spirit of Laws
(5) The City of God
ตอบ 3 หน้า 3 – 4, (คําบรรยาย) หนังสือปรัชญาการเมืองเรื่อง Politics ของอริสโตเติ้ล (Aristotle) สะท้อนให้เห็นถึงการใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางการเมืองที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการได้มาขององค์ความรู้ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการนําเอากฎหมายปกครองของรัฐต่าง ๆ จํานวนมากถึง 158 รัฐมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าในโลกนี้มีรูปแบบการปกครอง กี่รูปแบบ และแบ่งว่ารูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่ดีและรูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่เลว ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ

92. อริสโตเติ้ลเห็นว่าระบอบการปกครองใดที่ถือเป็นการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่เลว
(1) โพลิตี้
(2) คณาธิปไตย
(3) ทรราช
(4) ประชาธิปไตย
(5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 4 อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

93. เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมืองคือข้อใด
(1) หาเกณฑ์เชิงปทัสถาน
(2) ค้นหาสิ่งที่พึงประสงค์ทางการเมือง
(3) สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 3, (คําบรรยาย) การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมือง เน้นการศึกษาสิ่งที่ควร จะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การค้นหาเกณฑ์เชิงปทัสถานหรือสิ่งที่ พึงประสงค์หรือสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เหมาะสมในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือระบอบการ ปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี รัฐที่ดี กฎหมายที่ดี เพื่อเสนอแนะหลักปฏิบัติทางการเมืองที่ถูกต้อง ชอบธรรม มีจรรยาบรรณ อุดมคติ หรือค่านิยมคอยกํากับ ทําให้การศึกษาในยุคนี้เชื่อมโยง อยู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และไม่ได้แยกเรื่องค่านิยมออกจากองค์ความรู้ทางการเมือง

94. การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) การเมืองเปรียบเทียบ
(2) การปกครองเปรียบเทียบ
(3) ปรัชญาเปรียบเทียบ
(4) ทฤษฎีเปรียบเทียบ
(5) ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 8 การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “การปกครองเปรียบเทียบ”

95. การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันเป็นไปเพื่อเป้าหมายใด
(1) ถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป
(2) สร้างรัฐสมัยใหม่
(4) พัฒนาตัวแบบทางการปกครอง
(3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
(5) ข้อ 1 และ 4 ถูก

ตอบ 5 หน้า 8 การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันมีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตัวแบบ
ทางการปกครอง

96. สาขาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในยุคใด
(1) ยุคสถาบัน
(2) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังสมัยใหม่
ตอบ 3 หน้า 11, 22, 33 – 34 วิชาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ ภายหลังจากความพยายามในการแสวงหา เอกลักษณ์ให้กับสาขารัฐศาสตร์และการสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์โดยการผลักดันของประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น โดยเป้าหมายหรือหัวใจหลัก สําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เป็นเหตุเป็นผล มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ อย่างเป็น รูปธรรม

97. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงการเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์
(2) นักวิชาการรัฐศาสตร์ทําการเปรียบเทียบเนื่องจากไม่สามารถทดลองได้
(3) มีเป้าหมายสําคัญคือพัฒนาประชาธิปไตย
(4) เรียกร้องให้เกิดการยอมรับความจริงอันหลากหลาย
(5) ผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น
ตอบ 4 หน้า 21 – 22 การเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ มีนัยสําคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิธีการและองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิชาการมองว่าการเปรียบเทียบเป็นเหมือนการทดลองทางอ้อมสําหรับการศึกษา ทางสังคมศาสตร์ที่ไม่อาจทําการทดลองได้จริง ๆ หรือดังที่โรเบิร์ต เบตส์ กล่าวว่า “เราทําการเปรียบเทียบ ก็เนื่องจากเราไม่สามารถทดลองได้”
2. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นมาศึกษาการเมืองในต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา) เพื่อให้เกิด ความเข้าใจและนําไปสู่การพัฒนาของประเทศเหล่านั้น (ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ)

98. หัวใจหลักสําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือข้อใด
(1) สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
(2) ค้นหาคนดีมาเป็นผู้ปกครอง
(3) สร้างกฎหมายปกครองที่ยอดเยี่ยม
(4) ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(5) ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

99. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงวิชาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบัน
(1) มุ่งหาทฤษฎีทั่วไป
(2) มุ่งสร้างศาสตร์บริสุทธิ์
(3) รวมเรียกว่าการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
(4) ศึกษาการเมืองนอกสหรัฐฯ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 25 ในปัจจุบันเราอาจเรียกวิชาการเมืองเปรียบเทียบโดยนําเอาคําว่าการปกครอง เข้ามารวมด้วยเป็น “การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ” เนื่องจากเรื่องของการปกครอง ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการเมืองเปรียบเทียบ อีกทั้งความหมายของการเมืองหรือความหมายของการปกครองเองก็ขยายออกไปกว้างขวางอย่างมากในปัจจุบันจนกล่าวได้ว่าเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอํานาจก็ถือว่าเป็นเรื่องของการเมืองทั้งสิ้น

100. ข้อใดเป็นระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง
(2) ระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง
(3) ระดับผู้กระทําการ
(4) ระดับโครงสร้าง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 38 การแบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบอาจมีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนักวิชาการแต่ละคน เช่น เฮคและแฮร์ร็อป (Hague and Harrop) ได้แบ่งระดับของ หน่วยวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง ระดับที่เน้นสังคมเป็น ศูนย์กลาง และระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง ส่วนอนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้แบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ ออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโครงสร้าง และระดับผู้กระทําการ

 

POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของมัวร์ จูเนียร์ ใช้ระเบียบวิธีการศึกษา
แบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 2 หน้า 72 งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของแบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาน้อยกรณี (Small-NS) ซึ่งงานชิ้นนี้มัวร์ได้สร้างคําอธิบายใหม่ที่แตกต่างจากคําอธิบายเดิมที่มักบอกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยมีการอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น พิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรต้นจํานวนมากขึ้นทั้งในส่วนของชนชั้นทางสังคม โครงสร้างทาง เศรษฐกิจ อํานาจรัฐ ตลอดจนพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์กันเองของตัวแปรต้นต่าง ๆ ควบคู่กันไป กับการพิจารณาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปที่โด่งดังที่ว่า “ไม่มีชนชั้นนายทุนไม่มีประชาธิปไตย”

2.“การพัฒนาทางการเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่อง ของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัย
ทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Pye
(2) Lipset
(3) Huntington
(4) Almond
(5) Coleman
ตอบ 3 หน้า 245 – 246 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) อธิบายว่า การพัฒนาทาง การเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

3. รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 2 หน้า 148 – 149 รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม หมายถึง รัฐเป็นแหล่งรวมของ ชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม

4. รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 4 หน้า 151 – 152 รัฐรวม (Composite State) หรือสหพันธรัฐ (Federation) คือ รัฐที่เกิดขึ้น จากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นโดยการมอบ อธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลางเพื่อจัดการในเรื่องสําคัญของส่วนรวมด้วยเหตุผลในเรื่องของ การป้องกันภัยรุกราน ความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ในขณะที่แต่ละรัฐที่มารวมตัวกัน ก็ยังคงมีอธิปไตยของตนเองอยู่บางส่วน ดังนั้นรัฐรวมจึงมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลของท้องถิ่นหรือมลรัฐ ตัวอย่างของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น

5. ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 2 หน้า 202 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Electoral System) เป็นระบบที่ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่หรือสะท้อนเจตนารมณ์ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ระบบนี้โดยทั่วไปจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน

6.แนวคิดสําคัญของอันโตนิโอ กรัม คือแนวคิดใด
(1) การปฏิวัติทางชนชั้น
(2) วาทกรรม
(3) การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์
(4) พหุวัฒนธรรม
(5) การครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรม
ตอบ 3 หน้า 137 – 138 อันโตนิโอ กรัม (Antonio Gramsci) ได้เสนอแนวคิด “การครองความเป็น จ้าวทางอุดมการณ์” (Hegemony) โดยอธิบายว่า โครงสร้างส่วนบนแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ สังคมการเมืองและสังคมประชา ชนชั้นที่ต้องการมีอํานาจเหนือสังคมอย่างเบ็ดเสร็จต้องสามารถครองอํานาจได้ในทั้งสองพื้นที่ในฐานะผู้ครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์ และกรมที่ได้ให้น้ำหนักไปที่การครอบงําทางความคิดอย่างมาก เนื่องจากการที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะขั้นเด็ดขาดและ สมบูรณ์เหนือสังคมได้ ชนชั้นนั้นต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม

7.งานของลิปเซ็ตเรื่อง “Political Man” ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Small-Ns
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 64, 67 – 68 งานของลิปเซ็ต (Lipset) เรื่อง “Political Man” เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการศึกษาหลายกรณี (Large-Ns) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคง ประชาชนจะมีรายได้สูงกว่าประเทศที่มีประชาธิปไตย ไม่มั่นคงหรือเป็นเผด็จการ จากงานชิ้นนี้ของลิปเซ็ตได้นํามาสู่ข้อสรุปเป็นคําอธิบายทั่วไป อันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”

8.กรณีศึกษาแบบใดช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
(1) Small-Ns
(2) การศึกษากรณีประเทศเดียว
(3) Large-Ns
(4) กรณีศึกษาตามรายประเด็น
(5) กรณีศึกษาเชิงลึก
ตอบ 3 หน้า 46 – 47, 64 Large-Ns หมายถึง จํานวนศึกษาหลายกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods)
ซึ่งข้อดีของการศึกษาหลายกรณี มีดังนี้
1. มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐานให้เข้มแข็งมากขึ้น
2. สามารถนําข้อสรุปจากการศึกษาไปใช้กับกรณีศึกษานอกกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
3. ช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ผลการวิเคราะห์มีลักษณะกลมกลืนกัน ฯลฯ

9. ข้อใดเป็นหน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง
(1) ระบบการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) รัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 38 หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง เป็นหน่วยวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ต่าง ๆ ในสังคม เช่น ระบบการเมือง รัฐ ชนชั้น สถาบันทางการเมือง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับนี้จะมีความเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้น มีอิทธิพลต่อการกระทําของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้มีเสรีภาพมากนัก แต่จะแสดงออกมาภายใต้กรอบของโครงสร้างดังกล่าว

10. นักรัฐศาสตร์ท่านใดมีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
(1) Huntington
(2) Bentley
(3) Downs
(4) Powell
(5) Almond
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Atmond) เป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) โดยอัลมอนด์เสนอว่า สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย และอีกประเทศหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นก็เพราะว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย ส่วนประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นมีวัฒนธรรมไม่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย

11. เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของ สมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้นการเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญ คือโครงสร้างพรรคการเมืองรูปแบบใด
(1) พรรคแบบคณะกรรมาธิการ
(2) พรรคแบบมีสาขาพรรค
(3) พรรคแบบแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในรูปเซลล์
(4) พรรคแบบพลพรรค
(5) พรรคแบบเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 222 – 223 พรรคแบบคณะกรรมาธิการ เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย – ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้น การเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ พรรคแบบนี้ มักตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นนําเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าสู่อํานาจทางการเมือง ไม่ได้ขยายฐานสู่ประชาชน

12. มองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างในกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 51 วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement) เป็นการมองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ในกรณีศึกษาต่าง ๆที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์

13. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
(1) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
(2) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
(3) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน
(4) โลกยุคโลกาภิวัตน์มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 281 – 285 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายว่า สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะ สําคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
2. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่เส้นแบ่งต่าง ๆ ที่เคยมั่นคงชัดเจนเกิดความไม่ชัดเจน นําไปสู่ การลากเส้นแบ่งใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
3. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
4. โลกยุคโลกาภิวัตน์มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. โลกยุคโลกาภิวัตน์มีการก่อการร้ายและการทําสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นความจริง ชุดใหม่
6. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน

14. หนังสือปรัชญาการเมืองเล่มใดถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
(1) The Prince
(2) Democracy in America
(3) Politics
(4) The Spirit of Laws
(5) The City of God
ตอบ 3 หน้า 3 – 4, (คําบรรยาย) หนังสือปรัชญาการเมืองเรื่อง “Politics” ของอริสโตเติ้ล (Aristotle) สะท้อนให้เห็นการใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางการเมือง ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการได้มาขององค์ความรู้ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการนําเอา กฎหมายปกครองของรัฐต่าง ๆ จํานวนมากถึง 158 รัฐมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าในโลกนี้มีรูปแบบ การปกครองกี่รูปแบบ และแบ่งว่ารูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่ดีและรูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบ ที่เลว ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ

15. นักรัฐศาสตร์คนสําคัญที่นําเอาความคิดเชิงระบบมาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบคือ
(1) อีสตัน
(2) อัลมอนด์
(3) คาร์ล ดอยซ์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ชาร์ล ทิลลี่
ตอบ 1 หน้า 89 เดวิด อีสตัน (David Easton) เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่นําเอาความคิดเชิงระบบ มาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบ และเป็นบุคคลแรก ๆ ที่เสนอแบบจําลองของระบบการเมือง อันเป็นผลจากความพยายามในการหาทฤษฎีทั่วไปที่สามารถใช้ในการอธิบายการเมืองทั้งระบบหรือสร้างทฤษฎีมหภาคที่สามารถนําไปใช้อธิบายสังคมอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งโลก

16. “พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา” (Methodological Pluralism) สอดคล้องกับข้อใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคหลังสมัยใหม่
(3) Nest Analysis
(4) Mixed Method
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 74 – 75, 140 พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา (Methodological Pluralism) เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาที่มีความหลากหลาย ทั้งในเชิงระเบียบวิธีวิจัยซึ่งอาจใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) หรือ “การวิเคราะห์ประสานกันแบบรังนก” (Nest Analysis) และมีการขยายขอบเขตของการศึกษาครอบคลุม ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนการเมืองในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภาคประชาสังคม รวมถึง เรื่องปฏิสัมพันธ์ของการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

17. แนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และ
เศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 3 หน้า 154 รัฐสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democratic State) คือ รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อ ปฏิรูปสังคมให้เกิดความยุติธรรม แก้ปัญหาความยากจน เน้นให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม เป็นรัฐที่เน้นทําเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าจะเน้นทําเพื่อประโยชน์ของนายทุน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐจึงต้องเข้าไปแทรกแซงสังคมในระดับสูงหรืออย่างแข็งขันเพื่อแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมที่อาจเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตัวอย่างเช่น แนวคิด เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น

18. ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับเลือกโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 1 หน้า 200 ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบพหุนิยม (Plurality Electoral System) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งแบบเขต โดยในแต่ละเขตผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ได้รับเลือกโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินหนึ่งหรือไม่ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก

19. รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 1 หน้า 150 – 151 รัฐราชอาณาจักร (Kingdorn State) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งรัฐราชอาณาจักรเกือบทั้งหมดในปัจจุบันก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา เบลเยียม ไทย เป็นต้น

20. นักวิชาการผู้ใดมีอิทธิพลต่อแนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) ซี. ไรท์ มิลล์
(5) คาร์ล ป๊อปเปอร์
ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) นิคอส พลันต์ซาส (Nicos Poulantzas) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลต่อ แนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ อันเป็นผลมาจากกระแสการนํารัฐกลับมาเป็นแกนกลางในการศึกษาทางการเมือง

21. ข้อใดเป็นความแตกต่างสําคัญที่สุดระหว่างมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมกับมาร์กซิสต์ใหม่
(1) วิเคราะห์ทางชนชั้น
(2) ปฏิเสธระบบทุนนิยม
(3) ปฏิวัติทางชนชั้น
(4) ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 137 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม โดยมีจุดร่วมสําคัญ คือ การมองว่าชนชั้นที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจมักมีแนวโน้มมีอํานาจในทาง การเมืองด้วย แต่มีจุดต่างสําคัญจากมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมคือหันไปให้น้ำหนักกับโครงสร้างส่วนบนมากขึ้นแทนที่จะเน้นวิเคราะห์โครงสร้างส่วนล่างเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นของอํานาจรัฐ

22. การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) ฝรั่งเศสในช่วงสาธารณรัฐที่ 5
(2) เยอรมนีในช่วงอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) โปรตุเกสในช่วงหลังการปฏิวัติคาร์เนชั่น
(4) เยอรมนีในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์
(5) รัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
ตอบ 4 หน้า 180 การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เป็นระบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ. 1919 – 1939) แต่เป็นที่รู้จักเมื่อประเทศฝรั่งเศสนําไปใช้

23. “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย” เป็นคํากล่าวของนักวิชาการคนใด
(1) แกเบรียล อัลมอนด์
(2) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(3) เธดา สค็อกโพล
(4) แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์
(5) โรเบิร์ต ดาห์ล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

24. ยุคเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตันเกี่ยวข้องกับ
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 4 หน้า 238 – 250 แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาในแต่ละยุค มีดังนี้
1. ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา เน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก
2. การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 เน้นการทําให้เป็นอุตสาหกรรม
3. การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 เน้นการทําให้ทันสมัย ซึ่งก็คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
4. การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เน้นแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน
5. การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องของวิกฤติความชอบธรรมของแนวคิด เสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน การพัฒนาทางเลือกหรือความหลากหลายของการพัฒนา

25. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 59 – 60 วิธีการเปรียบเทียบของเซวอร์สกีและเทิร์น (Przeworski and Teune) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) มี 2 วิธี คือ
1. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความแตกต่างของมิลล์
2. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด (Most Different Systems : MDS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความเหมือนของมิลล์

26. รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือรัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังการทําสนธิสัญญาฉบับใด
(1) Treaty of Ulm 1647
(2) Treaty of Concordia 1648
(3) Treaty of Zboriv 1649
(4) Treaty of Westphalia 1648
(5) Treaty of Breda 1650
ตอบ 4 หน้า 147 รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ รัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังจากการทําสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปในปี ค.ศ. 1648 ซึ่งก่อให้เกิดรัฐสมัยใหม่ อันประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ดินแดนที่แน่นอน (Territory) ประชากร (Population) รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

27. ระบบพรรคการเมืองที่ส่งผลต่อการจัดตั้งรัฐบาลผสม
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Muttiparty System
ตอบ 5 หน้า 220 ระบบหลายพรรค (Multiparty System) คือ การมีพรรคการเมืองหลายพรรคต่อสู้แข่งขันกันโดยไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมาก และอาจต้อง จัดตั้งรัฐบาลผสม ระบบเช่นนี้อาจมีข้อดีคือเกิดความหลากหลายในทางอํานาจ แต่มีข้อเสียคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความขัดแย้งและหาข้อตกลงกันไม่ได้

28. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ Subject
(1) เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง
(2) เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
(3) เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ
(4) เป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมืองหรือแบบ ไพร่ฟ้า (Subject) เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนสนใจข่าวสาร มีความรู้เกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เข้า ไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีอํานาจทางการเมือง เรื่องของการเมืองเป็น เรื่องของผู้นํา ดังนั้นลักษณะของวัฒนธรรมแบบนี้จึงเป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง การเมือง เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและกฎเกณฑ์ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล

29. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย
(1) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการคนสําคัญ คือ Lipset
(2) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Shedler
(3) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมแบบพลเมือง
(4) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญของ Almond กับ Verba
(5) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Barrington Moore Jr.
ตอบ 2 หน้า 252 – 253 นักวิชาการคนสําคัญที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือ วัฒนธรรม คือ แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations” ว่า “การนําระบอบประชาธิปไตยไปปรับใช้ในประเทศกําลังพัฒนา นอกจากการสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว สิ่งที่สําคัญไม่แพ้กันก็คือการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองที่สอดคล้องกับการทํางานของโครงสร้างเชิงสถาบันในระบอบประชาธิปไตย…”

30. คําอธิบายอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”เป็นของนักวิชาการผู้ใด
(1) ไดมอนด์
(2) กิดเด้นส์
(3) ลิปเซ็ต
(4) ลาสเวลล์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

31. รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุดในเขตแดนของรัฐ
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 3 หน้า 151 รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุด หรืออธิปไตยสมบูรณ์ในเขตแดนของรัฐนั้น ๆ ไม่มีรัฐบาลในระดับที่รองลงมา หน่วยงานของรัฐ ในท้องที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นมือไม้หรือหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจาก รัฐบาลกลางไปดําเนินการ หรือในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นแม้จะได้รับการกระจายอํานาจลงไปให้บ้างแต่ก็ไม่ถือว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง การดําเนินงานยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับควบคุมของรัฐบาลกลาง ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น

32. “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมืองที่มีบทบาทสําคัญมีความตระหนักร่วมกันว่าไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็น
เกมเดียวในเมือง” เป็นคําอธิบายการสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 ฮวน ลินซ์ (Juan Linz) ได้กําหนดนิยามของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน ให้กับประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมือง ที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตยและไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง (The Only Game in Town)”

33. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทางของยุคใด
(1) ยุคปรัชญา
(2) ยุคสถาบัน
(3) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(4) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 108 – 109 แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach)เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มถูกนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ดังนั้นแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทาง หรือทฤษฎีในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ในกระแสหลักที่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความเป็นศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ในทางการเมือง

34. ยุคที่มองว่าการทําให้ทันสมัย คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย คือ
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

35. ทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) อีสตัน
(2) เมอร์เรียม
(3) อัลมอนด์
(4) ฟูโกต์
(5) พาร์สัน
ตอบ 3 หน้า 92 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) ได้พัฒนาทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โดยได้ดึงแนวคิดเรื่องบทบาทและโครงสร้างของนักสังคมวิทยา เช่น แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ทาลค็อตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) เข้ามาผนวกกับทฤษฎีระบบ เพื่อให้ทฤษฎีระบบเชิง โครงสร้าง-หน้าที่มีความเป็นรูปธรรม สามารถศึกษากลุ่มของการกระทําทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้

36. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ Small-Ns
(1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
(2) เน้นศึกษาน้อยกรณี
(3) เน้นตีความหรือทําความเข้าใจความหมาย
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 70 Small-Ns คือ การศึกษาน้อยกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องของ การตีความหรือทําความเข้าใจความหมายอย่างรอบด้านหรือในลักษณะองค์รวม เพื่อทําความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นที่ศึกษาในกรณีนั้น ๆ

37. นักวิชาการคนใดมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) สค็อกโพล
ตอบ 5 หน้า 117, 130, 156 เธดา สค็อกโพล (Theda Skocpol) และปีเตอร์ อีแวน (Peter Evans) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง โดยทั้งสองได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Bringing the State Back In” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนํามาใช้ เป็นกระแสการเรียกร้องให้รัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนกล่องดํา คือเป็นที่รวมของอํานาจที่กลุ่ม ต่าง ๆ ใช้ในการต่อรอง แย่งชิง ผลักดันนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน กลับเข้ามาสู่การเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ทางการเมือง

38. หัวใจหลักสําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือข้อใด
(1) สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
(2) ค้นหาคนดีมาเป็นผู้ปกครอง
(3) สร้างกฎหมายปกครองที่ยอดเยี่ยม
(4) ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(5) ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติ
ตอบ 1 หน้า 11, 22, 33 – 34 วิชาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ ภายหลังจากความพยายามในการแสวงหา เอกลักษณ์ให้กับสาขารัฐศาสตร์และการสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์ โดยการผลักดันของประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น โดยเป้าหมายหรือหัวใจหลัก สําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

39. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐนิยม (Statist Model)
(1) มีคําอธิบายรัฐนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson
(2) เกิดจากการผลักดันของ Theda Skocpol และ Peter Evans
(3) รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจน้อยที่สุด
(4) รัฐในมุมมอง Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
(5) ฐานคิดสําคัญคือรัฐจะมีบทบาทเสมอในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 156 – 158, (คําบรรยาย) อนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้อธิบายรัฐนิยมโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson ซึ่งจาก 3 กลุ่มนี้ รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจสูงที่สุด รองลงมาคือ รัฐในมุมมองของ Theda Skocpot และรัฐในมุมมองของ Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น

40. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย รูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 1 หน้า 178 การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารบนหลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารจึงแยกอิสระจากกันค่อนข้างสูง แต่ก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

41. ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 5 หน้า 250 การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือแนวนโยบายของฉันทามติวอชิงตันถูกตั้งคําถามอย่างหนักภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา จนมีนักวิชาการบางคนกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อ จุดจบของเสรีนิยมใหม่ นําไปสู่การนําเสนอฉันทามติอื่น ๆ เช่น ฉันทามติโคเปนเฮเกน ฉันทามติ เม็กซิโก ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ เป็นต้น

42. ระบบพรรคที่มี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ เช่น เยอรมนี ออสเตรีย และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอจะจัดตั้งรัฐบาล
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System.
ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) ระบบกึ่ง 2 พรรค (Two-and-a-Half-Party System) คือ การมี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอ จะจัดตั้งรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในโปรตุเกส สเปน กรีซ เยอรมนี ออสเตรีย เป็นต้น

43. พบในสหภาพโซเวียตในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงเหนือสังคม ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กระทั่งการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยไม่ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นรัฐที่มีอํานาจ สูงที่สุด ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ รัฐประเภทนี้พบในสหภาพโซเวียต ในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี และเกาหลีเหนือ

44. รัฐเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมคือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 2 หน้า 153 รัฐเพื่อการพัฒนา (Developmental State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐอาจจะประสาน ความร่วมมือกับนายทุนระดับชาติเพื่อการดังกล่าว ทั้งนี้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเอกชนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ มากกว่าการเข้าไปขัดขวางหรือรับเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจมาดําเนินการเอง ตัวอย่างของรัฐ ประเภทนี้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น

45. รัฐบาลเกาหลีเหนือ คือระบอบเผด็จการรูปแบบใด
(1) Totalitarianism
(2) Authoritarianism
(3) Benevolent Dictatorship
(4) Theocracy
(5) Aristocracy
ตอบ 1 หน้า 170 เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เป็นรูปแบบของระบอบเผด็จการที่เข้มข้น คือ รัฐบาลทําการควบคุมการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกด้านทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตัวอย่างของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ สหภาพโซเวียต รัฐบาลจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง รัฐบาลนาซีเยอรมัน รัฐบาลฟาสซิสต์ของอิตาลี รัฐบาลเกาหลีเหนือ เป็นต้น

46. ข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 ดังค์วาร์ด รัสเทาว์ (Dankwart Rustow) ได้อธิบายข้อกําหนดเบื้องต้น สําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ ตัวอย่างเช่น
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพประชาธิปไตยไม่จําเป็นต้องเป็นตัวเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
2. การศึกษาประชาธิปไตยต้องตระหนักว่าสหสัมพันธ์อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความสัมพันธ์ เชิงเหตุ-ผล
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม ส่งผลต่อการเมือง
4. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ไม่จําเป็นต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยเชิงแนวคิดวัฒนธรรม ส่งผลต่อการกระทําของตัวแสดงเสมอไป ฯลฯ

47. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ (Approach)
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 80 – 81, 143 แนวทางการศึกษาหรือแนวทางการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบเค้าโครงในการศึกษาที่จะเป็นตัวกําหนดระดับของการอธิบาย วิธีการในการศึกษาตลอดจนทฤษฎีที่จะใช้ในการศึกษา โดยแนวทางการศึกษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ โดยไม่มีการลงลึกในส่วนของตัวแบบในการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และในแต่ละ แนวทางการศึกษาจะประกอบด้วยทฤษฎีย่อย ๆ อยู่ด้วย

48. รัฐมีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1 หน้า 153 รัฐแบบกรรมการ (Minimal State) คือ รัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมที่ให้รัฐ มีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการ ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ รัฐประเภทนี้พบในประเทศที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้น

49. “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) มาร์กซ์
(2) ทิลลี่
(3) ไชยวัฒน์ ค้ำชู
(4) อดอร์โน
(5) เดอร์ไคม์
ตอบ 2 หน้า 128 แนวทางโครงสร้างเชิงประวัติศาสตร์ จะเน้นวิเคราะห์ความเป็นมาของโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น พัฒนาการของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในโลกตะวันตก พัฒนาการของระบบ ทุนนิยม พัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่ พัฒนาการของการเข้าสู่ ระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพใหญ่ของพัฒนาการ ตลอดจน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ศึกษาดังที่ชาร์ล ทิลลี่ (Charles Tilly) เรียกว่า “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” และ “กระบวนการใหญ่”

50. ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 3 หน้า 220 ระบบ 2 พรรค (Two-Party System) คือ การมีพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ ที่ต่อสู้แข่งขันและได้รับคะแนนเสียงสลับกันขึ้นเป็นรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมือง ในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

51. การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) การเมืองเปรียบเทียบ
(2) การปกครองเปรียบเทียบ
(3) ปรัชญาเปรียบเทียบ
(4) ทฤษฎีเปรียบเทียบ
(5) ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 8 การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า“การปกครองเปรียบเทียบ”

52. การเลือกพรรคซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ที่นั่งทั้งหมดไป
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเลือกเป็นพรรค หรือระบบบล็อกโหวต พรรคการเมือง (Party Block Vote : PBV) เป็นการเลือกผู้แทนโดยการเลือกพรรคซึ่งส่ง ผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ ที่นั่งทั้งหมดไป ซึ่งระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

53. รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเอง คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 1 หน้า 148 รัฐในความหมายเชิงนามธรรม หมายถึง รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานง และเป้าหมายของตนเองแยกออกมาและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งรัฐจะนําพามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ โดยที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังรัฐ

54. ค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(3) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
(4) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) เป็นการค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์

55. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 82 ทฤษฎี (Theory) คือ ชุดของคําอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของความสัมพันธ์เชิง เหตุ-ผล (Causal Relations) ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษา หรือเรียกอีกอย่างว่าชุดของคําอธิบายความสัมพันธ์เชิงปัจจยาการ

56. อริสโตเติ้ลเห็นว่าระบอบการปกครองใดที่ถือเป็นการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่เลว
(1) โพลิตี้
(2) คณาธิปไตย
(3) ทรราช
(4) ประชาธิปไตย
(5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 4 อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

57. ตามแนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล คําว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผลหมายถึงข้อใด
(1) จะทําการใดต้องมีการคํานวณ
(2) คิดถึงประโยชน์ได้เสีย
(3) แสวงหาประโยชน์สูงสุด
(4) หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 110, (คําบรรยาย) แนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) มีสมมติฐานสําคัญคือ มนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผล ซึ่งคําว่ามีเหตุมีผลหมายถึง มนุษย์ทุกคนเวลา จะทําการใดจะต้องคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์ อย่างไร หรือคํานวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากทางเลือกแต่ละทาง โดยมนุษย์จะตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ได้ประโยชน์สูงสุด และหลีกเลี่ยงทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์มากที่สุดหรือหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์นั่นเอง

58. ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โครงสร้างใดทําหน้าที่รวบรวมผลประโยชน์
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) รัฐบาล
(4) รัฐสภา
(5) ศาล
ตอบ 2 หน้า 93 – 94 ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่นั้น แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) อธิบายว่า โครงสร้างทางการเมืองแต่ละอย่างสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ แม้ใน ระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วจะมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมาทําหน้าที่เฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะทําแค่หน้าที่เดียว เพราะโครงสร้างในทุกระบบการเมืองจะทําหน้าที่ หลาย ๆ อย่างเสมอ เช่น พรรคการเมืองมีหน้าที่หลักในการรวบรวมผลประโยชน์และเลือกสรร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองก็ทําหน้าที่อื่น ๆ เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับ ประชาชน ให้การศึกษาทางการเมือง เป็นต้น

59. งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของโรเบิร์ต พุตนัม ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 4 หน้า 74 งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของ โรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) เป็นการศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่ส่งผลต่อ การทํางานของระบอบประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคใต้ของอิตาลี ซึ่งพุตนัมได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้ วิธีการเชิงปริมาณเพื่อสํารวจทัศนคติของพลเมือง และใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นมาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคในอิตาลี

60. วิธีการเปรียบเทียบแบบ MSS และ MDS พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) Przeworski and Teune
(2) John Stuart Mill
(3) Antonio Gramsci
(4) Ragin and Rubinson
(5) Anthony Giddens
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

61. สาขาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในยุคใด
(1) ยุคสถาบัน
(2) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังสมัยใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

62. ปัจจัยใดที่คาร์ล มาร์กซ์ ให้ความสําคัญที่สุดเมื่อวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
(1) อํานาจของกฎหมาย
(2) โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
(3) การครอบงําทางความคิดผ่านทางศาสนา
(4) แสนยานุภาพทางทหาร
(5) อํานาจของรัฐในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ตอบ 2 หน้า 134 – 135 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist Theory) กําเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) ซึ่งวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน หรือก็คือ ปฏิเสธระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์ของมาร์กซ์นั้นในทางหนึ่งเป็นการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ แต่หัวใจหลักอยู่ที่การใช้ โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง

63. Large-Ns มีความหมายถึงสิ่งใด
(1) จํานวนศึกษาหลายกรณี
(2) การศึกษาเชิงปริมาณ
(3) มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

64. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงการเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์
(2) นักวิชาการรัฐศาสตร์ทําการเปรียบเทียบเนื่องจากไม่สามารถทดลองได้
(3) มีเป้าหมายสําคัญคือพัฒนาประชาธิปไตย
(4) เรียกร้องให้เกิดการยอมรับความจริงอันหลากหลาย
(5) ผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น
ตอบ 4 หน้า 21 – 22 การเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ มีนัยสําคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิธีการและองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิชาการมองว่าการเปรียบเทียบเป็นเหมือนการทดลองทางอ้อมสําหรับการศึกษา ทางสังคมศาสตร์ที่ไม่อาจทําการทดลองได้จริง ๆ หรือดังที่โรเบิร์ต เบตส์ กล่าวว่า “เราทําการเปรียบเทียบ ก็เนื่องจากเราไม่สามารถทดลองได้”
2. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นมาศึกษาการเมืองในต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา) เพื่อให้เกิด ความเข้าใจและนําไปสู่การพัฒนาของประเทศเหล่านั้น (ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ)

65. เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมืองคือข้อใด
(1) หาเกณฑ์เชิงปทัสถาน
(2) ค้นหาสิ่งที่พึงประสงค์ทางการเมือง
(3) สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 3, (คําบรรยาย) การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมือง เน้นการศึกษาสิ่งที่ควร จะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การค้นหาเกณฑ์เชิงปทัสถานหรือสิ่งที่ พึงประสงค์หรือสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เหมาะสมในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือระบอบการ ปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี รัฐที่ดี กฎหมายที่ดี เพื่อเสนอแนะหลักปฏิบัติทางการเมืองที่ถูกต้อง ชอบธรรม มีจรรยาบรรณ อุดมคติ หรือค่านิยมคอยกํากับ ทําให้การศึกษาในยุคนี้เชื่อมโยง อยู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และไม่ได้แยกเรื่องค่านิยมออกจากองค์ความรู้ทางการเมือง

66. แนวทางสถาบันดั้งเดิมแตกต่างกับแนวทางสถาบันนิยมใหม่ในข้อใด
(1) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ
(2) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการ
(3) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 115, 118, 120 – 122 แนวทางสถาบันดั้งเดิม เน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการหรือ ศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย ส่วนแนวทางสถาบันนิยมใหม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการควบคู่กันไปกับการศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ รวมถึงขยายขอบเขต ของการศึกษาไปสู่เรื่องของพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง ปัจจัยทั้งหลายที่สามารถ ส่งผลทั้งต่อตัวสถาบันและต่อพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ

67. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

68. ระบบพรรคการเมืองของจีน
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 1 หน้า 219 ระบบพรรคเดียว (One-Party System) คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เท่านั้นในระบบการเมือง พบในประเทศเผด็จการทั้งในรูปแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ ในระบบพรรคเดียวนี้อาจมีการเลือกตั้งด้วย แต่มีผู้สมัครลงแข่งขันจากพรรคการเมืองเดียว เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบพรรคการเมืองของจีน เป็นต้น

69. หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย รูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีการแยกอํานาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แบบไม่เด็ดขาด การใช้อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันตาม หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power)

70. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสวิพากษ์
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางสถาบันนิยมใหม่
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, 107, 134, 140 แนวทางการวิเคราะห์กระแสวิพากษ์ ได้แก่
1. แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
2. แนวทางมาร์กซิสต์
3. แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
4. แนวทางหลังสมัยใหม่หรือแนวทางหลังโครงสร้างนิยม

71. “ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริงไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในคลื่นลูกที่ 4” จากข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 2 หน้า 293 ลาร์รี่ ไดมอนด์ (Larry Diamond) อธิบายว่า ความตื่นตัวของประชาชนใน ตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่ 4

72. ข้อใดเป็นระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง
(2) ระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง
(3) ระดับผู้กระทําการ
(4) ระดับโครงสร้าง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 38 การแบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบอาจมีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนักวิชาการแต่ละคน เช่น เฮคและแฮร์ร็อป (Hague and Harrop) ได้แบ่งระดับของ หน่วยวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง ระดับที่เน้นสังคมเป็น ศูนย์กลาง และระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง ส่วนอนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้แบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ ออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโครงสร้าง และระดับผู้กระทําการ

73. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสหลัก
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 83 – 127 แนวทางการวิเคราะห์กระแสหลัก ได้แก่
1. แนวทางระบบ
2. แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
3. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล
4. แนวทางสถาบันนิยมใหม่
5. แนวทางโครงสร้าง (ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ)

74. เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 3 หน้า 204 – 205 ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation : PR/Party List System) เป็นระบบที่มีการกําหนดเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่ ในแต่ละเขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน โดยการลงคะแนนเสียงจะลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกผู้สมัครรายคน แต่ พรรคการเมืองจะทําบัญชีรายชื่อของผู้สมัครเรียงตามลําดับลงไป ทําให้เรียกระบบนี้กันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” (Party List System)

75. ในทฤษฎีระบบการเมือง ปัจจัยนําเข้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ข้อเรียกร้องความต้องการและการสนับสนุน
(2) รัฐบาลและรัฐสภา
(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(4) นโยบายและการปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90 ในทฤษฎีระบบการเมืองนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้อธิบายว่า “ระบบการเมือง” (Political System) เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ซึ่งทําหน้าที่อยู่ภายใต้ “สิ่งแวดล้อม” (Environment) โดยจะมี “ปัจจัยนําเข้า (Inputs) ซึ่งประกอบด้วย ข้อเรียกร้อง ความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) จากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ระบบการเมือง แล้วระบบการเมืองก็จะทําหน้าที่ในการตัดสินใจแปลงปัจจัยนําเข้าดังกล่าวเป็น “ปัจจัยนําออก” (Outputs) ในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายต่าง ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และผลจากการทํางานของระบบการเมืองก็จะเกิดเป็น “ผลสะท้อนกลับ” (Feedback) กลับเข้าไปเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

76. การครองอํานาจของพรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น และพรรคคองเกรสของอินเดีย เข้าข่ายระบบพรรคแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant Party System) เป็นระบบ ที่มีพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรค หรือกฎหมายเปิดให้พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มักได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดและครองอํานาจในการปกครองตัวอย่างเช่น พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น พรรคคองเกรสของอินเดีย เป็นต้น

77. วิธีการเปรียบเทียบในวิชาการเมืองเปรียบเทียบถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใด
(1) สกัดหาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
(2) การแข่งขันระหว่างประเทศ
(3) หาสิ่งที่พึงประสงค์
(4) สร้างความได้เปรียบ
(5) สร้างจริยธรรมทางการปกครอง
ตอบ 1 หน้า 50 วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการที่ต้องเลือกมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อสร้างคําอธิบาย ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขหรือปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่ศึกษา หรือกล่าวอีกนัยคือ วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการสําหรับนํามาใช้เพื่อสกัดหาตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา

78. แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลคือ
(1) ความเสียสละ
(2) ผลประโยชน์ส่วนบุคคล
(3) ผลประโยชน์ของชาติ
(4) ความหลากหลาย
(5) ความเท่าเทียม
ตอบ 2 หน้า 109 แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลตั้งอยู่บนสมมติฐานหลัก 2 ตัว คือ ความมีเหตุมีผล (Rationality) กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Self-Interest)

79. รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทาง การปกครองทั้งหลาย คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงองค์การ หมายถึง รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย

80. 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมีในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 5 หน้า 200 ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งคน (Multi-Member District/Constituencies : MMD) หรือระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block Voting : BV) เป็น ระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ใน 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนแล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมี ในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน โดยผู้เลือกตั้งสามารถ เลือกผู้สมัครได้ตามจํานวนผู้แทนในแต่ละเขต ซึ่งอาจเลือกจากพรรคเดียวกันเรียงเบอร์ไปเลย หรือจะเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคก็ได้ หรือหากประสงค์เลือกเพียงเบอร์เดียวก็ได้ ผู้ที่ได้คะแนน สูงสุดเรียงตามลําดับจนครบตามจํานวนผู้แทนจึงมีก็จะได้เป็นผู้แทนในเขตนั้นๆ

81. การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 1 หน้า 257 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ไว้ในหนังสือเรื่อง “คลื่นลูกที่สาม” ทั้งในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างและในส่วนของปัจจัยของตัวแสดงซึ่งก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนําทั้งที่อยู่ในอํานาจและที่ไม่อยู่ในอํานาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

82. รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
(5) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
ตอบ 3 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่ หมายถึง รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม

83. รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาที่เรียกว่าประธานาธิบดี
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 2 หน้า 151 สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาหรือเป็นผู้นําทางศาสนา รัฐแบบนี้พบได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย (เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี อินเดีย) คอมมิวนิสต์ (เช่น จีน เวียดนาม) และรัฐที่ปกครองโดยหลักศาสนา (เช่น อิหร่าน)

84. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Common
(2) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Representative
(3) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Common
(4) ใช้ระบบ 2 สภา คือ Senate กับ House of Representative
(5) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Representative
ตอบ 3 หน้า 174 ระบบสองสภา (Bicameral System) เป็นระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงและสภาล่าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ไทย เรียกว่า วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Senate กับ House of Representative
3. อังกฤษ เรียกว่า House of Lord กับ House of Common

85. ข้อใดคือชื่อเรียกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
(1) Parliament
(2) Assembly
(3) Congress
(4) Diet
(5) State Duma
ตอบ 3 หน้า 172 สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นสถาบันที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมายโดยสถาบันนิติบัญญัตินี้มีทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ และมีชื่อเรียก แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ เรียกว่า Parliament
2. ฝรั่งเศส เรียกว่า Assembly
3. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Congress
4. ญี่ปุ่น เรียกว่า Diet
5. ไทย เรียกว่า รัฐสภา

86. รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดให้ เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 4 หน้า 154 รัฐรวมศูนย์ (Collectivized State) คือ รัฐที่เข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดถูกวางแผนและจัดการโดยรัฐ จากส่วนกลาง รวมถึงมีการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล คือ ไม่ให้เอกชนสามารถมีทรัพย์สิน ส่วนตัวได้ แต่ให้ทุกอย่างตกเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐประเภทนี้พบได้ในระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาพโซเวียต จีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง เป็นต้น

87. เพราะเหตุใดแนวคิดแบบมาร์กซิสต์จึงไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม
(1) เพราะยากที่สถาบันการเมืองจะมีความเข้มแข็ง
(2) เพราะเอกชนจะเรียกร้องให้รัฐมีบทบาทน้อย
(3) เพราะมีความเจริญทางวัตถุแต่จิตใจผู้คนตกต่ำ
(4) เพราะมีโครงสร้างที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
(5) เพราะผู้คนไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา
ตอบ 4 หน้า 134 – 136, (คําบรรยาย) แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคง จะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม เพราะหัวใจสําคัญของประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกัน แต่ในระบบทุนนิยมกลับมีโครงสร้างที่ทําให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมนั้น ชนชั้นที่ออกแรงผลิตคือชนชั้นแรงงาน แต่ชนชั้นนายทุนกลับรีบเอามูลค่าที่ชนชั้นแรงงานผลิตได้ ไปเป็นของตน ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวทําให้เกิด “ชนชั้นผู้ได้เปรียบ” กับ “ชนชั้นผู้เสียเปรียบ” ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

88. “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวมของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Andrew Heywood
(2) Joel Migdal
(3) Max Weber
(4) Gaetano Mosca
(5) Anthony Giddens
ตอบ 3 หน้า 146 แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ได้ให้นิยามคําว่ารัฐไว้ว่า “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวม ของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” (a compulsory association which organizes domination)

89. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
(1) Parochial
(2) Subject
(3) Participant
(4) Civic Culture
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ได้แบ่ง วัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ แบบคับแคบ (Parochial) แบบไพร่ฟ้า (Subject) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) ซึ่งในความคิดเห็นของทั้งสองมองว่า วัฒนธรรมทางการเมือง ที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่ต้องเป็นวัฒนธรรมทาง การเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 3 แบบอย่างลงตัว ซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม แบบพลเมือง” (Civic Culture) อันเป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมือง แต่ก็ไม่มากจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

90. “การเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Arend Lijphart
(2) Giovanni Sartori
(3) Maurice Duverger
(4) Barnard Grofman
(5) Barbara Geddes
ตอบ 3 หน้า 209 – 210 เมารีส ดูแวร์แจร์ (Maurice Duverger) อธิบายว่า การเลือกตั้งระบบ เสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง โดยที่ระบบ 2 พรรคเด่นมักนําไปสู่รัฐบาล ที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ระบบหลายพรรคก่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ

91. การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันเป็นไปเพื่อเป้าหมายใด
(1) ถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป
(2) สร้างรัฐสมัยใหม่
(3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
(4) พัฒนาตัวแบบทางการปกครอง
(5) ข้อ 1 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 8 การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันมีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตัวแบบทางการปกครอง

92. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงวิชาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบัน
(1) มุ่งหาทฤษฎีทั่วไป
(2) มุ่งสร้างศาสตร์บริสุทธิ์
(3) ศึกษาการเมืองนอกสหรัฐฯ
(4) รวมเรียกว่าการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 25 ในปัจจุบันเราอาจเรียกวิชาการเมืองเปรียบเทียบโดยนําเอาคําว่าการปกครอง เข้ามารวมด้วยเป็น “การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ” เนื่องจากเรื่องของการปกครอง ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการเมืองเปรียบเทียบ อีกทั้งความหมายของการเมืองหรือความหมายของการปกครองเองก็ขยายออกไปกว้างขวางอย่างมากในปัจจุบันจนกล่าวได้ว่าเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอํานาจก็ถือว่าเป็นเรื่องของการเมืองทั้งสิ้น

93. กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจ อิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น คือระบบกลุ่มผลประโยชน์แบบใด
(1) Democratic Corporatist Interest Group System
(2) Controlled Interest Group System
(3) Pluralist Interest Group System
(4) Institutional Group System
(5) Public Interest Group System
ตอบ 3 หน้า 232 ระบบพหุนิยม (Pluralist Interest Group System) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น แต่จะหมุนเวียนกันไปมีบทบาทหลักในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับประโยชน์ของกลุ่มตน เมื่อเป็นประเด็นอื่นก็จะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นเข้าไปมีบทบาท หลักแทน ระบบกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวพบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ ฯลฯ

94. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
(3) จัดโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดใหญ่
(4) ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ตอบ 3 หน้า 249, (คําบรรยาย) สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีดังนี้
1. นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
2. ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
3. ปรับโครงสร้างองค์การให้มีขนาดเล็กลงและลดขั้นตอนการทํางาน
4. ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ฯลฯ

95. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบ
(1) การเปรียบเทียบกรณีศึกษาหลายประเทศทําให้ได้ข้อมูลเชิงลึกละเอียดที่สุด
(2) ต้องเปรียบเทียบกรณีมากกว่า 1 ประเทศเท่านั้น
(3) ศึกษาประเทศเดียวก็ได้
(4) การเปรียบเทียบระดับโลกเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 40 – 41 การเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบสามารถเลือกศึกษาประเทศเดียวก็ได้ ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ภายในประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเฉพาะสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ๆ เช่น พรรคการเมือง สถาบันทหาร รัฐสภา กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเลือกศึกษาประเทศเดียวนี้จะง่ายต่อ ผู้ศึกษารุ่นใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะมาก

96. นักวิชาการคนใดเสนอแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม
(1) หลุยส์ อัลธูแซร์
(2) เออร์เนสโต ลาเคลา
(3) ชองทัล มูฟ
(4) ชาร์ค แดร์ริดา
(5) มิเชล ฟูโกต์
ตอบ 5 หน้า 140 – 143 แนวคิดที่สําคัญของนักวิชาการในยุคหลังสมัยใหม่ มีดังนี้
1. แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
2. แนวคิดการรื้อสร้างของชาร์ค แดร์ริดา (Jacques Derrida)
3. แนวคิดมายาคติของโรลอง บาร์ต (Roland Barthes)
4. แนวคิดการครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรมและแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกของ เออร์เนสโต ลาเวลาและของทัล มูฟ (Ernesto Laclau and Chantal Mouffe) ฯลฯ

97. นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยม
(1) คาร์ล มาร์กซ์
(2) จอห์น ล็อค
(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(4) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(5) เดวิด อีสตัน
ตอบ 3 หน้า 50 – 57, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mitt) ได้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยมไว้ 4 วิธีการ คือ
1. วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement)
2. วิธีการพิจารณาความแตกต่าง (Method of Difference)
3. วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่ (Method of Residues)
4. วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน (Method of Concomitant Variations)

98. การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การปฏิวัติในอียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบียและซีเรีย มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Color Revolutions
(2) Arab Spring
(3) Rose Revolution
(4) Asian Spring
(5) Tulip Revolution
ตอบ 2 หน้า 273, (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เป็นการลุกฮือของ ประชาชนเพื่อต่อต้านอํานาจรัฐและระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทําให้เกิดแรงกระเพื่อม ไปสู่การปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย หรือที่ เรียกกันว่า “การปฏิวัติในฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” หรือ “อาหรับสปริง” (Arab Spring)

99. ประชาธิปไตยทางตรงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) Roman
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thebes
(5) Corinth
ตอบ 2 หน้า 165, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบของ ระบอบประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าไปใช้อํานาจในทางการเมืองอย่าง เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณ ทั้งนี้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้สามารถทําได้ในกรณีของรัฐที่มีประชากรจํานวนน้อย ดังนั้น ในโลกปัจจุบันที่มีประชากรจํานวนมหาศาล ประชาธิปไตยทางตรงจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

100. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นสถาบันของฮันทิงตัน
(1) ความสามารถในการปรับตัว
(2) การแบ่งโครงสร้างทําหน้าที่เฉพาะ
(3) ความรวดเร็วในการทํางาน
(4) ความเป็นอิสระในตนเอง
(5) ความเป็นปึกแผ่น
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้เสนอตัวชี้วัดความเป็น สถาบัน ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
2. การแบ่งโครงสร้างแยกย่อยลงไปและทําหน้าที่เฉพาะ (Complexity)
3. ความเป็นอิสระในตนเอง (Autonomy)
4. ความเป็นปึกแผ่น (Coherence)

POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2107 การเมืองเปรียบเทียบเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.หัวใจหลักสําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือข้อใด
(1) สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย
(2) ค้นหาคนดีมาเป็นผู้ปกครอง
(3) สร้างกฎหมายปกครองที่ยอดเยี่ยม
(4) ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(5) ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติ
ตอบ 1 หน้า 11, 22, 33 – 34 วิชาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ ภายหลังจากความพยายามในการแสวงหาเอกลักษณ์ให้กับสาขารัฐศาสตร์และการสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์โดยการผลักดันของประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น โดยเป้าหมายหรือหัวใจหลัก สําคัญของวิชาการเมืองเปรียบเทียบคือการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

2. การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นคําอธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 1 หน้า 257 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ การก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการสร้างประชาธิปไตยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ไว้ในหนังสือเรื่อง “คลื่นลูกที่สาม” ทั้งในส่วนของปัจจัยเชิงโครงสร้างและในส่วนของปัจจัยของตัวแสดงซึ่งก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนําทั้งที่อยู่ในอํานาจและที่ไม่อยู่ในอํานาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

3. มองหาคุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างในกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 51 วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement) เป็นการมองหา คุณลักษณะร่วมท่ามกลางคุณลักษณะที่แตกต่างกันของปรากฏการณ์ในกรณีศึกษาต่าง ๆที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปว่าคุณลักษณะร่วมดังกล่าวเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์

4. นักรัฐศาสตร์คนสําคัญที่นําเอาความคิดเชิงระบบมาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบคือ
(1) อีสตัน
(2) อัลมอนด์
(3) คาร์ล ดอยซ์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ซาร์ล ทิลลี่
ตอบ 1 หน้า 89 เดวิด อีสตัน (David Easton) เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกที่นําเอาความคิดเชิงระบบ มาพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบ และเป็นบุคคลแรก ๆ ที่เสนอแบบจําลองของระบบการเมือง อันเป็นผลจากความพยายามในการหาทฤษฎีทั่วไปที่สามารถใช้ในการอธิบายการเมืองทั้งระบบหรือสร้างทฤษฎีมหภาคที่สามารถนําไปใช้อธิบายสังคมอื่น ๆ ได้ทั่วทั้งโลก

5. ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 5 หน้า 250 การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ หรือแนวนโยบายของฉันทามติวอชิงตันถูกตั้งคําถามอย่างหนักภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา จนมีนักวิชาการบางคนกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อ จุดจบของเสรีนิยมใหม่ นําไปสู่การนําเสนอฉันทามติอื่น ๆ เช่น ฉันทามติโคเปนเฮเกน ฉันทามติ เม็กซิโก ฉันทามติปักกิ่งหรือตัวแบบทุนนิยมที่ชี้นําโดยรัฐ เป็นต้น

6. รัฐมีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 1 หน้า 153 รัฐแบบกรรมการ (Minimal State) คือ รัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมที่ให้รัฐ มีบทบาทและอํานาจน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นแล้วปล่อยให้เอกชนหรือประชาชนมีเสรีภาพในการ ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ รัฐประเภทนี้พบในประเทศที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้น

7. รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุดในเขตแดนของรัฐ
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 3 หน้า 151 รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวมีอํานาจสูงสุด หรืออธิปไตยสมบูรณ์ในเขตแดนของรัฐนั้น ๆ ไม่มีรัฐบาลในระดับที่รองลงมา หน่วยงานของรัฐ ในท้องที่ เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นมือไม้หรือหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจาก รัฐบาลกลางไปดําเนินการ หรือในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นแม้จะได้รับการกระจายอํานาจลงไปให้บ้างแต่ก็ไม่ถือว่ามีอธิปไตยเป็นของตนเอง การดําเนินงานยังคงอยู่ภายใต้การ กํากับควบคุมของรัฐบาลกลาง ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น

8.นักรัฐศาสตร์ท่านใดมีชื่อเสียงที่สุดในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง
(1) Huntington
(2) Bentley
(3) Downs
(4) Powell
(5) Atmond
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) เป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) โดยอัลมอนด์เสนอว่า สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย และอีกประเทศหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นก็เพราะว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย ส่วนประเทศ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้นมีวัฒนธรรมไม่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตย

9.เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของ สมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้นการเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญ คือโครงสร้างพรรคการเมืองรูปแบบใด
(1) พรรคแบบคณะกรรมาธิการ
(2) พรรคแบบมีสาขาพรรค
(3) พรรคแบบแบ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในรูปเซลล์
(4) พรรคแบบพลพรรค
(5) พรรคแบบเสรีนิยม
ตอบ 1 หน้า 222 – 223 พรรคแบบคณะกรรมาธิการ เป็นพรรคที่ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนน้อย ไม่ต้องการขยายฐานสมาชิกออกไปมากนัก เน้นคุณภาพของสมาชิกมากกว่าปริมาณ และเน้น การเลือกตั้งเป็นส่วนสําคัญแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางการเมืองอื่น ๆ พรรคแบ แบบนี้ มักตั้งขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นนําเพื่อเป็นช่องทางในการเข้าสู่อํานาจทางการเมือง ไม่ได้ขยายฐานสู่ประชาชน

10. รัฐบาลเกาหลีเหนือ คือระบอบเผด็จการรูปแบบใด
(1) Totalitarianism
(2) Authoritarianism
(3) Benevolent Dictatorship
(4) Theocracy
(5) Aristocracy
ตอบ 1 หน้า 170 เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) เป็นรูปแบบของระบอบเผด็จการที่เข้มข้น คือ รัฐบาลทําการควบคุมการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกด้านทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตัวอย่างของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของ สหภาพโซเวียต รัฐบาลจีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง รัฐบาลนาซีเยอรมัน รัฐบาลฟาสซิสต์ของอิตาลี รัฐบาลเกาหลีเหนือ เป็นต้น

11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์
(1) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับสถานที่
(2) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
(3) โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยมไร้พรมแดน
(4) โลกยุคโลกาภิวัตน์มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 281 – 285 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายว่า สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะ สําคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของการกระชับแน่นระหว่างเวลากับ สถานที่
2. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่เส้นแบ่งต่าง ๆ ที่เคยมั่นคงชัดเจนเกิดความไม่ชัดเจน นําไปสู่การลากเส้นแบ่งใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
3. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของสังคมความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
4. โลกยุคโลกาภิวัตน์มีปัญหาและความขัดแย้งแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
5. โลกยุคโลกาภิวัตน์มีการก่อการร้ายและการทําสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นความจริง ชุดใหม่
6. โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางอันเกิดจากทุนนิยม ไร้พรมแดน

12. ยุคเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตันเกี่ยวข้องกับ
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 4 หน้า 238 – 250 แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาในแต่ละยุค มีดังนี้
1. ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา เน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก
2. การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 เน้นการทําให้เป็น
อุตสาหกรรม
3. การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980 เน้นการทําให้ทันสมัย ซึ่งคือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
4. การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000 เน้นแนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน
5. การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องของวิกฤติความชอบธรรมของ แนวคิดเสรีนิยมใหม่หรือฉันทามติวอชิงตัน การพัฒนาทางเลือกหรือความหลากหลายของการพัฒนา

13. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 วิธีการเปรียบเทียบของเชวอร์สกีและเทิร์น (Przeworski and Teune) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) มี 2 วิธี คือ
1. วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความแตกต่างของมิลล์
2. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด (Most Different Systems : MDS) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวิธีการพิจารณาความเหมือนของมิลล์

14. ข้อใดเป็นหน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง
(1) ระบบการเมือง
(2) สถาบันทางการเมือง
(3) รัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 38 หน่วยวิเคราะห์ในระดับโครงสร้าง เป็นหน่วยวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ต่าง ๆ ในสังคม เช่น ระบบการเมือง รัฐ ชนชั้น สถาบันทางการเมือง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ในระดับนี้จะมีความเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้น มีอิทธิพลต่อการกระทําของมนุษย์และการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม พฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้มีเสรีภาพมากนัก แต่จะแสดงออกมาภายใต้กรอบของโครงสร้างดังกล่าว

15. นักวิชาการคนใดมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) แม็กซ์ เวเบอร์
(5) สค็อกโพล
ตอบ 5 หน้า 117, 130, 156 เธดา สค็อกโพล (Theda Skocpot) และปีเตอร์ อีแวน (Peter Evans) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกระแสการนํารัฐกลับเข้ามาสู่การศึกษาทางการเมือง โดยทั้งสองได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “Bringing the State Back In” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนํามาใช้ เป็นกระแสการเรียกร้องให้รัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนกล่องดํา คือเป็นที่รวมของอํานาจที่กลุ่ม ต่าง ๆ ใช้ในการต่อรอง แย่งชิง ผลักดันนโยบายสาธารณะให้สอดคล้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน กลับเข้ามาสู่การเป็นศูนย์กลางของการวิเคราะห์ทางการเมือง

16. เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมืองคือข้อใด
(1) หาเกณฑ์เชิงปทัสถาน
(2) ค้นหาสิ่งที่พึงประสงค์ทางการเมือง
(3) สร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 3, (คําบรรยาย) การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาการเมือง เน้นการศึกษาสิ่งที่ควร จะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การค้นหาเกณฑ์เชิงปทัสถานหรือสิ่งที่ พึงประสงค์หรือสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เหมาะสมในทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือระบอบการ ปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี รัฐที่ดี กฎหมายที่ดี เพื่อเสนอแนะหลักปฏิบัติทางการเมืองที่ถูกต้อง ชอบธรรม มีจรรยาบรรณ อุดมคติ หรือค่านิยมคอยกํากับ ทําให้การศึกษาในยุคนี้เชื่อมโยง อยู่กับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม และไม่ได้แยกเรื่องค่านิยมออกจากองค์ความรู้ทางการเมือง

17. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ Small-Ns
(1) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
(2) เน้นศึกษาน้อยกรณี
(3) เน้นตีความหรือทําความเข้าใจความหมาย
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 70 Small-Ns คือ การศึกษาน้อยกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องของ การตีความหรือทําความเข้าใจความหมายอย่างรอบด้านหรือในลักษณะองค์รวม เพื่อทําความ
เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นที่ศึกษาในกรณีนั้น ๆ

18. “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวมของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Andrew Heywood
(3) Max Weber
(2) Joel Migdal
(4) Gaetano Mosca
(5) Anthony Giddens
ตอบ 3 หน้า 146 แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ได้ให้นิยามคําว่ารัฐไว้ว่า “รัฐสมัยใหม่คือแหล่งรวม ของอํานาจบังคับที่มีการจัดองค์การสําหรับครอบงําสังคม” (a compulsory association which organizes domination)

19. รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเอง คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นน่านิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 1 หน้า 148 รัฐในความหมายเชิงนามธรรม หมายถึง รัฐเป็นองค์รวมทางจิตวิญญาณที่มีเจตจํานงและเป้าหมายของตนเองแยกออกมาและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจเจกบุคคล มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งรัฐจะนําพามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ โดยที่มนุษย์จะต้องเชื่อฟังรัฐ

20. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงทฤษฎีในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 82 ทฤษฎี (Theory) คือ ชุดของคําอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของความสัมพันธ์เชิง เหตุ-ผล (Causal Relations) ของปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ศึกษา หรือเรียกอีกอย่างว่า ชุดของคําอธิบายความสัมพันธ์เชิงปัจจยาการ

21. ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โครงสร้างใดทําหน้าที่รวบรวมผลประโยชน์
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) รัฐบาล
(4) รัฐสภา
(5) ศาล
ตอบ 2 หน้า 93 – 94 ตามทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่นั้น แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) อธิบายว่า โครงสร้างทางการเมืองแต่ละอย่างสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ แม้ใน ระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วจะมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมาทําหน้าที่เฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะทําแค่หน้าที่เดียว เพราะโครงสร้างในทุกระบบการเมืองจะทําหน้าที่ หลาย ๆ อย่างเสมอ เช่น พรรคการเมืองมีหน้าที่หลักในการรวบรวมผลประโยชน์และเลือกสรร ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองก็ทําหน้าที่อื่น ๆ เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับ ประชาชน ให้การศึกษาทางการเมือง เป็นต้น

22. วิธีการเปรียบเทียบแบบ MSS และ MDS พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) Przeworski and Teune
(2) John Stuart Mill
(3) Antonio Gramsci
(4) Ragin and Rubinson
(5) Anthony Giddens
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

23. ข้อใดคือชื่อเรียกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
(1) Parliament
(2) Assembly
(3) Congress
(4) Diet
(5) State Duma
ตอบ 3 หน้า 172 สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นสถาบันที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมายโดยสถาบันนิติบัญญัตินี้มีทั้งในประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ และมีชื่อเรียก แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ เรียกว่า Parliament
2. ฝรั่งเศส เรียกว่า Assembly
3. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Congress
4. ญี่ปุ่น เรียกว่า Diet
5. ไทย เรียกว่า รัฐสภา

24. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐนิยม (Statist Model)
(1) มีคําอธิบายรัฐนิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson
(2) เกิดจากการผลักดันของ Theda Skocpol และ Peter Evans
(3) รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจน้อยที่สุด
(4) รัฐในมุมมอง Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น
(5) ฐานคิดสําคัญคือรัฐจะมีบทบาทเสมอในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 156 – 158, (คําบรรยาย) อนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้อธิบายรัฐนิยมโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม Theda Skocpol กลุ่ม Eric Nordlinger และกลุ่ม Linda Weiss กับ John Hobson ซึ่งจาก 3 กลุ่มนี้ รัฐในมุมมองของ Eric Nordlinger มีอิสระในการใช้อํานาจสูงที่สุด รองลงมาคือ รัฐในมุมมองของ Theda Skocpot และรัฐในมุมมองของ Linda Weiss กับ John Hobson มีอิสระเพียงบางส่วนเท่านั้น

25. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบ
(1) ต้องเปรียบเทียบกรณีมากกว่า 1 ประเทศเท่านั้น
(2) ศึกษาประเทศเดียวก็ได้
(3) การเปรียบเทียบระดับโลกเป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุด
(4) การเปรียบเทียบกรณีศึกษาหลายประเทศทําให้ได้ข้อมูลเชิงลึกละเอียดที่สุด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 40 – 41 การเลือกกรณีศึกษาในการเปรียบเทียบสามารถเลือกศึกษาประเทศเดียวก็ได้ ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะเป็นประเด็นใดประเด็นหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ภายในประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ศึกษาเฉพาะสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ๆ เช่น พรรคการเมือง สถาบันทหาร รัฐสภา กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเลือกศึกษาประเทศเดียวนี้จะง่ายต่อ ผู้ศึกษารุ่นใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะมาก

26. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตย
(1) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาเศรษฐกิจ นักวิชาการคนสําคัญ คือ Lipset
(2) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Shedler
(3) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตย คือ วัฒนธรรมแบบพลเมือง
(4) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations เป็นผลงาน ชิ้นสําคัญของ Almond กับ Verba
(5) เงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเงื่อนไขทางสังคม นักวิชาการคนสําคัญ คือ Barrington
Moore Jr.
ตอบ 2 หน้า 252 – 253 นักวิชาการคนสําคัญที่เห็นว่าเงื่อนไขของการพัฒนาประชาธิปไตยคือวัฒนธรรม คือ แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ซึ่งได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations” ว่า “การนําระบอบประชาธิปไตยไปปรับใช้ในประเทศกําลังพัฒนา นอกจาก การสร้างสถาบันแบบประชาธิปไตยหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว สิ่งที่สําคัญไม่แพ้กันก็คือการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองที่สอดคล้องกับการทํางานของโครงสร้างเชิงสถาบันในระบอบประชาธิปไตย…”

27. รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาที่เรียกว่าประธานาธิบดี
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 2 หน้า 151 สาธารณรัฐ (Republic) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นคนธรรมดาหรือเป็นผู้นําทางศาสนา รัฐแบบนี้พบได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย (เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี อินเดีย) คอมมิวนิสต์ (เช่น จีน เวียดนาม) และรัฐที่ปกครองโดยหลักศาสนา (เช่น อิหร่าน)

28. หนังสือปรัชญาการเมืองเล่มใดถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ
(1) The Prince
(2) Democracy in America
(3) Politics
(4) The Spirit of Laws
(5) The City of God
ตอบ 3 หน้า 3 – 4, (คําบรรยาย) หนังสือปรัชญาการเมืองเรื่อง “Politics” ของอริสโตเติ้ล (Aristotle) สะท้อนให้เห็นการใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่อการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางการเมือง ที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการได้มาขององค์ความรู้ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการนําเอา กฎหมายปกครองของรัฐต่าง ๆ จํานวนมากถึง 158 รัฐมาเปรียบเทียบเพื่อดูว่าในโลกนี้มีรูปแบบ การปกครองกี่รูปแบบ และแบ่งว่ารูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบที่ดีและรูปแบบใดบ้างเป็นรูปแบบ ที่เลว ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นงานเริ่มต้นของการศึกษาโดยการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ

29. “พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา” (Methodological Pluralism) สอดคล้องกับข้อใด
(1) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(2) ยุคหลังสมัยใหม่
(3) Nest Analysis
(4) Mixed Method
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 74 – 75, 140 พหุนิยมของระเบียบวิธีการศึกษา (Methodological Pluralism) เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือยุคหลังสมัยใหม่ เป็นการศึกษาที่มีความหลากหลาย ทั้งในเชิงระเบียบวิธีวิจัยซึ่งอาจใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) หรือ “การวิเคราะห์ ประสานกันแบบรังนก” (Nest Analysis) และมีการขยายขอบเขตของการศึกษาครอบคลุม ทั้งเรื่องของการเมืองที่เป็นทางการ การเมืองที่ไม่เป็นทางการ ตลอดจนการเมืองในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องของอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภาคประชาสังคม รวมถึง เรื่องปฏิสัมพันธ์ของการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

30. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Common
(2) ใช้ระบบสภาเดียว คือ House of Representative
(3) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Common
(4) ใช้ระบบ 2 สภา คือ Senate กับ House of Representative
(5) ใช้ระบบ 2 สภา คือ House of Lord กับ House of Representative
ตอบ 3 หน้า 174 ระบบสองสภา (Bicamerat System) เป็นระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงและสภาล่าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ไทย เรียกว่า วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Senate กับ House of Representative
3. อังกฤษ เรียกว่า House of Lord กับ House of Common

31. “การพัฒนาทางการเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่อง ของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Pye
(2) Lipset
(3) Huntington
(4) Almond
(5) Coleman
ตอบ 3 หน้า 245 – 246 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) อธิบายว่า การพัฒนาทาง การเมืองกับความทันสมัยทางการเมืองไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนความทันสมัยทางการเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากแบบจารีตมาเป็นระบบการเมืองที่ใช้อํานาจตามเหตุผล มีการจําแนกโครงสร้างแยกย่อยและทําหน้าที่เฉพาะและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

32. อริสโตเติ้ลเห็นว่าระบอบการปกครองใดที่ถือเป็นการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่เลว
(1) โพลิตี้
(2) คณาธิปไตย
(3) ทรราช
(4) ประชาธิปไตย
(5) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 4 อริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้แบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

33. ข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อกล่าวถึงการเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์
(2) นักวิชาการรัฐศาสตร์ทําการเปรียบเทียบเนื่องจากไม่สามารถทดลองได้
(3) มีเป้าหมายสําคัญคือพัฒนาประชาธิปไตย
(4) เรียกร้องให้เกิดการยอมรับความจริงอันหลากหลาย
(5) ผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น
ตอบ 4 หน้า 21 – 22 การเมืองเปรียบเทียบในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในยุคพฤติกรรมศาสตร์ มีนัยสําคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิธีการและองค์ความรู้ทางการเมืองให้เป็นวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิชาการมองว่าการเปรียบเทียบเป็นเหมือนการทดลองทางอ้อมสําหรับการศึกษา ทางสังคมศาสตร์ที่ไม่อาจทําการทดลองได้จริง ๆ หรือดังที่โรเบิร์ต เบตส์ กล่าวว่า “เราทําการเปรียบเทียบ ก็เนื่องจากเราไม่สามารถทดลองได้”
2. เป็นสาขาวิชาที่ตั้งขึ้นมาศึกษาการเมืองในต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา) เพื่อให้เกิด ความเข้าใจและนําไปสู่การพัฒนาของประเทศเหล่านั้น (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ)

34. ข้อใดเป็นระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบ
(1) ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง
(2) ระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง
(3) ระดับผู้กระทําการ
(4) ระดับโครงสร้าง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 38 การแบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ในวิชาการเมืองเปรียบเทียบอาจมีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนักวิชาการแต่ละคน เช่น เฮคและแฮร์ร็อป (Hague and Harrop) ได้แบ่งระดับของ หน่วยวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่เน้นสถาบันเป็นศูนย์กลาง ระดับที่เน้นสังคมเป็น ศูนย์กลาง และระดับที่เน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง ส่วนอนุสรณ์ ลิ้มมณี ได้แบ่งระดับของหน่วยวิเคราะห์ ออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโครงสร้าง และระดับผู้กระทําการ

35. “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมืองที่มีบทบาทสําคัญมีความตระหนักร่วมกันว่าไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง” เป็นคําอธิบายการสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 ฮวน ลินซ์ (Juan Linz) ได้กําหนดนิยามของการสร้างความมั่นคงยั่งยืน ให้กับประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตยที่มั่นคงยั่งยืนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแสดงทางการเมือง ที่มีบทบาทสําคัญไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กองทัพ หรือสถาบันอื่น ๆ มีความตระหนักร่วมกันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นใดในระบอบการปกครองนอกจากประชาธิปไตยและไม่มีสถาบันหรือกลุ่มการเมืองใดจะมีอํานาจในการยับยั้งการดําเนินงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง… หรือหากกล่าวอย่างง่ายที่สุด ประชาธิปไตยต้องถูกมองว่าเป็นเกมเดียวในเมือง (The Only Game in Town)”

36. ข้อใดไม่ใช่สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
(1) นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
(2) ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
(3) จัดโครงสร้างองค์การและระบบการทํางานให้มีขนาดใหญ่
(4) ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
(5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
ตอบ 3 หน้า 249, (คําบรรยาย) สาระสําคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีดังนี้
1. นําเอาแนวคิดด้านการตลาดและการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ
2. ส่งเสริมให้มีระบบแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะ
3. ปรับโครงสร้างองค์การให้มีขนาดเล็กลงและลดขั้นตอนการทํางาน
4. ส่งเสริมวินัยทางการเงินการคลัง
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ฯลฯ

37. วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด คล้ายกับวิธีการใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาความแตกต่าง
(3) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(4) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

38. รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดให้ เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 4 หน้า 154 รัฐรวมศูนย์ (Collectivized State) คือ รัฐที่เข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐโดยไม่มีการเปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดถูกวางแผนและจัดการโดยรัฐ จากส่วนกลาง รวมถึงมีการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล คือ ไม่ให้เอกชนสามารถมีทรัพย์สิน ส่วนตัวได้ แต่ให้ทุกอย่างตกเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐประเภทนี้พบได้ในระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาพโซเวียต จีนในยุคเหมา เจ๋อ ตุง เป็นต้น

39. Large-Ns มีความหมายถึงสิ่งใด
(1) จํานวนศึกษาหลายกรณี
(2) การศึกษาเชิงปริมาณ
(3) มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 46 – 47, 64 Large-Ns หมายถึง จํานวนศึกษาหลายกรณี ซึ่งมักจะถูกนํามาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ซึ่งข้อดีของการศึกษาหลายกรณี มีดังนี้
1. มีจุดแข็งในการทดสอบสมมติฐานให้เข้มแข็งมากขึ้น
2. สามารถนําข้อสรุปจากการศึกษาไปใช้กับกรณีศึกษานอกกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
3. ช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ผลการวิเคราะห์มีลักษณะกลมกลืนกัน ฯลฯ

40. กรณีศึกษาแบบใดช่วยยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรได้มีประสิทธิภาพ
(1) Small-Ns
(2) การศึกษากรณีประเทศเดียว
(3) Large-Ns
(4) กรณีศึกษาตามรายประเด็น
(5) กรณีศึกษาเชิงลึก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. ประชาธิปไตยทางตรงเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) Roman
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thebes
(5) Corinth
ตอบ 2หน้า 165, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบของ ระบอบประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าไปใช้อํานาจในทางการเมืองอย่าง เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในยุคกรีกโบราณ ทั้งนี้ประชาธิปไตยรูปแบบนี้สามารถทําได้ในกรณีของรัฐที่มีประชากรจํานวนน้อย ดังนั้นในโลกปัจจุบันที่มีประชากรจํานวนมหาศาล ประชาธิปไตยทางตรงจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

42. ค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์ คือวิธีการเปรียบเทียบแบบใด
(1) วิธีการพิจารณาความเหมือน
(2) วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน
(3) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด
(4) วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่
(5) วิธีการพิจารณาระบบที่แตกต่างกันมากที่สุด
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) วิธีการพิจารณาระบบที่เหมือนกันมากที่สุด (Most Similar Systems : MSS) เป็นการค้นหาตัวแปรตัวที่ต่างกันท่ามกลางคุณสมบัติที่เหมือน ๆ กัน ที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ ออกมาแตกต่างกัน เพื่อสรุปว่าตัวแปรที่ต่างกันนั้นคือสาเหตุของปรากฏการณ์

43. แนวทางสถาบันดั้งเดิมแตกต่างกับแนวทางสถาบันนิยมใหม่ในข้อใด
(1) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ
(2) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการ
(3) แนวทางสถาบันดั้งเดิมเน้นศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 115, 118, 120 – 122 แนวทางสถาบันดั้งเดิม เน้นศึกษาสถาบันที่เป็นทางการหรือ ศึกษาสถาบันตามกรอบกฎหมาย ส่วนแนวทางสถาบันนิยมใหม่ให้ความสําคัญกับการศึกษาสถาบันที่ไม่เป็นทางการควบคู่กันไปกับการศึกษาสถาบันที่เป็นทางการ รวมถึงขยายขอบเขต ของการศึกษาไปสู่เรื่องของพฤติกรรมของตัวแสดงทางการเมือง ปัจจัยทั้งหลายที่สามารถ ส่งผลทั้งต่อตัวสถาบันและต่อพฤติกรรมทางการเมืองภายในสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ

44. การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เกิดแรงกระเพื่อมไปสู่การปฏิวัติในอียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบียและซีเรีย มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Color Revolutions
(2) Arab Spring
(3) Rose Revolution
(4) Asian Spring
(5) Tutip Revolution
ตอบ 2 หน้า 273, (คําบรรยาย) การปฏิวัติดอกมะลิในตูนีเซีย ค.ศ. 2011 เป็นการลุกฮือของ ประชาชนเพื่อต่อต้านอํานาจรัฐและระบบที่เป็นอยู่ ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทําให้เกิดแรงกระเพื่อม ไปสู่การปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ อียิปต์ เยเมน บาห์เรน ลิเบีย และซีเรีย หรือที่ เรียกกันว่า “การปฏิวัติในฤดูใบไม้ผลิในอาหรับ” หรือ “อาหรับสปริง” (Arab Spring)

45. การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด
(1) ฝรั่งเศสในช่วงสาธารณรัฐที่ 5
(2) เยอรมนีในช่วงอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(3) โปรตุเกสในช่วงหลังการปฏิวัติคาร์เนชั่น
(4) เยอรมนีในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์
(5) รัสเซียในช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
ตอบ 4 หน้า 180 การปกครองระบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา เป็นระบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในช่วงรัฐธรรมนูญไวมาร์ (ค.ศ. 1919 – 1939) แต่เป็นที่รู้จักเมื่อประเทศฝรั่งเศสนําไปใช้

46. สาขาการเมืองเปรียบเทียบถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในยุคใด
(1) ยุคสถาบัน
(2) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(3) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(4) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังสมัยใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

47. ระบบพรรคการเมืองของจีน
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 1 หน้า 219 ระบบพรรคเดียว (One-Party System) คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เท่านั้นในระบบการเมือง พบในประเทศเผด็จการทั้งในรูปแบบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ ในระบบพรรคเดียวนี้อาจมีการเลือกตั้งด้วย แต่มีผู้สมัครลงแข่งขันจากพรรคการเมืองเดียว เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบพรรคการเมืองของจีน เป็นต้น

48. รัฐเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมคือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 2 หน้า 153 รัฐเพื่อการพัฒนา (Developmental State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐอาจจะประสาน ความร่วมมือกับนายทุนระดับชาติเพื่อการดังกล่าว ทั้งนี้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเอกชนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ มากกว่าการเข้าไปขัดขวางหรือรับเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจมาดําเนินการเอง ตัวอย่างของรัฐ ประเภทนี้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น

49. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสหลัก
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 83 – 127 แนวทางการวิเคราะห์กระแสหลัก ได้แก่
1. แนวทางระบบ
2. แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
3. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล
4. แนวทางสถาบันนิยมใหม่
5. แนวทางโครงสร้าง

50. รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 4 หน้า 151 – 152 รัฐรวม (Composite State) หรือสหพันธรัฐ (Federation) คือ รัฐที่เกิดขึ้น จากการรวมกันของรัฐอธิปไตยมากกว่า 2 รัฐขึ้นไป มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นโดยการมอบ อธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลางเพื่อจัดการในเรื่องสําคัญของส่วนรวมด้วยเหตุผลในเรื่องของ การป้องกันภัยรุกราน ความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ในขณะที่แต่ละรัฐที่มารวมตัวกัน ก็ยังคงมีอธิปไตยของตนเองอยู่บางส่วน ดังนั้นรัฐรวมจึงมีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลของท้องถิ่นหรือมลรัฐ ตัวอย่างของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นต้น

51. คําอธิบายอันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”เป็นของนักวิชาการผู้ใด
(1) ไดมอนด์
(2) กิดเด้นส์
(3) ลิปเซ็ต
(4) ลาสเวลล์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 64, 67 – 68 งานของลิปเซ็ต (Lipset) เรื่อง “Political Man” เป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเป็นประชาธิปไตย โดยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการศึกษาหลายกรณี (Large-Ns) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มประเทศที่มีประชาธิปไตยมั่นคง ประชาชนจะมีรายได้สูงกว่าประเทศที่มีประชาธิปไตย ไม่มั่นคงหรือเป็นเผด็จการ จากงานชิ้นนี้ของลิปเซ็ตได้นํามาสู่ข้อสรุปเป็นคําอธิบายทั่วไป อันโด่งดังที่ว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย”

52. งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของโรเบิร์ต พุตนัมใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 4 หน้า 74 งานเรื่อง “Making Democracy Work : Civic Traditions in Modern Italy” ของ โรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) เป็นการศึกษาบทบาทของวัฒนธรรมแบบพลเมืองที่ส่งผลต่อ การทํางานของระบอบประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลระดับภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคใต้ของอิตาลี ซึ่งพุตนัมได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อสํารวจทัศนคติของพลเมือง และใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นมาของความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคในอิตาลี

53. เพราะเหตุใดแนวคิดแบบมาร์กซิสต์จึงไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคงจะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม
(1) เพราะยากที่สถาบันการเมืองจะมีความเข้มแข็ง
(2) เพราะเอกชนจะเรียกร้องให้รัฐมีบทบาทน้อย
(3) เพราะมีความเจริญทางวัตถุแต่จิตใจผู้คนตกต่ำ
(4) เพราะมีโครงสร้างที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ
(5) เพราะผู้คนไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนา
ตอบ 4 หน้า 134 – 136, (คําบรรยาย) แนวคิดแบบมาร์กซิสต์ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่มั่นคง จะเกิดขึ้นได้ในโลกทุนนิยม เพราะหัวใจสําคัญของประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมกัน แต่ใน ระบบทุนนิยมกลับมีโครงสร้างที่ทําให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ กล่าวคือ ในระบบทุนนิยมนั้น ชนชั้นที่ออกแรงผลิตคือชนชั้นแรงงาน แต่ชนชั้นนายทุนกลับรีบเอามูลค่าที่ชนชั้นแรงงานผลิตได้ ไปเป็นของตน ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวทําให้เกิด “ชนชั้นผู้ได้เปรียบ” กับ “ชนชั้นผู้เสียเปรียบ” ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

54. ระบบพรรคที่มี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ เช่น เยอรมนี ออสเตรีย และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วน มีเสียงจํานวนหนึ่งแต่ไม่พอจะจัดตั้งรัฐบาล
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 4 หน้า 221, (คําบรรยาย) ระบบกึ่ง 2 พรรค (Two-and-a-Half-Party System) คือ การมี 2 พรรคใหญ่ผลัดกันขึ้นสู่อํานาจ และมีพรรคขนาดเล็กอีกบางส่วนมีเสียงจํานวนหนึ่ง แต่ไม่พอจะจัดตั้งรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในโปรตุเกส สเปน กรีซ เยอรมนี ออสเตรีย เป็นต้น

55. แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทางของยุคใด
(1) ยุคปรัชญา
(2) ยุคสถาบัน
(3) ยุคเปลี่ยนผ่าน
(4) ยุคพฤติกรรมศาสตร์
(5) ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 108 – 109 แนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) เป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มถูกนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ทางการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็น ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ดังนั้นแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มแนวทาง หรือทฤษฎีในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ในกระแสหลักที่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความเป็นศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ในทางการเมือง

56. งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของมัวร์ จูเนียร์ ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Mixed Method
(5) เชิงสถิติ
ตอบ 2 หน้า 72 งานเรื่อง “Social Origins of Dictatorship and Democracy” ของแบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์ (Barrington Moore Jr.) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการศึกษาน้อยกรณี (Small-NS) ซึ่งงานชิ้นนี้มัวร์ได้สร้างคําอธิบายใหม่ที่แตกต่างจากคําอธิบายเดิมที่มักบอกว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสู่การเป็นประชาธิปไตย โดยมีการอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น พิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรต้นจํานวนมากขึ้นทั้งในส่วนของชนชั้นทางสังคม โครงสร้างทาง เศรษฐกิจ อํานาจรัฐ ตลอดจนพิจารณาถึงปฏิสัมพันธ์กันเองของตัวแปรต้นต่าง ๆ ควบคู่กันไป กับการพิจารณาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งนําไปสู่ข้อสรุปที่โด่งดังที่ว่า “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย”

57. รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นน่านิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 2 หน้า 148 – 149 รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม หมายถึง รัฐเป็นแหล่งรวมของชนชั้นนําที่มีอํานาจเหนือคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม

58. ในทฤษฎีระบบการเมือง ปัจจัยนําเข้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ข้อเรียกร้องความต้องการและการสนับสนุน
(2) รัฐบาลและรัฐสภา
(3) พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
(4) นโยบายและการปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 89 – 90 ในทฤษฎีระบบการเมืองนั้น เดวิด อีสตัน (David Easton) อธิบายว่า “ระบบการเมือง” (Political System) เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ซึ่งทําหน้าที่อยู่ภายใต้ “สิ่งแวดล้อม” (Environment) โดยจะมี “ปัจจัยนําเข้า (Inputs) ซึ่งประกอบด้วย ข้อเรียกร้อง ความต้องการ (Demands) และการสนับสนุน (Supports) จากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ระบบการเมือง แล้วระบบการเมืองก็จะทําหน้าที่ในการตัดสินใจแปลงปัจจัยนําเข้าดังกล่าวเป็น “ปัจจัยนําออก” (Outputs) ในรูปของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายต่าง ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม และผลจากการทํางานของระบบการเมืองก็จะเกิดเป็น “ผลสะท้อนกลับ” (Feedback) กลับเข้าไปเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง

59. รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 4 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงองค์การ หมายถึง รัฐคือองค์ประกอบของสถาบันต่าง ๆ ที่รวมกันขึ้นเป็นองค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการปกครองทั้งหลาย

60.1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน แล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนพึงมีในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 5 หน้า 200 ระบบเสียงข้างมากธรรมดา หนึ่งเขตมีตัวแทนมากกว่าหนึ่งคน (Multi-Member District/Constituencies : MMD) หรือระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block Voting : BV) เป็น ระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ใน 1 เขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คนแล้วแต่ว่าจํานวนผู้แทนจึงมี ในเขตนั้นว่ามีได้กี่คนขึ้นอยู่กับจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น 2 คน หรือ 3 คน โดยผู้เลือกตั้งสามารถ เลือกผู้สมัครได้ตามจํานวนผู้แทนในแต่ละเขต ซึ่งอาจเลือกจากพรรคเดียวกันเรียงเบอร์ไปเลย หรือจะเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคก็ได้ หรือหากประสงค์เลือกเพียงเบอร์เดียวก็ได้ ผู้ที่ได้คะแนน สูงสุดเรียงตามลําดับจนครบตามจํานวนผู้แทนจึงมีก็จะได้เป็นผู้แทนในเขตนั้น ๆ

61. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 1 หน้า 178 การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการปกครองที่มีการแบ่งแยกอํานาจเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารบนหลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายนิติบัญญัติและ ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารจึงแยกอิสระจากกันค่อนข้างสูง แต่ก็มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

62. ยุคที่มองว่าการทําให้ทันสมัย คือ การทําให้เป็นประชาธิปไตย
(1) ยุคเริ่มต้นของการพัฒนา
(2) การพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(3) การพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1980
(4) การพัฒนาในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000
(5) การพัฒนาในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

63. กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจ อิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น คือระบบกลุ่มผลประโยชน์แบบใด
(1) Democratic Corporatist Interest Group System
(2) Controlled Interest Group System
(3) Pluralist Interest Group System
(4) Institutional Group System
(5) Public Interest Group System
ตอบ 3 หน้า 232 ระบบพหุนิยม (Pluralist Interest Group System) กลุ่มผลประโยชน์ในระบบนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ในสังคมที่แต่ละกลุ่มมีอํานาจอิสระของตนเอง โดยไม่มีกลุ่มใดมีอํานาจเหนือกลุ่มอื่น แต่จะหมุนเวียนกันไปมีบทบาทหลักในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของกลุ่มตน เมื่อเป็นประเด็นอื่นก็จะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่นเข้าไป มีบทบาทหลักแทน ระบบกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวนี้พบมากในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

64. “ไม่มีชนชั้นนายทุน ไม่มีประชาธิปไตย” เป็นคํากล่าวของนักวิชาการคนใด
(1) แกเบรียล อัลมอนด์
(2) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(3) เธดา สค็อกโพล
(4) แบร์ริงตัน มัวร์ จูเนียร์
(5) โรเบิร์ต ดาห์ล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

65. การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันเป็นไปเพื่อเป้าหมายใด
(1) ถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป
(2) สร้างรัฐสมัยใหม่
(3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยม
(4) พัฒนาตัวแบบทางการปกครอง
(5) ข้อ 1 และ 4 ลูก
ตอบ 5 หน้า 8 การศึกษาเปรียบเทียบในสหรัฐอเมริกาในยุคสถาบันมีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาของระบบการปกครองที่มีความก้าวหน้าในยุโรป เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตัวแบบ
ทางการปกครอง

66. ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 2 หน้า 202 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority Electoral System) เป็นระบบที่ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่หรือสะท้อนเจตนารมณ์ของ ประชาชนอย่างแท้จริง ระบบนี้โดยทั่วไปจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน

67. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นสถาบันของฮันทิงตัน
(1) ความสามารถในการปรับตัว
(2) การแบ่งโครงสร้างทําหน้าที่เฉพาะ
(3) ความรวดเร็วในการทํางาน
(4) ความเป็นอิสระในตนเอง
(5) ความเป็นปึกแผ่น
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Huntington) ได้เสนอตัวชี้วัดความเป็น สถาบัน ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
2. การแบ่งโครงสร้างแยกย่อยลงไปและทําหน้าที่เฉพาะ (Complexity)
3. ความเป็นอิสระในตนเอง (Autonomy) 4. ความเป็นปึกแผ่น (Coherence)

68. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ Subject
(1) เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง
(2) เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก
(3) เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ปฏิบัติ
(4) เป็นการเมืองแบบใช้เหตุผล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 102, (คําบรรยาย) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมืองหรือ แบบไพร่ฟ้า (Subject) เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนสนใจข่าวสาร มีความรู้เกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีอํานาจทางการเมือง เรื่องของ การเมืองเป็นเรื่องของผู้นํา ดังนั้นลักษณะของวัฒนธรรมแบบนี้จึงเป็นความสัมพันธ์แบบ บนลงล่าง การเมืองเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและกฎเกณฑ์ปฏิบัติมากกว่าที่จะเป็น การเมืองแบบใช้เหตุผล

69. ปัจจัยใดที่คาร์ล มาร์กซ์ ให้ความสําคัญที่สุดเมื่อวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง
(1) อํานาจของกฎหมาย
(2) โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจ
(3) การครอบงําทางความคิดผ่านทางศาสนา
(4) แสนยานุภาพทางทหาร
(5) อํานาจของรัฐในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ตอบ 2 หน้า 134 – 135 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist Theory) กําเนิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างถึงรากถึงโคน หรือก็คือ ปฏิเสธระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง โดยการวิเคราะห์ของมาร์กซ์นั้นในทางหนึ่งเป็นการ วิเคราะห์เชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์พัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ แต่หัวใจหลักอยู่ที่การใช้ โครงสร้างอํานาจในระบบเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อํานาจทางการเมือง

70. “ความตื่นตัวของประชาชนในตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริงไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในคลื่นลูกที่ 4” จากข้อความดังกล่าวเป็นคําอธิบายโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Andreas Shedler
(2) Larry Diamond
(3) Juan Linz
(4) Samuel Huntington
(5) Dankwart Rustow
ตอบ 2 หน้า 293 ลาร์รี่ ไดมอนด์ (Larry Diamond) อธิบายว่า ความตื่นตัวของประชาชนใน ตะวันออกกลางที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอํานาจเผด็จการในปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์ ตูนีเซีย เป็นภาพสะท้อนสําคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่ 4

71. รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือรัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังการทําสนธิสัญญาฉบับใด
(1) Treaty of Ulm 1647
(2) Treaty of Concordia 1648
(3) Treaty of Zboriv 1649
(4) Treaty of Westphalia 1648
(5) Treaty of Breda 1650
ตอบ 4 หน้า 147 รัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ รัฐที่เกิดขึ้นในยุโรปภายหลังจากการทําสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในยุโรปในปี ค.ศ. 1648 ซึ่งก่อให้เกิดรัฐสมัยใหม่ อันประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ดินแดนที่แน่นอน (Territory) ประชากร (Population) รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

72. หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power) คือรูปแบบการปกครองของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใด
(1) Presidential System
(2) Semi-Presidential System
(3) Semi-Parliamentary System
(4) Parliamentary System
(5) Presidential-Parliamentary System
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีการแยกอํานาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ แบบไม่เด็ดขาด การใช้อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันตาม หลักการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Power)

73. การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) การเมืองเปรียบเทียบ
(2) การปกครองเปรียบเทียบ
(3) ปรัชญาเปรียบเทียบ
(5) ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ
(4) ทฤษฎีเปรียบเทียบ
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 8 การศึกษาเปรียบเทียบในยุคปรัชญาและยุคสถาบันอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “การปกครองเปรียบเทียบ”

74. แนวทางการวิเคราะห์ใดจัดอยู่ในกลุ่มแนวทางกระแสวิพากษ์
(1) แนวทางระบบ
(2) แนวทางวัฒนธรรมทางการเมือง
(3) แนวทางสถาบันนิยมใหม่
(4) แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, 107, 134, 140 แนวทางการวิเคราะห์กระแสวิพากษ์ ได้แก่
1. แนวทางการเมืองวัฒนธรรม
2. แนวทางมาร์กซิสต์
3. แนวทางมาร์กซิสต์ใหม่ (ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ)
4. แนวทางหลังสมัยใหม่หรือแนวทางหลังโครงสร้างนิยม

75. ตามแนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล คําว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผลหมายถึงข้อใด
(1) จะทําการใดต้องมีการคํานวณ
(2) คิดถึงประโยชน์ได้เสีย
(3) แสวงหาประโยชน์สูงสุด
(4) หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 110, (คําบรรยาย) แนววิเคราะห์การเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Approach) มีสมมติฐานสําคัญคือ มนุษย์ทุกคนมีเหตุมีผล ซึ่งคําว่ามีเหตุมีผลหมายถึง มนุษย์ทุกคนเวลา จะทําการใดจะต้องคํานวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์ อย่างไร หรือคํานวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากทางเลือกแต่ละทาง โดยมนุษย์จะตัดสินใจเลือก ทางเลือกที่ได้ประโยชน์สูงสุด และหลีกเลี่ยงทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์มากที่สุดหรือหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากทางเลือกที่จะทําให้เสียประโยชน์นั่นเอง

76. นักวิชาการคนใดเสนอแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม
(1) หลุยส์ อัลธูแซร์
(2) เออร์เนสโต ลาเคลา
(3) ซองทัล มูฟ
(4) ชาร์ค แดร์ริดา
(5) มิเชล ฟูโกต์
ตอบ 5 หน้า 140 – 143 แนวคิดที่สําคัญของนักวิชาการในยุคหลังสมัยใหม่ มีดังนี้
1. แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
2. แนวคิดการรื้อสร้างของชาร์ค แดร์ริดา (Jacques Derrida)
3. แนวคิดมายาคติของโรลอง บาร์ต (Roland Barthes)
4. แนวคิดการครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรมและแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกของ เออร์เนสโต ลาเวลาและของทัล มูฟ (Ernesto Laclau and Chantal Mouffe) ฯลฯ

77. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ (Approach)
(1) กําหนดระดับของการอธิบาย
(2) เป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ ในการศึกษา
(3) ชุดคําอธิบายเชิงปัจจยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 80 – 81, 143 แนวทางการศึกษาหรือแนวทางการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบเค้าโครงในการศึกษาที่จะเป็นตัวกําหนดระดับของการอธิบาย วิธีการในการศึกษาตลอดจนทฤษฎีที่จะใช้ในการศึกษา โดยแนวทางการศึกษาโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรอบเค้าโครงกว้าง ๆ โดยไม่มีการลงลึกในส่วนของตัวแบบในการอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และในแต่ละ แนวทางการศึกษาจะประกอบด้วยทฤษฎีย่อย ๆ อยู่ด้วย

78. แนวคิดสําคัญของอันโตนิโอ กรัม คือแนวคิดใด
(1) การปฏิวัติทางชนชั้น
(2) วาทกรรม
(3) การครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์
(4) พหุวัฒนธรรม
(5) การครองความเป็นจ้าวทางวาทกรรม
ตอบ 3 หน้า 137 – 138 อันโตนิโอ กรัมซี (Antonio Gramsci) ได้เสนอแนวคิด “การครองความเป็น จ้าวทางอุดมการณ์” (Hegemony) โดยอธิบายว่า โครงสร้างส่วนบนแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ สังคมการเมืองและสังคมประชา ชนชั้นที่ต้องการมีอํานาจเหนือสังคมอย่างเบ็ดเสร็จต้องสามารถครองอํานาจได้ในทั้งสองพื้นที่ในฐานะผู้ครองความเป็นจ้าวทางอุดมการณ์ และกรัมที่ได้ให้น้ำหนักไปที่การครอบงําทางความคิดอย่างมาก เนื่องจากการที่ชนชั้นหนึ่งจะมีชัยชนะขั้นเด็ดขาดและ สมบูรณ์เหนือสังคมได้ ชนชั้นนั้นต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม

79. งานของลิปเซ็ตเรื่อง “Political Man” ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบใด
(1) เชิงปริมาณ
(2) เชิงคุณภาพ
(3) Large-Ns
(4) Small-Ns
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

80. แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลคือ
(1) ความเสียสละ
(2) ผลประโยชน์ส่วนบุคคลงชาติ
(3) ผลประโยชน์ขอ
(4) ความหลากหลาย
(5) ความเท่าเทียม

ตอบ 2 หน้า 109 แกนกลางของการวิเคราะห์ของแนวทางการเลือกอย่างมีเหตุมีผลตั้งอยู่บน สมมติฐานหลัก 2 ตัว คือ ความมีเหตุมีผล (Rationality) กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Self-Interest)

81. พบในสหภาพโซเวียตในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian State) คือ รัฐที่เข้าแทรกแซงเหนือสังคม ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กระทั่งการใช้ชีวิตในทุกด้าน โดยไม่ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นรัฐที่มีอํานาจ สูงที่สุด ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ รัฐประเภทนี้พบในสหภาพโซเวียต ในยุคโจเซฟ สตาลิน เยอรมนียุคฮิตเลอร์ อิตาลียุคมุสโสลินี และเกาหลีเหนือ

82. ระบบพรรคการเมืองที่ส่งผลต่อการจัดตั้งรัฐบาลผสม
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System.
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 5 หน้า 220 ระบบหลายพรรค (Multiparty System) คือ การมีพรรคการเมืองหลายพรรค ต่อสู้แข่งขันกันโดยไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมาก และอาจต้อง จัดตั้งรัฐบาลผสม ระบบเช่นนี้อาจมีข้อดีคือเกิดความหลากหลายในทางอํานาจ แต่มีข้อเสียคือ การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความขัดแย้งและหาข้อตกลงกันไม่ได้

83. นักวิชาการผู้ใดมีอิทธิพลต่อแนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ
(1) พูลันต์ซาส
(2) นิธิ เอียวศรีวงศ์
(3) พาเรโต
(4) ซี. ไรท์ มิลล์
(5) คาร์ล ป๊อปเปอร์
ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) นิคอส พลันต์ซาส (Nicos Poulantzas) เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลต่อ แนวทางโครงสร้างที่เน้นศึกษารัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ อันเป็นผล
มาจากกระแสการนํารัฐกลับมาเป็นแกนกลางในการศึกษาทางการเมือง

84. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงวิชาการเมืองเปรียบเทียบในปัจจุบัน
(1) มุ่งหาทฤษฎีทั่วไป
(2) มุ่งสร้างศาสตร์บริสุทธิ์
(3) รวมเรียกว่าการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
(4) ศึกษาการเมืองนอกสหรัฐฯ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 25 ในปัจจุบันเราอาจเรียกวิชาการเมืองเปรียบเทียบโดยนําเอาคําว่าการปกครอง เข้ามารวมด้วยเป็น “การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ” เนื่องจากเรื่องของการปกครอง ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการเมืองเปรียบเทียบ อีกทั้งความหมายของการเมืองหรือความหมายของการปกครองเองก็ขยายออกไปกว้างขวางอย่างมากในปัจจุบันจนกล่าวได้ว่าเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอํานาจก็ถือว่าเป็นเรื่องของการเมืองทั้งสิ้น

85. รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้
(1) Kingdom State
(2) Republic
(3) Unitary State
(4) Composite State
(5) Minimal State
ตอบ 1 หน้า 150 – 151 รัฐราชอาณาจักร (Kingdom State) คือ รัฐที่มีประมุขเป็นกษัตริย์ ซึ่งอาจจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตยก็ได้ ซึ่งรัฐราชอาณาจักรเกือบทั้งหมดในปัจจุบันก็ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น มาเลเซีย กัมพูชา เบลเยียม ไทย เป็นต้น

86. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใดเอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
(1) Parochial
(2) Subject
(3) Participant
(4) Civic Culture
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 102 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และซิดนีย์ เวอร์บา (Sidney Verba) ได้แบ่ง วัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ แบบคับแคบ (Parochiat) แบบไพร่ฟ้า (Subject) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) ซึ่งในความคิดเห็นของทั้งสองมองว่า วัฒนธรรมทางการเมือง ที่เอื้อต่อการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่ต้องเป็นวัฒนธรรมทาง การเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทั้ง 3 แบบอย่างลงตัว ซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม แบบพลเมือง” (Civic Culture) อันเป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมือง แต่ก็ไม่มากจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

87. รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม คือรัฐในความหมายใด
(1) รัฐในความหมายเชิงนามธรรม
(2) รัฐในความหมายของทฤษฎีชนชั้นนํานิยม
(3) รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่
(4) รัฐในความหมายเชิงองค์การ
(5) รัฐในฐานะเครื่องมือสร้างประโยชน์แก่สังคม
ตอบ 3 หน้า 149 รัฐในความหมายเชิงการทําหน้าที่ หมายถึง รัฐเป็นชุดของสถาบันที่เกิดขึ้นเพื่อบทบาทและหน้าที่ในสังคม โดยเฉพาะหน้าที่ในการรักษาระบบระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม

88. ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับเลือกโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 1 หน้า 200 ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา หรือระบบพหุนิยม (Plurality Electoral System) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกตั้งแบบเขต โดยในแต่ละเขตผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ได้รับเลือกโดยไม่คํานึงว่าจะได้เสียงเกินหนึ่งหรือไม่ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก

89. วิธีการเปรียบเทียบในวิชาการเมืองเปรียบเทียบถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใด
(1) สกัดหาตัวแปรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา
(2) หาสิ่งที่พึงประสงค์
(3) การแข่งขันระหว่างประเทศ
(4) สร้างความได้เปรียบ
(5) สร้างจริยธรรมทางการปกครอง
ตอบ 1 หน้า 50 วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการที่ต้องเลือกมาใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อสร้างคําอธิบาย ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเงื่อนไขหรือปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ กับผลลัพธ์ที่ศึกษา หรือ กล่าวอีกนัยคือ วิธีการเปรียบเทียบ คือ วิธีการสําหรับนํามาใช้เพื่อสกัดหาตัวแปรหรือเงื่อนไข ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ศึกษา

90. “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” เป็นคํากล่าวของใคร
(1) มาร์กซ์
(2) ทิลลี่
(3) ไชยวัฒน์ ค้ำชู
(4) อดอร์โน
(5) เดอร์ไคม์
ตอบ 2 หน้า 128 แนวทางโครงสร้างเชิงประวัติศาสตร์ จะเน้นวิเคราะห์ความเป็นมาของโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น พัฒนาการของการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในโลกตะวันตก พัฒนาการของระบบ ทุนนิยม พัฒนาการของยุคอุตสาหกรรม พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่ พัฒนาการของการเข้าสู่ ระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพใหญ่ของพัฒนาการ ตลอดจน ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ศึกษาดังที่ชาร์ล ทิลลี่ (Charles Tilty) เรียกว่า “การเปรียบเทียบขนาดยักษ์” ของ “โครงสร้างขนาดใหญ่” และ “กระบวนการใหญ่”

91. นักวิชาการผู้ใดเป็นผู้เสนอวิธีการหลักในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยม
(1) คาร์ล มาร์กซ์
(2) จอห์น ล็อค
(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(4) มาร์ติน ลิปเซ็ต
(5) เดวิด อีสตัน
ตอบ 3 หน้า 50 – 57, (คําบรรยาย) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ได้เสนอวิธีการหลัก ในการเปรียบเทียบที่เป็นที่นิยมไว้ 4 วิธีการ คือ
1. วิธีการพิจารณาความเหมือน (Method of Agreement)
2. วิธีการพิจารณาความแตกต่าง (Method of Difference)
3. วิธีการพิจารณาปัจจัยที่เหลืออยู่ (Method of Residues)
4. วิธีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดควบคู่กัน (Method of Concomitant Variation

92. การครองอํานาจของพรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น และพรรคคองเกรสของอินเดีย เข้าข่ายระบบพรรคแบบใด
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 2 หน้า 219 – 220 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant Party System) เป็นระบบ ที่มีพรรคการเมืองได้มากกว่า 1 พรรค หรือกฎหมายเปิดให้พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่มักได้รับเลือกตั้งคะแนนสูงสุดและครองอํานาจในการปกครองตัวอย่างเช่น พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น พรรคคองเกรสของอินเดีย เป็นต้น

93. ทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ พัฒนาขึ้นโดยนักวิชาการคนใด
(1) อีสตัน
(2) เมอร์เรียม
(3) อัลมอนด์
(4) ฟูโกต์
(5) พาร์สัน
ตอบ 3 หน้า 92 แกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) ได้พัฒนาทฤษฎีระบบเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ โดยได้ดึงแนวคิดเรื่องบทบาทและโครงสร้างของนักสังคมวิทยา เช่น แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ทาลค็อตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) เข้ามาผนวกกับทฤษฎีระบบ เพื่อให้ทฤษฎีระบบเชิง โครงสร้าง-หน้าที่มีความเป็นรูปธรรม สามารถศึกษากลุ่มของการกระทําทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้

94. เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ”
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 3 หน้า 204 – 205 ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation : PR/Party List System) เป็นระบบที่มีการกําหนดเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่ ในแต่ละเขตมีผู้แทนได้มากกว่า 1 คน โดยการลงคะแนนเสียงจะลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ไม่ใช่เลือกผู้สมัครรายคน แต่พรรคการเมืองจะทําบัญชีรายชื่อของผู้สมัครเรียงตามลําดับลงไป ทําให้เรียกระบบนี้กันทั่วไป ว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” (Party List System)

95. ข้อกําหนดเบื้องต้นสําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ เป็นคําอธิบาย การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยโดยนักวิชาการท่านใด
(1) Samuel Huntington
(2) Dankwart Rustow
(3) Guillermo O’Donnell
(4) Philippe Schmitter
(5) Laurence Whitehead
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 ดังค์วาร์ด รัสเทาว์ (Dankwart Rustow) ได้อธิบายข้อกําหนดเบื้องต้น สําหรับการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยไว้ 10 ประการ ตัวอย่างเช่น
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพประชาธิปไตยไม่จําเป็นต้องเป็นตัวเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
2. การศึกษาประชาธิปไตยต้องตระหนักว่าสหสัมพันธ์อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคมส่งผลต่อการเมือง
4. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลไม่จําเป็นต้องเป็นไปในทิศทางที่ปัจจัยเชิงแนวคิดวัฒนธรรม ส่งผลต่อการกระทําของตัวแสดงเสมอไป ฯลฯ

96. “การเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง” คําอธิบายดังกล่าวเป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) Arend Lijphart
(2) Giovanni Sartori
(3) Maurice Duverger
(4) Barnard Grofman
(5) Barbara Geddes
ตอบ 3 หน้า 209 – 210 เมารีส ดูแวร์แจร์ (Maurice Duverger) อธิบายว่า การเลือกตั้งระบบ เสียงข้างมากธรรมดาแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะนําไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคเด่น ส่วนการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบ 1 เขต มีผู้แทนหลายคน และการเลือกตั้ง แบบสัดส่วนจะนําไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง โดยที่ระบบ 2 พรรคเด่นมักนําไปสู่รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ระบบหลายพรรคก่อให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ

97. ข้อใดเป็นความแตกต่างสําคัญที่สุดระหว่างมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมกับมาร์กซิสต์ใหม่
(1) วิเคราะห์ทางชนชั้น
(2) ปฏิเสธระบบทุนนิยม
(3) ปฏิวัติทางชนชั้น
(4) ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 137 ทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม โดยมีจุดร่วมสําคัญ คือ การมองว่าชนชั้นที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจมักมีแนวโน้มมีอํานาจในทาง การเมืองด้วย แต่มีจุดต่างสําคัญจากมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมคือหันไปให้น้ําหนักกับโครงสร้างส่วนบนมากขึ้นแทนที่จะเน้นวิเคราะห์โครงสร้างส่วนล่างเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นของอํานาจรัฐ

98. แนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และ
เศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ คือประเภทของรัฐตามบทบาทหน้าที่ประเภทใด
(1) รัฐแบบกรรมการ
(2) รัฐเพื่อการพัฒนา
(3) รัฐสังคม-ประชาธิปไตย
(4) รัฐรวมศูนย์
(5) รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ตอบ 3 หน้า 154 รัฐสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democratic State) คือ รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อ ปฏิรูปสังคมให้เกิดความยุติธรรม แก้ปัญหาความยากจน เน้นให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม เป็นรัฐที่เน้นทําเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าจะเน้นทําเพื่อประโยชน์ของนายทุน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวรัฐจึงต้องเข้าไปแทรกแซงสังคมในระดับสูงหรืออย่างแข็งขันเพื่อแก้ปัญหาความไม่ยุติธรรมที่อาจเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตัวอย่างเช่น แนวคิด เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesianism) ที่ให้รัฐเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจผ่านระบบงบประมาณ มีการทุ่มเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเศรษฐกิจสามารถดําเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น

99. ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ
(1) One-Party System
(2) One Dominant-Party System
(3) Two-Party System
(4) Two-and-a-Half-Party System
(5) Multiparty System
ตอบ 3 หน้า 220 ระบบ 2 พรรค (Two-Party System) คือ การมีพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ ที่ต่อสู้แข่งขันและได้รับคะแนนเสียงสลับกันขึ้นเป็นรัฐบาล เช่น ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

100. การเลือกพรรคซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ที่นั่งทั้งหมดไป
(1) ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเสียงข้างมากธรรมดา
(2) ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
(3) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด
(4) ระบบบล็อกโหวตพรรคการเมือง
(5) ระบบรวมเขตเรียงเบอร์
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบเสียงข้างมากธรรมดาแบบเลือกเป็นพรรค หรือระบบบล็อกโหวต พรรคการเมือง (Party Block Vote : PBV) เป็นการเลือกผู้แทนโดยการเลือกพรรค ซึ่งส่งผู้แข่งขันเป็นบัญชีรายชื่อ แต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่า 1 คน พรรคที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้ที่นั่งทั้งหมดไป ซึ่งระบบนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

 

POL2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1. – 5. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) John Locke
(2) Spinoza
(3) Montesquieu
(4) Thomas Hobbes
(5) Jean Bodin

1.ส่งเสริมระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสนับสนุนอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์
เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 4 หน้า 26 ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้เสนอแนวความคิดที่สะท้อนให้เห็นถึง สัญญาสวามิภักดิ์อันเป็นการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสนับสนุนอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์

2.ผู้วางรากฐานแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 1 หน้า 27 จอห์น ล็อค (John Locke) เป็นผู้ให้กําเนิดทฤษฎีสัญญาประชาคมและวางรากฐาน แนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย เห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง ในทางเศรษฐกิจ รัฐควรปล่อยให้เศรษฐกิจเสรีที่สุด ส่วนเรื่องทางศาสนารัฐก็ต้องไม่เข้าไปยุ่ง ต้องให้สังคมถือหลักอหิงสา สําหรับเรื่องการเมืองการปกครองนั้น ล็อคเห็นว่ามนุษย์ควรอยู่ ร่วมกันในสังคมการเมือง และรัฐบาลที่ชอบธรรมจะเป็นรัฐบาลได้ก็โดยความยินยอมของ ผู้ถูกปกครองเท่านั้น

3.Theory of Sovereignty เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 5 หน้า 26 ฌอง โบแดง (Jean Bodin) ได้เสนอทฤษฎีอํานาจอธิปไตย (Theory of Sovereignty) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักกฎหมายมหาชนทั้งภายในและระหว่างประเทศที่สําคัญตั้งแต่นั้น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในทางระบอบการปกครองแนวความคิดของโบแดงทําให้เกิดระบอบ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้น และเป็นผู้ทําให้รัฐมีอํานาจอธิปไตยขึ้นมา ทั้งนี้เพราะโบแดงต้องการให้สภาพสงครามและการปราศจากกฎหมายในยุคกลางหมดไป โดยให้อยู่ภายใต้อํานาจสูงสุดที่ออกกฎหมายและรักษาความสงบในสังคมของกษัตริย์นั่นเอง

4.ระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 2 หน้า 27 สปิโนซา (Spinoza) เป็นคนแรกที่เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นเป็นระบอบ การปกครองที่ดีที่สุด โดยเขาได้ประณามการใช้อํานาจโดยมิชอบในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่า “ความลับสุดยอดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และผลประโยชน์ของระบอบนี้ คือ การหลอกลวงมนุษย์ด้วยกัน และอ้างเหตุผลทางศาสนามาปิดบังความกลัวที่มนุษย์ทั้งหลาย จะลุกขึ้นต่อต้าน โดยใช้ให้คนเหล่านี้ไปสู้รบและตายแทน”

5.Separation of Power เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 3 หน้า 28 – 29, (คําบรรยาย) มงเตสกิเออร์ (Montesquieu) เป็นผู้ให้กําเนิดหลักการแบ่งแยก การใช้อํานาจ (Separation of Power) อธิบายว่า รัฐอธิปไตยทุกรัฐมีอํานาจที่จะปฏิบัติกิจการ ของรัฐอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ ถ้าอํานาจ ทั้ง 3 ประการนี้รวมอยู่ภายใต้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันแล้ว “ทุกสิ่งทุกอย่างของประชาชน จะสูญสิ้นไป” ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการใช้อํานาจโดยมิชอบจึงต้องจัดระบบการปกครอง ในลักษณะที่ผู้ถืออํานาจคนหนึ่งถ่วงหรือยับยั้งการใช้อํานาจเกินขอบเขตของผู้ถืออํานาจคนอื่น ๆ ได้ การควบคุมการใช้อํานาจโดยมิชอบจึงต้องใช้วิธีการแบ่งแยกอํานาจและถ่วงดุลอํานาจ (Checks and Balances) ระหว่างผู้ถืออํานาจด้วยกันให้อยู่ในระดับพอเหมาะอยู่เสมอ

ตั้งแต่ข้อ 6. – 10. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักกฎหมายทั่วไป
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง

6. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กร ของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 4 หน้า 43 – 44 สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มี 3 ประการ ดังนี้
1. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ

7. การใช้กฎหมายจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชน สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจหลักอะไร
ตอบ 5 หน้า 44 หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หรือเรียกว่า หลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองนั้น ตามหลักนิติรัฐ หลักในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงหลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองเข้ากับ หลักประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน กล่าวคือ การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการก็ดี หรือฝ่ายปกครอง ก็ดีจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนนั้นจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชนก่อน

8. หลักการที่สําคัญ คือ ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขา กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครอง จะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมายฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นนั้นหรือไม่ สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อําานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 2 หน้า 47 – 48 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง หมายความว่า ฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเอกชนคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและเฉพาะแต่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้ เท่านั้น ดังนั้นตามหลักการดังกล่าวจึงมีหลักการที่สําคัญอยู่ว่า ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมาย ฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นว่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อํานาจ ฝ่ายปกครองจะต้องละความตั้งใจที่จะกระทําเช่นว่านั้น

9.แนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือเจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมี การนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 หลักกฎหมายทั่วไป เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือ เจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์ บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมีการนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น

10. ศาลเป็นผู้นําหลักอันเป็นนามธรรม มาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบ การใช้อําานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 – 57 หลักกฎหมายทั่วไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นหลักประกันหรือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจากการใช้อํานาจตามอําเภอใจของฝ่ายปกครอง โดยหลักกฎหมาย ทั่วไปนั้นมิได้เกิดขึ้นตามอําเภอใจของศาล ศาลมิได้สร้างกฎหมายขึ้นมาใช้เอง แต่การยอมรับ หลักกฎหมายทั่วไปของศาลเป็นการนําเอาความเชื่อ ความเห็นของส่วนรวมอันเป็นหลักการ พื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและรากฐานของระบบกฎหมายในสังคมนั้น ๆ มาพัฒนา เป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับคดีที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลเป็นผู้นํา หลักอันเป็นนามธรรมมาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง

11. ข้อใดเป็นรูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการนั้น
(2) ไม่สุจริต
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 110 – 112 รูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ สําหรับการนั้น
3. การกระทําที่ไม่สุจริต
4. การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
5. การกระทําที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
6. การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

12. กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์ เป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) เป็นการไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 2 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีของการปฏิบัติที่ขัดต่อ หลักความเสมอภาค มีความลําเอียง มีอคติหรือใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา เพศ สภาพร่างกาย หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน เช่น
– กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์
– กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง
– การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน

13. กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพ ด้วยการใส่สูทและผูกเนคไท เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(2) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(3) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการนอกเหนืออํานาจ
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้
ตอบ 2 หน้า 112 กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการ ต้องแต่งกายสุภาพนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐ ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการดังกล่าวต้องใส่สูทและผูกเนคไทด้วย ระเบียบดังกล่าว ย่อมเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรซึ่งถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

14. ข้อใดเป็นการกระทําที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(1) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(2) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องภาษา เพศ สภาพร่างกายมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(3) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

15. การที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกําหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพ เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(1) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นให้เกิดกับ
ประชาชนเกินควร
(2) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(3) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ไม่เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

16. กรณีการลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
(1) เป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) เป็นการกระทําที่ไม่สุจริต
(3) เป็นการกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) เป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 3 หน้า 112 – 113 การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐมีอํานาจดุลพินิจ (Discretionary Power) ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้ อํานาจดุลพินิจนั้นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร เช่น กรณีการลงโทษ ทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นต้น

17. “บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
ตอบ 1 หน้า 117 หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักการที่บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติแต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด และห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออกมาตรการใด ๆ ซึ่งหากได้ลงมือบังคับใช้แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมาก ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตกแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม

ตั้งแต่ข้อ 18. – 21. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง

18.“เป็นอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ”ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 5 หน้า 127 หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายมหาชนที่กําหนดให้นิติบุคคลซึ่งจัดทําหรือกํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะมีอํานาจพิเศษที่แตกต่างไปจากวิธีการทางกฎหมายเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง หรือเอกสิทธิ์ของ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ

19. “ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการพิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่น ในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตาม
หลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 หลักความเป็นกลาง หรือความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการ พิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาและ วินิจฉัยทางปกครอง

20. “บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือการไม่เลือกปฏิบัตินั่นเอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทาง ปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 2 หน้า 118 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ อธิบายว่า ในระบบกฎหมายของฝรั่งเศส หลักความ เสมอภาคปรากฏเป็นที่ยอมรับและผูกพันองค์กรของรัฐในอันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณะแล้ว ย่อมหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ “การไม่เลือกปฏิบัติ” นั่นเอง

21. “เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 4 หน้า 123 หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยผลบังคับของหลักการนี้มีอยู่ว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนจะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลนั้นทราบและ ให้เขามีโอกาสโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นและแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโค้งแย้งของตน

22. “เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 152 – 153 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้ การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย
1. หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
2. หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
3. หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
4. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ

23. “ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็น ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้”
ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 153 หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ หมายถึง ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงาน ที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็นต้องมีการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้

24. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง
(1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
(2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีการยึด
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการโอนกิจการเป็นของรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5 หน้า 40 การได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครองมี 2 วิธี คือ
1. การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
2. การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งมี 3 กรณี คือ การเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ การโอนกิจการเป็นของรัฐ และด้วยวิธีการยึด

25. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ
(1) มาตรการทางกฎหมาย
(2) อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
(3) บุคลากรของรัฐ
(4) ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 40 ฝ่ายปกครองมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ 4 ประการ คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. บุคลากรของรัฐ
3. ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
4. อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง

26. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ
(1) นิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
(2) การกระทําทั้งหลายขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
(3) กฎหมายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 42, (คําบรรยาย) การกล่าวว่านิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมายอาจจะนําไปสู่ความ เข้าใจผิดได้เพราะเป็นการมองแบบแคบ ๆ โดยในทางเนื้อหานั้น คือ เป็นนิติรัฐที่เป็นเสรีนิยม คํานึงถึงความยุติธรรม ส่วนรัฐที่สนใจแต่เพียงกฎหมายในทางรูปแบบ ฝ่ายปกครองจะผูกพันตน ต่อกฎหมาย ไม่สนใจว่ากฎหมายนั้นจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ)

27. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
(2) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจ
หรือความยินยอมจากเอกชน
(3) กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหาร ใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยกําหนด ให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65 ชาญชัย แสวงศักดิ์ อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทาง บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารงาน บุคคลภาครัฐ เช่น กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหารโดยใช้ หลักการรวมอํานาจ โดยกําหนดให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
2. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
3. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ

28. ข้อใดเป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่รัฐมีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่ง ต้องปฏิบัติตาม
(2) การที่รัฐให้ทุนการศึกษา ซึ่งถือเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
(3) การที่รัฐตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง คือ
1. การกระทําที่รัฐเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน เช่น มีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่งนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตาม
2. มีการกระทําบางอย่างที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบ อุบัติเหตุ ให้ทุนการศึกษา หรือให้เงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. การกระทําทางปกครองในลักษณะการวางแผน เช่น การตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา สร้างทางด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งการกระทบสิทธิและให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน

29. ข้อใดไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
(2) การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
(3) การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3 ที่ไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(5) ไม่มี เพราะทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 – 75 มานิตย์ จุมปา อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง หมายถึง
1. การกระทําของรัฐที่ไม่ใช่การกระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางตุลาการหรือการกระทํา ทางรัฐบาล และ
2. การกระทําของรัฐนั้นมีลักษณะของการกระทําที่กําหนด ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน หรือระงับ ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตัวอย่างการกระทําทางปกครอง เช่น
– การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
– การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
-การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
-การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ

30. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะการกระทําทางปกครอง
(1) การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
(2) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
(3) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 75 นัยนา เกิดวิชัย อธิบายว่า การกระทําทางปกครองมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
2. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารไม่ใช่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
3. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
4. มีลักษณะเป็นการกําหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้เปลี่ยนแปลงหรือระงับซึ่งสิทธิ

31. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 102 – 104 สิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง มีดังนี้
1. สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2. สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
3. สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
4. สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และรับแจ้งสิทธิหน้าที่
5. สิทธิได้รับและรับทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
6. สิทธิได้รับทราบถึงแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคําสั่งทางปกครอง

32. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(3) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
ตอบ 2 หน้า 102 – 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิได้รับแจ้ง ผลกระทบต่อสิทธิ แต่ไม่ทุกกรณี กล่าวคือ ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจจะกระทบถึง สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน แต่มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
2. เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้อง ล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ)

33. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือตรวจดูเอกสารได้ โดยคู่กรณีมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จําเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีก็ไม่มีสิทธิ ตรวจดูเอกสาร และเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็น กรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (ดูคําอธิบายข้อ 31. และ 32. ประกอบ)

34. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. – 33. ประกอบ

35. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) คู่กรณีไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(2) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(3) คู่กรณีมีสิทธินําทนายหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมายได้ กล่าวคือ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งการใด ที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น (ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ)

36. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังไม่ได้
(2) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(3) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลัง หรือไม่ย้อนหลังก็ได้ แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(4) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 114 หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
2. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้แต่กฎหมายก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคําสั่งทางปกครองย้อนหลังลบล้างคําสั่งนั้น แต่หาก จําเป็นต้องเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็จะต้องกําหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

37. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของผู้รับคําสั่งทางปกครองที่จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) บุคคลผู้มีพฤติกรรมได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
(2) บุคคลผู้มีพฤติกรรมแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) บุคคลผู้มีพฤติกรรมข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(4) บุคคลผู้มีพฤติกรรมรู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 115 ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคําสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และจะต้อง
รับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
1. แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2. ได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ
3. รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่งทางปกครอง
หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

38. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(2) คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในสวัสดิการของข้าราชการ
(4) คําสั่งเลื่อนขั้นในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 100 – 101 ฤทัย หงส์สิริ อธิบายว่า ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า “คําสั่งทางปกครอง” มีตัวอย่างพอสรุปได้ดังนี้
1. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น คําสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ ประกอบกิจการโรงงาน สถานบริการ เป็นต้น
2. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะ เป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
4. คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
5. คําสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัว เช่น คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ เช่น คําสั่งแต่งตั้ง เลื่อนขั้นตําแหน่ง คําสั่งลงโทษทางวินัย คําสั่งพักราชการในระหว่างสอบสวนทางวินัย เป็นต้น คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ เช่น คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษา พยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

39. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
(2) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่ารักษาพยาบาล
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครองสามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ
(2) เจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อน
จึงดําเนินการได้
(3) ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัยได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 101 โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง สามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ให้อยู่แล้ว เช่น กรณี ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัย ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ แต่ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทาง ปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น ในเรื่องของ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับจดทะเบียน การรับรอง การอนุมัติ การออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น

41. คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วยโดยอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบใดเป็นเหตุผลบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 กําหนดว่า คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
2. ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
3. ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ

42. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) คําสั่งทางปกครองจะต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น
(2) คําสั่งทางปกครองจะทําด้วยวาจาได้
(3) คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ นอกเหนือจากเป็นหนังสือ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 104 คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นหนังสือ หรือทําด้วยวาจา หรือโดยรูปแบบอื่นก็ได้ กฎหมายบางฉบับระบุไว้ชัดเจนว่าต้องทําคําสั่งในเรื่องนั้นเป็นหนังสือ แต่ถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิจะเลือกทําคําสั่งในรูปแบบใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจอันเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่นั้นเอง โดยต้องพิจารณาจากความเร่งด่วนและความจําเป็นของ สถานการณ์เป็นสําคัญ

43. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(2) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 104 – 105 คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทําเป็นหนังสือ ย่อมขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน และคําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนคําสั่ง ทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง และคําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้

44. ข้อใดผิด
(1) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(2) คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ผิด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งนั้นได้แจ้งคําสั่งทางปกครองนั้นแก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองให้ทราบ และมีผลบังคับตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอน หรือสิ้นผลโดยเงื่อนไขของระยะเวลาหรือโดยเหตุอื่น (ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ)

45. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของประโยชน์สาธารณะ
(1) ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
(2) เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐบาลแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐบาลได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการ ในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 144 – 145 ลักษณะของประโยชน์สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
2. ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของสังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้

ตั้งแต่ข้อ 46. – 50. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1)
(1) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) ไม่สุจริต
(4) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

46. เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจแบบ Discretionary Power ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ Discretionary Power ไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

47. กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

48. เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
ตอบ 3 หน้า 111 การกระทําที่ไม่สุจริต เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจ ในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น

49. การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 111 การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้ สําหรับการนั้น คือ การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ

50. ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทําเช่นนั้นไว้
ตอบ 1 หน้า 110 การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทํา เช่นนั้นไว้ตามหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองที่ว่า “ไม่มีอํานาจหากไม่มีกฎหมาย”

51. ฐานรากสําคัญของหลักการบริหารปกครองที่ดีคือข้อใด
(1) การยกระดับจริยธรรม
(2) การทําให้เกิดการยอมรับ
(3) การเชื่อมโยงเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารงานภาครัฐทั้งหมด
(4) การปฏิบัติตามกฎหมาย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 169 – 170, (คําบรรยาย) การเชื่อมโยงเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารงานภาครัฐทั้งหมด ถือเป็นฐานรากสําคัญที่ทําให้เกิดการบริหารปกครองที่ดีหรือธรรมาภิบาล (Good Governance)อันประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม
5. หลักความสํานึกรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า

52. การพัฒนาการบริหารงานภาครัฐสิงคโปร์สามารถเทียบเคียงกับการมีธรรมาภิบาลได้อย่างไร
(1) มีการปรับระเบียบกฎหมายให้ตัวแสดงภาคส่วนอื่นมีบทบาทในงานบริการสาธารณะ
(2) มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทุกกิจกรรมทําให้ตรวจสอบการทํางานของรัฐได้ตลอด
(3) มีการสร้างช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกระดับ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาการบริหารงานภาครัฐสิงคโปร์สามารถเทียบเคียงกับการมีธรรมาภิบาล ได้ดังนี้
1. มีการปรับระเบียบกฎหมายให้ตัวแสดงภาคส่วนอื่นมีบทบาทในงานบริการสาธารณะ
2. มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทุกกิจกรรมทําให้ตรวจสอบการทํางานของรัฐได้ตลอด
3. มีการสร้างช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกระดับ ฯลฯ

53. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของรัฐที่สอดคล้องกับแนวคิดธรรมาภิบาล
(1) การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเพื่อลดการควบคุมของรัฐลง
(2) การสร้างเครือข่ายการทํางานให้มากขึ้น
(3) การวิเคราะห์และแบ่งงานให้ชัดเจนเพื่อเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วม
(4) การติดตามควบคุมกํากับอย่างใกล้ชิด
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บทบาทของรัฐที่สอดคล้องกับแนวคิดธรรมาภิบาล มีดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อลดการควบคุมของรัฐลง และให้อิสระแก่ตัวแสดงภาคส่วนอื่นในการดําเนินงานบริการสาธารณะมากขึ้น
2. การสร้างเครือข่ายการทํางานให้มากขึ้น เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและเอกชนเข้ามามี บทบาทในงานบริการสาธารณะมากขึ้น
3. การวิเคราะห์และแบ่งงานให้ชัดเจนเพื่อเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วม ฯลฯ

54. การบริหารรัฐกิจแบบเดิมต่างจากการบริหารแบบมีธรรมาภิบาลอย่างไร
(1) การบริหารรัฐกิจเน้นรัฐเป็นผู้ดําเนินการ
(2) การบริหารรัฐกิจไม่ต้องการการควบคุมกํากับทุกกระบวนการ
(3) การบริหารแบบมีธรรมาภิบาลต้องการตัวแสดงภาคส่วนอื่นเข้าร่วม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจแบบเดิมต่างจากการบริหารแบบมีธรรมาภิบาล คือ การบริหาร รัฐกิจแบบเดิมเน้นรัฐเป็นผู้ดําเนินการงานบริการสาธารณะเองทั้งหมด ส่วนการบริหารแบบมี ธรรมาภิบาลต้องการให้ตัวแสดงภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในงานบริการสาธารณะ

55. ประเด็นท้าทายของการยกระดับธรรมาภิบาลของไทยคือข้อใด
(1) การสร้างการมีส่วนร่วมในการบริการงานสาธารณะ
(2) การปรับปรุงกฎหมายที่ลดบทบาทของรัฐในงานสาธารณะ
(3) การเชื่อมโยงฐานข้อมูลการบริการของรัฐเพื่อการตรวจสอบ
(4) การลดดุลยพินิจในการปฏิบัติตามกฎหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นท้าทายของการยกระดับธรรมาภิบาลของไทย มีดังนี้
1. การสร้างการมีส่วนร่วมในการบริการงานสาธารณะ
2. การปรับปรุงกฎหมายที่ลดบทบาทของรัฐในงานสาธารณะ
3. การเชื่อมโยงฐานข้อมูลการบริการของรัฐเพื่อการตรวจสอบ
4. การลดดุลยพินิจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ฯลฯ

56. มุมมองต่อ “ปัจเจก” ของการมีส่วนร่วมตามแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย ไม่ใช่ข้อใด
(1) ปัจเจกมีความเป็นอิสระ
(2) ปัจเจกมีศีลธรรม
(3) ปัจเจกมีความหลากหลาย
(4) ปัจเจกมีผลประโยชน์ของตัวเอง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 197, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตย เชื่อในปัจเจกในฐานะ หน่วยที่เป็นอิสระที่สามารถกําหนดวิถีชีวิตและความหมายในการมีชีวิตของตัวเองได้ มุมมอง เสรีนิยมประชาธิปไตยอันมีแนวคิดที่มาจากประเทศทางตะวันตกมองการมีส่วนร่วมนั้นมีนัยยะของพหุวัฒนธรรมแฝงอยู่ในตัวของการมีส่วนร่วม ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในมุมมองนี้ย่อมหมายถึงปัจเจกและกลุ่มจํานวนมากที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างในผลประโยชน์ ที่ต้องการต่างกัน การเข้ามีส่วนในกิจกรรมสาธารณะซึ่งปัจเจกทุกคนหรือกลุ่มผลประโยชน์ได้รับผลกระทบจึงต้องมีความเป็นธรรมคือการแข่งขันที่ยุติธรรมกับทุกกลุ่ม การมีส่วนร่วมในมุมมองนี้จึงยอมรับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดรัฐธรรมนูญ และการทําหน้าที่ของรัฐบาล

57. ข้อใดคือหลักการของความคุ้มค่า
(1) รับผิดชอบต่อสังคม
(2) ให้ข้อมูลกับประชาชน
(3) ตรวจสอบได้
(4) กติกาต้องถูกต้องเป็นธรรม
(5) จัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตอบ 5 หน้า 169 หลักความคุ้มค่า คือ การจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะทรัพยากร ในแต่ละประเทศมีจํากัด และเป็นของส่วนรวม ขณะเดียวกันก็ต้องคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด ในระยะยาวต่อสังคมและประเทศชาติ

58. ข้อใดคือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) WB
(2) IMF
(3) ICC
(4) WHO
(5) UN
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) คือ องค์การระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การที่มีบทบาทสําคัญ ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการเงิน

59. สิทธิในข้อใดที่เป็นสิทธิในหลักธรรมาภิบาล
(1) สิทธิมนุษยชน
(2) สิทธิในการเลือกตั้ง
(3) สิทธิทางวัฒนธรรม
(4) สิทธิการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ธนาคารโลกมีการกําหนดว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็น ทางการเมืองของประเทศผู้รับทุน ข้อห้ามนี้ทําให้ธนาคารโลกไม่พิจารณาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะพิจารณาสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหัวใจในการให้ ความช่วยเหลือของธนาคารโลก

60. ข้อใดไม่ใช่หลักการของธรรมาภิบาล
(1) โปร่งใส
(2) คุ้มค่า
(3) มีส่วนร่วม
(4) ประชาธิปไตย
(5) นิติธรรม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

61. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างสายบังคับบัญชาคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 172 โครงสร้างแบบสายบังคับบัญชา เป็นโครงสร้างที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญ ในการบริหารปกครอง โดยภาครัฐและเอกชนจะแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน รัฐจะ เป็นศูนย์กลางของการดูแลผลประโยชน์สาธารณะและกําหนดให้เอกชนดําเนินการตามบทบาทที่กําาหนดโดยรัฐ ในโครงสร้างแบบนี้รัฐอาจลดบทบาทในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนเข้ามาดําเนินการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าภายใต้การควบคุมของรัฐ แต่รัฐก็อ่อนแอกว่าภาคเอกชนทําให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ดังนั้นปัญหาสําคัญของโครงสร้างแบบนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความต้องการที่หลากหลายของ คนในรัฐ รวมทั้งศักยภาพของรัฐทําให้รัฐไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รัฐจึงไม่สามารถบรรลุความสําเร็จในการพัฒนารัฐได้

62. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบการถือหางเสือคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 174, (คําบรรยาย) การบริหารปกครองแบบการถือหางเสือ เชื่อว่า รัฐมีความสามารถ ที่จะกําหนดทิศทางและถือหางเสือในกิจการสาธารณะในสังคมได้ ในแง่นี้รัฐยังคงมีบทบาทสําคัญ ในการบริหารปกครองแต่มีอํานาจควบคุมน้อยลง การบริหารปกครองนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง อํานาจหน้าที่และอํานาจควบคุมจากกฎหมายของรัฐ ปัญหาสําคัญของการบริหารปกครอง แบบนี้ก็คือ เมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไปทําหน้าที่เพียงการถือหางเสือ ไม่ได้เป็นผู้กําหนดเป้าหมายอาจทําให้เป้าหมายไม่ชัดเจน

63. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบชุมชนคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 172 โครงสร้างแบบชุมชน มีแนวคิดมาจากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองและ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชนได้โดยให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด ดังนั้น การบริหารปกครองในโครงสร้างแบบนี้จึงอยู่ในแนวคิดของการไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

64. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างเครือข่ายคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 172 – 173 โครงสร้างแบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่มีการเชื่อมโยงชุมชน (ตัวแสดง)นโยบายโดยเชื่อว่าจะสามารถเอื้อต่อการจัดสรรผลประโยชน์ของสาธารณะและผลประโยชน์ ส่วนบุคคลได้ ในโครงสร้างแบบนี้นโยบายจะถูกพิจารณาจากหลายภาคส่วนร่วมกันจึงจัดสรร ผลประโยชน์ส่วนรวมได้ดีกว่า อีกทั้งมีการแยกการควบคุมและความรับผิดชอบในนโยบายออกจากกัน โดยเครือข่ายจะควบคุมการริเริ่มนโยบายที่ส่งมาจากทุกฝ่ายและฝ่ายรัฐจะเป็น ผู้รับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคส่วน ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างรัฐกับเครือข่าย อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐยังคงต้องรับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ภายในรัฐ การท้าทายผลประโยชน์ของรัฐจากเครือข่ายจึงเป็นไปได้ยาก และประเด็นท้าทายคือรัฐจะ สามารถหาตัวแสดงจากภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือในเครือข่ายได้อย่างไร

65. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบตลาดคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 172, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบตลาด เป็นโครงสร้างที่มีตัวแสดงหลักเป็นตัวแสดง ทางเศรษฐกิจ โดยปัญหาในการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของตัวแสดงและตลาดซึ่งมีพลังขับเคลื่อนคือผลประโยชน์ส่วนตัว การมีกลไกให้ตัวแสดงทางเศรษฐกิจสามารถประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาจึงเป็นลักษณะเด่นของโครงสร้างนี้ แต่ปัญหาสําคัญของโครงสร้างนี้คือ กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาความร่วมมือ

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(2) ประชามติ
(3) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
(4) ประชาพิจารณ์
(5) รับแจกบัตรคนจน

66. การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชนคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน (Degree of Citizen Power) ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมขั้นที่ 6 – 8 เป็นระดับอํานาจการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่มีลักษณะการใช้อํานาจแตกต่างกัน กล่าวคือ ในขั้นที่ 6 จะเป็นการเจรจาต่อรองของอํานาจ ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะหุ้นส่วนในงานนั้น ๆ ในขั้นที่ 7 ประชาชนได้มอบอํานาจให้ผู้แทน ไปตัดสินใจแทน ได้แก่ การออกเสียงเลือกตั้ง ส่วนในขั้นที่ 8 ซึ่งเป็นขั้นการมีส่วนร่วมสูงสุด ประชาชนสามารถควบคุมกระบวนการตัดสินใจได้ ได้แก่ การลงประชามติ การยื่นถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ในระดับนี้ประชาชนมีอํานาจในการตัดสินใจ สามารถ เจรจาผลได้ผลเสียกับผู้มีอํานาจเดิมได้ จึงถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน

67. การมีส่วนร่วมเทียมขั้นถูกจัดกระทําคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมขั้นถูกจัดกระทํา เป็นระดับการมีส่วนร่วมเทียม หรือไม่มีส่วนร่วม (Pseudo-Participation or Non-Participation) ซึ่งประชาชนจะยังไม่มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีกลุ่มบุคคลจํานวนน้อยที่มีอํานาจตัดสินใจ ไม่มีการกล่าวถึงเนื้อหาหรือ วิธีการตัดสินใจ ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมนี้ เช่น การรับแจกบัตรคนจน เป็นต้น

68. การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมต่ําสุดคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมหรือการมีส่วนร่วมบางส่วน (Degree of Tokenism or Partial Participation) การมีส่วนร่วมระดับนี้ผู้มีอํานาจจะมีการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น เมื่อรับฟังแล้วจะเอาใจใส่นําไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการ ตัดสินใจหรือไม่ก็ได้ แต่ในระดับนี้อํานาจการตัดสินใจยังอยู่ที่ผู้มีอํานาจเช่นเดิม การมีส่วนร่วม ระดับพิธีกรรมนั้นประกอบด้วยการมีส่วนร่วม 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 3 การรับฟังข่าวสาร (เช่น การ ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน) ขั้นที่ 4 การปรึกษาหารือ (เช่น การประชาพิจารณ์) และขั้นที่ 5 การปลอบใจ

69. การมีส่วนร่วมขั้นปรึกษาหารือคือข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. ระดับการมีส่วนร่วมเทียมหรือไม่มีส่วนร่วมเลยคือข้อใด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

71. ข้อใดเป็นกลไกการสร้างพลเมือง
(1) ให้ประชาชนแก้ไขปัญหาเอง
(2) ให้ประชาชนเป็นหุ้นส่วนในงานบริการสาธารณะ
(3) การเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความเห็น
(4) การมีกลไกให้ประชาชนติดตามตรวจสอบงานบริการของรัฐอย่างง่ายและสะดวก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเป็นพลเมืองของประชาชน คือ การที่ประชาชนมีความกระตือรือร้น ในการเข้าร่วมพิจารณา แก้ไขปัญหาและตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในงานบริการสาธารณะ โดยความเป็นพลเมืองของประชาชนนี้ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล ซึ่งกลไกในการสร้างพลเมือง ได้แก่
1. การให้ประชาชนแก้ไขปัญหาเอง
2. การให้ประชาชนเป็นหุ้นส่วนในงานบริการสาธารณะ
3. การเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความเห็น
4. การมีกลไกให้ประชาชนติดตามตรวจสอบงานบริการของรัฐอย่างง่ายและสะดวก ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 72 – 76. ให้นักศึกษาจับคู่คําตอบต่อไปนี้ให้ตรงกับความหมายหรือความเกี่ยวข้องกับข้อความที่ให้มา
(1) สถานประกอบการภาคเอกชน
(2) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(3) สถานประกอบการสาธารณะ
(4) การบริหารงานภาครัฐ
(5) รัฐวิสาหกิจ

72. รัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) คือ องค์การ หน่วยงาน หรือบริษัทที่รัฐ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีการดําเนินงานในเชิงธุรกิจซึ่งเกี่ยวโยงกับกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ หรือสาธารณูปการที่มีความสําคัญ หรือจําเป็นต่อการดํารงชีพของประชาชน ดังนั้นการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจจึงมีลักษณะที่มุ่งแสวงหากําไรและนําผลกําไรมาแบ่งปันให้ผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจเอกชน

73. รัฐเป็นเจ้าของมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของสังคม
ตอบ 4 หน้า 214 ลักษณะขององค์กรซึ่งแบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของและเป้าหมายการสร้างกําไร มีดังนี้

74. สาธารณะเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

76. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 77, – 81. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง

77. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยม เชื่อว่า ชุมชนมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปที่จะปกครอง และไม่เล็กเกินไปที่จะสร้างวิถีชีวิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนเอง ในแง่นี้การมีส่วนร่วม ของประชาชนในชุมชนจึงเป็นไปได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแทน ทุกคนในชุมชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและตัดสินใจร่วมกันได้โดยตรงอันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยทางตรงซึ่งอาศัยฉันทามติของคนในชุมชน แนวคิดนี้จึงเชื่อในการเชื่อมโยงปัจเจกกับบริบทสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่ทําให้พวกเขารวมเป็นชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกัน

78. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยม ตระหนักในการมีส่วนร่วมของคนสามัญธรรมดาแนวคิดนี้เชื่อในศีลธรรมที่ฝังอยู่ในตัวของปัจเจกชนคนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมและเชื่อในประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเหล่านั้น การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมผูกพันกับ รูปแบบเฉพาะทางการเมือง อํานาจหน้าที่ โครงสร้างและอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะสามารถ สร้าง “ความนิยมร่วมกัน” ทั้งในแง่เจตจํานงและประเด็นทั่ว ๆ ไปในสังคม

79. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากวางอยู่บนฐานคิดของ “การปลดปล่อยประชาชน” โดยการเพิ่มอํานาจให้ประชาชนผ่านเครื่องมือสําคัญคือการศึกษาแนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการศึกษาจะมีอํานาจท้าทายโครงสร้างทางอํานาจเดิมที่ครอบงํา สังคมอยู่ ทําให้เรียนรู้ที่จะสร้างสังคมใหม่ กล่าวคือ การทําให้สังคมเกิด “การตระหนักรู้”

80. แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรงคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 196 แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง

81. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตยคือข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

82. การบริหารเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวแสดงในเครือข่าย โดยที่รัฐยังเป็นตัวกลางประสานงาน
คือกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบใด
(1) แบบทฤษฎีเกม
(2) แบบโครงสร้างเครือข่าย
(3) แบบปกครองตัวเอง
(4) แบบการมีส่วนร่วม
(5) แบบใช้เรื่องเล่า
ตอบ 1 หน้า 187 กลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบทฤษฎีเกม ใช้ในการบริหารเครือข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนเครือข่ายหรือตัวแสดงใด ๆ ในเครือข่าย วิธีการสําคัญคือ การเสนอ นโยบายที่ต้องการให้เกิดขึ้นและรวบรวมตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาตัดสินใจร่วม กรณีนี้รัฐยัง เป็นตัวกลางในการประสานสร้างการประนีประนอมให้ทุกตัวแสดงบรรลุผลประโยชน์ของตัวเองโดยที่เป้าหมาย นโยบายยังคงอยู่ รัฐต้องเรียกร้องให้ทุกตัวแสดงยอมรับเงื่อนไขใหม่ของ การบริหารปกครองและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากร

83. องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ข้อใด
(1) การต่อรอง
(2) ส่วนรวม
(3) ผลประโยชน์หลากหลาย
(4) มีระบบที่เป็นทางการ
(5) ตัวแสดงหลากหลาย
ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจ ร่วมกัน มีดังนี้
1. ตัวแสดงหลากหลาย
2. ผลประโยชน์หลากหลาย
3. เน้นความเป็น ส่วนรวม
4. ไม่ต้องการระบบที่เป็นทางการ
5. เน้นการเจรจาต่อรอง ฯลฯ

84. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(2) ทักษะการควบคุมวง
(3) ทักษะการเจรจา
(4) ทักษะการบังคับบัญชา
(5) ทักษะการบูรณาการ
ตอบ 4 หน้า 188 ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย มีดังนี้
1. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
2. ทักษะการควบคุมวง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการทูต การเจรจา การต่อรองเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
3. ทักษะการบูรณาการ

85.ข้อใดคือความหมายของตัวการ (Principle) ในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(1) หัวหน้าผู้มอบหมายงาน
(2) เจ้าของกิจการ
(3) คณะกรรมการบริหาร
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 189, 210, (คําบรรยาย) ตัวแสดงในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน (Theories of Delegation) ประกอบด้วย
1. ตัวการ (Principle) คือ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอํานาจจริงในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
2. ตัวแทน (Agent) คือ คนที่ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้ดําเนินการแทนผู้มีอํานาจจริง เช่น ผู้จัดการ เป็นต้น

86. การที่ตัวแสดงที่หลากหลายได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการ ไว้แล้ว จะอยู่ในพื้นที่การบริหารปกครองแบบใด
(1) พื้นที่แบบปิด
(2) พื้นที่รับเชิญ
(3) พื้นที่สร้างสรรค์
(4) พื้นที่ประชุม
(5) พื้นที่ของทางราชการ
ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) พื้นที่รับเชิญ (Invited Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลาย ได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการไว้แล้ว พื้นที่
ลักษณะนี้ให้ความสําคัญกับกระบวนการที่ต้องมีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อยืนยันว่าการริเริ่ม หรือดําเนินการนั้น ๆ อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมหรือริเริ่มโดยประชาชน

87. หลักการทางเลือกที่มีเหตุผล คือข้อใด
(1) ทุกคนมีเหตุผลภายใต้การเข้าใจและการให้ความหมายสิ่งรอบตัว
(2) ทุกคนไม่มีอิสระแท้จริงในการเลือก
(3) การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผลคือคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงมีผลต่อการตัดสินใจร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 190 ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนหลักทางเลือกที่มีเหตุผล(Rational Choice) กล่าวคือ บุคคลมีเป้าหมายส่วนตัวที่จะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้บุคคลตัดสินใจ ซึ่งจะต้องเลือกผลประโยชน์สูงสุด แต่ทฤษฎีนี้ได้ขยายความการเลือกอย่างมีเหตุผลดังกล่าวว่าบุคคลจะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงผลประโยชน์สูงสุดแต่อยู่บนฐานข้อจํากัดในการประมวล ข้อมูลข่าวสาร การทําความเข้าใจสถานการณ์และการคิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งเป็นผลจากศักยภาพ ของมนุษย์ ดังนั้นกระบวนการตัดสินใจของบุคคลจึงมีความซับซ้อนเพราะการคิดถึงเรื่องประโยชน์สูงสุดวางอยู่ภายใต้การประมวลข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์

88. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นองค์กรประเภทใด
(1) บรรษัทภิบาล
(2) บรรษัทนิยม
(3) การบริหารงานภาครัฐ
(4) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(5) รัฐวิสาหกิจ
ตอบ 4 หน้า 207 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่าเป็นการดําเนินการในรูปวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)

89. อะไรคือแรงผลักดันสําคัญในทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(1) ผลประโยชน์สูงสุด
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) กฎเกณฑ์ของสังคม
(4) ความเชื่อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

90. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญในการบริหารปกครอง
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

91. หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะมีหลักการของการมีส่วนร่วมและหลักการนิติธรรม
(2) ได้ เพราะมีหลักการของการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการปกครอง
(4) ไม่ได้ เพราะทําให้รัฐอ่อนแอลง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ทั้งนี้ เพราะหลักธรรมาภิบาลมีหลักการที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น หลักการมีส่วนร่วม หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น

92. อะไรคือเหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้
(1) ทุกประเทศเห็นความสําคัญ
(2) เพราะเป็นเงื่อนไขการได้รับเงินช่วยเหลือ
(3) เป็นระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศ
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 171, (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้ เพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขการได้รับเงิน ช่วยเหลือจากธนาคารโลก โดยเหตุผลที่ทําให้ธนาคารโลกต้องกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศ เหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้

93. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดบทบาทของรัฐที่มีการปกครองที่ดี
(1) ความโปร่งใส
(2) ความรับผิดชอบ
(3) การมีส่วนร่วม
(4) ความมีประสิทธิภาพ
(5) ความมีอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 176, (คําบรรยาย) คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก แห่งสหประชาชาติ (UNESCAP) ได้เสนอตัวชี้วัดในการพัฒนาบทบาทของรัฐที่มีลักษณะ การปกครองที่ดีหรือธรรมาภิบาล 8 ประการ ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม
2. การปกครองตามหลักกฎหมาย
3. ความโปร่งใส
4. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การตอบสนอง
6. ความรับผิดชอบ
7. การดึงเป็นแนวร่วมอย่างเท่าเทียม
8. ฉันทามติ

94. บริบทการบริหารปกครองข้อใดที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลกในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ
(1) พัฒนาศักยภาพรัฐบาล
(2) การก่อรูปและปฏิบัตินโยบาย
(3) รูปแบบการปกครอง
(4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(5) กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 180, (คําบรรยาย) บริบทการบริหารปกครองที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลก ในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ ก็คือ เรื่องของรูปแบบการปกครอง เพราะธนาคารโลก ได้มีข้อกําหนดที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของประเทศผู้ขอรับทุนหรือขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลก

95. พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครองคือข้อใด
(1) การแยกแยะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
(2) สร้างระบบให้เกิดการเจรจาระหว่างตัวแสดง
(3) วิเคราะห์เงื่อนไขของการสร้างนโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 184, (คําบรรยาย) พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครอง สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. ต้องมีการแยกแยะมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เครื่องมือ และเงื่อนไขของการสร้าง นโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2. แยกแยะความหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างระบบการส่งผ่านและสะท้อนกลับของระบบการแปลงเปลี่ยนซึ่งกันและกันขององค์กรและตัวแสดงเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อกันในการสร้างนโยบาย

96. การสร้างนโยบายบนฐานทฤษฎีการจัดการเครือข่าย ตัวแสดงใดเป็นตัวแสดงนําสําคัญ
(1) รัฐ
(2) นักวิชาการ
(3) ภาคอุตสาหกรรม
(4) บรรษัท
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 – 187, (คําบรรยาย) ในทฤษฎีการจัดการเครือข่ายนั้น เครือข่ายจะเป็นตัวแสดงนํา สําคัญในการดําเนินการตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบาย การตัดสินใจและการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนภาครัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสําคัญในกําหนดกรอบเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงต่าง ๆ

97. ลักษณะของการบริหารปกครองแบบถือหางเสือ ไม่ใช่ข้อใด
(1) รัฐมีอํานาจควบคุมมาก
(2) ต้องออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงอํานาจหน้าที่
(3) รัฐกําหนดทิศทางในกิจการสาธารณะได้
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 98. – 100. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ถูก
(2) ผิด

98. ธรรมาภิบาลไม่ต้องการการจัดสรรอํานาจรัฐใหม่
ตอบ 2 หน้า 2, 171, (คําบรรยาย) ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เสนอให้ประเทศต่าง ๆ มีการปฏิรูประบบราชการโดยใช้หลักของ “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) โดยให้มีการปรับใน 3 องค์ประกอบหลัก คือ การจัดสรรอํานาจรัฐใหม่ การเมืองที่เน้นความชอบธรรมในอํานาจการปกครองที่ได้รับมอบหมายตามระบอบประชาธิปไตย และการบริหารงานภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

99. ธรรมาภิบาลสามารถวัดได้จากความพึงพอใจของประชาชนที่ภาครัฐดําเนินการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

100. ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมืองของประชาชน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

POL2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดที่มีระดับการมีส่วนร่วมสูงสุด
(1) การปรึกษาหารือ
(2) การติดตามตรวจสอบ
(3) การเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
(4) การลงประชามติ
(5) การเลือกตั้ง
ตอบ 4 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน (Degree of Citizen Power) ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมขั้นที่ 6 – 8 เป็นระดับอํานาจการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่มีลักษณะการใช้อํานาจแตกต่างกัน กล่าวคือ ในขั้นที่ 6 จะเป็นการเจรจาต่อรองของอํานาจ ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะหุ้นส่วนในงานนั้น ๆ ในขั้นที่ 7 ประชาชนได้มอบอํานาจให้ผู้แทน ไปตัดสินใจแทน ได้แก่ การออกเสียงเลือกตั้ง ส่วนในขั้นที่ 8 ซึ่งเป็นขั้นการมีส่วนร่วมสูงสุด ประชาชนสามารถควบคุมกระบวนการตัดสินใจได้ ได้แก่ การลงประชามติ การยื่นถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ในระดับนี้ประชาชนมีอํานาจในการตัดสินใจ สามารถ เจรจาผลได้ผลเสียกับผู้มีอํานาจเดิมได้ จึงถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน

2.การแถลงข่าวถือเป็นการมีส่วนร่วมในระดับใด
(1) การมีส่วนร่วมระดับพิธีการ
(2) การมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ
(3) การมีส่วนร่วมเทียม
(4) การมีส่วนร่วมแบบผู้มีส่วนได้เสีย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับการให้ข้อมูลแก่ประชาชน ถือเป็นการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในระดับต่ําสุด และเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสารระหว่างภาครัฐ กับประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การแถลงข่าว การแจกข่าวสาร การทําหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น หรือเข้ามาเกี่ยวข้องใด ๆ

3.ข้อใดไม่ใช่การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน
(1) การลงประชามติ
(2) การรับฟังข่าวสาร
(3) การยื่นถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(4) การออกเสียงเลือกตั้ง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

4. บุคคลกลุ่มใดที่ไม่อยู่ในกลุ่มที่สามารถเข้าร่วมในการยกระดับธรรมาภิบาล
(1) ประชาชนทั่วไป
(2) ข้าราชการ
(3) บรรษัท
(4) องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) บุคคลทุกกลุ่มสามารถเข้าร่วมในการยกระดับธรรมาภิบาลได้ไม่ว่าจะเป็น ประชาชนทั่วไป ข้าราชการ นักวิชาการ บรรษัท สถาบันการเงิน องค์กรข้ามชาติ องค์กร ที่ไม่ใช่รัฐ เป็นต้น

5.การใช้อํานาจในการจัดสรรทรัพยากรตามหลักธรรมาภิบาลไม่ใช่ข้อใด
(1) มีสํานึกรับผิดชอบ
(2) มีความคุ้มค่า
(3) มีส่วนร่วมแบบผู้มีส่วนได้เสีย
(4) มีความเด็ดขาด
(5) มีคุณธรรม
ตอบ 4 หน้า 169 – 170 หลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ประกอบด้วยหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม
5. หลักสํานึกรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า

6. แนวคิดของธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
(1) ความรับผิดชอบภาครัฐและองค์กรอื่น ๆ ที่ใช้อํานาจ
(2) มีเป้าหมายเพื่อบรรลุความต้องการของคนส่วนใหญ่เท่านั้น
(3) เปรียบเทียบสิ่งที่พึงประสงค์กับไม่พึงประสงค์ในงานพัฒนาภาครัฐ
(4) ปรับแนวทางการใช้อํานาจและการทํางานสาธารณะ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 180, (คําบรรยาย) แนวคิดของธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการปรับแนวทางการใช้อํานาจและการทํางานสาธารณะของภาครัฐ กล่าวคือ เป็นการปรับลดอํานาจของภาครัฐลงและ เพิ่มอํานาจให้ภาคประชาชนและเอกชนมีส่วนร่วมในงานสาธารณะมากขึ้น

7.เป้าหมายของการกําหนดให้นําคุณลักษณะของธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานคืออะไร
(1) ตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม
(2) มีทุจริตน้อยที่สุด
(3) มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด
(4) ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(คําบรรยาย) ธนาคารโลกได้กําหนดให้นําคุณลักษณะของธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน ภาครัฐ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นเกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและยาระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

8. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล
(1) มีหลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับตัดสินใจเช่นเดียวกัน
(2) การตัดสินใจของประชาธิปไตยวางอยู่บนเสียงข้างมาก
(3) ขณะที่ธรรมาภิบาลต้องการการตัดสินใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
(4) การปฏิบัติตามนโยบายของหลักธรรมาภิบาลดําเนินการโดยประชาชนเท่านั้น
(5) กลุ่มที่เข้าร่วมของธรรมาภิบาลอาศัยหลักให้รวมตัวตามธรรมชาติ ธรรมาภิบาลมองปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องของประชาชน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลมีความสอดคล้องกัน ทั้งนี้เนื่องจากระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลมีหลักการเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นหลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับตัดสินใจ หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น

9. ข้อใดไม่ใช่หลักนิติธรรม
(1) มีการแบ่งแยกการใช้อํานาจชัดเจน
(2) ยึดหลักการทํางานภายใต้กฎ ระเบียบสูงสุด
(3) มีการกําหนดโทษที่วางอยู่บนฐานวัฒนธรรมที่กระทําต่อกันมา
(4) มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคลากรและประชาชน
(5) ผู้มีอํานาจตัดสินใจมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม เป็นหลักการปกครองภายใต้กฎหมาย ผู้มีอํานาจตัดสินใจจึงต้อง ยึดหลักการทํางานภายใต้กฎ ระเบียบ หรือกฎหมายสูงสุด ไม่สามารถใช้อํานาจตามอําเภอใจ หรือใช้อํานาจในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ

10. ข้อใดคือความโปร่งใส
(1) การบริหารจัดการที่คาดการณ์ได้
(2) การมีระเบียบการขอข้อมูลภาครัฐที่เข้มงวดและมีขั้นตอนที่ตรวจสอบหลายขั้นตอน
(3) การที่ผู้มีอํานาจตัดสินใจอธิบายการตัดสินใจของตนเองบนฐานความเชื่อส่วนตัว
(4) การให้ข้อมูลโครงการเฉพาะด้านกับผู้มีส่วนได้เสียบางกลุ่ม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 16, 21, (คําบรรยาย) ความโปร่งใส คือ การบริหารจัดการที่สามารถคาดการณ์ เปิดเผย และเข้าใจได้ มีระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ประชาชนสามารถ เข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง การที่มีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกํากับดูแลและประชาชนสามารถตรวจสอบและติดตามผลได้

11. ข้อใดไม่ใช่ความคุ้มค่า
(1) ได้ผลประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มี
(2) หาความสมดุลของการประหยัดและผลลัพธ์ที่ต้องการ
(3) เป็นกลไกควบคุมการทํางานอย่างรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
(4) การทํางานเน้นผลลัพธ์ที่ประเมินผลได้
(5) การลดต้นทุนให้ประหยัดที่สุด
ตอบ 5 หน้า 16, (คําบรรยาย) หลักความคุ้มค่า เป็นการเน้นประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยใช้ ทรัพยากรและงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ดังนั้นตามหลักความคุ้มค่า จึงเป็นการบริหารงานที่เน้นการให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มี ไม่ใช่การลดต้นทุนให้ประหยัดที่สุด

12.อะไรคือความหมายของ “กลไกมือที่มองไม่เห็น”
(1) ตัวแสดงที่ไม่ปรากฏตัวชัดเจน
(2) ตัวแสดงทางเศรษฐกิจ
(3) กลไกตลาดที่ดําเนินด้วยอุปสงค์และอุปทาน
(4) กลไกปฏิสัมพันธ์ของเครือข่าย
(5) กลไกทางวัฒนธรรมของราชการ
ตอบ 3 หน้า 184 กลไกจัดการโดยตลาดและการสนับสนุนแรงจูงใจ อาศัย “กลไกมือที่มองไม่เห็น” ซึ่งก็คือ “กลไกของตลาด” ที่จะผลักดันผ่านการแข่งขันกันทั้งในแง่การบริหารและการสร้างนวัตกรรมมาเสนอ รัฐจะเก็บบทบาทการจัดสรรไว้แต่ไม่รับผิดชอบในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ รัฐใช้การเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้วใช้การกํากับดูแลติดตามผลการทํางาน ในเงื่อนไขนี้มีประเด็นสําคัญคือ รัฐต้องสร้างเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมงานสาธารณะให้เข้าสู่เงื่อนไขการตลาดอย่างแท้จริง

ตั้งแต่ข้อ 13. – 17. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

13. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างสายบังคับบัญชาคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 172 โครงสร้างแบบสายบังคับบัญชา เป็นโครงสร้างที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญ ในการบริหารปกครอง โดยภาครัฐและเอกชนจะแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน รัฐจะ เป็นศูนย์กลางของการดูแลผลประโยชน์สาธารณะและกําหนดให้เอกชนดําเนินการตามบทบาทที่กําหนดโดยรัฐ ในโครงสร้างแบบนี้รัฐอาจลดบทบาทในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนเข้ามาดําเนินการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าภายใต้การควบคุมของรัฐแต่รัฐก็อ่อนแอกว่าภาคเอกชนทําให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ดังนั้นปัญหาสําคัญของโครงสร้างแบบนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความต้องการที่หลากหลายของ คนในรัฐ รวมทั้งศักยภาพของรัฐทําให้รัฐไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รัฐจึงไม่สามารถบรรลุความสําเร็จในการพัฒนารัฐได้

14. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบการถือหางเสือคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 174, (คําบรรยาย) การบริหารปกครองแบบการถือหางเสือ เชื่อว่า รัฐมีความสามารถ ที่จะกําหนดทิศทางและถือหางเสือในกิจการสาธารณะในสังคมได้ ในแง่นี้รัฐยังคงมีบทบาทสําคัญ ในการบริหารปกครองแต่มีอํานาจควบคุมน้อยลง การบริหารปกครองนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง อํานาจหน้าที่และอํานาจควบคุมจากกฎหมายของรัฐ ปัญหาสําคัญของการบริหารปกครอง แบบนี้ก็คือ เมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไปทําหน้าที่เพียงการถือหางเสือ ไม่ได้เป็นผู้กําหนดเป้าหมายอาจทําให้เป้าหมายไม่ชัดเจน

15. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบชุมชนคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 172 โครงสร้างแบบชุมชน มีแนวคิดมาจากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองและ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชนได้โดยให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด ดังนั้น การบริหารปกครองในโครงสร้างแบบนี้จึงอยู่ในแนวคิดของการไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

16. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างเครือข่ายคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 172 – 173 โครงสร้างแบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่มีการเชื่อมโยงชุมชน (ตัวแสดง)
นโยบายโดยเชื่อว่าจะสามารถเอื้อต่อการจัดสรรผลประโยชน์ของสาธารณะและผลประโยชน์ ส่วนบุคคลได้ ในโครงสร้างแบบนี้นโยบายจะถูกพิจารณาจากหลายภาคส่วนร่วมกันจึงจัดสรรผลประโยชน์ส่วนรวมได้ดีกว่า อีกทั้งมีการแยกการควบคุมและความรับผิดชอบในนโยบาย ออกจากกัน โดยเครือข่ายจะควบคุมการริเริ่มนโยบายที่ส่งมาจากทุกฝ่ายและฝ่ายรัฐจะเป็น ผู้รับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคส่วน ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างรัฐกับเครือข่าย อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐยังคงต้องรับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ภายในรัฐ การท้าทายผลประโยชน์ของรัฐจากเครือข่ายจึงเป็นไปได้ยาก และประเด็นท้าทายคือรัฐจะ สามารถหาตัวแสดงจากภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือในเครือข่ายได้อย่างไร

17. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบตลาดคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 172, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบตลาด เป็นโครงสร้างที่มีตัวแสดงหลักเป็นตัวแสดงทาง เศรษฐกิจ โดยปัญหาในการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของตัวแสดงและตลาดซึ่งมีพลังขับเคลื่อนคือผลประโยชน์ส่วนตัว การมีกลไกให้ตัวแสดงทางเศรษฐกิจสามารถประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาจึงเป็นลักษณะเด่นของโครงสร้างนี้ แต่ปัญหาสําคัญของโครงสร้างนี้คือ กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาความร่วมมือ

18. การบริหารเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวแสดงในเครือข่าย โดยที่รัฐยังเป็นตัวกลางประสานงานคือกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบใด
(1) แบบทฤษฎีเกม
(2) แบบโครงสร้างเครือข่าย
(3) แบบปกครองตัวเอง
(4) แบบการมีส่วนร่วม
(5) แบบใช้เรื่องเล่า
ตอบ 1 หน้า 187 กลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบทฤษฎีเกม ใช้ในการบริหารเครือข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนเครือข่ายหรือตัวแสดงใด ๆ ในเครือข่าย วิธีการสําคัญคือ การเสนอ นโยบายที่ต้องการให้เกิดขึ้นและรวบรวมตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาตัดสินใจร่วม กรณีนี้รัฐยัง เป็นตัวกลางในการประสานสร้างการประนีประนอมให้ทุกตัวแสดงบรรลุผลประโยชน์ของตัวเองโดยที่เป้าหมายนโยบายยังคงอยู่ รัฐต้องเรียกร้องให้ทุกตัวแสดงยอมรับเงื่อนไขใหม่ของการบริหารปกครองและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากร

19. องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ข้อใด
(1) การต่อรอง
(2) ส่วนรวม
(3) ผลประโยชน์หลากหลาย
(4) มีระบบที่เป็นทางการ
(5) ตัวแสดงหลากหลาย
ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน มีดังนี้
1. ตัวแสดงหลากหลาย
2. ผลประโยชน์หลากหลาย
3. เน้นความเป็นส่วนรวม
4. ไม่ต้องการระบบที่เป็นทางการ
5. เน้นการเจรจาต่อรอง ฯลฯ

20. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(2) ทักษะการควบคุมวง
(3) ทักษะการเจรจา
(4) ทักษะการบังคับบัญชา
(5) ทักษะการบูรณาการ
ตอบ 4 หน้า 188 ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย มีดังนี้
1. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
2. ทักษะการควบคุมวง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด การเจรจา การต่อรองเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
3. ทักษะการบูรณาการ

21. ข้อใดคือความหมายของตัวการ (Principle) ในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(1) หัวหน้าผู้มอบหมายงาน
(2) เจ้าของกิจการ
(3) คณะกรรมการบริหาร
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 189, 210, (คําบรรยาย) ตัวแสดงในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน (Theories of Delegation) ประกอบด้วย
1. ตัวการ (Principle) คือ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอํานาจจริงในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
2. ตัวแทน (Agent) คือ คนที่ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้ดําเนินการแทนผู้มีอํานาจจริง เช่น ผู้จัดการ เป็นต้น

22. การที่ตัวแสดงที่หลากหลายได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการ ไว้แล้ว จะอยู่ในพื้นที่การบริหารปกครองแบบใด
(1) พื้นที่แบบปิด
(2) พื้นที่รับเชิญ
(3) พื้นที่สร้างสรรค์
(4) พื้นที่ประชุม
(5) พื้นที่ของทางราชการ

ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) พื้นที่รับเชิญ (Invited Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลาย ได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการไว้แล้ว พื้นที่ ลักษณะนี้ให้ความสําคัญกับกระบวนการที่ต้องมีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อยืนยันว่าการริเริ่ม หรือดําเนินการนั้น ๆ อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมหรือริเริ่มโดยประชาชน

23. หลักการทางเลือกที่มีเหตุผล คือข้อใด
(1) ทุกคนมีเหตุผลภายใต้การเข้าใจและการให้ความหมายสิ่งรอบตัว
(2) ทุกคนไม่มีอิสระแท้จริงในการเลือก
(3) การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผลคือคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงมีผลต่อการตัดสินใจร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 190 ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนหลักทางเลือกที่มีเหตุผล(Rational Choice) กล่าวคือ บุคคลมีเป้าหมายส่วนตัวที่จะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้บุคคลตัดสินใจ ซึ่งจะต้องเลือกผลประโยชน์สูงสุด แต่ทฤษฎีนี้ได้ขยายความการเลือกอย่างมีเหตุผลดังกล่าวว่าบุคคลจะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงผลประโยชน์สูงสุดแต่อยู่บนฐานข้อจํากัดในการประมวล ข้อมูลข่าวสาร การทําความเข้าใจสถานการณ์และการคิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งเป็นผลจากศักยภาพ ของมนุษย์ ดังนั้นกระบวนการตัดสินใจของบุคคลจึงมีความซับซ้อนเพราะการคิดถึงเรื่องประโยชน์สูงสุดวางอยู่ภายใต้การประมวลข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์

24. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นองค์กรประเภทใด
(1) บรรษัทภิบาล
(2) บรรษัทนิยม
(3) การบริหารงานภาครัฐ
(4) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(5) รัฐวิสาหกิจ
ตอบ 4 หน้า 207 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่าเป็นการดําเนินการในรูปวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)

25. อะไรคือแรงผลักดันสําคัญในทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(1) ผลประโยชน์สูงสุด
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) กฎเกณฑ์ของสังคม
(4) ความเชื่อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

26. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญในการบริหารปกครอง
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

27. หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะมีหลักการของการมีส่วนร่วมและหลักการนิติธรรม
(2) ได้ เพราะมีหลักการของการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการปกครอง
(4) ไม่ได้ เพราะทําให้รัฐอ่อนแอลง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ทั้งนี้เพราะหลักธรรมาภิบาลมีหลักการที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น หลักการมีส่วนร่วม หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น

28. อะไรคือเหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้
(1) ทุกประเทศเห็นความสําคัญ
(2) เพราะเป็นเงื่อนไขการได้รับเงินช่วยเหลือ
(3) เป็นระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศ
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 171, (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้ เพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขการได้รับเงิน ช่วยเหลือจากธนาคารโลก โดยเหตุผลที่ทําให้ธนาคารโลกต้องกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศ เหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้

29. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดบทบาทของรัฐที่มีการปกครองที่ดี
(1) ความโปร่งใส
(2) ความรับผิดชอบ
(3) การมีส่วนร่วม
(4) ความมีประสิทธิภาพ
(5) ความมีอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 176 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ(UNESCAP) ได้เสนอตัวชี้วัดในการพัฒนาบทบาทของรัฐที่มีลักษณะการปกครองที่ดี 8 ประการ
ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม
2. การปกครองตามหลักกฎหมาย
3. ความโปร่งใส
4. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การตอบสนอง
6. ความรับผิดชอบ
7. การดึงเป็นแนวร่วมอย่างเท่าเทียม
8. ฉันทามติ

30. บริบทการบริหารปกครองข้อใดที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลกในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ
(1) พัฒนาศักยภาพรัฐบาล
(2) การก่อรูปและปฏิบัตินโยบาย
(3) รูปแบบการปกครอง
(4) กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา
(5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอบ 3 หน้า 180, (คําบรรยาย) บริบทการบริหารปกครองที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลก ในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ ก็คือ เรื่องของรูปแบบการปกครอง เพราะธนาคารโลก ได้มีข้อกําหนดที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของประเทศผู้ขอรับทุนหรือขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลก

31. พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครองคือข้อใด
(1) การแยกแยะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
(2) สร้างระบบให้เกิดการเจรจาระหว่างตัวแสดง
(3) วิเคราะห์เงื่อนไขของการสร้างนโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 184, (คําบรรยาย) พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครอง สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. ต้องมีการแยกแยะมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เครื่องมือ และเงื่อนไขของการสร้าง นโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2. แยกแยะความหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างระบบการส่งผ่านและสะท้อนกลับของระบบการแปลงเปลี่ยนซึ่งกันและกันขององค์กรและตัวแสดงเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อกันในการสร้างนโยบาย

32. การสร้างนโยบายบนฐานทฤษฎีการจัดการเครือข่าย ตัวแสดงใดเป็นตัวแสดงนําสําคัญ
(1) รัฐ
(2) นักวิชาการ
(3) ภาคอุตสาหกรรม
(4) บรรษัท
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 – 187, (คําบรรยาย) ในทฤษฎีการจัดการเครือข่ายนั้น เครือข่ายจะเป็นตัวแสดงนํา สําคัญในการดําเนินการตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบาย การตัดสินใจและการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนภาครัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสําคัญในกําหนดกรอบเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงต่าง ๆ

33. ลักษณะของการบริหารปกครองแบบถือหางเสือ ไม่ใช่ข้อใด
(1) รัฐมีอํานาจควบคุมมาก
(2) รัฐกําหนดทิศทางในกิจการสาธารณะได้
(3) ต้องออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงอํานาจหน้าที่
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 34 – 38. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง

34. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยม เชื่อว่า ชุมชนมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปที่จะปกครอง และไม่เล็กเกินไปที่จะสร้างวิถีชีวิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนเอง ในแง่นี้การมีส่วนร่วม ของประชาชนในชุมชนจึงเป็นไปได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแทน ทุกคนในชุมชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและตัดสินใจร่วมกันได้โดยตรงอันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยทางตรงซึ่งอาศัยฉันทามติของคนในชุมชน แนวคิดนี้จึงเชื่อในการเชื่อมโยงปัจเจกกับบริบทสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่ทําให้พวกเขารวมเป็นชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกัน

35. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยม ตระหนักในการมีส่วนร่วมของคนสามัญธรรมดาแนวคิดนี้เชื่อในศีลธรรมที่ฝังอยู่ในตัวของปัจเจกชนคนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมและเชื่อในประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเหล่านั้น การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมผูกพันกับ รูปแบบเฉพาะทางการเมือง อํานาจหน้าที่ โครงสร้างและอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะสามารถ สร้าง “ความนิยมร่วมกัน” ทั้งในแง่เจตจํานงและประเด็นทั่ว ๆ ไปในสังคม

36. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากวางอยู่บนฐานคิดของ “การปลดปล่อยประชาชน” โดยการเพิ่มอํานาจให้ประชาชนผ่านเครื่องมือสําคัญคือการศึกษาแนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการศึกษาจะมีอํานาจท้าทายโครงสร้างทางอํานาจเดิมที่ครอบงํา สังคมอยู่ ทําให้เรียนรู้ที่จะสร้างสังคมใหม่ กล่าวคือ การทําให้สังคมเกิด “การตระหนักรู้”

37. แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรงคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 196 แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง

38. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตยคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตย เชื่อในปัจเจกในฐานะหน่วยที่เป็นอิสระที่สามารถกําหนดวิถีชีวิตและความหมายในการมีชีวิตของตัวเองได้ การมีส่วนร่วมในมุมมองนี้จึงยอมรับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดรัฐธรรมนูญ และการทําหน้าที่ของรัฐบาล

ตั้งแต่ข้อ 39 – 41. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(2) ประชามติ
(3) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
(4) ประชาพิจารณ์
(5) รับแจกบัตรคนจน

39. การมีส่วนร่วมเทียมชั้นถูกจัดกระทําคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมขั้นถูกจัดกระทํา เป็นระดับการมีส่วนร่วมเทียม หรือไม่มีส่วนร่วม (Pseudo-Participation or Non-Participation) ซึ่งประชาชนจะยังไม่มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีกลุ่มบุคคลจํานวนน้อยที่มีอํานาจตัดสินใจ ไม่มีการกล่าวถึงเนื้อหาหรือ วิธีการตัดสินใจ ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมนี้ เช่น การรับแจกบัตรคนจน เป็นต้น

40. การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชนคือข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

41. การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมหรือการมีส่วนร่วมบางส่วน (Degree of Tokenism or Partial Participation) ผู้มีอํานาจจะมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มากขึ้น โดยในขั้นที่ 3 (รับฟังข่าวสาร) และขั้นที่ 4 (ปรึกษาหารือ) เมื่อรับฟังแล้วจะเอาใจใส่ นําไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจหรือไม่ก็ได้ ส่วนในขั้นที่ 5 (ปลอบใจ) ประชาชน สามารถให้คําแนะนําแก่ผู้มีอํานาจได้ แต่ในระดับนี้อํานาจการตัดสินใจยังอยู่ที่ผู้มีอํานาจ เช่นเดิม ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การประชาพิจารณ์ เป็นต้น

42.CSR ย่อมาจากข้อใด
(1) Community Social Responsibility
(2) Corporate Social Responsibility
(3) Community Standard Rate
(4) Corporate Standard Rate
(5) Cultural Sociology Revolution
ตอบ 2 หน้า 209 CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ ของบริษัทหรือองค์การภาคเอกชนที่จะมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

43. ข้อใดไม่ใช่หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล
(1) มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต
(3) สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว
(4) ส่งเสริมประชาธิปไตย
(5) มีคุณธรรมจริยธรรม
ตอบ 4 หน้า 212 หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล มี 6 ประการ คือ
1. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
2. มีคุณธรรมจริยธรรม
3. มีความซื่อสัตย์สุจริต
4. มีความโปร่งใส
5. มีความรับผิดชอบ
6. สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว

44. รูปแบบการบริหารเครือข่ายที่รัฐควบคุมผลลัพธ์การทํางานของเครือข่ายผ่านเรื่องเล่ามีลักษณะอย่างไร
(1) เครือข่ายกําหนดภาระหน้าที่และกลไกการทํางานของตัวเอง
(2) รัฐสร้างการรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการให้ตัวแสดงในเครือข่าย
(3) ตัวแสดงในเครือข่ายมีอิสระตามกรอบที่รัฐกําหนด
(4) รัฐกําหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 188, (คําบรรยาย) การบริหารเครือข่ายผ่านเรื่องเล่า เป็นวิธีการที่รัฐสร้างเรื่องเล่า ให้ตัวแสดงในเครือข่ายรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีเหตุผลของตัวแสดงอิสระในเครือข่าย ในกรณีนี้เมื่อรัฐดํารงสถานะ ผู้ให้แนวทางจึงยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ทางนโยบายของรัฐได้โดยตรง วิธีการที่รัฐสามารถ นํามาชี้นําการตัดสินใจคือ การบอกเล่าเรื่องราว โดยวิธีการนี้รัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กระบวนการนโยบายโดยตรง แต่ส่งผ่านการรับรู้ การพิจารณาและการตัดสินใจของ ตัวแสดงในเครือข่ายที่เชื่อว่าตัวเองมีอิสระมากพอที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

45. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการบูรณาการ
(2) ทักษะการบังคับบัญชา
(3) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(4) ทักษะการควบคุมวง
(5) ทักษะการเจรจา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

46. ข้อใดอธิบาย “การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน” ได้ชัดเจนที่สุด
(1) ชาวกาฬสินธุ์ไปออกเสียงลงประชามติให้สร้างโรงพยาบาลแทนสวนสาธารณะ
(2) ประชาชนติดตามรับฟังข่าวสารจากทางราชการสม่ำเสมอ
(3) ประชาชนไปลงชื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีรายได้น้อย
(4) เกษตรกรเข้าอบรมโครงการฟื้นฟูสถานะหนี้สินจาก ธ.ก.ส.
(5) นักศึกษาแสดงออกเรื่องการเมืองในงานกีฬา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

47. ข้อใดคือลักษณะของ “บรรษัทนิยม”
(1) รัฐยังคงบทบาทเป็นผู้ควบคุม
(2) รัฐให้สิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจ
(3) องค์กรเอกชนและเครือข่ายนโยบายร่วมรับผิดชอบโครงการ
(4) บรรษัททําหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 212 บรรษัทนิยม (Corporatism) เป็นรูปแบบการปกครองที่รัฐมีความใกล้ชิดกับองค์กร ทางธุรกิจและแรงงาน ให้ความสําคัญและสิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจและแรงงานในเครือข่ายนโยบายให้ร่วมรับผิดชอบการริเริ่มและนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยรัฐยังควบคุมความต้องการ รวมทั้งอาจควบคุมองค์การเหล่านั้น ทั้งนี้สํานักราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า บรรษัทนิยม คือ แนวคิดในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ โดยกําหนดให้บรรษัทซึ่งถือว่าเป็น องค์การตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีบทบาทในการร่วมกําหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจน นํานโยบายไปปฏิบัติ

48. ประชาสังคมในแนวคิดการบริหารปกครองมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นหน่วยทางการปกครองของรัฐ
(2) เป็นพื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลายมารวมตัวกัน
(3) สถานที่ประชุมร่วมกันของหมู่บ้าน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 201 ประชาสังคมเป็นเงื่อนไขสําคัญอันหนึ่งของธรรมาภิบาลที่จะต้องเติบโตในฐานะ “พื้นที่เพื่อการบริหารปกครอง” ซึ่งจะอํานวยความสะดวกให้กับตัวแสดงใหม่ ๆ เข้ามาร่วมใน การพิจารณาและแก้ปัญหาของพื้นที่ตนเองแบบปราศจากลําดับการบังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็น NGOs หรือการเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ ซึ่งการที่จะดําเนินการเช่นนี้จําเป็นต้องมีกลไก การมีส่วนร่วมใหม่ ๆ และวิธีดําเนินการใหม่มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน

49. ความชอบธรรมในอํานาจการปกครองสามารถพิจารณาได้ดังนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระบอบการปกครอง
(2) ที่มาของอํานาจในการปกครอง
(3) การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
(4) การมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความชอบธรรมในอํานาจการปกครอง สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ระบอบการปกครอง
2. อํานาจอธิปไตย
3. ที่มาของอํานาจในการปกครอง
4. การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ

50. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย
(1) ผลกําไรต้องแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
(2) ดําเนินการอย่างโปร่งใส
(3) มีเป้าหมายทางสังคม
(4) ตระหนักในความสําคัญของสิ่งแวดล้อม
(5) กลุ่มผู้ผลิตของวิสาหกิจนั้น ๆ ได้รับการพัฒนา ๆ
ตอบ 1 หน้า 215 คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย มีดังนี้
1. มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. มีรูปแบบการดําเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงิน
3. เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. มีผลกําไรกลับสู่สังคมและเป้าหมายที่กําหนดไว้
5. ดําเนินการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

ตั้งแต่ข้อ 51 – 55. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) John Locke
(2) Spinoza
(3) Montesquieu
(4) Thomas Hobbes
(5) Jean Bodin

51. ส่งเสริมระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสนับสนุนอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 4 หน้า 26 ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้เสนอแนวความคิดที่สะท้อนให้เห็นถึง สัญญาสวามิภักดิ์อันเป็นการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสนับสนุนอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์

52. ผู้วางรากฐานแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 1 หน้า 27 จอห์น ล็อค (John Locke) เป็นผู้ให้กําเนิดทฤษฎีสัญญาประชาคมและวางรากฐาน แนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย เห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง ในทางเศรษฐกิจ รัฐควรปล่อยให้เศรษฐกิจเสรีที่สุด ส่วนเรื่องทางศาสนารัฐก็ต้องไม่เข้าไปยุ่ง ต้องให้สังคมถือหลักอหิงสา สําหรับเรื่องการเมืองการปกครองนั้น ล็อคเห็นว่ามนุษย์ควรอยู่ ร่วมกันในสังคมการเมือง และรัฐบาลที่ชอบธรรมจะเป็นรัฐบาลได้ก็โดยความยินยอมของ ผู้ถูกปกครองเท่านั้น

53. Theory of Sovereignty เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 5 หน้า 26 ฌอง โบแต่ง (Jean Bodin) ได้เสนอทฤษฎีอํานาจอธิปไตย (Theory of Sovereignty) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักกฎหมายมหาชนทั้งภายในและระหว่างประเทศที่สําคัญตั้งแต่นั้น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในทางระบอบการปกครองแนวความคิดของโบแดงทําให้เกิดระบอบ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้น และเป็นผู้ทําให้รัฐมีอํานาจอธิปไตยขึ้นมา ทั้งนี้เพราะโบแดงต้องการให้สภาพสงครามและการปราศจากกฎหมายในยุคกลางหมดไป โดยให้อยู่ภายใต้อํานาจสูงสุดที่ออกกฎหมายและรักษาความสงบในสังคมของกษัตริย์นั่นเอง

54. ระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 2 หน้า 27 สปิโนซา (Spinoza) เป็นคนแรกที่เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นเป็นระบอบ การปกครองที่ดีที่สุด โดยเขาได้ประณามการใช้อํานาจโดยมิชอบในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่า “ความลับสุดยอดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และผลประโยชน์ของระบอบนี้ คือ การหลอกลวงมนุษย์ด้วยกัน และอ้างเหตุผลทางศาสนามาปิดบังความกลัวที่มนุษย์ทั้งหลาย จะลุกขึ้นต่อต้าน โดยใช้ให้คนเหล่านี้ไปสู้รบและตายแทน”

55. Separation of Power เป็นแนวคิดของใคร
ตอบ 3 หน้า 28 – 29, (คําบรรยาย) มงเตสกิเออร์ (Montesquieu) เป็นผู้ให้กําเนิดหลักการแบ่งแยก การใช้อํานาจ (Separation of Power) อธิบายว่า รัฐอธิปไตยทุกรัฐมีอํานาจที่จะปฏิบัติกิจการ ของรัฐอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ ถ้าอํานาจ ทั้ง 3 ประการนี้รวมอยู่ภายใต้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันแล้ว “ทุกสิ่งทุกอย่างของประชาชน จะสูญสิ้นไป” ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการใช้อํานาจโดยมิชอบจึงต้องจัดระบบการปกครอง ในลักษณะที่ผู้ถืออํานาจคนหนึ่งถ่วงหรือยับยั้งการใช้อํานาจเกินขอบเขตของผู้ถืออํานาจคนอื่น ๆ ได้ การควบคุมการใช้อํานาจโดยมิชอบจึงต้องใช้วิธีการแบ่งแยกอํานาจและถ่วงดุลอํานาจ (Checks and Balances) ระหว่างผู้ถืออํานาจด้วยกันให้อยู่ในระดับพอเหมาะอยู่เสมอ

ตั้งแต่ข้อ 56. – 60. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักกฎหมายทั่วไป
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง

56. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กร ของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 4 หน้า 43 – 44 สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มี 3 ประการ ดังนี้
1. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ

57. การใช้กฎหมายจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชน สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจหลักอะไร
ตอบ 5 หน้า 44 หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หรือเรียกว่า หลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองนั้น ตามหลักนิติรัฐ หลักในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงหลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองเข้ากับ หลักประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน กล่าวคือ การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการก็ดี หรือฝ่ายปกครอง ก็ดีจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนนั้นจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชนก่อน

58. หลักการที่สําคัญ คือ ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขา กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครอง จะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมายฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นนั้นหรือไม่ สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 2 หน้า 47 – 48 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง หมายความว่า ฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเอกชนคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและเฉพาะแต่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นตามหลักการดังกล่าวจึงมีหลักการที่สําคัญอยู่ว่า ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมาย ฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นว่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อํานาจ ฝ่ายปกครองจะต้องละความตั้งใจที่จะกระทําเช่นว่านั้น

59. แนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือเจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมี การนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 หลักกฎหมายทั่วไป เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือ เจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์ บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมีการนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น

60. ศาลเป็นผู้นําหลักอันเป็นนามธรรม มาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบ การใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 – 57 หลักกฎหมายทั่วไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นหลักประกันหรือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจากการใช้อํานาจตามอําเภอใจของฝ่ายปกครอง โดยหลักกฎหมาย ทั่วไปนั้นมิได้เกิดขึ้นตามอําเภอใจของศาล ศาลมิได้สร้างกฎหมายขึ้นมาใช้เอง แต่การยอมรับ หลักกฎหมายทั่วไปของศาลเป็นการนําเอาความเชื่อ ความเห็นของส่วนรวมอันเป็นหลักการ พื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและรากฐานของระบบกฎหมายในสังคมนั้น ๆ มาพัฒนา เป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับคดีที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลเป็นผู้นํา หลักอันเป็นนามธรรมมาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง

61. ข้อใดเป็นรูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ไม่สุจริต
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 110 – 112 รูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ สําหรับการนั้น
3. การกระทําที่ไม่สุจริต
4. การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
5. การกระทําที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
6. การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

62. กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์ เป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) เป็นการไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 2 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีของการปฏิบัติที่ขัดต่อหลักความเสมอภาค มีความลําเอียง มีอคติหรือใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา เพศ สภาพร่างกาย หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน เช่น กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐโดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน

63. กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพ ด้วยการใส่สูทและผูกเนคไท เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(2) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(3) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการนอกเหนืออํานาจ
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้
ตอบ 2 หน้า 112 กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการ ต้องแต่งกายสุภาพนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐ ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการดังกล่าวต้องใส่สูทและผูกเนคไทด้วย ระเบียบดังกล่าว ย่อมเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรซึ่งถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

64. ข้อใดเป็นการกระทําที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(1) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(2) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องภาษา เพศ สภาพร่างกายมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(3) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

65. การที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกําหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพ เป็นรูปแบบ
การกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(1) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นให้เกิดกับ
ประชาชนเกินควร
(2) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(3) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ไม่เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

66. กรณีการลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
(1) เป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) เป็นการกระทําที่ไม่สุจริต
(3) เป็นการกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) เป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น ตอบ 3 หน้า 112 – 113 การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐมีอํานาจดุลพินิจ (Discretionary Power) ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้ อํานาจดุลพินิจนั้นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร เช่น กรณีการลงโทษ ทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป้นต้น

ตั้งแต่ข้อ 67, – 71. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง

67. “บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 1 หน้า 117 หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักการที่บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ
แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด และห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออกมาตรการใด ๆ ซึ่งหากได้ลงมือบังคับใช้แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมาก ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตกแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม

68. “เป็นอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 5 หน้า 127 หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายมหาชนที่กําหนดให้นิติบุคคลซึ่งจัดทําหรือกํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะมีอํานาจพิเศษที่แตกต่างไปจากวิธีการทางกฎหมายเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง หรือเอกสิทธิ์ของ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ

69. “ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการพิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่น ในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตาม
หลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 หลักความเป็นกลาง หรือความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการ พิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง

70. “บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือการไม่เลือกปฏิบัตินั่นเอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทาง ปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 2 หน้า 118 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ อธิบายว่า ในระบบกฎหมายของฝรั่งเศส หลักความ เสมอภาคปรากฏเป็นที่ยอมรับและผูกพันองค์กรของรัฐในอันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณะแล้ว ย่อมหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ “การไม่เลือกปฏิบัติ” นั่นเอง

71. “เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 4 หน้า 123 หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยผลบังคับของหลักการนี้มีอยู่ว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนจะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลนั้นทราบและ ให้เขามีโอกาสโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นและแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโค้งแย้งของตน

72. “เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 152 – 153 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้ การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย
1. หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
2. หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
3. หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
4. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ

73. “ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็น ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 153 หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ หมายถึง ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงาน ที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็นต้องมีการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้

74. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง (1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
(2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีการยึด
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการโอนกิจการเป็นของรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5 หน้า 40 การได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง มี 2 วิธี คือ
1. การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
2. การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งมี 3 กรณี คือ การเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ การโอนกิจการเป็นของรัฐ และด้วยวิธีการยึด

75. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ
(1) นิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
(2) การกระทําทั้งหลายขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
(3) กฎหมายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) การกล่าวว่านิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมายอาจจะนําไปสู่ ความเข้าใจผิดได้เพราะเป็นการมองแบบแคบ ๆ โดยในทางเนื้อหานั้น คือ เป็นนิติรัฐที่เป็น เสรีนิยม คํานึงถึงความยุติธรรม ส่วนรัฐที่สนใจแต่เพียงกฎหมายในทางรูปแบบ ฝ่ายปกครอง จะผูกพันตนต่อกฎหมาย ไม่สนใจว่ากฎหมายนั้นจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ (ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ)

76. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ
(1) มาตรการทางกฎหมาย
(2) อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
(3) บุคลากรของรัฐ
(4) ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 40 ฝ่ายปกครองมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ 4 ประการ คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. บุคลากรของรัฐ
3. ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
4. อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง

77. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจโดยองค์กร
ของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
(2) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจ
หรือความยินยอมจากเอกชน
(3) กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหาร ใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยกําหนด ให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65 ชาญชัย แสวงศักดิ์ อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหา
แยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทาง บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารงาน บุคคลภาครัฐ เช่น กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหารโดยใช้ หลักการรวมอํานาจ โดยกําหนดให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
2. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
3. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ

78. ข้อใดเป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่รัฐมีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่ง ต้องปฏิบัติตาม
(2) การที่รัฐให้ทุนการศึกษา ซึ่งถือเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
(3) การที่รัฐตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง คือ
1. การกระทําที่รัฐเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน เช่น มีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่งนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตาม
2. มีการกระทําบางอย่างที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบ อุบัติเหตุ ให้ทุนการศึกษา หรือให้เงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. การกระทําทางปกครองในลักษณะการวางแผน เช่น การตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ำ สร้างทางด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งการกระทบสิทธิและให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน

79. ข้อใดไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
(2) การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
(3) การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3 ที่ไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(5) ไม่มี เพราะทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 – 75 มานิตย์ จุมปา อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง หมายถึง
1. การกระทําของรัฐที่ไม่ใช่การกระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางตุลาการหรือการกระทํา ทางรัฐบาล และ
2. การกระทําของรัฐนั้นมีลักษณะของการกระทําที่กําหนด ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน หรือระงับ ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตัวอย่างการกระทําทางปกครอง เช่น
– การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
– การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
– การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
– การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ

80. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะการกระทําทางปกครอง
(1) การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
(2) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
ประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
(3) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 75 นัยนา เกิดวิชัย อธิบายว่า การกระทําทางปกครองมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
2. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารไม่ใช่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
3. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
4. มีลักษณะเป็นการกําหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้เปลี่ยนแปลงหรือระงับซึ่งสิทธิ

81. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 102 – 104 สิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง มีดังนี้
1. สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2. สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย

3. สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
4. สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และรับแจ้งสิทธิหน้าที่
5. สิทธิได้รับและรับทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
6.สิทธิได้รับทราบถึงแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคําสั่งทางปกครอง

82. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(3) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(4) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(5) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิได้รับแจ้ง ผลกระทบต่อสิทธิ แต่ไม่ทุกกรณี กล่าวคือ ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจจะกระทบถึง สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน แต่มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
2. เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้อง ล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ)

83. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือตรวจดูเอกสารได้ โดยคู่กรณีมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จําเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีก็ไม่มีสิทธิ ตรวจดูเอกสาร และเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็น กรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (ดูคําอธิบายข้อ 81. และ 82. ประกอบ)

84. ข้อถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ์ทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ

(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81 – 83. ประกอบ

85. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) คู่กรณีไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(2) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(3) คู่กรณีมีสิทธินําทนายหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทาง กฎหมายได้ กล่าวคือ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งการใด ที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่ คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น (ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ)

86. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังไม่ได้
(2) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(3) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลังก็ได้ แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(4) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 114 หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
2. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้แต่กฎหมายก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคําสั่งทางปกครองย้อนหลังลบล้างคําสั่งนั้น แต่หาก จําเป็นต้องเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็จะต้องกําหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

87. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของผู้รับคําสั่งทางปกครองที่จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) บุคคลผู้มีพฤติกรรมได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
(2) บุคคลผู้มีพฤติกรรมแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) บุคคลผู้มีพฤติกรรมข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(4) บุคคลผู้มีพฤติกรรมรู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 115 ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคําสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และจะต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
1. แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2.ได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ
3. รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

88. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(2) คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในสวัสดิการของข้าราชการ
(4) คําสั่งเลื่อนขั้นในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 100 – 101 ฤทัย หงส์สิริ อธิบายว่า ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า “คําสั่งทางปกครอง” มีตัวอย่างพอสรุปได้ดังนี้
1. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น คําสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ ประกอบกิจการโรงงาน สถานบริการ เป็นต้น
2. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะ เป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
4. คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
5. คําสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัว เช่น คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ เช่น คําสั่งแต่งตั้ง เลื่อนขั้นตําแหน่ง คําสั่งลงโทษทางวินัย คําสั่งพักราชการในระหว่างสอบสวนทางวินัย เป็นต้น คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ เช่น คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษา พยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

89. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
(2) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่ารักษาพยาบาล
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วยโดยอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบใดเป็นเหตุผลบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 กําหนดว่า คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
2. ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
3. ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ

91. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครองสามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ
(2) เจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้
(3) ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัยได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 101 โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง สามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ให้อยู่แล้ว เช่น กรณี ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัย ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ แต่ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น ในเรื่องของ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับจดทะเบียน การรับรอง การอนุมัติ การออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น

92. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) คําสั่งทางปกครองจะต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น
(2) คําสั่งทางปกครองจะทําด้วยวาจาได้
(3) คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ นอกเหนือจากเป็นหนังสือ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 104 คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นหนังสือ หรือทําด้วยวาจา หรือโดยรูปแบบอื่นก็ได้ กฎหมายบางฉบับระบุไว้ชัดเจนว่าต้องทําคําสั่งในเรื่องนั้นเป็นหนังสือ แต่ถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิจะเลือกทําคําสั่งในรูปแบบใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจอันเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่นั้นเอง โดยต้องพิจารณาจากความเร่งด่วนและความจําเป็นของ สถานการณ์เป็นสําคัญ

93. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(2) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะเข้าใจได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 104 – 105 คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทําเป็นหนังสือ ย่อมขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน และคําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนคําสั่ง ทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง และคําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้

94. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของประโยชน์สาธารณะ
(1)ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
(2) เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐบาลแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐบาลได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการ ในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 144 – 145 ลักษณะของประโยชน์สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
2. ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของสังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้

95. ข้อใดผิด
(1) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(2) คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ผิด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งนั้นได้แจ้งคําสั่งทางปกครองนั้นแก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองให้ทราบ และมีผลบังคับตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอน หรือสิ้นผลโดยเงื่อนไขของระยะเวลาหรือโดยเหตุอื่น (ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ)

ตั้งแต่ข้อ 96. – 100. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1)
(1) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) ไม่สุจริต
(4) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

96. เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจแบบ Discretionary Power ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ Discretionary Power ไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

97. กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

98. เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
ตอบ 3 หน้า 111 การกระทําที่ไม่สุจริต เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจ ในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น

99. การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาส
บุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 111 การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้ สําหรับการนั้น คือ การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิ์โต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ

100. ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทําเช่นนั้นไว้
ตอบ 1 หน้า 110 การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทํา เช่นนั้นไว้ตามหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองที่ว่า “ไม่มีอํานาจหากไม่มีกฎหมาย”

POL2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดไม่ใช่หลักการของธรรมาภิบาล
(1) โปร่งใส
(2) คุ้มค่า
(3) มีส่วนร่วม
(4) ประชาธิปไตย
(5) นิติธรรม
ตอบ 4 หน้า 169 – 170 หลักการของธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance) ประกอบด้วยหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม
5. หลักความสํานึกรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า

2.“วิกฤตต้มยํากุ้ง” หมายถึงข้อใด
(1) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540
(2) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2550
(3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในไทย พ.ศ. 2550
(4) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในเอเชีย พ.ศ. 2540
(5) ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านอาหารไทย พ.ศ. 2550
ตอบ 1 หน้า 15, 169, (คําบรรยาย) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือเรียกอีกอย่างว่า “วิกฤตต้มยํากุ้ง” เป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจการเงินที่ส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย จากวิกฤตดังกล่าวได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องขอรับความช่วยเหลือ ทางด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการกู้เงินดังกล่าว

3.ข้อใดคือหลักการของความคุ้มค่า
(1) รับผิดชอบต่อสังคม
(2) ให้ข้อมูลกับประชาชน
(3) ตรวจสอบได้
(4) กติกาต้องถูกต้องเป็นธรรม
(5) จัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตอบ 5 หน้า 169 หลักความคุ้มค่า คือ การจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะทรัพยากร ในแต่ละประเทศมีจํากัด และเป็นของส่วนรวม ขณะเดียวกันก็ต้องคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด ในระยะยาวต่อสังคมและประเทศชาติ

4. ข้อใดคือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) WB
(2) IMF
(3) ICC
(4) WHO
(5) UN
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

5.สิทธิในข้อใดที่เป็นสิทธิในหลักธรรมาภิบาล
(1) สิทธิมนุษยชน
(2) สิทธิในการเลือกตั้ง
(3) สิทธิทางวัฒนธรรม
(4) สิทธิการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ธนาคารโลกมีการกําหนดว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็น ทางการเมืองของประเทศผู้รับทุน ข้อห้ามนี้ทําให้ธนาคารโลกไม่พิจารณาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะพิจารณาสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหัวใจในการให้ ความช่วยเหลือของธนาคารโลก

6.อะไรคือความหมายของ “กลไกมือที่มองไม่เห็น”
(1) ตัวแสดงที่ไม่ปรากฏตัวชัดเจน
(2) ตัวแสดงทางเศรษฐกิจ
(3) กลไกตลาดที่ดําเนินด้วยอุปสงค์และอุปทาน
(4) กลไกปฏิสัมพันธ์ของเครือข่าย
(5) กลไกทางวัฒนธรรมของราชการ
ตอบ 3 หน้า 184 กลไกจัดการโดยตลาดและการสนับสนุนแรงจูงใจ อาศัย “กลไกมือที่มองไม่เห็น” ซึ่งก็คือ “กลไกของตลาด” ที่จะผลักดันผ่านการแข่งขันกันทั้งในแง่การบริหารและการสร้าง นวัตกรรมมาเสนอ รัฐจะเก็บบทบาทการจัดสรรไว้แต่ไม่รับผิดชอบในกระบวนการผลิตสินค้า และบริการสาธารณะ รัฐใช้การเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้วใช้การกํากับดูแลติดตามผลการทํางาน ในเงื่อนไขนี้มีประเด็นสําคัญคือ รัฐต้องสร้างเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมงานสาธารณะให้เข้าสู่เงื่อนไขการตลาดอย่างแท้จริง

ตั้งแต่ข้อ 7. – 11. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

7. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างสายบังคับบัญชาคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 172 โครงสร้างแบบสายบังคับบัญชา เป็นโครงสร้างที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญ ในการบริหารปกครอง โดยภาครัฐและเอกชนจะแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน รัฐจะ เป็นศูนย์กลางของการดูแลผลประโยชน์สาธารณะและกําหนดให้เอกชนดําเนินการตามบทบาทที่กําหนดโดยรัฐ ในโครงสร้างแบบนี้รัฐอาจลดบทบาทในการควบคุมกิจกรรมทาง เศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนเข้ามาดําเนินการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าภายใต้การควบคุมของรัฐ แต่รัฐก็อ่อนแอกว่าภาคเอกชนทําให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ดังนั้นปัญหาสําคัญของโครงสร้างแบบนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความต้องการที่หลากหลายของ คนในรัฐ รวมทั้งศักยภาพของรัฐทําให้รัฐไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รัฐจึงไม่สามารถบรรลุความสําเร็จในการพัฒนารัฐได้

8.ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบการถือหางเสือคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 174, (คําบรรยาย) การบริหารปกครองแบบการถือหางเสือ เชื่อว่า รัฐมีความสามารถ ที่จะกําหนดทิศทางและถือหางเสือในกิจการสาธารณะในสังคมได้ ในแง่นี้รัฐยังคงมีบทบาทสําคัญ ในการบริหารปกครองแต่มีอํานาจควบคุมน้อยลง การบริหารปกครองนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง อํานาจหน้าที่และอํานาจควบคุมจากกฎหมายของรัฐ ปัญหาสําคัญของการบริหารปกครอง แบบนี้ก็คือ เมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไปทําหน้าที่เพียงการถือหางเสือ ไม่ได้เป็นผู้กําหนดเป้าหมายอาจทําให้เป้าหมายไม่ชัดเจน

9. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบชุมชนคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 173 โครงสร้างแบบชุมชน มีแนวคิดมาจากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองและ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชนได้โดยให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด ดังนั้น การบริหารปกครองในโครงสร้างแบบนี้จึงอยู่ในแนวคิดของการไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

10. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างเครือข่ายคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 172 – 173 โครงสร้างแบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่มีการเชื่อมโยงชุมชน (ตัวแสดง)
นโยบายโดยเชื่อว่าจะสามารถเอื้อต่อการจัดสรรผลประโยชน์ของสาธารณะและผลประโยชน์ ส่วนบุคคลได้ ในโครงสร้างแบบนี้นโยบายจะถูกพิจารณาจากหลายภาคส่วนร่วมกันจึงจัดสรร ผลประโยชน์ส่วนรวมได้ดีกว่า อีกทั้งมีการแยกการควบคุมและความรับผิดชอบในนโยบาย ออกจากกัน โดยเครือข่ายจะควบคุมการริเริ่มนโยบายที่ส่งมาจากทุกฝ่ายและฝ่ายรัฐจะเป็น ผู้รับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคส่วน ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างรัฐกับเครือข่าย อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐยังคงต้องรับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ภายในรัฐ การท้าทายผลประโยชน์ของรัฐจากเครือข่ายจึงเป็นไปได้ยาก และประเด็นท้าทายคือรัฐจะ สามารถหาตัวแสดงจากภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือในเครือข่ายได้อย่างไร

11. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบตลาดคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 172, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบตลาด เป็นโครงสร้างที่มีตัวแสดงหลักเป็นตัวแสดงทางเศรษฐกิจ โดยปัญหาในการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของตัวแสดงและตลาดซึ่งมีพลังขับเคลื่อนคือผลประโยชน์ส่วนตัว การมีกลไกให้ตัวแสดงทางเศรษฐกิจสามารถประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาจึงเป็นลักษณะเด่นของโครงสร้างนี้ แต่ปัญหาสําคัญของโครงสร้างนี้ คือ กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาความร่วมมือ

12. การบริหารเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวแสดงในเครือข่าย โดยที่รัฐยังเป็นตัวกลางประสานงานคือกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบใด
(1) แบบทฤษฎีเกม
(2) แบบโครงสร้างเครือข่าย
(3) แบบปกครองตัวเอง
(4) แบบการมีส่วนร่วม
(5) แบบใช้เรื่องเล่า
ตอบ 1 หน้า 187 กลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบทฤษฎีเกม ใช้ในการบริหารเครือข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนเครือข่ายหรือตัวแสดงใด ๆ ในเครือข่าย วิธีการสําคัญคือ การเสนอ นโยบายที่ต้องการให้เกิดขึ้นและรวบรวมตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาตัดสินใจร่วม กรณีนี้รัฐ ยังเป็นตัวกลางในการประสานสร้างการประนีประนอมให้ทุกตัวแสดงบรรลุผลประโยชน์ของตัวเองโดยที่เป้าหมายนโยบายยังคงอยู่ รัฐต้องเรียกร้องให้ทุกตัวแสดงยอมรับเงื่อนไขใหม่ของการบริหารปกครองและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากร

13. องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ข้อใด
(1) การต่อรอง
(2) ส่วนรวม
(3) ผลประโยชน์หลากหลาย
(4) มีระบบที่เป็นทางการ
(5) ตัวแสดงหลากหลาย
ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจ ร่วมกัน มีดังนี้ 1. ตัวแสดงหลากหลาย 2. ผลประโยชน์หลากหลาย 3. เน้นความเป็น ส่วนรวม 4. ไม่ต้องการระบบที่เป็นทางการ 5. เน้นการเจรจาต่อรอง ฯลฯ

14. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(2) ทักษะการควบคุมวง
(3) ทักษะการเจรจา
(4) ทักษะการบังคับบัญชา
(5) ทักษะการบูรณาการ
ตอบ 4 หน้า 188 ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย มีดังนี้
1. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
2. ทักษะการควบคุมวง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด การเจรจา การต่อรองเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
3. ทักษะการบูรณาการ

15. ข้อใดคือความหมายของตัวการ (Principle) ในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(1) หัวหน้าผู้มอบหมายงาน
(2) เจ้าของกิจการ
(3) คณะกรรมการบริหาร
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 189, 210, (คําบรรยาย) ตัวแสดงในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน (Theories of Delegation) ประกอบด้วย
1. ตัวการ (Principle) คือ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอํานาจจริงในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
2. ตัวแทน (Agent) คือ คนที่ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้ดําเนินการแทนผู้มีอํานาจจริง เช่น ผู้จัดการ เป็นต้น

16. การที่ตัวแสดงที่หลากหลายได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการ ไว้แล้ว จะอยู่ในพื้นที่การบริหารปกครองแบบใด
(1) พื้นที่แบบปิด
(2) พื้นที่รับเชิญ
(3) พื้นที่สร้างสรรค์
(4) พื้นที่ประชุม
(5) พื้นที่ของทางราชการ
ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) พื้นที่รับเชิญ (Invited Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลาย ได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการไว้แล้ว พื้นที่ ลักษณะนี้ให้ความสําคัญกับกระบวนการที่ต้องมีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อยืนยันว่าการริเริ่ม หรือดําเนินการนั้น ๆ อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมหรือริเริ่มโดยประชาชน

17. หลักการทางเลือกที่มีเหตุผล คือข้อใด
(1) ทุกคนมีเหตุผลภายใต้การเข้าใจและการให้ความหมายสิ่งรอบตัว
(2) ทุกคนไม่มีอิสระแท้จริงในการเลือก
(3) การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผลคือคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงมีผลต่อการตัดสินใจร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 190 ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนหลักทางเลือกที่มีเหตุผล (Rational Choice) กล่าวคือ บุคคลมีเป้าหมายส่วนตัวที่จะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้บุคคลตัดสินใจ ซึ่งจะต้องเลือกผลประโยชน์สูงสุด แต่ทฤษฎีนี้ได้ขยายความการเลือกอย่างมีเหตุผลดังกล่าวว่าบุคคลจะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงผลประโยชน์สูงสุดแต่อยู่บนฐานข้อจํากัดในการประมวล ข้อมูลข่าวสาร การทําความเข้าใจสถานการณ์และการคิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งเป็นผลจากศักยภาพ ของมนุษย์ ดังนั้นกระบวนการตัดสินใจของบุคคลจึงมีความซับซ้อนเพราะการคิดถึงเรื่องประโยชน์สูงสุดวางอยู่ภายใต้การประมวลข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์

18. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นองค์กรประเภทใด
(1) บรรษัทภิบาล
(2) บรรษัทนิยม
(3) การบริหารงานภาครัฐ
(4) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(5) รัฐวิสาหกิจ
ตอบ 4 หน้า 207 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่าเป็นการดําเนินการในรูปวิสาหกิจ
เพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)

19. อะไรคือแรงผลักดันสําคัญในทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(1) ผลประโยชน์สูงสุด
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) กฎเกณฑ์ของสังคม
(4) ความเชื่อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

20. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญในการบริหารปกครอง
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

21. หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะมีหลักการของการมีส่วนร่วมและหลักการนิติธรรม
(2) ได้ เพราะมีหลักการของการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการปกครอง
(4) ไม่ได้ เพราะทําให้รัฐอ่อนแอลง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ทั้งนี้เพราะหลักธรรมาภิบาลมีหลักการที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น หลักการมีส่วนร่วม หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น

22. อะไรคือเหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้
(1) ทุกประเทศเห็นความสําคัญ
(2) เพราะเป็นเงื่อนไขการได้รับเงินช่วยเหลือ
(3) เป็นระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศ
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 171, (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้ เพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขการได้รับเงิน ช่วยเหลือจากธนาคารโลก โดยเหตุผลที่ทําให้ธนาคารโลกต้องกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศ เหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้

23. การสร้างนโยบายบนฐานทฤษฎีการจัดการเครือข่าย ตัวแสดงใดเป็นตัวแสดงนําสําคัญ
(1) รัฐ
(2) นักวิชาการ
(3) ภาคอุตสาหกรรม
(4) บรรษัท
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 – 187, (คําบรรยาย) ในทฤษฎีการจัดการเครือข่ายนั้น เครือข่ายจะเป็นตัวแสดงนํา สําคัญในการดําเนินการตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบาย การตัดสินใจและการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนภาครัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสําคัญในกําหนดกรอบเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงต่าง ๆ

24. บริบทการบริหารปกครองข้อใดที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลกในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ
(1) พัฒนาศักยภาพรัฐบาล
(2) การก่อรูปและปฏิบัตินโยบาย
(3) รูปแบบการปกครอง
(4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(5) กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 180, (คําบรรยาย) บริบทการบริหารปกครองที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลก ในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ ก็คือ เรื่องของรูปแบบการปกครอง เพราะธนาคารโลก ได้มีข้อกําหนดที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของประเทศผู้ขอรับทุนหรือขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลก

25. พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครองคือข้อใด
(1) การแยกแยะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
(2) สร้างระบบให้เกิดการเจรจาระหว่างตัวแสดง
(3) วิเคราะห์เงื่อนไขของการสร้างนโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 184, (คําบรรยาย) พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครอง สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. ต้องมีการแยกแยะมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เครื่องมือ และเงื่อนไขของการสร้าง นโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2. แยกแยะความหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างระบบการส่งผ่านและสะท้อนกลับของระบบการแปลงเปลี่ยนซึ่งกันและกันขององค์กรและตัวแสดงเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อกันในการสร้างนโยบาย

26. ลักษณะของการบริหารปกครองแบบถือหางเสือ ไม่ใช่ข้อใด
(1) รัฐมีอํานาจควบคุมมาก
(2) รัฐกําหนดทิศทางในกิจการสาธารณะได้
(3) ต้องออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงอํานาจหน้าที่
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 27. – 31. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง

27. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยม เชื่อว่า ชุมชนมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปที่จะปกครอง และไม่เล็กเกินไปที่จะสร้างวิถีชีวิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนเอง ในแง่นี้การมีส่วนร่วม ของประชาชนในชุมชนจึงเป็นไปได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแทน ทุกคนในชุมชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและตัดสินใจร่วมกันได้โดยตรงอันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยทางตรงซึ่งอาศัยฉันทามติของคนในชุมชน แนวคิดนี้จึงเชื่อในการเชื่อมโยงปัจเจกกับบริบทสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่ทําให้พวกเขารวมเป็นชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกัน

28. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยม ตระหนักในการมีส่วนร่วมของคนสามัญธรรมดา
แนวคิดนี้เชื่อในศีลธรรมที่ฝังอยู่ในตัวของปัจเจกชนคนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมและเชื่อในประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเหล่านั้น การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมผูกพันกับ รูปแบบเฉพาะทางการเมือง อํานาจหน้าที่ โครงสร้างและอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะสามารถ สร้าง “ความนิยมร่วมกัน” ทั้งในแง่เจตจํานงและประเด็นทั่ว ๆ ไปในสังคม

29. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากวางอยู่บนฐานคิดของ “การปลดปล่อยประชาชน” โดยการเพิ่มอํานาจให้ประชาชนผ่านเครื่องมือสําคัญคือการศึกษาแนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการศึกษาจะมีอํานาจท้าทายโครงสร้างทางอํานาจเดิมที่ครอบงํา สังคมอยู่ ทําให้เรียนรู้ที่จะสร้างสังคมใหม่ กล่าวคือ การทําให้สังคมเกิด “การตระหนักรู้”

30. แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรงคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 196 แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง

31. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตยคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตย เชื่อในปัจเจกในฐานะหน่วยที่เป็น อิสระที่สามารถกําหนดวิถีชีวิตและความหมายในการมีชีวิตของตัวเองได้ การมีส่วนร่วมในมุมมองนี้จึงยอมรับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดรัฐธรรมนูญ และการทําหน้าที่ของรัฐบาล

32. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดบทบาทของรัฐที่มีการปกครองที่ดี
(1) ความโปร่งใส
(2) ความรับผิดชอบ
(3) การมีส่วนร่วม
(4) ความมีประสิทธิภาพ
(5) ความมีอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 176 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UNESCAP) ได้เสนอตัวชี้วัดในการพัฒนาบทบาทของรัฐที่มีลักษณะการปกครองที่ดี 8 ประการ
ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม
2. การปกครองตามหลักกฎหมาย
3. ความโปร่งใส
4. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การตอบสนอง
6. ความรับผิดชอบ
7. การดึงเป็นแนวร่วมอย่างเท่าเทียม
8. ฉันทามติ

ตั้งแต่ข้อ 33 – 35. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(2) ประชามติ
(3) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
(4) ประชาพิจารณ์
(5) รับแจกบัตรคนจน

33. การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชนคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน (Degree of Citizen Power) เป็นระดับอํานาจการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่มีลักษณะการใช้อํานาจแตกต่างกัน กล่าวคือ ในขั้นที่ 6 จะเป็นการเจรจาต่อรองของอํานาจระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะหุ้นส่วน ในงานนั้น ๆ ในขั้นที่ 7 ประชาชนได้มอบอํานาจให้ผู้แทนไปตัดสินใจแทน ส่วนในขั้นที่ 8 ประชาชน

สามารถควบคุมกระบวนการตัดสินใจได้ ในระดับนี้ประชาชนมีอํานาจในการตัดสินใจ สามารถ เจรจาผลได้ผลเสียกับผู้มีอํานาจเดิมได้ จึงถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การลงประชามติ การออกเสียงเลือกตั้ง การยื่นถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น

34. การมีส่วนร่วมเทียมขั้นถูกจัดกระทําคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมขั้นถูกจัดกระทํา เป็นระดับการมีส่วนร่วมเทียม หรือไม่มีส่วนร่วม (Pseudo-Participation or Non-Participation) ซึ่งประชาชนจะยังไม่มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีกลุ่มบุคคลจํานวนน้อยที่มีอํานาจตัดสินใจ ไม่มีการกล่าวถึงเนื้อหาหรือ วิธีการตัดสินใจ ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมนี้ เช่น การรับแจกบัตรคนจน เป็นต้น

35. การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมหรือการมีส่วนร่วมบางส่วน (Degree of Tokenism or Partial Participation) ผู้มีอํานาจจะมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มากขึ้น โดยในขั้นที่ 3 (รับฟังข่าวสาร) และขั้นที่ 4 (ปรึกษาหารือ) เมื่อรับฟังแล้วจะเอาใจใส่ นําไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจหรือไม่ก็ได้ ส่วนในขั้นที่ 5 (ปลอบใจ) ประชาชน สามารถให้คําแนะนําแก่ผู้มีอํานาจได้ แต่ในระดับนี้อํานาจการตัดสินใจยังอยู่ที่ผู้มีอํานาจ เช่นเดิม ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การประชาพิจารณ์ เป็นต้น

36.CSR ย่อมาจากข้อใด
(1) Community Social Responsibility
(2) Corporate Social Responsibility
(3) Community Standard Rate
(4) Corporate Standard Rate
(5) Cultural Sociology Revolution
ตอบ 2 หน้า 209 CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ ของบริษัทหรือองค์การภาคเอกชนที่จะมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

37. ข้อใดไม่ใช่หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล
(1) มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต
(3) สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว
(4) ส่งเสริมประชาธิปไตย
(5) มีคุณธรรมจริยธรรม
ตอบ 4 หน้า 212 หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล มี 6 ประการ คือ
1. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ 2. มีคุณธรรมจริยธรรม 3. มีความซื่อสัตย์สุจริต 4. มีความโปร่งใส
5. มีความรับผิดชอบ 6. สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว

38. รูปแบบการบริหารเครือข่ายที่รัฐควบคุมผลลัพธ์การทํางานของเครือข่ายผ่านเรื่องเล่ามีลักษณะอย่างไร
(1) เครือข่ายกําหนดภาระหน้าที่และกลไกการทํางานของตัวเอง
(2) รัฐสร้างการรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการให้ตัวแสดงในเครือข่าย
(3) ตัวแสดงในเครือข่ายมีอิสระตามกรอบที่รัฐกําหนด
(4) รัฐกําหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 188, (คําบรรยาย) การบริหารเครือข่ายผ่านเรื่องเล่า เป็นวิธีการที่รัฐสร้างเรื่องเล่า ให้ตัวแสดงในเครือข่ายรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีเหตุผลของตัวแสดงอิสระในเครือข่าย ในกรณีนี้เมื่อรัฐดํารงสถานะ
ผู้ให้แนวทางจึงยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ทางนโยบายของรัฐได้โดยตรง วิธีการที่รัฐสามารถ นํามาชี้นําการตัดสินใจคือ การบอกเล่าเรื่องราว โดยวิธีการนี้รัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กระบวนการนโยบายโดยตรง แต่ส่งผ่านการรับรู้ การพิจารณาและการตัดสินใจของ ตัวแสดงในเครือข่ายที่เชื่อว่าตัวเองมีอิสระมากพอที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

39. ข้อใดอธิบาย “การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน” ได้ชัดเจนที่สุด
(1) ชาวกาฬสินธุ์ไปออกเสียงลงประชามติให้สร้างโรงพยาบาลแทนสวนสาธารณะ
(2) ประชาชนติดตามรับฟังข่าวสารจากทางราชการสม่ําเสมอ
(3) ประชาชนไปลงชื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีรายได้น้อย
(4) เกษตรกรเข้าอบรมโครงการฟื้นฟูสถานะหนี้สินจาก ธ.ก.ส.
(5) นักศึกษาแสดงออกเรื่องการเมืองในงานกีฬา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

40. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการบูรณาการ
(2) ทักษะการบังคับบัญชา
(3) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(4) ทักษะการควบคุมวง
(5) ทักษะการเจรจา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

41. ข้อใดคือลักษณะของ “บรรษัทนิยม”
(1) รัฐยังคงบทบาทเป็นผู้ควบคุม
(2) รัฐให้สิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจ
(3) องค์กรเอกชนและเครือข่ายนโยบายร่วมรับผิดชอบโครงการ
(4) บรรษัททําหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 212 บรรษัทนิยม (Corporatism) เป็นรูปแบบการปกครองที่รัฐมีความใกล้ชิดกับองค์กร ทางธุรกิจและแรงงาน ให้ความสําคัญและสิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจและแรงงานในเครือข่ายนโยบายให้ร่วมรับผิดชอบการริเริ่มและนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยรัฐยังควบคุมความต้องการ รวมทั้งอาจควบคุมองค์การเหล่านั้น ทั้งนี้สํานักราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า บรรษัทนิยม คือ แนวคิดในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ โดยกําหนดให้บรรษัทซึ่งถือว่าเป็น องค์การตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีบทบาทในการร่วมกําหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจน นํานโยบายไปปฏิบัติ

42. ประชาสังคมในแนวคิดการบริหารปกครองมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นหน่วยทางการปกครองของรัฐ
(2) เป็นพื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลายมารวมตัวกัน
(3) สถานที่ประชุมร่วมกันของหมู่บ้าน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 201 ประชาสังคมเป็นเงื่อนไขสําคัญอันหนึ่งของธรรมาภิบาลที่จะต้องเติบโตในฐานะ “พื้นที่เพื่อการบริหารปกครอง” ซึ่งจะอํานวยความสะดวกให้กับตัวแสดงใหม่ ๆ เข้ามาร่วมใน การพิจารณาและแก้ปัญหาของพื้นที่ตนเองแบบปราศจากลําดับการบังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็น NGOs หรือการเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ ซึ่งการที่จะดําเนินการเช่นนี้จําเป็นต้องมีกลไก การมีส่วนร่วมใหม่ ๆ และวิธีดําเนินการใหม่มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน

43. ความชอบธรรมในอํานาจการปกครองสามารถพิจารณาได้ดังนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระบอบการปกครอง
(2) ที่มาของอํานาจในการปกครอง
(3) การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
(4) การมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5(คําบรรยาย) ความชอบธรรมในอํานาจการปกครอง สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ระบอบการปกครอง
2. อํานาจอธิปไตย
3. ที่มาของอํานาจในการปกครอง
4. การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ

44. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย
(1) ผลกําไรต้องแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
(2) ดําเนินการอย่างโปร่งใส
(3) มีเป้าหมายทางสังคม
(4) ตระหนักในความสําคัญของสิ่งแวดล้อม
(5) กลุ่มผู้ผลิตของวิสาหกิจนั้น ๆ ได้รับการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 215 คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย มีดังนี้
1. มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. มีรูปแบบการดําเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงิน
3. เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
5. ดําเนินการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล
4. มีผลกําไรกลับสู่สังคมและเป้าหมายที่กําหนดไว้

ตั้งแต่ข้อ 45 – 49. ให้นักศึกษาจับคู่คําตอบต่อไปนี้ให้ตรงกับความหมายหรือความเกี่ยวข้องกับ
ข้อความที่ให้มา
(1) สถานประกอบการภาคเอกชน
(2) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(3) สถานประกอบการสาธารณะ
(4) การบริหารงานภาครัฐ
(5) รัฐวิสาหกิจ

45. รัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) คือ องค์การ หน่วยงาน หรือบริษัทที่รัฐ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีการดําเนินงานในเชิงธุรกิจซึ่งเกี่ยวโยงกับกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ หรือสาธารณูปการที่มีความสําคัญ หรือจําเป็นต่อการดํารงชีพของประชาชน ดังนั้นการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจจึงมีลักษณะที่มุ่งแสวงหากําไรและนําผลกําไรมาแบ่งปันให้ผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจเอกชน

46. รัฐเป็นเจ้าของมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของสังคม
ตอบ 4 หน้า 214 ลักษณะขององค์กรซึ่งแบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของและเป้าหมายการสร้างกําไร มีดังนี้

47. สาธารณะเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

49. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

50. ตัวแสดงทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทมากในการชี้นําในโครงสร้างการบริหารปกครองแบบใด
(1) แบบชุมชน
(2) แบบตลาด
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบสายบังคับบัญชา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

51. ข้อใดถูกต้อง
(1) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกําหนด
(2) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(3) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ออกโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 94 ศาลปกครองสูงสุด มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังนี้
1. คดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกําหนด
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
4. คดีที่กฎหมายกําหนดให้อยู่ในอํานาจศาลปกครองสูงสุด

52. ข้อใดถูกต้อง
(1) ลักษณะของ “กฏโดยสภาพ” เป็นการวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันถ้าเกิดมีขึ้น
(2) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น
(3) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันถ้าเกิดมีขึ้น
(4) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น
(5) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังก็ได้
ตอบ 2 หน้า 95 กฎ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. กฏโดยสภาพ เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดว่าถ้ามีข้อเท็จจริงใดเกิดขึ้นตรงตามที่กําหนดแล้วก็จะมีผลทางกฎหมายเกิดขึ้นตามที่กฏได้กําหนดไว้ ดังนั้นลักษณะของกฏโดยสภาพจึงเป็น การวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น แต่หากไม่มีเหตุใดเกิดขึ้นกฎนั่นก็ไม่อาจสร้างผลให้เกิดขึ้นได้เลย
2. กฏโดยสมมติ โดยสภาพไม่เป็นกฎตามทฤษฎี แต่ถือว่าเป็นกฎเพื่อให้เกิดผลในกฎหมาย ที่ให้องค์กรทางปกครองตามที่กําหนดสามารถออกกฎได้ กฎโดยสมมติจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก โดยอาจใช้กับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังลงไปก็ได้

53. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎโดยสมมติจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก
(2) กฎโดยสภาพจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก
(3) กฎโดยสมมติอาจใช้กับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังลงไปก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54. ข้อใดเป็นกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี
(1) กฎ ก.พ.
(2) พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนําไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2527
(3) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 96 – 98 รูปแบบของกฎทางปกครอง มีดังนี้
1. กฎที่เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอํานาจของรัฐธรรมนูญประกอบกับพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนําไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2527
2. กฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี เช่น กฎ ก.พ.
3. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ออกโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง
4. กฎที่เป็นระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่น เช่น ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 ฯลฯ

55. ข้อใดเป็นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
(1) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(2) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(3) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 56. – 60. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักกฎหมายทั่วไป
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง

56. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กร ของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 4 หน้า 43 – 44 สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มี 3 ประการ ดังนี้
1. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ

57. การใช้กฎหมายจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิ
หรือจํากัดสิทธิของประชาชนจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชน สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจหลักอะไร
ตอบ 5 หน้า 44 หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หรือเรียกว่า หลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองนั้น ตามหลักนิติรัฐ หลักในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงหลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองเข้ากับ หลักประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน กล่าวคือ การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการก็ดี หรือฝ่ายปกครอง ก็ดีจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนนั้นจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชนก่อน

58. หลักการที่สําคัญ คือ ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขา กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครอง จะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมายฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นนั้นหรือไม่ สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 2 หน้า 47 – 48 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง หมายความว่า ฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเอกชนคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและเฉพาะแต่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นตามหลักการดังกล่าวจึงมีหลักการที่สําคัญอยู่ว่า ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมาย ฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นว่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อํานาจ ฝ่ายปกครอง จะต้องละความตั้งใจที่จะกระทําเช่นว่านั้น

59. แนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือเจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมี การนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 หลักกฎหมายทั่วไป เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือ เจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์ บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมีการนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น

60. ศาลเป็นผู้นําหลักอันเป็นนามธรรม มาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบ การใช้อําานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 – 57 หลักกฎหมายทั่วไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นหลักประกันหรือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจากการใช้อํานาจตามอําเภอใจของฝ่ายปกครอง โดยหลักกฎหมาย ทั่วไปนั้นมิได้เกิดขึ้นตามอําเภอใจของศาล ศาลมิได้สร้างกฎหมายขึ้นมาใช้เอง แต่การยอมรับ หลักกฎหมายทั่วไปของศาลเป็นการนําเอาความเชื่อ ความเห็นของส่วนรวมอันเป็นหลักการ พื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและรากฐานของระบบกฎหมายในสังคมนั้น ๆ มาพัฒนา เป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับคดีที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลเป็นผู้นํา หลักอันเป็นนามธรรมมาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง

61. ข้อใดเป็นรูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ไม่สุจริต
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 110 – 112 รูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ สําหรับการนั้น
3. การกระทําที่ไม่สุจริต
4. การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
5. การกระทําที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชน เกินสมควร
6. การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

62. กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์ เป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) เป็นการไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 2 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีของการปฏิบัติที่ขัดต่อ หลักความเสมอภาค มีความลําเอียง มีอคติหรือใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา เพศ สภาพร่างกาย หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน เช่น
– กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์
– กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน

63. กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพ ด้วยการใส่สูทและผูกเนคไท เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(2) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(3) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการนอกเหนืออํานาจ
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้
ตอบ 2 หน้า 112 กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการ ต้องแต่งกายสุภาพนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐ ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการดังกล่าวต้องใส่สูทและผูกเนคไทด้วย ระเบียบดังกล่าว ย่อมเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรซึ่งถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

64. ข้อใดเป็นการกระทําที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(1) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(2) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องภาษา เพศ สภาพร่างกายมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(3) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

65. การที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกําหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพ เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(1) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(2) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(3) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ไม่เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

66. กรณีการลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
(1) เป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) เป็นการกระทําที่ไม่สุจริต
(3) เป็นการกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) เป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 3 หน้า 112 – 113 การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐมีอํานาจดุลพินิจ (Discretionary Power) ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้ อํานาจตุลพินิจนั้นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร เช่น กรณีการลงโทษ ทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 67 – 71. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง

67. “บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 1 หน้า 117 หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักการที่บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติแต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด และห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออกมาตรการใด ๆ ซึ่งหากได้ลงมือบังคับใช้แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมาก ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตกแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม

68.“เป็นอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ”ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 5 หน้า 127 หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายมหาชนที่กําหนดให้
นิติบุคคลซึ่งจัดทําหรือกํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะมีอํานาจพิเศษที่แตกต่างไปจาก วิธีการทางกฎหมายเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง หรือเอกสิทธิ์ของ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ

69. “ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการพิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่น ในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตาม
หลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 หลักความเป็นกลาง หรือความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการ พิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาและ วินิจฉัยทางปกครอง

70. “บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือการไม่เลือกปฏิบัตินั่นเอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทาง ปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 2 หน้า 118 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ อธิบายว่า ในระบบกฎหมายของฝรั่งเศส หลักความ เสมอภาคปรากฏเป็นที่ยอมรับและผูกพันองค์กรของรัฐในอันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณะแล้ว ย่อมหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ “การไม่เลือกปฏิบัติ” นั่นเอง

71. “เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 4 หน้า 123 หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยผลบังคับของหลักการนี้มีอยู่ว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนจะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลนั้นทราบและ ให้เขามีโอกาสโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นและแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโค้งแย้งของตน

72. “เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 152 – 153 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้ การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย
1. หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
2. หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
3. หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
4. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ

73. “ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็น ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 153 หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ หมายถึง ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงาน ที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็นต้องมีการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้

74. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ
(1) มาตรการทางกฎหมาย
(2) อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
(3) บุคลากรของรัฐ
(4) ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 40 ฝ่ายปกครองมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ 4 ประการ คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. บุคลากรของรัฐ
3. ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
4. อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง

75. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง
(1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
(2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีการยึด
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการโอนกิจการเป็นของรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5 หน้า 40 การได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครองมี 2 วิธี คือ
1. การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
2. การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งมี 3 กรณี คือ การเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ การโอนกิจการเป็นของรัฐ และด้วยวิธีการยึด

76. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ
(1) นิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
(2) การกระทําทั้งหลายขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
(3) กฎหมายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) การกล่าวว่านิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมายอาจจะนําไปสู่ ความเข้าใจผิดได้เพราะเป็นการมองแบบแคบ ๆ โดยในทางเนื้อหานั้น คือ เป็นนิติรัฐที่เป็น เสรีนิยม คํานึงถึงความยุติธรรม ส่วนรัฐที่สนใจแต่เพียงกฎหมายในทางรูปแบบ ฝ่ายปกครอง จะผูกพันตนต่อกฎหมาย ไม่สนใจว่ากฎหมายนั้นจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ (ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ)

77. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
(2) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจ
หรือความยินยอมจากเอกชน
(3) กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหาร ใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยกําหนด ให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65 ชาญชัย แสวงศักดิ์ อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทาง บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารงาน บุคคลภาครัฐ เช่น กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหารโดยใช้ หลักการรวมอํานาจ โดยกําหนดให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
2. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
3. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ

78. ข้อใดเป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่รัฐมีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่ง ต้องปฏิบัติตาม
(2) การที่รัฐให้ทุนการศึกษา ซึ่งถือเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
(3) การที่รัฐตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง คือ
1. การกระทําที่รัฐเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน เช่น มีมาตรการต่าง มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่งนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตาม
2. มีการกระทําบางอย่างที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบ อุบัติเหตุ ให้ทุนการศึกษา หรือให้เงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. การกระทําทางปกครองในลักษณะการวางแผน เช่น การตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา สร้างทางด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งการกระทบสิทธิและให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน

79. ข้อใดไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
(2) การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
(3) การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3 ที่ไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(5) ไม่มี เพราะทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 – 75 มานิตย์ จุมปา อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง หมายถึง
1. การกระทําของรัฐที่ไม่ใช่การกระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางตุลาการหรือการกระทํา ทางรัฐบาล และ
2. การกระทําของรัฐนั้นมีลักษณะของการกระทําที่กําหนด ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน หรือระงับ ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตัวอย่างการกระทําทางปกครอง เช่น
-การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
-การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
-การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
-การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ

80. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะการกระทําทางปกครอง
(1) การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
(2) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
(3) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 75 นัยนา เกิดวิชัย อธิบายว่า การกระทําทางปกครองมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
2. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารไม่ใช่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
3. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
4. มีลักษณะเป็นการกําหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้เปลี่ยนแปลงหรือระงับซึ่งสิทธิ

81. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 102 – 104 สิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง มีดังนี้
1. สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2. สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
3. สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
4. สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และรับแจ้งสิทธิหน้าที่
5. สิทธิได้รับและรับทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
6. สิทธิได้รับทราบถึงแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคําสั่งทางปกครอง

82. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(3) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(4) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(5) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิได้รับแจ้ง ผลกระทบต่อสิทธิ แต่ไม่ทุกกรณี กล่าวคือ ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจจะกระทบถึง สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน แต่มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
2. เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ)

ตั้งแต่ข้อ 83 – 84. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ

(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3

83. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
ตอบ 4 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือตรวจดูเอกสารได้ โดยคู่กรณีมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จําเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีก็ไม่มีสิทธิ ตรวจดูเอกสาร และเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (ดูคําอธิบายข้อ 81. และ 82. ประกอบ)

84. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. — 83. ประกอบ

85. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) คู่กรณีไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(2) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(3) คู่กรณีมีสิทธินําทนายหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทาง กฎหมายได้ กล่าวคือ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่
คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งการใด ที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่ คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น (ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ)

86. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังไม่ได้
(2) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้
แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(3) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลังก็ได้ แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(4) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 114 หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
2. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้ แต่กฎหมายก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคําสั่งทางปกครองย้อนหลังลบล้างคําสั่งนั้น แต่หากจําเป็นต้องเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็จะต้องกําหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

87. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของผู้รับคําสั่งทางปกครองที่จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) บุคคลผู้มีพฤติกรรมได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
(2) บุคคลผู้มีพฤติกรรมแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) บุคคลผู้มีพฤติกรรมข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(4) บุคคลผู้มีพฤติกรรมรู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 115 ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคําสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และจะต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
1. แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2. ได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ
3. รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

88. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(2) คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในสวัสดิการของข้าราชการ
(4) คําสั่งเลื่อนขั้นในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 100 – 101 ฤทัย หงส์ศิริ อธิบายว่า ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า “คําสั่งทางปกครอง” มีตัวอย่างพอสรุปได้ดังนี้
1. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น คําสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ ประกอบกิจการโรงงาน สถานบริการ เป็นต้น
2. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะ เป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
4. คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
5. คําสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัว เช่น
-คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ เช่น คําสั่งแต่งตั้ง เลื่อนขั้นตําแหน่ง คําสั่งลงโทษทางวินัย คําสั่งพักราชการในระหว่างสอบสวนทางวินัย เป็นต้น
-คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ เช่น คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษา พยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

89. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
(2) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่ารักษาพยาบาล
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครองสามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ
(2) เจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้
(3) ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัยได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 101 โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง สามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ให้อยู่แล้ว เช่น กรณีผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัย ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ แต่ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทาง ปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น ในเรื่องของ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับจดทะเบียน การรับรอง การอนุมัติ การออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น

91. คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วย โดยอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบใดเป็นเหตุผลบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 กําหนดว่าคําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผล
ไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
2. ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
3. ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ

92. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) คําสั่งทางปกครองจะต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น
(2) คําสั่งทางปกครองจะทําด้วยวาจาได้
(3) คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ นอกเหนือจากเป็นหนังสือ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 104 คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นหนังสือ หรือทําด้วยวาจา หรือโดยรูปแบบอื่นก็ได้ กฎหมายบางฉบับระบุไว้ชัดเจนว่าต้องทําคําสั่งในเรื่องนั้นเป็นหนังสือ แต่ถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิจะเลือกทําคําสั่งในรูปแบบใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจอันเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่นั้นเอง โดยต้องพิจารณาจากความเร่งด่วนและความจําเป็นของ สถานการณ์เป็นสําคัญ

93. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(2) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะเข้าใจได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 104 – 105 คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทําเป็นหนังสือ ย่อมขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน และคําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนคําสั่ง ทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง และคําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้

94. ข้อใดผิด
(1) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(2) คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ผิด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งนั้นได้แจ้งคําสั่งทางปกครองนั้นแก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองให้ทราบ และมีผลบังคับตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอน หรือสิ้นผลโดยเงื่อนไขของระยะเวลาหรือโดยเหตุอื่น (ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ)

95. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของประโยชน์สาธารณะ
(1) ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
(2) เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐบาลแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐบาลได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 144 – 145 ลักษณะของประโยชน์สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
2. ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของสังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้

ตั้งแต่ข้อ 96. – 100. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1)
(1) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) ไม่สุจริต
(4) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

96. เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจแบบ Discretionary Power ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ Discretionary Power ไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

97. กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

98. เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
ตอบ 3 หน้า 111 การกระทําที่ไม่สุจริต เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจ ในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น

99. การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาส
บุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 111 การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้ สําหรับการนั้น คือ การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ

100. ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทําเช่นนั้นไว้
ตอบ 1 หน้า 110 การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทํา เช่นนั้นไว้ตามหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองที่ว่า “ไม่มีอํานาจหากไม่มีกฎหมาย”

POL2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 102 – 104 สิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง มีดังนี้
1. สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2. สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
3. สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
4. สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และรับแจ้งสิทธิหน้าที่
5. สิทธิได้รับและรับทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
6. สิทธิได้รับทราบถึงแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคําสั่งทางปกครอง

2. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยมคือข้อใด
(1) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
ตอบ 4 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยม เชื่อว่า ชุมชนมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปที่จะปกครอง และไม่เล็กเกินไปที่จะสร้างวิถีชีวิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนเอง ในแง่นี้การมีส่วนร่วม ของประชาชนในชุมชนจึงเป็นไปได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแทน ทุกคนในชุมชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและตัดสินใจร่วมกันได้โดยตรงอันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยทางตรงซึ่งอาศัยฉันทามติของคนในชุมชน แนวคิดนี้จึงเชื่อในการเชื่อมโยงปัจเจกกับบริบทสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่ทําให้พวกเขารวมเป็นชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกัน

3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(2) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะเข้าใจได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 104 – 105 คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทําเป็นหนังสือ ย่อมขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน และคําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนคําสั่ง ทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง และคําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้

4. องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ข้อใด
(1) มีระบบที่เป็นทางการ
(2) ส่วนรวม
(3) ผลประโยชน์หลากหลาย
(4) ตัวแสดงหลากหลาย
(5) การต่อรอง
ตอบ 1 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจ ร่วมกัน มีดังนี้
1. ตัวแสดงหลากหลาย
2. ผลประโยชน์หลากหลาย
3. เน้นความเป็น ส่วนรวม
4. ไม่ต้องการระบบที่เป็นทางการ
5. เน้นการเจรจาต่อรอง ฯลฯ

5. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร แม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ

(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 102 – 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิได้รับแจ้ง ผลกระทบต่อสิทธิ แต่ไม่ทุกกรณี กล่าวคือ ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจจะกระทบถึง สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน แต่มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
2. เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้อง ล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังกําหนดให้คู่กรณี มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารได้ โดยคู่กรณีมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จําเป็น ต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครอง ในเรื่องนั้น คู่กรณีก็ไม่มีสิทธิตรวจดูเอกสาร และเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสาร หรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ)

6.จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่งอนุมาตรา (1) “ การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่กฎหมาย กําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณีโดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ”
(1) ไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
ตอบ 4 หน้า 111 การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้ สําหรับการนั้น คือ การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณีโดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ

7. อะไรคือเหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้
(1) ทุกประเทศเห็นความสําคัญ
(2) เพราะเป็นเงื่อนไขการได้รับเงินช่วยเหลือ
(3) เป็นระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศ
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 171, (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้ เพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขการได้รับเงิน ช่วยเหลือจากธนาคารโลก โดยเหตุผลที่ทําให้ธนาคารโลกต้องกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศ เหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้

8. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการควบคุมวง
(2) ทักษะการบังคับบัญชา
(3) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(4) ทักษะการบูรณาการ
(5) ทักษะการเจรจา
ตอบ 2 หน้า 188 ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย มีดังนี้
1. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
2. ทักษะการควบคุมวง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด การเจรจา การต่อรองเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
3. ทักษะการบูรณาการ

9.การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมคือข้อใด
(1) ประชาพิจารณ์
(2) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(3) รับแจกบัตรคนจน
(4) ประชามติ
(5) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
ตอบ 1 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมหรือการมีส่วนร่วมบางส่วน (Degree of Tokenism or Partial Participation) ผู้มีอํานาจจะมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มากขึ้น โดยในขั้นที่ 3 (รับฟังข่าวสาร) และขั้นที่ 4 (ปรึกษาหารือ) เมื่อรับฟังแล้วจะเอาใจใส่ นําไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจหรือไม่ก็ได้ ส่วนในขั้นที่ 5 (ปลอบใจ) ประชาชน สามารถให้คําแนะนําแก่ผู้มีอํานาจได้ แต่ในระดับนี้อํานาจการตัดสินใจยังอยู่ที่ผู้มีอํานาจ เช่นเดิม ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การประชาพิจารณ์ เป็นต้น

10. ข้อใดเป็นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
(1) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(2) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(3) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 96 – 98 รูปแบบของกฎทางปกครอง มีดังนี้
1. กฎที่เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอํานาจของรัฐธรรมนูญประกอบกับพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนําไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2527
2. กฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี เช่น กฎ ก.พ.
3. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ออกโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง
4. กฎที่เป็นระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่น เช่น ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 ฯลฯ

11. รูปแบบการบริหารเครือข่ายที่รัฐควบคุมผลลัพธ์การทํางานของเครือข่ายผ่านเรื่องเล่ามีลักษณะอย่างไร
(1) เครือข่ายกําหนดภาระหน้าที่และกลไกการทํางานของตัวเอง
(2) รัฐสร้างการรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการให้ตัวแสดงในเครือข่าย
(3) ตัวแสดงในเครือข่ายมีอิสระตามกรอบที่รัฐกําหนด
(4) รัฐกําหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 188, (คําบรรยาย) การบริหารเครือข่ายผ่านเรื่องเล่า เป็นวิธีการที่รัฐสร้างเรื่องเล่า ให้ตัวแสดงในเครือข่ายรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีเหตุผลของตัวแสดงอิสระในเครือข่าย ในกรณีนี้เมื่อรัฐดํารงสถานะ ผู้ให้แนวทางจึงยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ทางนโยบายของรัฐได้โดยตรง วิธีการที่รัฐสามารถ นํามาชี้นําการตัดสินใจคือ การบอกเล่าเรื่องราว โดยวิธีการนี้รัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กระบวนการนโยบายโดยตรง แต่ส่งผ่านการรับรู้ การพิจารณาและการตัดสินใจของ ตัวแสดงในเครือข่ายที่เชื่อว่าตัวเองมีอิสระมากพอที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

12. การบริหารเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวแสดงในเครือข่าย โดยที่รัฐยังเป็นตัวกลางประสานงานคือกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบใด
(1) แบบการมีส่วนร่วม
(2) แบบโครงสร้างเครือข่าย
(3) แบบใช้เรื่องเล่า
(4) แบบทฤษฎีเกม
(5) แบบปกครองตัวเอง
ตอบ 4 หน้า 187 กลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบทฤษฎีเกม ใช้ในการบริหารเครือข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนเครือข่ายหรือตัวแสดงใด ๆ ในเครือข่าย วิธีการสําคัญคือ การเสนอ นโยบายที่ต้องการให้เกิดขึ้นและรวบรวมตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาตัดสินใจร่วม กรณีนี้รัฐยัง เป็นตัวกลางในการประสานสร้างการประนีประนอมให้ทุกตัวแสดงบรรลุผลประโยชน์ของตัวเองโดยที่เป้าหมายนโยบายยังคงอยู่ รัฐต้องเรียกร้องให้ทุกตัวแสดงยอมรับเงื่อนไขใหม่ของการบริหารปกครองและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากร

13. สิทธิในข้อใดที่เป็นสิทธิในหลักธรรมาภิบาล
(1) สิทธิมนุษยชน
(2) สิทธิในการเลือกตั้ง
(3) สิทธิทางวัฒนธรรม
(4) สิทธิการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ธนาคารโลกมีการกําหนดว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็น ทางการเมืองของประเทศผู้รับทุน ข้อห้ามนี้ทําให้ธนาคารโลกไม่พิจารณาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะพิจารณาสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหัวใจในการให้ ความช่วยเหลือของธนาคารโลก

14. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
(2) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้
แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(3) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลังก็ได้ แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(4) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังไม่ได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 114 หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
2. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้แต่กฎหมายก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคําสั่งทางปกครองย้อนหลังลบล้างคําสั่งนั้น แต่หาก จําเป็นต้องเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็จะต้องกําหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น

15. หลักการที่สําคัญ คือ ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขา กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมายฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นนั้นหรือไม่ สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
(1) หลักนิติธรรม
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักกฎหมายทั่วไป
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
ตอบ 2 หน้า 47 – 48 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง หมายความว่า ฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเอกชนคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและเฉพาะแต่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นตามหลักการดังกล่าวจึงมีหลักการที่สําคัญอยู่ว่า ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพ ของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมาย ฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นว่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อํานาจ ฝ่ายปกครอง จะต้องละความตั้งใจที่จะกระทําเช่นว่านั้น

16. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครอง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1) “เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือ วัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น”
(1) ไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
ตอบ 1 หน้า 111 การกระทําที่ไม่สุจริต เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจ ในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น

17. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย
(1) ดําเนินการอย่างโปร่งใส
(2) กลุ่มผู้ผลิตของวิสาหกิจนั้น ๆ ได้รับการพัฒนา ๆ
(3) ตระหนักในความสําคัญของสิ่งแวดล้อม
(4) ผลกําไรต้องแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
(5) มีเป้าหมายทางสังคม
ตอบ 4 หน้า 215 คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย มีดังนี้
1. มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. มีรูปแบบการดําเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงิน
3. เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. มีผลกําไรกลับสู่สังคมและเป้าหมายที่กําหนดไว้
5. ดําเนินการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

18. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
(1) สถานประกอบการภาคเอกชน
(2) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(3) สถานประกอบการสาธารณะ
(4) การบริหารงานภาครัฐ
(5) รัฐวิสาหกิจ
ตอบ 1 หน้า 214 ลักษณะขององค์กรซึ่งแบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของและเป้าหมายการสร้างกําไร มีดังนี้

 

19. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) คู่กรณีไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(2) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (3) คู่กรณีมีสิทธินําทนายหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทาง กฎหมายได้ กล่าวคือ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งการใด ที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ)

20. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของประโยชน์สาธารณะ
(1) ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
(2) เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐบาลแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐบาลได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการ ในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 144 – 145 ลักษณะของประโยชน์สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
2. ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของสังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้

21. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) คําสั่งทางปกครองจะต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น
(2) คําสั่งทางปกครองจะทําด้วยวาจาได้
(3) คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ นอกเหนือจากเป็นหนังสือ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 104 คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นหนังสือ หรือทําด้วยวาจา หรือโดยรูปแบบอื่นก็ได้ กฎหมายบางฉบับระบุไว้ชัดเจนว่าต้องทําคําสั่งในเรื่องนั้นเป็นหนังสือ แต่ถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิจะเลือกทําคําสั่งในรูปแบบใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจอันเป็นความ รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่นั้นเอง โดยต้องพิจารณาจากความเร่งด่วนและความจําเป็นของ สถานการณ์เป็นสําคัญ

22. อะไรคือแรงผลักดันสําคัญในทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(1) ผลประโยชน์สูงสุด
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) กฎเกณฑ์ของสังคม
(4) ความเชื่อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 190 ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนหลักทางเลือกที่มีเหตุผล (Rational Choice) กล่าวคือ บุคคลมีเป้าหมายส่วนตัวที่จะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้บุคคลตัดสินใจ ซึ่งจะต้องเลือกผลประโยชน์สูงสุด แต่ทฤษฎีนี้ได้ขยายความการเลือกอย่างมีเหตุผลดังกล่าวว่าบุคคลจะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงผลประโยชน์สูงสุดแต่อยู่บนฐานข้อจํากัดในการประมวล ข้อมูลข่าวสาร การทําความเข้าใจสถานการณ์และการคิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งเป็นผลจากศักยภาพ ของมนุษย์ ดังนั้นกระบวนการตัดสินใจของบุคคลจึงมีความซับซ้อนเพราะการคิดถึงเรื่องประโยชน์สูงสุดวางอยู่ภายใต้การประมวลข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์

23. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมคือข้อใด
(1) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
ตอบ 2 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยม ตระหนักในการมีส่วนร่วมของคนสามัญธรรมดาแนวคิดนี้เชื่อในศีลธรรมที่ฝังอยู่ในตัวของปัจเจกชนคนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมและเชื่อในประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเหล่านั้น การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมผูกพันกับ รูปแบบเฉพาะทางการเมือง อํานาจหน้าที่ โครงสร้างและอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะสามารถ สร้าง “ความนิยมร่วมกัน” ทั้งในแง่เจตจํานงและประเด็นทั่ว ๆ ไปในสังคม

24. ข้อใดไม่ใช่หลักการของธรรมาภิบาล
(1) โปร่งใส
(2) คุ้มค่า
(3) มีส่วนร่วม
(4) ประชาธิปไตย
(5) นิติธรรม
ตอบ 4 หน้า 169 – 170 หลักการของธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ประกอบด้วยหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม
5. หลักความสํานึกรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า

25. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างสายบังคับบัญชาคือข้อใด
(1) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
ตอบ 2 หน้า 172 โครงสร้างแบบสายบังคับบัญชา เป็นโครงสร้างที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญ ในการบริหารปกครอง โดยภาครัฐและเอกชนจะแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน รัฐจะเป็นศูนย์กลางของการดูแลผลประโยชน์สาธารณะและกําหนดให้เอกชนดําเนินการตามบทบาทที่กําหนดโดยรัฐ ในโครงสร้างแบบนี้รัฐอาจลดบทบาทในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนเข้ามาดําเนินการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าภายใต้การควบคุมของรัฐ แต่รัฐก็อ่อนแอกว่าภาคเอกชนทําให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ดังนั้นปัญหาสําคัญของโครงสร้างแบบนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความต้องการที่หลากหลายของ คนในรัฐ รวมทั้งศักยภาพของรัฐทําให้รัฐไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รัฐจึงไม่สามารถบรรลุความสําเร็จในการพัฒนารัฐได้

26. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบชุมชนคือข้อใด
(1)ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
ตอบ 1 หน้า 172 โครงสร้างแบบชุมชน มีแนวคิดมาจากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองและ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชนได้โดยให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด ดังนั้น การบริหารปกครองในโครงสร้างแบบนี้จึงอยู่ในแนวคิดของการไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด

27. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของผู้รับคําสั่งทางปกครองที่จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) บุคคลผู้มีพฤติกรรมได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
(2) บุคคลผู้มีพฤติกรรมแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) บุคคลผู้มีพฤติกรรมข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(4) บุคคลผู้มีพฤติกรรมรู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 115 ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคําสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และจะต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
1. แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2. ได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ
3. รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

28. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
(2) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่ารักษาพยาบาล
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 100 – 101 ฤทัย หงส์สิริ อธิบายว่า ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า “คําสั่งทางปกครอง” มีตัวอย่างพอสรุปได้ดังนี้
1. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น คําสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ ประกอบกิจการโรงงาน สถานบริการ เป็นต้น
2. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะ เป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
4. คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
5. คําสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัว เช่น คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ เช่น คําสั่งแต่งตั้ง เลื่อนขั้นตําแหน่ง คําสั่งลงโทษทางวินัย คําสั่งพักราชการในระหว่างสอบสวนทางวินัย เป็นต้น คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ เช่น คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษา พยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

29. ข้อใดคือความหมายของตัวการ (Principle) ในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(1) หัวหน้าผู้มอบหมายงาน
(2) เจ้าของกิจการ
(3) คณะกรรมการบริหาร
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 189, (คําบรรยาย) ตัวแสดงในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน (Theories of Delegation) ประกอบด้วย
1. ตัวการ (Principle) คือ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอํานาจจริง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
2. ตัวแทน (Agent) คือ คนที่ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้ดําเนินการแทนผู้มีอํานาจจริง เช่น ผู้จัดการ เป็นต้น

30. ข้อใดเป็นการกระทําที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(1) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(2) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องภาษา เพศ สภาพร่างกายมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(3) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีของการปฏิบัติที่ขัดต่อ หลักความเสมอภาค มีความลําเอียง มีอคติหรือใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา เพศ สภาพร่างกาย หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน เช่น
– กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์
– กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน

31. ข้อใดผิด
(1) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(2) คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผล
ทางกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ผิด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งนั้นได้แจ้งคําสั่งทาง ปกครองนั้นแก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองให้ทราบ และมีผลบังคับตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอน หรือสิ้นผลโดยเงื่อนไขของระยะเวลาหรือโดยเหตุอื่น (ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ)

32. ข้อใดเป็นรูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ไม่สุจริต
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 110 – 112 รูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ สําหรับการนั้น
3. การกระทําที่ไม่สุจริต
4. การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
5. การกระทําที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
6. การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

33. “เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 152 – 153 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้ การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย
1. หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
2. หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
3. หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
4. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ

34. การที่ตัวแสดงที่หลากหลายได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการ
ไว้แล้ว จะอยู่ในพื้นที่การบริหารปกครองแบบใด
(1) พื้นที่แบบปิด
(2) พื้นที่รับเชิญ
(3) พื้นที่สร้างสรรค์
(4) พื้นที่ประชุม
(5) พื้นที่ของทางราชการ
ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) พื้นที่รับเชิญ (Invited Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลาย ได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการไว้แล้ว พื้นที่ ลักษณะนี้ให้ความสําคัญกับกระบวนการที่ต้องมีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อยืนยันว่าการริเริ่ม หรือดําเนินการนั้น ๆ อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมหรือริเริ่มโดยประชาชน

35. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎโดยสมมติจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก
(2) กฎโดยสภาพจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก
(3) กฎโดยสมมติอาจใช้กับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังลงไปก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 95 กฎ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. กฏโดยสภาพ เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดว่าถ้ามีข้อเท็จจริงใดเกิดขึ้นตรงตามที่กําหนดแล้วก็จะมีผลทางกฎหมายเกิดขึ้นตามที่กฏได้กําหนดไว้ ดังนั้นลักษณะของกฏโดยสภาพจึงเป็น การวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น แต่หากไม่มีเหตุใดเกิดขึ้นกฎนั้นก็ไม่อาจสร้างผลให้เกิดขึ้นได้เลย
2. กฎโดยสมมติ โดยสภาพไม่เป็นกฎตามทฤษฎี แต่ถือว่าเป็นกฎเพื่อให้เกิดผลในกฎหมาย ที่ให้องค์กรทางปกครองตามที่กําหนดสามารถออกกฎได้ กฎโดยสมมติจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก โดยอาจใช้กับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังลงไปก็ได้

36. ข้อใดคือหลักการของความคุ้มค่า
(1) ตรวจสอบได้
(2) ให้ข้อมูลกับประชาชน
(3) จัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(4) กติกาต้องถูกต้องเป็นธรรม
(5) รับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3 หน้า 169 หลักความคุ้มค่า คือ การจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะทรัพยากร ในแต่ละประเทศมีจํากัด และเป็นของส่วนรวม ขณะเดียวกันก็ต้องคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดในระยะยาวต่อสังคมและประเทศชาติ

37. ความชอบธรรมในอํานาจการปกครองสามารถพิจารณาได้ดังนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระบอบการปกครอง
(2) ที่มาของอํานาจในการปกครอง
(3) การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
(4) การมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความชอบธรรมในอํานาจการปกครอง สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ระบอบการปกครอง
2. อํานาจอธิปไตย
3. ที่มาของอํานาจในการปกครอง
4. การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ

38. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะการกระทําทางปกครอง
(1) การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
(2) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
ประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
(3) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 75 นัยนา เกิดวิชัย อธิบายว่า การกระทําทางปกครองมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
2. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
ไม่ใช่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
3. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
ประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
4. มีลักษณะเป็นการกําหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้เปลี่ยนแปลงหรือระงับซึ่งสิทธิ

39. แนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือเจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมี การนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
(1) หลักนิติรัฐ
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักกฎหมายทั่วไป
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
ตอบ 4 หน้า 56 หลักกฎหมายทั่วไป เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือ เจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์ บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมีการนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น

40. ศาลเป็นผู้นําหลักอันเป็นนามธรรม มาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบ การใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
(1) หลักนิติรัฐ
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักกฎหมายทั่วไป
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
ตอบ 4 หน้า 56 – 57 หลักกฎหมายทั่วไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นหลักประกันหรือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจากการใช้อํานาจตามอําเภอใจของฝ่ายปกครอง โดยหลักกฎหมาย ทั่วไปนั้นมิได้เกิดขึ้นตามอําเภอใจของศาล ศาลมิได้สร้างกฎหมายขึ้นมาใช้เอง แต่การยอมรับ หลักกฎหมายทั่วไปของศาลเป็นการนําเอาความเชื่อ ความเห็นของส่วนรวมอันเป็นหลักการ พื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและรากฐานของระบบกฎหมายในสังคมนั้น ๆ มาพัฒนา เป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับคดีที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลเป็นผู้นํา หลักอันเป็นนามธรรมมาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง

41. ตัวแสดงทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทมากในการชี้นําในโครงสร้างการบริหารปกครองแบบใด
(1) แบบชุมชน
(2) แบบเครือข่าย
(3) แบบสายบังคับบัญชา
(4) แบบตลาด
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 172, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบตลาด เป็นโครงสร้างที่มีตัวแสดงหลักเป็นตัวแสดง ทางเศรษฐกิจ โดยปัญหาในการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของตัวแสดงและตลาดซึ่งมีพลังขับเคลื่อนคือผลประโยชน์ส่วนตัว การมีกลไกให้ตัวแสดงทางเศรษฐกิจสามารถประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาจึงเป็นลักษณะเด่นของโครงสร้างนี้ แต่ปัญหาสําคัญของโครงสร้างนี้คือ กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาความร่วมมือ

42. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญในการบริหารปกครอง
(1) แบบตลาด
(2) แบบถือหางเสือ
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบสายบังคับบัญชา
(5) แบบชุมชน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

43. ลักษณะของการบริหารปกครองแบบถือหางเสือ ไม่ใช่ข้อใด
(1) รัฐมีอํานาจควบคุมมาก
(2) รัฐกําหนดทิศทางในกิจการสาธารณะได้
(3) ต้องออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงอํานาจหน้าที่
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 หน้า 174, (คําบรรยาย) การบริหารปกครองแบบการถือหางเสือ เชื่อว่า รัฐมีความสามารถ ที่จะกําหนดทิศทางและถือหางเสือในกิจการสาธารณะในสังคมได้ ในแง่นี้รัฐยังคงมีบทบาทสําคัญ ในการบริหารปกครองแต่มีอํานาจควบคุมน้อยลง การบริหารปกครองนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง อํานาจหน้าที่และอํานาจควบคุมจากกฎหมายของรัฐ ปัญหาสําคัญของการบริหารปกครอง แบบนี้ก็คือ เมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไปทําหน้าที่เพียงการถือหางเสือ ไม่ได้เป็นผู้กําหนดเป้าหมายอาจทําให้เป้าหมายไม่ชัดเจน

44. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(2) คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในสวัสดิการของข้าราชการ
(4) คําสั่งเลื่อนขั้นในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

45. หลักการทางเลือกที่มีเหตุผล คือข้อใด
(1) ทุกคนมีเหตุผลภายใต้การเข้าใจและการให้ความหมายสิ่งรอบตัว
(2) ทุกคนไม่มีอิสระแท้จริงในการเลือก
(3) การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผลคือคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงมีผลต่อการตัดสินใจร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

46. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
(2) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
(3) กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหาร ใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยกําหนด ให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65 ชาญชัย แสวงศักดิ์ อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทาง บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารงาน บุคคลภาครัฐ เช่น กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหารโดยใช้ หลักการรวมอํานาจ โดยกําหนดให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
2. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
3. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ

47. กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์ เป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) เป็นการไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

48. อะไรคือความหมายของ “กลไกมือที่มองไม่เห็น”
(1) ตัวแสดงที่ไม่ปรากฏตัวชัดเจน
(2) ตัวแสดงทางเศรษฐกิจ
(3) กลไกตลาดที่ดําเนินด้วยอุปสงค์และอุปทาน
(4) กลไกปฏิสัมพันธ์ของเครือข่าย
(5) กลไกทางวัฒนธรรมของราชการ
ตอบ 3 หน้า 184 กลไกจัดการโดยตลาดและการสนับสนุนแรงจูงใจ อาศัย “กลไกมือที่มองไม่เห็น” ซึ่งก็คือ “กลไกของตลาด” ที่จะผลักดันผ่านการแข่งขันกันทั้งในแง่การบริหารและการสร้าง นวัตกรรมมาเสนอ รัฐจะเก็บบทบาทหรืออํานาจการจัดสรรทรัพยากรไว้แต่ไม่รับผิดชอบในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะหรือผลักภาระการผลิตให้ตัวแสดงอื่น รัฐใช้การ เลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้วใช้การกํากับดูแลติดตามผลการทํางาน ในเงื่อนไขนี้มีประเด็นสําคัญ คือ รัฐต้องสร้างเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมงานสาธารณะให้เข้าสู่เงื่อนไขการตลาดอย่างแท้จริง

49. ข้อใดคือลักษณะของ “บรรษัทนิยม”
(1) รัฐยังคงบทบาทเป็นผู้ควบคุม
(2) รัฐให้สิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจ
(3) องค์กรเอกชนและเครือข่ายนโยบายร่วมรับผิดชอบโครงการ
(4) บรรษัททําหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 212 บรรษัทนิยม (Corporatism) เป็นรูปแบบการปกครองที่รัฐมีความใกล้ชิดกับองค์กร ทางธุรกิจและแรงงาน ให้ความสําคัญและสิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจและแรงงานในเครือข่ายนโยบายให้ร่วมรับผิดชอบการริเริ่มและนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยรัฐยังควบคุมความต้องการ รวมทั้งอาจควบคุมองค์การเหล่านั้น ทั้งนี้สํานักราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า บรรษัทนิยม คือ แนวคิดในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ โดยกําหนดให้บรรษัทซึ่งถือว่าเป็น องค์การตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีบทบาทในการร่วมกําหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจน นํานโยบายไปปฏิบัติ

50. สาธารณะเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
(1) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(2) รัฐวิสาหกิจ
(3) สถานประกอบการภาคเอกชน
(4) สถานประกอบการสาธารณะ
(5) การบริหารงานภาครัฐ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

51. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดบทบาทของรัฐที่มีการปกครองที่ดี
(1) ความมีอํานาจ
(2) ความโปร่งใส
(3) การมีส่วนร่วม
(4) ความรับผิดชอบ
(5) ความมีประสิทธิภาพ
ตอบ 1 หน้า 176 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UNESCAP) ได้เสนอตัวชี้วัดในการพัฒนาบทบาทของรัฐที่มีลักษณะการปกครองที่ดี 8 ประการ
ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม
2. การปกครองตามหลักกฎหมาย
3. ความโปร่งใส
4. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การตอบสนอง
6. ความรับผิดชอบ
7. การดึงเป็นแนวร่วมอย่างเท่าเทียม
8. ฉันทามติ

52. “เป็นอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ”ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
(1) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(2) หลักความได้สัดส่วน
(3) หลักความเสมอภาค
(4) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
(5) หลักความเป็นกลาง
ตอบ 4 หน้า 127 หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายมหาชนที่กําหนดให้นิติบุคคลซึ่งจัดทําหรือกํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะมีอํานาจพิเศษที่แตกต่างไปจากวิธีการทางกฎหมายเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง หรือเอกสิทธิ์ของ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ

53. “ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการพิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ
เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่น ในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตาม
หลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
(1) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
(2) หลักความได้สัดส่วน
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักความเสมอภาค
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 หลักความเป็นกลาง หรือความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการ พิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง

54.CSR ย่อมาจากข้อใด
(1) Community Social Responsibility
(2) Corporate Social Responsibility
(3) Community Standard Rate
(4) Corporate Standard Rate
(5) Cultural Sociology Revolution
ตอบ 2 หน้า 209 CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ ของบริษัทหรือองค์การภาคเอกชนที่จะมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

55. รัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
(1) รัฐวิสาหกิจ
(2) สถานประกอบการภาคเอกชน
(3) การบริหารงานภาครัฐ
(4) สถานประกอบการสาธารณะ
(5) วิสาหกิจเพื่อสังคม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) คือ องค์การ หน่วยงาน หรือบริษัทที่รัฐ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีการดําเนินงานในเชิงธุรกิจซึ่งเกี่ยวโยงกับกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ หรือสาธารณูปการที่มีความสําคัญ หรือจําเป็นต่อการดํารงชีพของประชาชน ดังนั้นการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจจึงมีลักษณะที่มุ่งแสวงหากําไรและนําผลกําไรมาแบ่งปันให้ผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจเอกชน

56. ข้อใดเป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่รัฐมีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่ง ต้องปฏิบัติตาม
(2) การที่รัฐให้ทุนการศึกษา ซึ่งถือเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
(3) การที่รัฐตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง คือ
1. การกระทําที่รัฐเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน เช่น มีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่งนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตาม
2. มีการกระทําบางอย่างที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบ อุบัติเหตุ ให้ทุนการศึกษา หรือให้เงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. การกระทําทางปกครองในลักษณะการวางแผน เช่น การตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา สร้างทางด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งการกระทบสิทธิและให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน

57. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างเครือข่ายคือข้อใด
(1) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
(2) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(3) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(4) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(5) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
ตอบ 5 หน้า 172 – 173 โครงสร้างแบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่มีการเชื่อมโยงชุมชน (ตัวแสดง)ส่วนบุคคลได้นโยบายโดยเชื่อว่าจะสามารถเอื้อต่อการจัดสรรผลประโยชน์ของสาธารณะและผลประโยชน์ ในโครงสร้างแบบนี้นโยบายจะถูกพิจารณาจากหลายภาคส่วนร่วมกันจึงจัดสรร ผลประโยชน์ส่วนรวมได้ดีกว่า อีกทั้งมีการแยกการควบคุมและความรับผิดชอบในนโยบาย ออกจากกัน โดยเครือข่ายจะควบคุมการริเริ่มนโยบายที่ส่งมาจากทุกฝ่ายและฝ่ายรัฐจะเป็น ผู้รับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคส่วน ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างรัฐกับเครือข่าย อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐยังคงต้องรับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ภายในรัฐ การท้าทายผลประโยชน์ของรัฐจากเครือข่ายจึงเป็นไปได้ยาก และประเด็นท้าทายคือรัฐจะ สามารถหาตัวแสดงจากภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือในเครือข่ายได้อย่างไร

58. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นองค์กรประเภทใด
(1) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(2) รัฐวิสาหกิจ
(3) บรรษัทภิบาล
(4) บรรษัทนิยม
(5) การบริหารงานภาครัฐ
ตอบ 1 หน้า 207 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่าเป็นการดําเนินการในรูปวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)

59. ข้อใดถูกต้อง
(1) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกําหนด
(2) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(3) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ออกโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 94 ศาลปกครองสูงสุด มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังนี้
1. คดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกําหนด
3. คดีพิพาทที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดย คณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
4. คดีที่กฎหมายกําหนดให้อยู่ในอํานาจศาลปกครองสูงสุด

60. ประชาสังคมในแนวคิดการบริหารปกครองมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นหน่วยทางการปกครองของรัฐ
(2) เป็นพื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลายมารวมตัวกัน
(3) สถานที่ประชุมร่วมกันของหมู่บ้าน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 201 ประชาสังคมเป็นเงื่อนไขสําคัญอันหนึ่งของธรรมาภิบาลที่จะต้องเติบโตในฐานะ “พื้นที่เพื่อการบริหารปกครอง” ซึ่งจะอํานวยความสะดวกให้กับตัวแสดงใหม่ ๆ เข้ามาร่วมใน การพิจารณาและแก้ปัญหาของพื้นที่ตนเองแบบปราศจากลําดับการบังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็น NGOs หรือการเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ ซึ่งการที่จะดําเนินการเช่นนี้จําเป็นต้องมีกลไก การมีส่วนร่วมใหม่ ๆ และวิธีดําเนินการใหม่มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน

61. ข้อใดเป็นกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี
(1) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545
(2) พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนําไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2527
(3) กฎ ก.พ.
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

62. “เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
(1) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
(4) หลักความเป็นกลาง
(5) หลักความได้สัดส่วน
ตอบ 1 หน้า 123 หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยผลบังคับของหลักการนี้มีอยู่ว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนจะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลนั้นทราบและ ให้เขามีโอกาสโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นและแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโต้งแย้งของตน

63. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1) “ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ ในการกระทําเช่นนั้นไว้”
(1) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) ไม่สุจริต
(4) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(5) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตอบ 5 หน้า 110 การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทํา เช่นนั้นไว้ตามหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองที่ว่า “ไม่มีอํานาจหากไม่มีกฎหมาย”

64. คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วยโดยอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบใดเป็นเหตุผลบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 กําหนดว่าคําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผล
ไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
2. ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
3. ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ

65. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบการถือหางเสือคือข้อใด
(1) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

66. การสร้างนโยบายบนฐานทฤษฎีการจัดการเครือข่าย ตัวแสดงใดเป็นตัวแสดงนําสําคัญ
(1) นักวิชาการ
(2) บรรษัท
(3) รัฐ
(4) ภาคอุตสาหกรรม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 – 187, (คําบรรยาย) ในทฤษฎีการจัดการเครือข่ายนั้น เครือข่ายจะเป็นตัวแสดงนํา สําคัญในการดําเนินการตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบาย การตัดสินใจและการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนภาครัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสําคัญในกําหนดกรอบเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงต่าง ๆ

67.ข้อใดไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
(2) การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
(3) การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3 ที่ไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(5) ไม่มี เพราะทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 – 75 มานิตย์ จุมปา อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง หมายถึง
1. การกระทําของรัฐที่ไม่ใช่การกระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางตุลาการหรือการกระทํา ทางรัฐบาล และ
2. การกระทําของรัฐนั้นมีลักษณะของการกระทําที่กําหนด ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน หรือระงับ ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตัวอย่างการกระทําทางปกครอง เช่น

-การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
-การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
-การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
-การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ

68. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กร ของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
(1) หลักนิติธรรม
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
(4) หลักกฎหมายทั่วไป
(5) หลักนิติรัฐ
ตอบ 5 หน้า 43 – 44 สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มี 3 ประการ ดังนี้
1. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ

69. การที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกําหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพ เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(1) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(2) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(3) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ไม่เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 หน้า 112 กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการ ต้องแต่งกายสุภาพนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐ ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการดังกล่าวต้องใส่สูทและผูกเนคไทด้วย ระเบียบดังกล่าว ย่อมเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรซึ่งถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

70. หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะมีหลักการของการมีส่วนร่วมและหลักการนิติธรรม
(2) ได้ เพราะมีหลักการของการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการปกครอง
(4) ไม่ได้ เพราะทําให้รัฐอ่อนแอลง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ทั้งนี้ เพราะหลักธรรมาภิบาลมีหลักการที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นหลักการมีส่วนร่วม หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น

71.แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตยคือข้อใด
(1) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
ตอบ 4 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตย เชื่อในปัจเจกในฐานะหน่วยที่เป็น อิสระที่สามารถกําหนดวิถีชีวิตและความหมายในการมีชีวิตของตัวเองได้ การมีส่วนร่วมในมุมมองนี้จึงยอมรับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดรัฐธรรมนูญ และการทําหน้าที่ของรัฐบาล

72. พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครองคือข้อใด
(1) การแยกแยะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
(2) สร้างระบบให้เกิดการเจรจาระหว่างตัวแสดง
(3) วิเคราะห์เงื่อนไขของการสร้างนโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 184, (คําบรรยาย) พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครอง สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. ต้องมีการแยกแยะมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เครื่องมือ และเงื่อนไขของการสร้าง นโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2. แยกแยะความหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างระบบการส่งผ่านและสะท้อนกลับของระบบการแปลงเปลี่ยนซึ่งกันและกันขององค์กรและตัวแสดงเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อกันในการสร้างนโยบาย

73. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบตลาดคือข้อใด
(1) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(2) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(3) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

74. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง
(1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
(2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีการยึด
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการโอนกิจการเป็นของรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5 หน้า 40 การได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง มี 2 วิธี คือ
1. การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
2. การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งมี 3 กรณี คือ การเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะการโอนกิจการเป็นของรัฐ และด้วยวิธีการยึด

75. “บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือการไม่เลือกปฏิบัตินั่นเอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทาง ปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเป็นกลาง
(3) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(4) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
(5) หลักความเสมอภาค
ตอบ 5 หน้า 118 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ อธิบายว่า ในระบบกฎหมายของฝรั่งเศส หลักความ เสมอภาคปรากฏเป็นที่ยอมรับและผูกพันองค์กรของรัฐในอันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณะแล้ว ย่อมหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ “การไม่เลือกปฏิบัติ” นั่นเอง

76. ข้อถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. และ 5. ประกอบ

77. บริบทการบริหารปกครองข้อใดที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลกในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ
(1) พัฒนาศักยภาพรัฐบาล
(2) การก่อรูปและปฏิบัตินโยบาย
(3) รูปแบบการปกครอง
(4) กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา
(5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอบ 3 หน้า 180, (คําบรรยาย) บริบทการบริหารปกครองที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลก ในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ ก็คือ เรื่องของรูปแบบการปกครอง เพราะธนาคารโลก ได้มีข้อกําหนดที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของประเทศผู้ขอรับทุนหรือขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลก

78. แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรงคือข้อใด
(1) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(2) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(3) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
ตอบ 5 หน้า 196 แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง

79. ข้อใดไม่ใช่หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล
(1) มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต
(3) สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว
(4) ส่งเสริมประชาธิปไตย
(5) มีคุณธรรมจริยธรรม
ตอบ 4 หน้า 212 หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล มี 6 ประการ คือ
1. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
2. มีคุณธรรมจริยธรรม
3. มีความซื่อสัตย์สุจริต
4. มีความโปร่งใส
5. มีความรับผิดชอบ
6. สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว

80. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ
(1) มาตรการทางกฎหมาย
(2) อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
(3) บุคลากรของรัฐ
(4) ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 40 ฝ่ายปกครองมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ 4 ประการ คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. บุคลากรของรัฐ
3. ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
4. อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง

81. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1) “กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับ ผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน”
(1) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) ไม่สุจริต
(4) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

82. “วิกฤตต้มยํากุ้ง” หมายถึงข้อใด
(1) ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านอาหารไทย พ.ศ. 2550
(2) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2550
(3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในไทย พ.ศ. 2550
(4) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในเอเชีย พ.ศ. 2540
(5) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540
ตอบ 5 หน้า 15, 169, (คําบรรยาย) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือเรียกอีกอย่างว่า “วิกฤตต้มยํากุ้ง” เป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจการเงินที่ส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย จากวิกฤตดังกล่าวได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องขอรับความช่วยเหลือ ทางด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)และปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการกู้เงินดังกล่าว

83. รัฐเป็นเจ้าของมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของสังคม
(1) รัฐวิสาหกิจ
(2) สถานประกอบการสาธารณะ
(3) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(4) สถานประกอบการภาคเอกชน
(5) การบริหารงานภาครัฐ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

84. ข้อใดคือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) WB
(2) IMF
(3) ICC
(4) WHO
(5) UN
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85. กรณีการลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
(1) เป็นการกระทําที่ไม่สุจริต
(2) เป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เป็นการกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) เป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น ตอบ 3 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจดุลพินิจ (Discretionary Power) ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ ดุลพินิจนั้นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร เช่น กรณีการลงโทษทาง วินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นต้น

86. การมีส่วนร่วมเทียมขั้นถูกจัดกระทําคือข้อใด
(1) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(2) ประชามติ
(3) ประชาพิจารณ์
(4) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
(5) รับแจกบัตรคนจน
ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมขั้นถูกจัดกระทํา เป็นระดับการมีส่วนร่วมเทียม หรือไม่มีส่วนร่วม (Pseudo-Participation or Non-Participation) ซึ่งประชาชนจะยังไม่มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีกลุ่มบุคคลจํานวนน้อยที่มีอํานาจตัดสินใจ ไม่มีการกล่าวถึงเนื้อหาหรือ วิธีการตัดสินใจ ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมนี้ เช่น การรับแจกบัตรคนจน เป็นต้น

87. “บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
ตอบ 1 หน้า 117 หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักการที่บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติแต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด และห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออกมาตรการใด ๆ ซึ่งหากได้ลงมือบังคับใช้แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมาก ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตกแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม

88. กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพ ด้วยการใส่สูทและผูกเนคไท เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(2) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(3) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการนอกเหนืออํานาจ
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

89. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1) “เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจแบบ Discretionary Power ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ Discretionary Power ไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร”
(1) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(2) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(5) ไม่สุจริต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

90. การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชนคือข้อใด
(1) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(2) ประชามติ
(3) ประชาพิจารณ์
(4) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
(5) รับแจกบัตรคนจน
ตอบ 2 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน (Degree of Citizen Power) เป็นระดับอํานาจการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่มีลักษณะการใช้อํานาจแตกต่างกัน กล่าวคือ ในขั้นที่ 6 จะเป็นการเจรจาต่อรองของอํานาจระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะหุ้นส่วน ในงานนั้น ๆ ในขั้นที่ 7 ประชาชนได้มอบอํานาจให้ผู้แทนไปตัดสินใจแทน ส่วนในขั้นที่ 8 ประชาชน สามารถควบคุมกระบวนการตัดสินใจได้ในระดับนี้ประชาชนมีอํานาจในการตัดสินใจ สามารถเจรจาผลได้ผลเสียกับผู้มีอํานาจเดิมได้ จึงถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การลงประชามติ การออกเสียงเลือกตั้ง การยื่นถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น

91. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(4) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(5) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. และ 5. ประกอบ

92. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากคือข้อใด
(1) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
ตอบ 3 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากวางอยู่บนฐานคิดของ “การปลดปล่อยประชาชน” โดยการเพิ่มอํานาจให้ประชาชนผ่านเครื่องมือสําคัญคือการศึกษาแนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการศึกษาจะมีอํานาจท้าทายโครงสร้างทางอํานาจเดิมที่ครอบงํา สังคมอยู่ ทําให้เรียนรู้ที่จะสร้างสังคมใหม่ กล่าวคือ การทําให้สังคมเกิด “การตระหนักรู้”

93. “ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็น ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(3) หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
(4) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(5) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตอบ 2 หน้า 153 หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ หมายถึง ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงาน ที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็นต้องมีการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้

94. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครองสามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ
(2) เจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้
(3) ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัยได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 101 โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็น ผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง สามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ให้อยู่แล้ว เช่น กรณี ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัย ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ แต่ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทาง ปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น ในเรื่องของ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับจดทะเบียน การรับรอง การอนุมัติ การออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น

95. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม
(1) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(2) รัฐวิสาหกิจ
(3) สถานประกอบการสาธารณะ
(4) การบริหารงานภาครัฐ
(5) สถานประกอบการภาคเอกชน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

96. ข้อใดถูกต้อง
(1) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันถ้าเกิดมีขึ้น
(2) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น
(3) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันถ้าเกิดมีขึ้น เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น
(4) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ”
(5) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือ ย้อนหลังก็ได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

97. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ
(1) นิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
(2) การกระทําทั้งหลายขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
(3) กฎหมายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) การกล่าวว่านิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมายอาจจะนําไปสู่ ความเข้าใจผิดได้เพราะเป็นการมองแบบแคบ ๆ โดยในทางเนื้อหานั้น คือ เป็นนิติรัฐที่เป็น เสรีนิยม คํานึงถึงความยุติธรรม ส่วนรัฐที่สนใจแต่เพียงกฎหมายในทางรูปแบบ ฝ่ายปกครอง จะผูกพันตนต่อกฎหมาย ไม่สนใจว่ากฎหมายนั้นจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ (ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ)

98. การใช้กฎหมายจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิ
หรือจํากัดสิทธิของประชาชนจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชน สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจหลักอะไร
(1) หลักกฎหมายทั่วไป
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
ตอบ 5 หน้า 44 หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หรือเรียกว่า หลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองนั้น ตามหลักนิติรัฐ หลักในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงหลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองเข้ากับ หลักประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน กล่าวคือ การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการก็ดี หรือฝ่ายปกครอง ก็ดีจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนนั้นจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชนก่อน

99. ข้อใดอธิบาย “การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน” ได้ชัดเจนที่สุด
(1) ชาวกาฬสินธุ์ไปออกเสียงลงประชามติให้สร้างโรงพยาบาลแทนสวนสาธารณะ
(2) ประชาชนติดตามรับฟังข่าวสารจากทางราชการสม่ําเสมอ
(3) ประชาชนไปลงชื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีรายได้น้อย
(4) เกษตรกรเข้าอบรมโครงการฟื้นฟูสถานะหนี้สินจาก ธ.ก.ส.
(5) นักศึกษาแสดงออกเรื่องการเมืองในงานกีฬา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

100. รัฐที่ยังคงอํานาจการจัดสรรทรัพยากรแต่ผลักภาระการผลิตไปให้ตัวแสดงอื่นอยู่ในกลไกการจัดการสร้างความร่วมมือรูปแบบใด
(1) กลไกระบบราชการ
(2) กลไกตลาด
(3) กลไกเครือข่าย
(4) กลไกแบ่งงานกันทํา
(5) กลไกการมีส่วนร่วม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

WordPress Ads
error: Content is protected !!