POL2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง1 s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ความหมายของทฤษฎีที่สัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์มากที่สุดคือ
(1) ความถูกต้อง
(2) ข้อเสนอ
(3) การตัดสินคุณค่าระบอบการเมือง
(4) การศึกษาระบอบการเมืองที่ดีที่สุด
(5) การอธิบายปรากฏการณ์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง รวมทั้งมีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และ จะเน้นการใช้วิธีการเชิงปริมาณ ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจาก รัฐศาสตร์กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

2.Ethos มีความหมายถึง
(1) ความชอบธรรม
(2) ความดี
(3) ความงาม
(4) ความเห็น
(5) นิสัย
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) คําว่า “ศีลธรรม” (Morality) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คําว่า “Moralitas” ซึ่งแปลว่า พฤติกรรมอันเหมาะสม (Proper Behavior) ซึ่งในขณะเดียวกัน คําว่า Ethics ก็มาจากภาษากรีกคําว่า “Ethos” ที่แปลว่า นิสัย (Habit)

3.ธรรม มีความหมายถึง
(1) ความจริง
(2) กฎ
(3) ความถูกต้อง
(4) ความดีงาม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คําว่า “ธรรม” หรือ “ธรรมะ” หมายถึง คุณความดี ความดีงาม คําสั่งสอนใน ศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความถูกต้อง กฎหรือกฎเกณฑ์ เป็นต้น

4.วิชาทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1 (POL 2101) มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน
(2) การแยกค่านิยมออกจากการศึกษา
(3) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์
(4) วิทยาศาสตร์
(5) การศึกษาเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาโดยใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือ ความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย ซึ่งจะไม่มีการแยกคุณค่าออก จากสิ่งที่ศึกษา โดยคําอธิบายนั้นสามารถเข้าใจหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยเหตุผล และไม่จําเป็น ต้องทดลองให้เห็นในเชิงประจักษ์ ดังนั้นวิชา “ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1” หรือวิชา POL 2101 จึงมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน โดยเนื้อหาในการศึกษาวิชานี้จะบรรจุทัศนะทางการเมืองของเมธีผู้มีชื่อเสียงที่สําคัญ ๆ นับแต่สมัยคลาสสิค/โบราณจนกระทั่งถึงสมัยกลางตอนต้น

5.การศึกษาที่เน้นการใช้วิธีการเชิงปริมาณ มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Empirical Political Theory
(2) Value-Free
(3) Normative Political Theory
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6.Political Thought มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) การศึกษาความคิดที่เกี่ยวข้องกับการกระทําทางการเมือง
(2) การศึกษาถึงการตอบคําถามอมตะทางปรัชญาทางการเมือง
(3) การศึกษาถึงแนวคิดของนักคิดทางการเมืองอย่างกว้าง ๆ
(4) การศึกษาถึงความหมายของคําศัพท์ทางการเมืองต่าง ๆ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 1-2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจ ว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับเรื่อง การเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์

7. แดงเป็นคนที่มีความใส่ใจทางการเมืองสูงและมักไปร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มการเมืองที่เขาชอบเป็นประจํา สัมพันธ์กับข้อใด
(1) Political Concept
(2) Political Ideology
(3) Political Philosophy
(4) Political Ism
(5) Political Thought
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9, 16), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) คือ ระเบียบแบบแผนหรือรูปแบบทางความคิดอันเกี่ยวข้องกับการเมืองของคนใด คนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งในสังคม ซึ่งรูปแบบทางความคิดนี้จะส่งผลต่อการแสดงออกหรือพฤติกรรม ของคนนั้น ๆ หรือกลุ่มด้วย ตัวอย่างเช่น แดงเป็นคนที่มีความใส่ใจทางการเมืองสูงและมักไป ร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มการเมืองที่ชอบเป็นประจํา เป็นต้น

8. ข้อใดจัดว่าเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
(1) คอมมิวนิสต์
(2) เสรีนิยม
(3) อนุรักษนิยม
(4) นิเวศน์นิยม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก ซึ่งอาจจะมีที่มาจากความคิดของ นักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งหรือหลาย ๆ คนก็ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism), อนุรักษนิยม (Conservatism), สังคมนิยม (Socialism), ชาตินิยม (Nationalism), คอมมิวนิสต์ (Communism), อนาธิปัตย์นิยม (Anarchism), นิเวศน์นิยม (Ecologism) ฯลฯ

9.ข้อใดมีความสัมพันธ์กัน
(1) วิตรรกวาท, เหตุผลนิยม
(2) วัตถุนิยม, สสารวาท
(3) เหตุผลนิยม, สสารวาท
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 8 – 11, (คําบรรยาย) กลุ่มวิตรรกวาทหรือกลุ่มเหตุผลนิยม เชื่อว่า บรรดาสถาบันทาง การเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากแนวความคิดของมนุษย์ คนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็น ผู้ที่มีเหตุผล และสถาบันการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน สําหรับกลุ่มสสารวาทหรือกลุ่มวัตถุนิยมนั้นเห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐานของ ความคิดมนุษย์ โดยเชื่อว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจาก สภาพแวดล้อมของมนุษย์ หรือบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ ของชนทั้งหลายก็คือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัตินั่นเอง

10.แนวคิดใดถือว่าสถาบันทางการเมืองเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
(1) วิตรรกวาท
(2) เหตุผลนิยม
(3) สสารวาท
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. ขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาของวิชานี้คือ
(1) สมัยคลาสสิค/โบราณ
(2) สมัยกลาง
(3) สมัยใหม่
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

12.Greek แตกต่างจาก Greece ในข้อใดมากที่สุด
(1) ภาษา
(2) วัฒนธรรม
(3) สถานะความเป็นรัฐ
(4) เชื้อชาติ
(5) ไม่แตกต่างกัน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19) กรีก (Greek/Helenes) หมายถึง อารยธรรม ภาษา ชนชาติ ส่วนคําว่า กรีซ (Greece) นั้นหมายถึง ประเทศ

13. ชนชั้นใดในเอเธนส์ที่มีจํานวนมากที่สุด
(1) ผู้อพยพ
(2) ทาส
(3) พลเมือง
(4) ต่างด้าว
(5) พ่อค้า
ตอบ 2 หน้า 19 – 20 (คําบรรยาย) ชนชั้นในสังคมของนครรัฐเอเธนส์ ประกอบด้วย 3 ชนชั้น ได้แก่
1. พลเมือง (Citizen) โดยฐานะของการเป็นพลเมืองได้มาโดยกําเนิด ซึ่งชนชั้นพลเมืองโดยเฉพาะ พลเมืองชายเท่านั้นจะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง ชนชั้นต่างด้าว และ ชนชั้นทาสไม่มีสิทธิทางการเมืองการปกครองของรัฐแต่อย่างใด
2. ชนต่างด้าว (Metics) ได้แก่ เสรีชนทั้งหลายที่บิดามารดาไม่ได้เป็นชาวเอเธนส์ ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่บรรดาพ่อค้าวานิชทั้งหลาย ขนต่างด้าวนี้มีจํานวน 1/6 ของจํานวนประชากรทั้งหมด 3. ทาส (Slaves) เป็นชนชั้นที่มีจํานวนมากที่สุด หน้าที่ของทาสก็คือปฏิบัติภารกิจแทนนาย ช่วยให้นายมีเวลามากขึ้นในการที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ ส่วนกฎหมายของนครรัฐ เอเธนส์นั้นไม่ได้บังคับใช้เฉพาะกับพลเมืองเท่านั้น แต่มีผลบังคับใช้กับขนต่างด้าวและทาสด้วย

14.Ostracism หมายถึง
(1) การเลือกตั้งคณะสืบนายพล
(2) กลไกการตัดสินคดีในศาล
(3) การร้องทุกข์ต่อศาล
(4) กลไกการเนรเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) กลไกทางการเมืองที่สําคัญประการหนึ่งของการปกครอง แบบประชาธิปไตยเอเธนส์ คือ การเนรเทศคนที่ประชาชนคิดว่าเป็นศัตรูต่อการปกครองแบบ ประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า “Ostracism” โดยพลเมืองทุกคนจะเขียนชื่อของคนที่คิดว่าเป็น ศัตรูต่อประชาธิปไตยลงบนเปลือกหอยแล้วเอาไปวางที่ศูนย์กลางของเมืองหรือตลาด

15. ข้อใดผิดเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์
(1) ผู้หญิงไม่มีสิทธิทางการเมือง
(2) มีทาส
(3) สภาประชาชนเป็นโดยคุณสมบัติ
(4) คณะมนตรีห้าร้อยมาจากการเลือกตั้ง
(5) คณะสิบนายพลมาจากการเลือกตั้ง
ตอบ 4 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่มีคุณสมบัติ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ โดยจะทําหน้าที่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจํา ปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม
3. ศาล (Court) ประกอบด้วย พลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน ซึ่งคัดเลือก โดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ําอีก โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพล ต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก (ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ)

16. สถาบันการปกครองใดของนครรัฐเอเธนส์ทําหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
(1) Court
(3) Cabinet
(2) Council of Five Hundred
(4) Assembly of Ecclesia
(5) Ten Generals
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17. ข้อใดผิดเกี่ยวกับ Thucydides
(1) เขียนเรื่อง The Peloponnesian War
(2) เขียนเรื่อง Metian Dialogue
(3) เขียนเรื่อง Pericles’s Funeral Oration
(4) เคยเป็นแม่ทัพเอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ซูซิดิดีส (Thucydides) เป็นผู้เขียนเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเลี่ยน” (Melian Dialogue) ซึ่งเป็นบทหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์สงคราม เพโลโพนิเชียน (The Petoponesian War) โดยจะมีสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับ เอเธนส์ (Athens) ในช่วงของสงครามดังกล่าว ซึ่งตัวธูซิดิดิสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงคราม ดังกล่าวนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนําทัพเอเธนส์ไปรบต่างแดน หลายครั้ง แต่ประสบความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส (Amphipolis) ทําให้ถูกเนรเทศ ออกจากเอเธนส์

18. ข้อใดผิดเกี่ยวกับ Pericles’s Funeral Oration
(1) การให้ความสําคัญกับรัฐ
(2) การต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
(3) การเชิดชูคุณธรรมความดีงาม
(4) ยึดมั่นในความกตัญญู
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 หน้า 27 – 29, (คําบรรยาย) จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles’s Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์ ทําให้ทราบว่าสภาพบรรยากาศทางสังคมและ การเมืองของกรีกยุคนครรัฐเอเธนส์มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ให้ความสําคัญกับรัฐ
2. มีการเชิดชูคุณธรรมความดี
4. ใช้หลักความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง
3. ไม่มีนโยบายรุกรานเพื่อนบ้าน
5. มีความเมตตากรุณา
6. ยึดมั่นในความกตัญญู
7. รู้จักการตอบแทนบุญคุณคน มีเมตตาธรรม และไม่เห็นแก่ตัว
8. ดําเนินชีวิตด้วยความกระเหม็ดกระแหม่ ไม่ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย
9. สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ฯลฯ

19. ข้อใดผิดเกี่ยวกับ Metian Dialogue
(1) ซูชิ ดีสเป็นคนเขียนขึ้น
(2) เกี่ยวกับสงครามของเอเธนส์และชาวเกาะมีลอส
(3) ฝ่ายเอเธนส์เป็นผู้ชนะสงคราม
(4) สอดรับกับหลักความยุติธรรมของโซฟิสต์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 28) ในช่วงสงครามเพโลโพนีเชียนนั้น เอเธนส์ ได้ส่งกําลังจะไปบุกสปาร์ต้า แต่ด้วยยุทธศาสตร์เอเธนส์ต้องยึดเมืองมีเลี่ยนให้ได้เพราะเป็นเกาะ ใกล้กับสปาร์ต้า ดังนั้นเอเธนส์จึงส่งทูตไปเจรจาให้เมืองมีเลี่ยนยอมแพ้จะได้ไม่ต้องทําสงคราม แต่มีเลี่ยนเลือกที่จะทําสงครามกับเอเธนส์จนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ซึ่งใน “Melian Dialogue” นั้น
ชาวเอเธนส์ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาวเกาะมีลอส (Melos) หรือมีเลี่ยน (Melian) โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก” โดยแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ชาวเอเธนส์ นํามาอ้างนั้นสอดรับกับหลักความยุติธรรมของกลุ่มโซฟิสต์ คือ ธราซิมาคัส (Thrasymachus) ที่กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ)

20.Melian Dialogue สัมพันธ์กับแนวคิดใครมากที่สุด
(1) Thrasymachus
(2) Plato
(3) Socrates
(4) Aristotte
(5) Diogenes
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21. Sophist มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) ปัญญา
(2) ผู้มีปัญญา
(3) ผู้รักปัญญา
(4) ผู้รักในความรู้
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) คําว่า “Sophist” หมายถึง ผู้มีความรู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้

22. หากนักศึกษาต้องการโต้เถียงให้ชนะในช่องทางต่าง ๆ นักศึกษาควรจะต้องไปศึกษาจาก
(1) Diogenes
(2) Protagoras
(3) Aristotle
(4) Plato
(5) Epicurus
ตอบ 2 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์หรือซอฟฟิสต์ (Sophist) เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาพํานักในกรุงเอเธนส์ในยุคกรีกตอนต้นในช่วงสมัยเพริคลิส ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นครู คือการสัญจรรับจ้างสอนบรรดาผู้กระหายความรู้ทั้งหลาย โดยสิ่งที่ พวกเขาสอนจะทําให้ผู้รับการศึกษาได้มีความรู้ในการพูด หรือสอนให้คนมีวาทศิลป์ (Rhetoric) การหักล้างโต้แย้ง และสอนวิธีการพูดโต้เถียงให้ชนะในช่องทางต่าง ๆ โดยโซฟิสต์คนสําคัญที่มี ชื่อเสียงในสังคมกรีก ได้แก่ โปรทากอรัส (Protagoras), จอเจียส (Gorgias), โปรดิคัส (Prodicus), ฮิปเปียส (Hippias) และธราซิมาคัส (Thrasymachus)

23. ข้อใดผิดเกี่ยวกับหลักสัมพัทธนิยม (Relativism)
(1) ความเห็นขึ้นอยู่กับวัตถุวิสัย
(2) ปัจเจกบุคคลนิยม
(3) สังคมมีความจริงแตกต่างกัน
(4) ความจริงเป็นการให้คุณค่าของแต่ละคน
(5) มนุษย์มีอิสระ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่าคนแต่ละคน มีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล

24. วิธีการเผยแพร่ความรู้ของซอคราตีสคือ
(1) งานเขียน
(2) ตั้งสํานักงานสอน
(3) รับจ้างสอน
(4) สนทนา
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) ซอคราตีส เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่นิยมเผยแพร่ความรู้และทัศนะ ด้วยการสนทนาอภิปราย โดยกิจวัตรประจําวันของเขาคือการเสาะแสวงหาคู่สนทนาปัญหา การเมือง และเริ่มต้นการสนทนาด้วยการตั้งปัญหา (ตั้งคําถาม) และนําหัวข้อมาอภิปราย จนกระทั่งพบข้อสรุป ซึ่งวิธีการแบบนี้เรียกว่า “Dialogue”

25. โซฟิสต์ยกย่องคนแบบใด
(1) คนกล้าหาญ
(2) คนมีเหตุผล
(3) คนมีคุณธรรม
(4) คนกลับกลอก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) พวกโซฟิสต์ (Sophist) เชื่อว่าคนที่สมควร ได้รับการยกย่องสรรเสริญนั้นก็คือ คนที่รู้จักพูด รู้จักโน้มน้าวใจคน รู้จักหลบหลีก รู้จักฉวยโอกาส เป็นคนกลับกลอก รู้จักปลิ้นปล้อนโกหก ซึ่งจะไม่ใช่คนที่ยึดมั่นในคุณธรรมในการดําเนินชีวิต สําหรับโซฟิสต์แล้วคุณธรรมคือคุณสมบัติที่ทําให้คนประสบความสําเร็จ มียศถาบรรดาศักดิ์ มีเกียรติ มีอํานาจ มีความมั่งคั่งหรือความร่ำรวยในชีวิต เพราะความสุขคือสิ่งที่ทําให้เราพอใจ ส่วนความดีความชั่วไม่มีอะไรเป็นจริง

26. เป้าหมายชีวิตของกลุ่มโซฟิสต์คือ
(1) มีชีวิตที่สมถะ
(2) มีเหตุผล
(3) มีอํานาจ
(4) มีความมั่งคั่ง
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27. งานที่อธิบายเรื่องราวซอคราตีสแก้คดีในศาลคือ
(1) The Republic
(2) Politics
(3) Apology
(4) Crito
(5) Euthyphro
ตอบ 3 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโต ได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า “ยูไธโฟร” (Euthyphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือที่ชื่อว่า “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง ซึ่งเนื้อหาในเล่ม นี้จะเกี่ยวกับการพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวของซอคราตีสเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษ

28. “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตาม คําสั่งของรัฐ” ปรากฏอยู่ในบทสนทนาเรื่องใด
(1) Politics
(2) Crito
(3) Euthyphro
(4) The Republic
(5) Apology
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 43) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น ซอคราตีส ได้กล่าวไว้ว่า “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไป ที่ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไปอาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าว ก็ได้…แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคน จะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า เราและตัวเขาเองควรเชื่อฟังรัฐ เนื่องจาก รัฐเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จริงอยู่ว่าพ่อแม่ก็คือ คนที่เลี้ยงเรา แต่รัฐต่างหากที่ออกกฎหมายให้ พ่อแม่เราเลี้ยงดูเราหรือไม่เอาเราไปทิ้งถังขยะ ตลอดจนออกกฎหมายและสั่งให้พ่อแม่เราส่งเราไปเรียนหนังสือ

29. ซอคราตีสมีทัศนะเกี่ยวกับรัฐอย่างไร
(1) เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
(2) เป็นสิ่งที่ดีและจําเป็น
(3) เกิดมาจากอํานาจ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 23 ซอคราตีส เชื่อว่า รัฐเป็นสิ่งที่ดีและจําเป็น เพราะเป็นแหล่งที่คนสามารถพบกับ ชีวิตที่ดี และคนจะสามารถเรียนรู้คุณธรรมได้จากเพื่อนร่วมสังคมของเขา ซึ่งถ้าไม่มีรัฐแล้วคนก็จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับคุณธรรมได้เลย

30. ชีวิตที่ดีของซอคราติสคือ
(1) มีอํานาจ
(2) มีเกียรติ
(3) มีความมั่งคั่ง
(4) มีศีลธรรม
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 23 (คําบรรยาย) ขอคราติส เห็นว่า การที่จะมีชีวิตที่ดีได้ต้องมีความรอบรู้ 2 ประการ คือ
1. ความรอบรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับธรรมชาติที่เป็นอยู่
2. ความรอบรู้ที่แท้จริงของค่าแห่งศีลธรรม ซึ่งรัฐที่ดีจะสามารถสร้างศีลธรรมให้กับประชาชนได้

31. ข้อใดผิดเกี่ยวกับเพลโต
(1) หนังสือเขามักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก
(2) เคยถูกจับเป็นทาส
(3) เขียนหนังสือเรื่อง The Republic
(4) เติบโตในช่วงสงครามเพโลโพนีเซียน
(5) เกิดในตระกูลของชนชั้นกลาง
ตอบ 5 หน้า 33 เพลโต เกิดเมื่อปี 427 ก่อนคริสตกาลในครอบครัวชนชั้นสูงของนครเอเธนส์ เติบโต ในช่วงสงครามเพโลโพนีเชียน ภายหลังที่ซอคราตีสถูกศาลพิพากษาให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย เพลโตได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา เขาประสบโชคร้ายถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ ต่อมาในปี 387 ก่อนคริสตกาล เพลโตได้กลับมานครเอเธนส์และก่อตั้งสํานัก Academy ส่วนในเรื่องผลงานนั้นเพลโต มีผลงานมากมาย ซึ่งหนังสือของเขานั้นมักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก โดยงานเขียนหนังสือ ที่สําคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทางการเมืองชิ้นเอก ได้แก่
1. อุตมรัฐ (The Republic)
2. รัฐบุรุษ (The Statesman)
3. กฎหมาย (The Laws)

32. ผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) The Laws
(2) The Statesman
(3) On the Commonwealth
(4) Politics
(5) The Republic
ตอบ 5 หน้า 37 ในหนังสือ The Republic นั้น เพลโตได้เสนอรูปแบบของอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) ที่เขาเห็นว่าดีที่สุดไว้ โดยเชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุดคือรัฐที่มีความยุติธรรมสถิตเป็นหลัก ของรัฐ นั่นคือ ชนในรัฐทุกคนทําหน้าที่ตามที่คุณธรรมประจําจิตของตนกําหนดให้โดยไม่ก้าวก่าย หน้าที่ซึ่งกันและกัน

33. สํานัก Academy ของเพลโตถูกปิดลงด้วยข้อหาใด
(1) สนับสนุนศาสนาคริสต์
(2) ยุยงผู้เรียนให้เป็นกบฏ
(3) ไม่จ่ายภาษีให้ชาวโรมัน
(4) เสื่อมความนิยมลงไปเอง
(5) ต่อต้านศาสนาคริสต์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40) สํานักอเค็ดเดมี่ (Academy) ของเพลโตได้ก่อตั้งขึ้น ในปี 387 ก่อนคริสตกาล และเปิดยาวนานกว่า 900 ปี ก่อนที่จะถูกปิดโดยจักรพรรดิจัสติเนียน ในปี ค.ศ. 529 ด้วยข้อหาว่าต่อต้านศาสนาคริสต์

34. ในทัศนะของเพลโต หากพลเมืองไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของรัฐจะต้องทําอย่างไร
(1) ออกไปจากรัฐ
(2) หาทางแก้ไข
(3) ไม่ต้องเชื่อฟัง
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 34 – 35 เพลโต เห็นว่า คนทุกคนมีพันธะที่จะต้องสนับสนุนและเคารพกฎหมายของรัฐ เพราะรัฐจะยังคงอยู่ได้ก็ด้วยการสนับสนุนของคนในรัฐเท่านั้น ถ้าหากว่าผู้ใดเห็นว่ากฎหมายใด ไม่ถูกต้อง ทางที่ดีที่สุดคือ หาทางแก้ไขปฏิรูปกฎหมายนั้นเสียใหม่ หรือหลีกหนีไปเสียจากรัฐนั้น ห้ามไม่ให้โต้แย้งหรือฝ่าฝืนกฎหมายเป็นอันขาด

35. จงเติมคําในช่องว่างต่อไปนี้………..ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ”
(1) ขันติธรรม
(2) ความยุติธรรม
(3) ความฉลาดรอบรู้
(4) ความกล้าหาญ
(5) ความทะยานอยาก
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความฉลาดรอบรู้ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ
2. ความยุติธรรมทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการแท้จริง
3. ความกล้าหาญทําให้เรายืนหยัดที่จะกระทําสิ่งที่ฉลาดและกระทําไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
4. ความรู้จักประมาณช่วยประสานจิตใจต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับเหตุผล

36. รัฐในอุดมคติของเพลโต ถ้าสอบไม่ผ่านการศึกษาขั้นกลาง จะต้องไปทําหน้าที่ในตําแหน่งใด
(1) ผู้ผลิต
(2) ทาส
(3) ผู้ปกครอง
(4) ผู้พิทักษ์
(5) นักบวช
ตอบ 4 หน้า 37 – 38 เพลโต ได้วางหลักสูตรการศึกษาของรัฐในอุดมคติไว้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นต้น เป็นการให้การศึกษาแก่ทุกคนในแบบบังคับจนถึงอายุ 18 ปี และต่อด้วยการ ฝึกอบรมทางทหารอีก 2 ปี (รวมเป็น 20 ปี) หากผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกไปเป็นผู้ผลิต
2. ขั้นที่สอง (ขั้นกลาง) กําหนดไว้สําหรับผู้ที่ผ่านการศึกษาขั้นแรกมาแล้ว ซึ่งกําหนดระยะเวลา ไว้ 15 ปี ถ้าผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกจากการศึกษาไปรับใช้รัฐในฐานะผู้พิทักษ์ คือ เป็น ทหารหรือผู้ป้องกันรัฐ
3. เมื่อสําเร็จการศึกษาทั้งสองขั้นแล้ว อายุของผู้เรียนก็จะครบ 35 ปี ในระยะนี้จะเป็นการทํางาน อีก 15 ปี (รวมเป็น 50 ปี) ผู้ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงด้วยการ ปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยม ก็จะได้เป็นสมาชิกของคณะราชาปราชญ์ซึ่งทําหน้าที่บริหารรัฐต่อไป

37. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับคณะผู้ปกครองในรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) มีความสัมพันธ์ส่วนตัวได้
(2) การประเวณีจะมีเป็นครั้งคราว
(3) มีครอบครัวได้
(4) ต้องเลี้ยงดูบุตรเอง
(5) มีทรัพย์สินส่วนตัวได้
ตอบ 2 หน้า 38 – 39 ในรัฐในอุดมคตินั้น เพลโตได้วางกฎเกณฑ์ไว้ว่า ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบ จะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว การประเวณีจะมีได้เป็นครั้งคราว เพื่อที่จะ ได้มาซึ่งพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่านั้น ซึ่งเด็กที่เกิดมาจากการผสมพันธุ์ภายใต้การควบคุมนี้จะอยู่ในความ เลี้ยงดูของรัฐ และไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวในฐานะพ่อ แม่ ลูก ทั้งนี้เพราะภาวะครอบครัวจะทําให้ชนชั้นผู้ปกครองเสื่อมความใส่ใจในกิจการของรัฐและการแสวงหาความรู้

38. วิธีการสร้างความสมานฉันท์ในประยุกตรัฐของเพลโตคือ
(1) ให้มีทรัพย์สินเท่ากัน
(2) ให้มีสิทธิทางการเมืองเท่ากัน
(3) ไม่ให้มีทรัพย์สินส่วนตัว
(4) ลงโทษทางการเมืองเท่ากัน
(5) กําหนดด้วยวิธีการแต่งงาน
ตอบ 5 หน้า 41 ในประยุกตรัฐนั้น เพลโตเสนอแนะว่าเพื่อความสมานฉันท์ (Harmony) ภายในรัฐ การแต่งงานควรทําไปในรูปของการผสมผสาน เช่น คนรวยควรแต่งงานกับคนจน คนแข็งแรง ควรแต่งงานกับคนอ่อนแอ คนฉุนเฉียวกับคนใจเย็น เป็นต้น ซึ่งการแต่งงานแบบผสมผสานนี้ จะไม่ใช่การบังคับ แต่ก็เป็นสิ่งที่อาจจะจําเป็นในการปกครองของประยุกตรัฐได้เช่นกัน

39. ในมุมมองของเพลโต รัฐที่ไม่มีกฎหมายที่เลวน้อยที่สุดคือ
(1) วีรชนาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ราชาธิปไตย
(4) คณาธิปไตย
(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 5 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman เพลโตให้ความเห็นว่า ในประเภทรัฐ ที่ไม่มีกฎหมายนั้น ทุชนาธิปไตยหรือทรราช (Tyranny) เป็นระบบที่เลวที่สุด คณาธิปไตย (Oligarchy) เลวรองลงมา และประชาธิปไตย (Democracy) เลวน้อยที่สุด

40. ในประยุกตรัฐศาสตร์ใดที่เพลโตเชื่อว่าจะทําให้ผู้ปกครองสามารถสร้างความสมานฉันท์ภายในรัฐได้
(1) เศรษฐศาสตร์
(2) โหราศาสตร์
(3) คณิตศาสตร์
(4) ดาราศาสตร์
(5) รัฐศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น เพลโต ได้เสนอแนวความคิดเรื่องการปกครอง โดยคน (Rule of Men) โดยกําหนดให้มีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีกคณะหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่ ควบคุมตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคณะผู้ปกครองพิเศษนี้เรียกว่า “คณะมนตรีรัตติกาล” (Nocturnal Council) ทั้งนี้สมาชิกของคณะมนตรีรัตติกาลจะต้องศึกษาวิชาดาราศาสตร์เพราะเชื่อว่าเป็นศาสตร์ที่จะนําคนเข้าใกล้และเข้าใจในพระเจ้า ทําให้ผู้ปกครองสามารถที่จะ รักษาความดีและสร้างความสมานฉันท์ของรัฐไว้ได้

41. ผลงานของอริสโตเติลเป็นลักษณะใด
(1) งานเขียน
(2) บทสนทนา
(3) บทละคร
(4) เอกสารรวมคําบรรยาย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ผลงานของอริสโตเติล (Aristotle) ส่วนใหญ่มิได้รับการรวมเล่มหรือจัดพิมพ์ด้วยตัว เขาเอง วรรณกรรมของเขาเป็นเพียงงานเขียนที่ใช้สําหรับการสอนที่สํานักศึกษาของเขา แม้ว่าบางเรื่องอาจจะเขียนขึ้นก่อนที่เขาจะเปิดสํานักศึกษาลีเซียม โดยหนังสือและผลงานของเขาที่ ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุง เอเธนส์ (The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

42. เพราะเหตุใดอริสโตเติลจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์
(1) ความคิดของเขาถูกนําไปปฏิบัติ
(2) เขียนตําราทางการเมืองคนแรกของโลก
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันรัฐศาสตร์แห่งแรกของโลก
(5) ให้ความสนใจเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และ การสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบความ เป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน

43. มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองในทัศนะของอริสโตเติล มีความหมายถึง
(1) ธรรมชาติมนุษย์เห็นแก่ตัว
(2) ธรรมชาติมนุษย์แสวงหาอํานาจ
(3) ธรรมชาติมนุษย์อยู่ร่วมกันถึงมีชีวิตที่ดี
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์โดยธรรมชาติ เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจาก มนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง ซึ่งการที่ จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นคําอธิบายแนวคิดที่ว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง” จึงหมายถึง ธรรมชาติ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันถึงจะมีชีวิตที่ดีนั่นเอง

44. ผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติลคือ
(1) The Statesman
(2) The Laws
(3) The Constitution of Athens
(4) The Republic
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 45 – 46, (คําบรรยาย) หนังสือรัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ (The Constitution of Athens) เป็นผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติล ที่ถือว่าเป็นรากฐานหลายอย่างในวงการรัฐศาสตร์ รวมทั้ง เป็นรากฐานของวิชารัฐศาสตร์เปรียบเทียบอีกด้วย

45.Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ในทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) การมีคุณธรรม
(4) การมีพฤติกรรมที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46. ข้อใดผิดเกี่ยวกับโครงสร้างของรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล
(1) ขนาดของรัฐต้องไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป
(2) พลเมืองมีที่ดินคนละหนึ่งแปลง
(3) อยู่บริเวณหุบเขาและมีทางติดต่อกับทะเล
(4) การแต่งงานรัฐเป็นผู้กําหนด
(5) ต้องจัดระบบการศึกษาให้พลเมือง
ตอบ 2 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) โครงสร้างของรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล มีลักษณะดังนี้
1. ต้องเป็นรัฐที่มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป
2. ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นหุบเขาและมีทางติดต่อกับทะเล
3. พลเมืองควรมีที่ดินคนละ 2 แปลง โดยแปลงหนึ่งอยู่ในเมืองและอีกแปลงหนึ่งอยู่นอกเมือง
4. การแต่งงานรัฐเป็นผู้กําหนด โดยจะกําหนดอายุที่เหมาะสมในการสมรส
5. รัฐมีหน้าที่จัดระบบการศึกษาให้พลเมือง เป็นต้น

47. ในทัศนะของอริสโตเติล ระบอบการปกครองรูปแบบใดดีน้อยที่สุด
(1) Polity
(2) Oligarchy
(3) Democracy
(4) Aristocracy
(5) Monarchy
ตอบ 1 หน้า 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า ระบอบการปกครองแบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity)
เป็นระบบที่ดีน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่ดีทั้งหลาย แต่นับว่าดีกว่าระบอบการปกครองอื่น ๆ ที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครอง

48. คุณสมบัติของผู้ปกครองในระบอบ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยสายกลาง (Moderated Democracy) วัดจากอะไร
(1) การศึกษา
(2) สายเลือด
(3) อาชีพ
(4) ความรอบรู้
(5) ทรัพย์สิน
ตอบ 5 หน้า 53, 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า ระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) นั้นเป็นการปกครอง เพื่อประชาชน ผู้ปกครองจะใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ร่วม ประชาชนมีสิทธิเลือกผู้ปกครอง แต่ผู้ที่จะเสนอตัวเข้าเลือกต้องมีคุณสมบัติบางอย่าง คือ ต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สมบัติหรือทรัพย์สิน จํานวนหนึ่ง และประชาชนทุกคนในรัฐไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดก็จะมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้ปกครองได้

49. ชนชั้นใดที่มีสิทธิเลือกผู้ปกครองในระบอบ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยสายกลาง (Moderated
Democracy)
(1) ชนชั้นสูง
(2) ชนชั้นกลาง
(3) ชนชั้นล่าง
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. ประชาธิปไตยตามความหมายของอริสโตเติลคือ
(1) การปกครองของประชาชนทุกคน
(2) การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
(3) การปกครองของกลุ่มคนรวยจํานวนน้อยที่หลอกลวงคนจํานวนมาก
(4) การปกครองของพวกคนจน
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 55, (คําบรรยาย) คําว่า “ประชาธิปไตย” (Democracy) ในความหมายของอริสโตเติล นั้นมิได้หมายถึงระบบการปกครองโดยคนหมู่มาก แต่เป็นการปกครองโดยคนจน

51. ความคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมใด
(1) เอเธนส์เป็นรัฐมหาอํานาจ
(2) การแพร่หลายของแนวคิดของเพลโต
(3) การถูกปกครองโดยจักรวรรดิมาเซโดเนีย
(4) โรคระบาดใหญ่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76), (คําบรรยาย) ยุคกรีกตอนปลายหรือในช่วง 300 ปี ก่อนคริสตกาล นครรัฐเอเธนส์ก็ได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงจากการพ่ายแพ้สงครามต่อมาเซโดเนีย จากการบุกของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย (Alexander The Great) เมื่อกรีกตกอยู่ ภายใต้อํานาจของจักรวรรดิมาเซโดเนีย ความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาการเมืองของกรีกของ เพลโตและอริสโตเติลก็ได้เสื่อมความนิยมลง ตลอดจนความคิดทางการเมืองแบบโซฟิสต์ที่ทรง อิทธิพลก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากนครรัฐกรีกสูญเสียเอกราช และขาดอิสระในการปกครอง ของนครรัฐตนเอง

52. ปัจจัยที่ทําให้แนวคิดแบบเพลโตและอริสโตเติลเสื่อมความนิยมคือ
(1) ไม่มีผู้สืบทอดแนวคิดต่อ
(2) กรีกถูกปกครองโดยเปอร์เซีย
(3) นครรัฐกรีกสูญเสียเอกราช
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. อาชีพที่เหมาะสมกับผู้ถือแนวคิดซินนิคส์คือ
(1) นักธุรกิจ
(2) ทหาร
(3) ชาวนา
(4) ปลัดอําาเภอ
(5) ขอทาน
ตอบ 5 หน้า 60, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 81), (คําบรรยาย) ลัทธิชินนิคส์ (Cynics) เชื่อว่า ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ (Simplicity) ไม่มีอะไร หรือชีวิตแบบสมถะเรียบง่ายเท่านั้นที่จะเป็น กุญแจทองที่แท้จริงที่สามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ดีได้ มนุษย์ควรอยู่อย่างสุนัข หิวก็หากิน ง่วงก็นอน ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องคํานึงถึงว่าที่นอนนั้นจะเป็นอย่างไร มนุษย์ไม่จําเป็นต้องใช้เงิน หรือแสวงหา ความร่ํารวยใด ๆ เพราะฉะนั้นอาชีพที่เหมาะสมกับผู้ถือแนวคิดซินนิคส์ก็คือ ขอทานนั่นเอง

54. บุคคลสําคัญของลัทธิชินนิคส์คือ
(1) Democritus
(2) Diogenes
(3) Cicero
(4) Dionysus
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 60 ปรัชญาเมธีคนสําคัญของลัทธิชินนิคส์ ได้แก่ แอนทิสสิเนส (Antisthenes), ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)

55. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับซินนิคส์
(1) จักรวาลมีระเบียบ
(2) ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
(3) นิยมแนวคิดพลเมืองโลก
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 81 – 82) ลัทธิชินนิคส์ เชื่อว่า ชีวิตที่มีความสุขนั้นคือชีวิตที่มี ความเป็นอยู่เรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุด ไม่มีพิธีรีตอง ดังนั้นพวกซินนิคส์จึงมี มุมมองทางการเมืองที่ปฏิเสธรัฐ และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลกนี้ แต่ไม่ควรที่จะเป็นพลเมืองของชาติ หรือรัฐใดรัฐหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวคิดแบบพลเมืองโลก (Cosmopolitan) หรือเป็นแนวคิดที่ต่อต้านหรือตรงกันข้ามกับแนวคิดสนับสนุนนครรัฐ (Antipolis) ของอริสโตเติล

56. หลักการสําคัญของอิพิคิวเรียนคือ
(1) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
(2) จงรับใช้รัฐดังที่รัฐเลี้ยงดูท่านมา
(3) จงใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์
(4) จงมีชีวิตเรียบง่ายแบบในยุคดึกดําบรรพ์
(5) จงแสวงหาเกียรติยศและอํานาจ
ตอบ 1 หน้า 58 ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicurean) ยึดถือคติชีวิตว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร และเชื่อว่า จุดหมายปลายทางของชีวิตคนแต่ละคนคือความสุขเฉพาะตัว และชีวิตที่ดีก็คือ ชีวิตที่เพลิดเพลินกับความสําราญต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกแห่งความสงบและความสุขที่ เกิดขึ้นภายหลังจากความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว

57. ทัศนะเกี่ยวกับพระเจ้าของอิพิคิวเรียนคือ
(1) ไม่มีจริง เป็นสิ่งที่มนุษย์จินตนาการขึ้น
(2) มีจริง และเป็นผู้กําหนดความเป็นไปของทุกสิ่ง
(3) มีจริง และคอยปกป้องมนุษย์ที่ทําความดีและลงโทษคนชั่ว
(4) มีจริง แต่ไม่ยุ่งกับมนุษย์
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 58 ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า บรรดาพระเจ้าทั้งหลายแม้จะมีจริง แต่ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของ มนุษย์ สถิตอยู่ในความว่างเปล่าระหว่างโลกที่แตกต่างกัน มนุษย์ไม่ควรจะเกรงกลัวหรือศรัทธา ในบรรดาพระเจ้า เพราะเรื่องของมนุษย์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพระผู้เป็นเจ้าเลย

58. ทัศนะเกี่ยวกับรัฐของอิพิคิวเรียนคือ
(1) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(2) เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
(3) เป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์เอารัดเอาเปรียบกัน
(4) เป็นสิ่งที่ดีที่ทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี
(5) เป็นสิ่งที่เกิดมาจากการทําสัญญา
ตอบ 2 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า รัฐหรือสถาบันการปกครองเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ จําเป็น แม้ว่าจะเป็นสถาบันที่เป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม

59. หลักการสําคัญของแนวคิดสโตอิกส์คือ
(1) จงใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์
(2) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
(3) จงแสวงหาเกียรติยศและอํานาจ
(4) จงรับใช้รัฐดังที่รัฐเลี้ยงดูท่านมา
(5) จงมีชีวิตเรียบง่ายแบบในยุคดึกดําบรรพ์
ตอบ 1 หน้า 67 – 68, 73, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ (Stoics) เชื่อว่า คุณธรรมขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ซึ่งสามารถหาได้จากเหตุผล เมื่อมีเหตุผลก็สามารถเข้าใจกฎธรรมชาติ ดังนั้นคุณธรรมจึงมี รากฐานมาจากธรรมชาติ มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลเป็นหลักในการนําทางชีวิตและอยู่ร่วมกัน

60. ผลงานชิ้นสําคัญของโพลิเบียสคือ
(1) On Duties
(2) The Punic War
(3) On the Commonwealth
(4) Letters from a Stoic
(5) Universal History
ตอบ 5 หน้า 63, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เป็นบุตรของรัฐบุรุษคนสําคัญแห่งเมืองอาร์คาเดีย และใช้ชีวิตทางการเมืองเช่นเดียวกับบิดา ซึ่งตัวเขาได้เป็นสมาชิกคนสําคัญของสันนิบาตเอเชเอียน (Achaean League) ซึ่งผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ Universal History โดยผลงานดังกล่าวนั้น ได้อธิบายถึงสาเหตุหรือปัจจัยการรุ่งเรืองของอาณาจักรโรมัน ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ช่วง 220 – 146 ปีก่อนคริสตกาล

61. ผลงานชิ้นสําคัญของโพลิเบียสดังกล่าวนั้นมีแก่นแนวคิดเกี่ยวกับอะไร
(1) อธิบายการบริหารจัดการอาณานิคมของอาณาจักรโรมัน
(2) บันทึกความคิดเห็นของเขาที่มีต่อยุทธศาสตร์การรุกรานของเผ่าอนารยชน
(3) บรรยายความโหดร้ายของสงครามระหว่างอาณาจักรโรมันกับอาณาจักรอื่น ๆ
(4) อธิบายสาเหตุความรุ่งเรืองของอาณาจักรโรมัน
(5) บันทึกประวัติศาสตร์การปกครองของโรมัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

62. นักคิดสโตอิกส์ที่ปรับแนวคิดให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในอาณาจักรโรมันคือ
(1) Panaetius
(2) Cicero
(3) Zeno
(4) Marcus Aurelius
(5) Seneca
ตอบ 1 หน้า 73, (คําบรรยาย) พาเนเทียส (Panaetius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่ดัดแปลง แนวคิดสโตอิกส์มาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในอาณาจักรโรมัน โดยเขาเน้นว่าคนที่ดีนั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า

63. นักคิดสโตอิกส์ที่สนับสนุนรูปแบบการปกครองแบบ Mixed Constitution คือ
(1) Zeno
(2) Cicero
(3) Seneca
(4) Marcus Aurelius
(5) Panaetius
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ซีซีโร (Cicero) เป็นปรัชญาเมธีของ ลัทธิสโตอิกส์ที่สนับสนุนรูปแบบการปกครองแบบผสม (Mixed Constitution) โดยเขาเสนอว่า การที่จะยุติวงจรของการปฏิวัตินิรันดร์นั้น รัฐจะต้องใช้รูปแบบการปกครองแบบผสม โดยนําเอา รูปแบบการปกครองคนเดียว (Monarchy) การปกครองโดยกลุ่ม (Aristocracy) และการปกครอง โดยคนจํานวนมาก (Democracy) มาผสมกัน ซึ่งรูปแบบการปกครองแบบผสมนี้เท่านั้นที่จะ สร้างความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงให้กับรัฐในทางการเมืองได้

64. นักคิดสโตอิกส์คนใดที่มองว่าระบอบประชาธิปไตย (Democracy) มีแนวโน้มที่จะเสื่อมลงเป็นระบอบ การปกครองโดยฝูงชนที่บ้าคลั่ง (Mob Rule)
(1) Cicero
(2) Seneca
(3) Panaetius
(4) Zeno
(5) Marcus Aurelius
ตอบ 1 หน้า 63 – 64, 69, (คําบรรยาย) ซิซีโร (Cicero) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่มีแนวคิด เช่นเดียวกับโพลิเบียส ในเรื่อง “วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) ที่เห็นว่ารูปการปกครองของกรีกนั้นมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเสื่อมลงไปเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้ายก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มี ที่สิ้นสุด

65. จักรพรรดิโรมันที่สร้างประมวลกฎหมายโรมันที่บังคับใช้ในอาณาจักรต่อมาอีกกว่าพันปีคือ
(1) Nero
(2) Caracalla
(3) Constantine
(4) Theodosius
(5) Justinian
ตอบ 5 หน้า 61 ในระหว่างปี ค.ศ. 483 – 565 จักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) แห่งอาณาจักรโรมันได้ทรงสร้างประมวลกฎหมายโรมันขึ้นมาเรียกว่า “กฎหมายจัสติเนียน” (Code of Justinian) ซึ่งบังคับใช้ในอาณาจักรต่อมาอีกกว่าพันปี

66. ในทัศนะของโพลิเบียส ระบอบการปกครองแบบ Democracy จะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองรูปแบบใด
(1) Tyranny
(2) Mob Rule
(3) Monarchy
(4) Aristocracy
(5) Oligarchy
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

67. กฎหมายโรมันประเภทใดที่ใช้บังคับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรโรมัน
(1) Jus Civic
(2) Jus of the Twelve Tables
(3) Jus Universal
(4) Jus Natural
(5) Jus Gentium
ตอบ 5 หน้า 62, (คําบรรยาย) กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) ของอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่ บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมายภายในดั้งเดิมของโรมันผสมผสานหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก โดยกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ใน อาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรมเป็นจุดประสงค์

68. ข้อใดที่สโตอิกส์แตกต่างไปจากแนวคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายด้วยกัน
(1) ให้ความสําคัญกับความสุขของปัจเจก
(2) การใช้ชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติ
(3) ความเป็นพลเมืองโลก
(4) การให้ความสําคัญกับรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 83 – 84), (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อในหลักการ ความเป็นพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) ซึ่งจะแตกต่างไปจากแนวคิดทางการเมือง ในยุคกรีกตอนปลายด้วยกัน โดยมักจะอ้างว่าตนเป็นพลเมืองของโลก ไม่ว่ารัฐใดหรือมนุษย์ คนใดก็อยู่ภายใต้กฎเดียวกันนั้นก็คือกฎธรรมชาติ และเมื่อใดก็ตามที่รัฐออกกฎหมายขัดกับ ธรรมชาติ พลเมืองก็มีสิทธิที่จะปฏิวัติหรือก่อกบฏขึ้นมาได้

69. เหตุการณ์ที่อดัมและอีฟกินผลไม้ต้องห้ามและถูกพระเจ้าสาปออกไปจากสวนเอเดนปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลพระคัมภีร์ใด
(1) อพยพ
(2) พงศ์กษัตริย์
(3) ปฐมกาล
(4) มัทธิว
(5) เปาโล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คัมภีร์ปฐมกาล (Genesis) ในพระคัมภีร์ไบเบิล เริ่มต้นด้วยการทรงสร้างของ พระเจ้า ทั้งการสร้างฟ้าสวรรค์ โลก สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อดัม (Adam) และอีฟ (Eve) มนุษย์คู่แรก รวมทั้งการกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของความบาปอันเป็นเหตุให้มนุษย์ถูกขับออกจากสวนเอเดนโดยคัมภีร์ปฐมกาลนั้นจะนําไปสู่เหตุการณ์ที่สําคัญของมนุษยชาติ 2 เหตุการณ์ ได้แก่ การสร้างหอบาเบล และปรากฏการณ์เรือโนอาห์ในเหตุการณ์น้ำท่วมโลก

70. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) ตามคติของคริสต์ศาสนา มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากบาปไปได้ด้วยความเพียร
(2) ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในยุคกลาง
(3) สันตะปาปาคือคนที่ถือกุญแจสวรรค์ตามความเชื่อของโรมันคาทอลิก
(4) Adam กับ Evan คือชายหญิงคู่แรก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 103), (คําบรรยาย) เซ็นต์ปีเตอร์หรือนักบุญเปโตร (St. Peter) คือสันตะปาปาองค์แรกของคริสต์ศาสนา ซึ่งตามความเชื่อของคริสต์ศาสนาถือว่าสันตะปาปา คือผู้นําคริสตจักรโรมันคาทอลิก และเป็นคนที่ถือกุญแจสวรรค์ที่พระเยซูได้มอบไว้ให้

71. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) จงรักศัตรูของท่าน
(2) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(3) เป็นพระเมสซิยาห์
(4) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอน คนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจาก เยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและ ไปฟ้องต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี

72. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่ประกาศให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาประจําอาณาจักรโรมัน
(1) เนโร
(2) มาร์คัส เออเรลิอุส
(3) เธโอดอเสียส
(4) กาลิเรียส
(5) คอนสแตนติน
ตอบ 3 หน้า 75, (คําบรรยาย) อิทธิพลของอาณาจักรโรมันที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ คือ ก่อนสิ้น ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนา ประจําอาณาจักรโรมัน ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาศาสนาคริสต์ก็แผ่รัศมีไปทั่วดินแดนและขยายไปทาง ตะวันตกเพราะชาวโรมัน

73. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีเทวสิทธิ์
(1) สิทธิการปกครองมาจากศาสนจักร
(2) ผู้ปกครองคือพระเจ้า
(3) ผู้ปกครองไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใต้ปกครอง
(4) พระเจ้าแบ่งภาคมาเป็นผู้ปกครอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right) ตามคติคริสต์ศาสนา เชื่อว่า “อํานาจ ทั้งหมดเป็นของพระเจ้า” กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และผู้ปกครองไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใต้ปกครอง นอกจากพระเจ้า โดยพระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

74. นักบุญออกันในเขียนหนังสือเรื่อง City of God ขึ้นจากจุดประสงค์หลักข้อใด
(1) รวมคําสอนให้เป็นหมวดหมู่
(2) ขยายคําอธิบายของทฤษฎีเทวสิทธิ์
(3) เป็นคู่มือในการตัดสินพวกนอกรีต
(4) โต้แย้งเรื่องสาเหตุความเสื่อมของโรมัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) นักบุญออกัสติน (Augustine) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “นครของพระเจ้า” (City of God) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโต้แย้งเรื่องสาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรโรมัน ซึ่งได้ ตีแผ่ประวัติศาสตร์ของโรมและยืนยันว่า บรรดาพระเจ้าทั้งหลายที่ชาวโรมันนับถือนั้นมิได้ช่วย ให้อาณาจักรโรมันพ้นจากความหายนะ แต่เป็นคริสต์ศาสนาต่างหากที่สามารถช่วยคุ้มครองอาณาจักรไว้ได้ หากว่าผู้ปกครองและประชาราษฎร์ทั้งหลายยอมรับนับถืออย่างแท้จริง

75.“Potestas” มีความหมายถึง
(1) อํานาจของธรรมชาติ
(2) อํานาจของประชาชน
(3) อํานาจของจักรพรรดิ
(4) อํานาจของภูตผีวิญญาณ
(5) อํานาจของพระ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 105), (คําบรรยาย) คําว่า “Auctoritas” หรือ “Authority” เป็นอํานาจของพระหรืออํานาจทางฝ่ายศาสนจักรของสันตะปาปา ส่วนคําว่า “Potestas” หรือ “Power” เป็นอํานาจทางฝ่ายอาณาจักรของจักรพรรดิหรือกษัตริย์

76. การล่มสลายของอาณาจักรโรมันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดขึ้น
(1) ฝ่ายอาณาจักรมีอํานาจมากขึ้น
(2) สภาวะอนาธิปไตย
(3) การปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ
(4) ศาสนจักรมีอิทธิพลลดลง
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101 – 104) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมัน ก็ได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าติวตัน (Teutons) ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือยุคมืด (Dark Age) หรือที่คน ในยุคนั้นมองว่าเป็นยุคใหม่ (Modern) ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปต้องดูแลตนเอง ปกครองกันเอง เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ซึ่งการปกครองในยุคนี้จะเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือ ระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ศาสนจักร มีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงอย่างหนึ่งหลังจากที่อาณาจักรโรมันล่มสลายลง นั่นก็คือ สถาบันศาสนาคริสต์ หรือศาสนจักรที่มีผู้นําคือ สันตะปาปา (Pope) เป็นผู้ที่จะคอยให้กําลังใจ แก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น

77. รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองที่มาแทนที่การล่มสลายของโรมันคือ
(1) อภิชนาธิปไตย
(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ศักดินาสวามิภักดิ์
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76, ประกอบ

78. ระบอบการปกครองของพวกอนารยชนติวตันในระยะแรกเป็นไปในรูปแบบใด
(1) Mob Rule
(2) Tyranny
(3) Aristocracy
(4) Monarchy
(5) Democracy
ตอบ 5 หน้า 84, (คําบรรยาย) การปกครองในระยะแรกของพวกอนารยชนติวตันเป็นไปในรูปแบบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของการปกครองเพื่อบุคคลมิใช่เพื่อรัฐ แต่การคัดเลือกกษัตริย์ผู้ปกครองนั้นมีแนวโน้มใช้วิธีการสืบทอดทางสายเลือดหรือระบบสืบสันตติวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกษัตริย์ขึ้นครองราชบัลลังก์โดยการปราบดาภิเษก

79. ทฤษฎีสองนคร (Theory of Two Cities) “สองนคร” ของออกัสติน หมายถึงที่ใด
(1) วัดกับอาณาจักร
(2) นครของพระเจ้าและนครของซาตาน
(3) รัฐที่นับถือคริสต์และไม่นับถือคริสต์
(4) จิตใจของมนุษย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองนคร (Theory of Two Cities) ของนักบุญออกัสตินนั้น อธิบายว่า นครทั้งสองนี้มิใช่สรวงสวรรค์กับพื้นพิภพ ไม่ใช่วัดกับรัฐ แต่เป็นพลังของความดี และพลังของความชั่ว ซึ่งได้ต่อสู้กันเพื่อที่จะแย่งกันเป็นเจ้าของดวงจิตหรือจิตใจของมนุษย์มา นานแล้ว ซึ่งนครทั้งสองนี้คือ นครของพระเจ้าและนครของซาตาน

80. ในทัศนะของ St. Aquinas กฎหมายที่พระเจ้าเท่านั้นจะเข้าใจ
(1) กฎหมายพระประธาน
(2) กฎหมายธรรมชาติ
(3) กฎหมายมนุษย์
(4) กฎหมายสถาพร
(5) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 4 หน้า 90 ในทัศนะของ St. Aquinas นั้น กฎหมายสถาพร (Eternal Law) เป็นหลักการสําคัญของความเฉลียวฉลาดอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถจะทําความเข้าใจได้ และเป็นกฎเกณฑ์ที่พระเจ้าทรงใช้ในการปกครองจักรวาลทั้งหมด โดยเขากล่าวว่า “กฎหมาย ทั้งหมดที่มีส่วนของสัจจเหตุผลแฝงอยู่มาจากกฎหมายสถาพรทั้งสิ้น”

81.ผลงานของ St. Aquinas คือ
(1) Summa Theologica
(2) Summa Contra Gentiles
(3) Divine Right
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 87 – 88, (คําบรรยาย) เซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) เกิดมาจากครอบครัวขุนนางที่เมือง คาลาเบรียในประเทศอิตาลี โดยเขาได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งเนเปิลส์ (University of Napies) และต่อมาได้เข้าร่วมเป็นนักบวชในสํานักโดมินิกัน ซึ่งผลงานที่สําคัญของเขาได้แก่ Summa Contra Gentiles a≈ Rule of Princes

82. ข้อใดผิดเกี่ยวกับมนุษย์ในมุมมองของ St. Aquinas
(1) เป็นสัตว์การเมือง
(2) มีความเท่าเทียมกันในการใช้เหตุผล
(3) ควรอยู่ในคริสตรัฐ
(4) สมควรอยู่ในรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 หน้า 88 – 89 St. Aquinas ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะมีความเท่าเทียมกันในเรื่องความสามารถ ในการใช้เหตุผล แม้ว่าทุกคนจะเสมอภาคกันต่อเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าก็ตาม ดังนั้นคนที่มีความสามารถและเฉลียวฉลาดกว่าจึงควรเป็นผู้ปกครอง

83. กษัตริย์คือศีรษะหรือสมอง ศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือน อวัยวะน้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน มีชื่อเรียกทางทฤษฎีว่า
(1) Communist Theory
(2) Welfare State Theory
(3) Divine Right Theory
(4) Organic Analogy Theory
(5) Social Contract Theory
ตอบ 4 หน้า 86 – 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมือง ยุคกลางคนแรกที่ใช้ทฤษฎีองค์อินทรีย์ (Organic Analogy Theory) ในการบรรยายองค์ประกอบ ของประชาคมการเมือง โดยเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ กษัตริย์คือศีรษะ หรือสมอง ฝ่ายศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือนอวัยวะ น้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน เพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

84. สันตะปาปาที่อธิบายทฤษฎีดาบสองเล่มโดยถือว่าดาบทั้งสองเล่มพระเจ้าเป็นผู้มอบให้ฝ่ายวัด และฝ่ายวัดมอบให้ฝ่ายอาณาจักรเป็นการชั่วคราวคือ
(1) Pope Gregory VII
(2) Pope John XXII
(3) Pope Francis
(4) Pope Gelasius I
(5) Pope Boniface VIII
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110), (คําบรรยาย) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Pope Boniface VIII) ได้อธิบายเกี่ยวกับ “ทฤษฎีดาบสองเล่ม” (Two Swords Theory) ไว้ว่า แต่เดิมอํานาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมอบอํานาจหรือดาบให้กับสันตะปาปา (ฝ่ายวัด) ทั้งสองเล่ม และภายหลังสันตะปาปาถือดาบแห่งจิตวิญญาณไว้ และมอบดาบที่ใช้ ปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ (ฝ่ายอาณาจักร) เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เนื่องจากอํานาจดังกล่าว ที่มอบให้กษัตริย์ก็ยังคงเป็นของสันตะปาปาอยู่ การมอบดาบนี้เป็นเพียงการมอบหมายหน้าที่ให้กษัตริย์เท่านั้น อํานาจกษัตริย์จึงไม่มีทางใหญ่กว่าอํานาจสันตะปาปาที่เป็นเจ้าของดาบที่ แท้จริง เพราะได้รับอํานาจนั้นมาจากพระเจ้าโดยตรง

85. มหาวีระ คือใคร
(1) ผู้นําคําสอนพระเจ้ามาสู่มนุษย์
(2) ลูกของพระเจ้า
(3) พระเจ้า
(4) ผู้ค้นพบพระเจ้า
(5) ผู้ก่อตั้งลัทธิ
ตอบ 5 หน้า 98 ศาสนาเชน มีศาสดาหรือผู้ก่อตั้งลัทธิชื่อ มหาวีระหรือชินวรรธมาน หรือในชื่ออื่น ๆ ที่เรียกเป็นการยกย่อง คือ ชิน (ชนะ) อรหัต สรรพัชญ์ ชิเนศวร ตีรถกร และภควัต (ผู้ควรเคารพ)

86. ชาวอารยันในระยะแรกนับถืออะไร
(1) พระศิวะ
(2) พระตรีมูรติ
(3) พระพรหม
(4) ธรรมชาติ
(5) บรรพบุรุษ
ตอบ 4 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) ชาวอารยันในระยะแรกนับถือธรรมชาติ เช่น ฟ้า เดือน ตะวัน เป็นเทวะ โดยอารยันลุ่มน้ำสินธุได้พัฒนาเทวะออกเป็น 3 พวก ได้แก่
1. พวกที่อยู่ในสวรรค์ เช่น วรุณ สุริยะ ฯลฯ
2. พวกที่อยู่ในฟ้า เช่น วาตะ อินทระ ฯลฯ
3. พวกที่อยู่บนพื้นโลก เช่น อัคนิ ยม เป็นต้น

87. บทสวดในพิธีบูชาน้ําโสมของพราหมณ์คือ
(1) สามเวท
(2) ฤคเวท
(3) ยชุรเวท
(4) ไสยเวท
(5) อถรรพเวท
ตอบ 1 หน้า 95 – 96 ในสมัยไตรเพทนั้น พวกพราหมณ์ได้มีการจัดหมวดหมู่คัมภีร์ฤคเวทใหม่ โดยคัดบทที่เป็นมนต์สวดขับเพื่อใช้ในการสวดในพิธีพลีบูชาน้ําโสมแก่เทวะ เรียกว่า “สามเวท คัดเอามนต์โศลกและร้อยแก้วที่ว่าด้วยพิธีพลีกรรมออกมา เรียกว่า “ยชุรเวท” แล้วจึงรวมฤคเวท สามเวท และยชุรเวทเข้าด้วยกันเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่เรียกว่า ไตรเพท

88.Marsiglio of Padua เสนอว่า อํานาจในการปกครองมีที่มาจากที่ใด
(1) ประชาชน
(2) ผู้ที่มีอํานาจมาก
(3) ศาสนจักร
(4) กษัตริย์
(5) พระเจ้า
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์กลิโอแห่งปาดัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการปกครองมาจากประชาชนและ ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุนให้กษัตริย์นั้น ยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

89. การแบ่งวรรณะตามความเชื่อของศาสนาฮินดูมีที่มาจาก
(1) กษัตริย์เป็นผู้แบ่ง
(2) พระพรหมเป็นผู้แบ่ง
(3) คนมีอํานาจเป็นผู้แบ่ง
(4) การแบ่งงานกันทํา
(5) เป็นเรื่องตามธรรมชาติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดู เชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้แบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต้อง ยอมรับต่อฐานะแห่งชาติกําเนิดของตนที่พระพรหมกําหนดให้ โดยปฏิบัติตนดํารงชีวิตไปตาม ฐานะวรรณะของตนในสังคม เช่น สถานะทางสังคม คนในวรรณะสูงจะไม่คบหาสมาคม มั่วสุม กับคนวรรณะต่ํา, การงานอาชีพก็ต้องทําจํากัดเฉพาะที่คนวรรณะต่ําควรทํา, การแต่งงานก็ต้อง แต่งงานกับคนที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน เป็นต้น

90. หลักธรรมสําคัญของศาสนาเชนคือ
(1) ความเห็นชอบ
(2) ความรู้ชอบ
(3) ประพฤติชอบ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนาอเทวนิยม (Atheism) คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญ ก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุ “โมกษะ” เพื่อที่จะได้ ไม่กลับมาเกิดอีก ซึ่งหนทางที่จะบรรลุโมกษะ ได้แก่ การเห็นชอบ ความรู้ชอบ และประพฤติชอบ

91. เป้าหมายการบรรลุธรรมของศาสนาเชนเรียกว่า
(1) โมกษะ
(2) นิพพาน
(3) สุขาวดี
(4) เศวตัมพร
(5) ทิคัมพร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92. ภิกขุหรือภิกษุ มีความหมายถึง
(1) ผู้แสวงหาความหลุดพ้น
(2) ผู้สละ
(3) ผู้อยู่ป่า
(4) ผู้เร่ร่อน
(5) ผู้ขอ
ตอบ 5 หน้า 97, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดูในยุคพุทธกาล แนวความคิดเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระยังคงมีอิทธิพลอยู่ จึงมีผู้พยายามแสวงหาความหลุดพ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยหลีกออก จากชีวิตทางโลก เช่น ปริพาชก (ผู้เร่ร่อน) ภิกขุหรือภิกษุ (ผู้ขอ) สันนยาสี (ผู้สละ) เป็นต้น

93. ในศาสนาฮินดู พระพุทธเจ้ามีสถานะใด
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นักบวชนอกศาสนา
(3) พระนารายณ์อวตาร
(4) ไม่มีตัวตนอยู่จริง
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดูในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863 – 1078) เกิดคัมภีร์ปุราณะ กล่าวถึงกําเนิดโลก เทวดา และสิ่งอื่น ๆ การแข่งขันแต่ละนิกายมีมากขึ้น โดยอ้างว่าเทพของตน เป็นต้นกําเนิดของสรรพสิ่ง (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) เช่น ฮินดูนิกายไศวะถือพระศิวะเป็นใหญ่ ฮินดูนิกายไวษณพถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นใหญ่ และมีการอวตารเป็นปางต่าง ๆ แม้แต่ พระพุทธเจ้าก็เป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์

94. ข้อที่เหมือนกันระหว่างศาสนาฮินดู เชน และพุทธ คือ
(1) เชื่อในพระผู้สร้าง
(2) วิธีการบรรลุธรรม
(3) แนวคิดเรื่องการอวตาร
(4) การเวียนว่ายตายเกิด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 97 – 98, 110, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญที่เหมือนกันอย่างหนึ่งของศาสนาฮินดู เช่น และพุทธ คือ ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด โดยศาสนาฮินดูเชื่อว่า วิญญาณทั้งหลาย ย่อมออกจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้ ส่วนศาสนาเชนนั้นต้องการที่จะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หรือสังสาระไปสู่การบรรลุโมกษะ และศาสนาพุทธนั้นมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การแสวงหาเหตุ เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เพื่อให้มนุษย์ไม่ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดอย่างไม่รู้จบสิ้น

95. การเริ่มแตกเป็นนิกายของศาสนาพุทธเริ่มเกิดขึ้นในการสังคายนาครั้งใด
(1) ครั้งที่ 1
(2) ครั้งที่ 2
(3) ครั้งที่ 3
(4) ครั้งที่ 4
(5) ครั้งที่ 5
ตอบ 2 หน้า 100, (คําบรรยาย) ในการสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานได้ 100 ปี ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลี ได้ปรับปรุงแก้ไขพระวินัยรวม 10 ประการ และแยกไป ทําการสังคายนาฝ่ายของตนขึ้นเรียกว่า มหาสังคีติ ทําให้พระยศเถระต้องเรียกประชุมพระเถระ ผู้ใหญ่วินิจฉัยเพื่อคัดค้านการแก้ไขพระวินัย แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ จนนําไปสู่การแตกแยกนิกาย ของศาสนาพุทธในที่สุด

96. นิกายมหายานอาจเรียกอีกชื่อได้ว่า
(1) นิกายฝ่ายใต้
(2) สถวีระ
(3) นิกายเก่าแก่
(4) นิกายฝ่ายเหนือ
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 101 – 102 คําว่า “มหายาน” เป็นคําเรียกตนเองของสายที่พัฒนามาจากลัทธิอาจริยวาทซึ่งหมายความว่าฝ่ายตนเป็นยานขนาดใหญ่สามารถพาผู้คนข้ามโอฆสงสารได้มากกว่า ฝ่ายมหายาน หรืออุตรนิกาย (นิกายฝ่ายเหนือ) เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธและแตกเป็นนิกายย่อย ๆ เช่น ๆ เซน สุขาวดี ลามะ พุทธตันตระ ฯลฯ โดยแพร่หลายในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และทิเบต

97. ธรรมชาติของมนุษย์ในศาสนาพุทธคือ
(1) เสมอภาคกันด้านสติปัญญาและร่างกาย
(2) ไม่เสมอภาคด้านสติปัญญาและร่างกาย
(3) บางคนสอนง่าย บางคนสอนยาก
(4) บางคนมีกิเลสมาก บางคนน้อย
(5) ข้อ 2, 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 111 – 112, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ในศาสนาพุทธนั้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า มนุษย์มีความแตกต่างกันในเรื่องสติปัญญาและร่างกาย บางคนมีกิเลสมาก บางคนน้อย บางคน สอนง่าย บางคนสอนยาก โดยพระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า “เหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มี อาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี…”

98. การแบ่งวรรณะตามหลักการของศาสนาพุทธมีที่มาจาก
(1) การแบ่งงานกันทํา
(2) เป็นเรื่องตามธรรมชาติ
(3) กษัตริย์เป็นผู้แบ่ง
(4) คนมีอํานาจเป็นผู้แบ่ง
(5) พระผู้เป็นเจ้าแบ่ง
ตอบ 1 หน้า 115. (คําบรรยาย) ตามหลักการของศาสนาพุทธนั้น เห็นว่าการแบ่งวรรณะมีที่มาจาก การแบ่งงานกันทํา กล่าวคือ กษัตริย์หรือผู้ปกครองมีทําหน้าที่คอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของ มนุษย์ สําหรับพราหมณ์เกิดจากสัตว์บางพวกต้องการหลีกพ้นจากสิ่งชั่วร้ายที่มีขึ้นในหมู่สัตว์คือ การลักทรัพย์ การมุสา เป็นต้น จึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย จึงมีวิถีชีวิตคือ การไปปลูกกระท่อมอยู่ในป่า ขออาหารเป็นมื้อ ๆ จากชาวบ้าน รวมไปถึงแพศย์และศูทรเอง ก็เกิดจากการแบ่งหน้าที่การทํางานกันนั่นเอง

99. ผู้ปกครองของศาสนาพุทธมีที่มาจาก
(1) แบ่งภาคลงมาเกิด
(2) เทวดาบันดาล
(3) การใช้กําลัง
(4) การแต่งตั้ง
(5) การเลือกตั้ง
ตอบ 4 หน้า 115, (คําบรรยาย) สมมุติฐานการเกิดผู้ปกครองตามคติความเชื่อในอัคคัญญสูตรของ ศาสนาพุทธนั้น กษัตริย์หรือผู้ปกครองจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน จัดให้มีหรือแต่งตั้งขึ้น เรียกว่า “มหาสมมุติ” เพื่อคอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มี การละเมิดซึ่งกันและกัน โดยเขาทั้งหลายก็จะให้ค่าตอบแทนแก่มหาสมมุตินั้นด้วย

100. ข้อที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อสมณพราหมณ์คือ
(1) จะทําสิ่งใดก็ทําด้วยเมตตา
(2) จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
(3) จะคิดสิ่งใดก็คิดด้วยเมตตา
(4) ถวายปัจจัยเครื่องยังชีพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 121 – 122, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อสมณพราหมณ์ คือ จะทําสิ่งใด ก็ทําด้วยเมตตา จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา จะคิดสิ่งใดก็คิดด้วยเมตตา และเปิดประตูต้อนรับ สมณพราหมณ์หรือถวายปัจจัยเครื่องยังชีพ

POL2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง1 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. กฎหมายใดที่เป็นการผสมผสานระหว่างกฎหมายโรมันกับกฎหมายชาติอื่น เช่น บาบิโลเนีย ฟินิเซียนและกรีก
(1) Jus Civile
(2) Jus Maxium
(3) Jus Natural
(4) Jus Gentium
(5) Justinian Code
ตอบ 4หน้า 62, (คําบรรยาย) กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) ของอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่ บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมายภายในดั้งเดิมของโรมันผสมผสานหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก โดยกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ใน อาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรมเป็นจุดประสงค์

2.ระบอบการปกครองที่อิพิคิวเรียนสนับสนุนมากที่สุดคือ
(1) คณาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) อภิชนาธิปไตย
(4) อะไรก็ได้ ดูที่ผลลัพธ์
(5) ระบบผสม
ตอบ 4 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicureanism) ยอมรับในรูปการปกครองใดก็ได้ ที่สามารถรักษาสันติภาพและส่งเสริมให้คนพบกับความสําราญ ดังนั้นจะเห็นว่าระบอบการ ปกครองที่อิพิคิวเรียนสนับสนุนมากที่สุดคือ อะไรก็ได้ ดูที่ผลลัพธ์เท่านั้นก็พอ อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าพวกอิพิคิวเรียนจะนิยมการปกครองแบบอํานาจนิยม (Authoritarianism) เพราะเชื่อว่าอํานาจเท่านั้นที่สามารถบังคับจิตใจชั่วของคนได้

3. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิตรเทียม
(1) มิตรปอกลอก
(2) มิตรดีแต่พูด
(3) มิตรหัวประจบ (ดีก็ร่วม ชั่วก็ร่วม)
(4) มิตรชักชวนในทางฉิบหาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 119 ลักษณะมิตรเทียม มีดังนี้
1. ปอกลอก
2. ดีแต่พูด
3. หัวประจบ (ดีก็ร่วม ชั่วก็ร่วม แต่นินทาสบหลัง)
4. ชักชวนในทางฉิบหาย

4.นิกายมหายานพัฒนามาจากคําสอนของลัทธิใด
(1) อาจริยวาท
(2) เถรวาท
(3) วัชรยาน
(4) สถวีระ
(5) ตันตระ
ตอบ 1 หน้า 101 – 102, (บรรยาย) พุทธศาสนานิกายมหายานพัฒนามาจาก “ลัทธิอาจริยวาท” ซึ่งปัจจุบันได้เกิดขึ้นและแพร่หลายอยู่ในประเทศทิเบต เรียกว่า ลัทธิลามะ

5. การคุมขังแห่งบาบิโลน เป็นชื่อของเหตุการณ์ใด
(1) จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกสันตะปาปาคุมขังไว้หลังท้าทายอํานาจศาสนจักร
(2) สันตะปาปาได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ฝรั่งเศสโดยมีสํานักอยู่ที่เมืองอาวิญอง
(3) กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสถูกสันตะปาปาคุมขังไว้ที่เมืองอาวิญองหลังท้าทายอํานาจศาสนจักร
(4) กองทัพครูเสดถูกกองทัพมุสลิมล้อมที่เมืองบาบิโลน
(5) กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกกองทัพออตโตมันล้อม
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 127), (คําบรรยาย) “การคุมขังแห่งบาบิโลน” หรือการคุมขัง แห่งอาวิญอง (Babylonian Captivity/Avignon Captivity) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง พระเจ้าฟิลิปที่ 4 ซึ่งเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสได้ประกาศปลดตําแหน่งสันตะปาปาและส่งทหารบุก จับตัวสันตะปาปา เนื่องจากเหตุขัดแย้งเรื่องการที่สันตะปาปาออกกฏว่าห้ามกษัตริย์นั้นเก็บเงินจากที่ดินและทรัพย์สินของศาสนจักร จากนั้นได้แต่งตั้งพระชาวฝรั่งเศสให้เป็นสันตะปาปาองค์ ต่อ ๆ มาถึง 7 พระองค์ และให้ย้ายที่ประทับจากนครวาติกันในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญองใน ฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1309 – 1377 ส่งผลให้สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อํานาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

6. ในรัฐธรรมนูญของโรมัน คอนซูล (Consul) สะท้อนรูปแบบการปกครองใดในทัศนะของโพลิเบียส
(1) Monarchy
(2) Aristocracy
(3) Democracy
(4) ผสมระหว่าง 1 และ 2
(5) ผสมระหว่าง 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญของโรมันนั้น คอนซูล (Consult) เป็น ลักษณะของราชาธิปไตย (Monarchy), สภาซีเนต (Senate) เป็นลักษณะของอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) และสภาประชาชน (Popular Assembly) เป็นลักษณะของประชาธิปไตย (Democracy) สถาบันทั้งสามนี้ได้กระทําการถ่วงดุลแห่งอํานาจซึ่งกันและกัน ไม่มีสถาบันใดที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากการยินยอมของสถาบันอีกสองสถาบัน

7. ในงานเขียนเรื่อง “รัฐบุรุษ” เพลโตใช้เกณฑ์ใดในการแยกรูปแบบการปกครอง
(1) จํานวนผู้ปกครอง
(2) จุดมุ่งหมายในการปกครอง
(3) กฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman นั้น เพลโตได้กําหนดคํานิยาม ประเภทหรือรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ
1. จํานวนผู้ปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก
2. กฎหมาย ประกอบด้วย รัฐที่มีกฎหมาย และรัฐที่ไม่มีกฎหมาย

8. การศึกษาในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การศึกษาเพื่อตอบคําถามอมตะทางการเมือง
(2) การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
(3) การศึกษาความคิดของนักปรัชญาการเมือง
(4) การศึกษาความคิดที่ส่งผลต่อการกระทําทางการเมือง
(5) การศึกษาความหมายของมโนทัศน์ทางการเมือง
ตอบ 3 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11, 14) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก ซึ่งอาจจะมีที่มาจาก ความคิดของนักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งหรือหลาย ๆ คนก็ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง แบบเสรีนิยม (Liberalism), อนุรักษนิยม (Conservatism), สังคมนิยม (Socialism), ชาตินิยม (Nationalism), อนาธิปัตย์นิยม (Anarchism) ฯลฯ โดยคําว่า “Ideology” นั้นเป็น คําใหม่ที่เกิดขึ้นจากนักคิดชื่อ อองตวน เดอสท เดอ ทราซี (Antoine Destutt de Tracy) และจากการนํามาใช้ของนโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) หากเปรียบเทียบ ให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น อุดมการณ์ทางการเมืองก็เปรียบเสมือนกับศาสนาการเมืองนั่นเอง

9. นักปรัชญาที่เป็นต้นคิดคําอธิบายทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords) คือ
(1) John of Salisbury
(2) Gelasius I
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) Boniface XIII
ตอบ 2 หน้า 85, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords) ของสันตะปาปาเจลาเซียส ที่ 1 (Gelasius I) มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจ ปกครองทางโลกกับทางธรรม และมอบให้สถาบันศาสนา (ศาสนจักร) และสถาบันการปกครอง (อาณาจักร) เป็นผู้ใช้อํานาจนี้ โดยกําหนดว่า อํานาจปกครองฝ่ายทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจ เหนือจักรพรรดิในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ ส่วนอํานาจปกครองฝ่ายทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจ เหนือสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก แต่เนื่องจากอํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า ดังนั้นควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า

10. ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) มีการตัดสินเชิงคุณค่า
(2) บรรทัดฐาน
(3) วิทยาศาสตร์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก (5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากรัฐศาสตร์ กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

11. ข้อแตกต่างระหว่างพุทธนิกายมหายานกับพุทธนิกายหินยานคือ
(1) ไม่มีพระโพธิสัตว์
(2) มีพระโพธิสัตว์แต่นิพพานแล้ว
(3) ไม่เคยมีพระพุทธเจ้า
(4) พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว
(5) พระพุทธเจ้ายังไม่นิพพาน
ตอบ 5 หน้า 102 – 103 ข้อแตกต่างประการหนึ่งระหว่างพุทธนิกายมหายานกับพุทธนิกายหินยาน คือ พุทธนิกายมหายาน เชื่อว่า พระอาทิพุทธคือพระศาสดาเจ้าที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพระพุทธเจ้า ที่แท้จริง ซึ่งตรัสรู้พระสัมโพธิญาณมาช้านานจนนับไม่ได้ ยังไม่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และ จะดํารงอยู่ไม่ดับขันธ์ปรินิพพานอีกยาวนานจนไม่อาจกําหนดเวลาได้ ส่วนพุทธนิกายหินยาน เชื่อว่า มีพระพุทธเจ้าก่อนพระสมณโคดมมาแล้วหลายพระองค์ แต่ละองค์จะตรัสรู้ สั่งสอน และดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วในยุคนั้น ๆ

12. ใครเป็นผู้สอนว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า”
(1) โปรทากอรัส
(2) แอนติฟอน
(3) ซีโน
(4) ธราซิมาคัส
(5) กอร์กิอัส
ตอบ 4 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 — 26) ธราซิมาคัส (Thrasymachus) เชื่อว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger)

13. เป้าหมายการใช้ชีวิตในแนวทางโซฟิสต์คือ
(1) มีเงิน
(2) มีอํานาจ
(3) มีเกียรติ
(4) มียศถาบรรดาศักดิ์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) พวกโซฟิสต์ (Sophist) เชื่อว่าคนที่สมควร ได้รับการยกย่องสรรเสริญนั้นก็คือ คนที่รู้จักพูด รู้จักโน้มน้าวใจคน รู้จักหลบหลีก รู้จักฉวยโอกาส รู้จักปลิ้นปล้อนโกหก ซึ่งจะไม่ใช่คนที่ยึดมั่นในคุณธรรมในการดําเนินชีวิต สําหรับโซฟิสต์แล้ว คุณธรรมคือคุณสมบัติที่ทําให้คนประสบความสําเร็จ มีอํานาจ มีเกียรติ มียศถาบรรดาศักดิ์ มีเงิน หรือความร่ํารวยในชีวิต เพราะความสุขคือสิ่งที่ทําให้เราพอใจ ส่วนความดีความชั่วไม่มีอะไร เป็นจริง

14. ในอัคคัญญสูตรที่อธิบายการกําเนิดรัฐถือว่าผู้ปกครองมีที่มาจากอะไร
(1) กรรมกําหนด
(2) เทพกําหนด
(3) อํานาจ
(4) เป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด
(5) คนทั้งหลายสถาปนาขึ้น
ตอบ 5 หน้า 114 – 115, (คําบรรยาย) ตามอัคคัญญสูตรของศาสนาพุทธนั้น ได้อธิบายเกี่ยวกับ จุดกําเนิดผู้ปกครองของรัฐไว้ว่า “…อย่ากระนั้นเลย เราควรนับถือสัตว์ผู้หนึ่งซึ่งจะว่ากล่าว ผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเราจักให้ส่วนแบ่ง แห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น….” สัตว์ทั้งนั้นจึงได้เข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า มาทําหน้าที่เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมุติ ดังนั้นกษัตริย์หรือผู้ปกครองจึงเป็น เพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกันสถาปนาขึ้นหรือร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อคอย ควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มีการละเมิดซึ่งกันและกัน

15. ธรรมชาติมนุษย์ในทัศนะของโซฟิสต์คือ
(1) เป็นสัตว์สังคม
(2) ไม่ใช่สัตว์สังคม
(3) เห็นแก่ตัว
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 24 – 25 พวกโซฟิสต์ มีความเชื่อมั่นในลัทธิปัจเจกชนนิยมหรือเอกบุคคลนิยม (Individualism) โดยเชื่อว่าคนเป็นเครื่องวัดของทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ละคนมีความสามารถที่จะ วัดว่าสิ่งใดผิดตามความเชื่อและความปรารถนาของเขา คนไม่ใช่สัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้ว คนเห็นแก่ตัว ไม่ชอบการรวมกันเป็นสังคม และไม่มีความเท่าเทียมกันในเรื่องกําลัง

16. อริสโตเติลใช้เกณฑ์ใดในการจําแนกรูปแบบการปกครอง
(1) จํานวนผู้ปกครอง
(2) จุดมุ่งหมายในการปกครอง
(3) กฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 59 – 61) ในหนังสือ Politics นั้น อริสโตเติลได้จําแนก รูปแบบการปกครองออกเป็นแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ
1. จํานวนผู้ใช้อํานาจในการปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คณะบุคคล และมหาชน
2. จุดมุ่งหมายในการปกครอง ประกอบด้วย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อประโยชน์ส่วนตน

17. ชีวิตที่ดีในทัศนะของลัทธิชินนิคส์คือ
(1) มีเกียรติ
(2) มีอํานาจ
(3) อยู่ในรัฐ
(4) มีการศึกษา
(5) ไม่มีอะไร
ตอบ 5 หน้า 60, (คําบรรยาย) ลัทธิชินนิคส์ เชื่อว่า ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ (Simplicity) ไม่มีอะไร หรือชีวิตแบบสมถะเรียบง่ายเท่านั้นที่จะเป็นกุญแจทองที่แท้จริงที่สามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ดีได้

18. กฎหมายที่พระเจ้าบัญญัติไว้ในพระคัมภีร์เก่าและพระคัมภีร์ใหม่ตามทัศนะของอไควนัสคือ
(1) กฎหมายมนุษย์
(2) กฎหมายพระคัมภีร์
(3) กฎหมายธรรมชาติ
(4) กฎหมายสถาพร
(5) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 5 หน้า 90 ตามความเห็นของอไควนัส (Aquinas) นั้น “กฎหมายศักดิ์สิทธิ์” (Divine Law) คือ กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติต่าง ๆ ซึ่งพระเจ้าบัญญัติขึ้นไว้ในคัมภีร์เก่าและคัมภีร์ใหม่ โดยพระประสงค์ที่จะให้เป็นสิ่งปกครองประชาชนของพระองค์ แม้ว่ากฎหมายนี้จะได้รับการเผยแพร่และไม่ขัดกับหลักเหตุผล แต่มนุษย์ก็ไม่อาจค้นพบหรือรู้จักได้ทุกคนไป

19. ความคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมใด
(1) เอเธนส์เป็นรัฐมหาอํานาจ
(2) การแพร่หลายของแนวคิดของเพลโต
(3) โรคระบาดใหญ่
(4) การถูกปกครองโดยจักรวรรดิมาเซโดเนีย
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคกรีกตอนปลายหรือในช่วง 300 ปีก่อนคริสตกาล นครรัฐเอเธนส์ก็ได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงจากการพ่ายแพ้สงครามต่อมาเซโดเนียจากการบุก ของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย (Alexander The Great) เมื่อกรีกตกอยู่ภายใต้ อํานาจของจักรวรรดิมาเซโดเนีย ความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาการเมืองของกรีกของเพล โตและอริสโตเติล ตลอดจนความคิดทางการเมืองแบบโซฟิสต์ที่ทรงอิทธิพลก็ได้จบสิ้นลง เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากขาดอิสระในการปกครองของนครรัฐตนเอง

20. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์
(1) มีกระบวนการเนรเทศพลเมืองที่เป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย
(2) พลเมืองชายทุกคนที่มีอายุถึงกําหนดต้องทําหน้าที่ในสภาประชาชน
(3) ทาสไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง
(4) ศาลเอเธนส์อนุญาตให้มีทนายความหรือไม่ก็ได้
(5) คนต่างด้าวและผู้หญิงไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง
ตอบ 4 หน้า 19 – 21, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21), (คําบรรยาย) กลไกทางการเมืองที่สําคัญ ของระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์ (Athens) มีดังนี้คือ
1. มีกระบวนการเนรเทศพลเมืองที่เป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย เรียกว่า “Ostracism”
2. มีสภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพลเมืองชายทุกคนที่ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ทําหน้าที่นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
3. มี “คณะลูกขุน” ของศาลทําหน้าที่พิพากษาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งคําตัดสินจะถือเป็น เด็ดขาดไม่มีอุทธรณ์ ทั้งโจทก์และจําเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยตนเอง ไม่มีทนายความ
4. มีหลักการ Isonomia (หลักการที่ว่าทุกคนมีความเสมอภาคทางกฎหมาย) และหลักการ Isogoria (หลักการที่ว่าทุกคนมีความเสมอภาคทางการพูด)
5. ฐานะของการเป็นพลเมือง (Citizen) จะได้มาโดยกําเนิด พลเมืองชายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง ชนต่างด้าว บรรดาพ่อค้าวานิช และทาส จะไม่มีส่วนร่วมในการปกครองแต่อย่างใด เป็นต้น

21. “Cosmopolitan” เป็นแนวคิดที่สัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด
(1) คุณธรรมของผู้ปกครอง
(2) คุณธรรมของผู้ใต้ปกครอง
(3) พลเมืองแห่งรัฐ
(4) พลเมืองของจักรวาล
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 82), (คําบรรยาย) แนวคิดพลเมืองโลก (Cosmopolitanism หรือ Kosmopolites) เกิดขึ้นมาและเฟื่องฟูมากในช่วงต้นยุคโรมัน ภายหลังนครรัฐกรีกได้ล่มสลายลง ซึ่งการที่โรมันได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางจนเกือบทุกดินแดน จนอาจจะกล่าวได้ว่า “ทุกคนคือพลเมืองโรมัน” ทําให้ถูกมองว่ามนุษย์ไม่ควรจะเป็นพลเมืองของชาติหรือรัฐใด รัฐหนึ่ง แต่มนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลกหรือพลเมืองของจักรวาลนี้นั่นเอง

22. สถาบันทางการเมืองใดในเอเธนส์ที่ทําหน้าที่เป็นองค์กรปกครองประจํา
(1) Ten Generals
(2) Council of Five Hundred
(3) Court
(4) Council of Representative
(5) Assembly of Ecclesia
ตอบ 2 หน้า 20, (คําบรรยาย) คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) เป็นองค์กรปกครอง ประจํา ซึ่งปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม โดยสมาชิกคณะมนตรีจะประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจาก แต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน (เอเธนส์มี 10 เผ่า) สมาชิกแต่ละคนมีอายุประจําการครั้งละ 1 ปี และห้ามไม่ให้ดํารงตําแหน่ง 2 ปีติดต่อกัน

23. บิดาของอริสโตเติ้ลประกอบอาชีพใด
(1) ช่างทําหิน
(2) อาจารย์
(3) แพทย์
(4) ทาส
(5) นักการเมือง
ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติล (Aristotle) เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากิรัส ทางชายฝั่งของ มาเซโดเนีย (Macedonia) บิดาของเขาเป็นแพทย์ประจําราชสํานักมาเซโดเนีย และเป็นศิษย์ ของเพลโต ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการศึกษาที่เมืองเรสบอส เขาได้ทํางานเป็นที่ปรึกษาอย่าง ไม่เป็นทางการของเฮอร์เมียส (Hermias) เจ้าเมืองอาตาร์เนอุส และได้แต่งงานกับหลานสาว ของเฮอร์เมียสด้วย

24. เพริคลิสกล่าวสุนทรพจน์สําคัญที่ทําให้นักวิชาการในภายหลังศึกษาความคิดในยุคดังกล่าวได้เนื่องในโอกาสใด
(1) ปลุกใจทหารก่อนไปรบในสงครามกับเปอร์เซีย
(2) หาเสียงในการลงสมัครเลือกตั้งคณะสิบนายพล
(3) แสดงเหตุผลต่อชาวมีเลี่ยนที่ต้องเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเอเธนส์
(4) ไว้อาลัยต่อทหารที่เสียชีวิตในสนามรบ
(5) เปิดสมัยประชุมสภาประชาชน
ตอบ 4 หน้า 27 (คําบรรยาย) เพริดลิส ได้กล่าวสุนทรพจน์สําคัญที่ทําให้นักวิชาการในภายหลังศึกษา ความคิดในยุคดังกล่าวได้ เนื่องในโอกาสพิธีฝังศพและเซ่นสรวงที่หลุมศพเพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อทหารหาญชาวเอเธนส์ที่เสียชีวิตในสนามรบในระหว่างสงครามเพโลโพนีเซียน โดยสุนทรพจน์ ของเขานั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพบรรยากาศทางสังคมและการเมืองของนครรัฐเอเธนส์ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี

25. นักคิดคนสําคัญของซินนิคส์คือ
(1) ไดโอจีนีส
(2) ไดโอนิซุส
(3) เดโมคริตุส
(4) ทาเลส
(5) เอลซีไบเดส
ตอบ 1 หน้า 60 ปรัชญาเมธีคนสําคัญแห่งลัทธิชินนิคส์ (Cynics) ได้แก่ แอนทิสซิเนส (Antisthenes), ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)

26. กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์และตัวแทนส่วนหนึ่งของกฎหมายสถาพรตามทัศนะของอไควนัสคือ
(1) กฎหมายมนุษย์
(2) กฎหมายพระคัมภีร์
(3) กฎหมายธรรมชาติ
(4) กฎหมายสถาพร
(5) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 3 หน้า 90 ตามความเห็นของอไควนัสนั้น “กฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law) เป็นกฎเกณฑ์ และตัวแทนส่วนหนึ่งของกฎหมายสถาพร โดยมนุษย์ทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติ ได้ด้วยเหตุผลของเขาเอง ดังนั้นแม้ว่าผู้ที่ไม่ใช่คริสตชนก็รู้จักกฎหมายธรรมชาติได้ ตราบเท่าที่เขามีเหตุผล

27. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์
(1) สสารวาท
(2) จิตนิยม
(3) วัตถุนิยม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 9 – 11, (คําบรรยาย) กลุ่มสสารวาทหรือกลุ่มวัตถุนิยม เห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมเป็นรากฐานของความคิดมนุษย์ โดยเชื่อว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์ หรือบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือ เศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ของชนทั้งหลายคือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ

28. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับทฤษฎีสองดาบ
(1) ควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า
(2) อํานาจปกครองทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจเหนือสันตะปาปา
(3) อํานาจทั้งสองฝ่ายมีความเท่าเทียมกัน
(4) อํานาจปกครองทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจเหนือจักรพรรดิ
(5) อํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

29. แนวคิดใดที่ถือว่าเป็นแนวคิดหลักในช่วงต้นของยุคอาณาจักรโรมัน
(1) Capitalism
(2) Communitarianism
(3) Communism
(4) Confucianism
(5) Cosmopolitanism
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

30. สถาบันทางการเมืองใดในเอเธนส์ที่ทําหน้าที่คล้ายคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน
(1) Ten Generals
(2) Council of Five Hundred
(3) Court
(4) Council of Representative
(5) Assembly of Ecclesia
ตอบ 1 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นสถาบันการปกครองหนึ่ง ในนครรัฐเอเธนส์ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ซึ่งในทางทฤษฎีนั้นคณะสิบนายพลเป็นตําแหน่งทางการทหาร แต่ในทางปฏิบัติแล้วบรรดานายพลเหล่านี้มีอิทธิพลในทางการเมืองเป็นอย่างมากโดยฐานะของกลุ่มนายพลจะคล้ายคลึงกับคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน และหัวหน้าคณะสิบนายพลเปรียบเสมือนนายกรัฐมนตรี

31. เพราะเหตุใดอริสโตเติลจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์
(1) ความคิดของเขาถูกนําไปปฏิบัติ
(2) เขียนตําราทางการเมืองคนแรกของโลก
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันรัฐศาสตร์แห่งแรกของโลก
(5) ให้ความสนใจเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และ การสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบ ความเป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน

32. ธรรมชาติมนุษย์ของอิพิคิวเรียนคือ
(1) มีเหตุผล
(2) เป็นคนดี
(3) เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
(4) ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม
(5) เป็นคนชั่วร้าย
ตอบ 5 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วคนทุกคนเห็นแก่ตัวและ เป็นคนชั่วร้าย ซึ่งสิ่งนี้เองที่นําไปสู่การขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะความสุขของบุคคลหนึ่งอาจจะเป็นความทุกข์ของบุคคลอื่นได้

33. ในทัศนะของออกัสติน เมื่อผู้ปกครองเป็นทรราชจะต้องทําอย่างไร
(1) ไม่ยอมรับผู้ปกครอง
(2) สนับสนุนอํานาจศาสนจักรโค่นล้ม
(3) ยอมรับ
(4) ออกไปจากรัฐนั้น
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) ออกัสติน (Augustine) เชื่อว่า สภาพธรรมชาติของคนถูกทําลายลง ด้วยบาป พระเจ้าจึงได้ประทานผู้ปกครองหรือสถาบันการปกครองให้แก่มนุษย์ แม้ว่าในบางครั้ง คนอาจจะถูกปกครองโดยกษัตริย์ทรราชซึ่งขาดธรรมะ แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ และ จะต้องยอมรับ ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะบรรดาผู้ปกครองทุกคนคือ ผู้แทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพนั่นเอง

34. ใครเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง “สงครามเพโลโพนเซียน”
(1) ธูซิดิดิส
(2) เพลโต
(3) ธราซิมาคัส
(4) โปรทากอรัส
(5) อริสโตเติล
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ซูซิดิดิส (Thucydides) เป็นผู้บันทึกเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเลี่ยน” (Melian Dialogue) ซึ่งเป็นบทหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์สงคราม เพโลโพนิเซียน (Peloponesian War) โดยจะมีสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับ เอเธนส์ (Athens) ในช่วงของสงครามดังกล่าว

35.Politika เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) การเมือง
(2) การตํารวจ
(3) การต่อสู้
(4) การอยู่ร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 5) คําว่า “การเมือง” ในภาษากรีกก็คือ Politika ซึ่งหมายถึง เรื่องราวหรือกิจการของ Polis สําหรับคําว่า Polis นี้บางคนอาจแปลว่า นครรัฐ หรือ รัฐ หรือ บางคนก็บอกว่าแปลเป็นไทยไม่ได้ เพราะแปลแล้วจะผิดความหมายดั้งเดิมของคําไป ควรจะใช้ ทับศัพท์แบบกรีกโบราณไปเลย แต่อย่างไรก็ตาม คําว่า Polis ตามความเข้าใจของผู้เขียน ก็คือ ชุมชนทางการเมือง หรือนครรัฐของกรีกโบราณนั่นเอง

36. อริสโตเติลเกิดที่เมืองใด
(1) เลสบอส
(2) เอเธนส์
(3) สตากิรัส
(4) สปาร์ตา
(5) แอสซุส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

37. ความไม่เสมอภาคทางสังคมของซินนิคส์เกิดมาจากปัจจัยใด
(1) ระบบกรรมสิทธิ์
(2) ระบบการเมือง
(3) วัฒนธรรม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาชินนิคส์ต่อต้านรัฐ คือ ไม่ต้องการให้มีรัฐ ตลอดจนสถาบัน ต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบกรรมสิทธิ์ ระบบการเมือง การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา รวมไปถึงระบบชนชั้นด้วย โดยกล่าวว่าสิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึงศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คนมีสถานะ แตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว คนเราไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจกมี ความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งนั้น

38. Sophist มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) ปัญญา
(2) ผู้มีปัญญา
(3) ผู้รักปัญญา
(4) ความรู้
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์หรือซอฟฟิสต์ (Sophist) เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาพํานักในกรุงเอเธนส์ในยุคกรีกตอนต้นในช่วงสมัยเพริคลิส ไม่ใช่พลเมืองชาวเอเธนส์ ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นครู คือการสัญจรรับจ้างสอนบรรดาผู้กระหาย ความรู้ทั้งหลาย โดยสิ่งที่พวกเขาสอนจะทําให้ผู้รับการศึกษาได้มีความรู้ในการพูด หรือสอน ให้คนมีวาทศิลป์ (Rhetoric) การหักล้างโต้แย้ง และวิธีการพูดในที่สาธารณะ โดยคําว่า “Sophist” นั้นหมายถึง ผู้มีความรู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้

39.“Potis” สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) ประเทศ
(2) นครรัฐ
(3) รัฐชาติ
(4) ชาติ
(5) ชุมชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

40. ข้อเสนอทางทฤษฎีของจอห์นแห่งซัลส์เบอรี่คือ
(1) ทฤษฎีองค์อินทรีย์
(2) ประชาชนไม่มีสิทธิโค่นล้มกษัตริย์
(3) ประชาชนปลงพระชนม์กษัตริย์ที่เป็นทรราชได้
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 86 – 87 จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมืองยุคกลาง คนแรกที่ใช้ “ทฤษฎีองค์อินทรีย์” (Organic Analogy) อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของรัฐ หรือประชาคมการเมือง โดยเขาเห็นว่า กษัตริย์ที่ไม่เป็นทรราชจะเคารพกฎหมายและปกครอง ประชาชนโดยถือกฎหมายเป็นหลัก และถือตัวเองเป็นเพียงผู้รับใช้ประชาชน ส่วนกษัตริย์ที่เป็น ทรราชนั้นจะไม่ยึดถือกฎหมาย ประชาชนก็ไม่มีพันธะที่จะเคารพเชื่อฟัง และมีสิทธิที่จะถอด ถอนออกจากตําแหน่ง หรือหากจําเป็นจะปลงพระชนม์เสียก็ได้

41. สรรพสิ่งทั้งหลายในทัศนะของสโตอิกส์ดําเนินไปในลักษณะใด
(1) บังเอิญ
(2) เปลี่ยนแปลง
(3) เป็นไปตามกฎธรรมชาติ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ลูก
ตอบ 3 หน้า 67, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อถือและให้ความสําคัญในเรื่องธรรมชาติมากที่สุด โดยเปรียบธรรมชาติเป็นเสมือนพระเจ้า ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลเกิดขึ้น ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ โดยมีกฎหมายธรรมชาติเป็นกฎสากล ทําหน้าที่ปกครองสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกําหนดวิถีความเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ซึ่งมีรากฐานมาจากเหตุผล ดังนั้นจึงทําให้กฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่แน่นอนและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

42. อํานาจในการปกครองในอาณาจักรโรมันมีที่มาจาก
(1) จักรพรรดิ
(2) ประชาชน
(3) เทพเจ้า
(4) วุฒิสภา
(5) กฎธรรมชาติ
ตอบ 2 หน้า 63 หลักการสําคัญของกฎหมายโรมันประการหนึ่งก็คือ อํานาจของผู้ปกครองมาจาก ประชาชน และเหตุที่เจตนารมณ์ของจักรพรรดิมีอํานาจบังคับของกฎหมาย ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนได้ยินยอมมอบอํานาจทั้งหมดให้แก่จักรพรรดิ นั่นแสดงให้เห็นว่าอํานาจในการ ปกครองในอาณาจักรโรมันต้องมาจากประชาชน

43. ประยุกตรัฐของเพลโตเป็นการผสมผสานระหว่างการปกครองระบอบใด
(1) ราชาธิปไตย
(2) คณาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า โครงสร้างการปกครองของประยุกตรัฐนั้นมีแนวโน้ม เป็นการผสมผสานระหว่างคณาธิปไตย (Oligarchy) กับประชาธิปไตย (Democracy) หรือระหว่างความเฉลียวฉลาดกับจํานวน

44. ผู้ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์คือ
(1) ธราซิมาคัส
(2) โปรทากอรัส
(3) ซีโน
(4) เอนติฟอน
(5) กอร์กิอัส
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่าคนแต่ละคน มีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล

45. การมีชีวิตที่ดีตามแนวคิดของสโตอิกส์สัมพันธ์กับข้อใด
(1) การเมืองมีเสถียรภาพ
(2) สอดคล้องกับธรรมชาติ
(3) มีผู้นําที่ดี
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 68, 73 ลัทธิสโตอิกส์ เห็นว่า ชีวิตที่ดีคือการดําเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ การพยายามทําตนให้เข้ากับความต้องการของธรรมชาติ เป็นสิ่งซึ่งจะสร้างผลดีให้กับชีวิต เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งสูงสุดและมีความดีที่แท้จริงแฝงอยู่

46. ตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งของประยุกตรัฐของเพลโตคือ
(1) คณะรัฐมนตรี 360
(2) รัฐมนตรีมหาดไทย
(3) รัฐมนตรีศึกษาธิการ
(4) คณะมนตรีรัตติกาล
(5) นายกรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ในประยุกตรัฐนั้น เพลโตกําหนดให้มี “คณะมนตรี 360” ขึ้น โดยแบ่งจํานวน ผู้แทนออกเป็น 4 ชนชั้น ตามมูลค่าทรัพย์สินที่แต่ละคนมี ชนชั้นละเท่า ๆ กัน คือ 90 คน ซึ่ง แต่ละชนชั้นจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ที่เป็นชนชั้นเดียวกับตนเข้าไปนั่งในคณะมนตรี 360

47. ผลงานชิ้นสําคัญของจักรพรรดิมาร์คัส เออเรลิอุส คือ
(1) Meditations
(2) Republic
(3) The Law
(4) On War
(5) Moral Essays
ตอบ 1 หน้า 67, 72, (คําบรรยาย) มาร์คัส เออเรลิอุส (Marcus Aurelius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่เคยเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการทําสงคราม ทําลายล้างปัจจามิตร ซึ่งวรรณกรรมชิ้นสําคัญของเขาคือ Meditations หรือสมาธินั่นเอง

48.“Isonomia” มีความหมายถึง
(1) ความเสมอภาคทางการพูด
(2) ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
(3) ความเสมอภาคทางกฎหมาย
(4) ความเสมอภาคทางการเมือง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

49. ทฤษฎีสองนครของนักบุญออกัสติน ตั้งอยู่ที่ใด
(1) สวรรค์และนรก
(2) นครที่นับถือคริสต์และไม่นับถือ
(3) วัดกับรัฐ
(4) จิตใจมนุษย์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 80, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองนครของนักบุญออกัสตินนั้น อธิบายว่า “นครทั้งสองนี้ ไม่ใช่สรวงสวรรค์กับพื้นพิภพ ไม่ใช่วัดกับรัฐ แต่เป็นพลังของความดีและพลังของความชั่ว ซึ่งได้ต่อสู้กันเพื่อที่จะแย่งกันเป็นเจ้าของดวงจิตหรือจิตใจของมนุษย์มานานแล้ว”

50.“ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

51. งานที่อธิบายเรื่องราวซอคราตีสแก้คดีในศาลเอเธนส์คือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโต ได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า “ยูไธโฟร” (Euthiphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือเรื่อง “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง ซึ่งเนื้อหาในเล่มนี้ จะเกี่ยวกับการพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวของซอคราตีสเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษ

52. มนต์เสกเป่าเพื่อแก้เสนียดและนําความชั่วร้ายไปให้แก่ศัตรูคือ
(1) สามเวท
(2) ฤคเวท
(3) ไสยเวท
(4) อถรรพเวท
(5) ยชุรเวท
ตอบ 4 หน้า 96, (คําบรรยาย) ในสมัยพราหมณะ (พราหมณ์) ได้เกิดคัมภีร์พระเวทเล่มที่ 4 ขึ้น เรียกว่า อถรรพเวท ซึ่งมีข้อความจากพระเวทเดิมปะปนอยู่บ้าง โดยเรื่องราวของอถรรพเวท ส่วนมากเป็นมนต์เสกเป่าเพื่อแก้เสนียดและนําความชั่วร้ายไปให้ศัตรู การสักยันต์เป็นตัวเลขหรือคาถาเพื่อปกป้องตัวเองหรือให้มีโชคลาภ

53. หากผู้ปกครองเป็นทรราช สิ่งที่สามารถทําได้ตามแนวคิดของนักบุญอไควนัสคือ
(1) โค่นล้มผู้ปกครอง
(2) ถอดถอนตามกฎหมาย
(3) สวดภาวนาต่อพระเจ้า
(4) หนีออกไปจากรัฐ
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 89 อไควนัส เห็นว่า หากผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็นทรราช ผู้ปกครอง ก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามกระบวนการแห่ง กฎหมาย และหากว่าไม่สามารถถอดถอนหรือควบคุมทรราชได้โดยกระบวนการทางกฎหมายประชาชนควรหันไปสู่การสวดภาวนาต่อพระเจ้า เพราะพระองค์อาจจะบันดาลให้จิตใจทรราชเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรืออาจลงโทษทรราชผู้นั้นด้วยพระองค์เอง

54. “โพลิตี้” (Polity) หรือ ประชาธิปไตยสายกลาง (Moderated Democracy) คือระบอบการปกครองรูปแบบใด
(1) ราชาธิปไตย
(2) คณาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ผสมระหว่างข้อ 1 และ 2
(5) ผสมระหว่างข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือ ที่เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี

55. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาต้องห้ามในอาณาจักรโรมัน
(1) คอนสแตนติน
(2) มาร์คัส เออเรลิอุส
(3) เธโอดอเสียส
(4) เนโร
(5) กาลิเรียส
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 90 – 91), (คําบรรยาย) ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถูกปราบปราม และกลายมาเป็นศาสนาต้องห้ามสําหรับชาวโรมตั้งแต่ในยุคของจักรพรรดิเนโร (Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus) โดยในปี ค.ศ. 64 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงโรม จักรพรรดิ เนโรได้ใส่ร้ายชาวคริสต์ว่าเป็นคนเผากรุงโรมและจับมาประหารชีวิตด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณรวมทั้งประกาศห้ามไม่ให้ผู้ใดในอาณาจักรนับถือศาสนาคริสต์ แต่กระนั้นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ก็ได้ ประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ให้ศาสนาคริสต์ไม่ใช่ศาสนาต้องห้าม ของโรมอีกต่อไป และในช่วงปี ค.ศ. 379 – 395 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําชาติของโรม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นนี้เองที่ทําให้ผู้คน ในยุโรปต่างเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

56. จริยศาสตร์ (Ethics) เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องใด
(1) ความจริง
(2) ความงดงาม
(3) ความรู้
(4) ความรัก
(5) ความดี
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3 – 4) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึง สิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะศึกษาว่าอะไร คือสิ่งที่ควรกระทําหรือไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด หรือความดีความชั่วคืออะไร

57. นักปราชญ์ผู้ใดที่เสนอว่า “พระหรือบาทหลวงมีสิทธิโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติมิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏ”
(1) St. Ambrose
(2) St. Augustine
(3) John of Salisbury
(4) Gelasius I
(5) Marsiglio of Padua
ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) เซ็นต์ แอมโบรส (St. Ambrose) บิชอปแห่งเมืองมิลาน ได้อธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการปกครอง (สถาบันกษัตริย์) และสถาบันศาสนาไว้ว่า ในเรื่อง ทางโลกนั้นเป็นเรื่องของฆราวาส (กษัตริย์) พระไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย พระมีสิทธิติเตียนหรือ โต้แย้งกษัตริย์ได้ในกรณีที่เห็นว่ากษัตริย์ทําผิด แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาราษฎร์กบฏหรือ ต่อต้านคําสั่งของกษัตริย์ โดยทั้งสองสถาบันควรร่วมมือกันในการสนับสนุนคนให้มีชีวิตที่ดี เพื่อจะได้เข้าสู่ประตูสวรรค์ในโลกหน้า

58.“ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ทําให้การชําระล้างดวงวิญญาณให้เป็นไปได้” ข้อความดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) John of Salisbury
(2) Gelasius I
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) Boniface Xlll

ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) เซ็นต์ ธอมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) เชื่อว่า รัฐมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ทําให้การชําระล้างดวงวิญญาณให้เป็นไปได้ ดังนั้นมนุษย์ จะมีชีวิตที่ถูกต้องได้ต้องอาศัยอยู่ในสังคมที่มีสถาบันศาสนา ซึ่งศาสนาคริสต์เป็นสถาบันเดียว ที่สามารถชี้ทางไปสู่การชําระล้างวิญญาณ และนําประชาชนเข้าสู่ประตูสวรรค์ได้

59.(อดีต) พระมหาสมปอง ตาลปุตโต และพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และเป็น พส. (พระสงฆ์) สังกัดนิกายใด
(1) สามนิ้วยาน
(2) แครอทยาน
(3) หินยาน
(4) มหายาน
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อดีต พระมหาสมปอง ตาลปุตโต หรือ สมปอง นครไธสง เป็นพิธีกรและนักเขียน ก่อนหน้านั้นเคยเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง และจําพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะลาสิกขาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ส่วนอดีต พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ หรือ ไพรวัลย์ วรรณบุตร นั้นมีชื่อเสียงขึ้นมาในปี 2564 เนื่องจากธรรมเทศนาที่มีผู้ติดตามบนสื่อสังคม มากมาย ก่อนหน้านั้นจําพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะลาสิกขาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยทั้งอดีตพระมหาสมปอง ตาลปุตโต และพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ เป็น พส. (พระสงฆ์) สังกัดนิกายหินยาน (เถรวาท)

60. การล่มสลายของอาณาจักรโรมันทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดขึ้น
(1) ระบบฟิวดัล
(2) ศาสนจักรมีอิทธิพลสูงขึ้น
(3) สภาวะอนาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101 – 104) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมันก็ได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าติวตัน (Teutons)ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือยุคมืด (Dark Age) หรือที่คน ในยุคนั้นมองว่าเป็นยุคใหม่ (Modern) ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปต้องดูแลตนเอง ปกครองกันเอง เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ซึ่งการปกครองในยุคนี้จะเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือ ระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ศาสนจักร มีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงอย่างหนึ่งหลังจากที่อาณาจักรโรมันล่มสลายลง นั่นก็คือ สถาบันศาสนาคริสต์ หรือศาสนจักรที่มีผู้นําคือ สันตะปาปา (Pope) เป็นผู้ที่จะคอยให้กําลังใจ แก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น

61. “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไปที่ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไป อาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าวก็ได้…แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือก ที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” ปรากฏอยู่ ในผลงานชิ้นใด
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 43) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น ซอคราตีส ได้กล่าวไว้ว่า “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไป ที่ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไปอาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าว ก็ได้ แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคน จะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า เราและตัวเขาเองควรเชื่อฟังรัฐ เนื่องจาก รัฐเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จริงอยู่ว่าพ่อแม่ก็คือ คนที่เลี้ยงเรา แต่รัฐต่างหากที่ออกกฎหมายให้ พ่อแม่เราเลี้ยงดูเราหรือไม่เอาเราไปทิ้งถังขยะ ตลอดจนออกกฎหมายและสั่งให้พ่อแม่เราส่งเราไปเรียนหนังสือ

62. นครรัฐเอเธนส์มีระบอบการปกครองที่สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ประชาธิปไตยโดยอ้อม
(2) ประชาธิปไตยทางตรง
(3) ประชาธิปไตยรวมศูนย์
(4) ประชาธิปไตยตัวแทน
(5) ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแรกเริ่มของบรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีก เช่น นครรัฐเอเธนส์ สปาร์ตา เดลไฟ โรดส์ โอลิมเปีย เป็นต้น จะเป็นระบอบกษัตริยาธิปไตยหรือ ราชาธิปไตย(Monarchy) ต่อมาในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ระบอบการปกครองก็เปลี่ยนเป็น ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) จากนั้นในระยะต่อมาระบอบทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) จึงเข้ามาแทนที่ และสิ้นสุดลงเมื่อบรรดาประชาชนผู้ถูกทรราชกดขี่ได้ร่วมมือกับเหล่าขุนนางและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายทําการปฏิวัติกวาดล้างทรราช จนกระทั่งในราวศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนคริสตกาล บรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีกรวมทั้งนครรัฐเอเธนส์ก็ได้เปลี่ยนรูปการปกครอง มาเป็นระบอบ “ประชาธิปไตยทางตรง” (Direct Democracy) ยกเว้นนครรัฐสปาร์ตาที่เปลี่ยน รูปการปกครองมาเป็นแบบเผด็จการทหารนิยม (Military City State)

63. ทักษะที่โซฟิสต์ยกย่องคือ
(1) การแสวงหาสัจธรรม
(2) การรู้จักความดีชั่ว
(3) การไม่เบียดเบียน
(4) การเป็นผู้มีคุณธรรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

64.สัตว์ที่ชักชวนอีฟให้กินผลไม้ต้องห้ามในสวนเอเดนคือ
(1) ค้างคาว
(2) เสือดํา
(3) แมว
(4) เสือดาว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในสวนเอเดนนั้น พระเจ้าได้บอกกับอดัมและอีฟไว้ว่า “เจ้าสามารถกินผลของ ต้นไม้ได้ทุกต้น ยกเว้นต้นแห่งความสํานึกในความดี และความชั่วนั้นห้ามกิน หากเจ้ากินเจ้าจะ ต้องตายแน่” แต่ในสวนเอเดน พระเจ้าทรงประทานให้สัตว์ทั้งปวงนั้นฉลาดน้อยกว่า “งู” และ นั่นทําให้มนุษย์สองคนที่ใสซื่อบริสุทธิ์โดนล่อลวง ในวันหนึ่งงูได้ถามอีฟว่า “พระเจ้าอนุญาตให้ เจ้ากินทุกอย่างได้หมดเลยหรอ” อีฟจึงบอกว่า “มีแค่ต้นตรงกลางสวนเท่านั้นที่ไม่สามารถกินได้ เพราะถ้ากินจะต้องตาย” งูจึงบอกอีฟว่า “เจ้าจะไม่ตายจริงหรอก เพราะพระเจ้าทราบอยู่แล้ว ว่า หากเจ้ากินผลไม้นั้นในวันใด ตาของเจ้าจะสว่างขึ้น” อีฟจึงเชื่อและหยิบผลของต้นนั้นมากิน และแบ่งให้อดัมกินด้วย

65. แนวคิดของนักบุญอไควนัสได้รับอิทธิพลทางทฤษฎีมาจากนักปรัชญากรีกท่านใด
(1) Aristotle
(2) Socrates
(3) Diogenes
(4) Plato
(5) Protagoras
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113) แนวความคิดทางการเมืองของอไควนัส (Aquinas) นั้น ได้พยายามเอาความคิดของอริสโตเติล (Aristotle) มาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับ ศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค

66. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) เป็นพระเมสซิยาห์
(2) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(3) จงรักศัตรูของท่าน
(4) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอน คนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจาก เยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและ ไปฟ้องต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี

67. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) จะเกิดสัมมาร่วม
(2) ผู้ที่มีความรู้ได้เป็นผู้ปกครอง
(3) ปกครองโดยราชาปราชญ์
(4) พลเมืองทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
(5) ไม่มีข้อใดผิด
หน้า 35, 37 – 39, (คําบรรยาย) รัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้คือ
1. ความยุติธรรมคือสิ่งที่เป็นส้มมาร่วม (Commnon Good) ที่จะนําความสุขมาสู่รัฐได้
2. ราชาปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ที่มีความรอบรู้และเกลียวฉลาดเป็นผู้ปกครอง
3. ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบจะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว
4. ไม่มีกฎหมายในรัฐในอุดมคติ เพราะหากกําหนดตัวบทกฎหมายขึ้นก็เท่ากับเป็นการวาง กฎเกณฑ์ให้ราชาปราชญ์ปฏิบัติตาม ประโยชน์ที่จะได้รับจากความเฉลียวฉลาดของ ราชาปราชญ์ย่อมหมดไป และถ้าเป็นเช่นนั้น ใคร ๆ ก็อาจจะเป็นผู้ปกครองได้ในเมื่อ มีกฎหมายเป็นเครื่องกําหนดวิถีปฏิบัติไว้แล้ว เป็นต้น

68. นักปราชญ์คนใดที่เสนอว่า ดาบในการปกครองเป็นของพระเจ้า และพระเจ้ามอบอํานาจให้ฝ่ายศาสนจักร ในการมอบหมายให้ฝ่ายอาณาจักรเป็นผู้ปกครองอีกทีหนึ่ง อํานาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับฝ่ายศาสนจักร
(1) Gelasius I
(2) Boniface VII
(3) Marsiglio of Padua
(4) John of Salisbury
(5) St. Aquinas
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109), (คําบรรยาย) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface Vill) เสนอว่า “ดาบในการปกครองเป็นของพระเจ้า และพระเจ้ามอบอํานาจให้ฝ่ายศาสนจักรในการมอบหมายให้ฝ่ายอาณาจักรเป็นผู้ปกครองอีกทีหนึ่ง อํานาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับฝ่ายศาสนจักร โดยอธิบายว่า อํานาจในโลกนี้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจของศาสนจักร (สันตะปาปา) และ อํานาจของอาณาจักร (กษัตริย์) โดยเปรียบเทียบอํานาจทั้งสองนี้เหมือนกับดาบ แต่เดิมอํานาจ ทั้งหมดเป็นของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมอบอํานาจหรือดาบให้กับสันตะปาปาทั้งสองเล่ม และภายหลังสันตะปาปาถือดาบแห่งจิตวิญญาณไว้ และมอบดาบที่ใช้ปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ แต่อํานาจดังกล่าวที่มอบให้กษัตริย์ก็ยังคงเป็นของสันตะปาปาอยู่ การมอบดาบนี้เป็นเพียงการมอบหมายหน้าที่ให้กษัตริย์เท่านั้น อํานาจกษัตริย์จึงไม่มีทางใหญ่กว่าอํานาจสันตะปาปาที่เป็น เจ้าของดาบที่แท้จริง เพราะได้รับอํานาจนั้นมาจากพระเจ้าโดยตรง

69. ลัทธิศักติสัมพันธ์กับข้อใด
(1) การดื่มสุรา และการบูชายัญด้วยโลหิต
(2) การบูชาชายาของเทพ
(3) การทรมานตนเองอย่างยิ่งยวด
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 97 – 98 ลัทธิศักติในศาสนาฮินดู คือ ลัทธิที่บูชาและนับถือชายาของเทพ เป็นลัทธิที่เกิด จากชนพื้นเมืองเดิมทางตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เบงกอล และอัสสัม มีคัมภีร์เรียกว่า ตันตระ ซึ่งลัทธิศักดิ์นี้จะมีการบูชาพระนางลักษมี เจ้าแม่อุมาเทวี และเจ้าแม่กาลี โดยมีการบูชายัญ ด้วยโลหิต ผู้หญิงเปลือยกายเต้นรำ ดื่มสุรา และเสพเมถุน

70. Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ในทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) การมีคุณธรรม
(4) การมีพฤติกรรมที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์ตามธรรมชาตินั้น เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว ทั้งนี้ เนื่องจากมนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง และการที่จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วม ทางการเมืองนั่นเอง

71. สถาบันการปกครองใดในประยุกตรัฐที่ทําหน้าที่คอยควบคุมสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ และนํารัฐไปสู่
ความยุติธรรม
(1) สภาประชาชน
(2) คณะวุฒิสมาชิก 250
(3) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(4) คณะมนตรีรัตติกาล
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) เพลโต ได้กําหนดให้ประยุกตรัฐมีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีก คณะหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่คอยควบคุมสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ และตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคณะผู้ปกครองพิเศษนี้เรียกว่า “คณะมนตรีรัตติกาล” (Nocturnal Council) โดยเพลโตนั้น มีความประสงค์จะให้คณะมนตรีรัตติกาลนี้เองเป็นองค์อธิปัตย์ของรัฐ เพราะเชื่อว่าเป็นสถาบันที่จะนํารัฐไปสู่ความยุติธรรมได้

72. “Anacyclosis” มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การแสวงหารูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด
(2) การใช้เหตุผลเข้าใจกฎธรรมชาติ
(3) การหมุนวนของระบอบการปกครอง
(4) สาเหตุที่ทําให้มนุษย์เข้ามาอยู่รวมกันภายในรัฐ
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส (Polybius) เห็นว่า รูปการปกครองของกรีกนั้นมีการ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์ (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้าย ก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มีที่สิ้นสุด

73. เพลโตถูกพระเจ้าไดโอนิซุสจับลงโทษเป็นทาสในข้อหาใด
(1) สนับสนุนกลุ่มอํานาจเก่าให้ก่อการรัฐประหารภายในแต่ไม่สําเร็จ
(2) การใช้เหตุผลเข้าใจกฎธรรมชาติ
(3) ยุยงชาวเมืองให้กระด้างกระเดื่อง (ลงถนน)
(4) เสนอข้อแนะนําทางการเมือง
(5) ลอบส่งข้อมูลลับของเมืองให้กับเอเธนส์
ตอบ 4 หน้า 33, (คําบรรยาย) ภายหลังที่ซอคราตีสถูกศาลพิพากษาให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย เพลโต ก็ได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา ซึ่งเขา ได้ประสบโชคร้ายถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เพราะสร้างความขุ่นเคือง ให้กับพระเจ้าไดโอนิซุสที่ 1 ด้วยการก้าวก่ายแนะนําพระองค์ในเรื่องการเมืองการปกครอง แต่ภายหลังบรรดามิตรสหายช่วยไถ่ตัวเป็นไทได้

74. คําว่า “Ideology” มีความหมายถึง
(1) การมองเห็น
(2) ความคิดเห็น
(3) ข้อเสนอแนะ
(4) ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) เดอ ทราซี (de Tracy) เป็นผู้บัญญัติคําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยเกิดจากศัพท์ภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Eidos” หรือ “Idea” ใน ภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความคิด และคําว่า “Logos” หรือ “Logy, Science” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความรู้ และเมื่อนํามารวมกันคําว่า ideology จะหมายถึง “ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด” หรือ “Science of Idea”

75. จุดมุ่งหมายของศาสนาเชนคือ
(1) บรรลุโมกษะ
(2) ไม่กลับมาเกิดอีก
(3) ไปรวมกับพรหม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนา อเทวนิยม (Atheism) คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุโมกษะ เพื่อที่จะได้ไม่กลับมาเกิดอีก

76. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับหลักสัมพัทธนิยม (Relativism)
(1) ความเห็นขึ้นอยู่กับวัตถุวิสัย
(2) ปัจเจกบุคคลนิยม
(3) สังคมมีความจริงแตกต่างกัน
(4) ความจริงเป็นการให้คุณค่าของแต่ละคน
(5) มนุษย์มีอิสระ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

77. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ Edict of Caracalla
(1) บัญญัติขึ้นโดย Cicero แต่บังคับอยู่เพียง 19 ปี
(2) เป็นกฎหมายที่กําหนดให้ทุกคนที่อยู่ภายใต้อํานาจโรมเป็นพลเมืองแห่งโรม
(3) กฎหมายที่ Polybius นําออกมาใช้จนแพร่หลายไปทั่วอาณาจักรโรมัน
(4) เป็นหลักกฎหมายที่อนุญาตให้มีทาสได้ ซึ่งกฎหมายนี้ยกเลิกไปในตอนปลายยุคโรมัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 62 ในปี ค.ศ. 212 จักรพรรดิคาราคัลล่า (Caracalla) แห่งอาณาจักรโรมัน ได้ออกประกาศ ฉบับหนึ่งชื่อ “Edict of Caracalla” ซึ่งมีผลให้คนทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร โรมัน (โรม) เป็นพลเมืองโรมันเหมือนกันหมดและใช้กฎหมายภายในฉบับเดียวกัน

78. เมื่อเกิดบ้านเมืองเป็นทุรยศหรือเกิดความเดือดร้อน นักคิดในสํานักใดจะไม่เข้าร่วม (ชาวโรมันเฉย)
(1) Epicurean
(2) Cynics
(3) Stoics
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 58, (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน (Epicurean) สอนว่า คนฉลาดควรหลีกหนีจากการเมือง ทั้งนี้เพราะว่าเป็นสิ่งที่นําความยุ่งยากมาให้ และเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ไม่สามารถจะค้นพบ จุดหมายปลายทางของชีวิตนั่นคือความสุขสําราญ ดังนั้นจึงเห็นว่าเมื่อเกิดบ้านเมืองเป็นทุรยศ หรือเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายขึ้น นักคิดในสํานักนี้จะไม่เข้าร่วม หรือมักเรียกว่าชาวโรมันเฉย

79. พันธะหน้าที่ของมนุษย์ในมุมมองของซอคราตีสคือ
(1) มโนสํานึกของตัวเอง
(2) เป็นพันธะของทุกคน
(3) ความจริง
(4) การแสวงหาคุณธรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 23, (คําบรรยาย) ซอคราตีส เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพันธะหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ 3 ประการ คือ พันธะต่อมโนสํานึกของตัวเขาเอง พันธะต่อความจริง และพันธะต่อการแสวงหาคุณธรรม

80. ผลงานชิ้นสําคัญของซอคราตีสคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) ซอคราตีส (Socrates) เป็นนักคิดชาวเอเธนส์ และเป็น อาจารย์ของเพลโต ซึ่งมีชีวิตอยู่ประมาณ 469 – 399 ปีก่อนคริสตกาล โดยซอคราตีสไม่เคย เขียนหนังสือทิ้งไว้ให้ได้ศึกษาเลย แต่คนรุ่นหลังสามารถทราบเรื่องราวต่าง ๆ ของเขาได้ผ่านทางงานเขียนของเพลโต

81. ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การวางแผนในการศึกษา
(2) การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการศึกษา
(3) การตัดสินเชิงคุณค่า
(4) การนําผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(5) การแยกค่านิยมออกจากการศึกษา
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาโดยใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือ ความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย ซึ่งจะไม่มีการแยกคุณค่าออก จากสิ่งที่ศึกษา โดยคําอธิบายนั้นสามารถเข้าใจหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยเหตุผล และไม่จําเป็นต้องทดลองให้เห็นในเชิงประจักษ์

82. ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน สัมพันธ์กับข้อใด
(1) แต่ละคนได้รับทุกสิ่งอย่างเสมอหน้ากัน
(2) การกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรม
(3) การแบ่งหน้าที่กันทําตามความสามารถ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 48 ความยุติธรรมในการแบ่งสรรปันส่วน หมายถึง คนเราอาจถูกกําหนดให้ทําหน้าที่ต่าง ๆ กันได้ สุดแล้วแต่คุณค่า (Merits) ของแต่ละคน เช่น การที่คน ๆ หนึ่งได้เป็นผู้ปกครอง เพราะ เขามีคุณสมบัติแห่งความเป็นผู้ปกครอง แต่ในขณะที่คนอีกคนหนึ่งกลับเหมาะที่จะเป็นช่างฝีมือ เพราะเขาไม่มีคุณสมบัติแห่งความเป็นผู้ปกครอง แต่มีความสามารถทางด้านช่างฝีมือ เป็นต้น

83. ข้อใดเกี่ยวข้องกับหลักการของอิพิคิวเรียนมากที่สุด
(1) ใส่ใจกิจการของรัฐ
(2) ประพฤติอย่างมีคุณธรรมโดยอาศัยหลักของเหตุผล
(3) มีชีวิตอย่างไม่เบียดเบียนใคร
(4) ต่อต้านสถาบันทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม
(5) มีความกล้าหาญในการปกป้องรัฐเมื่อถูกรุกราน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 77 – 78) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicureanism) มีต้นกําเนิดมาจากแนวคิดของ Epicurus นักคิดชาวกรีก ซึ่งมีคําขวัญประจําตัวก็คือ “จงมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย” ซึ่งจากคําขวัญนี้เองทําให้การดํารงชีวิตของเขานั้นไม่เบียดเบียนใครเลย ดังสะท้อนออกมาจาก การที่เขาไม่แต่งงาน มีชีวิตสันโดษ กินแต่น้ําเปล่ากับขนมปัง

84. ความเสมอภาคของพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การบรรลุธรรม
(2) การกระทํา
(3) สติปัญญา
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 113 ความเสมอภาคของพุทธศาสนา หมายถึง ความเสมอภาคในการประพฤติธรรม ไม่ใช่ความเสมอภาคในความสามารถ สติปัญญา หรือหน้าที่ โดยทุกคนเสมอภาคในการที่จะประพฤติธรรม การบรรลุธรรม และเข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นที่สุดของวัฏสงสาร

85. จิตใจของมนุษย์ในทัศนะของเพลโตประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานที่ประการ
(1) 3 ประการ ความอยาก ความโกรธ ความไม่รู้
(2) 3 ประการ ความอยาก ความพอประมาณ เหตุผล
(3) 4 ประการ ความอยาก ความสงสัยใคร่รู้ ความรู้ ความกล้าหาญ
(4) 4 ประการ ความอยาก คุณธรรม ความรู้ ความกล้าหาญ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 36 เพลโต เห็นว่า จิตใจของมนุษย์นั้นประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) ความกล้าหาญ และตรรกะหรือเหตุผล

86. สถาบันทางการเมืองเอเธนส์ใดที่มาจากการเลือกตั้ง
(1) Council of Five Hundred
(2) Ten Generals
(3) Council of Representative
(4) Assembly of Ecclesia
(5) Court
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

87. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับแนวคิดเหตุผลนิยมทางทฤษฎีการเมือง
(1) วิตรรกวาท
(2) สถาบันการเมืองมาจากแนวความคิดของมนุษย์
(3) สถาบันการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 8. (คําบรรยาย) กลุ่มวิตรรกวาทหรือกลุ่มเหตุผลนิยม เชื่อว่า บรรดาสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากแนวความคิดของมนุษย์ คนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล และสถาบันการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน นั่นคือ คนจะใช้หลัก เหตุผลสร้างทฤษฎีการเมืองขึ้นมาเพื่อกําหนดว่า ระบบการเมืองหรือสถาบันการเมืองควรมี ลักษณะอย่างไร มีกี่สถาบัน และแต่ละสถาบันมีอํานาจอะไรบ้าง

88. คุณธรรมที่ทําให้แต่ละคนไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกันของรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) ความรักในความรู้
(2) ความอดทนอดกลั้น
(3) ความรู้
(4) ความกล้าหาญ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 36 เพลโต เห็นว่า ความยุติธรรมจะปรากฏขึ้นหรือมีขึ้นในบุคคลก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น รู้จักขันติหรือความอดทนอดกลั้น (Temperance) ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทําให้คนยอมรับสภาพ ความสามารถของตน และแสดงบทบาทตามคุณธรรมประจําจิตของตนเท่านั้น โดยเขากล่าว ไว้ว่า “ความยุติธรรมหมายถึงการผูกพันอยู่กับธุรกิจของตน และไม่ก้าวก่ายงานของคนอื่น”

89. ข้อขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 ในเรื่องแต่งตั้งพระสังฆราช ตามมาด้วยเหตุการณ์อะไร
(1) ประกาศบัพพาชนียกรรม (Excommunication) จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4
(2) การสั่งปลดพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7
(3) ชัยชนะของจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 107 – 108) ในปี ค.ศ. 1076 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ได้พยายาม ที่จะตั้งสังฆราชด้วยพระองค์เอง โดยขัดกับคําสั่งของสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ที่ ทรงยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้าแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช ซึ่งผลสุดท้ายจักรพรรดิ เฮนรี่ที่ 4 ถูกประกาศบัพพาชนียกรรม (Excommunication) หรือถูกขับออกจากศาสนา และ ประชาชนก่อการจลาจล บรรดานักรบที่เคยสนับสนุนต่างกลัวและถอนตัวจากการเป็นข้ารับใช้จนถึงขั้นที่จะตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นปกครองแทน

90. สงครามเพโลโพนีเซียน (Petoponesian War) เป็นสงครามระหว่างฝ่ายใดกับฝ่ายใด
(1) สปาร์ตากับทรอย
(2) เอเธนส์กับเปอร์เซีย
(3) เอเธนส์กับสปาร์ตา
(4) สปาร์ตากับเปอร์เซีย
(5) เอเธนส์กับมาเซโดเนีย
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) สงครามเพโลโพนีเชียน (Petoponesian War) เป็นสงครามระหว่างนครรัฐเอเธนส์ (Athens) และสปาร์ตา (Sparta) แต่ในทางปฏิบัติแล้วบรรดานครรัฐกรีกอื่นๆทุกนครรัฐถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วมในสงครามระหว่างพวกเดียวกัน จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ที่สร้างความระส่ําระสายไปทั่วรัฐกรีกในขณะนั้น

91. ความชอบธรรมของรัฐในทัศนะของโซฟิสต์อยู่ที่ปัจจัยใด
(1) กฎหมายที่ยุติธรรม
(2) หลักการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
(3) ปัจเจกบุคคล
(4) อํานาจ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 25 (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์ เชื่อว่า อํานาจสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐได้ แต่กฎหมาย ซึ่งมีรากฐานมาจากอํานาจก็มักจะบีบบังคับให้คนต้องทําอะไรที่ขัดต่อเหตุผลอยู่เสมอ

92. ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากแนวความคิดของมนุษย์กับแนวคิดที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์เป็นไปในลักษณะอย่างไร
(1) ฝ่ายแรกมีอิทธิพลมากกว่า
(2) ฝ่ายหลังมีอิทธิพลมากกว่า
(3) ทั้งสองฝ่ายต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
(4) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 11, (คําบรรยาย) จากข้อบกพร่องในการอรรถาธิบายของฝ่ายวิตรรกวาท (เหตุผลนิยม) กับฝ่ายสสารวาท (วัตถุนิยม) สรุปได้ว่า แนวคิดของฝ่ายแรกที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจาก แนวความคิดของมนุษย์นั้นยังไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของสถาบันที่มีต่อความคิดขณะเดียวกันแนวคิดของฝ่ายหลังที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้น ก็ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของความคิดที่มีต่อสถาบัน ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้ง สองฝ่ายต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน และยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่

93. ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right) ตามคติคริสต์ศาสนาสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) พระเจ้าเป็นผู้ปกครอง
(2) อํานาจมาจากผู้ใต้ปกครอง
(3) อํานาจในการปกครองมาจากพระเจ้า
(4) อํานาจในการปกครองมาจากศาสนจักร
(5) อํานาจมาจากผู้ปกครอง
ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right) ตามคติคริสต์ศาสนา เชื่อว่า “อํานาจ ทั้งหมดเป็นของพระเจ้า” กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า โดยพระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสิน ว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

94. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับหน้าที่ที่บุตรพึงปฏิบัติต่อบิดามารดา
(1) เลี้ยงดูท่าน
(2) ปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับมรดก
(3) รับทํากิจของท่าน
(4) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทําบุญอุทิศให้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 119, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บุตรจึงมีต่อบิดามารดา คือ เลี้ยงดูท่าน รับทํากิจของท่าน ดํารงวงศ์ตระกูล ปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรได้รับทรัพย์มรดก และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทําบุญ อุทิศให้ท่าน

95. ซินนิคส์ มีที่มาจากคําในภาษากรีกที่มีความหมายถึงข้อใด
(1) แมว
(2) หมา
(3) ปลา
(4) ไก่
(5) นกอินทรี
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) คําว่า ซินนิคส์ หรือ “Cynics” มาจากคํา ในภาษากรีก หมายถึง สุนัข (หมา) สําหรับชื่อของลัทธินี้ถ้าแปลตรงตัวก็คือ “มีชีวิตเหมือนสุนัข” ซึ่งเหตุผลที่ได้ชื่อนี้ก็เนื่องมาจากค่าสอนของสํานักนี้สอนให้มนุษย์นั้นดํารงชีวิตอย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีรีตองใด จนทําให้บางคนมักเรียกสํานักนี้ว่า พวกที่ดํารงชีวิตเหมือนสุนัข

96. ในทัศนะของโพลิเบียส ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองรูปแบบใด
(1) Tyranny
(2) Aristocracy
(3) Oligarchy
(4) Mob Rule
(5) Polity
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

97. นักปราชญ์คนใดที่เสนอว่าการปกครองทางโลกฝ่ายอาณาจักรมีอํานาจเหนือศาสนจักร
(1) Boniface XIII
(2) Gelasius I
(3) St. Aquinas
(4) John of Salisbury
(5) Marsiglio of Padua
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

98. ใครเป็นผู้บันทึกเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเลี่ยน
(1) อริสโตเติล
(2) เพลโต
(3) ธูซิดิดิส
(4) โปรทากอรัส
(5) ธราซิมาคัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34, ประกอบ

99. ข้อใดสัมพันธ์กับอุดมการณ์ทางการเมืองมากที่สุด
(1) เสรีภาพ
(2) เสมอภาค
(3) ภราดรภาพ
(4) อนาธิปัตย์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

100. ใครเป็นผู้สอนว่า “มนุษย์เป็นผู้วัดหรือผู้ตัดสินทุกสรรพสิ่ง”
(1) ธราชิมาคัส
(2) กอร์กิอัส
(3) โปรทากอรัส
(4) ซีโน
(5) แอนติฟอน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส เป็นผู้สอนว่า มนุษย์เป็นผู้วัด หรือผู้ตัดสินทุกสรรพสิ่ง โดยได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นผู้กําหนดคุณค่าความหมายของสรรพสิ่ง ต่าง ๆ ทําให้สิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นอยู่อย่างที่มันเป็น และทําสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอยู่อย่างที่มันไม่เป็น”
(Man is the measure of all things, of things that are as how they, and of things. that are not as to how they are not)

POL2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง1 s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. นักคิดคนใดที่เสนอเรื่อง Defensor Pacis
(1) Marsiglio of Padua
(2) John of Salisbury
(3) Aquinas
(4) Augustine
(5) Gelesius I
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์ซิกลิโอแห่งปาตัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุนให้กษัตริย์ นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

2. นักคิดคนสําคัญของซินนิคส์ คือ
(1) ไดโอจีนีส
(2) ไดโอนิซุส
(3) เดโมคริตุส
(4) ทาเลส
(5) เอลซีไบเดส
ตอบ 1 หน้า 60 ปรัชญาเมธีคนสําคัญแห่งลัทธิชินนิคส์ (Cyrics) ได้แก่ แอนทิสธิเนส (Antisthenes), ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)

3.Athens ในสมัย Socrates มีรูปแบบการปกครองแบบใด
(1) Representative Democracy
(2) Direct Democracy
(3) Mixed Democracy
(4) Deliberative Democracy
(5) Participatory Democracy
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแรกเริ่มของเอเธนส์ (Athens) สปาร์ต้า (Sparta) และนครรัฐต่าง ๆ ของกรีกนั้น จะเป็นระบอบกษัตริยาธิปไตยหรือราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาในปี 700 ก่อนคริสตกาลหรือคริสต์ศักราช ระบอบการปกครองก็เปลี่ยนเป็น ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) จากนั้นในระยะต่อมาระบอบทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) จึงเข้ามาแทนที่ จนกระทั่งในช่วงปี 400 – 500 ก่อนคริสตกาล ทุก ๆ นครรัฐกรีกจึงได้เปลี่ยน รูปการปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ อยู่ในยุคสมัยของซอคราตีส (Socrates) นั่นเอง

4.ความดีของพลเมืองใช้เกณฑ์อะไรเป็นการตัดสิน
(1) กฎธรรมชาติ
(2) ความประพฤติ
(3) กฎหมาย
(4) จารีตประเพณี
(5) เจตนา
ตอบ 3 หน้า 48, (คําบรรยาย) อริสโตเติล กล่าวว่า “ความดีเลิศของพลเมืองดี ไม่สามารถที่จะเป็น เช่นเดียวกับของคนก็ได้ในทุก ๆ เรื่อง” ซึ่งหมายความว่า พลเมืองดีและคนดีนั้นใช้มาตรวัดต่างกัน ทั้งนี้เพราะการเป็นพลเมืองดีจะขึ้นอยู่กับสัมมาแห่งกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญแห่งรัฐที่ตนสังกัดอยู่ แต่การเป็นคนดีนั้นไม่ว่าเจ้าฟ้าหรือยาจกจะตัดสินกันด้วยสัมมาประการเดียวกันหมด

5. การฆ่าคนเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3 – 4) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึง สิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะศึกษาว่าอะไร คือสิ่งที่ควรกระทําหรือไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด หรือความดีความชั่วคืออะไร

6. การปกครองในข้อใดมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการปกครองโดยฝูงชน (Mob Rule) ได้ง่ายที่สุด
(1) คณาธิปไตย
(2) ทุชนาธิปไตย
(3) อภิชนาธิปไตย
(4) ประชาธิปไตย
(5) ราชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 71, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 86) Seneca ไม่มีความเชื่อถือในการปกครอง ประชาธิปไตย (Democracy) หรือรูปแบบการปกครองที่มอบอํานาจทั้งหมดไว้ให้กับประชาชน
ทั้งนี้เพราะเขาคิดว่ารูปการปกครองแบบนี้มีแนวโน้มที่จะแปรเปลี่ยนไปสู่การปกครองโดยฝูงชน
บ้าคลั่ง (Mob Rute) ได้ง่ายที่สุด

7. มอบความเป็นใหญ่ให้
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 4 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่สามีพึงมีต่อภรรยา ได้แก่ ยกย่องว่าเป็นภรรยา ไม่ดูหมิ่น ไม่ประพฤตินอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ และให้เครื่องแต่งตัว

8. เราใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 2(เอกสารประกอบการสอน หน้า 2 – 3) ญาณวิทยา (Epistemology) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ในสาขาย่อยของความรู้ทางปรัชญานี้จะมุ่งศึกษาใน ประเด็นเกี่ยวกับว่ามนุษย์นั้นใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร เช่น คุณเห็นตัวหนังสือ ในหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไร (ซึ่งอาจจะตอบว่า “ตาผมไม่บอด ผมก็ย่อมมองเห็นน่ะซิ”) เป็นต้น

9. “ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี” หมายความว่า
(1) คนฉลาดไม่เท่ากัน
(2) คนฉลาดเท่ากัน
(3) การสอนทําให้คนฉลาด
(4) ความฉลาดอยู่ที่คนสอน
(5) ความโง่อยู่ที่คนสอน
ตอบ 1 หน้า 111 – 112 ในเรื่องความแตกต่างกันของสติปัญญานั้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า “เหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอน ให้รู้ได้ยากก็มี…” ซึ่งเป็นการอธิบายให้เห็นว่าความสามารถ สติปัญญาหรือความเฉลียวฉลาดนั้น
คนอาจจะมีไม่เท่ากัน

10. “ความยุติธรรมคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Metian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 1 หน้า 25 ธราชิมาคัส (Thrasymachus) เห็นว่า หลักสําคัญของความยุติธรรมในทุกหนทุกแห่งคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า

11. ใช้เหตุผลนําทางชีวิต
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 67 – 68, 73, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ (Stoics) เชื่อว่า คุณธรรมขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ซึ่งสามารถหาได้จากเหตุผล เมื่อมีเหตุผลก็สามารถเข้าใจกฎธรรมชาติ ดังนั้นคุณธรรมจึงมีรากฐาน มาจากธรรมชาติ มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลเป็นหลักในการนําทางชีวิตและอยู่ร่วมกัน

12.Defensor Pacis สนับสนุนให้ใครมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์
(1) ประชาชน
(2) พระเจ้า
(3) ใครแต่งตั้งก็ได้
(4) นักบวช
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

13. หากไม่สามารถยอมรับความจริงได้ สโตอิกส์สนับสนุนให้
(1) ไปหาจิตแพทย์
(2) ทําการบูชาเทพเจ้า
(3) ออกบวช
(4) ทําอัตวินิบาตกรรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์เชื่อถือในธรรมชาติ โดยเห็นว่าคนเราเป็นสิ่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ แม้สามารถจะใช้เหตุผลทําความเข้าใจธรรมชาติและกฎธรรมชาติได้ แต่ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสิ่งซึ่งธรรมชาติบัญญัติไว้ ดังนั้นหากใครไม่สามารถ ยอมรับความจริงได้ ทางออกมีอยู่ทางเดียวคือ การกระทําอัตวินิบาตกรรมหรือการฆ่าตัวตาย หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ รับไม่ได้ก็ตายเสียดีกว่า นั่นเอง

14. เสนอเกี่ยวกับวงจรของระบอบการปกครอง
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 63 – 64 (คําบรรยาย) โพลิเบียส (Polybius) ได้เสนอเกี่ยวกับวงจรของระบอบการปกครอง โดยเห็นว่ารูปการปกครองของกรีกนั้นมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า “วงจรของ การปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดยเริ่มต้นจาก รูปการปกครองแบบราชาธิปไตย ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นทุชนาธิไตยหรือทรราช อภิชนาธิปไตย คณาธิปไตย ประชาธิปไตย ฝูงชนบ้าคลั่ง และสุดท้ายก็กลับมาสู่ระบบราชาธิปไตยอีกไม่มีที่ สิ้นสุด อีกทั้งเขายังค้นพบว่าสาเหตุที่อาณาจักรต่าง ๆ เสื่อมลงนั้นเป็นเพราะวัฏจักรของการ เปลี่ยนรูปแบบการปกครองนั่นเอง ดังนั้นจึงได้เสนอให้ดัดแปลงเอาส่วนดีของแต่ละระบอบ การปกครองมาใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวัฏจักรดังกล่าวอีก

15. การอ้างเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ว่ามีลักษณะสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4) ตรรกวิทยา (Logic) เป็นสาขาหนึ่งในทางปรัชญาที่มุ่งศึกษา ถึงวิธีการให้เหตุผลหรือการอ้างเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ ว่ามีลักษณะสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร แต่ไม่ได้เป็นการมุ่งศึกษาถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหมือนในสาขาอื่น ๆ

16. ความคิดทางการเมืองที่พบในพระคัมภีร์ใหม่ คือ
(1) ผู้ปกครองมาจากพระเจ้า
(2) มนุษย์สร้างรัฐ
(3) รัฐเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(4) รัฐเกิดขึ้นจากการทําสัญญา
(5) รัฐเกิดขึ้นจากคนที่แข็งแรง
ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) พระคัมภีร์ใหม่ของยุโรปในยุคกลาง เชื่อว่ากษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็น รากฐานของลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) อํานาจการปกครองทั้งหมดเป็นของพระเจ้า กษัตริย์ ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่าง ไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า พระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลัก สายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การ อื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

17. ศาสนาพุทธ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ
(1) บวช
(2) พ้นจากวัฏสงสาร
(3) ทําความดี
(4) ไปเกิดบนสวรรค์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ คือ การแสวงหาเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เพื่อให้มนุษย์ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบสิ้นหรือหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

18. การศึกษาการเมืองเชิงปทัสถานเกี่ยวข้องกับ
(1) การศึกษาเชิงประจักษ์
(2) วิทยาศาสตร์
(3) ปรัชญาการเมือง
(4) การสังเกตทดลอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3(เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือ การศึกษาในสิ่งที่เป็นพื้นฐานในทางการเมืองหรือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมือง (Nature of Politics) โดยจะไม่มีการแยกคุณค่าออกจากสิ่งที่ศึกษา และไม่สนใจในเรื่องของ ปรากฏการณ์ทางการเมือง ดังนั้นปรัชญาการเมืองจึงถูกเรียกว่า “การศึกษาเชิงปทัสถาน” หรือ บรรทัดฐาน (Normative)

19. การจําแนกรูปแบบการปกครองของอริสโตเติลใช้เกณฑ์อะไรในการจําแนก
(1) จํานวน
(2) เพศ
(3) จุดมุ่งหมายในการปกครอง
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 59 – 61) ในหนังสือ Politics นั้น อริสโตเติลได้จําแนก รูปแบบการปกครองออกเป็นแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ
1. จํานวนผู้ใช้อํานาจในการปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คณะบุคคล และมหาชน
2. จุดมุ่งหมายในการปกครอง ประกอบด้วย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อประโยชน์ส่วนตน

20.“Empirical Political Theory” คืออะไร
(1) มีการตัดสินเชิงคุณค่า
(2) บรรทัดฐาน
(3) วิทยาศาสตร์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากรัฐศาสตร์ กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

21.Demos ที่มาจากคําว่าประชาธิปไตย ในสมัยกรีกหมายถึง
(1) ประชาชนทั่วไป
(2) คนรวย
(3) คนจน
(4) คนชั้นกลาง
(5) คนกรีก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21, 62) Democracy (ประชาธิปไตย) มาจากภาษากรีก คําว่า Demokratia ซึ่งเป็นการผสมกันของรากศัพท์ 2 คํา คือ “Demos” (ชนชั้นต่ํา ชนชั้นล่าง คนจน ฝูงชน) และคําว่า “Kratia” (รูปแบบการปกครองหรือระบอบการปกครอง)

22. ข้อใดคือสาระสําคัญของอิพิคิวเรียน
(1) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
(2) ความยุติธรรมคือการแบ่งสรรที่เหมาะสมแก่คนทุกคน
(3) ความยุติธรรมคือผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรงกว่า
(4) มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งเขาอยู่ใต้พันธนาการ
(5) นักปรัชญาไม่ใช่เพียงผู้ทําความเข้าใจโลก หากคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงโลก
ตอบ 1 หน้า 58 ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicurean) ยึดถือคติชีวิตว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร และเชื่อว่า จุดหมายปลายทางของชีวิตคนแต่ละคนคือความสุขเฉพาะตัว และชีวิตที่ดีก็คือชีวิต ที่เพลิดเพลินกับความสําราญต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกแห่งความสงบและความสุขที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว

23. “Monarchy” หมายถึง
(1) การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี
(2) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ดี
(3) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี
(4) การปกครองโดยมหาชนที่ไม่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า รัฐที่ดีที่สุดคือรัฐที่ปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี และมีวัตถุประสงค์เพื่อความสุขของประชาชนทั้งหมด หรือที่เรียกว่าราชาธิปไตย (Monarchy)

24. ห้ามไม่ให้ทําชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาศิลปวิทยา
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 2 หน้า 119 – 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บิดามารดาจึงมีต่อบุตร ได้แก่ ห้ามไม่ให้ทําชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาศิลปวิทยา หาภรรยาที่สมควรให้ และมอบทรัพย์ให้ในสมัย

25. “ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด”
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 93 – 94) เยซูหรือจีซัส (Jesus) ได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของ พระคัมภีร์มัทธิว (Matthew) ภายหลังจากที่ถูกพวกหมอสอนศาสนาชาวยิวถามว่า เราต้องเสีย ภาษีให้โรมหรือไม่ (เนื่องจากตอนนั้นอิสราเอลตกเป็นเมืองขึ้นของโรม) โดยพระองค์ตรัสว่า “ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด”

26. เนื่องจากชาวคริสเตียนถือว่าผู้ปกครองคือผู้รับใช้พระเจ้า ประชาชนจึงมีฐานะที่
(1) ต้องเคารพเชื่อฟัง
(2) เป็นผู้ปกครองได้
(3) ไม่ต้องฟังผู้ปกครอง
(4) ต้องเลือกผู้ปกครองเอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) พระคัมภีร์ใหม่แห่งศาสนาคริสต์ อ้างว่า บรรดารัฐบาลและสถาบัน การปกครองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นและกําหนดให้เป็นไปทั้งสิ้น การเคารพ เชื่อฟังจึงเป็นพันธะของทุก ๆ คนเช่นเดียวกับพันธะต่อศาสนา และรัฐถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรักษา ความยุติธรรม ดังนั้นรัฐจึงมีลักษณะแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกครองคือผู้รับใช้ของพระเจ้า การเชื่อฟังจึงเป็นสิ่งจําเป็น

27. ทําการงานให้ดีขึ้น
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 5 หน้า 121, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บริวาร (ทาสกรรมกร) จึงมีต่อนาย ได้แก่ ลุกขึ้นทํางาน ก่อนนาย เลิกการงานทีหลังนาย ถือเอาแต่ของที่นายให้ ทําการงานให้ดีขึ้น และนําคุณความดีของนายไปสรรเสริญ

28. “ชีวิตที่ดี” ของลัทธิชินนิคส์ คือ
(1) มีอํานาจ
(2) มีเกียรติ
(3) โด่งดัง
(4) ร่ำรวย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 ลัทธิชินนิคส์ เชื่อว่า ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ หรือการใช้ชีวิตแบบสมถะเรียบง่าย เท่านั้นที่จะเป็นกุญแจทองที่แท้จริงที่สามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ดีได้

29. ผลงานชิ้นสําคัญของเพลโต คือ
(1) The Republic
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) Apology
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 33 เพลโต มีงานเขียนหนังสือที่สําคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทาง การเมืองชิ้นเอก ได้แก่
1. อุตมรัฐ (The Republic)
2. รัฐบุรุษ (The Statesman)
3. กฎหมาย (The Laws)

30.“Divine Right” (เทวสิทธิ์) ของยุโรปในยุคกลาง คือ
(1) กษัตริย์ได้รับอํานาจมาจากพระเจ้า
(2) อํานาจปกครองเป็นของประชาชน
(3) พระเจ้าลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มาปกครอง
(4) แนวคิดหนึ่งของประชาธิปไตย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31.Ostracism คืออะไร
(1) กลไกการเลือกตั้งของเอเธนส์
(2) เงินตราสกุลหนึ่งในยุคกรีก
(3) ลัทธิต่อต้านนักปรัชญาการเมือง
(4) การเนรเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) กลไกทางการเมืองที่สําคัญประการหนึ่งของการปกครอง แบบประชาธิปไตยเอเธนส์ คือ การเนรเทศคนที่ประชาชนคิดว่าเป็นศัตรูต่อการปกครองแบบ ประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า “Ostracism” โดยพลเมืองทุกคนจะเขียนชื่อของคนที่คิดว่าเป็น ศัตรูต่อประชาธิปไตยลงบนเปลือกหอยแล้วเอาไปวางที่ศูนย์กลางของเมืองหรือตลาด

32. ควรเชื่อฟังกฎหมายแม้ว่าจะดูเหมือนว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม
(1) The Republic
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) The Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 42 – 43, 51) ในบทสนทนาใครโต (Crito) นั้น Socrates ได้กล่าวไว้ว่า “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า มนุษย์ต้องเชื่อฟัง กฎหมายของรัฐที่ตนอาศัยอยู่ เพราะว่าเราได้ตกลงทําสัญญากับรัฐไปแล้วจากการที่เราได้ ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆภายในรัฐ เมื่อใดก็ตามที่เราจะต้องถูกลงโทษจากรัฐ เราก็จําเป็น จะต้องเชื่อฟัง แม้ว่าเราจะคิดว่ามันไม่เป็นธรรมก็ตาม

33. เป็นบุคคลที่เข้ามาปฏิรูปการเมืองโดยออกกฎว่า ประชาชนสามารถอุทธรณ์ต่อศาลประชาชนได้ ซึ่งศาลประชาชนนี้เองเป็นการแผ้วถางไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Gelasius I
(4) Solon
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20) เมื่อปี 594 ก่อนคริสตกาล โซลอน (Solon) ได้เข้ามา ปฏิรูปการศาลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในเอเธนส์ โดยเขาได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้ประชาชนที่ ไม่พอใจการตัดสินของศาลสามารถอุทธรณ์ต่อศาลประชาชนได้ ซึ่งการปฏิรูปครั้งนี้ได้นําไปสู่หลักการของประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ในอนาคต

34. เห็นว่ารัฐนั้นชั่วร้ายแต่ก็จําเป็น
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 79 – 80) แนวความคิดของอิพิคิวรุส (Epicurus) ใน ลัทธิEpicurean ไม่ได้ปฏิเสธการมีรัฐหรือรัฐบาล เพราะมองว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็น สิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว มนุษย์มักจะแก่งแย่งแข่งขันกัน และมนุษย์นั้นจะเกรงกลัวการลงโทษถ้า เข้มงวดในการใช้กฎหมาย ถ้าไม่มีรัฐหรือสังคมจะทําให้เกิดความวุ่นวายและอาจจะทําให้ตัวเรา เองหาความสงบสุขไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่า “รัฐแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่มันก็เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็นจะต้องมี”

35. “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ที่ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจอัน ศักดิ์สิทธิ์ของพระ และอํานาจของอาณาจักร ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้ อํานาจของพระเหนือกว่า”
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 104 – 105) สันตะปาปาเจลาเซียสหรือเจลาซิอุสที่ 1 (Gelasius I) ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งในจดหมายที่เขียนไปหาจักรพรรดิอนาสทาซิอุส แห่งอาณาจักรไบเทนไทน์ว่า “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระ และอํานาจของอาณาจักร ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้ อํานาจของพระเหนือกว่า”

36. สาขาวิชาปรัชญาการเมืองมีความสัมพันธ์กับปรัชญาสาขาใดมากที่สุด
(1) Aesthetics
(2) Metaphysics
(3) Ethics
(4) Logic
(5) Epistemology
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4) ปรัชญาการเมือง (Politicat Philosophy) เป็นสาขาย่อย ของปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ (Ethics) ที่มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น สิ่งที่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก อะไรที่ควรจะทําหรือไม่ควรจะทํา

37. ความสวยงามไม่ใช่สิ่งสากล
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นสาขาหนึ่ง ในทางปรัชญาที่พยายามมุ่งหาคําตอบในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม เช่น ความ สวยงามคืออะไร ความน่ารักคืออะไร (ซึ่งอาจจะตอบว่า “ความสวยงามความน่ารักขึ้นอยู่กับ ตนเอง แต่ความสวยงามไม่ใช่สิ่งสากล”) เป็นต้น

38. เลี้ยงดูท่าน ปฏิบัติตนให้สมควรได้รับมรดก
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 1 หน้า 119, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บุตรจึงมีต่อบิดามารดา ได้แก่ เลี้ยงดูท่าน รับทํากิจของท่าน ดํารงวงศ์ตระกูล ปฏิบัติตนให้สมควรได้รับมรดก และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทําบุญอุทิศให้ท่าน

39. ซอคราตีสถูกประหารด้วยวิธีการใด
(1) ตรึงกางเขน
(2) ให้กินยาพิษ
(3) เผาทั้งเป็น
(4) แขวนคอ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโตได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า ยูไธโฟร (Euthiphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือเรื่อง อโพโลจี (Apology) เป็นเล่มที่เล่าว่า ซอคราตีสพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวเอง และสุดท้ายถูกศาลตัดสินพิพากษาประหารชีวิตด้วยการกินยาพิษ

40. ข้อหาที่ทําให้ซอคราตีสถูกตัดสินประหารชีวิต คือ
(1) เป็นแกนนําม็อบ
(2) เป็นคนต่างด้าว
(3) สร้างลัทธิของตนเอง
(4) ชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. เน้นความสุขสงบ
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 79), (คําบรรยาย) ความสุขสงบในทัศนะของ Epicurean ไม่ใช่การแสวงหาความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่หมายถึง ความสุขสงบในระดับหนึ่งที่ไม่ทําให้ ตนเองเจ็บปวด (Aponia) หรืออยู่อย่างมีความสงบ (Ataraxia) ซึ่งจากแนวคิดนี้เองทําให้ลัทธินี้ เสนอว่า มนุษย์ที่มีปัญญาควรจะหลีกหนีการเมือง

42. ผู้ที่จะเป็นผู้ปกครองในอุตมรัฐได้จะต้องผ่านกระบวนการใด
(1) เลือกตั้ง
(2) หาเสียง
(3) จับสลาก
(4) การศึกษา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 37 ใน The Republic เพลโตได้วางหลักเกี่ยวกับการศึกษาในอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเขา โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือในการอบรมและเลือกเฟ้นคนในรัฐ ว่าเหมาะสมกับหน้าที่อะไร

43. ผลงานของเพลโตที่สะท้อนแนวคิดประยุกตรัฐ ได้แก่
(1) The Laws
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) The Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 39 แนวคิดประยุกตรัฐในหนังสือ The Laws เพลโตได้หันมาใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการปกครอง ซึ่งเหตุผลที่เพลโตหันมาใช้กฎหมายนั้น เพราะเขาหาราชาปราชญ์ไม่ได้ในโลก
แห่งความจริง

44. คิดค้นทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords)
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 5 หน้า 85 “ทฤษฎีสองดาบ” (Theory of Two Swords) ของสันตะปาปาเจลาเซียสที่ 1 (Gelasius I) มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจ การปกครองทางโลกกับอํานาจทางธรรม และมอบให้สถาบันศาสนา (วัด) และสถาบันการปกครอง (รัฐ) เป็นผู้ใช้อํานาจนี้ โดยกําหนดว่าสันตะปาปาในฐานะประมุขของวัดมีอํานาจ เหนือกว่าจักรพรรดิซึ่งเป็นประมุขของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ และจักรพรรดิมีอํานาจ เหนือกว่าสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก นั่นก็คือ วัดกับรัฐต้องใหญ่เฉพาะในอํานาจหน้าที่ของตนเท่านั้น

45. นักคิดคนใดที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมากจาก Aristotle
(1) Marsiglio of Padua
(2) John of Salisbury
(3) Aquinas
(4) Augustine
(5) Gelesius I
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113) แนวความคิดทางการเมืองของอไควนัส (Aquinas) นั้น ได้พยายามเอาความคิดของอริสโตเติล (Aristotle) มาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับ ศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค

46. ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาประจําอาณาจักรโรมันในสมัยจักรพรรดิองค์ใด
(1) Marcus Aurelius
(2) Corona
(3) Julius
(4) Nero
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 75, (คําบรรยาย) อิทธิพลของอาณาจักรโรมันที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ คือ ก่อนสิ้น ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิเธโดดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนา ประจําอาณาจักรโรมัน ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาศาสนาคริสต์ก็แผ่รัศมีไปทั่วดินแดนและขยายไปทางตะวันตกเพราะชาวโรมัน

47.“ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) เป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยมที่ว่าคนแต่ละคนมีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด โดยในแต่ละสังคมนั้นก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็นเรื่อง ของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน”

48. ให้ปัน เจรจาดี ประพฤติประโยชน์
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 5 หน้า 121, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติต่อมิตร ได้แก่ การให้ปัน เจรจาดีหรือถ้อยคําที่เป็นที่รัก ประพฤติประโยชน์ ความเป็นผู้มีตนเสมอ และไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง

49. “Pality” หมายถึง
(1) การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี
(2) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ดี
(3) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี
(4) การปกครองโดยมหาชนที่ไม่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือที่ เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี

50. อํานาจสูงสุดตามความเห็นของ Aquinas คือ
(1) อํานาจทางโลก
(2) อํานาจทางธรรม
(3) ใช้อํานาจทางโลกร่วมกัน
(4) อํานาจของผู้ปกครองในแต่ละรัฐ
(5) ศาสนาจักรใช้อํานาจปกครองเอง
ตอบ 2 หน้า 90 – 91, (คําบรรยาย) อํานาจระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายปกครองนั้น Aquinas กล่าวว่า “อํานาจทางโลกอยู่ภายใต้อํานาจทางธรรม เสมือนร่างกายอยู่ภายใต้จิตใจ ดังนั้นการที่ฝ่ายพระ จะเข้าไปก้าวก่ายในกิจกรรมทางโลก ซึ่งเป็นสาระที่อยู่ภายใต้อํานาจทางธรรมจึงไม่เรียกว่าเป็น การช่วงชิงอํานาจแต่อย่างใด”

51. พวกใดเป็นผู้กล่าวข้อความดังต่อไปนี้ “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้
ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก”
(1) Melian
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Delos
(5) Tisias
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 26, 29 – 30, 37 – 38) ใน “Melian Dialogue” ชาว Athens ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาว Melian โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า ย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความ ทุกข์ยาก” ซึ่งสอดคล้องกับคํากล่าวที่ว่า “ชนะเป็นเจ้า” หรือ “คนชนะทําอะไรก็ได้” โดย แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ชาว Athens นํามาอ้างนั้นมีความคล้ายคลึงกับความคิดของ ธราซิมาคัส (Thrasymachus) ที่กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger)

52. แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมใน Melian Dialogue มีความสอดคล้องกับข้อใด
(1) หมาหางด้วน
(2) ผีเห็นผี
(3) ชนะเป็นเจ้า
(4) คมในฝัก
(5) ปลาเล็กกินปลาใหญ่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. ศาสนาฮินดู มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ
(1) แบ่งภาคมาเป็นผู้ปกครอง
(2) ออกไปจากพรหม
(3) จุติเป็นเทพ
(4) รวมกับพรหม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ในสมัยฮินดูแท้ มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด โดยเชื่อว่า วิญญาณทั้งหลายย่อมออกจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดรวมเข้าสู่พรหมเช่นเดิม ดังนั้นผู้ที่แสวงหาทางหลุดพ้นจึงต้องออกจากโลกียธรรม ถือเพศเป็นวานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) ก่อนถึงจะสามารถเข้ารวมกับพรหมได้

54. สํานักศึกษาของอริสโตเติลมีชื่อว่า
(1) อเค็ดเดมี่
(2) ลียง
(3) ลีเซียม
(4) อเล็กซานเดรีย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติล ได้เปิดสํานักศึกษาของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า ลีเซียม (Lyceum) ภายหลังที่ถูกยึดครองจากอาณาจักรมาเซโดเนีย โดยผลงานสําคัญและหนังสือของเขาได้รับ การจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ (The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

55. “ท่านจักรพรรดิที่เคารพ มันมีเพียงอํานาจสองแบบหลัก ๆ ที่ใช้ปกครองโลกใบนี้อยู่ กล่าวคือ อํานาจ อันศักดิ์สิทธิ์ของพระ และอํานาจของอาณาจักร ซึ่งระหว่างอํานาจสองประการนี้อํานาจของพระเหนือกว่า”
ข้อความดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

56. ประกาศหลักการว่าฆราวาสที่มายุ่งเกี่ยวกับกิจการสงฆ์เป็นสิ่งที่ผิด และอํานาจทางโลกไม่สามารถที่จะ ก้าวก่ายโลกทางจิตวิญญาณได้ (Lay Investiture)
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 108) สันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ได้ทรง ประกาศหลักการว่า ฆราวาสที่มายุ่งเกี่ยวกับกิจการสงฆ์เป็นสิ่งที่ผิด และอํานาจทางโลกไม่ สามารถที่จะก้าวก่ายโลกทางจิตวิญญาณได้ (Lay Investiture)

57. “Isogoria” ในระบบการเมืองแบบ Democracy ของ Athens คืออะไร
(1) คนทําผิดแบบเดียวกันก็ต้องได้รับโทษแบบเดียวกัน
(2) ทุกคนมีสิทธิยื่นฎีกาได้
(3) ทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติ
(4) ทุก ๆ คนมีสิทธิในการพูดอย่างเท่าเทียม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 19 – 20 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) การเมืองของเอเธนส์ (Athens) ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล มีลักษณะดังนี้
1. การดํารงตําแหน่งบริหารกิจการสาธารณะจะไม่ใช้วิธีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง แต่จะใช้ “การจับฉลาก” (By Lot) มีเพียงไม่กี่ตําแหน่งเท่านั้นที่ยังคงใช้การแต่งตั้งตามความสามารถ นั่นก็คือ การเป็นแม่ทัพ
2. หัวใจสําคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ Isonomia (หลักการที่ว่าทุกคนเสมอภาค ต่อหน้ากฎหมาย) และ Isogoria (หลักการที่ว่าทุกคนมีสิทธิในการพูดอย่างเท่าเทียมกัน)
3. ทาสเป็นชนชั้นที่ใหญ่ที่สุดของนครรัฐ โดยมีกฎหมายของรัฐให้การพิทักษ์บรรดาทาส
4. พลเมืองขายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง และชนต่างด้าวจะไม่มีสิทธิในการปกครองแต่อย่างใด เป็นต้น

58. ผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติล ได้แก่
(1) De Cive
(2) Politics
(3) Republican Virtue
(4) Telos-Arete
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

59. คนกลุ่มใดของ Athens ที่มีสิทธิทางการเมือง
(1) พลเมืองเพศหญิง
(2) พลเมืองเพศชาย
(3) ทหารที่ผ่านการรับ
(4) ชนต่างด้าว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

60. พระเจ้าในลัทธิสโตอิกส์คือข้อใด
(1) จูปิเตอร์
(2) ซุส
(3) ยิ่งใหญ่จนไม่สามารถเอ่ยชื่อได้
(4) ธรรมชาติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 67, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อถือและให้ความสําคัญในเรื่องธรรมชาติมากที่สุด โดยเปรียบธรรมชาติเป็นเสมือนพระเจ้า ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลเกิดขึ้น ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ โดยมีกฎหมายธรรมชาติเป็นกฎสากล ทําหน้าที่ปกครองสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกําหนดวิถีความเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ซึ่งมีรากฐานมาจากเหตุผล ดังนั้นจึงทําให้กฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่แน่นอนและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

61. ความจริงแท้สูงสุดคืออะไร เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
(1) อภิปรัชญา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) ตรรกวิทยา
(5) สุนทรียศาสตร์

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) อภิปรัชญา (Metaphysic) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึง แก่นแท้หรือความเป็นจริงสูงสุดของสิ่งต่าง ๆ ในโลก ยกตัวอย่างเช่น ในสาขานี้อาจจะตั้งคําถามว่า ความจริงแท้สูงสุดคืออะไร เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม หรือสิ่งที่เป็นแก่นสารของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ มีที่มาจากอะไร เช่น ทาเลส (Thales) พยายามอธิบายว่า น้ำคือต้นกําเนิดของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ หรือเฮราไคลตุส (Heraclitus) เสนอว่า ไฟต่างหากที่เป็นปฐมธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เป็นต้น

62. การจับสลากในระบบนครรัฐเอเธนส์มีไว้เพื่อจุดหมายใด
(1) เนรเทศ
(2) ออกกฎหมาย
(3) แต่งงาน
(4) แสดงเจตจํานงสูงสุด
(5) ตัดสินคดีความ
ตอบ 5 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่มีคุณสมบัติ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ โดยทําหน้าที่ นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจํา ปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม
3. ศาล (Court) ประกอบด้วย พลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน ซึ่งคัดเลือก โดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ำอีก โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก

63. คุณธรรมที่เหมาะสมกับการเป็นผู้พิทักษ์หรือทหารของรัฐ ได้แก่
(1) ผู้ที่มีตัณหาในจิตใจมาก
(2) ผู้ที่มีความกล้าหาญในจิตใจมาก
(3) ผู้ที่มีเหตุผลในจิตใจมาก
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 36, (คําบรรยาย) เพลโต จําแนกความยุติธรรม (Justice) ของบุคคลในรัฐโดยใช้คุณธรรม ประจําจิต โดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดควรจะเป็นชนชั้นใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของแต่ละคน ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นผู้พิทักษ์หรือ ทหาร และถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง

64. แนะนําดี ให้เรียน
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 1 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่ครูอาจารย์พึงมีต่อศิษย์ ได้แก่ แนะนําดี ให้เรียนดี บอกศิษย์ ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง และทําความป้องกันในทิศทั้งหลาย

65. สโตอิกส์ให้ความสําคัญในเรื่องใดมากที่สุด
(1) ธรรมชาติ
(2) วรรณคดี
(3) การเมือง
(4) การทหาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

66. เป็นชาวยิว เคยเป็นช่างไม้
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และ เคยเป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนา สั่งสอนคนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็นบุตรของพระเจ้า (Son of God) และให้ประชาชน นั้นกลับใจใหม่ละทิ้งความชั่ว บุคคลใดที่เชื่อฟังเมื่อตายไปแล้วก็จะมีชีวิตนิรันดรได้ไปเสวยสุข อยู่กับพระเจ้า ส่วนบุคคลใดที่ไม่เชื่อฟังและไม่กลับใจใหม่ก็จะต้องไปมีชีวิตอยู่ในนรกตลอด กาล โดยภายหลังจากเยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกพวกยิวกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและไป ฟ้องโรม ในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี (คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับจากปีที่พระเยซูเกิดเป็นปีแรก)

67. คุณธรรมที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ผลิตของรัฐ ได้แก่
(1) ผู้ที่มีตัณหาในจิตใจมาก
(2) ผู้ที่มีความกล้าหาญในจิตใจมาก
(3) ผู้ที่มีเหตุผลในจิตใจมาก
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

68. ผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนแนวคิด “Plenitudo Potestatis” มากที่สุด คือ
(1) St. Aquinas
(2) St. Paul
(3) St. Augustine
(4) John of Salisbury
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 86, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 110) ) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เกิดในยุคศตวรรษที่ 12 (ค.ศ. 1120 – 1180) เป็นชาวอังกฤษโดยกําเนิด ซึ่งเขามีความเชื่อว่า อํานาจของสันตะปาปานั้นมีล้นพ้นและมีเหนือกว่าอํานาจของอาณาจักรที่กษัตริย์เป็นผู้ใช้ โดย หลักการดังกล่าวนี้สันตะปาปาจะมีอํานาจเต็มที่ทั้งทางจิตวิญญาณและทางโลก หรือที่เรียกว่า Plenitudo Potestatis/Fullness of Power

69. ต่อต้านรัฐและสังคม
(1) Epicurean
(2) Stoics
(3) Cynics
(4) Polybius
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาซินนิคส์ (Cynics) นั้นต่อต้านรัฐ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม (ทั้งด้านการศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา รวมทั้งชนชั้นด้วย) โดยกล่าวว่า สิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึงศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และ ความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คนมีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความจริงแล้วคนเราไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจกมีความเท่าเทียมกันทั้งนั้น

70. “Oligarchy” หมายถึง
(1) การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่ดี
(2) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ดี
(3) การปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี
(4) การปกครองโดยมหาชนที่ไม่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คือระบบการปกครอง โดยคณะบุคคลจํานวนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติแห่งความเฉลียวฉลาด และมีจุดมุ่งหมายที่จะนําสันติสุข มาสู่คนทั้งหลายในรัฐ แต่ถ้าเป็นการปกครองโดยคณะบุคคลที่ไม่ดี โดยมุ่งที่จะใช้อํานาจเพื่อ ความผาสุกของพวกตนเพียงกลุ่มเดียว จะเรียกว่าคณาธิปไตย (Oligarchy)

71. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง
(1) Liberalism
(2) Sociatism
(3) Conservatism
(4) Political Ideology
(5) ทุกข้อเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง
ตอบ 5 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) เป็นความเชื่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมือนเป็นความจริงสูงสุด ซึ่งมักใช้ ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก และไม่จําเป็นต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือ ยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง แต่จะเป็นความคิดหรือความเชื่อที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกล่อมเกลาสมาชิกที่ยึดถือให้มีแนวความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีที่มาจาก ความคิดของนักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งหรือหลาย ๆ คน ก็ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง แบบเสรีนิยม (Liberalism), อนุรักษนิยม (Conservatism), สังคมนิยม(Socialism), ชาตินิยม (Nationalism), ฟาสซิสม์ (Fascism), มาร์กซิสม์ (Marxism) ฯลฯ บางครั้งยังพบว่า มีผู้เรียกอุดมการณ์ทางการเมืองว่าเป็น “ศาสนาทางการเมือง” อีกด้วย

72. “การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองแบบเดียวกับวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบายและมุ่งทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง”
(1) Empirical Political Theory
(2) Political Philosophy
(3) Ideology
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

73. “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะแบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรง
เพื่อที่จะทํางานหนักได้”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 69 – 70) Aristotle กล่าวว่า “ธรรมชาตินั้นปรารถนาที่จะ แบ่งแยกร่างกายของเสรีชนและทาส โดยให้ร่างกายของพวกทาสนั้นแข็งแรงเพื่อที่จะทํางานหนักได้ ในทางตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งนั้นร่างกายไม่มีประโยชน์อันใดต่องานที่ต้องใช้แรงกาย แต่เขาก็มีสติปัญญาที่เป็นประโยชน์กับชีวิตทางการเมืองทั้งด้านศิลปะในภาวะสงครามและภาวะ ที่สงบสุข… มันเป็นที่ชัดเจนว่าคนบางคนนั้นเกิดมาตามธรรมชาตินั้นเป็นเสรีและคนบางคนนั้น เกิดมาเป็นทาส และการเป็นทาสดังกล่าวนี้ก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมและถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง”

74.เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่ศิษย์พึงมีต่ออาจารย์ ได้แก่ ลุกขึ้นยืนรับ เข้าไปยืนคอย ต้อนรับ เชื่อฟัง ปรนนิบัติ และเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

75. “สิ่งที่คนหนึ่งเห็นว่ายุติธรรมก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะตัวของเขาเท่านั้น”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Metian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25) โปรทากอรัส (Protagoras) กล่าวว่า “สิ่งที่บุคคลหนึ่ง เห็นว่าเป็นความยุติธรรม มันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะตัวของเขาเท่านั้น สิ่งที่เห็นว่าเป็นความยุติธรรมของเมืองหนึ่งมันก็เป็นความยุติธรรมเฉพาะของเมืองนั้น”

76. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Aristotle
(1) มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง
(2) การปกครองแบบประชาธิปไตยดีที่สุดสําหรับเขา
(3) มนุษย์เป็นคนชั่วแต่เกิด
(4) รัฐเกิดขึ้นมาจากการตกลงกันระหว่างมนุษย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 57) Aristotle ไม่เคยกล่าวไว้ว่า “โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” แต่เขากล่าวว่า “โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์การเมือง” โดยมนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลยถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจากมนุษย์จําเป็นจะต้องมี ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นโดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์ อยู่เพียงลําพังโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น มนุษย์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์ป่าแต่อย่างใด ดังคํากล่าวว่า “คนที่อยู่คนเดียวได้ ถ้าไม่ใช่สัตว์ป่าก็ต้องเป็นเทพเจ้า” นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า มนุษย์มีความแตกต่างกับสัตว์ คือ มนุษย์มีภาษาอันกอปรไปด้วยเหตุผล ไม่ใช่ภาษาแบบเดียว กับสัตว์ที่ส่งเสียงออกไปตามสัญชาตญาณ ด้วยความสามารถพิเศษของมนุษย์นี้เอง เมื่อเขามี ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ ในทางสาธารณะหรือในทางการเมือง จึงทําให้มนุษย์สามารถ บรรลุจุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์ได้

77. “ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลายแต่กระนั้นการใช้ดาบเล่มที่สองนี้มันจะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายและการยินยอมของนักบวช ดาบ เล่มที่สองนี้ต้องอยู่ภายใต้ดาบเล่มแรก หรือกล่าวให้ถูกต้องก็คือ อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจ
แห่งจิตวิญญาณ
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface VIII) กล่าวว่า “ มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณและดาบที่ใช้ปกครองทางโลก ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร….กล่าวคือ ดาบเล่มแรกนั้น คือ ดาบแห่งจิตวิญญาณ มันถูกใช้โดยตรงโดยศาสนจักร ส่วนดาบอีกเล่มหนึ่งคือ ดาบที่ใช้ปกครอง ทางโลกนั้นมันถูกมอบให้ใช้ในนามของศาสนจักร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้ โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย แต่กระนั้นการ ใช้ดาบเล่มที่สองนี้มันจะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายและการยินยอมของนักบวช ดาบเล่มที่สองนี้ ต้องอยู่ภายใต้ดาบเล่มแรก หรือกล่าวให้ถูกต้องก็คือ อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจแห่ง จิตวิญญาณ”

78. ทฤษฎีองค์อินทรีย์เป็นการอธิบายเรื่องอะไร
(1) การรับมอบอํานาจการปกครองมาจากพระเจ้า
(2) ทฤษฎีที่อธิบายว่าพระเจ้าคือสิ่งมีชีวิต
(3) การเปรียบเทียบสถาบันการปกครองกับร่างกาย
(4) การทําหน้าที่ทางจิตวิญญาณของพระ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 86 – 87 จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมืองยุคกลาง คนแรกที่ใช้ “ทฤษฎีองค์อินทรีย์” (Crganic Analogy) อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของรัฐหรือ ประชาคมการเมือง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบสถาบันการปกครองกับร่างกาย โดยกล่าวว่า รัฐเปรียบ เสมือนร่างกายของมนุษย์ โดยกษัตริย์เปรียบเสมือนศีรษะหรือส่วนสมอง ฝ่ายศาสนาเปรียบเสมือน ดวงวิญญาณ ฯลฯ ซึ่งองค์ประกอบทุกส่วนนี้จะร่วมกันเพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

79. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง
(1) บุตร
(2) ศิษย์
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 3 หน้า 120, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่ภรรยาพึงมีต่อสามี ได้แก่ จัดการงานดี สงเคราะห์คน ข้างเคียงสามีดี ไม่ประพฤตินอกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ และขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง

80.“Telos” มีความหมายถึง
(1) จุดมุ่งหมายปลายทาง
(2) ความประเสริฐเฉพาะ
(3) ความยุติธรรม
(4) กําเนิดรัฐ
(5) เสรีภาพ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) คําว่า “Telos” (เทลอส) ในภาษากรีก แปลว่า จุดมุ่งหมายปลายทาง จุดมุ่งหมาย เป้าประสงค์ หรือจุดประสงค์ ส่วนคําว่า Arete หรือ Virtue ที่แปลว่า ความประเสริฐเฉพาะ หรือคุณธรรมนั้น เมื่อนํามาเกี่ยวข้องกับ Telos จะหมายความว่า การเป็นสิ่งที่ทําให้บรรลุถึง Telos นั่นเอง

81. ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งในความดี
(1) เจ้านาย
(2) บิดามารดา
(3) ภรรยา
(4) สมณพราหมณ์
(5) บริวาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

82. สิ่งที่แสดงถึง Rule of Men ในประยุกตรัฐ ได้แก่
(1) คณะผู้ปกครอง
(2) ประชาชน
(3) กฎหมาย
(4) จารีตประเพณี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 41 เพลโต ได้เสนอแนวความคิดเรื่องการปกครองโดยคน (Rule of Men) โดยกําหนดให้ ประยุกตรัฐมีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีกคณะหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่ควบคุมตําแหน่งผู้ที่มาจาก การเลือกตั้ง ซึ่งคณะผู้ปกครองพิเศษนี้เรียกว่า “คณะมนตรีรัตติกาล” (Nocturnal Council)

83. “คนชนะทําอะไรก็ได้”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีตัวเลือกใดสัมพันธ์กับโจทย์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

84. ความก้าวหน้าทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ทําให้การศึกษาวิชาการเมืองเปลี่ยนไป
(1) เลิกศึกษางานของกรีก
(2) ไม่สร้างทฤษฎี
(3) เน้นสร้างทฤษฎีโดยสังเกตการณ์มากขึ้น
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 14 จากข้อเขียนของ ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ ในภาคผนวกนั้นได้อธิบายไว้ว่า ความก้าวหน้า ในด้านพฤติกรรมศาสตร์ มีผลทําให้การศึกษาวิชาการเมืองเปลี่ยนความสนใจจากการเน้นในเรื่อง สถาบันและปัญหาในทางปฏิบัติ ไปสู่การสร้างทฤษฎีที่อาศัยการสังเกตการณ์มากขึ้น และโดยที่ การศึกษาวิจัยอย่างมีระเบียบวิธี จําเป็นต้องมีทฤษฎีเป็นแนวทางในการจัดระเบียบข้อมูลหรือ ความรู้ที่ได้มา

85.“Melian Dialogue” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้อใด
(1) เป็นบทสนทนาของ Plato กับพวกโซฟิสต์
(2) การสนทนาของพวก Melian กับ Athens
(3) การสนทนาระหว่าง Athens กับ Sparta
(4) การเจรจาระหว่าง Sparta กับ Melian
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) ธูซิดิดิส (Thucydides) เป็นผู้เขียน บทสนทนา ของชาวมีเลี่ยน หรือ “Melian Dialogue” ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับเอเธนส์ (Athens) ในช่วงสงครามเพโลโพนีเซียน (Petoponesian War)

86. การพูดคําหยาบ คําส่อเสียด คําแซะ คําเพ้อเจ้อ เป็นอกุศลกรรมหรือบาปข้อใด
(1) กายทุจริต
(2) มโนทุจริต
(3) วจีทุจริต
(4) โลภะจริต
(5) โทสจริต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อกุศลกรรมหรือบาปในเรื่อง “วจีทุจริต 4” ได้แก่
1. มุสาวาท คือ การพูดเท็จ
2. ปิสุณวาจา คือ การพูดส่อเสียดหรือคําแซะ
3. ผรุสวาจา คือ การพูดคําหยาบ
4. สัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อ

87. ชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 12
(1) St. Aquinas
(2) St. Augustine
(3) Jesus
(4) Gelasius I
(5) John of Salisbury
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

88. ผู้ปกครองตามอัคคัญญสูตร คือ
(1) เทพ
(2) เทพอวตาร
(3) รับอํานาจจากเทพ
(4) กฎธรรมชาติ
(5) คนธรรมดา
ตอบ 5 หน้า 115, (คําบรรยาย) สมมุติฐานการเกิดผู้ปกครองตามคติความเชื่อในอัคคัญญสูตรของ ศาสนาพุทธนั้น กษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายสมมุติหรือ ทําให้เกิดขึ้น เรียกว่า “มหาสมมุติ” เพื่อคอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มีการละเมิด ซึ่งกันและกัน

89. ข้อใดเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
(1) เป็นความเชื่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมือนเป็นความจริงสูงสุด
(2) อยู่บนวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น
(3) ไม่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมือง
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

90. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Sophist
(1) Sophist เป็นคนต่างด้าวในเอเธนส์
(2) Sophist แปลว่า ผู้มีความรู้
(3) สอนให้คนมีวาทศิลป์
(4) สอนโดยไม่รับเงิน
(5) สอนให้รู้จักวิธีการพูดในที่สาธารณะ
ตอบ 4 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์หรือซอฟฟิสต์ (Sophist) เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาพํานักในกรุงเอเธนส์ในยุคกรีกตอนต้นในช่วงสมัยเพริคลิส ไม่ใช่พลเมืองชาวเอเธนส์ ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นครู คือการสัญจรรับจ้างสอนบรรดาผู้กระหาย ความรู้ทั้งหลาย โดยสิ่งที่พวกเขาสอนจะทําให้ผู้รับการศึกษาได้มีความรู้ในการพูด หรือ สอนให้คนมีวาทศิลป์ (Rhetoric) การหักล้างโต้แย้ง และวิธีการพูดในที่สาธารณะ โดยคําว่า “Sophist” นั้นแปลว่า ผู้มีความรู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้

91. ปรัชญาเมธีที่มีผลงานเรื่อง “Meditations” คือ
(1) ซีโน
(2) ซิซีโร
(3) ซีนีคา
(4) มาร์คัส เออเรลิอุส
(5) พาเนเทียส
ตอบ 4 หน้า 67, 72, (คําบรรยาย) มาร์คัส เออเรลิอุส (Marcus Aurelius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่เคยเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการทําสงคราม ทําลายล้างปัจจามิตร ซึ่งวรรณกรรมชิ้นสําคัญของเขาคือ Meditations หรือสมาธินั่นเอง

92. คําศัพท์ใดสามารถใช้สลับไปมา หรือทดแทนกับคําว่า “ลัทธิทางการเมือง” ได้มากที่สุด
(1) Political Studies
(2) Political Philosophy
(3) Political Party
(4) Political Theory
(5) Political Ideology
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) และ ลัทธิทางการเมือง (Political Doctrine) ในทางทฤษฎีมีความใกล้เคียงกัน แต่ก็มีข้อแตกต่าง กันอยู่ คือ อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีลักษณะเป็นคําสอนกว้าง ๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงวิธีการ เฉพาะไว้ ส่วนลัทธิทางการเมืองจะมีสูตรสําเร็จวิธีการดําเนินการทางการเมืองที่แน่ชัดระบุไว้ อย่างชัดเจน

93. Aristotle มีพื้นเพอยู่ที่ใด
(1) เปอร์เซีย
(2) สปาร์ตา
(3) มาเซโดเนีย
(4) เอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติล (Aristotle) เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตาภิรัส ทางชายฝั่งของ มาเซโดเนีย (Macedonia) เขาเป็นบุตรของแพทย์ประจําราชสํานักมาเซโดเนีย และเป็นศิษย์ ของเพลโต ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการศึกษาที่เมืองเรสบอส เขาได้ทํางานเป็นที่ปรึกษาอย่าง ไม่เป็นทางการของเฮอร์เมียส (Hermias) เจ้าเมืองอาตาร์เนอส และได้แต่งงานกับหลานสาว ของเฮอร์เมียสด้วย

94. ไม่ให้ความสําคัญกับองค์การทางศาสนา
(1) Marsiglio of Padua
(2) Gregory VII
(3) Gelesius II
(4) Boniface VIII
(5) Gelesius I
ตอบ 1 หน้า 92 มาร์ซิกลิโอแห่งปาดัว (Marsiglio of Padua) ไม่ให้ความสําคัญกับองค์การทางศาสนา เลย ซึ่งเขาต้องการให้ฝ่ายทางโลกมีส่วนควบคุมองค์การทางศาสนา โดยเห็นว่าองค์การปกครองทางศาสนาเป็นเช่นเดียวกับองค์การทางโลก ดังนั้นฝ่ายฆราวาสควรมีส่วนในการแต่งตั้งหรือ ถอดถอนเจ้าหน้าที่ทางศาสนา

95. เล่นสนุกและชักชวนไปในทางที่ดี ห้ามเมื่อทําชั่ว
(1) ครูอาจารย์
(2) บิดามารดา
(3) เจ้านาย
(4) สามี
(5) มิตร
ตอบ 5 หน้า 119, (คําบรรยาย) ลักษณะของมิตรแท้ มี 4 ประเภท คือ
1. มิตรอุปการะ ได้แก่ ป้องกันชีวิตชื่อเสียงและเกียรติยศของเพื่อน เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพํานักได้ คอยอุปการะช่วยเหลือเมื่อเพื่อนตกทุกข์ เป็นต้น
2. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ ต่างฝ่ายต่างเผยความลับของตนแก่เพื่อน เก็บความลับของเพื่อน ไม่ให้ผู้อื่นรู้ ไม่ทิ้งเพื่อนเมื่อเพื่อนตกอยู่ในอันตราย เป็นต้น
3. มิตรแนะนําประโยชน์ ได้แก่ ห้ามไม่ให้ทําชั่ว แนะนําให้ทําแต่ความดี ให้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง ถ้าเพื่อนยังไม่มีความรู้ก็เล่าให้ฟัง เป็นต้น
4. มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ ไม่ยินดีในความสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สรรเสริญคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน เป็นต้น

96. ข้อใดคือการศึกษาความคิดทางการเมืองหลักในยุคกลาง
(1) กรีก
(2) โรมัน
(3) คริสต์ศาสนา
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101, 113), (คําบรรยาย) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชนหรือพวก Barbarian เผ่าวิสิกอธ (Visigoths) หรือกอธตะวันตก (West Goths) ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age) ดังนั้นการศึกษาความคิดทางการเมืองหลักในยุคกลางจึงมักเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา อย่างไรก็ตาม แม้พบว่าศาสนาจะมีบทบาทมาก แต่งานของอริสโตเติลก็ยังคงมีการศึกษากันอยู่ซึ่งจะเห็นได้จากการพยายามของอไควนัสที่จะเอาความคิดของอริสโตเติลมาใช้อธิบายและสร้างความชอบธรรมให้กับคริสต์ศาสนา

97. นักคิดคนใดเป็นผู้บัญญัติคําว่า “Ideology”
(1) Montesquieu
(2) de Tocqueville
(3) de Nero
(4) de Tracy
(5) de Gaulle
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) เดอ ทราซี (de Tracy) เป็นผู้บัญญัติคําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยเกิดจากศัพท์ภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Eidos” หรือ “Idea” ใน ภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความคิด และคําว่า “Logos” หรือ “Logy, Science” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความรู้ และเมื่อนํามารวมกันก็แปลว่า “ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด” หรือ“Science of Idea”

98. โพลิเบียสค้นพบว่าสาเหตุที่อาณาจักรต่าง ๆ เสื่อมลง เพราะ
(1) ผู้นํามีความสามารถ
(2) กองทัพมีประสิทธิภาพ
(3) มีการส่งกําลังบํารุงที่ดี
(4) วัฏจักรของการเปลี่ยนรูปแบบการปกครอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

99. ธรรมชาติมนุษย์ของในทัศนะของอิพิคิวเรียน คือ
(1) มีเหตุผล
(2) ก้าวร้าว
(3) รักสงบ
(4) เห็นแก่ตัว
(5) ไม่แน่นอน
ตอบ 4 หน้า 59 ลัทธิอีพิคิวเรียน เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วคนทุกคนเห็นแก่ตัว ซึ่งสิ่งนี้เองที่นําไปสู่ การขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะความสุขของบุคคลหนึ่งอาจจะเป็นความทุกข์ของบุคคลอื่นได้

100. มุมมองเกี่ยวกับการเชื่อฟังกฎหมายต่อรัฐของซอคราตีสปรากฏอยู่ในบทสนทนาเรื่องใด
(1) Social Contract
(2) Euthyphro
(3) Crito
(4) The Politics
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมี 9 ข้อ แต่ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอภิปรายในหัวข้อ “เมืองในอุดมคติของข้าพเจ้า” มาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

เมืองในอุดมคติของข้าพเจ้า มีลักษณะที่สําคัญดังนี้

1. เมืองจะต้องมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ไม่มีความเหลื่อมล้ํา ของประชาชนในการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ บริการโทรคมนาคม ฯลฯ

2. เมืองจะต้องมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาสภาพแวดล้อมในพื้นที่เมืองให้มีความน่าอยู่ ปลอดภัย และมีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

3. เมืองจะต้องมีการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจและ โครงสร้างทางสังคมและประชากรในพื้นที่ โดยเฉพาะรองรับประชากรผู้สูงอายุที่มีจํานวนมากขึ้นในอนาคต

4. เมืองจะต้องมีการเฝ้าระวังและบูรณาการในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน น้ํา ไฟฟ้า รวมถึง ถนนหนทาง สะพาน อุโมงค์ รถไฟ รถไฟฟ้าใต้ดิน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน การสื่อสาร ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อใช้ทรัพยากร เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

5. เมืองจะต้องมีการวางแผนกิจกรรมการบํารุงรักษาเชิงป้องกันและเฝ้าระวังในมิติด้าน ความปลอดภัยขณะที่ให้บริการอย่างดีที่สุดแก่ประชาชน

6. เมืองจะต้องมีระบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดปริมาณขยะ และจัดหมวดหมู่ประเภทของขยะที่แหล่งกําเนิดขยะ ให้ประชาชนชาวเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด โดยภาคการศึกษาจะต้องมีบทบาทสําคัญในการปลูกจิตสํานึกในเรื่องดังกล่าวให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนอย่างแท้จริงซึ่งขณะเดียวกันในส่วนของภาคกฎหมายจะต้องออกกฎที่เข้มงวด และเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลงโทษผู้ละเมิดหรือฝ่าฝืน

7. เมืองจะต้องมีการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เช่น การติดตามเฝ้าระวังเรื่องมลพิษ สร้างสังคมคาร์บอนต่ำส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการนําวัตถุดิบกลับมาใช้ซ้ำ ฯลฯ มีระบบการจัดการ ทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา น้ำเสีย การระบายน้ำตามธรรมชาติ น้ำท่วมจากฝนตกหนัก รวมไปถึงการอนุรักษ์น้ำ และลดปริมาณการใช้น้ำโดยไม่จําเป็น

8. เมืองจะต้องมีการจัดระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด มีความปลอดภัยและยั่งยืน โดยระบบขนส่งแบบความเร็วสูง เช่น รถไฟใต้ดิน รถไฟรางเบา รถไฟฟ้ารางเดี่ยว ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเข้าถึงของประชาชนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในระยะยาวต้องพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงการบริการ
ของระบบขนส่งและเครือข่ายของโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นระหว่างเมืองศูนย์กลางทั่วประเทศ เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นต้น

ข้อ 2. “เมือง” และ “ชุมชนเมือง” คืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร จงอธิบายโดยทําให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ
และสร้างกรอบจินตนาการที่ชัดเจน ?

แนวคําตอบ

เมือง (City/Urban) มีความหมายที่สําคัญดังนี้

-การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (เช่น บ้านเรือน) มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนน)

-เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ใน ระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่ง
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและ ป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภคอุปโภค อย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจน เป้นศูนย์กลางของรัฐบาล

ชุมชนเมือง (Urban Community) หมายถึง ชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนทุกสถานะ ไม่ว่า จะเป็นคนรวยหรือคนจนรวมกันอยู่อย่างแออัดในพื้นที่ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างจากสังคมในชนบท ทั้งนี้เพราะการที่ชุมชนเมืองจะประกอบไปด้วยผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีจํานวนจํากัด คนในชุมชนเมือง จึงมักจะมีความเป็นอยู่หนาแน่น จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะมีปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

สาเหตุของการเกิด

1. ในแง่การผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรม เมืองหลายเมืองได้กลายมาเป็นเมืองมหานคร โดยมีจุดเริ่มและก่อกําเนิดมาจากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหรือเป็นเมืองหลวง (เช่น กรุงเทพฯ, จากาตาร์, เม็กซิโก ซิตี้ ฯลฯ) หรือเป็นเมืองใหญ่ริมชายฝั่งทะเล (เช่น กัลกัตตา, เซาเปาโล, เซี่ยงไฮ้ ฯลฯ) ซึ่งการ รวมตัวเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นกลุ่มก้อนดังกล่าวจะช่วยเอื้อให้เกิดความประหยัดหรือการขาดแคลนในด้านแรงงาน วิทยาการความรู้ การบริการธุรกิจการเงิน การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการขนส่ง

2. ในแง่ทางสังคมวิทยา จะพบว่าการรวมกันเข้าเป็นชุมชนเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมในสังคมเป็นตัวกําหนด ซึ่งแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้าน เมือง นคร ตามลําดับ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การบริการ การค้า การลงทุน ประกอบการ การดําเนินกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่มีทั้งแรงผลักแรงดันระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท ดังนั้นความต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมืองจึงเป็นความคาดหวังว่า จะมีชีวิตที่ดีกว่าของมนุษย์

3. ในแง่ความเป็นชุมชนเมือง มักไม่มีหลักเกณฑ์ของจํานวนเลขที่แน่ชัดมากําหนดว่า ควรมีจํานวนเท่าใด ซึ่งสิ่งนี้จะแปรตามหรือขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศจะกําหนดขึ้น เช่น การพิจารณาเปรียบเทียบ ระหว่าง 2 ชุมชน หากชุมชนหนึ่งมีประชากรเป็น 50 เท่าของอีกชุมชนหนึ่ง ก็จะถือว่าชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมือง ส่วนอีกชุมชนหนึ่งเป็นชุมชนชนบท เป็นต้น

ข้อ 3. จงอธิบายสาระสําคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง และชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งสาระสําคัญที่เกี่ยวข้องจากที่ประชุม UNGA ในปีนี้ มาโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ

การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นแนวทางของการพัฒนาที่ตอบสนอง ความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง ซึ่ง การบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนจะมีองค์ประกอบที่สําคัญ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความครอบคลุมทางสังคม
และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 ณ สํานักงานใหญ่สหประชาชาติ ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ร่วมลงนาม รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งเป็นกรอบการ พัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกําหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดําเนินการร่วมกัน

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มี 17 เป้าหมาย คือ

1. การขจัดความยากจนทุกรูปแบบ
2. การขจัดความหิวโหย การบรรลุความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
3. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4. การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. การบรรลุความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ การเพิ่มพลังสตรีและเด็กหญิง
6. การเข้าถึงการใช้น้ําสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี
7. การเข้าถึงพลังงานที่มั่นคงและสะอาด
8. การมีงานที่มีคุณค่าเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
9. การส่งเสริมอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
10. การลดความเหลื่อมล้ําทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
11. การตั้งถิ่นฐานและชุมชนอย่างยั่งยืน
12. การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
13. การเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
14. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
15. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนบกและรักษาระบบนิเวศ
16. การสร้างสังคมสันติสุข ยุติธรรม และมีสถาบันทางสังคมที่มีความเข้มแข็ง
17. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกระดับในการบรรลุถึงเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ของโลก

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมืองและชุมชนนั้นจะปรากฏอยู่ในเป้าหมายที่ 11 คือ การพัฒนาเมือง และชุมชนอย่างยั่งยืน นั่นก็คือ การทําให้เมืองมีความครอบคลุมปลอดภัย เข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งมีเป้าหมายโดยรวม ในการยกระดับที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด การขนส่งอย่างยั่งยืน การวางแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มรดกทาง วัฒนธรรม การสร้างความเข้มแข็งเพื่อรองรับประเด็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง รวมไปถึงการบรรเทาทุกข์ จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว ตลอดจนการสร้างอาคารที่ยั่งยืน เป็นต้น ดังนั้น การทําให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืนจึงหมายถึง การสร้างหลักประกันในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและราคา ที่เหมาะสม รวมทั้งการยกระดับที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด การลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สีเขียว สาธารณะ การปรับปรุง การวางผังเมืองและการจัดการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนนั่นเอง

นอกเหนือจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย ยังประกอบไปด้วย 169 เป้าหมายย่อย (SDG Targets) ที่มีความเป็นสากล เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน และกําหนดให้มี 247 ตัวชี้วัด เพื่อใช้ติ เพื่อใช้ติดตามและ ประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดยสามารถจัดกลุ่ม SDGs ตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ ซึ่งได้แก่

1. การพัฒนาคน โดยให้ความสําคัญกับการขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหย และลดความเหลื่อมล้ำ

2. สิ่งแวดล้อม โดยจะให้ความสําคัญกับการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป

3. เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสอดคล้องกับธรรมชาติ

4. สันติภาพและความยุติธรรม โดยยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุขและไม่แบ่งแยก

5. ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา และความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระ การพัฒนาที่ยั่งยืน

สาระสําคัญจากเวทีประชุมสมัชชาสหประชาชาติ หรือ UN General Assembly (UNGA) ครั้งที่ 78 ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18 – 26 กันยายน ค.ศ. 2023 จะมีวาระสําคัญหลายประเด็น โดยสามารถสรุป ประเด็นสําคัญที่จะส่งผลต่อทิศทางการวางนโยบายการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ และการใช้ชีวิตประจําวันของ พวกเราทุกคน แบ่งได้เป็น 3 ประเด็นหลักดังนี้

1. ปรับแผน SDGs กันใหม่ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. 2030 เนื่องจาก วิกฤติต่าง ๆ ที่กําลังเกิดขึ้นในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ผนวกกับภัยพิบัติธรรมชาติ ปัญหาความขัดแย้ง และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ความคืบหน้าของเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะถดถอยลง นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ที่ทุกประเทศสมาชิกประกาศรับรอง SDGs เป็นเป้าหมาย การพัฒนาระดับโลก พบว่ามีการดําเนินการเพียง 12% เท่านั้นที่เป็นไปตามเป้าหมาย

สําหรับประเทศไทยนั้นมีรายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะแสดงจุดยืนตามนโยบายรัฐบาลในการเชื่อมโยงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) กับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในหัวข้อหลักที่สําคัญคือ การลดความเหลื่อมล้ํา การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการมี สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. ทุกภาคส่วนทั่วโลกร่วมเดินหน้า จัดการวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจากผลวิจัยของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ได้แสดงถึงความน่าเป็นห่วง ของปัญหาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ทั่วโลกยังคงอยู่ ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับจากวันนี้และตลอด 30 ปีข้างหน้า ทั่วโลกต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงอย่างจริงจัง เพื่อจํากัดอุณหภูมิโลกไม่ให้ร้อนไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส การที่จะแก้ปัญหาที่เร่งด่วนเช่นนี้ได้ จําเป็นจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคการเงินของแต่ละประเทศ

การประชุมดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์สําคัญทางการเมือง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ทั่วโลกจะร่วมกันรับมือกับภาวะโลกร้อน เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของพลังงานหมุนเวียนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม และเป็นที่สังเกตได้จากการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา โดยมีการพูดถึงการส่งเสริม การผลิต การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของโลก

3. เตรียมความพร้อมสําหรับงาน Summit of the Future 2024 เพื่อเสริมพลัง ความร่วมมือระดับพหุภาคี เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น การระบาดใหญ่ของโควิด-19 การเกิดขึ้นของสงครามยูเครน และวิกฤติหลัก 3 ประการ (Triple Planetary Crisis) ที่กําลังคุกคามโลก ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษ และวิกฤติการสูญเสียความหลากหลาย
ทางชีวภาพ

โดยประเด็นที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความท้าทายที่นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่จะต้องเดินหน้าจัดการอย่างเร่งด่วน ดังนั้นสมัชชาสหประชาชาติจึงตัดสินใจที่จะจัด เวทีการประชุมดังกล่าวนี้โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้แทนในประเทศต่าง ๆ และผู้มีอํานาจตัดสินใจได้มาร่วมประชุม กําหนดวาระสําคัญก็เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ การยึดถือธรรมาภิบาลโลก ความมุ่งมั่นในการไปสู่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และกฎบัตรสหประชาชาตินั่นเอง

ข้อ 4. จงวิเคราะห์สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกพร้อมกับอธิบายถึงผลกระทบที่จะเกิดและ
เสนอแนวทางบรรเทาผลกระทบดังกล่าวมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (UN) พบว่าในปี พ.ศ. 2561 ประชากรในเขตเมืองนั้น มีมากกว่าในชนบท โดยมีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณร้อยละ 55 ของประชากรโลก ซึ่งในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2493 พบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองเพียงร้อยละ 30 ของประชากรโลกเท่านั้น นอกจากนี้สหประชาชาติยังคาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีคนอาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มสูงถึงร้อยละ 68 ของประชากรโลกอีกด้วย

ในแง่ประชากรในชนบท (Rural Population) ของโลก พบว่าเติบโตอย่างช้า ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และคาดว่าจะถึงจุดสูงสุดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบันในชนบททั่วโลกมีจํานวนเกือบ 3.4 พันล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากนั้นจะลดลงเหลือประมาณ 3.1 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแอฟริกาและเอเชียซึ่งมีประชากรชนบทเกือบร้อยละ 90 ของประชากรชนบทของโลก

ในแง่ประชากรในเมือง (Urban Population) ของโลก พบว่าเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยเพิ่มขึ้นจาก 751 ล้านคน เป็น 4.2 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2561 แม้ว่าเอเชียจะมีการขยายตัว น้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ แต่กลับพบว่ามีประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองสูงถึงร้อยละ 54 ของทั่วโลก ในขณะที่แอฟริกา มีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น

ดังนั้นสถานการณ์ในปัจจุบันของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลก จึงเป็นลักษณะการอยู่อาศัย ในโลกแห่งชุมชนเมือง นั่นคือ ปัจจุบันประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่า ครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมีอัตราการเข้ามาอยู่ อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็นชุมชนเมืองไป ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นวันที่ประชากรโลก มีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกที่มีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ําสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุม ป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก และประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและ การอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน และทรัพยากรสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน ทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

ผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

1. ปริมาณความต้องการน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผล กระทบต่อปริมาณน้ำจืดที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ําจืด ส่งผลให้ระบบวงจร
ของน้ําที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆแล้วก็กลั้นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 75 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยมีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 จะมีน้ำจืดเหลือเพียง 1 ใน 4 ของ ปริมาณน้ําจืดในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ําต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศ ก็จะประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็จะเกิดปัญหา น้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้นั่นเอง

แนวทางบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ การรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ใหม่ การทําฝนเทียม การแยกเกลือออกจากน้ำเค็ม การอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลแห่งใหม่ ลดการทําปศุสัตว์ลง รวมไปถึงแนวคิดในเรื่อง การทําเกษตรแนวใหม่ หรือการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยลง โดยนําวิธีที่จะใช้น้ำให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การใช้ระบบน้ำหยด เป็นต้น

2. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีระบบนิเวศ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ ก็เกิดปัญหาความเหือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปีที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของอัตราปกติ โดยที่มนุษย์มิใช่เป็นเพียงพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

แนวทางบรรเทาผลกระทบดังกล่าวนั้นจําเป็นต้องมีการจัดทําแนวทางและวิธีดําเนินการในการป้องกัน การแก้ไขฟื้นฟู และการอนุรักษ์ ซึ่งได้แก่ การใช้กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และ ความเข้าใจแก่ประชาชนในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม การบําบัดฟื้นฟูสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมสําหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป รวมไปถึงมีการแบ่งเขต/ พื้นที่ควบคุมเพื่อให้มีสภาวะที่เหมาะสมสําหรับการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร เช่น การจัดพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์ หรืออุทยาน ซึ่งจะทําให้สภาพดิน พืช สัตว์ และป่าไม้ มีสภาพเหมาะสมในการขยายพันธุ์ ดํารงพันธุ์ และเจริญเติบโตเป็นต้น

3. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่ง เรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบให้น้ําแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เองด้วย

แนวทางบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ ลดการใช้พลังงานที่มีส่วนทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ลดการใช้พลาสติก เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล หันมาใช้พลังงานไบโอดีเซล และสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ํา พลังงานลมเป็นต้น

4. การประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ํา ทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ําเหล่านี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา อัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี ค.ศ. 1996 ลดลงเหลือ 16 กิโลกรัมต่อคน อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ําก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับ สัตว์น้ําลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ําเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและ
ยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ําในปัจจุบันนี้ มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก และอีกไม่นานมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหาร เหล่านี้รับประทานกันได้น้อยลงและยากขึ้น

แนวทางบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ การปลูกป่าชายเลนเพื่อให้มีแหล่งอาหารของ สัตว์ เป็นที่วางไข่และเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนของสัตว์ทะเลหลายชนิด หยุดการทําไม้ป่าชายเลนและการทําเหมืองแร่ ในพื้นที่ป่าชายเลน งดการใช้อวนรุน อวนลาก ไม่ทิ้งสมอเพื่อจอดเรือในแนวปะการัง เพราะจะทําให้ปะการัง หักเสียหาย งดการจับปลาในช่วงฤดูวางไข่ ไม่ใช้ระเบิดจับปลา ไม่สร้างโรงแรมและที่พักติดทะเลเพราะจะทําให้เกิด น้ําเสียอันเป็นเหตุให้ปะการังตาย เป็นต้น

5. งานหรือการมีงานทํา (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะ การจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โลกมีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า คือ จาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 พันล้านคน จากข้อมูลขององค์การแรงงานสากล (The United Nations International Labor Organization : ILO) ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานกว่า 1 พันล้านคน หรือ 30% ของ คนในวัยแรงงาน และในช่วงอีกครึ่งศตวรรษต่อไปจะมีคนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะประเทศ เหล่านั้นมีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงาน เป็นต้น

แนวทางบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ ลดช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน มีการอบรมการประกอบอาชีพ ให้แก่ประชาชน จัดหาตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มเติม เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ กระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค มีการใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดต่างประเทศให้มาลงทุนในประเทศ มากขึ้น เป็นต้น

ข้อ 5. จงอธิบายมุมมองต่อ “เมือง” ในทางทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ มา 3 ทฤษฎี พร้อมทั้งอธิบาย ขยายความโดยละเอียดในแต่ละทฤษฎี ?

แนวคําตอบ

มุมมองต่อ “เมือง” ในทางทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ มีดังนี้

1. แนวความคิดในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

กระบวนการในการเกิดขึ้นของเมืองในทางเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวโยงกับกระบวนการทางโครงสร้างของสังคมที่ก่อให้เกิดพลวัต หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจชนบทไปเป็นเศรษฐกิจเมือง ในแง่ของการแปลงสภาพ ประชากร กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจชนบท ไปสู่ฐานะของเศรษฐกิจเมือง เช่น

1) การใช้แรงงานเข้มแข็งขึ้นและมีความเป็นปัจเจกภาพสูง
2) มีการกระจุกตัวของแรงงานมากขึ้น
3) มีความชํานาญในการผลิตสินค้าและบริการค่อนข้างสูง
4) มีการพึ่งพาต่อกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด
5) มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และลักษณะของการประกอบการในระดับสูง
6) ความหนาแน่นของประชากรทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสําคัญที่จะเกิดขึ้นในแง่ความเป็นเมือง คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเนื่องจากการเกิดความชํานาญ การแบ่งงานกันทําตามความสามารถเฉพาะ การใช้ทุนเข้มข้นในการผลิตและใช้เทคโนโลยี ตลอดจน ประดิษฐกรรมที่ทันสมัย ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระบวนการเกิดเป็นเมืองซึ่งเป็นกระบวนการที่ ควบคู่กัน

2. แนวความคิดในทางทฤษฎีของนักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา มองว่าระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และ ความผูกพันร่วมกัน (Common Ties) กล่าวคือ ในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กัน ทางสังคมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง

ผลผลิตของชุมชนหรือสังคม ซึ่งได้แก่

– การกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization)
– การควบคุมทางสังคม (Social Control)
– การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)
– การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)
การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน(Production-Consumption-Distribution)

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรมนั้น คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้ ทั้งนี้ เพราะเกิดความรู้สึกมั่นคงในการมีที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอม ทางค่านิยมของกฎเกณฑ์และเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งกระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติ ดังกล่าวก็คือ ความเป็นเมืองนั่นเอง

3. แนวความคิดในทางทฤษฎีของนักมานุษยวิทยา

นักมานุษยวิทยา มองว่ากระบวนการสร้างความเป็นเมือง (Urbanization) เป็นรูปหนึ่งของกระบวนการปรับตัวของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นรูปแบบที่สําคัญที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้น การปรับตัวจึงเป็นความสําเร็จอย่างหนึ่งของกลุ่ม และความสําเร็จนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ว่าจะเป็นไปได้ดีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องอาศัยความกลมกลืนกันระหว่างปัจจัยในด้านต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ปมในเชิงนิเวศวิทยา” (Ecological Complex) ซึ่งจะประกอบด้วย

1) ปัจจัยด้านประชากร (Population) โดยมีปัจจัยด้านโครงสร้างของประชากรที่มีผลต่อกระบวนการเป็นเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะชี้ให้เห็นมิติของประชากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพตลอดจนการกระจายตัวหรือโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยลักษณะของคนในแต่ละช่วงอายุ เช่น คุณภาพการศึกษา ทักษะการทํางาน อาชีพ จํานวน การพัฒนา และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งจะส่งผลถึง ปัจจัยด้านอื่น ๆ

2) ปัจจัยด้านการจัดองค์กร (Organization) โดยมีมิติที่จะพิจารณาได้ในเรื่องนี้ ได้แก่ แบบขององค์กร สภาพแวดล้อม จํานวนสมาชิก ความสามารถ ผู้นํา เทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนความร่วมมือ ร่วมใจตามแนวคิดของประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อสภาพของชุมชนและสังคมนั้น ๆ

3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อสังคม และชุมชนในแง่ของพฤติกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในแต่ละระดับนั้นอาจพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางด้านธรรมชาติ และปัจจัยแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพิจารณาในแง่ปัจจัยเอื้อหรือไม่เอื้อต่อชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ

4) ปัจจัยด้านเทคนิควิทยาการ (Technology) เป็นปัจจัยสําคัญที่มนุษย์จะสามารถ เอาชนะธรรมชาติได้ และสามารถแข่งขันท่ามกลางภาวะที่จํากัดในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ ประดิษฐกรรม และนวัตกรรมของสังคม

ข้อ 6. หลักการบริหารหรือจัดการชุมชนเมืองตั้งแต่เริ่มมีแนวคิด อุดมการณ์ ไปสู่การปฏิบัติ ว่ามีหลักการและวิธีการอะไรอย่างไร พร้อมตัวอย่างโดยสังเขป ?

แนวคําตอบ

การบริหารชุมชนเมืองหรือการจัดการชุมชนเมืองมุ่งที่จะเสนอแนวคิดและวิธีการปฏิบัติใน การบริหารชุมชนเมือง โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการบริหารเพื่อตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้น ๆ เป็นหลัก จึงจําเป็นต้องศึกษาในแง่ของประเด็นปัญหาและบริบทของปัญหาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และ ระดับสากล ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาชุมชนเมือง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาในเชิงระบบทั้งใน ด้านปัญหาและข้อเรียกร้องของชุมชนเมืองในฐานะปัจจัยนําเข้า (Input) ตลอดจนความจําเป็นและแนวทางของ กิจกรรมในฐานะปัจจัยนําออก (Output) และศึกษาผลกระทบของการบริหารชุมชนเมือง โดยจะศึกษาทั้งตัวองค์กร หรือสถาบันหลักที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ในการบริหารชุมชนเมือง หรือศึกษาแยกย่อยไปที่ประเด็นรายละเอียดหรือเนื้อหาสาระในชุมชนเมือง ดังนั้นการบริหารชุมชนเมืองจึงมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่การกําหนดเป้าหมายการวางแผน การบริหารและลงมือปฏิบัติจนบังเกิดผล ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้

การบรรลุภารกิจและความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองสมัยใหม่ไม่ใช่เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการตระหนักในความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง โดยชาวชุมชนเองเท่านั้นที่จะนําไปสู่ความสําเร็จในการบริหาร ชุมชนเมือง กล่าวคือ เมืองที่ประชาชนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมของส่วนรวม รวมไปถึงการ ตรวจสอบติดตามการทํางานของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในลักษณะการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance)

ระบบการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนสําคัญในการกําหนดแนวทางและวิธีการ ซึ่งอาจได้รับการ สนับสนุนจากภายนอกจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมเพราะได้สร้างให้เกิดความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง ของชาวชุมชนเมืองโดยแท้จริง โดยจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สําคัญหลายด้าน เช่น

1. ด้านเกียรติภูมิและสิทธิของประชาชน (Right and Dignity) คือ การให้สาธารณชน ได้ตัดสินใจบริหารงานอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติและความลําเอียง ตลอดจนบริหารงานโดยยึดหลัก กฎหมาย และต้องพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบผ่านกระบวนการกลไกการปกครอง ทั้งนี้เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และเกียรติภูมิของชาวเมืองโดยสามารถตรวจสอบการบริหารนั้นได้ซึ่งเป็นการให้สิทธิและคํานึงถึงศักดิ์ศรี

2. ด้านความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) คือ การบริหารงานนั้น ต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนในทุกขั้นตอนของการดําเนินงาน ทั้งการอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือบริหารงานบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ซึ่งการบริหารงานนั้นจะต้องเป็นไปโดยเปิดเผย ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ในขณะที่ทุกฝ่ายต่างก็มีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

3. ด้านความมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือ สามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาและเสนอทางออกให้กับประชาชนได้ รวมทั้งต้องบริหารงานด้วยความคุ้มค่าคือ การใช้ทุนน้อยแต่สามารถบรรลุมาตรฐานด้านต่าง ๆ ตามที่ประชาชนชาวเมืองต้องการ โดยมุ่งสร้างหรือยกระดับ มาตรฐานชีวิตของประชาชน หรือตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของคนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและ เพียงพอ เช่น ความต้องการอาหารที่เพียงพอ อากาศที่บริสุทธิ์ น้ําสะอาดเพื่อการบริโภค ที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่ม ที่น่าพอใจ ความต้องการมีสุขภาพอนามัยที่ดี เป็นต้น

จุดเริ่มต้นในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองจะเริ่มต้นที่การวางแผน และการมีแผนเพื่อให้เป้าหมายที่มนุษย์ต้องการอยู่ในสังคมชุมชนเมืองได้รับการตอบสนอง ซึ่งในการบริหารชุมชนเมืองนิยมเรียกโดยรวมว่า “แผนหรือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง” ภายใต้ชื่อที่หลากหลาย เช่น แผนพัฒนา (Development Plan), แผนเมือง (Urban Plan), แผนแม่บท (Master Plan), แผนทั่วไป (General Plan) เป็นต้น แต่การบริหารชุมชนเมืองมักจะเน้นหนัก แผนกายภาพที่เรียกว่า ผังเมือง (City Plan) และแผนจัดการการเจริญเติบโต (Growth Management Plan)

การบริหารชุมชนเมืองที่ดีจะมีแผนภารกิจ (Action Plan) หรือแนวทางที่ชัดเจนเพื่อมารองรับ กิจกรรมการบริหารชุมชนเมืองให้ได้ผล เช่น

1. การออกแบบเมือง (Urban Design) เป็นการสร้างวิสัยทัศน์ของเมืองหรือสร้างสรรค์ ให้เกิดสภาพเมืองที่พึงปรารถนา โดยคํานึงถึงปัจจัยที่สําคัญในด้านความสวยงามน่าชวนมอง คุณค่าด้านจิตใจ เอกลักษณ์ที่โดดเด่น และศักยภาพดั้งเดิมเป็นสําคัญ ซึ่งถือเป็นขั้นการผลักดันให้เกิดแนวคิดและวิสัยทัศน์ของคน ในชุมชน

การทําให้เป้าหมายหรือแนวคิดของการออกแบบเมือง ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม ที่สวยงามให้คนภายนอกมองเห็นได้นั้น ต้องมีการวางภูมิทัศน์ของเมือง (Cityscape) ด้วยการสร้างรูปลักษณ์ ของเมืองตามที่ได้รับเอาแนวคิดต่าง ๆ มาใช้กําหนดเป็นทิศทางและลักษณะของเมือง ซึ่งจะปรากฏออกมาเป็น แนวทางในการก่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะ ถนนหนทาง และที่ตั้งของสิ่งอํานวยความสะดวกในเมือง เป็นต้น

2. แผนเมือง (City Plan) จะชี้ให้เห็นถึงแนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของเมืองนั้น ๆไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยส่วนร่วมก็จะมีแนวคิดพื้นฐานเพื่อสร้างให้เมืองนั้นมีความสะดวกสบายน่าอยู่อาศัยหรือสร้างให้ผู้คนมีความหวังและสามารถมองไปในอนาคตได้ ซึ่งแผนเมืองนี้อาจจะกําหนดเป็นแผนแม่บทหรือ แผนหลัก (Master Plan) ที่จะเป็นกรอบหรือแนวทางไปสู่การวางแผนปฏิบัติ หรือนโยบายในการวางแผนเมือง (City Planning Politics) ต่อไป ซึ่งได้แก่

1) แผนในภาพรวม อาจจะต้องอาศัยทิศทางและความสอดคล้องในระดับกว้าง เช่น แผนภูมิภาคหรือแผนระดับประเทศที่ต้องอาศัยความเกี่ยวพันและการตัดสินใจ และความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นไม่เฉพาะเมืองนั้นเมืองเดียว

2) การผังเมืองและการวางแผนการใช้พื้นที่ ดําเนินการโดยอาศัยกฎหมายการผังเมือง และการบริหารงานในเชิงนโยบาย จนกลายเป็นผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) หรือผังเมืองเฉพาะ (Specific Plan)

– ผังเมืองรวม คือ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการให้ เกิดขึ้นบนพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของท้องถิ่นในอนาคต

– ผังเมืองเฉพาะ เป็นผังที่จัดทําขึ้นหลังจากมีผังเมืองรวม มีความละเอียด มากกว่าผังเมืองรวม และจะจัดทําในพื้นที่บางส่วนของผังเมืองรวม ซึ่งเป็น พื้นที่ที่มีความสําคัญสูง หรือมีความจําเป็นสูงที่จะต้องสงวนรักษา เช่น พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางสภาพแวดล้อม หรือพื้นที่ธุรกิจการค้า เป็นต้น

3. การวางแผนด้านอื่น ๆ เป็นการวางแผนที่อาจผสมผสานการวางแผนในเชิงกายภาพ และในเชิงการบริหาร เช่น การวางแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจ, การวางแผนทิศทางการเจริญเติบโตของเมือง การวางแผนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ข้อ 7. การจัดการภัยพิบัติมีความสําคัญอย่างไรต่อการบริหารชุมชนเมือง จงอธิบายกรอบการจัดการ ภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย หรือสาธารณภัยใด ๆ ในชุมชน เช่น ในห้างสรรพสินค้า มาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

ความสําคัญของการจัดการภัยพิบัติต่อการบริหารชุมชนเมืองการจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ การรับมือ ในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ ช่วยชีวิตและฟื้นฟูบูรณะหลังเหตุการณ์ ซึ่งในอดีตการจัดการภัยพิบัติมักเน้น เรื่องการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันแนวโน้มของการจัดการภัยพิบัตินั้นจะมีลักษณะของ การเตรียมการเชิงรุกมากขึ้น โดยดําเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่จะ เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ รวมทั้งมีมาตรการที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นการวางแผน เพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และหลังจากที่เกิดภัยพิบัติแล้ว

กรอบการจัดการภัยพิบัติ มีดังนี้

1. เข้าถึงข้อมูลรายละเอียดที่เป็นจริง
2. พึ่งออกแบบการจัดการให้สามารถรับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจากการวางแผนไว้
3. บูรณาการแผนการจัดการน้ำท่วมให้สอดคล้องเข้ากับแผน/โครงการของการบริหารชุมชน
4. มีกลยุทธ์/มาตรการที่หลากหลายที่เกื้อกูลกันและจัดการอย่างสมดุล
5. คํานึงถึงความเหมาะสมทุกพื้นที่ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ
6. มาตรการทางวิศวกรรมที่ออกแบบมาอาจสําเร็จหรือล้มเหลว หรือไม่ได้ผลทั้งหมด แต่ก็ ย่อมดีกว่าไม่มีมาตรการใด ๆ
7. มาตรการจัดการอุทกภัยต้องใช้เป็นเครื่องมือที่มาเสริมแผนบริหารเมือง
8. คํานึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ/สังคมในวงกว้าง
9. ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน
10. ขั้นตอนการปฏิบัติจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
11. การทํางานจําเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารและการกระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่อง
12. ควรมีแผนในการฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งในระยะยาว

แนวทางการจัดการภัยพิบัติสําหรับปัญหาอุทกภัย ได้แก่

1. การวางแผนบริหารจัดการอุทกภัย

ชุมชนเมืองมักจะประสบปัญหาน้ําท่วมเป็นประจําทุก ๆ ปี เนื่องจากชุมชนเมืองส่วนใหญ่ มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นทางผ่านของแม่น้ําและลําคลองจํานวนมาก และได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวเมือง ทําให้กลายเป็นแหล่งธุรกิจและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลและการระบายน้ําออกจากพื้นที่ แม้ปริมาณน้ําที่เกิดจากฝนตกหนักในเขตพื้นที่ตัวเมืองจะมีการท่วมขังอยู่บ่อยครั้งก็ตาม ด้วยสรรพกําลังและ ความสามารถในการระบายน้ําของหน่วยงานที่มีอยู่ก็ย่อมจะทําให้คลี่คลายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากเป็นลักษณะ ของมวลน้ํามหาศาลที่ไหลบ่ามาจากนอกพื้นที่โดยเฉพาะผ่านทางลําคลองที่มีอยู่รอบด้าน ก็จะเป็นการยากที่จะ
สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ จึงจําเป็นต้องนําไปสู่การกําหนดนโยบายและการวางแผนการจัดการปัญหา อุทกภัยและภัยพิบัติในด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ แนวทางการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อมในการ รับมือ การเตรียมความพร้อมสําหรับการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงแผนการจัดการหลังจากเกิดภัยพิบัติ ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว เช่น การดําเนินการลอกท่อระบายน้ําในเขตชุมชน ขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ํา สาธารณะ รวมทั้งกําจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ําเพื่อให้สามารถระบายน้ําออกจากพื้นที่อุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน เป็นต้น

2. การสร้างคันกั้นน้ำถาวร

พื้นที่ที่ติดแม่น้ําส่วนใหญ่ยังไม่มีแนวคันกั้นน้ําที่ได้มาตรฐาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง สําคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ดํารงชีวิตและอาศัยอยู่ริมแม่น้ํา อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวถือว่าเป็น โครงการที่มีงบประมาณมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจํานวนมาก ซึ่งจะต้องมีการสํารวจผลกระทบที่จะเกิดต่อชุมชน รวมถึงจะต้องเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจผ่านทางการทําประชาพิจารณ์
และการตรวจสอบความโปร่งใสในการดําเนินการทุกขั้นตอนเสียก่อน เพราะอาจกลายเป็นปัญหากับท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงได้

3. การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

การแก้ไขปัญหากับภัยน้ําท่วมนั้นมีความจําเป็นในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อผนึกกําลังต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลที่พร้อมจะเข้าโจมตีเมือง นั่นคือ การขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการในจังหวัด เพื่อดําเนินการ ฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการเตรียมรับมือกับสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด รวมไปถึงการขอ ความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เครื่องสูบน้ำ อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่สําคัญ

นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ภาคเอกชนนับเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาท สําคัญในการสนับสนุนยุทธปัจจัยในการต่อสู้กับมวลน้ําที่มีปริมาณมหาศาลนี้ ด้วยการสนับสนุนหลายช่องทาง เช่น บริจาคทราย ถุงบรรจุกระสอบทราย เป็นต้น รวมไปถึงสื่อมวลชนที่มีการติดตามและรายงานสถานการณ์ ช่วงเกิดภัยน้ําท่วมอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

การสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการบริหารจัดการน้ํานั้น แม้จะมีระบบ บริหารจัดการที่ดีเพียงใด ย่อมบรรลุผลได้ยาก หากไม่สามารถจัดการคนได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการความขัดแย้ง และการเฝ้าระวังการพังคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมากในการสร้างความเข้าใจระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับ พื้นที่เหนือแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงการมีมิตรไมตรีที่ดีของผู้อยู่เหนือแนวคันกั้นน้ำในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการสร้างสิ่งอํานวยความสะดวก เช่น สะพาน การจัดส่งอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ กรณีที่ประชาชนไม่ย้ายเข้าศูนย์อพยพ

นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครหรือกลุ่มจิตอาสาจํานวนมากที่จะเข้าร่วมช่วยเหลือ ทั้งใน เรื่องการกรอกกระสอบทราย การทําอาหาร หรือการจัดกิจกรรมคลายเครียดในศูนย์พักพิงนั้นด้วย

4. การจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราว

การจัดเตรียมศูนย์พักพิงเพื่อรองรับกับผู้ประสบภัยจะต้องคํานึงถึงวิถีชีวิตความรู้สึกที่มีต่อชุมชน และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ด้วยเป็นสําคัญ โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ คือ การตั้ง ศูนย์พักพิงขนาดเล็กในพื้นที่ขึ้น นอกจากจะทําให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังทําให้ การบริการมีความใกล้ชิด เป็นกันเอง สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่เป็นสําคัญ โดยอาจจะอาศัย สถานที่ที่มีความเป็นสาธารณะและผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด อาคารหน่วยงานราชการในพื้นที่ เป็นต้น

ปัญหาสาธารณภัยใด ๆ ในห้างสรรพสินค้า

ภัยพิบัติในห้างสรรพสินค้า ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณภัยในชุมชนอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ประชาชนมักมีการพูดถึงอย่างมากในเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยที่เกิดจาก “อัคคีภัย”

การป้องกันอัคคีภัยในอาคาร เป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากเหตุเพลิงไหม้ที่เป็นผลมาจากความประมาท ไฟฟ้าลัดวงจร หรือเหตุอื่นใดที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างอาคารจะต้องคํานึงถึงกฎหมายควบคุมอาคาร และข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ให้ความสําคัญกับการออกแบบและการก่อสร้างอาคารที่คํานึงถึงเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะอัคคีภัย ในขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ทําการกําหนดมาตรฐานการก่อสร้างอาคารที่เน้นไปที่การลดความเสี่ยงจากอัคคีภัย โดยกําหนดให้อาคารแต่ละลักษณะจัดให้มีอุปกรณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในอาคาร

ในปัจจุบันนั้นพบว่า การจัดการสาธารณภัยได้ให้ความสําคัญกับช่วงเวลาในการเข้าถึงพื้นที่ประสบเหตุ หากหน่วยงานด้านการกู้ชีพกู้ภัยสามารถเข้าถึงที่เกิดเหตุได้เร็ว ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการจัดการ สาธารณภัยได้อย่างทันท่วงที ทําให้ปัจจุบันให้ความสําคัญกับการเข้าถึงพื้นที่ประสบเหตุให้เร็วที่สุด เพื่อลด ผลกระทบ ลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้การเข้าถึงพื้นที่ประสบเหตุนั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของ กิจกรรม การจราจร ความเสี่ยงของพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว เป็นต้น ซึ่งทําให้การเข้าถึงพื้นที่ประสบเหตุอาจเกิด ความล่าช้า ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้การเตรียมความพร้อมในการรับมือหรือการออกแบบห้างสรรพสินค้าจึงเป็นสิ่ง ที่ควรคํานึงถึง กล่าวคือ ความเสี่ยงและความปลอดภัยของอาคารจะช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น และช่วยให้ การดําเนินภารกิจของเจ้าหน้าที่ในกรณีที่เกิดอัคคีภัย สามารถรับมือและจัดการได้ทันท่วงทีมากขึ้นนั่นเอง

สําหรับรายละเอียดในส่วนนี้จะให้ความสําคัญกับลักษณะการใช้งานของอาคารในแต่ละประเภท ที่ควรมีการจัดเตรียมระบบการป้องกันอัคคีภัยและเป็นส่วนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนําไปใช้ประกอบ ควบคู่กับมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและกฎหมายในการควบคุมอาคาร ทั้งนี้เพื่อใช้ในการตรวจสอบอาคารใน เขตพื้นที่ เพื่อลดความเสี่ยงจากอัคคีภัย และเป็นการป้องกันและลดผลกระทบ ดังนั้นห้างสรรพสินค้าควรจัดให้มี บันไดหนีไฟและระยะห่างให้เหมาะสม ช่องลิฟต์ และระบบต่าง ๆ ภายในอาคาร พร้อมทั้งคําแนะนําในการปฏิบัติ ของผู้ที่อยู่ในอาคารจากเจ้าหน้าที่ของห้างสรรพสินค้า เนื่องจากผู้ที่อยู่ภายในอาคารอาจไม่คุ้นชินหากเกิดอัคคีภัย ขณะเดียวกันควรมีการติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ หรือสัญญาณเตือนเหตุเพลิงไหม้ด้วย

นอกจากนี้ เรายังพบว่ามีภัยพิบัติอีกอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในห้างสรรพสินค้า นั่นคือ ภัยจาก “การก่อวินาศกรรม” ซึ่งถือเป็นภัยที่เกิดจากการกระทําใด ๆ อันเป็นการมุ่งทําลายทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวน ขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว ระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยมุ่งหมาย ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ โดยภัยจากการก่อวินาศกรรมนั้นยังมีความหมายรวมไปถึง ภัยจากการก่อการร้าย และภัยจากการก่อการร้ายสากล โดยภัยจากการก่อการร้ายนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทําใด ๆ ที่สร้างความปั่นป่วนให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเพื่อขู่เข็ญหรือบีบบังคับรัฐบาล หรือองค์การระหว่างประเทศให้กระทําหรือละเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินที่สําคัญส่วนภัยจากการก่อการร้ายสากลนั้นเป็นภัยที่เกิดจากการปฏิบัติการของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มุ่งหวังผลตาม เงื่อนไขข้อเรียกร้องทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่วนใหญ่จะปฏิบัติการล่วงล้ําเขตแดน หรือเกี่ยวพันกับ ชาติอื่น การกระทํานั้นอาจเป็นไปโดยเอกเทศ โดยปราศจากการสนับสนุนจากรัฐใด ๆ หรือมีรัฐใดรัฐหนึ่ง สนับสนุนรู้เห็นก็ได้ เมื่อเกิดขึ้นย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อผลประโยชน์ของชาติ พันธกรณีระหว่างประเทศนโยบายของชาติทั้งด้านการเมืองและการป้องกันประเทศ การเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของชาติ

ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นใน ส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ควรต้องร่วมมือกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมา

ข้อ 8. การเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์ (Non-Motorized Vehicle) ซึ่งกําลังเป็นที่นิยมในเมือง ต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว คืออะไร ทําได้อย่างไร และมีเป้าหมายเพื่อการใด จงอธิบายโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ

การเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์ (Non-Motorized Vehicle) เป็นวิธีการเดินทาง ด้วยพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ไม่มีเครื่องยนต์ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนติดไว้ถาวรหรือชั่วคราวในตัว โดยที่บุคคลหรือสิ่งของจะถูกเคลื่อนย้ายไปโดยการขับเคลื่อนด้วยพลังกล้ามเนื้อของมนุษย์ ซึ่งการเดินทางในรูปแบบดังกล่าวนี้กําลังเป็นที่นิยมในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน การใช้สเก็ตบอร์ด การใช้รองเท้าติดล้อ การใช้รถเข็น เป็นต้น

แนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์

1. แนวทางหรือมาตรการสําหรับการดําเนินการด้านการให้ความรู้หรือการศึกษา (Education) ตัวอย่างเช่น โครงการอบรมการขี่จักรยานโดยชมรมจักรยาน การจัดทําวารสารที่เกี่ยวข้องกับ จักรยานให้ผู้ใช้จักรยานได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจักรยาน เว็บบอร์ดสําหรับแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการใช้จักรยาน โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้จะช่วยให้ความรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการ ใช้จักรยานระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการปรับทัศนคติในแง่ลบที่มีต่อการใช้จักรยานได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

2. แนวทางหรือมาตรการสําหรับการดําเนินการด้านการส่งเสริมและรณรงค์ (Encouragement) จากการทบทวนตัวอย่างในเมืองต่าง ๆ พบว่ามีแนวทางที่หลากหลายและแตกต่างกัน ออกไป ทั้งในแง่ของการโฆษณา และในแง่ของกิจกรรมที่แสดงจุดยืนของความต้องการในการใช้จักรยานต่อที่ สาธารณะ ตัวอย่างเช่น หลักการ 4 E ซึ่งประกอบด้วย Engineering (การดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้าน วิศวกรรมทั้งการวางแผนและการก่อสร้าง), Education (การดําเนินการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ใช้ทาง) Enforcement (การดําเนินการทางด้านกฎหมาย และการควบคุมผู้ใช้ถนนให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้) และ Encouragement (การรณรงค์ให้คนในพื้นที่และผู้ใช้ทางเห็นถึงความสําคัญ และร่วมแรงร่วมใจในการ ปฏิบัติ) เป็นต้น

3. การพัฒนาโครงข่ายจักรยานและโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมความต้องการ (Engineering) จากการทบทวนเมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศที่ประสบความสําเร็จในการส่งเสริมวัฒนธรรม จักรยานพบว่า การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานและโครงสร้างพื้นฐานเป็นงานเริ่มต้นงานแรกที่สําคัญที่ทุกเมือง ดําเนินการ ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ไม่ว่าแต่ละเมืองจะมีปัจจัยทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพจราจร และวัฒนธรรม ที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม เมืองที่สามารถพัฒนาโครงข่ายจักรยานที่สมบูรณ์เชื่อมโยงการเดินทางทั้งเมืองพร้อมกับมีปัจจัยอํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้จักรยาน ย่อมมีความเป็นไปได้สูงในการผลักดันวัฒนธรรมจักรยาน

4. การบังคับใช้มาตรการทางด้านกฎหมาย (Enforcement) จากการทบทวน มาตรการ บังคับทางกฎหมายพบว่า เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยคืนพื้นที่ให้แก่ทางจักรยาน รวมถึงช่วยเพิ่มความ ปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้จักรยานบนท้องถนน ทั้งนี้จากการทบทวนมาตรการบังคับทางกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันบางมาตรการประสบความสําเร็จในการช่วยเพิ่มจํานวนผู้ใช้จักรยาน แต่ในขณะที่บางมาตรการส่งผลกระทบน้อยมาก
ต่อการพัฒนาวัฒนธรรมจักรยาน โดยมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมจักรยานที่พบใน ปัจจุบัน เช่น มาตรการจํากัดความเร็วในการเดินทาง การห้ามรถเข้าพื้นที่หรือการเก็บค่าธรรมเนียม การเข้า พื้นที่หรือใช้ถนน (Road Pricing) เป็นต้น

เป้าหมายของการเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์
1. เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อแก้ปัญหาความแออัดของรถบนท้องถนน และความล่าช้าของจราจรโดยยานยนต์
3. เพื่อลดการใช้พลังงานหรือปริมาณน้ํามัน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
4. เพื่อลดมลภาวะมลพิษทางอากาศ ทําให้ออกซิเจนในอากาศสูงขึ้น
5. เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่กําลังจะหมดไป โดยเฉพาะน้ํามันและถ่านหิน
6. เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) อันเป็นสาเหตุทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
7. เพื่อส่งเสริมการใช้พื้นผิวจราจรได้หลากหลายกว่าการเดินทางโดยยานยนต์
8. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออกกําลังกายโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน และทําให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส เป็นต้น

ข้อ 9. การจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สําคัญอย่างไร จงอธิบายให้ละเอียดตามหลักวิชาการ ?

แนวคําตอบ

การจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง ถือเป็นกระบวนการที่นําไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานการขนส่ง ซึ่งในกระบวนการนี้ผู้วางแผนจะพัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของแนวทาง การกระทําที่เกี่ยวข้องกับการบริการขนส่ง การเปิดตัวรูปแบบใหม่ของการขนส่งสาธารณะ หรือการพิจารณา เงื่อนไขข้อจํากัดที่มีอยู่ เช่น พื้นที่เมือง ที่จอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนองตอบวัตถุประสงค์พื้นฐานของการขนส่งซึ่งก็คือ การจัดวางระบบเคลื่อนรถและคนที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ซึ่งจําเป็นต่อการรองรับความ
ต้องการของมนุษย์ในวงกว้างสําหรับกลุ่มสังคมที่หลากหลาย

วัตถุประสงค์ของการจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง

1. เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการเร่งระบายการจราจร
2. เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. เพื่อความปลอดภัยและประหยัด
4. เพื่ออํานวยความสะดวกในการขนส่ง
5. เพื่อควบคุมทิศทางการระบายรถและคน
6. เพื่อกําหนดแนวทางการจัดการจราจรเพื่อการขับขี่ปลอดภัย

เป้าหมายของการจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง

1. เพื่อกําหนดพื้นที่ (Zone) ของเมืองว่ามีกิจกรรมอะไร จะเชื่อมโยงกันโดยวิธีใดระหว่างหรือภายในพื้นที่ และมีจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นทางหลักไปที่อื่นอย่างไร
2. เพื่อทําการศึกษาเฉพาะภายในแต่ละพื้นที่ที่มีกิจกรรมต่างกันไป ทั้งนี้เพื่อทราบประเภท ของผู้คน การเดินทาง จํานวน ขนาด และเวลาในการเดินทาง
3. เพื่อทําการศึกษาระยะเวลาในการเดินทาง ซึ่งเป้าหมายหนึ่งของการเดินทางที่สําคัญก็คือความรวดเร็ว ดังนั้นหากการจัดการจราจรและการขนส่งในเมืองโดยขาดเป้าหมาย ด้านนี้หรือด้านอื่น ๆ แล้วก็อาจจะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน
4. เพื่อพยากรณ์สภาพการจราจรและการขนส่งในอนาคต โดยศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะ เป็นตัวกําหนดการจราจรและการขนส่ง
5. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมการเดินทางของผู้คน ต้องมีการสํารวจโดยละเอียด จําแนกออกไปตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา การทํางาน เป็นต้น
6. เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของการเดินทางของผู้คนในเมือง รวมไปถึงการกระจายตัวของการขนส่งในเมือง
7. เพื่อวิเคราะห์โครงข่ายโดยรวมของเมือง
8. เพื่อสร้างแบบจําลองการเดินทางและการขนส่ง โดยคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 9. เพื่อประเมินผลและเปรียบเทียบทางเลือกในแต่ละวิธีถึงผลได้ผลเสีย

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมี 10 ข้อ แต่ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายมุมมองต่อ “เมือง” ในทางทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ มา 3 ทฤษฎี พร้อมทั้งอธิบาย ขยายความโดยละเอียดในแต่ละทฤษฎี ?

แนวคําตอบ

มุมมองต่อ “เมือง” ในทางทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ

1. แนวความคิดในทางเศรษฐศาสตร์

กระบวนการในการเกิดขึ้นของเมืองในทางเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวโยงกับกระบวนการ หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจชนบทไปเป็นเศรษฐกิจเมืองทางโครงสร้างของสังคมที่ก่อให้เกิดพลวัต
ในแง่ของการแปลงสภาพ ประชากร กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจชนบท ไปสู่ฐานะของเศรษฐกิจเมือง เช่น

1) การใช้แรงงานเข้มแข็งขึ้นและมีความเป็นปัจเจกภาพสูง
2) มีการกระจุกตัวของแรงงานมากขึ้น
3) มีความชํานาญในการผลิตสินค้าและบริการค่อนข้างสูง
4) มีการพึ่งพาต่อกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด
5) มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และลักษณะของการประกอบการใน ระดับสูง
6) ความหนาแน่นของประชากรทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสําคัญที่จะเกิดขึ้นในแง่ความเป็นเมือง คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเนื่องจากการเกิดความชํานาญ การแบ่งงานกันทําตามความสามารถเฉพาะ การใช้ทุนเข้มข้นในการผลิตและใช้เทคโนโลยี ตลอดจน ประดิษฐกรรมที่ทันสมัย ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระบวนการเกิดเป็นเมืองซึ่งเป็นกระบวนการที่ ควบคู่กัน

2. แนวความคิดของนักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา มองว่าระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และ ความผูกพันร่วมกัน (Common Ties) กล่าวคือ ในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กันทาง สังคมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง

ผลผลิตของชุมชนหรือสังคม ซึ่งได้แก่

– การกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization)
– การควบคุมทางสังคม (Social Control)
– การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)
– การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)
– การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน (Production Consumption-Distribution)

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรมนั้น คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้ ทั้งนี้เพราะเกิดความรู้สึกมั่นคงในการมีที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอม ทางค่านิยมของกฎเกณฑ์และเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งกระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติ ดังกล่าวก็คือ ความเป็นเมืองนั่นเอง

3. แนวความคิดของนักมานุษยวิทยา

นักมานุษยวิทยา มองว่ากระบวนการสร้างความเป็นเมือง (Urbanization) เป็นรูปหนึ่งของกระบวนการปรับตัวของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นรูปแบบที่สําคัญที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้น การปรับตัวจึงเป็นความสําเร็จอย่างหนึ่งของกลุ่ม และความสําเร็จนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ว่าจะเป็นไปได้ดีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องอาศัยความกลมกลืนกันระหว่างปัจจัยในด้านต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ปมในเชิงนิเวศวิทยา” (Ecological Complex) ซึ่งจะประกอบด้วย

1) ปัจจัยด้านประชากร (Population) โดยมีปัจจัยด้านโครงสร้างของประชากรที่มีผลต่อกระบวนการเป็นเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะชี้ให้เห็นมิติของประชากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพตลอดจนการกระจายตัวหรือโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยลักษณะของคนในแต่ละช่วงอายุ เช่น คุณภาพการศึกษา ทักษะการทํางาน อาชีพ จํานวน การพัฒนา และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งจะส่งผลถึง ปัจจัยด้านอื่น ๆ

2) ปัจจัยด้านการจัดองค์กร (Organization) โดยมีมิติที่จะพิจารณาได้ในเรื่องนี้ ได้แก่ แบบขององค์กรสภาพแวดล้อม จํานวนสมาชิก ความสามารถ ผู้นํา เทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนความร่วมมือ ร่วมใจตามแนวคิดของประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อสภาพของชุมชนและสังคมนั้น ๆ

3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อสังคม และชุมชนในแง่ของพฤติกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในแต่ละระดับนั้นอาจพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางด้านธรรมชาติ และปัจจัยแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพิจารณาในแง่ปัจจัยเอื้อหรือไม่เอื้อต่อชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ

4) ปัจจัยด้านเทคนิควิทยาการ (Technology) เป็นปัจจัยสําคัญที่มนุษย์จะสามารถ เอาชนะธรรมชาติได้ และสามารถแข่งขันท่ามกลางภาวะที่จํากัดในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ ประดิษฐกรรมและนวัตกรรมของสังคม

ข้อ 2. จงอภิปรายในหัวข้อ “เมือง ในอุดมคติของข้าพเจ้า” ?

แนวคําตอบ

เมืองในอุดมคติของข้าพเจ้า มีลักษณะที่สําคัญดังนี้

1. มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ไม่มีความเหลื่อมล้ําของประชาชน ในการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ บริการโทรคมนาคม ฯลฯ

2. มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาสภาพแวดล้อมในพื้นที่เมืองให้มีความน่าอยู่ปลอดภัย และมีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

3. มีการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจและโครงสร้างทาง สังคมและประชากรในพื้นที่ โดยเฉพาะรองรับประชากรผู้สูงอายุที่มีจํานวนมากขึ้นในอนาคต

4. มีการเฝ้าระวังและบูรณาการในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน น้ํา ไฟฟ้า รวมถึงถนนหนทาง สะพาน อุโมงค์ รถไฟ รถไฟฟ้าใต้ดิน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน การสื่อสาร ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อใช้ทรัพยากรเหล่านี้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด

5. มีการวางแผนกิจกรรมการบํารุงรักษาเชิงป้องกันและเฝ้าระวังในมิติด้านความปลอดภัย ขณะที่ให้บริการอย่างดีที่สุดแก่ประชาชน

6. มีการจัดระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด ปลอดภัย และยั่งยืน โดยการเคลื่อนย้ายแบบความเร็วสูง เช่น รถไฟใต้ดิน รถไฟรางเบา รถไฟฟ้ารางเดี่ยว ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อ ให้เกิดการเข้าถึงของประชาชนได้อย่างทั่วถึง และในระยะยาวต้องพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงการบริการของระบบขนส่งและเครือข่ายของโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นระหว่างเมืองศูนย์กลางทั่วประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ

7. มีการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เช่น การติดตามเฝ้าระวังเรื่องมลพิษ สร้างสังคม คาร์บอนต่ํา ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการนําวัตถุดิบกลับมาใช้ซ้ำ ฯลฯ มีระบบการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา น้ำเสีย การระบายน้ำตามธรรมชาติ น้ำท่วม รวมไปถึงการอนุรักษ์น้ำ และลดปริมาณการใช้น้ำโดยไม่จําเป็น

8. มีระบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดปริมาณขยะ และจัด หมวดหมู่ประเภทของขยะที่แหล่งกําเนิดขยะ ให้ประชาชนชาวเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด โดยภาคการศึกษา จะต้องมีบทบาทสําคัญในการปลูกจิตสํานึกในเรื่องดังกล่าวให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งขณะเดียวกัน ในส่วนของภาคกฎหมายจะต้องออกกฏที่เข้มงวด และเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลงโทษผู้ละเมิด
หรือฝ่าฝืน

9. ประชาชนชาวเมืองสามารถเข้าถึงการบริการทางสุขภาพคุณภาพดี รวมถึงการติดตามสุขภาพประชาชนในระยะไกล และมีการจัดการเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

10. มีการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม วิถีการดํารงชีวิต มีเอกลักลักษณ์

11. มีชุมชน องค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง และเกื้อกูลกัน

12. มีกลไกเพื่อระดมความคิดเห็น ประสบการณ์ และทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ เป็นต้น

ข้อ 3. “เมือง” และ “ชุมชนเมือง” คืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร จงอธิบายโดยทําให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ และจินตนาการที่ชัดเจนได้ ?

แนวคําตอบ

เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (เช่น บ้านเรือน) มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนน)
– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ใน ระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม
– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง
– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย
– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี
– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและ ป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน
– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภคอุปโภค อย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจน เป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

ชุมชนเมือง (Urban Community) หมายถึง ชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนทุกสถานะ ทั้งคนรวยและคนจนรวมกันอยู่อย่างแออัดในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างจากสังคมในชนบท
และเนื่องจากการที่ชุมชนเมืองจะประกอบไปด้วยผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีจํานวนจํากัด คนในชุมชนเมือง จึงมักจะมีความเป็นอยู่หนาแน่น จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะมีปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

สาเหตุของการเกิด.

1. ในแง่การผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรม เมืองหลายเมืองได้กลายมาเป็นเมืองมหานคร โดยมีจุดเริ่มและก่อกําเนิดมาจากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหรือเป็นเมืองหลวง (เช่น กรุงเทพฯ, จากาตาร์, เม็กซิโก ซิตี้ ฯลฯ) หรือเป็นเมืองใหญ่ริมชายฝั่งทะเล (เช่น กัลกัตตา, เซาเปาโล, เซี่ยงไฮ้ ฯลฯ) ซึ่งการ รวมตัวเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นกลุ่มก้อนดังกล่าวจะช่วยเอื้อให้เกิดความประหยัดหรือการขาดแคลนในด้านแรงงาน วิทยาการความรู้ การบริการธุรกิจการเงิน การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการขนส่ง

2. ในทางสังคมวิทยานั้น พบว่าการรวมกันเข้าเป็นชุมชนเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมในสังคมเป็นตัวกําหนด ซึ่งแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้าน เมือง นคร ตามลําดับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การบริการ การค้า การลงทุน ประกอบการ การดําเนินกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่มีทั้งแรงผลักแรงดันระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท ดังนั้นความต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมืองจึงเป็นความคาดหวังว่า จะมีชีวิตที่ดีกว่าของมนุษย์

3. ความเป็นชุมชนเมืองไม่มีหลักเกณฑ์ของจํานวนเลขที่แน่ชัดมากําหนดว่ามีจํานวนเท่าใด สิ่งนี้จะแปรตามหรือขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศจะกําหนดขึ้น เช่น การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสองชุมชน หากชุมชนหนึ่งมีประชากรเป็น 50 เท่าของอีกชุมชนหนึ่ง จะถือว่าชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมือง ส่วนอีกชุมชนหนึ่ง เป็นชุมชนชนบท เป็นต้น

ข้อ 4. จงอธิบายสาระสําคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน มาโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ

การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นแนวทางของการพัฒนาที่ตอบสนอง ความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง ซึ่ง การบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนจะมีองค์ประกอบที่สําคัญ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความครอบคลุมทางสังคม
และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 ณ สํานักงานใหญ่สหประชาชาติ ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ร่วมลงนาม รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งเป็นกรอบการ พัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกําหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดําเนินการร่วมกัน

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มี 17 เป้าหมาย คือ

1. การขจัดความยากจนทุกรูปแบบ
2. การขจัดความหิวโหย การบรรลุความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
3. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4. การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. การบรรลุความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ การเพิ่มพลังสตรีและเด็กหญิง
6. การเข้าถึงการใช้น้ําสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี
7. การเข้าถึงพลังงานที่มั่นคงและสะอาด
8. การมีงานที่มีคุณค่าเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
9. การส่งเสริมอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
10. การลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
11. การตั้งถิ่นฐานและชุมชนอย่างยั่งยืน
12. การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
13. การเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
14. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
15. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนบกและรักษาระบบนิเวศ
16. การสร้างสังคมสันติสุข ยุติธรรม และมีสถาบันทางสังคมที่มีความเข้มแข็ง
17. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกระดับในการบรรลุถึงเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ของโลก

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมืองและชุมชนนั้นจะปรากฏอยู่ในเป้าหมายที่ 11 คือ การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน นั่นก็คือ การทําให้เมืองมีความครอบคลุมปลอดภัย เข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งมีเป้าหมายโดยรวม ในการยกระดับที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด การขนส่งอย่างยั่งยืน การวางแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มรดกทาง วัฒนธรรม การสร้างความเข้มแข็งเพื่อรองรับประเด็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง รวมไปถึงการบรรเทาทุกข์ จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว ตลอดจนการสร้างอาคารที่ยั่งยืน เป็นต้น ดังนั้น การทําให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืนจึงหมายถึง การสร้างหลักประกันในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและราคา ที่เหมาะสม รวมทั้งการยกระดับที่อยู่อาศัยชุมชนแออัด การลงทุนเรื่องการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สีเขียว สาธารณะ การปรับปรุง การวางผังเมืองและการจัดการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนนั่นเอง

นอกเหนือจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย ยังประกอบไปด้วย 169 เป้าหมายย่อย (SDG Targets) ที่มีความเป็นสากล เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน และกําหนดให้มี 247 ตัวชี้วัด เพื่อใช้ติดตามและ ประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดยสามารถจัดกลุ่ม SDGs ตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ ซึ่งได้แก่

1. การพัฒนาคน โดยให้ความสําคัญกับการขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหย และลดความเหลื่อมล้ํา
2. สิ่งแวดล้อม โดยจะให้ความสําคัญกับการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป
3. เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสอดคล้องกับธรรมชาติ
4. สันติภาพและความยุติธรรม โดยยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุข และไม่แบ่งแยก
5. ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา และความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระ การพัฒนาที่ยั่งยืน

ข้อ 5. จงวิเคราะห์สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกพร้อมกับอธิบายถึงผลกระทบตลอดจนแนวทางแก้ไข ประกอบกับตัวอย่างไม่น้อยกว่า 5 ข้อ ?

แนวคําตอบ

สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (UN) พบว่าในปี พ.ศ. 2561 ประชากรในเขตเมืองนั้น มีมากกว่าในชนบท โดยมีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณร้อยละ 55 ของประชากรโลก ซึ่งในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2493 พบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองเพียงร้อยละ 30 ของประชากรโลกเท่านั้น นอกจากนี้สหประชาชาติยังคาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีคนอาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มสูงถึงร้อยละ 68 ของประชากรโลกอีกด้วย

ในแง่ประชากรในชนบท (Rural Population) ของโลก พบว่าเติบโตอย่างช้า ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และคาดว่าจะถึงจุดสูงสุดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบันในชนบททั่วโลกมีจํานวนเกือบ 3.4 พันล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากนั้นจะลดลงเหลือประมาณ 3.1 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแอฟริกาและเอเชียซึ่งมีประชากรชนบทเกือบร้อยละ 90 ของประชากรชนบทของโลก

ในแง่ประชากรในเมือง (Urban Population) ของโลก พบว่าเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยเพิ่มขึ้นจาก 751 ล้านคน เป็น 4.2 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2561 แม้ว่าเอเชียจะมีการขยายตัว น้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ แต่กลับพบว่ามีประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองสูงถึงร้อยละ 54 ของทั่วโลก ในขณะที่แอฟริกา มีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น

ดังนั้นสถานการณ์ในปัจจุบันของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลก จึงเป็นลักษณะการอยู่อาศัย ในโลกแห่งชุมชนเมือง นั่นคือ ปัจจุบันประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่า ครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมีอัตราการเข้ามาอยู่ อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็นชุมชนเมืองไป ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นวันที่ประชากรโลก มีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกที่มีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุม ป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก และประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและ การอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน และทรัพยากรสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน ทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

ผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

1. ปริมาณความต้องการน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผล กระทบต่อปริมาณน้ำจืดที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ําจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆแล้วก็กลั้นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 75

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยมีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 จะมีน้ําจืดเหลือเพียง 1 ใน 4 ของ ปริมาณน้ําจืดในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศ ก็จะประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็จะเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้นั่นเอง

แนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ การรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ใหม่ การทําฝนเทียมการแยกเกลือออกจากน้ำเค็ม การอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลแห่งใหม่ ลดการทําปศุสัตว์ลง รวมไปถึงแนวคิดในเรื่อง การทําเกษตรแนวใหม่ หรือการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยลง โดยนําวิธีที่จะใช้น้ำให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
เช่น การใช้ระบบน้ำหยด เป็นต้น

2. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีระบบนิเวศ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ ก็เกิดปัญหาความเหือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปีที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของอัตราปกติ โดยที่มนุษย์มิใช่เป็นเพียงพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

แนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าวนั้นจําเป็นต้องมีการจัดทําแนวทางและวิธีดําเนินการในการป้องกัน การแก้ไขฟื้นฟู และการอนุรักษ์ ซึ่งได้แก่ การใช้กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และ ความเข้าใจแก่ประชาชนในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม การบําบัดฟื้นฟูสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมสําหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป รวมไปถึงมีการแบ่งเขต/ พื้นที่ควบคุมเพื่อให้มีสภาวะที่เหมาะสมสําหรับการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร เช่น การจัดพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์ หรืออุทยาน ซึ่งจะทําให้สภาพดิน พืช สัตว์ และป่าไม้ มีสภาพเหมาะสมในการขยายพันธุ์ ดํารงพันธุ์ และเจริญเติบโตเป็นต้น

3. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่ง เรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบให้น้ําแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เองด้วย

แนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ ลดการใช้พลังงานที่มีส่วนทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ลดการใช้พลาสติก เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล หันมาใช้พลังงานไบโอดีเซล และสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ํา พลังงานลม เป็นต้น

4. การประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำ ทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำ เหล่านี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา อัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี ค.ศ. 1996 ลดลงเหลือ 16 กิโลกรัมต่อคน อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับ สัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและ ยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ําในปัจจุบันนี้
มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก และอีกไม่นานมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหาร เหล่านี้รับประทานกันได้น้อยลงและยากขึ้น

แนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ การปลูกป่าชายเลนเพื่อให้มีแหล่งอาหารของ สัตว์ เป็นที่วางไข่และเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนของสัตว์ทะเลหลายชนิด หยุดการทําไม้ป่าชายเลนและการทําเหมืองแร่ ในพื้นที่ป่าชายเลน งดการใช้อวนรุน อวนลาก ไม่ทิ้งสมอเพื่อจอดเรือในแนวปะการัง เพราะจะทําให้ปะการัง หักเสียหาย งดการจับปลาในช่วงฤดูวางไข่ ไม่ใช้ระเบิดจับปลา ไม่สร้างโรงแรมและที่พักติดทะเลเพราะจะทําให้เกิด น้ําเสียอันเป็นเหตุให้ปะการังตาย เป็นต้น

5. งานหรือการมีงานทํา (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะ การจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โลกมีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า คือ จาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 พันล้านคน จากข้อมูลขององค์การแรงงานสากล (The United Nations International Labor Organization : ILO) ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานกว่า 1 พันล้านคน หรือ 30% ของ คนในวัยแรงงาน และในช่วงอีกครึ่งศตวรรษต่อไปจะมีคนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะประเทศ เหล่านั้นมีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงาน เป็นต้น

แนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ ลดช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนมีมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน มีการอบรมการประกอบอาชีพ ให้แก่ประชาชน จัดหาตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มเติม เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ กระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค มีการใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดต่างประเทศให้มาลงทุนในประเทศ มากขึ้น เป็นต้น

ข้อ 6. หลักการบริหารหรือจัดการชุมชนเมืองตั้งแต่เริ่มมีแนวคิด อุดมการณ์ ไปสู่การปฏิบัติ ว่ามีหลักการและวิธีการอะไรอย่างไร พร้อมตัวอย่างโดยสังเขป ?

แนวคําตอบ

การบริหารชุมชนเมืองหรือการจัดการชุมชนเมืองมุ่งที่จะเสนอแนวคิดและวิธีการปฏิบัติใน การบริหารชุมชนเมือง โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการบริหารเพื่อตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้น ๆ เป็นหลัก จึงจําเป็นต้องศึกษาในแง่ของประเด็นปัญหาและบริบทของปัญหาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และ ระดับสากล ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาชุมชนเมือง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาในเชิงระบบทั้งใน ด้านปัญหาและข้อเรียกร้องของชุมชนเมืองในฐานะปัจจัยนําเข้า (Input) ตลอดจนความจําเป็นและแนวทางของ กิจกรรมในฐานะปัจจัยนําออก (Output) และศึกษาผลกระทบของการบริหารชุมชนเมือง โดยจะศึกษาทั้งตัวองค์กร หรือสถาบันหลักที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ในการบริหารชุมชนเมือง หรือศึกษาแยกย่อยไปที่ประเด็นรายละเอียดหรือเนื้อหาสาระในชุมชนเมือง ดังนั้นการบริหารชุมชนเมืองจึงมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่การกําหนดเป้าหมายการวางแผน การบริหารและลงมือปฏิบัติจนบังเกิดผล ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้

การบรรลุภารกิจและความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองสมัยใหม่ไม่ใช่เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการตระหนักในความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง โดยชาวชุมชนเองเท่านั้นที่จะนําไปสู่ความสําเร็จในการบริหาร ชุมชนเมือง กล่าวคือ เมืองที่ประชาชนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมของส่วนรวม รวมไปถึงการ ตรวจสอบติดตามการทํางานของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในลักษณะการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ระบบการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนสําคัญในการกําหนดแนวทางและวิธีการ ซึ่งอาจได้รับการ สนับสนุนจากภายนอกจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมเพราะได้สร้างให้เกิดความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมืองของชาวชุมชนเมืองโดยแท้จริง โดยจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สําคัญหลายด้าน เช่น

1. ด้านเกียรติภูมิและสิทธิของประชาชน (Right and Dignity) คือ การให้สาธารณชน ได้ตัดสินใจบริหารงานอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติและความลําเอียง ตลอดจนบริหารงานโดยยึดหลัก กฎหมาย และต้องพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบผ่านกระบวนการกลไกการปกครอง ทั้งนี้เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยสามารถตรวจสอบการบริหารนั้นได้ซึ่งเป็นการให้สิทธิและคํานึงถึงศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของชาวเมือง

2. ด้านความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) คือ การบริหารงานนั้น ต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนในทุกขั้นตอนของการดําเนินงาน ทั้งการอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือบริหารงานบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ซึ่งการบริหารงานนั้นจะต้องเป็นไปโดยเปิดเผย ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ในขณะที่ทุกฝ่ายต่างก็มีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

3. ด้านความมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือ สามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาและเสนอทางออกให้กับประชาชนได้ รวมทั้งต้องบริหารงานด้วยความคุ้มค่าคือ การใช้ทุนน้อยแต่สามารถบรรลุมาตรฐานด้านต่าง ๆ ตามที่ประชาชนชาวเมืองต้องการ โดยมุ่งสร้างหรือยกระดับ มาตรฐานชีวิตของประชาชน หรือตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของคนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและ เพียงพอ เช่น ความต้องการอาหารที่เพียงพอ อากาศที่บริสุทธิ์ น้ําสะอาดเพื่อการบริโภค ที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่ม ที่น่าพอใจ ความต้องการมีสุขภาพอนามัยที่ดี เป็นต้น

จุดเริ่มต้นในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองจะเริ่มต้นที่การวางแผน และการมีแผนเพื่อให้เป้าหมายที่มนุษย์ต้องการอยู่ในสังคมชุมชนเมืองได้รับการตอบสนอง ซึ่งในการบริหารชุมชนเมืองนิยมเรียกโดยรวมว่า “แผนหรือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง” ภายใต้ชื่อที่หลากหลาย เช่น แผนพัฒนา (Development Plan), แผนเมือง (Urban Plan), แผนแม่บท (Master Plan), แผนทั่วไป (General Plan) เป็นต้น แต่การบริหารชุมชนเมืองมักจะเน้นหนัก แผนกายภาพที่เรียกว่า ผังเมือง (City Plan) และแผนจัดการการเจริญเติบโต (Growth Management Plan)

การบริหารชุมชนเมืองที่ดีจะมีแผนภารกิจ (Action Plan) หรือแนวทางที่ชัดเจนเพื่อมารองรับ กิจกรรมการบริหารชุมชนเมืองให้ได้ผล เช่น

1. การออกแบบเมือง (Urban Design) เป็นการสร้างวิสัยทัศน์ของเมืองหรือสร้างสรรค์ ให้เกิดสภาพเมืองที่พึงปรารถนา โดยคํานึงถึงปัจจัยที่สําคัญในด้านความสวยงามน่าชวนมอง คุณค่าด้านจิตใจ เอกลักษณ์ที่โดดเด่น และศักยภาพดั้งเดิมเป็นสําคัญ ซึ่งถือเป็นขั้นการผลักดันให้เกิดแนวคิดและวิสัยทัศน์ของคน ในชุมชน

การทําให้เป้าหมายหรือแนวคิดของการออกแบบเมือง ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมที่สวยงามให้คนภายนอกมองเห็นได้นั้น ต้องมีการวางภูมิทัศน์ของเมือง (Cityscape) ด้วยการสร้างรูปลักษณ์ ของเมืองตามที่ได้รับเอาแนวคิดต่าง ๆ มาใช้กําหนดเป็นทิศทางและลักษณะของเมือง ซึ่งจะปรากฏออกมาเป็น แนวทางในการก่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะ ถนนหนทาง และที่ตั้งของสิ่งอํานวยความสะดวกในเมือง เป็นต้น

2. แผนเมือง (City Plan) จะชี้ให้เห็นถึงแนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของเมืองนั้นๆไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยส่วนร่วมก็จะมีแนวคิดพื้นฐานเพื่อสร้างให้เมืองนั้นมีความสะดวกสบายน่าอยู่อาศัยหรือสร้างให้ผู้คนมีความหวังและสามารถมองไปในอนาคตได้ ซึ่งแผนเมืองนี้อาจจะกําหนดเป็นแผนแม่บทหรือ แผนหลัก (Master Plan) ที่จะเป็นกรอบหรือแนวทางไปสู่การวางแผนปฏิบัติ หรือนโยบายในการวางแผนเมือง (City Planning Politics) ต่อไป ซึ่งได้แก่

1) แผนในภาพรวม อาจจะต้องอาศัยทิศทางและความสอดคล้องในระดับกว้าง เช่น แผนภูมิภาคหรือแผนระดับประเทศที่ต้องอาศัยความเกี่ยวพันและการตัดสินใจ และความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นไม่เฉพาะเมืองนั้นเมืองเดียว

2) การผังเมืองและการวางแผนการใช้พื้นที่ ดําเนินการโดยอาศัยกฎหมายการผังเมือง และการบริหารงานในเชิงนโยบาย จนกลายเป็นผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) หรือผังเมืองเฉพาะ (Specific Plan)

-ผังเมืองรวม คือ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการให้ เกิดขึ้นบนพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของท้องถิ่นในอนาคต

-ผังเมืองเฉพาะ เป็นผังที่จัดทําขึ้นหลังจากมีผังเมืองรวม มีความละเอียด มากกว่าผังเมืองรวม และจะจัดทําในพื้นที่บางส่วนของผังเมืองรวม ซึ่งเป็น พื้นที่ที่มีความสําคัญสูง หรือมีความจําเป็นสูงที่จะต้องสงวนรักษา เช่น พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางสภาพแวดล้อม หรือพื้นที่ธุรกิจการค้า เป็นต้น

3. การวางแผนด้านอื่น ๆ เป็นการวางแผนที่อาจผสมผสานการวางแผนในเชิงกายภาพ และในเชิงการบริหาร เช่น การวางแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจ, การวางแผนทิศทางการเจริญเติบโตของเมือง, การวางแผนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ข้อ 7. การจัดการภัยพิบัติมีความสําคัญอย่างไรต่อการบริหารชุมชนเมือง จงอธิบายกรอบการจัดการ ภัยพิบัติโดยเฉพาะอุทกภัยที่หลายประเทศกําลังเผชิญ พร้อมทั้งเสนอแนวทางการจัดการปัญหาอย่างยั่งยืน ?

แนวคําตอบ

ความสําคัญของการจัดการภัยพิบัติต่อการบริหารชุมชนเมือง

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ ช่วยชีวิตและฟื้นฟูบูรณะหลังเหตุการณ์ ซึ่งในอดีตการจัดการภัยพิบัติมักเน้น เรื่องการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันแนวโน้มของการจัดการภัยพิบัตินั้นจะมีลักษณะของ การเตรียมการเชิงรุกมากขึ้น โดยดําเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่จะ เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ รวมทั้งมีมาตรการที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นการวางแผน เพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และหลังจากที่เกิดภัยพิบัติแล้ว

กรอบการจัดการภัยพิบัติโดยเฉพาะอุทกภัย

1. เข้าถึงข้อมูลรายละเอียดที่เป็นจริง
2. พึ่งออกแบบการจัดการให้สามารถรับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจากการวางแผนไว้
3. บูรณาการแผนการจัดการน้ําท่วมให้สอดคล้องเข้ากับแผน/โครงการของการบริหารชุมชน
4. มีกลยุทธ์/มาตรการที่หลากหลายที่เกื้อกูลกันและจัดการอย่างสมดุล
5. คํานึงถึงความเหมาะสมทุกพื้นที่ทั้งต้นน้ําและปลายน้ํา
6. มาตรการทางวิศวกรรมที่ออกแบบมาอาจสําเร็จหรือล้มเหลว หรือไม่ได้ผลทั้งหมด แต่ก็ ย่อมดีกว่าไม่มีมาตรการใด ๆ
7. มาตรการจัดการอุทกภัยต้องใช้เป็นเครื่องมือที่มาเสริมแผนบริหารเมือง
8. คํานึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ/สังคมในวงกว้าง
9. ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน
10. ขั้นตอนการปฏิบัติจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
11. การทํางานจําเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารและการกระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่อง
12. ควรมีแผนในการฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งในระยะยาว

แนวทางการจัดการปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน สรุปได้ดังนี้

1. การวางแผนบริหารจัดการอุทกภัย

ชุมชนเมืองมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจําทุก ๆ ปี เนื่องจากชุมชนเมืองส่วนใหญ่ มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นทางผ่านของแม่น้ำและลําคลองจํานวนมาก และได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวเมือง ทําให้กลายเป็นแหล่งธุรกิจและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลและการระบายน้ําออกจากพื้นที่ แม้ปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกหนักในเขตพื้นที่ตัวเมืองจะมีการท่วมขังอยู่บ่อยครั้งก็ตาม ด้วยสรรพกําลังและความสามารถในการระบายน้ำของหน่วยงานที่มีอยู่ก็ย่อมจะทําให้คลี่คลายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากเป็นลักษณะ ของมวลน้ำมหาศาลที่ไหลบ่ามาจากนอกพื้นที่โดยเฉพาะผ่านทางลําคลองที่มีอยู่รอบด้าน ก็จะเป็นการยากที่จะสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ จึงจําเป็นต้องนําไปสู่การกําหนดนโยบายและการวางแผนการจัดการปัญหา อุทกภัยและภัยพิบัติในด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ แนวทางการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อมในการ รับมือ การเตรียมความพร้อมสําหรับการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงแผนการจัดการหลังจากเกิดภัยพิบัติ ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว เช่น การดําเนินการลอกท่อระบายน้ำในเขตชุมชน ขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ำ สาธารณะ รวมทั้งกําจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่อุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน เป็นต้น

2. การสร้างคันกั้นน้ำถาวร

พื้นที่ที่ติดแม่น้ําส่วนใหญ่ยังไม่มีแนวคันกั้นน้ำที่ได้มาตรฐาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ดํารงชีวิตและอาศัยอยู่ริมแม่น้ำ อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวถือว่าเป็น โครงการที่มีงบประมาณมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจํานวนมาก ซึ่งจะต้องมีการสํารวจผลกระทบ
ที่จะเกิดต่อชุมชน รวมถึงจะต้องเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจผ่านทางการทําประชาพิจารณ์และการตรวจสอบความโปร่งใสในการดําเนินการทุกขั้นตอนเสียก่อน เพราะอาจกลายเป็นปัญหากับท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงได้

3. การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

การแก้ไขปัญหากับภัยน้ําท่วมนั้นมีความจําเป็นในการสร้างความร่วมมือกับองค์กร ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อผนึกกําลังต่อสู้กับมวลน้ําที่มีปริมาณมหาศาลที่พร้อมจะเข้า โจมตีเมือง นั่นคือ การขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการในจังหวัด เพื่อดําเนินการ ฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการเตรียมรับมือกับสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด รวมไปถึงการขอ ความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่สําคัญ เช่น เครื่องสูบน้ำ อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ภาคเอกชนนับเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาท สําคัญในการสนับสนุนยุทธปัจจัยในการต่อสู้กับมวลน้ำที่มีปริมาณมหาศาลนี้ ด้วยการสนับสนุนหลายช่องทาง เช่น บริจาคทราย ถุงบรรจุกระสอบทราย เป็นต้น รวมไปถึงสื่อมวลชนที่มีการติดตามและรายงานสถานการณ์ ช่วงเกิดภัยน้ําท่วมอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

การสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชนในการบริหารจัดการน้ำนั้น แม้จะมีระบบ บริหารจัดการที่ดีเพียงใด ย่อมบรรลุผลได้ยาก หากไม่สามารถจัดการคนได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการความขัดแย้ง และการเฝ้าระวังการพังคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมากในการสร้างความเข้าใจระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับ พื้นที่เหนือแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงการมีมิตรไมตรีที่ดีของผู้อยู่เหนือแนวคันกั้นน้ำในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการ สร้างสิ่งอํานวยความสะดวก เช่น สะพาน การจัดส่งอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ กรณีที่ประชาชนไม่ย้ายเข้าศูนย์อพยพ

นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครหรือกลุ่มจิตอาสาจํานวนมากที่จะเข้าร่วมช่วยเหลือ ทั้งใน เรื่องการกรอกกระสอบทราย การทําอาหาร หรือการจัดกิจกรรมคลายเครียดในศูนย์พักพิงนั้นด้วย

4. การจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราว

การจัดเตรียมศูนย์พักพิงเพื่อรองรับกับผู้ประสบภัยจะต้องคํานึงถึงวิถีชีวิตความรู้สึกที่มีต่อชุมชน และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ด้วยเป็นสําคัญ โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สําคัญ คือ การตั้ง ศูนย์พักพิงขนาดเล็กในพื้นที่ขึ้น นอกจากจะทําให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังทําให้ การบริการมีความใกล้ชิด เป็นกันเอง สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่เป็นสําคัญ โดยอาจจะอาศัย สถานที่ที่มีความเป็นสาธารณะและผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด อาคารหน่วยงานราชการในพื้นที่ เป็นต้น

ข้อ 8. การเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์ (Non-Motorized Vehicle) ซึ่งกําลังเป็นที่นิยมในเมือง ต่าง ๆ ทั่วโลก คืออะไร ทําได้อย่างไร และมีเป้าหมายเพื่อการใด จงอธิบายโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ

การเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์ (Non-Motorized Vehicle) เป็นวิธีการเดินทาง ด้วยพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ไม่มีเครื่องยนต์ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนติดไว้ถาวรหรือชั่วคราวในตัว โดยที่บุคคลหรือสิ่งของจะถูกเคลื่อนย้ายไปโดยการขับเคลื่อนด้วยพลังกล้ามเนื้อของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเดิน การขี่จักรยาน การพายเรือ การใช้สเก็ตบอร์ด การใช้รถเข็น หรือการเดินทางด้วยพาหนะ ที่ใช้สัตว์ลากจูง เป็นต้น

ความสําคัญของการเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์

1. แก้ปัญหารถติด/ปัญหาความแออัด และความล่าช้าของจราจรโดยยานยนต์ได้
2. สามารถใช้พื้นผิวจราจรได้หลากหลายกว่าการเดินทางโดยยานยนต์
3. สามารถเดินทางไปได้ทุกหนทุกแห่งที่มีถนนรองรับอยู่แล้ว ไม่จําเป็นต้องขยายถนนหรือก่อสร้างผิวจราจรใหม่
4. ประหยัดเงินลงทุนมหาศาล ไม่ต้องใช้เงินในการซื้อที่ดินหรือเวนคืนที่ดินจํานวนมาก
5. สามารถทําได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว เป็นต้น

เป้าหมายของการเดินทางโดยพาหนะที่ไม่ใช่ยานยนต์

1. เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อลดปริมาณน้ํามันและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
3. เพื่อลดอันตรายจากการสัญจรของรถยนต์และรถบรรทุก
4. เพื่อลดมลภาวะมลพิษทางอากาศ ทําให้ออกซิเจนในอากาศสูงขึ้น
5. เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่กําลังจะหมดไปโดยเฉพาะน้ํามันและถ่านหิน
6. เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์อันเป็นสาเหตุทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
7. เพื่อส่งเสริมให้คนหันมาออกกําลังกายเพื่อประโยชน์ของสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม
8. เพื่อเป็นวิธีการออกกําลังอย่างหนึ่งซึ่งจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน และ ทําให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส เป็นต้น

ข้อ 9. การจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สําคัญอย่างไร จงอธิบาย ให้รายละเอียดตามหลักวิชาการ ?

แนวคําตอบ

การจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง ถือเป็นกระบวนการที่นําไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานการขนส่ง ซึ่งในกระบวนการนี้ผู้วางแผนจะพัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของแนวทาง การกระทําที่เกี่ยวข้องกับการบริการขนส่งการเปิดตัวรูปแบบใหม่ของการขนส่งสาธารณะ หรือการพิจารณาเงื่อนไขข้อจํากัดที่มีอยู่ เช่น พื้นที่เมือง ที่จอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนองตอบวัตถุประสงค์พื้นฐานของการขนส่งซึ่งก็คือ การจัดวางระบบเคลื่อนรถและคนที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ซึ่งจําเป็นต่อการรองรับความต้องการของมนุษย์ในวงกว้างสําหรับกลุ่มสังคมที่หลากหลาย

วัตถุประสงค์ของการจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง

1. เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการเร่งระบายการจราจร
2. เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. เพื่อความปลอดภัยและประหยัด
4. เพื่ออํานวยความสะดวกในการขนส่ง
5. เพื่อควบคุมทิศทางการระบายรถและคน
6. เพื่อกําหนดแนวทางการจัดการจราจรเพื่อการขับขี่ปลอดภัย

เป้าหมายของการจัดการจราจรและการขนส่งในเมือง

1. เพื่อกําหนดพื้นที่ (Zone) ของเมืองว่ามีกิจกรรมอะไร จะเชื่อมโยงกันโดยวิธีใดระหว่าง หรือภายในพื้นที่ และมีจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นทางหลักไปที่อื่นอย่างไร

2. เพื่อทําการศึกษาเฉพาะภายในแต่ละพื้นที่ที่มีกิจกรรมต่างกันไป ทั้งนี้เพื่อทราบประเภท ของผู้คน การเดินทาง จํานวน ขนาด และเวลาในการเดินทาง

3. เพื่อทําการศึกษาระยะเวลาในการเดินทาง ซึ่งเป้าหมายหนึ่งของการเดินทางที่สําคัญก็คือความรวดเร็ว ดังนั้นหากการจัดการจราจรและการขนส่งในเมืองโดยขาดเป้าหมาย ด้านนี้หรือด้านอื่น ๆ แล้วก็อาจจะไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน

4. เพื่อพยากรณ์สภาพการจราจรและการขนส่งในอนาคต โดยศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะ เป็นตัวกําหนดการจราจรและการขนส่ง

5. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมการเดินทางของผู้คน ต้องมีการสํารวจโดยละเอียด จําแนกออกไปตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา การทํางาน เป็นต้น

6. เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของการเดินทางของผู้คนในเมือง รวมไปถึงการกระจายตัวของการขนส่งในเมือง

7. เพื่อวิเคราะห์โครงข่ายโดยรวมของเมือง

8. เพื่อสร้างแบบจําลองการเดินทางและการขนส่ง โดยคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. เพื่อประเมินผลและเปรียบเทียบทางเลือกในแต่ละวิธีถึงผลได้ผลเสีย

ข้อ 10. จงอภิปรายปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเมืองในสังคมที่กําลังพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรม 3 – 5 ประเด็นปัญหา ?

แนวคําตอบ

ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเมืองในสังคมที่กําลังพัฒนา

1. ปัญหาการจราจร มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

-สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้น ภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางาน เพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการ เชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัด อยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้ง ขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว สะดวกสบายและปลอดภัย

2. ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ํา มลพิษทาง อากาศ และมลพิษทางเสียง

ปัญหามลพิษทางน้ำ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย
– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ําแก่ประชาชน
– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ
– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ําและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ําเสียลงสู่แม่น้ำ

ปัญหามลพิษทางอากาศ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา ๆ

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของ เชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์ มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียง มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์
– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ
– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง
– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย
– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3. ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า “สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์ หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4. ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชน มีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้าย
เข้าเครือข่ายชุมชน

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจร อาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ

– ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

5. ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชน อย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3314 การบริหารชุมชนเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อและตอบให้ครบถ้วนทุกคําถามในแต่ละข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายคําว่า “เมือง”, “ชุมชนเมือง” และ “การสร้างบ้านแปงเมือง” (Urbanization) หรือ ปรากฏการณ์ของการเกิดและเป็นเมืองในเชิงทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาสัก 3 ทฤษฎี พร้อมทั้งอธิบายเชิงขยายความโดยละเอียดในแต่ละทฤษฎี ?

แนวคําตอบ

เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้

-การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (เช่น บ้านเรือน) มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนน)
– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ใน ระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม
-เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง
– เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย
– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี
– เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและ ป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน
-เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/อุปโภค อย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจน เป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

ชุมชนเมือง (Urban Community) หมายถึง ชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนทุกสถานะทั้ง คนรวยและคนจนรวมกันอยู่อย่างแออัดในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างจากสังคมในชนบทและเนื่องจากการที่ชุมชนเมืองจะประกอบไปด้วยผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีจํานวนจํากัด คนในชุมชนเมืองจึงมัก จะมีความเป็นอยู่หนาแน่น จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะมีปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

การสร้างบ้านแปงเมือง (Urbanization) หมายถึง การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนของมนุษย์ เนื่องจากมีมิติไม่เพียงเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพเท่านั้น แต่จะเป็นมิติที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โครงสร้างทางสังคม (Social Structure) ทั้งกายภาพและนามธรรม เช่น ในด้านจิตสํานึกด้านพื้นที่และขอบเขต (Sense of Territory) จิตสํานึกในความเป็นชุมชน (Sense of Communities) จิตสํานึกในความเป็นเจ้าของ (Sense of Belonging) อันเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ทางสังคมที่ยาวนาน ตัวอย่างเช่น การมีกลุ่มคนที่หลากหลาย หรือต่างตระกูล ต่างชาติ ต่างศาสนาเข้าอยู่ร่วมกันในพื้นที่เดียวกันอย่างน้อยถึงชั่วอายุ จนเกิดความสัมพันธ์ทาง สังคมและวัฒนธรรมระหว่างกัน มิใช่เกิดจากปัจจัยภายนอกมากําหนด อย่างเช่นรัฐ เอกชน หรือบริษัทจัดสร้างบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่สร้างแล้วขายให้คนมาอยู่รวมกัน

ปรากฏการณ์ของการเกิดและเป็นเมืองในเชิงทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ

1. ทฤษฎีในทางเศรษฐศาสตร์

กระบวนการในการเกิดขึ้นของเมืองในทางเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวโยงกับกระบวนการ หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจชนบทไปเป็นเศรษฐกิจเมืองทางโครงสร้างของสังคมที่ก่อให้เกิดพลวัตในแง่ของการแปลงสภาพ ประชากร กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจชนบท ไปสู่ฐานะของเศรษฐกิจเมือง เช่น
1. การใช้แรงงานเข้มแข็งขึ้นและมีความเป็นปัจเจกภาพสูง
2. มีการกระจุกตัวของแรงงานมากขึ้น
3. มีความชํานาญในการผลิตสินค้าและบริการค่อนข้างสูง
4. มีการพึ่งพาต่อกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด
5. มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และลักษณะของการประกอบการในระดับสูง
6. ความหนาแน่นของประชากรทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสําคัญที่จะเกิดขึ้นในแง่ความเป็นเมือง คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเนื่องจากการเกิดความชํานาญ การแบ่งงานกันทําตามความสามารถเฉพาะ การใช้ทุนเข้มข้นในการผลิตและใช้เทคโนโลยี ตลอดจน ประดิษฐกรรมที่ทันสมัย ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระบวนการเกิดเป็นเมืองซึ่งเป็นกระบวนการที่ ควบคู่กัน

2. ทฤษฎีของนักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา มองว่าระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และ ความผูกพันร่วมกัน (Common Ties) กล่าวคือ ในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กัน ทางสังคมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง

ผลผลิตของชุมชนหรือสังคม ซึ่งได้แก่

– การกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) – การควบคุมทางสังคม (Social Control)
– การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)
– การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)
– การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน (Production Consumption-Distribution)

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรมนั้น คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้ ทั้งนี้ เพราะเกิดความรู้สึกมั่นคงในการมีที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอม ทางค่านิยมของกฎเกณฑ์และเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งกระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติ ดังกล่าวก็คือ ความเป็นเมืองนั่นเอง

3. ทฤษฎีของนักมานุษยวิทยา

นักมานุษยวิทยา มองว่ากระบวนการสร้างความเป็นเมือง (Urbanization) เป็นรูปหนึ่งของกระบวนการปรับตัวของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นรูปแบบที่สําคัญที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้น การปรับตัวจึงเป็นความสําเร็จอย่างหนึ่งของกลุ่ม และความสําเร็จนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ว่าจะเป็นไปได้ดีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องอาศัยความกลมกลืนกันระหว่างปัจจัยในด้านต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ปมในเชิงนิเวศวิทยา” (Ecological Complex) ซึ่งจะประกอบด้วย

1. ปัจจัยด้านประชากร (Population) โดยมีปัจจัยด้านโครงสร้างของประชากร ที่มีผลต่อกระบวนการเป็นเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะชี้ให้เห็นมิติของประชากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพตลอดจนการกระจายตัวหรือโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยลักษณะของคนในแต่ละช่วงอายุ เช่น คุณภาพการศึกษา ทักษะการทํางาน อาชีพ จํานวน การพัฒนา และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งจะส่งผลถึง ปัจจัยด้านอื่น ๆ

2. ปัจจัยด้านการจัดองค์กร (Organization) โดยมีมิติที่จะพิจารณาได้ในเรื่องนี้ ได้แก่ แบบขององค์กร สภาพแวดล้อม จํานวนสมาชิก ความสามารถ ผู้นํา เทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนความร่วมมือ ร่วมใจตามแนวคิดของประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อสภาพของชุมชนและสังคมนั้น ๆ

3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อสังคม และชุมชนในแง่ของพฤติกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในแต่ละระดับนั้นอาจพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางด้านธรรมชาติ และปัจจัยแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพิจารณาในแง่ปัจจัยเอื้อหรือไม่เอื้อต่อชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ

4. ปัจจัยด้านเทคนิควิทยาการ (Technology) เป็นปัจจัยสําคัญที่มนุษย์จะสามารถ เอาชนะธรรมชาติได้ และสามารถแข่งขันท่ามกลางภาวะที่จํากัดในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ ประดิษฐกรรมและนวัตกรรมของสังคม

ข้อ 2. ปัจจุบันกรอบความคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” แพร่หลายและกล่าวขวัญกันมากในวงวิชาการสังคมศาสตร์ ขอให้ น.ศ. อธิบายในบริบทของวิชาการบริหารชุมชนเมืองว่า “การพัฒนาชุมชนเมือง อย่างยั่งยืน” คืออะไร มีความสําคัญอย่างไรต่อการบริหารเมืองในโลกยุคปัจจุบัน ?

แนวคําตอบ

การพัฒนาชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน

“การพัฒนาชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน” (Sustainable Urban Development) ในบริบท ของวิชาการบริหารชุมชนเมืองนั้น เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นความเป็นสังคมเมืองถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และปรากฏการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าเมืองก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นและการขยาย ขอบเขตพื้นที่เมืองออกไป ซึ่งเป็นที่ตระหนักโดยทั่วไปถึงผลกระทบของการเติบโตของสังคม ดังนั้นการ เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนจึงมีความจําเป็นในแง่ที่ว่า ต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นเขตเมืองดังกล่าว ว่าสิ่งที่ จําเป็นและจะตามมาจากกิจกรรมของเมือง อย่างเช่นทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการเคลื่อนที่ของผู้คนและสินค้า ทั้งในแง่โครงสร้างทางกายภาพต่าง ๆ และกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นเป็นปัจจัยที่สําคัญที่จะต้อง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายของการเจริญเติบโตดังกล่าว การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงได้รับการ
นิยามว่าเป็น “การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ลดทอนความสามารถของคนรุ่นอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง”

นิยามดังกล่าวของการพัฒนาชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนได้แสดงถึงกระบวนการที่จะสามารถบรรลุถึงความยั่งยืนโดยเน้นการปรับปรุงความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกโดยผสมผสานทั้งมิติ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม อีกทั้งการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังได้เน้นย้ําถึงความจําเป็นในการปฏิรูปกลไกตลาด เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมการบรรลุความสมดุลกับการพิจารณาทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งจําเป็นต้อง คํานึงถึงมิติต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงอย่างมีคุณภาพของการเจริญเติบโต, การอนุรักษ์กับ การชะลอการใช้ทรัพยากรที่ค่อย ๆ หมดสิ้นไปอันไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อีก, การตัดสินใจในทาง เศรษฐกิจภายใต้สภาวะแวดล้อมที่จํากัด ตลอดจนการคํานึงถึงความยั่งยืนและความต้องการของคนรุ่นต่อไป เป็นต้น

ความสําคัญที่มีต่อการบริหารเมืองในโลกยุคปัจจุบัน

ในขณะที่การพัฒนาชุมชนเมืองของโลกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาชุมชนเมืองอย่าง ยั่งยืนถือเป็นกรอบความคิดเป้าหมายที่ในประชาคมการพัฒนาขานรับ ซึ่งได้แก่ ความสําเร็จในการจัดการต่อ การเจริญเติบโตของเมือง (Urban Growth) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ําและรายได้ปานกลางถึง ระดับต่ําสุด ที่คาดว่าจะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมืองอย่างรวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งจําเป็นต้องอาศัย ผู้คนทั้งในเมืองและในชนบท เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบทและสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่

นอกจากนี้การเติบโตของเมืองยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 ประการ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังพบว่า ความเป็นเมืองที่มีการจัดการที่ดีซึ่งหมายถึงการตระหนักและมีความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มและ ทิศทางของประชาชนในระยะยาว สามารถช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการกําหนดทิศทางของการตั้งถิ่นฐาน และการรวมตัวกัน ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ๆ ซึ่งข้อมูลข้อเท็จจริงและแนวโน้มดังกล่าวจะสามารถช่วยในการวางแผน และเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแบ่งผลประโยชน์ของการเป็นเมืองและไม่มีใครถูกทอดทิ้ง ดังนั้นนโยบายในการจัดการการเจริญเติบโตของเมืองจึงจําเป็นต้องสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการสังคมสําหรับทุกคน โดยจะมุ่งเน้นที่ความต้องการของ คนจนในเมือง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการศึกษา การดูแลสุขภาพ ตลอดจนการทํางานที่ดีและสภาพแวดล้อมที่ ปลอดภัย เป็นต้น

ข้อ 3. จงอธิบายปรากฏการณ์ “โลกของความเป็นเมือง” (Urban World ; World Urbanization) ทั้งในภาพรวมทั้งโลกและระดับพื้นที่เฉพาะเพื่อสร้างความเข้าใจในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหา และแนวทางการแก้ไข เช่น ภาวะโลกร้อน, สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรองรับไม่ทัน, มลภาวะความแออัดสําคัญต้องเสนอแนะวิธีการที่เหมาะสมหรือที่คิดว่าได้ผลในเชิงการป้องกันและแก้ไขประกอบการตอบให้ชัดเจน ?

แนวคำตอบ

ปรากฏการณ์ “โลกของความเป็นเมือง” (Urban World ; World Urbanization) เป็นลักษณะ ของการอยู่อาศัยในโลกแห่งชุมชนเมือง ซึ่งปัจจุบันประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลก มากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมีอัตราการเข้า

มาอยู่อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็นชุมชนเมืองไปร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (UN) พบว่าในปี พ.ศ. 2561 ประชากรในเขตเมืองนั้น มีมากกว่าในชนบท โดยมีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณร้อยละ 55 ของประชากรโลก ซึ่งในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2493 พบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองเพียงร้อยละ 30 ของประชากรโลกเท่านั้น นอกจากนี้สหประชาชาติยังคาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีคนอาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มสูงถึงร้อยละ 68 ของประชากรโลกอีกด้วย

ในแง่ประชากรในชนบทของโลก พบว่าเติบโตอย่างช้า ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และคาดว่า จะถึงจุดสูงสุดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบันในชนบททั่วโลกมีจํานวนเกือบ 3.4 พันล้านคน และคาดว่าจะ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากนั้นจะลดลงเหลือประมาณ 3.1 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา และเอเชียซึ่งมีประชากรชนบทเกือบร้อยละ 90 ของประชากรชนบทของโลก

ในแง่ประชากรในเมืองของโลก พบว่าเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยเพิ่มขึ้น จาก 751 ล้านคน เป็น 4.2 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2561 แม้ว่าเอเชียจะมีการขยายตัวน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ แต่กลับพบว่ามีประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองสูงถึงร้อยละ 54 ของทั่วโลก ในขณะที่แอฟริกามีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น

การจะให้คําจํากัดความและระบุว่าบริเวณใดเป็นเมืองนั้นทําได้หลายวิธี เพราะคําว่าเมืองนั้น ต่างถูกให้ความหมายตามแต่ละพื้นที่หรือแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามความหมายของ ความเป็นเมืองที่ถูกนิยามในด้านต่าง ๆ ก็มีส่วนคล้ายคลึงกันอยู่ โดยมีหลักเกณฑ์การจําแนกความเป็นเมือง แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ

1. เกณฑ์ทางด้านพื้นที่การปกครอง ซึ่งเป็นเกณฑ์การแบ่งที่รัฐบาลได้กําหนดขึ้น ตามกฎหมาย เช่น ในขอบเขตเทศบาลเป็นเมือง และนอกขอบเขตเทศบาลเป็นชนบท เป็นต้น

2. เกณฑ์จํานวนประชากร ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้วิธีการกําหนดขั้นต่ําไว้ว่าจะต้องมี จํานวนประชากรไม่น้อยกว่าเท่าใดในพื้นที่นั้น ๆ จึงจะเรียกว่ามีความเป็นเมือง หรือบางครั้งอาจจะใช้เกณฑ์ของ ความหนาแน่นของประชากรต่อหน่วยพื้นที่เป็นฐานประกอบการพิจารณาด้วย

3. เกณฑ์การกําหนดคุณสมบัติขั้นต่ําของความเป็นเมืองไว้ก่อน หากเข้าข่ายที่ กําหนดไว้จึงจะถือว่าเป็นเมือง เช่น เมืองจะต้องมีความสมบูรณ์พร้อมทางด้านไฟฟ้า ประปา ถนน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีตํารวจ เป็นต้น

4. เกณฑ์การกําหนดโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งในบางประเทศจะนิยามโดยอาศัย สัดส่วนของประชากรที่ทํางานเชิงเศรษฐกิจในสาขาเกษตรกรรม เช่น เมืองจะต้องมีประชากรทํางานเชิงเศรษฐกิจ ในสาขาเกษตรกรรมไม่เกิน 25% เป็นเมืองอุตสาหกรรม เป็นต้น

ผลกระทบอันเกิดจากโลกของความเป็นเมือง

1. ภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการที่มีก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมากเกินไป นั่นคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยมนุษย์เองที่เป็นสาเหตุทําให้เกิดแก๊สนี้เป็นจํานวนมาก จากการเผาไหม้ เชื้อเพลิงต่าง ๆ การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งมนุษย์ยังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วย รวมไปถึงการตัดและทําลายป่าไม้จํานวนมหาศาล เพื่อสร้าง สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่มนุษย์เอง ทําให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศ ถูกลดทอนประสิทธิภาพลง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้นํามาสู่การเกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น

ผลกระทบของภาวะโลกร้อน ได้แก่

1. ระดับน้ําทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กําลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลก ที่กําลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร

2. มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน น้ำท่วม และความแห้งแล้ง ซึ่งในปัจจุบันพบว่าความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า

3. ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค เช่น ในยุโรปจะเกิดน้ําท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเล เพิ่มขึ้นอย่างมาก

4. ระบบทางธรรมชาติ เช่น ธารน้ําแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของ ทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ําในทุ่งหญ้า และเขตทุ่งหญ้า ในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง

5. สัตว์สายพันธุ์ต่าง ๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ, ภาวะโลกร้อนจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืชที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์

6. เด็กในประเทศกําลังพัฒนา เช่น ในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง เป็นต้น

แนวทางการป้องกันและแก้ไขสภาวะโลกร้อน ได้แก่

1. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าลง เช่น เพิ่มอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศในสํานักงานหรือที่พักอาศัยสัก 1 องศา หรือปิดไฟขณะไม่ใช้งาน

2. ลดการใช้น้ํามันจากการขับขี่ยวดยานพาหนะ หรือลดการเดินทางที่ไม่มีความจําเป็น รวมถึงลดการใช้พาหนะส่วนตัว หันไปใช้บริการขนส่งสาธารณะเมื่อมีโอกาส

3. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆที่ทําจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า ทั้งนี้เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทําหน้าที่ในการเป็นปอดของโลกสืบไป

4. นํากระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ โดยพยายามซื้อสิ่งของที่มี อายุการใช้งานนาน ๆ ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย เป็นต้น

2. สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรองรับไม่ทัน ซึ่งถือเป็นปัญหาของการจัดการบริการ สิ่งอํานวยความสะดวกไปยังเคหะสถาน ได้แก่ การไฟฟ้า การประปา การบําบัดน้ําเสีย การระบายน้ํา การสื่อสาร และโทรคมนาคม การกําจัดขยะ การดับเพลิง ฯลฯ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจะเกี่ยวข้องกับ การออกแบบเชิงระบบในด้านเทคนิคที่จําเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ดําเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อการปรับปรุงหรือขยายกิจการที่มีอยู่เดิม โดยมีลักษณะของการแก้ปัญหาความ ขาดแคลน บกพร่อง ไม่เพียงพอ และยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้เหมาะสมกับความจําเป็นในอนาคต

การไฟฟ้า เป็นสาธารณูปโภคที่สําคัญของเมือง และเป็นแหล่งพลังงานสําหรับการผลิต อุตสาหกรรม สิ่งอํานวยความสะดวกในเคหะสถานและการดํารงชีวิตประจําวัน โดยผลกระทบที่มักจะเกิดขึ้น เช่น โรงผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งอยู่ห่างจากเขตอุตสาหกรรม เขตที่อยู่อาศัย เขตโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

การประปา เป็นการจัดหาแหล่งน้ําดิบ การทําให้น้ำสะอาด การลําเลียงน้ำ และการแจกจ่ายน้ำ สําหรับการอุปโภคและบริโภคในชุมชนให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอและทั่วถึง ทั้งในครัวเรือนและเพื่อ กิจการต่าง ๆ ในชุมชน โดยผลกระทบที่มักจะเกิดขึ้น เช่น ขาดแหล่งน้ำดิบที่อยู่ใกล้ชุมชน ปริมาณน้ําไม่เพียงพอ กับความต้องการ มีของเสียเจือปนยากแก่การบําบัด คุณภาพน้ำไม่ดี ขาดแหล่งเก็บน้ําธรรมชาติหรืออ่างเก็บน้ํา ที่สร้างขึ้นรองรับ ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่าแหล่งน้ำที่นํามาใช้ทําประปาที่ได้จากการกลั่นน้ำทะเลและน้ำเสียที่ผ่าน การบําบัดมาแล้วนั้นมีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ดังนั้นการจัดหาด้วยวิธีนี้มักใช้กรณีมีความจําเป็นไม่สามารถ จัดหาแหล่งน้ำดิบที่มีต้นทุนถูกกว่าได้เท่านั้น

การบําบัดน้ำเสีย เป็นการทําให้ของเสียต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำทั้งส่วนที่เป็นของเหลว ของแข็ง สิ่งแขวนลอย ตะกอนจากการบําบัด ซึ่งจะต้องทําให้อยู่ตัวสําหรับการกําจัด โดยทั่วไปน้ําเสีย มักเป็นน้ําที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากชุมชนทั้งการอยู่อาศัย อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นน้ำที่มีสารพิษเจือปน หากปล่อยลงแหล่งน้ำผิวดินหรือบนพื้นดินจะทําให้ไหลปนเปื้อนไปกับแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือตกค้างในเนื้อดิน ส่งผลกระทบและความเสียหายแก่ระบบนิเวศ ดังนั้นการบําบัดน้ำเสียอาจใช้กระบวนการ ทางกายภาพ กระบวนการทางเคมี และกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งการเลือกใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะ ของสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในน้ําเสีย ค่าใช้จ่าย และการควบคุมดูแลระบบ

การระบายน้ำ สําหรับในพื้นที่เมือง ประกอบด้วย การระบายน้ำฝน การระบายน้ำเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ให้ไหลลงสู่เส้นท่อสองฟากถนน โดยจะผ่านระบบท่อรวมและระบบท่อแยก

-ระบบท่อรวม เป็นระบบรวบรวมน้ําที่ใช้แล้วจากอาคารสถานที่ต่าง ๆ และ น้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่ลงสู่เส้นท่อเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อส่งไปยังโรงบําบัดน้ำเสีย ซึ่งจะมีข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และน้ำเสียจากอาคารสถานที่ต่าง ๆ จะถูกทําให้เจือจางโดยน้ำฝน แต่จะมีข้อเสียคือ การออกแบบเส้นท่อต้องมี ขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับทั้งน้ำฝนและน้ำเสีย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่อาจมีน้ำมากจนทําให้ไหลล้น ก่อให้เกิดน้ำท่วมขังได้ ในขณะที่ช่วงฤดูแล้งมักมีน้ำน้อยและเกิดการตกตะกอนของเสีย

-ระบบท่อแยก เป็นระบบที่มีการแยกการระบายน้ำทั้งสองชนิด โดยท่อระบาย น้ำเสียจะแยกน้ำเสียไปยังโรงบําบัดน้ำเสีย ส่วนท่อระบายน้ำฝนจะแยกระบายไปยังแหล่งน้ำทิ้ง ซึ่งจะมีข้อดีคือ ปริมาณน้ำเสียที่ต้องการบําบัดมีน้อย และไม่มีปัญหาน้ำล้นท่อ แต่จะมีข้อเสียคือ ต้องต่อท่อระบบเส้นท่อเป็น สองท่อ เสียค่าใช้จ่ายสูง และการบํารุงรักษายุ่งยากกว่าระบบท่อรวม

การสื่อสารและโทรคมนาคม ถือว่าเป็นสิ่งจําเป็นอย่างมากสําหรับการดําเนินชีวิต ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้การดําเนินกิจการทางธุรกิจมีความคล่องตัวและรวดเร็ว สามารถลดปัญหาการจราจรได้ โดยทั่วไปปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ พื้นที่บริการไม่ทั่วถึง ระบบสัญญาณไม่ครอบคลุม ค่าใช้บริการค่อนข้างสูงหากเทียบกับคุณภาพของสัญญาณเครือข่ายที่ให้บริการ เป็นต้น

การกําจัดขยะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดหาสถานที่ การรวบรวมจัดเก็บ และการนําไป กําจัด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับจํานวนประชากร และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นแหล่งขยะแต่ละประเภท โดยจะแบ่ง ชนิดของขยะออกเป็นขยะมูลฝอยจากชุมชน ขยะมูลฝอยจากอุตสาหกรรม และขยะมูลฝอยที่มีอันตรายสูง และ จําแนกเป็นขยะเปียกสุด ขยะแห้ง เศษสิ่งก่อสร้าง เศษพลาสติก ซากสัตว์ ใบไม้ เป็นต้น

การดับเพลิง หากเกิดเพลิงไหม้จะต้องมีความรวดเร็วในการให้บริการ ครอบคลุม พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยในเมือง ทั้งนี้เพราะการเกิดเพลิงไหม้มักก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนบุคคล และระบบเศรษฐกิจของเมืองได้ ซึ่งปัญหาที่มักพบเสมอ ๆ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นมา คือ เส้นทางและ
สภาพการจราจรในการเข้าถึงและเวลาในการเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุ นอกจากนี้ยังพบว่าจํานวนและที่ตั้งสถานี ดับเพลิงไม่ครอบคลุม ขนาดและชนิดของรถดับเพลิงไม่สอดคล้องกับการใช้งาน ระบบท่อน้ําดับเพลิงไม่ทั่วถึง อีกทั้งยังมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้ เช่น มีบริเวณบ้านไม้หนาแน่นในหลายชุมชน มีคลังเก็บสารเคมีและวัตถุไวไฟ ในหลายพื้นที่ เป็นต้น

แนวทางการป้องกันและแก้ไขสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรองรับไม่ทัน ได้แก่

1. สํารวจและจัดเก็บข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพพื้นที่ภูมิประเทศ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้อาคาร จํานวนประชากรและการกระจายบนพื้นที่ เป็นต้น

2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคําตอบเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน เช่น กิจการสาธารณูปโภค ความต้องการบริการ ขนาดการให้บริการ ปัญหาการดําเนินงาน การพัฒนาเพื่ออนาคต เป็นต้น

3. จัดทําแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งได้แก่ กิจการที่ต้องจัดทํา ขึ้นใหม่ การปรับปรุงและขยายบริการกิจการเดิม ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกิจการสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานทั้งในส่วนปริมาณและคุณภาพ

4. ศึกษาความเหมาะสมและจัดทําโครงการพัฒนา ทั้งนี้เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการลงทุนทางเศรษฐกิจและทิศทางการขยายตัวของชุมชน ไม่จัดทําระบบ สาธารณูปโภคที่ใหญ่เกินจํานวนผู้รับบริการ เพราะจะทําให้สิ้นเปลืองมาก หรือเล็กเกินไปจนไม่เพียงพอ

3. มลภาวะ เป็นภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานาน พอที่จะทําให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สิ่งมีชีวิต หรือทรัพย์สินต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละออง จากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น และกรณีที่เกิดขึ้นจากการกระทําของ มนุษย์ เช่น มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โรงงาน อุตสาหกรรม กิจกรรมด้านการเกษตร การระเหย ของก๊าซบางชนิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น

ผลกระทบของมลภาวะ ได้แก่

1. เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณของสาร และความเป็นพิษว่าร้ายแรงเพียงใด รวมไปถึงระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสกับสารนั้น ๆ

2. เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต พืชและสัตว์ต่าง ๆ

3. สร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน โดยก่อให้เกิดการกัดกร่อนต่อสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ทําให้เสื่อมสภาพเร็ว และสิ่งของเครื่องใช้สกปรกง่าย

4. ทําให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นแย่ลง ทั้งนี้เนื่องจากควันหรือฝุ่นละอองหากปูน อยู่ในอากาศมากจะทําให้แสงสว่างผ่านได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งทําให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ง่าย

5. ทําให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทั้งค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงวิธีการหรือจัดการ ปัญหาเพื่อลดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการวิจัยต่าง ๆ เป็นต้น

แนวทางการป้องกันและแก้ไขมลภาวะ ได้แก่

1. พยายามใช้เครื่องยนต์ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากยานพาหนะ
2. ลดการใช้พาหนะส่วนตัวลง หันมาใช้รถขนส่งมวลชน รถเมล์ รถไฟฟ้าให้มากขึ้น
3. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนําวัสดุที่เหลือใช้มาใช้เป็นพลังงาน
4. ช่วยกันรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะมลพิษ
5. เลือกวิธีการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยาน การพายเรือ การใช้รถเข็นหรือพาหนะที่ใช้สัตว์ลากจูง เป็นต้น

4. ความแออัด เป็นปัญหาที่เมืองจะต้องเผชิญโดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนา ซึ่งมักมี การพัฒนาในลักษณะเอกนครหรือเมืองโตเดี่ยว เช่น กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ทําให้เกิดช่องว่างระหว่างเมืองกับ ชนบท ต้องเผชิญกับภาวะของการกลายเป็นเมืองเกินระดับ นั่นคือ การมีประชากรจํานวนมากเกินกว่าที่จะอยู่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพในระบบสังคมและเศรษฐกิจของเมือง ส่งผลให้เกิดกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ําเป็นจํานวนมากในเมือง รวมไปถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภค ปัญหาจราจร ฯลฯ

ผลกระทบของความแออัด ได้แก่

1. ปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นปัญหาของคนจนในเมืองหรือชุมชนแออัด ทั้งปัญหาในด้าน การครอบครองที่ดิน การถูกไล่ที่ และปัญหาด้านสาธารณูปโภคที่ขาดการจัดการ การที่ผู้ที่อยู่ในชุมชนบุกรุกหรือ บุกเบิกนั้นทําให้สถานภาพทางกฎหมายไม่เป็นที่ยอมรับ การขอต่อมิเตอร์น้ําประปาและไฟฟ้าไม่สามารถทําได้เหมือนชุมชนทั่วไป ทําให้ต้องขอต่อจากบ้านคนอื่นหรือใช้มิเตอร์รวมของชุมชนที่อาศัย และเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า คนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ยังคงต้องใช้น้ําคลองซึ่งมีคุณภาพน้ำต่ำ

2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าในเมืองจะมีโอกาสในการจ้างงานสูงกว่าในชนบท แต่ด้วยสถานะทางด้านการศึกษาต่ํา เป็นแรงงานไร้ฝีมือ และขาดแคลนเงินลงทุน ทําให้คนจนในชนบทที่อพยพ เข้าเมืองเพื่อมาหางานทํานั้นไม่สามารถหางานที่มีความมั่นคงและรายได้สูงได้ นอกจากนี้ยังพบว่าคนจนในชุมชน แออัดบางส่วนยังคงต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง บางครอบครัวมีคนทํางานเพียงคนเดียว แต่ต้องเลี้ยงผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ หรือหัวหน้าครอบครัวที่เจ็บป่วย ว่างงาน ติดคุก ซึ่งทําให้ประสบปัญหาความ เดือดร้อนมากขึ้น

3. ปัญหาด้านสังคม เนื่องด้วยสภาพด้านกายภาพที่อยู่กันอย่างแออัด และฐานะ ทางเศรษฐกิจที่ยากจน รวมไปถึงการขาดการยอมรับจากคนทั่วไปและกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหา ด้านสังคมตามมา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาการศึกษา ปัญหาสุขภาพ โรคติดต่อ การมั่วสุม ของเยาวชน ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาโครงสร้างสังคมโดยรวมทั้งสิ้น

4. ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดเป็นผู้ที่อพยพ โยกย้ายมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อการประกอบอาชีพและมีอาชีพไม่แน่นอน เมื่อเกิดความจําเป็นขาดอาชีพ ขาดรายได้ และมีภาระทางครอบครัวต้องเลี้ยงดู ทําให้อาจประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายได้ เป็นต้น

แนวทางการป้องกันและแก้ไขความแออัด ได้แก่

1. มาตรการด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและที่อยู่อาศัย โดยจัดให้มีการทําแผนการ พัฒนาและจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของชุมชนแออัด แรงงานอุตสาหกรรม และคนจนในเมือง ร่วมกับเจ้าของ ที่ดิน หน่วยงานของรัฐ และจัดทําแผนการรื้อย้ายชุมชนแออัดที่เหมาะสมล่วงหน้า มีการจัดระบบพื้นฐานและ บริการสังคมที่จําเป็นของรัฐ ให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนเร่ร่อนในเมือง มีที่พักอาศัยชั่วคราว โดยเฉพาะกลุ่มสตรีและเด็ก

2. มาตรการด้านอาชีพและการเงิน มีการจัดการทางการเงินของชาวชุมชนและกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และสร้างโอกาสระดมเงินเพื่อพัฒนาชุมชน อาชีพ ที่อยู่อาศัย รวมทั้ง การจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนเมืองในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ควรจัดให้มีการพัฒนาความสามารถ ในการประกอบอาชีพ รวมทั้งมีการฝึกอบรมที่เน้นการจัดการธุรกิจในชุมชนนั้น ๆ

3. มาตรการด้านองค์กรและกลไก มีการส่งเสริมจัดตั้งและพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อเป็นแกนกลางในการปรับปรุงพัฒนาชุมชน โดยมีคณะกรรมการประสานการพัฒนาชุมชนเมืองระดับชาติ เพื่อกําหนดนโยบาย ประสานงาน ดูแลการดําเนินงานการพัฒนาชุมชนแออัด และผลักดันกฎหมายชุมชนแออัด รวมถึงจัดให้มีองค์กรและหน่วยงานที่สามารถเอื้ออํานวยในการเจรจาตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าของที่ดินและชุมชนอย่างสันติวิธี

4. มาตรการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยจะให้ความสําคัญต่อการพัฒนาฝึกอบรม ผู้นําชุมชนและผู้นํากลุ่มเยาวชน เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน และจัดให้มีการบริการสังคม ให้เข้าถึงชุมชนแบบเชิงรุกทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และนันทนาการ โดยองค์กรชุมชนเองจะต้องเข้าร่วม
ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง

ข้อ 4. จงวิเคราะห์และอภิปรายอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุผลถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจน การจัดการเมือง ? (โดยข้อนี้มีวัตถุประสงค์ในการวัดนักศึกษาที่เรียนวิชานี้ว่ารู้และเข้าใจ จนมี ศักยภาพที่จะปฏิบัติทั้งในฐานะผู้บริหารเมือง หรือในฐานะพลเมืองในชุมชนการเมืองอารยะอย่างถูกต้องได้)

แนวคําตอบ

การบริหารชุมชนเมืองให้บรรลุความสําเร็จนั้นเป็นเรื่องที่สําคัญและจําเป็นในเรื่องปัจจุบันเพราะมีปัญหาของชุมชนเมืองได้กลายเป็นหาของสังคมโลกไปแล้ว ซึ่งความสําเร็จดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการและสิ่งหนึ่งในนั้นจะต้องอาศัยความพยายามและภาคีความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองเป็นสําคัญ ในขณะที่ความรู้และวิชาการที่เกี่ยวข้องและประสบการณ์และบทเรียน ในด้านต่าง ๆ ก็มีความสําคัญอย่างยิ่งในการจัดการชุมชนเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การบริหารชุมชนเมืองจะมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่การกําหนดเป้าหมาย การวางแผนบริหารงานและลงมือปฏิบัติจนบังเกิดผล ซึ่งจะมีหลักการดังต่อไปนี้

1. การบรรลุภารกิจและความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง ซึ่งการบริหาร ชุมชนเมืองสมัยใหม่นั้นจะไม่ใช่ภาระหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการตระหนักในความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมืองโดยชาวชุมชนเองเท่านั้น จึงจะนําไปสู่ความสําเร็จในการบริหารชุมชนเมืองดังกล่าว รวมไปถึงการตรวจสอบติดตามการทํางานของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรงในลักษณะการบริหารจัดการที่ดี

1) การบรรลุเป้าหมายทางด้านเกียรติภูมิและสิทธิของประชาชน ซึ่งเป็นการให้ สาธารณชนได้ตัดสินใจบริหารงานอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติและความลําเอียง ตลอดจนบริหารงาน โดยยึดหลักกฎหมาย และต้องพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบผ่านกระบวนการ กลไกการปกครองเพื่ออํานวยประโยชน์แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม

2) การบรรลุเป้าหมายในด้านความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ โดยการบริหารงานนั้นจะต้องตกอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนในทุกขั้นตอนของการดําเนินงานทั้งการอาศัยประชาชนให้มีส่วนร่วมหรือบริหารงานบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ซึ่งจะเริ่มต้นจากการค้นหาความต้องการของประชาชนโดยผู้บริหารเอง การบริหารงานจะต้องเป็นไปโดยเปิดเผยและประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ อีกทั้งยังเป็นเรื่องง่ายที่ประชาชนจะต้องถอดถอนผู้ที่ไม่สามารถทําหน้าที่ได้ตามหลักการนี้

3) การบรรลุเป้าหมายด้านความมีประสิทธิผล โดยจะมุ่งสร้างให้เมืองสามารถตอบสนองความเป็นอยู่ของชาวเมืองและเป็นเมืองที่น่าอยู่น่าอาศัย เน้นการสร้างหรือยกระดับมาตรฐานชีวิตของ ประชาชน หรือการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของคนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและเพียงพอ เช่น ความต้องการอาหารที่เพียงพอ อากาศที่บริสุทธิ์ น้ําที่สะอาดเพื่อการบริโภค ที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่มที่น่าพอใจ การมีสุขภาพอนามัยที่ดี โอกาสในการมีงานทํา เป็นต้น

2. จุดเริ่มต้นในการบริหารชุมชนเมือง โดยจะเริ่มต้นที่การวางแผน และการมีแผน เพื่อให้เป้าหมายที่มนุษย์ต้องการอยู่ในสังคมชุมชนเมืองได้รับการตอบสนอง ดังนั้นการบริหารชุมชนเมืองที่ดี จะต้องมีแผนภารกิจหรือแนวทางที่ชัดเจนเพื่อมารองรับกิจกรรมการบริหารชุมชนเมืองให้ได้ผล

1) การออกแบบเมือง เป็นการสร้างวิสัยทัศน์ของเมืองหรือสร้างสรรค์ให้เกิดสภาพเมืองที่พึงปรารถนา เช่น เป็นเมืองที่สวยงามน่าชวนมองและแสดงถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่เหมาะสมของเมืองนั้น ๆ กิจกรรมการออกแบบเมืองจึงต้องมีการประสานและประสมกลมกลืนสิ่งต่าง ๆ ทั้งในด้านของสิ่งอํานวยความสะดวก ผู้ที่อยู่อาศัย ความต้องการและการมีส่วนร่วมจากกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลายของเมือง ดังนั้นการออกแบบเมืองจึง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดโดยรวมของเมืองทั้งของเอกชนและของสาธารณะ นอกจากนี้การออกแบบเมืองไม่เฉพาะ แต่เป็นการสร้างหลักการ เป้าหมาย และนิยามที่ชัดเจนของเมืองที่ง่ายในการประสานโครงการต่าง ๆ เท่านั้น แต่การออกแบบเมืองเป็นทั้งการตอบคําถาม และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบกับพื้นที่ที่จะ ปรากฏให้เห็นเป็นการเฉพาะอีกด้วย

2) แผนของเมือง โดยจะชี้ให้เห็นแนวคิดพื้นฐานตลอดจนวัตถุประสงค์ของเมือง นั้น ๆ นําไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยจะมีแนวคิดพื้นฐานเพื่อสร้างให้เมืองนั้นมีความสะดวกสบายน่าอยู่น่าอาศัย หรือสร้างให้ผู้คนมีความหวังและสามารถมองไปในอนาคตได้ ดังนั้นแผนของเมืองอาจเป็นแผนแม่บท/แผนหลัก
ที่จะเป็นกรอบหรือแนวทางไปสู่การวางแผนปฏิบัติหรือแนวนโยบายในการวางผังเมืองต่อไป

-แผนโดยภาพรวม จําเป็นต้องอาศัยทิศทางและความสอดคล้องในระดับกว้าง ซึ่งลักษณะของแผนภาพรวม ได้แก่ แผนที่สอดคล้องกับแผนภูมิภาคหรือแผนระดับประเทศที่อาจต้องอาศัย ความเกี่ยวพันและการตัดสินใจ ตลอดจนความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นไม่เฉพาะเมืองนั้นเมืองเดียว

-การผังเมืองและการวางแผนการใช้พื้นที่ มีการดําเนินการโดยอาศัย กฎหมายการผังเมืองและการบริหารงานในเชิงนโยบายจนกลายเป็น “ผังเมืองรวม” หรือ “ผังเมืองเฉพาะ” โดยผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) คือ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นบนพื้นที่ ส่วนต่าง ๆ ของท้องถิ่นในอนาคต ส่วนผังเมืองเฉพาะ (Specific Plan) คือ ผังที่จัดทําขึ้นหลังจากมีผังเมืองรวม ซึ่งเป็นผังที่มีความละเอียดมากกว่าผังเมืองรวม โดยจะจัดทําในพื้นที่บางส่วนของผังเมืองรวม เป็นพื้นที่ที่มี ความสําคัญสูงหรือมีความจําเป็นสูงที่จะต้องสงวนรักษา เช่น พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่มีคุณค่า ทางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ พื้นที่ธุรกิจการค้า เป็นต้น

จากการวางแผนในลักษณะของกายภาพที่จําเป็นต้องมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และสะท้อนความต้องการของสาธารณะที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งสื่อถึงโครงการในการพัฒนาในขอบเขตพื้นที่ ที่กําหนดอันเป็นวิธีการในการพัฒนาเมืองให้บรรลุเป้าหมายในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ แผนการใช้ประโยชน์ ในที่ดิน (Land Utilization Plans), การสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกของชุมชนเมือง (Urban Facilities) เช่น การก่อสร้างถนน สวนสาธารณะ โครงข่ายการจราจรและการขนส่ง ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล เตาเผาขยะ การมี ตลาด ฯลฯ, โครงการพัฒนาเมือง (Urban Development Project) เช่น การซ่อมแซมปรับปรุงเมือง โครงการ พัฒนาเมือง โครงการปรับปรุงและพัฒนาเมือง ฯลฯ และการวางแผนด้านอื่น ๆ เช่น การวางแผนในการพัฒนา เศรษฐกิจ การวางแผนทิศทางการเจริญเติบโตของเมือง การวางแผนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. การผังเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาเมืองไปในทิศทางที่ถูกต้อง และเป็นระเบียบ โดยการกระตุ้นให้มีการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม การปรับปรุงสาธารณูปโภค ตลอดจนการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาที่ถูกต้องสอดคล้องกัน

1) ประวัติศาสตร์การผังเมือง ได้แก่ การจัดความสําคัญและลําดับของการจัดถนน หนทางและพื้นที่สาธารณะ (Public Space) ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะศึกษาวิชาการวางผังเมืองจากตัวแบบเมือง ของประเทศในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองที่มีมาอย่างยาวนาน

2) วัตถุประสงค์ของการผังเมือง โดยถือว่าการวางแผนกายภาพหรือการผังเมืองนั้น เป็นส่วนหนึ่งหรือลักษณะอย่างหนึ่งของการวางแผนการใช้ที่ดินบนพื้นที่เมือง ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่สําคัญคือ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องมีระเบียบ เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง และเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง

3) กลไกของการผังเมือง โดยจะอาศัยกลไกการควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การกําหนดย่านกิจกรรม (Zoning) การปรับปรุงสิ่งอํานวยความสะดวกของเมือง ตลอดจนการมีโครงการในเชิง ปฏิบัติต่าง ๆ

4) การกําหนดย่านกิจกรรม โดยพบว่าการผังเมืองนั้นจะอาศัยกลไกอย่างหนึ่ง ที่สําคัญก็คือ การกําหนดย่านกิจกรรมบนพื้นที่ ซึ่งเป็นการนําไปสู่การปฏิบัติของแผนของเมือง เพื่อประกันให้เกิด สภาพแวดล้อมของเมืองและการพัฒนาเมืองที่เหมาะสม มีระเบียบเรียบร้อยในการปรับปรุงพัฒนาเมืองภายใต้ กฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ตามที่ปรากฏในผังเมือง

5) ปัจจัยในการพัฒนาการวางผังเมือง ได้แก่ ปัจจัยทางอุดมการณ์ในเรื่องของ เศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยของการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยทางด้านเทคนิควิชาการ ปัจจัยด้านการเงิน เป็นต้น ดังนั้นการวางแผนของแต่ละเมืองจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณะสูงสุดและสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากไม่เหมาะสม ซึ่งทําให้ลักษณะของแผนหรือผังเมืองที่ได้จะปรากฏในลักษณะต่าง ๆ เช่น มีหลากหลายมิติ และคิดคํานึงในหลายแง่มุมและมีความครอบคลุม โดยจะเป็นแผนที่มีทิศทางที่ถูกต้องหรือสามารถรองรับกับ ปัญหาในอนาคตได้ อีกทั้งยังเป็นแผนที่ปฏิบัติได้ เป็นที่ยอมรับจากประชาชน ทั้งนี้เพราะอาศัยการมีส่วนร่วมจาก ประชาชนในการวางแผนตั้งแต่แรกนั่นเอง

6) ระดับของการวางผังของเมืองและหน่วยการปกครอง อาจดําเนินการได้ในหลายระดับ เช่น ชนบท (Countries) เมืองเล็ก (Towns) เมือง (Cities) องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่น ๆ เป็นต้น

7) การผังเมืองและการจัดการในพื้นที่ของเมืองในสังคมประชาธิปไตย จําเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจหรือสร้างการยอมรับในความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่จากผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น กระบวนการประชุมชี้แจงและตกลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจึงเป็นสิ่งที่จําเป็น

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ระบบของการผังเมืองและการใช้ที่ดินถือว่ามีส่วนสําคัญอย่างยิ่งในการ บริหารเมืองและชุมชนเมือง ในแง่ที่จะต้องมีนโยบายที่มีความกลมกลืนและสอดคล้องอย่างครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ เป็นนโยบายเชิงผสมกลมกลืน โดยจําเป็นจะต้องเชื่อมโยงและสร้างความแข็งแกร่งระหว่างลักษณะทางกายภาพ ที่มีอยู่ เช่น วิถีชีวิตของผู้คนในเมือง ประวัติศาสตร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจน สิ่งที่เอื้ออํานวยที่มีอยู่เดิม ซึ่งได้แก่ ธรรมชาติของการขนส่งแบบต่าง ๆ ความสอดคล้องกับพื้นที่ที่การจราจร และการขนส่งนั้น ๆ ไปถึง นอกจากนี้ในแง่ของความเป็นสังคมและชุมชนทําให้การวางแผนเมืองและสิ่งอํานวย ความสะดวกต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นใหม่นั้นต้องคํานึงถึงการบูรณาการ คุณค่าด้านศิลปะ เป้าหมายของชาติ วิสัยทัศน์ ในอนาคต วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงลักษณะทางสุนทรียศาสตร์และความรู้สึกนึกของชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน

POL3314 การบริหารชุมชนเมือง 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3314 การบริหารชุมชนเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมี 10 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1. จงให้นิยามหรือความหมายของคําว่า “เมือง” และ “ชุมชนเมือง” พร้อมทั้งระบุเหตุผลของการเกิด ชุมชนเมืองมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้
-การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (เช่น บ้านเรือน) มีสิ่ง อํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า ถนน)

-เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ใน ระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

-เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง

-เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

-เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี

-เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น -เมืองหน้าด่านและ ป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน

– เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/ อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจน เป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

ชุมชนเมือง (Urban Community) หมายถึง ชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนทุกสถานะทั้ง คนรวยและคนจนรวมกันอยู่อย่างแออัดในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างจากสังคมในชนบท และ เนื่องจากการที่ชุมชนเมืองจะประกอบไปด้วยผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีจํานวนจํากัด คนในชุมชนเมืองจึงมักจะ มีความเป็นอยู่หนาแน่น จนกระทั่งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะมีปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

เหตุผลของการเกิดชุมชนเมือง
1. ในแง่การผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรม เมืองหลายเมืองได้กลายมาเป็นเมืองมหานคร โดยมีจุดเริ่มและก่อกําเนิดมาจากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจหรือเป็นเมืองหลวง (เช่น กรุงเทพฯ, จากาตาร์, เม็กซิโก ซิตี้ ฯลฯ) หรือเป็นเมืองใหญ่ริมชายฝั่งทะเล (เช่น กัลกัตตา, เซาเปาโล, เซี่ยงไฮ้ ฯลฯ) ซึ่งการ รวมตัวเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นกลุ่มก้อนดังกล่าวจะช่วยเอื้อให้เกิดความประหยัดหรือการขาดแคลนในด้านแรงงาน วิทยาการความรู้ การบริการธุรกิจการเงิน การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
และการขนส่ง
2. ในทางสังคมวิทยานั้น พบว่าการรวมกันเข้าเป็นชุมชนเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมในสังคมเป็นตัวกําหนด ซึ่งแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้าน เมือง นคร ตามลําดับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การบริการ การค้า การลงทุน ประกอบการ การดําเนินกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่มีทั้งแรงผลักแรงดันระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชน ชนบท ดังนั้นความต้องการเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมืองจึงเป็นความคาดหวังว่า จะมีชีวิตที่ดีกว่าของมนุษย์

3. ความเป็นชุมชนเมืองไม่มีหลักเกณฑ์ของจํานวนเลขที่แน่ชัดมากําหนดว่ามีจํานวนเท่าใด สิ่งนี้จะแปรตามหรือขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศจะกําหนดขึ้น เช่น การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสองชุมชน หากชุมชนหนึ่งมีประชากรเป็น 50 เท่าของอีกชุมชนหนึ่ง จะถือว่าชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมือง ส่วนอีกชุมชนหนึ่ง เป็นชุมชนชนบท เป็นต้น

ข้อ 2. จงวิเคราะห์สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ตลอดจนแนวโน้มที่สําคัญ ๆ มาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

สถานการณ์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (UN) พบว่าในปี พ.ศ. 2561 ประชากรในเขตเมืองนั้น มีมากกว่าในชนบท โดยมีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณร้อยละ 55 ของประชากรโลก ซึ่งในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2493 พบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองเพียงร้อยละ 30 ของประชากรโลกเท่านั้น นอกจากนี้สหประชาชาติยังคาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 จะมีคนอาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มสูงถึงร้อยละ 68 ของประชากรโลกอีกด้วย

ในแง่ประชากรในชนบท (Rural Population) ของโลก พบว่าเติบโตอย่างช้า ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และคาดว่าจะถึงจุดสูงสุดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบันในชนบททั่วโลกมีจํานวนเกือบ 3.4 พันล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากนั้นจะลดลงเหลือประมาณ 3.1 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแอฟริกาและเอเชียซึ่งมีประชากรชนบทเกือบร้อยละ 90 ของประชากรชนบทของโลก

ในแง่ประชากรในเมือง (Urban Population) ของโลก พบว่าเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยเพิ่มขึ้นจาก 751 ล้านคน เป็น 4.2 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2561 แม้ว่าเอเชียจะมีการขยายตัว น้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ แต่กลับพบว่ามีประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองสูงถึงร้อยละ 54 ของทั่วโลก ในขณะที่แอฟริกา มีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น

ดังนั้นสถานการณ์ในปัจจุบันของการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโลก จึงเป็นลักษณะการอยู่อาศัย ในโลกแห่งชุมชนเมือง นั่นคือ ปัจจุบันประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรโลกมากกว่า ครึ่งหนึ่งนั้นได้เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองในประเทศกําลังพัฒนานั้นจะมีอัตราการเข้ามาอยู่ อาศัยของประชากรเพิ่มมากขึ้นมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จนกระทั่งบางประเทศได้กลายเป็นชุมชนเมืองไป ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในโลกแห่งชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้กําหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นวันที่ประชากรโลก มีจํานวนครบ 7 พันล้านคน ซึ่งเรียกว่า “Day of 7 Billion” และในปัจจุบันนี้จํานวนประชากรโลกที่มีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุม ป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ

ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก และประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและ การอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน และทรัพยากรสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน ทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

ข้อ 3. จงอธิบายถึงผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีอะไรบ้าง โดยยกตัวอย่าง 5 ข้อ พร้อมทั้งเสนอแนวทางการบรรเทาผลกระทบในแง่ลบดังกล่าว ?

แนวคําตอบ

ผลกระทบอันเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก

1. ปริมาณความต้องการน้ําจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผล กระทบต่อปริมาณน้ําจืดที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ําจืด ส่งผลให้ระบบวงจร ของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆแล้วก็กลั้นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 75 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยมีการคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 จะมีน้ําจืดเหลือเพียง 1 ใน 4 ของ ปริมาณน้ําจืดในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ําต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศ ก็จะประสบกับปริมาณน้ําลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็จะเกิดปัญหา น้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ําต่าง ๆ และทําลายป่าไม้นั่นเอง

แนวทางในการบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ การรีไซเคิลน้ํากลับมาใช้ใหม่ การทํา ฝนเทียม การแยกเกลือออกจากน้ําเค็ม การอนุรักษ์แหล่งน้ําบาดาลแห่งใหม่ ลดการทําปศุสัตว์ลง รวมไป ถึงแนวคิดในเรื่องการทําเกษตรแนวใหม่ หรือการปลูกพืชที่ใช้น้ําน้อยลง โดยนําวิธีที่จะใช้น้ําให้เกิดประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การใช้ระบบน้ําหยด เป็นต้น

2. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีระบบนิเวศ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ํา ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ําหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ ก็เกิดปัญหาความเหือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปีที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 เท่าของอัตราปกติ โดยที่มนุษย์มิใช่เป็นเพียงพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

แนวทางในการบรรเทาผลกระทบดังกล่าวนั้นจําเป็นต้องมีการจัดทําแนวทางและวิธี ดําเนินการในการป้องกัน การแก้ไขฟื้นฟู และการอนุรักษ์ ซึ่งได้แก่ การใช้กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้ และความเข้าใจแก่ประชาชนในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม การบําบัดฟื้นฟูสภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมสําหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป รวมไปถึงมีการแบ่งเขต/ พื้นที่ควบคุมเพื่อให้มีสภาวะที่เหมาะสมสําหรับการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร เช่น การจัดพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์ หรืออุทยาน ซึ่งจะทําให้สภาพดิน พืช สัตว์ และป่าไม้ มีสภาพเหมาะสมในการขยายพันธุ์ ดํารงพันธุ์ และเจริญเติบโตเป็นต้น

3. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่ง เรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบให้น้ําแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เองด้วย

แนวทางในการบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ ลดการใช้พลังงานที่มีส่วนทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร ลดการใช้พลาสติก เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล หันมาใช้พลังงาน ไบโอดีเซล และสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ํา พลังงานลม เป็นต้น

4. การประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ํา ทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ํา เหล่านี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา อัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี ค.ศ. 1996 ลดลงเหลือ 16 กิโลกรัมต่อคน อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ําก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ําเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและ ยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ําในปัจจุบันนี้ มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก และอีกไม่นานมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหาร เหล่านี้รับประทานกันได้น้อยลงและยากขึ้น

แนวทางในการบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ การปลูกป่าชายเลนเพื่อให้มีแหล่งอาหาร ของสัตว์ เป็นที่วางไข่และเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนของสัตว์ทะเลหลายชนิด หยุดการทําไม้ป่าชายเลนและการทําเหมืองแร่ ในพื้นที่ป่าชายเลน งดการใช้อวนรุน อวนลาก ไม่ทิ้งสมอเพื่อจอดเรือในแนวปะการัง เพราะจะทําให้ปะการัง หักเสียหาย งดการจับปลาในช่วงฤดูวางไข่ ไม่ใช้ระเบิดจับปลา ไม่สร้างโรงแรมและที่พักติดทะเลเพราะจะทําให้เกิดน้ำเสียอันเป็นเหตุให้ปะการังตาย เป็นต้น

5. งานหรือการมีงานทํา (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะ การจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โลกมีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า คือ จาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 พันล้านคน จากข้อมูลขององค์การแรงงานสากล (The United Nations International Labor Organization : ILO) ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานกว่า 1 พันล้านคน หรือ 30% ของ คนในวัยแรงงาน และในช่วงอีกครึ่งศตวรรษต่อไปจะมีคนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาในประเทศกําลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะประเทศ เหล่านั้นมีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงาน ที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงาน เป็นต้น

แนวทางในการบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ได้แก่ ลดช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนมีมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน มีการอบรมการประกอบอาชีพ ให้แก่ประชาชน จัดหาตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มเติม เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ กระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค มีการใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดต่างประเทศให้มาลงทุนในประเทศ มากขึ้น เป็นต้น

ข้อ 4. จงอธิบาย “เมือง” ในทางทฤษฎีของศาสตร์สาขาต่าง ๆ มา 3 ทฤษฎี พร้อมทั้งอธิบายขยายความ โดยละเอียดในแต่ละทฤษฎี ?

แนวคําตอบ

ทฤษฎีและแนวความคิดของศาสตร์สาขาต่าง ๆ

1. แนวความคิดในทางเศรษฐศาสตร์
กระบวนการในการเกิดขึ้นของเมืองในทางเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวโยงกับกระบวนการทางโครงสร้างของสังคมที่ก่อให้เกิดพลวัต หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจชนบทไปเป็นเศรษฐกิจเมืองในแง่ของการแปลงสภาพ ประชากร กระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจชนบท ไปสู่ฐานะของเศรษฐกิจเมือง เช่น

1. การใช้แรงงานเข้มแข็งขึ้นและมีความเป็นปัจเจกภาพสูง
2. มีการกระจุกตัวของแรงงานมากขึ้น
3. มีความชํานาญในการผลิตสินค้าและบริการค่อนข้างสูง
4. มีการพึ่งพาต่อกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด
5. มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และลักษณะของการประกอบการใน ระดับสูง
6. ความหนาแน่นของประชากรทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสําคัญที่จะเกิดขึ้นในแง่ความเป็นเมือง คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเนื่องจากการเกิดความชํานาญ การแบ่งงานกันทําตามความสามารถเฉพาะ การใช้ทุนเข้มข้นในการผลิตและใช้เทคโนโลยี ตลอดจน ประดิษฐกรรมที่ทันสมัย ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระบวนการเกิดเป็นเมืองซึ่งเป็นกระบวนการที่ ควบคู่กัน

2. แนวความคิดของนักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา มองว่าระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และ ความผูกพันร่วมกัน (Common Ties) กล่าวคือ ในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กันทาง สังคมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง

ผลผลิตของชุมชนหรือสังคม ซึ่งได้แก่

-การกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization)
-การควบคุมทางสังคม (Social Control)
-การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)
-การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)
-การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน (Production-Consumption-Distribution)

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรมนั้น คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้ ทั้งนี้เพราะเกิดความรู้สึกมั่นคงในการมีที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอม ทางค่านิยมของกฎเกณฑ์และเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งกระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติ ดังกล่าวก็คือ ความเป็นเมืองนั่นเอง

3. แนวความคิดของนักมานุษยวิทยา

นักมานุษยวิทยา มองว่ากระบวนการสร้างความเป็นเมือง (Urbanization) เป็นรูปหนึ่งของกระบวนการปรับตัวของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นรูปแบบที่สําคัญที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้น การปรับตัวจึงเป็นความสําเร็จอย่างหนึ่งของกลุ่ม และความสําเร็จนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ว่าจะเป็นไปได้ดีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องอาศัยความกลมกลืนกันระหว่างปัจจัยในด้านต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ปมในเชิงนิเวศวิทยา” (Ecological Complex) ซึ่งจะประกอบด้วย

1. ปัจจัยด้านประชากร (Population) โดยมีปัจจัยด้านโครงสร้างของประชากร ที่มีผลต่อกระบวนการเป็นเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้จะชี้ให้เห็นมิติของประชากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนการกระจายตัวหรือโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยลักษณะของคนในแต่ละช่วงอายุ เช่น คุณภาพการศึกษา ทักษะการทํางาน อาชีพ จํานวน การพัฒนา และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งจะส่งผลถึง ปัจจัยด้านอื่นๆ

2. ปัจจัยด้านการจัดองค์กร (Organization) โดยมีมิติที่จะพิจารณาได้ในเรื่องนี้ ได้แก่ แบบขององค์กร สภาพแวดล้อม จํานวนสมาชิก ความสามารถ ผู้นํา เทคโนโลยีที่ใช้ ตลอดจนความร่วมมือ ร่วมใจตามแนวคิดของประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อสภาพของชุมชนและสังคมนั้น ๆ

3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อสังคม และชุมชนในแง่ของพฤติกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรมในแต่ละระดับนั้นอาจพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางด้านธรรมชาติ และปัจจัยแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพิจารณาในแง่ปัจจัยเอื้อหรือไม่เอื้อต่อชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ

4. ปัจจัยด้านเทคนิควิทยาการ (Technology) เป็นปัจจัยสําคัญที่มนุษย์จะสามารถ เอาชนะธรรมชาติได้ และสามารถแข่งขันท่ามกลางภาวะที่จํากัดในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ ประดิษฐกรรมและนวัตกรรมของสังคม

ข้อ 5. จงอธิบายการบริหารหรือจัดการชุมชนเมืองตั้งแต่เริ่มมีแนวคิด อุดมการณ์ ไปสู่การปฏิบัติ ว่ามีหลักการ และวิธีการอะไรอย่างไร พร้อมตัวอย่างโดยสังเขป ?

แนวคําตอบ

การบริหารชุมชนเมืองมุ่งที่จะเสนอแนวคิดและวิธีการปฏิบัติในการบริหารชุมชนเมือง โดยมี วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการบริหารเพื่อตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้น ๆ เป็นหลัก จึงจําเป็นต้องศึกษา ในแง่ของประเด็นปัญหาและบริบทของปัญหาทั้งในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับสากล ตลอดจนแนวทาง ในการพัฒนาชุมชนเมือง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาในเชิงระบบทั้งในด้านปัญหาและข้อเรียกร้อง ของชุมชนเมืองในฐานะปัจจัยนําเข้า (Input) ตลอดจนความจําเป็นและแนวทางของกิจกรรมในฐานะปัจจัยนําออก

(Output) และศึกษาผลกระทบของการบริหารชุมชนเมือง โดยจะศึกษาทั้งตัวองค์กรหรือสถาบันหลักที่เกี่ยวข้อง หรือมีหน้าที่ในการบริหารชุมชนเมือง หรือศึกษาแยกย่อยไปที่ประเด็นรายละเอียดหรือเนื้อหาสาระในชุมชนเมือง ดังนั้นการบริหารชุมชนเมืองจึงมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่การกําหนดเป้าหมายการวางแผน การบริหารและลงมือปฏิบัติจนบังเกิดผล ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้

การบรรลุภารกิจและความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองสมัยใหม่ไม่ใช่เป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการตระหนักในความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมือง โดยชาวชุมชนเองเท่านั้นที่จะนําไปสู่ความสําเร็จในการบริหารชุมชนเมือง กล่าวคือ เมืองที่ประชาชนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมของส่วนรวม รวมไปถึงการตรวจสอบติดตาม การทํางานของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในลักษณะการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ระบบการเมือง ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนสําคัญในการกําหนดแนวทางและวิธีการ ซึ่งอาจได้รับการสนับสนุนจากภายนอกจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมเพราะได้สร้างให้เกิดความรับผิดชอบในการบริหารชุมชนเมืองของชาวชุมชนเมือง โดยแท้จริง โดยจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่สําคัญหลายด้าน เช่น

1. ด้านเกียรติภูมิและสิทธิของประชาชน (Right and Dignity) คือ การให้สาธารณชน ได้ตัดสินใจบริหารงานอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติและความลําเอียง ตลอดจนบริหารงานโดยยึดหลัก กฎหมาย และต้องพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบผ่านกระบวนการกลไกการปกครอง ทั้งนี้เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยสามารถตรวจสอบการบริหารนั้นได้ซึ่งเป็นการให้สิทธิและคํานึงถึงศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของชาวเมือง

2. ด้านความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) คือ การบริหารงานนั้น ต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนในทุกขั้นตอนของการดําเนินงาน ทั้งการอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือบริหารงานบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน ซึ่งการบริหารงานนั้นจะต้องเป็นไปโดยเปิดเผย ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ในขณะที่ทุกฝ่ายต่างก็มีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

3. ด้านความมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือ สามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาและเสนอทางออกให้กับประชาชนได้ รวมทั้งต้องบริหารงานด้วยความคุ้มค่าคือ การใช้ทุนน้อยแต่สามารถบรรลุมาตรฐานด้านต่าง ๆ ตามที่ประชาชนชาวเมืองต้องการ โดยมุ่งสร้างหรือยกระดับ มาตรฐานชีวิตของประชาชน หรือตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของคนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและ เพียงพอ เช่น ความต้องการอาหารที่เพียงพอ อากาศที่บริสุทธิ์ น้ําสะอาดเพื่อการบริโภค ที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่ม ที่น่าพอใจ ความต้องการมีสุขภาพอนามัยที่ดี เป็นต้น

จุดเริ่มต้นในการบริหารชุมชนเมือง

การบริหารชุมชนเมืองจะเริ่มต้นที่การวางแผน และการมีแผนเพื่อให้เป้าหมายที่มนุษย์ต้องการอยู่ในสังคมชุมชนเมืองได้รับการตอบสนอง ซึ่งในการบริหารชุมชนเมืองนิยมเรียกโดยรวมว่า “แผนหรือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง” ภายใต้ชื่อที่หลากหลาย เช่น แผนพัฒนา (Development Plan), แผนเมือง (Urban Plan), แผนแม่บท (Master Plan), แผนทั่วไป (General Plan) เป็นต้น แต่การบริหารชุมชนเมืองมักจะเน้นหนัก แผนกายภาพที่เรียกว่า ผังเมือง (City Plan) และแผนจัดการการเจริญเติบโต (Growth Management Plan)

การบริหารชุมชนเมืองที่ดีจะมีแผนภารกิจ (Action Plan) หรือแนวทางที่ชัดเจนเพื่อมารองรับกิจกรรมการบริหารชุมชนเมืองให้ได้ผล เช่น

1. การออกแบบเมือง (Urban Design) เป็นการสร้างวิสัยทัศน์ของเมืองหรือสร้างสรรค์ ให้เกิดสภาพเมืองที่พึงปรารถนา โดยคํานึงถึงปัจจัยที่สําคัญในด้านความสวยงามน่าชวนมอง คุณค่าด้านจิตใจ เอกลักษณ์ที่โดดเด่น และศักยภาพดั้งเดิมเป็นสําคัญ ซึ่งถือเป็นขั้นการผลักดันให้เกิดแนวคิดและวิสัยทัศน์ของคนในชุมชน

การทําให้เป้าหมายหรือแนวคิดของการออกแบบเมือง ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมที่ สวยงามให้คนภายนอกมองเห็นได้นั้น ต้องมีการวางภูมิทัศน์ของเมือง (Cityscape) ด้วยการสร้างรูปลักษณ์ของเมือง ตามที่ได้รับเอาแนวคิดต่าง ๆ มาใช้กําหนดเป็นทิศทางและลักษณะของเมือง ซึ่งจะปรากฏออกมาเป็นแนวทาง ในการก่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะ ถนนหนทาง และที่ตั้งของสิ่งอํานวยความสะดวกในเมือง เป็นต้น

2. แผนเมือง (City Plan) จะชี้ให้เห็นถึงแนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของเมืองนั้นๆไปสู่ทิศทางที่ต้องการ โดยส่วนร่วมก็จะมีแนวคิดพื้นฐานเพื่อสร้างให้เมืองนั้นมีความสะดวกสบายน่าอยู่อาศัย หรือสร้างให้ผู้คนมีความหวังและสามารถมองไปในอนาคตได้ ซึ่งแผนเมืองนี้อาจจะกําหนดเป็นแผนแม่บทหรือ แผนหลัก (Master Plan) ที่จะเป็นกรอบหรือแนวทางไปสู่การวางแผนปฏิบัติ หรือนโยบายในการวางแผนเมือง (City Planning Politics) ต่อไป ซึ่งได้แก่

1) แผนในภาพรวม อาจจะต้องอาศัยทิศทางและความสอดคล้องในระดับกว้าง เช่น แผนภูมิภาคหรือแผนระดับประเทศที่ต้องอาศัยความเกี่ยวพันและการตัดสินใจ และความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นไม่เฉพาะเมืองนั้นเมืองเดียว

2) การผังเมืองและการวางแผนการใช้พื้นที่ ดําเนินการโดยอาศัยกฎหมายการผังเมือง และการบริหารงานในเชิงนโยบาย จนกลายเป็นผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) หรือผังเมืองเฉพาะ (Specific Plan)

-ผังเมืองรวม คือ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้น บนพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของท้องถิ่นในอนาคต
-ผังเมืองเฉพาะ เป็นผังที่จัดทําขึ้นหลังจากมีผังเมืองรวม มีความละเอียด มากกว่าผังเมืองรวม และจะจัดทําในพื้นที่บางส่วนของผังเมืองรวม ซึ่งเป็น พื้นที่ที่มีความสําคัญสูง หรือมีความจําเป็นสูงที่จะต้องสงวนรักษา เช่น พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางสภาพแวดล้อม หรือพื้นที่ธุรกิจการค้า เป็นต้น

3. การวางแผนด้านอื่น ๆ เป็นการวางแผนที่อาจผสมผสานการวางแผนในเชิงกายภาพและในเชิงการบริหาร เช่น การวางแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจ, การวางแผนทิศทางการเจริญเติบโตของเมืองการวางแผนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ข้อ 6. จงอภิปรายปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเมืองในสังคมที่กําลังพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรม สัก 3 – 5 ประเด็นปัญหา ?

แนวคำตอบ
ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเมือง

1. ปัญหาการจราจร มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้น ภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น
– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางาน เพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ
– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับส่งพนักงาน เป็นต้น
– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการ เชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ
– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัด อยู่แล้ว
– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้ง ขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ
– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด
– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2. ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ํา มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง

ปัญหามลพิษทางน้ำ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย
– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ําแก่ประชาชน
– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ
– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ําเสียลงสู่แม่น้ำ

ปัญหามลพิษทางอากาศ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ
– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา
– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของ เชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ
– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
-เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์ มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียง มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้
-การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์
-การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ
-การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง
-การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย
-การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3. ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัด มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้
– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล
– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากร
– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า “สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”
– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์ หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย
– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง
– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4. ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชน มีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้
-ให้มีอาสาสมัคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน
– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจร อาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ
– ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

5. ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้
– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค
– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่าง กว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

ข้อ 7. การจัดการภัยพิบัติมีความสําคัญอย่างไร จงอธิบายกรอบความคิดการจัดการอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นกับเมืองมาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ

ความสําคัญของการจัดการภัยพิบัติ

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ ช่วยชีวิตและฟื้นฟูบูรณะหลังเหตุการณ์ ซึ่งในอดีตการจัดการภัยพิบัติมักเน้นเรื่อง การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันแนวโน้มของการจัดการภัยพิบัตินั้นจะมีลักษณะของการเตรียมการ เชิงรุกมากขึ้น โดยดําเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติ รวมทั้งมีมาตรการที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นการวางแผนเพื่อเผชิญหน้ากับ
สถานการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และหลังจากที่เกิดภัยพิบัติแล้ว

กรอบความคิดการจัดการอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นกับเมือง ได้แก่

1. เข้าถึงข้อมูลรายละเอียดที่เป็นจริง
2. พึ่งออกแบบการจัดการให้สามารถรับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจากการวางแผนไว้
3. บูรณาการแผนการจัดการน้ําท่วมให้สอดคล้องเข้ากับแผน/โครงการของการบริหารชุมชน
4. มีกลยุทธ์/มาตรการที่หลากหลายที่เกื้อกูลกันและจัดการอย่างสมดุล
5. คํานึงถึงความเหมาะสมทุกพื้นที่ทั้งต้นน้ําและปลายน้ํา
6. มาตรการทางวิศวกรรมที่ออกแบบมาอาจสําเร็จหรือล้มเหลว หรือไม่ได้ผลทั้งหมด ก็ย่อมดีกว่าไม่มีมาตรการใด ๆ
7. มาตรการจัดการอุทกภัยต้องใช้เป็นเครื่องมือที่มาเสริมแผนบริหารเมือง
8. คํานึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ/สังคมในวงกว้าง
9. ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน
10. ขั้นตอนการปฏิบัติจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
11. การทํางานจําเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารและการกระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่อง
12. ควรมีแผนในการฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งในระยะยาว

ข้อ 8. การผังเมืองคืออะไร มีความสําคัญอย่างไรต่อการบริหารชุมชนเมือง หากไม่มีจะเกิดอะไร อย่างไร ?

แนวคําตอบ

การผังเมือง (City Planning) คือ

1. การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาว เพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่างยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2. การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมืองและการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2. เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุล กล่าวคือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนาทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3. เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทางที่ ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่มี

1. ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ
2. นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง และทัศนียภาพ
3. เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
4. นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)
5. พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความรื่นรมย์จะหดหายไป เป็นต้น

ข้อ 9. การเดินทางโดยไม่ใช้ยานยนต์ (Non-Motorized Vehicle) คืออะไร มีคุณค่า ความสําคัญอย่างไร ต่อการจัดการเมือง จงวิเคราะห์ อภิปราย ?

แนวคําตอบ

การเดินทางโดยไม่ใช้ยานยนต์ (Non-Motorized Vehicle) หรือ “การเดินทางด้วยพาหนะ ที่ไม่ใช้เครื่องยนต์” เป็นวิธีการเดินทางด้วยพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ไม่มีเครื่องยนต์ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนติดไว้ถาวรหรือชั่วคราวในตัว โดยที่บุคคลหรือสิ่งของจะถูกเคลื่อนย้ายไปโดยการขับเคลื่อน ด้วยพลังกล้ามเนื้อของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเดิน การขี่จักรยาน การพายเรือ การใช้สเก็ตบอร์ด การใช้รถเข็น หรือการเดินทางด้วยพาหนะที่ใช้สัตว์ลากจูง เป็นต้น

คุณค่าของการเดินทางโดยไม่ใช้ยานยนต์

1. เป็นวิธีการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. ลดปริมาณน้ำมันและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
3. ลดอันตรายจากการสัญจรของรถยนต์และรถบรรทุก
4. ลดมลภาวะมลพิษทางอากาศ ทําให้ออกซิเจนในอากาศสูงขึ้น
5. ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่กําลังจะหมดไปโดยเฉพาะน้ํามันและถ่านหิน
6. ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์อันเป็นสาเหตุทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
7. ส่งเสริมให้คนหันมาออกกําลังกายเพื่อประโยชน์ของสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม
8. เป็นวิธีการออกกําลังอย่างหนึ่งซึ่งจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน และทําให้ จิตใจเบิกบานแจ่มใส เป็นต้น

ความสําคัญของการเดินทางโดยไม่ใช้ยานยนต์ต่อการจัดการเมือง

1. แก้ปัญหารถติด/ปัญหาความแออัด และความล่าช้าของจราจรโดยยานยนต์ได้
2. สามารถใช้พื้นผิวจราจรได้หลากหลายกว่าการเดินทางโดยยานยนต์
3. สามารถเดินทางไปได้ทุกหนทุกแห่งที่มีถนนรองรับอยู่แล้ว ไม่จําเป็นต้องขยายถนนหรือก่อสร้างผิวจราจรใหม่
4. ประหยัดเงินลงทุนมหาศาล ไม่ต้องใช้เงินในการซื้อที่ดินหรือเวนคืนที่ดินจํานวนมาก
5. สามารถทําได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว เป็นต้น

ข้อ 10. การจัดการการเดินทางและการขนส่งเพื่อบรรลุไปสู่ความยั่งยืนคืออะไร อย่างไร ?

แนวคําตอบ

หลักการพื้นฐานของการจัดการการเดินทางและการขนส่งนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคํานึงถึงทุกกลุ่มผู้เดินทาง เช่น คนเดินเท้า คนเดินทางโดยรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถขนส่งสาธารณะ รถยนต์ ส่วนบุคคล เป็นต้น รวมไปถึงคนทุกกลุ่มทุกระดับ เช่น เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อ นําไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคม นั่นหมายถึงการส่งเสริมให้นําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง

ในอดีตมักมีความเข้าใจว่าการจราจรติดขัดนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากมีรถยนต์มากเกินกว่าระบบ จะรองรับได้ ทําให้การเดินทางและการขนส่งไม่สะดวก เกิดปัญหามลพิษและอุบัติเหตุตามมา เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิต แย่ลง เป็นผลให้มีแนวทางการแก้ไขปัญหาคือการขยายความจุถนน โดยการสร้างถนนเพิ่มและขยายความกว้าง ของถนน เพื่อให้รองรับปริมาณจราจรได้มากขึ้น แต่กลับพบว่าวิธีการดังกล่าวนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากยิ่งสร้างยิ่งขยายถนนมากขึ้น ปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลก็ยิ่งมากขึ้น และอัตราการเพิ่มขึ้นของ การใช้รถยนต์ก็สูงขึ้นเร็วกว่าที่จะสร้างหรือขยายถนนได้ทัน นอกจากนี้ความน่าอยู่ของเมืองจะยิ่งลดลง เพราะ พื้นที่สาธารณะลดลง ลดลง สภาพภูมิทัศน์เสียไป ขาดความร่มรื่น ขาดพื้นที่ในการดําเนินกิจกรรมทางสังคม และ เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างของมาตรการในการจัดการการเดินทางและการขนส่ง เช่น
1. การสร้างข้อจํากัดในการเดินทาง
2. การปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะ
3. การใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง
4. การร่วมเดินทางไปด้วยกัน
5. มาตรการควบคุมการจอดรถ
6. มาตรการควบคุมการใช้ที่ดิน
7. มาตรการเดินทางด้วยพาหนะที่ไม่ใช้ยานยนต์

ในกระบวนการจัดการข้างต้น ควรให้ความสําคัญในเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชน”ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายควรกําหนดให้ต้องมีเพราะจะทําให้วัตถุประสงค์ได้รับการพิจารณาโดยครอบคลุมทุกด้าน เข้าใจปัญหาดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดการสนับสนุนและการยอมรับยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา และยังช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการดําเนินการ ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์มีจํานวนตามความต้องการอย่างแท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั่นเอง

การวางแผนสําหรับผู้เดินทางโดยรถขนส่งสาธารณะ ผู้ใช้จักรยาน และผู้เดินเท้า ควรมีการ วางแผนการจัดการที่จอดรถไปพร้อมกันด้วย โดยมีการควบคุมอย่างเข้มงวดในศูนย์กลางเมือง มีการควบคุม ปริมาณที่จอดรถและค่าจอดรถ ทั้งที่จอดรถสาธารณะริมถนนและที่จอดรถที่เป็นของส่วนบุคคลและเอกชน เพราะมาตรการควบคุมที่จอดรถดังกล่าวนี้ จะทําให้การใช้รถยนต์ลดความสะดวกลงและมีค่าใช้จ่ายสูง เป็นผลให้ ผู้ที่มีรถยนต์จะใช้รถยนต์เท่าที่จําเป็น หันไปใช้รถขนส่งสาธารณะมากขึ้น ทําให้ปัญหาการจราจรลดน้อยลง นอกจากนี้ควรมีการจัดการปรับปรุงทางเดินที่เหมาะสมสําหรับการเข้า-ออกสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT เพื่อ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรถยนต์มาใช้รถไฟฟ้าได้ ซึ่งจะส่งผลให้การเดินทางและการขนส่งนั้นมีประสิทธิภาพและบรรลุผลมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า “การเดินทางและการขนส่งที่ยั่งยืน” เป็นการพัฒนาการจราจรและ ขนส่งที่หลีกเลี่ยงการทําลายสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในระยะยาว และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ให้น้อยที่สุด สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้ง 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้เพราะการเดินทางและการขนส่งที่ยั่งยืนเป็นองค์ประกอบย่อยของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ s/2566

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3302 การวางแผนในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติจะมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายมากในกรณีใด
(1) ทรัพยากรไม่เพียงพอ
(2) สังคมไม่สนับสนุนนโยบาย
(3) เวลาไม่เอื้ออํานวย
(4) วัตถุประสงค์ของนโยบายไม่ชัดเจน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติจะมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายมากในกรณีวัตถุประสงค์ของนโยบายไม่ชัดเจน

2. ความเป็นไปได้ทางการเมืองของนโยบายขึ้นอยู่กับสิ่งใด
(1) อัตราส่วนของ ส.ส. ในสภา
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและข้าราชการ
(3) การสนับสนุนจากสาธารณชน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 19, 74, (คําบรรยาย) ความเป็นไปได้ทางการเมืองของนโยบายขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อัตราส่วนของ ส.ส. ในสภา เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ (ข้าราชการ) และเอกชน
3. การสนับสนุนจากสาธารณชน

3.องค์การลักษณะใดมีโอกาสนํานโยบายไปปฏิบัติได้สําเร็จสูง
(1) องค์การแบบยึดกฎระเบียบ
(2) องค์การแบบกระจายอํานาจ
(3) องค์การแบบแนวดิ่ง
(4) องค์การแบบแนวราบ
(5) ขึ้นอยู่กับลักษณะของนโยบาย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การที่มีโอกาสนํานโยบายไปปฏิบัติได้สําเร็จสูงนั้นขึ้นอยู่กับ ลักษณะของนโยบายเป็นสําคัญ บางนโยบายอาจจะต้องใช้องค์การแบบยึดกฎระเบียบจึงจะสําเร็จ บางนโยบายอาจจะต้องใช้องค์การแบบกระจายอํานาจจึงจะสําเร็จ ดังนั้นการนํา นโยบายไปปฏิบัติจะสําเร็จหรือล้มเหลวจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การแบบใดแบบหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของนโยบายที่จะต้องมีความเหมาะสมกับองค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ

4. ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติหมายถึงอะไร
(1) วัฒนธรรม
(2) การจัดองค์การ
(3) ความรู้สึกต่อนโยบาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 78 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
1. ความสามารถ ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ
2. วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ
3. ประสบการณ์
4. ความรู้สึกต่อนโยบาย

5.ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาด้านใด
(1) ทรัพยากร
(2) ความเป็นไปได้ทางการเมือง
(3) ความถูกต้องทางทฤษฎี
(4) วัตถุประสงค์ของนโยบาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาด้านความเป็นไปได้ทางการเมือง ซึ่งก็คือเรื่องของ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับข้าราชการ ทําให้ข้าราชการปฏิบัติตามนโยบายอย่างไม่เต็มที่ ซึ่งส่งผลให้การนํานโยบายไปปฏิบัติอาจไม่ประสบความสําเร็จ

6. ศรีธนนชัยนําข้าวของในบ้านไปทิ้งเพราะรู้สึกขี้เกียจ เมื่อแม่บอกให้ทําความสะอาดบ้านให้เตียนโล่ง
แสดงให้เห็นถึงปัญหาอะไร
(1) ความขัดแย้งในตัวเองของนโยบาย
(2) วัตถุประสงค์ของนโยบาย
(3) ทัศนคติของศรีธนนชัย
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การที่ศรีธนนชัยนําข้าวของในบ้านไปทิ้งเพราะรู้สึกขี้เกียจ เมื่อแม่บอกให้ ทําความสะอาดบ้านให้เตียนโล่งนั้น แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านทัศนคติของศรีธนนชัยและ วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ไม่ชัดเจน ทําให้เกิดการตีความนโยบายหรือเข้าใจในนโยบาย ไม่ตรงกับที่ผู้กําหนดนโยบายกําหนดไว้

7. โรงเรียนยังคงเก็บค่าบํารุงกิจกรรม แม้มีนโยบายเรียนฟรี เป็นปัญหาด้านใด
(1) ทรัพยากร
(2) ตัวชี้วัด
(3) เป้าหมายของนโยบาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19, 76, (คําบรรยาย) โรงเรียนยังคงเก็บค่าบํารุงกิจกรรม แม้มีนโยบายเรียนฟรี เป็นปัญหาด้านทรัพยากรซึ่งก็คือเรื่องของเงินทุนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทรัพยากรนี้ถือเป็นปัจจัยสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติ หากทรัพยากรมีไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติตามนโยบาย

8. มีการฉีดน้ำใส่เครื่องวัดละอองฝุ่น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาด้านใด
(1) เป้าหมายของนโยบาย
(2) ความถูกต้องทางทฤษฎี
(3) ความเป็นไปได้ทางการเมือง
(4) ตัวชี้วัด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การฉีดน้ําใส่เครื่องวัดละอองฝุ่น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาเรื่อง ตัวชี้วัด ดังนั้นการกําหนดตัวชี้วัดจะต้องครอบคลุมและรัดกุม จึงจะทําให้นํานโยบายไปปฏิบัติ
เป็นไปตามเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้

9.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของแผน
(1) ข้อเสนอกว้าง ๆ เพื่อปัจจุบัน
(2) มีการปฏิบัติ
(3) เกี่ยวข้องกับบุคคลและองค์การ
(4) มีการแก้ปัญหา
(5) มีมาตรฐานและถือหลักประหยัด
ตอบ 1 หน้า 21, 81 ลักษณะทั่วไปของแผน มีดังนี้
1. ความเป็นอนาคต (Future Oriented)
2. มีการปฏิบัติ (Action Oriented)
3. เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือองค์การ (Organization Oriented)
4. มีการแก้ปัญหาหรือข้อขัดแย้ง (Problem Solving Oriented)
5. มีมาตรฐาน (Standardized Oriented)
6. ถือหลักประหยัด (Economical Oriented)

10. การวางแผนต้องการจัดเตรียมสิ่งใดเพื่ออนาคต
(1) ปัญหา
(2) แนวทางการปฏิบัติ
(3) ข้อจํากัด
(4) กิจกรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 25, (คําบรรยาย) การวางแผน (Planning) เป็นการเสนอแนะแนวทางในการทํางาน หรือแนวทางการปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์และการตัดสินใจที่จะเสนอข้อเสนอแนะในการทํางาน
ในอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วยวิธีที่ดีที่สุด และถือว่ากระบวนการวางแผนเป็นเรื่องที่ต้อง ใช้เหตุผลและต้องใช้ความคิดเชิงประยุกต์อย่างมาก

11. ข้อใดคือลักษณะของแผนที่ดี
(1) มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
(2) ยืดหยุ่นได้
(3) ปฏิบัติได้จริง
(4) มีความต่อเนื่อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 21 – 22, 81 ลักษณะของแผนที่ดี มีดังนี้
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน (Clear Objective)
2. ยืดหยุ่นได้ (Flexible)
3. ปฏิบัติได้จริง (Applicable)
4. มีความต่อเนื่อง (Continuous)

ตั้งแต่ข้อ 12. – 14. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ป้องกัน
(2) แก้ไข
(3) พัฒนา
(4) การรบ
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

12. ข้อใดเป็นการวางแผนเชิงรุก
ตอบ 5 หน้า 25, (คําบรรยาย) ปัญหาของแผน อาจจําแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. ปัญหาแก้ไข คือ ปัญหาที่ปรากฏผลเสียหายให้เห็นอยู่แล้ว จึงต้องรีบวางแผนหาทางแก้ไข ปัญหาชนิดนี้แก้ไขได้ง่ายที่สุดและมักทําให้เกิดแผนเร่งด่วนซึ่งนับเป็นแผนเชิงรับ
2. ปัญหาป้องกัน คือ ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏผลเสียหายขึ้นในขณะวางแผน แต่สามารถรู้ได้ว่า หากไม่รีบวางแผนแก้ไขก็จะปรากฏผลเสียหายในอนาคตได้ ซึ่งปัญหาชนิดนี้มักทําให้เกิดแผนเชิงรุก
3. ปัญหาพัฒนา คือ ปัญหาที่ไม่ปรากฏผลเสียหายทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ต้องมี การวางแผนเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งนักวางแผนต้องใช้ความสามารถ ในการมองการณ์ไกลมากเป็นพิเศษ ปัญหาชนิดนี้จึงมักทําให้เกิดแผนเชิงรุก

13.ข้อใดเป็นการวางแผนเชิงรับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14. ปัญหาข้อใดแก้ไขได้ง่ายที่สุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

15. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการวางแผน
(1) ควรเป็นงานของผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
(2) ควรเป็นงานระดับกลุ่ม
(3) ควรเป็นงานของผู้ที่จะต้องนําแผนไปดําเนินการ
(4) เป็นการคาดคะเนอนาคต
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 26, 84 – 85 สิ่งที่ต้องเข้าใจสําหรับการวางแผน มีดังนี้
1. ควรเป็นงานของผู้ชํานาญการ
2. ควรเป็นงานของผู้ที่จะต้องนําแผนไปดําเนินการ
3. ควรเป็นงานระดับกลุ่ม
4. องค์การต้องมีโครงสร้างเหมาะสมให้เกิดการวางแผน
5. เป็นการคาดคะเนอนาคต การคัดเลือกภารกิจ วัตถุประสงค์ และแนวทางกลยุทธ์
6. ต้องจูงใจให้ผู้จัดการวางแผนเห็นความสําคัญ
7. ความถูกต้องของการวางแผนต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องเพียงพอของฐานข้อมูล ฯลฯ

16. ข้อใดเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงในการวางแผน
(1) จัดโครงสร้างเหมาะสมต่อการวางแผน
(2) จูงใจให้ผู้จัดการวางแผนเห็นความสําคัญ
(3) กําหนดแผนงานหลัก
(4) คัดเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 26, (คําบรรยาย) หน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงในการวางแผน มีดังนี้
1. การพัฒนาวัฒนธรรมกลยุทธ์ในองค์การ
2. การคัดเลือกทางเลือกกลยุทธ์สุดท้าย
3. การกําหนดแผนงานหลัก
4. การจัดโครงสร้างให้เหมาะสมต่อการวางแผน
5. การจูงใจให้ผู้จัดการวางแผนเห็นความสําคัญของการกําหนดกลยุทธ์การวางแผน ฯลฯ

17. ข้อใดสําคัญที่สุดต่อความถูกต้องของการวางแผน
(1) เวลา
(2) งบประมาณ
(3) ข้อมูล
(4) การจูงใจ
(5) องค์การ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

18. ข้อใดเป็นทักษะของนักวางแผนที่ดี
(1) มีจินตนาการที่กว้างไกล
(2) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
(3) มีความรู้ในหลายสาขา
(4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 27, 35, (คําบรรยาย) การวางแผนเป็นการใช้สติปัญญาเพื่อกําหนดแนวทางสําหรับ การดําเนินงานขององค์การในอนาคต ดังนั้นนักวางแผนที่ดีจะต้องอาศัยทักษะหลาย ๆ ด้าน ประกอบกัน เช่น ต้องใช้ทั้งจินตนาการที่กว้างไกล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี ต้องมีความรู้ ในหลักวิชาการหลาย ๆ สาขาหรือนําหลักสหวิทยาการมาใช้ ต้องรู้จักใช้เทคนิค ทฤษฎี การพยากรณ์ให้เหมาะสม เป็นต้น จึงจะช่วยให้การวางแผนสมบูรณ์ได้มากขึ้น

19. การวางแผนโดยปกติเป็นหน้าที่ของใคร
(1) นักบริหารระดับสูง
(2) นักบริหารระดับกลาง
(3) นักบริหารระดับล่าง
(4) ประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 27, 35, (คําบรรยาย) นักวางแผน (Planner) หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่วางแผนเพื่อสร้างสรรค์แผนงานตามแนวทางที่องค์การต้องการ โดยปกติ หน้าที่ในการวางแผนในระดับองค์การนั้นจะถือเป็นหน้าที่ของนักบริหารระดับกลาง (Middle Level Administrator)

20. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับโครงการ
(1) มีความยืดหยุ่นมากกว่าแผน
(2) มุ่งหมายให้เกิดผลิตผล
(3) เป็นหน่วยเล็กที่สุดในกระบวนการ
(4) ระบุวิธี เวลา และสถานที่
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 36, 88 – 89, (คําบรรยาย) โครงการมีความแตกต่างจากแผน ดังนี้
1. โครงการไม่มีความยืดหยุ่นอย่างแผน เพราะโครงการมีการระบุวิธี เวลา และสถานที่อย่างเจาะจงและชัดเจน
2. โครงการมีความมุ่งหมายให้เกิดผลิตผลมากกว่าแผน
3. โครงการเป็นหน่วยเล็กที่สุดในโครงสร้าง

21. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับกระบวนการวางโครงการ
(1) ใช้หลักการวางแผนทั่วไป
(2) ต้องสัมพันธ์กับโครงการอื่นเสมอ
(3) มีเป้าหมายกว้าง ๆ
(4) ระบุรายละเอียดในการปฏิบัติ
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 36 – 39, (คําบรรยาย) กระบวนการวางโครงการ (Program Planning Processes) เป็นขั้นตอนการก่อตัวของโครงการ ซึ่งโดยทั่วไปมีแนวคิดและขั้นตอนที่สําคัญ ดังนี้
1. ใช้หลักการวางแผนทั่วไป
2. โครงการทั้งหลายจะต้องสัมพันธ์กับโครงการอื่นเสมอ
3. การวางโครงการต้องมีรายละเอียดซึ่งสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้เพื่อฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายติดตามประเมินผลจะได้ปฏิบัติตามได้โดยสะดวก
4. การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการต้องมีความชัดเจนและกระทัดรัด ตอบสนองปัญหาและความต้องการได้ และปฏิบัติได้จริง ฯลฯ

22. ข้อใดคือลักษณะของโครงการที่ดี
(1) มีความเป็นอุดมคติ
(2) มีความยืดหยุ่น
(3) มีความเจาะจง
(4) มีความเป็นนามธรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. และ 21. ประกอบ

23. รายละเอียดของโครงการต้องประกอบด้วยอะไร
(1) ใคร
(2) ทําอะไร
(3) ที่ไหน
(4) อย่างไร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงการเป็นการมุ่งดําเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลิตผลตามแนวทางที่แผนวางไว้ดังนั้นรายละเอียดของโครงการจึงต้องมีความเจาะจง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจและสามารถปฏิบัติ ตามได้ รายละเอียดของโครงการจึงต้องประกอบไปด้วย ใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

ตั้งแต่ข้อ 24 – 27. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การศึกษาว่าโครงการมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติหรือไม่
(2) การก่อตัวของโครงการ
(3) การดําเนินงานเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ
(4) การตรวจสอบผลการดําเนินโครงการที่ผ่านไปแล้ว
(5) การปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการดําเนินงาน

24. การวางโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

25. การวิเคราะห์โครงการ
ตอบ 1 หน้า 39, 91 การวิเคราะห์และประเมินโครงการ (Program Analysis and Appraisal) มีความหมาย 2 ลักษณะ คือ
1. การศึกษาว่าโครงการมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติหรือไม่
2. การจําแนกแยกแยะ “ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น” หากมีการนําโครงการไปปฏิบัติจริงว่าสมควรแก่การดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

26. การประเมินผลโครงการ
ตอบ 4 หน้า 45, (คําบรรยาย) การประเมินผลโครงการ หมายถึง การตรวจสอบผลการดําเนิน โครงการที่ผ่านไปแล้ว โดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริง (Exact Results) จากการ ดําเนินการกับผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Results) จากโครงการ หรือหมายถึง การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นการประเมินผลโครงการจึงทําให้ทราบว่าโครงการที่ได้ดําเนินการไปแล้วนั้นประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงไร

27. การนําโครงการไปปฏิบัติ
ตอบ 3 หน้า 42, 94 การนําโครงการไปปฏิบัติ (Program Implementation) มีความหมายดังนี้
1. การจัดเตรียม จัดหา วิธีการต่าง ๆ ที่จะดําเนินการให้สิ่งที่ต้องการเกิดผลขึ้นมา ซึ่งรวมถึง ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะปรับปรุง และพัฒนาความสามารถที่จะดําเนินงานตามโครงการ
2. การดําเนินงานเพื่อให้เกิดผลตามต้องการซึ่งอาจเป็นความพยายามเฉพาะเรื่องในการทําให้การตัดสินใจขององค์การเป็นไปตามแผนหรือนโยบาย

28. ข้อใดไม่ใช่ภารกิจที่สําคัญในการวิเคราะห์และประเมินโครงการ
(1) การวิเคราะห์ด้านการบริหาร
(2) การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ
(3) การวิเคราะห์ด้านการเมือง
(4) การวิเคราะห์ด้านสังคม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 40 – 42, (คําบรรยาย) ภารกิจที่สําคัญในการวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีดังนี้
1. การวิเคราะห์ด้านการเงิน
2. การวิเคราะห์ด้านการบริหาร
3. การวิเคราะห์ทางเทคนิค
4. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของวิชาการ
5. การวิเคราะห์ด้านสังคม
6. การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ
7. การการวิเคราะห์ด้านการตลาด

29. การควบคุมโครงการครอบคลุมถึงอะไร
(1) เวลา
(2) ค่าใช้จ่าย
(3) คุณภาพ
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 44, (คําบรรยาย) การควบคุมโครงการโดยทั่วไปมักจะกระทําใน 3 ด้าน คือ
1. ควบคุมเวลา (Time Control) คือ ควบคุมให้เสร็จตรงตามเวลาที่ได้วางโครงการไว้ โดยใช้เทคนิค PERT
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) เป็นการควบคุมรายจ่ายของโครงการให้อยู่ใน กรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค PPBS
3. ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (Quality Control) เป็นการควบคุมให้เกิดผลงาน ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เทคนิคที่ใช้อาจกระทําได้ โดยการกําหนดมาตรฐาน (Standard) ของงาน

30. การวิเคราะห์ทางด้านการบริหารโครงการคืออะไร
(1) วิเคราะห์ความคุ้มทุน
(2) วิเคราะห์ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์
(3) วิเคราะห์เศรษฐกิจ
(4) วิเคราะห์ความเหมาะสมกับสภาพสังคม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 41, 92 การวิเคราะห์ทางด้านการบริหารโครงการ คือ การวิเคราะห์ความสามารถในการนําทรัพยากรที่มีอยู่จํากัดมาผสมผสานกันอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ต้องการ ดังนั้นการวิเคราะห์ทางด้านการบริหารจึงต้องวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ตัวผู้บริหาร
2. ลักษณะการจัดหน่วยงาน
3. ระเบียบวิธี และกระบวนการในการปฏิบัติงาน
4. พฤติกรรมการบริหาร

31. การวิเคราะห์ทางด้านการบริหารโครงการไม่ได้วิเคราะห์อะไร
(1) ตัวผู้บริหาร
(2) ลักษณะการจัดหน่วยงาน
(3) กระบวนการในการปฏิบัติ
(4) สังคมในภาพรวม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
(1) มักใช้ในกรณีที่มีเวลาและทรัพยากรมาก
(2) มักประเมินสภาพแวดล้อม
(3) มักประเมินด้านเทคนิค
(4) มักประเมินด้านการบริหาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 42, 93 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นการศึกษา โอกาสสําเร็จของโครงการ เพื่อตัดสินใจว่าจะดําเนินโครงการหรือไม่ การศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการนี้มักใช้ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน มีเวลาประเมินจํากัด โดยมักจะประเมินเพียง ตัวแปรหลัก ๆ ดังนี้
1. ประเมินด้านการบริหาร
2. ประเมินด้านความคุ้มทุนของโครงการ
3. ประเมินด้านเทคนิคของโครงการ .
4. ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ

33. เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานโครงการแล้วต้องทําสิ่งใด
(1) บํารุงขวัญผู้ร่วมงาน
(2) ส่งรายงาน
(3) เก็บหลักฐาน
(4) ส่งคืนสิ่งต่าง ๆ ที่จําเป็น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 45 การสิ้นสุดการปฏิบัติงาน เมื่อใกล้จะเสร็จสิ้นขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องบํารุงขวัญผู้ร่วมงานแต่เนิ่น ๆ เมื่อที่จะลดปริมาณคนทํางานลงตามงานที่เริ่มลดน้อยลง นอกจากนี้ยังจะต้องเตรียมการปิดโครงการ หรืองาน “เก็บกวาด” เช่น ส่งรายงานครั้งสุดท้าย เก็บหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่จําเป็น ส่งคืนสิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องมือ บุคลากร สถานที่ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 34 – 36. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ผลโดยตรง
(2) ผลโดยอ้อม
(3) ผลทางกายภาพ
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ

34. ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ตอบ 1 หน้า 45, (คําบรรยาย) ผลที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ (Exact Results) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้น จากการนําโครงการไปปฏิบัติ ซึ่งจําแนกอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ผลโดยตรง (Direct Results) คือ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ผลโดยอ้อม (Indirect Results) คือ ผลพลอยได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ

35. ผลพลอยได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

36. ผลที่มักจะได้จากการประเมินโครงการทันทีหลังเสร็จสิ้น
ตอบ 4 หน้า 46, 99 การประเมินผลโครงการทันทีหลังเสร็จสิ้น มักเป็นการประเมินผลโดยตรง (Direct Results) ของโครงการและมีลักษณะผลทางกายภาพ (Physical Results) เป็นส่วนใหญ่ เช่น เมื่อสร้างถนนเสร็จจะวัดความยาว ความแข็งแรงของถนนได้ทันที เป็นต้น

37. การประเมินผลโครงการมีประโยชน์อย่างไร
(1) ทราบว่าโครงการประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด
(2) ทราบสาเหตุที่ทําให้โครงการสําเร็จ
(3) ทราบสาเหตุที่ทําให้โครงการล้มเหลว
(4) เป็นข้อมูลสําหรับการวางโครงการในอนาคต
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 50, 101, (คําบรรยาย) การประเมินผลโครงการมีประโยชน์ ดังนี้
1. ทําให้ทราบว่าการดําเนินโครงการประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด
2. ทําให้ทราบสาเหตุที่ทําให้โครงการประสบความสําเร็จหรือล้มเหลว
3. เป็นข้อมูลสําหรับการวางโครงการในอนาคต

38. การประเมินผลโครงการทําเมื่อใด
(1) ก่อนวางโครงการ
(2) ขณะดําเนินโครงการ
(3) เมื่อโครงการสําเร็จแล้ว
(4) เมื่อถึงปีงบประมาณ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 46, 98 – 99, (คําบรรยาย) การประเมินผลโครงการตามลักษณะเวลาในการประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การประเมินผลก่อนวางโครงการ (Intrinsic/Ext-ante Evaluation)
2. การประเมินผลเมื่อมีการปฏิบัติแล้ว (Pay-off Evaluation) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การประเมินผลขณะดําเนินโครงการ และการประเมินผลเมื่อโครงการสําเร็จแล้ว

ตั้งแต่ข้อ 39 – 43. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การประเมินทรัพยากรที่ใช้ไป
(2) การประเมินผลผลิตที่ได้
(3) การประเมินประสิทธิภาพ
(4) การประเมินประสิทธิผล
(5) การประเมินกระบวนการ

39. แยกแยะสาเหตุของความสําเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ
ตอบ 5 หน้า 47, 99, (คําบรรยาย) Suchman ได้แบ่งประเภทของการประเมินผลโครงการ ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Effort Evaluation เป็นการประเมิน Input หรือทรัพยากรที่ใช้ไปในโครงการ เช่น คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ เวลา เป็นต้น
2. Performance Evaluation เป็นการประเมิน Output หรือผลผลิตที่ได้ของโครงการ
3. Adequacy of Performance เป็นการประเมินประสิทธิผลของโครงการ โดยการ เปรียบเทียบเป้าหมายกับผลที่ได้ของโครงการ
4. Efficiency Evaluation เป็นการประเมินประสิทธิภาพของโครงการ โดยดูอัตราส่วน ระหว่าง Input : Output ซึ่งอาจออกมาในรูป Benefit Cost Ratio เป็นต้น
5. Process Evaluation เป็นการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานของโครงการ เพื่อแยกแยะให้เห็นสาเหตุของความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ

40.ประเมิน Input ของโครงการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. ประเมิน Output ของโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

42. เปรียบเทียบเป้าหมายและผลที่ได้ของโครงการ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

43. ประเมินอัตราส่วน Input : Output ของโครงการ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

44.คน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ไปในโครงการ คืออะไร
(1) Input
(2) Output
(3) Outcome
(4) ผลกระทบข้างเคียง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

45. ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน คืออะไร
(1) ผลผลิต
(2) ความนิยม
(3) ตัวชี้วัด
(4) กลุ่มเป้าหมาย
(5) ต้นทุน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัด คือ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน ซึ่งคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดีมีดังนี้
1. Validity คือ สมเหตุสมผล อธิบายได้
2. Availability คือ ความมีอยู่ของข้อมูล
3. Reliability คือ ความเชื่อถือได้
4. Sensitivity คือ ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง

ตั้งแต่ข้อ 46. – 50. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) จํานวนผู้มาใช้สิทธิในการรับบริการ
(2) งบประมาณที่รัฐบาลใช้ไปในโครงการ
(3) ความเสมอภาคในการได้รับบริการทางสาธารณสุขของคนไทย
(4) ความยากจนและความเหลื่อมล้ําของรายได้ในประเทศไทย
(5) อัตราการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์ที่สูงขึ้น

46. ข้อใดเป็น Input ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการวิเคราะห์โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
1. สภาพปัญหาที่ทําให้เกิดการก่อตัวขึ้นของโครงการ ได้แก่ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทย
2. Input ของโครงการ ได้แก่ งบประมาณที่รัฐบาลใช้ไปในโครงการ
3. Output ของโครงการ ได้แก่ จํานวนผู้มาใช้สิทธิในการรับบริการ
4. ประสิทธิผลของโครงการ ได้แก่ ความเสมอภาคในการได้รับบริการทางสาธารณสุขของคนไทย
5. ผลกระทบข้างเคียงของโครงการ ได้แก่ อัตราการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์ที่สูงขึ้น

47. ข้อใดเป็น Output ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48. ข้อใดเป็นผลกระทบข้างเคียงของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

49. ข้อใดเป็นประสิทธิผลของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

50. ข้อใดเป็นสภาพปัญหาที่ทําให้เกิดการก่อตัวขึ้นของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 51. – 57. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) แผน
(2) นโยบาย
(3) โครงการ
(4) กลยุทธ์
(5) Job

51. สิ่งที่รัฐเลือกจะกระทําหรือไม่กระทํา
ตอบ 2 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว
หรือกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกจะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น

52. วิถีทางของการดําเนินการซึ่งได้กําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
ตอบ 1 หน้า 21 Le Breton กล่าวว่า แผน คือ วิถีทางของการดําเนินการซึ่งได้กําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
(Plan is a predetermined course of action)

53. รูปแบบอันเจาะจงในการดําเนินกิจกรรม
ตอบ 3 หน้า 36, 38 สหประชาชาติ (UN) ได้นิยามความหมายของโครงการว่าหมายถึง รูปแบบ อันเจาะจงในการดําเนินกิจกรรมทางสังคม ซึ่งได้มีการจัดเตรียมไว้แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ ที่เจาะจง มีการจํากัดในด้านสถานที่และเวลา

54. ข้อเสนอกว้าง ๆ ไม่เจาะจง
ตอบ 2 หน้า 1, 60, (คําบรรยาย) ลักษณะทั่วไปของนโยบาย มีดังนี้
1. เป็นข้อเสนอหรือแนวทางกว้าง ๆ ในการปฏิบัติงาน คือ ไม่เจาะจงและยืดหยุ่นสูง
2. มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจเป็นวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดที่สําคัญมาก ๆ เช่น เป็นประโยชน์ขององค์การ เป็นต้น
3. เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติ คือ นโยบายจะเป็นเครื่องชี้นําให้มีการปฏิบัติตาม นโยบาย ต้องเสนอแนะแนวทางที่สามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วย

55. มีความชัดเจนในด้านวิธีการ เวลา สถานที่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

56. การกระทําที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
ตอบ 1 หน้า 25 Jose Villamit กล่าวว่า การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการ ตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด

57. เป็นหน้าที่ของนักบริหารระดับกลาง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

58. ข้อใดมีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายสาธารณะตามกฎหมาย
(1) รัฐบาล
(2) กลุ่มผลประโยชน์
(3) พรรคการเมือง
(4) ศาลยุติธรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) รัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายสาธารณะตามกฎหมายส่วนระบบราชการหรือหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้

59. ข้อใดถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะ
(1) นโยบายการจ้างพนักงานของบริษัทซีพี
(2) นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย
(3) เจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตของนายกรัฐมนตรี
(4) ทุกข้อเป็นนโยบายสาธารณะ
(5) ทุกข้อไม่ใช่นโยบายสาธารณะ

ตอบ 5 หน้า 59 ลักษณะของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) มีดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา ไม่ใช่การแสดงเจตนารมณ์
2. เป็นชุดของการกระทําที่มีแบบแผน ระบบและกระบวนการอย่างชัดเจน มีความสม่ําเสมอ และต่อเนื่อง
3. มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ

60. ลักษณะทั่วไปของนโยบายข้อใดกล่าวผิด
(1) ไม่เจาะจง และยืดหยุ่นได้มาก
(2) มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่สําคัญ
(3) เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติ
(4) เป็นวิธีปฏิบัติที่กําหนดไว้ล่วงหน้า
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

61. ข้อใดไม่ใช่รูปร่างของนโยบาย
(1) กฎหมาย
(2) แผน
(3) โครงการ
(4) พระราชบัญญัติ
(5) คําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาขึ้นไป
ตอบ 5 หน้า 2 นโยบายมีรูปร่างและรูปแบบหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้
1. มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง
2. มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ
3. มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด
4. มีรูปเป็นสัญญา
5. มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

62. กระบวนการของนโยบายเรียงลําดับได้อย่างไร
(1) กําหนด วิเคราะห์ ปฏิบัติ ประเมิน
(2) วิเคราะห์ กําหนด ปฏิบัติ ประเมิน
(3) ประเมิน วิเคราะห์ กําหนด ปฏิบัติ
(4) กําหนด ปฏิบัติ วิเคราะห์ ประเมิน
(5) กําหนด วิเคราะห์ ประเมิน ปฏิบัติ
ตอบ 1 หน้า 3 กระบวนการของนโยบาย (Processes of Policy) ประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ ดังนี้
1. การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation)
2. การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)
3. การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)
4. การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย (Policy Evaluation)

63. ใครมีบทบาทมากที่สุดในการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) สมาชิกวุฒิสภา
(3) ระบบราชการ
(4) กลุ่มทุน
(5) ประชาชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 64 – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ตัวแบบผู้นํา
(2) ตัวแบบกลุ่ม
(3) ตัวแบบสถาบัน
(4) ตัวแบบระบบ
(5) ตัวแบบเกม

64. หน่วยงานของรัฐและประชาชนมีบทบาทในการกําหนดนโยบายน้อย
ตอบ 1 หน้า 3 – 4, 66, (คําบรรยาย) ตัวแบบผู้นํา (Elite Model) เชื่อว่า
1. กลุ่มผู้นํา (นายกรัฐมนตรี) มีบทบาทในการกําหนดนโยบายมาก ในขณะที่หน่วยงานของรัฐและประชาชนมีบทบาทในการกําหนดนโยบายน้อย
2. นโยบายสาธารณะเป็นการสะท้อนค่านิยมและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นํา จึงมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
3. สถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ต้องเป็นสถานการณ์ที่ผู้นํามีอํานาจสูงมาก ในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น ในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร ฯลฯ

65. นายกรัฐมนตรีมีบทบาทมากในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

66. นโยบายมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

67. หน้าที่ของรัฐคือการเป็นเหมือนกับกรรมการ
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 66 – 67, (คําบรรยาย) ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ คือจุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ หรือเป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพของ การแข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ อ้านาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ดังนั้นรัฐหรือระบบการเมืองจึงมีหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่
1. สร้างกติกาการแข่งขันและเป็นกรรมการหรือผู้ควบคุมการแข่งขันให้เกิดความ ยุติธรรม
2. แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอม เพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน
3. จัดสรรผลประโยชน์หรือกําหนดนโยบาย
4. นํานโยบายไปปฏิบัติ

68. นโยบาย คือ จุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69. ระบบการเมืองทําหน้าที่ภายใต้แรงกดดันของระบบอื่น ๆ
ตอบ 4 หน้า 6, 67 ตัวแบบระบบ (System Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลของปฏิกิริยา ที่ระบบการเมืองมีต่อแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมภายนอก หรือกล่าวอีกนัย ระบบการเมือง ทําหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แรงกดดันของระบบอื่น ๆ ที่มิใช่ระบบการเมืองหรือ เรียกว่าสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นตัวระบบการเมืองจะทําหน้าที่เป็นตัวกระทําของระบบ (Conversion Process) ขณะที่สภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ข้อเรียกร้องความต้องการ หรือ การสนับสนุนของประชาชนจะเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบ (Inputs) และนโยบายสาธารณะ จะเป็นปัจจัยนําออกของระบบ (Outputs) ซึ่งถูกส่งออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกและกลายเป็น ปัจจัยนําเข้าสู่ระบบการเมืองเป็นวงจร ดังนั้นสภาพแวดล้อมภายนอกและระบบการเมืองจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณะ

70. สภาพแวดล้อม คือ ปัจจัยที่จะส่งผลต่อนโยบายสาธารณะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

71. ปัจจัยใดส่งผลต่อนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบผู้นํา
(1) คุณสมบัติของผู้นํา
(2) เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
(3) ค่านิยมและผลประโยชน์ของประชาชน
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 4, 66 ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบผู้นํา (Elite Model) ได้แก่
1. ค่านิยมและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นํา
2. เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
3. คุณสมบัติของผู้นํา

72. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกลไกรัฐในตัวแบบกลุ่ม
(1) สร้างกติกา
(2) ริเริ่มนโยบาย
(3) หาลู่ทางประนีประนอม
(4) จัดสรรผลประโยชน์
(5) นํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

73. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบกลุ่ม
(1) การประนีประนอม
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
(3) ดุลยภาพของผลประโยชน์
(4) เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, 66 – 67 ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายสาธารณะที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบกลุ่ม (Group Model) ได้แก่
1. จุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ฯลฯ
2. การประนีประนอม

74. ปัจจัยใดส่งผลต่ออิทธิพลของกลุ่ม
(1) จํานวนสมาชิก
(2) ฐานะทางเศรษฐกิจ
(3) ลักษณะของผู้นํากลุ่ม
(4) ความสามัคคีของกลุ่ม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลของกลุ่ม มีดังนี้
1. จํานวนสมาชิกของกลุ่ม
2. ฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม
3. ความเข้มแข็งในการจัดองค์การของกลุ่ม
4. ลักษณะของผู้นํากลุ่ม
5. ความใกล้ชิดกับผู้มีอํานาจในการกําหนดนโยบายของกลุ่มหรืออยู่ใกล้ศูนย์กลางของอํานาจ
6. ความสามัคคีของกลุ่ม

75. นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด
(1) ประชาชน
(2) หน่วยงานของรัฐ
(3) นายทุน
(4) ภูมิภาค
(5) พรรคการเมือง
ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) ตัวแบบสถาบัน (Institution Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็น นโยบายสาธารณะก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไป ตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบันการปกครอง ตัวอย่างสถาบัน การปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) สถาบันบริหาร (นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ (หน่วยงานของรัฐ) สถาบันตุลาการ (ศาล) สถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

76. ปัจจัยนําเข้าในตัวแบบระบบคือข้อใด
(1) นโยบายสาธารณะ
(3) การสนับสนุนของประชาชน
(2) ข้อเรียกร้องของประชาชน
(4) สภาพแวดล้อม
(5) ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

77. ปัจจัยนําออกในตัวแบบระบบคือข้อใด
(1) นโยบายสาธารณะ
(2) ข้อเรียกร้องของประชาชน
(3) การสนับสนุนของประชาชน
(4) สภาพแวดล้อม
(5) ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

78. สิ่งแวดล้อมแบบใดควบคุมไม่ได้
(1) จํานวนคน
(2) ค่านิยม
(3) เทคโนโลยี
(4) ลักษณะทางภูมิศาสตร์
(5) งบประมาณ
ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุม หรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย งบประมาณ/เงิน การจัดการ สถานที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถ ควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

79. สิ่งแวดล้อมแบบใดควบคุมได้
(1) เงิน
(2) จํานวนคน
(3) การจัดการ
(4) สถานที่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริง หรือข้อมูลภาคสนามเพื่อจะทราบปัญหา คือขั้นตอนใดในการกําหนดนโยบาย
(1) การระบุปัญหา
(2) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย
(3) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
(4) ออกแบบทางเลือกนโยบาย
(5) การตัดสินใจทางเลือก
ตอบ 1 หน้า 12, (คําบรรยาย) การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหาหรือความจริงของปัญหา คืออะไร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใด เร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นการระบุปัญหาจึงเป็นขั้นตอน ที่มีความสําคัญที่สุดในกระบวนการกําหนดนโยบาย เพราะการระบุปัญหาที่ถูกต้องจะนําไปสู่ การกําหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

81. ขั้นตอนใดมีความสําคัญที่สุดในกระบวนการนโยบาย
(1) การระบุปัญหาที่ถูกต้อง
(2) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบายที่รัดกุม
(3) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายอย่างครบถ้วน
(4) ออกแบบทางเลือกนโยบายที่หลากหลาย
(5) การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82. ข้อมูลประเภทใดที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
(1) ข้อมูลทุกประเภท
(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)
(3) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง
(4) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)
(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการเดิม
ตอบ 4 หน้า 11 การระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบายต้องอาศัย “ข้อมูล”เป็นสําคัญ โดยข้อมูลในการระบุสาเหตุของปัญหาต้องประกอบด้วย
1. ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่น ความเชื่อถือ ของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

83. ข้อใดคือปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน
(1) การสร้างที่ทําการขององค์การ
(2) ความยากจนในสังคมไทย
(3) ความแตกต่างทางความคิดเห็น
(4) การแพร่ระบาดของโควิด-19
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน (Well-Structured Problem) คือ ปัญหา ที่มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย และมีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือก สามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจนไม่เป็นที่ถกเถียงได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหา
ในการจัดสร้างที่ทําการขององค์การ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องคือผู้ที่อยู่ในองค์การนั้น ทางออกคือสร้าง หรือไม่สร้าง และประโยชน์จากการสร้างคือได้ที่ทําการใหม่ เป็นต้น ดังนั้นในการวางแผน ที่ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนจึงสามารถคาดผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

84. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการระบุปัญหา
(1) สาเหตุของปัญหา
(2) อาการของปัญหา
(3) การประเมินผลนโยบาย
(4) ความเร่งด่วน
(5) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตอบ 3 หน้า 11, 70 ขั้นตอนการระบุปัญหา ประกอบด้วย
1. การระบุสาเหตุของปัญหา เป็นการระบุต้นตอของปัญหา เพราะการแก้ปัญหาใด ๆ นั้นต้อง รู้ถึงต้นตอของปัญหาจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้หมดสิ้น ทั้งนี้การระบุสาเหตุของปัญหา ต้องอาศัย “ข้อมูล” เป็นสําคัญ
2. การระบุอาการของปัญหา เป็นการนิยามหรืออธิบายว่าอะไรคือปัญหา ผลกระทบของปัญหา คืออะไร ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และปัญหามีความรุนแรงหรือเร่งด่วนเพียงไร

85. อะไรคือสิ่งสําคัญในขั้นตอนการระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบาย
(1) เป้าหมาย
(2) วัตถุประสงค์
(3) การนําไปปฏิบัติ
(4) ข้อมูล
(5) การประเมินผล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. และ 34. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 88. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
(2) มีความเป็นพลวัต
(3) มีความเป็นปรนัย
(4) อาจไม่มีตัวตนที่แท้จริง
(5) กล่าวถูกทุกข้อ

86. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาในกระบวนการนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 3 – 9, 69 ลักษณะของปัญหาในกระบวนการนโยบายมี 4 ลักษณะ ดังนี้
1. มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration)
2. มีความเป็นพลวัต (Dynamic)
3. มีความเป็นอัตนัย (Subjective)
4. อาจไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality)

87. ปัญหามักเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม คือลักษณะใดของปัญหา
ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) หมายถึง การที่ปัญหามักแปรเปลี่ยน ลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิด ปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

88. ปัญหาถูกรับรู้ไม่เหมือนกัน
ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) หมายถึง การมีความหมาย ในตัวของปัญหาเอง ซึ่งผู้รับรู้ความเป็นปัญหาจะรับรู้ได้หรือไม่อยู่ที่ความสามารถในการ “ตระหนักได้” ของผู้กําหนดนโยบาย ดังนั้นปัญหาในลักษณะนี้จึงถูกรับรู้ไม่เหมือนกันแต่การรับรู้ปัญหาได้เร็วหรือรับรู้ปัญหาได้ก่อนก็เป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้กําหนดนโยบายเพราะจะทําให้สามารถกําหนดนโยบายได้ทันการณ์

89. การกําหนดเป้าหมายของนโยบายควรมีลักษณะแบบใด
(1) เที่ยงตรง
(2) เปิดช่องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตีความได้
(3) ครอบคลุมประเด็นปัญหา
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 70 การกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง
2. มีความชัดเจน เข้าใจตรงกันไม่ต้องตีความ
3. มีความเป็นไปได้
4. ครอบคลุมประเด็นปัญหา
5. วัดผลได้

90. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์
(1) เป็นวิธีการ
(2) เจาะจง
(3) เป็นรูปธรรม
(4) สิ่งสุดท้ายที่ต้องการบรรลุ
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 70 เป้าหมาย (Goal) และวัตถุประสงค์ (Objective) มีความแตกต่างกันดังนี้

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การระบุปัญหา
(2) การพัฒนาทางเลือกนโยบาย
(3) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย
(4) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
(5) ทดสอบทางเลือก

91. ขั้นตอนศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริงหรือข้อมูลภาคสนาม คือขั้นตอนใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

92. ขั้นตอนการกําหนดว่าจะเริ่มที่ใด สิ้นสุด ณ จุดใด
ตอบ 3 หน้า 13 การกําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย เป็นการกําหนดว่านโยบายจะมีขอบเขต กว้างไกลแค่ไหน จะเริ่มที่ใด สิ้นสุด ณ จุดใด จะแก้ไขปัญหาในส่วนใดได้บ้าง โดยพิจารณา ความเหมาะสมให้สอดคล้องกับอํานาจหน้าที่และความสามารถของหน่วยงาน ตลอดจน ความสมบูรณ์ของทรัพยากรที่สามารถระดมมาใช้ในการปฏิบัติได้

93. ศึกษาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย รวมทั้งการยอมรับต่อนโยบาย คือขั้นตอนใด
ตอบ 4 หน้า 13 การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือการศึกษาข้อจํากัดด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูล
2. ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย
3. การรับรู้และการยอมรับต่อนโยบาย
4. สิ่งแวดล้อมทั่วไป

94. การพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของนโยบาย คือขั้นตอนใด
ตอบ 2 หน้า 13, 71 การออกแบบทางเลือกนโยบายหรือการพัฒนาทางเลือกนโยบาย คือ การใช้ความรู้ ประสบการณ์ของผู้กําหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมและการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกําหนดว่าทางเลือกซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นควรเป็นทางเลือกใดบ้าง โดยพิจารณาว่ามีทางเลือกใดที่สามารถปฏิบัติตามแล้วให้ผลสําเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้ต้องพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของนโยบายให้ครบถ้วน

95.การตรวจสอบทางความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิเคราะห์และการประยุกต์ทั้งหลายคือขั้นตอนใด
ตอบ 5 หน้า 14 การทดสอบทางเลือก คือ การทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและข้อมูลที่ใช้ ทั้งทางด้านหลักการเหตุผล ทางเลือกของนโยบาย คุณภาพและปริมาณของข้อมูลว่ายังพอเพียง และดีอยู่ ตลอดจนตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิธีวิเคราะห์ และการประยุกต์ทั้งหลายว่าเป็นระบบและสอดคล้องต้องกันอย่างแท้จริง

96. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์นโยบาย
(1) วิเคราะห์ปัญหา
(2) วิเคราะห์เป้าหมาย
(3) วิเคราะห์ทางเลือก
(4) วิเคราะห์วัตถุประสงค์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 16, 72 การวิเคราะห์นโยบาย มีหลายลักษณะดังนี้
1. วิเคราะห์สภาพปัญหาของนโยบาย
2. วิเคราะห์เป้าหมายของนโยบาย
3. วิเคราะห์ทางเลือกของนโยบาย
4. วิเคราะห์แนวปฏิบัติของนโยบาย
5. วิเคราะห์ผลลัพธ์ของนโยบาย

97. การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์ เป็นขั้นตอนใดของนโยบาย
(1) การกําหนดนโยบาย
(2) การวิเคราะห์นโยบาย
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) การประเมินผลนโยบาย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอน ของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของ คณะรัฐมนตรีให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา การตระเตรียมวิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้

98. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมาก
(2) ความต้องการต่อนโยบายหลากหลายและแตกต่างกัน
(3) นโยบายมักจะรวบรัดและมีรายละเอียดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป
(4) ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 17 – 18, 72 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบาย ไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมาก
2. ความต้องการต่อนโยบายหลากหลายและแตกต่างกัน
3. นโยบายมักมีขนาดใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป
4. ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
5. มีปัจจัยจํานวนมากที่ไม่สามารถควบคุมได้

99. เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐมักจะเป็นอย่างไร
(1) มีขนาดใหญ่โต หน้าเวลา
(2) คงที่เหมือนเดิม
(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา
(4) มีขนาดเล็กลง
(5) มีขนาดเล็กลงหรือโตขึ้นตามจํานวนประชากร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ลักษณะของนโยบายแบบใดที่มีโอกาสนําไปปฏิบัติได้สําเร็จสูง
(1) สร้างการเปลี่ยนแปลงมาก
(2) เห็นผลชัดเจน
(3) มีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 18 อาจารย์ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะ ประสบความสําเร็จหรือมีโอกาสนําไปปฏิบัติได้สําเร็จสูงมีลักษณะดังนี้
1. เป็นนโยบายที่ไม่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป
2. เห็นผลได้ชัดเจน
3. มีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดไม่ใช่วิธีการวิเคราะห์การวางแผน
(1) การควบคุม
(2) การพรรณนา
(3) การประเมินผล
(4) การชี้แนะแนวทาง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) วิธีการวิเคราะห์การวางนโยบายหรือแผน มีดังนี้
1. การพยากรณ์ (Prediction)
2. การพรรณนา (Description)
3. การประเมินผล (Evaluation)
4. การชี้แนะแนวทาง (Prescription)

2. วัตถุประสงค์ชนิดใดของการวางแผนเป็นอุปสรรคต่อความสําเร็จของแผนมากที่สุด
(1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนมาก ๆ
(2) วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกัน
(3) วัตถุประสงค์ที่เข้าใจยาก
(4) วัตถุประสงค์ที่อ่านเข้าใจได้ง่าย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะวัตถุประสงค์ของการวางแผนที่จะช่วยให้การปฏิบัติประสบผลสําเร็จ ได้ดีนั้นจะต้องมีความชัดเจน มีความสอดคล้องกัน และสามารถรับรู้หรือเข้าใจได้ง่าย ดังนั้น ในทางตรงกันข้ามถ้าวัตถุประสงค์ของการวางแผนขาดความชัดเจน มีความขัดแย้งกัน หรือ เข้าใจยากก็จะเป็นอุปสรรคต่อความสําเร็จของแผนได้

3. การกล่าวว่าปัญหาของการวางแผนมีความเป็นอัตนัยสูง หมายความว่าอย่างไร
(1) การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน
(2) ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาวิธีใดที่จะใช้ได้ในทุกกรณีปัญหา
(3) ปัญหาของนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
(4) ปัญหาของนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปตามบุคคลผู้กําหนด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีความเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้น ต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้วางแผนว่าจะสามารถรับรู้หรือตระหนักได้ถึง ความเป็นปัญหาหรือไม่ การตระหนักปัญหาได้เร็วหรือรับรู้ปัญหาได้ก่อนจึงเป็นคุณสมบัติที่ดี ของผู้วางแผน เพราะจะทําให้สามารถวางแผนได้ทันการณ์

4. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะแนวคิดในการวิเคราะห์
(1) คําตอบซ้ำ
(2) ต้องใช้หลายวิธี
(3) ต้องใช้หลักเหตุผล
(4) เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15 – 16 แนวคิดในการวิเคราะห์นโยบาย มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. เป็นสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์
2. ใช้วิธีการหลายวิธี
3. เป็นการใช้เหตุผล
4. มุ่งผลิตและแปรสภาพข่าวสาร
5. ข่าวสารที่ได้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในสภาพความเป็นจริงทางการเมือง

5. การจัดทําโครงการจะต้องสอดคล้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) งานและกิจกรรม
(2) นโยบายและแผน
(3) โครงงาน
(4) กิจกรรม
(5) ผิดทุกข้อ ๆ
ตอบ 2 หน้า 45, (คําบรรยาย) ในนโยบายหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยแผนหลายแผน เพื่อทําให้ ตัวนโยบายมีความชัดเจนขึ้น และในแต่ละแผนก็จะประกอบไปด้วยโครงการหลายโครงการ เพื่อทําให้ตัวแผนมีความชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นในการจัดทํานโยบาย แผน และโครงการ ต่าง ๆ จะต้องกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้ชัดเจนสอดคล้องกันเป็นลําดับ ซึ่งจะ ส่งผลให้การปฏิบัติตามนโยบาย แผน และโครงการ มีความเป็นเอกภาพและมีโอกาสที่จะ ประสบผลสําเร็จมากขึ้น

6.การวางแผนที่ดีควรใช้หลักการใดในการวางแผน
(1) หลักการที่เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา
(2) หลักการที่เกิดจากกรณีศึกษา
(3) หลักการนําหลักสหวิทยาการมาใช้
(4) หลักการที่เป็นที่นิยมใช้ในหมู่นักรัฐศาสตร์
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวางแผนเป็นการใช้สติปัญญาเพื่อกําหนดแนวทางสําหรับ การดําเนินงานขององค์การในอนาคต ดังนั้นการวางแผนต้องอาศัยลักษณะหลายด้าน ประกอบกัน เช่น ต้องใช้ทั้งจินตนาการที่กว้างไกล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี ต้องมี ความรู้ในหลักวิชาการหลาย ๆ สาขาหรือนําหลักสหวิทยาการมาใช้ ต้องรู้จักใช้เทคนิค ทฤษฎีการพยากรณ์ให้เหมาะสม เป็นต้น จึงจะช่วยให้การวางแผนสมบูรณ์ได้มากขึ้น

7. ใครคือผู้มีหน้าที่กําหนดการวางแผนน้อยที่สุด
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) ผู้อํานวยการกองวิชาการ
(4) ผู้อํานวยการสํานัก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอน 1 หน้า 27 (คําบรรยาย) โดยปกติหน้าที่ในการวางแผนในระดับองค์การนั้นจะถือเป็นหน้าที่ ของนักบริหารระดับกลาง (Middle Level Administrator) เช่น อธิบดี ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ส่วนนักบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง จะทําหน้าที่ในการวางนโยบาย ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในการกําหนดการวางแผนน้อยที่สุดก็คือ ปลัดกระทรวง นั่นเอง

8. การวางแผนในรูปใดที่มีลักษณะบังคับใช้ในทางปฏิบัติที่น้อยที่สุด
(1) กฎหมาย
(2) แผนงาน
(3) ประกาศ
(4) คําแถลงนโยบาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางให้ปฏิบัติ จึงมีลักษณะบังคับใช้ในทางปฏิบัติน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ กฎหมาย คําแถลงนโยบาย และแผนงาน

9.การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ของแผนจะคุมอย่างไร
(1) คุมให้เสร็จตรงตามเวลา
(2) คุมให้เกิดผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ของแผน
(3) คุมให้บุคลากรทุกคนทํางานอย่างเต็มความสามารถ
(4) คุมให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่ตั้งไว้
(5) คุมให้ใกล้ชิดทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ
ตอบ 2 หน้า 44, (คําบรรยาย) การควบคุมแผน/โครงการโดยทั่วไปมักจะกระทําใน 3 ด้าน คือ
1. ควบคุมเวลา (Tirne Control) คือ ควบคุมให้เสร็จตรงตามเวลาที่ได้วางแผน/โครงการไว้ โดยใช้เทคนิค PERT
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) เป็นการควบคุมรายจ่ายของแผน/โครงการให้อยู่ใน กรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค PPBS
3. ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (Quality Control) เป็นการควบคุมให้เกิดผลงานตรงตาม วัตถุประสงค์ของแผน/โครงการอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เทคนิคที่ใช้อาจกระทําได้ โดยการกําหนดมาตรฐาน (Standard) ของงาน

10. เมื่อเวลาเปลี่ยนไปการวางแผนโครงการควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ลดขนาดลง
(2) เหมือนเดิม
(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา
(4) ใหญ่โตล้าหน้าเวลา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้นมักจะมีขนาดใหญ่โตขึ้น ตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ เมื่อองค์การมีอายุยาวนานขึ้น มีหน้าที่มากขึ้น มีสมาชิก เพิ่มขึ้น ก็จะมีความต้องการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จึงทําให้นโยบาย แผน หรือโครงการมีขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย

11. การวางแผนและการประเมินผลควรเป็นหน้าที่ของใคร
(1) ผู้บริหารโครงการ
(2) ผู้ร่างโครงการ
(3) ผู้บริหารองค์กรของโครงการ
(4) ผู้ที่ได้รับผลกระทบ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการ วางแผนงาน มอบหมายงาน ควบคุม ติดตามประเมินผลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในโครงการ รวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงานในโครงการ

12. ข้อใดเป็นนิยามของการประเมินผลที่ดี
(1) การวัดความสําเร็จของผลการดําเนินการ
(2) การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริงจากการดําเนินการกับผลที่คาดหวังไว้
(3) การวิเคราะห์ระดับความสําเร็จของการปฏิบัติตามแผน
(4) การหาความพึงพอใจจากผลของการปฏิบัติตามแผน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 45, (คําบรรยาย) การประเมินผลแผน/โครงการ หมายถึง การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริง (Exact Results) จากการดําเนินการกับผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Results) จากแผน/ โครงการ หรือหมายถึงการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นการประเมินผลแผน/โครงการจึงทําให้ทราบว่าแผน/โครงการที่ได้ดําเนินการไปแล้วนั้นประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงไร

13. การวางแผนโครงการอาจจะสําเร็จหรือล้มเหลวส่วนมากแล้วขึ้นอยู่กับขั้นตอนใดมากเป็นพิเศษ
(1) ขั้นร่างโครงการ
(2) ขั้นประเมินโครงการ
(3) ขั้นจัดการโครงการ
(4) ขั้นประเมินผล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โดยทั่วไปแล้วการวางแผนโครงการจะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวนั้นจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนการวางโครงการหรือการร่างโครงการเป็นสําคัญ กล่าวคือ ถ้าวางโครงการ ได้ดีมีรายละเอียดครอบคลุม มีการเก็บข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ย่อมส่งผลให้ โครงการมีประสิทธิภาพ การนําไปปฏิบัติ ตลอดจนการประเมินผลสามารถทําได้โดยง่าย และโอกาสที่โครงการนั้นจะประสบความสําเร็จก็จะมีสูง

14. โครงการให้ประโยชน์อย่างมากที่สุดกับงานชนิดใด
(1) งานพัฒนา
(2) งานประจําวัน
(3) งานที่ไม่มีการแข่งขัน
(4) งานทั่วไป
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื่องจากโครงการมีลักษณะเป็นงานชั่วคราวที่มุ่งดําเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิด ผลิตผลตามแนวทางที่แผนได้วางไว้ ดังนั้นโครงการจึงให้ประโยชน์อย่างมากที่สุดกับงานพัฒนาเพราะงานพัฒนาเป็นงานที่เน้นให้มีการเปลี่ยนแปลงตามที่กําหนดไว้ในแผนนั่นเอง

15. กระบวนการใดมิใช่กระบวนการในการประเมินผลโครงการ
(1) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(2) การวางแผนการประเมินผล
(3) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผล
(4) การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กระบวนการในการประเมินผลโครงการ มีดังนี้
1. การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลโครงการ
2. การพิจารณารายละเอียดในตัวโครงการ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. การคัดเลือกเครื่องมือหรือเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินผลโครงการ
4. การเก็บ วิเคราะห์ และแปลความหมายของข้อมูล
5. การสรุปผลการประเมินผลโครงการและทํารายงานการประเมินผล

16. ข้อใดมิใช่เกณฑ์ในการประเมินผลของการวางแผน
(1) ด้านประสิทธิภาพ
(2) ด้านคุณภาพ
(3) การมีส่วนร่วมในโครงการ
(4) การบรรลุผลตามเป้าหมาย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 49, (คําบรรยาย) เกณฑ์ในการประเมินผลการวางแผนโครงการ อาจพิจารณาได้จาก ปัจจัย 5 ประการ ดังนี้
1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)
2. ด้านคุณภาพ (Quality)
3. ด้านเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Financial)
4. ด้านการบรรลุผลตามเป้าหมาย (Goat Attainment)
5. ด้านความสําคัญของโครงการ (Significance)

17. เมื่อเสร็จสิ้นการวางแผนโครงการแล้ว โครงการจะเข้าสู่กระบวนการใดต่อไป
(1) การวางโครงการ
(2) การบริหารโครงการ
(3) การวิเคราะห์โครงการ
(4) การศึกษาความเป็นไปได้
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 36 กระบวนการของโครงการ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ดังนี้
1. การวางแผนโครงการ (Program Planning)
2. การวิเคราะห์และประเมินโครงการ (Program Analysis and Appraisal)
3. การนําโครงการไปปฏิบัติ (Program Implementation)
4. การติดตามประเมินผลโครงการ (Program Evaluation)

18. การประเมินผลของการวางแผนควรพิจารณาจากสิ่งใด
(1) ทําให้รู้ความสําเร็จของโครงการ
(2) เพื่อความมั่นใจของนักบริหาร
(3) เพื่อกําหนดทิศทางของโครงการได้
(4) เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารตัดสินใจต่อไป
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

19. ความเป็นธรรมของการวางแผนสามารถพิจารณาจากอะไร
(1) ความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม
(2) การกระจายรายได้สู่ประชาชน
(3) ความเท่าเทียมกันของผลประโยชน์
(4) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณา หรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการ ที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

20. การศึกษาปัญหาต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรของผู้วางแผน
(1) ความอดทน
(2) ความพากเพียร
(3) ภาวะผู้นํา
(4) ความคิดริเริ่ม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การศึกษาปัญหาเป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกําหนดปัญหา ที่ถูกต้อง และศึกษาค่านิยมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาเพื่อกําหนดแนวทางของแผน ที่เหมาะสมกับความเป็นจริง ดังนั้นการศึกษาปัญหาจึงจําเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบ หลายประการของผู้วางแผน เช่น ความรู้ ความชํานาญ ประสบการณ์ และความคิดริเริ่ม จึงจะทําให้การวางแผนสมบูรณ์ได้

21. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการวางแผน คืออะไร
(1) อัตราการว่างงาน
(2) อัตราเงินเฟ้อ
(3) ความหนาแน่นของประชากร
(4) สภาวะโลกร้อน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมในการวางนโยบายหรือแผน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุม หรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย งบประมาณ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถ ควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อ ค่านิยมของคน ในสังคม ภาวะทางธรรมชาติ สภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ ความหนาแน่นของประชากร เป็นต้น

22. ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนจะมีผลอย่างไรต่อการวางแผน
(1) ผลประโยชน์เป็นที่ถกเถียงได้
(2) มีประชาชนจํานวนมากได้รับประโยชน์
(3) ผลที่คาดว่าจะเกิดมีความเป็นรูปธรรม
(4) มีแนวทางดําเนินการให้เลือกได้หลายวิธี
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน (Well-Structured Problem) คือ ปัญหา ที่มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย และมีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือก สามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจนไม่เป็นที่ถกเถียงได้แต่อย่างใด ดังนั้น ในการวางแผนที่ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนจึงสามารถคาดผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

23. หน่วยงานที่ร่วมกันวางแผนควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีจุดตัดสินใจน้อย
(2) มีความสัมพันธ์กันมาแต่เดิม
(3) ได้รับอิสระในการตัดสินใจ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 26 (คําบรรยาย) หน่วยงานที่ร่วมกันวางแผนต้องมีโครงสร้างเหมาะสมกับแผนงาน ที่จะวาง ซึ่งต้องเหมาะสมทั้งบรรยากาศและกลไก และต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีอิสระในการตัดสินใจและมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคตขององค์การได้อย่างเต็มที่

24. ข้อใดเรียงลําดับที่ถูกต้อง
(1) นโยบาย แผน โครงการ โครงงาน
(2) แผน นโยบาย โครงการ โครงงาน
(3) โครงการ โครงงาน แผน นโยบาย
(4) โครงงาน โครงการ นโยบาย แผน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รูปแบบของกิจกรรมที่ใช้ในการบริหารโดยทั่วไปมี 5 รูปแบบ ซึ่งสามารถ เรียงลําดับได้ดังนี้
1. นโยบาย (Policy)
2. แผนหรือแผนงาน (Plan)
3. โครงการ (Program)
4. โครงงาน (Project)
5. งาน (Job)

25. การระบุปัญหาเป็นการอธิบายถึงปัญหาเพื่อแสดงให้เห็นอะไรต่อการนําไปใช้เพื่อการวางแผน
(1) แหล่งกําเนิดของปัญหา
(2) ความจริงของปัญหา
(3) จุดเด่นของปัญหา
(4) ความไม่มีอยู่จริงของปัญหา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหาหรือความจริงของปัญหา คืออะไร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใด เร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นการระบุปัญหาจึงเป็นขั้นตอน ที่มีความสําคัญที่สุดในกระบวนการกําหนดนโยบาย เพราะการระบุปัญหาที่ถูกต้องจะนําไปสู่ การกําหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

26. สภาพแวดล้อมของการวางแผนที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ
(1) เงินเดือน
(2) เวลาทํางาน
(3) เศรษฐกิจ
(4) กําลังการผลิต
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

27. ข้อใดคือวิธีการวัดประสิทธิผลของการวางแผน
(1) แผนการรายงาน
(2) แผนตรวจงาน
(3) แผนประเมินผลงาน
(4) แบบวิธีทดลอง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของ การวางนโยบายหรือแผน คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายหรือแผนนั้นตรงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช่วิธีการทดลอง
2. แบบวิธีกึ่งทดลอง
3. แบบวิธีทดลอง

28. การวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะใช้การวิเคราะห์แบบ SWOT ซึ่ง SWOT หมายถึงอะไร
(1) หน่วยงานในการวางนโยบายที่มีชื่อเสียง
(2) องค์กรที่มักจะถูกอ้างอิงเสมอในการวางนโยบาย
(3) เทคนิคที่ใช้ในการประเมินผลความสําเร็จ
(4) เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะใช้การวิเคราะห์แบบ SWOT โดย SWOT นั้น ถือเป็นเทคนิคสําคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ ซึ่งประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ขององค์การ ซึ่งเป็น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ
2. การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Treats) ขององค์การ ซึ่งเป็น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

29. การกําหนดเป้าหมายของนโยบายควรมีลักษณะแบบใด
(1) เที่ยงตรง
(2) เปิดช่องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตีความได้
(3) ครอบคลุมประเด็นปัญหา
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 70 การกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง
2. มีความชัดเจน เข้าใจตรงกันไม่ต้องตีความ
3. มีความเป็นไปได้
4. ครอบคลุมประเด็นปัญหา
5. วัดผลได้

30. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับความจําเป็นในการวางแผน
(1) เพื่อสร้างความยอมรับการดําเนินงาน
(2) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของนโยบาย
(3) เพื่อเรียนรู้ถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(4) เพื่อประหยัดงบประมาณ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความจําเป็นในการวางแผน มีดังนี้
1. เพื่อสร้างความยอมรับการดําเนินงาน
2. เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต
3. เพื่อเรียนรู้ถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เวลา เป็นต้น
5. เพื่อให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมติดตามการปฏิบัติงานตาม นโยบายได้ง่าย ฯลฯ

31. ข้อใดเป็นสิ่งที่ทําให้บุคลากรรู้รายละเอียดของแต่ละคนว่ามีบทบาทหน้าที่เป็นอย่างไร
(1) ระบบสายงาน
(2) ความยืดหยุ่น
(3) การจัดแบ่งลักษณะพิเศษ
(4) การรวมศูนย์อํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย ) ระบบสายงาน (Configuration) เป็นโครงสร้างที่ทําให้รู้รายละเอียดของแต่ละคน ว่ามีบทบาทหน้าที่และการสังกัดส่วนงานเป็นอย่างไร มีความเชื่อมโยงกับผู้บังคับบัญชาและ ส่วนงานต่าง ๆ อย่างไร ระบบสายงานนี้สามารถแสดงให้เห็นได้ด้วยแผนภูมิขององค์การ

32. สิ่งที่องค์การคาดหวังให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าคือข้อใด
(1) ภารกิจ
(2) วิสัยทัศน์
(3) เป้าหมาย
(4) กลยุทธ์ธุรกิจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น หรือเป็นสิ่งที่องค์การคาดหวัง ให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เช่น วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นสถาบันหลัก ที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เป็นต้น

33. ข้อใดเป็นการทําให้มีกฎระเบียบ และคําสั่งที่ออกมานั้นมีผลบังคับใช้จึงต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
(1) การรวมศูนย์อํานาจ
(2) ระบบสายงาน
(3) การทําให้เป็นทางการ
(4) การจัดแบ่งลักษณะพิเศษ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทําให้เป็นทางการ (Formalization) คือ การทําให้กฎระเบียบ และคําสั่ง ที่ออกมานั้นมีผลบังคับใช้โดยการเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

34. การร่วมมือกันในการจัดวางโครงการต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องทําอะไรบ้างและทําอย่างไร เพื่อให้งาน บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หมายถึงข้อใด
(1) การวางแผน
(2) การจัดองค์กร
(3) การจัดคนเข้าทํางาน
(4) การควบคุม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวางแผน (Planning) หมายถึง การร่วมมือกันในการจัดวางโครงการต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องทําอะไรบ้างและทําอย่างไร เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

35. ข้อใดเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการวางแผน
(1) เป้าหมาย
(2) ภารกิจ
(3) วิสัยทัศน์
(4) วัตถุประสงค์
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เป้าหมาย (Goal) เป็นผลลัพธ์ (Outcomes) ที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในอนาคตจากการวางนโยบาย แผน หรือโครงการ

36. ข้อใดไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ
(1) พรรคการเมือง
(2) นักวิชาการ
(3) กลุ่มผลประโยชน์
(4) สื่อมวลชน
(5) รัฐสภา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ เช่น รัฐสภา รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ศาล เป็นต้น
2. ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชน เป็นต้น

37.Bazi จําแนกกิจกรรมการนําโครงการไปปฏิบัติเป็น 3 กระบวนการ ข้อใดไม่ใช่กระบวนการทั้ง 3 นั้น
(1) เขียนโครงการอีกครั้ง
(2) วิเคราะห์โครงการอีกครั้ง
(3) เริ่มต้นการทํางาน
(4) กําหนดรูปแบบการทํางาน
(5) ผิดทุกข้อ ตอบ 1 หน้า 42 – 43 Bazzi ได้จําแนกกิจกรรมการนําโครงการไปปฏิบัติออกเป็น 3 กระบวนการ ได้แก่
1. การวิเคราะห์โครงการอีกครั้งหนึ่ง (Project Reappraisal)
2. การเริ่มต้นการทํางาน (Action Initiation)
3. การกําหนดรูปแบบการทํางาน

38. จุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการคืออะไร
(1) เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ
(2) เพื่อปรับปรุงงาน
(3) เพื่อสนับสนุน ขยายโครงการ หรือยกเลิกโครงการ
(4) เพื่อศึกษาทางเลือก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการ มีดังนี้
1. เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ
2. เพื่อปรับปรุงงาน
3. เพื่อสนับสนุน ขยายโครงการ หรือยกเลิกโครงการ
4. เพื่อศึกษาทางเลือก

39. ความหมายของการประเมินผลโครงการ หมายถึง
(1) การติดตามผลการปฏิบัติงาน
(2) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงาน
(3) การรายงานความก้าวหน้า หรือความล้มเหลวของโครงการ
(4) การประเมินสมรรถนะของผู้รับผิดชอบโครงการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

40. ขั้นตอนแรกในการวางแผนโครงการในการปฏิบัติงานคืออะไร
(1) ขั้นการกําหนดโครงการ
(2) ขั้นการจัดทํารายละเอียดของโครงการ
(3) ขั้นการดําเนินงานตามโครงการ
(4) การติดตามประเมินผลโครงการ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้
1. การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง
2. การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
3. การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น
4. การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
5. การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอนที่ต้องทํารายละเอียด 6W 2H
6. การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา
7. การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
8. การจัดทําข้อเสนอโครงการ

41. องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง
(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
(2) คํานํา วัตถุประสงค์ ขั้นตอน ตารางการทํางาน งบประมาณ
(3) การกําหนดปัญหา วัตถุประสงค์ นิยามศัพท์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(4) การกําหนดปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตของโครงการ ระยะเวลาที่ใช้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แผนปฏิบัติการหรือแผนการดําเนินงาน (Operation Plan) เป็นการวางแผนที่ กําหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งถ่ายทอดมาจากแผนกลยุทธ์ องค์ประกอบ ของแผนปฏิบัติการจะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในการดําเนินงาน โดยแผนปฏิบัติการนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แผนประจํา (Standing Plan) และแผนใช้เฉพาะครั้ง (Single-Use Plan)

42. แผนปฏิบัติการได้แก่อะไรบ้าง
(1) แผนประจําวัน และแผนตามระยะเวลา
(2) แผนปฏิบัติการประจําวัน และแผนฉุกเฉิน
(3) แผนประจํา และแผนใช้เฉพาะครั้ง
(4) แผนตามระยะเวลา และแผนปฏิบัติการรายเดือน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43. แผนปฏิบัติการแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
(1) 1 ประเภท
(2) 2 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 4 ประเภท
(5) 5 ประเภท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

44. แนวทางกว้าง ๆ ไม่เจาะจง ยืดหยุ่นสูง เป็นลักษณะของอะไร
(1) วัตถุประสงค์
(2) โครงการ
(3) แผน
(4) นโยบาย
(5) ยุทธวิธี
ตอบ 4 หน้า 1, 60 ลักษณะทั่วไปของนโยบาย มีดังนี้
1. เป็นแนวทางกว้าง ๆ ในการปฏิบัติงาน คือ ไม่เจาะจงและยืดหยุ่นสูง
2. มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจเป็นวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดที่สําคัญมาก ๆ เช่น เป็นประโยชน์ขององค์การ เป็นต้น
3. เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติ คือ นโยบายจะเป็นเครื่องชี้นําให้มีการปฏิบัติตาม นโยบายต้องเสนอแนะแนวทางที่สามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วย

45. แผนโครงการ หมายถึง
(1) แผนงานย่อยที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรม ระบุรายละเอียดชัดเจน
(2) แผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาสังคม
(3) แผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาองค์การ
(4) แผนงานเพื่อการกําหนดผู้รับผิดชอบ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แผนโครงการ หมายถึง แผนงานย่อยที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรมระบุรายละเอียดชัดเจน

46. การวางแผนแบบใดเป็นการวางแผนที่กําหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
(1) แผนปฏิบัติการ
(2) การวางแผนโครงการ
(3) การวางแผนฉุกเฉิน
(4) การวางแผนงานด่วน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

47. การวางแผนแบบใดเป็นการวางแผนครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดขององค์การ
(1) การวางแผนประจําปี
(2) การวางแผนการประเมินผล
(3) การวางแผนโครงการ
(4) การวางแผนกลยุทธ์
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นการวางแผนที่ครอบคลุม กิจกรรมทั้งหมดขององค์การ ซึ่งมักจะเป็นแผนระยะยาว 5 – 10 ปี โดยแผนกลยุทธ์นี้ จะต้องสอดคล้องกับแผนระดับนโยบาย

48. การแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การได้แก่อะไรบ้าง
(1) การวางแผนนโยบาย การวางแผนกําหนดเป้าหมาย และการประเมินผล
(2) การวางแผนกําหนดเป้าหมาย การวางแผนกําหนดวิธีการ และการวางแผนกระบวนการ
(3) การวางแผนนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ และแผนการดําเนินงาน
(4) การวางแผนกําหนดกระบวนการ การวางแผนกําหนดทรัพยากร และการวางแผนเพื่อนําไปปฏิบัติ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การวางแผนนโยบาย (Policy Planning)
2. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
3. การวางแผนปฏิบัติการหรือแผนการดําเนินงาน (Operation Planning)

49. การแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การ สามารถแบ่งออกเป็นกี่ระดับ
(1) 2 ระดับ
(2) 3 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 5 ระดับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50.การวางแผน หมายถึงอะไร
(1) การกําหนดจุดหมายหรือเป้าหมาย
(2) วิธีการและกระบวนการ
(3) ทรัพยากรและงบประมาณ
(4) การนําแผนไปปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการวางแผน มีดังนี้
1. การกําหนดจุดหมายหรือเป้าหมาย
2. วิธีการและกระบวนการ
3. ทรัพยากรและงบประมาณ
4. การนําแผนไปปฏิบัติ
5. การประเมินผลแผน

51. ข้อใดไม่ใช่รูปร่างของนโยบายสาธารณะ
(1) เป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ
(2) มติ ครม
(3) แผน โครงการ
(4) ประกาศของธนาคารกรุงเทพ
(5) ผิดทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีรูปร่างและรูปแบบหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้
1. มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง
2. มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ
3. มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด
4. มีรูปเป็นสัญญา
5. มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

52. การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบายได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด
(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ
(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Hawthorne Study
(4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์ นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็น การศึกษารายกรณี และมีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

53. ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ
(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง
(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)
(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)
(4) ข้อมูลทุกประเภท
(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน
ตอบ 3 หน้า 11 การระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบายต้องอาศัย “ข้อมูล” เป็นสําคัญ โดยข้อมูลในการระบุสาเหตุของปัญหาต้องประกอบด้วย
1. ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่น ความเชื่อถือ ของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

54. ผู้มีหน้าที่หลักในการกําหนดนโยบายสาธารณะ
(1) ฝ่ายการเมือง
(2) ข้าราชการประจํา
(3) เอกชน
(4) นักธุรกิจ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ฝ่ายการเมืองมีหน้าที่หลักในการกําหนดนโยบายสาธารณะ ส่วนข้าราชการประจํา มีหน้าที่ในการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้

55. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน
(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป
(2) แผนระยะสั้น 3 ปี
(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี
(4) แผนระยะสั้น 4 ปี
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 23 (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ ระยะเวลา (Time Scan) อาจจําแนกได้ดังนี้
1. แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ
2. แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ
3. แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

56.TP. หมายถึง
(1) เวลาที่ผ่านไป
(2) Target Planning
(3) Team Planning
(4) การทํางานเป็นทีม
(5) ทฤษฎีการวางแผน
ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน
2. ร่วมกันกําหนดอนาคต (Scenario) หรือวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ต้องการโดยคิดล่วงหน้า 3 – 5 ปี
3. ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. ร่วมกันกําหนดแผน (Plan) หรือกลยุทธ์ (Strategies) โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT เข้าช่วย
5. ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้
6. ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ โดยเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน หรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan

57. วิธีการวางแผนทั้งหลายจําแนกเป็นขั้นตอนในการวางแผนได้ 2 ระยะ คือ การวางแผนกลยุทธ์กับอะไร
(1) การวางแผนรวม
(2) การวางแผนบริหาร
(3) การวางแผนดําเนินการ
(4) การวางแผนสังคม
(5) การวางแผนพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) กระบวนการวางแผน/โครงการ อาจจําแนกได้เป็น 2 ระยะ คือ
1. การวางแผน/โครงการกลยุทธ์ (Strategic Planning) มีเป้าหมายที่สําคัญที่สุด คือ การกําหนดกรอบเค้าโครง ทิศทางและแนวทางสําคัญของแผน/โครงการอย่างกว้าง หรือคร่าว ๆ ซึ่งประกอบด้วยงานที่ต้องทําหลายอย่าง เช่น การคัดเลือกข้อมูล วัตถุประสงค์ ภารกิจ และแนวทางกลยุทธ์ รวมทั้งการคาดคะเนแนวโน้ม เพื่อนําไปสู่ การวิเคราะห์หาทางเลือกหรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด (The Best Alternative)
2. การวางแผน/โครงการดําเนินการ (Operational Planning) เป็นการนําเอาทางเลือกที่ เหมาะสมที่สุดมากําหนดรายละเอียดในวิธีการปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องรู้ให้ครบถ้วน

58. การส่งมอบงานตึกการกีฬาแห่งประเทศไทย
(1) Policy Formulation
(2) Policy Analysis
(3) Policy Evaluation
(4) Policy Implementation
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของ การแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/การตระเตรียม วิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

59. สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ
(1) สถาบันทหาร
(2) สถาบันศาล
(3) สถาบันทางรัฐสภา
(4) สถาบันการปกครอง
(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น
ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบสถาบัน (Institution Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็น นโยบายสาธารณะก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไป ตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบันการปกครอง ตัวอย่างสถาบัน การปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) สถาบันบริหาร (นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ (หน่วยงานของรัฐ) สถาบันตุลาการ (ศาล) สถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

60. คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร
(1) Jose Villamil
(2) ดร.อมร รักษาสัตย์
(3) Albert Waterston
(4) William Dunn
(5) Gulick and Urwick
ตอบ 1 หน้า 25 Jose Vittamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการ ตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Lasswell
(2) Yehezkel Dror
(3) David Easton
(4) Well-Structured
(5) Uncontrolled Environment

61. สิ่งแวดล้อมของนโยบายซึ่งควบคุมไม่ได้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

62. โครงสร้างปัญหาที่มองได้ชัดเจน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

63. นโยบายต้องเป็นศาสตร์ที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริง
ตอบ 1 หน้า 7 Harrold Lasswell ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” เห็นว่า นโยบายไม่ใช่เพียงต้องการความเป็นศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องสามารถเป็นศาสตร์ที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยหนทางสู่ความเป็นศาสตร์นั้นต้องเริ่มต้นด้วยการมีนโยบายสาธารณะที่ดี ซึ่งต้องพัฒนามาจากระบวนการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม มีหลักการ เต็มเปี่ยมด้วยเหตุผล และยึดมั่นในหลักการของวิชาการในเรื่องนั้น ๆ

64. เสนอตัวแบบประโยชน์สูงสุด
ตอบ 2 หน้า 7 Yehezket Dror นักวิชาการแนวนโยบายศาสตร์ ได้เสนอตัวแบบที่เรียกว่า “ตัวแบบประโยชน์สูงสุด” (Optimal Model)

65. ผู้คิดค้นและเสนอ System Model
ตอบ 3 หน้า 7, (คําบรรยาย) David Easton เป็นผู้คิดค้นและเสนอ “ตัวแบบหรือทฤษฎีระบบ” (System Model Theory) ซึ่งตัวแบบนี้เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งแวดล้อมภายนอกกับระบบการเมือง โดยตัวระบบการเมืองจะทําหน้าที่เป็น ตัวกระทําของระบบ (Conversion Process) ขณะที่สิ่งแวดล้อมนอกระบบการเมือง เช่น ข้อเรียกร้อง/ความต้องการ หรือการสนับสนุนของประชาชนจะเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบ (Inputs) และนโยบายสาธารณะจะเป็นผลผลิต (Outputs) ของระบบ ดังนั้นประสิทธิภาพ ของนโยบายสาธารณะจึงขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอกและระบบการเมือง

ตั้งแต่ข้อ 66. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่
(1) กําหนดปัญหา
(2) ตั้งเป้าหมาย
(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
(4) ลงมือวางแผน
(5) ประเมินผล

66. กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้
ตอบ ไม่มีข้อถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้
1. กําหนดปัญหา
2. การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์
3. การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
4. ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้
5. การประเมินแผน เป็นกระบวนการที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนว่ามีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไป ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงน่าเสนอแผนให้ผู้มีอํานาจพิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ
6. การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้
7. การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็น ข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป

67. กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด
ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผน ไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้

68. กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

69. ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์
ตอบ ไม่มีข้อถูก ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

70. หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Authorization
(2) Formality
(3) Specificity
(4) Completeness
(5) Efficiency

71. แผนต้องถือหลักประสิทธิภาพ
ตอบ 5 หน้า 21 – 23 ลักษณะของแผน มีดังนี้
1. Efficiency คือ แผนต้องถือหลักประสิทธิภาพ
2. Specificity คือ การวางแผนต้องมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ
3. Completeness คือ ทรัพยากรในการวางแผนต้องพร้อม
4. Formality คือ กระบวนการของแผนต้องใช้เป็นทางการเป็นหลัก
5. Authorization คือ การกระจายอํานาจให้หน่วยวางแผนมีอิสระในการวางแผน ฯลฯ

72. ทรัพยากรในการวางแผนต้องพร้อม
ตอบ 4 : ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

73. การกระจายอํานาจให้หน่วยวางแผนมีอิสระ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

74. กระบวนการของแผนต้องใช้เป็นทางการเป็นหลัก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

75. การวางแผนต้องไม่คลุมเครือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 76 – 80. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Elite Model
(2) Group Model
(3) Institution Model
(4) System Model
(5) Game Theory

76. เป็นผลผลิตของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร เป็นต้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

77. นโยบายสาธารณะที่กําหนดขึ้นมาตามความต้องการของผู้มีอํานาจ
ตอบ 1 หน้า 3 – 4 ตัวแบบผู้นํา (Elite Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากความต้องการ ของผู้นําหรือผู้มีอํานาจ หรือเป็นแนวทางที่สะท้อนค่านิยมที่เลือกสรรแล้วของผู้นํา โดยไม่จําเป็นต้องสนใจว่าสาธารณชนจะสนใจหรือพึงพอใจหรือไม่ ซึ่งนโยบายที่ออกมาก็มักจะให้ประโยชน์แก่ผู้นําและผู้ใกล้ชิดเอง ดังนั้นสถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ได้จึงต้องเป็นสถานการณ์ ที่ผู้นํามีอํานาจสูงมากในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น การปกครองในระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ หรือในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร เป็นต้น

78. ในการกําหนดนโยบายรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตัวแบบทฤษฎีเกม (Game Theory) เชื่อว่า การกําหนดนโยบายเป็นการตัดสินใจ ภายใต้ภาวะของการต่อสู้และแข่งขัน โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่า “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”จึงเป็นตัวแบบที่เหมาะสมกับการกําหนดนโยบายในภาวะสงคราม

79. แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอมเพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 66 – 67, (คําบรรยาย) ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพของการแข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่ม ต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ดังนั้น รัฐหรือระบบการเมืองจึงมีหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่
1. สร้างกติกาการแข่งขันและเป็นกรรมการหรือผู้ควบคุมการแข่งขันให้เกิดความยุติธรรม
2. แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอมเพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน
3. จัดสรรผลประโยชน์หรือกําหนดนโยบาย
4. นํานโยบายไปปฏิบัติ

80. ประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

81. ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ
(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ
(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ
(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ
(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้
(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมาย 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ เป็นต้น
2. เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือนําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสม มีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่

82. ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษาอิทธิพลของธรรมชาติ และอะไร
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) ศาสนาและความเชื่อ
(4) กลไกราคา
(5) ความร่วมมือระหว่างองค์การที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทาง ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา อิทธิพลของธรรมชาติ ศาสนาและความเชื่อ เป็นต้น

83.การวางแผนแบบรายโครงการถือเป็นการวางแผนในกระสวน (Pattern) ชนิดใด
(1) Bottom-up Process
(2) Top-down Process
(3) Comprehensive Planning
(4) Aggregative Planning
(5) Global Planning
ตอน 1 หน้า 28 (คําบรรยาย) การวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by- Project Planning) เป็นเทคนิคการวางแผนพัฒนารูปแบบแรก โดยเป็นการวางแผนในกระสวน
ที่เรียกว่า “Bottom-up Process” กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้กําหนดให้หน่วยปฏิบัติการใน ระดับล่างร่างโครงการของตนเสนอขึ้นมา โดยที่ไม่ได้มีการกําหนดรายรับรายจ่ายก่อนว่าเป็นเท่าไร แต่จะมากําหนดหลังจากหน่วยงานย่อยต่าง ๆ เสนอโครงการขึ้นมาแล้ว เพื่อรวบรวมโครงการ เหล่านั้นรวมเป็นแผนเดียวกัน (แผนรวมของชาติ) ซึ่งวิธีการวางแผนในรูปแบบนี้จะไม่กล่าวถึง บทบาทของภาคเอกชนไว้เลย และใช้หลักการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด แต่จะเหมาะสําหรับการวางแผน ในภาวะขาดแคลนข้อมูลหรือขาดความชํานาญในการวางแผน เช่น การวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เพราะหน่วยงานวางแผนยังมีข้อมูลไม่เพียงพอและเป็นการวางแผนที่สะดวกที่สุด การวางแผนจัดทําไร่นาสวนผสม เป็นต้น

84. การวางแผนอาจทําได้ 3 วิธี วิธีที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยวางแผนเริ่มมีการสะสมข้อมูลได้พอประมาณ คือวิธีใด
(1) Project-by-Project Planning
(2) Integrated Public Investment Planning
(3) Comprehensive Planning
(4) Aggregative Planning
(5) Global Planning
ตอบ 2 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบประสานการลงทุนภาคสาธารณะ (Integrated Public Investment Planning) เป็นการวางแผนที่เริ่มต้นด้วยการประมาณการรายได้หรือรายรับ ของประเทศก่อน โดยคํานึงถึงการลงทุนของภาครัฐเป็นหลักว่าการลงทุนไปนั้นจะมีรายรับเท่าไร แล้วจึงไปกําหนดรายจ่ายทีหลัง โดยที่การลงทุนนั้นจะต้องคํานึงถึงภาวะเศรษฐกิจทั้งปัจจัย ภายในและภายนอกประเทศด้วย ซึ่งการวางแผนในรูปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง (ความไม่พอดี) ของการวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by- Project Planning) เช่น การกําหนดงบประมาณของแต่ละโครงการที่มักกําหนดสูงเกินกว่า ความเป็นจริง ความขัดแย้งกันของโครงการทั้งหลายโดยเฉพาะในเรื่องของความไม่ลงตัวของวงเงิน งบประมาณ รวมถึงความไม่มีเอกภาพและการขาดทิศทางที่ชัดเจนในการกําหนดเป้าหมายของแผน ซึ่งเป็นการวางแผนที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่หน่วยงานเริ่มมีการสะสมข้อมูลได้พอประมาณแล้ว

85. กล่าวโดยสรุปขั้นตอนในการวางแผนอาจจําแนกได้ 3 ขั้นตอนสําคัญ ได้แก่ การเก็บรวบรวมประมวลข้อมูล การลงมือวางแผน และอะไร
(1) การวิเคราะห์ข้อมูล
(2) การปฏิบัติตามแผน
(3) การประเมินผลแผน
(4) การขออนุมัติใช้แผน
(5) การตระเตรียมที่จะวางแผน
ตอบ 5 หน้า 29 – 30 ขั้นตอนในการวางแผนอาจจําแนกได้ 3 ขั้นตอนสําคัญ ดังนี้
1. การตระเตรียมการที่จะวางแผน เป็นการกําหนดเค้าโครงกลยุทธ์ของแผน โดยการกําหนด วัตถุประสงค์และแนวทางของแผน
2. การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ความถูกต้อง ของงานในขั้นตระเตรียมการ
3. การลงมือวางแผน เป็นการเขียนแผนให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ควรจะเป็นของแผน

86. ปัญหาชนิดใดที่ต้องใช้ทักษะในการมองการณ์ไกลเป็นพิเศษ จึงจะวางแผนได้
(1) ปัญหาแก้ไข
(2) ปัญหาพัฒนา
(3) ปัญหาป้องกัน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 25, (คําบรรยาย) ปัญหาของแผน อาจจําแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. ปัญหาแก้ไข คือ ปัญหาที่ปรากฏผลเสียหายให้เห็นอยู่แล้ว จึงต้องรีบวางแผนหาทางแก้ไข ซึ่งปัญหาชนิดนี้มักจะแก้ไขได้ง่ายที่สุด
2. ปัญหาป้องกัน คือ ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏผลเสียหายขึ้นในขณะวางแผน แต่สามารถรู้ได้ว่าหากไม่รีบวางแผนแก้ไขก็จะปรากฏผลเสียหายในอนาคตได้
3.ปัญหาพัฒนา คือ ปัญหาที่ไม่ปรากฏผลเสียหายทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ต้องมี การวางแผนเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งนักวางแผนต้องใช้ความสามารถ ในการมองการณ์ไกลมากเป็นพิเศษ

87.แผนที่มีลักษณะ Ease of Control จะแสดงให้เห็นได้อย่างไร
(1) เห็นได้จากการผ่านขั้นตอนของแผนอย่างครบถ้วนไม่ข้ามขั้นตอน
(2) เห็นได้จากการกําหนดที่มีเหตุผลและเป็นจริงในทางปฏิบัติ
(3) เห็นได้จากการมีมาตรฐานสําหรับการปฏิบัติอย่างชัดเจน
(4) เห็นได้จากการจัดทีมผู้วางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) เห็นได้จากการจัดทีมผู้ปฏิบัติตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 3 หน้า 23 (คําบรรยาย) แผนที่มีลักษณะง่ายในการควบคุม (Ease of Control) หมายถึง แผน ที่มีมาตรฐานสําหรับการวัดและการปฏิบัติอย่างชัดเจน และโดยทั่วไปหากเป็นแผนที่มีลักษณะ ง่ายในการดําเนินการ (Ease of Implementation) ก็จะมีลักษณะง่ายในการควบคุมด้วย

88. การวางแผนแบบใดที่เป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
(1) ทุกแบบของการวางแผน
(2) Integrated Public Investment Planning
(3) Comprehensive Planning
(4) Project-by-Project Planning
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบหรือประสมประสานหรือแผนรวม (Comprehensive Planning) เป็นการวางแผนที่กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสร้างแบบจําลองการเจริญเติบโต (Growth Model) ของแผนก่อน ซึ่งเป็น การคํานวณอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค เงินออม การลงทุน การนําเข้า-ส่งออก การจ้างงาน ความต้องการ (Demand) และความสามารถในการตอบสนอง (Supply) ของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน โดยการวางแผนในรูปแบบนี้จะมีการวางแผน ทั้งแบบ Forward และ Backward และมีการกล่าวถึงบทบาทของภาคเอกชนไว้อย่างครบถ้วน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะสมสําหรับการวางแผนภาครัฐด้านเศรษฐกิจ และในสถานการณ์ที่หน่วยงานวางแผนมีความชํานาญแล้ว

89. หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน
(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท
(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม
(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
(4) สํานักงาน ก.พ.
(5) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงาน ที่จัดตั้งขึ้นตาม ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีหน้าที่หลัก ในการกําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศของไทยในปัจจุบันหรือที่เรียกว่า “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ”

90. นักวิชาการที่กล่าวว่า การวางแผนจะมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ต้องมองล่วงหน้า มีการเลือกสรรต้องเตรียมวิธีการกระทํา คือใคร
(1) เนรู
(2) วิลลามิล
(3) วอเตอร์สตัน
(4) ดรอ
(5) เลอ เบรอตัน
ตอบ 3 หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกัน หลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits)
ที่อาจจะเกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”

91. ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา
(1) Thomas R. Dye
(2) David Easton
(3) Woodrow Wilson
(4) William Dunn
(5) ดร.อมร รักษาสัตย์
ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”

92. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น
(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน
(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน
(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม
(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
(5) เน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนํา และประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี ส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

93. ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว
(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป
(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ
(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด
(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน
(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน
ตอบ 4 หน้า 23 (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มี ความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ําลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่ แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า (ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ)

94. ความเป็นธรรมของนโยบายวัดได้อย่างไร
(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม
(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน
(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน
(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย
(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

95. แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด
(1) แผนรายปี
(2) แผนงบประมาณ
(3) แผนการเงิน
(4) แผนโครงการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่า เป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก

96. นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด
(1) ให้ประโยชน์กับสังคม
(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา
(3) ประโยชน์โดยทั่วไป
(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด
(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

97.Controlled Environment หมายถึง
(1) ภาวะทางธรรมชาติ
(2) ค่านิยมของคนภาคใต้ของประเทศไทย
(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย
(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

98. ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด
(1) นักรัฐศาสตร์
(2) นักสังคมวิทยา
(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์
(4) นักวิทยาศาสตร์
(5) นักเศรษฐศาสตร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประอบ

99. ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด
(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ
(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ
(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ
(4) มีรูปแบบเป็นสัญญา
(5) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

100. เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร
(1) มีขนาดเล็กลง
(2) คงที่เหมือนเดิม
(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา
(4) มีขนาดใหญ่โตหน้าเวลา
(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. การวางแผนเชิง “ยุทธศาสตร์” มีที่มาจากวงการใด
(1) วิทยาศาสตร์
(2) การทหาร
(3) การแพทย์
(4) การวิจัย
(5) การเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ที่มาของการวางแผนกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ มีดังนี้
1. ข้อเสนอของธนาคารโลก (World Bank) และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ แห่งสหรัฐอเมริกา (USAID)
2. การวางแผนทางการทหาร
3. เครื่องมือทางการบริหารจัดการของภาคเอกชน
4. แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่(New Public Management : NPM)

2.ข้อใดคือที่มาของการวางแผนกลยุทธ์
(1) ข้อเสนอของ World Bank
(2) ข้อเสนอของ USAID
(3) แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3. “ปัจจุบัน” (ปี 2565) หน่วยงานใดมีบทบาทในการกําหนดตัวชี้วัดตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ
(1) สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(2) สํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
(3) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(4) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(5) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งมีฐานะเป็น เลขานุการของคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการกําหนด ตัวชี้วัดตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติในปัจจุบัน

4.ท่านจะหาแผนหลักในการพัฒนาประเทศ “ระยะยาว” ได้จากที่ใด
(1) แผนระดับ 2
(2) แผนระดับ 3
(3) คําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา
(4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(5) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เป็นแผนหลักในการพัฒนาประเทศ ระยะยาวให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมียุทธศาสตร์ที่สําคัญ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เป็นต้น

5. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติมีทั้งหมดที่ด้าน
(1) 10 ด้าน
(2) 22 ด้าน
(3) 23 ด้าน
(4) 25 ด้าน
(5) 30 ด้าน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นแผนแม่บทเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่ กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประกอบด้วยแผนแม่บททั้งหมด 23 ด้าน เช่น ความมั่นคง การต่างประเทศ การเกษตร อุตสาหกรรรมและบริการแห่งอนาคต การท่องเที่ยว พื้นที่และ เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล ผู้ประกอบการและวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การพัฒนาการเรียนรู้ เป็นต้น

6.การวางแผนกลยุทธ์สัมพันธ์กับระบบงบประมาณแบบใด
(1) ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ
(2) ระบบงบประมาณแบบแผนงานโครงการ
(3) ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
(4) ระบบงบประมาณแบบฐานศูนย์
(5) ระบบงบประมาณแบบสะสม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวางแผนกลยุทธ์สัมพันธ์กับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน(Performance-Based Budgeting) ซึ่งเป็นระบบงบประมาณที่ให้ความสําคัญกับ ความสําเร็จตามเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของแผนงาน รวมทั้งการบ่งชี้หรือ การวัดผลที่เกิดจากการทํางาน ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

7. ข้อใดตรงที่สุดเกี่ยวกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์
(1) รัฐที่ชี้นํามากกว่าลงมือทําเอง
(2) การมุ่งเน้นแสวงหากําไร
(3) รัฐที่เน้นกลไกการตลาด
(4) การมีมาตรฐานและระบบการวัดผลการทํางานที่ชัดเจน
(5) การแบ่งหน่วยงานย่อยเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การมีมาตรฐานและระบบการวัดผลการทํางานที่ชัดเจน ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพราะเป็นสิ่งที่บอกว่าหน่วยงานปฏิบัติงานเป็นไปตาม เป้าประสงค์ที่วางไว้ในแผนหรือไม่

8.ข้อใดตรงกับ Mission-Driven Government รัฐที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยภารกิจ
(1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
(2) การกําหนดวิสัยทัศน์
(4) การกําหนดตัวชี้วัด
(3) การกําาหนดพันธกิจ
(5) การประเมินผล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยภารกิจ (Mission-Driven Government) เป็นการกําหนด ภารกิจหรือพันธกิจให้ชัดเจน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนอง ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

9. ภาพที่องค์การฝันหรืออยากจะเป็น คืออะไร
(1) วัตถุประสงค์
(2) พันธกิจ
(3) วิสัยทัศน์
(4) ยุทธศาสตร์
(5) ตัวชี้วัด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพที่องค์การหวังหรือฝันหรืออยากจะเป็น เป็นการกําหนดทิศทางขององค์การในอนาคต เช่น เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการควบคุม แก้ไข และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเพื่อคืนคนดีมีคุณค่าสู่สังคม, เป็นองค์กรป้องกันควบคุมโรคและ ภัยสุขภาพระดับมาตรฐานสากล, เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคง ของชาติและความผาสุกของประชาชน เป็นต้น

10. ข้อใดตรงกับ Result-Oriented Government รัฐที่มุ่งเน้นผลการดําเนินงาน
(1) มุ่งเน้นเฉพาะผลผลิต (Output)
(2) มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome)
(3) การคํานึงถึงว่าผู้รับบริการจะได้อะไร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐที่มุ่งเน้นผลการดําเนินงาน (Result-Oriented Government) หมายถึง การมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome) หรือการคํานึงถึงว่าผู้รับบริการ/ประชาชนจะได้ประโยชน์ อะไร

ตั้งแต่ข้อ 11. – 21. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การกําหนดวิสัยทัศน์
(2) การกําหนดพันธกิจ
(3) การกําหนดเป้าประสงค์
(4) การกําหนดกลยุทธ์
(5) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
(6) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ
(7) การควบคุมกลยุทธ์

11. ข้อใดเรียงลําดับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ถูกต้อง
(1) 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
(2) 4, 1, 2, 3, 5, 6, 7
(3) 4, 1, 2, 5, 3, 6, 7
(4) 5, 4, 1, 2, 3, 6, 7
(5) 5, 1, 2, 3, 4, 6, 7
ตอบ 5 (คําบรรยาย) กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (วิเคราะห์ SWOT)
2. การกําหนดวิสัยทัศน์
3. การกําหนดพันธกิจ
4. การกําหนดเป้าประสงค์
5. การกําหนดกลยุทธ์
6. การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ
7. การควบคุมกลยุทธ์

12.PEST Analysis คือเครื่องมือในข้อใด
(1) 4
(2) 5
(3) 6
(4) 7
(5) 1
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ มีดังนี้
1. 2’S 4’M
2. 7’S
3. PMQA
4. PEST Analysis
5. STEPP Model
6. Five-Forces Model
7. SWOT Analysis

13. ข้อใดคือขั้นตอนที่บอกถึงกิจกรรมที่องค์การจะต้องทํา
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การกําหนดพันธกิจหรือภารกิจ (Mission) คือ การบอกถึงกิจกรรมที่องค์การ จะต้องทํา เช่น จัดเก็บภาษีให้ได้ตามประมาณการ, การพัฒนานโยบาย มาตรการ และบริการ ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ, เตรียมความพร้อมในการจัดการภาวะคุกคาม และภัยสุขภาพใหม่ ๆ ได้ทันการณ์, อํานวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้ บนพื้นฐานของความเสมอภาค เป็นต้น

14. “อํานวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้ บนพื้นฐานของความเสมอภาค” ประโยค ดังกล่าวเป็นการกําหนดอะไร
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15. ข้อใดเป็นสิ่งที่บอกว่า “ใคร” ได้ประโยชน์จากการกระทําขององค์การ
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกําหนดเป้าประสงค์ (Goal) คือ การบอกว่า “ใคร” ได้ประโยชน์จาก การกระทําหรือการดําเนินตามพันธกิจขององค์การ เช่น ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ ชายแดนและพื้นที่เฉพาะอื่น ๆ มีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้ต้องขัง เป็นคนดีพร้อมกลับคืนสู่สังคม, ประชาชนมีความปลอดภัยและได้รับคนดีคืนสู่สังคม, ประชาชนมีความปลอดภัยจากภาวะคุกคามและภัยสุขภาพใหม่ ๆ, ประชาชนเข้าถึง และได้รับความยุติธรรมบนฐานของความเสมอภาค เป็นต้น

16. “เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน” ประโยค
ดังกล่าวคือการกําหนดอะไร
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

17. “ประชาชนเข้าถึงและได้รับความยุติธรรมบนฐานของความเสมอภาค” ประโยคดังกล่าวคือการกําหนดอะไร
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

18. การกําหนดทิศทางขององค์การ อยู่ในขั้นตอนใด
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

19. “การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและอัตราการเกิดของประชากรลดลง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีจํานวน นักศึกษาลดลง” ประโยคดังกล่าวจะปรากฏอยู่ในขั้นตอนใด
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม คือ การประเมินสถานภาพขององค์การ โดยการ พิจารณาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนําไปประกอบในการกําหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การต่อไป

20.การกําหนดรายละเอียด/กิจกรรม หรือโครงการ คือขั้นตอนใด
(1) 3
(2) 4
(3) 5
(4) 6
(5) 7
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือ กระบวนการแปลงกลยุทธ์ไปสู่แผนการดําเนินงาน กําหนดรายละเอียด/กิจกรรม หรือโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดําเนินการตามกลยุทธ์ได้ อย่างเป็นรูปธรรม

21. การติดตามประเมินผล คือขั้นตอนใด
(1) 1
(2) 3
(3) 5
(4) 6
(5) 7
ตอน 5 (คําบรรยาย) การควบคุมกลยุทธ์ คือ การติดตามประเมินผลการดําเนินงานทั้งหมดตาม แผนกลยุทธ์ที่กําหนดไว้ว่าการดําเนินงานบรรลุผลสําเร็จตามแผนมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัย การเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริงกับผลการดําเนินงานที่ตั้งเป้าหมายไว้ หากปรากฏ ผลที่ได้จากการดําเนินงานจริงต่ํากว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน ผู้บริหารก็จะต้องหาทางปรับปรุงแก้ไขต่อไป

22. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
(1) 7’S
(2) OOCT
(3) SWOT Analysis
(4) STEPP Model
(5) PEST Analysis
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

23. ข้อใดคือปัจจัยในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
(1) Strengths, Weaknesses
(2) Strengths, Social
(3) Strengths, Politics
(4) Opportunities, Treats
(5) Opportunities, Technology
ตอบ 1 (คําบรรยาย) SWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ ซึ่งประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ
2. การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Treats) ขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายนอกองค์การ

24. ข้อใดคือปัจจัยในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
(1) Strengths, Weaknesses
(2) Strengths, Social
(3) Strengths, Politics
(4) Opportunities, Treats
(5) Opportunities, Technology
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25. โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง วิเคราะห์สภาพแวดล้อมว่า
1. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มผู้เข้ารับบริการมากขึ้นส่งผลให้หน่วยงานได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น
2. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มผู้เข้ารับบริการมากขึ้นส่งผลให้บริการได้ไม่ทั่วถึง
การวิเคราะห์ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด
(1) ถูกต้อง เพราะสมเหตุสมผล
(2) ถูกต้อง เพราะสถานการณ์เป็นเช่นนั้น
(3) ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐมีงบประมาณจํากัด
(4) ไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกันเอง กําหนดทิศทางกลยุทธ์ได้ยาก
(5) ถูกทั้งข้อ 3 และ 4
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกันเองทําให้กําหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์การได้ยาก

26. ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน หมายถึงอะไร
(1) ผลผลิต
(2) ผลลัพธ์
(3) ตัวชี้วัด
(4) กลุ่มเป้าหมาย
(5) ต้นทุน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัด คือ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน ซึ่งคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดี มีดังนี้
1. Validity คือ สมเหตุสมผล อธิบายได้
2. Availability คือ ความมีอยู่ของข้อมูล
3. Reliability คือ ความเชื่อถือได้
4. Sensitivity คือ ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง

27. ข้อใดคือคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดี
(1) Validity
(2) Availability
(3) Reliability
(4) Sensitivity
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28. กรมควบคุมมลพิษกําหนดตัวชี้วัดว่า “รสและกลิ่นของน้ำบริโภค ค่ามาตรฐานไม่เป็นที่รังเกียจ” การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานใด
(1) มาตรฐานเชิงนโยบาย
(2) เกณฑ์สัมบูรณ์
(3) มาตรฐานเชิงวิทยาศาสตร์
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การกําหนดตัวชี้วัดตามมาตรฐานเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Criteria) เป็น การกําหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดโดยใช้ค่ามาตรฐานกลางซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เช่น กรมควบคุมมลพิษกําหนดตัวชี้วัดว่า “ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีค่าเฉลี่ยไม่เกิน 0.025 มก./ลบ.ม. ใน 24 ซม.”, “รสและกลิ่นของน้ําบริโภคมีค่ามาตรฐาน ไม่เป็นที่รังเกียจ” เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 29 – 34. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Impact
(2) Output
(3) Outcome
(4) QQCT
(5) 2Q2T1P

29. ข้อใดเรียงลําดับระดับของตัวชี้วัดจากใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง
(1) 1, 2, 3
(2) 1, 3, 2
(3) 2, 3, 1
(4) 3, 2, 1
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระดับของตัวชี้วัดเรียงลําดับจาก “ใหญ่ไปเล็ก” ได้ดังนี้
1. ผลกระทบ (Impact) เป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวงและรัฐบาล
2. ผลลัพธ์ (Outcorne) เป็นตัวชี้วัดระดับกรม
3. ผลผลิต (Output) เป็นตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)

30. ข้อใดคือตัวชี้วัดระดับกรม
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. ข้อใดคือตัวชี้วัดระดับกระทรวง
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

32. ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับกระทรวง
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 5 (คําบรรยาย) 2Q2T1P เป็นเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับรัฐบาล กระทรวง และกรม ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. Quantity (ปริมาณ)
2. Quality (คุณลักษณะ)
3. Time (เวลา)
4. Target Group (กลุ่มเป้าหมาย)
5. Place (สถานที่)

33. ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับกรม
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34.ข้อใดคือเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ)
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 4 (คําบรรยาย) QQCT เป็นเทคนิคการกําหนดตัวชี้วัดระดับสํานัก (หน่วยปฏิบัติ) ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. Quantity (ปริมาณ)
2. Quality (คุณลักษณะ)
3. Cost (ต้นทุน)
4. Time (เวลา)

35. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงการ
(1) งานสร้างสรรค์
(2) งานประจํา
(3) งานทําซ้ำ
(4) งานซับซ้อนเชี่ยวชาญเฉพาะ
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะของโครงการ มีดังนี้
1. เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายบางอย่าง
2. มีข้อจํากัดด้านเวลา มีระยะเวลาที่แน่นอน
3. เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
4. มีความซับซ้อน
5. ต้องใช้ความร่วมมือหลากหลายสาขาเพื่อการเปลี่ยนแปลง
6. ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ
7. มีความชัดเจนแน่นอนสูง
8. มีความสําคัญเร่งด่วน
9. ต้องการความเป็นองค์การในการขับเคลื่อน ฯลฯ

36. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของโครงการ
(1) งานที่ท้าทาย ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นเรื่องใหม่ ๆ มีระยะเวลาที่แน่นอน
(2) งานสร้างสรรค์ ต้องใช้ความร่วมมือหลากหลายสาขาเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีระยะเวลาที่แน่นอน
(3) งานที่มีความซับซ้อน มีการลงทุนสูง ใช้ความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่กําหนดระยะเวลา
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงการภาครัฐ
(1) รัฐเป็นเจ้าของโครงการ
(2) มาจากสภาพปัญหาของสังคม
(3) มีผลกระทบต่อสังคมสูง
(4) ได้รับผลตอบแทนสูง
(5) ใช้เงินภาษี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของโครงการภาครัฐ มีดังนี้
1. รัฐเป็นเจ้าของโครงการ
2. มาจากปัญหาข้อเรียกร้องของประชาชนหรือสภาพปัญหาของสังคม
3. เป็นประโยชน์สาธารณะ
4. มีระยะเวลาแน่นอน งบประมาณสาธารณะ
5. ใช้เงินภาษีหรือ
6. ประเมินผลตอบแทนยาก
7. มีผลกระทบต่อสังคมสูง

38. ข้อใดคือขอบเขตและคุณภาพของการบริหารโครงการ
(1) เวลา ต้นทุน แผนงาน
(2) เวลา ต้นทุน นโยบาย
(3) เวลา ต้นทุน หนี้ ความเสี่ยง
(4) เวลา ต้นทุน กําไร ความเสี่ยง
(5) เวลา ต้นทุน ความพร้อมของทรัพยากร ความเสี่ยง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขอบเขตและคุณภาพของการบริหารโครงการ มีองค์ประกอบดังนี้
1. เวลา (Time)
2. ต้นทุน (Cost)
3. ความพร้อมของทรัพยากร (Resource Availability)
4. ความเสี่ยง (Risk)

39. ข้อใดถูกต้อง
(1) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมีเสถียรภาพสูงและคล่องตัว
(2) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการประหยัด มีประสิทธิภาพ
(3) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมักขาดการประสานงาน ไม่คล่องตัว
(4) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการประสานงานได้รวดเร็วคล่องตัว
(5) โครงการที่อยู่ในโครงสร้างแบบราชการมีต้นทุนสูง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างแบบดั้งเดิม (Traditional Bureaucracy) เป็นการจัดโครงสร้าง โครงการที่อยู่ในโครงสร้างเดิมแบบราชการ ข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ ประหยัด ไม่ต้องปรับโครงสร้างใหม่ และมีผู้รับผิดชอบหรือเจ้าของผลงานชัดเจน ส่วนข้อจํากัดคือ ขาดการประสานงาน ไม่คล่องตัว และไม่เหมาะกับโครงการขนาดใหญ่หรือซับซ้อน

40. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างแบบโครงการ
(1) จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะหรือแยกออกมาจากโครงสร้างเดิม
(2) โครงสร้างเป็นแบบแนวราบ มีความคล่องตัว
(3) มีทรัพยากรเป็นของตัวเอง
(4) ประหยัด มีประสิทธิภาพ
(5) สนับสนุนการทํางานเป็นทีม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างแบบโครงการ (Project Organization) เป็นการจัดโครงสร้าง ขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะหรือแยกออกมาจากโครงสร้างเดิม โดยเน้นโครงสร้างแบบแนวราบและ เน้นการทํางานเป็นทีม ซึ่งข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ มีความคล่องตัวและสะดวก ในการบริหารจัดการ มุ่งเน้นผลลัพธ์ และมีทรัพยากรเป็นของตัวเอง ส่วนข้อจํากัดคือ สิ้นเปลืองทรัพยากรหากมีโครงการจํานวนมาก

41. ประยุทธ์มีตําแหน่งวิศวกร ประจําสํานักสํารวจวิศวกรรมและธรณีวิทยา, ประวิตรตําแหน่งนักบัญชี ประจํากองการเงินและบัญชี, อนุพงษ์ ประจําสํานักกฎหมายและที่ดิน สังกัดกรมชลประทาน ทั้งสามคน เป็นคณะทํางานในโครงการออกแบบเรือดําน้ํา… ลักษณะที่กล่าวมาเป็นการจัดโครงสร้างโครงการแบบใด
(1) โครงสร้างแบบราชการ
(2) โครงสร้างตามแนวตั้ง
(3) โครงสร้างแบบโครงการ
(4) โครงสร้างแบบราบ
(5) โครงสร้างแบบแมทริกซ์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การจัดโครงสร้างแบบแมทริกซ์ (Matrix Organization) เป็นการจัดโครงสร้าง ที่ผสมระหว่างโครงสร้างแบบเดิมกับโครงสร้างแบบโครงการ โดยใช้กําลังคนในโครงสร้างเดิมมาร่วมในโครงการโดยไม่ละทิ้งหน้าที่เดิม ซึ่งในภาครัฐของไทยมักใช้วิธีการตั้งเป็นคณะกรรมการ โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ข้อดีของการจัดโครงสร้างแบบนี้คือ ประสานงาน ได้รวดเร็วและประหยัด ส่วนข้อจํากัดคือ ขาดความเป็นเจ้าของผลงาน

42.ข้อใดคือข้อจํากัดของการจัดโครงสร้างการบริหารโครงการแบบแมทริกซ์
(1) ประสานงานล่าช้า
(2) สิ้นเปลือง
(3) ไม่เหมาะกับโครงการขนาดใหญ่
(4) ลําดับขั้นการบังคับบัญชาสูง
(5) ขาดความเป็นเจ้าของผลงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43. ข้อใดเรียงลําดับวงจรชีวิตโครงการได้ถูกต้อง
(1) วางแผนกําลังคน สํารวจสถานะ ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ
(2) สํารวจสถานะ วางแผน ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ
(3) กําหนดโครงการ วางแผน ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ
(4) รายงานสถานะโครงการ วางแผน ดําเนินการ สิ้นสุดโครงการ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วงจรชีวิตโครงการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การกําหนดโครงการ
2. การวางแผน
3. การดําเนินการ ซึ่งเป็นขั้นที่มีระดับความพยายามสูงสุด
4. การสิ้นสุดโครงการ

44. วงจรชีวิตโครงการขั้นใดมีระดับความพยายามสูงสุด
(1) สํารวจสภาพแวดล้อม
(2) กําหนดโครงการ
(3) วางแผน
(4) ดําเนินการ
(5) สิ้นสุดโครงการ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45. ผลสําเร็จจากการดําเนินกิจกรรมของโครงการเป็นผลสําเร็จในระดับใด
(1) Input
(2) Impact
(3) Outcome
(4) Output
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลสําเร็จจากการดําเนินกิจกรรมของโครงการ เป็นผลสําเร็จในระดับ ผลผลิต (Output)

46. ชุดรวมของบรรดาโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน คืออะไร
(1) Mega Project
(2) Program
(3) Policy
(4) Indicator
(5) Planning
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนงาน (Program) คือ ชุดรวมของบรรดาโครงการ (Project) ต่าง ๆที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกัน

47. ข้อใดคือหัวข้อแรกในการเขียนโครงการ
(1) ความเป็นมาและความสําคัญ
(2) ชื่อโครงการ
(3) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(4) เป้าหมาย
(5) วิธีดําเนินการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเขียนโครงการแบบบรรยาย เป็นการเขียนบรรยายรายละเอียดและ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการไล่เรียงไปตามลําดับ ดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. ความเป็นมาและความสําคัญ
3. วัตถุประสงค์
4. เป้าหมาย
5. กิจกรรม/วิธีดําเนินการ
6. ทรัพยากร/งบประมาณที่ใช้ดําเนินโครงการ
7. ระยะเวลาดําเนินการ
8. หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบ
9. อื่น ๆ

48. ข้อใดไม่ใช่หลักในการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ
(1) สัน กระชับ
(2) เขียนเป็นรายข้อ
(3) ไม่ควรเกิน 3 ข้อ
(4) เรียงตามความสําคัญมากไปน้อย
(5) เรียงตามความสําคัญน้อยไปมาก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักในการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ มีดังนี้
1. เขียนเป็นรายข้อว่าทําเพื่ออะไร
2. เรียงลําดับตามความสําคัญจากมากไปน้อย
3. เขียนสั้นกระชับได้ใจความ
4. ไม่ควรมีมากเกินไป ส่วนใหญ่ไม่เกิน 3 ข้อ

49. การเขียนแผนผัง/ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมในโครงการกับระยะเวลามักเขียนในรูปแบบใด
(1) Grand Chart
(2) Growth Chart
(3) Gantt Chart
(4) Great Chart
(5) Grace Chart
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Gantt Chart คือ แผนผัง/ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมในโครงการ กับระยะเวลาดําเนินการ ซึ่งจะทําให้ทราบจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานในแต่ละขั้นตอน

50. ข้อใดคือการประเมินเพื่อหาความจําเป็นหรือความต้องการของโครงการ
(1) Pre-evaluation
(2) Post-evaluation
(3) Ongoing-evaluation
(4) Monitoring
(5) Strategic Assessment
ตอบ 1(คําบรรยาย) การประเมินผลก่อนเริ่มโครงการ (Pre-evaluation) เป็นการประเมิน เพื่อหาความจําเป็นหรือความต้องการของโครงการ (Need Assessment) และการประเมิน ความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Appraisal/Project Feasibility Study)

57. ใครมีบทบาทมากที่สุดในการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) สมาชิกวุฒิสภา
(3) ระบบราชการ
(4) กลุ่มทุน
(5) ประชาชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 58 – 59. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ตัวแบบผู้นํา
(2) ตัวแบบสถาบัน
(3) ตัวแบบระบบ
(4) ตัวแบบเผด็จการ
(5) ถูกทุกข้อ

58. ตัวแบบการกําหนดนโยบายใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐและประชาชนมีบทบาทในการกําหนดนโยบายน้อย
ตอบ 1 หน้า 3 – 4, 66, (คําบรรยาย) ตัวแบบผู้นํา (Elite Model) เชื่อว่า
1.กลุ่มผู้นํา (นายกรัฐมนตรี) มีบทบาทในการกําหนดนโยบายมาก ในขณะที่หน่วยงานของรัฐ และประชาชนมีบทบาทในการกําหนดนโยบายน้อย
2. นโยบายสาธารณะเป็นการสะท้อนค่านิยมและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นํา จึงมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
3. สถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ต้องเป็นสถานการณ์ที่ผู้นํามีอํานาจสูงมาก ในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น ในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร ฯลฯ

59. นายกรัฐมนตรีจะมีบทบาทในการกําหนดนโยบายมากในตัวแบบใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60. ปัจจัยใดส่งผลต่อนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบผู้นํา
(1) คุณสมบัติของผู้นํา
(2) เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
(3) ค่านิยมและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นํา
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 4, 66 ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบผู้นํา (Elite Model) ได้แก่
1. ค่านิยมและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นํา
2. เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
3. คุณสมบัติของผู้นํา

ตั้งแต่ข้อ 61. – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ตัวแบบผู้นํา
(2) ตัวแบบกลุ่ม
(3) ตัวแบบสถาบัน
(4) ตัวแบบระบบ
(5) ตัวแบบเกมส์

61. นโยบายจากตัวแบบใดมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

62. ตัวแบบการกําหนดนโยบายใดเห็นว่าหน้าที่ของรัฐคือการเป็นเหมือนกับกรรมการ
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 66 – 67, (คําบรรยาย) ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพของการแข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่ม ต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ดังนั้น รัฐหรือระบบการเมืองจึงมีหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่
1. สร้างกติกาการแข่งขันและเป็นกรรมการหรือผู้ควบคุมการแข่งขันให้เกิดความยุติธรรม
2. แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอม เพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน
3. จัดสรรผลประโยชน์หรือกําหนดนโยบาย
4. นํานโยบายไปปฏิบัติ

63. จุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ จะส่งผลต่อนโยบายสาธารณะในตัวแบบใด
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 66 – 67 ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายสาธารณะที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบกลุ่ม (Group Model) ได้แก่
1. จุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ
2. การประนีประนอม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ฯลฯ

64. ระบบการเมืองทําหน้าที่ภายใต้แรงกดดันของระบบอื่น ๆ
ตอบ 4 หน้า 6, 67 ตัวแบบระบบ (System Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลของปฏิกิริยา ที่ระบบการเมืองมีต่อแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมภายนอก หรือกล่าวอีกนัย ระบบการเมือง ทําหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แรงกดดันของระบบอื่น ๆ ที่มิใช่ระบบการเมืองหรือ เรียกว่าสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นตัวระบบการเมืองจะทําหน้าที่เป็นตัวกระทําของระบบ (Conversion Process) ขณะที่สภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ข้อเรียกร้องความต้องการ หรือ การสนับสนุนของประชาชนจะเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบ (Inputs) และนโยบายสาธารณะ จะเป็นปัจจัยนําออกของระบบ (Outputs) ซึ่งถูกส่งออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกและกลายเป็น ปัจจัยนําเข้าสู่ระบบการเมืองเป็นวงจร ดังนั้นสภาพแวดล้อมภายนอกและระบบการเมืองจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณะ

65. ตัวแบบใดมองว่าสภาพแวดล้อม คือ ปัจจัยที่จะส่งผลต่อนโยบายสาธารณะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

66. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกลไกรัฐในตัวแบบกลุ่ม
(1) สร้างกติกา
(2) ริเริ่มนโยบาย
(3) หาลู่ทางประนีประนอม
(4) จัดสรรผลประโยชน์
(5) นํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

67. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบกลุ่ม
(1) การประนีประนอม
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
(3) ดุลยภาพของผลประโยชน์
(4) เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

68. ปัจจัยใดส่งผลต่ออิทธิพลของกลุ่ม
(1) จํานวนสมาชิก
(2) ฐานะทางเศรษฐกิจ
(3) ลักษณะของผู้นํากลุ่ม
(4) ความสามัคคีของกลุ่ม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลของกลุ่ม มีดังนี้
1. จํานวนสมาชิกของกลุ่ม
2. ฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม
3. ความเข้มแข็งในการจัดองค์การของกลุ่ม
4. ลักษณะของผู้นํากลุ่ม
5. ความใกล้ชิดกับผู้มีอํานาจในการกําหนดนโยบายของกลุ่มหรืออยู่ใกล้ศูนย์กลางของอํานาจ
6. ความสามัคคีของกลุ่ม

69. นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด
(1) ประชาชน
(2) หน่วยงานของรัฐ
(3) นายทุน
(4) ภูมิภาค
(5) พรรคการเมือง
ตอบ 2 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบสถาบัน (Institution Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็น
นโยบายสาธารณะก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไป ตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบันการปกครอง ตัวอย่างสถาบัน การปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) สถาบันบริหาร (นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ (หน่วยงานของรัฐ) สถาบันตุลาการ (ศาล) สถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 70 – 71. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) นโยบายสาธารณะ
(2) ข้อเรียกร้องของประชาชน
(3) การสนับสนุนของประชาชน
(4) สภาพแวดล้อม
(5) ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4

70. ตัวแบบระบบมองว่าอะไรคือปัจจัยนําเข้า
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

71. ตัวแบบระบบมองว่าอะไรคือปัจจัยนําออก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

72. สิ่งแวดล้อมแบบใดควบคุมไม่ได้
(1) จํานวนคน
(2) ค่านิยม
(3) เทคโนโลยี
(4) ลักษณะทางภูมิศาสตร์
(5) งบประมาณ
ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุม หรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย งบประมาณ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถ ควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น

73.Controlled Environment หมายถึง
(1) ภาวะทางธรรมชาติ
(2) ค่านิยมของคนภาคใต้ของประเทศไทย
(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย
(4) ความเชื่อของคนในภาคอีสาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 74 – 75. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การระบุปัญหาที่ถูกต้อง
(2) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบายที่รัดกุม
(3) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายอย่างครบถ้วน
(4) ออกแบบทางเลือกนโยบายที่หลากหลาย
(5) การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด

74. ขั้นตอนใดมีความสําคัญที่สุดในกระบวนการนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 12 (คําบรรยาย) การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหา โดยการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใดเร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นการระบุปัญหาจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสําคัญที่สุดในกระบวนการ กําหนดนโยบาย เพราะการระบุปัญหาที่ถูกต้องจะนําไปสู่การกําหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

75. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริง หรือข้อมูลภาคสนามเพื่อจะทราบปัญหา คือขั้นตอนใดในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76. ข้อมูลประเภทใดที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
(1) ข้อมูลทุกประเภท
(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)
(3) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง
(4) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)
(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการเดิม
ตอบ 4 หน้า 11 การระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบายต้องอาศัย “ข้อมูล” เป็นสําคัญ โดยข้อมูลในการระบุสาเหตุของปัญหาต้องประกอบด้วย
1. ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่น ความเชื่อถือ ของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก

ตั้งแต่ข้อ 77 – 78. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
(2) มีความเป็นพลวัต
(3) มีความเป็นปรนัย
(4) อาจไม่มีตัวตนที่แท้จริง
(5) กล่าวถูกทุกข้อ

77. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาในกระบวนการนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 8 – 9, 69 ลักษณะของปัญหาในกระบวนการนโยบายมี 4 ลักษณะ ดังนี้
1. มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration)
2. มีความเป็นพลวัต (Dynamic)
3. มีความเป็นอัตนัย (Subjective)
4. อาจไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality)

78. ปัญหามักเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม คือลักษณะใดของปัญหา
ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) หมายถึง การที่ปัญหามักแปรเปลี่ยน ลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร

79. ข้อใดคือปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน
(1) การสร้างที่ทําการขององค์การ
(2) ความยากจนในสังคมไทย
(3) ความแตกต่างทางความคิดเห็น
(4) การแพร่ระบาดของโควิด-19
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 10 ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน (Well-Structured Problem) คือ ปัญหาที่มีผู้เกี่ยวข้อง จํานวนน้อย และมีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือกสามารถ มองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจน เช่น ปัญหาในการจัดสร้างที่ทําการขององค์การ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องคือผู้ที่อยู่ในองค์การนั้น ทางออกคือสร้างหรือไม่สร้าง และประโยชน์จาก การสร้างคือได้ที่ทําการใหม่ เป็นต้น

80. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการระบุปัญหา
(1) สาเหตุ
(2) อาการ
(3) การประเมินผลนโยบาย
(4) ความเร่งด่วน
(5) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตอบ 3 หน้า 11, 70 ขั้นตอนการระบุปัญหา ประกอบด้วย
1. การระบุสาเหตุของปัญหา เป็นการระบุต้นตอของปัญหา เพราะการแก้ปัญหาใด ๆ นั้นต้อง รู้ถึงต้นตอของปัญหาจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้หมดสิ้น ทั้งนี้การระบุสาเหตุของปัญหา ต้องอาศัย “ข้อมูล” เป็นสําคัญ
2. การระบุอาการของปัญหา เป็นการนิยามหรืออธิบายว่าอะไรคือปัญหา ผลกระทบของปัญหา คืออะไร ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และปัญหามีความรุนแรงหรือเร่งด่วนเพียงไร

81. อะไรคือสิ่งสําคัญในขั้นตอนการระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบาย
(1) เป้าหมาย
(2) วัตถุประสงค์
(3) การนําไปปฏิบัติ
(4) ข้อมูล
(5) การประเมินผล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

82. การกําหนดเป้าหมายของนโยบายควรมีลักษณะแบบใด
(1) เที่ยงตรง
(2) เปิดช่องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตีความได้
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(3) ครอบคลุมประเด็นปัญหา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 70 การกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง
2. มีความชัดเจน เข้าใจตรงกันไม่ต้องตีความ
3. มีความเป็นไปได้
4. ครอบคลุมประเด็นปัญหา
5. วัดผลได้

83. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์
(1) เป็นวิธีการ
(2) เจาะจง
(3) สิ่งสุดท้ายที่ต้องการบรรลุ
(4) เป็นรูปธรรม
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 70 เป้าหมาย (Goal) และวัตถุประสงค์ (Objective) มีความแตกต่างกันดังนี้

ตั้งแต่ข้อ 84 – 87. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การระบุปัญหา
(2) ทดสอบทางเลือก
(3) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย
(4) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
(5) การพัฒนาทางเลือกนโยบาย

84. ขั้นตอนการกําหนดว่าจะเริ่มที่ใด สิ้นสุด ณ จุดใด
ตอบ 3 หน้า 13 การกําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย เป็นการกําหนดว่านโยบายจะมีขอบเขตกว้างไกลแค่ไหน จะเริ่มที่ใด สิ้นสุด ณ จุดใด จะแก้ไขปัญหาในส่วนใดได้บ้าง โดยพิจารณา ความเหมาะสมให้สอดคล้องกับอํานาจหน้าที่และความสามารถของหน่วยงาน ตลอดจน ความสมบูรณ์ของทรัพยากรที่สามารถระดมมาใช้ในการปฏิบัติได้

85. ศึกษาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย รวมทั้งการยอมรับต่อนโยบาย คือขั้นตอนใด
ตอบ 4 หน้า 13 การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือการศึกษาข้อจํากัดด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูล
2. ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย
3. การรับรู้และการยอมรับต่อนโยบาย
4. สิ่งแวดล้อมทั่วไป

86. การพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของนโยบาย คือขั้นตอนใด
ตอบ 5 หน้า 13, 71 การออกแบบทางเลือกนโยบายหรือการพัฒนาทางเลือกนโยบาย คือ การใช้ ความรู้ ประสบการณ์ของผู้กําหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมและการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกําหนดว่าทางเลือกซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นควรเป็นทางเลือกใดบ้าง โดยพิจารณาว่ามีทางเลือกใดที่สามารถปฏิบัติตามแล้วให้ผลสําเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้ต้องพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของนโยบายให้ครบถ้วน

87.การตรวจสอบทางความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิเคราะห์และการประยุกต์ทั้งหลายคือขั้นตอนใด
ตอบ 2 หน้า 14 การทดสอบทางเลือก คือ การทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและข้อมูลที่ใช้ ทั้งทางด้านหลักการเหตุผล ทางเลือกของนโยบาย คุณภาพและปริมาณของข้อมูลว่ายังพอเพียง และดีอยู่ ตลอดจนตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิธีวิเคราะห์ และการประยุกต์ทั้งหลายว่าเป็นระบบและสอดคล้องต้องกันอย่างแท้จริง

88. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์นโยบาย
(1) วิเคราะห์ปัญหา
(2) วิเคราะห์เป้าหมาย
(3) วิเคราะห์ทางเลือก
(4) วิเคราะห์แนวปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 16, 72 การวิเคราะห์นโยบาย มีหลายลักษณะดังนี้
1. วิเคราะห์สภาพปัญหาของนโยบาย
2. วิเคราะห์เป้าหมายของนโยบาย
3. วิเคราะห์ทางเลือกของนโยบาย
4. วิเคราะห์แนวปฏิบัติของนโยบาย
5. วิเคราะห์ผลลัพธ์ของนโยบาย

89.การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์ เป็นขั้นตอนใดของนโยบาย
(1) Policy Formulation
(2) Policy Analysis
(3) Policy Evaluation
(4) Policy Implementation
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของ การแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/การตระเตรียม วิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

90. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมาก
(2) ความต้องการต่อนโยบายหลากหลายและแตกต่างกัน
(3) นโยบายมักจะรวบรัดและมีรายละเอียดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป
(4) ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 17 – 18, 72 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบาย ไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมาก
2. ความต้องการต่อนโยบายหลากหลายและแตกต่างกัน
3. นโยบายมักมีขนาดใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป
4. ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
5. มีปัจจัยจํานวนมากที่ไม่สามารถควบคุมได้

91. เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร
(1) มีขนาดใหญ่โตหน้าเวลา
(2) คงที่เหมือนเดิม
(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา
(4) มีขนาดเล็กลง
(5) มีขนาดเล็กลงหรือโตขึ้นตามจํานวนประชากร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92. ลักษณะของนโยบายแบบใดที่มีโอกาสนําไปปฏิบัติได้สําเร็จสูง
(1) สร้างการเปลี่ยนแปลงมาก
(2) เห็นผลชัดเจน
(3) มีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 18 อาจารย์ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะ ประสบความสําเร็จหรือมีโอกาสนําไปปฏิบัติได้สําเร็จสูงมีลักษณะดังนี้
1. เป็นนโยบายที่ไม่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป
2. เห็นผลได้ชัดเจน
3. มีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน

93. ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติจะมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายมากในกรณีใด
(1) ทรัพยากรไม่เพียงพอ
(2) สังคมไม่สนับสนุนนโยบาย
(3) เวลาไม่เอื้ออํานวย
(4) วัตถุประสงค์ของนโยบายไม่ชัดเจน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติจะมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายมากในกรณีวัตถุประสงค์ของนโยบายไม่ชัดเจน

94. ความเป็นไปได้ทางการเมืองของนโยบายขึ้นอยู่กับสิ่งใด
(1) อัตราส่วนของ ส.ส. ในสภา
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและข้าราชการ
(3) การสนับสนุนจากสาธารณชน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 19, 74, (คําบรรยาย) ความเป็นไปได้ทางการเมืองของนโยบายขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อัตราส่วนของ ส.ส. ในสภา เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ (ข้าราชการ) และเอกชน
3. การสนับสนุนจากสาธารณชน

95. องค์การลักษณะใดมีโอกาสนํานโยบายไปปฏิบัติได้สําเร็จสูง
(1) องค์การแบบยึดกฎระเบียบ
(2) องค์การแบบกระจายอํานาจ
(3) องค์การแบบแนวดิ่ง
(4) องค์การแบบแนวราบ
(5) ขึ้นอยู่กับลักษณะของนโยบาย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การที่มีโอกาสนํานโยบายไปปฏิบัติได้สําเร็จสูงนั้นขึ้นอยู่กับ ลักษณะของนโยบายเป็นสําคัญ บางนโยบายอาจจะต้องใช้องค์การแบบยึดกฎระเบียบจึงจะสําเร็จ บางนโยบายอาจจะต้องใช้องค์การแบบกระจายอํานาจจึงจะสําเร็จ ดังนั้นการนํา นโยบายไปปฏิบัติจะสําเร็จหรือล้มเหลวจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การแบบใดแบบหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของนโยบายที่จะต้องมีความเหมาะสมกับองค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ

96. ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติหมายถึงอะไร
(1) วัฒนธรรม
(2) การจัดองค์การ
(3) ความรู้สึกต่อนโยบาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 78 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
1. ความสามารถ ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ
2. วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ
3. ประสบการณ์
4. ความรู้สึกต่อนโยบาย

97. ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาด้านใด
(1) ทรัพยากร
(2) ความเป็นไปได้ทางการเมือง
(3) ความถูกต้องทางทฤษฎี
(4) วัตถุประสงค์ของนโยบาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาด้านความเป็นไปได้ทางการเมือง ซึ่งก็คือเรื่องของ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับข้าราชการ ทําให้ข้าราชการปฏิบัติตามนโยบายอย่างไม่เต็มที่ ซึ่งส่งผลให้การนํานโยบายไปปฏิบัติอาจไม่ประสบความสําเร็จ

98. ศรีธนนชัยนําข้าวของในบ้านไปทิ้งเพราะรู้สึกขี้เกียจ เมื่อแม่บอกให้ทําความสะอาดบ้านให้เตียนโล่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาอะไร
(1) ความขัดแย้งในตัวเองของนโยบาย
(2) วัตถุประสงค์ของนโยบาย
(3) ทัศนคติของศรีธนนชัย
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การที่ศรีธนนชัยนําข้าวของในบ้านไปทิ้งเพราะรู้สึกขี้เกียจ เมื่อแม่บอกให้ ทําความสะอาดบ้านให้เตียนโล่งนั้น แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านทัศนคติของศรีธนนชัยและ วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ไม่ชัดเจน ทําให้เกิดการตีความนโยบายหรือเข้าใจในนโยบาย ไม่ตรงกับที่ผู้กําหนดนโยบายกําหนดไว้

99. โรงเรียนยังคงเก็บค่าบํารุงกิจกรรม แม้มีนโยบายเรียนฟรี เป็นปัญหาด้านใด
(1) ทรัพยากร
(2) ตัวชี้วัด
(3) เป้าหมายของนโยบาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19, 76, (คําบรรยาย) โรงเรียนยังคงเก็บค่าบํารุงกิจกรรม แม้มีนโยบายเรียนฟรี เป็นปัญหาด้านทรัพยากรซึ่งก็คือเรื่องของเงินทุนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทรัพยากรนี้ถือเป็นปัจจัยสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติ หากทรัพยากรมีไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติตามนโยบาย

100. มีการฉีดน้ําใส่เครื่องวัดละอองฝุ่น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาด้านใด
(1) เป้าหมายของนโยบาย
(2) ความถูกต้องทางทฤษฎี
(3) ความเป็นไปได้ทางการเมือง
(4) ตัวชี้วัด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การฉีดน้ําใส่เครื่องวัดละอองฝุ่น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาเรื่อง ตัวชี้วัด ดังนั้นการกําหนดตัวชี้วัดจะต้องครอบคลุมและรัดกุม จึงจะทําให้นํานโยบายไปปฏิบัติเป็นไปตามเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้

WordPress Ads
error: Content is protected !!