การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ใครเป็นผู้กล่าวข้อความ “ความรู้ทุกแห่งหนในโลกของเรานั้นยังไม่สมบูรณ์…ปัญหาต่าง ๆ ยังรอการแก้ไขอยู่ ” ต่อไปนี้
(1) Parsons & Shills
(2) Paul Leedy
(3) Verstehen
(4) Reiss
ตอบ 2 หน้า 11-12 Paul Leedy นักวิจัยทางสังคมศาสตร์กล่าวว่า “ความรู้ทุกแห่งหนในโลกของเรานั้น ยังไม่สมบูรณ์ และปัญหาต่าง ๆ นั้นยังรอผู้แก้ไขให้ความกระจ่างแจ้งชัดเจนอยู่อีกมาก… บทบาทของการวิจัยก็คือ การตระเตรียมวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบเหล่านี้โดยการศึกษา และแสวงหาความจริงในสากลโลก ภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์”
2. การวิจัยสื่อสารมวลชน มีความหมายอย่างไรดังต่อไปนี้
(1) การรวบรวมข้อมูลภาคสนามนำมาทดสอบสมมุติฐานของการวิจัย
(2) กระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
(3) การตั้งคำถามเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงตามทฤษฎีสื่อสารมวลชน
(4) กระบวนการค้นหาข่าวสารด้านสื่อสารมวลชนเพื่อการตีความตามหลักสถิติ
ตอบ 2 หน้า 11 การวิจัยสื่อสารมวลชน (Mass Communication Research) คือ กระบวนการ แสวงหาความรู้ใหม่ทางสื่อมวลชน หรือเป็นการค้นหาคำตอบจากปัญหาสื่อมวลชน โดยใช้ วิธีการหรือระเบียบวิธีการวิจัยแบบต่าง ๆ ภายใต้กระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เข้าดำเนินการวิเคราะห์ค้นหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับหัวข้อหรือปัญหาที่จะทำวิจัย ตามจุดมุ่งหมายของผู้วิจัยนั้นเป็นสำคัญ
3. การวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจของวัยรุ่นต่อการชมภาพยนตร์เรื่องเพศและความรุนแรง” นั้น อะไรเป็น ตัวแปรตามต่อไปนี้
(1) ความพึงพอใจ (2) พฤติกรรมชอบความรุนแรง
(3) ภาพยนตร์เรื่องเพศ (4) วัยรุ่นที่ชมภาพยนตร์
ตอบ 1 หน้า 84, 369 ตัวแปรตาม (Dependent Variables : DV) คือ ตัวแปรที่เกิดขึ้นจากผลของตัวแปรด่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันนั้น หรือเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์จาก กลุ่มหรือชุดของตัวแปรอิสระหลาย ๆ ตัวเข้าประกอบกัน เพื่ออธิบายหรือสรุปการทำบาย ตัวแปรตาม (DV) จากตัวแปรอิสระ (IV) ทำให้ในบางครั้งจึงเรียกตัวแปรตามว่า “ตัวแปรผล” เพราะเกิดจากผลของตัวแปรอิสระ หรือขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระนั่นเอง เช่น จากหัวข้อวิจัยข้างต้น พบว่า ความพึงพอใจของวัยรุ่นเป็นตัวแปรตาม ส่วนภาพยนตร์เรื่องเพศและความรุนแรงเป็น ตัวแปรอิสระ เป็นต้น
4. หลักการที่ใช้ Anonymity นั้น เกี่ยวกับเรื่องใดต่อไปนี้
(1) การรวบรวมข้อมูล (2) การสร้างแบบสอบถาม
(3) การวัดผล (4) จรรยาบรรณของนักวิจัย
ตอบ 4 หน้า 101 จรรยาบรรณลากลของนักวิจัยสื่อสารมวลชนในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ได้แก่
1. การไม่เปิดเผยชื่อ (Anonymity) คือ การปกปิดชื่อ – สกุลของผู้ร่วมมือในการวิจัยนั้น ซึ่ง การไม่เปิดเผยชื่อจะยังคงเก็บรักษาไว้ได้ก็ต่อเมื่อผู้วิจัยไม่ได้ทิ้งเอกสารหรือแบบสอบถามใด ๆ ไว้เป็นหลักฐานในการตอบคำถามนั้น และนำมาเก็บไว้ใบสถานที่ที่ไม่เปิดเผย
2. การปิดเป็นความลับ (Confidentiality) คือ การรับรองว่าผู้เข้าร่วมมือในการวิจัย จะไม่ถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยการตกลงว่าจะปิดเป็นความลับ ฯลฯ
5. การทำงานของนักวิจัยสื่อสารมวลชนนั้น เริ่มที่เรื่องใดก่อนดังต่อไปนี้
(1) แหล่งข้อมูล (2) สมมุติฐาน (3) ปัญหา (4) การวิเคราะห์ปัญหา
ตอบ 3 หน้า 27 – 29 วิธีการดำเนินการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนมีอยู่ 9 ขั้นตอน คือ
1. เริ่มที่ปัญหาหรือคำถาม 2. ข้อมูลข่าวสารสนเทศในเรื่องของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำวิจัย 3. วิธีการที่จะได้ข้อมูล 4. การวางแผนการวิจัย5. การดำเนินงานวิจัยตามแผนที่วางไว้ 6. กรรมวิธีข้อมูล 7. ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมา 8. สรุปผลงานวิจัย 9. ขั้นรายงานผลวิจัยหรือขั้นเสนอผลงานต่อสื่อมวลชน
6. ระดับที่ใช้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ใช้มากที่สุดทางการวิจัยสื่อสารมวลชนนั้น ได้แก่ค่าใดต่อไปนี้
(1) ระดับ .50 (2) ระดับ .005 (3) ระดับ .01 (4) ระดับ .05
ตอบ 4 หน้า 287, 292, 314, 357 ระดับความมีนัยสำคัญ (α = Alpha) หรือค่านัยสำคัญทางสถิติ (Statistical Significance) ที่นิยมเลือกใช้กันมากที่สุดในการวิจัยทางการสื่อสารมวลชน (โดยเฉพาะการวิจัยแบบสำรวจ) ซึ่งเป็นการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ คือ ระดับ .05 (ยอมให้ผิดพลาด 5%) หรือมีค่าที่หวังได้เท่ากับ 95% นอกจากนี้ยังมีระดับที่นิยมเลือกใช้ รองลงมา คือ ระดับ .01 (ยอมให้ผิดพลาด 1%) หรือมีค่าที่หวังได้เท่ากับ 99% และระดับ .001 (ยอมให้ผิดพลาด 0.1%) หรือมีค่าที่หวังได้เท่ากับ 99.9%
7. คำว่า วิทยาศาสตร์ (Science) มาจากคำละติน จะมีความหมายว่าอะไรต่อไปนี้
(1) To Learn (2) To Know (3) To Study (4) To Educate
ตอบ 2 หน้า 6, 60, 325, 327 คำว่า “วิทยาศาสตร์” ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Science มีรากศัพท์ มาจากคำภาษาละติน แปลว่า เพื่อที่จะรู้ (To Know)
8. เครื่องมือที่สำคัญทางการวิจัยด้านสื่อสารมวลชน ได้แก่อะไรต่อไปนี้
(1) เครื่องวัดระยะเวลาวิจัย (2) แบบสอบถาม
(3) เครื่องวัดอุณหภูมิ (4) แบบสำรวจพื้นที่เขตการวิจัย
ตอบ 2 หน้า 191, 193 การวิจัยด้านสื่อสารมวลชนจะนิยมใช้การวิจัยแบบสำรวจมากที่สุด ซึ่งส่วนมาก มักนิยมใช้เครื่องมือวิจัยสื่อสารมวลชนที่สำคัญ ได้แก่ “แบบสอบถาม” (Questionnaires) โดยเฉพาะการสอบถามทางไปรษณีย์ เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หรือประหยัดมากกว่าวิธีอื่น แต่ก็ได้คำตอบกลับมาต่ำโดยเฉลยประมาณ 40% ของแบบสอบถามทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องมี วิธีการล่อใจให้ร่วมมือตอบแบบสอบถามหลาย ๆ วิธี เช่น การให้รางวัลผู้ตอบ การจับสลากชิงโชค ได้ของชำร่วย หรือการให้สิทธิบางอย่าง ฯลฯ
9. คำว่า Helix ทางการวิจัยสื่อสารมวลชนนั้น มีความหมายถึงเรื่องใด
(1) การวิจัยเป็นการหาความรู้ใหม่ (2) การวิจัยเป็นระบบหมุนเวียน
(3) การวัดผลโดยวิธีจัดลำดับที่ (4) การเก็บตัวอย่างแบบมีระบบ
ตอบ 2 หน้า 17, 27 ธรรมชาติของการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้นเป็นระบบหมุนเวียน (Circular /Helix /Spiral) อย่างต่อเนื่องเป็นวงจรเรื่อยไป เพราะโลกของการวิจัย (Research Universe) คือ สำรวจวิเคราะห์สิ่งหนึ่งแล้วสรุปผลการวิจัยที่เกิดขึ้นมา ก็ย่อมมีสิ่งหนึ่งเกิดปัญหาวิจัยขึ้นใหม่ ต่อไปอีก ดังนั้นการวิจัยจึงสร้างเรื่องหรือปัญหาที่ต้องวิจัยต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น (Research Begets Research)
10. ผู้ที่เชื่อว่าระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ และมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นการลงทุน ที่ไม่รู้จักจบสิ้นนั้น ได้แก่ใครต่อไปนี้
(1) Verstehen (2) Paul Leedy (3) Karl Popper (4) Kuhn
ตอบ 3 หน้า 27 Karl Popper เชื่อว่า การแสวงหารูปแบบหรือระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ (Elusive) โดยเขามองภาพวิทยาศาสตร์ว่าเป็นการลงทุนที่ไม่รู้จักจบสิ้น และพัวพันกับความรู้ที่มีเป้าหมาย
11. พระพุทธเจ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้เสนอวิธีการแสวงหาความรู้รูปแบบใด ดังต่อไปนี้
(1) Authority
(2) Intuition
(3) Rationalism
(4) Mysticalism
ตอบ 2 หน้า 24, (คำบรรยาย) การได้ความรู้แบบ Intuition คือ ความรู้ที่ได้จากการรู้แจ้งขึ้นเองอย่าง พระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นจากการเก็บรวบรวมสะสมความรู้นั้นไว้อย่างมีระบบและมีเหตุมีผล ที่เป็นจริงเกิดขึ้นในสมองของพระองค์ แล้วเกิดระบบความคิดฉับพลันที่ลงตัวมองเห็นทาง แก้ปัญหาขึ้นทันที (Sudden Insight) อย่างที่พุทธมามกะเรียกว่า ตรัสรู้ (Insight) ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าได้แสดงวิธีดำเนินการค้นหาความจริงตามลำดับขึ้นตอน ได้แก่ 1. ตั้งปัญหา2. หาเหตุปัญหา 3. ทดลอง 4. รู้วิธีแก้ 5. พบแนวทางแก้ปัญหา
12. การได้ความรู้แบบ Rationalism ได้มาโดยผ่านกระบวนการใดต่อไปนี้
(1) Induction
(2) Deduction
(3) Insight
(4) Logic
ตอบ 2 หน้า 23 การได้ความรู้แบบ Rationalism ได้มาโดยผ่านกระบวบการอนุมาน (Deduction) คือ การสืบสาวหาเหตุผลทางตรรกวิทยาจากข้อสันนิษฐานและความรู้เก่า ๆ ที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว ในโลกรอบตัวเรา โดยใช้เหตุและผลที่มีอยู่จากประสบการณ์ความรู้ของตน อ้างเหตุซึ่งเป็นผล ที่น่าจะยอมรับขึ้นอย่างน้อย 2 เหตุผล แล้วสรุปผลจากสิ่งที่อ้างนั้น เช่น มนุษย์เกิดมาแล้ว —> ต้องเจ็บป่วยทุกคน —–> ในที่สุดก็ต้องตาย ——-> จึงสรุปได้ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย
13. ใครแนะว่านักวิทยาศาสตร์ทางสังคมนั้นควรจะยอมรับว่าผู้คนทั้งหลายอยู่ในฐานะที่เป็นวัตถุมนุษย์ (Human Subjects) ดังต่อไปนี้
(1) Leedy
(2) Solomon
(3) Verstehen
(4) Kuhn
ตอบ 3 หน้า 25 Verstehen ชาวเยอรมัน แนะว่า นักวิทยาศาสตร์ทางสังคมควรจะยอมรับว่าตัวเอง และผู้คนทั้งหลายอยู่ในฐานะที่เป็นวัตถุมนุษย์ (Human Subjects) ผู้ซึ่งเป็นคล้ายสสารอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาศึกษาวิจัยได้ โดยเมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจหรือเห็นอกเห็นใจมนุษย์แล้ว สิ่งนี้จะ เป็นตัวแยกความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์สังคมออกจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้ในที่สุด
14. ตัวแปร (Variables) ในการวิจัยนั้น คืออะไร
(1) สิ่งแปรเปลี่ยนที่วัดไม่ได้ แต่เกิดค่าใหม่ขึ้นมา 2 ค่าตามธรรมชาติ
(2) สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปแต่วัดได้ และเกิดค่าใหม่อย่างน้อย 2 ค่า
(3) ตัวที่แปรไปจากค่าเดิม และสามารถสัมพันธ์กับค่าคงที่ 2 ชนิด
(4) ตัวที่แปรเปลี่ยน และทำให้ค่าเดิมมีค่าเฉพาะ 2 ค่าในตัวของมันเอง
ตอบ 2 หน้า 83 – 84, 392 ตัวแปร (Variables) คือ ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วเกิดค่าใหม่ขึ้นอย่างน้อย 2 ค่าหรือมากกวา 2 ค่าขึ้นไป ซึ่งสามารถจะถูกนำมาวัดได้ หรือนำมาจัดการค้นหาความสัมพันธ์ได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก อายุ เป็นต้น
15. ระบบการจัดจำแนกที่เอื้อต่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่เรื่องใด
(1) Proposal (2) Proposition (3) Taxonomies (4) Theories
ตอบ 3 หน้า 71 Persons & Shills ได้ให้แนวคิดที่จะเข้าสู่ทฤษฎีไว้ 4 ระดับ ซึ่งในระดับที่ 2 คือ Taxonomies เป็นขั้นของระบบการจัดจำแนกที่เอื้อต่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับมาเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนหน้าที่ 2 ประการ คือ
1. ช่วยระบุเอกลักษณ์ของสิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติ และช่วยบ่งบอกหรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร
2. ช่วยวางรากฐานทางการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาต่อไปในอนาคตด้วย
16. คำจำกัดความในการวิจัยที่อยู่ในขั้นการปฏิบัติการนั้น เรียกว่าคำจำกัดความประเภทใด
(1) Conceptual Definition (2) Ostensive Definition
(3) Conceptual Operation (4) Operation Definition
ตอบ 4 หน้า 69 – 70, (คำบรรยาย) Operation Definition หมายถึง คำจำกัดความเชิงปฏิบัติที่อยู่ ระหว่างขั้นทฤษฎีมโนทัศน์และขั้นการสังเกตทดลอง จึงเป็นคำจำกัดความในการวิจัยที่ใช้ในขั้น ของการปฏิบัติการ ซึ่งสามารถนำผลมาใช้ปฏิบัติได้จริง หรืออธิบายในลักษณะที่วัดได้หรือสังเกตได้ โดยจะบอกว่าอะไรที่จะต้องทำ เพื่อจะได้สังเกตตัวอย่างที่มองเห็นได้ตามมโนทัศน์นั้น และเพื่อ จะได้ใช้ประโยชน์ในการสังเกตทดลอง โดยไม่ได้เชื่อตามทฤษฎีเสียทั้งหมด
17. Concept หรือมโนทัศน์นั้น มีความหมายถูกต้องที่สุดในเรื่องใดต่อไปนี้
(1) นามธรรมที่เป็นความคิดรวบยอดของมนุษย์ (2) นามธรรมที่สามารถค้นหาความจริงได้
(3) รูปธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้จากสิ่งของต่าง ๆ (4) รูปธรรมที่เป็นความคิดสรุปของมนุษย์ ตอบ 1 หน้า 67 – 68, 328, 367 มโนทัศน์ (Concept) หมายถึง ความคิดรวบยอดของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นความคิดนามธรรมที่ได้จากประสบการณ์ความรู้ของตนเอง โดยจะเป็น ตัวเอื้ออำนวยต่อหน้าที่ที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. การสื่อความหมายและความคิด
2. การสร้างหรือกำหนดขอบเขตของการสังเกตปรากฏการณ์ทางด้านการทดลองค้นคว้าวิจัย
3. ความสะดวกในการจัดจำแนกและการอ้างอิงเรื่องทั่ว ๆ ไป
4. การสร้างกรอบแนวคิดหรือขอบข่ายทางด้านทฤษฎี
18. ผู้ที่คิดว่าจะต้องมีทฤษฎีเกิดขึ้นก่อนแล้ววิจัยนั้น ได้แก่ใครต่อไปนี้
(1) Verstehen (2) Karl Popper (3) Reiss (4) Comb
ตอบ 2 หน้า 72 Karl Popper ได้พัฒนาแนวความคิดทฤษฎีแล้ววิจัยไว้อย่างเป็นระบบ กล่าวคือ เขาเริ่มสร้างทฤษฎีหรือ Models ขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ดำเนินงานจนได้กฎแห่งความสัมพันธ์ หรือบทพิสูจน์ แล้วจึงวางแผนการวิจัยเพื่อทดสอบพิสูจน์หรือวิเคราะห์ และหาผลสรุปว่า จะยอมรับหรือปฏิเสธบทพิสูจน์นั้นภายหลัง
19. แบบจำลองหรือที่เรียกว่า Model ช่วยสนับสนุนการวิจัยเรื่องใด
(1) มองภาพแห่งความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น (2) จัดคนช่วยวิจัยในการค้นหาข้อมูล
(3) จัดวิธีการทำงานวิจัยทางสื่อสารมวลชน (4) มองเห็นรูปแบบการวิจัยสื่อสารมวลชน
ตอบ 1 หน้า 72, 77 – 78, 330 Model คือ แบบจำลองหรือตัวแทนของความจริงที่มองเห็นได้ ซึ่งจะช่วยผู้วิจัยให้สามารถจัดหรือมองภาพแห่งความเป็นจริงได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วย สนับสนุนจุดมุ่งหมายของการจัดระเบียบวิธี และช่วยจัดลำดับการทำงานในสภาพความเป็นจริง ของเราเอง ดังนั้น Model จึงเป็นการลอกเลียบแบบอย่างหรือการจัดทำตัวแทนแม่แบบของความเป็นจริง
20. ผลการวิจัยทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นเสมอนั้น ได้แก่สิ่งใดต่อไปนี้
(1) ข้อบกพร่องใหม่ (2) ปัญหาใหม่
(3) ระเบียบวิธีใหม่ (4) หลักฐาน ข้อสนเทศใหม่
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ
21. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) คืออะไร
(1) ตัวแปรที่เกิดจากค่าที่เปลี่ยนไปอย่างน้อย 2 ค่า
2) ตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของตัวแปรตาม
(3) ตัวแปรธรรมชาติที่สัมพันธ์กันทำให้เกิดผลเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่ง
(4) ตัวแปรตามธรรมชาติที่เปลี่ยนค่าใหม่ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ นั้น
ตอบ 3 หน้า 84, 120 – 121, 374 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables : IV) หรือตัวแปรทำนาย คือ ตัวแปรที่นักวิจัยกำหนดให้เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น โดยเมื่อตัวแปรอิสระ เปลี่ยนแปลงไปตามระบบที่ผู้วิจัยประสงค์ ก็จะทำให้ตัวแปรอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น ในบางครั้งจึงเรียกว่า ตัวแปรเหตุหรือตัวแปรธรรมชาติที่เมื่อสัมพันธ์กันแล้วจะทำให้เกิดผล เป็นตัวแปรใหม่ตามมาอีกตัวหนึ่ง หรือตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตามเสมอ
22. นักวิจัยสื่อสารมวลชนชื่อ Reiss ทำวิจัยด้านใดต่อไปนี้
(1) อิทธิพลของผู้มีอำนาจยังฝังใจอยู่ในการตอบคำถาม
(2) ความเชื่อฟังคล้อยตามของสื่อมวลชนในการตอบคำถาม
(3) ความถูกต้องของการตัดสินใจจากสื่อในการตอบคำถาม
(4) ความถูกต้องของข้อมูลที่เสนอโดยสื่อในการตอบคำถาม
ตอบ 1 หน้า 99, 104 ผู้วิจัยที่ได้ศึกษาเรื่องศีลธรรมและจรรยาบรรณในการทำวิจัย โดยเน้นถึงอิทธิพล ต่าง ๆที่คุกคามผู้ถูกวิจัยการหลอกลวงและอันตรายต่าง ๆได้แก่กลุ่มนักวิจัย Milgram ซึ่งได้ศึกษาเรื่องการเชื่อผู้มีอำนาจ ส่วน Reiss ได้ศึกษาเรื่องอิทธิพลของผู้มีอำนาจที่ยังคงฝังใจ อยู่ในการตอบคำถามของผู้ถูกวิจัย เช่น พฤติกรรมของตำรวจ ผู้มีอิทธิพล และนักเลงอันธพาล
23. หน่วยของการวิเคราะห์ (Units of Analysis) ทางการวิจัยสื่อสารมวลชน คืออะไรต่อไปนี้
(1) หน่วยต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยศึกษานำมาเปรียบเทียบร่วมกันนั้น
(2) หน่วยทั้งหมดที่พิสูจน์ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด
(3) สิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการตัวแทนหรือสุ่มตัวอย่างมาศึกษานั้น
(4) ผู้ที่ถูกนำมาศึกษาหรือได้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนนั้น
ตอบ 4 หน้า 83, 88, 331 หน่วยของการวิเคราะห์ (Units of Analysis) คือ หน่วยข้อมูลที่ได้มาแล้ว ควรสนองตอบต่อมโนทัศน์ การวัดผล และการสังเกตค้นคว้าของเราได้ ดังนั้นหน่วยของการวิเคราะห์จึงเป็นเกือบทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งต่าง ๆ บุคคล หรือเหตุการณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ที่จะทำการศึกษาวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น เช่น ในการวิจัย แบบสำรวจ ผู้ที่ถูกนำมาศึกษาหรือได้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนก็คือ หน่วยของการวิเคราะห์ นั่นเอง โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถาม 1 คน จะนับเป็น 1 หน่วย
24. บทคัดย่อของการวิจัย (Abstract) จะหาไม่พบในบรรณานุกรมและพจนานุกรม แต่จะพบในวิทยานิพนธ์ เพราะบทคัดย่อจะมีลักษณะเป็นการเขียนอย่างไร
(1) การคัดย่อเนื้อหาหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ค้นคว้ามาทำวิจัย
(2) การย่อความผลวิจัยที่อยู่ในสาขาสื่อมวลชนนั้น
(3) การคัดย่อจากวรรณกรรมต่าง ๆ จากผลการวิจัย
(4) การเขียนสรุปรายงานของการทำงานวิจัยนั้น
ตอบ 4 หน้า 31, 87, 93, 332 บทคัดย่อของการวิจัย (Abstract) จะหาไม่พบในบรรณานุกรม ปทานุกรม พจนานุกรม รวมทั้งในภาคผนวกหรือในดัชนีต่าง ๆ แต่จะพบในวิทยานิพนธ์ ซึ่งสามารถค้นหา ได้ที่ห้องสมุดหรือค้นได้จาก Internet ทั้งนี้เพราะบทคัดย่อเป็นการเขียนสรุปรายงานสั้น ๆ ของการทำงานวิจัยนั้น
25. ความสัมพันธ์ของตัวแปรในทางบวก (Positive) ได้แก่เรื่องใดต่อไปนี้
(1) อายุมากขึ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น (2) อายุมากขึ้นการเต้นของหัวใจช้าลง
(3) อายุมากขึ้นน้ำหนักลดลง (4) อายุมากขึ้นกระดูกจะหดตัวลงมาก
ตอบ 1 หน้า 85, 91, 332 ความสัมพันธ์ของตัวแปร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ทางบวก (Positive) คือ ความสัมพันธ์ที่ตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มหรือลดตัวแปรอีกตัวก็จะเปลี่ยนไปใบทางเพิ่มหรือลดตามกัน เช่น อายุมากขึ้นหัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น
2. ทางลบ (Negative) คือ ความสัมพันธ์ที่ตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่ม แต่ค่าของ ตัวแปรอีกตัวที่สัมพันธ์กันนั้นจะเปลี่ยนไปในทางลด หรือในทางกลับกันตัวแปรเดิมลดลง แต่ตัวแปรตามเพิ่มขึ้น เช่น อายุมากขึ้นการเต้นของหัวใจช้าลง น้ำหนักลดลง และกระดูก จะหดตัวลงมาก
26. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องที่สุดในการทำงานวิจัยทางการสื่อสารมวลชน
(1) ตัวแปรต่อเนื่องจะเกิดก่อนตัวแปรอิสระเสมอ (2) ตัวแปรคงที่เพิ่มก่อนตัวแปรอิสระเสมอ
(3) ตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นหลังตัวแปรตามเสมอ (4) ตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตามเสมอ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
27. การไม่เปิดเผยชื่อของผู้ถูกวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น เรียกว่าอะไร
(1) Un-opening (2) Privacy (3) Anonymity (4) Confidentiality
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
28. การออกแบบวิจัยวิธีดั้งเดิม (Classical Design) นั้น กลุ่มเปรียบเทียบกันเรียกว่าอะไร
(1) กลุ่มทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง (2) กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง
(3) กลุ่มทดลองกับกลุ่มตัวแทน (4) กลุ่มตัวแทนกับกลุ่มควบคุม
ตอบ 2 หน้า 115, 120 ในการออกแบบวิจัยวิธีดั้งเดิม (The Classic Experimental Design) นั้น การปฏิบัติการวิจัยจะเริ่มแบ่งผู้ถูกวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน คือ
1. กลุ่มควบคุม (Control Group : CG) 2. กลุ่มทดลอง (Experiment Group : EG)
29. การออกแบบวิจัย (Research Design) มีความหมายถึงเรื่องใดต่อไปนี้
(1) การตั้งสมมุติฐานจากการรวบรวมข้อมูลมาได้นั้น (2) การจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการวิจัย (3) การวางแผนการทำงานของการวิจัย (4) การวางเป้าหมายของการดำเนินการวิจัย
ตอบ 3 หน้า 115, 120 การออกแบบวิจัย (Research Design) คือ การสร้างแผนงานเพื่อการ- เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การตีความข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยสามารถวินิจฉัยข้อมูล ที่เป็นจริง และให้คำจำกัดความต่อการสรุปความเห็นนั้นจนเป็นที่ทราบกับโดยทั่วไปได้ ดังนั้นการออกแบบวิจัยสื่อสารมวลชนจึงเป็นงานวางแผนการทำงานวิจัยสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ต้นจบสรุปและรายงานการวิจัย
30. โดยปกติการออกแบบวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น มีวิธีใดดีที่สุดต่อไปนี้
(1) Classical Design (2) Semi-experimental Design
(3) Quasi-experimental Design (4) Combined Design
ตอบ 4 หน้า 136, 138 การออกแบบวิจัยทางการสื่อสารมวลชนจะไม่มีวิธีใดที่เหมาะสมที่สุดวิธีเดียว เสมอไป เพราะการวิจัยทุกวิธีจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้การออกแบบวิธีร่วมกัน (Combined Design) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดตามหลักสากล เพราะได้ผสมผสานเนื้อหาของ การออกแบบวิจัยอย่างน้อย 2 วิธีในการศึกษาเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ และเกิดความถูกต้องมากที่สุด
31. สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเก็บข้อมูลมาใช้ได้อย่างถูกต้องในการวิจัยนั้น ได้แก่อะไรต่อไปนี้
(1) ตัวแปรที่นำมาประกอบการเลือกเฟ้นในการสุ่มตัวอย่าง
(2) ตัวอย่างที่สุ่มมาได้อย่างถูกวิธีในการสุ่มตัวอย่าง
(3) ความสมบูรณ์ทางวุฒิภาวะของหน่วยของการวิเคราะห์
(4) ความมีประวิตอย่างชัดเจนและสามารถพิสูจน์ได้
ตอบ 3 หน้า 117 สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเก็บข้อมูลที่นำมาใช้ได้ (Internal Validity) อย่างถูกต้อง ในการวิจัย มีดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ 2. ความสมบูรณ์ทางวุฒิภาวะของหน่วยของการวิเคราะห์ 3. ความสูญหายจากการทดลอง 4. การใช้เครื่องมือวัดค่าต่าง ๆ 5.การทดสอบก่อนการทดลอง 6. การถดถอยทางสถิติ 7. การปฏิบัติการภายในกับการเลือกเฟ้น
32. การออกแบบวิจัยการสื่อสารมวลชนโดยแบ่งผู้ถูกวิจัยเป็น 4 กลุ่มนั้น เรียกว่าแบบใด
(1) Posttest Only Control Group Design
(2) Solomon Four Group
(3) Classical Design
(4) Factorial Design
ตอบ 2 หน้า 119 Solomon Four Group จะแบ่งผู้ถูกวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แบ่งเป็นกลุ่มคล้ายกับแบบดั้งเดิม คือ มีกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง แต่จะเพิ่มเข้ามาอีก 2 กลุ่ม ซึ่งก็จะแบ่งเป็น กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเช่นกัน โดยผู้ถูกวิจัยที่เพิ่มขึ้น 2 กลุ่มหลังนั้นไม่ต้องมีการทดสอบก่อน (Pretest) และผู้วิจัยจะวัดผลของความรู้สึกต่อการทดสอบด้วย จากนั้นก็จะทำการทดสอบหลัง (Posttest) ทั้ง 4 กลุ่ม เพื่อนำผลของข้อมูลมาวิเคราะห์
33. เครื่องมือที่ใช้วัดค่าการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น ต้องมีค่าอะไรจึงจะดีที่สุดต่อไปนี้
(1) ค่าความเชื่อ (Belief) (2) ค่าความเชื่อได้ (Reliability)
(3) ค่าความจริง (Facts) (4) ค่าความเป็นไปได้ (Probability)
ตอบ 2 หน้า 159, 164 – 166, 386 ค่าความเชื่อได้ (Reliability) คือ ค่าความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรง ไว้ใจได้จากการวัดของเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงสูง หมายถึง เมื่อนำเครื่องมือนี้ไปวัดครั้งใด ที่ไหน ต่างสถานที่ และวัดในเวลาเดียวกันนั้นจะได้ค่าคงที่เท่าเดิม หรือได้ค่าเหมือนเดิมเสมอ
34. การออกแบบวิจัยซึ่งไม่มีการทดสอบกลุ่มควบคุมก่อนนั้น ได้แก่วิธีใดต่อไปนี้
(1) Factorial Design (2) Posttest Only Control Group Design
(3) Time-series Design (4) Control-series Design
ตอบ 2 หน้า 119 The Posttest Only Control Group Design จะไม่มีการทดสอบก่อนศึกษา (Pretest) ในหมู่ของผู้ถูกวิจัยหรือสิ่งที่นำมาวิจัยทั้งหมด แต่จะเพ่งเล็งและให้ความมั่นใจ กับข้อสันนิษฐานที่ตั้งขึ้นไว้โดยการลุ่มว่าการทดลองจะเป็นไปได้ แล้วจะทดสอบหลังศึกษา (Posttest) เฉพาะกลุ่มที่ควบคุมไว้ เพื่อดูความมีนัยสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของกลุ่มต่อไป
35. การวัดผลที่ได้ค่า A>B>C>D นั้น เป็นการวัดระดับใด
(1) Nominal (2) Ordinal (3) Interval (4) Ratio
ตอบ 2 หน้า 161 – 162 Ordinal Measure เป็นการวัดสิ่งต่าง ๆ เพื่อหาขนาด จำนวน และตำแหน่ง ของสิ่งที่จะทำการวัด แล้วจัดลำดับตำแหน่งที่ (Rank Order) ดังนั้นจึงเป็นการวัดที่ละเอียดกว่า แบบ Nominal เพราะจะบอกให้รู้ว่าตำแหน่งใดอยู่สูงกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากันในจำนวนตัวแปร ที่ถูกวัดนั้น เช่น A > B, A < B, A = B, A > B > c > D เป็นต้น
37. การวัดผลที่ได้ค่า A + B : C + D = 25 นั้น เป็นการวัดระดับใด
(1) Nominal (2) Ordinal (3) Interval (4) Ratio
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ
38. การวัดผลที่ได้ค่า A = 5, B = 8 และ C = 10 นั้น เราเรียกว่าเป็นการวัดระดับใด
(1) Nominal (2) Ordinal (3) Interval (4) Ratio
ตอบ1 หน้า 161 Nominal Measure เป็นการวัดสิ่งต่าง ๆ อย่างหยาบที่สุด เนื่องจากเป็นเพียง การกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุสิ่งของหรือเป็นข้อมูลแทนวัตถุเท่านั้น ซึ่งตัวเลขที่เป็นข้อมูลนี้ จะไม่มีความหมายอะไรในตัว และจะนำมาใช้คำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ อะไรไม่ได้ เช่น A = 5, B = 8, C = 10 เป็นต้น
39. The Paralleled-forms เป็นวิธีประเมินค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือโดยวิธีใดต่อไปนี้
(1) ใช้แบบทดสอบ 2 ชุด ยากง่ายใกล้เคียงกัน ทดสอบกับผู้ถูกวิจัยพร้อมกัน
(2) ใช้แบบทดสอบ 2 ชุด ยากง่ายต่างกัน ทดสอบกับผู้ถูกวิจัยพร้อมกัน
(3) ใช้แบบทดสอบมาตรฐาน ทดสอบที่ละกลุ่มสองครั้งพร้อมกัน
(4) ใช้แบบทดสอบมาตรฐาน ทดสอบกับผู้ถูกวิจัยทุกกลุ่มพร้อมกัน
ตอบ 1 หน้า 165, (คำบรรยาย) The Paralleled-forms เป็นวิธีประเมินค่าความเชื่อได้ หรือใช้วัด ค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยใช้ข้อทดสอบ 2 ชุดที่ต่างฟอร์มกันมาทดสอบกับผู้ถูกวิจัยพร้อมกัน แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบ ทั้งนี้ข้อทดสอบนั้นจะต้องมีมาตรฐานการออกแบบ ความยากง่ายใกล้เคียงกัน เพื่อจะสามารถวิเคราะห์ค่าความเชื่อได้ (Reliability) ออกมา
40. ตัวแปรที่สามารถวัดได้ในระดับ Ordinal จะสามารถวัดได้ในระดับใด
(1) Normative (2) Internal (3) Ratio (4) Nominal
ตอบ 4 หน้า 161, 163, 169, 343 การกระทำการวัดในระดับสูงกับตัวแปรใด ๆ ก็ตาม จะสามารถ กระทำได้กับการวัดในระดับที่ต่ำลงไปได้ทั้งหมด หรือผลของการวัดในระดับต่ำนั้นมาจากการวัด ในระดับที่สูงกว่าขึ้นไปนั่นเอง เช่น ตัวแปรที่สามารถวัดได้ในระดับ Ordinal ก็สามารถวัดได้ ใบระดับ Nominal ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำลงไปได้ด้วย เป็นต้น (ระดับการวัดจากต่ำไปสูง คือ Nominal, Ordinal, Interval และ Ratio)
41. การทดสอบแบบ Test-retest ทำให้เกิดสิ่งใดต่อไปนี้
(1) ค่าความเป็นไปได้
(2) การมีประสิทธิผล
(3) ค่าความจริง
(4) ค่าความเชื่อได้
ตอบ 4 หน้า 165 The Test-retest เป็นวิธีวัด 2 ครั้งในเวลาต่างกันโดยใช้ข้อทดสอบเดียวกัน ซึ่งถ้าผลของครั้งหลังเป็นเช่นเดียวกับครั้งแรกก็จะเกิด “ค่าความเชื่อได้” (Reliability) ในการวัดนั้น
42. การสุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีสุ่มจากพื้นที่ทั้งหมดลงมาเป็นพื้นที่ย่อย ๆ เพื่อหาตัวแทนจากพื้นที่ทั้งหมดนั้น เป็นวิธีใด
(1) แบบง่าย (Simple Random Sampling)
(2) แบบมีระบบ (Systematic Sampling)
(3) แบบสัดส่วน (Stratified Sampling)
(4) แบบอาศัยพื้นที่ (Cluster Sampling)
ตอบ4 หน้า 179 – 180, 367 การสุ่มแบบอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Cluster Sampling)เป็นการสุ่มตัวอย่างจากประชากรกลุ่มใหญ่ครั้งแรก (Primary Sampling Units : PSU’s)ในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งปกติก็จะเป็นตำบล เขต หรือเมืองใหญ่ ๆ แล้วแยกเขตการสุ่มลงมาเป็น พื้นที่ย่อย ๆ จนได้ตัวแทนหรือประชากรที่ต้องการในพื้นที่ทั้งหมดที่กำหนดไว้ในการวิจัยนั้น
43. การสุ่มตัวอย่างโดยหาค่าที่ K เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสุ่มนั้น ได้แก่การสุ่มแบบใด (ใช้ตัวเลือกข้อ 42.)
ตอบ 2 หน้า 179 – 180, 390 การสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างในลักษณะ Random โดยการเลือกสุ่มจากค่าคงที่หรือจำนวนคงที่ (จำนวนที่กำหนดไว้ คือ ค่าที่ K) ของประชากรผู้ถูกวิจัย เช่น สมมุติแบ่งประชากรเป็นขนาดกลุ่ม 4,000 คน ผู้วิจัยจะเลือกเฉพาะ คนที่ K สมมุติ K = 10 นับคือ ทุก ๆ 10 คน จะมีผู้ถูกเลือก 1 คน ดังนั้นในกลุ่มตัวอย่างนี้ จะมีผู้ถูกเลือกได้ 400 คน เป็นต้น
44. การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยการจับฉลาก (Lottery) เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบใด (ใช้ตัวเลือกข้อ 42.)
ตอบ 1 หน้า 179, (คำบรรยาย) การสุ่มแบบง่าย ๆ (Simple Random Sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่าง ที่รวมถึงประชากรทั้งหมดที่เป็นเป้าหมายการสุ่ม แล้วเลือกสุ่มโดยวิธีใช้ตารางตัวเลขเบ็ดเสร็จ หรือตารางเลขสุ่ม (Random Number Table) หรืออาจใช้วิธีจับฉลาก (Lottery) เลือกตัวอย่าง ออกจากกลุ่มประชากร เพื่อให้ได้จำนวนครบตามที่ผู้วิจัยตั้งเป้าหมายไว้ จึงเป็นวิธีที่ง่ายและ สะดวกในความรู้สึก แต่ก็ไม่สะดวกต่อการนำมาใช้กับประชากรกสุ่มใหญ่มาก
45. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้สัดส่วนของกลุ่มเป็นแนวทางการดึงตัวแทนของกลุ่มนั้น เป็นการสุ่มแบบใด (ใช้ตัวเลือกข้อ 42.)
ตอบ 3 หน้า 179 – 180, 389 การสุ่มแบบเชิงชั้นหรือแบบลัดส่วน (Stratified Sampling)เป็นการสุ่มตัวอย่างที่เลือกตามสัดส่วนหรือชั้นของกลุ่มประชากร หลังจากที่ประชากรได้ถูก แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ เป็นชั้นของประชากร หรือแบ่งเป็นพวก ๆ แล้ว ซึ่งบางครั้งอาจใช้วิธีสุ่ม เอาจากแต่ละกลุ่มตามอัตราส่วนที่ต้องการ (Proportionate) หรือสุ่มเอาจากกลุ่มที่ต้องการ จำนวนเพิ่มขึ้นในการวิจัยที่ต้องการวิเคราะห์ละเอียดขึ้นไปอีก (Disproportionate)
46. ค่าที่วัดได้จากตัวอย่าง (Sample) เรียกว่าอะไร
(1) Sampling (2) Parameter (3) Statistic (4) Random
ตอบ 3 หน้า 180 – 181 การทำงานวิจัยทางการสื่อสารมวลชนจะมีค่าที่วัดและคำนวณได้ ดังนี้
1. ค่าที่วัดและคำนวณได้จากข้อมูลของ Sample (กลุ่มตัวอย่าง) เรียกว่า Statistic
2. ค่าที่วัดและคำนวณได้จากข้อมูลของ Population (ประชากรทั้งหมด) เรียกว่า Parameter
47. การวัดเพื่อค้นหาว่าเครื่องมือนั้นมีความถูกต้องใช้ได้หรือไม่นั้น ได้แก่การวัดค่าอะไร
(1) Statistic (2) Parameter (3) Reliability (4) Validity
ตอบ 4 หน้า 159, 166, 391 ค่าความถูกต้องใช้ได้ (Validity) คือ ค่าความถูกต้องเที่ยงตรงของเครื่องมือวิจัย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของการวัดที่แท้จริงว่าอะไรที่ต้องการวัด เช่น ถ้าจะวัดน้ำหนักทอง ก็ต้องใช้เครื่องชั่งทองมาวัดจึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง ไม่ใช่เอาตาชั่งหมูมาชั่งทองจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าได้ค่าที่ไม่ถูกต้องนั้นเอง
48. อะไรเป็นเหตุผลสำคัญในบางสภาพที่จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างแบบ Non-probability ต่อไปนี้
(1) ความรวดเร็วและความมีโอกาส (2) ความรวดเร็วและเวลาจำกัด
(3) ความบังเอิญและการควบคุม (4) ความสะดวกและประหยัด
ตอบ 4 หน้า 178 – 179, 184, 345 การสุ่มที่เป็นไปไม่ได้ (Non-probability) เป็นการสุ่มตัวอย่าง ชนิดที่ผู้วิจัยไม่สามารถเดาโอกาสของกรณีแต่ละอย่างที่ถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างได้ถูกต้อง จึงมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าการสุ่มที่เป็นไปได้ (Probability) แต่บางครั้งก็มีเหตุผลที่สำคัญ ในบางสภาพ คือ ความสะดวกสบายและสภาพเศรษฐกิจบางอย่าง (เช่น ความประหยัด ฯลฯ) ที่จำเป็นต้องใช้การสุ่มแบบนี้ด้วยเหมือนกัน
49. การตั้งคำถามหาข้อมูลเรื่องอายุ เพศ ศาสนานั้น เป็นการตั้งคำถามชนิดค้นหาเรื่องใด
(1) ค้นหาข้อมูลทั่วไป (2) ค้นหาความจริง
(3) ถามหาความคิดเห็น (4) ถามหาข้อมูลด้านทัศนคติ
ตอบ 2 หน้า 225, 227, (คำบรรยาย) การออกแบบสอบถามให้ครอบคลุมปัญหาวิจัยต้องตั้งคำถาม ใน 3 ลักษณะ ดังนี้
1. Factual Questions เป็นคำถามที่มุ่งค้นหาความจริง (Facts) ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา ศาสนา ฯลฯ เช่น ท่านนับถือศาสนาใด ?
2. Opinion Questions เป็นคำถามที่มุ่งค้นหาความคิดเห็น (Opinion) เช่น คุณคิดอย่างไร (What do you think ?)
3. Attitude Questions เป็นคำถามหาข้อมูลด้านทัศนคติ (Attitude) ความเชื่อ ความคิด และความรู้สึก เช่น คุณรู้สึกอย่างไร (How do you feel ?)
50. การตั้งคำถามโดยใช้วัดค่าจากคำคุณศัพท์ที่ตรงข้ามกันโดยแบ่งเป็น 7 ช่องนั้น เรียกว่าอะไร
(1) Rating Scale (2) Card Sort (3) Matching (4) Semantic Differential
ตอบ 4 หน้า 229 The Semantic Differential เป็นการออกแบบคำถามที่ผู้ตอบจะต้องตอบคำถาม เพื่อประเมินค่าของวัตถุหรือสิ่งของบนคำคุณศัพท์ที่ให้ไว้ คือ ใช้คำคุณศัพท์ที่มีความหมาย ตรงข้ามกันตีค่าของคำถาม โดยในแบบคำตอบจะตีตารางเป็นสเกลไว้ 7 ระดับ (หรือแบ่งเป็น 7 ช่อง) เรียกว่า Seven-point Scale
51. การตั้งคำถาม What do you think ? เป็นการตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใด
(1) Facts
(2) Opinion
(3) Knowledge
(4) Attitude
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
52. คำถามปลายเปิด (Open-ended Questions) มีลักษณะดีอย่างไร
(1) สร้างคำถามได้ง่าย
(2) ยืดหยุ่นได้มาก
(3) ผู้ตอบต้องตอบในกรอบ
(4) วิเคราะห์คำตอบง่าย
ตอบ 2 หน้า 228, 256, 351 คำถามแบบปลายเปิด (Open-ended Questions) มีลักษณะดีดังนี้
1. สร้างคำถามไต้ด้วยตัวผู้วิจัยเอง
2. ยืดหยุ่นได้มาก ค้นหาปัญหาได้ง่าย
3.ผู้ตอบตอบตามกรอบความคิดเห็นของตนเองได้
4.คำตอบที่ได้จะละเอียดและมีเหตุผลใช้ได้ จึงวิเคราะห์คำตอบด้วยการสังเกตได้ดี
5.วิเคราะห์คำตอบได้ทุกเวลา เพราะข้อมูลไม่ล้าสมัย ฯลฯ
53. การตั้งคำถามโดยใช้ช่องว่างเลือกตอบ 5 ระดับ โดยแบ่งเป็น 5 ช่องให้ตอบนั้น เรียกว่าอะไร
(1) Semantic Differential
(2) Rating Scale
(3) Card Sort
(4) Matching