การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4007 นิติปรัชญา
คําแนะนํา
ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. เพราะเหตุใดสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School of Law) จึงคัดค้านไม่เห็นด้วยต่อปรัชญากฎหมายธรรมชาติทั้งในแง่วิธีคิดและการปรับใช้ซึ่งมีมิติด้านอุดมการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ต่อข้อคัดค้านดังกล่าวโดยเฉพาะเมื่ออาศัยฐานคิดของ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติร่วมสมัย/สมัยใหม่ร่วมประกอบการพิจารณา
ธงคําตอบ
เหตุที่สํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School of Law) คัดค้านไม่เห็นด้วยกับ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติทั้งในแง่วิธีคิดและการปรับใช้โดยมีมิติด้านอุดมการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น เป็นเพราะแนวคิดของกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่ มีจุดเด่นในฐานความคิดแบบเหตุผลนิยม (มีเหตุผล) สากลนิยม (หลักสากลหรือประเทศต่าง ๆ ยอมรับ) มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีศีลธรรมเชิง กระบวนการ (การมีศีลธรรมภายในกฎหมายหรือเป็นกฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ) ซึ่งนักคิดที่มีแนวความคิด ดังกล่าวที่สําคัญ คือ ลอน ฟุลเลอร์ (Lon Futter)
ลอน ฟุลเลอร์ (Lon Futter) นักคิดคนสําคัญของปรัชญากฎหมายธรรมชาติร่วมสมัย มีผลงาน เรื่อง “ศีลธรรมภายในกฎหมาย” กล่าวว่าสาระสําคัญที่ขาดไม่ได้ของกฎหมายจนกลายเป็น “วัตถุประสงค์” กํากับอยู่ก็คือความจําเป็นที่ต้องมีศีลธรรมดํารงอยู่ในกฎหมาย ดังเงื่อนไขสําคัญ 8 ประการที่ฟุลเลอร์ถือเสมือนว่า เป็นการมีศีลธรรมภายในกฎหมายหรือเป็น “กฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ” ได้แก่
1 จะต้องมีลักษณะทั่วไป
2 จะต้องถูกตีพิมพ์เผยแพร่ให้ปรากฏแก่สาธารณะ
3 จะต้องไม่มีผลย้อนหลัง
4 จะต้องมีความชัดแจ้งและสามารถเข้าใจได้
5 จะต้องไม่เป็นการกําหนดบังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
6 จะต้องไม่มีความขัดแย้งกัน
7 จะต้องมีความมั่นคง แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป
8 จะต้องมีความกลมกลืนกันระหว่างกฎเกณฑ์ที่ถูกประกาศใช้กับการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันเป็นเรื่องของความสอดคล้องระหว่างการกระทําของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและตัวบทกฎหมายที่ประกาศใช้
ส่วนสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ (Historical School of Law) มีแนวคิดว่า กฎหมาย ไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีอํานาจจะกระทําตามอําเภอใจโดยพลการ แต่กฎหมายเป็นผลผลิตของสังคมที่มีรากเหง้าหยังลึก ลงไปในประวัติศาสตร์ของประชาชาติ กําเนิดและเติบโตจากประสบการณ์และหลักประพฤติทั่วไปของประชาชน ซึ่งปรากฏในรูปจารีตประเพณีหรือจิตวิญญาณร่วมของประชาชน กล่าวคือ สํานักคิดนี้อธิบายว่า กฎหมายคือ จิตวิญญาณร่วมกันของชนในชาติ และที่มาของกฎหมายคือ จารีตประเพณี นั่นเอง
เหตุผลที่แนวคิดของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์อธิบายเช่นนั้น เพราะพื้นฐานที่มาของเยอรมัน ในขณะนั้นได้รับอิสรภาพจากการปกครองของฝรั่งเศส ทําให้เกิดการปลุกกระแสความรักชาติด้วยอารมณ์ หัวใจ และจิตวิญญาณความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ และความพยายามสร้างกฎหมายที่กําเนิดและเกิดขึ้นมา จากประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของคนเยอรมัน โดยมีพื้นฐานที่เกิดขึ้นมา พร้อม ๆ กับจารีตประเพณีที่คนในชาติปฏิบัติกันมาตั้งแต่ต้น กําเนิดและเติบโตหยังลึกลงไปในจิตวิญญาณของ ชนในชาติที่พร้อมจะยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน กฎหมายของสํานักคิดนี้จึงถือเป็นจิตวิญญาณร่วมกันของคน ในชาตินั้น และมีที่มาจากจารีตประเพณีที่มีความแตกต่างกับชาติอื่น ๆ และถือว่ากฎหมายของชาติหนึ่งจะนํา กฎหมายของอีกชาติหนึ่งมาใช้ไม่ได้
มองโดยภาพรวมแล้วแนวความคิดของสํานักกฎหมายประวัติศาสตร์ เน้นไปที่เรื่องราวของอดีต เกือบทั้งหมด แม้นกระทั่งสิ่งที่เรียกว่า “จิตสํานึกร่วมของประชาชน” (Common Consciousness of the People) การที่จะรู้ถึงจิตสํานึกร่วมของประชาชนได้ก็โดยการศึกษาถึงภูมิประวัติศาสตร์ของชนชาตินั้น ๆ เป็นสํานักที่ยกย่อง เชิดชูประวัติศาสตร์ รากฐานของสังคมในอดีต หรือการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในลักษณะอารมณ์แบบโรแมนติก (Romantic) ให้ความสําคัญกับอดีตมากเกินไปจนละเลยต่อการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงการละเลยถึงภูมิปัญญาของปัจเจกชน
หมายเหตุ สําหรับทัศนะของนักศึกษานั้น จะเห็นด้วยหรือไม่ต่อข้อคัดค้านดังกล่าว เป็น อิสระทางความคิดของนักศึกษา เพียงแต่การแสดงออกควรเน้นถึงจุดเด่นและจุดด้อยของความคิดอนุรักษนิยม หรือชาตินิยมทางกฎหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความคิดแบบสากลนิยม/มนุษยนิยมในปรัชญากฎหมายธรรมชาติ สมัยใหม่