การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (ข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ1. รัฐ และรัฐ ทำสนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างกันโดยกำหนดให้เส้นกึ่งกลางของแม่น้ำที่คั่นกลางระหว่างสองรัฐนี้เป็นเส้นเขตแดนระหว่างกันและสนธิสัญญานี้มีผลบังคับอย่างสมบูรณ์แล้ว ต่อมาปรากฏว่าแม่น้ำนี้เปลี่ยนเส้นทางเดินโดยผลจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทำให้ลำน้ำล้ำเข้ามา ในดินแดนของรัฐ ส่วนแนวแม่น้ำเดิมตื้นเขินจนกลายเป็นพื้นดิน จากผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ รัฐ เห็นว่ารัฐตนหากขอยกเลิกสนธิสัญญาโดยอ้างหลักการเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมผิดไปจาก ขณะทำสนธิสัญญาจะได้รับประโยชน์จากการกำหนดเขตแดนกับรัฐ ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่าตาม หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ข้ออ้างของรัฐ ที่จะขอให้สนธิสัญญา กำหนดเขตแตนระหว่างตนกับรัฐ สิ้นสุดการบังคับใช้ฟังขึ้นหรือไม่

ธงคำตอบ

หลักการอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดส้อมที่สำคัญซึ่งผิดไปจากขณะทำสนธิสัญญา หรือเรียก “Rebus sic stantibus” นั้น นักนิติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้สนธิสัญญาสิ้นสุดลงนั้น จะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ซึ่งเป็นอยู่ในขณะทำสนธิสัญญา จนทำให้ไมสามารถปฏิบัติตามพันธะที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาได้ และการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องชัดแจ้งที่ทุกฝ่ายยอมรับ ได้ด้วย

ตามปกติหลัก Rebus sic stantibus มักจะนำมาใช้แกสนธิสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลานาน หรือไม่มีกำหนดระยะเวลา และการอ้างหลักการดังกล่าว คูสัญญาจะบอกเลิกสนธิสัญญาโดยพลการฝ่ายเดียวไม่ได้ จะต้องทำความตกลงกับคูสนธิสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งให้ยอมรับเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 ในมาตรา 62 ได้บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมนี้ ไม่อาจอ้างเป็นมูลเหตุเพื่อบอกเลิกสนธิสัญญาหรือ ถอนตัวออกจากสนธิสัญญาได้ ในกรณีที่

1.         สนธิสัญญานั้นเป็นสนธิสัญญากำหนดเขตแดน

2.         การเปลี่ยนแปลงเป็นผลจากการที่ภาคีไม่ปฏิบัติตามหนี้แห่งสนธิสัญญา ซึ่งจะต้องกระทำต่อภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ สนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างรัฐ กับรัฐ ที่กำหนดให้เส้นกึ่งกลาง ของแม่น้ำที่คั่นกลางระหว่างสองรัฐนี้เป็นเส้นเขตแตนระหว่างกัน แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ สิ่งแวดล้อมผิดไปจากขณะที่ทำความตกลงกันอย่างมากมายก็ตาม รัฐ ก็ไมอาจอ้างมูลเหตุดังกล่าวเพี่อบอกเลิก สนธิสัญญากำหนดเขตแดนกับรัฐ ได้ เพราะเป็นสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับการกำหนดเขตแดน จึงเข้าข้อยกเว้น ไมอาจบอกเลิกสนธิสัญญาด้ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว ดังนั้นข้ออ้างของรัฐ ที่จะขอให้ สนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างตนกับรัฐ สิ้นสุดการบังคับใช้จึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้ออ้างของรัฐ ที่จะขอให้สนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างตนกับรัฐ สิ้นสุดการบังคับใช้ ฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. นักศึกษาอธิบายให้ชัดเจนว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกอาจวินิจฉัยคดีโดยอาศัย หลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดีพิจารณาคดีได้อย่างไรหรือไม และมีเงื่อนไขอย่างไร ในการดำเนินการดังกล่าวนี้

ธงคำตอบ

หลักความยุติธรรมถือเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศชั้นรองลงมาจากสนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป ตามมาตรา 38 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ระบุว่า ศาลอาจวินิจฉัยคดีโดยอาศัยหลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติเช่นนั้น

กล่าวคือ เมื่อมีข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ศาลจะวินิจฉัยคดีโดยยึดหลักความยุติธรรม ได้ต่อเมือไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศใดที่จะยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้ เช่น ไม่มีสนธิสัญญา ไมมี จารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปใด ๆ ที่จะยึดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีได้ คู่ความอาจตกลงกัน ให้ศาลใช้หลักความยุติธรรมและความรู้สึกผิดชอบอันดีของศาลเองนำมาพิจารณาตัดสินคดีได้ แต่ศาลจะนำมาใช้ โดยพลการไมได้ต้องได้รับความยินยอมจากคูกรณีก่อน อีกทั้งต้องไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย

 

ข้อ3. จงอธิบายถึงสถานะของรัฐเป็นกลางถาวร เช่น สวิสเซอร์แลนด์ว่ามีลักษณะและ เกิดขึ้นได้อย่างไร และรัฐที่เป็นกลางนี้ยังมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่

ธงคำตอบ

สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งถือว่าปัจจุบันเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีสถานะเป็นกลางถาวรนั้น ถือว่า สถานะความเป็นกลางถาวรเป็นสภาวะทางกฎหมายของประเทศหนึ่ง ซึ่งผูกพันเกิดขึ้นโดยสนธิสัญญาหลายฝ่าย มีสังคมระหว่างประเทศหลาย ๆ ประเทศทำสนธิสัญญาขึ้นมาค้ำประกันความเป็นกลางของประเทศนั้น ๆ โดย สวิสเซอร์แลนด์ได้รับสภาพความเป็นกลางถาวรโดยสนธิสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1815

รัฐที่เป็นกลางถาวรนี้ถือได้ว่ายังมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ทุกประการแต่ไม่มีสิทธิทำสงครามได้ นอกจากสงครามป้องกันตัวเอง รัฐที่เป็นกลางถาวรจึงปลอดจากเรื่องเกี่ยวกับทหาร ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการทหาร ไม่มีการร่วมมือทางทหารกับประเทศใด ในความเป็นรัฐที่เป็นกลางถาวรจึงมีข้อจำกัด บางอย่างในการทำสนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับประเทศใด ๆ ที่อาจกระทบกระเทือนสภาพความเป็นกลางของตน เช่น สนธิสัญญาพันธมิตรทางทหาร แต่ในเรื่องอื่น ๆ นอกจากนี้ รัฐที่เป็นกลางถาวรมีสถานะอย่างสมบูรณ์คงเดิม

 

ข้อ 4.

ก) ข้อพิพาทระหว่างประเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท จงอธิบาย

ข) การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีมีกี่วิธี จงอธิบายมาพอสังเขป

ธงคำตอบ

ก) ข้อพิพาทระหว่างประเทศมี 2 ประเภท คือ

1.         ข้อพิพาทในด้านกฎหมาย หมายถึง ข้อขัดแย้งซึ่งคู่กรณีไมสามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับ การบังคับใช้หรือตีความกฎหมายที่ใช้อยู่ และการระงับข้อพิพาทในด้านกฎหมายมักจะกระทำไปในรูปอนุญาโตตุลาการ หรือศาล

2.         ข้อพิพาททางด้านการเมือง หมายถึง ข้อพิพาทซึ่งคูกรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอให้แก้ไข สิทธิหรือกฎหมายที่ใช้อยู เช่น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเรียกร้องดินแดนคืน เป็นต้น

ข) การระงับกรณีพิพาทระหว่างรัฐโดยสันติวิธีได้บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติว่า สมาชิกขององค์การสหประชาชาติผูกพันที่จะระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อ สันติภาพ ความมั่นคงระหว่างประเทศ และความยุติธรรม‘’ นอกจากนั้นสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศในปี ค.ศ. 1970 ว่า หน้าที่ของรัฐทุกรัฐมิใช่เฉพาะสมาชิกของสหประชาชาติที่จะต้องพยายามระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี แต่ทุกประเทศ ในโลกจะต้องใช้ความพยายามทุกอย่างเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี

การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธีอาจจะกระทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

1.         การเจรจา (Negotiation) วิธีนี้รัฐส่วนใหญ่ใช้แก้ไขปัญหาก่อนวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้อาจเจรจา โดยผ่านทางคณะทูต หรือเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐหรือรัฐบาล ถ้าการเจรจาล้มเหลว รัฐคูพิพาทอาจ จะใช้วิธีอื่นในการยุติข้อพิพาทต่อไป

2.         การไกล่เกลี่ย (Mediation) เป็นกรณีที่รัฐฝ่ายที่สามหรือบุคคลที่สามอาจยื่นมือเข้ามา ช่วยไกลเกลี่ยปัญหาให้ อาจเป็นการไกล่เกลี่ยในลักษณะจัดให้มีการเจรจากันเท่านั้น (Good Offices) หรือ เข้าร่วมเจรจาและเสนอแนวทางยุติข้อพิพาท (Mediation) ก็ได้

3.         การไต่สวน (Enquiry) เป็นการเสนอข้อพิพาทต่อคณะกรรมการไต่สวนที่ตั้งขึ้น เพื่อ รวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับกรณีพิพาท โดยไม่มีการตัดสินชี้ขาดว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด รวมทั้ง ไม่มีการเสนอแนวทางยุติปัญหาแต่อย่างใด

4.         การประนีประนอม (Conciliation) เป็นการระงับกรณีพิพาทโดยการจัดตั้งคณะบุคคล หรือคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแสวงหาข้อเท็จจริง พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่จะยุติข้อพิพาทได้ด้วย แต่ข้อเสนอนั้น ไมผูกพันคูกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด

5.         อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นการพิจารณาตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยบุคคล คนหนึ่งหรือคณะบุคคลหรือศาลที่ไม่ใช่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐคูพิพาทเลือกแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็น อนุญาโตตุลาการด้วยความเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งปกติมักจะเป็นข้อพิพาทในทางกฎหมาย

6.         ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นอย่างถาวร โดยอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907 เมื่อคู่พิพาทตกลงจะนำคดีขึ้นสู่ศาล รัฐคู่รณีจะเลือกผู้พิพากษาตามจำนวนที่คู่กรณีตกลงกัน อาจจะหลายคนหรือคนเดียวก็ได้ คำตัดสินของศาลถือเป็นสิ้นสุดและผูกพันรัฐคู่กรณี

7.         ศาลยุติธรรมระหว่างประทศ (ศาลโลก) เป็นการระงับข้อพิพาททางศาลตามความหมาย ที่แท้จริง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญา ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ กรณีเกิดการเสียหายเพราะละเมิดพันธะระหว่างประเทศ คำตัดสินของศาลผูกพันคูกรณีให้ต้องปฏิบัติ และถือเป็นที่สุดไมมีอุทธรณ์ ฎีกา

Advertisement