การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 โปรดจงอธิบายบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศว่ามีอะไรบ้าง และมีลําดับศักดิ์อย่างไร และความสําคัญของ Jus Cogen มีอยู่ในฐานะอะไร

ธงคําตอบ

บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่

1 อนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งวางหลักอันเป็นที่ยอมรับของรัฐ

2 จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เป็นหลักฐานของการปฏิบัติที่ได้การยอมรับว่าเป็น

3 หลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาติอารยะ

4 คําพิพากษาของศาล และคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุด ในฐานะที่เป็นแนวทางเสริมในการกําหนดหลักกฎหมาย

ซึ่งบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถ้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณี ระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปนั้นจะอยู่ในกลุ่มที่มีความสําคัญเท่าเทียมกันโดยไม่มีการจัดลําดับศักดิ์ไว้ แต่อย่างใด เพราะถือว่าต่างก็เป็นแนวทางหลักที่กําหนดที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศและตามธรรมนูญ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ. 1945 ก็ได้กําหนดไว้ว่า ให้ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาพิพากษากรณีพิพาทที่มาสู่ศาล ตามกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องพิจารณาพิพากษาโดยใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศ จารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าวข้างต้น

ส่วนคําพิพากษาของศาลและคําสอนของผู้ทรงคุณวุฒิสูงสุดนั้น เป็นเพียงแนวทางเสริมที่เป็น เครื่องช่วยให้ศาลวินิจฉัยหลักกฎหมาย และถือว่าเป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายในลําดับรอง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษากรณีพิพาทโดยใช้หลักต่าง ๆ อันถือว่า เป็นที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอํานาจศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี โดยอาศัยหลักความยุติธรรม และความรู้สึกผิดชอบอันดี หากคู่ความตกลงให้ปฏิบัติเช่นนั้น

สําหรับ “Jus Cogen” นั้นถือว่าเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีลักษณะพิเศษกว่า หลักกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นหลักกฎหมายที่ไม่มีรัฐใดขอยกเว้นไม่ปฏิบัติตามได้ หรือกล่าว อีกนัยหนึ่งคือ เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ละเมิดมิได้ เช่น หลักห้ามการใช้กําลังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หลักการห้ามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หลักการห้ามค้าทาส และหลักห้ามกระทําการอันเป็นโจรสลัด เป็นต้น

 

ข้อ 2 มาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (Vienna Convention on the Law of Treaties 1969 : VCLT) ระบุว่า “treaty” means an international agreement concluded between States in written form and governed by international law, whether embodied in a single instrument or in two or more related instruments and whatever its particular designation. มาตรา 2 ของอนุสัญญา กรุงเวียนนาว่าด้วยการสืบสิทธิของรัฐในส่วนของสนธิสัญญา ค.ศ. 1978 (Vienna Convention

on Succession of States in Respect of Treaties 1978 : VCSST) ระบุว่า “treaty” . means an international agreement concluded between States in written form and governed by international law, whether embodied in a single instrument or in two or more related instruments, and whatever its particular designation. มาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การ ระหว่างประเทศหรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ค.ศ. 1986 (Vienna Convention on the Law of Treaties between States and international Organizations or between international Organizations 1986 : VCLTIO) ระบุว่า “treaty” means an international agreement governed by international law and concluded in written form:

(I) Between one or more States and one or more international organizations; or

(II) Between international organizations

Whether that agreement is embodied in a single instrument or in two or more related instruments and whatever its particular designation.

จากนิยามของคําว่าสนธิสัญญาทั้ง 3 ฉบับ ส่งผลให้องค์ประกอบของสนธิสัญญาภายใต้กฎหมาย ระหว่างประเทศมีเช่นไร

ธงคําตอบ

จากคํานิยามของคําว่าสนธิสัญญาทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้สนธิสัญญาภายใต้ กฎหมายระหว่างประเทศ จะมีองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

1 สนธิสัญญาจะต้องเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ

2 ข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นจะต้องทําเป็นลายลักษณ์อักษร

3 ข้อตกลงที่กระทําขึ้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับหรือภายใต้การกํากับดูแลของกฎหมายระหว่างประเทศ

4 สนธิสัญญาที่ทําขึ้นนั้น อาจทําขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับก็ได้ และอาจทําในรูปแบบใดก็ได้ เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา หรือพิธีสาร เป็นต้น

5 สนธิสัญญานั้นต้องกระทําโดยบุคคลระหว่างประเทศซึ่งหมายถึงรัฐ และองค์การระหว่างประเทศ

 

ข้อ 3 จงอธิบายว่าดินแดนของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศประกอบไปด้วยพื้นที่บริเวณใดบ้าง และจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร นอกจากนี้การได้ดินแดนของรัฐวิธีใดบ้าง ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการได้ดินแดนตามหลักการของกฎหมายภายในของประเทศ

ธงคําตอบ

ดินแดนของรัฐ คือ บริเวณที่รัฐสามารถมีอํานาจอธิปไตยเหนือดินแดนเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งดินแดนของรัฐจะสอดคล้องกับเขตอํานาจอธิปไตยของรัฐ กล่าวคือ รัฐย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและอํานาจเหนือ บุคคลก็เฉพาะในดินแดนของรัฐเท่านั้น

ดินแดนของรัฐจะประกอบไปด้วย

1 พื้นดิน พื้นดินที่เป็นดินแดนของรัฐย่อมรวมถึงพื้นดินทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของเอกชนหรือของรัฐ หรือของชาวต่างประเทศที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐ ดินแดนของรัฐถูกกําหนดโดย เส้นเขตแดน และรวมถึงพื้นที่ใต้พื้นดินด้วย ทั้งนี้ดินแดนที่รวมกันเป็นอาณาเขตของรัฐไม่จําเป็นต้องติดต่อกัน อาจจะอยู่ในดินแดนของประเทศอื่นก็ได้

2 พื้นน้ำบางส่วนที่เป็นน่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขต น่านน้ำภายใน หมายถึง น่านน้ำที่อยู่ถัดจากเส้นฐาน ซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางแผ่นดิน

ทะเลอาณาเขต หมายถึง ส่วนหนึ่งของพื้นน้ำซึ่งอยู่ระหว่างทะเลหลวงกับรัฐ

3 ห้วงอากาศ เหนือบริเวณต่าง ๆ ดังกล่าว

และการจะเป็นดินแดนของรัฐได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ

1 มีความแน่นอน กล่าวคือ จะต้องสามารถรู้ได้แน่นอนว่าส่วนใดบ้างเป็นดินแดนของรัฐและจะต้องมีความมั่นคงถาวรด้วย

2 สามารถกําหนดขอบเขตได้ชัดเจน คือ สามารถกําหนดเขตแดนของรัฐได้ชัดเจนนั่นเอง โดยอาจจะใช้เส้นเขตแดนในการกําหนดดังกล่าว ซึ่งดินแดนของรัฐจะเล็กหรือใหญ่ หรือมีอาณาเขตติดต่อกันหรือไม่ไม่สําคัญ แต่ดินแดนของรัฐจะต้องมีความชัดเจนแน่นอน

ส่วนการได้ดินแดนของรัฐนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการได้ดินแดนของรัฐที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการได้ดินแดนตามหลักการของกฎหมายภายในของประเทศไทย คือการได้ดินแดนโดยการครอบครองปรปักษ์ นั่นเอง ซึ่งการครอบครองโดยปรปักษ์นั้น เป็นวิธีการที่รัฐได้ดินแดนโดยการครอบครองและใช้อํานาจอธิปไตย เหนือดินแดนนั้นเป็นเวลานาน โดยดินแดนนั้นเคยเป็นของรัฐอื่นมาก่อน แต่รัฐนั้นได้ทอดทิ้งไป และรัฐที่ได้ดินแดน ได้ทําการครอบครองโดยรัฐที่เป็นเจ้าของเดิมไม่ได้คัดค้าน อีกทั้งรัฐอื่นก็ไม่ได้โต้แย้ง การครอบครองจะต้องติดต่อกัน เป็นระยะเวลานานซึ่งแม้กฎหมายระหว่างประเทศจะไม่ได้กําหนดระยะเวลาไว้ แต่โดยปกติรัฐก็จะต้องครอบครอง ดินแดนนั้นเป็นเวลานานจนจําไม่ได้อาจจะเป็นเวลา 30 ปีหรือ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการได้ดินแดนของรัฐโดยการ ครอบครองปรปักษ์นี้จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับกฎหมายภายในของประเทศไทย คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั่นเอง

 

ข้อ 4 จงอธิบายว่าผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิพิเศษอย่างไรบ้างตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 และสิทธิพิเศษเหล่านี้มีความแตกต่างจากสิทธิพิเศษที่กงสุล ได้รับอย่างไร อธิบายประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจด้วย

ธงคําตอบ

ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 ผู้แทนทางการทูตจะได้รับ เอกสิทธิ์และได้รับความคุ้มกันในเรื่องดังต่อไปนี้

1 สิทธิล่วงละเมิดมิได้ ประกอบด้วยสิทธิในตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูต และสิทธิใน ทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ของผู้แทนทางการทูต เช่น ตามมาตรา 29 อนุสัญญา กรุงเวียนนาฯ ห้ามจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ และกระทําการอันกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพและเกียรติยศของ ผู้แทนทางการทูต รัฐผู้รับต้องปฏิบัติต่อผู้แทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร หรือตามมาตรา 27 ได้ กําหนดว่า ถุงทางการทูต เอกสารทางราชการ สมุดทะเบียน เครื่องใช้ในการสื่อสาร จะต้องได้รับการคุ้มกันไม่ถูก ตรวจค้น ยึด หรือเกณฑ์เอาไปใช้ เป็นต้น

2 สิทธิไม่อยู่ภายใต้เขตอํานาจศาลของรัฐผู้รับ (สิทธิได้รับยกเว้นในทางศาล) สิทธิ ดังกล่าวเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระของคณะทูตและเป็นการให้เกียรติในฐานะตัวแทนของรัฐ ซึ่งจะเห็นได้จากมาตรา 31 อนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ที่ระบุให้สิทธิผู้แทนทางการทูตจะไม่ถูกฟ้องทั้งในคดีอาญาและ คดีแพ่ง แม้ว่าจะเป็นการกระทํานอกหน้าที่ก็ตาม

3 สิทธิพิเศษเรื่องภาษี ผู้แทนทางการทูตจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีทางตรงไม่ว่าจะ เป็นของรัฐ ของท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ เป็นต้น และสําหรับภาษีทางอ้อมโดยปกติก็จะได้รับยกเว้นภาษีบางชนิด เช่น ภาษีศุลกากร เป็นต้น

ส่วนสิทธิพิเศษที่กงสุลได้รับนั้น เนื่องจากกงสุลไม่ใช่ผู้แทนทางการทูต จึงไม่ได้รับเอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูตอย่างเต็มที่เหมือนผู้แทนทางการทูต อย่างไรก็ดีกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังรับรู้ให้กงสุลได้รับสิทธิในการล่วงละเมิดมิได้ในตัวบุคคล จะจับหรือยังกงสุลไม่ได้ยกเว้นความผิดซึ่งหน้า

สถานที่ทําการกงสุลได้รับความคุ้มครองจะล่วงละเมิดมิได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ตั้งไม่มีสิทธิเข้าไป ตรวจค้นในสถานกงสุล รัฐที่ตั้งกงสุลจะต้องอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของกงสุล และที่ทําการกงสุล มีสิทธิชักธงและติดตราของรัฐที่ส่งกงสุล

และนอกจากนั้น จารีตประเพณีและสนธิสัญญาระหว่างรัฐเกี่ยวกับกงสุลยอมให้สิทธิกงสุลไม่อยู่ ใต้อํานาจของรัฐที่ตนไปประจําเฉพาะในกรณีที่กระทําตามหน้าที่ของกงสุลเท่านั้น แต่ถ้าเป็นความผิดที่มิได้เกิด จากการกระทําตามหน้าที่กงสุลยังคงต้องรับผิดชอบ

Advertisement