การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3002 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วน บริษัทฯ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. แดงประกอบอาชีพซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ BENZ มือสองเป็นการส่วนตัว โดยมีดําเป็นลูกจ้าง และเป็นผู้จัดการทั่วไป แต่เมื่อมีผู้มาซื้อ-ขายรถหรือแลกเปลี่ยนรถ แดงก็จะบอกบุคคลเหล่านั้นว่า ดําและตนเป็นหุ้นส่วนกัน จนคนทั้งหลายเข้าใจว่าแดงและดําเป็นหุ้นส่วนกันจริง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมานางสาวพรได้นํารถยนต์ BENZ รุ่น E300 ปี ค.ศ. 2015 มาขายให้แดง ในราคา 1,500,000 บาท แดงและดําก็ร่วมกันตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าว และแดงยังได้บอกกับนางสาวพรว่าตนได้ร่วมหุ้นกับดําทํากิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ นางสาวพรก็ถามว่ากิจการดีไหม ดําได้ตอบแทนแดงว่าช่วงห้าปีที่ผ่านมานี้มีแต่คนนํารถมาขาย แต่ไม่ค่อยมีคนซื้อ และดํายังขอลดราคาซื้อรถของนางสาวพรเหลือ 1,200,000 บาทด้วย นางสาวพร ก็ตกลง แดงจึงได้นําเช็คของตนสั่งจ่ายเงินสดเป็นค่ารถให้นางสาวพร แต่เมื่อนางสาวพรนําเช็ค ไปเบิกเงินสด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยอ้างว่า เงินในบัญชีของแดงมีไม่พอจ่าย นางสาวพร จึงบอกให้ดําร่วมรับผิดในเงินค่ารถด้วยเพราะเป็นหุ้นส่วนกับแดง แต่ดําก็บอกว่าตนเป็นแค่ลูกจ้าง ของแดงเท่านั้นและไม่ขอรับผิด นางสาวพรจึงมาปรึกษากับท่านว่า ในกรณีดังกล่าวข้างต้นตนจะ ฟ้องดําให้รับผิดร่วมกับแกงได้หรือไม่ ให้นักศึกษาแนะนํานางสาวพรด้วย
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1054 วรรคหนึ่ง “บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดี ด้วยลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็น หุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน”
วินิจฉัย
ตามมาตรา 1054 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้บุคคลที่ไม่ได้เป็นหุ้นส่วน แต่ได้แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน หรือยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็นหุ้นส่วนจะต้อง
รับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนว่าตนเป็นหุ้นส่วน
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แดงประกอบอาชีพซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ BENZ มือสองเป็นการ ส่วนตัว โดยมีดําเป็นลูกจ้างและเป็นผู้จัดการทั่วไป และเมื่อมีผู้มาซื้อ-ขายรถหรือแลกเปลี่ยนรถ แดงก็จะบอก บุคคลเหล่านั้นว่าดําและตนเป็นหุ้นส่วนกัน จนคนทั้งหลายเข้าใจว่าแดงและดําเป็นหุ้นส่วนกันจริงนั้น กรณีนี้ย่อม ถือว่ารู้แล้วแต่ไม่คัดค้านปล่อยให้แดงแสดงว่าดําเป็นหุ้นส่วนตามนัยของมาตรา 1054 วรรคหนึ่งแล้ว อีกทั้ง เมื่อนางสาวพรได้นํารถยนต์ BENZ รุ่น E300 ปี ค.ศ. 2015 มาขายให้แดง แดงและดําก็ร่วมกันตรวจสอบเอกสาร เกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าว และแดงยังได้บอกกับนางสาวพรว่าตนได้ร่วมหุ้นกับดําทํากิจการซื้อขายแลกเปลี่ยน รถยนต์ และดํายังได้แสดงตนด้วยกิริยาอาการว่าตนเป็นหุ้นส่วนกับแดง เช่น การตอบคําถามของนางสาวพร วากิจการไม่ดีในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และยังขอลดราคารถยนต์คันดังกล่าวให้ต่ําลง ดังนั้น การกระทําของแดงและดํา ดังกล่าวข้างต้นจึงพอที่จะอนุมานได้ว่าทั้งสองคนได้ร่วมหุ้นกันซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ ดําจึงต้องรับผิดต่อ บุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วนตามมาตรา 1054 วรรคหนึ่ง
และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่แดงจ่ายเป็นค่าซื้อรถยนต์ให้กับนางสาวพรนั้น ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินโดยอ้างว่าเงินในบัญชีของแดงมีไม่พอจ่าย นางสาวพรจึงบอกให้ดําร่วมกันรับผิดในเงินค่ารถด้วย ดังนี้
ดําจะปฏิเสธไม่ยอมรับผิดโดยอ้างว่าตนเป็นแค่ลูกจ้างของแดงเท่านั้นไม่ได้ ดําจะต้องรับผิดต่อนางสาวพรในหนี้ ดังกล่าวเสมือนเป็นหุ้นส่วนกับแดงตามมาตรา 1054 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นางสาวพรจึงสามารถฟ้องดําให้รับผิดรวมกับแดงได้
สรุป ข้าพเจ้าจะแนะนําแก่นางสาวพรว่านางสาวพรสามารถฟ้องดําให้รับผิดร่วมกับแดงได้ เสมือนว่า
ทั้งสองเป็นหุ้นส่วนกัน
ข้อ 2. ต้นและเตยตกลงเข้าหุ้นส่วนกันทําร้านอาหารโดยจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจํากัด ใช้ชื่อว่าห้างหุ้นส่วนจํากัด ใบเตยโภชนา มีต้นเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด เตยเป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ก่อนจดทะเบียนจัดตั้งเคยได้ทําสัญญาเช่าที่ดินและอาคารของจอย เป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ และในสัญญาระบุว่าคิดค่าเช่ารวม 120,000 บาท หากอยู่ไม่ครบหนึ่งปีก็ต้องจ่ายค่าเช่าทั้งหมด 120,000 บาทด้วย หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ห้างฯ ขาดเงินสดหมุนเวียน เตยจึงมอบหมายเป็นหนังสือให้ต้นไปกู้ยืมเงินจากตู้มาใช้จ่ายในห้างฯ จํานวนสองแสนบาท ดอกเบี้ยร้อยละบาทต่อเดือน และเตยยังได้จ้างกุ๊กฝีมือดีมาอีก 1 คน เพื่อ ปรุงอาหารในห้างฯ แต่กิจการของห้างฯ ก็ไปไม่รอดขาดทุนมาตลอด ห้างฯ ไม่สามารถชําระหนี้ เงินกู้และดอกเบี้ยที่เป็นเจ้าหนี้ได้ ไม่สามารถชําระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชําระอยู่อีก 4 เดือน เป็นเงิน 40,000 บาท และหนี้ค่าทุกปรุงอาหารอีก 50,000 บาท เตยจึงได้เรียกร้องให้ต้นร่วมรับผิดในหนี้ ทั้งสามรายนี้ด้วย แต่ต้นเสียงว่าต้นรับผิดจํากัดจํานวนและได้ส่งเงินลงหุ้นครบถ้วนแล้ว จึงไม่ขอรับผิด ในหนี้ใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ถามว่าข้ออ้างของต้นฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และต้นต้องรับผิดในหนี้รายใดบ้าง
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1079 “อันห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด จํานวน จนกว่าจะได้จดทะเบียน”
มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดผู้ใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้อง จัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จํากัดจํานวน
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ต้นและเตยตกลงเข้าหุ้นกันทําร้านอาหารโดยจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจํากัด ใช้ชื่อว่าห้างหุ้นส่วนจํากัดใบเตยโภชนา มีต้นเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด และเตยเป็นหุ้นส่วนจําพวก ไม่จํากัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาห้างฯ มีหนี้สามราย ซึ่งหนี้ทั้งสามรายดังกล่าว ต้นจะต้อง ร่วมรับผิดในหนี้รายใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ
1. หนี้รายแรกซึ่งเป็นหนี้ที่เคยได้ทําสัญญาเช่าที่ดินและอาคารของจอยเป็นสถานที่ประกอบ กิจการซึ่งยังค้างชําระอยู่อีก 4 เดือน เป็นเงิน 40,000 บาทนั้น เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการจดทะเบียนเป็น ห้างหุ้นส่วนจํากัด ซึ่งตามมาตรา 1079 ให้ถือว่าเป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้อง ร่วมกันรับผิดในหนี้นั้นโดยไม่จํากัดจํานวน ดังนั้น หนี้รายนี้ต้นจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ต้นจะอ้างว่าต้นเป็นหุ้นส่วน จําพวกจํากัดความรับผิดและได้ส่งเงินลงหุ้นครบถ้วนแล้วไม่ได้
2. หนี้รายที่สองที่เป็นเจ้าหนี้ เป็นหนี้ที่เคยได้มอบหมายให้ต้นไปกู้ยืมมาใช้จ่ายในห้างฯ เป็นจํานวนเงินสองแสนบาท ดอกเบี้ยร้อยละบาทต่อเดือนนั้น ต้นจะต้องร่วมรับผิดในหนี้รายนี้ด้วย เพราะ การกระทําของต้นซึ่งเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดดังกล่าวนั้น ตามมาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ถือว่าเป็น การสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ แล้ว (แม้ว่าต้นจะได้รับมอบหมายจากเตยก็ตาม) ดังนั้น ต้นจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้เงินกู้รายนี้โดยไม่จํากัดจํานวนด้วย
3. หนี้รายที่สามซึ่งเป็นหนี้ที่เคยได้ทําสัญญาจ้างกักปรุงอาหารจํานวน 50,000 บาทนั้น เป็นหนี้ซึ่งเกิดจากการที่เคยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้กระทําในฐานะเป็นผู้แทนของห้างฯ สัญญาจ้างดังกล่าว จึงเป็นสัญญาระหว่างห้างฯ ซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง โดยที่ต้นมิได้เกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างใด จึงไม่ถือว่า ต้นเป็นนายจ้างของกุ๊ก ดังนั้น หนี้รายนี้ต้นจึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วยแต่อย่างใด
สรุป หนี้ค่าเช่าที่ดินและอาคารจํานวน 40,000 บาท และหนี้เงินกู้ยืมจํานวนสองแสนบาทพร้อม ดอกเบี้ยนั้น ต้นจะต้องร่วมรับผิดด้วย ส่วนหนี้ค่าถูกปรุงอาหารจํานวน 50,000 บาท ต้นไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ข้อ 3. บริษัท กันกุล จํากัด ต้องการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เพื่อพิจารณาเรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการใหม่แทนชุดเก่าที่ครบวาระ เลขานุการคณะกรรมการจึงได้ทําเอกสารเชิญประชุมตามระเบียบวาระและเรื่องที่จะต้องพิจารณาไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนตามที่ปรากฏในสมุดทะเบียน ผู้ถือหุ้นของบริษัทซึ่งมีแต่หุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นเท่านั้นโดยได้ส่งไปทางไปรษณีย์ตอบรับไปเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 แต่มิได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่แต่อย่างใด เพราะ เห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ประกอบกับบริษัทไม่มีหุ้นผู้ถือด้วย โดยเลขานุการคณะกรรมการ ได้ใช้วิธีบอกกล่าวเชิญประชุมทางโทรศัพท์ไปยังผู้ถือหุ้นจนครบทุกคน
เมื่อถึงวันประชุม (15 ตุลาคม2562) ผู้ถือหุ้นมาครบทุกคน ประธานคณะกรรมการที่ยังรักษาการอยู่จึงได้ดําเนินการประชุมและได้มีการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่แทนคณะกรรมการชุดเก่าทั้งหมด นายเหลืองซึ่งเป็น กรรมการชุดเก่าไม่พอใจ เนื่องจากพรรคพวกของตนไม่ได้รับเลือก จึงได้โต้แย้งว่าการประชุมครั้งนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 1175 เนื่องจากมิได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ แต่เลขานุการ คณะกรรมการได้โต้เถียงว่าเมื่อได้บอกกล่าวไปทางโทรศัพท์แล้วและผู้ถือหุ้นได้ทราบทุกคนแล้วถือว่าผู้ถือหุ้นทุกคนได้รู้เรื่องวันประชุมตีอยู่แล้ว การประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนี้ไม่เสียไปจะมาฟ้องร้อง ให้เพิกถอนมติในที่ประชุมไม่ได้
ดังนี้ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า การประชุมของบริษัท กันกุล จํากัด เรื่องตั้งคณะกรรมการใหม่นี้จะเสียไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1175 “คําบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อ ในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคําบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทําการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุม ไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
คําบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุม ปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคําบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนําเสนอให้ลงมติด้วย”
ในการบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการใหม่แทนชุดเก่าที่ ครบวาระนั้น ถือว่าเป็นการบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติธรรมดามิใช่เป็นการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ เพื่อลงมติพิเศษ ซึ่งการบอกกล่าวนั้นจะต้องดําเนินการบอกกล่าวตามที่มาตรา 1175 ได้กําหนดไว้ดังนี้ คือ
1. จะต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุม
ไม่น้อยกว่า 7 วัน และ
2. จะต้องส่งคําบอกกล่าวเป็นจดหมายส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อ ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
3. ในคําบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น จะต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการ ที่จะได้ประชุมปรึกษากันด้วย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท กันกุล จํากัด ต้องการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการใหม่แทนชุดเก่าที่ครบวาระ โดยเลขานุการคณะกรรมการฯ ได้ส่งหนังสือนัดประชุมเป็นจดหมาย ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท แต่มิได้ประกาศโฆษณา ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่แต่อย่างใดนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัท กันกุล จํากัด ไม่มีหุ้นผู้ถือ มีแต่หุ้น ชนิดระบุชื่อเท่านั้น อีกทั้งเลขานุการคณะกรรมการก็ได้มีการบอกกล่าวเชิญประชุมทางโทรศัพท์ไปยังผู้ถือหุ้น จนครบทุกคนแล้ว และในวันประชุมผู้ถือหุ้นก็มาประชุมครบทุกคน ย่อมถือว่าการนัดประชุมครั้งนี้ ผู้ถือหุ้นทุกคน ได้ทราบวันนัดประชุมและวาระเรื่องที่จะประชุมแล้วเป็นอย่างดี การโฆษณาลงในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่จึงมิใช่ เรื่องจําเป็นต้องกระทํา เพราะการบอกกล่าวนัดประชุมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 นั้น มีเจตนารมณ์ต้องการให้ ผู้ถือหุ้นทุกคนได้ทราบวันนัดประชุมใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้ถือหุ้นทุกคนได้รับทราบการนัดประชุมทางโทรศัพท์แล้ว การประชุมใหญ่ของบริษัท กันกุล จํากัด เรื่องการตั้งคณะกรรมการใหม่ในครั้งนี้จึงไม่เสียไป
สรุป การประชุมของบริษัท กันกุล จํากัด เรื่องตั้งคณะกรรมการใหม่ครั้งนี้ไม่เสียไป
* หมายเหตุ ในการกําหนดให้บริษัทจํากัดต้องนําคําบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ (ตาม 1.) นั้น ทําให้เกิดปัญหาและเป็นการสร้างภาระเกินความจําเป็น ดังนั้นในปัจจุบัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทําการยกร่างกฎหมายใหม่เพื่อแก้ไขประเด็นดังกล่าว โดยกําหนดหลักเกณฑ์ใหม่ว่า การลงโฆษณาคําบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้น จะลงโฆษณาก็แต่เฉพาะกรณีที่บริษัทจํากัดมีการออกใบหุ้น ชนิดออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเท่านั้น ถ้าเป็นกรณีที่เป็นการออกใบหุ้นชนิดระบุชื่อทั้งหมด ก็ไม่ต้องนําคําบอกกล่าว เรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อีกต่อไป