การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001 กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. หนึ่งขับขี่รถยนต์มาด้วยความเร็วและขณะที่กําลังขับขึ้นสะพานก็มิได้ชะลอความเร็วลง ขณะเดียวกับที่สองได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ย้อนศรข้ามสะพานลงมาอย่างเร็วเช่นกัน ทําให้ชนกับรถของหนึ่งอย่างแรง สองถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ หนึ่งถูกดําเนินคดีในข้อหากระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่า จุดที่เกิดเหตุเป็นเชิงสะพาน หนึ่งไม่สามารถมองเห็นรถของสอง และแม้ว่าหนึ่งจะขับรถอย่างระมัดระวังโดยลดความเร็วลง ถึงอย่างไรรถของหนึ่งก็ต้องชนกับสองอยู่ดี
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า หนึ่งจะมีความผิดต่อชีวิตอย่างไรหรือไม่
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 59 วรรคสี่ “กระทําโดยประมาท ได้แก่ กระทําความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทํา โดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
มาตรา 291 “ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้อง ระวางโทษ”
วินิจฉัย องค์ประกอบความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามมาตรา 291 ประกอบด้วย
1 กระทําด้วยประการใด ๆ
2 การกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
3 โดยประมาท
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามมาตรา 291 นั้น จะต้องเป็นการกระทํา ที่ผู้กระทําได้กระทําโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ และการกระทํานั้นทําให้เกิดผลคือเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตาย ตามหลักที่ว่า “ถ้าไม่มีการกระทํา (โดยประมาท) ผลจะไม่เกิด” แต่ถ้าผลที่เกิดขึ้นนั้น แม้ไม่มีการกระทําของบุคคลนั้น ผลก็ยังคงเกิดขึ้นเช่นกัน ดังนี้จะถือว่าผลเกิดจากการกระทําของเขาไม่ได้ ตามหลักที่ว่า “แม้ไม่มี การกระทํา ผลก็ยังเกิด”
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่หนึ่งขับขี่รถยนต์มาด้วยความเร็วและขณะที่กําลังขับขึ้นสะพานก็มิได้ ชะลอความเร็วลง ทําให้ชนกับรถจักรยานยนต์ของสองที่ได้ขับขี่ย้อนศรข้ามสะพานลงมาอย่างเร็วเช่นกัน เป็นเหตุให้สองถึงแก่ความตายนั้น หนึ่งจะมีความผิดต่อชีวิตฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม มาตรา 291 หรือไม่นั้น
เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่รถยนต์ของหนึ่งชนกับรถจักรยานยนต์ของสองและเป็นเหตุให้สองถึงแก่ความตายนั้น ความตายของสองไม่ได้เกิดจากการขับรถยนต์โดยประมาทของหนึ่งโดยตรง เพราะแม้หนึ่งจะขับรถยนต์โดยประมาทแต่การที่สองขับขี่รถจักรยานยนต์ย้อนศรลงมาอย่างเร็วเช่นนี้ หากหนึ่ง ไม่ประมาทขับรถด้วยความเร็วปกติก็ไม่สามารถหยุดรถได้ทันรถของหนึ่งก็ต้องชนกับรถของสองอยู่ดี ซึ่งเป็นไปตาม หลักที่ว่า “แม้ไม่มีการกระทํา (โดยประมาทของหนึ่ง) ผลก็ยังเกิด” กล่าวคือ จะถือว่าการที่สองถึงแก่ความตาย
เป็นผลที่เกิดจากการกระทําโดยประมาทของหนึ่งไม่ได้ ดังนั้น หนึ่งจึงไม่มีความผิดต่อชีวิตฐานประมาทเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
สรุป
หนึ่งไม่มีความผิดต่อชีวิตฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย