การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายน้อยอายุ 15 ปี มีมารดาชื่อนางก้อย วันหนึ่งนางแก้วซึ่งเป็นป้าของนายน้อยได้ให้เงินจำนวน 5,000 บาทแก่นายน้อย โดยที่นางก้อยไม่ได้รู้เห็นและให้ความยินยอมในการรับเงินของนายน้อย แต่อย่างใด หลังจากนั้น นายน้อยได้นำเงินดังกล่าวไปซื้อเกมคอมพิวเตอร์จากเพื่อนตามลำพังโดย ไม่ได้รับความยินยอมจากนางก้อยเช่นกัน ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่านางก้อยจะบอกล้างนิติกรรมการ รับเงินและการซื้อเกมคอมพิวเตอร์ของนายน้อยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ดังนี้

1.         ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน นิติกรรม ใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงโดยปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยขอบธรรม นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ (มาตรา 21)
2.         ผู้เยาว์อาจทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นนิติกรรมเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิ อันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง (มาตรา 22)
3.         ผู้เยาว์อาจทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ถ้าเป็นนิติกรรมทีเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (มาตรา 24)
กรณีตามปัญหา แยกพิจารณาได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การที่นางแก้วซึ่งเป็นป้าของนายน้อยผู้เยาว์ ได้ให้เงินจำนวน 5,000 บาทแก่ นายน้อย โดยที่นางก้อยซึ่งเป็นมารดาของนายน้อยและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของนายน้อยไม่ได้รู้เห็นและให้ความ ยินยอมในการรับเงินของนายน้อยแต่อย่างใดนั้น กรณีนี้ถือว่านิติกรรมการรับเงินของนายน้อยมีผลสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เพราะเป็นนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึงสิทธิอันใดอันหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22 คือเป็นนิติกรรมที่นายน้อยผู้เยาว์สามารถทำได้โดยลำพัง ตนเองและจะมีผลสมบูรณ์ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากนางก้อยผู้แทนโดยชอบธรรม และเมื่อนิติกรรมการรับเงิน ของนายน้อยมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ ดังนั้นนางก้อยจะบอกล้างนิติกรรมการรับเงินของนายน้อยไม่ได้
ประเด็นที่ 2 การที่นายน้อยผู้เยาว์ได้นำเงินจำนวน 5,000 บาทที่ได้รับจากนางแก้วไปซื้อ เกมคอมพิวเตอร์จากเพื่อนตามลำพังโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนางก้อยผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น นิติกรรมการ ซื้อเกมคอมพิวเตอร์ของนายน้อยย่อมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 21 เพราะเป็นนิติกรรมที่นายน้อยผู้เยาว์ได้ทำลง โดยปราศจากความยินยอมของนางก้อยผู้แทนโดยชอบธรรม และการซื้อเกมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไม่ใช่นิติกรรม ที่เป็นการสมแก่ฐานานุรูปและเป็นการอันจำเป็นใบการดำรงชีพตามสมควรของผู้เยาว์ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 24 ที่ผู้เยาว์จะสามารถทำได้โดยลำพังตนเองได้ และเมื่อนิติกรรมการซื้อเกมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวตกเป็นโมฆียะ ดังนั้นนางก้อยจึงสามารถบอกล้างนิติกรรมนี้ได้

สรุป นางก้อยจะบอกล้างนิติกรรมการรับเงินของนายน้อยไม่ได้ แต่สามารถบอกล้างนิติกรรม การซื้อเกมคอมพิวเตอร์ของนายน้อยได้

 

ข้อ2  เด็กชายหนึ่งอายุ 14 ปี ทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์คันหนึ่งจากบริษัท เอ จำกัด ในราคา 40,000 บาท ตกลงให้มีการส่งมอบและชำระราคาในวันที่ 15 มีนาคม 2557 ต่อมาเมื่อถึงกำหนดเวลาตามที่ตกลงกัน เด็กชายหนึ่งไม่ชำระหนี้ บริษัท เอ จำกัด จึงไปเรียกให้นางสองมารดาของเด็กขายหนึ่งชำระราคา ตามสัญญา นางสองปฏิเสธ อ้างว่าการซื้อขายระหว่างเด็กชายหนึ่งกับบริษัท เอ จำกัด เป็นโมฆียะ และนางสองมีสิทธิบอกล้างได้ เพราะตนเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายหนึ่งและไม่เคยให้ ความยินยอมในการซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว ดังนี้ ข้ออ้างของนางสองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับความสามารถในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ดังนี้

1.         ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน นิติกรรม ใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงโดยปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ (มาตรา 21)

2.         ผู้เยาว์อาจทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ถ้าเป็นนิติกรรมที่เป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (มาตรา 24)

3.         การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้น เป็นโมฆียะ (มาตรา 153)

ตามปัญหา การที่เด็กชายหนึ่งผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมโดยการทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์คันหนึ่ง จากบริษัท เอ จำกัด โดยข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเด็กชายหนึ่งได้รับความยินยอมจากนางสองมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้ อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายหนึ่งแต่อย่างใด และนิติกรรมการซื้อรถจักรยานยนต์ซึ่ง มีราคา 40,000 บาทนั้น ก็ไม่เป็นนิติกรรมที่เป็นการสมแก่ฐานานุรูปและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร ของผู้เยาว์แต่อย่างใด จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 24 ที่เด็กชายหนึ่งผู้เยาว์จะสามารถทำได้โดยลำพังตนเองได้ ดังนั้นนิติกรรมการซื้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวของเด็กชายหนึ่ง จึงมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย ความสามารถของบุคคล จึงมีผลเป็นโมฆียะ (ตามมาตรา 153 ประกอบมาตรา 21) และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวมิผล เป็นโมฆียะ นางสองมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายหนึ่งจึงมีสิทธิบอกล้างได้

ดังนั้น ข้ออ้างของนางสองที่ว่าการซื้อขายระหว่างเด็กชายหนึ่งกับบริษัท เอ จำกัด เป็นโมฆียะ เพราะตนซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายหนึ่งไม่เคยให้ความยินยอมในการซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว และตนมิสิทธิบอกล้างได้นั้น ข้ออ้างของนางสองจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของนางสองชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ3 นายมะละกอทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับนายมะม่วงจำนวน 10 ไร ราคาไร่ละ 500,000 บาท โดยตกลง กันว่าจะไปทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดในเดือนหน้า ดังนี้ สัญญาซื้อขายระหว่างนายมะละกอและ นายมะม่วงเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และแบบของสัญญาซื้อขายประเภทนี้ต้องทำอย่างไร

ธงคำตอบ

“สัญญาจะซื้อจะขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธ์ในทรัพย์สินให้แก่กับก็ต่อเมื่อได้ไปกระทำตามแบบพิธีที่กฎหมายไต้กำหนดไว้ในภายหน้า คือเมือได้ไปทำ สัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

ดังนั้นตามปัญหา การที่นายมะละกอทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับนายมะม่วงจำนวน 10 ไร่ โดย ตกลงกันวาจะไปทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดในเดือนหน้านั้น จึงเป็น “สัญญาจะซื้อขาย” เพราะเป็นการทำสัญญา ซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ และคู่กรณีได้ตกลงกันว่าจะไปทำตามแบบ คือจะไปทำเป็นหนังลือและ จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาบที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินในภายหน้า

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขายได้กำหนดแบบของสัญญาซื้อขายไว้ว่า “สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก)

แบบของสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้น หมายความถึง เฉพาะการทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษเท่านั้น ที่กฎหมายไต้กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ดังนั้นถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จึงไม่ต้องกระทำตามแบบแต่อย่างใด คู่สัญญาอาจจะตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกัน ด้วยวาจาหรือจะทำเป็นหนังสือสัญญากันก็ได้ สัญญาจะซื้อขายนั้นก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเสมอ

ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างนายมะละกอกับนายมะม่วงนั้น จึงเป็นสัญญาซื้อขายที่ กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด นายมะละกอและนายมะม่วงจึงสามารถตกลงทำสัญญากันอย่างไรก็ได้ โดยอาจตกลงกันด้วยวาจาหรืออาจจะทำเป็นหนังลือสัญญากันก็ได้ ซึ่งสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวก็จะมีผลสมบูรณ์ ตามกฎหมาย

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างนายมะละกอกับนายมะม่วงมีผลสมบูรณ์ และสามารถใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ คู่สัญญาควรจะทำสัญญากันโดยให้มีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที กฎหมายได้กำหนดไว้ด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง) ได้แก่

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน

 

ข้อ 4. ให้นักศึกษาทำคำตอบทั้งข้อ ก. และข้อ ข. โดยให้อธิบายหลักกฎหมาย

ก. ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือจำเป็นหรือไม่ที่ผู้โอนตั๋วต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว เพราะเหตุใด และ

ข. เช็คที่ผู้ทรงเช็คยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินธนาคารจะต้องจ่ายเงินให้หรือไม่ ถ้าปรากฏว่าเงิน ในบัญชีของผู้ลังจ่ายมีไม่พอตามมูลค่าเช็คที่ยื่น

ธงคำตอบ

ก. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับวิธีการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือไว้ด้งนี้ คือ

1.         ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่กัน (มาตรา 918)

2.         การสลักหลังตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ ให้ถือว่าเป็นเพียงการอาวัล (รับประกัน) ผู้สั่งจ่าย (มาตรา 921)

ด้งนั้น ในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือจึงไม่จำเป็นที่ผู้โอนตั๋วจะต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว เพราะ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดไว้แล้วว่า ในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือนั้น การโอนย่อมสมบูรณ์ โดยการที่ผู้โอนเพียงแต่ส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่ผู้รับโอนเท่านั้น ไม่ต้องมีการสลักหลังแต่อย่างใด ในกรณีที่มีการสลักหลัง กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงการรับประกันหรือรับอาวัลผู้ลังจ่ายเท่านั้น

ข. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการใช้เงินตามเช็คของธนาคารไว้ด้งนี้ คือ

1.         ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณี ที่ไมมีเงินในบัญชีของผู้เคยค้าคนนั้นเป็นเจ้าหนี้พอจะจ่ายตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 991 (1))

2.         ถ้าธนาคารได้รับรองเช็คโดยเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคำว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือคำใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกับ ธนาคารต้องผูกพันในฐานะเป็นลูกหนี้ขั้นต้นในอันจะต้องใช้เงิน แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 993 วรรคแรก)

โดยหลักแล้วธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค จะต้องจ่ายเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น เมื่อผู้ทรงเช็คได้นำเช็คมายื่นเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงิน แต่ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินตาม เช็คนั้นก็ได้ ถ้าหากเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คนั้นไม่มีหรือมีแต่ไม่พอที่จะจ่ายตามเช็คนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเช็คนั้น เป็นเช็คที่ธนาคารผู้จ่ายได้รับรองเช็คไว้แล้ว ธนาคารก็จะต้องผูกพันในฐานะเป็นลูกหนี้ขั้นต้นในอันที่จะต้องจ่ายเงิน ตามเช็คนั้น จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินโดยอ้างว่าเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คไม่มีหรือมีแต่ไม่พอจ่ายไม่ได้

สรุป ก. ตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ ในการโอนผู้โอนไม่จำเป็นต้องเซ็นสลักหลังโอนตั๋ว

ข. เช็คที่ผู้ทรงเช็คยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน ถ้าปรากฏว่าเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่าย มีไม่พอตามมูลค่าเช็ค ธนาคารจะจ่ายหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ถ้าเป็นเช็คที่ธนาคารผู้จ่าย ได้รับรองไว้แล้ว ธนาคารก็จะต้องจ่ายเงินตามเช็คนั้น

Advertisement