การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2003 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ฯลฯ
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้าน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. พุฒิภัทร ศัลยแพทย์หนุ่มฝีมือดีผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดสมองที่ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์จนมีชื่อเสียงโด่งตัง ได้นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าลูกค้าของร้านอีกคนหนึ่งคือมารตีซึ่งนั่งอยู่ที่โต๊ะใกล้กันเกิดอาการสำลักเพราะมีเศษอาหารติดคอ และล้มลงช็อกหายใจไม่ออกพุฒิภัทรลุกขึ้นชะโงกหน้าไปดู แต่ก็’ไม่ได้ทำอะไร เพราะนึกขึ้นมาได้ว่ามีนัดไว้กับกรองแก้วซึ่งเป็นคู่รัก
ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าหากมารตีถึงแก่ความตาย พุฒิภัทรจะมีความผิดฐานละเมิดต่อมารตีหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่’ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ตี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
วินิจฉัย
การกระทำอันเป็นการละเมิดนั้นต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 420 ดังนี้
- บุคคลกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
- ทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย
- มีความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
- มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลของการกระทำ
ดังนั้นในเบื้องต้น จึงจำต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ทำละเมิดมี “การกระทำ” หรือไม่ หากบุคคลไม่มี “การกระทำ” ก็ไม่ต้องรับผิดในทางละเมิดในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับการกระทำนั้น หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายภายใต้จิตใจบังคับหรือทำโดยรู้สำนึก นอกจากนี้การกระทำยังหมายความรวมถึงการงดเว้นการเคลื่อนไหวอันพึงต้องทำเพื่อป้องกันมิให้ผลเกิดขึ้นด้วย ในส่วนของการงดเว้นอันจะถือว่าเป็นการกระทำตามกฎหมายนั้น หมายถึงการงดเว้นการกระทำตามหน้าที่ที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้ผลนั้นเกิดขึ้นเท่านั้น หากบุคคลนั้นไม่มีหน้าที่ การงดเว้นนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำ
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พุฒิภัทร ศัลยแพทย์หนุ่มฝีมือดีผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดสมอง ได้นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ปรากฏว่ามารตีซึ่งเป็นลูกค้าของร้านอีกคนหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ที่โต๊ะใกล้กันเกิดอาการสำลักเพราะมีเศษอาหารติดคอ และล้มลงช็อกหายใจไม่ออก พุฒิภัทรลุกขึ้นชะโงกหน้าไปดูแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรนั้น หากมารตีถึงแก่ความตาย พุฒิภัทรจะมีความผิดฐานละเมิดต่อมารตีหรือไม่นั้น เห็นว่า แม้ก่อนที่มารตีจะถึงแก่ความตาย พุฒิภัทรอาจสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยนั้น ไม่ถือว่าความตายของมารตีเกิดจากการทำละเมิดของพุฒิภัทรโดยการงดเว้น เนื่องจากการงดเว้นของพุฒิภัทรไม่ถือว่าเป็นการกระทำ เพราะถึงแม้พุฒิภัทรจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก แต่การที่พุฒิภัทรจะต้องช่วยเหลือมารตีหรือไม่นั้น ไม่ใช่หน้าที่ของพุฒิภัทรไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย หน้าที่ตามระเบียบหรือคำสั่งในการปฏิบัติงาน หน้าที่ตามสัญญา หรือหน้าที่ตามความสัมพันธ์ที่ก่อขึ้นก่อนแล้ว เป็นเพียงหน้าที่ต้องช่วยเหลือผู้อื่นในฐานะเป็นพลเมืองดีเท่านั้น ไม่ใช่หน้าที่โดยเฉพาะที่จะต้องทำเพื่อป้องกันผล คือ ความตายของมารตี
เมื่อไม่ถือว่าเป็นการกระทำ จึงไม่เป็นละเมิดตามความในมาตรา 420 ดังนั้นพุฒิภัทรจึงไม่ต้องรับผิดในทางละเมิดเกี่ยวกับการตายของมารติ
สรุป หากมารตีถึงแก่ความตาย พุฒิภัทรไม่มีความผิดฐานละเมิดต่อมารตี