แนวข้อสอบชุดพิเศษ 3 ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา ENG2002 การอ่านตีความ
Part I : Seen Passages
A : Directions : Read the following statements. Then blacken 1 for a true statement, and blacken 2 for a false statement. (1 = True / 2 = False)
คำสั่ง : จงอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วใช้ดินสอดำระบา 1 หากเป็นข้อความที่ถูกต้อง และระบาย 2 หากเป็นข้อความที่ผิด (1 = ถูก / 2 = ผิด)
1 . A good reader must read everything in detail.
ถาม ผู้อ่านที่ดีต้องการรายละเอียดทุกอย่าง
ตอบ 2 : (ผิด) ผู้อ่านที่ดีต้องทราบจุดประสงค์ในการอ่านของตัวเอง ซึ่งจะมีวิธีในการอ่านที่แตกต่างกัน เช่น ในการอ่านเพื่อจับเนื้อเรื่องคร่าว ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องอ่านรายละเอียดทุกตัว แต่ถ้าเราต้องการอ่านเพื่อประเมินคุณภาพของงานเขียนหรือเนื้อเรื่องที่อ่านมีความซับซ้อนสูงเราก็จำเป็นต้องอ่านรายละเอียดทุกอย่าง เป็นต้น
2 . Skimming and scanning can help you locate some specific information quickly.
ถาม การอ่านแบบสกิมมิงและสแกนนิงสามารถช่วยให้คุณหาข้อมูลเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว
ตอบ 1 : (ถูก) การอ่านแบบสกิมมิง (Skimming) คือ รูปแบบการอ่านเช่นเดียวกับการอ่านแบบสแกนนิง (scanning) แต่จะแตกต่างกันที่การอ่านแบบสกิมมิงจะอ่านแบบข้าม ๆ โดยมุ่งไปที่จุดสำคัญ ๆ เพื่อหาชื่อเรื่อง ใจความสำคัญโดยทั่วไป หรือข้อมูลเฉพาะอย่าง ส่วนการอ่านแบบสแกนนิงจะใช้เมื่อต้องการหาข้อมูลเฉพาะอย่างเท่านั้น โดยไม่สนใจใจความอื่น ๆ เลย
3 . When authors make a major of the topic of his writing, that major is the main idea.
ถาม เมื่อผู้เขียนสร้างประเด็นหลักจากหัวข้อเรื่องในงานเขียนของเขา ประเด็นหลักนั้นเป็นใจความสำคัญ
ตอบ 1 : (ถูก) ใจความสำคัญ (Main Idea) คือ ประเด็นหลักหรือข้อสรุปที่ผู้เขียนต้องการบอกผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดในย่อหน้าซึ่งจะมีประโยคต่าง ฟ สนับสนุนใจความสำคัญนั้นโดยใจความสำคัญก็คือ ประเด็นหลักที่สร้างขึ้นมาจากหัวข้อเรื่องซึ่งถูกขยายเป็นประโยคที่สมบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ประโยคที่ประกอบด้วยหัวข้อเรื่องบวกกับส่วนขยาย (ภาคแสดง) นั่นเอง
4 . The topic sentence is always the first sentence of a paragraph.
ถาม ประโยคใจความสำคัญคือประโยคแรกของเนื้อเรื่องเสมอ
ตอบ 2 : (ผิด) ประโยคใจความสำคัญ (Topic Sentence) คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญของย่อหน้านี้ปรากฏออยู่ชัดเจน ซึ่งอาจจะอยู่ตอนต้นย่อหน้า กลางย่อหน้า ท้ายย่อหน้า หรือทั้งต้นและท้ายของย่อหน้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประโยคแรกของย่อหน้า
5 . A good carefully selects words in writhing in order to revel his attitude toward his subject.
ถาม นักเขียนที่ดีจะเลือกใช้คำอย่างระมัดระวังในการเขียนเพื่อที่จะเปิดเผยทัศนคติของเขาต่อเรื่องที่เขาเขียน
ตอบ 1 : (ถูก) เราสามารถทราบทัศนคติของผู้เขียนต่อเรื่องที่เขาเขียนได้ โดยดูจากคำที่เขาใช้หรือท่วงทำนองการเขียน เช่น เชิงตลกขบขัน จริงจัง แดกดัน เป็นต้น
6 . A word can different meanings depending on its context.
ถาม คำ ๆ หนึ่งอาจมีความหมายที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบท
ตอบ 1 : (ถูก) คำบางคำอาจมีความหมายได้หลายอย่าง ดังนั้นในการอ่าน เราต้องเลือกความหมายให้ตรงหรือใกล้เคียงกับบริบทนั้น ๆ เช่น คำว่า swallow (n.) แปลว่า การกลืน ในอีกความหมายหนึ่งแปลว่า นกนางแอ่น หรือคำ ๆ เดียวมีความหมายเดียว แต่อาจจะแปลความหมายในบริบทต่างออกไป เช่น คำว่า eat แปลว่า กิน แต่ถ้าใช้ในสำนวนที่ว่า eat one’s words แปลว่า ถอนคำพูด เป็นต้น
7 . You can surely pass EN 202 course of you know the meaning of every word.
ถาม คุณสามารถผ่านวิชา EN 202 ได้อย่างแน่นอน ถ้าคุณรู้ความหมายของคำว่าทุกคำ
ตอบ 2 : (ผิด) การที่จะผ่าน EN 202 ได้นั้นไม่จำเป็นต้องรู้ความหมายของคำว่าทุกคำ แต่ผู้อ่านต้องอาศัยวิธีการหาคำตอบที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการอ่านแบบสกิมมิงหรือการอ่านแบบสแกนนิงที่สำคัญ ผู้อ่านต้องรู้จักเดาความหมายและพยายามสรุปในใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าให้ได้เพื่อที่จะทำให้ทราบความหมายคร่าว ๆ ของเนื้อเรื่องทั้งหมด
8 . Reading needs no practice; it is an innate skill.
ถาม การอ่านไม่ต้องอาศัยการฝึกฝน แต่เป็นความชำนาญโดยกำเนิด
ตอบ 2 : (ผิด) การที่จะทำให้เกิดความชำนาญในการอ่าน เราต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพราะการฝึกฝนนี้จะพัฒนาให้เรามีประสิทธิภาพในการอ่าน ทำให้เราเกิดความคุ้นเคยกับประโยค คำศัพท์ ทั้งนี้ยังสามารถตีความหมายได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วได้อีกด้วย
9 . The objective of EN 202 is to make you memorize all the reading passages.
ถาม วัตถุประสงค์ของวิชา EN 202 คือ การที่ทำให้คุณจดจำเนื้อเรื่องที่อ่านได้ทุกเรื่อง
ตอบ 2 : (ผิด) วัตถุประสงค์ของวิชา EN 202 คือ ต้องการให้ผู้อ่านรู้จักเลือกใช้วิธีการอ่านที่เหมาะสมและต้องการให้ผู้อ่านรู้จักเดาความหมาย ตีความ และจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องที่อ่านได้
10 . Some techniques authors often use to organize their writhing are sequencing, comparison/ contrast, definition, illustration, etc.
ถาม เทคนิคบางอย่างงที่ผู้เขียนใช้บ่อยครั้งเพื่อเรียบเรียงงานเขียนของเขาคือ การเรียงลำดับการเปรียบเทียบ / เปรียบต่าง คำจำกัดความ การยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เป็นต้น
ตอบ 1 : (ถูก) ผู้เขียนจะเรียบเรียงข้อความด้วยรูปแบบการเขียนแบบต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์กว้าง ๆ ที่ได้ตั้งเอาไว้ ดังนั้นการมองเห็นและเข้าใจรูปแบบการเรียบเรียงเนื้อความ จะทำให้ผู้อ่านมีโครงร่างสำหรับการวิเคราะห์ทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่าน และสามารถดึงข้อมูลที่อ่านได้ครบถ้วน