การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 จริยธรรมสูงสุดในงานวารสารศาสตร์คือข้อใด
(1) ความเป็นกลาง
(2) ความซื่อสัตย์
(3) การไม่เลือกปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์
(4) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นกลาง (Objectivity) คือ จริยธรรมสูงสุดในงานวารสารศาสตร์
ประกอบด้วย
1 การแยกตนเองออกจากสิ่งที่กําลังรายงาน
2 การไม่เข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
3 ยึดเฉพาะข้อเท็จจริง
4 มีจิตสํานึกของความสมดุล หรือความเสมอภาคในการนําเสนอ
5 ใช้รูปแบบพีระมิดหัวกลับในการเขียนข่าว คือ การยึดมั่นในหลักการของความเป็นจริง ความถูกต้องเที่ยงตรง และความถ่องแท้ครบถ้วน

Advertisement

2 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของนักวารสารศาสตร์และความเป็นกลางในงานข่าว
(1) อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย
(2) ความรู้เฉพาะด้านนั้น ๆ
(3) ความสํานึกต่อความรับผิดชอบ
(4) ความคิดสร้างสรรค์และมีไหวพริบ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คุณลักษณะของนักวารสารศาสตร์และความเป็นกลางในงานข่าว มีดังนี้
1 ความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างสงสัยจนเป็นนิสัย
2 ความไวต่อข่าว และหนักแน่นอดทน
3 ความรอบรู้ รู้รอบ และมีจินตนาการ
4 ความสํานึกต่อความรับผิดชอบ
5 ความคิดสร้างสรรค์และมีไหวพริบ ฯลฯ

3 การเสนอข่าวอย่างไม่อคติ คือ การไม่ควรเอาอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เราเรียกว่า หลัก 3 R
ข้อใดไม่ได้อยู่ในหลัก 3 R
(1) เชื้อชาติ (Race)
(2) ศาสนา (Religion)
(3) สถาบันพระมหากษัตริย์ (Royal)
(4) ความสัมพันธ์ (Relationship)
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ควรคํานึงในเรื่องกระบวนการรายงานข่าวประการหนึ่ง คือ การเสนอข่าว แบบไม่มีอคติ ได้แก่ ไม่ควรมีอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เกิดจากเชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) และสถาบันกษัตริย์ (Royal) ซึ่งเรียกว่า “หลัก 3 R

4 หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 นิ้ว ยาว 14.5 นิ้ว
(4) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์แบ่งตามรูปแบบออกได้เป็น 2 ขนาด ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) จะมีความกว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
2 หนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ (Tabloid Newspaper) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก มักจะ มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ คือ กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว

5 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว
(4) กว้าง 14 ½ นิ้ว ยาว 23 ½ นิ้ว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6 ต่อไปนี้เรื่องใดปกติไม่ปรากฏที่หน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวัน
(1) ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมสัญลักษณ์
(2) ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี
(3) บทนํา
(4) ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
ตอบ 3 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก หรือตู้โชว์ในการ “ขายข่าว”) ถือเป็นหน้าสําคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด ประกอบด้วย
1 ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Logo) คําขวัญ (Slogan) และอาจมีข้อมูลต่าง ๆ ใต้ตัวอักษรชื่อหนังสือพิมพ์ เช่น ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี ฯลฯ
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
4 ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา ฯลฯ

7 ฉบับแยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ จัดทําเพื่อประโยชน์ใด
(1) แจกฟรีผู้อ่าน
(2) จัดสัดส่วนเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน
(3) แบ่งข่าวหนักกับข่าวเบาออกจากกัน
(4) สะดวกในการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ
ตอบ 2 หน้า 31 – 32 การที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวและมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับผู้บริโภค ต้องการข่าวสารมากขึ้น ทําให้หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาและมีความหนามากเกินไป ดังนั้นจึงมีฉบับ แยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งจัดสัดส่วนของเรื่องให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวก ของผู้อ่าน ทําให้อ่านได้ง่าย ไม่สับสน และรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มีจํานวนหน้ามากขึ้นจนคุ้มค่า ต่อการซื้อหามาอ่าน

8 หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวแวดวงสังคม และ Celebrity เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) Hard News Newspaper
(2) Combination Newspaper
(3) Soft News Newspaper
(4) Specialized Newspaper
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา (Soft News Newspaper) คือ การเสนอข่าวที่เน้นองค์ประกอบด้านความน่าสนใจมากกว่าองค์ประกอบอย่างอื่น ซึ่งมักจะ สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่านมากกว่าที่จะมีสาระสําคัญจนมีผลกระทบต่อสังคม เช่น ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวประกวดนางงาม ข่าวบันเทิง ข่าวแวดวงสังคม และ Celebrity ฯลฯ

9 ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน คือ
(1) การทําข่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(2) ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนักข่าวก็ได้
(3) ป้องกันการแทรกแซงจากรัฐ ทุน การเมือง
(4) สามารถโต้แย้งรัฐได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ คือ ทําให้สื่อมวลชนทําข่าว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จึงอาจทําให้สื่อมวลชนที่กลัวเดือดร้อน หรือถูกกระทบจากผู้มีอํานาจออกใบอนุญาต นําเสนอข่าวที่ปลอดภัยแบบเดียวกันทุกสื่อ

10 สมาชิกสภาวิชาชีพใดที่ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
(1) สื่อออนไลน์
(3) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(2) นิตยสาร
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลังจากที่ประชุมสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านร่าง กฎหมายควบคุมสื่อฉบับล่าสุดได้มีเนื้อหาให้สมาชิกสภาวิชาชีพสื่อออนไลน์ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และต้องมาขึ้นทะเบียนเหมือนกับสื่อประเภทอื่น

11 กลไกการกํากับดูแลร่วม หมายถึงอะไร
(1) ออกแบบให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
(2) ออกแบบให้รัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(3) ออกแบบให้เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(4) ออกแบบให้นักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กลไกการกํากับดูแลร่วม (Co – regulation) หมายถึง กลไกที่ออกแบบให้ เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการทําหน้าที่กํากับดูแลวิชาชีพสื่อ โดยให้องค์กรสื่อมวลชน กํากับดูแลในชั้นที่ 1, องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนกํากับดูแลในชั้นที่ 2 และให้ “สภาวิชาชีพ สื่อมวลชนแห่งชาติ” เป็นกลไกการกํากับดูแลร่วมในขั้นที่ 3

12 การแสวงหาวัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ เป็นหน้าที่
ของฝ่ายใด
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายบริหารการผลิต
(4) ฝ่ายประสานงาน
ตอบ 1หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิการ เป็นฝ่ายที่มีความสําคัญที่สุดในการบริหาร งานข่าว และเป็นจุดศูนย์รวมอันสําคัญยิ่งของกระบวนการข่าวทั้งหมด เพราะฝ่ายบรรณาธิการ มีภาระหน้าที่โดยตรงในการผลิตข้อมูล ข้อเท็จจริง ด้วยการแสวงหาวัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ เพื่อนําเสนอต่อสาธารณชน ดังนั้นบุคลากรในฝ่ายบรรณาธิการจึงต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารกระบวนการข่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทําได้

13 Deadtine หมายถึง
(1) แหล่งข่าวถึงแก่ชีวิตอย่างกะทันหัน
(2) งานทุกชิ้นต้องเสร็จภายในเวลาที่กําหนด
(3) เหตุการณ์เสียชีวิตที่ไม่มีใครคาดคิด
(4) เวลาวางจําหน่ายหนังสือพิมพ์แต่ละกรอบ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “Deadline” แปลว่า เส้นตาย ซึ่งหมายถึง งานทุกชิ้นทุกขั้นตอนต้อง ทําให้เสร็จภายใต้เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นงานที่ทํากันเป็นทีม (Team Work) ต้องการความรวดเร็วและเที่ยงตรง เพื่อแข่งกับเวลาให้ทันต่อการรายงานเหตุการณ์ ชนิดวันต่อวัน หรือชั่วโมงต่อชั่วโมง

14 หน้าที่ของ Copy Desk คือ
(1) ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
(2) พิจารณาความถูกต้องของภาษาและไวยากรณ์
(3) ถ่ายเอกสารจากศูนย์ข้อมูล
(4) จัดทําสําเนาต้นฉบับให้บรรณาธิการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิกร (Copy Desk) ทําหน้าที่จัดการต้นฉบับให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของต้นฉบับ การพิจารณาความถูกต้องของภาษา ไวยากรณ์ ตัวสะกด/ตัวการันต์ และลีลาการเขียน การปรับปรุงเนื้อหาให้กระชับชัดเจน ฯลฯ

15 Clipping หมายถึง
(1) การเรียบเรียงข้อมูลข่าว
(2) การนําภาพและข่าวมาตัดต่อเผยแพร่ออนไลน์
(3) การถอดเทปเสียงสัมภาษณ์แหล่งข่าว
(4) ข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์แล้ว
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) Clipping หมายถึง ชิ้นข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์ไปแล้ว ซึ่งบรรณารักษ์ของห้องสมุดหนังสือพิมพ์ได้ตัดมาจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ แล้วเก็บเข้าแฟ้มเป็นเรื่องๆ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อีกในภายหลังเมื่อมีการอ้างอิงหรือนํามาประกอบการเขียนข่าวเพื่อให้ภูมิหลังกับข่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

16 ฝ่ายใดถือเป็นเส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายโฆษณา
(4) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ตอบ 3 หน้า 15, 123, 159 – 160, (คําบรรยาย) ฝ่ายโฆษณา (Advertising Department) ถือเป็น เส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์ เพราะการที่หนังสือพิมพ์จะดําเนินธุรกิจอยู่ได้ย่อมต้อง อาศัยเงินจากค่าโฆษณา ซึ่งมีจํานวนประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด ดังนั้นโฆษณาจึงเป็นแหล่งรายได้หลักที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์

17 ลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คือ
(1) ทันเหตุการณ์
(2) ไม่ต้องเสียเงินอ่าน
(3) มีข่าวหลากหลาย
(4) เข้าถึงผู้อ่านจํานวนมาก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อสรุปลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันเหตุการณ์
2 โต้ตอบได้
3 ใช้ง่ายและสะดวก
4 ไม่จํากัดพื้นที่
5 สร้างสํานึกการมีส่วนร่วม
6 ขยายเป้าหมายองค์กร
7 สร้างความเชื่อถือ
8 รวดเร็วทันใจ

18 สิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์
(1) ต้องทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(2) ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา
(3) ต้องทําตัวเป็นกลาง
(4) ต้องทําข่าวทุกขั้นตอนด้วยตัวคนเดียว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร เพราะสื่อใหม่เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก และคัดกรองจากบรรณาธิการ ดังนั้นสิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์ก็คือ ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ นําเสนอ อันจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน

19 Ohmynews เป็นการทําข่าวของผู้สื่อข่าวประเภทใด
(1) ผู้สื่อข่าวการเมือง
(2) ผู้สื่อข่าวประจํา
(3) ผู้สื่อข่าวบันเทิง
(4) ผู้สื่อข่าวพลเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการ รายงานข่าว โดยใช้สื่อพลเมือง (Citizen Media) เป็นช่องทางให้ประชาชนเป็นผู้รายงานข่าว แสดงความคิดเห็น และโต้ตอบบนเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตได้ในลักษณะ Online Journalism เช่น Ohmynews เป็นลักษณะการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบ ความสําเร็จเป็นอย่างมาก เป็นต้น

20 การใช้วิจารณญาณในการคัดเลือกข่าว เป็นการทําหน้าที่ใดของหนังสือพิมพ์
(1) Informer
(2) Watchdog
(3) Gatekeeper
(4) Changing Agent
ตอบ 3หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของ ข่าวสารไปสู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองข่าว ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสาร ก่อนที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ตัดสินใจว่าจะเลือกทําข่าวใด หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์ หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

21 สารคดีแตกต่างจากบทความในเรื่องใด
(1) สารคดีเขียนจากความคิดเห็นของผู้เขียน
(2) สารคดีเขียนจากความจริง
(3) สารคดีเขียนจากความทรงจําของผู้เขียน
(4) สารคดีเขียนจากจินตนาการ
ตอบ 2 หน้า 45 สิ่งที่สารคดีแตกต่างจากบทความ คือ สารคดีเขียนจากความจริง มิใช่เกิดจาก จินตนาการ จึงต่างจากบทความตรงที่ว่า บทความเน้นการแสดงความคิดเห็น แต่สารคดี เน้นการให้ความรู้ให้ข้อมูลที่เป็นสาระของเรื่อง

22. ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจําที่ทําเนียบรัฐบาล เรียกว่า
(1) ผู้สื่อข่าวประจํา
(2) ผู้สื่อข่าวทั่วไป
(3) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 1 หน้า 130 ผู้สื่อข่าวประจํา (Beat Reporter) หมายถึง ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ทําข่าว ประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ข่าวการศึกษา ข่าวอาชญากรรม ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สื่อข่าวที่เพิ่ง เข้ามาทํางานใหม่และมีประสบการณ์น้อยจะได้รับมอบหมายให้สื่อข่าวแต่ละประเภทหมุนเวียน กันไป โดยจะอยู่ประจําตามแหล่งข่าวต่าง ๆ เช่น ผู้สื่อข่าวประจําที่ทําเนียบรัฐบาล กระทรวง สถานีตํารวจ เป็นต้น

23 ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ
(1) ความรวดเร็ว
(2) คลังข้อมูล
(3) ความรู้
(4) ความถูกต้อง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18, ประกอบ

24 ฝ่ายใดเป็นผู้จัดขึ้นโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายศิลป์
(3) ฝ่ายผลิต
(4) ฝ่ายจัดการ
ตอบ 4 หน้า 123, 163 การจัดวางชิ้นงานโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์ส่วนใหญ่ มักจะเป็นหน้าที่ของฝ่าย โฆษณา ซึ่งอยู่ในส่วนของฝ่ายจัดการมากกว่าจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายบรรณาธิการโดยตรง ทั้งนี้ ฝ่ายโฆษณาจะจัดหน้าในส่วนของโฆษณาให้มีเนื้อที่เหมาะสมสําหรับตีพิมพ์ข่าวอยู่แล้ว แต่หากจําเป็นต้องมีการปรับ บรรณาธิการฝ่ายจัดหน้าจะเป็นผู้ประสานงานกับฝ่ายโฆษณาต่อไป

25 ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth)
(1) การนําเสนอด้วยความรวดเร็ว
(2) การกระตุ้นสถานะการเงินหนังสือพิมพ์
(3) ข้อมูลข่าวสารไม่มีประโยชน์ต่อสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth) คือ การที่สื่อมวลชน นําเสนอข่าวด้วยความรวดเร็วในลักษณะวันต่อวัน และต้องทํางานแข่งกับเวลาเพื่อให้ทันเวลาปิดข่าว ทําให้อาจเกิดอุปสรรคต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน

26 ข้อใดคือแนวทางรายงานข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
(1) สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน
(2) จัดหน้าหนังสือพิมพ์ได้สะดวก
(3) สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวทางการรายงานข่าวแบบที่เรียกว่า พีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
จะประกอบไปด้วย
1 การให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน
2 สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน หนังสือพิมพ์
3 อํานวยความสะดวกสําหรับการจัดหน้าของ
4 สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว

27 “ความเป็นกลาง” ที่ประกอบด้วย การนําเสนอเนื้อหาเฉพาะข้อเท็จจริง และความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
เป็นทัศนะบางส่วนของใคร
(1) เบน แบ็กดิเกียน
(2) คอนราด ฟังก์
(3) เฮมานุส
(4) คาร์ล มาร์ก
ตอบ 3(คําบรรยาย) เฮมานุส (Pertti Hemanus) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจําคณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยแทมแพร์ (Tampere) ประเทศฟินแลนด์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ความเป็นกลาง” ประกอบด้วย คุณลักษณะสําคัญ 2 ประการ ดังนี้
1 เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง (Matter of Fact Character)
2 ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Impartiality)

28 Interactive Media คือสื่อประเภทไหน
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อประเภท Interactive Media คือ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เพราะเป็นสื่อที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ โดยผ่านช่องทางการสื่อสารตอบกลับทั้งแบบทันทีทันใด และไม่ใช่ลักษณะทันทีทันใด ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสื่อที่เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)

29 การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าวสําคัญข้อใด
(1) ผู้สื่อข่าวต้องเป็นนายทวารข่าวสารด้วยตัวเอง
(2) ผู้สื่อข่าวไม่ต้องทําข่าวเอง
(3) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวได้ทันที
(4) มีการจ้างผู้สื่อข่าวน้อยลง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าว ที่สําคัญ คือ ผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยตัวเอง โดยทําหน้าที่ คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวก่อนที่จะนําเสนอไปสู่สาธารณชน ดังนั้นสื่อใหม่จึงลดบทบาทการทําหน้าที่ของบรรณาธิการข่าวหรือหัวหน้าข่าว (News Editor) ซึ่งเคยเป็นนายทวารข่าวสารในองค์กรสื่อแบบดั้งเดิม

30 ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรก คือ
(1) Fred S. Siebert
(2) Dan Beach Bradley
(3) Mark Zuckerberg
(4) Bill Gates
ตอบ 2 หน้า 2, 100, (คําบรรยาย) ตามประวัติการหนังสือพิมพ์นั้น หนังสือข่าวเกิดขึ้นเพื่อประกาศ ข่าวการเดินเรือและขนส่งสินค้า โดยหมอสอนศาสนาบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เป็น ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 คือ หนังสือจดหมายเหตุกรุงเทพ หรือบางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)

31 องค์ประกอบของข่าว คือ
(1) ความสําคัญ/ความน่าสนใจ
(2) ความใกล้ชิด/ความเด่น
(3) ข้อเท็จจริง/ประเด็นซับซ้อน
(4) ความผิดปกติ/ความสนใจตามปุถุชนวิสัย
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของข่าวที่ควรพิจารณา คือ ข่าวนั้นต้องเป็นสิ่งที่ ประชาชนอยากรู้ (Want to know) เป็นเรื่องที่ประชาชนควรรู้ (Ought to know) และเป็น สิ่งที่ประชาชนต้องรู้ (Have to know) ดังนั้นข่าวที่มีคุณค่าสูงจึงมักมีองค์ประกอบของข่าว คือ ความสําคัญ (Significance) และความน่าสนใจ (Interest) ในตัวเอง

32 การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มในยุคใด
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มขึ้นในยุครัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่รากฐานเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ได้เริ่มขึ้นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กล่าวคือ เป็นยุคที่นักหนังสือพิมพ์กล้าแสดงออกทางความคิด และกล้าคัดค้านในเรื่องที่ ตนเองไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบข้าราชการ เป็นหูเป็นตาแทนรัฐบาลด้วยการเสนอข่าวสารข้อมูล

33 ส่วนประกอบการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ คือ
(1) ส่วนนํา, ส่วนเชื่อม, เนื้อหา
(2) ส่วนเชื่อม, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(3) ส่วนนํา, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(4) ส่วนภาพ, เนื้อหา, ส่วนสรุป
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ส่วนประกอบของการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) มีดังต่อไปนี้
1 ความนําหรือส่วนนํา (Lead)
2 ส่วนเชื่อม (Bridge)
3 เนื้อหา (Body)

34 สื่อใหม่ลดบทบาทการทําหน้าที่ใดในกองบรรณาธิการ
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) หัวหน้าข่าว
(3) ช่างภาพ
(4) คอลัมน์นิสต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

35 “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
(1) สด รวดเร็ว
(2) เนื้อหาสาระ
(3) ยกระดับคุณภาพของสาธารณชน
(4) เสรีภาพในการนําเสนอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข่าวเปรียบเสมือน “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงาน เหตุการณ์/ข้อเท็จจริงที่มีความสําคัญและน่าสนใจ โดยมีเสรีภาพในการแสวงหาและนําเสนอข่าวสารไปสู่สาธารณชน

36 หนังสือพิมพ์ประเภทไหนเน้น News Value เป็นอันดับแรก
(1) ข่าวประเด็นซับซ้อน
(2) ข่าวสืบสวน
(3) ข่าวสาระหนัก
(4) ข่าวประเด็นเดียว
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวสาระหนัก (Hard News) เน้นองค์ประกอบ ของคุณค่าข่าว (News Value) ด้านความสําคัญ (Significance) เป็นอันดับแรก ประกอบด้ว
1 ผลกระทบ (Consequence)
2 ความขัดแย้ง (Conflict)
3 ความลึกลับซับซ้อน (Suspense)

37 วารสารศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ คือ
(1) วารสารศาสตร์แนวใหม่ (New Journalism)
(2) วารสารศาสตร์เพื่อสังคม (Advocacy Journalism)
(3) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism)
(4) วารสารศาสตร์เชิงบริการ (Service Journalism or Marketing Approach to News)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism) ถือเป็นวารสารศาสตร์ที่ได้รับ ความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ เพราะเป็นวารสารศาสตร์ที่สามารถ เข้าสู่ความเป็นกลางได้มากที่สุดกว่าวารสารศาสตร์แบบอื่น

38 กรณีใดถือว่าเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
(1) นักข่าวบันเทิงแสดงภาพยนตร์
(2) นักข่าวอสังหาฯ รับสิทธิจองคอนโดก่อน
(3) นักข่าวการเมืองได้สิทธิจอดรถในทําเนียบ
(4) นักข่าวอาหารรับประทานอาหารฟรี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันของผลประโยชน์ คือ สถานการณ์ที่บุคคล ผู้ดํารงตําแหน่งอันเป็นที่ไว้วางใจ (เช่น ทนายความ นักการเมือง ผู้บริหาร นักข่าว ฯลฯ) ได้เกิด ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ทางวิชาชีพ จนส่งผลให้เกิดปัญหาที่ เขาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง เช่น นักข่าวหุ้นรับหุ้นราคาพาร์, นักข่าวอสังหาฯ รับสิทธิจองคอนโดก่อน เป็นต้น

39 หลักความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์ คือ
(1) รักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ
(2) ความสมดุลในการนําเสนอ
(3) เวทีความคิดของผู้อ่านและสมาชิกในสังคม
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

40. บทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ
(1) สรุปสาระใจความของเนื้อหา
(2) แสดงความคิดเห็น
(3) ชี้แนะเชิงเปรียบเทียบ
(4) ไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ทัศนะต่อบทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานที่เขียนถึงด้วยการสรุปสาระใจความของเนื้อหา/ผลงานชิ้นนั้น

41 จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ
(1) คนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง
(2) ยอดโฆษณาลดลง
(3) หนังสือพิมพ์พิมพ์ได้รวดเร็วขึ้น
(4) เกิดหนังสือพิมพ์เฉพาะมากขึ้น
ตอบ 1(คําบรรยาย) จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ คนอ่านหนังสือพิมพ์กระดาษน้อยลง เพราะการเกิดขึ้นของสื่อใหม่โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทําให้ คนหันไปอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ หรือรับข่าวสารจากเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น ๆ มากขึ้น เช่น Facebook, Line, Twitter ฯลฯ

42 การแยกตัวเองออกจากสิ่งที่ตัวเองรายงาน เป็นไปตามหลักจริยธรรมข้อใด
(1) ความเป็นกลาง
(2) ความซื่อสัตย์
(3) การคัดลอกแหล่งข้อมูล
(4) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

ข้อ 43 – 47 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สารคดี โฆษณา
(2) บทความ จดหมายจากผู้อ่าน
(3) การ์ตูนล้อการเมือง เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น
(4) ภาพข่าว โฆษณา

43 ข้อใดควรจัดไว้หน้า 1
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

44 ข้อใดควรจัดไว้หน้าบรรณาธิการ
ตอบ 3 หน้า 167 – 170 หน้าบรรณาธิการ มักจะสะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1 บทบรรณาธิการ
2 ภาพล้อ (Editorial Cartoon) เช่น ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฯลฯ
3 จดหมายถึงบรรณาธิการ
4 เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น (Press Digest) 5. องค์ประกอบเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ข่าว โคลงกลอน ตลกขําขัน การ์ตูนที่เป็นเรื่องสั้น ๆ (Comic Strips) โฆษณา และบทความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น

45 ข้อใดควรจัดไว้หน้าตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ
ตอบ 2 หน้า 161, 171 หน้าพิมพ์ที่อยู่ตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ เรียกว่า “Op-ed” (Opposite Editorial Page) จะเป็นหน้าซ้ําที่มีลักษณะเหมือนกับหน้าบรรณาธิการทุกประการ ดังนั้น ข้อเขียนที่ควรจัดไว้ในหน้านี้ ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับเวทีทัศนะ ได้แก่ บทความ และจดหมาย จากผู้อ่านที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

46 ข้อใดควรจัดไว้หน้าใน
ตอบ 1 หน้า 159 – 162 องค์ประกอบของหน้าใน มีดังนี้
1 โฆษณา
2 ภาพ
3 หัวเรื่อง
4 คอลัมน์ต่าง ๆ เช่น คอลัมน์วิเคราะห์ข่าว บทความ สารคดี แนะนํา ขําขัน ข่าวสังคม ฯลฯ

47 ข้อใดมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

48 ต.ว.ส.วัณณาโภหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมืองชื่ออะไร
(1) สยามประเภท
(2) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(3) ศิริพจนรายเดือน
(4) บางกอกรีคอร์เดอร์
ตอบ 2 หน้า 104 – 105, (คําบรรยาย) ต.ว.ส.วัณณาโภหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “ตุลยวิภาคพจนกิจ” เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมือง ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์มีความหมายว่า การเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาดุจตาชั่ง

49 “ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์” อยู่ในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านใด
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลถนอม กิตติขจร
(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(4) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
ตอบ 3 หน้า 114 ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์ไทยอย่างแท้จริง คือ ยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501 – 2506) เนื่องจากมีการใช้อํานาจด้านกฎหมายของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 (ปว. 17) และใช้อิทธิพลบีบบังคับหนังสือพิมพ์ไม่ให้แสดงความคิดเห็น ได้อย่างเสรี รวมทั้งยังมีการใช้กําลังคุกคาม จับกุม กักขังนักหนังสือพิมพ์และประชาชนทั่วไป ในข้อหามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

50 จุดด่างทางการเมือง คือเหตุการณ์ใด
(1) “ไฮด์ปาร์ค”
(2) “วันมหาวิปโยค”
(3) “สําลักประชาธิปไตย”
(4) “พฤษภาทมิฬ”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ระหว่าง 17 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในยุค รัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมือง และเป็นจุดด่างดําของ ประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะหากสื่อมวลชนในยุคนั้นมีเสรีภาพในการรายงานข่าวสารได้อย่างอิสระและโปร่งใสก็จะไม่เกิดความรุนแรงจนทําให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจํานวนมาก

51 ข้อใดเป็นจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นนักข่าว
(2) ไม่ลอกข่าวหนังสือพิมพ์อื่น
(3) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้มีมติให้ยกเลิก ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจากประกาศใช้มานาน ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2559 แทน เช่น ข้อ 11 หนังสือพิมพ์ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริง…. ข้อ 22 หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว, ข้อ 26 หนังสือพิมพ์ต้องบอก ที่มาของข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการขออนุญาตจาก แหล่งข้อมูลนั้นแล้ว เป็นต้น

52 หนังสือพิมพ์ที่นําเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหาในกระดาษ เรียกว่าอะไร
(1) Cyber Society
(2) E-news
(3) Shovelware
(4) Sidebars
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Shovelware คือ รูปแบบจากหนังสือพิมพ์กระดาษลงสู่เว็บไซต์โดยไม่ได้ปรับ เนื้อหา หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหา ในกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (Thairath Online) เป็นต้น

53 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของสังคม หลีกเลี่ยงเรื่องที่เป็นพิษภัยร้ายแรงต่อสังคม
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ องค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสาธารณะ
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของสังคม และหลีกเลี่ยงเรื่องที่เป็นพิษภัยร้ายแรงต่อสังคม
3 ประเทศโลกที่ 1 (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ สหรัฐฯ และประเทศแองโกลอเมริกันอื่น

54 ข้อใดไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(1) วิทยุ
(2) นิตยสาร
(3) โทรทัศน์
(4) เว็บข่าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาขึ้น ทําให้การสื่อสารมวลชนพัฒนาขึ้นตามมา จนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
1 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บข่าว ฯลฯ

55 กระบวนการรายงานข่าวในทางวารสารศาสตร์ ให้ความสําคัญกับอะไรมากที่สุด
(1) ต้องนําเสนออย่างถูกต้อง
(2) รวดเร็ว
(3) กระชับ ได้ใจความ
(4) ให้ความสําคัญทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “วารสารศาสตร์” (Journalism) เป็นคําที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงประทานไว้ แต่เดิมมีความหมายถึง วิชาการเกี่ยวกับ การหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีความหมายเฉพาะถึงกระบวนการรายงานข่าว การตีความ และแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยให้ความสําคัญอย่างมาก ในเรื่องที่ต้องนําเสนอข่าวอย่างถูกต้อง รวดเร็ว กระชับ และได้ใจความ

56 คอลัมน์นิสต์ท่านใดเป็นผู้เขียนคอลัมน์ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมินในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(1) สํานักข่าวหัวเขียว
(2) ชัย ราชวัตร
(3) ลมเปลี่ยนทิศ
(4) ธนูเทพ
ตอบ 2 หน้า 47, 147, 161, (คําบรรยาย) คอลัมน์ประจํา คือ ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ทุกวัน หรือตีพิมพ์ เป็นประจําในบางวันของสัปดาห์ก็ได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งข้อเขียนประเภทนี้มักจะมี ผู้เขียนประจํา เรียกว่า “คอลัมน์นิสต์” (Columnist) หมายถึง ผู้เขียนบทความในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์เป็นประจํา โดยลงชื่อผู้เขียนไว้ (อาจใช้นามจริงหรือนามแฝงก็ได้) เช่น คอลัมน์ การ์ตูนการเมือง “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ของชัย ราชวัตร ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นต้น

57 บทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะของหนังสือพิมพ์ เรียกว่า
(1) บทปริทัศน์
(2) บทวิจารณ์
(3) บทบรรณาธิการ
(4) บทวิเคราะห์ข่าว
ตอบ 3 หน้า 42 – 43, 168, (คําบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “บทนํา” เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับ มิใช่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จําเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจํา อีกทั้งยังเป็น บทความที่มีความสําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่ในการให้ความรู้และความคิดเห็น ในเรื่องสําคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องที่เขียน

58 ข้อใดเป็นความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม
(1) นักข่าวเป็นญาติกับแหล่งข่าว
(2) นักข่าวเคยพูดคุยกับแหล่งข่าว
(3) นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว
(4) นักข่าวให้แหล่งข่าวเป็นเจ้าภาพแต่งงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม คือ นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว เพราะตามประมวลจรรยามารยาท นักหนังสือพิมพ์ต้องบําเพ็ญตนให้สมเกียรติแก่วิชาชีพและต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณอันสุภาพให้สมเกียรติแก่ฐานะของตนในสังคม

59 พ.ร.บ. การพิมพ์ไม่ใช้บังคับสิ่งพิมพ์ใด
(1) ใบเสร็จรับเงิน
(2) แผนที่
(3) แผ่นเสียง แผ่นซีดี
(4) บทเพลง
ตอบ 1(คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ระบุว่า พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับกับสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้
1 สิ่งพิมพ์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
2 บัตร บัตรอวยพร ตราสาร แบบพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการส่วนตัว การสังคม การเมือง การค้า หรือสิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับหรือ แผ่นโฆษณา ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ

3 สมุดบันทึก สมุดแบบฝึกหัด หรือสมุดภาพระบายสี
4 วิทยานิพนธ์ เอกสารคําบรรยาย หลักสูตรการเรียนการสอน หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ทํานองเดียวกันที่เผยแพร่ในสถานศึกษา

60 คําว่า “ข่าวสาร คือ อํานาจ” มีความหมายมาจากปัจจัยใด
(1) ข้อมูลข่าวสารทรัพยากรที่ช่วยให้วงการการศึกษาพัฒนา
(2) ข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งที่ทําให้ผู้มีความรู้ใช้ในการวางแผนนโยบาย
(3) ข้อมูลข่าวสารทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถใช้ต่อรองแข่งขันทางธุรกิจได้
(4) ข้อมูลข่าวสารมีอิทธิพลต่อการปกครองประเทศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข่าวสาร คือ อํานาจ (Information is Power) หมายถึง ใครก็ตามที่มีข้อมูล ข่าวสารทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า ทันสมัย มีความต่อเนื่องทันเหตุการณ์ ก็จะสามารถ ควบคุมหรือต่อรองในเรื่องต่าง ๆ ได้ และฝ่ายที่มีข้อมูลข่าวสารทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า มักจะได้เปรียบคู่แข่งเสมอ

61 องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารที่เรียกย่อว่า SMCR (E) มีความหมายตามข้อใด
(1) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร : เนื้อสาร : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(3) เอกสาร : เนื้อสาร : สื่อกลาง : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
(4) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร เรียกโดยย่อว่า SMCR (E) ประกอบด้วย
1 ผู้ส่งสาร (Source/Sender)
2 เนื้อหาสาร (Message)
3 ช่องทางสาร (Channel)
4 ผู้รับสาร (Receiver)
5 ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร (Effect)

62 ข้อใดไม่ใช่ตัวกลางหรือสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างคนสองคน
(1) ความรู้สึก
(2) คําพูด
(3) ท่าทาง
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สื่อ (Medium) คือ ตัวกลางหรือสื่อกลางระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งสื่อที่ ใช้สําหรับการสื่อสารระหว่างคนสองคน ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ท่าทาง ข้อมูลข่าวสาร คําพูด ฯลฯ มักจะไม่มีกลไกซับซ้อนมากกว่าเท่ากับการสื่อสารสาธารณะหรือสื่อสารมวลชน

63 กลุ่มบุคคลจํานวนมาก ไม่สามารถระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง คือกลุ่มคนใด
(1) ชุมชน
(2) ประชาชน
(3) มวลชน
(4) มหาชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) มวลชน คือ กลุ่มบุคคลจํานวนมากกระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถ ระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง

64 ปัจจัยใดเป็นตัวแปรสําคัญที่สุดในการทําให้การสื่อสารมวลชนพัฒนาขึ้นจนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก
(1) เทคโนโลยี
(2) เศรษฐกิจ
(3) การเมือง
(4) การขนส่ง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

65 ข้อใดคือคุณลักษณะของการสื่อสารมวลชน
(1) คัดเลือกข่าวสารให้เป็นไปตามผู้สนับสนุน
(2) นําเสนอเนื้อหาตามผู้สนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เผยแพร่ข่าวสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) คุณลักษณะของการสื่อสารมวลชน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับเทคนิคการใช้ สื่อสารมวลชน และคัดเลือกสารให้เหมาะสมแล้ว ยังต้องรู้ว่าตนหรือองค์กรจะสื่อสารอะไร เผยแพร่ข่าวสารอย่างไร
จึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

66 ใครคือผู้ประทานคําและความหมายของคําว่า “วารสารศาสตร์”
(1) พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี
(3) พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) แดน บีช บรัดเลย์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55, ประกอบ

67 ข้อใดไม่ใช่ความหมายเฉพาะของคําว่า วารสารศาสตร์
(1) วิชาการเกี่ยวกับการหนังสือพิมพ์
(2) กระบวนการรายงานข่าว
(3) การนําเสนอเฉพาะข่าวที่น่าสนใจ
(4) การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

68 ข้อใดไม่ใช่งานทางด้านวารสารศาสตร์
(1) หนังสือนวนิยาย
(2) บทวิเคราะห์ในหนังสือพิมพ์กีฬา
(3) การรายงานข่าวบันเทิงในนิตยสาร
(4) การสัมภาษณ์นักแสดงในรายการโทรทัศน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) งานวารสารศาสตร์ในภายหลังจะมีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการ
รายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันของสื่อมวลชนทุกแขนง นอกเหนือไปจากแค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้นวารสารศาสตร์จึงได้แตกแขนงออกเป็นสาขาต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนนั้น ๆ เช่น Print
Journalism, Broadcast Journalism, Online Journalism, Political Journalism 29

69 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นนักวารสารศาสตร์
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) ผู้ประกาศข่าว
(3) นักเขียนบทละคร
(4) ช่างภาพข่าว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นักวารสารศาสตร์ (Journalist) คือ นักข่าว (Reporter) หรือนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่สื่อข่าวหรือรายงานข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (ส่วนนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร หรือบันเทิงคดีอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นนักวารสารศาสตร์)

70 ระบบการเมืองแบบโซเวียตคอมมิวนิสต์ จะถูกใช้ในกลุ่มประเทศใด
(1) กลุ่มประเทศโลกที่ 1
(2) กลุ่มประเทศโลกที่ 2
(3) กลุ่มประเทศโลกที่ 3
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นการถ่ายทอดลัทธิคอมมิวนิสต์ ระดมให้ประชาชนสนับสนุนรัฐ และสร้างเสริมรสนิยมทางวัฒนธรรมของมวลชน
3 ประเทศโลกที่ 2 (Second World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ โซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์

71 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยม (Libertarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
3 ประเทศโลกที่ 1 (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศในยุโรปตะวันตก และ ในทวีปอเมริกาเหนือบางประเทศ

72 ข้อใดไม่ใช่ภาระหน้าที่หลักของสื่อมวลชน
(1) การยึดมั่นกับหลักการทางวิชาชีพอย่างรับผิดชอบ
(2) การเสนอข้อเท็จจริง ทําความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณชน
(3) การสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง
(4) การเสนอความคิดเห็นในเรื่องที่ตนสนใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาระหน้าที่หลักของสื่อมวลชน คือ การยึดมั่นกับหลักการทางวิชาชีพอย่าง รับผิดชอบด้วยการนําเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ทําความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณชน เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

73 บทบาทหน้าที่ใดของสื่อมวลชนที่เปรียบเสมือนเป็นการสร้างทางเลือกแก่ผู้บริโภค
(1) รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคม (To Inform)
(2) เสนอความคิดเห็นเหตุการณ์ในสังคม (To Give Opinion)
(3) ให้ความผ่อนคลาย (To Entertain)
(4) เป็นสื่อกลางโฆษณาสินค้า (To Advertise)
ตอบ 4 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย มีดังนี้
1 รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคม (To Inform)
2 เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม (To Give Opinion)
3 ให้ความผ่อนคลายด้วยสาระบันเทิงแก่ผู้อ่าน (To Entertain)
4 เป็นสื่อกลางโฆษณาสินค้าให้ผู้บริโภคมีทางเลือก (To Advertise)

74 ธุรกิจหนังสือพิมพ์จัดเป็นธุรกิจประเภทใด
(1) องค์กรมหาชน
(2) รัฐวิสาหกิจ
(3) กึ่งสถาบันสาธารณะ
(4) องค์กรของรัฐ
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นสถาบัน สาธารณะ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น “ธุรกิจกึ่งสถาบันสาธารณะ” (Quasi Public Institution) ดังนั้นจึงต้องดําเนินกิจการเพื่อความอยู่รอดควบคู่กันไปกับการรับใช้สังคม

75 ข้อใดไม่ใช่การทําหน้าที่ของหนังสือพิมพ์จากการปฏิบัติพันธกิจ
(1) สุนัขเฝ้าบ้าน
(2) สายตรวจพลเมือง
(3) นายด่านข่าวสาร
(4) ผู้กําหนดวาระสังคม
ตอบ 2(คําบรรยาย) การทําหน้าที่ของหนังสือพิมพ์สามารถสะท้อนรูปธรรมจากการปฏิบัติพันธกิจ คือ
1 สุนัขเฝ้าบ้าน (Social Watchdog)
2 นายด่านข่าวสาร (Gatekeeper)
3 ผู้กําหนดวาระสังคม (Agenda Setter)

76 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ใช้ระบบเซ็นเซอร์
เนื้อหาและรายการ
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม (Authoritarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ สาธารณชน องค์กรเอกชนที่ขึ้นต่อรัฐ
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ใช้ระบบเซ็นเซอร์เนื้อหาและรายการ
3 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศยุโรปในสมัยแรก ๆ และประเทศในโลกที่ 3 (Third World)

77 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการผลิตข่าว
(1) การจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ
(2) การแสวงหาข้อเท็จจริง
(3) การประเมินคุณค่าข่าว
(4) การรวบรวมข้อคิดเห็น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การข่าว หมายถึง กระบวนการผลิตข่าว ซึ่งเป็นกระบวนการทํางานต่อเนื่อง อย่างสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย
1 การจัดสรรขอบเขตความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
2 การจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ
3 การแสวงหาข้อเท็จจริง
4 การประเมินคุณค่าข่าว
5 การรวบรวมข้อเท็จจริง ฯลฯ

78 ฝ่ายใดมีความสําคัญที่สุดในการบริหารงานข่าว
(1) ฝ่ายเรียบเรียงข่าว
(2) ฝ่ายบรรณาธิการ
(3) ฝ่ายบรรณารักษ์
(4) ฝ่ายผู้สื่อข่าว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

79 จากประโยคที่ว่า “ข่าวก็คือข่าว” สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และ สื่อมวลชนอย่างไร
(1) ความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนเพิ่มมากขึ้น
(2) ความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนลดน้อยลง
(3) นักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนปรับวิธีการนําเสนอเนื้อหาให้แตกต่างไปจากเดิม
(4) นักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนคัดกรองเฉพาะประเด็นปัญหาสังคมเพิ่มมากขึ้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากประโยคที่ว่า “ข่าวก็คือข่าว” ได้สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ ปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน คือ แนวโน้มด้านความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนลดน้อยลง จึงเป็นเหตุให้บุคลากรในงานข่าว รวมถึงนักวิเคราะห์สื่อพยายาม เรียกความน่าเชื่อถือกลับมาจากสังคม

80 ข้อใดไม่ใช่แนวทางสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่งานการข่าวและนักวารสารศาสตร์
(1) เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะอย่างกว้างขวาง
(2) ต้องนําเสนอข่าวในสัดส่วนที่เหมาะสมในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
(3) ทําหน้าที่อย่างอิสระภายใต้การควบคุมตรวจสอบจากอํานาจรัฐ
(4) ยึดมั่นต่อการเปิดเผยความจริง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวทางสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่งานการข่าวและนักวารสารศาสตร์ มีดังนี้
1 การเสนอแต่เรื่องที่เป็นจริง ถือเป็นเงื่อนไขข้อแรกของงานวารสารศาสตร์
2 หัวใจสําคัญของงานวารสารศาสตร์ คือ การยึดมั่นต่อการเปิดเผยความจริง
3 ทําหน้าที่อย่างอิสระในการตรวจสอบอํานาจรัฐ
4 เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ
อย่างกว้างขวาง
5 นําเสนอข่าวในสัดส่วนที่เหมาะสมในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ฯลฯ

81 ข้อใดเป็นบทบาทของการข่าวในด้านเศรษฐกิจ
(1) ศูนย์กลางข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิต
(2) ศูนย์กลางข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงการศึกษา สังคม และการเมือง
(3) เชื่อมโยงองค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อการรายงานข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) เชื่อมโยงองค์ประกอบทางการเมืองและบรรทัดฐานที่มีผลต่อการรายงานข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) บทบาทของการข่าวทางด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้ชัดจากการเป็นศูนย์กลาง ข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต การตลาด และการโฆษณา โดยเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค

82 ให้เรียงลําดับประเภทสื่อต่อไปนี้จากสื่อที่มีการเย็บเล่มคงทนถาวรมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด
(1) หนังสือเล่ม > นิตยสาร > หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(2) นิตยสาร > หนังสือพิมพ์รายวัน > หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(3) หนังสือเล่ม > หนังสือพิมพ์รายวัน > นิตยสาร
(4) หนังสือเล่ม > หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ > นิตยสาร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการเย็บเล่มคงทนถาวรมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด เรียงลําดับได้ดังนี้
1 หนังสือเล่ม เย็บเล่มอย่างคงทนถาวร มีรูปแบบ/ลําดับเรื่องชัดเจน
2 นิตยสาร เย็บสันเพื่อให้แข็งแรงเหมาะสมแก่การพกพา
3 หนังสือพิมพ์ (รายวัน/ราย 3 วัน/รายสัปดาห์) จะไม่เย็บเล่ม ไม่มีปก

83 ข้อใดเป็นปัจจัยที่สําคัญในการทําให้สื่อวารสารศาสตร์แพร่หลายเป็นวงกว้าง
(1) ความรวดเร็วของสื่อ
(2) ราคาของสื่อ
(3) ความถูกต้องของสื่อ
(4) ชื่อเสียงของสื่อ
ตอบ 1(คําบรรยาย) ปัจจัยที่สําคัญในการทําให้สื่อวารสารศาสตร์แพร่หลายไปยังผู้รับสารเป็น วงกว้าง คือ ความรวดเร็วของสื่อในการรายงานข่าว ยิ่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสารพัฒนา ยิ่งช่วยให้การเสนอรายการเกี่ยวกับข่าวสารความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

84 สถานีโทรทัศน์ใดไม่ได้แพร่ภาพในรูปแบบโทรทัศน์ดิจิทัลความละเอียดสูง (HD)
(1) PPTV
(2) Workpoint TV
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
(4) Amarin TV
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Workpoint TV เป็นสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่องวาไรตี้ ประเภทความคมชัด ระดับปกติ (SD) หรือความคมชัดมาตรฐาน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นแพร่ภาพในระบบ HD)

85 ข้อใดไม่ใช่บริการที่ทําการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
(1) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(2) หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
(3) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) วงจรอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตทําได้หลากหลายบริการ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail), การสนทนาออนไลน์ (Online Conversation/Chat), หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-newspaper), การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ฯลฯ

86 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะเฉพาะของอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับสารจากสื่อของผู้บริโภค
(1) พฤติกรรมผู้รับสารสื่อออนไลน์ไม่แตกต่างจากพฤติกรรมคนอ่านหนังสือพิมพ์ทั่วไป
(2) ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
(3) Real Time Reporting เป็นวิธีการที่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้
(4) ผู้อ่านบางประเภทคาดหวังความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลข่าวในจังหวะที่รีบเร่งจากสื่อออนไลน์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณลักษณะเฉพาะของอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับสารจากสื่อ ของผู้บริโภค มีดังนี้
1 พฤติกรรมผู้รับสารสื่อออนไลน์แตกต่างจากพฤติกรรมคนอ่านหนังสือพิมพ์ทั่วไป
2 ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
3 อินเทอร์เน็ตได้สร้างกลุ่มผู้บริโภคข่าวสารหลายประเภท
4 ผู้อ่านบางประเภทคาดหวังความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลข่าวในจังหวะที่รีบเร่งจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์
5 Real Time Reporting เป็นวิธีการที่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ในระดับหนึ่ง ฯลฯ

87 ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ และแบ่งกรอบเขตจําหน่ายตามจํานวนดาว โดยกรอบเขตใดมีจํานวนดาวมากที่สุด
(1) เขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
(2) เขตภาคกลาง
(3) เขตภาคใต้
(4) เขตจังหวัดห่างไกล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ ตามจํานวนดาว ดังนี้
1 หนึ่งดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคอีสานและภาคตะวันออก
2 สองดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคเหนือ
3 สามดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคใต้
4 สี่ดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตจังหวัดห่างไกล และเป็นกรอบบ่ายของกรุงเทพฯ
5 ห้าดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคกลาง
6 หกดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล

88 พื้นที่ส่วนใดในหนังสือพิมพ์ที่เปรียบเสมือนตู้โชว์ในการ “ขายข่าว”
(1) หน้าใน
(2) หน้าหนึ่ง
(3) ฉบับแยกส่วน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

89 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ชุมชน
ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (National Newspaper) หรือที่บางคนเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง” หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในเขตเมืองหลวงหรือส่วนกลาง โดยมี ตลาดการจําหน่ายไปทั่วประเทศ และมียอดจํานวนจําหน่ายสูง เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ ฯลฯ

90 ข้อใดไม่เป็นข้อบัญญัติจริยธรรมวิชาชีพนักวารสารศาสตร์
(1) ยึดถือข้อเท็จจริง และความครบถ้วนเฉพาะด้าน
(2) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว
(3) ไม่อวดอ้างหรืออาศัยตําแหน่งหน้าที่
(4) นําเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 230 – 231, (คําบรรยาย) ตัวอย่างข้อบัญญัติจริยธรรมวิชาชีพนักวารสารศาสตร์ ได้แก่
1 ยึดถือข้อเท็จจริง ความถูกต้อง และความครบถ้วนในทุกแง่ทุกมุม
2 นําเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ
3 ไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว
4 ไม่อวดอ้างหรืออาศัยตําแหน่งหน้าที่ เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม ฯล

91 บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วนนิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย โดยกฎหมายรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

92 บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อมูลข่าวสารใดที่รัฐต้องเปิดเผย
(1) แผนงานและงบประมาณประจําปี
(2) สัมปทานที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน
(3) ผลการพิจารณาคําวินิจฉัยเกี่ยวกับการประมูลโครงการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 188, 190 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องเปิดเผย (ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้) ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 มีดังนี้
1 ผลการพิจารณาหรือคําวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน (เช่น ผลการประมูลโครงการ)
2 แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจําปี
3 คู่มือหรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
4 สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทําบริการสาธารณะ 5. มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ฯลฯ

94 ข้อใดเป็นแนวคิดของ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
(1) พิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์
(2) พิจารณาคดีโดยลดโทษกึ่งหนึ่งเสมอ
(3) ใช้หลักการพิทักษ์เด็ก ซึ่งกระทําผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 213, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ได้ให้เหตุผล ที่ต้องแยกการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกจากการพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไปว่า เพื่อเป็นการ พิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนมิให้ถูกรังเกียจ มีปมด้อย หรือถูกตราหน้าว่าได้กระทําความผิด ทางอาญา และเพื่อให้การช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่อาจกระทําความผิด เนื่องจาก ยังไม่เจริญด้วยวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกบังคับ หรือด้วยความจําเป็นบางประการ

95 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะที่เป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

96 ผู้ใดฝากร้านใน Facebook หรือ IG จะมีความผิดอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ได้ระบุเอาไว้ว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

98 ถ้าใครโพสภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ทําให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท (คําบรรยาย)
ตอบ 3 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ถ้าการกระทําตามวรรค 1 เป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้น น่าจะทําให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 1…

99 นําภาพผู้อื่นมาตัดต่อแล้วโพสลง Facebook ทําให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 นักศึกษาใช้เอกสารใดในการอ่านเตรียมสอบ (คะแนนฟรี)
(1) สไลด์ประกอบการสอนในรายวิชา
(2) ตําราการหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
(3) หนังสือวารสารศาสตร์เบื้องต้น
(4) ชีทแดงหน้ารามฯ
ตอบ ข้อใดก็ได้ นักศึกษาเลือกตอบข้อใดก็ได้คะแนนฟรี

Advertisement