การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1450 (MCS 1400) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การกระจายเสียงในภาษาไทย มีความหมายว่าอย่างไร
(1) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ
(2) การออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์
(3) การออกอากาศรายการวิทยุกระจายเสียง
(4) การออกอากาศรายการผ่านดาวเทียม
ตอบ 3 หน้า 1 ในภาษาไทยได้แบ่งความหมายของคําว่า “การกระจายเสียง” และ “การแพร่ภาพ เอาไว้ชัดเจน ดังนี้ 1. การกระจายเสียง หมายถึง การออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเป็นคําที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มมีวิทยุกระจายเสียงในปี พ.ศ. 2473 2. การแพร่ภาพ หมายถึง การออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นคําที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มมีวิทยุโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2498

Advertisement

2. สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีเครือข่ายสถานีในส่วนภูมิภาค
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 7
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT
ตอบ 4 หน้า 50 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท.) จัดตั้งขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทําหน้าที่ให้ความรู้ ให้การศึกษา เผยแพร่ ข่าวสารการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐ และให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แม่ข่ายเพื่อถ่ายทอดไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนภูมิภาคในลักษณะเครือข่าย โดยเชื่อมโยงสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือระบบดาวเทียมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

3. การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทยนั้น ดําเนินการในรูปแบบใด
(1) จัดตั้งเป็นบริษัทจํากัด
(2) จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ
(3) จัดตั้งเป็นหน่วยงานราชการ
(4) จัดตั้งเป็นระบบสัมปทาน
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทย มีวิวัฒนาการเริ่มต้นในสมัย รัชกาลที่ 9 โดยเกิดจากความคิดริเริ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2495 แต่ถูกสภาผู้แทนราษฎรและหนังสือพิมพ์โจมตีคัดค้านอย่างมากว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินจึงทําให้รัฐบาลเปลี่ยนแผนการจากเดิมที่จะดําเนินการเอง มาเป็นการจัดตั้งเป็นบริษัทจํากัด (บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด) เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

4. ผู้กล่าวข้อความออกอากาศครั้งแรกในพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย คือ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 4 หน้า 34 การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยทางราชการได้ทําพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล โดยในพิธีเปิดได้อัญเชิญกระแสพระราชดํารัสของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7) มาออกอากาศเป็นครั้งแรก

5. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ได้รับเงินงบประมาณในการจัดตั้งอย่างไร
(1) งบประมาณแผ่นดิน
(2) เงินบริจาคจากประชาชนและภาคเอกชน
(3) งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น
(4) งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมนี
ตอบ 3 หน้า 50 ในระยะเริ่มแรกสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จัดตั้งขึ้นด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน (เงินรายได้ของกรมประชาสัมพันธ์) ประมาณ 8 ล้านบาท แต่ด้วย ข้อจํากัดด้านเทคนิคและความจําเป็นด้านงบประมาณรายได้ กรมประชาสัมพันธ์จึงได้จัดทํา โครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นก็ได้มีมติอนุมัติ โครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่าในวงเงินประมาณ 330 ล้านบาทแก่รัฐบาลไทย

6. แสดงและสะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยมที่สําคัญ ๆ ในระดับชาติ ภูมิภาค หรือท้องถิ่น ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 3 หน้า 93 – 94, 98 หน้าที่ในการให้การศึกษา ซึ่งตรงกับหน้าที่ในการแสดงออกและ ความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมตามความคิดของสื่อมวลชน มีดังนี้
1 แสดงและสะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยมที่สําคัญ ๆ ในระดับชาติ ภูมิภาค หรือท้องถิ่น
2. สนับสนุนวัฒนธรรมและค่านิยมของกลุ่มย่อยภายในสังคม

7. ให้ข่าวสารเบื้องหลังและวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 2 หน้า 92, 98 หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น ซึ่งตรงกับหน้าที่ในการตีความตามความคิด
ของสื่อมวลชน มีดังนี้
1. แสดงความคิดเห็น
2. ให้ข่าวสารเบื้องหลังและ
3. เป็นผู้วิจารณ์หรือตรวจสอบผู้ที่อยู่ในอํานาจ
4. แสดงหรือสะท้อนประชามติ
5. เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

8 แสดงหรือสะท้อนประชามติ ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9 ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 88, 94 – 95 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามแนวคิดของไรท์ มีผลเสียดังนี้
1 ไม่สามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชนได้เท่าละครเวทีและวรรณกรรมคลาสสิก
2 ทําให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป
3 ทําให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า
4 เป็นการทําลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา

10 ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการเผยแพร่ชื่อเสียงของบุคคล เป็นการเพิ่มศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และความเป็น คนเด่นคนดังในสังคม ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

ตอบ 1 หน้า 89 – 91, (คําบรรยาย) หน้าที่ในการเสนอข่าวสารตามแนวคิดของไรท์ มีผลดีต่อบุคคล ประการหนึ่ง คือ สื่อมวลชนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการเผยแพร่ชื่อเสียงของบุคคล ซึ่งเป็นการให้สถานภาพทางสังคม เพราะการที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นการเพิ่มศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และความเป็นคนเด่นคนดังในสังคมแก่บุคคลนั้น

11. ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึง
(1) รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด
(2) เอกชนเป็นเจ้าของทั้งหมด
(3) เป็นของรัฐและเอกชน
(4) เป็นของรัฐวิสาหกิจและเอกชน
ตอบ 3 หน้า 136, (คําบรรยาย) ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยในอดีต เป็นกิจการผูกขาดโดยรัฐหรือรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด แต่ในปัจจุบันเมื่อมีการปฏิรูปสื่อ เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 จึงทําให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้

12. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
ตอบ 1 (ข่าว) ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีสถานี วิทยุโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของ ประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

13. สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

14. ทําให้หลีกหนีหรือปลีกตัวออกจากปัญหาต่าง ๆ ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 99 – 100 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร มีดังนี้
1. ทําให้หลีกหนีหรือปลีกตัวออกจากปัญหาต่าง ๆ
2. ทําให้ได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ
3. ทําให้ได้รับความสุขกับวัฒนธรรมและความสุนทรีย์
4. ช่วยในการฆ่าเวลา
5. ทําให้ผ่อนคลายอารมณ์
6. ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ

15. ค้นหาเหตุการณ์ต่าง ๆ และสถานการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สังคม และโลก ตรงกับข้อใด
(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
(2) หน้าที่ในการนําเสนอความคิดเห็น
(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา
(4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

ตอบ 1 หน้า 99 หน้าที่ในการเสนอข่าวสารตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร มีดังนี้
1. ค้นหาเหตุการณ์ต่าง ๆ และสถานการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สังคม และโลก
2. ให้คําแนะนําในการปฏิบัติ การแสดงความคิดเห็น และการตัดสินใจ
3. สนองตอบความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจทั่วไป
4. ให้การเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย

16. บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า “พี่เจ” ซึ่งย่อมาจากคําว่า “บูรฉัตรไชยากร

17. วิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์ไทย เริ่มต้นครั้งแรกในรัชกาลใด
(1) ร.6
(2) ร.7
(3) 5.8
(4) ร.9
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

18. การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) ร.5
(2) ร.5
(3) ร.7
(4) ร.8
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

19. บุคคลที่บัญญัติคําว่า “วิทยุโทรทัศน์” หมายถึงใคร
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 1 หน้า 3, 81 คําว่า “Television” นี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ และได้บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า “วิทยุโทรทัศน์” (มักเรียกสั้น ๆ ว่า โทรทัศน์) ซึ่งหมายถึง การส่งและรับสัญญาณภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

20. บุคคลใดที่ได้นําเครื่องรับวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในไทย
(1) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) กรมพระยาวงษานุพันธ์
(4) เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
ตอบ 1 หน้า 32 ใน พ.ศ. 2450 กรมทหารเรือที่มีจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้บัญชาการ ได้นําเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้ในราชการทหาร เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีเดียวกันนี้กองทัพบกที่มีเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์เป็นเสนาธิการก็ได้สั่งเครื่องวิทยุสนามแบบมาร์โคนีมาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

21. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทย เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) ร.5
(2) ร.5
(3) ร.7
(4) ร.8
ตอบ 2 หน้า 32 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชการทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวรในสังกัดของ กระทรวงทหารเรือขึ้น 2 สถานี คือ ที่ตําบลศาลาแดง กรุงเทพฯ กับที่ชายทะเล จ.สงขลา

22. การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค เป็นความคิดริเริ่มของใคร
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, 149 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคนั้น เป็นความคิดริเริ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยท่านเล็งเห็นว่า วิทยุโทรทัศน์มีข้อจํากัดที่ไม่สามารถจะแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ จึงบัญชาให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยให้ทําหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่าย ในส่วนภูมิภาคทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ. 2503

23. สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) ช่อง 3
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 3 หน้า 47 สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์ และวิทยุ จํากัด) เป็นเจ้าของสัมปทานหรือร่วมดําเนินการจัดตั้ง ซึ่งเริ่มแพร่ภาพออกอากาศ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

24. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด
(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ตอบ 1 หน้า 42, 44 – 45 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดําเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน) ในสังกัดของสํานักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกําเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย ดังนั้น กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) จึงมีอายุ 62 ปี

25. ข้อใดเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่เกิดขึ้นมาภายหลัง
(1) ช่อง 3, ช่อง 3 HD
(2) ช่อง NBT, ช่อง MCOT
(3) ช่อง 7, ช่อง 7 HD
(4) ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องโมโน 29
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ดิจิทัล) ที่เกิดขึ้นมาภายหลัง และกําลังแพร่ภาพ ออกอากาศอยู่ในขณะนี้ เช่น ช่อง 3 HD, ช่อง 7 HD, ช่อง MCOT HD ช่อง PPTV HD, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องโมโน 29, ช่อง Workpoint, ช่อง TNN 24, ช่อง True 4U เป็นต้น (ส่วนช่อง 3, ช่อง 7, ช่อง MCOT, ช่อง NBT เดิมเป็นช่องระบบอนาล็อก)

26. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การดําเนินงานของหน่วยงานใด
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(2) กองทัพบก กระทรวงกลาโหม
(3) กรมประชาสัมพันธ์
(4) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
ตอบ 3 หน้า 49, 137 138 สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้การดําเนินงานของกรมประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. สถานีในส่วนกลาง คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท.)
2. สถานีในส่วนภูมิภาค คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 4, 5, 7, 8, 9 และ 10 ซึ่งทั้งหมดจะทําหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายในส่วนภูมิภาค

27. การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุเพื่อจะจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของไทยนั้น
ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ คือ
(1) คสช.
(2) กสทช.
(3) กรมประชาสัมพันธ์
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทยตาม รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กําหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทําหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ทั้งนี้องค์กรอิสระที่ทําหน้าที่นี้ในปัจจุบัน ได้แก่ คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า กสทช.)

28 กสทช. หมายถึงอะไร
(1) คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(2) คณะกรรมการกําหนดบทบาทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(3) คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
(4) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยในสมัยนั้น อยู่กับหน่วยงานใด
(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(2) สํานักงานโฆษณาการ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงทหารเรือ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

30. การทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีว่า “พี่เจ” ในยุคนั้น ย่อมาจากคําว่าอะไร
(1) บูรฉัตรไชยากร
(2) มาร์โคนี
(3) กองช่างวิทยุ
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย ได้ทําพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อใด
(1) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
(2) วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471
(3) วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
(4) วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

32. กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันมีอายุกี่ปี
(1) 58 ปี
(2) 59 ปี
(3) 60 ปี
(4) 62 ปี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

33. องค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาล
ของแต่ละประเทศ คือองค์กรใด
(1) ABU
(2) EBU
(3) ITU
(4) RTU
ตอบ 3 หน้า 58, 115, 124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) มีสํานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ

34. “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก” คือ
(1) ลี เดอ ฟอเรสต์
(2) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(3) เฮนริช เฮิรตซ์
(4) ถูกลิเอลโม มาร์โคนี
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 ใน พ.ศ. 2438 ถูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (Wireless Telegraph) สําเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้นําเอา การทดลองนี้ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”

35. เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก มีลักษณะอย่างไร
(1) เครื่องรับวิทยุแร่
(2) เครื่องรับวิทยุหลอดสุญญากาศ
(3) เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์
(4) เครื่องรับแบบเฟลมิ่ง
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงในยุคแรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นเครื่องรับวิทยุแร่ โดยผู้ฟังจะต้องใช้เครื่องฟังครอบไว้ที่หู และสามารถเปิดฟังได้คนเดียว ซึ่งคุณภาพด้านเสียงนั้น ไม่ชัดเจนนักเนื่องจากมีเสียงที่เบา รวมทั้งยังแยกคลื่นของสถานีต่าง ๆ ไม่ค่อยได้อีกด้วย

36. ก่อนที่เราจะบัญญัติคําว่า “วิทยุกระจายเสียง” มาใช้นั้น เราใช้คําทับศัพท์ภาษาอังกฤษครั้งแรกว่าอะไร (1) Radio
(2) Wireless
(3) Radio Telegraph
(4) Radio Broadcasting
ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคําเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่จะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก และภายหลัง ราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คําเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า “วิทยุกระจายเสียง”

37. บุคคลที่บัญญัติคําว่า “วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก คือ
(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ในอังกฤษนิยมใช้คําดั้งเดิมเรียกวิทยุกระจายเสียงว่าอะไร
(1) Radio
(2) Wireless
(3) Cable
(4) Broadcast
ตอบ 2 หน้า 2 คําว่า “วิทยุกระจายเสียง” มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “วิทยุ” ในขณะที่ชาวอังกฤษนิยม ใช้คําดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Radio

39.“Television” ได้บัญญัติคําเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่าอะไร
(1) โทรทัศน์
(2) วิทยุโทรภาพ
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) วิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

40. บุคคลแรกที่เป็นผู้นําเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สําเร็จ คือ
(1) เฮนริช เฮิรตซ์
(2) ถูกลิเอลโม มาร์โคนี
(3) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์
(4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเส้นเดิน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

41. ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการแสดงความคิดเห็น ตรงกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) การจัดรายการเพลงทางวิทยุโดยให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในรายการ ให้โทรศัพท์เข้ามาตอบปัญหา
(2) รายการมิวสิกวิดีโอทางโทรทัศน์ที่นําเสนอเพลงเพื่อชีวิตของวงคาราบาว
(3) รายการสนทนาหรืออภิปรายทางวิทยุและโทรทัศน์ที่นําประเด็นหัวข้อเรื่องที่มีผลกระทบกับ ประชาชนมาวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกัน และหาข้อสรุปร่วมกัน
(4) รายการละครทางโทรทัศน์ที่นําเสนอเรื่องราวชีวิตที่ต้องต่อสู้ของคนในสังคม
ตอบ 3 หน้า 8 – 9, (คําบรรยาย) ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการแสดงความคิดเห็น นับว่าเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างสติปัญญาอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้มนุษย์ได้รับรู้ รับฟัง แลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดซึ่งกันและกัน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้แก่ตนเอง มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นหนทางให้เกิดความเจริญยิ่งขึ้นได้ในที่สุด เช่น รายการอภิปรายหรือ สนทนาในประเด็นต่าง ๆ ฯลฯ

42. ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนาชนบท ตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) รายการสารคดีชุดดินดําน้ำชุ่ม เพื่อให้ความรู้ทางการเกษตร
(2) รายการของกรมสรรพากร เรื่องการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) รายการเรารักวัฒนธรรมไทย ของกรมศิลปากร
(4) รายการของกรมศุลกากร เรื่องมาตรการกีดกันทางการค้าของชาติยุโรป
ตอบ 1 หน้า 11 – 12 ความสําคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนาชนบท เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลนั้นมีโอกาสที่จะได้รู้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางสื่อน้อย ดังนั้นการนําสื่อวิทยุ และโทรทัศน์เข้าไปยังชนบทจึงเปรียบเสมือนเป็นการเปิดหูเปิดตาชาวชนบทให้มีหูตากว้างไกล มากยิ่งขึ้น โดยการนําเสนอหรือป้อนข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เช่น รายการ เพื่อการเกษตร เพื่อการศึกษา เพื่อสุขภาพอนามัย และเพื่องานอาชีพที่สําคัญ ๆ

43. สื่อมวลชนข้อใดต่อไปนี้ที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด
(1) ภาพยนตร์กลางแปลง
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) จากผลการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เกี่ยวกับการฟังวิทยุ และการดูโทรทัศน์ของประชากรไทยในปัจจุบัน พบว่า แนวโน้มประชากรไทยฟังวิทยุลดลง แต่ดูโทรทัศน์มากขึ้น นั่นหมายถึง สื่อมวลชนที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ วิทยุโทรทัศน์ (ในสมัยก่อนสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด คือ วิทยุกระจายเสียง)

44. สื่อใดต่อไปนี้ให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) ภาพยนตร์
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคํานึงหรือจินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ
1. ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
2. แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ
3. ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ
4. การจูงใจให้คิดหรือทํา (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

45. จากแนวคิดที่กล่าวว่า “การจัดรายการตามที่ผู้ฟังชอบกับการพยายามให้ผู้ฟังชอบรายการที่จัด
หมายความว่าอย่างไร
(1) ควรจัดรายการที่ตรงกับความสนใจและความนิยมของผู้ฟังในขณะนั้น ก็จะทําให้รายการเป็นที่ชื่นชอบ ในที่สุด
(2) ต้องพยายามผลิตรายการที่ดีมีสาระแต่น่าสนใจ ผู้ฟังจะติดตามรับฟังโดยตลอด
(3) ต้องสร้างพื้นนิสัยใหม่ให้แก่ประชาชนให้ดําเนินการตามเป้าหมายหลักของการกระจายเสียงได้อย่างเต็มที่
(4) การจัดรายการที่ผู้ฟังชอบเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นความชอบที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากแนวคิดที่กล่าวว่า “การจัดรายการตามที่ผู้ฟังชอบกับการพยายามให้ผู้ฟัง ชอบรายการที่จัด” หมายถึง นักจัดรายการวิทยุควรพยายามผลิตรายการที่ดีมีสาระแต่น่าสนใจ แล้วผู้ฟังก็จะติดตามรับฟังโดยตลอดไปในที่สุด

46. การส่งคลื่นวิทยุกระจายเสียงของไทยเป็นการส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่ใด
(1) 530 ถึง 1600 กิโลเฮิรตซ์ และ 88 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์
(2) 535 ถึง 1605 กิโลเฮิรตซ์ และ 87 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์
(3) 630 ถึง 1700 กิโลเฮิรตซ์ และ 86 ถึง 107 เมกะเฮิรตซ์
(4) 635 ถึง 1705 กิโลเฮิรตซ์ และ 88.5 ถึง 107.5 เมกะเฮิรตซ์
ตอบ 2 หน้า 64, 119 ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4 ระบุว่า “วิทยุกระจายเสียง” หมายถึง การส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่คลื่นวิทยุ 535 ถึง 1605 กิโลเฮิรตซ์ (kHz) ในระบบ AM และย่านความถี่ 87 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ในระบบ FM อันมี ความประสงค์ให้เข้าถึงมวลชนโดยตรง

47. การโฆษณาของสถานีวิทยุโทรทัศน์ต้องใช้เวลาสําหรับการโฆษณาไม่เกินกําหนดเวลาเท่าไร
(1) ไม่เกินชั่วโมงละ 8 นาที
(2) ไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที
(3) ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที
(4) ไม่เกินชั่วโมงละ 15 นาที
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 23 วรรคสอง ระบุว่า คณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะ และระยะเวลาสูงสุดในการโฆษณาและการบริการธุรกิจ แต่ทั้งนี้จะกําหนดการโฆษณาและ การบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีครึ่ง โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที

48. BBC (British Broadcasting Corporation)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 หน้า 113, 165 – 165, 169, 172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ประเทศญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ 1. ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไรและไม่มีโฆษณาธุรกิจการค้า แต่จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียม เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) ซึ่งมีลักษณะเหมือนบรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK) 2. ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) เป็นระบบการกระจายเสียง เพื่อการค้า ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

49. NHK (Nippon Hoso Kyokai)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. CBS (Columbia Broadcasting System)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 113, 168 ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดําเนินกิจการ ในรูปแบบของธุรกิจและมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณานั้น ในปัจจุบันจะมีเครือข่าย ระดับชาติที่สําคัญ ได้แก่ CBS (Columbia Broadcasting System), ABC (American Broadcasting Company) NBC (National Broadcasting Company)

51 .PBS (Public Broadcasting Service)
(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า
(2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ
(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ
(4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 113, 168, (คําบรรยาย) PBS (Public Broadcasting Service) คือ ระบบวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร และมีรายได้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางของ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ PBS ได้จัดตั้งขึ้นมาในภายหลัง เพื่อผลิตรายการที่ส่งเสริมคุณค่าทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการสาธารณะ เช่น รายการสําหรับเด็ก รายการสําหรับการศึกษา เป็นต้น

52 “ABU” หมายถึงอะไร
(1) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป
(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก
ตอบ 4 หน้า 115, 124 สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก (The Asian Pacific Broadcasting Union : ABU) มีสํานักงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่บริหารงานด้านการกระจายเสียงและให้ความร่วมมือกับประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศไทยก็มีความสัมพันธ์ด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสารรายการโดยผ่านสถาบันนี้

53. พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับล่าสุดในขณะนี้ หมายถึงข้อใด
(1) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530
(2) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
(3) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
(4) พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับล่าสุดในขณะนี้ หมายถึง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

54. กรมประชาสัมพันธ์มีชื่อเดิมว่าอะไร
(1) กรมการโฆษณาการ
(2) กรมโฆษณาการ
(3) กรมการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
(4) สํานักโฆษณาการและประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 หน้า 36, (คําบรรยาย) กรมประชาสัมพันธ์มีชื่อเดิมว่า “กรมโฆษณาการ” โดยในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้ง “สํานักงานโฆษณาการ” ขึ้น และต่อมาก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรม ใช้ชื่อว่า “กรมโฆษณาการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังในปัจจุบัน

55. ข้อใดเป็นระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation)
(1) TBS
(2) CNN
(3) BBC
(4) PBS
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

56. หน่วยงานราชการใดมีสถานีวิทยุกระจายเสียงมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร
(1) กรมประชาสัมพันธ์
(2) อ.ส.ม.ท.
(3) กองทัพบก
(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข
ตอบ 3 หน้า 39 สถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งระบบ AM และ FM ในกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นสถานีวิทยุในสังกัดของกองทัพบกมากที่สุด โดยมีทั้งหมด 24 สถานี แบ่งเป็นระบบ AM 12 สถานี และระบบ FM 12 สถานี รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ มี 11 สถานี และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย มี 9 สถานี

57. แนวคิดในการจัดระบบวิทยุโทรทัศน์ไทยปัจจุบัน ตรงกับข้อใด
(1) Public Service System
(2) Free Market System
(3) Dual System
(4) Mixed System
ตอบ 4 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยปัจจุบันตาม รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่างการสื่อสารเพื่อ ประโยชน์สาธารณะกับการสื่อสารในตลาดเสรี) เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

58. บรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น หมายถึงข้อใด
(1) NHK
(2) N3C
(3) TBS
(4) Radio Japan
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

59. สถานีวิทยุคลื่นสั้นที่มีการจัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ที่จังหวัดอุดรธานี
(1) VOA
(2) BBC
(3) NHK
(4) CNN
ตอบ 1 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ สถานีวิทยุคลื่นสั้น VOA (Voice of America) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุภาคภาษาต่างประเทศที่ กระจายเสียงไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 35 ภาษา ออกอากาศสัปดาห์ละ 805 ชั่วโมง และมีผู้รับฟังประมาณ 26 ล้านคน โดยในประเทศไทยได้จัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อส่งกระจายเสียงต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

60. พัฒนาการวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศใดเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) ญี่ปุ่น
(4) รัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 155 – 156 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิก กิจการวิทยุกระจายเสียงโลก โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่าเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก ๆ คือ สถานี KCBS (ค.ศ. 1909), WHA (ค.ศ. 1917), WW) (ค.ศ. 1920) และ KDKA (ค.ศ. 1920)

61. การควบคุมของรัฐในกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของไทย หมายถึงข้อใด
(1) การจัดตั้งเป็นสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักข่าว สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
(2) จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อมวลชน
(3) การตั้งแผนกเซ็นเซอร์ภายในสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ
(4) การออกหนังสือเวียนและคําสั่งอื่น ๆ ให้สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์นําไปปฏิบัติ
ตอบ 4 หน้า 125 – 127 โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. การควบคุมของรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช., การออกกฎหมาย ที่บังคับใช้โดยตรง และกฎหมายอื่นหรือระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและ หลักเกณฑ์ที่ออกมาในรูปของหนังสือเวียนและคําสั่งอื่น ๆ ฯลฯ
2. การควบคุมกันเอง เช่น มีจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้ง การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ
3. การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชม ผู้ฟัง, ผู้อุปถัมภ์รายการ และกลุ่มผลักดันทางสังคม

62. กฎหมายที่เน้นการควบคุมเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์ หมายถึงข้อใด
(1) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(2) กฎกระทรวง
(3) ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
(4) ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
ตอบ 4 หน้า 117, (คําบรรยาย) กฎหมายที่เน้นการควบคุมเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ส่วนพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง (ยกเว้นกฎกระทรวงฉบับที่ 14) และประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี จะเน้นเนื้อหา ที่เกี่ยวกับทางด้านเทคนิค การขอและออกใบอนุญาต

63. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ
1. รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ
2. รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ
3. เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผู้ผลิตรายการ) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

64. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบ พหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทําให้เกิดระบบแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 3 หน้า 111, 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กําลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของ ระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทําให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

65. ระบบนี้มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภค
จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 1 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดการสื่อสารในตลาดเสรี) คือ ดําเนินการในรูปตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกัน อย่างเต็มที่ (Competition) โดยเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของ ผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด

66. ระบบนี้มีความเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน และในราคาที่เหมาะสม รัฐจึงมีความชอบธรรมในการดําเนินการแบบผูกขาด
(1) Free Market System
(2) Public Service System
(3) Mixed System
(4) Public Corporation
ตอบ 2 หน้า 111, 113, (คําบรรยาย) ประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Public Service System (แนวคิดการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) หรือระบบที่รัฐเป็น ผู้ให้บริการ โดยเชื่อว่า รัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะทุกกลุ่มอย่าง เท่าเทียมกันและในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะดําเนินการผูกขาดใน การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์

67. ตามแนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากอะไร
(1) บุคคล สังคม วัฒนธรรม บันเทิง
(2) บุคคล สังคม เครื่องมือทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม
(3) บุคคล สังคม การศึกษา วัฒนธรรม
(4) สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร
ตอบ 4 หน้า 95 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของ
สื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการให้สื่อมวลชนทําอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทําหน้าที่อะไรให้แก่ตนและ สังคม ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่
1. สังคม (Society)
2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate)
3. สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media/Mass Communicators) 4. มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

68.FCC (Federal Communications Commission) หมายถึงข้อใด
(1) บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา
(2) บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของอังกฤษ
(3) องค์กรที่จัดระเบียบในด้านการอนุมัติคลื่นและใบอนุญาตประกอบการ
(4) คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ
ตอบ 4 หน้า 24, 114, 168 คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ FCC (Federal Communications Commission) เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแล กิจการวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รวมทั้งคอยจัดสรรคลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ด้วย

69. สื่อที่ถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2475 หมายถึงข้อใด (1) หนังสือพิมพ์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 35 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วิทยุกระจายเสียง นับว่ามีบทบาทอย่างสําคัญ เพราะคณะราษฎร์ซึ่งนําโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นเครื่องมือ เผยแพร่ข่าวการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนทราบ โดยอ่านประกาศติดต่อกันตลอดเวลา

70. มาตราในการวัดคลื่นความถี่วิทยุระบบ AM คือ
(1) เมกะเฮิรตซ์
(2) กิโลเฮิรตซ์
(3) จิกะเฮิรตซ์
(4) เมตริกเฮิรตซ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

71. สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็น Independent Television หมายถึงข้อใด
(1) ไทยพีบีเอส
(2) NBT
(3) ASTV
(4) ไอทีวี
ตอบ 4 หน้า 52, 54 – 56, (คําบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เกิด กระแสการเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์กันอย่างกว้างขวางซึ่งต่อมาก็ได้มีการจัดตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ITV : Independent Television หรือทีวีเสรี ซึ่งปัจจุบันคือ ไทยพีบีเอส) ขึ้นมา เพื่อเสนอข่าวสารอย่างเป็นกลางโดยปราศจากอํานาจของรัฐและนายทุนจึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการเสนอรายการข่าวครั้งใหญ่ในประเทศไทย

72. สื่อทางเลือกของประชาชน หมายถึงข้อใด
(1) ไทยพีบีเอส
(2) วิทยุอินเทอร์เน็ต
(3) วิทยุชุมชน
(4) โมเดิร์นไนน์
ตอบ 2, 3 (คําบรรยาย) สื่อทางเลือกหรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสาร ให้แก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับรู้ข่าวสาร ที่แตกต่างออกไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งมักจะถูกกําหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน ตัวอย่างของสื่อทางเลือก เช่น สถานีวิทยุชุมชน, สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต, โทรทัศน์ดาวเทียม, เคเบิลทีวี ฯลฯ

73. โมเดิร์นไนน์ทีวี สังกัดหน่วยงานใด
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(2) กรมประชาสัมพันธ์
(3) บริษัท อ.ส.ม.ท. จํากัด (มหาชน)
(4) บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

74. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550
(2) พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551
(3) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540
(4) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

75. เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด
(1) การออกกําลังกาย
(2) การสอนทําอาหารไทย
(3) การบรรยายธรรม
(4) การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

76. การแพร่คลื่นของสถานีวิทยุกระจายเสียง อยู่ในขั้นตอนใด
(1) ภาคกําเนิดกระแสความถี่วิทยุ
(2) ภาคแปรรูปคลื่นหรือผสมคลื่น
(3) ภาคสายอากาศ
(4) ภาคขยายกําลัง
ตอบ 3หน้า 60 – 62 หลักการทํางานของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วย 4 ภาค ดังนี้
1. ภาคกําเนิดกระแสความถี่วิทยุ ประกอบด้วย วงจรออสซิลเลเตอร์ (Oscillator Circuit) ซึ่งจะทําหน้าที่ผลิตคลื่นความถี่วิทยุตามที่ต้องการ
2. ภาคแปรรูปคลื่นหรือผสมคลื่น ทําหน้าที่ผสมคลื่นวิทยุกับคลื่นเสียงเข้าด้วยกัน โดยใช้วงจร ผสมความถี่ (Modulator Circuit)
3. ภาคขยายกําลัง ทําหน้าที่ขยายคลื่นที่ผสมแล้วให้มีกําลังแรงขึ้นตามความต้องการ
4. ภาคสายอากาศเครื่องส่ง ทําหน้าที่แพร่คลื่นของสถานีวิทยุกระจายเสียง โดยใช้สายอากาศ
ที่มีความยาวเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการแพร่คลื่นแต่ละประเภท

77. กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงที่เป็นแหล่งรวมเสียง หรือที่เรียกว่า “คลื่นเสียง
อยู่ในองค์ประกอบใด
(1) เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง
(2) ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง
(3) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
(4) ห้องควบคุมวิทยุกระจายเสียง
ตอบ 2 หน้า 60, 62 กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1. ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นแหล่งรวมเสียง หรือที่เรียกว่า “คลื่นเสียงหรือความถี่เสียง” จากแหล่งต่าง ๆ เช่น เสียงพูด เสียงประกอบ (Sound Effects) ฯลฯ เพื่อผลิตรายการ
2. เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง จะแยกอยู่คนละส่วนกับห้องส่งวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเครื่องส่ง จะทําหน้าที่ส่งคลื่นเสียงไปกับคลื่นวิทยุ
3. เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง จะมีสายอากาศรับคลื่นวิทยุที่ส่งมา โดยวงจรเลือกรับคลื่นวิทยุ (Tuner) จะเลือกหรือกรองเอาเฉพาะสัญญาณความถี่วิทยุของสถานีที่ต้องการเข้ามาเพียง สถานีเดียว แล้วขยายให้สัญญาณมีกําลังแรงขึ้น ก่อนจะส่งเข้าภาคแยกสัญญาณต่อไป

78. กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงที่ทําหน้าที่ส่งคลื่นเสียงไปกับคลื่นวิทยุ อยู่ในองค์ประกอบใด
(1) ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง
(2) ห้องควบคุมวิทยุกระจายเสียง
(3) เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง
(4) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79. กระบวนการของการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงที่มีวงจรเลือกรับคลื่นวิทยุ (Tuner) จะเลือกหรือกรอง
เอาเฉพาะสัญญาณความถี่วิทยุของสถานีที่ต้องการ อยู่ในองค์ประกอบใด
(1) เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง
(2) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
(3) ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง
(4) ห้องควบคุมวิทยุกระจายเสียง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

80. การผลิตคลื่นความถี่วิทยุในภาคกําเนิดกระแสความถี่วิทยุ ใช้วงจรใด
(1) Modulator Circuit
(2) Oscillator Circuit
(3) Power Wave Circuit
(4) Amplifier Wave Circuit
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

81. การผสมคลื่นวิทยุกับคลื่นเสียงในภาคแปรรูปคลื่น ใช้วงจรใด
(1) Frequency Circuit
(2) Modulator Circuit
(3) Oscillator Circuit
(4) Generator Circuit
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

ข้อ 82 – 84. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Intelsat
(2) Symphkonie
(3) Domsat
(4) Thaicom

82. ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์ในระดับโลก
ตอบ 1 หน้า 80 – 81 ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จําแนก ตามขอบเขตการใช้งาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. ดาวเทียมในระดับโลก (Global Satellite) ซึ่งที่อยู่ในวงโคจรโลกขณะนี้มีอยู่ 2 ดวง ได้แก่ ดาวเทียม Intelsat และ Intersputnik
2. ดาวเทียมในระดับภูมิภาค (Regional Satellite) ได้แก่ ดาวเทียม Eutelsat, Symphkonie, Telecom, Olympus, Arabsat, Palapa a Asiasat
3. ดาวเทียมในระดับภายในประเทศ (Domestic Satellite) หรือที่เรียกว่า “Domsat” จะมีอยู่ เป็นจํานวนมากทั้งของประเทศสังคมนิยมและประเทศโลกเสรี ซึ่งในประเทศไทยได้ส่ง ดาวเทียมดวงแรก คือ ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) ขึ้นสู่วงโคจรในปี พ.ศ. 2536

83. ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์ในระดับภูมิภาค
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84. ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์ในระดับภายในประเทศ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85. “SW” บนหน้าปัดเครื่องรับวิทยุ หมายถึงอะไร
(1) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่น AM
(2) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่น FM
(3) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่นสั้น
(4) เครื่องรับวิทยุที่รับคลื่นปานกลาง
ตอบ 3 หน้า 65 คําว่า “SW” บนหน้าปัดเครื่องรับวิทยุ ย่อมาจาก Short Wave ซึ่งหมายถึง เครื่องรับวิทยุชนิดที่รับคลื่นสั้นได้ ซึ่งอาจจะแบ่งการรับคลื่นสั้นทั้งหมดเป็น 1 แถบคลื่น
เรียกว่า “แบรนด์” (Brand) หรือหลายแถบคลื่นก็ได้

86. ประเภทสถานีโทรทัศน์ระดับชาติของไทย จัดอยู่ในประเภทใด
(1) Subscription TV
(2) Down Converter Satellite
(3) Open Circuit Television
(4) Community Antenna Television
ตอบ 3 หน้า 74, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติของไทย หรือฟรีทีวี (Free TV) จัดอยู่ ในระบบวงจรเปิด (Open Circuit Television : OCTV) คือ ระบบการกระจายเสียงและภาพ ด้วยคลื่นวิทยุ (Radio Waves หรือ Hertzian Waves) กระจายไปในอากาศสู่เครื่องรับ ซึ่งผู้รับที่มีเครื่องรับอยู่ในรัศมีการกระจายเสียงในช่องความถี่เดียวกัน ก็สามารถรับภาพและเสียง ของสถานีได้ โดยใช้เพียงเสาอากาศที่มีขายอยู่ทั่วไป

87. เคเบิลทีวีเป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงในลักษณะใด
(1) Broadcasting
(2) Narrowcastion
(3) Close Circuit
(4) Open Circuit
ตอบ 2 หน้า 76 เคเบิลทีวี คือ การส่งสัญญาณภาพและเสียงเพื่อให้แพร่กระจายไปสู่ประชาชน จํานวนมากในลักษณะที่เรียกว่า Narrowcastion ซึ่งมีลักษณะแคบกว่า เพราะจะส่งไปยัง ปลายทางที่เจาะจงเฉพาะผู้เป็นสมาชิก และจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ผู้ส่งติดตั้งไว้ให้ เพื่อรับคลื่นหรือสัญญาณเฉพาะเคเบิลทีวีเท่านั้น

88. ปัจจุบันประเทศไทยส่งดาวเทียมไทยคมสู่วงโคจรแล้วจํานวนกี่ดวง
(1) 3 ดวง
(2) 4 ดวง
(3) 5 ดวง
(4) 7 ดวง
ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2536 ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ดวงแรก คือ ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) ขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งปัจจุบันดาวเทียมไทยคม
มีจํานวนทั้งสิ้น 7 ดวง ได้แก่
1. ไทยคม 1A
2. ไทยคม 2
3. ไทยคม 3
4. ไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์
5. ไทยคม 5
6. ไทยคม 6
7. ไทยคม 7 (ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557)

89. ระบบวิทยุโทรทัศน์ 1,125 เส้น และ 1,250 เส้น ซึ่งให้รายละเอียดของภาพดีกว่าระบบ 625 เส้น หรือ 525 เส้น หมายถึงระบบใด
(1) NTSC
(2) SECAM
(3) HDTV
(4) CCIR
ตอบ 3 หน้า 71 ในปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นระบบวิทยุโทรทัศน์ใหม่ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ซึ่งกําลังพัฒนาอยู่ ในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา คือ ระบบที่เรียกว่า HDTV (High Definition Television) เป็นระบบวิทยุโทรทัศน์ 1,125 เส้น และ 1,250 เส้น ซึ่งให้รายละเอียดของภาพดีกว่าระบบ
625 เส้น หรือ 525 เส้น ถึงประมาณ 2 เท่า

90. เคเบิลทีวีระบบดาวเทียม ส่งในย่านความถี่ตรงกับข้อใด
(1) CATV
(2) RSTV
(3) K-BAND
(4) C-BAND
ตอบ 4 หน้า 77 เคเบิลทีวีแบ่งตามลักษณะการส่งสัญญาณได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบการส่งวิทยุโทรทัศน์ทางสายเคเบิลโดยตรง (Community Antenna Television : CATV)
2. ระบบการส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ (Radiated Subscription Television : RSTV) เป็นระบบส่งสัญญาณแบบไมโครเวฟ และใช้ความถี่แบบ MMSD
3. เคเบิลทีวีระบบดาวเทียม จะใช้คลื่นไมโครเวฟเหมือนกัน แต่ในย่านความถี่สูงกว่าไมโครเวฟ ที่ส่งด้วย RSTV เรียกว่า ย่านความถี่ C-BAND หรือ KU-BAND

ข้อ 91. – 100. ข้อใดถูกให้เลือกหมายเลข 1 ข้อใดผิดให้เลือกหมายเลข 2

91 VOA เป็นระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร มีรายได้ จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. และ 59. ประกอบ

92. ญี่ปุ่นมีการกระจายเสียงสองระบบ คือ การกระจายเสียงที่ไม่มีการโฆษณาของ NHK และระบบ การกระจายเสียงเพื่อการค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

93. NHK มีลักษณะเหมือน PBS
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. และ 51. ประกอบ

94. ประเทศอังกฤษไม่มีระบบการกระจายเสียงเพื่อการค้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

95. ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีระบบการกระจายเสียงเพื่อสาธารณะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

96. ระบบสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกามีรูปแบบตามแนวคิดทฤษฎีสื่อสารมวลชนกับความรับผิดชอบของสังคม
ตอบ 1 หน้า 160 – 161 ระบบสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกาจะมีรูปแบบตามแนวคิดทฤษฎี สื่อสารมวลชนกับความรับผิดชอบของสังคมทําให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง โดยเสรีภาพในการรายงานและรับรู้ข่าวสารจะได้รับการรับรองไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งมีใจความสําคัญว่า รัฐสภาจะไม่ออกกฎหมายที่มาบั่นทอน เสรีภาพของสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนจะต้องเคารพสิทธิของบุคคลอื่นด้วย

97. สถานีวิทยุในยุคแรก ๆ ของสหรัฐอเมริกามีชื่อว่า สถานีวิทยุ KDKA
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

98. Independent Broadcasting Authority (IBA) เป็นองค์กรที่ควบคุมดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ของเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 หน้า 163, 169 ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) รัฐบาลอังกฤษได้จัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า Independent Television Authority (ITA) เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อการค้า แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Independent Broadcasting Authority (IBA) เพื่อให้ทําหน้าที่เป็นองค์กรควบคุมดูแลกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ของเอกชนในประเทศอังกฤษ

99 BBC ภาคภาษาต่างประเทศในระยะแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเทศในอาณานิคม ของตนเองทั่วโลก
ตอบ 1 หน้า 164 การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของอังกฤษ คือ สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาต่างประเทศ (BBC External Broadcasting Service) ซึ่งเริ่มส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นไปยังต่างประเทศ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เรียกว่า Empire Service ทั้งนี้เพราะ ในช่วงระยะ 6 ปีแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก

100. สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ของไทยปัจจุบันอยู่ในระหว่างทดลองแพร่ภาพในระบบดิจิตอล
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ในปัจจุบันสถานีวิทยุโทรทัศน์ส่วนใหญ่ของไทยได้แพร่ภาพในระบบดิจิตอล (ดิจิทัล) และเริ่มออกอากาศในส่วนกลางตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป หลังจากที่ก่อนหน้านั้นได้ทดลองแพร่ภาพในระบบดิจิตอลให้ประชาชนได้รับชมระหว่างวันที่ 1 – 24 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยจะให้การแพร่ภาพออกอากาศในระบบดิจิตอลครอบคลุม ทั้งประเทศภายใน 4 ปี

Advertisement