การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา ANT3057 สังคมและวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ข้อใดได้จากการศึกษาสังคมไพย
(1) โครงสร้างสังคม
(2) การควบคุมสังคม
(3) ประเพณีไทย
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 1, (คำบรรยาย) การศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องที่คนไทยศึกษาได้ตลอดเวลา เพราะเราคือคนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะจากสังคมไทยตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นสังคมและวัฒนธรรมไทยจึงอยู่ทั้งในตัวตนของเราและอยู่ล้อมรอบตัว ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน เวลา และสถานที่ ในทุก ๆ ด้าน เช่น วิถีชีวิตหรือความเป็นอยู่ ของคนไทย พฤติกรรมความคิด ทัศนะในการุมองโลก ค่านิยม ความเชื่อ ระบบภารศึกษา ประเพณีไทย ตลอดจนโครงสร้างสังคมและระบบการควบคุมสังคม เป็นต้น
2. ประเพณีสงกรานต์สะท้อนให้เห็นอะไร
(1) ลักษณะกายภาพของสังคม
(2) ความเป็นเอกภาพของสังคม
(3) ทัศนะในการมองโลกของคนไทย
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 1, 8, (คำบรรยาย) การศึกษางานบุญประเพณีของไทยจะสะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิด ความเชื่อ ทัศนะในการมองโลกของคนไทย และโครงสร้างทางสังคมไทย ซึ่งเป็นภาพสะท้อน ของสังคมและวัฒนธรรมไทยในอดีต
3. สังคมไทยประกอบด้วยอะไร
(1) คนหลายชาติพันธุ์ (2) คนไทยเท่านั้น (3) ชาวไร่ชาวนา (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 12, 15, (คำบรรยาย) สังคมไทยประกอบด้วยคนหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ จึงทำให้ คนไทยมีระบบความคิด ทัศนคติ และความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่เมื่อต้องมาอยู่รวมกันเป็น กลุ่มสังคมเดียวกันก็จะต้องอาศัยวัฒนธรรมไทยมาหล่อหลอมและขัดเกลาให้มีพฤติกรรม และแบบแผนการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงหรือเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้คนไทยมี ความสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง และอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมได้อย่างราบรื่นถาวร
4. เพราะเหตุใดคนไทยจึงสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง
(1) เพราะเป็นสัตว์สังคม (2) เพราะรู้จักคิดมีเหตุผล
(3) เพราะได้รับการขัดเกลาจากสังคมเดียวกัน (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
5. “กายกับใจ แยกจากกันไม่ได้” เปรียบได้กับอะไร
(1) สังคมกับเงินตรา
(2) สังคมกับวัฒนธรรม (3) สังคมกับเทคโนโลยี (4) สังคมกับอุตสาหกรรม
ตอบ2 หน้า 12, 14 สังคมกับวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมก็จะต้องสร้างวัฒนธรรมขึ้นเป็นแบบแผน พฤติกรรมของสังคม เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมชองคนในสังคมให้เป็นไป ตามกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน สังคมจึงจะดำรงอยู่ได้โดยมั่นคงราบรื่น ซึ่งความสัมพันธ์อันนี้ เปรียบเสมือนกายกับใจ หรือเหรียญ 2 ด้าน ที่จะขาดซึ่งกันและกันไม่ได้
6. สังคมรูปแบบใดกำหนดโดยใช้สิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์
(1) ชนบท-เมือง (2) ง่าย ๆ-ซับช้อน
(3) เกษตรฯ-อุตสาหกรรม (4) ประเพณี-ทันสมัย
ตอบ 1 หน้า 3 – 4, 6 – 7 นักวิชาการแบ่งรูปแบบของสังคมตามตัวกำหนดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้ 1. แบ่งตามสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต คือ สังคมชนบทกับสังคมเมือง
2. แบ่งตามระบบความสัมพันธ์ คือ สังคมง่าย ๆ (สังคมพื้นบ้าน) กับสังคมซับซ้อน
3. แบ่งตามวัฒนธรรม คือ สังคมดั้งเดิม (สังคมประเพณี) กับสังคมทันสมัย
4. แบ่งตามเทคโนโลยีที่ใช้ หรือวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของคน คือ สังคมเกษตรกรรม กับสังคมอุตสาหกรรม
7. เครือข่ายความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่รวมกัน เรียกว่าอะไร
(1) กลุ่มสังคม (2) โครงสร้างของสังคม
(3) พฤติกรรมของคนในสังคม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ . 2 หน้า 8-9 โครงสร้างทางสังคม คือ ระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่รวมกัน ในสังคม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีฐานะและคุณค่าที่แตกต่างกัน เช่น ความสัมพันธ์ ระหว่างเครือญาติ, กลุ่มนายทุน-กรรมกร, คนรวย-คนจน, ขุนนาง-ไพร่, เด็ก-ผู้ใหญ่ ฯลฯ
8. กลุ่มสังคมที่มีฐานะและคุณค่าแตกต่างกัน เป็นองค์ประกอบของอะไร
(1) สถาบันต่าง ๆ (2) โครงสร้างสังคม
(3) การจัดระเบียบทางสังคม (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
9. การส่งทอดความรู้สะดวกรวดเร็วเกิดจากข้อใด
(1) ภาษาที่เป็นระบบสัญลักษณ์ (2) วิทยาการเจริญก้าวหน้า
(3) สังคมมีเอกภาพ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 3, 11-12, (คำบรรยาย) การที่มนุษย์มีความสามารถในการสร้างและใช้ระบบสัญลักษณ์เช่น ภาษาพูดและภาษาเขียน รวมทั้งสื่อสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสัมพันธ์กัน อย่างราบรื่น ตลอดจนสามารถสะสม พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีจาก ชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ดังนั้นระบบสัญลักษณ์จึงถือเป็นพื้นฐาน ของวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม โดยระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ต่างกัน ก็จะทำให้การใช้ภาษาแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม
10. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม
(1) เกิดจากการเรียนรู้
(2) เป็นสากล (3) ส่งทอดโดยใช้สัญลักษณ์ (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 10 – 11, (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม ได้แก่
1. เป็นผลผลิตจากระบบความคิดของมนุษย์ หรือเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์
2. เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือเกิดจากการกระทำโต้ตอบกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
3. มีองค์ประกอบของความคิด โลกทัศน์ ค่านิยมทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของ พฤติกรรม
4. เป็นมรดกทางสังคมที่ส่งต่อจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง
5. มีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ คือ ภาษา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารและส่งทอดความรู้ต่าง ๆ
6. มีลักษณะเป็นสากล ใช้ในระดับกว้าง หรืออาจใช้ในระดับแคบเฉพาะกลุ่มคนก็ได้ ฯลฯ