การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL4321 การบริหารร่วมสมัย

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ

ข้อ 1 คําว่า “ยุทธศาสตร์” กับ “กลยุทธ์” แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้เป็นใคร เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์การเพื่อนําไปกําหนดกลยุทธ์เรียกว่าเทคนิคอะไร จงอธิบาย หลักการของเทคนิคนั้นมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

คําว่า “ยุทธศาสตร์” หรือ “กลยุทธ์” ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์ มาจากคําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือ ยุทธวิธีหลักในการรบเพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ายุทธศาสตร์กับกลยุทธ์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมาย เหมือนกัน

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์มีหลายท่าน เช่น Michael E. Porter, Bracker, Chandler และ Arsoff

ตัวอย่างเช่น Michael E. Porter ได้เสนอแนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยกล่าวว่า การวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขันกับคู่แข่ง ผู้บริหารจะต้องคํานึงถึง ปัจจัย 5 ประการ คือ

1 อัตราของการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น

2 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด

3 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการทดแทน

4 อํานาจต่อรองของผู้จัดส่ง

5 อํานาจต่อรองลูกค้า ทั้งนี้ Michael E, Porter เห็นว่า การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ

 

1 การทําให้ต้นทุนต่ำ (Low Cost)

2 การทําให้สินค้า/บริการมีความแตกต่าง (Differentiation) หรือทําให้ดีกว่าคู่แข่ง เทคนิคการวิเคราะห์องค์การ

ก่อนที่องค์การจะกําหนดกลยุทธ์จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาทรัพยากรภายในองค์การ หรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดแข็ง/จุดเด่นขององค์การ องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น

2 w = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อน้อย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 T = Threats คือ อุปสรรคหรือภยันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดภยันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ

ตัวอย่างของการใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์องค์การ เช่น

การใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์กรุงเทพมหานครเพื่อนําไปใช้กําหนดกลยุทธ์การพัฒนา การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร

จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

 

จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 การบริหารราชการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

 

โอกาสของกรุงเทพมหานคร

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรเป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงเครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

 

อุปสรรคของกรุงเทพมหานคร

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ

2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาวและกัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

ข้อ 2 เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษานําแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษามาปรับใช้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมทั้งยกตัวอย่างตัวชี้วัด 1 องค์ประกอบ

แนวคําตอบ

เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษานําแนวคิดการประกันคุณภาพ การศึกษามาปรับใช้

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนา อาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับ คุณวุฒิและสาขาวิชา

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ

1 ระบบ ISO 9001 : 2015 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานักเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2 ระบบ OA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) กําหนด

ตัวอย่างองค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

ระบบ QA (Quality Assurance) เป็นระบบที่ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบ 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตัวอย่างขององค์ประกอบ เช่น

องค์ประกอบที่ 2 : การเรียนการสอน สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มีความพร้อมเกี่ยวกับหลักสูตร อาจารย์ กระบวนการเรียนการสอน นักศึกษาและปัจจัยสนับสนุน การเรียนการสอน

 

 

ข้อ 3 เครื่องมือการบริหารสมัยใหม่มีหลายแนวคิด อาทิ 5 ส. (5 S.), การควบคุมคุณภาพ (Q.C.),การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (T.Q.M.), การรือปรับระบบ (Reengineering), ระบบมาตรฐาน คุณภาพสากล (ISO 9000), ระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทย (P.S.O.) และแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น ให้เลือกอธิบาย 1 แนวคิด หรือหลักการบริหารสําคัญ 1 หลักการมาให้เข้าใจ อย่างชัดเจน (การตอบให้อธิบายความเป็นมา นักคิด หลักการสําคัญของแนวคิดนั้น)

แนวคําตอบ

แนวคิด 5 ส. (5 S.)

5 ส. เป็นแนวคิดในการจัดระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทํางานเพื่อให้เกิดสภาพการทํางานที่ดี สะดวก ปลอดภัย และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือเป็นเทคนิคในการจัดระบบระเบียบสถานที่ทํางานให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด

แนวคิด 5 ส. เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่น มีปัญหาเรื่องการผลิตสินค้าคุณภาพต่ำและใช้ต้นทุนสูง จึงได้มีการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาต่าง ๆ พบว่า ปัญหา เกิดจากการไม่มีระเบียบในกระบวนการผลิต ไม่มีการแยกของดีของเสีย ขาดการจัดระบบ เป็นต้น จึงทําให้เกิด แนวคิดตามหลักการพื้นฐานของ 5 ส. ขึ้น

สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิด 5 ส. มาใช้ประมาณปี พ.ศ. 2534 โดยมีหน่วยงานที่นํามาใช้ เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลเลิศสิน สํานักนายกรัฐมนตรี สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สํานักงาน ก.พ.) บริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น

ปรัชญาของ 5 ส.

Mr. Nakagawa Masakatsu ได้กําหนดปรัชญาของการทํา 5 ส. ไว้ คือ มุ่งเน้นการลดความ สิ้นเปลืองและความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการทํางาน เพื่อนําไปสู่การผลิตที่สมบูรณ์แบบ (Skill Management Method)

องค์ประกอบของ 5 ส. กิจกรรม 5 ส. มาจากคําว่า 5 5. ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย

  1. Seiri (เซริ) สะสาง ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Screen หมายถึง การคัดแยกและกําจัด เอกสารหรือสิ่งของที่ไม่จําเป็นออกจากสถานที่ทํางาน เพื่อลดจํานวนเอกสารและพื้นที่จัดเก็บ เช่น บนโต๊ะทํางาน ไม่ควรวางของที่ไม่จําเป็น เป็นต้น
  2. Seiton (เซตง) สะดวก ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Select หมายถึง การจัดระบบเอกสาร และสิ่งของจําเป็นในการใช้งานไม่ว่าบนโต๊ะทํางาน ภายในตู้เอกสาร หรือบนชั้นวางของให้เป็นระเบียบ สามารถ หยิบใช้ได้สะดวก และประหยัดเวลาในการค้นหา ดังสุภาษิตไทยที่ว่า “หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา”
  3. Selso (เซโซ) สะอาด ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Smooth หมายถึง การทําความสะอาด สถานที่ทํางาน ดูแลบํารุงรักษาเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ และพร้อมที่จะใช้งานได้ ตลอดเวลา
  4. Selketsu (เซแคทซี) สุขลักษณะ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Sanitary หมายถึง การดูแล รักษาให้มีการทํา 3 ส. แรกอย่างต่อเนื่องโดยการทําซ้ำ ทําบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดสุขลักษณะที่ดีในสํานักงาน
  5. Shitsuke (ซิซึเกะ) สร้างวินัยหรือสุขนิสัย ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Self Discipline หมายถึง การอบรมพนักงานทุกคนให้มีพฤติกรรมที่ดี เคารพกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน เมื่อปฏิบัติไปนาน ๆ ก็จะ เคยชินกลายเป็นผู้มีวินัยด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ

 

ประโยชน์ของการทํากิจกรรม 5 ส. มีดังนี้

1 ทําให้สถานที่ทํางานสะอาดและมีระเบียบมากขึ้น

2 ทําให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

3 ทุกคนทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานสามารถเห็นการปรับปรุงได้ชัดเจน

4 ปลูกฝังให้พนักงานมีระเบียบวินัย

5 ทุกคนมีความภาคภูมิใจในความเป็นระเบียบเรียบร้อย

6 ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงเรื่องอื่น ๆ ด้วย

7 เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน

8 ช่วยในการบํารุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ

9 ทําให้ภาพพจน์ของหน่วยงานดีขึ้น

 

Advertisement