การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์
“คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ปัญหาในการวิจัยที่เรียกว่า “Plagiarism” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
(1) SPSS
(2) อักขราวิสุทธิ์
(3) Microsoft Word
(4) Acrobat Reader
(5) Google
ตอบ 2 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 102 การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง หรือปัญหาในการวิจัยที่เรียกว่า “Plagiarism” เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยหรือผู้อ่านที่จะนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ต้องพึงระวังอย่างมาก ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงอย่างมากในวงวิชาการ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจสอบสามารถกระทำได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เช่น โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือโปรแกรมเทิร์น อิท อิน (Turn it in) เป็นต้น
2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) ข้อมูลของผู้วิจัยและคณะ
(2) ข้อมูลของชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(3) ข้อมูลแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย
(4) ข้อมูลแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ
(5) ข้อมูลแสดงรายชื่อของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ
ตอบ 5 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 72, (คำบรรยาย) “ส่วนประกอบตอนต้น” ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ได้แก่ 1. ปกหลัก โดยจะระบุถึงคำว่า “รายงานการวิจัย” ชื่องานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อของผู้วิจัยและคณะ ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด ชื่อแหล่งทุน และปีที่เผยแพร่งานวิจัย 2. หน้าปกใน จะมีเนื้อหารายละเอียดเช่นเดียวกับปกหลัก 3. หน้าอนุมัติ จะระบุถึงคำอนุมัติจากต้นสังกัด 4. บทคัดย่อภาษาไทย 5. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 6. หน้าประกาศคุณูปการหรือกิตติกรรมประกาศ เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย 7. สารบัญ จะระบุถึงหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อยอย่างครบถ้วน 8. สารบัญตาราง (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของตาราง 9. สารบัญภาพ (ถ้ามี) จะแสดงหัวข้อและเลขที่หน้าของรูปภาพ 10. คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อที่ใช้ในการวิจัย
3. ข้อใดต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนำเสนอการวิจัยด้วยวาจา
(1) 5 – 10 นาที
(2) 15 – 20 นาที
(3) 20 – 30 นาที
(4) 45 – 60 นาที
(5) 60 นาทีขึ้นไป
ตอบ 2 คำบรรยายจากเอกสาร: หน้า 106 การนำเสนอด้วยวาจา ผู้วิจัยจำเป็นต้องเตรียมสไลด์สำหรับการนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลำดับความคิดและเนื้อหาสำหรับผู้นำเสนอ โดยทั่วไปแล้วผู้นำเสนอมักจะถูกกำหนดให้นำเสนอในช่วงระยะเวลาเพียง 15 – 20 นาทีเท่านั้น
4. ระเบียบวิธีการวิจัยดังกล่าวเป็นระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ หรือเป็นระเบียบแบบผสม คือบทใดของรายงานการวิจัย
(1) บทที่ 1
(2) บทที่ 2
(3) บทที่ 3
(4) บทที่ 4
(5) บทที่ 5
ตอบ 3 หน้า 83 – 93, (คำบรรยาย) การเขียนรายงานการวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา คำถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ “สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิดของการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้การเขียนวิธีดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญทั้งต่อการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และแบบผสม
บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยจะเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5. “นายกนกศักดิ์ให้ความสำคัญอย่างมากกับการตรวจสอบการสะกดคำและการใช้ภาษาราชการ เขาตรวจสอบงานวิจัยด้วยตนเองทุกหน้า หน้าละสามรอบ” การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้
(1) ความเป็นเอกภาพ
(2) ความถูกต้อง
(3) ความสำรวมระมัดระวัง
(4) ความตรงประเด็น
(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ
ตอบ 2 หน้า 100, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความถูกต้อง” หมายถึง การที่ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเนื้อหาของการวิจัยในทุกส่วนทุกวรรคตอนให้ถูกต้องทั้งตามหลักวิชาการ หลักเหตุผล และหลักไวยากรณ์ โดยจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการตรวจสอบการสะกดคำและการใช้ภาษาราชการ เพราะการสะกดคำผิดแม้แต่ที่เดียวหรือหลายที่นั้น อาจส่งผลให้ความหมายของคำและประโยคเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังทำให้คุณค่าของงานวิจัยด้อยลงตามไปด้วย
6. “บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร” มีความสัมพันธ์กับหน่วยงานในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) TCI
(2) TGI
(3) NECTEC
(4) สป.อว.
(5) TDRI
ตอบ 1 หน้า 76 – 77, (คำบรรยาย) บทความวิจัย (Research Article) หรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียดขนาดสั้นและกะทัดรัด โดยย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสั้น โดยทั่วไปแล้วมักมีความยาวอยู่ที่ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI)
7. นางสาวิกาไม่แน่ใจว่าเครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์กันแน่ จากประเด็นที่ว่านี้ เธอควรพิจารณาเนื้อหาดังกล่าวปรากฏได้จากบทใด
(1) บทที่ 1 บทนํา
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
8. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป คือบทใดของรายงานการวิจัย
(1) บทที่ 1
(2) บทที่ 2
(3) บทที่ 3
(4) บทที่ 4
(5) บทที่ 5
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
9. นายแรมโบ้ทําวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ การทําวิจัยของนายแรมโบ้คือการวิจัยแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 1 หน้า 17, (คําบรรยาย) การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจัยในทางเชิงทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท, การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
10. นางวิชุดาต้องการทราบว่า งานวิจัยในหัวข้อใกล้เคียงกันได้ผลการศึกษาแบบใด เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ใน
(1) บทที่ 1 บทนํา
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 5 หน้า 91, (คําบรรยาย) บทที่ 5 บทสรุป (การสรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ) ของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์นั้นพบว่า การอภิปรายผลเป็นการเขียนเพื่อประเมินและขยายความผลการวิจัยที่ได้ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้นั้นน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และเป็นจริง โดยชี้ให้เห็นว่าผลการศึกษานั้นสอดคล้องกับงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้าอย่างไร หรือมีแตกต่างจากผลการศึกษาของงานเราอย่างไร ซึ่งผู้วิจัยจะต้องขยายความต่อว่าเพราะเหตุใดหรือปัจจัยใดที่อาจส่งผลให้ผลการศึกษาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นอื่นในหัวข้อใกล้เคียงกัน อีกทั้งจะต้องเขียนตอบวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน หากมีการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรเสนอแนะเพื่อให้ผู้ที่สนใจทําปัญหาวิจัยคล้ายคลึงกันได้เห็นประเด็นที่ควรศึกษา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มให้งานวิจัยในหัวข้อนั้นมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
11. “วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัย” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Research Methodology
(2) Literature Review
(3) Research Method
(4) Conclusion
(5) Approach
ตอบ 3 หน้า 16 – 17 วิธีการวิจัย (Research Method) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคําตอบ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคําตอบต่อปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ง ๆ
12. หัวข้อวิจัยเรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในการนําเสนอหัวข้อวิจัย
(1) นายสาธิตนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 กับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2560”
(2) นายจุรินทร์นําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “นโยบายการประกันราคาสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร ของพรรคประชาธิปัตย์”
(3) นายเฉลิมชัยนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์”
(4) นายไตรรงค์นําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “พัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยหลังปี พ.ศ. 2540”
(5) นายชวนนําเสนอหัวข้อวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบอบปกครองระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ”
ตอบ 4 หน้า 49, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลาย ตามลําดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ที่สําคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจําเป็นที่จะต้อง ย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อนหน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหน เป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น พัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทย หลังปี พ.ศ. 2540, พัฒนาการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสังคมไทย เป็นต้น
13. นายศิธาทําวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยข้อมูลจากเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ การทําวิจัยของนายศิธาคือการวิจัยแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 3 หน้า 19, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยของข้อมูล ที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทางการเมือง ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็น ในเรื่องต่าง ๆ ชีวประวัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
14. นายประยุทธ์ต้องการได้ข้อมูลการออกมาชุมนุมเรียกร้องให้มีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ไปอยู่กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่ามีผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลออกมาชุมนุมเรียกร้อง จํานวนเท่าใด นายประยุทธ์ต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) การสังเกต (Observation) เป็นการเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยออกไปรับรู้ โดยตรงจากปฏิกิริยาท่าทางหรือเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งหรือ ที่ใดที่หนึ่ง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของตัวผู้วิจัยเอง ตัวอย่างเช่น การสังเกตว่ามีผู้อํานวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลออกมาชุมนุมเรียกร้องจํานวนเท่าใด เป็นต้น
15. คําว่า “Appendix” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร
(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสําคัญ
(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ
(4) เอกสารแสดงข้อมูลเชิงสถิติและผลการคํานวณของโปรแกรม SPSS
(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย
ตอบ 4 หน้า 75, (คำบรรยาย) ภาคผนวก (Appendix) ซึ่งปรากฏในส่วนท้ายของ “รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์” จะเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิ่มเติมของรายงานการวิจัย ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความจากกฎหมายฉบับเต็ม เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงสถิติและ ผลการคำนวณของโปรแกรม SPSS หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น
16. นายสุชัชวีร์ทำวิจัยการสำรวจจำนวนรถแท็กซี่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครภายหลังการประกาศขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การทำวิจัยของนายสุชัชวีร์คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสำรวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 2 หน้า 18 – 19. (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล พื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การสำรวจผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งของไทยในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ว่ามีผู้มาใช้สิทธิกี่คน ไม่มาใช้สิทธิที่คน, การสำรวจ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การสำรวจจำนวนรถแท็กซี่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครภายหลังการประกาศขึ้นราคาน้ำมันของรัฐบาล เป็นต้น
17. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การเตรียมตัวในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ที่ถูกต้อง
(1) นายพรเทพเลือกใช้สีของอักษรในโปสเตอร์ที่อ่านง่ายที่สุด
(2) นายพรพันธ์ตรวจสอบขนาดพื้นที่ติดโปสเตอร์ก่อนสั่งพิมพ์
(3) นายพรศักดิ์สอบถามผู้จัดงานถึงคุณลักษณะของผู้เข้าชม
(4) นายพรทิวายืนประจำจุดแสดงโปสเตอร์ตั้งแต่เริ่มงาน
(5) นายพรหล้าสอบถามผู้จัดงานถึงความสนใจของผู้เข้าชม
ตอบ 5 หน้า 104 – 105, (คำบรรยาย) การเตรียมตัวในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ได้แก่ 1. ผู้วิจัยจำเป็นต้องทราบถึงสถานที่นำเสนอ ขนาดพื้นที่ติดโปสเตอร์ที่ผู้จัดงานกำหนดให้ วันและเวลาในการนำเสนอ รูปแบบของงาน จำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนค่าใช้จ่าย 2. ผู้วิจัยอาจถูกกำหนดให้ทำหน้าที่เพียงติดโปสเตอร์เท่านั้น ในขณะที่บางงานผู้นำเสนอ อาจต้องมาประจำยังจุดแสดงโปสเตอร์ของตนเองตามวันและเวลาที่กำหนด 3. ผู้วิจัยต้องเลือกเนื้อหาสาระของงานวิจัยให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้เข้าชม 4. ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สีตัวอักษร สีพื้นหลัง ประเภทและขนาดของตัวอักษร เป็นต้น
18. ผลการศึกษา คือบทใดของรายงานการวิจัย
(1) บทที่ 1
(2) บทที่ 2
(3) บทที่ 3
(4) บทที่ 4
(5) บทที่ 5
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
19. “Objective, Value-Free, Verify, Explanation, Predictive” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Research
(2) Resolution
(3) Result
(4) Resurne
(5) Response
ตอบ 1 หน้า 3, 22, (คำบรรยาย) การวิจัย (Research) คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ หรือ การค้นหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้
โดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ และเน้นภาวะวิสัย (Objective) โดยความรู้ต้องสามารถ สังเกตได้อย่างมีระบบ สามารถพิสูจน์ได้ มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการพิสูจน์ (Verify) และการอธิบาย (Explanation) ตลอดจนการทํานาย (Predictive)
20. “นางสาวชมพู่หลีกเลี่ยงการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ในการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์” การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้
(1) ความเป็นเอกภาพ
(2) ความถูกต้อง
(3) ความสำรวมระมัดระวัง
(4) ความตรงประเด็น
(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ
ตอบ 3 หน้า 101, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความสำรวมระมัดระวัง” หมายถึง การที่ผู้วิจัยได้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในการนำเสนอผลงานวิจัย โดยเขียนรายงานให้อยู่ในขอบเขตของข้อมูลที่ปรากฏอยู่จริง และใช้ข้อมูลดังกล่าวอย่างครบถ้วน ไม่ควรกล่าวเกินความเป็นจริงหรือเกินกว่าสิ่งที่ได้ศึกษามา รวมทั้งหลีกเลี่ยงการพาดพิงถึงบุคคลที่ 3
21. “สถาบันพระปกเกล้าประกาศให้ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ ประจำปีงบประมาณ 2565” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 2 หน้า 65 โครงร่างการวิจัย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “Research Proposal” ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกี่ยวกับแผนการของเรื่องที่จะทำวิจัยไว้ล่วงหน้าในการทำวิจัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยเพื่อฝึกฝน หรือทำเป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis) เพื่อขอรับปริญญาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือทำวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุน โดยผู้วิจัยจะต้องจัดทำโครงร่างการวิจัยทุกครั้ง เพื่อให้กรรมการหรือผู้สอนพิจารณาโครงร่างเบื้องต้นก่อนที่จะทำการวิจัย
22. หัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์สถาบันในการนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์
(1) นายอนุทินเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “ประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของโรคระบาด : ศึกษากรณีโรคไข้หวัดสเปน”
(2) นายเนวินเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของกลุ่มทุนระบบยาในสาธารณสุขไทย”
(3) นายศักดิ์สยามเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พัฒนาการขนส่งมวลชนของไทย : ศึกษากรณีขนส่งมวลชนระบบราง”
(4) นางสาวมนัญญาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาระบบรัฐสภาเปรียบเทียบ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ”
(5) นายชาดาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางการเมืองในการเมืองไทย : ศึกษากรณีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ”
ตอบ 4 หน้า 50 – 51, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เป็นตัวกำหนดให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ออกมา ซึ่งแนวการวิเคราะห์นี้เลือกที่จะศึกษาเป็นรายประเทศ หรือนำสองประเทศหรือหลายประเทศมาทำการเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง องค์กร และสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น ๆ มาร่วมด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบรัฐสภาไทยกับระบบรัฐสภาอังกฤษ เป็นต้น
23. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย
(1) การตั้งสมมติฐานการวิจัย
(2) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย
(3) การตั้งคําถามการวิจัย
(4) การทบทวนวรรณกรรม
(5) การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัย (Designing Research) ได้แก่ การตั้งคําถามการวิจัย (Research Question), การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Research Objective), การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review), การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework), การเลือกวิธีการในการเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นต้น
24. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกําหนดตัวแปรในการวิจัย
(1) การค้นหาตัวแปรจะต้องมาจากการสํารวจวรรณกรรม
(2) การวิจัยที่ดีจะต้องมีตัวแปรที่น้อยที่สุดที่จะตอบปัญหาการวิจัยได้
(3) ผู้วิจัยควรคัดเลือกเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยเท่านั้น
(4) ตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปรเป็นตัวกําหนดวัตถุประสงค์
(5) งานวิจัยในอดีตสามารถนํามาใช้กําหนดตัวแปรในการวิจัยได้
ตอบ 4 หน้า 124 (คําบรรยาย) การกําหนดตัวแปรในการวิจัยนั้นจะขึ้นอยู่กับปัญหาการวิจัยและกรอบความคิด ซึ่งการค้นหาตัวแปรจะต้องมาจากการสํารวจวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือผลงานวิจัยในอดีตที่จะนํามาใช้กําหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง การวิจัยที่ดีจะต้องมีตัวแปรที่น้อยที่สุดที่จะตอบปัญหาการวิจัยได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องคัดเลือกตัวแปรที่ไม่สําคัญออกไป หรือควรคัดเลือกเฉพาะตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยเท่านั้น ซึ่งจะสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการวิจัยด้วย กล่าวคือ วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกําหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปร
25. นายหมอปลาทําวิจัยเรื่องนโยบายการปราบปรามทุจริตเงินทอนวัด หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนการวิจัยต่อไปที่ต้องทําคือขั้นตอนใด
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 4 หน้า 3 – 4 (คําบรรยาย) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการวิจัย โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและเกิด ความสงสัยจนนําไปสู่การตั้งคําถามการวิจัยในสิ่งที่สนใจ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ตรงกับ เนื้อหาของบทนําในการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ที่มาและความสําคัญของปัญหา”
2. การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) เป็นขั้นตอนหลังจากตั้งคําถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้องคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทําจะไม่สามารถกําหนดแนวทางในการค้นหา คําตอบได้
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เช่น การสัมภาษณ์ การแจกแบบสอบถาม การสังเกต การทดลอง เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการตอบคําถามของการวิจัย เพื่อพิจารณาว่า เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่
5. การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในข้างต้นนั้นถูกหรือผิด
26. “นายกิตติต้องการหาสมการโมเดลเชิงโครงสร้างด้วยตัวแปรแบบใหม่ในงานวิจัยของเขา” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด
(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 110, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ซึ่งได้แก่ ฐานคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการศึกษาแบบใหม่ หรือเครื่องมือในการศึกษาแบบใหม่ โดยงานวิจัยประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับนักคิด นักปรัชญา และการถกเถียง ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของงานวิจัยลักษณะนี้ก็คือ การมีความเป็นอิสระ การมีระเบียบวิธีที่เข้มข้น การมีวงการหรือชุมชนวิชาการในการตรวจสอบ ตัวอย่างเช่น การวิจัยเพื่อต้องการหาสมการโมเดลเชิงโครงสร้างด้วยตัวแปรแบบใหม่ เป็นต้น
27. นายมงคลกิตติ์ทำวิจัยเรื่องปัญหากระบวนการสืบสวนสอบสวนของตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี : กรณีศึกษาคดีแตงโม และมีการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือ
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ
28. ตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน “การบริหาร” มากที่สุด
(1) Executive Summary
(2) Abstract
(3) Research Design
(4) Interim Report
(5) Vitae
ตอบ 1 หน้า 97 – 98, (คำบรรยาย) บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) เป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยที่กะทัดรัด ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาการวิจัยทั้งหมด โดยจะมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารซึ่งมีเวลาไม่มาก สามารถทำความเข้าใจงานวิจัยทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ดังนั้นการเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหารของผู้วิจัยจึงมีคุณูปการอย่างมากในการช่วยให้ผู้บริหาร ซึ่งมีข้อจำกัดคือ “เวลา” ได้ทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด โดยไม่ต้องใช้เวลาอ่านรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือบทความฉบับเต็ม
29. ที่มาและความสำคัญของปัญหา ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Conclusion
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Literature Review
(5) Problem Statement
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ
30. นางสุนิสาต้องการทราบถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูลและการเก็บข้อมูลของนายโกศลว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด
(1) บทที่ 1 บทนำ
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
31. คำว่า “รายงานการวิจัย” สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของเอกสาร
(2) เอกสารแสดงแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ
(3) เอกสารแสดงประวัติผู้วิจัยและคณะ
(4) เอกสารในการเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
(5) เอกสารแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย
ตอบ 4 หน้า 70, (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ได้แก่
1 เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม” หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ในวงวิชาการ
2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัยแล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น
3 เพื่อบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว
4 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ “สิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น
32. การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อใดของการเขียนรายงานการวิจัยมากที่สุด
(1) เพื่อเผยแพร่ข้อค้นพบใหม่และนวัตกรรม
(2) เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้
(3) เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง
(4) เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางทรัพย์สินทางปัญญา
(5) เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
ตอบ 2 หน้า 70, (คําบรรยาย) “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” หมายถึง งานวิจัยที่ทําเสร็จจนสมบูรณ์หรือเสร็จสิ้นโครงการแล้ว แต่ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง หรือมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในวงวิชาการ แต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวควรมีวัตถุประสงค์ในการเขียนรายงานการวิจัย ก็คือ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้
33. “เปรียบเทียบแว่นตาใช้การมองดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Research Methodology
(2) Literature Review
(3) Research Method
(4) Conclusion
(5) Approach
ตอบ 5 หน้า 43 – 44, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หรือกรอบการวิเคราะห์ เป็นเครื่องมือในการมองปรากฏการณ์ ซึ่งเปรียบเสมือนแว่นตาที่ใช้การมองดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ วิธีการมองปรากฏการณ์ใด ๆ โดยผ่านกรอบการวิเคราะห์นั้นมันจะเหมือนกับการใส่แว่นสีต่าง ๆ หรือด้วยเลนส์ขนาดต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เรามองเห็นปรากฏการณ์นั้นชัดขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองด้วย ทั้งนี้เพราะกรอบการวิเคราะห์หนึ่งจะมาพร้อมกับวิธีการวิจัยหรือวิธีการศึกษาปรากฏการณ์โดยอัตโนมัติ
34. นายสนธยามีความสนใจที่จะทําวิทยานิพนธ์หัวข้อบทบาททางการเมืองของกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา โดยตั้งคําถามในสิ่งที่มีความสนใจ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
35. นายพิธาทําวิจัยเรื่องการปรับตัวของราคาพลังงานที่สูงขึ้นในช่วงสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ขั้นตอนการวิจัยขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทําคือขั้นตอนใด
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
36. “นายเอกเขียนงานวิจัยด้วยการนําเสนอข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะขัดกับความเข้าใจ ของนายเอกก็ตาม” การกระทําดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้
(1) ความเป็นเอกภาพ
(2) ความถูกต้อง
(3) ความสํารวมระมัดระวัง
(4) ความตรงประเด็น
(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคํา
ตอบ 4 หน้า 101, (คําบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความตรงประเด็น” หมายถึง การที่รายงานการวิจัยมีความตรงไปตรงมา สามารถสะท้อนให้เห็นถึงจุดเน้นที่ผู้วิจัยต้องการ ได้เป็นอย่างดี และผู้วิจัยต้องสามารถนําเสนอสิ่งที่ได้ไปทําการศึกษามาเพื่อนํามาสู่การถ่ายทอด ได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นายเอกเขียนงานวิจัยด้วยการนําเสนอข้อมูลที่ตรงกับความ เป็นจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะขัดกับความเข้าใจของตนเองก็ตาม เป็นต้น
37. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การเขียนองค์ประกอบของบทคัดย่อที่ถูกต้อง
(1) นาย ก. เขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยครบทุกข้อ
(2) นาย ข. เขียนอธิบายถึงจํานวนประชากรและขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
(3) นาย ค. เขียนอธิบายผลการศึกษาและข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์
(4) นาย ง. เขียนบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิง
(5) นาย จ. เขียนถึงผลของการศึกษา ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ
ตอบ 4 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) บทคัดย่อที่ดี ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ได้แก่ 1. การกล่าวถึงปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ครบถ้วน เพื่อชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่า เพราะเหตุใดหัวข้อวิจัยชิ้นนี้จึงควรคุณค่าแก่การศึกษา 2. การกล่าวถึงวิธีการในการดําเนินการวิจัย เพื่อชี้ให้เห็นว่าตามวัตถุประสงค์ในข้างต้น โดยเขียนอธิบายถึงจํานวนประชากรและขนาดของกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยมีการนําเสนอเครื่องมือวิจัยหรือวิธีการวิจัย ในการค้นหาคําตอบเหล่านั้นได้อย่างไร 3. การกล่าวถึงผลของการศึกษา ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ และข้อเสนอแนะ เพื่อชี้ให้อ่าน ได้เห็นภาพของงานวิจัยอย่างรวดเร็วหรือทราบสาระสังเขปของงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งมีประโยชน์ อย่างมากในเชิงวิชาการ
38. นางลลิตาต้องการทราบถึงขอบเขตของการวิจัยว่า ผู้วิจัยทําวิจัยในช่วงเวลาใดถึงเวลาใด เนื้อหาดังกล่าว ปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด
(1) บทที่ 1 บทนํา
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
39. “นางศิริรักษ์ทําวิจัยเพื่อสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาล เพื่อนําไปสู่การแก้ไข ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ให้ได้ภายในสามปี” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด
(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) งานวิจัยเชิงนโยบาย เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือสนับสนุน ทางเลือกเชิงนโยบาย (Policy Choice) ของรัฐบาล ตลอดจนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพื่อนํา
ไปสู่การประเมินผลกระทบและการผลักดันผลสัมฤทธิ์ของนโยบายสาธารณะ ตัวอย่างเช่น แนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร, แนวทางในการพัฒนาพุน้ําร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน เป็นต้น
40. รายงานการวิจัยเรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์จิตวิทยาในการทํารายงานการวิจัย
(1) นายวิชญ์ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบบการเลือกตั้งระหว่างระบบเขตกับ ระบบบัญชีรายชื่อ”
(2) นายธรรมนัสทํารายงานการวิจัยเรื่อง “นโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองไทย : ศึกษากรณี พรรคเศรษฐกิจไทย”
(3) นางสาวธนพรทํารายงานการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดพะเยา”
(4) นายบุญสิงห์ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “วิวัฒนาการของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย”
(5) นายไผ่ทํารายงานการวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองของกลุ่มการเมืองในพรรคพลังประชารัฐ”
ตอบ 3 หน้า 47 แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (Psychological Approach) มีความเชื่อพื้นฐานว่า สาเหตุในการกระทําเรื่องใด ๆ ของมนุษย์ทุกคนนั้นมีที่มาจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึ่งมองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การตัดสินใจของผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, การออกไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ของกลุ่มเยาวชน ปลดแอก เป็นต้น
41. จากภาพด้านล่างนี้ เป็นการสํารวจ “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการใช้รถโดยสารสาธารณะ” ตารางดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงมาตรวัดแบบใด
ข้อ | ความคาดหวัง | มากที่สุด | มาก | ปานกลาง | น้อย | น้อยที่สุด |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ความสะอาด | |||||
2 | ความปลอดภัย | |||||
3 | ความสะดวก | |||||
4 | ความประหยัด |
(1) Rating Scale
(2) Likert Scale
(3) Sum Meted Scale
(4) Guttman Scale
(5) Semantic Differential Scale
ตอบ 2 หน้า 147 (คําบรรยาย) Likert Scale เป็นมาตรวัดที่มีผู้นิยมมากที่สุด และใช้กันอยู่แพร่หลาย เพราะความง่ายในการสร้าง โดยจะเรียงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งข้อความแต่ละ ข้อความจะมีตัวเลือกในการตอบได้ 5 ทาง เช่น การสํารวจ “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อ การใช้รถโดยสารสาธารณะ” ด้วยการกําหนดให้ คาดหวังมากที่สุด คือ 5, คาดหวังมาก คือ 4, คาดหวังปานกลาง คือ 3, คาดหวังน้อย คือ 2 และคาดหวังน้อยที่สุด คือ 1 เป็นต้น
42. นางสาวรสนาทําวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ําท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การทําวิจัยของนางสาวรสนา คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงอธิบายหรือการวิจัยเชิงวิเคราะห์ เป็นการวิจัยที่จะวิเคราะห์ความเกี่ยวกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปว่าส่งผลอย่างไรกัน กล่าวคือ
การวิจัยนี้จะมุ่งอธิบายว่า ทำไมปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ถึงเกิดขึ้น มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงเป็น เช่นนั้น ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องสาเหตุการเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, การวิจัย เรื่องสาเหตุการเกิดรัฐประหารบ่อยครั้งของประเทศไทย เป็นต้น
43. นายอิทธิพลต้องการทราบว่าเพราะเหตุใดผู้วิจัยจึงเลือกศึกษาประเด็นการขาดแคลนแหล่งน้ำในภาคอีสาน แทนที่จะเป็นภาคเหนือ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด
(1) บทที่ 1 บทนำ
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
44. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงประโยชน์ของ “ตัวแปรเชิงพัฒนา” ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
(1) ตัวแปรที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้วิจัย
(2) ตัวแปรที่ใช้ในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้า
(3) ตัวแปรมาตรฐานที่ต้องมีในทุกการวิจัย
(4) ตัวแปรที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะของการวิจัยต่อไป
(5) ตัวแปรที่จะนำไปใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา
ตอบ 5 หน้า 125 ตัวแปรเชิงพัฒนา หมายถึง ตัวแปรที่จะทำให้คำตอบของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือ ที่จะนำไปใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา ว่าต้องการพรรณนา อธิบาย ทำนาย หรือควบคุม ตัวอย่างของตัวแปรประเภทนี้ ได้แก่ ความสามารถในการบริหารของหน่วยงานของรัฐ, การมี ส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
45. ข้อสงสัยที่จะนำมาสู่การทำวิจัย ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 4 หน้า 20 – 22, (คำบรรยาย) ขั้นตอนของการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ ซึ่งในทางปฏิบัติ เราจะต้องตั้งคำถามการวิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เกิดข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง ๆ เสียก่อนที่จะนำไปสู่การทำวิจัย
1 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) คือการไปศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2 การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือการคาดเดาคําตอบล่วงหน้า ก่อนที่เราจะทำการหาคําตอบ
3 การออกแบบการวิจัย (Designing Research) โดยอาจจะเริ่มจากทฤษฎีหรือแนวการวิเคราะห์ ก็ได้ จากนั้นเลือกวิธีการที่จะเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการข้อมูลแบบไหน
4 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกข้อมูลที่ได้รับและใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะง่ายเมื่อจะต้องนำมาประมวลข้อมูล
5 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคำตอบของการวิจัย
6 การจัดทำและนำเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียน รายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มและทำการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย
46. ข้อใดต่อไปนี้คือการกระทําที่ใกล้เคียงกับ “การวิจัย” มากที่สุด
(1) นายเอกต้องการทราบว่าเดือนหน้าเขาจะถูกลอตเตอรี่หรือไม่ เขาจึงไปหาหมอดูเพื่อดูดวง
(2) นายบีต้องการทราบว่าข้อเท็จจริงของข่าวดาราถูกทําร้ายร่างกายเป็นอย่างไร เขาจึงไปพบร่างทรงเพื่อให้ดูเหตุการณ์ให้
(3) นายอาร์มต้องการทราบว่าผลการวิจัยในเรื่องทัศนคติทางการเมืองก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร เขาจึงใช้การคาดเดาอย่างมีหลักการ
(4) นางสาวนุชต้องการทราบว่าปลาที่เธอเลี้ยงไว้หายไปไหน เธอจึงนั่งสังเกตและจดบันทึกในแต่ละวัน
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 18 (คำบรรยาย) การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้นจะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา เช่น การเข้าไปสังเกตการบริหารจัดการน้ําของสํานักการระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร, การเข้าไปสังเกตการเคลื่อนไหวของม็อบ ทะลุฟ้า, การเข้าไปสังเกตเพื่อต้องการทราบว่าปลาที่เลี้ยงไว้หายไปไหน เป็นต้น
47. “นางอิงอรนําผลการวิจัยที่ได้มาตรวจสอบว่าข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ของงานวิจัย” การกระทําดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้
(1) ความเป็นเอกภาพ
(2) ความถูกต้อง
(3) ความสํารวมระมัดระวัง
(4) ความตรงประเด็น
(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคํา
ตอบ 1 หน้า 100 (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในเรื่อง “ความเป็นเอกภาพ” หมายถึง การที่ผู้วิจัยเขียนเนื้อหาของงานวิจัยให้มีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันตลอด ตั้งแต่ส่วนนําของงานวิจัยไปจนกระทั่งถึงส่วนสรุปของงานวิจัย เช่น การนําผลการวิจัยที่ได้มาตรวจสอบว่าข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ของงานวิจัย, การตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานวิจัยอย่างละเอียดว่างานทุกบทมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ที่มาและความสําคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือวิจัย ผลการวิจัย และการสรุปผล เป็นต้น
48. หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอนใดที่ต้องกําหนดควบคู่กับการตั้งคําถามการวิจัย
(1) การจัดทําแบบสมภาษณ์ในการวิจัย
(2) การเขียนโครงการวิจัย
(3) เครื่องมือต่าง ๆ ในการวิจัย
(4) การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย
(5) การจัดทําแบบสอบถามในการวิจัย
ตอบ 4 หน้า 56 – 57 (คำบรรยาย) หลักเบื้องต้นในการออกแบบการวิจัยขั้นตอน “การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย” (Research Objective) คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทําวิจัยว่าจะทําไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการตั้งประโยคด้วยการใช้คําขึ้นต้นคําว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสํารวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น ซึ่งในงานวิจัยนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกําหนดควบคู่ไปกับการตั้งคําถามการวิจัย
49. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์
(1) นายแพทย์โอภาสมีความสนใจเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอน ขั้นตอนแรกที่ต้องทําคือการกําหนดปัญหาการวิจัย
(2) นายแพทย์สมศักดิ์ได้ตั้งคําถามการวิจัยเรื่องการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทําคือการไปศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
(3) นายแพทย์สุวรรณชัยทําการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเรื่องการผลิตยาฟาวิพราเวียร์ครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทําคือการวิเคราะห์ข้อมูล
(4) นายแพทย์ประสิทธิ์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบของการวิจัยเรื่องภาวะสุขภาพจิตของคนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือต้องเขียนรายงานผลการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่มและเผยแพร่ผลการวิจัย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 45 ประกอบ
50. นายโสภณต้องการหาทฤษฎีอันเป็นที่มาของกรอบแนวคิดในงานวิจัยของนายกอบศักดิ์ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด
(1) บทที่ 1 บทนำ
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4 ประกอบ
51. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เกณฑ์การทดสอบความเชื่อถือได้
(1) Stability (เสถียรภาพ)
(2) Original (ความเป็นต้นฉบับ)
(3) Equivalence (การทดแทนซึ่งกันและกันได้)
(4) Homogeneity (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 2 หน้า 152 เกณฑ์การทดสอบความเชื่อถือได้ ประกอบด้วย เสถียรภาพ (Stability) การทดแทนซึ่งกันและกันได้ (Equivalence) และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)
52. นายชัชชาติทำวิจัยเรื่องการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง โดยอาศัยข้อมูลจากชีวประวัติ การทำวิจัยของนายชัชชาติคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยบริสุทธิ์
(2) การวิจัยประยุกต์
(3) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(4) การวิจัยเชิงปริมาณ
(5) การวิจัยเชิงสังเกต
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 13 ประกอบ
53. นายเทพไททำวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 2,000 คน นายเทพไทต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview (การสัมภาษณ์เชิงลึก)
(2) Research Proposal (โครงร่างงานวิจัย)
(3) Observation (การสังเกต)
(4) Questionnaire (แบบสอบถาม)
(5) Focus Group (กลุ่มสนทนา)
ตอบ 4 หน้า 63, (คำบรรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมากทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งส่วนมากวิธีการนี้มักจะถูกใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงสำรวจ ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างหรือประชากรที่จะรวบรวมข้อมูลนั้นอยู่ในลักษณะที่กระจัดกระจายกันมากๆ เช่น การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
54. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคสถาบันเน้นการศึกษาในเรื่องใด
(1) Political Philosophy (ปรัชญาการเมือง)
(2) Political Psychology (จิตวิทยาการเมือง)
(3) Political Institution (สถาบันทางการเมือง)
(4) Political Theory (ทฤษฎีการเมือง)
(5) Political Thought (แนวความคิดทางการเมือง)
ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคสถาบันนิยม (Institutional Period) เป็นยุคที่เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาคือ เน้นศึกษา “รัฐ” ดังนั้น นักรัฐศาสตร์จึงเลือกศึกษาสถาบันที่เป็นทางการของรัฐ (Formal Institution) เพราะเชื่อว่าสถาบันทางการเมือง (Political Institution) ที่ประกอบกันขึ้นเป็นรัฐนั้นจะสามารถสะท้อนความเป็นจริงของรัฐได้ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน รัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร เป็นต้น ซึ่งทำให้การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้ถูกเรียกว่า ศาสตร์แห่งรัฐ (Staatswissenschaft)
55. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การออกแบบการวิจัย
(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย
(5) การนำเสนอรายงานการวิจัย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 45 ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารไม่ได้ระบุคำอธิบายข้อ 45)
56. วิทยานิพนธ์เรื่องใดต่อไปนี้ใช้แนวการวิเคราะห์กลุ่มผลประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์
(1) นายโทนี่ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปรียบเทียบนโยบายประชารัฐของรัฐบาลประยุทธ์กับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ”
(2) นางสาวกุ้งอึ้งทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การก่อเกิดรัฐบาลพรรคเดียวในการเมืองไทย : ศึกษากรณีพรรคไทยรักไทย”
(3) นางสาวปูทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดเชียงใหม่”
(4) นายโอ๊คทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “พัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2549”
(5) นายชลน่านทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเกิดขึ้นของกลุ่มทางการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย”
ตอบ 5 หน้า 52, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ (Group Approach) เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมือง พฤติกรรมของแต่ละคนเมื่ออยู่เพียงคนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปอยู่รวมเป็นกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของกลุ่มการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย เป็นต้น
57. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Conclusion
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Literature Review
(5) Problem Statement
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ (หมายเหตุ: ในเอกสารไม่ได้ระบุคำอธิบายข้อ 25)
58. “นายกานต์ต้องการเพิ่มมูลค่าของมะขามด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขายในเทศกาลสำคัญ เขาจึงสำรวจรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคผ่าน Google Form” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด
(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 111 – 112, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนหรือการลงทุนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ของภาครัฐและเอกชน โดยผู้วิจัยสามารถสำรวจความต้องการของภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นรายสาขา เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ําตั้งแต่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ธรรมชาติของงานวิจัยประเภทนี้จึงมักสอดคล้องกับกลไกตลาดและนักวิจัยอาจไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยทั้งหมดได้ เนื่องจากความจำเป็นในการแข่งขันทางด้านการตลาด ตัวอย่างเช่น การเพิ่มมูลค่าของมะขามด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขายในเทศกาลสำคัญ โดยสำรวจรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคผ่าน Google Form เป็นต้น
59. การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อมาพิจารณาว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(3) Data Analysis
(1) Conclusion
(4) Literature Review
(2) Data Collection
(5) Problem Statement
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ
60. “หากมีการวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรพิจารณาอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อทำให้การศึกษามีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น” ประโยคดังกล่าวนี้เป็นเนื้อหาที่น่าจะปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใดมากที่สุด
(1) บทที่ 1 บทนำ
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ
61. ข้อใดต่อไปนี้คือหลักการที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอด้วยโปสเตอร์
(1) ความตื่นตาตื่นใจ
(2) ความหรูหรา
(3) ความเรียบง่าย
(4) ความถูกต้อง
(5) ความสำรวมระมัดระวัง
ตอบ 3 หน้า 104, (คำบรรยาย) การนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้วิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ 3 ส่วน ได้แก่ การวางแผน รูปแบบโปสเตอร์ และเนื้อหาของโปสเตอร์ โดยผู้วิจัยจะต้องเลือกเนื้อหาที่มีความเรียบง่าย (Simplify) มากที่สุด
62. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ที่มา” ของบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารได้ใกล้เคียงที่สุด
(1) แบบสอบถามที่ผ่านการเก็บข้อมูลแล้ว
(2) รายงานการวิจัยฉบับสั้น
(3) บรรณานุกรม
(4) การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ
(5) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
63. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
(1) Appendix
(2) Conceptual Framework
(3) Research Methodology
(4) Problem Statement
(5) Research Question
ตอบ 1 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่อง (Research Title) 2. สภาพปัญหาหรือที่มาของปัญหา (Problem Statement) 3. คำถามในการวิจัย (Research Question) 4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective) 5. สมมติฐาน (Hypothesis) 6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) 7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope) 8. ประโยชน์ที่จะได้รับ 9. นิยามศัพท์สำคัญ (Operational Definition) 10. วิธีการในการดำเนินการวิจัยหรือ ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นต้น
64. นายสกลธีทำวิจัยเรื่องการออกแบบอุโมงค์ระบบน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายนำไปใช้ประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การทำวิจัยของนายสกลธีคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสำรวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 5 หน้า 19. (คำบรรยาย) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องการออกแบบอุโมงค์ระบบน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปใช้
ประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการซื้อ สิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้ง เป็นต้น
65. ในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ผู้นำเสนอจำเป็นต้องอยู่ในห้องนำเสนอเมื่อการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่ เพราะเหตุใด
(1) ไม่จำเป็น เนื่องจากการอยู่ในห้องนำเสนอต่อสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พร้อม
(2) ไม่จำเป็น เนื่องจากการนำเสนอได้เสร็จสิ้นแล้วและควรออกจากห้องเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้นำเสนอท่านต่อไป
(3) จำเป็น เนื่องจากอาจมีผู้ที่สนใจในงานวิจัยเข้ามาซักถามเพิ่มเติม
(4) จำเป็น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดตามระเบียบของสมาคมวิชาชีพ
(5) ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้จัดงานและเวลาของผู้นำเสนอ
ตอบ 2 หน้า 105, (คำบรรยาย) การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) ผู้นำเสนอ อาจจะนำเสนอด้วยแบบสไลด์หรือ Power Point ก็ได้ ซึ่งในช่วงหลังการนำเสนอ ผู้นำเสนอควร กล่าวขอบคุณผู้ดำเนินรายการและผู้ประสานงาน อย่ารีบปิดสไลด์ที่นำเสนอ เพราะอาจมีผู้สนใจ ซักถามเพิ่มเติม หากมีผู้ซักถามควรตั้งใจฟังคำถาม และตอบคำถามด้วยความสุภาพ ไม่ควรบอก แก่ผู้ฟังว่าหมดเวลาการนำเสนอ หรือหมดเวลาการซักถามแล้ว แต่ควรรอให้ผู้ดำเนินรายการ หรือกรรมการเป็นผู้บอก เมื่อผู้ดำเนินรายการหรือกรรมการบอกหมดเวลา ควรขอบคุณอีกครั้ง แล้วปิดสไลด์ และลงจากเวทีนำเสนอ เมื่อการนำเสนอเสร็จสิ้นแล้ว ผู้นำเสนอไม่จำเป็นต้องอยู่ ในห้องนำเสนอ ควรออกจากห้องเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้นำเสนอท่านต่อไป
66. นายปัญญาต้องการเห็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงว่ามีข้อความอย่างไรบ้าง เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด
(1) บทที่ 1 บทนำ
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
67. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะสำคัญของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย”
(1) เป็นการแสดงระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยต่อต้นสังกัด
(2) เป็นการแสดงระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยต่อหน่วยงานผู้ให้ทุน
(3) เป็นการแสดงรายละเอียดของโครงการวิจัยพอสังเขป
(4) เป็นการแสดงงบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย
(5) เป็นการเขียนขึ้นหลังจากที่งานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ตอบ 5 หน้า 79 – 80, (คำบรรยาย) รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย (Interim Report) เป็นรายงานการวิจัยที่เขียนขึ้นในช่วงที่การวิจัยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมี รายละเอียดในส่วนของขอบเขตของการวิจัยและผลการศึกษา แต่ผู้วิจัยจะมีเป้าหมายเพื่อ รายงานผลการวิจัยแก่ผู้ให้ทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นระยะ ๆ ซึ่งรายงานความก้าวหน้า ๆ ดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องให้แก่ผู้วิจัย หรือการตัดงบประมาณและระงับการให้ทุนได้หากผลการวิจัยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือ สัมฤทธิผลที่ได้ทำสัญญากันไว้ และยังมีผลในการพิจารณาขยายระยะเวลาส่งงานวิจัยตาม กำหนดอีกด้วย
68. การจัดทำรายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
69. “เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Research Methodology
(2) Literature Review
(3) Research Method
(4) Conclusion
(5) Approach
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
70. นางสาวมุทิดาต้องการทราบถึงผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด
(1) บทที่ 1 บทนำ
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
71. “นายปองกูลตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานวิจัยอย่างละเอียดว่า งานทุกบทมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ที่มา และความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือวิจัย ผลการวิจัย และการสรุปผล การกระทำดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยในข้อใดต่อไปนี้”
(1) ความเป็นเอกภาพ
(2) ความถูกต้อง
(3) ความสำรวมระมัดระวัง
(4) ความตรงประเด็น
(5) ความสุภาพของการใช้ถ้อยคำ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ
72. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ที่มา” ของรายงานการวิจัยฉบับสั้นได้ใกล้เคียงที่สุด
(1) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) รายงานประจำปีของบริษัท
(3) รายงานประจำของมหาวิทยาลัย
(4) เอกสารจากหอจดหมายเหตุ
(5) การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ
ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสั้น เป็นรายงานการวิจัยที่มีรายละเอียด ย่อส่วนลงมาจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ และวางบนชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมักมีความหนาประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4
73. “เป็นการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 1 หน้า 63, (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการสัมภาษณ์แบบไม่เจาะจง แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่า การสัมภาษณ์เชิงลึกนั้นผู้วิจัยต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการที่จะดึงข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลออกมาได้ ตลอดจนคำถามที่ถามผู้สอบถามจะต้องดัดแปลงคำถามต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้นการสัมภาษณ์ในลักษณะนี้จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้ความพยายามมากและจะต้องสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักของการวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่ เป็นต้น
ข้อ 74. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลำดับความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรมได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
(1) Real Definition – Nominal Definition – Measurement – Conceptualization
(2) Conceptualization – Operation Definition – Real Definition – Measurement
(3) Nominal Definition – Reat Definition – Measurement – Conceptualization
(4) Conceptualization – Real Definition – Nominal Definition – Measurement
(5) Conceptualization – Nominal Definition – Real Definition – Measurement
ตอบ 5 หน้า 117 กระบวนการเปลี่ยนรูปจากนามธรรม (Abstract) ไปสู่รูปธรรม (Concrete) เขียนได้ดังนี้
1 การสร้างกรอบแนวความคิด (Conceptualization)
2 นิยามความหมาย (Nominal Definition)
3 นิยามความจริง (Real Definition)
4 นิยามปฏิบัติการ (Operation Definition)
5 การสร้างเครื่องมือวัด (Measurement)
ข้อ 75. นายวิโรจน์ทําวิจัยเรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากหนังสือ ตํารา งานวิจัย และบทความวิชาการ การทําวิจัยของนายวิโรจน์คือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสํารวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 3 หน้า 18, 158, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารทางราชการ เอกสารการวิจัย หนังสือ ตํารา บทความต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างของการวิจัยนี้ ได้แก่ การวิจัย เรื่องนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ 76. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการเขียนบทสรุปผู้บริหารได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
(1) ห้ามมีรูปภาพ
(2) ห้ามมีตาราง
(3) ห้ามอ้างอิง
(4) ห้ามกล่าวชื่อเรื่อง
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 3 – หน้า 98 การเขียนบทสรุปสําหรับผู้บริหารมีข้อควรระวังอยู่ 4 ประการ คือ
1 ไม่ควรระบุสิ่งที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องและน่าเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ
2 อาจมีรูปภาพและตารางในบทสรุปผู้บริหารเท่าที่จําเป็นได้
3 ต้องไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงในบทสรุปสําหรับผู้บริหาร
4 ควรพยายามรักษาบทสรุปสําหรับผู้บริหารให้มีความยาวไม่เกิน 3 – 5 หน้ากระดาษ A4 และถ้าเป็นบทสรุปเพื่อสื่อมวลชนไม่ควรมีความยาวเกินกว่า 2 หน้ากระดาษ A4
ข้อ 77. ในช่วงเวลาใดต่อไปนี้ถือได้ว่าการวิจัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีลักษณะเป็นแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) มากที่สุด
(1) ค.ศ. 1800 – 1810
(2) ค.ศ. 1850 – 1860
(3) ค.ศ. 1890 – 1900
(4) ค.ศ. 1901 – 1910
(5) ค.ศ. 1950 – 1960
ตอบ 5 หน้า 12, (คำบรรยาย) การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์ (The Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1950 – 1960) โดยนักรัฐศาสตร์มองว่า การศึกษาการเมืองจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ (Scientific Method) บางครั้งมักถูกเรียกว่า “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) โดยเน้นการทำนายพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่งทำนาย (Predictive) ไม่เน้นพรรณนาบรรยาย มีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) ซึ่งรัฐศาสตร์ ในยุคนี้ถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) ตัวอย่างของแนวการศึกษานี้ ได้แก่ การศึกษาจิตวิทยาผู้นำทางการเมือง (Political Psychology) วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นต้น
78. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งคำถามการวิจัย
(1) การตั้งคำถามการวิจัยที่ดีควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร”
(2) คำถามการวิจัยประเภท “ทำไม” เป็นการหาคำตอบในลักษณะบรรยาย
(3) คำถามการวิจัยประเภท “อะไร” ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์
(4) คำถามการวิจัยประเภท “อย่างไร” ต้องการทราบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมือง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54 – 56, (คำบรรยาย) การตั้งคำถามการวิจัย (Research Question) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยภายหลังจากที่ผู้วิจัยสังเกตเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ รอบตัว การตั้งคำถามที่ดีนั้นไม่ควร ใช้คำถาม “ใช่หรือไม่” แต่ควรใช้คำถาม “ทำไม อย่างไร อะไร” ซึ่งคำถามประเภท “ทำไม” จะเป็นคำถามที่ต้องการทราบสาเหตุหรือเหตุผลของปรากฏการณ์ทางการเมือง คำถามประเภท “อย่างไร” จะเป็นคำถามที่ต้องการให้อธิบายกระบวนการของปรากฏการณ์ทางการเมือง ส่วนคำถามประเภท “อะไร” จะเป็นคำถามที่มุ่งให้ค้นหาคำตอบในลักษณะบรรยาย
79. “นายเพิ่มศักดิ์ศึกษาว่าเพราะเหตุใดบริเวณสี่แยกจึงมีเด็กและเยาวชนมาขายพวงมาลัยเป็นจำนวนมาก และจะช่วยเพิ่มสิทธิในการเข้าถึงสถานศึกษาได้อย่างไร” งานวิจัยดังกล่าวจัดเป็นการวิจัยประเภทใด
(1) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
(2) งานวิจัยเชิงนโยบาย
(3) งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(4) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 113, (คำบรรยาย) งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างพลังชุมชน เป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในท้องถิ่นให้มีความเจริญอย่างเหมาะสม ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้ออกมาจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน ปัญหาในท้องถิ่น และการเสริมสร้างพลังทางสังคมให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น กระบวนการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้คนในพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง, การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่มาขายพวงมาลัยบริเวณสี่แยก เพื่อจะช่วยเพิ่มสิทธิในการเข้าถึงสถานศึกษา เป็นต้น
80. การคาดเดาคำตอบ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนำเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกำหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
81. “หน้าอนุมัติ” ปรากฏอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(1) ไม่ใช่ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
(2) หน้าปก
(3) ส่วนประกอบตอนต้น
(4) ส่วนประกอบตอนท้าย
(5) บทสรุปของการวิจัย
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
82. นางสาวภารดีต้องการทราบว่า นายพงศกรซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักมีความเห็นอย่างไรต่อผลการศึกษาของเขา ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยอื่นก่อนหน้านี้อย่างมาก เนื้อหาดังกล่าวปรากฏอยู่ในการวิจัยบทใด
(1) บทที่ 1 บทนำ
(2) บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม
(3) บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
(4) บทที่ 4 ผลการศึกษา
(5) บทที่ 5 บทสรุป
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ
83. ความสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย
(1) เพื่อแสดงอาณาเขตของงานวิจัยเพื่อมิให้ผู้อื่นทำหัวข้อคล้ายกัน
(2) เพื่อแสดงความสามารถอันโดดเด่นของนักวิจัย
(3) เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมหรือข้อค้นพบใหม่ในวงวิชาการ
(4) เพื่อป้องกันผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ
(5) เพื่อจับจองพื้นที่ของประเด็นที่ทำการศึกษา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ
84. แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลได้รับอิทธิพลจากสาขาวิชาใด
(1) Economics
(2) Sociology
(3) History
(4) Anthropology
(5) Mathematics
ตอบ 1 หน้า 48, (คำบรรยาย) แนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล (Rational Approach) หรือบางทีก็เรียกว่า “Rational Choice Approach” จะมีสมมุติฐานที่สำคัญคือ มนุษย์ทุกคน เป็นมนุษย์ที่มีเหตุมีผล เวลาจะทำอะไรแล้วจะคำนวณอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองได้ประโยชน์อย่างไร และเสียประโยชน์อย่างไร และเมื่อคำนวณดูผลลัพธ์ในทางต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแล้ว คน ๆ นั้นก็จะทำตามในทางที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด หรือในกรณีที่ตนเองไม่มีทางจะได้ประโยชน์ คน ๆ นั้นก็จะเลือกวิธีการที่ตนเองจะเสียเปรียบน้อยที่สุด ซึ่งแนวการวิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลนี้ได้รับอิทธิพลมาจากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)
85. นายอัศวินทำวิจัยเรื่องนโยบายการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเข้าไปสังเกตการบริหารจัดการน้ำของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร การทำวิจัยของนายอัศวินคือการวิจัยรูปแบบใด
(1) การวิจัยเชิงสังเกต
(2) การวิจัยเชิงสำรวจ
(3) การวิจัยเชิงเอกสาร
(4) การวิจัยเชิงอธิบาย
(5) การวิจัยประยุกต์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
86. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์
(1) Normative
(2) Value-Free
(3) Scientific Method
(4) Predictive
(5) Positivism
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ
87. “ชุดในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางการเมือง” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Political Philosophy
(2) Political Psychology
(3) Political Institution
(4) Political Theory
(5) Political Thought
ตอบ 4 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) หมายถึง ชุดของภาษาหรือ ชุดในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางการเมือง หรือเรื่องราวของความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ
88. การสรุปผลการวิเคราะห์ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิด ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Conclusion
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Literature Review
(5) Problem Statement
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ
89. “นายนพพลทำการสำรวจวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัยของเขา” การกระทำของนายนพพลดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อใดของการเขียนรายงานการวิจัยมากที่สุด
(1) เพื่อเผยแพร่ข้อค้นพบใหม่และนวัตกรรม
(2) เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้
(3) เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่างานวิจัยลักษณะเดียวกันมีใครศึกษาอะไรไปแล้วบ้าง
(4) เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางทรัพย์สินทางปัญญา
(5) เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ
90. นายโจ๊กทำวิจัยเรื่องนโยบายการแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา 80 บาท โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่ โดยนายโจ๊กจะเป็นคนตั้งประเด็นในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง นายโจ๊กต้องใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปแบบใด
(1) In-Depth Interview
(2) Research Proposal
(3) Observation
(4) Questionnaire
(5) Focus Group
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ
91. “องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่างๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ” ข้อความดังกล่าวสัมพันธ์กับตัวเลือกใดมากที่สุด
(1) Research Methodology
(2) Literature Review
(3) Research Method
(4) Conclusion
(5) Approach
ตอบ 1 หน้า 17, (คำบรรยาย) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐาน ความเชื่อต่างๆ ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ ซึ่งในการศึกษาทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่นั้น สามารถนำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ
92. “สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ” ขึ้นตรงต่อกระทรวงใดในปัจจุบัน
(1) กระทรวงศึกษาธิการ
(2) กระทรวงมหาดไทย
(3) กระทรวงการต่างประเทศ
(4) กระทรวงสาธารณสุข
(5) กระทรวงการอุดมศึกษา
ตอบ 5 (คำบรรยาย) “สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ” เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และยังมีบทบาทเป็น หน่วยงานกลางในการทําหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
93. ในประเทศไทย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ได้แบ่งประเภทของวารสารวิชาการในประเทศไทย ออกเป็นกี่กลุ่ม
(1) ประเทศไทยไม่มีการแบ่งกลุ่มวารสาร มีเพียงในต่างประเทศเท่านั้น
(2) หน่วยงานข้างต้นไม่ได้ทําหน้าที่ในการแบ่งกลุ่มวารสาร
(3) 1 กลุ่ม
(4) 2 กลุ่ม
(5) 3 กลุ่ม
ตอบ 5 หน้า 77 – 78 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ได้แบ่งประเภทของวารสารวิชาการในประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่ม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560) คือ
1 วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือก เข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Iridex (ACI) ต่อไป
2 วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ และอยู่ในฐานข้อมูล TCI
3 วารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต
94. แบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ตรงกับขั้นตอนการวิจัยทางรัฐศาสตร์ขั้นตอนใด
(1) การทบทวนวรรณกรรม
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การนําเสนอรายงานการวิจัย
(4) การกําหนดปัญหาการวิจัย
(5) การออกแบบการวิจัย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ
95. การศึกษารัฐศาสตร์ในยุคพฤติกรรมศาสตร์เน้นการศึกษาในเรื่องใด
(1) Political Philosophy
(2) Political Psychology
(3) Political Institution
(4) Political Theory
(5) Political Thought
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ
96. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง “รายงานขั้นต้นของการวิจัย
(1) Interim Report
(2) Inception Report
(3) Inceptual Report
(4) Research Proposal
(5) Final Report
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) รายงานขั้นต้นของการวิจัย (Inception Report) หมายถึง การสรุปผล การดําเนินงานหลังจากที่ผู้วิจัยได้รับการอนุมัติหัวข้อวิจัยและโครงร่างนําเสนอการวิจัย โดยผู้วิจัย ต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการดําเนินงานในขั้นแรกหรือในช่วงเริ่มต้น ตลอดจนรายละเอียดของ การปรับแก้ในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้
97. วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตรงกับขั้นตอนใดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย
(1) Conclusion
(2) Data Collection
(3) Data Analysis
(4) Review Literature
(5) Problem Statement
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
98. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์มากที่สุด
(1) เป็นรายงานการวิจัยที่มีความยาวประมาณ 50 – 60 หน้า
(2) เป็นรายงานการวิจัยที่นักวิจัยทุกคนต้องทํา
(3) เป็นรายงานการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อย่นระยะเวลาในการอ่าน
(4) เป็นรายงานการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ในห้องสมุด
(5) เป็นรายงานการวิจัยที่พัฒนามาจากบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์
ตอบ 2 หน้า 71 – 75, (คําบรรยาย) รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เป็นรายงานการวิจัยที่มีความหนา มากที่สุดในบรรดาการเขียนรายงานทั้งหมด เนื่องจากเป็นรายงานที่มีรายละเอียดของการทําวิจัย ครบทั้งหมด มีรูปแบบเคร่งครัด ส่วนใหญ่ใช้ศัพท์ทางวิชาการ เป็นการนําเสนอที่ผ่านขั้นตอน ต่าง ๆ จนพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์แบบ โดยจะประกอบด้วย ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย นอกจากนี้ยังถือเป็นรายงานการวิจัยที่นักวิจัยทุกคน ต้องเขียนขึ้น และจําเป็นต้องมีลายเซ็นของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ปรากฏอยู่เสมอ
99. นายภูมิธรรมทําวิจัยเรื่องทัศนคติทางการเมืองของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อพรรคเพื่อไทย โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังประชาชน 3,000 คน เพื่อต้องการข้อมูลไปวิเคราะห์ ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวคือขั้นตอนใด
(1) การสังเกตและระบุปัญหา
(2) การตั้งสมมติฐาน
(3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(4) การวิเคราะห์ข้อมูล
(5) การสรุปผล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบหลักของ “รายงานความก้าวหน้าของการวิจัย”
(1) รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัย
(2) แหล่งที่มาของเอกสารการวิจัย
(3) รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ
(4) แผนงานที่จะดําเนินการต่อไป
(5) ปัญหาหรืออุปสรรคจากการทําวิจัย
ตอบ 2 หน้า 78 – 80, (คําบรรยาย) องค์ประกอบหลักของรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย ได้แก่
1 รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัยหรือแผนงานวิจัย
2 รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้า
3 รายละเอียดที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ
4 แผนงานตามโครงการวิจัยที่จะดําเนินการต่อไป
5 คําชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคจากการทําวิจัย